เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
    พระสูตรสั้น
ค้นหาคำที่ต้องการ        

พระสูตรสั้น (โดยย่อ)
  พระสูตรสั้น ชุด15  
S15-01 สติปัฐฐาน ๔ ความเกิด - ความดับ แห่ง กาย เวทนา จิต ธรรม
S15-02 รายละเอียดของสังขารทั้งหลาย (สังขาร 3) 5 นัยยะ
S15-03 อวิชชา-วิชชา (3 นัยยะ) 1.ไม่รู้อริยสัจสี่ 2.ไม่รู้ว่าขันธ์5 มีความเกิดขึ้น-เสื่อมไปเป็นธรรมดา 3.ไม่รู้ซึ่งรูป เหตุเกิด เหตุดับ ข้อปฏิบัติ
S15-04 หมด อาหาร ก็นิพพาน
S15-05 คำสอนที่ทรงสั่งสอนบ่อยมาก รูปไม่เที่ยง รูปไม่ใช่ตัวตน สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน
S15-06 ความพินาศ ๑๑ อย่าง ของภิกษุ (พยสนสูตร)
S15-07 วิญญาณดวงแรก เป็นความเกิดของสัตว์
S15-08 เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
S15-09 วิญญาณย่อมเวียนกลับมา ไม่ไปพ้นจากนามรูปได้เลย
S15-10 วิญญาณย่อมตั้งอยู่งอกงาม ในที่มีอาหารหล่อเลี้ยง
S15-11 เห็นจิตในจิต นัยยะสติปัฏฐานสูตร และ นัยยะอานาปานสติสูตร
S15-12 จิตหลุดพ้น 3 นัยยะ เห็นความไม่เที่ยงของขันธ์ ๕ เห็นความไม่เที่ยงของอายตนะภายใน ๖ เห็นความไม่เที่ยงของอายตนะภายนอก ๖
S15-13 วิญญาณฐิติ รูป เวทนา สัญญา สังขาร พึงเห็นว่าเหมือนกับดิน/ นันทิราคะพึงเห็นว่าเหมือนกับนํ้า/ วิญญาณพึงเห็นว่าเหมือนพืชสด
S15-14 การเข้าไปหาเป็นความไม่หลุดพ้น การไม่เข้าไปหาเป็นความหลุดพ้น (การเข้าไปหาซึ่ง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
S15-15 ผู้ใดติเตียนพระอริยะ ย่อมเข้าถึงนรก (ภิกษุโกกาลิตะมีจิตอาฆาตพระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ)
S15-16 ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ (เสื่อมไป)
S15-17 ความเพลินใด ความเพลินนั้นคืออุปาทาน เมื่อมีอุปาทานจึงมีภพ เพราะมีภพจึงมีชาติ ..การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ย่อมมี
S15-18 ผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน
S15-19 มหาภูต ๔ และอุปาทายรูป ตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน.. นามรูป ย่อมดับไม่เหลือในที่ไหน
S15-20
S15-21  
S15-22  
S15-23  
S15-24  
S15-25  
S15-26  
S15-27  
S15-28  
S15-29  
S15-30  
S15-31  
S15-32  
S15-33  
S15-34  
S15-35  
S15-36  
S15-37  
S15-38  
S15-39  
S15-40  
S15-41  
S15-42  
S15-43  
S15-44  
S15-45  
S15-46  
S15-47  
S15-48  
S15-49  
S15-50  
ต่อชุด 16

 


1
จากหนังสือ จิต มโน วิญญาณ P1395

สติปัฐฐาน ๔ ความเกิด-ความดับ แห่งกาย เวทนา จิต ธรรม


ความเกิดแห่ง กาย ย่อมมี เพราะความเกิดแห่ง อาหาร
ความดับแห่งกายย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร

ความเกิดแห่ง เวทนา ย่อมมี เพราะความเกิดแห่ง ผัสสะ
ความดับแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ

ความเกิดแห่ง จิต ย่อมมี เพราะความเกิดแห่ง นามรูป
ความดับแห่งจิตย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป

ความเกิดแห่ง ธรรม ย่อมมี เพราะความเกิดแห่ง มนสิการ
ความดับแห่งธรรมย่อมมี เพราะความดับแห่ง มนสิการ

.......................................................................................


2
จาก หนังสือ จิต มโน วิญญาณ หน้า 37 (P1412)

รายละเอียดของสังขารทั้งหลาย (สังขาร 3) 5 นัยยะ

นัยยะที่ ๑
กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
-ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร เพราะความเกิดขึ้นแห่งอวิชชา
-ความดับแห่งสังขารย่อมมี เพราะความดับ แห่งอวิชชา
-มรรคมีองค์ ๘ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร

นัยยะที่ ๒
กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
-ลมหายใจเข้า และลมหายใจออก จึงเป็นกายสังขาร (มีในกาย เนื่องด้วยกาย)
-วิตกและวิจาร จึงเป็น วจีสังขาร (บุคคลย่อมคิด ก่อนเปล่งวาจา)
-สัญญา และเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร (เป็นธรรมมีในจิต เนื่องด้วยจิต)

นัยยะที่ ๓
บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ปรุงแต่งวจีสังขาร ปรุงแต่งมโนสังขาร ที่เป็นไปเพื่อ
-ความเบียดเบียน ครั้นปรุงแต่งแล้ว ผัสสะย่อมเสวยทุกข์โดยส่วนเดียว เช่นสัตว์นรก
-ไม่มีความเบียดเบียน ครั้นปรุงแต่งแล้ว ผัสสะย่อมเสวยสุขโดยส่วนเดียว เช่นเทวดา
-เบียดเบียนบ้าง ไม่เบียดเบียนบ้าง ครั้นปรุงแต่งแล้ว ผัสสะ ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เช่นมนุษย์ เทวดาบางพวก วินิบาตบางพวก

นัยยะที่ ๔
ก็สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร หมู่แห่งเจตนา ๖ คือ สัญเจตนาในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรม
- ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ
- ความดับแห่งสังขาร เพราะความดับแห่งผัสสะ
- อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร

นัยยะที่ ๕
สุขและทุกข์ อาศัยปัจจัยคือ ผัสสะ เกิดขึ้น
-เมื่อกายมีอยู่ สุข และทุกข์อันเป็นภายในย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางกาย
-เมื่อวาจามีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางวาจา
-เมื่อมโนมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางมโน

เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย บุคคลย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร ด้วยตนเองบ้าง โดยผู้อื่นบ้าง โดยรู้สึกตัวบ้าง โดยไม่รู้สึกตัวบ้าง
เพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว กาย วาจา มโน ผืนนา พืช (เพื่อการงอก) อายตนะ อธิกรณ์(เครื่องทำให้งอก) ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์จึงไม่มี

.......................................................................................

3
อวิชชา - วิชชา (3 นัยยะ)

นัยยะที่ 1
อวิชชา คือความไม่รู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (ไม่รู้อริยสัจสี่)
1.ความไม่รู้ใน ทุกข์
2.ไม่รู้ใน เหตุให้เกิดทุกข์
3.ไม่รู้ใน ความดับแห่งทุกข์
4.ไม่รู้ใน หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์
นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้วซึ่ง อวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

วิชชา ภิกษุผู้ถึงแล้วในวิชชา
วิชชา คือ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์
นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้วซึ่ง วิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
-----------------------------------------------------------------------------------
นัยยะที่ 2
อวิชชา คือความไม่รู้ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่ามีความเกิดขึ้น และ เสื่อมไป เป็นธรรมดา (ไม่รู้ขันธ์ 5)

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงซึ่งรูป ว่ารูป มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา
(กรณีของเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ทำนองเดียวกัน)
นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้วซึ่ง อวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

ปุถุชนผู้ได้สดับ
ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริงซึ่งรูป ว่ารูป มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา
(กรณีของเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ทำนองเดียวกัน)
นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้วซึ่ง วิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
-----------------------------------------------------------------------------------
นัยยะที่ 3
อวิชชา คือไม่รู้ชัดซึ่งรูป เหตุเกิด เหตุดับ และข้อปฏิบัติ(ไม่รู้จักขันธ์5ในแง่อริยสัจสี่)
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
1.ย่อมไม่รู้ชัดซึ่ง รูป
2.ไม่รู้ชัดซึ่ง เหตุเกิดแห่งรูป
3.ไม่รู้ชัดซึ่ง ความดับแห่งรูป
4.ไม่รู้ชัดซึ่ง ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งรูป
(กรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ตรัสทำนองเดียวกัน)
นี้เราเรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

ปุถุชนผู้ได้สดับ
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เหตุเกิดแห่งรูป ความดับไม่เหลือแห่งรูป และรู้ชัด ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป
(กรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ตรัสทำนองเดียวกัน)
นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้วซึ่ง วิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

.....................................................................................
4

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้ หน้า 485

หมด อาหาร ก็นิพพาน

ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา
ในอาหาร คือ คำข้าว ก็ดี
ในอาหาร คือ ผัสสะ ก็ดี
ในอาหาร คือ มโน สัญเจตนา ก็ดี
ในอาหาร คือ วิญญาณ ก็ดี แล้วไซร้
วิญญาณก็เป็น สิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ในสิ่งนั้นๆ

วิญญาณตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในที่ใด
การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มี ในที่นั้น

การก้าวลงแห่งนามรูป ไม่มีในที่ใด
ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มี ในที่นั้น

ความเจริญ แห่งสังขารทั้งหลาย ไม่มีในที่ใด
การบังเกิดใน ภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มี ในที่นั้น

การบังเกิดใน ภพใหม่ต่อไป ไม่มีในที่ใด
ชาติชราและมรณะต่อไป ย่อมไม่มี ในที่นั้น

ชาติชราและมรณะต่อไป ไม่มีในที่ใด
เราเรียก “ที่” นั้นว่า เป็น “ที่ไม่โศก ไม่มีธุลี และไม่มีความคับแค้น” ดังนี้



.....................................................................................

5
คำสอนที่ทรงสั่งสอนบ่อยมาก
(ตรัสกับอัคคิเวสนะ หนังสือตามรอยธรรม หน้า 43 )

รูปไม่เที่ยง
เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง

รูปไม่ใช่ตัวตน เวทนาไม่ใช่ตัวตน สัญญาไม่ใช่ตัวตน สังขารไม่ใช่ตัวตน วิญญาณไม่ใช่ตัวตน

สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน


..................................................................................

6
พระไตรปิฎก(มหาจุฬา) เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๓๓๕

ความพินาศ ๑๑ อย่างของภิกษุ (พยสนสูตร)

ภิกษุใดก็ตามด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ว่าร้ายพระอริยะ เป็นไปได้ ที่ภิกษุนั้นจะถึงความพินาศอย่าง ๑ ใน ๑๑ อย่าง

ความพินาศ ๑๑ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
๒. เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๓. สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว
๔. เป็นผู้เข้าใจผิดว่าได้บรรลุสัทธรรม
๕. เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
๖. ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง
๗. บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
๘. เป็นโรคร้ายแรง
๙. ถึงความวิกลจริต หรือจิตฟุ้งซ่าน
๑๐. หลงลืมสติมรณภาพ
๑๑. หลังจากมรณภาพแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

...................................................................................

7
หนังสือจิตมโนวิญญาณ หน้า10

วิญญาณดวงแรก เป็นความเกิดของสัตว์

... ภิกษุทั้งหลาย จิต ดวงแรกใดเกิด แล้วในครรภ์ แห่งมารดา วิญญาณ ดวงแรกปรากฏแล้ว อาศัยจิตดวงแรก วิญญาณดวงแรกนั้นนั่นแหละ เป็นความเกิดของสัตว์นั้น.

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทกุลบุตร มีอายุครบ ๒๐ ปี ทั้งอยู่ในครรภ์

....................................................................................

8

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
-บาลีมหา. ที. ๑๐/๗๔/๖๐.

อานนท์

ถ้าหากว่าวิญญาณ ไม่ก้าวลงในท้องแห่งมารดา นามรูปจะก่อตัวขึ้นมาได้ไหม...ไม่ได้เลยพระเจ้าข้า.

ถ้าหากว่าวิญญาณ ก้าวลงในท้องแห่งมารดาแล้วสลายลงเสีย นามรูปจะบังเกิดขึ้นได้ไหม...ไม่ได้เลยพระเจ้าข้า.

ถ้าหากว่าวิญญาณ ของเด็กอ่อนที่เป็น ชายหรือเป็นหญิงก็ตาม ขาดความสืบต่อ นามรูปจะถึงซึ่งความเจริญความงอกงามความไพบูลย์ ได้ไหม...ไม่ได้เลยพระเจ้าข้า

...นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย ของนามรูป นั้นคือวิญญาณ

....................................................................................
9
วิญญาณย่อมเวียนกลับมา ไม่ไปพ้นจากนามรูปได้เลย

ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรหนอมีอยู่ นามรูปจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะการทำในใจโดยแยบคายของเรานั้น
จึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า 

เมื่อวิญญาณนั่นแหละมีอยู่ นามรูป จึงมี
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรหนอมีอยู่ วิญญาณจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะการทำในใจโดยแยบคายของเรานั้น
จึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า 

เมื่อนามรูปนั่นแหละมีอยู่ วิญญาณ จึงมี
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

ภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า วิญญาณนี้ย่อมเวียนกลับมา ไม่ไปพ้นจากนามรูปได้เลยด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลกจึงเกิดบ้าง จึงแก่บ้าง จึงตายบ้าง จึงจุติบ้าง จึงอุบัติบ้าง

..................................................................................

10
คัดย่อ จากหนังสือ จิต มโน วิญญาณ
วิญญาณย่อมตั้งอยู่งอกงาม ในที่มีอาหารหล่อเลี้ยง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทยานอยาก มีอยู่ใน กวฬีการาหาร ในผัสสาหาร ในมโนสัญเจตนาหาร และในวิญญาณาหาร ไซร์
วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในที่นั้น (ในอาหาร ๔)

ในที่ใด วิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ในที่นั้นย่อมมีการหยั่งลงแห่ง นามรูป
ในที่ใด มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้นย่อมมีความเจริญแห่ง สังขารทั้งหลาย
ในที่ใด มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้นย่อมมีการเกิดใน ภพใหม่ ต่อไป
ในที่ใด มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้นย่อมมี ชาติ ชรา มรณะ ต่อไป
ในที่ใด มีชาติ ชรา มรณะ ต่อไป เราเรียกที่นั้นว่ามี ความโศก มีธุลี (คือราคะ) มีความคับแค้น

.................................................................................

11

เห็นจิตในจิต (นัยสติปัฏฐานสูตร)
-บาลีมู. ม. ๑๒/๑๑๐/๑๔๐.

จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน
ฯลฯ.....

เห็นจิตในจิต (นัยอานาปานสติสูตร)
-บาลีมหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๔/๑๔๐๓

ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เรา เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า ว่าเราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิต หายใจออก

เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า ว่าเราเป็นผู้ทำจิต
ให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก

เรา เป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า ว่าเราเป็นผู้ทำจิต
ให้ตั้งมั่น หายใจออก

เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า ว่าเราเป็นผู้ทำจิต
ให้ปล่อยอยู่ หายใจออก

สมัยนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

...............................................................................

12

จิตหลุดพ้น 3 นัยยะ
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๓/๑๐๓.

จิตหลุดพ้น (นัยที่ ๑)
เห็นความไม่เที่ยงของขันธ์ ๕

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปอันไม่เที่ยงนั่นแหละว่าไม่เที่ยง
ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง
ย่อมเบื่อหน่าย เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไป
แห่งราคะ เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี
(กรณีของ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ทำนองเดียวกับรูป)

จิตหลุดพ้น (นัยที่ ๒)
เห็นความไม่เที่ยงของ อายตนะภายใน ๖

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแหละ
ว่าไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นอยู่
โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ
จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมี
ความสิ้นไปแห่งนันทิ เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและ
ราคะ กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี
(กรณีของ โสต ฆานะ ชิวหา กาย มนะ.... ก็ทำนองเดียวกับจักษุ)

จิตหลุดพ้น (นัยที่ ๓)
เห็นความไม่เที่ยงของ อายตนะภายนอก ๖

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปอันไม่เที่ยงนั่นแหละว่า
ไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นอยู่
โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ
จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมี
ความสิ้นไปแห่งนันทิ เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ
กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี
(กรณีของ เสียง กลิ่น รส โผฏทัพพะ ธรรมารมรณ์ ก็ทำนองเดียวกับรูป)


...............................................................................
13

วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง (ที่ตั้งของวิญญาณ)


ภิกษุทั้งหลาย
วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) พึงเห็นว่า เหมือนกับดิน
นันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความเพลิน) พึงเห็นว่าเหมือนกับนํ้า
วิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย พึงเห็นว่าเหมือนกับพืชสดทั้ง ๕ นั้น

ภิกษุทั้งหลาย
วิญญาณซึ่งเข้าถือเอารูปตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ได้.

วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาเวทนาตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์...
วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาสัญญาตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์..
วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาสังขารตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์..

ภิกษุทั้งหลาย
ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติซึ่ง การมา-การไป การจุติ(การตาย) การอุบัติ(การเกิด) ความเจริญความงอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจาก สังขาร ดังนี้นั้น นี่ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้เลย


...............................................................................
14

การเข้าไปหา เป็นความไม่หลุดพ้น
การไม่เข้าไปหา เป็นความหลุดพ้น

-บาลีขนฺธสํ๑๗/๖๖/๑๐๕.

การเข้าไปหา ซึ่ง
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ขันธ์ ๕)

ถ้าราคะ
ในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ
เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายละได้แล้ว

เพราะละราคะนั้นได้
อารมณ์สำหรับวิญญาณย่อมขาดลง ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี
วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง
เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง
เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตนนั่นเทียว
เธอย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ ไม่ได้มีอีก


...............................................................................
15

ผู้ใดติเตียนพระอริยะ ย่อมเข้าถึงนรก
(ย่อเรื่อง โกกาลิกสูตร ฉบับหลวงเล่ม ๒๔ หน้า ๑๔๗ P487)

        ภิกษุโกกาลิกะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคฯ ได้กราบทูลว่า "พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก" (อันเนื่องมาจากชักชวนภิกษุบวชใหม่ชาวเมืองเวสาลี 500 รูป ที่ศรัทธาพระเทวทัต ให้กลับมาศรัทธาพระพุทธเจ้า)

        พระผู้มีพระภาคกล่าวเตือนพระโกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจงยังจิตให้เสื่อมใสใน สารีบุตร และโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตร และโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก แม้ครั้งที่ 2..แม้ครั้งที่ 3.. (ทรงห้ามแต่ไม่ฟัง)

        เมื่อโกกาลิกะภิกษุหลีกไปแล้วไม่นาน ร่างกายมีตุ่มขึ้นตามตัวแตกเป็นหนอง มีเลือดไหลออก ครั้งนั้นท้าวสหัมบดีพรหมเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า โกกาลิกะภิกษุ กระทำกาละแล้ว เกิดในปทุมนรก เพราะจิตอาฆาตพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ (พรหมเฝ้าสังเกตุมาแต่แรก และรู้ทางไปของโกกาลิกะ หลังกายแตก)

ประมาณอายุในปทุมนรกนานเท่าไรหนอ 
พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า
๒๐ อัพพุทะในนรกจึงเป็น ๑ นิรัพพุทะ
๒๐ นิรัพพุทะเป็น ๑ อพัพพะ
๒๐ อพัพพะเป็น ๑ อหหะ
๒๐ อหหะเป็น ๑ อฏฏะ
๒๐ อฏฏะ เป็น ๑ กุมุทะ
๒๐ กุมุทะเป็น ๑ โสคันธิกะ
๒๐ โสคันธิกะเป็น ๑ อุปปละ
๒๐ อุปปละเป็น ๑ ปุณฑรีกะ
๒๐ ปุณฑรีกะเป็น ๑ ปทุมะ

...............................................................................

16

ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๒/๑๒๗

หากว่า รูป จักเป็นอัตตา(มีตัวตน)แล้วไซร้ รูป ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ (เสื่อมไป)
แต่เพราะรูปเป็นอนัตตา(ไม่ใช่อัตตา ไม่มีตัวตน) รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ

หากว่า เวทนา จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนา ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ
แต่เพราะเวทนาเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ

หากว่า สัญญา จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สัญญา ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ
แต่เพราะสัญญาเป็นอนัตตา สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ

หากว่า สังขาร จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สังขาร ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ
แต่เพราะสังขารเป็นอนัตตา สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ

หากว่า วิญญาณ จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ วิญญาณ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ
แต่เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ

(ความคิดว่ามีตัวตนจึงเข้าใจผิด เพราะธรรมธาตุในระบบสังขตเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน แต่ที่เราเห็นว่าเป็นตัวตนนั้น เป็นของปรุงแต่งหรือ "สังขาร" ทั้งสิ้น ปรุงแต่งรูป ปรุงแต่งเสียง ปรุงแต่งกลิ่น...)

.............................................................................

17

ความเพลินใด ความเพลินนั้นคืออุปาทาน เมื่อมีอุปาทานจึงมีภพ
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘/๒๗.

บุคคลบางคนย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมสยบมัวเมาอยู่ ซึ่งรูป
เมื่อเขาเพลิดเพลิน พรำถึง สยบมัวเมาอยู่ซึ่งรูป ความเพลินก็เกิดขึ้น
ความเพลินใดในรูป ความเพลิน นั้นเป็น อุปาทาน เพราะอุปาทานของเขานั้น
เป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ...
.

บุคคลบางคนย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมสยบมัวเมาอยู่ ซึ่งเวทนา
เมื่อเขาเพลิดเพลิน พรำถึง สยบมัวเมาอยู่ซึ่งเวทนา ความเพลินก็เกิดขึ้น
ความเพลินใดในเวทนา ความเพลิน นั้นเป็น อุปาทาน เพราะอุปาทานของเขานั้น
เป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ....

บุคคลบางคนย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมสยบมัวเมาอยู่ ซึ่งสัญญา
เมื่อเขาเพลิดเพลิน พรำถึง สยบมัวเมาอยู่ซึ่งสัญญา ความเพลินก็เกิดขึ้น
ความเพลินใดในสัญญา ความเพลิน นั้นเป็น อุปาทาน เพราะอุปาทานของเขานั้น
เป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ....

บุคคลบางคนย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมสยบมัวเมาอยู่ ซึ่งสังขาร
เมื่อเขาเพลิดเพลิน พรำถึง สยบมัวเมาอยู่ซึ่งสังขาร ความเพลินก็เกิดขึ้น
ความเพลินใดในสังขาร ความเพลิน นั้นเป็น อุปาทาน เพราะอุปาทานของเขานั้น
เป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ....

บุคคลบางคนย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมสยบมัวเมาอยู่ ซึ่งวิญญาณ
เมื่อเขาเพลิดเพลิน พรำถึง สยบมัวเมาอยู่ซึ่งวิญญาณ ความเพลินก็เกิดขึ้น
ความเพลินใดในวิญญาณ ความเพลิน นั้นเป็น อุปาทาน เพราะอุปาทานของเขานั้น
เป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ความเกิดขึ้น
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่า
งนี้


.................................................................................
18

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า 17

ผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน
(ตรัสกับเทวดา)

         รูปทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยจักษุ มีอยู่ เป็นรูปที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยแห่ง ความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด

        ถ้าเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ซึ่งรูปนั้น แล้วไซร้
วิญญาณนั้น อันตัณหา ในอารมณ์ คือรูปอาศัยแล้ว ย่อมมีแก่เธอนั้น วิญญาณ นั้น คืออุปาทาน
       ถ้าไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ซึ่งรูปนั้นแล้วไซร้ วิญญาณนั้น อันตัณหาในอารมณ์คือรูปอาศัยแล้ว ย่อมไม่มีแก่เธอนั้น วิญญาณ ที่จะเป็นอุปาทาน ย่อมไม่มี

        ดูกรจอมเทวดา ผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน
(กรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ตรัสทำนองเดียวกับรูป)

................................................................................

19
มหาภูต ๔ และอุปาทายรูป ตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
นามรูป ย่อมดับไม่เหลือในที่ไหน

(ปัญหาของเกวัฏฏ์ -เกวัฏฏสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก หน้า ๓๒๖ P484 )

เกวัฏฏ์ ถามพระพุทธเจ้า
1. มหาภูต ๔ (ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาต) ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ในที่ไหน
2. อุปาทายรูป ที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ในที่ไหน
3. นามและรูป ย่อมดับไม่มีเหลือ ในที่ไหน
(อุปาทายรูป คือรูปที่อาศัย หรือความยึดมั่นในรูป ก็คือตัวเรานี้)

ในปัญหานั้น มีพยากรณ์ดังต่อไปนี้
1. มหาภูต ๔ (ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาต) ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ในธรรมชาตินี้
2. อุปาทายรูป ที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ในธรรมชาตินี้
3. นามและรูป ย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้. เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้น ย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้

คำตอบ ธรรมชาตินี้คือ
ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใส โดยประการทั้งปวง
(ธรรมชาติที่รู้แจ้ง คือนิพพาน)




..............................................................................
20


...............................................................................

21


...............................................................................
22


...............................................................................
23


...............................................................................
24


...............................................................................
25


...............................................................................
26


...............................................................................

27


...............................................................................
28


...............................................................................

29


...............................................................................

30


...............................................................................
31


............................................................................
32


...............................................................................
33


...............................................................................
34


...............................................................................
35


...............................................................................
36


...............................................................................
37



...............................................................................
38



...............................................................................

39



...............................................................................
40


...............................................................................
41


...............................................................................
42 



...............................................................................
43


...............................................................................
45


...............................................................................
46



...............................................................................
47


...............................................................................
48



...............................................................................
49


...............................................................................
50

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์