อนาคามี Page 1
หน้า 2
1
ชื่อของอริยบุคคล (นัยที่ ๑)
-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๐๑/๑๔๙.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้ ย่อมเป็นผู้ควรแก่ ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
๘ จำพวกเป็นอย่างไร คือ
(1) โสดาบัน
(2) ผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
(3) สกทาคามี
(4) ผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล
(5) อนาคามี
(6) ผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล
(7) อรหันต์
(8) ผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้แล เป็น ผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ผู้ปฏิบัติแล้ว ๔ จำพวก และผู้ตั้งอยู่ในผลแล้ว ๔ จำพวก นี่แหละสงฆ์เป็นคนตรง เป็นผู้ตั้งมั่นแล้วในปัญญาและศีล ย่อมกระทำให้เกิดบุญอื่น เนื่องด้วยอุปธิแก่ มนษุย์ทั้งหลาย ผู้มีความต้องการด้วยบุญ กระทำการบูชาอยู่ ทานที่ให้แล้วในสงฆ์จึงมีผลมาก.
หน้า 3
2
ชื่อของอริยบุคคล (นัยที่ ๒)
-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๓๗๗/๒๐๙.
ภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ การสงเคราะห์เป็นอย่างไร
ได้แก่ สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้ คือ
(1) ทาน (การให้)
(2) เปยยวัชชะ (การพูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก)
(3) อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์)
(4) สมานัตตตา (ความมีตนเสมอกัน)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่บุคคลผู้ต้องการ ผู้เงี่ยโสตลงสดับ นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก.
ภิกษุทั้งหลาย การชักชวนคนผู้ไม่มีศรัทธา ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา ชักชวนผู้ทุศีลให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในสีลสัมปทา ชักชวนผู้ตระหนี่ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ ในจาคสัมปทา ชักชวนผู้มีปัญญาทรามให้ตั้งมั่น ดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทานี้ เลิศกว่า การประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย
โสดาบัน มีตนเสมอกับ โสดาบัน
สกทาคามี มีตนเสมอกับ สกทาคามี
อนาคามี มีตนเสมอกับ อนาคามี
อรหันต์ มีตนเสมอกับ อรหันต์
นี้เลิศกว่าความมีตนเสมอทั้งหลาย.1
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่ากำลัง คือ การสงเคราะห์.
1. ปกติการแปลอริยบุคคลทั้ง ๔ นี้ โดยทั่วไปมักจะมีคำ ว่าพระนำ หน้า เช่นพระโสดาบัน แต่เพื่อให้บทพยัญชนะ ตรงกับบาลี และไม่ให้เกิดความสับสน หรือความเข้าใจผิดว่า อริยบุคคลต้องเป็นพระเท่านั้น. -ผู้รวบรวม
หน้า 4
3
ชื่อของอริยบุคคล (นัยที่ ๓)
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๒๓/๒๔๑.
ภิกษุทั้งหลาย สมณะมีในธรรมวินัยนี้
สมณะที่ ๒ มีในธรรมวินัยนี้
สมณะที่ ๓ มีในธรรมวินัยนี้
สมณะที่ ๔ มีในธรรมวินัยนี้
ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง ๔
เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้เถิด.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า นี้สมณะที่ ๑.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๒ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ และเพราะราคะ โทสะโมหะเบาบาง เป็นสกทาคามีมาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วกระทำที่สุดทุกข์ได้ นี้สมณะที่ ๒.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๓ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา นี้สมณะที่ ๓.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๔ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ นี้สมณะที่ ๔.
ภิกษุทั้งหลาย
สมณะ (ที่ ๑) มีในธรรมวินัยนี้
สมณะที่ ๒ มีในธรรมวินัยนี้
สมณะที่ ๓ มีในธรรมวินัยนี้
สมณะที่ ๔ มีในธรรมวินัยนี้
ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง ๔ เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้เถิด.
หน้า 7
4
ชื่อของอริยบุคคล (นัยที่ ๔)
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๐๑/๕๒๘.
ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์พากันศึกษาอยู่.
ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ เป็นอย่างไร คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓เหล่านี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ในสมาธิ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบท เล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคน อาภัพ เพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้
(แม้อรหันต์ ก็ล่วงสิกขาบทเล็กน้อยได้ ในส่วนสิกขาบทเรื่องมารยาทและโคจร)
แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์เธอเป็นผู้ มีศีล ยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบท เหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน ยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.
ภิกษุทั้งหลาย ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นอันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๕ หมดสิ้นไป.
ภิกษุทั้งหลาย ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นอุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๕ หมดสิ้นไป.
ภิกษุทั้งหลาย ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๕ หมดสิ้นไป.
ภิกษุทั้งหลาย ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นสสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๕ หมดสิ้นไป.
ภิกษุทั้งหลาย ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นอุทธังโสโต
อกนิฏฐคามี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป.
ภิกษุทั้งหลาย ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น
เธอเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้ อีกคราวเดียวเท่านั้น แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นเอกพีชี เพราะ สังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป มาบังเกิดยังภพมนุษย์นี้ครั้งเดียว เท่านั้น แล้วจะทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมตุตินั้น เธอเป็นโกลังโกละ เพราะ สังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ยังท่องเที่ยวไปสู่ ๒ หรือ ๓ ตระกูล (ภพ) แล้วจะทำที่สุด แห่งทุกข์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นสัตตักขัตตุปรมะ เพราะ สังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ยังท่องเที่ยวไป ในเทวดา และมนุษย์อย่างมากเพียง ๗ ครั้งแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำได้เพียงบางส่วน ย่อมให้สำเร็จได้เพียงบางส่วน ผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสิกขาบททั้งหลายว่า ไม่เป็นหมันเลย.
หน้า 10
5
ความเป็นอริยบุคคลกับการละเครื่องผูก (นัยที่ ๑)
-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๐๓/๒๗๖.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วย กามโยคะ (กามโยคยุตฺโต) ผู้ประกอบแล้ว ด้วยภวโยคะ (ภวโยคยุตฺโต) เป็นอาคามี ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พรากแล้วจาก กามโยคะ (กามโยควิสํยุตฺโต) (แต่) ยังประกอบด้วย ภวโยคะ เป็นอนาคามี ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พรากแล้วจาก กามโยคะ พรากแล้วจากภวโยคะ (ภวโยควิสํยุตฺโต) เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว.
สัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะ และภวโยคะ ย่อมไปสู่สังสารวัฏ ซึ่งมีปกติถึง ความเกิดและความตาย.
ส่วนสัตว์เหล่าใด ละกามทั้งหลายได้เด็ดขาด แต่ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ยังประกอบด้วยภวโยคะ สัตว์เหล่านั้นบัณฑิตกล่าวว่า เป็นอนาคามี.
ส่วนสัตว์เหล่าใดตัดความสงสัยได้แล้ว มีมานะและมีภพใหม่สิ้นแล้ว ถึงความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สัตว์เหล่านั้นแลถึงฝั่งแล้วในโลก.
หน้า 11
6
โยคะ* ๔
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๓/๑๐.
*โยคะ หมายถึง กิเลส
ภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นอย่างไร คือ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และ อวิชชาโยคะ
ภิกษุทั้งหลาย ก็กามโยคะ(กิเลส) เป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด (สมุทย) ความตั้งอยู่ไม่ได้ (อตฺถงฺคม) คุณ (อสฺสาท) โทษ (อาทีนว) และอุบาย เครื่องสลัดออก (นิสฺสรณ) แห่ง กามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัด ซึ่งความเกิด ความตั้ง อยู่ไม่ได้ คุณ โทษ และ อุบายเครื่องสลัดออก แห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะกาม ความเพลิดเพลินเพราะกาม ความเยื่อใย เพราะกาม ความหมกมุ่นเพราะกาม ความกระหายเพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหยั่งลงในกาม และความทะยานอยาก เพราะกามในกามทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นนี้เรา เรียกว่ากามโยคะ ภิกษุทั้งหลาย กามโยคะเป็นดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภวโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ คุณ โทษและอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งภพ ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะภพ ความเพลิดเพลิน เพราะภพ ความเยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ ความกระหาย เพราะภพ ความเร่าร้อน เพราะภพ ความหยั่งลงในภพ และความทะยานอยาก เพราะภพ ในภพทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าภวโยคะ ภิกษุทั้งหลาย กามโยคะ ภวโยคะ เป็นดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ทิฏฐิโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ คุณโทษ และ อุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ทิฏฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ คุณโทษ และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่ง ทิฏฐิ ทั้งหลายตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะทิฏฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฏฐิ ความเยื่อใยเพราะทิฏฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฏฐิ ความกระหายเพราะทิฏฐิ ความเร่าร้อนเพราะทิฏฐิ ความหยั่งลงเพราะทิฏฐิ และความทะยานอยากเพราะทิฏฐิในทิฏฐิทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าทิฏฐิโยคะ ภิกษุทั้งหลาย กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็อวิชชาโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิดความตั้งอยู่ไม่ได้ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าอวิชชาโยคะ ภิกษุทั้งหลาย กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ เป็นดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยอกุศลธรรมอันเป็นบาป อันเป็นเครื่อง เศร้าหมอง เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติชรา และมรณะ ต่อไปอีก ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า ผู้ไม่เกษมจากโยคะ
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล โยคะ ๔ ประการ.
หน้า 14
7
คลายความพอใจในกามเป็นเทวดาเหล่าสุทธาวาส
-บาลี มหา. ที. ๑๐/๕๗/๕๕.
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๑ มหาปทานสูตร ข้อที่ [๕๕] )
ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ควงไม้พญาสาละในป่าสุภวัน ใกล้นครอุกกัฏฐะ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไปเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความรำพึงในใจว่า ภพที่เราไม่ได้เคย อยู่เลย โดยเวลาอันยืดยาวนานนี้ หาได้ไม่ง่ายเลย นอกจากเทวดาเหล่าสุทธาวาส ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปหาเทวดาเหล่าสุทธาวาส จนถึงที่อยู่เถิด
ภิกษุทั้งหลาย ทันใดนั้น เราได้หายไปจากควงไม้พญาสาละในป่าสุภวัน ใกล้นคร อุกกัฏฐะ ไปปรากฏในพวกเทวดา เหล่าอวิหา เปรียบเหมือนบุรุษ ที่มีกำลัง เหยียดแขน ที่งอเข้า หรืองอแขนที่เหยียดออก เท่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทวดาเหล่านั้น เทวดานับร้อยนับพันเป็นอันมาก ได้เข้ามา หาเรา อภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นยืนเรียบร้อยแล้ว เทวดาเหล่านั้น ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นับแต่นี้ไป ๙๑ กัปพระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าวิปัสสี ได้เสด็จอุบัติ ขึ้นในโลก ... ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์นั้น ได้ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค พระนามว่าวิปัสสี คลายความพอใจในกามทั้งหลายแล้ว*(กาเมสุ กามฉนฺทํ วิราเชตฺวา) จึงได้บังเกิดในที่นี้ * (สังโยชน์ตัวที่ ๔- กามฉันทะ)
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทวดาเหล่านั้น เทวดานับร้อยนับพันเป็นอันมากได้เข้ามา หาเรา อภิวาทแล้ว … ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นับแต่นี้ไป ๓๑ กัป พระผู้มี-พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าสิขี ได้เสด็จอุบัติขึ้น ในโลก.. พวกข้าพระองค์ นั้น ได้ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค พระนามว่าสิขี คลายความพอใจในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทวดาเหล่านั้น เทวดานับร้อยนับพันเป็นอันมากได้เข้า หาเรา อภิวาทแล้ว … ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ในกัปที่ ๓๑ นั้นเอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่า เวสสภู ได้เสด็จอุบัติ ขึ้นในโลก ... พวกข้าพระองค์นั้นได้ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค พระนามว่าเวสสภู คลายความพอใจในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทวดาเหล่านั้น เทวดานับร้อยนับพันเป็นอันมากได้เข้า มา หาเรา อภิวาทแล้ว … ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ในภัททกัปนี้เอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่า กกุสันธะ ได้เสด็จอุบัติขึ้น ในโลก ... พวกข้าพระองค์นั้นได้ประพฤติพรหมจรรย์ใน พระผู้มีพระภาค พระนามว่ากกุสันธะ คลายความพอใจในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทวดาเหล่านั้น เทวดานับร้อยนับพันเป็นอันมากได้เข้ามา หาเรา อภิวาทแล้ว … ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ในภัททกัปนี้เอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่า โกนาคมนะ ได้เสด็จอุบัติขึ้น ในโลก ... พวกข้าพระองค์นั้นได้ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค พระนามว่าโกนาคมนะ คลายความพอใจในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทวดาเหล่านั้น เทวดานับร้อยนับพันเป็นอันมากได้เข้ามา หาเรา อภิวาทแล้ว… ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ในภัททกัปนี้เอง พระผู้มี-พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากัสสปะ ได้เสด็จอุบัติขึ้น ในโลก ... พวกข้าพระองค์นั้นได้ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี พระภาค พระนามว่ากัสสปะ คลายความพอใจในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทวดาเหล่านั้น เทวดานับร้อยนับพันเป็นอันมากได้เข้ามา หาเรา อภิวาทแล้ว … ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ในภัททกัปนี้เอง บัดนี้พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ... พวกข้าพระองค์นั้นประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น คลายความพอใจ ในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.
(จากนั้นพระองค์พร้อมด้วยเทวดา เหล่าอวิหา ได้พากันเข้าไปหาเทวดาเหล่า อตัปปา ถัดจากนั้นพระองค์พร้อมเทวดาเหล่าอวิหา และเหล่าอตัปปา ได้พากัน เข้าไปหาเทวดา เหล่าสุทัสสาถัดจากนั้นพระองค์พร้อมด้วยเทวดาทั้ง ๓ เหล่าได้เข้าไปหาเทวดาเหล่า สุทัสสี ถัดจากนั้นพระองค์พร้อมด้วยเทวดาทั้ง ๔ เหล่า ได้เข้าไปหาเทวดาเหล่าอกนิฏฐา โดยในการเข้าไปหาเทวดาแต่ละเหล่า เทวดาเหล่านั้น ได้กราบทูลพระองค์ ถึงเรื่อง พระพุทธเจ้าบรรดาที่ล่วงไปแล้ว รวมถึงการประพฤติพรหมจรรย์ของตนเอง ในช่วงที่
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น โดยทำนองเดียวกัน ผู้ศึกษาพึงเทียบเคียงได้เองหรืออ่านได้ จากเนื้อความเต็ม ของพระสูตร. -ผู้รวบรวม)
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ธรรมธาตุนี้ ตถาคตแทงตลอดแล้วอย่างดีด้วย
อาการอย่างนี้ ดังนั้น พระพุทธเจ้าที่ล่วงไปแล้ว ปรินิพพานไปแล้ว ตัดธรรมเป็นเหตุทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว ตัดวัฏฏะได้แล้ว ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ล่วงทุกข์ทั้งปวงแล้ว
ตถาคตย่อมระลึกถึงได้แม้โดยพระชาติ
ย่อมระลึกได้แม้โดยพระนาม
ย่อมระลึกได้ แม้โดยพระโคตร
ย่อมระลึกได้ แม้โดยประมาณแห่งพระชนมายุ
ย่อมระลึกได้ แม้โดยคู่แห่งพระสาวก
ย่อมระลึกได้ แม้โดยการประชุมกันแห่งพระสาวก ว่า
แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น
จึงมีพระชาติอย่างนี้ จึงมีพระนามอย่างนี้
จึงมีพระโคตรอย่างนี้ จึงมีศีลอย่างนี้
จึงมีธรรมอย่างนี้ จึงมีปัญญาอย่างนี้
จึงมีวิหารธรรมอย่างนี้ จึงมีวิมุตติอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย แม้พวกเทวดาก็ได้บอกเนื้อความนี้แก่ตถาคต ซึ่งเป็นเหตุให้ตถาคต ระลึกถึงได้ ซึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว … แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค เหล่านั้น จึงมีพระชาติอย่างนี้ จึงมีพระนามอย่างนี้ จึงมีพระโคตรอย่างนี้ จึงมีศีลอย่างนี้ จึงมีปัญญาอย่างนี้ จึงมีวิหารธรรมอย่างนี้ จึงมีวิมุตติอย่างนี้ ดังนี้.
หน้า 19
8
ความเป็นอริยบุคคล กับการละเครื่องผูก (นัยที่ ๒)
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๘๑/๑๓๑.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นอย่างไร คือ
(1) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
-
ยังละโอรัมภาคิย-สังโยชน์ไม่ได้ (เบื้องต่ำ ๕)
-
ยังละสังโยชน์ อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้อุบัติ ไม่ได้
-
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้ภพ ไม่ได้
(2) อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
-
ละโอรัมภาคิย-สังโยชน์ได้ (เบื้องต่ำ ๕)
-
ยังละสังโยชน์ อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้อุบัติ ไม่ได้
-
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้ภพ ไม่ได้
(3) อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
-
ละโอรัมภาคิย-สังโยชน์ได้ (เบื้องต่ำ ๕)
-
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติ ได้ แต่
-
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพ ไม่ได้
(4) อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
-
ละโอรัมภาคิย-สังโยชน์ได้ (เบื้องต่ำ ๕)
-
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติ ได้
-
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้ภพ ได้
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลจำพวกไหน
-
ยังละโอรัมภาคิย-สังโยชน์ไม่ได้ (โอรมฺภาคิยานิ สญฺโญชนานิ อปฺปหีนานิ)
-
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้ (อุปฺปตฺติ ปฏิลาภิกานิสญฺ โญชนานิ อปฺปหีนานิ)
-
ยังละสังโยชน์ อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้ (ภวปฏิลาภิกานิ สญฺโญชนานิ อปฺปหีนานิ)
คือ สกทาคามีภิกษุทั้งหลาย (พวกที่ ๑)
บุคคลนี้แล
-
ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้
- ยังละสังโยชน์ อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ อุบัติไม่ได้
-
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้.
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวกไหน
- ละโอรัมภาคิย-สังโยชน์ได้ (โอรมฺภาคิยานิ สญฺโญชนานิ ปหีนานิ) แต่
-
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้
-
ยังละสังโยชน์ อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้ คือ อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี(พวกที่๒) (ผู้มีกระแสเบื้องบนไปสู่ อกนิฏฐภพ)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล
-
ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ แต่
-
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้ และ
-
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวกไหน
-
ละโอรัมภาคิย-สังโยชน์ได้
-
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติ ได้ (อุปฺปตฺติ-ปฏิลาภิกานิ สญฺโญชนา นิปหีนานิ) แต่
-
ยังละสังโยชน์ อันเป็นปัจจัย
เพื่อให้ได้ภพไม่ได้
คือ อันตราปรินิพพายี (พวกที่ ๓)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล ละโอรัมภาคิย สังโยชน์ได้ ละสังโยชน์ อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ อุบัติได้ แต่ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้ภพไม่ได้
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวกไหน
-
ละโอรัมภาคิย-สังโยชน์ได้
-
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้อุบัติได้ และ
-
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้ภพได้ (ภวปฏิลาภิกานิ สญฺโญชนานิ ปหีนานิ) คือ อรหันต์ผู้สิ้น อาสวะแล้ว (พวกที่ ๔)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล
-
ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
-
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อ ให้ได้อุบัติได้
-
ละสังโยชน์อันเป็น ปัจจัยเพื่อให้ได้ภพได้.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.
(ควรดูประกอบเพิ่มเติมเรื่อง “อุปมาช่างตีเหล็ก” หน้า28 ของหนังสือเล่มนี้.-ผู้รวบรวม)
หน้า 22
9
สังโยชน์ ๑๐
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๘/๑๓.
ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นอย่างไร คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ประการ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการ.
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) สักกายทิฏฐิ
(2) วิจิกิจฉา
(3) สีลัพพตปรามาส
(4) กามฉันทะ
(5) พยาบาท
เหล่านี้แล โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้.
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) รูปราคะ
(2) อรูปราคะ
(3) มานะ
(4) อุทธัจจะ
(5) อวิชชา
เหล่านี้แล อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล สังโยชน์ ๑๐ ประการ.
หน้า 23
10
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
-บาลี ม. ม. ๑๓/๑๕๔/๑๕๓.
มาลุงกยบุตร ก็เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่เราแสดงแล้วว่าอย่างไร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิย-สังโยชน์ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาทที่พระผู้มี พระภาค ทรงแสดงแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วอย่างนี้.
มาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านี้ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ แก่ใครหนอ. มาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียงด้วยคำโต้เถียง อันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้ มิใช่หรือว่า แม้แต่ความคิดว่า กายของตนดังนี้ ย่อมมีแก่ เด็กอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้น แต่ที่ไหน
ส่วนสักกายทิฏฐิ อันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น แม้แต่ความคิดว่า ธรรมทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กอ่อน ผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็ความสงสัยในธรรม ทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนวิจิกิจฉา อันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น แม้แต่ความคิดว่าศีล
ทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กอ่อน ผู้ยังนอนหงายอยู่ สีลัพพตปรามาสในศีล ทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้น แต่ที่ไหน
ส่วนสีลัพพตปรามาส อันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตาม แก่เด็กนั้น แม้แต่ความคิดว่า กามทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มี แก่เด็กอ่อนยังนอนหงายอยู่ ก็กามฉันทะในกามทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้น แต่ที่ไหน
ส่วนกามราคะ อันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น แม้แต่ความคิดว่า สัตว์ทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กอ่อน ผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็ความพยาบาท ในสัตว์ทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนพยาบาท อันเป็นอนุสัย เท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น. มาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์ จักโต้เถียงด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กอ่อนนี้ได้มิใช่หรือ.
ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เวลานี้เป็นกาลสมควร ข้าแต่พระสุคต เวลานี้เป็นกาลสมควร ที่พระผู้มีพระภาค พึงทรงแสดง โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ภิกษุทั้งหลายได้ฟัง ต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้.
อานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว.
อานนท์ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ พระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำ ในธรรมของพระอริยะ ไม่เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม ของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมแล้ว อันสักกายทิฏฐิ ครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบาย เป็นเครื่องสลัดออก เสียได้ตามความเป็นจริง สักกายทิฏฐินั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิย-สังโยชน์
ปุถุชนนั้นมีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อ วิจิกิจฉาเกิดขึ้น แล้ว ย่อมไม่รู้อุบาย เป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความเป็นจริง วิจิกิจฉานั้นก็เป็นของมี กำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภา คิยสังโยชน์
ปุถุชนนั้นมีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมแล้ว อันสีลัพพตปรามาสครอบงำแล้วอยู่ และ เมื่อสีลัพพตปรามาส เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบาย เป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความ เป็นจริง สีลัพพตปรามาสนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทา ไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็น โอรัมภาคิย-สังโยชน์
ปุถุชนนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว อันกามราคะครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อ กามราคะ เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบาย เป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง กามราคะนั้น ก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้น บรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภา คิยสังโยชน์
ปุถุชนนั้นมีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้วอันพยาบาทครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อ พยาบาท เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบาย เป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความเป็นจริงพยาบาทนั้น ก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้น บรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์.
อานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะ เป็นผู้ฉลาดในธรรม ของพระอริยะ ได้รับแนะนำในธรรม ของพระอริยะดีแล้ว ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ได้รับแนะนำในธรรม ของสัปบุรุษดีแล้ว มีจิตอัน สักกายทิฏฐิกลุ้มรุมไม่ได้ อันสักกายทิฏฐิ ครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อ สักกายทิฏฐิ เกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความเป็นจริง สักกายทิฏฐิ พร้อมทั้งอนุสัย
อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้ อริยสาวกนั้นมีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมไม่ได้ อันวิจิกิจฉา ครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบาย เป็นเครื่องสลัดออก เสียได้ ตามความเป็นจริง วิจิกิจฉา พร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้ อริยสาวกนั้นมีจิต อันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมไม่ได้ อัน
สีลัพพตปรามาสย่อมครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อสีลัพพต-ปรามาสเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบาย เป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความเป็นจริง สีลัพพตปรามาส พร้อมทั้งอนุสัย อันอริย สาวกนั้นย่อมละได้
อริยสาวกนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมไม่ได้อันกามราคะครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อกาม ราคะ เกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบาย เป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความเป็นจริง กามราคะ พร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้ อริยสาวกนั้นมีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมไม่ได้ อันพยาบาทครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัด ออกเสียได้ตาม ความเป็นจริง พยาบาทพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.
(มีเนื้อความของพระสูตรต่อเนื่องถึง “ปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์” ซึ่งได้นำไปใส่ไว้ในหน้า 437 ของหนังสือเล่มนี้.-ผู้รวบรวม)
หน้า 28
11
อุปมาช่างตีเหล็ก
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๗๑/๕๒.
(ดูภาพประกอบ)
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ปุริสคติ ๗ ประการ และ อนุปาทาปรินิพพาน เธอทั้งหลาย จงตั้งใจฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว
ภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ ๗ ประการ เป็นอย่างไร คือ
(1) ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรม ในอดีต ไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้ากรรมในปัจจุบัน ไม่มีไซร้ อัตภาพใน อนาคต ก็จักไม่มีแก่เรา เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัด ในเบญจขันธ์ อันเป็นอดีต ไม่ข้องในเบญจขันธ์ อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่ง ซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญา อันชอบก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้ โดยอาการ ทั้งปวง อนุสัยคือ มานะ อนุสัยคือ ภวราคะ อนุสัยคือ อวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ภิกษุนั้นย่อมเป็น อันตราปรินิพพายี เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก ที่ถูกเผา อยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออก แล้วดับไป (ปปฺปฏิกา นิพฺพตฺติตฺวา นิพฺพาเยยฺย) ฉะนั้น.1
1. อุปมานี้ พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงไม่ได้ใส่ไว้ แต่มีมาโดยภาษาบาลี จึงได้เทียบเคียงสำนวนแปลมาจากพระไตรปิฎกฉบับอื่น. -ผู้รวบรวม
(2) ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ … เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต… ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่ง ซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือ มานะ … อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะโอรัมภา คิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมเป็นอันตราปรินิพพายี เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่น เหล็ก ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออก ลอยไปแล้วก็ดับ (ปปฺปฏิกา นิพฺพตฺติตฺวา อุปฺปติตฺวา นิพฺพาเยยฺย) ฉะนั้น.
(3) ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ … เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมเป็นอันตราปรินิพพายี เปรียบเหมือน เมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออก ลอยไปตกยังไม่ถึง พื้นก็ดับ (ปปฺปฏิกา นิพฺพตฺติตฺวา อุปฺปติตฺวา อนุปหจฺจตลํนิพฺพาเยยฺย) ฉะนั้น.
(4) ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ … เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมเป็นอุปหัจจปรินิพพายี เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออก ลอยไปตกถึงพื้นแล้วก็ดับ (ปปฺปฏิกา นิพฺพตฺติตฺวา อุปฺปติตฺวา อุปหจฺจตลํนิพฺพาเยยฺย) ฉะนั้น.
(5) ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ … เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายี เปรียบเหมือน เมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผา อยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออก ลอยไปแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้น ย่อมให้ไฟ และควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้าหรือกองไม้เล็กๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควันเผา กองหญ้า หรือกองไม้เล็กๆ นั้นให้หมดไปจนไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น.
(6) ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ … เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายี เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออก ลอยไปแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้เขื่องๆ สะเก็ดนั้นย่อมให้เกิดไฟ และควันที่กองหญ้า หรือกองไม้เขื่องๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟ และควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกองไม้เขื่องๆ นั้นให้หมดไปจนไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น.
(7) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ … เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ) เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็ก ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวันสะเก็ดร่อนออก ลอยไป แล้วตกลงที่กองหญ้า หรือกองไม้ใหญ่ๆ สะเก็ดนั้นย่อมให้เกิดไฟและควัน ที่กองหญ้า หรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป แล้วจึงลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้ ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียวที่สุดภูเขา ที่สุดชายน้ำ หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลปุริสคติ ๗ ประการ.
ภิกษุทั้งหลาย ส่วน อนุปาทาปรินิพพาน เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้คือ ย่อมได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตภาพในปัจจุบัน ก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตภาพในอนาคต ก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัด ในเบญจขันธ์ อันเป็นอดีต ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์ อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบท อันสงบระงับ อย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ละได้แล้ว โดยอาการทั้งปวง
เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุปาทาปรินิพพาน.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลปุริสคติ ๗ ประการ และ อนุปาทาปรินิพพาน.
หน้า 33
12
ความเป็นอริยบุคคลกับสิกขา ๓ (นัยที่ ๑)
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๙๗/๕๒๖.
ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ ปรารถนาประโยชน์ศึกษากันอยู่.
ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ นั้นเป็นอย่างไร คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓เหล่านี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล (สีเลสุ ปริปูรการี) เป็นผู้ทำ พอประมาณในสมาธิ (สมาธิสฺมึ มตฺตโสการี) เป็นผู้ทำพอประมาณ ในปัญญา (ปญฺญาย มตฺตโสการี) เธอย่อมล่วงสิกขาบท เล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจาก อาบัตินั้นบ้าง ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร เพราะไม่มีใครกล่าวความ เป็นคนอาภัพเพราะล่วง สิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบท เหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีล ยั่งยืน และเป็นผู้มีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย เธอเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป เป็นผู้มีความไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอประมาณ ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติ นั้นบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคน อาภัพ เพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย
เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป เธอเป็นสัตตักขัตตุปรมะ ย่อมท่องเที่ยวไป ในภพเทวดา และมนุษย์อย่างมาก เจ็ดครั้งแล้ว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป เธอเป็นโกลังโกละ ย่อมท่องเที่ยว ไปสู่ ๒ หรือ ๓ ตระกูลแล้วจะทำที่สุด แห่งทุกข์ได้
เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป เธอเป็น เอกพีชี ย่อมมาเกิดยังภพมนษุย์นี้ คราวเดียว เท่านั้นแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป และเพราะราคะโทสะโมหะเบาบาง เธอเป็นสกทาคามี ย่อมมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียว แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัตินั้น บ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะไม่มีใครกล่าวความ เป็นคนอาภัพ เพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์
เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบท เหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป เธอเป็นอุทธัง-โสโตอกนิฏฐคามี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป เธอเป็นสสังขารปรินิพพายี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕หมดสิ้นไป เธอเป็นอสังขารปรินิพพายี
เพราะโอรัมภาคิย-สังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป เธอเป็นอุปหัจจปรินิพพายี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป เธอเป็นอันตราปรินิพพายี
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ในสมาธิ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจาก อาบัตินั้น บ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะไม่มีใครกล่าวความ เป็นคนอาภัพ เพราะเหตุล่วง สิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบท เหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงบางส่วนย่อมให้สำเร็จได้บางส่วน ผู้ทำให้บริบูรณ์ย่อมให้ สำเร็จได้บริบูรณ์อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสิกขาบททั้งหลายว่าไม่เป็นหมันเลย.
36
13
ความเป็นอริยบุคคลกับสิกขา ๓ (นัยที่ ๒)
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๙๙/๕๒๗.
ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตร ทั้งหลาย ผู้ปรารถนาประโยชน์ศึกษา
กันอยู่.
ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้น
รวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ เป็นอย่างไร คือ อธิศีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓
เหล่านี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้
บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำ พอประมาณ ในสมาธิ เป็นผู้ทำ
พอประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบท เล็กน้อยบ้าง
ย่อมออกจากอาบัตินั้นบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะ
ไม่มีใคร กล่าวความเป็นคน อาภัพ เพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้
แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควร
แก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีล มั่นคงใน
สิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป เธอเป็นสัตตักขัตตุปรมะ ย่อมท่องเที่ยวไปในภพเทวดา และมนุษย์อย่างมาก เจ็ดครั้งแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป เธอเป็นโกลังโกละ ย่อมท่องเที่ยวไปสู่ ๒ หรือ ๓ ตระกูล
แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป เธอเป็นเอกพีชี ย่อมมาเกิดยังภพมนุษย์นี้ คราวเดียว เท่านั้น แล้วจะทำที่สุด แห่งทุกข์ได้
เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป
และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เธอเป็นสกทาคามี ย่อมมาสู่โลกนี้ อีกครั้ง เดียว แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง
ย่อมออกจาก อาบัตินั้นบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะไม่มีใครกล่าวความ เป็นคนอาภัพ เพราะเหตุ ล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป เธอเป็นอุทธัง-
โสโตอกนิฏฐคามี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป เธอเป็นสสังขารปรินิพพายี
เพราะโอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕
หมดสิ้นไป เธอเป็นอสังขารปรินิพพายี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป เธอเป็นอุปหัจจปรินิพพายี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป เธอเป็นอันตราปรินิพพายี
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้
บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ใน สมาธิ เป็นผู้ทำให้
บริบูรณ์ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจาก อาบัตินั้นบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้ แต่
ว่าสิกขาบท เหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่
พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบท
เหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้
แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะ
อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงบางส่วนย่อมให้
สำเร็จได้บางส่วน ผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์
อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสิกขาบททั้งหลายว่า
ไม่เป็นหมันเลย.
หน้า 39
14
ความเป็นอริยบุคคลกับสิกขา ๓ (นัยที่ ๓)
-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๓๙๓/๒๑๖.
สมัยหนึ่ง ในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองจีวร ถือบาตรเข้าไปบิณฑบาต ในนครสาวัตถี ท่านเห็นว่าเวลายังเช้าเกินไปสำหรับการบิณฑบาต จึงแวะเข้าไป ในอารามของพวก ปริพาชกลัทธิอื่น ได้ทักทายปราศรัยกันพอสมควรแล้ว จึงนั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ก็ในสมัยนั้นพวกปริพาชกเหล่านั้น กำลังนั่งประชุมสนทนากันว่า บุคคลใด ใครก็ตาม ที่ยังมีเชื้อเหลือ (สอุปาทิเสสะ) ถ้าตายแล้ว ย่อมไม่พ้นจากนรก ไม่พ้นจากกำเนิด เดรัจฉาน ไม่พ้นจากเปรตวิสัย ไม่พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต
ท่านพระสารีบุตรไม่ยินดี ไม่คัดค้าน ถ้อยคำที่ปริพาชกลัทธิอื่นเหล่านั้นกล่าว แล้วลุกจากที่นั่งไป โดยคิดว่าจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักพระผู้มี พระภาค ครั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังอาหารแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค กราบทูลถึง เรื่องราวที่เกิดขึ้นให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
สารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชก บางพวกโง่เขลาไม่ฉลาด จะรู้ได้อย่างไรว่า ใครมีเชื้อเหลือ (สอุปาทิเสสะ) หรือไม่มีเชื้อเหลือ (อนุปาทิเสสะ)
สารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้ที่มีเชื้อเหลือ เมื่อกระทำกาละ ย่อมพ้นจากนรก พ้นจากกำเนิด เดรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสยั พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ๙ จำพวก เป็นอย่างไร คือ สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ ในศีล กระทำให้ บริบูรณ์ ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น อันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๑ ที่มีเชื้อเหลือ เมื่อกระทำกาละ ย่อมพ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดเดรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสยั พน้ จากอบาย ทุคติ และวินิบาต.
สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล กระทำให้ บริบูรณ์ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น อุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตรนี้บุคคลจำพวกที่ ๒ … .
สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล กระทำให้ บริบูรณ์ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น อสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตรนี้บุคคลจำพวกที่ ๓ … .
สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล กระทำให้ บริบูรณ์ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น สสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตรนี้บุคคลจำพวกที่ ๔ … .
สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล กระทำให้ บริบูรณ์ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๕ … .
สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล กระทำพอประมาณในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น สกทาคามีเพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบางกลับมายังโลกนี้ เพียงคราวเดียวจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๖ … .
สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล กระทำพอประมาณในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น เอกพีชี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป บังเกิดยังภพมนุษย์นี้ครั้งเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๗ … .
สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล กระทำพอประมาณในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น โกลังโกละ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ ๒-๓ ตระกูล แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๘ … .
สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล กระทำ พอประมาณในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น สัตตักขัตตุปรมะ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ยังเทวดา และมนุษย์ ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๙ ที่มีเชื้อเหลือ เมื่อกระทำกาละ ย่อมพ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดเดรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต
สารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวกโง่เขลาไม่ฉลาด จะรู้ได้อย่างไรว่า ใครมีเชื้อเหลือ (สอุปาทิเสสะ) หรือไม่มีเชื้อเหลือ (อนุปาทิเสสะ).
สารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้แล ที่มีเชื้อเหลือ เมื่อกระทำกาละ ย่อมพ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดเดรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต.
สารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ยังไม่เคยแสดงแก่ภิกษุภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกามาก่อน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเพราะเหตุว่า ผู้ฟังธรรมปริยายนี้แล้ว จักเข้าถึงซึ่งความประมาท อนึ่ง ธรรมปริยายเช่นนี้ เราจะกล่าวก็ต่อเมื่อถูกถาม เจาะจงเท่านั้น. |