เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  สัตว์ -พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  1 of 7  
 
  สัตว์ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
       
  คำอนุโมทนา    
  คำนำ    
       
  ว่าด้วยสัตว์    
  1. เหตุที่เรียกว่า “สัตว์” 1  
  2. เพราะไม่รู้อริยสัจ สัตว์จึงท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ 2  
  3. สัตว์ผู้มีอวิชชา ได้ท่องเที่ยวไปแล้วตลอดกาลยืดยาวนาน 3  
  4. สังสารวัฏ ไม่ปรากฏที่สุด แก่สัตว์ผู้มีอวิชชา 4  
  5. สัตว์ทั้งหลายถูกสังโยชน์ คือ ตัณหา ผูกมัดแล้วย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป 5  
  6. หมู่สัตว์ถูกนิวรณ์ คือ อวิชชา หุ้มห่อแล้วย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป 6  
  7. วิญญาณ ไม่ใช่สิ่งที่แล่นไป ท่องเที่ยวไป 7  
  8. ตัณหา คือ เชื้อแห่งการเกิด 8  
  10 . ความมีขึ้นแห่งภพ (นัยที่ ๑) 10  
  11 . ความมีขึ้นแห่งภพ (นัยที่ ๒) 11  
       
 
 





สัตว์


คำอนุโมทนา

ขออนุโมทนากับคณะงานธัมมะ ผู้จัดทำหนังสือพุทธวจน ฉบับ สัตว์ ที่มีความตั้งใจและมีเจตนาอันเป็นกุศล ในการเผยแผ่คำสอนของตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธะท่อี อกจากพระโอษฐ์ของพระองค์เอง ในการรวบรวมคำ สอนของตถาคต อันเกี่ยวข้องกับสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น ตัณหาเป็นเครื่องผูก ที่ยังต้องแล่นไป ท่องเที่ยวไป ในสังสารวัฏ.

ด้วยเหตุอันดีที่ได้กระทำมาแล้วนี้ ขอจงเป็นเหตุปัจจัยให้ผู้มีส่วนร่วม ในการทำหนังสือ และผู้ที่ได้อ่านได้ศึกษา ได้นำไปปฏิบัติ พึงสำเร็จสมหวัง พบความเจริญรุ่งเรืองของชีิวิตได้จริงในทางโลก และได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จผลยังนิพพาน สมดังความปรารถนา ตามเหตุปัจจัยที่ได้สร้างมาอย่างดีแล้วด้วยเทอญ.ผ

ขออนุโมทนา
ภิกขุคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล



คำนำ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า “เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือของทุกข์ และอริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏตลอด กาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้.

สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ บางคราวแล่นจากโลกนี้สู่โลกอื่น บางคราวแล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า
ตลอดกาลนาน ข้อนั้นเพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่.


ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ(ความเพลิน) ตัณหา (ความอยาก) ใดๆ มีอยู่ในรูป เวทนา สัญญาสังขารทั้งหลาย และวิญญาณ เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในรูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย และวิญญาณ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สัตว์ (ผู้ข้องติดในขันธ์ทั้ง ๕).

เมื่อเหตุให้เกิดทุกข์ ความดับไม่เหลือของทุกข์ และทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นความจริงที่เรา และพวกเธอทั้งหลายรู้ถึง และแทงตลอดแล้ว ตัณหาในภพ ก็ถูกถอนขึ้นขาด ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพก็สิ้นไปหมดบัดนี้ความต้องเกิดขึ้นอีกไม่ได้มี ดังนี้.

พวกเธอทั้งหลาย จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด เพราะว่าความสิ้นไป แห่งตัณหานั้น คือ นิพพาน”พุทธวจนฉบับ สัตว์ ได้รวบรวมไว้ซึ่งตถาคตภาษิต อันเกี่ยวข้องกับสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก เพื่อให้ผู้ที่ได้อ่าน ได้ศึกษา จะได้ทราบถึงเหตุที่เรียกว่าสัตว์ เหตุที่สัตว์ทั้งหลายยังต้องท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ และข้อปฏิบัติเพื่อพ้นจากความเป็นสัตว์.

อันจะเป็นเหตุให้อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น เพราะความจางคลายไปแห่งอวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา อริยสาวกนั้น ย่อมไม่มีความถือมั่นว่าเรามีอยู่ ดังนี้บ้าง ว่านี้เป็นเรา ดังนี้บ้าง ว่าเราจักมี ดังนี้บ้าง ว่าเราจักไม่มี ดังนี้บ้าง ว่าเราจักเป็นสัตว์มีรูป ดังนี้บ้าง ว่าเราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูปดังนี้บ้าง ว่าเราจักเป็นสัตว์มีสัญญา ดังนี้บ้าง ว่าเราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญาดังนี้บ้าง ว่าเราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ดังนี้บ้าง ดังนี้แล.

คณะงานธัมมะ วัดนาป่าพง

...............................................................................................................................................

หน้า 2


ว่าด้วยสัตว์


เหตุที่เรียกว่า “สัตว์”
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๒/๓๖๗.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ (สตฺโต สตฺโตติ)ดังนี้ อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า.

ราธะ ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความอยาก) ใดๆ มีอยู่ในรูป เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในรูปนั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ (ผู้ข้องติดในขันธ์ทั้ง ๕) ดังนี้ (รูเป โย ฉนฺโท โย ราโค ยา นนฺทิ ยา ตณฺหา ตตฺรสตฺโต ตตฺร วิสตฺโต ตสฺมา สตฺโตติ วุจฺจติ).

ราธะ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหาใดๆ มีอยู่ในเวทนา เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในเวทนานั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้.

ราธะ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหาใดๆ มีอยู่ในสัญญา เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสัญญานั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้.

ราธะ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหาใดๆ มีอยู่ในสังขารทั้งหลาย เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสังขารทั้งหลายนั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้.

ราธะ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหาใดๆ มีอยู่ในวิญญาณ เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในวิญญาณนั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้ (วิญฺญาเณ โย ฉนฺโท โย ราโค ยา นนฺทิยา ตณฺหา ตตฺร สตฺโต ตตฺร วิสตฺโต ตสฺมา สตฺโตติ วุจฺจติ).

ราธะ เปรียบเหมือนพวกกุมารน้อยๆ หรือกุมารีน้อยๆ เล่นเรือนน้อยๆ ที่ทำด้วยดินอยู่ ตราบใด เขายังมีราคะ มีฉันทะ มีความรัก มีความกระหาย มีความเร่าร้อนและมีตัณหา ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ตราบนั้น พวกเด็กน้อยๆ นั้น ย่อมอาลัยเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ย่อมอยากเล่น ย่อมอยากมีเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ย่อมยึดถือเรือนน้อยที่ทำด้วยดิน เหล่านั้นว่าเป็นของเราดังนี้.

ราธะ แต่เมื่อใด พวกกุมารน้อยๆ หรือกุมารีน้อยๆเหล่านั้น ปราศจากราคะแล้ว ปราศจากฉันทะแล้ว ปราศจากความรักแล้ว ปราศจากความกระหายแล้ว ปราศจากความเร่าร้อนแล้ว ปราศจากตัณหาแล้ว ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ในกาลนั้น พวกเขาย่อมทำเรือนน้อยๆ ที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ให้กระจัดกระจาย เรี่ยราย เกลื่อนกล่นไป กระทำให้จบการเล่นเสียด้วยมือและเท้าทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด.

ราธะ อุปไมยก็ฉันนั้น คือ แม้พวกเธอทั้งหลาย
จงเรี่ยรายกระจายออกซึ่งรูป จงขจัดเสีย จงทำให้แหลกลาญ จงทำให้จบการเล่นอย่างถูกวิธี จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด จงเรี่ยรายกระจายออกซึ่งเวทนา จงขจัดเสียจงทำให้แหลกลาญ จงทำให้จบการเล่นอย่างถูกวิธี จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด จงเรี่ยรายกระจายออกซึ่งสัญญา จงขจัดเสีย จงทำให้แหลกลาญ จงทำให้จบการเล่นอย่างถูกวิธี จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด จงเรี่ยรายกระจายออกซึ่งสังขารทั้งหลาย จงขจัดเสีย จงทำให้แหลกลาญ จงทำให้จบการเล่นอย่างถูกวิธี จงปฏิบัติ เพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด จงเรี่ยรายกระจายออก ซึ่งวิญญาณ จงขจัดเสีย จงทำให้แหลกลาญ จงทำให้จบการเล่นอย่างถูกวิธี จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด.

ราธะ เพราะว่า ความสิ้นไปแห่งตัณหานั้น คือ นิพพาน ดังนี้.

หน้า ๕



เพราะไม่รู้อริยสัจ สัตว์จึง ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ

-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๑๙/๔๓๘., -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๑,๕๕๐/๑๖๙๘,๑๗๑๖.

ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี อวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก (อวิชฺชานีวรณานํ สตฺตานํ ตณฺหา สญฺโญชนานำ) ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้ เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพี ที่เป็นป่าช้าตลอด กาลนานเหมือนอย่างนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนท่อนไม้ อันบุคคล ซัดขึ้นไปสู่อากาศ บางคราว ตกเอาโคนลง บางคราวตกเอา ตอนกลางลง บางคราวตกเอาปลายลง ข้อนี้ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บางคราวแล่นจากโลกนี้สู่โลกอื่น บางคราวแล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเล่า

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนานเหมือนอย่างนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัดพอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.
… … …
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนท่อนไม้ อันบุคคลซัดขึ้นไปสู่อากาศ บางคราว ตกเอาโคนลง บางคราวตกเอาตอนกลางลง บางคราวตกเอาปลายลง ข้อนี้ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกันบางคราวแล่นจากโลกนี้สู่โลกอื่น บางคราวแล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่.

อริยสัจทั้งสี่อะไรบ้าง คือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ อริยสัจ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์อริยสัจ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ ของทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรม อันเป็นเครื่อง กระทำ ให้รู้ว่าทุกข์เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือ ของทุกข์เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้.
… … …
ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจสี่อย่าง เรา และพวกเธอ ทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจสี่อย่าง อะไรบ้าง.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุ ให้เกิดทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือของทุกข์ และอริยสัจ คือทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไป แล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออริยสัจคือทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ความดับไม่เหลือของทุกข์ และทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นความจริงที่เราและพวกเธอ ทั้งหลายรู้ถึงและแทงตลอดแล้ว ตัณหาในภพ ก็ถูกถอนขึ้นขาดตัณหาที่จะนำ ไปสู่ภพ ก็สิ้นไปหมด บัดนี้ ความต้องเกิดขึ้นอีกไม่ได้มี ดังนี้.

หน้า ๘


สัตว์ผู้มีอวิชชา
ได้ท่องเที่ยวไปแล้ว ตลอดกาลยืดยาวนาน
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๑๖/๔๓๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเท่าไหร่หนอ.

ภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี.

ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า.

อาจอุปมาได้ ภิกษุ

ภิกษุ เปรียบเหมือน นครที่ทำด้วยเหล็ก ยาว ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ เต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดรวมกันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษพึงหยิบเอา เมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่งๆ ออกจากนครนั้นโดยลว่ งไป ๑๐๐ ปีต่อเมล็ด เมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่นั้น พึงถึงความสิ้นไป หมดไป เพราะความพยายามนี้ยังเร็วกว่า ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงความสิ้นไป หมดไป กัปนานอย่างนี้แล บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่ ๑ กัปมิใช่ ๑๐๐ กัป มิใช่ ๑,๐๐๐ กัป มิใช่ ๑๐๐,๐๐๐ กัป.

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเล่า เพราะเหตุว่า สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี อวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยว ไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้ เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพี ที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน เหมือนอย่างนั้น.

ภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

หน้า ๑๐


สังสารวัฏ ไม่ปรากฏที่สุดแก่สัตว์ผู้มีอวิชชา

-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๑๗/๔๓๕.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากเท่าไร หนอ.

พราหมณ์ กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัป เหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป.

ก็พระโคดมผู้เจริญอาจจะอุปมาได้ไหม.

อาจอุปมาได้ พราหมณ์.

พราหมณ์ แม่น้ำาคงคานี้ย่อมเกิดแต่ที่ใด และย่อมถึงมหาสมุทร ณ ที่ใด เม็ดทรายในระยะนี้ไม่เป็นของง่ายที่จะกำหนดได้ว่า เท่านี้เม็ด เท่านี้ ๑๐๐ เม็ด เท่านี้ ๑,๐๐๐ เม็ดหรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ เม็ด.

พราหมณ์ กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้วมากกว่าเมล็ดทรายเหล่านั้น มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป.

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเล่า เพราะเหตุว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย ไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยว ไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนานเหมือนอย่างนั้น.

พราหมณ์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัดพอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

หน้า๑๒


สัตว์ทั้งหล
ายถูกสังโยชน์ คือ ตัณหาผูกมัดแล้ว ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป
-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๓๖/๑๙๓.

ภิกษุทั้งหลาย เราไม่มองเห็นสังโยชน์อื่น แม้อย่างหนึ่งซึ่งเมื่อสัตว์ทั้งหลาย (สตฺตา) ถูกสังโยชน์ผูกมัดแล้ว ย่อมแล่นไปท่องเที่ยวไป ตลอดกาลยืดยาวนาน เหมือนอย่างสังโยชน์คือ ตัณหานี้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายที่ถูกสังโยชน์คือ ตัณหาผูกมัดแล้ว ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป ตลอดกาลยืดยาวนาน.

บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อนสอง ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยืดยาวนาน ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏ อันมีความเป็นอย่างนี้และความเป็นอย่างอื่นไปได้.

ภิกษุรู้ซึ่งตัณหา อันเป็นเหตุให้เกิดแห่งทุกข์นี้โดยความเป็นโทษแล้ว พึงเป็นผู้ไม่มีตัณหา ไม่มีความถือมั่นมีสติอยู่.

หน้า ๑๓


หมู่สัตว์ถูกนิวรณ์ คือ อวิชชา หุ้มห่อแล้ว ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป

-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๓๕/๑๙๒.

ภิกษุทั้งหลาย เราไม่มองเห็นนิวรณ์อื่น แม้อย่างหนึ่งซึ่งเมื่อหมู่สัตว์ (ปชา) ถูกนิวรณ์หุ้มห่อแล้ว ย่อมแล่นไปท่องเที่ยวไป ตลอดกาลยืดยาวนาน เหมือนอย่างนิวรณ์คือ อวิชชานี้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าหมู่สัตว์ผู้ถูกนิวรณ์ คืออวิชชาหุ้มห่อแล้ว ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป ตลอดกาลยืดยาวนาน.

ธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้หมู่สัตว์ถูกธรรมนั้นหุ้มห่อแล้ว ต้องท่องเที่ยว ไปตลอดกาลยืดยาวนาน เหมือนหมู่สัตว์ผู้ถูกโมหะหุ้มห่อแล้วไม่มีเลย.

ส่วนอริยสาวกเหล่าใด ละโมหะแล้ว ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว อริยสาวก เหล่านั้น ย่อมไม่ท่องเที่ยวไปอีก เพราะอวิชชาอันเป็นต้นเหตุ ย่อมไม่มีแก่ อริยสาวกเหล่านั้น.

หน้า ๑๔



วิญญา
ณ ไม่ใช่สิ่งที่แล่นไป ท่องเที่ยวไป
-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๗๕/๔๔๒.

สาติ ได้ยินว่าเธอมีทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่าเราย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป หาใช่สิ่งอื่นไม่ ดังนี้จริงหรือ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้วว่า วิญญาณนี้แหละ ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป หาใช่สิ่งอื่นไม่ ดังนี้จริง.

สาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ.

โมฆบุรุษ

เธอรู้ทั่วถึงธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแล้วแก่ใครเล่า โมฆบุรุษ วิญญาณ เป็นปฏิจจ สมุปปันนธรรม (สิ่งที่อาศัยปัจจัยแล้วเกิดขึ้น) เราได้กล่าวแล้วโดย อเนกปริยาย ถ้าเว้นจากปัจจัยแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณย่อมไม่มี ดังนี้ ไม่ใช่หรือ โมฆบุรุษ

ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสบสิ่งไม่ใช่บุญเป็น อันมาก ด้วยเพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว โมฆบุรุษ ก็ความเห็นนั้นของเธอจัก เป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูลแก่เธอตลอดกาลนาน.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า.

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ภิกษุสาติเกวัฏฏบุตรนี้ จะเป็นผู้ทำความเจริญในธรรมวินัยนี้ได้บ้างหรือไม่.

ข้อนี้จะมีได้อย่างไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว ภิกษุสาติเกวัฏฏบุตร นั่งนิ่งเก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่มีปฏิภาณ พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นดังนั้นแล้ว ได้ตรัสว่า.

โมฆบุรุษ

เธอจะปรากฏด้วย ทิฏฐิอันชั่ว นั้นของตนเอง เราจักสอบถามภิกษุทั้งหลาย ในที่นี้.

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้ว เหมือนสาติภิกษุ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสบสิ่งไม่ใช่บุญเป็นอันมากด้วย เพราะทิฏฐิ ที่ตนถือชั่วแล้วดังนี้ใช่ไหม.

ข้อนี้ไม่มีเลย พระเจ้าข้า เพราะวิญญาณอาศัยปัจจัยแล้วเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้วแก่พวกข้าพระองค์ โดยอเนกปริยาย ถ้าเว้นจากปัจจัยแล้ว ความเกิดขึ้น แห่งวิญญาณย่อมไม่มี.

ภิกษุทั้งหลาย ดีละ พวกเธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงอย่างนี้ถูกแล้ว ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยแล้ว เกิดขึ้นเราได้กล่าวแล้วโดยอเนกปริยาย ถ้าเว้นจาก ปัจจัยแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณไม่ได้มี

ก็แต่ภิกษุสาติ เกวัฏฏบุตรนี้ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสบสิ่งไม่ใช่บุญ เป็นอันมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ความเห็นนั้น ของโมฆบุรุษนั้น จักเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูลแก่เธอตลอดกาลนาน.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้นก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้น ๆ วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าจักษุวิญญาณ วิญญาณอาศัยโสตะและเสียงทั้งหลายเกิดขี้น ก็ถึงความนับว่าโสตวิญญาณ วิญญาณอาศัยฆานะ และกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ วิญญาณอาศัยมโนและธรรมทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ามโนวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้นก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ ไฟอาศัยไม้ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟไม้ ไฟอาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟป่า ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟหญ้า ไฟอาศัยมูลโคติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟมูลโค ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟแกลบ ไฟอาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟหยากเยื่อ ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นก็เหมือนกัน วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับ ด้วยปัจจัยนั้นๆ วิญญาณอาศัยจักษุ และรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุ-วิญญาณ วิญญาณอาศัยโสตะและเสียงทั้งหลาย เกิดขึ้นก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ วิญญาณอาศัยฆานะ และกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหา และรส ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ชิวหาวิญญาณวิญญาณอาศัยกาย และโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ วิญญาณอาศัยมโนและธรรมทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อมเห็นความเกิดขึ้นของสิ่งนี้ (ภูตมิทํ)1 หรือไม่.

เห็น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้นเพราะอาหาร อย่างนั้น ใช่ไหม.

เห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

๑. บาลีคำนี้ มีสำนวนแปลอย่างอื่นอีก เช่น ขันธปัญจกะ, ขันธ์ ๕ เป็นต้น. -ผู้รวบรวม

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความ ดับแห่งอาหาร อย่างนั้นใช่ไหม.

เห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย ความสงสัยและความเคลือบแคลง ย่อมเกิดขึ้นว่า สิ่งนี้มีอยู่หรือ ไม่มี อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย ความสงสัยและความเคลือบแคลง ย่อมเกิดขึ้นว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้น เพราะอาหาร อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย ความสงสัยและความเคลือบแคลง ย่อมเกิดขึ้นว่า สิ่งนั้นมีความ ดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหาร อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า สิ่งนี้เกิดขึ้น แล้วย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้ อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า สิ่งนั้น เกิดขึ้นเพราะอาหาร ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้ อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า สิ่งนั้นมี ความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหาร ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้น เสียได้อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้ง หลายหมดความสงสัยในข้อที่ว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้ว เพราะเหตุอย่างนี้ๆ ใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อที่ว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้นเพราะ อาหาร อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อที่ว่า สิ่งนั้นมีความดับเป็น ธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารอย่างนั้น ใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้ว อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้นเพราะอาหาร อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงว่า สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหาร อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย หากว่าเธอทั้งหลาย พึงติดอยู่(อลฺลีเยถ) เพลิดเพลินอยู่ (เกฬาเยถ) ปรารถนาอยู่ (ธเนยฺยาถ) ยึดถือว่าเป็นของเราอยู่ (มมาเยถ) ซึ่งทิฏฐิอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงรู้ทั่วถึงธรรม ที่เปรียบได้กับ พ่วงแพ อันเราแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในการสลัดออก ไม่ใช่แสดงแล้ว เพื่อให้ยึดถือไว้ อย่างนั้นใช่ไหม.

ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย หากว่าเธอทั้งหลาย ไม่ติดอยู่ (น อลฺลีเยถ) ไม่เพลิดเพลินอยู่ (น เกฬาเยถ) ไม่ปรารถนาอยู่(น ธเนยฺยาถ) ไม่ยึดถือว่าเป็นของเราอยู่ (น มมาเยถ) ซึ่งทิฏฐิอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงรู้ทั่วถึงธรรม ที่เปรียบได้กับ พ่วงแพ อันเราแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในการสลัดออกไม่ใช่แสดงแล้ว เพื่อให้ยึดถือไว้ อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

(จากนั้นทรงแสดงเรื่องอาหาร ๔ ปฏจิ จสมปุ บาท และธรรมอนื่อีกหลายประการ ผู้อ่านสามารถศึกษาได้จากเนื้อความเต็มของพระสูตรนี้.-ผู้รวบรวม)

หน้า ๒๒


ตัณหา
คือ เชื้อแห่งการเกิด
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๔๘๕/๘๐๐.

วัจฉะ เราย่อมบัญญัติความบังเกิดขึ้นสำหรับผู้ที่ยังมีอุปาทานอยู่ (สอุปาทานสฺส) ไม่ใช่สำหรับผู้ที่ไม่มีอุปาทาน.

วัจฉะ เปรียบเหมือน ไฟที่มีเชื้อ ย่อมลุกโพลงขึ้นได้ (อคฺคิ สอุปาทาโน ชลติ) ที่ไม่มีเชื้อ ก็ลุกโพลงขึ้นไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น.

วัจฉะ เราย่อมบัญญัติความบังเกิดขึ้น สำหรับผู้ที่ยังมีอุปาทานอยู่ ไม่ใช่สำหรับผู้ ที่ไม่มีอุปาทาน.

พระโคดมผู้เจริญ ถ้าสมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกล สมัยนั้น พระโคดมย่อมบัญญัติ ซึ่งอะไรว่าเป็นเชื้อ แก่เปลวไฟนั้น ถ้าถือว่ามันยังมีเชื้ออยู่.

วัจฉะ สมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกลเรา ย่อมบัญญัติเปลวไฟนั้นว่า มีลมนั่นแหละเป็นเชื้อ วัจฉะเพราะว่า สมัยนั้น ลมย่อมเป็นเชื้อของเปลวไฟนั้น.

พระโคดมผู้เจริญ ถ้าสมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ และยังไม่บังเกิดขึ้นด้วยกายอื่น สมัยนั้น พระโคดมย่อมบัญญัติซึ่งอะไร ว่าเป็นเชื้อแก่สัตว์นั้น ถ้าถือว่ามันยังมีเชื้ออยู่.

วัจฉะ สมัยใด สัตว์ (สตฺโต) ทอดทิ้งกายนี้และยังไม่บังเกิดขึ้นด้วยกายอื่น เรากล่าวสัตว์นี้ว่า มีตัณหานั่นแหละเป็นเชื้อ เพราะว่าสมัยนั้นตัณหาย่อมเป็น เชื้อของสัตว์นั้น .

หน้า ๒๓


เครื่องนำไปสู่ภพ

-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๓/๓๖๘.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า เครื่องนำไปสู่ภพเครื่องนำไปสู่ภพ ดังนี้ ก็เครื่องนำไปสู่ภพเป็นอย่างไร และความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพ เป็นอย่างไร พระเจ้าข้า.

ราธะ ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความอยาก) อุปายะ (ความเข้าถึง) และ อุปาทาน (ความถือมั่น) อันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไปอาศัย และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิต (เจตโส อธิฐานา-ภินิเวสานุสยา) ในรูป สิ่งเหล่านี้เราเรียกว่า เครื่องนำไปสู่ภพควมดับ ไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพมีได้ เพราะความดับไม่เหลือของฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา อุปายะ และอุปาทานเหล่านั้นนั่นเอง.

ราธะ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา อุปายะ และ อุปาทาน อันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไปอาศัย และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิตในเวทนา … ในสัญญา … ในสังขารท้งหลาย …ในวิญญาณ สิ่งเหล่านี้เราเรียกว่า เครื่องนำไปสู่ภพ ความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพมีได้ เพราะความดับไม่เหลือของฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา อุปายะ และอุปาทานเหล่านั้นนั่นเอง.

หน้า ๒๔


๑๐
ความมีขึ้นแห่งภพ (นัยที่
1)
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๘๗/๕๑๖.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ภพ ภพ ดังนี้ ภพ ย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียง เท่าไร พระเจ้าข้า.

อานนท์ ถ้ากรรม มีกามธาตุ1 เป็นวิบาก จะไม่ได้มีแล้ว กามภพจะพึงปรากฏ ได้หรือ.

ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า.

อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นผืนนา (กมฺมํเขตฺตํ) วิญญาณเป็นพืช (วิญฺญาณํ พีชํ) ตัณหาเป็นยางของพืช (ตณฺหา สิเนโห) วิญญาณของสัตว์ ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุ ชั้นทราม การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ (อวิชฺชานีวรณานํ สตฺตานํ ตณฺหาสญฺโญชนานํ หีนาย ธาตุยา วิญฺญาณํปติฐิตํ เอวํ อายตึ ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ โหติ)

อานนท์ ถ้ากรรมมีรูปธาตุ2 เป็นวิบาก จะไม่ได้มีแล้วรูปภพจะพึงปรากฏได้หรือ.

ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า.

๑. กามธาตุ = ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม. –ผู้รวบรวม
๒. รูปธาตุ = สิ่งที่เป็นรูปในส่วนละเอียด. -ผู้รวบรวม


อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นผืนนาวิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็นยาง ของพืช วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่อง ผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง (มชฺฌิมาย ธาตุยา) การบังเกิดขึ้นในภพใหม ่ต่อไป ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ถ้ากรรมมี อรูปธาตุ1 เป็นวิบาก จะไม่ได้มีแล้ว อรูปภพจะพึงปรากฏ ได้หรือ.

ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า.

อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นผืนนาวิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็นยาง ของพืช วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่อง ผูกตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นประณีต (ปณีตาย ธาตุยา) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ ต่อไป ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ภพ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.

๑. อรูปธาตุ = สิ่งที่ไม่ใช่รูป เป็นนามธรรม เช่น เวทนา สัญญา สังขาร (ผู้ได้สมาธิระดับ อากาสานัญจายตนะขึ้นไป). –ผู้รวบรวม

หน้า ๒๖

๑๑
ความมีขึ้นแห่งภพ (นัยที่ ๒)

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๘๘/๕๑๗.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ภพ ภพ ดังนี้ ภพ ย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียง เท่าไร พระเจ้าข้า.

อานนท์ ถ้ากรรมมีกามธาตุเป็นวิบาก จะไม่ได้มีแล้วกามภพ จะพึงปรากฏได้หรือ

ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า.

อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นผืนนา (กมฺมํเขตฺตํ) วิญญาณเป็นพืช (วิญฺญาณํ พีชํ) ตัณหาเป็นยางของพืช (ตณหฺา สิเนโห) ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดีของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่อง ผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นทราม การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไปย่อมมีได้ด้วย อาการอย่างนี้ (อวิชฺชานีวรณานํ สตฺตานํ ตณฺหา-สญฺโญชนานํ หีนาย ธาตุยา เจตนา ปติฐิตา ปตฺถนา ปติฐิตา เอวํ อายตึปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ โหติ)

อานนท์ ถ้ากรรม มีรูปธาตุ เป็นวิบาก จะไม่ได้มีแล้ว รูปภพ จะพึงปรากฏได้หรือ.

ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า.

อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ กรรม จึงเป็นผืนนาวิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็นยาง ของพืช ความเจตนาก็ดีความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลายที่มีอวิชชาเป็น เครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง (มชฺฌิมาย ธาตุยา) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ถ้ากรรมมีอรูปธาตุเป็นวิบาก จะไม่ได้มีแล้วอรูปภพจะพึงปรากฏได้หรือ.

ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า.

อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นผืนนาวิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็นยางของ พืช ความเจตนาก็ดีความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลายที่มีอวิชชาเป็นเครื่อง กั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นประณีต (ปณีตาย ธาตุยา) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ภพ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.