เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ             

  สัตว์ -พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  5 of 7  
 
  สัตว์ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  40 . ความเกิดขึ้น และความดับแห่งทุกข์ 145  
  41 . อัตถิตาและนัตถิตา 151  
  42 . โสดาบัน เป็นผู้หมดความสงสัยในฐานะ ๖ ประการ และในอริยสัจ ๔ 154  
  43 . สังขตลักษณะ-อสังขตลักษณะ 158  
  44 . ธรรมชาติ อันไม่เกิดแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ 159  
       
  ทางเพื่อพ้นจากความเป็นสัตว์ 161  
  45 . ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละขาดซึ่งภพ 162  
  46 . เหตุปัจจัยเพื่อความเศร้าหมอง และความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย 164  
  48 . ขันธ์ ๕ มีอัสสาทะ อาทีนวะ และนิสสรณะ 169  
  49 . ความพรากจากโยคะ ๔ 171  
       
 
 





หน้า 145

๔๐
ความเกิดขึ้น และความดับแห่งทุกข์

-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๒๖/๒๕๐.

ภิกษุทั้งหลาย ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่าสัตว์โลกนี้ถึงความลำาบากหนอ ย่อมเกิด ย่อมแก่ ย่อมตายย่อมจุติ และย่อมอุบัติ ก็เมื่อสัตว์โลกไม่รู้จักอุบาย เครื่องออกไปพ้น จากทุกข์ คือชราและมรณะแล้ว การออกจากทุกข์คือชราและมรณะนี้ จะปรากฏ ขึ้น ได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ชราและมรณะ จึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ เพราะการทำในใจโดยแยบคาย ของเรานั้นจึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า เมื่อชาตินั่นแหละมีอยู่ ชราและมรณะจึงมี เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ.

ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ชาติจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย จึงมีชาติเพราะการทำในใจโดยแยบคายของเรานั้น จึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า เมื่อภพนั่นแหละมีอยู่ ชาติจึงมี เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ.

… เมื่ออุปาทานนั่นแหละมีอยู่ ภพจึงมี เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ.
… เมื่อตัณหานั่นแหละมีอยู่ อุปาทานจึงมี เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน.
… เมื่อเวทนานั่นแหละมีอยู่ ตัณหาจึงมี เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา.
… เมื่อผัสสะนั่นแหละมีอยู่ เวทนาจึงมี เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา.
… เมื่อสฬายตนะนั่นแหละมีอยู่ ผัสสะจึงมี เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ.
… เมื่อนามรูปนั่นแหละมีอยู่ สฬายตนะจึงมี เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ.

ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่าเมื่ออะไรหนอมีอยู่ นามรูปจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะการทำในใจโดยแยบคายของเรานั้น จึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า เมื่อวิญญาณนั่นแหละมีอยู่นามรูปจึงมี เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป.

ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่าเมื่ออะไรหนอมีอยู่ วิญญาณจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะการทำในใจโดยแยบคายของเรานั้น จึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า เมื่อนามรูปนั่นแหละมีอยู่วิญญาณจึงมี เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่าวิญญาณนี้ ย่อมเวียนกลับมา ไม่ไปพ้นจากนามรูปได้เลยด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลกจึงเกิดบ้าง จึงแก่บ้าง จึงตายบ้างจึงจุติบ้าง จึงอุบัติบ้าง

กล่าวคือ
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัยชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัส อุปายาสะทั้งหลายจึงเกิดขึ้น ครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ความเกิดขึ้นพร้อม (สมุทโย) ความเกิดขึ้นพร้อม(สมุทโย) ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรหนอไม่มีอยู่ ชราและ มรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับชราและมรณะจึงดับ เพราะการทำในใจโดยแยบคาย ของเรานั้น จึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า เมื่อชาตินั่นแหละไม่มีชราและมรณะจึงไม่มี เพราะความดับแห่งชาติ จึงมีความดับแห่งชราและมรณะ.

ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรหนอไม่มีอยู่ ชาติจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชาติจึงดับ เพราะการทำในใจโดยแยบคายของเรานั้น จึงได้รู้แจ้ง ด้วยปัญญาว่า เมื่อภพนั่นแหละไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ.

… เมื่ออุปาทานนั่นแหละไม่มี ภพจึงไม่มี
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ.

… เมื่อตัณหานั่นแหละไม่มี อุปาทานจึงไม่มี
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับอุปาทาน.

… เมื่อเวทนานั่นแหละไม่มี ตัณหาจึงไม่มี
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา.

… เมื่อผัสสะนั่นแหละไม่มี เวทนาจึงไม่มี
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา.

… เมื่อสฬายตนะนั่นแหละไม่มี ผัสสะจึงไม่มี
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ.

… เมื่อนามรูปนั่นแหละไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ.

ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรหนอไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับเพราะการทำในใจโดยแยบคายของเรานั้น จึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า เมื่อวิญญาณนั่นแหละไม่มี นามรูปจึงไม่มีเพราะมี ความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป.

ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรหนอไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะอะไรดับ วิญญาณจึงดับเพราะการทำในใจโดยแยบคายของเรานั้น จึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า เมื่อนามรูปนั่นแหละไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่าหนทางเพื่อการตรัสรู้นี้ เราได้บรรลุแล้ว ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ความดับ (นิโรธ) ความดับ (นิโรธ) ดังนี้ … .

หน้า 151


๔๑
อัตถิตาและนัตถิตา

-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๐/๔๒.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ ดังนี้อันว่าสัมมาทิฏฐิ ย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า.

กัจจานะ สัตว์โลกนี้ อาศัยแล้วซึ่งส่วนสุดทั้งสองโดยมาก คือส่วนสุดว่า อัตถิต (ความมี) และส่วนสุดว่า นัตถิตา(ความไม่มี).

กัจจานะ ส่วนสุดว่า นัตถิตา ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้เห็นอยู่ด้วยปัญญา อันชอบตาม ที่เป็นจริง ซึ่งธรรมคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งโลก.

กัจจานะ ส่วนสุดว่า อัตถิตา ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง ซึ่งธรรมคือความดับไม่เหลือแห่งโลก.

กัจจานะ สัตว์โลกนี้โดยมาก ถูกผูกพันแล้วด้วยตัณหา ด้วยอุปาทาน ด้วยทิฏฐิ (อุปายุปาทานาภินิเวสวินิพนฺโธ)แต่อริยสาวกนี้ ไม่เข้าถึง ไม่ถือเอา ไม่ถึงทับ ซึ่งตัณหาและอุปาทาน อันเป็นเครื่องถึงทับแห่งใจ อันเป็นอนุสัยแห่งทิฏฐิว่า อัตตาของเราดังนี้ ย่อมไม่สงสัย ย่อมไม่ลังเลในข้อที่ว่าเมื่อจะเกิด ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิดขึ้น เมื่อจะดับ ทุกข์เท่านั้นย่อมดับดังนี้ ญาณในข้อนี้ ย่อมมีแก่อริยสาวกนั้น โดยไม่ต้องเชื่อตามผู้อื่น กัจจานะ สัมมาทิฏฐิ ย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

กัจจานะ คำากล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ (สพฺพมตฺถีติ) ดังนี้ นี้เป็นส่วนสุดที่หนึ่ง คำากล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่ (สพฺพํ นตฺถีติ) ดังนี้นี้เป็นส่วนสุดที่สอง.

กัจจานะ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส
อุปายาสะทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อม
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว
จึงมีความดับแห่งสังขาร
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพจึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแลชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลายจึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วย
อาการอย่างนี้ ดังนี้แล.

หน้า 154

๔๒
โสดาบัน เป็นผู้หมดความสงสัยในฐานะ
6 ประการ และในอริยสัจ ๔
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๔๘/๔๑๗.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไปสู่ อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นจนถึงกับว่าลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตก แต่ละอย่างๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นการชอบแล้วหนอ ขอให้อรรถแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะ พระผู้มีพระภาคเจ้าเองเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป เพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตก แต่ละอย่างๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเวทนามีอยู่ … เมื่อสัญญามีอยู่… เมื่อสังขารทั้งหลายอยู่ … เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งวิญญาณ เพราะปักใจเข้าไปสู่วิญญาณ ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตก แต่ละอย่างๆเป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด.

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่น ซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตกแต่ละอย่างๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด ดังนี้.
ข้อนั้นหาไม่ได้ พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร เวทนา … สัญญา … สังขารทั้งหลาย … วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นซึ่ง สิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตกแต่ละอย่างๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด ดังนี้.
ข้อนั้นหาไม่ได้ พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย แม้สิ่งใดที่บุคคล ได้เห็นแล้ว ฟังแล้วรู้สึกแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว แสวงหาแล้วครุ่นคิดอยู่ด้วยใจแล้ว เหล่านี้เป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่น ซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า ลมก็ไม่พัด แม่น้ำาก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตกแต่ละอย่างๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด ดังนี้.
ข้อนั้นหาไม่ได้ พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ความสงสัย (กงฺขา)ในฐานะ ๖ ประการเหล่านี้ เป็นสิ่งที่อริยสาวกละขาดแล้วในกาลนั้น ก็เป็นอันว่า ความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในเหตุให้เกิดทุกข์ แม้ในความดับไม่เหลือของทุกข์ แม้ในข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่ง ความดับ ไม่เหลือของทุกข์ ก็เป็นสิ่งที่อริยสาวกละขาดแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นโสดาบันมีความไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง จะตรัสรู้ได้ในกาลเบื้องหน้า.


หน้า 158

๔๓
สังขตลักษณะ-อสังขตลักษณะ

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖.

ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตะ3 ประการเหล่านี้มีอยู่ ๓ ประการอะไรบ้าง คือ
มีความเกิดขึ้นปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ)
มีความเสื่อมปรากฏ (วโย ปญฺญายติ)
เมื่อตั้งอยู่มีความแปรปรวนปรากฏ(ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํปญฺญายติ)

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล สังขตลักษณะของสังขตะ ๓ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตะ3 ประการเหล่านี้มีอยู่ ๓ ประการอะไรบ้าง คือ
ไม่ปรากฏความเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ)
ไม่ปรากฏความเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ)
เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน (น ฐิตสฺสอญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ)
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อสังขตลักษณะของอสังขตะ ๓ ประการ.

หน้า 159

๔๔
ธรรมชาติ อันไม่เกิดแล้วอันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่

-บาลี อุ. ขุ. ๒๕/๒๐๗/๑๖๐.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้วอันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่ง ไม่ได้แล้วมีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้วปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้วไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้วมีอยู่ ดังนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้วอันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้วจึงปรากฏ.

พระสูตรนี้ มีบาลีอย่างนี้อตฺถิ ภิกฺขเว อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ โน เจ ตํภิกฺขเว อภวิสฺส อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ นยิธ ชาตสฺส ภูตสฺสกตสฺส สงฺขตสฺส นิสฺสรณํ ปญฺญาเยถ.

ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว อตฺถิ อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํตสฺมา ชตสฺส ภูตสฺส กตสฺส สงฺขตสฺส นิสฺสรณํ ปญฺญายตีติ.อีกสูตรหนึ่ง -บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๕๘/๒๒๑. ตรัสช่วงต้นเหมือนกันกับสูตรข้างบนนี้ แต่มีตรัสช่วงท้ายเพิ่มเติม ดังนี้.

ใครๆ ไม่ควรเพลิดเพลิน ต่อสิ่งที่เกิดแล้ว เป็นแล้วเกิดขึ้นพร้อมแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว ไม่ยั่งยืนปรุงแต่งเพื่อชราและมรณะ เป็นรังแห่งโรค เป็นของผุพังมีอาหารและตัณหา เป็นแดนเกิด.

การสลัดออกซึ่งธรรมชาตินั้น เป็นบทอันระงับจะคาดคะเนเอาไม่ได้ เป็นของยั่งยืน ไม่เกิด ไม่เกิดขึ้นพร้อมไม่มีความโศก ปราศจากธุลี เป็นความดับแห่งสิ่งที่มีความทุกข์เป็นธรรมดา เป็นความเข้าไปสงบรำางับแห่งสังขาร เป็นสุข.


ทางเพื่อพ้นจากความเป็นสัตว์


หน้า 162

๔๕
ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละขา
ดซึ่งภพ
-บาลี อุ. ขุ. ๒๕/๑๒๑/๘๔.

สัตว์โลกนี้ เกิดความเดือดร้อนแล้ว มีผัสสะบังหน้าย่อมกล่าวซึ่งโรคนั้น โดยความเป็นตัวเป็นตน เขาสำคัญสิ่งใดโดยความเป็นประการใด แต่สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยประการอื่นจากที่เขาสำคัญนั้น.

สัตว์โลกติดข้องอยู่ในภพ ถูกภพบังหน้าแล้ว มีภพโดยความเป็นอย่างอื่น จึงได้เพลิดเพลินยิ่งนักในภพนั้นเขาเพลิดเพลินยิ่งนักในสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นภัย เขากลัวต่อสิ่งใดสิ่งนั้นก็เป็นทุกข์.

พรหมจรรย์นี้ อันบุคคลย่อมประพฤติ ก็เพื่อการละขาดซึ่งภพ.

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความหลุดพ้นจากภพว่ามีได้เพราะภพ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น มิใช่ผู้หลุดพ้นจากภพ.

ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความออกไปได้จากภพ ว่ามีได้ เพราะวิภพ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น ก็ยังสลัดภพออกไป ไม่ได้.

ก็ทุกข์นี้มีขึ้น เพราะอาศัยซึ่งอุปธิทั้งปวง เพราะความสิ้นไปแห่งอุปาทานทั้งปวง ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์จึงไม่มี.

ท่านจงดูโลกนี้เถิด (จะเห็นว่า) สัตว์ทั้งหลายอันอวิชชาหนาแน่นบังหน้าแล้ว และว่าสัตว์ผู้ยินดีในภพอันเป็นแล้วนั้น ย่อมไม่เป็นผู้หลุดพ้นไปจากภพได้.

ก็ภพทั้งหลายเหล่าหนึ่งเหล่าใด อันเป็นไปในที่ หรือในเวลาทั้งปวง เพื่อความมีแห่งประโยชน์โดยประการทั้ง ปวง.

ภพทั้งหลายทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา.

เมื่อบุคคลเห็นอยู่ซึ่งข้อนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้อยู่ เขาย่อมละภวตัณหาได้ และไม่เพลิดเพลินวิภวตัณหาด้วย.

ความดับเพราะความสำรอกไม่เหลือ เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา โดยประการทั้งปวง นั้นคือนิพพาน.

ภพใหม่ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้ดับเย็นสนิทแล้วเพราะไม่มีความยึดมั่น ภิกษุนั้น เป็นผู้ครอบงำามารได้แล้วชนะสงครามแล้ว ก้าวล่วงภพทั้งหลายทั้งปวงได้แล้ว เป็นผู้คงที่ ดังนี้แล.

หน้า 164

๔๖
เหตุปัจจัยเพื่อความเศร้าหมอง และความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย

-บาลี ขนธ. สํ. ๑๗/๘๕/๑๓๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปูรณกัสสปะ ได้กล่าวอย่างนี้ว่า เหตุไม่มีปัจจัยไม่มี เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย จักเศร้าหมองโดยไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย และเหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้ง หลายย่อมบริสุทธิ์ได้โดยไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ดังนี้ ในเรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคกล่าวอย่างไร.

มหลิ เหตุมี ปัจจัยมี เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย (สตฺตานํ สงฺกิเลสาย) สัตว์ทั้งหลาย (สตฺตา) จักเศร้าหมอง เพราะมีเหตุ มีปัจจัย มหลิ และเหตุมี ปัจจัยมี เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย (สตตฺ าน วสิ ทุ ธฺ ยิ า) สัตว์ทั้ง หลายย่อมบริสุทธิ์ได้ เพราะมีเหตุ มีปัจจัย.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัย เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร และสัตว์ทั้งหลาย จักเศร้าหมอง เพราะมีเหตุมีปัจจัย อย่างไรเล่า.

มหลิ ถ้าหากรูป จักเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว อันทุกข์ตามสนอง หยั่งลงสู่ ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขเสียเลยไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่กำหนัดยินดี ในรูป.

มหลิ แต่เพราะเหตุที่รูป ยังนำมาซึ่งความสุข อันสุขตามสนอง หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์ก็มีอยู่สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดยินดีในรูป (รูปสฺมึ สารชฺชนฺติ) เพราะความกำหนัดยินดี จึงถูกผูกไว้ (สาราคา สญฺญุชฺชนฺติ) เพราะถูกผูกไว้ จึงเศร้าหมองรอบด้าน (สญฺโญคา สงฺกิลิสฺสนฺติ).

มหลิ ถ้าหากเวทนา … สัญญา … สังขารทั้งหลาย …วิญญาณ จักเป็นทุกข์โดย ส่วนเดียว อันทุกข์ตามสนอง หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขเสีย เลยไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่กำหนัดยินดีในวิญญาณ.

มหลิ แต่เพราะเหตุที่เวทนา … สัญญา … สังขารทั้งหลาย … วิญญาณ ยังนำมา ซึ่งความสุข อันสุขตามสนองหยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์ก็มีอยู่ สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดยินดีในวิญญาณ เพราะความกำหนัดยินดี จึงถูกผูกไว้ เพราะถูกผูกไว้ จึงเศร้าหมองรอบด้าน.

มหลิ สิ่งเหล่านี้แหละ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองเพราะมีเหตุ มีปัจจัยโดยอาการอย่างนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เหตุปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร และสัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้ เพราะมีเหตุมีปัจจัย อย่างไรเล่า พระเจ้าข้า.

มหลิ ถ้าหากรูป จักเป็นสุขโดยส่วนเดียว อันสุขตามสนอง หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์เสียเลยไซร้สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่เบื่อหน่ายจากรูป.

มหลิ แต่เพราะเหตุที่รูปเป็นทุกข์ อันทุกข์ตามสนองหยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขก็มีอยู่ สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายจากรูป เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมบริสุทธิ์ได้.

มหลิ ถ้าหากเวทนา … สัญญา … สังขารทั้งหลาย …วิญญาณ จักเป็นสุข โดยส่วนเดียว อันสุขตามสนอง หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่ง ลงสู่ความทุกข์เสีย เลยไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่เบื่อหน่ายจากวิญญาณ.

มหลิ แต่เพราะเหตุที่เวทนา … สัญญา … สังขารทั้งหลาย … วิญญาณ เป็นทุกข์ อันทุกข์ตามสนอง หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขก็มีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงเบื่อหน่ายจากจากเวทนา … จากสัญญา … จากสังขารทั้งหลาย… จากวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมบริสุทธิ์ได้.

มหลิ สิ่งเหล่านี้แหละ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้เพราะมีเหตุ มีปัจจัย โดยอาการอย่างนี้.

หน้า 167

๔๗
ธาตุ ๔ มีอัสสาทะ อาทีนวะและนิสสรณะ

-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๐๕/๔๐๘.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากอัสสาทะ (รสอร่อย) ของปฐวีธาตุจักไม่ได้มีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย (สตฺตา) ก็จะไม่กำหนัดยินดีในปฐวีธาตุ ภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะอัสสาทะ ของปฐวีธาตุมีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงกำหนัดยินดีในปฐวีธาตุ.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากอาทีนวะ (โทษ) ของปฐวีธาตุ จักไม่ได้มีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่เบื่อหน่ายจากปฐวีธาตุภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะอาทีนวะของปฐวีธาตุมีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงเบื่อหน่ายจากปฐวีธาตุ.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากนิสสรณะ (อุบายเครื่องสลัดออก)ของปฐวีธาตุ จักไม่ได้มีอยู่ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่ออกไปพ้นได้จากปฐวีธาตุ ภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะนิสสรณะของปฐวีธาตุมีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงออกพ้นไปได้จากปฐวีธาตุ.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากอัสสาทะของอาโปธาตุ …ของเตโชธาตุ … ของวาโยธาตุ จักไม่ได้มีอยู่ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่กำหนัดยินดีในอาโปธาตุ … ในเตโชธาตุ … ในวาโยธาตุภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะอัสสาทะของอาโปธาตุ … ของเตโชธาตุ … ของวาโยธาตุมีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงกำหนัดยินดีในอาโปธาตุ … ในเตโชธาตุ … ในวาโยธาตุ.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากอาทีนวะของอาโปธาตุ …ของเตโชธาตุ … ของวาโยธาตุ จักไม่ได้มีอยู่ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่เบื่อหน่ายจากอาโปธาตุ … จากเตโชธาตุ … จากวาโยธาตุ ภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะอาทีนวะของอาโปธาตุ… ของเตโชธาตุ … ของวาโยธาตุมีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงเบื่อหน่ายจากอาโปธาตุ … จากเตโชธาตุ … จากวาโยธาตุ.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากนิสสรณะของอาโปธาตุ …ของเตโชธาตุ … ของวาโยธาตุ จักไม่ได้มีอยู่ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่ออกไปพ้นได้จากอาโปธาตุ … จากเตโชธาตุ … จากวาโยธาตุ ภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะนิสสรณะของอาโปธาตุ… ของเตโชธาตุ … ของวาโยธาตุมีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงออกพ้นไปได้จากอาโปธาตุ … จากเตโชธาตุ … จากวาโยธาตุ.

หน้า 169

๔๘
ขันธ์ ๕ มีอัสสาทะ อาทีนวะและนิสสรณะ

-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๗/๖๒.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากอัสสาทะของรูป จักไม่ได้มีอยู่สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่กำหนัดยินดีในรูป ภิกษุทั้งหลายแต่เพราะอัสสาทะของรูปมีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงกำหนัดยินดีในรูป.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากอาทีนวะของรูป จักไม่ได้มีอยู่สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่เบื่อหน่ายจากรูป ภิกษุทั้งหลายแต่เพราะอาทีนวะของรูปมีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงเบื่อหน่ายจากรูป.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากนิสสรณะของรูปจักไม่ได้มีอยู่สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่ออกไปพ้นได้จากรูป ภิกษุทั้งหลายแต่เพราะนิสสรณะของรูปมีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงออกพ้นไปได้จากรูป.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากอัสสาทะของเวทนา … ของสัญญา … ของสังขาร ทั้งหลาย … ของวิญญาณ จักไม่ได้มีอยู่สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่กำหนัดยินดีใน เวทนา … ในสัญญา …ในสังขารทั้งหลาย … ในวิญญาณ ภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะอัสสาทะของเวทนา … ของสัญญา … ของสังขารทั้งหลาย …ของวิญญาณมีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงกำหนัดยินดีในเวทนา …ในสัญญา … ในสังขารทั้งหลาย … ในวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากอาทีนวะของเวทนา … ของสัญญา … ของสังขาร ทั้งหลาย … ของวิญญาณ จักไม่ได้มีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่เบื่อหน่ายจาก เวทนา … จากสัญญา … จากสังขารทั้งหลาย … จากวิญญาณ ภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะอาทีนวะของเวทนา … ของสัญญา …ของสังขารทั้งหลาย … ของวิญญาณมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายจากเวทนา … จากสัญญา … จากสังขารทั้งหลาย …จากวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากนิสสรณะของเวทนา … ของสัญญา … ของสังขาร ทั้งหลาย … ของวิญญาณ จักไม่ได้มีอยู่สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่ออกไปพ้นได้จาก เวทนา … จากสัญญา …จากสังขารทั้งหลาย … จากวิญญาณ ภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะนิสสรณะของเวทนา … ของสัญญา … ของสังขารทั้งหลาย …ของวิญญาณมีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงออกพ้นไปได้จากเวทนา …จากสัญญา … จากสังขารทั้งหลาย … จากวิญญาณ.

หน้า 171

๔๙
ความพรากจากโยคะ ๔

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๓/๑๐.

ภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้
๔ ประการอะไรบ้าง คือ
(๑) ความพรากจากกามโยคะ (กามโยควิสํโยโค)1
(๒) ความพรากจากภวโยคะ (ภวโยควิสํโยโค)
(๓) ความพรากจากทิฏฐิโยคะ (ทิฐิโยควิสํโยโค)
(๔) ความพรากจากอวิชชาโยคะ (อวิชฺชาโยควิสํโยโค)

ภิกษุทั้งหลาย ก็ความพรากจากกามโยคะเป็นอย่างไรบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด (สมุทย) ความตั้งอยู่ไม่ได้ (อตฺถงฺคม) คุณ (อสฺสาท) โทษ (อาทีนว) และอุบายเครื่องสลัดออก (นิสฺสรณ) แห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริงเมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง

ความกำหนัดเพราะกาม ความเพลิดเพลินเพราะกาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่นเพราะกาม ความกระหายเพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหยั่งลงในกาม๑. บุคคลผู้พรากแล้วจากกามโยคะ (กามโยควิสํยุตฺโต) (แต่) ยังประกอบด้วยภวโยคะ เป็นอนาคามี ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

บุคคลผู้พรากแล้วจากกามโยคะ พรากแล้วจากภวโยคะ (ภวโยควิสํยุตฺโต) เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว.

ความทะยานอยากเพราะกามในกามทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้นภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ความพรากจากกามโยคะ.

ความพรากจากกามโยคะเป็นดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ความพรากจากภวโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งภพทั้งหลายตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลายตามความเป็นจริง

ความกำหนัดเพราะภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความเยื่อใยเพราะภพ ความหมกม่นุ เพราะภพความกระหายเพราะภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความหยั่งลงในภพ และความทะยานอยากเพราะภพในภพทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ความพรากจากภวโยคะ.

ความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากภวโยคะเป็นดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ความพรากจากทิฏฐิโยคะเป็นอย่างไรบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งทิฏฐิทั้งหลายตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิดความตั้งอยู่ได้ ไม่ได้คุณโทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฏฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง

ความกำหนัดเพราะทิฏฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฏฐิ ความเยื่อใยเพราะทิฏฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฏฐิ ความกระหายเพราะทิฏฐิ ความเร่าร้อนเพราะทิฏฐิ
ความหยั่งลงในทิฏฐิ และความทะยานอยากเพราะทิฏฐิในทิฏฐิทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าความพรากจากทิฏฐิโยคะ.

ความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากภวโยคะความพรากจาก ทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ความพรากจากอวิชชาโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดความตั้งอยู่ไม่ได้ คุณ โทษ และอุบายเคร่อื งสลัดออก แห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ คุณโทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง ความไม่รู้ความไม่หยั่งรู้ในผัสสายตนะ ๖ ประการ ย่อมไม่เกิดขึ้นภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าความพรากจากอวชิ ชาโยคะ.

ความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากภวโยคะความพรากจากทิฏฐิโยคะ ความพรากจากอวิชชาโยคะเป็นดังนี้.

บุคคลผู้พรากจากอกุศลธรรมอันเป็นบาป อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหตุให้มี ภพใหม่ มีความกระสับกระส่ายมีผลเป็นทุกข์ มีชาติ ชราและมรณะต่อไป เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า ผู้เกษมจากโยคะ (โยคกฺเขมี).

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้คือ ความพรากจากโยคะ ๔ประการ.

สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะ (กามโยเคนสํยุตฺตา) ด้วยภวโยคะ ด้วยทิฏฐิโยคะ และถูกอวิชชากระทำในเบื้องหน้าแล้ว มีปกติไปสู่ชาติและมรณะ ย่อมไปสู่สังสารวัฏ.

ส่วนสัตว์เหล่าใดรอบรู้แล้ว ซึ่งกามทั้งหลายและภวโยคะ โดยประการทั้งปวง ถอนขึ้นได้แล้วซึ่งทิฏฐิโยคะ และพรากออกได้โดยเด็ดขาดซึ่งอวิชชา สัตว์เหล่านั้นแลเป็นผู้พรากจากโยคะทั้งปวง (สพฺพโยควิสยํตฺตา) เป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะเสียได้.