เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์   (ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org) ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
    01 of 8  
  ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ (แปลโดยท่านพุทธทาส)  
     
     บทนำ หน้า  
     : ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์    
    ใจความสำคัญ ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ 1  
    แถลงการณ์คณะผู้จัดทำ 1.1  
    กฏอิทัปปัจจยตา : หัวใจปฏิจจสมุปบาท. 2  
    ลำดับเรื่องเฉพาะหมวด 4  
    ทรงเล่าเรื่องการทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท หลังการตรัสรู้ 5  
    สิ่งที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท 11  
    เห็นปฏิจจสมุปบาท คือเห็นพระพุทธองค์ 13  
    ปฏิจจสมุปบาท คืออริยญายธรรม (สิ่งที่ควรรู้อันประเสริฐ) 14  
    คนเราจิตยุ่ง เพราะไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท 15  
    ปฏิจจสมุปบาท เป็นชื่อแห่งทางสายกลาง 16  
    ทรงแนะนำอย่างยิ่งให้ศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาท 17  
 
   
     หมวด 1 หน้า  
    : ว่าด้วย ลักษณะ – ความสำคัญ – วัตถุประสงค์ ของเรื่องปฏิจจสมุปบาท    
    ว่าด้วยลักษณะ - ความสำคัญ - วัตถุประสงค์ของเรื่องปฏิจจสมุปบาท มี 18 เรื่อง 21  
    ความหมายของปฏิจจสมุปบาท แต่ละอาการ 25  
    ปฏิจจสมุปบาทแต่ละอาการ เป็นปฏิจจสมุปปันนธรรม 29  
    ทรงขยายความปฏิจจสมุปบาท อย่างวิธีถามตอบ 32  
    ปัจจยาการแม่เพียงอาการเดียวก็ยังตรัสเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (อิทิปปัจจยตา) 35  
    ทรงเปรียบปฏิจจสมุปบาทด้วยการขึ้นลง ของน้ำทะเล 41  
    การเห็นปฏิจจสมุปบาท ชื่อว่าการเห็นธรรม 42  
    ธรรมทิฏฐิ-ธรรมนิกาย(ในฐานะเป็นกฎสูงสุดของธรรมชาติ) 43  
    ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องลึกและดูลึก 52  
    ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องลึกซึ้งเท่ากับเรื่องนิพพาน 53  
    นรก เพราะไม่รู้ ปฏิจจสมุปบาท ร้อนยิ่งกว่านรกไหนหมด 55  
    ผู้แสดงธรรมโดยหลักปฏิจจสมุปบาทเท่านั้น จึงชื่อว่า "เป็นธรรมกถึก" 59  
    ปฏิจจสมุปบาท ทำให้อยู่เหนือความมีและความไม่มีของสิ่งทั้งปวง 61  
    ไม่มีผู้นั้น หรือผู้อื่น ในปฏิจจสมุปบาท 62  
    กายนี้ไม่ใช่ของใคร เป็นเพียงกระแสปฏิจจสมุปบาท 64  
    ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่ทรงแสดง เพื่อไม่ให้รู้สึกว่ามีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา 65  
    ปฏิจจสมุปบาท มีหลักว่า"ไม่มีตนเอง ไม่มีผู้อื่น ที่ก่อสุขและทุกข์" 68  
    การรู้ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักการพยากรณ์อรหัตตผล 71  
       
     หมวด 2    
    : ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท คือ อริยสัจสมบูรณ์แบบ    
    หมวด ๒ ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท คือ อริยสัจสมบูรณ์แบบ 79  
    ลำดับเรื่องเฉพาะหมวด 80  
    ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์หมวดที่ ๒ 81  
    ปฏิจจสมุปบาททุกอาการ มีลักษณะแห่งความเป็นอริยสัจสี่ 84  
    ปฏิจจสมุทบาท ซึ่งแสดงการก่อขึ้นแห่งทุกข์ 96  
    ปฏิจจสมุทบาทซึ่งแสดงการดับลงแห่งทุกข์ 98  
    อริยสัจในรูปแห่งปฏิจจสมุทบาทมีในขณะแห่งเวทนา 101  
    อาการที่ยุ่งยากที่สุดของปฏิจจสมุทบาท คืออาการของตัณหา 102  
    ความเหนียวแน่นของสัสสตทิฏฐิปิด บังการเห็นอริยสัจสี่ 106  
    นัตถิกทิฏฐิปิดบังการเห็นอริยสัจสี่ 108  
    ปฏิจจสมุทบาทรวมอยู่ในบรรดาเรื่องที่ใครคัดค้านไม่ได้ 112  
 

 

   
 
 






หน้า 1
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์



ใจความสำคัญ
เป็นการรวบรวมเรื่อง อทัปปัจจยตา ในส่วนของปฏิจจสมุปบาทมาอย่างครบถ้วน เพียงพอที่จะ ศึกษา เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท อย่างชัดแจ้งถึงที่สุด ให้สมกับ พระพุทธภาษิต ที่ว่า “ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็น ตถาคต” ดังที่ปรากฏ อยู่ในหนังสือเล่มนี้แล้ว. นับเป็นการเห็น พระพุทธองค์ในภาษา ธรรม ซึ่งเกื้อกูล แก่การบรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นอย่างยิ่ง.
-ผู้รวบรวม


หน้า 1_1
แถลงการณ์คณะผู้จัดทำ

หนังสือเล่มนี้ มีขนาดใหญ่มากพอที่จะสะดุดความรู้สึกของผู้ที่ได้เห็นบ้าง ไม่มากก็น้อย และทำให้คิดว่าเรื่องเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาทนี้ ทำไมจึงมากถึงอย่างนี้ และนี้ จัดทำขึ้นมาด้วย ความประสงค์อย่างไรกัน. คณะผู้จัดทำ ขอแถลงให้ทราบดังต่อไปนี้

ผู้ที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ตลอดแล้ว จะเห็นได้ทันทีว่า
ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับความทุกข์ และความดับทุกข์ไปทั้งนั้น และเนื่องกับพระพุทธภาษิตที่ตรัสว่า “ภิกษุท. ก่อนแต่นี้ก็ดีบัดนี้ก็ดี ตถาคตบัญญัติ (เพื่อการสอน)เฉพาะเรื่องความทุกข์ กับความดับ แห่งทุกข์เท่านั้น” ดังนี้  ดังนั้นจึงเป็นอันว่า เป็นเรื่องที่พระองค์ทรงพระประสงค์ที่จะสั่งสอนนั่นเอง.

ข้อที่พระองค์ตรัสว่า ธรรมที่ตรัสรู้เท่ากับใบไม้ทั้งป่า แต่ที่นำมาสอนนั้นเท่ากับ ใบไม่ กำมือเดียวนั้น โดยพฤตินัยแล้ว เรื่องปฏิจจสมุปบาท ทั้งหมดนี้ ก็คือใบไม้กำมือเดียว ดังที่กล่าวนั้น เรียกอีกอย่างหนึ่งก็คือ “อริยสัจโดยสมบูรณ์”

อีกประการหนึ่ง พึงทราบว่าเรื่องอันเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาทเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ถูกทอดทิ้ง จมอยู่ในพระไตรปิฏก ไม่มีใครค่อยหยิบยกเอามาบอกกล่าวสั่งสอน รู้สึกเป็นที่น่าสลดใจ เนื่องจากเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แปลยาก แปลออกมาแล้ว ก็ยังเอาใจความไม่ค่อยจะได้ น่าเบื่อแก่การศึกษา ในรูปแบบธรรมดา จึงถูกละเลย มองข้ามไปตลอดเวลา ทำให้จมนิ่งอยู่ใน พระไตร-ปิฏก ส่วนที่ไม่ค่อย มีใครสนใจ ทั้งที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา ที่ทรงประสงค์ให้ สนใจศึกษาในฐานะเป็น จุดตั้งต้นของพรหมจรรย์ ดังที่ปรากฏอยู่ที่หน้า ๒๓๙ แห่งหนังสือเล่มนี้แล้ว.

การทำหนังสือเล่มนี้ เป็นงานหนักเกินไปสำหรับข้าพเจ้าผู้อยู่ในวัยชรา ที่จะทำตาม ลำพังผู้เดียวได้ แต่ก็ทำสำเร็จไปด้วย ความช่วยเหลือร่วมมือ ของเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในวัยหนุ่ม ช่วยเปิดสำรวจหน้า พระไตรปิฏกอย่างทั่วถึง เพื่อรวบรวมเอาข้อความ ที่เกี่ยวกับกับเรื่องนี้มา ให้ข้าพเจ้าคัดเลือกร้อยกรอง และปรับปรุงสำนวนคำแปล เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ ดังที่เห็นอยู่ในรูป แห่งหนังสือเล่มนี้.

ท่านผู้ได้รับประโยชน์ จากหนังสือนี้ จงได้อนุโมทนา และขอบคุณภิกษุผู้เหน็ดเหนื่อยเหล่านั้น โดยเฉพาะ ธมฺมวิจิตฺโตภิกฺขุ ซึ่งได้ช่วยเหลือมาตั้งแต่ต้น จนกระทั่งการทำสารบัญ และปทานุกรมท้ายเล่ม ด้วยเพื่อร่วมงานอีกบางคนในหน้าที่ดีพิมพ์ต้นฉบับ.

ข้าพเจ้ามีประณิธานอยู่ว่า ขอให้คำว่า “อิทัปปัจจยตา” และ “ปฏิจจสมุปบาท” ได้กลายมาเป็นคำ ที่ติดอยู่ที่ริมฝีปากของพุทธบริษัท ในการพูดประจำวัน สมกับ ที่เรื่องนี้เป็นทั้งเนื้อตัว และหัวใจของพุทธศาสนา หรือเป็นองค์สมเด็จพระศาสนา ที่จะยังประทับอยู่กับพุทธบริษัททั้งหลาย หลังจากที่ทรงล่วงลับไปแล้วโดยพระวรกาย ตลอดกาลนาน.


อ.ป. ในนามกองตำราแห่งคณะธรรมทาน
โมกขพลาราม, ไชยา
๒๔ สิงหาคม๒๕๒๑


หน้า 2
กฏอิทัปปัจจยตา : หัวใจปฏิจจสมุปบาท.

อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ
เมื่อสิ่งนี้ มี สิ่งนี้ ย่อมมี

อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ
เมื่อสิ่งนี้ ไม่มี สิ่งนี้ ย่อมไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป


หน้า4
ลำดับเรื่องเฉพาะหมวด

สำหรับปฏิจจสมุปบาทจากกพระโอษฐ์ บทนำว่าด้วย
เรื่องที่ควรทราบก่อนเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท(มี ๘ เรื่อง)

มีเรื่อง:
สังคีติกาจารย์เล่าเรื่องการทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทหลังการตรัสรู้
สิ่งที่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท—
เห็นปฏิจจสมุปบาทคือเห็นพระพุทธองค์
ปฏิจจสมุปบาทคืออริยญายธรรม
คนเราจิตยุ่งเพราะไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาทเป็นชื่อแห่งทางสายกลาง—
ทรงแนะนำอย่างยิ่งให้ศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาท
คนเราไม่ปรินิพพานในทิฏฐธรรม เพราะไม่สามารถตัดกระแส แห่งปฏิจจสมุปบาท.



หน้า5

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
บทนำ
ว่าด้วย เรื่องที่ควรทราบก่อนเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท
สังคีติกาจารย์ เล่าเรื่องการทรง พิจารณาปฏิจจสมุปบาท หลังการตรัสรู้

สมัยนั้นพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาค ตรัสรู้แล้วใหม่ๆ ยังประทับอยู่ที่โคนแห่งไม้โพธิ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เนรัญชรา ในเขตตำบลอุรุเวลา . ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งด้วยบัลลังค์อันเดียว ตลอดเจ็ดวัน ที่โคน แห่งไม้โพธิ์เสวยวิมุตติสุข.

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง กระทำมนสิการซึ่งปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและปฏิโลม ตลอด ปฐมยามแห่งราตรี ดังนี้ว่า

“ เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา
เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน
เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ
เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส- อุปายาส ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อม มีด้วยอาการ อย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับ แห่งสังขาร
เพราะมีความดับ แห่งสังขาร จึงมีความดับ แห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับ แห่งวิญญาณ จึงมีความดับ แห่งนามรูป
เพราะมีความดับ แห่งนามรูป จึงมีความดับ แห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับ แห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ แห่งผัสสะ
เพราะมีความดับ แห่งผัสสะ จึงมีความดับ แห่งเวทนา
เพราะมีความดับ แห่งเวทนา จึงมีความดับ แห่งตัณหา
เพราะมีความดับ แห่งตัณหา จึงมีความดับ แห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความดับ แห่งภพ
เพราะมีความดับ แห่งภพ จึงมีความดับ แห่งชาติ
เพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขุ-
โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่าง นี้” ดังนี้.

ลำดับนั้นครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีความรู้สึกอย่างนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ ขึ้นในขณะนั้นว่า

“เมื่อใดเวย
ธรรมทั้งหลายเป็นของแจ่มแจ้งแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมหายไปเพราะ พราหมณ์นั้น รู้ทั่วถึงธรรม พร้อมทั้งเหตุ” ดังนี้

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำมนสิการ ซึ่งปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลม และ ปฏิโลม ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรีดังนี้ว่า :-

เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา
เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน
เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ
เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับ แห่งสังขาร
เพราะมีความดับ แห่งสังขาร จึงมีความดับ แห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับ แห่งวิญญาณ จึงมีความดับ แห่งนามรูป
เพราะมีความดับ แห่งนามรูป จึงมีความดับ แห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับ แห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ แห่งผัสสะ
เพราะมีความดับ แห่งผัสสะ จึงมีความดับ แห่งเวทนา
เพราะมีความดับ แห่งเวทนา จึงมีความดับ แห่งตัณหา
เพราะมีความดับ แห่งตัณหา จึงมีความดับ แห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความดับ แห่งภพ
เพราะมีความดับ แห่งภพ จึงมีความดับ แห่งชาติ
เพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้.

ลำดับนั้นครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีความรู้สึกอย่างนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ ขึ้นในขณะนั้นว่า

“เมื่อใดเวย
ธรรมทั้งหลาย เป็นของแจ่มแจ้ง แก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียร เพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง ของพราหมณ์นั้น ย่อมหายไป เพราะ พราหมณ์นั้น ได้รับแล้ว ซึ่งความ สิ้นไปแห่งปัจจยธรรม ท.” ดังนี้.

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำมนสิการ ซึ่งปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและ ปฏิโลม ตลอด ปัจฉิมยามแห่งราตรีดังนี้ว่า :-

“เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา
เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน
เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ
เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้.

เพราะความ จางคลายดับ ไป ไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้น นั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร
เพราะมีความดับ แห่งสังขาร จึงมีความดับ แห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับ แห่งวิญญาณ จึงมีความดับ แห่งนามรูป
เพราะมีความดับ แห่งนามรูป จึงมีความดับ แห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับ แห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ แห่งผัสสะ
เพราะมีความดับ แห่งผัสสะ จึงมีความดับ แห่งเวทนา
เพราะมีความดับ แห่งเวทนา จึงมีความดับ แห่งตัณหา
เพราะมีความดับ แห่งตัณหา จึงมีความดับ แห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความดับ แห่งภพ
เพราะมีความดับ แห่งภพ จึงมีความดับ แห่งชาติ

เพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้.

ลำดับนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีความรู้สึกอย่างนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทาน นี้ขึ้น ในขณะนั้น ว่า

“เมื่อใดเวย ธรรมทั้งหลาย เป็นของแจ่มแจ้งแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียร เพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์ นั้นย่อมแผดเผา มารและ เสนาให้สิ้นไปอยู่ เหมือนพระอาทิตย์ (ขจัดมืด) ยังอากาศให้สว่างอยู่ ฉะนั้น” ดังนี้


หน้า11
สิ่งที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท

ครั้งหนึ่ง ที่พระเชตวัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ให้ตั้งใจฟังแล้ว ได้ตรัส ข้อความ เหล่านี้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ปฏิจจสมุปบาท แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้ง หลายจงฟัง ปฏิจจสมุปบาท นั้น จงทำในใจให้ สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้”.

ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถ้อยคำ เหล่านี้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่า ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย.
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา
เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน
เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ
เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเวทะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท.

เพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับ แห่งสังขาร
เพราะมีความดับ แห่งสังขาร จึงมีความดับ แห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับ แห่งวิญญาณ จึงมีความดับ แห่งนามรูป
เพราะมีความดับ แห่งนามรูป จึงมีความดับ แห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับ แห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ แห่งผัสสะ
เพราะมีความดับ แห่งผัสสะ จึงมีความดับ แห่งเวทนา
เพราะมีความดับ แห่งเวทนา จึงมีความดับ แห่งตัณหา
เพราะมีความดับ แห่งตัณหา จึงมีความดับ แห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความดับ แห่งภพ
เพราะมีความดับ แห่งภพ จึงมีความดับ แห่งชาติ
เพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้.


หน้า13
เห็นปฏิจจสมุปบาท คือเห็นพระพุทธองค์

พระสารีบุตรได้กล่าวแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
“ก็แลคำนี้เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้แล้วอย่างนี้ว่า ผู้ใด เห็นปฏิจจ สมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่า เห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นป ฏิจจสมุปบาท (โย ปฏิจฺจ สมุปฺปาทํ ปสฺส ติ โส ธ มฺมํ ป สฺส ติ โย ธ มฺมํ ป สฺส ติโส ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ ปสฺสติ)……”..

อย่าเลย วักกลิ! ประโยชน์อะไร ด้วยการเห็นกายเน่านี้. ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม. ดูก่อนวักกลิ! เพราะว่า เมื่อเห็นธรรมอยู่ ก็คือเห็นเรา เมื่อเห็นเราอยู่ ก็คือเห็นธรรม...…๒

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แม้ภิกษุจับชายสังฆาฏิ เดินตามรอยเท้าเราไปข้างหลังๆ แต่ถ้าเธอนั้น มากไป ด้วยอภิชฌา มีกามราคะกล้า มีจิตพยาบาทประทุษร้าย มีสติหลงลืมไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่เป็นสมาธิ แกว่งไปแกว่งมา ไม่สำรวมอินทรีย์ แล้วไซร้ ภิกษุนั้นชื่อว่าอยู่ไกลจากเรา แม้เราก็อยู่ไกลจากภิกษุนั้น โดยแท้. เพราะเหตุไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะว่าภิกษุนั้น ไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม ก็ชื่อว่าไม่เห็น เรา (ธมฺมํ หิ โส ภิกฺขเว ภิกฺขุ น ปสฺสติ ธมฺมํ อปสฺสนฺโต มํ น ปสฺสติ)... [แล้วได้ตรัสไว้ โดยนัย ตรงกันข้ามจากภิกษุ นี้คือตรัสเป็นปฏิปักขนัย โดยนัยว่า แม้จะอยู่ห่างกันร้อยโยชน์ถ้ามีธรรม เห็นธรรม ก็ชื่อว่าเห็นพระองค์ (ธมฺมํ หิ โส ภิกฺขเว ภิกฺขุ ปสฺสติ:ธมฺมํ ปสฺสนฺโต มํ ปสฺสติ)].๓


หน้า14
ปฏิจจสมุปบาท
คืออริยญายธรรม
(สิ่งที่ควรรู้อันประเสริฐ)


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็อริยญายธรรม เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้ว ด้วยดีแทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกในกรณีนี้ ย่อมกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑ เป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า “ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นของสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น. เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะความดับไปของสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป สิ่งนี้จึงดับไป ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา
เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน
เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ
เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. (ต่อไปได้ตรัส ปฏิจจ สมุปบาท ฝ่ายนิโรธวารไปจนจบ)”

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยญายธรรมนี้แล เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอด แล้วด้วยดี ด้วยปัญญา.


หน้า15

คนเราจิตยุ่ง
เพราะไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท

ดูก่อนอานนท์! เพราะไม่รู้ เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอดซึ่งธรรม คือ ปฏิจจสมุปบาทนี้ (จิตของ) หมู่สัตว์นี้ จึงเป็นเหมือนกลุ่มด้ายยุ่ง ยุ่งเหยิงเหมือนความ ยุ่งของกลุ่มด้าย ที่หนาแน่น ไปด้วยปม พันกันยุ่งเหมือนเชิงหญ้ามุญชะ และหญ้า ปัพพชะ อย่างนี้ ย่อมไม่ล่วงพันซึ่งสังสาระ ที่เป็นอบาย ทุคติ วินิบาต ไปได้.


หน้า16
ปฏิจจสมุปบาท เป็นชื่อแห่งทางสายกลาง

ดูก่อนกัจจานะ! คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า “สิ่งทั้งปวง มีอยู่”ดังนี้ นี้เป็นส่วน สุด๓ (มิใช่ทางสายกลาง) ที่หนึ่ง คำ กล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า “สิ่งทั้งปวง ไม่มีอยู่” ดังนี้ นี้เป็นส่วนสุด (มิใช่ทางสายกลาง) ที่สองดูก่อนกัจจานะ! ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดย สายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า
………………………………………………………………………………………………………………….
๑ สูตรที่ ๑๐ ทุกขวรรค อภิสมยสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๑/๒๒๕, มหานิทานสูตร มหา.ที.๑๐/๖๕/๕๗; ตรัสแก่พระอานนท์ ที่กัมมาสทัมมนิคม แคว้นกุรุ.

๒ สูตรที่ ๕ อาหารวรรค นิทานสังยุตต์ นิทาน.สํ.๑๖/๒๑/๔๔ ตรัสแก่พราหมณ์กัจจาน โคตร ที่เชตวัน
สูตรที่ ๗ คหปติวรรค อภิสมยสังยุตต์ นิทาน.สํ.๑๖/๙๑/๑๗๓ ตรัสแก่ชาณุสโสณิ พราหมณ์ ที่เชตวัน.

๓ คำว่า “ส่วนสุด” ในกรณีอย่างนี้ หมายถึงทิฏฐิหรือความคิดเห็นที่แล่นไปสุดเหวี่ยง ในทิศทางใด ทางหนึ่ง มีลักษณะเป็นความสำคัญมั่นหมาย ในลักษณะที่เป็นตัว เป็นตน หรือตรงกันข้าม. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีหลักธรรม ของพระองค์ ที่ไม่แล่นไปสุดเหวี่ยง หรือสุดโต่งอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ตรัสลงไปในลักษณะ ที่เป็น วิทยาศาสตร์ว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ” ในลักษณะที่ทยอย ๆ กันไป ไม่มีสิ่งใดเกิดหรือดับได้ โดยลำพังตัวมันเอง ดังนั้นจึงไม่มีทิฏฐิว่า “สิ่งทั้งปวงมีอยู่” หรือว่า “สิ่งทั้งปวงไม่มี”.

………………………………………………………………………………………………………………….
“เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา
เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน
เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ
เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ- โทมนัส-อุปายสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้..... (แล้วทรงแสดง ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวารไปจนจบ)”.


หน้า 17
ทรงแนะนำอย่างยิ่งให้ศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาท

(เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสาธยายปฏิจจสมุปบาท อยู่ลำพังพระองค์เดียว ภิกษุรูปหนึ่ง ได้แอบ เข้ามาฟัง ทรงเหลือบไปพบเข้า แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ! เธอได้ยินธรรมปริยายนี้ แล้วหรือได้ยินแล้วพระเจ้าข้า!”

ดูก่อนภิกษุ! เธอจงรับเอา (อุคฺคณฺหาหิ) ธรรมปริยายนี้ไป.
ดูก่อนภิกษุ! เธอจงเล่าเรียน (ปริยาปุณาหิ) ธรรมปริยายนี้.
ดูก่อนภิกษุ! เธอจงทรงไว้ (ธาเรหิ) ซึ่งธรรมปริยายนี้.
ดูก่อนภิกษุ! ธรรมปริยายนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์.

คนเราไม่ปรินิพพานในทิฏฐธรรม เพราะไม่สามารถตัดกระแส แห่งปฏิจจ สมุปบาท๑
ท้าวสักกะได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุอะไร เป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพาน ในทิฏฐธรรม? และอะไรเป็นเหตุเป็น ปัจจัยที่ทำให้ สัตว์บาง พวกในโลกนี้ปรินิพพาน ในทิฏฐธรรม (คือทันเวลา ทันควัน ไม่ต้องรอเวลาข้างหน้า) พระเจ้าข้า?”

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย! รูปทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยจักษุมีอยู่ เป็นรูปที่น่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยแห่งความ ใคร่ เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด ถ้าหาก ว่า ภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งรูปนั้น แล้วไซร้ เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำ สรรเสริญ เมาหมกอยู่ กะรูป นั้น วิญญาณนั้นอันตัณหาในอารมณ์ คือรูปอาศัยแล้ว ย่อมมีแก่เธอนั้น วิญญาณ นั้น คืออุปาทาน. ๑ ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่ง เทวดา ทั้งหลาย ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ ปรินิพพาน.

(ในกรณีแห่งเสียงที่จะพึงรู้สึกด้วยโสตะ กลิ่นที่จะพึงรู้สึกด้วยฆานะ รสที่จะพึงรู้สึก ด้วย ชิวหา สัมผัส ทางผิวหนังที่จะพึงรู้สึก ด้วยกาย (ผิวกายทั่วไป) ก็มีข้อความ อย่างเดียวกันกับข้อความ ในกรณีแห่งรูป ที่จะพึงรู้ได้ด้วยจักษุ ดังที่กล่าวแล้วข้างบน ทุกตัวอักษะ ต่างกันเพียงชื่อแห่ง อายตนะ แต่ละอายตนะ เท่านั้น ในที่นี้จะยกข้อความ อัน กล่าวถึงธัมมารมณ์เป็นข้อสุดท้าย มากล่าวไว้อีกครั้งดังต่อไปนี้ )


ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย ธัมมารมณ์ทั้งหลายที่จะพึงรู้สึกด้วยมโน มีอยู่ เป็น ธัมมารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไป อาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด ถ้าหากว่า ภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งธัมมารมณ์นั้น แล้วไซร้ เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ กะธัมมารมณ์นั้น วิญญาณนั้นอันตัณหา ในอารมณ์คือ ธัมมารมณ์ อาศัยแล้ว ย่อมมีแก่เธอนั้น วิญญาณนั้น คืออุปาทาน. ดูก่อนท่านผู้เป็นจอม แห่งเทวดาทั้งหลาย ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน.

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย นี้แลเป็นเหตุ นี้เป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์ บางพวก ในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในทิฏฐธรรม.
……………………………………………………………………………………………………
๑ วิญญาณในที่นี้ หมายถึง มโนวิญญาณ ที่รู้สึกต่อความเพลิดเพลิน และความมัวเมา ในรูปนั้น ไม่ใช่จักขุวิญญาณ ที่เห็นรูปตามธรรมดา.


(ฝ่ายปฏิปักขนัย)

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย รูปทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยจักษุมีอยู่ เป็นรูป ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยแห่ง ความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด ถ้าหากว่า ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำ สรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งรูปนั้น แล้วไซร้ เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำ สรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ กะรูปนั้น วิญญาณนั้นอัน ตัณหาในอารมณ์คือรูปอาศัยแล้ว ย่อมไม่มีแก่เธอนั้น วิญญาณ ที่จะเป็นอุปาทาน ย่อมไม่มี

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน. ในกรณีแห่งเสียง ที่จะพึงรู้ด้วยโสตะ กลิ่นที่จะพึงรู้สึกด้วยฆานะ รสที่จะพึงรู้สึกด้วย ชิวหา สัมผัส ทางผิวหนังที่จะพึง รู้สึกด้วยกาย (ผิวกายทั่วไป) ก็มีข้อความอย่างเดียวกันกับข้อความ ในกรณีแห่งรูปที่จะพึงรู้ได้ด้วยจักษุ ดังที่กล่าวแล้วข้างบน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่ง อายตนะแต่ละอายตนะเท่านั้น ในที่นี้จะ ยกข้อความอันกล่าวถึง ธัมมารมณ์เป็นข้อสุดท้าย มากกล่าวไว้อีกครั้ง ดังต่อไปนี้ )

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย! ธัมมารมณ์ทั้งหลาย ที่จะพึงรู้สึกด้วยมโน มีอยู่เป็น ธัมมารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารักเป็นที่เข้าไปอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด ถ้าหากว่าภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งธัมมารมณ์นั้น แล้วไซร้ เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ กะธัมมารมณ์นั้น วิญญาณนั้นอัน ตัณหาในอารมณ์คือธัมมารมณ์อาศัยแล้ว ย่อมไม่มีแก่เธอนั้น วิญญาณที่จะเป็นอุปาทาน ย่อมไม่มี. ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน.

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย! นี้แลเป็นเหตุ นี้เป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวก ในโลกนี้ ปรินิพพานในทิฏฐธรรม ดังนี้ แล.

หมายเหตุผู้รวบรวม เป็นที่น่าสังเกตว่า การทูลถามถึงการปรินิพพาน ในปัจจุบันเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ ทูลถาม โดยคฤหัสถ์ ผู้ครองเรือนทั้งนั้น ทั้งที่เป็นเทวดาและมนุษย์ ยังไม่พบ ที่ทูลถามโดย ภิกษุเลย (นอกจากใน จตุกฺก.อํ.๒๑/๒๒๖/๑๗๙ ซึ่งพระอานนท์ได้ถามเรื่องนี้ กะพระสารีบุตร)ชะรอยว่าเรื่องนี้ จะเป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว หรืออย่างไรกันแน่ เป็นเรื่องที่ควรจะช่วยกัน นำไปวินิจฉัยดู. อนึ่ง สิ่งที่เรียกว่า ปรินิพพานนั้น คือการสิ้นสุดแห่ง กระแส ของ ปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง.


บทนำ
จบ




หน้า 21

หมวด
ว่าด้วย ลักษณะ – ความสำคัญ – วัตถุประสงค์
ของเรื่องปฏิจจสมุปบาท


ลำดับเรื่องเฉพาะหมวด
สำหรับปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หมวดที่ ๑ว่าด้วย ลักษณะ ความสำคัญ – และ วัตถุประสงค์ ของเรื่องปฏิจจสมุปบาท (มี ๑๘ เรื่อง)

. ว่าด้วย ลักษณะ เรื่อง.
1) ความหมายของ ปฏิจจสมุปบาท แต่ละอาการ
2) ปฏิจจสมุปบาท แต่ละอาการเป็น ปฏิจจสมุปปันนธรรม
3) ทรงขยายความ ปฏิจจสมุปบาท อย่างวิธีถาม-ตอบ
4) ปัจจยาการเแม้เพียงอาการเดียวก็ยังตรัสเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท
5) แม้แสดงเพียงผัสสะให้เกิดเวทนาก็ยังเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท
6) ทรงเปรียบ ปฏิจจสมุปบาท ด้วยการขึ้นลงของน้ำทะเล

. ว่าด้วย ความสำคัญ เรื่อง :
1) การเห็น ปฏิจจสมุปบาท ชื่อว่าการเห็นธรรม
2) ปฏิจจสมุปบาท คือกฎแห่งธรรมฐิติ- ธรรมนิยาม
3) ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องลึกและดูลึก
4) ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องลึกซึ้งเท่ากับเรื่องนิพพาน
5) นรกเพราะไม่รู้ ปฏิจจสมุปบาท ร้อนยิ่งกว่านรกไหนหมด
6) ผู้แสดงธรรมโดยหลัก ปฏิจจสมุปบาท เท่านั้นจึงชื่อว่า “เป็นธรรมกถึก”

. ว่าด้วย วัตถุประสงค์ เรื่อง :
1) ปฏิจจสมุปบาท ทำให้อยู่เหนือความมีและความไม่มีของสิ่งทั้งปวง
2) ไม่มีผู้นั้นหรือผู้อื่นใน ปฏิจจสมุปบาท
3) กายนี้ไม่ใช้ของใครเพียงกระแส ปฏิจจสมุปบาท
4) ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมที่ทรงแสดงเพื่อไม่ให้รู้สึกว่ามีสัตว์บุคคล ตัวเรา
5) เขาปฏิจจสมุปบาท มีหลักว่า “ไม่มีตนเองไม่มีผู้อื่นที่ก่อสุขและทุกข์
6) การรู้ ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักการพยากรณ์อรหัตผล



หน้า25
ความหมายของปฏิจจสมุปบาท แต่ละอาการ
(ก. ว่าด้วย ลักษณะ ๖ เรื่อง)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดง เราจักจำแนก ซึ่ง ปฏิจจสมุปบาท แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้ง หลายจงฟัง ซึ่งธรรมนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้.

ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถ้อยคำ เหล่านี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ ปฏิจจสมุปบาท (สมุทยวาร) เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา
เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน
เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ
เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า? ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมี ผมหงอก ความมี หนังเหี่ยว ความสิ้นไป ๆ แห่งอายุความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตว์นิกาย นั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา

การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตายการ ทำกาละ การแตก แห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต จากสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ

ชรานี้ด้วยมรณะนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า ชรามรณะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ชาติ เป็นอย่างไรเล่า? การเกิด การกำเนิดการก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะ ทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ชาติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ภพ เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภพทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ภพ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทานทั้งหลาย ๔ อย่าง เหล่านี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า อุปาทาน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่แห่งตัณหา ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฎฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า ตัณหา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! หมู่เวทนาทั้งหลาย ๖ หมู่ เหล่านี้ คือ จักขุสัมผัสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชา เวทนา ชิวหา สัมผัสสชา เวทนา กายสัมผัสชาเวทนา มโนสัมผัสสชา-เวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า เวทนา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่ผัสสะทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัสส ชิวหา สัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า ผัสสะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า จักข์วายตนะโสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหา ยตนะกายายตนะ มนายตนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สฬายตนะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูป เป็นอย่างไรเล่า เวทนา สัญญา เจตนาผัสสะ มนสิการ นี้ เรียกว่า นาม. มหาภูตทั้งสี่ด้วย รูปที่อาศัยมหาภูตทั้งสี่ด้วย นี้ เรียกว่า รูป. นามนี้ด้วย รูปนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า นามรูป

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! หมู่วิญญาณทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า วิญญาณ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สังขาร ทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้ เรียกว่า สังขาร ทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อวิชชา เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความไม่รู้อันใดแล เป็นความไม่รู้ในทุกข์ เป็นความไม่รู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความไม่รู้ในความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความไม่รู้ในข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า อวิชชา


หน้า29
ปฏิจจสมุปบาทแต่ละอาการเป็นปฏิจจสมุปปันนธรรม
(ธรรมที่อาศัยเหตุเกิด : ปฏิจจ แปลว่าเหตุ สมุปปันน แปลว่าเกิด)


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ปฏิจจสมุปปันนธรรม แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลาย จงฟัง ซึ่งธรรมนั้น จงทำในใจ ให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้. ครั้นภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้น ทูลสนองรับ พระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถ้อยคำเหล่านี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชรามรณ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกัน และกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไป เป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามีความ จางคลายไปเป็น ธรรมดา มีความดับลงเป็นธรรมดา.

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชาติ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วอาศัยกัน และ กันเกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจาง คลาย ไปเป็นธรรมดา มีความดับลง เป็นธรรมดา.

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภพ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วอาศัยกัน และ กันเกิดขึ้น แล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไป เป็นธรรมดา มีความดับลง เป็นธรรมดา.

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกัน และกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามีความจาง คลายไปเป็น ธรรมดา มีความดับลงเป็นธรรมดา.

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหา เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วอาศัยกัน และกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามี ความจาง คลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลง เป็นธรรมดา.

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วอาศัยกัน และกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามี ความจาง คลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลง เป็นธรรมดา.

(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสะ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วอาศัยกัน และกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไป เป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ จางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลง เป็นธรรมดา.

(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สฬายตนะ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกัน และกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ จางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลงเป็นธรรมดา.

(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นามรูป เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วอาศัยกัน และกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามีความ จางคลาย ไปเป็นธรรมดา มีความดับลง เป็นธรรมดา.

(๑๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกัน และกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามีความจาง คลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลงเป็นธรรมดา.

(๑๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกัน และกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลาย ไป เป็นธรรมดา มีความดับลงเป็นธรรมดา.

(๑๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชา เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกัน และกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไป เป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามีความ จางคลายไปเป็น ธรรมดา มีความดับลงเป็นธรรมดา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้ เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม๑ ทั้งหลาย


หน้า32
ทรงขยายความปฏิจจสมุปบาท
อย่างวิธีถามตอบ

ดูก่อนอานนท์ อย่ากล่าวอย่างนั้น. ดูก่อนอานนท์ อย่ากล่าวอย่างนั้น.ก็ปฏิจจสมุปบาทนี้ ลึกซึ้งด้วย มีลักษณะดูลึกซึ้งด้วย. ดูก่อนอานนท์
…………………………………………………………………………………………………………………..

๑ คำว่า "ปฏิจจสมุปปันนธรรม" นี้ ผู้ที่ได้ฟังเป็นครั้งแรก ไม่จำเป็นจะต้องมีความ ตื่นเต้น ตกใจ ว่าเป็น คำลึกซึ้ง ซับซ้อน อะไรมากมาย แต่เป็นคำธรรมดาสามัญ ในภาษาธรรมะ มีความหมาย แต่เพียงว่า เป็นสิ่งที่เกิดเองไม่ได้ จะต้องอาศัยสิ่งใด สิ่งหนึ่งเกิดขึ้น เสร็จแล้วก็จะเป็นสิ่ง ที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย สำหรับปรุงแต่งสิ่งอื่นต่อไป ที่แท้ ก็คือสิ่งทั้งปวงในโลกนั่นเอง หากแต่ว่า ในที่นี้ทรงประสงค์ แต่เรื่องทางจิตใจ และเฉพาะที่เกี่ยวกับความทุกข์ เท่านั้น. -ผู้รวบรวม.

๒ มหานิทานสูตร มหา. ที่. ๑๐/๖๕/๕๗, ตรัสแก่พระอานนท์ ที่กัมมาสทัมมนิคม แควันกุรุ. และ อีกแห่งหนึ่งคือ สูตรที่ ๑๐ ทุกขวรรค อภิสมยสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๑/๒๒๕, ข้อความเหมือน กันตั้งแต่คำเริ่มแรกไปจนถึงคำว่า "...อบายทุคติวินิบาตไปได้".

เพราะไม่รู้๑ เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมคือปฏิจจสมุปบาทนี้ (จิตของ) หมู่สัตว์นี้ จึงเป็นเหมือน กลุ่มด้ายยุ่ง ยุ่งเหยิงเหมือนความยุ่งของกลุ่มด้าย ที่หนาแน่นไป ด้วยปม พันกันยุ่ง เหมือนเซิงหญ้ามุญชะ และหญ้าปัพพชะอย่างนี้ ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสาระ ที่เป็นอบาย ทุคติ วินิบาตไปได้.

………………………………………………………………………………………………….
ดูก่อนอานนท์ เมื่อเธอถูกถามว่า "ชรามรณะที่มีเพราะสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยมีไหม? " ดังนี้ เช่นนี้แล้ว คำตอบ พึงมีว่า "มีอยู่". ถ้าเขาพึงกล่าวต่อไปว่า "ชรามรณะมี เพราะปัจจัยอะไร?" ดังนี้แล้ว คำ ตอบ พึงมีว่า "ชรามรณะมีเพราะปัจจัยคือ ชาติ"

ดูก่อนอานนท์ เมื่อเธอถูกถามว่า "ชาติที่มีเพราะสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยมีไหม? " ดังนี้ เช่นนี้แล้ว คำตอบ พึงมีว่า "มีอยู่". ถ้าเขาพึงกล่าวต่อไปว่า "ชาติมี เพราะปัจจัยอะไร?" ดังนี้แล้ว คำตอบ พึงมีว่า "ชาติมี เพราะปัจจัยคือ ภพ".

ดูก่อนอานนท์ เมื่อเธอถูกถามว่า "ภพที่มีเพราะสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยมีไหม?" ดังนี้ เช่นนี้แล้ว คำ ตอบ พึงมีว่า "มีอยู่". ถ้าเขาพึงกล่าวต่อไปว่า "ภพมี เพราะปัจจัยอะไร?" ดังนี้แล้ว คำตอบพึงมีว่า "ภพมี เพราะปัจจัยคือ อุปาทาน".

ดูก่อนอานนท์ ถ้าเธอถูกถามว่า "อุปาทานที่มีเพราะสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยมีไหม? " ดังนี้ เช่นนี้แล้ว คำ ตอบ พึงมีว่า "มีอยู่". ถ้าเขาพึงกล่าวต่อไปว่า " อุปาทานมี เพราะปัจจัยอะไร?" ดังนี้แล้ว คำตอบพึงมีว่า "อุปาทานมี เพราะ ปัจจัยคือ ตัณหา".

ดูก่อนอานนท์ เมื่อเธอถูกถามว่า "ตัณหาที่มีเพราะสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยมีไหม? " ดังนี้ เช่นนี้แล้ว คำตอบ พึงมีว่า "มีอยู่". ถ้าเขาพึงกล่าวต่อไปว่า "ตัณหามีเพราะปัจจัยอะไร?" ดังนี้แล้ว คำตอบพึงมีว่า "ตัณหามี เพราะปัจจัยคือ เวทนา".

ดูก่อนอานนท์ เมื่อเธอถูกถามว่า "เวทนาที่มีเพราะสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยมีไหม? " ดังนี้ เช่นนี้แล้ว คำตอบ พึงมีว่า "มีอยู่". ถ้าเขาพึงกล่าวต่อไปว่า "เวทนามีเพราะปัจจัยอะไร?" ดังนี้แล้ว คำตอบพึงมีว่า "เวทนามี เพราะปัจจัยคือ ผัสสะ".

ดูก่อนอานนท์ เมื่อเธอถูกถามว่า "ผัสสะที่มีเพราะสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยมีไหม? " ดังนี้ เช่นนี้แล้ว คำตอบ พึงมีว่า "มีอยู่". ถ้าเขาพึงกล่าวต่อไปว่า "ผัสสะมีเพราะปัจจัยอะไร?" ดังนี้แล้ว คำตอบพึงมีว่า "ผัสสะมี เพราะปัจจัยคือ นามรูป".

ดูก่อนอานนท์ เมื่อเธอถูกถามว่า "นามรูปที่มีเพราะสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยมีไหม? " ดังนี้ เช่นนี้แล้ว คำตอบ พึงมีว่า "มีอยู่". ถ้าเขาพึงกล่าวต่อไปว่า "นามรูปมีเพราะปัจจัยอะไร?" ดังนี้แล้ว คำตอบ พึงมีว่า "นามรูปมี เพราะปัจจัยคือ วิญญาณ".

ดูก่อนอานนท์ เมื่อเธอถูกถามว่า "วิญญาณที่มีเพราะสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยมีไหม? " ดังนี้ เช่นนี้แล้ว คำตอบ พึงมีว่า "มีอยู่". ถ้าเขาพึงกล่าวต่อไปว่า "วิญญาณมีเพราะปัจจัยอะไร?" ดังนี้แล้ว คำตอบ พึงมีว่า "วิญญาณมี เพราะปัจจัยคือ นามรูป".

ดูก่อนอานนท์ ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล (เรื่องจึงสรุปได้ว่า) วิญญาณมีเพราะปัจจัย คือนามรูป นามรูปมี เพราะปัจจัยคือวิญญาณ ผัสสะมี เพราะปัจจัยคือนามรูป เวทนามี เพราะปัจจัยคือ ผัสสะ ตัณหามี เพราะปัจจัยคือเวทนา อุปาทานมี เพราะปัจจัยคือ ตัณหา ภพมี เพราะปัจจัยคือ อุปาทาน ชาติมี เพราะปัจจัยคือภพ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย เกิดขึ้นพร้อม เพราะปัจจัยคือชาติ ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้ แล.
...........................................................................................................
หมายเหตุผู้รวบรวม
ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ปฏิจจสมุปบาทแบบนี้ ที่ตั้งต้นจาก ทุกข์ ขึ้นไปหา อวิชชา แต่ไปไม่ถึงอวิชชา ไปสุดลงเสียเพียงแค่วิญญาณนามรูป แล้ววกกลับนั้น ยังมีลักษณะ พิเศษอยู่อีกอย่างหนึ่ง คือบางสูตร เช่นสูตรนี้โดยเฉพาะ หามี "สฬายตนะ" รวมอยู่ในสาย ด้วยไม่ ผิดจากสูตรอื่นอีกหลายสูตร แห่งแบบนี้. จะสันนิษฐานว่า คัดลอก ตกหล่นมาแต่เดิม ก็ไม่มีหนทาง ที่จะสันนิษฐานอย่างนั้น เพราะมีการเว้น คำว่า "สฬายตนะ" เหมือนกันหมดทุกๆ แห่งในสูตรนี้ ทั้งตอนที่เป็นอุทเทสนิทเทส และตอนที่ ทรงย้ำครั้งสุดท้าย ในสูตรเดียวกัน.
………………………………………………………………………………………………….


หน้า35
ปัจจยาการแม่เพียงอาการเดียว
ก็ยังตรัสเรียกว่า
ปฏิจจสมุปบาท (อิทิปปัจจยตา)

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่น เทียว คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา

(ธัมมัฏฐิตตา) คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา) คือความที่เมื่อ มีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็น ปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).

ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อม เฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้กล่าวแล้ว ในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาดู เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังนี้แล ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็น อย่าง นั้น เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น เป็น อนัญญถตา คือความ ไม่เป็นไป โดยประการอื่น เป็นอิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมี สิ่งนี้สิ่งนี้ เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึง เกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่พระตถาคต ทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม.. ฯลฯ..…ฯลฯ …๑

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม..ฯลฯ… …..ฯลฯ …..

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานชาติย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม..ฯลฯ.. …ฯลฯ …

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม..ฯลฯ.. … ฯลฯ …

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาย่อม มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม..ฯลฯ.. …ฯลฯ …

(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯลฯ …

(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม..ฯลฯ.. …ฯลฯ …

(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม..ฯลฯ..

(๑๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม..ฯลฯ.. …ฯลฯ …

(๑๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายย่อมมี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิด ขึ้นก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้ว นั่นเทียว คือความตั้งอยู่ แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา) คือความเป็นกฎ ตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา) คือความที่เมื่อ สิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).

ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อม เฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็น เหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้กล่าวแล้ว ในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดู เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายย่อมมี" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังนี้แล ธรรมธาตุใดในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็น อย่างนั้น เป็น อวิตถตา คือ ความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น เป็นอนัญญถตา คือ ความไม่เป็น ไปโดยประการอื่น เป็น อิทัปปัจจยตาคือความ ที่เมื่อ มีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกัน แล้ว เกิดขึ้น).


หน้า38
แม้แสดงเพียงผัสสะให้เกิดเวทนา ก็ยังเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเบื่อหน่ายได้บ้าง พึงคลายกำหนัด ได้บ้าง พึงปล่อย วางได้บ้าง ในกายอัน เป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้.

ข้อนั้นเพราะเหตุใดเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุว่า การก่อขึ้นก็ดีการ สลายลงก็ดี การถูกยึดครองก็ดี การทอด ทิ้งซากไว้ก็ดี แห่งกายอันเป็นที่ประชุม แห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ย่อมปรากฏอยู่. เพราะเหตุนั้นปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จึงเบื่อหน่าย ได้บ้าง จึงคลายกำหนัดได้บ้าง จึงปล่อยวาง ได้บ้าง ในกายนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า "จิต" ก็ดี ว่า "มโน" ก็ดี ว่า "วิญญาณ" ก็ดี ปุถุชนผู้ มิได้สดับ แล้ว ไม่อาจจะ เบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะ ปล่อยวาง ซึ่งสิ่งนั้น .ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้น เพราะเหตุ ว่า สิ่งที่เรียกว่า จิตเป็นต้นนี้ เป็นสิ่งที่ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ได้ถึงทับแล้วด้วยตัณหา ได้ยึดถือแล้วด้วยทิฏฐิ โดยความเป็น ตัวตน มาตลอด กาลช้านาน ว่า

"นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา" ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ แล้ว จึงไม่อาจ จะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งที่เรียกว่า จิต เป็นต้นนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเข้าไปยึดถือเอากาย อันเป็น ที่ประชุม แห่ง มหาภูตทั้งสี่นี้ โดยความเป็นตัวตน ยังดีกว่า. แต่จะเข้าไปยึดถือ เอาจิต โดยความ เป็น ตัวตน ไม่ดีเลย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุว่า กายอันเป็นที่ประชุม แห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปี บ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้างห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง เกินกว่าร้อยปีบ้าง ปรากฏอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสิ่งทีเรียกกันว่า "จิต" บ้างว่า "มโน" บ้าง ว่า "วิญญาณ" บ้างนั้น ดวงอื่น เกิดขึ้นดวงอื่นดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมกระทำไว้ในใจโดย แยบคาย เป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว ดังนี้ว่า ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เพราะความเกิดขึ้น แห่งสิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะความดับไป แห่งสิ่งนี้สิ่งนี้จึงดับไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนาขึ้น เพราะ ความดับ แห่งผัสสะอันเป็น ที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแหละ เวทนาใด ที่เกิดเพราะ ผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็น ที่ตั้งแห่ง สุขเวทนา เวทนานั้น ย่อมดับ ย่อมสงบไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา จึงเกิดทุกข เวทนา ขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแหละ เวทนาใด ที่เกิดเพราะ ผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ)ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็น ที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา จึงเกิด อทุกขมสุข เวทนาขึ้น เพราะความดับแห่ง ผัสสะอันเป็นที่ตั้ง แห่งอทุกขมสุข เวทนานั้นแหละ เวทนาใด ที่เกิดเพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็น ที่ตั้งแห่ง อทุกขมสุขเวทนา เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเพราะไม้สองอันเสียดสีกันไปมา ไออุ่นย่อมเกิด ความร้อน ย่อม บังเกิดโดยยิ่ง. เพราะแยกไม้ทั้งสองอันนั้นแหละออกจากกันเสีย ไออุ่นใด ที่เกิดเพราะ การเสียดสี ระหว่างไม้สองอันนั้น ไออุ่นนั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป ข้อนี้ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุข เวทนาขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็น ที่ตั้ง แห่งสุขเวทนานั้นแหละ เวทนาใด ที่เกิดเพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) สุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัย ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง สุขเวทนา เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา จึงเกิดทุกข เวทนาขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแหละ เวทนาใด ที่เกิดเพราะ ผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) ทุกขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็น ที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง อทุกขมสุข เวทนา จึงเกิด อทุกขมสุข เวทนาขึ้น เพราะความดับแห่ง ผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา นั้นแหละ เวทนาใด ที่เกิดเพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็น ที่ตั้ง แห่งอทุกขมสุข เวทนา เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน ผัสสะ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในวิญญาณ.

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะคลายความกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น แล้ว ย่อมมี ญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว.

อริยสาวกนั้น ย่อมทราบ ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อันเราอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีกต่อไป". ดังนี้ แล.


หน้า41
ทรงเปรียบปฏิจจสมุปบาทด้วยการขึ้นลง ของน้ำทะเล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อน้ำในมหาสมุทรขึ้น ย่อมทำให้แม่น้ำในแม่น้ำใหญ่ขึ้น เมื่อน้ำใน แม่น้ำใหญ่ ขึ้น ย่อมทำให้น้ำ ในแม่น้ำน้อยขึ้น เมื่อน้ำในแม่น้ำน้อยขึ้น ย่อมทำให้ละหานใหญ่ มีน้ำขึ้น เมื่อละหาน ใหญ่มีน้ำขึ้น ย่อมทำให้ละหานน้อย มีน้ำขึ้น ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น เมื่ออวิชชา เข้ามา(อุปยนฺตี) ย่อมทำให้สังขา รทั้งหลาย เข้ามา(สงฺขาเร อุปยาเปติ) เมื่อสังขารทั้งหลายเข้ามา ย่อมทำให้วิญญาณ เข้ามา เมื่อวิญญาณ เข้ามา ย่อมทำให้นามรูปเข้ามา เมื่อนามรูปเข้ามา ย่อมทำให้สฬายตนะเข้ามา เมื่อสฬายตนะ เข้ามา ย่อมทำให้ผัสสะเข้ามา เมื่อผัสสะเข้ามา ย่อมทำให้เวทนาเข้ามา เมื่อเวทนาเข้ามา ย่อมทำให้ตัณหาเข้ามา เมื่อตัณหาเข้ามา ย่อมทำให้อุปาทานเข้ามา เมื่ออุปาทานเข้ามา ย่อมทำให้ภพเข้ามา เมื่อภพเข้ามา ย่อมทำให้ชาติเข้ามา เมื่อชาติเข้ามา ย่อมทำให้ชรา มรณะเข้ามา
.... .... .... .... ....

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อน้ำในมหาสมุทรลง ย่อมทำให้แม่น้ำในแม่น้ำใหญ่ลดลง เมื่อน้ำใน แม่น้ำ ใหญ่ลดลง ย่อมทำให้น้ำในแม่น้ำน้อยลดลง เมื่อน้ำในแม่น้ำน้อยลดลง ย่อมทำให้น้ำ ที่ละหานใหญ่ ลดลง เมื่อน้ำที่ละหานใหญ่ลดลง ย่อมทำให้น้ำที่ละหานน้อยลดลง ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น เมื่อ อวิชชาออกไป อุปยนฺตี) ย่อมทำให้สังขาร ทั้งหลายออกไป (สงฺขาเร อุปยาเปติ) เมื่อสังขารทั้งหลายออกไป ย่อมทำให้วิญญาณออกไป เมื่อวิญญาณออกไป ย่อมทำให้นามรูปออกไป เมื่อนามรูปออกไป ย่อมทำให้สฬายตนะออกไป เมื่อสฬายตนะออกไป ย่อมทำ ให้ผัสสะออกไป เมื่อผัสสะออกไป ย่อมทำ ให้เวทนาออกไป เมื่อเวทนาออกไป ย่อมทำให้ตัณหาออกไป เมื่อตัณหาออกไป ย่อมทำให้อุปาทานออกไป เมื่ออุปาทานออกไป ย่อมทำ ให้ภพออกไป เมื่อภพออกไป ย่อมทำ ให้ชาติออกไป เมื่อชาติออกไป ย่อมทำให้ชรามรณะออกไป ดังนี้ แล. ข. ว่าด้วย ความสำคัญ ๖ เรื่อง)


หน้า42
การเห็นปฏิจจสมุปบาท ชื่อว่าการเห็นธรรม


ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย... ก็แล คำ นี้ เป็นคำ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า "ผู้ใดเห็น ปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็น ปฏิจจ สมุปบาท" ดังนี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่าปฏิจจสมุปปันนธรรม (ธรรมอาศัยซึ่งกัน และกันเกิดขึ้น) กล่าวคือ ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย

ธรรมใด เป็นความพอใจ (ฉนฺโท) เป็นความอาลัย (อาลโย) เป็นความติดตาม (อนุนโย) เป็นความ สยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ) ในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ๕ประการ เหล่านี้ ธรรมนั้น ชื่อว่า เหตุให้เกิด ขึ้นแห่งทุกข์ (ทุกฺขสมุทโย).

ธรรมใด เป็นความนำออกซึ่งฉันราคะ (ฉนฺทราควินโย) เป็นความละขาดซึ่งฉันทราคะ (ฉนฺทราคปฺปหานํ) ในอุปาทานขันธ์ ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้ ธรรมนั้น ชื่อว่า ความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์ (ทุกฺขนิโรโธ).

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ด้วยการปฏิบัติมีประมาณเพียงเท่านี้แล คำสอนของพระผู้มี พระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นสิ่งที่ภิกษุ ประพฤติกระทำให้มากแล้วดังนี้.
..........................................................................................................
หมาย เหตุผู้รวบรวม ผู้รักษาควรถือว่า คำกล่าวของพระสารีบุตรในลักษณะเช่นนี้ มีความหมาย เท่ากับเป็น พระพุทธภาษิต ที่มีอยู่ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ผู้ใดเห็นตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม ” ซึ่งเป็นเครดิตแก่ปฏิจจสมุปบาท ว่าเป็นตัวธรรม ที่มีค่าเท่ากับว่าถ้าเห็นแล้ว เป็นการเห็นตถาคต ในรูปแห่งธรรม หรือธรรมกาย นั่นเอง.
ข้อนี้แสดงว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องที่ควรสนใจ กว่าเรื่องอื่นๆ ที่เรียกว่า “ธรรม” ด้วยกันปฏิจจสมุปบาทคือกฎแห่ง

………………………………………………………………………………………………….


หน้า43
ธรรมทิฏฐิ-ธรรมนิกาย(ในฐานะเป็นกฎสูงสุดของธรรมชาติ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงซึ่งปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้ว เกิดขึ้น) แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลาย จงฟังซึ่ง ปฏิจจสมุปบาท นั้น จงทำในใจ ให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไรเล่า?

(๑)ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้น ก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือความตั้งอยู่แห่ง ธรรมดา(ธัมมัฏฐิตตา) คือความเป็นกฎ ตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา) คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา). ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น

ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงาย ของที่คว่ำ และได้กล่าวแล้ว ในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาดู เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังนี้แล ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตาคือ ความเป็นอย่างนั้น เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไป โดยประการอื่น เป็นอิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อ มีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้ว เกิดขึ้น).

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่พระ คถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้น ก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือความตั้งอยู่ แห่งธรรมดา คือความเป็นกฎ ตายตัวแห่งธรรมดา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึง เกิดขึ้น. ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะ แล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้กล่าวแล้ว ในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติย่อมมี" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังนี้แล ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็น อย่าง นั้น เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น เป็น อนัญญถตา คือความ ไม่เป็นไปโดย ประการอื่น เป็น อิทัปปัจจยตาคือความ ที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งน ี้จึงเกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็น ธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่พระคถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิด ขึ้นก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา คือความ เป็นกฎ ตายตัวแห่งธรรมดา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะ แล้ว ถึงพร้อมเฉพาะ แล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้ง ขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก แจกแจง ย่อมทำให้ เป็นเหมือนการหงาย ของที่คว่ำ และได้กล่าวแล้ว ในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงมาดู เพราะปาทาน เป็นปัจจัย ภพย่อมมี" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังนี้แล ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่าง นั้น เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไป โดยประการอื่น เป็นอิทัปปัจจยตา คือความ ที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท คือธรรมอันเป็น ธรรมชาติ อาศัยกันแล้ว เกิดขึ้น).

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ พระคถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิด ขึ้นก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือความตั้งอยู่แห่ง ธรรมดา คือความเป็นกฎ ตายตัวแห่งธรรมดา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะ แล้ว ถึงพร้อม เฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้กล่าวแล้ว ในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาดู เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานย่อมมี" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังนี้แล ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น เป็นอวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็น อย่างนั้น เป็นอนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดย ประการอื่น เป็นอิทัปปัจจยตาคือความที่ เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็น ธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ พระคถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บัง เกิดขึ้นก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะ แล้ว ถึงพร้อม เฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำ ให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้กล่าวแล้ว ในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลาย จงมาดู เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาย่อมมี" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังนี้แล ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไป โดย ประการอื่น เป็น อิทัปปัจจยตา คือความ ที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็น ธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ พระคถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บัง เกิดขึ้นก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือความตั้งอยู่ แห่งธรรมดา คือความเป็นกฎ ตายตัวแห่งธรรมดา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะ แล้ว ถึงพร้อม เฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้ กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาดู เพราะผัสสะเป็น ปัจจัย เวทนาย่อมมี" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังนี้แล ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่าง นั้น เป็น อวิตถตา คือความ ไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดย ประการอื่น เป็น อิทัปปัจจยตาคือความ ที่เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็น ธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).

(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่ พระคถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา คือความเป็นกฎ ตายตัวแห่งธรรมดา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อม เฉพาะแล้ว ถึงพร้อม เฉพาะแล้วย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาดู เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะย่อมมี" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังนี้แล ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็น อย่างนั้น เป็น อวิตถตา คือความ ไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น เป็น อนัญญถตา คือความ ไม่เป็นไป โดยประการอื่น เป็น อิทัปปัจจยตาคือความ ที่เมื่อ มีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็น ธรรมชาติ อาศัยกันแล้ว เกิดขึ้น).

(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่พระคถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้ว นั่นเทียว คือความตั้งอยู่แห่ง ธรรมดา คือความเป็นกฎ ตายตัว แห่งธรรมดา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะ แล้ว ถึงพร้อม เฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และ ได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาดู เพราะนามรูปเป็น ปัจจัย สฬายตนะย่อมมี" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังนี้แล ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็น อย่างนั้น เป็น อวิตถตา คือความ ไม่ผิดไปจากความเป็น อย่างนั้น เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็น ไป โดยประการอื่น เป็น อิทัปปัจจยตาคือความที่ เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้ว เกิดขึ้น).

(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ พระคถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้น ก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือความตั้งอยู่แห่ง ธรรมดา คือความเป็นกฎ ตายตัวแห่งธรรมดา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะ แล้ว ถึงพร้อม เฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาดู “เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปย่อมมี” ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังนี้แล ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็น อย่างนั้น เป็น อวิตถตา คือความ ไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดย ประการอื่น เป็นอิทัปปัจจยตาคือความที่เมื่อ มีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็น ธรรมชาติ อาศัยกันแล้ วเกิดขึ้น).

(๑๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระ คถาคต ทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้น ก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้ว นั่นเทียว คือความตั้งอยู่แห่ง ธรรมดา คือความเป็นกฎ ตายตัวแห่ง ธรรมดา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะ แล้ว ถึงพร้อม เฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก แจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และ ได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจง มาดู เพราะสังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณย่อมมี" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังนี้แล ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็น อย่างนั้น เป็น อวิตถตา คือความ ไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดย ประการอื่น เป็น อิทัปปัจจยตาคือความ ที่เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็น ธรรมชาติ อาศัยกันแล้ว เกิดขึ้น).

(๑๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระคถาคต ทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บัง เกิดขึ้น ก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่ แล้วนั่นเทียว คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา คือความเป็นกฎ ตายตัวแห่งธรรมดา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น. ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อม เฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงาย ของที่คว่ำ และได้กล่าวแล้ว ในบัดนี้ว่า "

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาดู เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลาย ย่อมมี" ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็น อย่างนั้น เป็นอวิตถตา คือความไม่ผิดไปจาก ความเป็นอย่างนั้น เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็น ไปโดยประการอื่น เป็นอิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อ มีสิ่งนี้สิ่งนี้ เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้ว เกิดขึ้น).


หน้า52
ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องลึกและดูลึก

พระอานท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า " น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีแล้ว พระเจ้าข้า! ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปฏิจจสมุปบาทนี้ เขาร่ำลือกันว่าเป็นธรรมลึก๒ ด้วย ดูท่าทางราวกะว่า เป็นธรรมลึกด้วย แต่ปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนกับเป็นธรรมตื้น ๆ".
………………………………………………………………………………………………………………
๑สูตรที่ ๑๐ ทุกขวรรค อภิสมยสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑/๒๒๕, ตรัสแก่พระอานนท์ ที่กัมมาสทัมมนิคม มหานิทานสูตร มหา. ที่. ๑๐/๖๕/๕๗, ตรัสแก่พระอานนท์ ที่กัมมาสทัมมนิคม [มหานิทานสูตรนี้ไม่มีคำว่า "เพราะไม่รู้" (อญฺญญฺาณา)].

๒ความลึกของปฏิจจสมุปบาทนี้
อรรถกถาอธิบายว่า เป็นของลึกเกินประมาณ และมีลักษณะปรากฏ แก่ตาผู้ดูรู้สึกว่าลึก เหลือประมาณด้วย เปรียบได้กับความลึก ของ มหาสมุทรที่มีอยู่ที่เชิงเขาสิเนรุ ไม่เหมือนกับความลึกของน้ำเน่าสีดำ เพราะใบ ไม้หมักหมมอยู่ภายใต้ ซึ่งหลอกตาให้รู้สึกว่า เป็นของลึก น่ากลัว แต่ความจริงตื้น แค่เข่า. ข้อความใน อรรถกถา ตอนนี้ มีสิ่งที่ควรสังเกตเป็นพิเศษ ตรงที่กล่าวไว้ว่า มีมหาสมุทรอันลึกเหลือประมาณ ตั้งอยู่ที่ เชิงเขาสิเนรุ คือภูเขาหิมาลัย.

ผู้ได้ฟังในบัดนี้ ไม่อาจจะเข้าใจได้ เพราะมหาสมุทรอินเดีย ในบัดนี้ อยู่ไกลเชิงเขา หิมาลัยตั้งพันไมล์ แต่เผอิญไปตรงกับ เค้าเงื่อนที่นักธรณีวิทยา แห่งยุคปัจจุบันได้มี มติ กันว่า ประเทศอินเดีย สมัยดึกดำบรรพ์ พื้นที่ระหว่างภูเขาหิมาลัยทางเหนือ กับภูเขาวินธัยทางใต้นั้น ลุ่มลึกเป็นทะเล.

ดังนั้นข้อความในอรรถกถานี้ จะถูกผิดหรือเพ้อเจ้อประการใด ขอฝากไว้เพื่อการ พิจารณา -อรรถกถา สุมังคลวิลาสินี ภาค ๒ หน้า ๑๐๖. นอกจากนี้ ก็ยังมีพระบาลี (สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๒/๖๓) ที่กล่าวว่า ภูเขาสิเนรุนั้นหยั่งลงในมหาสมุทร ลึกถึง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ นับว่าเป็นสิ่งที่ยังเข้าใจไม่ได้ จะต้องสันนิษฐานกันต่อไป.
………………………………………………………………………………………………………………

ดูก่อนอานนท์ อย่ากล่าวอย่างนั้น. ดูก่อนอานนท์ อย่ากล่าว อย่างนั้น. ก็ปฏิจจสมุปบาท นี้ ลึกซึ้งด้วย มีลักษณะดูเป็นธรรม ลึกซึ้งด้วย.ดูก่อนอานนท์! เพราะไม่รู้ เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมคือปฏิจจสมุปบาทนี้ (จิตของ) หมู่สัตว์นี้ จึงเป็นเหมือนกลุ่มด้วยยุ่ง ยุ่งเหยิงเหมือนความยุ่ง ของกลุ่มด้าย ที่หนาแน่นไปด้วยปม พันกันยุ่งเหมือนเซิงหญ้า มุญชะ และหญ้าปัพพชะอย่างนี้ ย่อมไม่ ล่วงพ้นซึ่งสงสาร ที่เป็นอบาย ทุคติ วินิบาตไปได้.


หน้า53
ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องลึกซึ้งเท่ากับเรื่องนิพพาน

ดูก่อนราชกุมาร ความคิดข้อนี้ได้เกิดแก่เราว่า "ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้เป็นธรรมอันลึก สัตว์อื่นเห็น ได้ยาก ยากที่สัตว์อื่น จะรู้ตาม เป็นธรรมระงับและประณีตไม่เป็นวิสัย ที่จะหยั่งลงง่าย ๆ แห่งความตรึก เป็นของละเอียด เป็นวิสัยรู้ได้เฉพาะบัณฑิต.

ก็สัตว์เหล่านี้ มีอาลัยเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในอาลัย เพลิดเพลินแล้วในอาลัย สำหรับสัตว์ผู้มีอาลัย เป็นที่มายินดี ยินดีเพลิดเพลิน ในอาลัยนั้น ยากนักที่จะเห็นสิ่งนี้ คือ ปฏิจจสมุปบาท กล่าวคือความ ที่สิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยแก่สิ่งนี้ ๆ (อิทปฺปจฺจยตาปฎิจฺจ สมุปฺปาโท) และยากนักที่จะเห็นแม้สิ่งนี้ คือนิพพาน อันเป็นธรรมเป็นที่สงบระงับแห่ งสังขาร ทั้งปวง เป็นธรรมอันสลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
..............................................................................................................
๑ โพธิราชกุมารสูตร ราชวรรค มูม. ๑๓/๔๖๑/๕๐๙, ตรัสแก่โพธิราชกุมาร ที่โกกนุท ปราสาท เมืองสุงสุมารคิระ ปาสราสิสูตร มู.ม. ๑๒/๓๒๓/๓๒๑, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน. (มีเนื้อความเหมือนกันทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ว่าตรัสคนละคราว เพราะตรัส แก่ ผู้ฟังต่างคนกัน คือครั้งหนึ่งตรัสแก่โพธิราชกุมาร ครั้งหนึ่งตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย).
..............................................................................................................

เป็นความจางคลาย เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. หากเราพึงแสดงธรรมแล้วสัตว์อื่นไม่พึงรู้ทั่วถึง ข้อนั้นจักเป็นความ เหนื่อยเปล่าแก่เรา เป็นความลำบากแก่เรา". โอราชกุมาร คาถาอันน่าเศร้า (อนจฺฉริยา) เหล่านี้ ที่เราไม่เคยฟัง มา แต่ก่อน ได้ปรากฏแจ่มแจ้งแก่เราว่า

"
กาลนี้ ไม่ควรประกาศธรรมที่เราบรรลุได้แล้วโดยยาก. ธรรมนี้ สัตว์ที่ถูกราคะ โทสะ ปิดกั้นแล้ว ไม่รู้ได้โดยง่ายเลยสัตว์ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะ อันความมืด ห่อหุ้มแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันไปทวนกระแส อันเป็นธรรมละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู" ดังนี้.
(ยังมีอีกสูตรหนึ่ง๑ ซึ่งมีเนื้อความเหมือนกันกับข้อความข้างบนนี้ แต่เป็นคำกล่าวของ พระพุทธเจ้า วิปัสสี นำมาตรัสเล่าโดย พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ดังต่อไปนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ได้ทรง พระดำริว่า "ถ้าอย่างไร เราพึงแสดงธรรมเถิด" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า วิปัสสี ได้ทรง พระดำริอีกว่า "ธรรมที่เรา บรรลุแล้วนี้ เป็นธรรมอันลึก สัตว์อื่นเห็นได้ ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมระงับและปราณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลง ง่ายๆ แห่งความตรึก เป็นของละเอียด เป็นวิสัย รู้ได้เฉพาะบัณฑิต. ก็สัตว์เหล่านี้ มีอาลัย เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในอาลัย เพลิดเพลินแล้วในอาลัย สำหรับสัตว์ผู้มีอาลัย เป็นที่มา

ยินดี ยินดีเพลิดเพลินในอาลัยนั้น ยากนักที่จะเห็นสิ่งนี้ คือ อิทัปปัจจยตาปฏิจจ-สมุปบาท (ปฏิจจสมุปบาทกล่าวคือ ความที่สิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัยแก่สิ่งนี้ ๆ) และยากนัก ที่จะเห็นแม้สิ่งนี้ คือนิพพาน อันเป็นธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นธรรมอันสลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไป แห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. หากเราพึง แสดงธรรมแล้ว สัตว์อื่น ไม่พึงรู้ทั่วถึง ข้อนั้นจักเป็นความเหนื่อยเปล่าแก่เรา เป็นความลำบากแก่เรา" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าคาถาอันน่าเศร้า (อนจฺฉริยา)เหล่านี้ซึ่งพระองค์ไม่เคย สดับ มาแต่ก่อน ได้แจ่มแจ้งกะพระผู้มี พระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ดังนี้ว่า

"กาลนี้
ไม่ควรประกาศธรรม ที่เราบรรลุได้แล้วโดยยาก. ธรรมนี้ สัตว์ที่ถูก ราคะ โทสะ ปิดกั้น แล้ว ไม่รู้ได้โดย ง่ายเลย. สัตว์ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะ อันความมืดห่อหุ้มแล้ว จักไม่เห็น ธรรมอันไปทวนกระแส อันเป็นธรรม ละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู" ดังนี้.

หน้า55
นรก เพราะไม่รู้ ปฏิจจสมุปบาท ร้อนยิ่งกว่านรกไหนหมด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นรกชื่อว่ามหาปริฬาหะ มีอยู่. ในนรกนั้น บุคคลยังเห็นรูปอย่างใด อย่างหนึ่งได้ ด้วยจักษุ แต่ได้เห็นรูปที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่เห็น
....................................................................................
๑ สูตรที่ ๓ ปปาตวรรค สัจจสังยุตต์ มหาวาร.สํ. ๑๙/๕๖๒/๑๗๓๑, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่คิชฌกูฏ-บรรพต นครราชคฤห์ ในที่อื่น (สูตรที่ ๒ เทวทหวรรค สฬา. สํ. ๑๘/๑๕๘/๒๑๔) พระองค์ตรัสเรียก นรกชนิดนี้ว่า ผัสสายตสิกนรก ซึ่งก็ล้วนแต่เป็นนรกในปัจจุบันสำหรับสัตว์ ที่ยังมีความรู้สึกอยู่ ด้วยกัน ทั้งนั้น.
....................................................................................

รูปที่น่าปราถนาเลย เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าใคร่เลย เห็นรูปที่ ไม่น่า พอใจ อย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่า พอใจเลย.

ในนรกนั้น บุคคลยังฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยโสตะ แต่ได้ฟังเสียงที่ไม่น่า ปรารถนาอย่างเดียว ไม่ได้ฟังเสียงที่น่า ปรารถนาเลย ฟังเสียงที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่ได้ฟังเสียงที่น่าใคร่เลย ฟังเสียงที่ไม่น่าพอใจ อย่างเดียว ไม่ได้ฟังเสียงที่น่าพอใจเลย.

ในนรกนั้น บุคคลยังรู้สึกกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ด้วยฆานะ แต่ได้รู้สึกกลิ่นที่ไม่น่า ปรารถนา อย่างเดียว ไม่ได้รู้สึกกลิ่นที่น่า ปรารถนาเลย ได้รู้สึกกลิ่นที่ไม่น่าใคร่ อย่างเดียว ไม่ได้รู้สึกกลิ่น ที่น่าใคร่เลย ได้รู้สึกกลิ่นที่ไม่น่าพอใจ อย่างเดียว ไม่ได้รู้สึก กลิ่นที่น่าพอใจเลย.

ในนรกนั้น บุคคลยังลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งได้ด้วยชิวหา แต่ได้ลิ้มรสที่ไม่ปรารถนา อย่างเดียว ไม่ได้ลิ้มรสที่น่าปราถนาเลย ได้ลิ้มรสที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่ได้ลิ้มรส ที่น่าใคร่เลย ได้ลิ้มรสที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่ได้ลิ้มรสที่น่าพอใจเลย.

ในนรกนั้น บุคคลยังถูกต้องโผฏฐัพพะ อย่างใดอย่างหนึ่งได้ด้วยกาย แต่ได้ถูกต้อง โผฏฐัพพะที่ ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะที่น่าปรารถนาเลย ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะที่ ไม่น่าใคร่ อย่างเดียว ไม่ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะที่น่าใคร่เลย ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะที่น่าพอใจเลย

ในรกนั้น บุคคลยังรู้สึกธัมมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งได้ด้วยมโน แต่ได้รู้สึกธัมมารมณ์ ที่ ไม่น่า ปรารถนา อย่างเดียว ไม่ได้รู้สึกธัมมารมณ์ที่น่าปรารถนาเลย ได้รู้สึก ธัมมารมณ์ ที่ไม่น่าใคร่ อย่างเดียว ไม่ได้รู้สึกธัมมารมณ์ที่น่าใคร่เลย ได้รู้สึกธัมมารมณ์ ที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่ได้รู้สึก ธัมมารมณ์ที่น่าพอใจเลย.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเร่าร้อนนั้น ใหญ่หลวงหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเร่าร้อนนั้น ใหญ่หลวงนักหนอ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีไหม พระเจ้าข้า ความร้อนอื่นที่ใหญ่หลวงกว่า น่ากลัวกว่า กว่าความร้อน นี้?"

ดูก่อนภิกษุ มีอยู่ ความเร่าร้อนอื่น ที่ใหญ่หลวงกว่า น่ากลัวกว่ากว่าความร้อนนี้."
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความร้อนอื่นที่ใหญ่หลวงกว่าน่ากลัว กว่ากว่าความร้อนนี้ เป็นอย่างไรเล่า?"

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัด ตามความ เป็นจริงว่า "ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ " ว่า "เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ " ว่า "ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ" ว่า "ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ"

สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมยินดียิ่งในสังขารทั้งหลาย อันเป็นไปพร้อมเพื่อชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัสอุปายาส สมณพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นยินดี ยิ่งใน สังขารทั้งหลาย เช่นนั้นแล้ว ย่อม ปรุงแต่งซึ่งสังขารทั้งหลาย อันเป็นไป พร้อมเพื่อชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัสอุปายาส สมณพราหมณ์ ทั้งหลาย เหล่านั้น

ครั้นปรุงแต่งซึ่งสังขารทั้งหลายเช่นนั้นแล้ว ย่อมเร่าร้อน เพราะความเร่าร้อนแห่งชาติ (ความเกิด) บ้าง ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนแห่งชราบ้าง ย่อมเร่าร้อน เพราะ ความเร่าร้อนแห่งมรณะบ้าง ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนแห่งโสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสบ้าง เรากล่าวว่า "สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกะปริ-เทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย คือไม่พ้นจากทุกข์" ดังนี้.

(ฝ่ายปฏิษักขนัย)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ชัดตามความ เป็นจริง ว่า "ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ" ว่า "เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ" ว่า "ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ" ว่า "ข้อปฏิบัติ เครื่อง ทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ" สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่ยินด ียิ่งในสังขาร ทั้งหลาย อันเป็นไปพร้อมเพื่อชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัส อุปายาส สมณพราหมณ์ เหล่านั้น

ครั้นไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้งหลาย เช่นนั้นแล้ว ย่อมไม่ปรุงแต่งซึ่งสังขารทั้งหลาย อันเป็นไปพร้อม เพื่อชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาส สมณ พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ครั้นไม่ปรุง แต่งซึ่งสังขารทั้งหลาย เช่นนั้นแล้ว ย่อมไม่เร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนแห่งชาติ (ความเกิด) บ้าง ย่อมไม่เร่าร้อน เพราะความเร่าร้อนแห่งชรา บ้าง ย่อมไม่เร่าร้อน เพราะความเร่าร้อนแห่งมรณะบ้าง ย่อมไม่เร้าร้อนเพราะความเร่าร้อนแห่งโลกะ ปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสบ้าง เรากล่าวว่า "สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมหลุดพ้นจากชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย คือหลุดพ้นจากทุกข์" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามที่ เป็นจริงว่า "ทุกข์เป็น อย่างนี้ ๆ " ว่า " เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ " ว่า "ความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ"ว่า "ข้อปฏิบัติ เครื่องทำ สัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ"ดังนี้เถิด.
………………………………………………………………………………………………….
หมายเหตุผู้ร ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่านรก ที่ร้อน ยิ่งกว่านรกนั้น คือนรกแห่ง การไม่รู้ไม่เห็นซึ่งอริยสัจสี่ อริยสัจสี่โดยสมบูรณ์นั้นคือปฏิจจ-สมุปบาท ดังที่พระผู้มีพระภาค เจ้าทรงแสดงไว้แล้วใน สูตร ๑ มหาวรรค ติก .อํ.๒๐/๒๒๗/๕๐๑ ซึ่งนำมาใส่ไว้ในหนังสือ เล่มนี้ โดยหัวข้อว่า “อริยสัจในรูปแห่งปฏิจจ-สมุปบาท มีในขณะแห่งเวทนา ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะกำลังเสวยทุกข์อันเกิดมาจากชาติ เป็นต้น นรกที่เกิดมาจากการไม่เห็น อริยสัจสี่ จึงเป็นนรก แห่งการไม่เห็นปฏิจจ สมุปบาท นั้นเอง เรียกสั้นๆ ในที่นี้ว่า “นรกปฏิจจสมุปบาท ร้อนยิ่งกว่านรก”
………………………………………………………………………………………………….


หน้า59
ผู้แสดงธรรมโดยหลักปฏิจจสมุปบาทเท่านั้น จึงชื่อว่า "เป็นธรรมกถึก"

ครั้งหนึ่ง ที่พระเชตวัน ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วทูลถาม ว่า"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวๆกันว่า "ธรรมกถึก - ธรรมกถึก" ดังนี้ ภิกษุชื่อว่าเป็นธรรมกถึก ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอพระเจ้าข้า" ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสตอบว่า "ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความ เบื่อหน่าย เพื่อความ คล้ายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งชราและมรณะผู้ไซร้ ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุธรรมกถึก" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งชาติ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุธรรมกถึก".

ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งภพ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุธรรมกถึก".

ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทาน อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุธรรมกถึก".

ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำ หนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งตัณ หา อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุธรรมกถึก".

ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำ หนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งเวทนา อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุธรรมกถึก".

ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำ หนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งผัสสะ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุธรรมกถึก".

ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความ ดับไม่เหลือ แห่งสฬายตนะ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุธรรมกถึก".

ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ ไม่เหลือ แห่งนามรูป อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุธรรมกถึก".

ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งวิญญาณ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุธรรมกถึก".

ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความ ดับไม่เหลือ แห่งสังขารทั้งหลาย อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุ นั้นว่า "ภิกษุธรรมกถึก".

ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความ ดับ ไม่เหลือ แห่งอวิชชา อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุธรรมกถึก". (ค. ว่าด้วย วัตถุประสงค์ ๖ เรื่อง)

หน้า61
ปฏิจจสมุปบาท ทำให้อยู่เหนือความมีและความไม่มีของสิ่งทั้งปวง


ชาณุสโสณิพรหมณ์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลถามว่า "ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ สิ่งทั้งปวง มีอยู่หรือหนอ? "พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า "ดูก่อนพราหมณ์ คำกล่าวที่ยืนยันลงไป ด้วยทิฏฐิว่า สิ่งทั้งปวง มีอยู่ ดังนี้ นี้ เป็นส่วนสุด (มิใช่ทางสายกลาง)๒ ที่หนึ่ง".
………………………………………………………………………………………………….
๑ สูตรที่ ๗ คหปติวรรค อภิสมยสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๙๑/๑๑๗๓, ตรัสแก่ชาณุสโสณิพราหมณ์ ที่เชตวัน.
๒ คำว่า "ส่วนสุด" ในกรณีอย่างนี้ หมายถึงทิฏฐิหรือความคิดเห็นที่แล่นไปสุดเหวี่ยง ในทิศทางใด ทางหนึ่งมีลักษณะ เป็น ความสำคัญมั่นหมายในลักษณะที่เป็นตัว เป็นตน หรือตรงกันข้าม. ส่วนพระผู้มี พระภาคเจ้าทรงมีหลักธรรมของพระองค์ ที่ไม่แล่นไปสุดเหวี่ยงหรือสุดโต่ง อย่างนั้นอย่างนี้ แต่ตรัสลงไป ในลักษณะที่เป็น วิทยาศาสตร์ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ในลักษณะที่ทยอยๆ กันไปไม่มีสิ่งใดเกิดหรือดับได้ โดยลำพังตัวมันเอง ดังนั้น จึงไม่มีทิฏฐิว่า "สิ่งทั้งปวงมีอยู่" หรือว่า "สิ่งทั้งปวงไม่มี".
………………………………………………………………………………………………….

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ก็สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่หรือ?"
ดูก่อนพราหมณ์ คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า "สิ่งทั้งปวง ไม่มีอยู่"ดังนี้ นี้ เป็นส่วนสุด (มิใช่ทางสายกลาง) ที่สอง.

ดูก่อนพรหมณ์ ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคต ย่อมแสดงดังนี้ว่า "เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมี สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ..ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขุโทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่ง สังขาร เพราะมี ความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ...ฯลฯ ฯลฯ...เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมสัส อุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้" ดังนี้.

พราหมณ์นั้น กล่าวสรรเสริญพระธรรมโอวาทนั้นแล้ว ประกาศตนเป็นผู้รับนับถือ พระพุทธ-ศาสนา จนตลอดชีวิต ดังนี้ แล.


หน้า62
ไม่มีผู้นั้น หรือผู้อื่น ในปฏิจจสมุปบาท

ครั้งหนึ่ง ที่พระเชตวัน พราหมณ์คนหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ แล้วได้ทูลถาม ว่า " ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ผู้นั้นกระทำผู้นั้นเสวย (ผล) ดังนั้นหรือพระเจ้าข้า?"

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสตอบว่า "ดูก่อนพราหมณ์! คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิ ว่า ผู้นั้นกระทำ ผู้นั้นเสวย (ผล)ดังนี้ นี้เป็นส่วนสุด (ไม่ใช่สายกลาง)ที่หนึ่ง".
"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ก็ผู้อื่นกระทำ ผู้อื่นเสวย (ผล) หรือพระเจ้าข้า?"

ดูก่อนพราหมณ์ คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า "ผู้อื่นกระทำ ผู้อื่นเสวย (ผล)" ดังนี้ นี้เป็นส่วนสุด (ไม่ใช่สายกลาง)ที่สอง.

ดูก่อนพราหมณ์ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคต ย่อมแสดงดังนี้ว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมี สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ...ฯลฯ...ฯลฯ...เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีความอาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือแห่งอวิชชา นั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่ง สังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ...ฯลฯ…..ฯลฯ... เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้" ดังนี้.

พราหมณ์นั้น กล่าวสรรเสริญพระธรรมโอวาทนั้นแล้ว ประกาศตนเป็นอุบาสก ผู้รับนับถือ พระพุทธศาสนา จนตลอดชีวิต ดังนี้ แล.


หน้า64

กายนี้ไม่ใช่ของใคร เป็นเพียงกระแสปฏิจจสมุปบาท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และทั้งไม่ใช่ของบุคคลเหล่าอื่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่า (กาย)นี้ อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ปัจจัย ปรุงแต่ง ขึ้น (อภิสงฺขต) เป็นสิ่งที่ปัจจัยทำ ให้เกิดความรู้สึกขึ้น(อภิสญฺเจตยิต) เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ (เวทนีย).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกรณีของกายนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทำไว้ในใจ โดยแยบคาย เป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว ดังนี้ว่า ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น. เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ จึงไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป

ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ...ฯลฯ... ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้น พร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นทั่นเทียว จึงมีความดับแห่ง สังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับ แห่งวิญญาณ ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ ... เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้" ดังนี้แล.


หน้า65
ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่ทรงแสดง เพื่อไม่ให้รู้สึกว่ามีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
(เพื่อขจัดสัสสตทิฏฐิเป็นต้น)


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของ ภูตสัตว์ทั้งหลาย หรือว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่สัมภเวสีสัตว์ทั้งหลาย. อาหาร ๔ อย่างเป็นอย่างไรเล่า? สี่อย่างคือ
(๑) กพฬีการาหาร ที่หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง
(๒) ผัสสะ
(๓) มโนสัญเจตนา
(๔) วิญญาณ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความ ดำรงอยู่ ของภูตสัตว์ทั้งหลาย หรือว่าเพื่ออนุเคราะห์แก่สัมภเวสีสัตว์ทั้งหลาย.

ภิกษุโมลิยผัคคุนะ ได้ทูลถามขึ้นว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ใครเล่าย่อมกลืนกินซึ่ง วิญญาณาหาร พระเจ้าข้า"

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสตอบว่า "นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย เราย่อมไม่กล่าวว่า บุคคลย่อมกลืนกิน ดังนี้ ถ้าเราได้กล่าวว่า บุคคลย่อมกลืนกิน ดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหา ในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า ก็ใครเล่า ย่อมกลืนกิน (ซึ่งวิญญาณาหาร) พระเจ้าข้า ดังนี้.

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอยางนั้นเช่นนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! วิญญาณาหารย่อมมี เพื่ออะไรเล่าหนอดังนี้แล้ว นั่นแหละ จึงจะเป็นปัญหา ที่ควรแก่ความเป็นปัญหา. คำเฉลย ที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า วิญญาณาหาร ย่อมมีเพื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่

ต่อไป . เมื่อภูตะ(ความเป็นภพ)นั้นมีอยู่ สฬายตนะย่อม มีเพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ (การสัมผัส) ดังนี้"."ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่าย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า?"

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมสัมผัส" ดังนี้ ถ้าเรา ได้กล่าวว่า "บุคคล ย่อมสัมผัส" ดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า?"ดังนี้.

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า "ผัสสะมีเพราะมีอะไร เป็นปัจจัยพระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหา ที่ควรแก่ความเป็นปัญหา. คำเฉลย ที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า "เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็น ปัจจัย จึงมีเวทนา (ความ รู้สึกต่ออารมณ์)"ดังนี้.

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่าย่อมรู้สึกต่ออารมณ์พระเจ้าข้า?"

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมรู้สึกต่ออารมณ์" ดังนี้ ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคลย่อมรู้สึกต่ออารมณ์" ดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมรู้สึกต่ออารมณ์ พระเจ้าข้า?"ดังนี้.

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า" เพราะมีอะไร เป็นปัจจัยจึงมีเวทนาพระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหา ที่ควรแก่ความเป็นปัญหา. คำเฉลย ที่ควร เฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า "เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา (ความอยาก)" ดังนี้.

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่าย่อมอยากพระเจ้าข้า?"

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย ย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมอยาก" ดังนี้ ถ้าเราได้ กล่าวว่า "บุคลลย่อมอยาก" ดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมอยาก พระเจ้าข้า?" ดังนี้.

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ถ้าผุ้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า "เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีตัณหาพระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหา ที่ควรแก่ความเป็นปัญหา. คำเฉลยที่ควร เฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า "เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน (ความยึดมั่น)" ดังนี้.

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ใครเล่าย่อมยึดมั่นพระเจ้าข้า" นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็น ปัญหาเลย เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมยึดมั่น" ดังนี้ ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคลย่อม ยึดมั่น" ดังนี้ นั่นแหละ จึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น พระเจ้าข้า?" ดังนี้.

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ถ้าผู้ใดจะพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า "เพราะมี อะไรเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทานพระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก ่ความเป็นปัญหา. คำเฉลย ที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า "เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็น ปัจจัย จึงมีภพ " ดังนี้ เพราะมีภพเป็น ปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริ เทวะ-ทุกขุโทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนผัคคุนา! เพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือแห่งผัสสายตนะ (แดนเกิด แห่ง สัมผัส) ทั้ง ๖ นั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งผัสสะ เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา เพราะมี ความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน เพราะมีความดับแห่ง อุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความ ดับแห่งชาติ เพระมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-อุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้ แล.

เหตุผู้รสูตรนี้ทั้งสูตรแสดงว่าไม่มีบุคคล ที่กลืนกินวิญญาณาหาร ไม่มีบุคคลที่เป็นเจ้าของอายตนะ ไม่มีบุคคลที่กระทำผัสสะ ไม่มีบุคคลที่เสวยเวทนา ไม่มีบุคคลที่ อยากด้วยตัณหา ไม่มีบุคคลที่ยึดมั่นถือมั่น มีแต่ธรรมชาติ ที่เป็นปฏิจจ-สมุปปันนธรรมอย่างหนึ่ง ๆ เป็นปัจจัย สืบต่อแก่กันและกันเป็นสายไป เท่านั้น.


หน้า68
ปฏิจจสมุปบาท มีหลักว่า
"ไม่มีตนเอง
ไม่มีผู้อื่น ที่ก่อสุขและทุกข์"


ครั้งหนึ่ง ที่พระเชตวัน ติมพรุกขปริพพาชก ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ ประทับ แล้ว ได้ทูลถามว่า "ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคล ทำเอง หรือพระเจ้าข้า?" พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสตอบว่า "อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย ติมพรุกขุ"

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สุขและทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำให้หรือพระเจ้าข้า"
อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย ติมพรุกขะ!

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย และบุคคลอื่น กระทำ ให้ด้วยหรือพระเจ้าข้า "

อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย ติมพรุกขะ!

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สุขและทุกข์ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทำเองหรือใครทำให้ ก็เกิดขึ้น ได้หรือ พระเจ้าข้า?" อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย ติมพรุกขะ

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สุขและทุกข์ไม่มีหรือพระเจ้าข้า"

ดูก่อนติมพรุกขะ มิใช่สุขและทุกข์ไม่มี ที่แท้ สุขและทุกข์มีอยู่.

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้นพระโคดมผู้เจริญ ย่อมไม่รู้ไม่เห็นสุข และทุกข์กระมัง"

ดูก่อนติมพรุกขะ เราจะไม่รู้ไม่เห็นสุขและสุกข์ ก็หามิได้ เราแลย่อมรู้ ย่อมเห็น ซึ่งสุขและทุกข์.

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์ เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สุขและทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง หรือพระเจ้าข้า ดังนี้ ทรงตอบว่า อย่ากล่าว อย่างนั้นเลยติมพรุกขะ ดังนี้ เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำให้ หรือพระเจ้าข้า ดังนี้ ทรงตอบว่า อย่ากล่าวอยางนั้นเลย ติมพรุกขะ ดังนี้

เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำ เองด้วย และบุคคลอื่นกระทำให้ด้วยหรือ พระเจ้าข้า ดังนี้ ทรงตอบว่า อย่ากล่าว อย่างนั้น เลยติมพรุกขะ! ดังนี้

เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทำเอง หรือใครทำให้ ก็เกิดขึ้นได้หรือพระเจ้าข้า? ดังนี้ ทรงตอบว่า อย่ากลัวอย่างนั้นเลย ติมพรุกขะ ดังนี้ เมื่อข้า พระองค์ทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สุขและทุกข์ไม่มี หรือพระเจ้าข้า ดังนี้ ทรงตอบว่า ดูก่อนติมพรุกขะ มิใช่สุขและทุกข์ไม่มี ที่แท้สุข และ ทุกข์ มีอยู่" ดังนี้

ครั้นข้าพระองค์ทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้นพระโคดมผู้เจริญย่อม ไม่รู้ ไม่เห็นสุข และทุกข์กระมัง ดังนี้ ก็ยังทรงตอบว่า ดูก่อนติมพรุกขะ เราจะไม่รู้ ไม่เห็นสุขและทุกข์ก็หามิได้ เราแลย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งสุขและทุกข์ ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงตรัสบอกซึ่ง เรื่องราวแห่ง)สุขและทุกข์ และจงทรง แสดงซึ่ง(เรื่องราวแห่ง) สุขและทุกข์แก่ข้าพระองค์เถิด".

ดูก่อนติมพรุกขะ เมื่อบุคคลมีความสำคัญมั่นหมายมาแต่ต้นว่า "เวทนาก็อันนั้น บุคคลผู้เสวยเวทนา ก็คนนั้น" ดังนี้ไปเสียแล้ว แม้อย่างนี้เราก็ยังไม่กล่าวว่า" สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง" ดังนี้.

ดูก่อนติมพรุกขะ เมื่อบุคคลถูกเวทนาสะกิดให้มีความสำคัญมั่นหมายว่า"เวทนาก็อันอื่น บุคคลผู้เสวย เวทนาก็คนอื่น" ดังนี้ไปเสียแล้ว แม้อย่างนี้เราก็ยังไม่กล่าวว่า" สุขและทุกข์ เป็นสิ่งที่ บุคคล อื่นกระทำให้" ดังนี้.

ดูก่อนติมพรุกขะ ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุด ทั้งสองนั้น คือตถาคต ย่อมแสดงดังนี้ว่า "เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ.. เพราะมีชาติ ป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่ง สังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้".

ติมพรุกขปริพพาชกนั้น กล่าวสรรเสริญพระธรรมโอวาทนั้นแล้ว ประกาศตนเป็น อุบาสกผู้รับนับถือ พระพุทธศาสนา จนตลอดชีวิต ดังนี้ แล.

หน้า71
การรู้ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักการพยากรณ์อรหัตตผล

ภิกษุกฬารขัตติยะ เข้าไปหาพระสารีบุตร ได้เล่าเรื่องที่พระโมลิยผัคคุนะ ผู้ลาสิกขา เวียนมาเป็น ฆราวาสให้พระสารีบุตรฟัง พระสารีบุตรกล่าวว่าที่พระโมลิย ผัคคุนะ ลาสิกขาไปนั้น ต้องเป็น เพราะไม่ได้ความมั่นใจ ในธรรมวินัยนี้เป็นแน่

เมื่อได้ฟังดังนั้น ภิกษุกฬารขัตติยะ จึงได้ย้อนถามถึง ความรู้สึกส่วนตัวพระสารีบุตร เองว่า ท่านได้ความมั่นใจ ในธรรมวินัย แล้วหรือ พระสารีบุตร ได้ตอบว่า เราไม่มีกังขา ในข้อ นี้เลย

ภิกษุกฬารขัตติยะ ได้ถามอีกว่า แล้วในกาลต่อไปข้างหน้าเล่า พระสารีบุตรตอบว่า เราไม่ลังเล สงสัยเลยภิกษุกฬารขัตติยะ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลกล่าวหา พระสารีบุตรว่าพยากรณ์ อรหัตตผลว่าตนมีชาติสิ้นแล้วเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้รับสั่งให้เรียกหาพระสารีบุตร มาแล้ว ตรัสถามว่า

ดูก่อนสารีบุตร ได้ยินว่า เธอพยากรณ์อรหัตตผลว่า "เราย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่ต้องปฏิบัติเพื่อความ หลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้ จริงหรือ?""ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ!

เนื้อความโดยบทและ โดยพยัญชนะทั้งหลายเช่นนั้น ข้าพระองค์มิได้กล่าวแล้ว พระเจ้าข้า!"ดูก่อนสารีบุตร กุลบุตรย่อมพยากรณ์อรหัตตผล ได้โดยปริยายแม้ต่าง ๆ กัน เมื่อเป็นดังนั้น ประชาชนทั้งหลาย ก็ย่อมเห็นการพยากรณ์ โดยปริยายใดปริยาย หนึ่งนั้น ว่าเป็นอรหัตตผลที่กุลบุตร นั้นพยากรณ์แล้ว.

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ข้าพระองค์ได้กราบทูลแล้วมิใช่หรือว่า เนื้อความมีอรรถ และพยัญชนะ ทั้งหลายเช่นนั้น ข้าพระองค์มิได้กล่าวแล้ว".

ดูก่อนสารีบุตร ถ้าคนทั้งหลาย จะพึงถามเธออย่างนี้ว่า "ข้าแต่ท่านสารีบุตร ท่านรู้ อย่างอยางไร เห็นอยู่อย่างไร จึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรท ได้ทำเสร็จแล้ว กิจที่ต้องปฏิบัติเพื่อความ หลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้"ดูก่อนสารีบุตร เธอถูกถามอย่างนี้แล้ว จะตอบแก่เขาว่าอย่างไร?

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเขาถามเช่นนั้นข้าพระองค์จะตอบแก่เขาว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย ชาติมีสิ่งใดเป็นเหตุ เมื่อชาติสิ้นเพราะความสิ้นแห่งเหตุนั้น ข้าพเจ้ารู้ว่าชาติสิ้นแล้ว ดังนี้จึงรู้ว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้วกิจที่

ควรทำให้ทำเสร็จแล้วกิจอื่นที่ต้องปฏิบัติ เพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้มิได้มีอีกดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ข้าพระองค์จะตอบแก่เขาอย่างนี้".

ดูก่อนสารีบุตร ถ้าคนทั้งหลาย จะพึงถามเธอ (ต่อไป) อย่างนี้ว่า"ข้าแต่ท่านสารีบุตร ก็ชาติ มีอะไร เป็นเหตุให้เกิด (นิทาน)มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด (สมุทย) มีอะไรเป็น เครื่องกำเนิด (ชาติก) มีอะไรเป็นแดนเกิด ปภว)เล่า?" ดังนี้. ดูก่อนสารีบุตร เธอถูกถาม อย่างนี้แล้ว จะตอบแก่เขาว่าอย่างไร?

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเขาถามเช่นนั้นข้าพระองค์จะตอบแก่เขาว่า ดูก่อนท่าน ทั้งหลาย ชาติมีภพ เป็นเหตุให้เกิดมีภพ เป็นเครื่องก่อให้เกิดมีภพ เป็นเครื่องกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อถูกถามอย่างนี้ข้าพระองค์จะตอบ แก่เขาอย่างนี้".

ดูก่อนสารีบุตร ถ้าคนทั้งหลาย จะพึงถามเธอ (ต่อไปอีก) อย่างนี้ว่า "ข้าแต่ท่าน สารีบุตร ก็ภพเล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่อง กำเนิด? มีอะไรเป็นแดนเกิด?" ดังนี้. ดูก่อนสารีบุตร เธอถูกถามอย่างนี้แล้ว จะตอบแก่เขาว่าอย่างไร?

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญถ้าเขาถามเข่นนั้นข้าพระองค์จะตอบแก่เขาว่า ดูก่อนท่าน ทั้งหลาย ภพมี อุปาทาน เป็นเหตุ ให้เกิดมี อุปาทานเป็นเครื่องก่อให้เกิดมีอุปาทาน เป็นเครื่องกำเนิด มีอุปาทาน เป็นแดนเกิด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ข้าพระองค์จะตอบแก่เขาอย่างนี้".

ดูก่อนสารีบุตร! ถ้าคนทั้งหลาย จะพึงถามเธอ (ต่อไปอีก) ว่า "ข้าแต่ท่านสารีบุตร ก็อุปาทาน เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่อง กำเนิด? มีอะไรเป็นแดนเกิด?" ดังนี้. ดูก่อนสารีบุตร เธอถูกถามอย่างนี้แล้ว จะตอบแก่เขาว่าอย่างไร

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเขาถามเช่นนั้นข้าพระองค์จะตอบแก่เขาว่า ดูก่อนท่าน ทั้งหลาย อุปาทาน มีตัณหาเป็นเหตุให้เกิด มีตัณหาเป็นเครื่องก่อให้เกิดมีตัณหา เป็นเครื่องกำเนิดมีตัณหาเป็นแดนเกิด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเมื่อถูกถาม อย่างนี้ ข้าพระองค์ จะตอบแก่เขาอย่างนี้".

ดูก่อนสารีบุตร ถ้าคนทั้งหลาย จะพึงถามเธอ ต่อไปอีก) อย่างนี้ว่า"ข้าแต่ท่านสารีบุตร ก็ตัณหาเล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด?" ดังนี้. ดูก่อนสารีบุตร!เธอถูกถามอย่างนี้แล้ว จะตอบแก่เขาว่า อย่างไร?

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเขาถามเเช่นนั้นข้าพระองค์จะตอบแก่เขาว่า ดูก่อนท่าน ทั้งหลาย!ตัณหา มีเวทนาเป็นเหตุให้เกิด มีตัณหาเป็นเครื่องก่อให้เกิดมีตัณหา เป็นเครื่องกำเนิดมีตัณหาเป็นแดนเกิด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ข้าพระองค์จะตอบแก่เขาอย่างนี้".

ดูก่อนสารีบุตร! ถ้าคนทั้งหลาย จะพึงถามเธอ (ต่อไปอีก) อย่างนี้ว่า"ข้าแต่ท่าน สารีบุตร ก็เวทนา เล่ามีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีอะไรเป็น เครื่องกำ เนิด? มีอะไรเป็นแดนเกิด?" ดังนี้. ดูก่อนสารีบุตร!เธอถูกถามอย่างนี้แล้ว จะตอบแก่เขาว่าอย่างไร?

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญถ้าเขาถามเช่นนั้น ข้าพระองค์จะตอบแก่เขาว่า ดูก่อนท่าน ทั้งหลาย เวทนามีผัสสะเป็นเหตุให้เกิดมีผัสสะ เป็นเครื่องก่อให้เกิดมีผัสสะ เป็นเครื่องกำเนิดมีผัสสะเป็น แดนเกิด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ข้าพระองค์ จะตอบแก่เขาอย่างนี้".

ดูก่อนสารีบุตร ถ้าตรทั้งหลาย จะพึงถามเธอ ต่อไปอีก) อย่างนี้ว่า"ข้าแต่ท่านสารีบุตร เมื่อท่านรู้อยู่ อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร นันทิ(กิเลสเป็นเหตุให้รู้สึกเพลิน) จึงจะไม่เข้าไป ตั้ง อยู่ในเวทนาทั้งหลาย?" ดังนี้. ดูก่อนสารีบุตร เธอถูกถามอย่างนี้ แล้ว จะตอบแก่เขาว่าอย่างไร

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ถ้าเขาถามเช่นนั้น ข้าพระองค์จะตอบแก่เขาว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย เวทนา สามอย่างเหล่านี้ มีอยู่ สามอย่างคือสุขเวทนาทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา. ดูก่อนท่านทั้งหลาย เดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้ารู้แล้วว่า เวทนาทั้ง ๓ อย่างนั้น เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดเป็นของไม่เที่ยง สิ่งนั้น ล้วนเป็นทุกข์ดังนี้ เพราะรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้นันทิจึงไม่เข้าไปตั้งอยู่ในเวทนาทั้งหลาย.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ข้าพระองค์จะตอบแก่เขาอยางนี้". ถูกแล้ว ถูกแล้ว สารีบุตร ปริยายที่เธอกล่าวนี้ ก็เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งเนื้อความนั้นแหละ แต่โดยย่อ ว่า "เวทนาใดๆ ก็ตาม เวทนานั้นทั้งหมดย่อมถึงการประชุมลง ในความทุกข์" ดังนี้.

ดูก่อนสารีบุตร! ถ้าคนทั้งหลาย จะพึงถามเธอ (ต่อไปอีก) อย่างนี้ว่า" ข้าแต่ท่าน สารีบุตร เพราะอาศัย วิโมกข์อย่างไหน ท่านจึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นที่ต้อง ปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น อย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้" ดูก่อนสารีบุตร เธอถูกถามอย่างนี้ แล้ว จะตอบแก่เขาว่าอย่างไร?

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเขาถามเช่นนั้นข้าพระองค์จะตอบแก่เขาว่า ดูก่อนท่าน ทั้งหลายเพราะ อาศัยอัชฌัตตวิโมกข์๑ เพราะความสิ้นไปแห่งอุปาทานทั้งปวง เราจึงเป็นผู้มีสติอยู่ ในลักษณะที่ อาสวะทั้งหลาย จะไหลไปตามไม่ได้ อนึ่ง เราย่อมไม่ดูหมิ่นซึ่งตนเองด้วย ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ! เมื่อถูกถามอย่างนี้ ข้าพระองค์จะตอบแก่เขาอย่างนี้".

ถูกแล้ว ถูกแล้ว สารีบุตร ปริยายที่เธอกล่าวนี้ ก็เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งเนื้อความ นั้นแหละ แต่โดยย่อว่า "ข้าพเจ้าไม่ข้องใจ ในอาสวะทั้งหลาย ที่พระสมณะกล่าวแล้ว และข้าพเจ้า ไม่ลังเลสงสัยว่าอาสวะ ทั้งหลายเหล่านั้น ข้าพเจ้าละแล้วหรือยัง" ดังนี้.พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งตรัสอย่างนี้แล้ว เสด็จลุกจาก อาสนะ เข้าสู่วิหารที่ ประทับ ส่วนพระองค์
หมวดที่หนึ่ง จบ
....................................................................................................
๑ อัชฌัตตวิโมกข์ คือ ความพ้นวิเศษในภายใน โดยเหตุที่นันทิหรือตัณหา ไม่เข้าไป ตั้ง อยู่ในเวทนา จิตจึงพ้นจากความทุกข์ อันจะพึงเกิดจากเวทนาในภายใน ในขณะนั้น. อธิบายว่าเมื่อไม่มีตัณหาหรือนันทิก็ย่อมไม่มีอุปาทาน เมื่อไม่มีอุปาทาน ก็ไม่เป็นทุกข์. อาการอย่างนี้ เรียกว่า อัชฌัตตวิโมกข์ ใช้เป็นเครื่องวัดในการพยากรณ์ อรหัตตผล ว่ามีจริงหรือไม่.




หน้า79
หมวด ๒
ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท คือ อริยสัจสมบูรณ์แบบ



หน้า80
ลำดับเรื่องเฉพาะหมวด

สำหรับปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หมวดที่ ๒ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาทคือเรื่องอริยสัจสมบูรณ์แบบ (มี ๙ เรื่อง)

มีเรื่อง :
เรื่องปฏิจจสมุปบาทคือเรื่องอริยสัจ--
ปฏิจจสมุปบาททุกอาการมีลักษณะแห่งความเป็นอริยสัจสี่--
ปฏิจจสมุปบาทซึ่งแสดงการก่อขึ้นแห่งทุกข์—
ปฏิจจสมุปบาทซึ่งแสดงการดับลงแห่งทุกข์--
อริยสัจในรูป แห่งปฏิจจสมุปบาทมีในขณะแห่งเวทนา--
อาการที่ยุ่งยากที่สุดของปฏิจจสมุปบาทคืออาการของตัณหา—
ความเหนียวแน่นของ สัสสตทิฏฐิ ปิดบังการเห็นอริยสัจสี่ จึงสงสัยต่อหลักของอริยสัจ หรือปฏิจจสมุปบาท นัตถิกทิฏฐิ ปิดบังการเห็นอริยสัจจสี่ จึงสงสัยต่อหลักของอริยสัจ หรือปฏิจจสมุปบาท-- ปฏิจจสมุปบาทรวมอยู่ในบรรดาเรื่องที่ใครคัดค้านไม่ได้.


หน้า81
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์หมวดที่
ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาทคือเรื่องอริยสัจสมบูรณ์แบบ
เรื่องปฏิจจสมุปบาท
คือเรื่องอริยสัจ๑


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาอันเราแสดงแล้วว่า "เหล่านี้ คืออริยสัจทั้ง ๔"ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เราเศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้. ข้อนี้ เป็นธรรมที่เรากล่าวแล้วอย่างนี้ เราอาศัยซึ่งอะไรเล่า จึงกล่าวแล้วอย่างนี้?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยซึ่งธาตุทั้งหลาย ประการการก้าวลงสู่ครรภ์ ย่อมมีเมื่อการก้าวลงสู่ครรภ์ มีอยู่, นามรูป ย่อมมี เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะเพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราย่อมบัญญัติว่า"นี้ เป็นความทุกข์" ดังนี้ ว่า "นี้ เป็นทุกข สมุทัย" ดังนี้ ว่า “นี้ เป็นทุกขนิโรธดังนี้ ว่า นี้ เป็น ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา" ดังนี้ แก่สัตว์ผู้สามารถเสวยเวทนาอยู่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ แม้โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์ การประสบกับ สิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ความพลัดพราก จากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ทุกข อริยสัจ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะมีวิญญาณเป็น ปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็น ปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทานเพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่าทุกขสมุทยอริยสัจ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า เพราะความจางคลาย ดับไป โดยไม่เหลือแห่ง อวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดั บแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับ แห่ง นามรูป เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ เพราะมีความ ดับ แห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับ แห่งเวทนา เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา เพราะมีความดับ แห่ง ตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับ แห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพจึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้นั่นเอง กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า “เหล่านี้ คืออริยสัจทั้ง ๔ ” ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้อันใด อันเรากล่าวแล้ว ข้อนั้นเรากล่าวหมายถึง ข้อความนี้ ดังนี้ แล.

         หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตว่า คนทั่วไปล้วนแต่เข้าใจว่า อริยสัจ กับปฏิจจสมุปบาท เป็นคนละเรื่องกัน โดยเนื้อแท้แล้ว เรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่อง อริยสัจ ที่สมบูรณ์ ดังที่พระองค์ตรัสไว้ในสูตรนี้ โดยทรงแจกทุกขสมุทัยและทุกข นิโรธ ออกไป อย่างละเอียด หรือสมบูรณ์ที่สุด โดยนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท แทนที่จะก ล่าวสั้น ๆ ว่าทุกขสมุทัยคือตัณหาสั้น ๆ ลุ่น ๆ ก็แสดงโดยละเอียดว่า ตัณหาคืออะไร เกิดมาจากอะไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้นั่นเอง กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า “เหล่านี้ คืออริยสัจทั้ง ๔ ” ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้อันใด อันเรากล่าวแล้ว ข้อนั้นเรากล่าวหมายถึง ข้อความนี้ ดังนี้ แล.


หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตว่า คนทั่วไปล้วนแต่เข้าใจว่า อริยสัจ กับปฏิจจ สมุปบาท เป็นคนละเรื่องกัน โดยเนื้อแท้แล้ว เรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่อง อริยสัจ ที่สมบูรณ์ ดังที่พระองค์ตรัสไว้ ในสูตรนี้ โดยทรงแจกทุกขสมุทัยและทุกขนิโรธ ออกไป อย่างละเอียด หรือสมบูรณ์ที่สุด โดยนัยแห่ง ปฏิจจสมุปบาท แทนที่จะกล่าว สั้น ๆ ว่าทุกขสมุทัย คือตัณหา สั้น ๆ ลุ่น ๆ ก็แสดงโดยละเอียดว่า ตัณหาคืออะไร เกิดมาจากอะไร และทำให้เกิดทุกข์ ได้อย่างไร ถึง ๑๑ ระยะ คือสายแห่ง ปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายสมุทยวาร สาย หนึ่ง แทนที่จะกล่าวสั้น ๆ ลุ่น ๆ ว่า ทุกขนิโรธ คือการดับ ตัณหาเสีย ก็ตรัสอย่างละเอียด ถึง ๑๑ ระยะ อย่างเดียวกัน เป็นปฏิจจ สมุปบาท ฝ่ายนิโรธวาร ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า การตรัสอย่างนี้ เป็นอริยสัจโดยสมบูรณ์. เราควรเรียกอริยสัจที่แสดงด้วย ปฏิจจสุมปบาทว่า “อริยสัจใหญ่” และเรียกอริยสัจ ที่รู้กันอยู่ทั่ว ๆ ไปว่า “อริยสัจเล็ก” กันแล้วกระมัง.



หน้า84
ปฏิจจสมุปบาททุกอาการ มีลักษณะแห่งความเป็นอริยสัจสี่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ชรามรณะรู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับ ไม่เหลือแห่ง ชรามรณะ รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งชรามรณะ

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ชาติ รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือ แห่งชาติ รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ภพ รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพ รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือ แห่งภพ รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง อุปาทาน รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับ ไม่เหลือแห่ง อุปาทาน รู้ทั่วถึงซึ่ง้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทาน

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ตัณหา รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหา รู้ทั่วถึงซึ่งความดับ ไม่หลือแห่งตัณหา รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งตัณหา

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง เวทนา รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา รู้ทั่วถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่ง เวทนา รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งเวทนา

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ผัสสะ รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ รู้ทั่วถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่งผัสสะ รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่ง ผัสสะ

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง สฬายตนะ รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับ ไม่เหลือ แห่งสฬายตนะ รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งสฬายตนะ

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง นามรูป รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป รู้ทั่วถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งนามรูป รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งนามรูป

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง วิญญาณ รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ รู้ทั่วถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่ง วิญญาณ รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่ง วิญญาณ

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง สังขาร ทั้งหลาย รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งสังขาร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า? ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมี ฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไปแห่งอายุความแก่รอบ แห่ง อินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ

นี้ เรียกว่า ชรา. การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละ การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต จาก สัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ นี้ เรียกว่า มรณะ. ชรานี้ด้วย มรณะนี้ ด้วย ย่อมมีอยู่ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า ชรามรณะ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชรามรณะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้น พร้อมแห่งชาติ ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งชาติ มรรคอัน ประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ได้แก่สิ่ง เหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีพชอบความ พากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชาติ เป็นอย่างไรเล่า การเกิด การกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฎของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้ซึ่ง อายตนะ ทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า ชาติ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติ ย่อมมี เพราะความ ก่อขึ้นพร้อมแห่ง ภพ ความดับไม่เหลือแห่งชาติ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือ แห่งภพ

มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึง ความดับไม่เหลือ แห่งชาติ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำ การงาน ชอบ การเลี้ยงชีวิต ชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภพ เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภพทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า ภพ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทาน ความดับไม่เหลือ แห่งภพ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทาน มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งภพ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทานทั้งหลาย ๔ อย่างเหล่านี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า อุปาทาน. ความก่อขึ้นพร้อมแห่ง อุปาทานย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งตัณหา ความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งตัณหา มรรคอันประกอบด้วย องค์แปด อันประเสริฐ นั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือความเห็นชอบ

ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่ตัณหา ทั้งหลาย ๖ อย่างเหล่านี้ คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหาโผฏฐัพพ ตัณหา ธัมมตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า ตัณหา. ความก่อขึ้น พร้อมแห่ง ตัณหา ย่อมมี เพราะความก่อขึ้น พร้อมแห่งเวทนา ความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งเวทนา มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐ นั่นเอง เป็นปฏิปทา ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!หมู่แห่งเวทนาทั้งหลาย ๖ อย่างเหล่านี้ คือ จักขุสัมผัสสชา เวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนาฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหา สัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชา เวทนา มโนสัมผัสสชา-เวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า เวทนา. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งผัสสะ ความดับไม่เหลือแห่ง เวทนา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งเวทนา ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่แห่งผัสสะ ทั้งหลาย ๖ อย่างเหล่านี้ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัสกาย สัมผัส มโนสัมผัส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่าผัสสะ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งผัสสะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อม แห่งสฬายตนะ ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐ นั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือความเห็น ชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบความพาก เพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า? จักขวายตนะโสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนายตนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!นี้ เรียกว่า สฬายตนะ ความก่อขึ้นพร้อมแห่งสฬายตนะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อม แห่ง นามรูป ความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ย่อมมี เพราะความดับ ไม่เหลือแห่งนามรูป มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบการพูดจา ชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นามรูป เป็นอย่างไรเล่า เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม มหาภูตทั้งสี่ด้วย รูปที่อาศัยมหาภูตทั้งสี่ด้วย นี้เรียกว่า รูป นามนี้ด้วย รูปนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า นามรูป.

ความก่อขึ้นพร้อมแห่งนามรูป ย่อมมี เพราะความก่อขึ้น พร้อมแห่งวิญญาณ ความดับ ไม่เหลือ แห่งนามรูป ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณมรรค อันประกอบ ด้วย องค์แปด อันประเสริฐ นั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง นามรูป ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำ การงาน ชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจ มั่นชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่แห่ง วิญญาณ ทั้งหลาย ๖ อย่างเหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า วิญญาณ ความก่อขึ้นพร้อมแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งสังขาร ความดับ ไม่เหลือแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความดับ ไม่เหลือแห่งสังขาร มรรคอันประกอบ ด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งวิญญาณ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า สังขารทั้งหลาย. ความก่อขึ้นพร้อมแห่ง สังขารย่อมมี เพราะ ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอวิชชา ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือ แห่งอวิชชา มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่น เอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งสังขาร ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็น ชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพาก เพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกาลใดแล

ภิกษุ ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ชรามรณะ มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ มารู้ทั่วถึง ซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งชรา- มรณะ มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ .

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ชาติ มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้น แห่งชาติ มารู้ ทั่วถึงซึ่ง ความดับ ไม่เหลือแห่ง ชาติ มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือ แห่งชาติ ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ภพ มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพ มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับ ไม่เหลือ แห่งภพ มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือ แห่งภพ ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง อุปาทาน มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือ แห่ง อุปาทาน มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งอุปาทาน ว่าเป็น อย่างนี้ ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ตัณหา; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหา มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่ง ตัณหา มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งตัณหา ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง เวทนา มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือ แห่ง เวทนา มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งเวทนา ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ผัสสะ มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ มารู้ ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่ง ผัสสะ มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งผัสสะ ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง สฬายตนะ มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ มารู้ทั่ว ถึงซึ่ง ความดับ ไม่เหลือ แห่งสฬายตนะ มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง นามรูป มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือ แห่งนามรูป มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งนามรูป ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง วิญญาณ มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือ แห่ง วิญญาณ มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งวิญญาณ ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง สังขารทั้งหลาย มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่ง สังขาร มารู้ทั่ว ถึงซึ่ง ความดับ ไม่เหลือ แห่งสังขาร มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับไม่เหลือ แห่งสังขาร ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกาลนั้น เราเรียกภิกษุนั้น ว่า
"ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐฺ (ทิฏฺฐิสมฺปนฺโน)" ดังนี้บ้าง
"ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ (ทสฺสนสมฺปนฺโน)" ดังนี้บ้าง
"ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว (อาคโต อิมํ สทฺธมฺมํ)" ดังนี้บ้าง
"ย่อมเห็นซึ่งพระสัทธรรมนี้ (ปสฺสติ อิมํ สทฺธมฺมํ)" ดังนี้บ้าง
"ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ (เสกฺเขน ญาเณน สมนฺนาคโต)" ดังนี้บ้าง
"ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ (เสกฺขาย วิชฺชาย สมนฺนาคโต)" ดังนี้บ้าง
"ผู้ถึงแล้วซึ่งกระแสแห่งธรรม (ธมฺมโสตํ สมาปนฺโน)" ดังนี้บ้าง
"ผู้ประเสริฐมีปัญญชำแรกกิเลส (อริโย นิพฺเพธิกปญฺโญ)" ดังนี้บ้าง
"ยืนอยู่จดประตูแห่งอมตะ (อมตทวารํ อาหจฺจ ติฏฺฐติ)" ดังนี้บ้าง.

หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตุให้เห็นว่า อาการแห่งปฏิจจสมุปบาท แต่ละ อาการ ก็ยังจำแนก ออกไป เป็นอริยสัจสี่อีกชั้นหนึ่ง เช่นเดียวกับตัวปฏิจจสมุปบาท ทั้งสาย ดังที่กล่าวมาแล้ว โดยหัวข้อว่า “เรื่องปฏิจจสมุปบาทคือเรื่องอริยสัจ”. ทั้งหมดนี้ รวมกันแล้ว เป็นเครื่องแสดงให้เห็นชัด ยิ่งขึ้นไปอีก ว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาท นั้นเป็นเรื่องอริยสัจทั้งเนื้อทั้งตัว.

ขอให้กำหนดไว้เป็นพิเศษ ตลอดเวลา.(แม้คำ ของพระมหาเถระ คือ พระสารีบุตร ก็ได้กล่าวถึง ปฏิจจสมุทบาท โดยหลักแห่ง อริยสัจสี่ อย่างเดียวกันกับพุทธภาษิต ข้างบนนี้ แต่กล่าวในฐานะ เป็นวัตถุ แห่งสัมมาทิฏฐิ คือ การรู้ชัดซึ่งอาการทุกอาการ ของปฏิจจสมุทบาท โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ ว่าเป็นสัมมาทิฏฐิอย่างหนึ่ง ๆ ทุกอาการ รวมอยู่กับเรื่องอื่น ๆ คือเรื่องอกุศล กุศลพร้อมทั้งมูลเหตุ เรื่องอาหารสี่ โดยนัยแห่ง อริยสัจสี่ เรื่องทุกข์โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ และเรื่องอาสวะ โดยนัยแห่ง อริยสัจสี่ ซึ่งล้วนแต่เป็นวัตถุแห่งสัมมาทิฏฐิด้วยกันทั้งนั้น.

..................................................................................................................

สำหรับเรื่องปฏิจจสมุทบาทนั้น มีข้อความดังที่ยกมาไว้เป็นส่วนผนวกของ พระพุทธ ภาษิต ข้างบนนี้ ดังต่อไปนี้)

"ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ปริยายอย่างอื่นยังมีอีกที่จะทำอริยสาวก ให้ได้ชื่อว่า เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีทิฏฐิดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใสอัน ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่ พระสัทธรรมนี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ปริยายนั้นคือในกาลใดอริยสาวก ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งชรามรณะ ด้วย ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะด้วย ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะด้วย ซึ่งข้อ ปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะด้วย ดูก่อน ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แลอริยสาวกนั้น.

ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิมีทิฏฐิ ดำเนินไปตรงแล้วประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใส ันไม่หวั่นไหว ในธรรมมาสู่พระสัทธรรมนี้ในกาลนั้น.

…ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก... ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ชาติ ด้วย ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาต ิด้วย ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งชาติด้วย ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งชาติด้วย ..ฯลฯ... ในกาลนั้น

...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก...ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งภพด้วย, ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพด้วย ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งภพด้วย ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งภพด้วย ..ฯลฯ ...ในกาลนั้น

...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก... ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง อุปาทาน ด้วย ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง อุปาทานด้วย ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอุปาทานด้วย ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทานด้วย...ฯลฯ...ในกาลนั้น.

...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก... ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ตัณหา ด้วย ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง ตัณหาด้วย ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตัณหาด้วย ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือ แห่งตัณหาด้วย...ฯลฯ...ในกาลนั้น.

...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก...ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง เวทนา ด้วย ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา ด้วย ซึ่งความ ดับ ไม่เหลือแห่งเวทนาด้วย ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความ ดับไม่เหลือ แห่งเวทนา ด้วย...ฯลฯ...ในกาลนั้น.

...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก...ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ผัสสะ ด้วย ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ ด้วย ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งผัสสะด้วย ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งผัสสะ ด้วย...ฯลฯ.. .ในกาลนั้น.

...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก... ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง สฬายตนะ ด้วย ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง สฬายตนะด้วย ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะด้วย ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่ง สฬายตนะด้วย...ฯลฯ...ในกาลนั้น.

...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก...ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง นามรูป ด้วย ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง นามรูป ด้วย ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งนามรูปด้วย ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งนามรูปด้วย...ฯลฯ...ในกาลนั้น.

...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก...ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง วิญญาณ ด้วย ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง วิญญาณด้วย ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณด้วย ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งวิญญาณด้วย...ฯลฯ...ในกาลนั้น.

...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก...ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง สังขาร ด้วย ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร ด้วย ซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งสังขารด้วย ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งสังขารด้วย ...ฯลฯ...ในกาลนั้น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ปริยาย อย่างอื่น ยังมีอีกที่จะทำอริยสาวก ให้ได้ชื่อว่า เป็น ผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนิน ไปตรงแล้ว ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ปริยายนั้นคือในกาลใดอริยสาวก ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งอวิชชา ด้วย ซึ่งเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งอวิชชาด้วย ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอวิชชาด้วย ซึ่งข้อ ปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งอวิชชาด้วย ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แลอริยสาวกนั้น. ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิมีทิฏฐิ ดำเนินไป ตรงแล้ว ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในธรรมมา สู่พระสัทธรรมนี้ในกาลนั้น…..

(ต่อไปนี้ พระสารีบุตรได้กล่าวถึงเรื่องอาสวะ โดนัยแห่งอริยสัจสี่ ไปจนจบสูตรชื่อ สัมมา ทิฏฐิสูตร มู.ม. ๑๒/๙๐/๑๑๗)
……………………………………………………………………………………………………………
หมายเหตุผู้รวบรวม ในพุทธภาษิตในตอนต้นของเรื่องนี้ ตรัสลักษณะของอริยสัจสี่ ในอาการของ ปฏิจจสมุปบาท ไม่ขึ้นไปถึงอวิชชา ดังในสูตรนี้ซึ่งกล่าวขึ้นไปถึง อวิชชา. การรู้ปฏิจจสมุปบาท แต่ละอาการ โดยละอาการ โดยนัยอริยสัจสี่ เป็นลักษณะของการบรรลุ ความเป็นโสดาบัน เป็นอย่างน้อย. ความข้อนี้ มีตรงกัน ทั้งที่เป็นพุทธภาษิต และสาวก-ภาษิตเช่นนี้ แล.
..................................................................................................................

หน้า96
ปฏิจจสมุทบาท ซึ่งแสดงการก่อขึ้นแห่งทุกข์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ซึ่งเหตุเครื่องก่อขึ้นแห่งทุกข์ (ทุกข-สมุทยะ) แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จ ประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้.... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเครื่องก่อขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า?

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรมสามประการ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา นี้คือ เหตุเครื่องก่อนขึ้นแห่งทุกข์.

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยหูด้วย เสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรมสามประการ(หู+เสียง+โสตวิญญาณ)นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา นี้คือ เหตุเครื่องก่อนขึ้นแห่งทุกข์.

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยจมูกด้วย กลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิด ฆานวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรมสามประการ (จมูก+กลิ่น+ ฆานวิญญาณ) นั่นคือผัสสะเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็น ปัจจัยจึงมีตัณหา นี้คือ เหตุเครื่องก่อนขึ้นแห่งทุกข์.

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยลิ้นด้วย รสทั้งหลายด้วย จึงเกิดชิวหา วิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรมสามประการ (ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหานี้คือ เหตุเครื่องก่อนขึ้น แห่งทุกข์.

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยกายด้วย โผฏฐัพพะรูปทั้งหลายด้วยจึงเกิด กายวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (กาย+โผฏฐัพพะ+วิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็น ปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา นี้คือ เหตุเครื่องก่อนขึ้นแห่งทุกข์.

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยใจด้วย ธัมมารมณ์ทั้งหลายจึงเกิด มโนวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรมสามประการ (ใจ+ธัมมารมณ์+ มโนวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหานี้คือ เหตุเครื่องก่อนขึ้น แห่งทุกข์.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือเหตุเครื่องก่อขึ้นแห่งทุกข์

หน้า98
ปฏิจจสมุทบาทซึ่งแสดงการดับลงแห่งทุกข์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ซึ่งการถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์ (ทุกขอัตถังคนะ) แก่พวกเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังซึ่งความข้อนั้น จงทำในใจ ให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้. (ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับ พระพุทธ ดำรัส แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถ้อยคำเหล่านี้ว่า) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า?

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบ พร้อม แห่งธรรมสามประการ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ)นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา. เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง ตัณหานั่นเอง จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับ แห่ง ภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ นี้คือ การถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์.

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยหูด้วย เสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิด โสตวิญญาณ การประจวบ พร้อม แห่งธรรมสามประการ (หู+เสียง+โสตวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา เพราะความจางคลาย ดับไปไม่เหลือแห่งตัณหา นั่นเอง จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน ...ฯลฯ...๑ นี้คือ การถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์.

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยจมูกด้วย กลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิดฆาน วิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรมสามประการ (จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ)นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสส ะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนาเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา . เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหานั่นเอง จึงมีความดับแห่งอุปาทาน...ฯลฯ... นี้คือ การถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์.

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยลิ้นด้วย รสทั้งหลายด้วย จึงเกิด ชิวหาวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรมสามประการ (ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ)
……………………………………………………………………………………………………
๑คำที่ละไว้ด้วย...ฯลฯ... ตรงนี้และตอนต่อ ๆ ไป แห่งหัวข้อเรื่องนี้ มายความว่ามี ข้อความ เต็มเหมือน ข้อ (๑). เริ่มตั้งแต่คำว่า "เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมี ความดับแห่งภพ"... ไปจนกระทั่งถึงคำว่า ..."ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้." ผู้อ่านพึงเติม ให้เต็มเอาเอง.
..................................................................................................................

นั่นคือ ผัสสะเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหาเพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหานั่นเอง จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ..ฯลฯ... นี้คือ การถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์.

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยกายด้วย โผฏฐัพพะ รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิด กายวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (กาย+โผฏฐัพพะ+วิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหาพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหานั่นเอง จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน ...ฯลฯ... นี้คือ การถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์.

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยใจด้วย ธัมมารมณ์รูปทั้งหลายด้วยจึงเกิด มโนวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (ใจ+ธัมมารมณ์+ มโนวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็น ปัจจัย จึงมีตัณหา. เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหานั่นเอง จึงมี ความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพเพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่น แลชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลง แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น
นี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ นี้คือ การถึงซึ่ง อันตั้ง อยู่ไม่ได้แห่งทุกข์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือการถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์.


หน้า101
อริยสัจในรูปแห่งปฏิจจสมุทบาทมีในขณะแห่งเวทนา

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยซึ่งธาตุทั้ง ๖ ประการการก้าวลงสู่ครรภ์ย่อม มี
เมื่อ การก้าวลงสู่ครรภ์มีอยู่ นามรูปย่อม มี เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติ
ว่า"นี้เป็นความทุกข์ " ดังนี้
ว่า"นี้เป็นทุกขสมุทัย "ดังนี้
ว่า "นี้เป็นทุกขนิโรธ "ดังนี้
ว่า"นี้ เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา" ดังนี้ แก่สัตว์ผู้สามารถเสวยเวทนาอยู่.
..................................................................................................................
หมายเหตุผู้รวบรวม ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ข้อเท็จจริงอันนี้ มีความสำคัญ อย่างยิ่ง กล่าวคือ ต้องมีการเสวยเวทนาจริงๆ จึงจะเห็นทุกขอริยสัจที่เกิดจากตัณหา อันเกิดจากเวทนานั้น และความที่ ทุกข์ดับไปในขณะที่ตัณหาดับไปในเวทนานั้น ในเมื่อจิตประกอบอยู่ด้วยธัมมสมังคีแห่งอัฏฐังคิกมรรค โดยอัตโนมัติ ดังนั้น ถ้าปราศจาก เวทนาเสียเพียงอย่างเดียวแล้ว อริยสัจสี่ก็ตาม ปฏิจจสมุปบาท ก็ตาม ยังมิได้เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า "ปฏิจจสมุปบาทอริยสัจ มีในขณะ แห่งเวทนา" ดังนี้ โดยนัยดังที่พระพุทธองค์ตรัสแล้วข้างบน.
..................................................................................................................

หน้า102
อาการที่ยุ่งยากที่สุดของปฏิจจสมุทบาท คืออาการของตัณหา


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงซึ่งตัณหา แก่พวกเธอทั้งหลายคือตัณหา ซึ่งเป็นดุจ มีข่าย เครื่องคลุม สัตว์ มีปกติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะ เกี่ยวของสัตว์ ซึ่งด้วย ตัณหานั้นเอง โลกนี้อันตัณ หายึดโยงไว้ ห่อหุ้มไว้เป็นเหมือนกลุ่มด้วยยุ่ง ยุ่งเหยิงเหมือนความยุ่งของกลุ่มด้าย ที่หนาแน่น ไปด้วยปม พันกันยุ่งเหมือนเซิง หญ้ามุญชะ และหญ้า ปัพพชะ๑ ย่อมไม่ล่วงพ้นซึ่งสังสารวัฏฏ์ ที่เป็นอบาย ทุคติ วินิบาต ไปได้. พวกเธอทั้งหลาย จงฟังข้อความนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้.

ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสถ้อยคำ เหล่านี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาเป็นอย่างไรเล่า จึงชื่อว่าเป็นดุจมีข่ายเครื่องคลุมสัตว์ มีปกติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์ ซึ่งด้วยตัณหานั้นเองโลกนี้ อันตัณหายึดโยงไว้ ห่อหุ้มไว้เป็น เหมือนกลุ่มด้ายยุ่ง ยุ่งเหยิงเหมือนความยุ่งของ กลุ่มด้าย ที่หนาแน่นไปด้วยปม พันกันยุ่งเหมือน เซิงหญ้ามุญชะ และ หญ้าปัพพชะ ย่อมไม่ล่วงพ้นซึ่งสังสารวัฏฏ์ ที่เป็นอบาย ทุคติ วินิบาต ไปได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา)ทั้งหลาย ๑๘ ประการ อันเข้าไป จับยึดขันธ์ ในภายใน และตัณหาวิจริตทั้งหลาย ๑๘ประการ อันเข้าไป จับยึดขันธ์ ในภายนอก, เหล่านี้มีอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหาวิจริตทั้งหลาย ๑๘ ประการ อันเข้าไปจับยึดขันธ์ ในภายใน เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหาวิจริตทั้งหลาย ๑๘ ประการ อันเข้าไปจับยึดขันธ์ในภายในนั้น เหล่านี้คือ
(๑) เมื่อมีความนึกว่า "เรามีอยู่ (อสมิ)" ดังนี้
(๒) ความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างนี้ (อิตฺถสฺมิ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๓) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างนั้น(เอวสฺมิ) ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๔) หรือว่าความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างอื่น (อญฺญถาสฺมิ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๕) หรือว่าความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างไม่เที่ยงแท้ (อสสฺมิ) ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๖) หรือว่าความนึกว่า "เราเป็นอย่างเที่ยงแท้ (สตตฺมิ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๗)หรือว่า ความนึก ไปว่า "เราพึงมี (สํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๘) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างนี้(อิตฺถํสํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๙) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างนั้น (เอวํสํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๐) หรือว่าความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างอื่น (อญฺญถาสํ) ดังนี้ก็ย่อมมี
(๑๑) หรือว่า ความนึกว่า "เราพึงมีบ้างหรือ (อปิสํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๒) หรือว่า ความนึกไปว่า " เราพึงมีอย่างนี้บ้างหรือ (อปิอิตฺถํสํ)"ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๓) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างนั้นบ้างหรือ (อปิเอวํสํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๔) หรือว่าความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างอื่นบ้างหรือ (อปิอญฺญถาสํ) ดังนี้ ก็ย่อมมี;
(๑๕) หรือว่า ความนึกว่า "เราจักมีแล้ว (ภวิสฺสํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๖) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราจักมีแล้วอย่างนี้ ( อิตฺถํภวิสฺสํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๗) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราจักมีแล้วอย่างนั้น (เอวํภวิสฺสํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๘) หรือว่าความนึกไปว่า "เราจักมีแล้วอย่างอื่น (อญฺญถาภวิสฺสํ) ดังนี้ ก็ย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้คือ ตัณหาวิจริตทั้งหลาย ๑๘ ประการ อันเข้าไปจับ ยึดขันธ์ในภายใน.|

---------------------------------------------------------------------------
๑หญ้าสองชนิดนี้ เคยแปลกันว่า หญ้ามุงกระต่าย และหญ้าปล้อง แต่ไม่มีหลักฐาน ที่แน่นอน ในที่นี้จึงไม่แปลไว้.
..................................................................................................................

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ตัณหาวิจริตทั้งหลาย ๑๘ ประการ อันเข้าไปจับยึดขันธ์ ในภายนอก เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตัณหาวิจริตทั้งหลาย๑๘ ประการ อันเข้าไปจับยึดขันธ์ในภายนอก เหล่านี้คือ
(๑) เมื่อมีความนึกว่า "เรามีอยู่ด้วยขันธ์ (อันเป็นภายนอก) อันนี้ (อิมินา อสฺมิ)" ดังนี้

(๒) ความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างนี้ด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินาอิตฺถสฺมิ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี

(๓) หรือว่าความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างนั้นด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินาเอวสฺมิ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี

(๔) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างอื่น ด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินาอญฺญถาสฺมิ)"ดังนี้ ก็ย่อมมี

(๕) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างไม่เที่ยงแท้ด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินาอสสฺมิ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี

(๖) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างเที่ยงแท้ด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินาสตสฺมิ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี

(๗) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินาสํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี

(๘) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างนี้ด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินาอิตฺถํสํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี

(๙) หรือว่าความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างนั้นด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินาเอวํสํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี

(๑๐) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างอื่นด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินาอญฺญถาสํ)"ดังนี้ ก็ย่อมมี

(๑๑) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีด้วยขันธ์อันนี้บ้างหรือ (อิมินาอปิสํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี

(๑๒) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างนี้ด้วยขันธ์อันนี้บ้างหรือ (อิมินาอปิอิตฺถํสํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี

(๑๓) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างนั้นด้วยขันธ์อันนี้บ้างหรือ (อิมินาอปิเอวํสํ)" ดังนี้ ก็ย่อมมี (๑๔) หรือว่าความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างอื่นด้วยขันธ์อันนี้บ้างหรือ(อิมินาอปิอญฺญถาสํ)"ดังนี้ก็ย่อมมี

(๑๕) หรือว่าความนึกไปว่า "เราจักมีแล้วด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินาภวิสฺสํ)"ดังนี้ ก็ย่อมมี

(๑๖) หรือว่า ความนึกไปว่า"เราจักมีแล้วอย่างนี้ ด้วยขันธ์อันนี้(อิมินาอิตฺถํภวิสฺสํ )" ดังนี้ ก็ย่อมมี

(๑๗) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราจักมีแล้วอย่างนั้นด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินาเอวํภวิสฺสํ )" ดังนี้ ก็ย่อมมี

(๑๘) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราจักมีแล้วอย่างอื่นด้วยขันธ์อันนี้ (อิมินาอญฺญถาภวิสฺสํ )"ดังนี้ก็ย่อมมี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้คือ ตัณหาวิจริตทั้งหลาย ๑๘ ประการ อันเข้าไปจับยึด ขันธ์ในภายนอก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้ จึงมีตัณหาวิจริตทั้งหลาย ๑๘ ประการ อันเข้าไปจับยึด ขันธ์ ในภายใน และตัณหาวิจริตทั้งหลาย ๑๘ ประการ อันเข้าไปจับยึดขันธ์ในภายนอก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ เราย่อมกล่าวว่า ตัณหาวิจริตทั้งหลาย ๓๖ ประการ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุนี้ เมื่อนับตัณหาวิจริต มีลักษณะอย่างนี้อันเป็นอดีต ๓๖ ประการด้วย, อันเป็นอนาคต ๓๖ ประการด้วย อันเป็นปัจจุบัน ๓๖ประการด้วย ตัณหาวิจริต ทั้งหลาย ๑๐๘ ประการ ย่อมมี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือตัณหา ซึ่งเป็นดุจมีข่ายเครื่องคลุมสัตว์ มีปกติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์ ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง โลกนี้อันตัณหา ยึดโยงไว้ ห่อหุ้มไว้เป็นเหมือน กลุ่มด้ายยุ่ง ยุ่งเหยิงเหมือนความยุ่งของกลุ่มด้าย ที่หนาแน่นไปด้วยปม พันกันยุ่งเหมือนเซิงหญ้า มุญชะและหญ้าปัพพชะ ย่อมไม่ล่วงพ้นซึ่งสังสารวัฏฏ์ ที่เป็นอบาย ทุคติ วินิบาต ไปได้ ดังนี้ แล.
………………………………………………………………………………………………………….
เห ตุผู้ร ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่าตัณหานั้นเป็นอาการของปฏิจจสมุปบาทอาการที่ ๘, นับว่าเป็นอาการ ที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ทำจิตใจของสัตว์ให้นุงนังสับสนเหมือนเซิงหญ้า มุญชะและกลุ่มด้ายที่ยุ่ง ดังที่ กล่าวแล้วในพระบาลีนี้ แถมยังมีอาการของสิ่งที่ผูกมัด หุ้มหอ ครอบคลุมเหมือนตาข่ายแผ่ซ่าน ไปในภพต่าง ๆ มีอาการ ซับซ้อนเหลือจะ ประมาณได้ มีการเที่ยวไปในทิฏฐิต่างๆ เช่นทิฏฐิ ๑๘ ประการ ปรารภขันธ์ทั้งที่เป็น ภายในและภายนอก และมีทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน รวมได้ เป็น๑๐๘ ชนิด นี้เป็นพวกที่อาศัย ทิฏฐิ.

เมื่อดูตามลักษณะที่อาศัยอารมณ์ทั้ง ๖ มีรูป เสียงกลิ่น รส เป็นต้น นับเป็น ๖ อารมณ์, แล้วคูณด้วย เวทนา ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนาอทุกขมสุขเวทนา และตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็เป็น ๕๔ ชนิด แล้วคูณด้วยลักษณะ ๒ คือที่เป็นภายในและภายนอกก็ตาม หรือจะคูณ ด้วย ลักษณะแห่งเคหสิตและ เนกขัมมสิต ๒ อย่างนี้ก็ตาม ก็เป็น ๑๐๘ ชนิด เช่นเดียวกัน ใช้อธิบายได้ทั้งแก่กาม ตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.

ส่วนตัณหาวิจริต ๑๐๘ ประการ นัยที่กล่าว แล้วข้างต้น สะดวกที่จะใช้อภิบายภว ตัณหา และวิภว ตัณหา ได้ทั้ง ๒ อย่าง โดยปฏิปักขนัย ต่อกัน และกัน. นี่แหละคือความยุ่งยากซับซ้อนแห่ง อาการของตัณหา ที่ซ่อนอยู่ในกระแส แห่งปฏิจจ สมุปบาท ที่เกิดอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยไม่ต้องกล่าวถึงเวลาหลังจากตายแล้ว โดยทางร่างกายก็ได้.


คำว่า "เคหสิต" หมายถึงอาศัยกามารมณ์โดยตรงในชีวิต ของผู้ครองเรือนในลักษณะ แห่ง กามสุขัลลิกานุโยค. ส่วน "เนกขัมมสิต" หมายถึงการออกจากเรือนประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อเกิดใน สวรรค์รูปาพจรอรูปาพจรเป็นต้น ในลักษณะแห่ง อัตตกิลมถานุโยค ดังนี้. สำหรับคำว่า "ตัณหาวิจริต " นั้นเล็งถึงที่เที่ยวที่โคจรของ ตัณหา เป็นทิฏฐิก็ได้เป็นอารมณ์ก็ได้ ดังจะเห็นได้จากข้อความข้างบน นั้นแล.
..................................................................................................................

หน้า106
ความเหนียวแน่นของสัสสตทิฏฐิปิด บังการเห็นอริยสัจสี่
จึงสงสัยต่อหลักของอริยสัจหรือปฏิจจสมุทบาท


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจ เข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นจนถึงกับว่า "ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ ก็ไม่คลอด พระจันทร์และ พระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตก แต่ละอย่าง เป็นของ ตั้งอยู่ อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ ของเสา ระเนียด" ดังนี้?

ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย ของพวก ข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค เป็นที่พึ่ง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นการชอบแล้วหนอ ขอให้อรรถแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเองเถิด. ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้" ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเตือนให้ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้นตั้งใจฟังด้วยดีแล้ว ได้ตรัสข้อความต่อไปนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อรูปนั่นแล มีอยู่, เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป เพราะปักใจ เข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิด ขึ้นอย่างนี้ว่า "ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่ คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ ก็ไม่ขึ้น ไม่ตก แต่ละอย่าง ๆ เป็นของตั้งอยู่อย่าง มั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด" ดังนี้.

(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษรกับในกรณี แห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์แต่ละขันธ์ เท่านั้น).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ("ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า!") ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?("เป็นทุกข์พระเจ้าข้า!") แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐฺอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า "ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์ และพระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นและไม่ตก แต่ละอย่างๆเป็นของ ตั้งอยู่ อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของ เสาระเนียด" ดังนี้? ("ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!")

(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสถามและภิกษุ เหล่านั้น ทูลตอบ อย่างเดียวกันทุกตัวอักษรกับในกรณีแห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อ แห่งขันธ์ แต่ละขันธ์เท่านั้น).


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แม้สิ่งใดที่บุคคลได้เห็นแล้ว ฟังแล้ว รู้สึกแล้วรู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว แสวงหาแล้ว ครุ่นคิดอยู่ด้วยใจแล้ว เหล่านี้เป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ("ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า!") ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?("เป็นทุกข์พระเจ้าข้า!")

แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่น ซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า "ลมก็ไม่พัดแม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ ก็ไม่คลอด พระจันทร์และ พระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นและไม่ตก แต่ละอย่าง ๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด" ดังนี้? ("ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า!")

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ความสงสัย (กังขา)ในฐานะทั้งหลาย ๖ ประการ เหล่านี้๑ เป็นสิ่งที่อริยะสาวกละขาดแล้ว ในกาลนั้น ก็เป็นอันว่า ความสงสัยแม้ใน ทุกข์ แม้ในเหตุให้เกิดขึ้น แห่งทุกข์ แม้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ แม้ในข้อปฏิบัติ เครื่องทำ สัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ ก็เป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นละขาดแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นอริยสาวกผู้เป็นโสดาบันมีอันไม ่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ (ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า ดังนี้ แล.

เมื่อบุคคลมีความเห็นว่า รูปเป็นต้น เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ เป็นอันเดียวกัน ทั้งในโลกนี้ และในโลกอื่นแล้ว สัสสตทิฏฐิจะเกิดขึ้นแก่เขาอย่างแน่นแฟ้น จนถึงขนาดที่จะปรียบ เทียบ กันกับอุปมาในที่นี้ได้ว่า ลมจะไม่พัด แม่น้ำจะไม่ไหล ดังนี้เป็นต้น คือเขาจะ ไม่ยอมเปลี่ยนทิฏฐิอันแน่นแฟ้นดุจเสาระเนียดนี้ มันจึงปิดบังการเห็นอริยสัจสี่ อริยสัจ ทั้งสี่ ก็คือ ปฏิจจสมุทบาท นั่นเอง ดังนั้นจึงเป็นอันว่า ทิฏฐินั้นปิดบังการเห็น ปฏิจจสมุทบาท โดยแท้. ผู้รวบรวม.

หน้า 108
นัตถิกทิฏฐิปิดบังการเห็นอริยสัจสี่
จึงสงสัยต่อหลัก ของ อริยสัจหรือปฏิจจสมุปบาท


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจ เข้าไป สู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า "ไม่มีทานอันบุคคลบริจาคแล้วไม่มี

ยัญญะอันบุคคลประกอบแล้วไม่มีโหตระอันบุคคลบูชาแล้ว ไม่มีผลวิบากแห่งกรรม อันบุคคล กระทำ ดีแล้ว กระทำ ชั่วแล้ว ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกอื่นไม่มีมารดา ไม่มีบิดา ไม่มีสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นโอปปาติกะ ไม่มีสรณะและพราหมณ์ผู้ไปแล้วถูกต้อง ผู้ปฏิบัติแล้วถูกต้อง ผู้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ และโลกอื่น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศอยู่ในโลก

คนเรานี้ เป็นแต่การประชุมของมหาภูตทั้งสี่ เมื่อใดทำ กาละ เมื่อนั้นดินย่อมเข้าไปสู่ หมู่แห่งดิน น้ำ ย่อมเข้าไปสู่หมู่แห่งน้ำ ไฟย่อมเข้าไปสู่หมู่แห่งไฟ ลมย่อมเข้าไปสู่หมู่ แห่งลม อินทรีย์ทั้งหลาย ย่อมหายไปในอากาศ บุรุษทั้งหลายมีเตียงวางศพ เป็นที่ครบห้า จะพาเขาผู้ตายแล้วไป ร่องรอย ทั้งหลาย ปรากฏอยู่เพียงแค่ป่าช้า เป็นเพียงกระดูกทั้งหลาย มีสีเพียงดังสีแห่งนกพิลาป การบูชา เซ่นสรวง มีขี้เถ้าเป็น ที่สุด สิ่งที่เรียกว่าทานนั้น เป็นบทบัญญัติของคนเขลา คำของพวกที่กล่าวว่า อะไรๆ มีอยู่นั้นเป็นคำเปล่า(จากความหมาย)เป็นคำเท็จ เป็นคำ เพ้อเจ้อ ทั้งคนพาลและ บัณฑิต ครั้นกายแตกทำ ลายแล้ว ย่อมขาดสูญพินาศไป มิได้มีอยู่ ภายหลังแต่การ ตาย " ดังนี้?

ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของ พวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค เป็นที่พึ่ง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เป็นการชอบแล้วหนอ ขอให้อรรถแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเองเถิด.

ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักทรงจำไว้" ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเตือน ให้ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นตั้งใจฟังด้วยดีแล้ว ได้ตรัสข้อวามต่อไปนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปนั่นแล มีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป เพราะปักใจเข้าไป สู่รูป ทิฏฐิจึง เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า "ไม่มีทานอันบุคคลบริจาคแล้ว ไม่มียัญญะอันบุคคล ประกอบแล้ว ไม่มีโหตระอัน บุคคลบูชาแล้ว ไม่มีผลวิบากแห่งกรรม อันบุคคล

กระทำดีกระทำชั่ว ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกอื่น ไม่มีมารดา ไม่มีบิดา ไม่มีสัตว์ทั้งหลาย อันเป็น โอปปาติกะ ไม่มีสรณะและพราหมณ์ผู้ไปแล้วถูกต้อง ผู้ปฏิบัติแล้วถูกต้อง ทำให้แจ้งซึ่ง โลกนี้ และโลกอื่น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศอยู่ในโลก

คนเรานี้เป็นแต่การประชุมของมหาภูตทั้งสี่ เมื่อใดทำกาละ เมื่อนั้นดินย่อมเข้าไป สู่หมู่แห่งดินน้ำ ย่อมเข้าไปสู่หมู่แห่งน้ำ ไฟย่อมเข้าไปสู่หมู่แห่งไฟ ลมย่อมเข้าไปสู่ หมู่แห่งลม อินทรีย์ทั้งหลาย ย่อมหายไปในอากาศ บุรุษทั้งหลาย มีเตียงวางศพเป็น ที่ครบห้า จะพาเขาผู้ตายแล้วไป

ร่องรอยทั้งหลาย ปรากฏอยู่เพียงแค่ป่าช้า เป็นเพียงกระดูกทั้งหลาย มีสีเพียงดังสี แห่ง นกพิลาป การบูชาเซ่นสรวง มีขี้เถ้าเป็นที่สุด สิ่งที่เรียกว่าทานนั้นเป็นบทบัญญัติ ของคนเขลา คำของพวก ที่กล่าวว่า อะไร ๆ มีอยู่นั้น เป็นคำเปล่า (จากความหมาย) เป็นคำเท็จ เป็นคำเพ้อเจ้อ ทั้งคนพาล และบัณฑิต ครั้นกายแตกทำลายแล้วย่อม ขาดสูญ พินาศไป มิได้มีอยู่ ภายหลังแต่ตายแล้ว" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ("ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า!") ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า("เป็นทุกข์พระเจ้าข้า!") แม้สิ่งใด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้า ไม่ยึดมั่น ถือมั่นซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า " ไม่มีทานอันบุคคล บริจาคแล้ว ไม่มียัญญะอันบุคคลประกอบแล้ว ไม่มีโหตระอันบุคคลบูชาแล้ว ไม่มีผลวิบาก แห่งกรรมอันบุคคลกระทำดีแล้ว กระทำชั่วแล้ว ...ฯลฯ...ฯลฯ... คำของพวกที่กล่าวว่าอะไร ๆ มีอยู่ นั้นเป็นคำเปล่า (จากความหมาย)เป็นคำเท็จ เป็นคำเพ้อเจ้อ ทั้งคนพาลและบัณฑิต

ครั้นกายแตกทำลายแล้ว ย่อมขาดสูญ พินาศไป มิได้มีอยู่ ภายหลังแต่ตาย"ดังนี้. ("ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!") (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีคำกล่าว อย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษรกับคำกล่าวในกรณีแห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์ แต่ละขันธ์ เท่านั้น).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้สิ่งใดที่บุคคลได้เห็นแล้ว ฟังแล้ว รู้สึกแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว แสวงหาแล้วครุ่นคิดอยู่ด้วยใจแล้ว เหล่านี้ เป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง("ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า!")ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ("เป็นทุกข์พระเจ้าข้า!") แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า "ไม่มีทาน อันบุคคลบริจาคแล้ว ไม่มียัญญะอันบุคคลประกอบแล้ว ไม่มีโหตระอันบุคคลบูชาแล้ว ไม่มีผลวิบากแห่งกรรมอันบุคคล กระทำ ดีแล้ว กระทำ ชั่วแล้ว ...ฯลฯ...ฯลฯ... คำ ของพวกที่กล่าวว่า อะไร ๆ มีอยู่นั้นเป็นคำเปล่า (จากความหมาย) เป็นคำเท็จ เป็นคำเพ้อเจ้อ ทั้งคนพาลและบัณฑิต ครั้นกายแตกทำลายแล้ว ย่อมขาดสูญพินาศ ไป มิได้มีอยู่ภายหลังแต่การตาย" ดังนี้. ("ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!")

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ความสงสัย (กังขา) ในฐานะทั้งหลาย ๖ ประการ เหล่านี้ เป็นสิ่ง ที่อริยะสาวกละขาดแล้ว ในกาลนั้น ก็เป็นอันว่า ความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในเหตุให้ เกิดขึ้นแห่งทุกข์ แม้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ แม้ในข้อปฏิบัติ เครื่องทำ สัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์ ก็เป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้น ละขาด แล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นอริยสาวกผู้เป็นโสดาบันมีอัน ไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้(ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า ดังนี้ แล.

นัตถิกทิฏฐิ หรือ อุจเฉททิฏฐิ ดังกล่าวมานี้ เป็นสุดโต่งฝ่ายข้างไม่มี ตรงกันข้ามจาก สัสสต-ทิฏฐิ ซึ่งเป็นสุดโต่งฝ่ายข้างมี ล้วนแต่ปิดบังการเห็นอริยสัจสี่ ด้วยกันทั้งสอง อย่าง. อริยสัจสี่ คือปฏิจจสมุทบาท ดังนั้น จึงเป็นการปิดบังปฏิจจสมุทบาทพร้อมกัน ไปในตัว.

ตอนต้นของนัตถิกทิฏฐิ ตั้งแต่คำว่า "การให้ทานไม่มี" ไปจนถึงคำว่า "สัตว์ผู้เป็น อุปปาติกะไม่มี" นี้ถูกยกมาใช้เป็นคำอธิบายของมิจฉาทิฏฐิ ในขั้นมูลฐานทางศีลธรรม ทั่วไป เช่นมิจฉาทิฏฐิใน อกุศลกรรมบถ เป็นต้น ซึ่งยังมิใช่นัตถิกทิฏฐิเต็มรูป จึงเรียกว่า มิจฉาทิฏฐิเฉยๆ. -ผู้รวบรวม.

หน้า 112
ปฏิจจสมุทบาทรวมอยู่ในบรรดาเรื่องที่ใครคัดค้านไม่ได้


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้นี่แล อันเราแสดงแล้ว เป็นธรรมอันสมณ.

พราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเราแสดงแล้ว เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย ข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้. เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า"เหล่านี้คือ ธาตุทั้งหลาย๖ ประการ ดังนี้ เป็นธรรม อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย ข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า "เหล่านี้ คือผัสสายตนะ(แดนเกิดแห่ง ผัสสะ) ทั้งหลาย ประการ" ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า "เหล่านี้ คือมโนปวิจาร(ที่เข้าไปเที่ยว แห่งมโน) ทั้งหลาย ๑๘ ประการ" ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย ข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า "เหล่านี้ คืออริยสัจทั้งหลาย ประการ" ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมอง ไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า "เหล่านี้ คือธาตุทั้งหลาย๖ ประการ" ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ติเตียน ไม่ได้ คัดง้างไม่ได้. ข้อนี้เป็นธรรมที่เรากล่าวแล้วอย่างนี้ เราอาศัยซึ่งอะไรเล่า จึงกล่าวแล้วอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุทั้งหลาย ๖ ประการเหล่านี้คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า "เหล่านี้คือ ธาตุทั้งหลาย ๖ ประการ "ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้ อันใด อันเรากล่าวแล้ว ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง ข้อความนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า "เหล่านี้ คือผัสสายตนะทั้งหลาย ๖ ประการ" ดังนี้ เป็นธรรม อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย ข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมอง ไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้. ข้อนี้ เป็นธรรมที่เรากล่าวแล้ว อย่างนี้เราอาศัย ซึ่งอะไรเล่า จึงกล่าวแล้วอย่างนี้?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะทั้งหลาย๖ ประการ เหล่านี้ คือ จักษุ เป็นผัสสายตนะ โสตะ เป็นผัสสายตนะ ฆานะ เป็นผัสสายตนะ ชิวหา เป็นผัสสายตนะ กายะเป็นผัสสายตนะ มโนเป็นผัสสายตนะ ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า "เหล่านี้ คือธาตุทั้งหลาย ๖ ประการ" ดังนี้เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ติเตียน ไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้ อันใด อันเรากล่าวแล้ว ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงข้อความนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า "เหล่านี้ คือมโนปวิจารทั้งหลาย ๑๘ ประการ" ดังนี้ เป็นธรรม อันสมณ พราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมอง ไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้. ข้อนี้เป็นธรรมที่เรากล่าวแล้วอย่างนี้ เราอาศัยซึ่ง อะไรเล่าจึงกล่าวอย่างนี้?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
เพราะเห็นรูป ด้วยจักษุมโน ย่อมเข้าไปเที่ยวในรูป อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ย่อมเข้าไปเที่ยว ในรูป อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมเข้าไปเที่ยวในรูป อันเป็นที่ตั้ง แห่ง อุเบกขา

เพราะฟังเสียง ด้วยโสตะมโนย่อมเข้าไปเที่ยวในเสียง อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ย่อมเข้าไปเที่ยวใน เสียงอันเป็นที่ตั้ง แห่งโทมนัส ย่อมเข้าไปเที่ยวในเที่ยวอันเป็น ที่ตั้ง แห่งอุเบกขา

เพราะรู้สึกกลิ่น
ด้วยฆานะ มโนย่อมเข้าไปเที่ยวในกลิ่น อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ย่อมเข้าไปเที่ยวในกลิ่นอันเป็นที่ตั้ง แห่งโทมนัส ย่อมเข้าไปเที่ยวในกลิ่นอันเป็นที่ตั้ง แห่ง อุเบกขา

เพราะรู้สึกรส
ด้วยชิวหา มโนย่อมเข้าไปเที่ยวในรูป อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ย่อมเข้าไปเที่ยวในรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมเข้าไปเที่ยวในรสอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา

เพราะถูกต้องสัมผัสทางผิวหนัง
ด้วยผิวกาย โนย่อมเข้าไปเที่ยวในสัมผัสทาง ผิวหนัง อัน เป็นที่ตั้ง แห่งโสมนัส ย่อมเข้าไป เที่ยวในสัมผัสทางผิวหนัง อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมเข้าไปเที่ยวใน สัมผัสทางผิวหนัง อันเป็นที่ตั้ง แห่งอุเบกขา

เพราะรู้สึกธัมมารมณ์
ด้วยมโน มโนย่อมเข้าไปเที่ยวในรูป อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ย่อมเข้าไปเที่ยวในธัมมารมณ์ อันเป็นที่ตั้ง แห่งโทมนัส ย่อมเข้าไปเที่ยวในธัมมารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า "เหล่านี้ คือมโนปวิจารทั้งหลาย ๑๘ ประการ" ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ ผู้รู้ทั้งหลาย ข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียน ไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้ อันใด อันเรากล่าว แล้ว ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง ข้อความนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า "เหล่านี้ คืออริยสัจทั้งหลาย ๔ ประการ" ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมอง ไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้.

ข้อนี้ เป็นธรรมที่เรากล่าวแล้วอย่างนี้ เราอาศัยซึ่งอะไรเล่า จึงกล่าวอย่างนี้?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราอาศัยซึ่งธาตุทั้งหลาย๖ ประการ การก้าวลงสู่ครรภ์ย่อมมี เมื่อการก้าวลงสู่ครรภ์ มีอยู่ นามรูป ย่อมมี เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมี ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญ ติว่า "นี้ เป็น ค วาม ทุกข์" ดังนี้ ว่า "นี้ เป็น ทุกข สมุทัย" ดังนี้ ว่า"นี้เป็นทุกขนิโรธ" ดังนี้ ว่า"นี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา" ดังนี้ แก่สัตว์ ผู้สามารถเสวยเวทนาอยู่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข อริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความ แก่ ก็เป็นทุกข์ แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์ แม้โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์ การประสบกับ สิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจาก สิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์:

กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า? เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมี นามรูป เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรากล่าวว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า เพราะความจางคลายดับไป ไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดับแห่ง สังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่ง นามรูป เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ เพราะมีความดับ แห่ง สฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่ง เวทนา เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา เพราะมีความดับแห่ง ตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน

เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ
จึงมี ความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า?
มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นี้นั่นเอง กล่าวคือ สัมมา-ทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามาะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า "เหล่านี้ คืออริยสัจทั้งหลาย๔ ประการ" ดังนี้ เป็นธรรม อันสมณพราหมณ์ ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียน ไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้ อันใด อันเรากล่าวแล้ว ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง ข้อความนี้ ดังนี้ แล.
..................................................................................................................
หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า รื่องที่พระพุทธองค์ทรงท้าทายว่า เป็นเรื่อง ที่ผู้รู้คัดค้านไม่ได้นั้น มีอยู่ ๔ เรื่องด้วยกัน คือ เรื่องธาตุ ๖ ผัสสา-ยตนะ ๖ มโนปวิจาร ๑๘, และปฏิจจสมุปบาท ที่อยู่ในรูปของอริยสัจสี่ที่ทรงแสดง ด้วยปฏิจจ สมุปบาท อันเป็นอริยสัจสี่ที่รัดกุม สำหรับเผชิญกับการ ต่อต้านคัดค้านของสมณ-พราหมณ์ ผู้รู้เหล่าอื่น. เป็นอันว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาท ทั้งสมุปทยวาร และนิโรธวาร รวมอยู่ ในบรรดาเรื่องที่ใด ๆ คัดค้านไม่ได้.
..................................................................................................................

หมวดที่สอง จบ