เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ        

  ฆราวาสชั้นเลิศ-พุทธวจน ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  1 of 3  
 
  ฆราวาสชั้นเลิศ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
       
  คำนำ    
  วิธีตรวจสอบว่าเป็นคำ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าหรือไม่ 3  
  ๑. ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี 5  
  ๒. การดำรงชีพชอบโดยทิศ ๖ ของฆราวาส 7  
  ๓. การตอบแทนคุณมารดาบิดาอย่างสูงสุด 17  
  ๔. ภัยที่แม่ลูกก็ช่วยกันไม่ได้ 19  
  ๕. สิ่งที่ทุกคนปรารถนาจะได้ 23  
  ๖. ความอยากเป็นเหตุแห่งความทุกข์ 29  
  ๗. ทุกข์ที่เกิดจากหนี้ 31  
  ๘. หลักดำรงชีพเพื่อประโยชน์สุขในวันนี้ 37  
       
 
 






คำนำ


หนังสือ “พุทธวจน ฉบับ ฆราวาสชั้นเลิศ” ได้จัดทำขึ้นด้วยปรารภเหตุที่ว่า หลายคน ยังเห็นคำสอนของ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เป็นสิ่งที่ยาก หรือเป็นสิ่งที่ไกลตัวเกินไป ทำให้มีน้อยคนนักที่จะหันมาใส่ใจศึกษาคำสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างจริงจัง ทั้งๆ ที่พระองค์ได้ตรัสไว้แล้วว่า คำสอนที่พระองค์ตรัสสอนทั้งหมดนั้น บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว สิ้นเชิง

อีกทั้งคำสอนนั้น ยังเป็นสิ่งที่เรียกว่า“อกาลิโก” คือใช้ได้ไปตลอด ไม่มีคำว่าเก่า หรือล้าสมัยและใช้ได้กับบุคคลทุกคน อันจะเห็นได้จากในสมัยพุทธกาล ที่พุทธบริษัท ๔ ทั้งหลายนั้น มีคนจากหลายชาติ และวรรณะ

นอกจากนี้พระองค์ ยังได้ตรัสอีกว่า บุคคลที่ท่านตรัสสอนนั้นมีตั้งแต่ พรหม เทวดา ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไปจนถึง ปุถุชน คนธรรมดาทั่วไป และทุกคนนั้นเมื่อนำคำสอนของ พระองค์ไปปฏิบัติแล้ว ก็สามารถแก้ทุกข์ หรือดับทุกข์ให้กับตนเอง ได้ทั้งสิ้น.

คณะงานธัมมะ วัดนาป่าพง

....................................................................................................................................


วิธีตรวจสอบว่า เป็นคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าหรือไม่

ภิกษุทั้งหลาย !
ถ้าภิกษุในธรรมวินัยนี้ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่าข้าพเจ้าฟังมาแล้ว ได้รับมาแล้วเฉพาะ พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัยนี้เป็นคำสอนของพระศาสดา ดังนี้  พวกเธออย่าพึงรับรอง อย่าพึงคัดค้าน.

เธอกำหนดเนื้อความนั้นให้ดี แล้วนำไปสอบสวนในสูตรนำไปเทียบเคียงในวินัย ถ้าลงกัน ไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ พึงแน่ใจว่านั้น ไม่ใช่คำของพระผู้มีพระภาค แน่นอน ภิกษุรูปนั้น จำมาผิด พวกเธอพึงทิ้งคำเหล่านั้นเสีย

ถ้าลงกันได้ เทียบเคียงกันได้พึงแน่ใจว่า นั่นเป็นคำของพระผู้มีพระภาคเจ้า แน่แล้ว ภิกษุรูปนั้นจำมาอย่างดีแล้ว พวกเธอพึงรับเอาไว้... ตรัสที่อานันทเจดีย์ โภคนคร

หน้า 5


ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึกไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตนั้นได้ทำ ให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้ง สมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่น รู้แจ้งตาม.

ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.

คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือคนที่เกิดในตระกูลอื่นใดในภายหลัง ย่อมฟังธรรมนั้น. ครั้นฟังแล้ว ย่อมเกิดศรัทธาในตถาคต.

กุลบุตรนั้นผู้ประกอบอยู่ด้วยศรัทธาย่อมพิจารณาเห็นว่า “ฆราวาส คับแคบ เป็นทางมาแห่ง ธุลี ส่วน บรรพชา เป็นโอกาสว่างมันไม่เป็นไปได้โดยง่าย ที่เราผู้อยู่ครองเรือนเช่นนี้ จะ ประพฤติพรหมจรรย์นั้น ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดสะอาดดีแล้ว.

ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือนไป บวชเป็นผู้ไม่มีเรือน เถิด...” .

หน้า 7


การดำรงชีพชอบโดยทิศ ๖ ของฆราวาส

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในอริยวินัย มีการนอบน้อมทิศทั้งหกอย่างไร พระเจ้าข้า ! พระองค์จงทรงแสดงธรรม ที่เป็นการนอบน้อมทิศทั้งหกในอริยวินัยเถิด”.

คหบดีบุตร ! เมื่อใด อริยสาวกละเสียได้ซึ่งกรรมกิเลส ๔ ประการ ไม่กระทำกรรมอันเป็น บาปโดยฐานะทั้งสี่ และไม่เสพทางเสื่อม (อบายมุข) แห่งโภคะ๖ ทาง เมื่อนั้น เขาชื่อว่า เป็นผู้ปราศจากกรรมอันเป็นบาปรวม ๑๔ อย่าง เป็นผู้ปิดกั้นทิศทั้งหกโดยเฉพาะแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า เขาปฏิบัติแล้วเพื่อชนะโลกทั้งสอง ทั้งโลกนี้ และโลกอื่น เป็นอันเขาปรารภกระทำครบถ้วนแล้ว (อารทฺโธ) เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ภายหลังแต่ การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ดังนี้.

กรรมกิเลส ๔ ประการ อันอริยสาวกนั้น ละเสียได้แล้ว เป็นอย่างไรเล่า ? คหบดีบุตร ! ปาณาติบาต เป็นกรรมกิเลส.

อทินนาทาน เป็นกรรมกิเลส. กาเมสุมิจฉาจาร เป็นกรรมกิเลส. มุสาวาท เป็นกรรมกิเลส. กรรมกิเลส ๔ประการเหล่านี้ เป็นกรรมอันอริยสาวกนั้น ละขาดแล้ว.

อริยสาวก ไม่กระทำ􀄁กรรมอันเป็นบาปโดยฐานะทั้ง ๔ เป็นอย่างไรเล่า ? ผู้ถึงซึ่งฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะรัก) ชื่อว่ากระทำกรรมอันเป็นบาป ผู้ถึงซึ่งโทสาคติ (ลำเอียงเพราะเกลียด) ชื่อว่ากระทำกรรม อันเป็นบาป ผู้ถึงซึ่งโมหาคติ (ลำเอียงเพราะโง่เขลา) ชื่อว่ากระทำกรรม อันเป็นบาป ผู้ถึงซึ่งภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว) ชื่อว่ากระทำอันเป็นบาป.

คหบดีบุตร ! เมื่อใดอริยสาวก ไม่ถึงซึ่งฉันทาคติ ไม่ถึงซึ่งโทสาคติ ไม่ถึงซึ่งโมหาคติ ไม่ถึงซึ่งภยาคติ เมื่อนั้น ชื่อว่าไม่กระทำกรรมอันเป็นบาปโดยฐานะทั้ง ๔ เหล่านี้, ดังนี้.

อริยสาวก ไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖ ทาง เป็นอย่างไรเล่า ?

คหบดีบุตร ! การตามประกอบในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เนื่องด้วยของเมา คือสุราและเมรัย เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ การตามประกอบในการเที่ยวตามตรอกซอก ในเวลาวิกาล เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ การเที่ยวไปในที่ชุมนุม แห่งความเมา (สมชฺชาภิจรณ) เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ การตามประกอบในธรรมเป็นที่ตั้้ง แห่งความประมาท คือการพนัน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ การตามประกอบในบาปมิตร เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ การตามประกอบ ในความเกียจคร้าน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ.

คหบดีบุตร ! อริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้งหกโดยเฉพาะแล้ว เป็นอย่างไรเล่า ?

คหบดีบุตร ! พึงทราบว่า ทิศทั้งหกเหล่านี้ มีอยู่ คือ
พึงทราบว่า มารดาบิดา เป็นปุรัตถิมทิศ (ทิศเบื้องหน้า)
พึงทราบว่า อาจารย์ เป็นทักขิณทิศ (ทิศเบื้องขวา)
พึงทราบว่า บุตรภรรยา เป็นปัจฉิมทิศ (ทิศเบื้องหลัง)
พึงทราบว่า มิตรสหาย เป็นอุตตรทิศ (ทิศเบื้องซ้าย)
พึงทราบว่า ทาสกรรมกร เป็นเหฏฐิมทิศ (ทิศเบื้องต่ำ)
พึงทราบว่า สมณพราหมณ์ เป็นอุปริมทิศ (ทิศเบื้องบน).

................................................................................................................................

หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อ ทิศเบื้องหน้า (ทิศที่1)
คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องหน้า คือ มารดาบิดาอันบุตรพึงปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ คือ :-
ท่านเลี้ยงเราแล้ว เราจักเลี้ยงท่าน ๑
เราจักทำกิจของท่าน ๑
เราจักดำรงวงศ์สกุล ๑
เราจักปฏิบัติตนเป็นทายาท ๑

เมื่อท่านทำกาละล่วงลับไปแล้ว เราจักกระทำทักษิณาอุทิศท่าน ๑
คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องหน้า คือ มารดาบิดา อันบุตรปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ เหล่านี้แล้วย่อมอนุเคราะห์บุตรโดยฐานะ ๕ ประการ คือ
ห้ามเสียจากบาป ๑
ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑
ให้ศึกษาศิลปะ ๑
ให้มีคู่ครองที่สมควร ๑
มอบมรดกให้ตามเวลา ๑

เมื่อเป็นดังนี้ ทิศเบื้องหน้านั้น เป็นอันว่ากุลบุตรนั้นปิดกั้นแล้ว เป็นทิศเกษม ไม่มีภัยเกิดขึ้น.
................................................................................................................................

หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อ ทิศเบื้องขวา (ทิศที่2)
คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องขวา คือ อาจารย์
อันศิษย์พึงปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ คือ
ด้วยการลุกขึ้นยืนรับ ๑
ด้วยการเข้าไปยืนคอยรับใช้ ๑
ด้วยการเชื่อฟังอย่างยิ่ง ๑
ด้วยการปรนนิบัติ ๑
ด้วยการศึกษาศิลปวิทยาโดยเคารพ ๑

คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องขวา คือ อาจารย์อันศิษย์ปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ เหล่านี้แล้วย่อมอนุเคราะห์ศิษย์
โดยฐานะ ๕ ประการ คือ :-
แนะนำดี ๑
ให้ศึกษาดี ๑
บอกศิลปวิทยาสิ้นเชิง ๑
ทำให้เป็นที่รู้จักในมิตรสหาย ๑
ทำการคุ้มครองให้ในทิศทั้งปวง ๑

เมื่อเป็นดังนี้ ทิศเบื้องขวานั้น เป็นอันว่ากุลบุตรนั้นปิดกั้นแล้ว เป็นทิศเกษม ไม่มีภัยเกิดขึ้น.
................................................................................................................................

หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อ ทิศเบื้องหลัง (ทิศที่3)
คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องหลัง คือ ภรรยาอันสามีพึงปฏิบัติต่อ
โดยฐานะ ๕ ประการ คือ :-
ด้วยการยกย่อง ๑
ด้วยการไม่ดูหมิ่น ๑
ด้วยการไม่ประพฤตินอกใจ ๑
ด้วยการมอบความเป็นใหญ่ในหน้าที่ให้ ๑
ด้วยการให้เครื่องประดับ ๑

คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องหลัง คือ ภรรยาอันสามีปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ เหล่านี้แล้วย่อมอนุเคราะห์สามี
โดยฐานะ ๕ ประการ คือ :-
จัดแจงการงานดี ๑
สงเคราะห์คนข้างเคียงดี ๑
ไม่ประพฤตินอกใจ ๑
ตามรักษาทรัพย์ที่มีอยู่ ๑
ขยันขันแข็งในการงานทั้งปวง ๑

เมื่อเป็นดังนี้ ทิศเบื้องหลังนั้น เป็นอันว่ากุลบุตรนั้นปิดกั้นแล้ว เป็นทิศเกษม ไม่มีภัยเกิดขึ้น.
................................................................................................................................

หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อ ทิศเบื้องซ้าย (ทิศที่4)
คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องซ้าย คือ มิตรสหายอันกุลบุตรพึงปฏิบัติต่อ
โดยฐานะ ๕ ประการ คือ :-
ด้วยการให้ปัน ๑
ด้วยการพูดจาไพเราะ ๑
ด้วยการประพฤติประโยชน์ ๑
ด้วยการวางตนเสมอกัน ๑
ด้วยการไม่กล่าวคำอันเป็นเครื่องให้แตกกัน ๑

คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องซ้าย คือ มิตรสหายอันกุลบุตรปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ เหล่านี้แล้วย่อมอนุเคราะห์กุลบุตร
โดยฐานะ ๕ ประการ คือ :-
รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว ๑
รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว ๑
เป็นที่พึ่งแก่มิตรเมื่อมีภัย ๑
ไม่ทอดทิ้งในยามมีอันตราย ๑
นับถือสมาชิกในวงศ์ของมิตร ๑

เมื่อเป็นดังนี้ ทิศเบื้องซ้ายนั้น เป็นอันว่ากุลบุตรนั้น ปิดกั้นแล้ว เป็นทิศเกษม ไม่มีภัยเกิดขึ้น.
................................................................................................................................

หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อ ทิศเบื้องต่ำ (ทิศที่5)
คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องต่ำ คือ ทาสกรรมกร อันนายพึงปฏิบัติต่อ
โดยฐานะ ๕ ประการ คือ :-
ด้วยให้ทำการงานตามกำลัง ๑
ด้วยการให้อาหารและรางวัล ๑
ด้วยการรักษาพยาบาลยามเจ็บไข้ ๑
ด้วยการแบ่งของมีรสประหลาดให้ ๑
ด้วยการปล่อยให้อิสระตามสมัย ๑

คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องต่ำ คือ ทาสกรรมกรอันนายปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ เหล่านี้ แล้วย่อมอนุเคราะห์นาย
โดยฐานะ ๕ ประการ คือ :-
เป็นผู้ลุกขึ้นทำงานก่อนนาย ๑
เลิกงานทีหลังนาย ๑
ถือเอาแต่ของที่นายให้ ๑
กระทำการงานให้ดีที่สุด ๑
นำเกียรติคุณของนายไปร่ำลือ ๑

เมื่อเป็นดังนี้ ทิศเบื้องต่ำนั้น เป็นอันว่ากุลบุตรนั้นปิดกั้นแล้ว เป็นทิศเกษม ไม่มีภัยเกิดขึ้น.
................................................................................................................................

หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อ ทิศเบื้องบน (ทิศที่6)
คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องบน คือ สมณพราหมณ์ อันกุลบุตรพึงปฏิบัติต่อ
โดยฐานะ ๕ ประการ คือ :-
ด้วยเมตตากายกรรม ๑
ด้วยเมตตาวจีกรรม ๑
ด้วยเมตตามโนกรรม ๑
ด้วยการไม่ปิดประตู (คือยินดีต้อนรับ) ๑
ด้วยการคอยถวายอามิสทาน ๑

คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องบน คือ สมณพราหมณ์อันกุลบุตรปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ เหล่านี้แล้วย่อมอนุเคราะห์กุลบุตร
โดยฐานะ ๖ ประการ คือ :-
ห้ามเสียจากบาป ๑
ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑
อนุเคราะห์ด้วยใจอันงดงาม ๑
ให้ฟังในสิ่งที่ไม่เคยฟัง ๑
ทำสิ่งที่ได้ฟังแล้วให้แจ่มแจ้งถึงที่สุด ๑
บอกทางสวรรค์ให้ ๑

เมื่อเป็นดังนี้ ทิศเบื้องบนนั้น เป็นอันว่ากุลบุตรนั้นปิดกั้นแล้ว เป็นทิศเกษม ไม่มีภัยเกิดขึ้น.

ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง
ความสันโดษ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
ความคุ้นเคยกัน เป็นญาติอย่างยิ่ง
นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง


หน้า 17


การตอบแทนคุณมารดาบิดาอย่างสูงสุด

ภิกษุท้งั หลาย ! เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่ท่านทั้งสอง. ท่านทั้งสอง คือใคร ?

คือ มารดา ๑ บิดา ๑

ภิกษุทั้งหลาย ! บุตรพึงประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึงระคับประคองบิดา ด้วยบ่าข้างหนึ่งเขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้งสองนั้น ด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการดัด และท่านทั้งสองนั้น พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ บนบ่าทั้งสองของเขานั่นแหละ.

ภิกษุทั้งหลาย ! การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้ว หรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! อนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดาบิดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์ ในแผ่นดินใหญ่อันมีรตนะ ๗ ประการมากหลายนี้ การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตร ทำแล้ว หรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดา บิดาเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะมารดา บิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยงแสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลายส่วนบุตรคนใด

ยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทานตั้งมั่นใน สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)

ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นใน สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)

ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้สมาทานตั้งมั่นใน จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค)

ยังมารดาบิดาทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นใน ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แลการกระทำอย่างนั้น ย่อมชื่อว่าอันบุตรนั้นทำแล้ว และทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดา.

หน้า 19



ภัยที่แม่ลูกก็ช่วยกันไม่ได้

ภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมกล่าวภัยที่มารดาและบุตร ช่วยกัน ไม่ได้ (อมาตาปุตฺติกภย)ว่ามีอยู่ ๓ อย่าง. ๓ อย่างคือ

มีสมัยที่ไฟไหม้ใหญ่ตั้งขึ้น ไหม้หมู่บ้าน ไหม้นิคมไหม้นคร. ในสมัยนั้น มารดา ไม่ได้บุตร (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้) บุตรก็ไม่ได้มารดา (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้).

ภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมเรียกภัยนี้ว่าเป็นอมาตาปุตติกภัย อย่างที่หนึ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมีอีก คือมีสมัยที่มหาเมฆตั้งขึ้น เกิดน้ำท่วมใหญ่ พัดพาไป ทั้งหมู่บ้าน ทั้งนิคมทั้งนคร.

ในสมัยนั้น มารดาไม่ได้บุตร (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้) บุตรก็ไม่ได้มารดา (เป็นผู้ช่วยเหลือ อะไรได้).

ภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมเรียกภัยนี้ว่าเป็นอมาตาปุตติกภัย อย่างที่สอง.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมีอีก คือมีสมัยที่มีภัยคือการกำเริบ (กบฏ) มาจากป่าประชาชน ขึ้นยานมีล้อหนี กระจัดกระจาย ไป. เมื่อภัยอย่างนี้เกิดขึ้น สมัยนั้นมารดาไม่ได้บุตร (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้) บุตรก็ไม่ได้มารดา (เป็นผู้ช่วยเหลือ อะไรได้).

ภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมเรียกภัยนี้ว่าเป็นอมาตาปุตติกภัย อย่างที่สาม. ภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมกล่าวภัยที่มารดา และบุตรช่วยกัน ไม่ได้ ว่ามีอยู่ ๓ อย่าง เหล่านี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ กล่าวสมาตาปุตติกภัย (ภัยที่มารดาและ บุตร ช่วยกันได้) แท้ๆ ๓ อย่างนี้ว่าเป็น อมาตาปุตติกภัย (ภัยที่มารดาและบุตร ช่วยกันไม่ได้) ไปเสีย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภัย ๓ อย่าง ที่มารดาและบุตรช่วยกันได้นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
สามอย่าง คือ สมัยที่ไฟไหม้ใหญ่ เป็นอย่างหนึ่ง สมัยที่น้ำท่วมใหญ่ เป็นอย่างที่สอง สมัยที่หนีโจรขบถ เป็นอย่างที่สาม เหล่านี้บางคราวมารดา และบุตรก็ช่วยกันและกันได้ แต่ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ มากล่าวว่า เป็นภัยที่มารดา และบุตรก็ช่วยกันไม่ได้ไปเสีย ทั้งหมด.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้ (โดยแท้จริง) ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่สามอย่าง คือ
ภัยเกิดจากความแก่ (ชราภยํ)
ภัยเกิดจากความเจ็บไข้ (พฺยาธิภยํ)
ภัยเกิดจากความตาย (มรณภยํ)

ภิกษุทั้งหลาย ! มารดาไม่ได้ตามปรารถนากับบุตรผู้แก่อยู่อย่างนี้ว่า เราแก่เอง เถิด บุตรของเราอย่าแก่เลย หรือบุตรก็ไม่ได้ตามปรารถนากะมารดา ผู้แก่อยู่ อย่างนี้ว่า เราแก่เองเถิด มารดาอย่าแก่เลย ดังนี้.

มารดาก็ไม่ได้ตามปรารถนาว่า เราเจ็บไข้เองเถิดบุตรของเราอย่าเจ็บไข้เลย หรือบุตรก็ไม่ได้ตามปรารถนาว่า เราเจ็บไข้เองเถิด มารดาของเราอย่าเจ็บไข้เลย ดังนี้.

มารดาก็ไม่ได้ตามปรารถนาว่า เราตายเองเถิดบุตรของเราอย่าตายเลย หรือบุตรก็ไม่ได้ ตามปรารถนาว่า เราตายเองเถิด มารดาของเราอย่าตายเลย ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล เป็นภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้ ๓ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ! หนทางมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อเลิกละ ก้าวล่วงเสีย ซึ่งภัยทั้งที่เป็นสมาตาปุตติกภัย และ อมาตาปุตติกภัย อย่างละสามๆ เหล่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! หนทางหรือปฏิปทานั้น เป็น อย่างไรเล่า ? นั่นคือ อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์ ๘) นั่นเอง ได้แก่

สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ)
สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (ทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (เพียรชอบ)
สัมมาสติ (ระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ).

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แหละหนทาง นี้แหละปฏิปทา เป็นไปเพื่อเลิกละ ก้าวล่วงเสีย ซึ่งภัยทั้งที่เป็นสมาตาปุตติกภัย และอมาตาปุตติกภัย อย่างละสามๆเหล่านั้น.

หน้า 23



สิ่งที่ทุกคนปรารถนาจะได้

คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้ น่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
ธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ ขอโภคทรัพย์จงเกิดขึ้นแก่เรา โดยทางธรรมนี้ เป็นธรรม ประการที่ ๑ อันน่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.

เราได้โภคทรัพย์ทั้งหลายโดยทางธรรมแล้วขอยศจงเฟื่องฟูแก่เรา พร้อมด้วย ญาติและมิตร สหาย นี้เป็นธรรม ประการที่ ๒ อันน่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.

เราได้โภคทรัพย์ทั้งหลายโดยทางธรรมแล้วได้ยศ พร้อมด้วยญาติและมิตรสหาย แล้ว ขอเราจงเป็นอยู่นาน จงรักษาอายุ ให้ยั่งยืนนี้เป็นธรรม ประการที่ ๓ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.

เราได้โภคทรัพย์ทั้งหลายโดยทางธรรมแล้วได้ยศ พร้อมด้วยญาติและมิตรสหาย แล้ว เป็นอยู่นานรักษาอายุให้ยั่งยืนแล้ว เมื่อตายแล้วขอเราจงเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ นี้เป็นธรรม ประการที่ ๔ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยาก ในโลก.

คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้แล น่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.

คหบดี !
ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้
ธรรม ๔ ประการ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจหาได้ยากในโลก ธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ

สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ๑
สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ๑
จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค) ๑
ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา) ๑ .

คหบดี ! ก็ สัทธาสัมปทาเป็นอย่างไรเล่า ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มี ศรัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า นั้น เป็นผู้ไกลจาก กิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย วิชชา และจรณะเป็นผู้ไปแล้ว ด้วยดี เป็นผู้รู้โลก อย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถ ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใคร ยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดา และมนุษย์ ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์”. คหบดี ! นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.

ก็ สีลสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เป็นผู้เว้นขาดจาก อทินนาทาน เป็นผู้เว้นขาดจาก กาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท เป็นผู้เว้นขาดจากการดื่ม น้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท. นี้เรียกว่า สีลสัมปทา.

ก็ จาคสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจากมลทิน คือความตระหนี่ มีการบริจาค อันปล่อยอยู่ เป็นประจำ มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ และการแบ่งปัน. นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.

ก็ ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
บุคคลมีใจอันความโลภอย่างแรงกล้า คือ อภิชฌาครอบงำแล้ว ย่อมทำกิจ ที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำเมื่อทำกิจ ที่ไม่ควรทำและละเลยกิจที่ควรทำเสีย ย่อมเสื่อมจากยศ และความสุข บุคคลมีใจอันพยาบาทถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำ เมื่อทำกิจ ที่ไม่ควรทำ และละเลยกิจ ที่ควรทำ เสีย ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข.

คหบดี ! อริยสาวกนั้นแลรู้ว่า อภิชฌาวิสมโลภะ (ความโลภอย่างแรงกล้า) เป็นอุปกิเลส (โทษเครื่องเศร้าหมอง) แห่งจิต ย่อมละ อภิชฌาวิสมโลภะอันเป็น อุปกิเลสแห่งจิตเสียได้ รู้ว่า พยาบาท (คิดร้าย) ถีนมิทธะ (ความหดหู่ซึมเซา) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านรำคาญ) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)เป็นอุปกิเลส แห่งจิต ย่อมละเสีย ซึ่งสิ่งที่เป็น อุปกิเลสแห่งจิตเหล่านั้น .

คหบดี ! เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่า อภิชฌาวิสมโลภะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้นย่อมละเสียได้เมื่อใดอริยสาวก รู้ว่าพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้นย่อมละสิ่งเหล่านั้นเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้มีปัญญามากมีปัญญาหนาแน่น เป็นผู้เห็นทาง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา. นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา.

คหบดี !
ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ธรรม ๔ ประการ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ หาได้ยากในโลก. “ กามทั้งหลายให้เกิดความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมากโทษในเพราะกามนั้น มีเป็นอย่างยิ่ง”

หน้า 29


ความอยากเป็นเหตุแห่งความทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงธรรม (สิ่ง) ที่มีตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง.
๙ อย่าง อย่างไรเล่า ?

๙ อย่าง คือ :-
เพราะอาศัยตัณหา จึงมี การแสวงหา (ปริเยสนา)
เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมี การได้ (ลาโภ)
เพราะอาศัยการได้ จึงมี ความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย)
เพราะอาศัยความปลงใจรักจึงมี ความกำหนัดด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค)

เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ
จึงมีความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ)
เพราะอาศัยความสยบมัวเมาจึงมี ความจับอกจับใจ (ปริคฺคโห)
เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมี ความตระหนี่ (มจฺฉริยํ)
เพราะอาศัยความตระหนี่จึงมี การหวงกั้น (อารกฺโข)
เพราะอาศัยการหวงกั้นจึงมี เรื่องราวอันเกิดจากการหวงกั้น (อารกฺขาธิกรณํ)กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวคำหยาบว่า “มึง ! มึง !”การพูดคำส่อเสียด และ การพูดเท็จทั้งหลาย ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็นอเนกย่อมเกิดขึ้นพร้อม.

ภิกษุทั้งหลาย !
เหล่านี้แล ชื่อว่า ธรรมที่มีตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง.

หน้า 31


ทุกข์ที่เกิดจากหนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! ความยากจน เป็นทุกข์ของคนผู้บริโภคกามในโลก.
ภิกษุทั้งหลาย ! คนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติย่อมกู้หนี้ การกู้หนี้ นั้นเป็นทุกข์ของคนบริโภคกาม ในโลก.
ภิกษุทั้งหลาย ! คนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติกู้หนี้แล้ว ต้องใช้ดอกเบี้ย การต้องใช้ ดอกเบี้ยนั้นเป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.

ภิกษุทั้งหลาย ! คนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติกู้หนี้แล้ว ต้องใช้ดอกเบี้ย ไม่อาจใช้ดอกเบี้ย ตามเวลาเจ้าหนี้ก็ทวง การถูกทวงหนี้ นั้นเป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.

ภิกษุทั้งหลาย ! คนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติถูกทวงหนี้อยู่ ไม่อาจจะใช้ให้ เจ้าหนี้ย่อม ติดตาม การถูกติดตาม นั้นเป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.

ภิกษุทั้งหลาย ! คนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบติ ถูกติดตามอยู่ไม่อาจจะใช้ให้ เจ้าหนี้ย่อม จับกุม การถูกจับกุมนั้นเป็นทุกข์ ของคนบริโภคกามในโลก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความยากจน ก็ดี การกู้หนี้ ก็ดี การต้องใช้ดอกเบี้ย ก็ดี การถูกทวงหนี้ ก็ดี การถูกติดตามก็ดี การถูกจับกุมก็ดี ทั้งหมดนี้ เป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ความไม่มีศรัทธา-หิริ-โอตตัปปะ-วิริยะ-ปัญญา ในกุศลธรรม มีอยู่แก่ผู้ใด เรากล่าวบุคคล ผู้นั้นว่าเป็นคนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ ในอริยวินัย.

ภิกษุทั้งหลาย ! คนจนชนิดนั้น เมื่อไม่มีศรัทธา-หิริ-โอตตัปปะ-วิริยะ-ปัญญา ในกุศลธรรม เขาย่อมประพฤติ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าว การประพฤติทุจริต ของเขานี้ ว่าเป็นการกู้หนี้.

เพื่อจะปกปิดกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตของเขาเขาตั้งความปรารถนาลามก ปรารถนาไม่ให้ใครรู้จักเขาดำริ ไม่ให้ ใครรู้จักเขาพูดจา เพื่อไม่ให้ใครรู้จักเขาขวนขวาย ทุกอย่าง เพื่อไม่ให้ใครรู้จักเขา เรากล่าว การปกปิดความทุจริต อย่างนี้ ของเขานี้ว่าเป็น ดอกเบี้ยที่เขาต้องใช้.

เพื่อนพรหมจารีผู้มีศีลเป็นที่รัก พากันกล่าวปรารภเขาอย่างนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุนี้ทำอะไรๆ (ทุจริต) อย่างนี้มีปกติประพฤติ กระทำอะไรๆ (ทุจริต) อย่างนี้” เรากล่าว การถูกกล่าวอ ย่างนี้ ว่าเป็น การถูกทวงหนี้.

เขาจะไปอยู่ป่าก็ตาม อยู่โคนไม้ก็ตาม อยู่เรือนว่างก็ตาม อกุศลวิตก อันลามกประกอบ อยู่ด้วยความร้อนใจย่อม เกิดขึ้น กลุ้มรุมจิตใจเขา เรากล่าว อาการอย่างนี้ ว่าเป็น การถูกติดตามเพื่อทวงหนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! คนจนชนิดนี้ ครั้นประพฤติกาย–วจี–มโนทุจริตแล้ว ภายหลังแต่การตาย เพราะการแตกทำลายแห่ง กาย ย่อม ถูกจองจำอยู่ในนรก บ้างในกำเนิดเดรัจฉาน บ้าง.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่มองเห็นการจองจำอื่นแม้อย่างเดียวที่ทารุณอย่างนี้ เจ็บปวดอย่างนี้ เป็นอันตรายอย่างนี้ ต่อการบรรลุ โยคักเขมธรรม อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าเหมือนการถูก จองจำในนรก หรือในกำเนิดเดรัจฉาน อย่างนี้.

(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
ความยากจนและการกู้หนี้ ท่านกล่าวว่าเป็นความทุกข์ในโลก. คนจนกู้หนี้มาเลี้ยงชีวิต ย่อมเดือดร้อนเพราะเจ้าหนี้ ติดตามบ้าง เพราะถูกจับกุมบ้าง. การถูกจับกุมนั้น เป็นความทุกข์ของคนบูชาการได้กาม.ถึงแม้ในอริยวินัยนี้ก็เหมือนกัน

ผู้ใดไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะสั่งสมแต่บาปกรรม กระทำกายทุจริต-วจีทุจริต-มโนทุจริตปกปิดอยู่ด้วยการ กระทำทางกาย ทางวาจาทางจิต เพื่อไม่ให้ผู้ใดรู้จักเขา ผู้นั้น พอกพูนบาปกรรมอยู่เนืองนิตย์ ในที่นั้นๆ.

คนชั่วทำ􀄁บาปกรรม รู้สึกแต่กรรมชั่วของตนเสมือนคนยากจน กู้หนี้มาบริโภคอยู่ ย่อมเดือดร้อน.

ความตริตรึกที่เกิดจากวิปฏิสาร อันเป็นเครื่องทรมานใจ ย่อมติดตามเขา ทั้งในบ้าน และในป่า.

คนชั่วทำบาปกรรม รู้สึกแต่กรรมชั่วของตนไปสู่กำเนิดเดรัจฉานบางอย่าง หรือว่าถูกจองจำ อยู่ในนรก. การถูกจองจำนั้น เป็นทุกข์ ชนิดที่ธีรชนไม่เคยประสบเลย.

“ ผู้ใดเห็นโทษ โดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป ข้อนี้เป็นความเจริญในอริยวินัยของผู้นั้น”

หน้า 37


หลักการดำรงชีพเพื่อประโยชน์สุขในวันนี้

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พวกข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม แออัดอยู่ด้วยบุตร ครองเรือน ใช้สอยกระแจะจันทน์ จากแคว้นกาสี ทัดทรงพวงดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้ ยินดีทองและเงินอยู่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งในทิฏฐธรรม (ในปัจจุบัน) และในสัมปรายะ (ในเวลาถัดต่อมา)แก่พวกข้าพระองค์ผู้อยู่ในสถานะเช่นนี้เถิด พระเจ้าข้า !”.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่กุลบุตรในทิฏฐธรรม (ในปัจจุบัน).
๔ ประการ อย่างไรเล่า ?

๔ ประการ คือ
อุฏฐานสัมปทา (ความขยันในอาชีพ)
อารักขสัมปทา (การรักษาทรัพย์)
กัลยาณมิตตตา (ความมีมิตรดี)
สมชีวิตา (การเลี้ยงชีวิตอย่างสมดุลย์พอเพียงแก่ฐานะ).

ความขยันในอาชีพ
พ๎ยัคฆปัชชะ ! อุฏฐานสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ สำเร็จการเป็นอยู่ด้วยการลุกขึ้นกระทำการงาน คือด้วยกสิกรรม หรือวานิชกรรม โครักขกรรม อาชีพผู้ถืออาวุธ อาชีพราชบุรุษหรือด้วย ศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง. ในอาชีพนั้นๆ เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญ ไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยการ สอดส่องในอุบายนั้นๆ สามารถกระทำ สามารถจัดให้กระทำ.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า อุฏฐานสัมปทา(1) (ความขยันในอาชีพ).

การรักษาทรัพย์
พ๎ยัคฆปัชชะ ! อารักขสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ โภคะอันกุลบุตรหาได้มาด้วยความเพียร เป็นเครื่องลุกขึ้นรวบรวมมาด้วยกำลังแขน มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ เป็นโภคทรัพย์ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม เขารักษาคุ้มครอง อย่างเต็มที่ ด้วยหวังว่า “อย่างไรเสียพระราชาจะไม่ริบทรัพย์ของเราไป โจรจะไม่ปล้นเอาไป ไฟจะไม่ ไหม้ น้ำจะไม่พัดพาไป ทายาทอัน ไม่รักใคร่เรา จะไม่ยื้อแย่งเอาไป” ดังนี้.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า อารักขสัมปทา(2) (การรักษาทรัพย์).

ความมีมิตรดี
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กัลยาณมิตตตา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ อยู่อาศัยในบ้านหรือนิคมใด, ถ้ามีบุคคลใดๆ ในบ้านหรือ นิคมนั้นเป็นคหบดี หรือบุตร คหบดีก็ดี เป็นคนหนุ่มที่เจริญด้วยศีล หรือเป็นคนแก่ที่เจริญ ด้วยศีลก็ดี ล้วนแต่ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยจาคะ ถึงพร้อมด้วย ปัญญา อยู่แล้วไซร้ กุลบุตรนั้นก็ดำรงตนร่วม พูดจาร่วมสากัจฉา (สนทนา) ร่วมกับชน เหล่านั้น.

เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยสัทธาโดยอนุรูปแก่บุคคล ผู้ถึงพร้อมด้วยสัทธา เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อม ด้วยศีลโดยอนุรูปแก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยจาคะ โดยอนุรูปแก่บุคคล ผู้ถึงพร้อม ด้วยจาคะ เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยปัญญา โดยอนุรูปแก่บุคคลผู้ถึงพร้อม ด้วยปัญญา อยู่ใน ที่นั้นๆ.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา(3) (ความมีมิตรดี).

การเลี้ยงชีวิตอย่างสมดุลย์พอเพียงแก่ฐานะ
พ๎ยัคฆปัชชะ ! สมชีวิตา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ รู้จักความได้มาแห่งโภคทรัพย์ รู้จักความสิ้นไปแห่ง โภคทรัพย์แล้ว ดำรงชีวิตอยู่อย่าง สม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ฝืดเคืองนักโดยมีหลักว่า “รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย และรายจ่ายของเราจัก ไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! เปรียบเหมือนคนถือตาชั่งหรือลูกมือของเขา ยกตาชั่งขึ้นแล้ว ก็รู้ว่า ยังขาดอยู่เท่านี้หรือเกินไปแล้ว เท่านี้” ดังนี้ฉันใด กุลบุตรนี้ ก็ฉันนั้น เขารู้จักความได้มา แห่งโภคทรัพย์ รู้จักความสิ้นไปแห่งโภคทรัพย์ แล้วดำรงชีวิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนักไม่ฝืดเคืองนัก โดยมีหลักว่ารายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย และรายจ่าย ของเราจักไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้”ดังนี้.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ถ้ากุลบุตรนี้ เป็นผู้มีรายได้น้อยแต่สำเร็จการเป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือย แล้วไซร้ ก็จะมีผู้กล่าวว่า กุลบุตรนี้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ (อย่างสุรุ่ยสุร่าย) เหมือนคนกินผลมะเดื่อ ฉันใดก็ฉันนั้น.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! แต่ถ้ากุลบุตร เป็นผู้มีรายได้มหาศาล แต่สำเร็จการเป็นอยู่ อย่างแร้นแค้น แล้วไซร้ ก็จะมีผู้กล่าวว่า กุลบุตรนี้จักตายอดตาย อยากอย่างคนอนาถา.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! เมื่อใด กุลบุตรนี้ รู้จักความได้มาแห่งโภคทรัพย์ รู้จักความสิ้นไป แห่งโภคทรัพย์ แล้วดำรงชีวิต อยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ฝืดเคืองนัก โดยมีหลักว่า “รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย และรายจ่ายของเรา จักไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เราเรียกว่า สมชีวิตา(4) (การเลี้ยงชีวิตอย่างสมดุลย์พอเพียง แก่ฐานะ).

ธรรม ๔ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขในปัจจุบัน แก่กุลบุตร ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
อุฏฐานสัมปทา ๑
อารักขสัมปทา ๑
กัลยาณมิตตตา ๑
สมชีวิตา ๑


ปากทางแห่งความเจริญ ๔ ประการของโภคะที่เกิดขึ้นพร้อมแล้วอย่างนี้ มีอยู่ คือ ความไม่เป็นนักเลงหญิง ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่เป็นนักเลงการพนัน และมีมิตรสหายเพื่อนฝูงที่ดีงาม