เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  สาธยายธรรม-พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
    1 of 3  
 
  สาธยายธรรม พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
       
  ประโยชน์ของการสาธยายธรรม 4  
  ข้อควรระวังและวิธีป้องกันในการสาธยายธรรม 10  
  บทสวดระลึกถึงพระพุทธเจ้า 12  
  บทสวดระลึกถึงพระธรรม 14  
  บทสวดระลึกถึงพระสงฆ์ 16  
  บทสวดแก้ความหวาดกลัว 19  
  บทสวด ปฏิจจสมุปบาท 22  
  บทสวด อริยมรรคมีองค์แปด 29  
       
 
 




บทนำ

หน้า 4

ประโยชน์ของการสาธยายธรรม

 

๑. เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม
(หนึ่งในเหตุห้าประการเพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม)
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๑/๑๕๕.

๒. เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ
(หนึ่งในธรรมให้ถึงวิมุตติห้าประการ)
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๓/๒๖.

๓. เป็นอาหารของความเป็นพหูสูต
ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๐/๗๓.

๔. เป็นองค์ประกอบของการเป็นบริษัทที่เลิศ
ทุก. อํ. ๒๐/๖๘/๒๙๒.

๕. ทำ ให้ไม่เป็นมลทิน
อฎฺฐก. อํ. ๒๓/๑๔๙/๑๐๕.

๖. เป็นบริขารของจิตเพื่อความไม่มีเวรไม่เบียดเบียน
(หนึ่งในห้าบริขารของจิต)
มู. ม. ๑๓/๕๐๐/๗๒๘.

๗. เป็นเหตุให้ละความง่วงได้
(หนึ่งในแปดวิธีละความง่วง)
สตฺตก. อํ. ๒๓/๗๓/๕๘.
............................................................................................

วิธีการสาธยายธรรมให้แจ่มแจ้งได้นานไม่ฟ้งซ่าน
ไม่ถูกเหนี่ยวรั้ง ย่อมรู้ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งนิวรณ์ทั้งห้า (กามราคะ, พยาบาท, ถีนมิทธะ,
อุทธัจจกุกกุจจะ ,วิจิกิจฉา) ทำให้รู้เห็นประโยชน์ตามที่เป็นจริง

มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๖๖/๖๐๓.



หน้า 10

ข้อควรระวังและวิธีป้องกันในการสาธยายธรรม

...อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุ ทำการสาธยายธรรม
ตามที่ได้ฟังได้เรียนมาโดยพิสดาร, แต่เธอไม่รู้ทั่วถึง
ความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้นๆด้วยปัญญา.

ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการสวด (นักสวด)
ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)......
เธอไม่ใช้วันทั้งวันให้เปลืองไป
ด้วยการเรียนธรรมนั้นๆ ไม่เริดร้างจากการหลีกเร้น,
ประกอบตามซึ่งธรรมเป็นเครื่องสงบใจในภายในเนืองๆ.
ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่า ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)...

ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๙-๑๐๐/๗๓-๗๔.

............................................................................................

...ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดา หรือ
เพื่อนสพรหมจารีองค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู
หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่เธอกระทำการ
“สาธยายธรรม” ตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้แล้วโดยพิสดาร

ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น
โดยอาการที่ตนกระทำการสาธยายนั้น 
ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอ
ผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม

ความอิ่มใจ (ปีติ) ย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว
กายของเธอ ผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ
เธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข
จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่นนี้คือธรรม
เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่สาม...

ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๓/๒๖.

............................................................................................

...โมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ
เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่
ความง่วงนั้น ย่อมครอบงำได้
เธอพึงทำไว้ในใจ ซึ่งสัญญานั้นให้มาก

ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
ถ้าเธอยังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงตรึกตรอง
พิจารณาถึงธรรม ตามที่ตนได้สดับแล้ว
ได้เรียนมาแล้วด้วยใจ

ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึง “สาธยายธรรม”
ตามที่ตนได้สดับมาแล้ว ได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร
ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้...

สตฺตก. อํ. ๒๓/๘๗/๕๘.



หน้า 12

บทสวดระลึกถึงพระพุทธเจ้า

อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปัชชะติ
ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้

อะระหัง
เป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทโธ
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

วิชชาจะระณะสัมปันโน
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

สุคะโต
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี

โลกะวิทู
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึก
อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า


สัตถา เทวะมะนุสสานัง
เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พุทโธ
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม

ภะคะวา
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์

โส อิมัง โลกัง
ตถาคตนั้นทำ ให้แจ้งซึ่งโลกนี้

สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพ๎รัห๎มะกัง๎
สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิง

กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์


ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง
เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์

สะยัง อภิญญา
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว

สัจฉิกัต๎วา ปะเวเทสิ
สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม

โส ธัมมัง เทเสสิ
ตถาคตนั้นแสดงธรรม

อาทิกัล๎ยาณัง
ไพเราะในเบื้องต้น

มัชเฌกัล๎ยาณัง
ไพเราะในท่ามกลาง

ปะริโยสานะกัล๎ยาณัง
ไพเราะในที่สุด

สาตถัง สะพ๎ยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง
ปะริสุทธัง พ๎รัห๎มะจะริยัง ปะกาเสติ
ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือ แบบแห่งการปฏิบัติ
อันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ
พร้อมทั้งพยัญชนะ ดังนี้


อุปริ. ม. ๑๔/๑๗/๑๖.



หน้า 14

บทสวดระลึกถึงพระธรรม


ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว

สันทิฏฐิโก
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง

อะกาลิโก
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล

เอหิปัสสิโก
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด

โอปะนะยิโก
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้

มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๗/๑๔๑๒.



หน้า 16

บทสวดระลึกถึงพระสงฆ์

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม
เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว


สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว

ยะทิทัง
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ

จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
นั่นแหละ คือสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อาหุเนยโย
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำ มาบูชา

ปาหุเนยโย
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ

ทักขิเณยโย
เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน

อัญชะลิกะระณีโย
เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำ อัญชลี

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๗/๑๔๑๒.



หน้า 19

บทสวดแก้ความหวาดกลัว

อะรัญเญ รุกขะมูเล วา สุญญาคาเรวะ ภิกขะโว
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายอยู่ในป่า
หรืออยู่โคนไม้ หรืออยู่ในเรือนว่างก็ตาม

อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง ภะยัง ตุมหากัง โน สิยา
พึงระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด
ความกลัวก็จะไม่พึงมีแก่พวกเธอทั้งหลาย

โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ โลกะเชฏฐัง นะราสะภัง
แต่ถ้าเธอทั้งหลาย ระลึกถึงพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้เจริญ
แห่งโลก เป็นผู้ประเสริฐ แห่งนรชน มิได้ไซร้


อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง
ก็พึงระลึกถึงพระธรรม อันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์
ที่เราแสดงไว้ดีแล้วเถิด

โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง
แต่ถ้าเธอทั้งหลาย ระลึกถึงพระธรรม อันเป็นเครื่อง
นำออกจากทุกข์ ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว มิได้ไซร้

อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง
ก็พึงระลึกถึงพระสงฆ์ ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก
ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่าเถิด


เอวัง พุทธัง สะรันตานัง ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลาย ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม
และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้

ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีเลย ดังนี้.

สคาถ. สํ. ๑๕/๓๒๓/๘๖๖.



หน้า 22

บทสวด ปฏิจจสมุปบาท

อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก ปะฏิจจะ สะมุปปาทัญเญวะ
สาธุกัง โยนิโส
มะนะสิกะโรติ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมกระทำไว้ในใจ
โดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า

อิมัส๎มิง สะติ อิทัง โหติ
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี

อิมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชะติ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

อิมัส๎มิง อะสะติ อิทัง นะ โหติ
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี

อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป

ยะทิทัง
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ

อะวิชชาปัจจะยา สังขารา
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย

สังขาระปัจจะยา วิญญาณัง
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

ผัสสะปัจจะยา เวทะนา
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เวทะนาปัจจะยา ตัณหา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

อุปาทานะปัจจะยา ภะโว
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

ภะวะปัจจะยา ชาติ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะ
ทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ

เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วน

เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ สะมุทะโย โหติ
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

อะวิชชายะเต๎ววะ อเสสะวิราคะนิโรธา สังขาระนิโรโธ
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้น
นั่นเทียว จึงมีความดับ แห่งสังขาร

สังขาระนิโรธา วิญญาณะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ

วิญญาณะนิโรธา นามะรูปะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป

นามะรูปะนิโรธา สะฬายะตะนะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ

สะฬายะตะนะนิโรธา ผัสสะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ

ผัสสะนิโรธา เวทะนานิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา

เวทะนานิโรธา ตัณหานิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา

ตัณหานิโรธา อุปาทานะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน

อุปาทานะนิโรธา ภะวะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ

ภะวะนิโรธา ชาตินิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ

ชาตินิโรธา ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะ
ทุกขะโทมะนัส สุปายาสา นิรุชฌันติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาสะ ทั้งหลายจึงดับสิ้น


เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ
ทุกขักขันธัสสะ
นิโรโธ โหตีติ
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้

นิทาน. สํ. ๑๖/๘๕/๑๕๙.



หน้า 29

บทสวด อริยมรรคมีองค์แปด

กะตะมัญจะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี
ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง
ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือหนทาง เป็นเครื่อง
ให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก
มัคโค
เสยยะถีทัง
คือ หนทางอันประกอบด้วยองค์แปด
อันประเสริฐนี้เอง องค์แปด คือ

สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป
ความเห็นชอบ ความดำริชอบ

สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว
วาจาชอบ การงานชอบ อาชีวะชอบ

สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ
ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ

กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย ความเห็นชอบเป็นอย่างไร

ยัง โข ภิกขะเว ทุกเข ญาณัง
ภิกษุทั้งหลาย ความรู้ในทุกข์

ทุกขะสะมุทะเย ญาณัง
ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์

ทุกขะนิโรเธ ญาณัง
ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

ทุกขะนิโรธะคามินิยา
ปะฏิปะทายะ ญาณัง

ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับ
ไม่เหลือแห่งทุกข์

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ

กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป
ภิกษุทั้งหลาย ความดำ ริชอบ เป็นอย่างไร

เนกขัมมะสังกัปโป
ความดำริในการออกจากกาม

อัพ๎ยาปาทะสังกัปโป
ความดำริในการไม่พยาบาท

อะวิหิงสาสังกัปโป
ความดำริในการไม่เบียดเบียน

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ

กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาวาจา
ภิกษุทั้งหลาย วาจาชอบเป็นอย่างไร

มุสาวาทา เวระมะณี
เจตนาเป็นเหตุงดเว้น จากการพูดเท็จ

ปิสุณายะ วาจายะ เวระมะณี
เจตนาเป็นเหตุงดเว้น จากการพูดยุให้แตกกัน

ผะรุสายะ วาจายะ เวระมะณี
เจตนาเป็นเหตุงดเว้น จากการพูดหยาบ

สัมผัปปะลาปา เวระมะณี
เจตนาเป็นเหตุงดเว้น จากการพูดเพ้อเจ้อ

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวาจา
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าวาจาชอบ

กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต
ภิกษุทั้งหลาย การงานชอบเป็นอย่างไร

ปาณาติปาตา เวระมะณี
เจตนาเป็นเหตุงดเว้น จากการฆ่าสัตว์

อะทินนาทานา เวระมะณี
เจตนาเป็นเหตุงดเว้น
จากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้

กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี
เจตนาเป็นเหตุงดเว้น จากการประพฤติผิด
ในกามทั้งหลาย

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า การงานชอบ

กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว
ภิกษุทั้งหลาย อาชีวะชอบเป็นอย่างไร

อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก
มิจฉาอาชีวัง ปะหายะ

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย

สัมมาอาชีเวนะ ชีวิกัง กัปเปติ
สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ

กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาวายาโม
ภิกษุทั้งหลาย ความเพียรชอบเป็นอย่างไร

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ อะนุปปันนานัง
ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง

อะนุปปาทายะ ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ

วิริยัง อาระภะติ จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม
ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต
ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิด แห่งอกุศลธรรม
อันเป็นบาปทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด

อุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง
ธัมมานัง ปะหานายะ ฉันทัง ชะเนติ
วายะมะติ วิริยัง อาระภะติ
จิตตัง
ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ
ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม
ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต
ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสีย ซึ่งอกุศลธรรม
อันเป็นบาปทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว


อะนุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง
อุปปาทายะ ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ
วิริยัง
อาระภะติจิตตัง
ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ

ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม
ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต
ย่อมตั้งจิตไว้เพื่อการบังเกิดขึ้น
แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด

อุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง ฐิติยา
อะสัมโมสายะ ภิยโยภาวายะ
เวปุลลายะ
ภาวะนายะ ปาริปูริยา ฉันทัง
ชะเนติ
วายะมะติ วิริยัง อาระภะติ

จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ
ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม
ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต
ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน
ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น
ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ
แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว