เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  สาธยายธรรม-พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  3 of 3  
 
  สาธยายธรรม พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
       
  บทสวดอานาปานสติ ( หมวดธัมมานุปัสสนา ) 75  
  บทสวด เพื่อผู้เจ็บไข้ 81  
  บทสวด ที่สุดแห่งทุกข์ 85  
  บทสวด อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ 88  
  บทสวด ก่อนนอน 92  
  บทสวด ธรรมวินัยคือศาสดา 95  
  บทสวด พึ่งตนพึ่งธรรม 96  
  บทสวด ปัจฉิมวาจา 99  
  การเจริญเมตตา (หรือการเจริญพรหมวิหาร ) 100  
  คำชี้ชวนวิงวอน 105  
  การสาธยายธรรม ที่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น 106  
       
 
 





หน้า 75

บทสวดอานาปานสติ ( หมวดธัมมานุปัสสนา )

ยัส๎มิง สะมะเย ภิกขะเว ภิกขุ
อะนิจจานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ

ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด
ภิกษุย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ
หายใจเข้า

อะนิจจานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ
หายใจออก

วิราคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ
หายใจเข้า

วิราคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลาย
อยู่เป็นประจำ หายใจออก

นิโรธานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลือ
อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า

นิโรธานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลือ
อยู่เป็นประจำ หายใจออก

ปะฏินิสสัคคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ
สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ
หายใจเข้า

ปะฏินิสสัคคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ
สิกขะติ
ย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืน
อยู่เป็นประจำ หายใจออก

ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี ภิกขะเว ตัส๎มิง
สะมะเย ภิกขุ วิหะระติ
ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
อยู่เป็นประจำ

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ
โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำ อภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

โส ยันตัง อะภิชฌาโทมะนัสสานัง
ปะหานัง ปัญญายะ ทิส๎วา สาธุกัง
อัชฌุเปกขิตา โหติ
ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไป
เพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเหน็
การละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลาย
ของเธอนั้นด้วยปัญญา

ตัส๎มาติหะ ภิกขะเว ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี
ตัส๎มิง สะมะเย ภิกขุ วิหะระติ อาตาปี
สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก
อะภิชฌาโทมะนัสสัง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้
ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า เป็นผู้เห็นธรรม
ในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำ อภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

เอวัง ภาวิตา โข ภิกขะเว อานาปานะสะติ
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ
อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้

เอวัง พะหุลีกะตา จัตตาโร สะติปัฏฐาเน
ปะริปูเรนติ
ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล
ชื่อว่า ย่อมทำ สติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้

เอวัง ภาวิตายะ โข ราหุละ
อานาปานะสะติยา เอวัง พะหุลีกะตายะ
ราหุล เมื่อบุคคลเจริญกระทำ ให้มาก
ซึ่งอานาปานสติอย่างนี้แล้ว

เยปิ เต จะริมะกา อัสสาสะปัสสาสา
ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
อันจะมีเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อจะดับจิตนั้น

เตปิ วิทิตาวะ นิรุชฌันติ โน อะวิทิตาติ
จะเป็นสิ่งที่เขารู้แจ้งแล้วดับไป
หาใช่เป็นสิ่งที่เขาไม่รู้แจ้งไม่ ดังนี้

อุปริ. ม. ๑๔/๑๙๕/๒๘๙.
ม. ม. ๑๓/๑๔๒/๖๘๙.



หน้า 81

บทสวด เพื่อผู้เจ็บไข้

ยังกัญจิ ภิกขะเว ทุพพะลัง คิลานะกัง
ปัญจะ ธัมมา นะ วิชะหันติ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมห้าประการ
ไม่เว้นห่างไปเสีย จากคนเจ็บไข้
ทุพพลภาพคนใด

ตัสเสตัง ปาฏิกังขัง นะจิรัสเสวะ
ข้อนี้เป็นสิ่งที่เขาผู้นั้นพึงหวังได้
ต่อการไม่นานเทียว คือ

อาสะวานัง ขะยา อะนาสะวัง เจโตวิมุตติง
ปัญญาวิมุตติง
เขาจักกระทำ ให้แจ้งได้ซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้

ทิฏเฐวะ ธัมเม สะยัง อภิญญา สัจฉิกัต๎วา
อุปะสัมปัชชะ วิหะริสสะติ
เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้
เข้าถึงแล้ว แลอยู่ต่อกาลไม่นานเทียว

กะตะเม ปัญจะ อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
ธรรมห้าประการนั้นเป็นอย่างไรเล่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

อะสุภานุปัสสี กาเย วิหะระติ
เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย

อาหาเร ปฏิกกูละสัญญี
เป็นผู้มีปกติสำ คัญว่า ปฏิกูลในอาหาร

สัพพะโลเก อะนะภิระตะสัญญี
เป็นผู้มีปกติสำคัญว่า ไม่น่ายินดี
ในโลกทั้งปวง

สัพพะสังขาเรสุ อะนิจจานุปัสสี
เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่เที่ยง
ในสังขารทั้งหลาย

มะระณะสัญญา โข ปะนัสสะ อัชฌัตตัง
สุปัฏฐิตา โหติ
มีสติอันตนเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในกาย
แล้วเห็นการเกิดดับภายใน

ยังกัญจิ ภิกขะเว ทุพพะลัง คิลานะกัง
อิเม ปัญจะ ธัมมา นะ วิชะหันติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมห้าประการ
ไม่เว้นห่างไปเสียจากคนเจ็บไข้
ทุพพลภาพคนใด

ตัสเสตัง ปาฏิกังขัง นะจิรัสเสวะ
ข้อนี้เป็นสิ่งที่เขาผู้นั้นพึงหวังได้
ต่อกาลไม่นานเทียว คือ

อาสะวานัง ขะยา อะนาสะวัง เจโตวิมุตติง
ปัญญาวิมุตติง
เขาจักกระทำ ให้แจ้งได้ซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้

ทิฏเฐวะ ธัมเม สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัต๎วา
อุปะสัมปัชชะ วิหะริสสะตีติ
เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้
เข้าถึงแล้ว แลอยู่

ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๐/๑๒๑.



หน้า 85

บทสวด ที่สุดแห่งทุกข์

เอต๎๎ถะ จะ เต มาลุงก๎ยะปุตตะ
ทิฏฐะสุตะมุตะวิญญาตัพเพสุ ธัมเมสุ
มาลุงก๎ยบุตร ในบรรดาสิ่งที่ท่านได้เห็น
ได้ฟัง ได้รู้สึก ได้รู้แจ้งเหล่านั้น

ทิฏเฐ ทิฏฐะมัตตัง ภะวิสสะติ
ในสิ่งที่ท่านเห็นแล้ว
จักเป็นแต่เพียงสักว่าเห็น

สุเต สุตะมัตตัง ภะวิสสะติ
ในสิ่งที่ท่านฟังแล้ว
จักเป็นแต่เพียงสักว่าได้ยิน

มุเต มุตะมัตตัง ภะวิสสะติ
ในสิ่งที่ท่านรู้สึกแล้ว
จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้สึก

วิญญาเต วิญญาตะมัตตัง ภะวิสสะติ
ในสิ่งที่ท่านรู้แจ้งแล้ว
ก็จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้แจ้ง

ยะโต โข เต มาลุงก๎ยะปุตตะ
ทิฏฐะสุตะมุตะวิญญาตัพเพสุ ธัมเมสุ
มาลุงก๎ยบุตร เมื่อใดแล
ในบรรดาธรรมเหล่านั้น

ทิฏเฐ ทิฏฐะมัตตัง ภะวิสสะติ
เมื่อสิ่งที่เห็นแล้ว สักว่าเห็น

สุเต สุตะมัตตัง ภะวิสสะติ
สิ่งที่ฟังแล้ว สักว่าได้ยิน

มุเต มุตะมัตตัง ภะวิสสะติ
สิ่งที่รู้สึกแล้ว สักว่ารู้สึก

วิญญาเต วิญญาตะมัตตัง ภะวิสสะติ
สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว สักว่ารู้แจ้ง ดังนี้แล้ว

ตะโต ต๎วัง มาลุงก๎ยะปุตตะ นะ เตนะ
มาลุงก๎ยบุตร เมื่อนั้น ตัวตนย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้น

ยะโต ต๎วัง มาลุงก๎ยะปุตตะ นะ เตนะ
ตะโต ต๎วัง มาลุงก๎ยะปุตตะ นะ ตัตถะ
มาลุงก๎ยบุตร เมื่อใดตัวตนไม่มี
เพราะเหตุนั้น เมื่อนั้นตัวท่านก็ไม่มีในที่นั้นๆ

ยะโต ต๎วัง มาลุงก๎ยะปุตตะ นะ ตัตถะ
มาลุงก๎ยบุตร เมื่อใดตัวท่านไม่มีในที่นั้นๆ

ตะโต มาลุงก๎ยะปุตตะ เนวิธะ
นะ หุรัง นะ อุภะยะมันตะเรนะ
เมื่อนั้นตัวท่านก็ไม่มีในโลกนี้
ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง

เอเสวันโต ทุกขัสสาติ
นั่นแหละ คือ ที่สุดแห่งความทุกข์ ดังนี้

สฬา. สํ. ๑๘/๙๑/๑๓๓.

 



หน้า 88

บทสวด อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ

กะถัญจะ อานันทะ อะริยัสสะ วินะเย
อะนุตตะรา อินท๎ริยะภาวะนา โหติ
อานนท์ อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ
ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า

อิธานันทะ ภิกขุโน จักขุนา รูปัง ทิส๎วา
อุปปัชชะติ มะนาปัง
อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ เพราะเห็นรูปด้วยตา
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจก็เกิดขึ้น

อุปปัชชะติ อะมะนาปัง
ไม่เป็นที่ชอบใจ ก็เกิดขึ้น

อุปปัชชะติ มะนาปามะนาปัง
เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ ก็เกิดขึ้น

โส เอวัง ปะชานาติ อุปปันนัง โข
เม อิทัง มะนาปัง
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้

อุปปันนัง อะมะนาปัง
ไม่เป็นที่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว

อุปปันนัง มะนาปามะนาปัง
เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
ที่เกิดขึ้นแล้ว

ตัญจะ โข สังขะตัง โอฬาริกัง
ปะฏิจจะ สะมุปปันนัง
เป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแตง่ เป็นของหยาบๆ
เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น

เอตัง สันตัง เอตัง ปะณีตัง
แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำ งับและประณีต

ยะทิทัง อุเปกขาติ
กล่าวคือ อุเบกขา ดังนี้

ตัสสะ ตัง อุปปันนัง มะนาปัง
เมื่อรู้ชัดอย่างนี้ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ
ที่เกิดขึ้นแล้ว

อุปปันนัง อะมะนาปัง
ไม่เป็นที่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว

อุปปันนัง มะนาปามะนาปัง
เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
ที่เกิดขึ้นแล้ว

นิรุชฌะติ อุเปกขา สัณฐาติ
นั้นย่อมดับไป ส่วนอุเบกขายังคงดำรงอยู่

เสยยะถาปิ อานันทะ จักขุมา ปุริโส
อุมมิเลต๎วา วา นิมมิเลยยะ นิมมิเลต๎วา
วา อุมมิเลยยะ เอวะเมวะ โข อานันทะ
ยัสสะกัสสะจิ เอวัง สีฆัง เอวัง ตุวะฏัง
เอวัง อัปปะกะสิเรนะ อุปปันนัง มะนาปัง
อุปปันนัง อะมะนาปัง อุปปันนัง มะนาปา-
มะนาปัง นิรุชฌะติ อุเปกขา สัณฐาติ
อานนท์ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่
ชอบใจ เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็ว
เหมือนการกระพริบตาของคน ส่วนอุเบกขา
ยังคงดำรงอยู่

อะยัง วุจจะตานันทะ อริยัสสะ วินะเย
อะนุตตะรา อินท๎ริยะภาวะนา
จักขุวิญเญยเยสุ รูเปสุ
อานนท์ นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ
ในอริยวินัย ในกรณีแห่งรูป ที่รู้แจ้งด้วยจักษุ

(ผู้สวดพึงพิจารณาอนุโลมตามในกรณีแห่งอินทรีย์ คือ โสตะ,
ฆานะ, ชิวหา, กายะ และมโน)

อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๑/๘๕๖.

 



หน้า 92

บทสวด ก่อนนอน

สะยานัสสะ เจปิ ภิกขะเว ภิกขุโน
ชาคะรัสสะ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุนอนตื่นอยู่

อุปปัชชะติ กามะวิตักโก วา
พ๎ยาปาทะวิตักโก วา วิหิงสาวิตักโก วา
ถ้ามีกามวิตก พยาบาทวิตก
หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้น

ตัญจะ ภิกขุ นาธิวาเสติ ปะชะหะติ
วิโนเทติ พ๎ยันตีกะโรติ
และภิกษุนั้นก็ไม่รับเอาวิตกเหล่านั้นไว้

อะนะภาวัง คะเมติ
แต่สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก
ทำ ให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ

สะยาโนปิ ภิกขะเว ภิกขุ ชาคะโร เอวังภูโต
อาตาปี โอตตัปปี สะตะตัง สะมิตัง
อารัทธะวิริโย ปะหิตัตโตติ วุจจะตีติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เป็นอย่างนี้
แม้กำลังนอนตื่นอยู่ ก็เรียกว่า
เป็นผู้ปรารภความเพียร
รู้สึกกลัว (ต่อบาปอกุศล)
อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิตย์

ตัสสะ เจ อานันทะ ภิกขุโน อิมินา
วิหาเรนะ วิหะระโต
อานนท์ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้

สะยะนายะ จิตตัง นะมะติ
จิตน้อมไปเพื่อการนอน

โส สะยะติ เอวัง มัง สะยันตัง
นาภิชฌาโทมะนัสสา ปาปะกา อะกุสะลา
ธัมมา อันวาสสะวิสสันตีติ
ภิกษุนั้นก็นอนด้วยการตั้งจิตว่า
อกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย
คือ อภิชฌาและโทมนัส
จักไม่ไหลไปตามเราผู้นอนอยู่
ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้

อิติหะ ตัตถะ สัมปะชาโน โหติ
ในกรณีอย่างนี้ ภิกษุนั้นชื่อว่า
เป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
ในกรณีแห่งการนอนนั้น

จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๘/๑๑.
อุปริ. ม. ๑๔/๒๓๘/๒๔๘.



หน้า 95

บทสวด ธรรมวินัยคือศาสดา

สิยา โข ปะนานันทะ ตุม๎หากัง
อานนท์ ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า

เอวะมัสสะ อะตีตะสัตถุกัง ปาวะจะนัง
นัตถิ โน สัตถาติ
ธรรมวินัยของพวกเรา
มีพระศาสดา ล่วงลับไปแล้ว
พวกเราไม่มีพระศาสดา ดังนี้

นะ โข ปะเนตัง อานันทะ เอวัง ทัฏฐัพพัง
อานนท์ ข้อนี้ พวกเธออย่าคิดดังนั้น

โย โว อานันทะ มะยา ธัมโม จะ วินะโย
จะ เทสิโต ปัญญัตโต
อานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว
บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย


โส โว มะมัจจะเยนะ สัตถา
ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย
โดยกาลล่วงไปแห่งเรา


มหา. ที. ๑๐/๑๗๘/๑๔๑.

 



หน้า 96

บทสวด พึ่งตนพึ่งธรรม

เย หิ เกจิ อานันทะ เอตะระหิ วา
มะมัจจะเย วา
อานนท์ ในกาลบัดนี้ก็ดี
ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตาม

อัตตะทีปา วิหะริสสันติ อัตตะสะระณา
อะนัญญะสะระณา
จักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ
ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ

ธัมมะทีปา ธัมมะสะระณา
อะนัญญะสะระณา
มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ
ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่

ตะมะตัคเคเมเต อานันทะ ภิกขุ
ภะวิสสันติ เย เกจิ สิกขากามาติ
อานนท์ ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา
ภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุดแล

มหา. ที. ๑๐/๑๑๙/๙๓.

 



หน้า 99

บทสวด ปัจฉิมวาจา

หันทะ ทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า

วะยะธัมมา สังขารา
สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ
เธอทั้งหลาย จงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด...

มหา. ที. ๑๐/๑๘๐/๑๔๓..



หน้า 100

การเจริญเมตตา
(หรือการเจริญพรหมวิหาร )

เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักตั้งมั่น
ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน และอกุศลธรรมอันเป็นบาป
ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำ จิตได้ เมื่อใด จิตของเธอ
เป็นจิตตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีแล้วในภายใน และอกุศล-
ธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ครอบงำ จิตได้

เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญ กระทำ ให้มาก
ซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติ, กรุณาเจโตวิมุตติ, มุทิตาเจโตวิมุตติ,
อุเบกขาเจโตวิมุตติ ทำ ให้เป็นดุจยาน ทำ ให้เป็นที่ตั้ง
ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีแล้ว

เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจาก
อกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้น ปราโมทย์ก็เกิด
เมื่อเธอเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด

เมื่อเธอมีใจ ประกอบด้วยปีติแล้ว กายก็สงบรำงับ
ผู้มีกายสงบรำงับ ย่อมเสวยสุข
จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ

เธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วย
เมตตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

มีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วย
กรุณา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

มีจิตประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วย
มุทิตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

มีจิตประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วย
อุเบกขา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

สระโบกขรณี มีน้ำใสจืด เย็น สะอาด มีท่าอันดี
น่ารื่นรมย์ ถ้าบุรุษมาแต่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก
ทิศเหนือทิศใต้ และจากที่ไหนๆ อันความร้อนแผดเผา
เร่าร้อน ลำ บาก กระหาย อยากดื่มน้ำ เขามาถึง
สระโบกขรณีนั้นแล้ว ก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำ และ
ความกระวนกระวายเพราะความร้อนเสียได้

แม้ฉันใด เธอมาถึงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว
เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น
ย่อมได้ความสงบจิต ณ ภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เรากล่าวว่าเป็นผู้ปฏิบัติ ข้อปฏิบัติอันดียิ่ง

เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง ย่อมเป่าสังข์
ให้ได้ยินได้ทั้งสี่ทิศโดยไม่ยากฉันใด ในเมตตาเจโตวิมุตติ
(กรุณาเจโตวิมุตติ..., มุทิตาเจโตวิมุตติ..., อุเบกขาเจโต-
วิมุตติ...,)
ที่เจริญแล้วอย่างนี้ กรรมชนิดที่ทำ อย่างมี
ขีดจำ กัดย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น

เมื่อใดเธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้ เจริญดีแล้ว
เมื่อนั้นเธอจักเดินไปในทางใดๆ ก็จักเดินเป็นสุข
ในทางนั้นๆ ยืนอยู่ในที่ใดๆ ก็จักยืนเป็นสุขในที่นั้นๆ
นั่งอยู่ในที่ใดๆ ก็จักนั่งเป็นสุขในที่นั้นๆ นอนอยู่ที่ใดๆ
ก็จักนอนเป็นสุขในที่นั้นๆ

เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพมาแต่แรก
ทำ ให้เจริญแล้ว ทำ ให้มากแล้ว ทำ ให้เป็นดุจยาน
ที่เทียมดีแล้ว ทำ ให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ
ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่าง คือ
หลับเป็นสุข ๑
ตื่นเป็นสุข ๑
ไม่ฝันร้าย ๑
เป็นที่รักของพวกมนุษย์ ๑
เป็นที่รักของพวกอมนุษย์ ๑
เทพยดารักษา ๑
ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี ศัสตราก็ดีไม่ต้องบุคคลนั้น ๑
จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว ๑
สีหน้าผุดผ่อง ๑
ไม่หลงทำ กาละ ๑
เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไป
ย่อมเกิดในพรหมโลก ๑


เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพมาแต่แรก
ทำ ให้เจริญแล้ว ทำ ให้มากแล้ว ทำ ให้เป็นดุจยาน
ที่เทียมดีแล้ว ทำ ให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ
ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่างนี้แล.

สตฺตก. อํ. ๒๓/๓๐๘/๑๖๐.
มู. ม. ๑๒/๕๑๘/๔๘๒.
เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๗๖/๒๒๒.
สี. ที. ๙/๓๑๐/๓๘๓-๔.



หน้า 105

คำชี้ชวนวิงวอน


ภิกษุทั้งหลาย โยคกรรม อันเธอพึงกระทำ เพื่อให้รู้ว่า
“นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์
นี้ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์”

นิพพาน เราได้แสดงแล้ว, ทางให้ถึงนิพพาน
เราก็ได้แสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย.

กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำ แก่สาวกทั้งหลาย,
กิจนั้น เราได้กระทำ แล้วแก่พวกเธอ.

นั่น โคนไม้; นั่น เรือนว่าง.

พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท,
อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.

นี่แหละ วาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.

มหาวาร. สํ. ๑๑/๔๑๓/๑๖๕๔.
สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๒/๗๔๑.

 



หน้า 106

การสาธยายธรรม
ที่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น

...ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมีอีก :
พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครู รูปใดรูปหนึ่ง
ก็มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ; และเธอนั้น
ก็มิได้แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ตามที่เธอได้ฟังมา ได้เล่าเรียนมา
แต่เธอ ระทำ การท่องบ่นซึ่งธรรม โดยพิสดาร
ตามที่ตนฟังมา เล่าเรียนมาอยู่.

เธอย่อมเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ
รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ในธรรมนั้น
ตามที่เธอ ทำการท่องบ่นซึ่งธรรม โดยพิสดาร
ตามที่ได้ฟังมา เล่าเรียนมาอย่างไร.

เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ
รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม,
ปราโมทย์ ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอนั้น;
เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด;
เมื่อใจปีติ กายย่อมรำงับ;
ผู้มีกายรำงับแล้ว ย่อมเสวยสุข;
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น.

ภิกษุทั้งหลาย !
นี้คือ ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่สาม,
ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว อยู่,
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบ ย่อมถึงซึ่งความสิ้นรอบ
หรือว่าเธอย่อมบรรลุตามลำดับ
ซึ่งความเกษมจากโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่า

ที่ตนยังไม่บรรลุตามลำดับ.