เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ       

  กรรม พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
ที่มา : http://watnapp.com/book   01 of 4  
  กรรม พุทธวจน  
       
    สารบัญ    
    สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับ “กรรม” ๑    
    ๑. รายละเอียดที่บุคคลควรทราบ เกี่ยวกับเรื่องกรรม    
    ๒. ว่าด้วยเหตุเกิดของกรรม ๓ อย่าง    
    ๓. ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งกรรม ๓ อย่าง (อีกนัยยะ)    
    ๔. สิ่งที่ไม่ควรคิด    
       
    ประเภทของกรรม    
    ๕. แบ่งตามการกระทำและผลที่ได้รับ    
    ๖. อะไรคือกรรมเก่าและกรรมใหม่    
    ๗. กายนี้ เป็น “กรรมเก่า”    
    ๘. การทำกรรมทางใดมีโทษมากที่สุด    
       
    หลักการพิจารณาว่ากรรมชนิดนั้นควรทำหรือไม่    
    ๙. เมื่อจะกระทำ    
    ๑๐. เมื่อกระทำอยู่    
    ๑๑. เมื่อกระทำแล้ว    
       
    ข้อควรทราบเพื่อป้องกันความเข้าใจผิด เกี่ยวกับเรื่องกรรม    
    ๑๒. การพยากรณ์บุคคลอื่น ทำได้หรือไม่    
    ๑๓. ทุกข์เกิดเพราะมีเหตุปัจจัย    
    ๑๔. ทาง ๒ สายที่ไม่ควรเดิน    
    ๑๕. บาปกรรมเก่า ไม่อาจสิ้นได้ด้วยการทรมานตนเอง    
    ๑๖. สุข-ทุกข์ ที่ได้รับไม่ใช่ผลของกรรมเก่าอย่างเดียว    
       
 
 




กรรม

อานนท์ ! ถ้ากรรมมี กามธาตุ เป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้
กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !

อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา
วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยางของพืช
วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วย ธาตุชั้นทราม
การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ถ้ากรรมมี รูปธาตุ เป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้
รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !

อานนท์
! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา
วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยางของพืช
วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วย ธาตุชั้นกลาง
การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ถ้ากรรมมี อรูปธาตุ เป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้
อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !

อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา
วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยางของพืช
วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วย ธาตุชั้นประณีต
การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๙๗/๑๔๓-๔.


ราหุล ! กระจกเงามีไว้สำหรับทำอะไร ?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! กระจกเงามีไว้สำหรับส่องดู พระเจ้าข้า !”.

“ราหุล ! กระจกเงามีไว้สำหรับทำอะไร ? “

ราหุล ! กรรมทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่บุคคลควรสอดส่อง พิจารณาดูแล้วดูเล่า เสียก่อน จึงทำลงไป ทางกาย ทางวาจา หรือ ทางใจ ฉันเดียวกับกระจกเงานั้น เหมือนกัน”
-บาลี ม. ม. ๑๓/๑๒๕/๑๒๘


คำนำ

ในครั้งพุทธกาล มีภิกษุอธิบายเกี่ยวกับวิญญาณว่า วิญญาณ คือสภาพที่รับรู้ อารมณ์ต่างๆได้ สื่อสารพูดคุยได้ เป็นผู้รับผลของกรรมดีกรรมชั่ว เป็นผู้ที่แล่นไป ท่องเที่ยวไป

พระพุทธเจ้าทรงเรียกภิกษุรูปนั้นมาสอบทันที เมื่อได้ความตรงกันกับ ที่ถูกโจทก์ แล้ว ทรงตำหนิโดยการ เรียกภิกษุรูปนี้ว่า “โมฆะบุรุษ” ซึ่งแปลตามความหมาย ว่า บุคคล อันเปล่า ไร้ประโยชน์ เป็นโมฆะ มีไว้ก็เท่ากับไม่มีจากนั้น ทรง พยากรณ์ ว่าการพูด ผิดไปจากคำของตถาคต เช่นนี้ จะทำให้ประสพบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก

คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปนัก ที่จะทำความเข้าใจว่า วิญญาณ โดยนัยของ ขันธ์ห้านั้น ไม่ใช่ตัวสัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นแต่เพียงสิ่งที่มีกริยารู้ได้ และเป็น ปฏิจจสมุปปันธรรม คืออาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้นมีอยู่ ส่วนสัตว์ บุคคลผู้ ทำกรรม รับกรรมนั้น คือขันธ์ห้า อันประกอบด้วยอุปาทาน ปรุงแต่งเสร็จไปแล้ว ว่าเป็นนี้ๆ เป็นนั้นๆ

คำถามก็คือ บุคคลประเภทไหนที่สนใจกรรม วิบากกรรมในขันธ์ห้า (อันไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน ของเรา) นี้

คำตอบก็คือ บุคคลที่ยังมีความเห็นในวิญญาณ ว่าคือผู้รับรู้ ผู้กระทำ ผู้รับผล ของกรรม คือผู้ท่องเที่ยว เวียนว่ายไป โดยนัยลักษณะเดียวกับภิกษุรูปนั้น ในครั้งพุทธกาล

คำถามอาจมีขึ้นอีกว่าจะมีบ้างไหมบางคน ที่ไม่สนใจ ไม่แยแส ไม่อยากรู้ ในเรื่องของ กรรม และวิบากของกรรม ในแง่มุมต่างๆ ภายใต้ความเห็นว่า ใช่ตัวตนในอุปาทานขันธ์ ไม่สนใจ การที่มีที่เป็นแล้วนี้ ว่าเกิดจากกรรมนี้ๆ ในภพโน้นๆไม่แยแส แก้กรรมในภพ โน้นๆที่ส่งผลอยู่นี้ ด้วยกรรมนั้นๆ ไม่อยากรู้ว่าทำกรรมแบบนั้นๆ แล้วจะได้รับผลแบบ ไหนๆ

คำตอบพึงมีว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (ทิฏฐิสัมปันนะ) มีอยู่คือเข้าสู่แล้วใน สัมมัตตนิยาม เข้าสู่แล้วในระบบที่ถูกต้อง เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส (โสตะ) คือทางอันเป็นอริยะ

ฐานะที่เป็นไปไม่ได้ ของผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ นั่นคือ ยึดมั่นความตามเห็นขันธ์ ในส่วน อดีต (ปุพพันตานุทิฏฐิ) และยึดมั่นความตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต (อปรันตานุทิฏฐิ) พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า ผู้ที่ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิแล้วนี้ จะมี ความรู้เข้าใจอันพิเศษเฉพาะ ซึ่งหาไม่ได้ในปุถุชนทั่วไป ทุกข์ จะค่อยๆ ดับไป ในทุกๆก้าวบนหนทาง และเป็นผู้ที่ จะไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา มีสัมโพธิ เป็นเบื้องหน้าที่สุด

สังคมพุทธในวันนี้ แม้จะยังมีความเจริญในระบบ ธรรมวินัยอยู่ก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยังมีบุคคลในข่าย “โมฆะบุรุษ” ดังครั้งพุทธกาลนั้น

โมฆะบุรุษนี้คือผู้ที่ขับเคลื่อนการกระทำต่างๆ ที่ออกนอกแนวทางของ อริยมรรค มีองค์ ๘ ไปเรื่อยๆ และ นำพาโลกไป ด้วยระบบคิดที่ปรารภขันธ์ห้า โดยความ เป็นตน ทั้งหมดนี้ ทำขึ้นภายใต้การอ้างถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า

เราอาจเคยได้ยิน การอ้างถึงพระธรรมคำาสอนใน ส่วนของศีลธรรม ซึ่งเป็นเรื่อง ของข้อ ปฏิบัติที่ไม่เบียดเบียน อันนำมาซึ่งวิบากอันดีต่อตนเอง และหมู่สัตว์ ทั้งหลายโดยรวม อีกทั้ง ยังเป็นเหตุ ให้ได้ บังเกิดในภพ ที่เต็ม ไปด้วย สุขเวทนา ธรรมะ ในแง่มุมระดับ ศีลธรรมนี้ ได้ถูกเข้าใจไปว่าเป็นเพียง เครื่องมือ ให้ได้มาซึ่งความสุขมีประมาณต่างๆ อันเป็นผลจาก การกระทำที่ดีนั้น และเพื่อ ให้มีภพต่อๆ ไปที่ดีเท่านั้น

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ต่อระบบศีลธรรมนี้ เกิดจากการไม่รู้แจ้งแทงตลอด ด้วยดี ด้วยทิฏฐิ ในพุทธวจน เรื่องทาน ศีล สวรรค์ เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ในอนุปุพพิกถา ๕ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงใช้ แสดงต่อ ฆราวาส ผู้ที่ยังมีจิตจม อยู่ใน ความสุขแบบโลกๆ ยังไม่พร้อมที่จะเข้าถึงอริยสัจได้ทันที ทานกถา คือ การให้ การสละ สีลกถาคือ ระบบ ศีลธรรม

สัคคกถา คือ สุขแบบสวรรค์ กามาทีนวกถา คือโทษแห่งกาม และ เนกขัมมา นิสังสกถา คือ อานิสงส์แห่งการออกจากกาม เมื่อผู้ฟัง มีจิตอ่อนโยน ปลอด นิวรณ์ นุ่มเบา ควรแก่ การแล้ว จึงทรงแสดง อริยสัจสี่ อันเป็นจุดประสงค์ หลักเพียงอันเดียว ของการเทศนา แต่ละครั้ง

สิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ คือ การตัดทอนคำสอน โดยแยกเน้นเวียนวนอยู่ เฉพาะ เรื่องของ ทาน ศีล สวรรค์ ยิ่งไปกว่านั้น หากบวกเข้าไปด้วยกับบุคคลที่ยังไม่พ้น การดำรงชีพ ด้วยมิจฉาอาชีวะแบบของ สมณะ คือ เลี้ยงชีพด้วย การทำนาย การดูหมอ ดูฤกษ์ และอื่นๆ ทั้งหลายทั้งปวง ที่รวมเรียกว่าติรัจฉานวิชา ทั้งหมดนี้ จึงเป็นเสมือนขบวนการ ที่ผันแปรธรรมวินัย ให้กลายเป็นลัทธิใหม่ อะไรสักอย่างที่ ไม่ใช่พุทธ แต่อ้างความเป็น พุทธ แล้วนำพาผู้คนที่หลงทาง อยู่แล้ว ให้ยิ่งผูกติด พันเกี่ยวอยู่แต่ในภพ

หนังสือ พุทธวจน ฉบับ แก้กรรม โดยพระตถาคต นี้ คือการรวมหลักธรรม ที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้เกี่ยวกับกรรม โดยผู้ศึกษาจะสังเกตเห็นได้ทันทีคือ ความรู้ในเรื่องกรรม ว่า กรรม เป็นสิ่งที่บุคคล พึงทราบทั้งหมด ๖ แง่มุมด้วยกัน เท่านั้น เป็นการรู้ที่จะนำไปสู่การ หลุดพ้น จากระบบแห่งกรรมที่หมู่สัตว์ติดข้อง อยู่มานานนับนี้

อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ หนทางให้ถึงความดับแห่งกรรม โดยตัวของอริยมรรคเอง มีแล้ว ซึ่งการสร้างวิบากอันเป็นเลิศ มีพร้อมแล้วซึ่งอานิสงส์ คือการนำไปสู่การ สลัดคืน อุปาทานขันธ์นั่นคือ การกระทำ กรรม เพื่อให้ระบบกรรมทั้งหมด ทั้งปวงนั้น กลายเป็น โมฆะโดยสิ้นเชิง



สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับ “กรรม”

)
รายละเอียดที่บุคคลควรทราบ
เกี่ยวกับเรื่องกรรม

ภิกษุทั้งหลาย !

กรรม
เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
เวมัตตต
แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
วิบ
กแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ ....

คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม เพราะว่าบุคคล เจตนาแล้ว ย่อม กระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ. ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรมทั้งหลายเป็นอย่างไร เล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย คือ ผัสสะ
ภิกษุทั้งหลาย ! เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ) แห่งกรรมทั้งหลายเป็น อย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในนรกมีอยู่
กรรมที่ทำสัตว์ ให้เสวยเวทนาในกำเนิดเดรัจฉมีอยู่
กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนา ในเปรตวิสัยมีอยู่
กรรมที่ทำสัตว ให้เสวยเวทนาในมนุษย์โลกมีอยู่
กรรมที่ทำสัตว์ ให้เสวยเวทนาในเทวโลกมีอยู่.
ภิกษุทั้งหลาย!  นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตแห่งกรรมทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่ามีอยู่ ๓ อย่าง
คือ วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน)
หรือว่า วิบากในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา)
หรือว่า วิบ ในอปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก)
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า วิบกแห่งกรรมทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือ แห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลาย ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! กั ม ม นิ โ ร ธ คา มิ นี ป ฏิ ป ทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรค มีองค์แปด) นี้นั่นเอง คือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
สัมมทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปปะ
(ความดำริชอบ)
สัมม
วาจ (การพูดจาชอบ)
สัมมกัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมวายามะ (ความพากเพียรชอบ)
สัมมสติ (ความระลึกชอบ)
สัมม
สมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ)

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใดอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่ง กรรม อย่างนี้
รู้ชัดซึ่ง นิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้
รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้
รู้ชัดซึ่ง วิบากแห่งกรรม อย่างนี้
รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธ อย่างนี้
รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ว่ เป็นเครื่องเจะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า

กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
วิบกแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
กัมมนิโรธ
เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
กัมมนิโรธคามินีปฏิปท เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ”
ดังนี้นั้นเราอาศัยความ ข้อนี้ กล่าวแล้ว.
ฉกฺก
. อํ. ๒๒/๔๕๘,๔๖๓-๔๖๔/๓๓๔.

)

ว่าด้วยเหตุเกิดของกรรม อย่าง

เหตุทั้งหลาย
ประกาเหล่านี้มีอยู่ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.
๓ ประการเหล่าไหนเล่า ? ๓ ประการ คือ
โลภะ (ความโลภ) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย
โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย
โมหะ (ความหลง) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเมล็ดพืชทั้งหลาย ที่ไม่แตกหัก ที่ไม่เน่า ที่ไม่ถูกทำลาย ด้วยลมและแดด เลือกเอาแต่เม็ดดีเก็บงำไว้ดี อันบุคคลหว่าน ไปแล้วในพื้นที่ซึ่งมี ปริกรรม อันกระทำาดีแล้ว ในเนื้อ นาดี.  อนึ่งสายฝนก็ตก ต้องตามฤดูกาล.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมล็ดพืชทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงถึงซึ่งความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ โดยแน่นอน ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น คือ

         กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะ เป็นสมุทัย อันใด กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ ทั้งหลาย อันเป็นที่ บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น. กรรมนั้นให้ผลในอัตต ภาพใด เขาย่อม เสวยวิบากแห่งกรรมนั้นใน อัตตภาพนั้นเอง
ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่างใน ทิฏฐธรรม (คือทันควัน)
หรือว่า เป็นไปอย่างใน อุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา)
หรือว่า เป็นไปอย่างใน อปรปริยายะ (คือใน เวลาต่อมาอีก) ก็ตาม

         กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโทสะ เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นสมุทัย อันใด กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่ บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น. กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อม เสวยวิบกแห่งกรรมนั้น ในอัตตภพนั้นเอง
ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่างใน ทิฏฐธรรม
หรือว่า เป็นไปอย่างใน อุปปัชชะ
หรือว่า เป็นไปอย่างใน อปรปริยายะ ก็ตาม

       กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโมหะ เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็น สมุทัย อันใด กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บัง เกิดแก่อัตตภาพของ บุคคลนั้น. กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อม เสวย วิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง
ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่างใน ทิฏฐธรรม
หรือว่า เป็นไปอย่างใน อุปปัชชะ
หรือว่า เป็นไปอย่างใน อปรปริยายะ ก็ตาม

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุทั้งหล ประก เหล่นี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้น แห่ง กรรมทั้งหลาย
ติก
. อํ. ๒๐/๑๗๑/๔๗๓.

)

ว่าด้วยเหตุเกิดของกรรม อย่าง (อีกนัยยะ)

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุ ประการนี้ เป็นไป เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่ง กรรม. เหตุ ๓ ประการ คืออะไรบ้างเล่า ? คือ
ความพอใจเกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่ง ฉันทราค (ความรักใคร่ พอใจ) ที่เป็นอดีต ๑
ความพอใจเกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่ง ฉันทราคะ ที่เป็นอนาคต ๑
ความพอใจเกิด เพราะปรารภธรรม ทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่ง ฉันทราคะ ที่เป็นปัจจุบัน ๑

ความพอใจเกิดเพราะ ปรารภธรรม ทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่ง ฉันทราคะ ที่เป็นอดีต เป็นอย่างไรเล่า ? คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรมอันเป็นฐานแห่ง ฉันทราคะที่ล่วงไปแล้ว เมื่อตรึกตรอง ตามไป ความพอใจ ก็เกิดขึ้น ผู้เกิด ความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้นผูกไว้ แล้ว เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์ (เครื่องผูก) ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็น ฐาน แห่งฉันทราคะ ที่เป็นอดีต เป็นอย่างนี้แล

ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่ง ฉันทราคะ ที่เป็นอนาคต เป็นอย่างไรเล่า ? คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรม อันเป็นฐาน แห่ง ฉันทราคะที่ยังไม่มาถึง เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจ ก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความ พอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้น ผูกไว้แล้ว เรากล่าวความติดใจ นั้น ว่าเป็นสังโยชน์ ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐาน แห่งฉันทราคะ ที่เป็น อนาคต เป็นอย่างนี้แล

ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่ง ฉันทราคะ ที่เป็น ปัจจุบัน เป็นอย่างไรเล่า ? คือบุคคลตรึกตรองถึงธรรม อันเป็นฐานแห่ง ฉันทราคะที่เกิดขึ้นจำเพะหน้า เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความ พอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูก ธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้ว เรากล่าวความ ติดใจนั้น ว่าเป็น สังโยชน์ ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็น ปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุ ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูล แห่งกรรม. ภิกษุทั้งหลาย ! (อีกอย่างหนึ่ง)  เหตุ ๓ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความ เกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม. เหตุ ๓ ประการ คืออะไรบ้างเล่า ? คือ
ความพอใจ
ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่ง
ฉันทราคะที่ เป็นอดีต ๑
ความพอใจ  ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่ง
ฉันทราคะที่ เป็นอนาคต ๑
ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่ง
ฉันทราคะที่ เป็นปัจจุบัน ๑

          ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ ที่เป็น อดีต เป็นอย่างไร ? คือบุคคลรู้ชัดซึ่ง วิบากอัน ยืดยาวของธรรม อันเป็น ฐาน แห่งฉันทราคะที่ล่วงไปแล้ว ครั้นรู้ชัดซึ่ง วิบากอันยืดยาวแล้วกลับใจ เสีย จาก เรื่องนั้น ครั้นกลับใจได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ความพอใจไม่เกิด เพราะปรารภธรรม ทั้งหลาย อันเป็นฐาน แห่งฉันทราคะที่เป็น อดีต เป็นอย่างนี้แล

          ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ ที่เป็น อนาคต เป็นอย่างไรเล่า ? คือบุคคลรู้ชัดซึ่ง วิบาก อันยืดยาวของธรรม อันเป็นฐานแห่ง ฉันทราคะที่ยังไม่มาถึง ครั้นรู้ชัด ซึ่งวิบากอันยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น ครั้นกลับใจได้แล้ว คลายใจ ออก ก็เห็นแจ้งแทง ตลอดด้วยปัญญา ความพอใจไม่เกิดเพราะ ปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็น ฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างนี้แล

          ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ ที่เป็น ปัจจุบัน เป็นอย่างไรเล่า ? คือบุคคลรู้ชัดซึ่ง วิบากอันยืดยาวของธรรม อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เกิดขึ้น จำเพาะหน้า ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบาก อันยืดยาว แล้วกลับใจเสียจากเรื่องนั้น ครั้น กลับใจ ได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้ง แทงตลอดด้วย ปัญญา ความพอใจไม่เกิด เพราะ ปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล

          ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุ ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้น พร้อมมูลแห่งกรรม
ติก. อํ. ๒๐/๓๓๙/๕๕๒.

)

สิ่งที่ไม่ควรคิด

อจินไตย


ภิกษุทั้งหลาย ! อจินไตย ๔ อย่างนี้ไม่ควรคิด ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความ เป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า. อจินไตย คืออะไรบ้างเล่า ? คือ
          ๑. พุทธวิสัยแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะพึงมีส่วนแห่ง ความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า
          ๒. ฌานวิสัยแห่งผู้ได้ฌาน เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะพึงมีส่วนแห่ง ความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า
          ๓. วิบากแห่งกรรม เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะพึงมีส่วนแห่ง ความเป็นบ้า ได้รับความลำาบากเปล่า.
          ๔. โลกจินดา (ความคิดในเรื่องของโลก) เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะพึงมีส่วนแห่ง ความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล อจินไตย ๔ ไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะพึงมีส่วนแห่งความ เป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า



ประเภทของกรรม
)

แบ่งตามการกระทำและผลที่ได้รับ

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรม อย่างเหล่านี้ เรากระทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่ง เองแล้ว ประกาศให้รู้ทั่วกัน

กรรม ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมดำ มีวิบากดำ ก็มีอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมขาว มีวิบากขาว ก็มีอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบาก ทั้งดำทั้งขาว ก็มีอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบาก ไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความ สิ้นกรรม ก็มีอยู่

          ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมดำ มีวิบากดำ เป็นอย่างไร เล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
ย่อมทำความปรุงแต่ง ทางกาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมทำความปรุงแต่ง ทางวาจา อันเป็นไปกับด้วยความ เบียดเบียน
ย่อมทำาความปรุงแต่ง ทางใจ อันเป็นไปกับ ด้วยความเบียดเบียน
           ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง (ทั้งสาม) ดังนี้แล้ว ย่อมเข้า ถึงโลก อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ผัสสะทั้งหลาย อันเป็นไป กับด้วย ความเบียดเบียน ย่อมถูกต้อง เขาซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลก อันเป็นไปด้วยความเบียด เบียน
           เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ถูกต้องแล้ว ย่อม เสวยเวทนา ที่เป็นไปด้วยความเบียดเบียน อันเป็น ทุกข์ โดยส่วนเดียว ดังเช่นพวกสัตว์นรก
          ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ

          ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมขาว มีวิบากขาว เป็น อย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
ย่อมทำความปรุงแต่ง ทางกาย อันไม่เป็นไป กับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมทำความปรุงแต่ง ทางวาจา อันไม่เป็นไปกับด้วยความ เบียดเบียน
ย่อมทำความปรุงแต่ง ทางใจ อันไม่เป็นไป กับด้วยความเบียดเบียน

           ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง (ทั้งสาม) ดังนี้แล้วย่อมเข้าถึงโลก อันไม่เป็น ไป กับด้วยความ เบียดเบียน ผัสสะทั้งหลายที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียด เบียน ย่อม ถูกต้องเขาผู้เข้า ถึงโลกอันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
          ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมขาว มีวิบากขาว

          ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบาก ทั้งดำทั้งขาว เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคน ในกรณีนี้
ย่อมทำความปรุงแต่ง ทางกาย
อันเป็นไป กับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียน บ้าง
ย่อมทำความปรุงแต่ง ทางวาจา อันเป็นไปกับด้วยความ เบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียด เบียนบ้าง
ย่อมทำความปรุงแต่ง ทางใจ อันเป็นไป กับด้วยความ เบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง

           ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง (ทั้งสาม) ดังนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลก อันเป็นไป กับด้วยความ เบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง

ผัสสะทั้งหลาย
ที่เป็นไปกับด้วย ความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความ เบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงโลก อันเป็นไปกับด้วยความ เบียดเบียน บ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง เขาอันผัสสะที่เป็นไป กับด้วยความ เบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไป ด้วยความเบียด เบียนบ้างถูกต้องแล้ว ย่อมเสวย เวทนา ที่เป็นไปกับด้วยความ เบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วย ความเบียดเบียน บ้าง อันเป็นเวทนาที่เป็นสุข และ ทุกข์เจือกัน ดังเช่นพวกมนุษย์พวกเทพ บางพวก  พวกวินิบาต บางพวก
          ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว  มีวิบากทั้งดำทั้งขาว

          ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? คือ
สัมมาทิฏฐิ
(ความเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปปะ
(ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ
(ความพากเพียรชอบ)
สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
สัมมาสมาธิ
(ความตั้งใจมั่นชอบ)

          ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่ากรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาวเป็นไปเพื่อความ สิ้นกรรม. ภิกษุทั้งหลาย ! . ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล กรรม อย่าง ที่เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้รู้ทั่วกัน.
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๒๐-๓๒๑/๒๓๗.

(ในสูตรนี้ ทรงแสดงกรรมไม่ดำไม่ขาว เป็นที่สิ้นกรรมไว้ด้วย อริยมรรค มีองค์แปด ในสูตรอื่นทรงแสดงไว้ด้วย โพชฌงค์เจ็ด ก็มี๒๑/๓๒๒/๒๓๘. แสดงไว้ด้วยเจตนา เป็นเครื่องละกรรมดำ กรรมขาว และ กรรมทั้งดำทั้งขาว ก็มี ๒๑/๓๑๘/๒๓๔.).


)

อะไรคือกรรมเก่าและกรรมใหม่

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่งกรรมทั้งหลาย ทั้งใหม่และเก่า (นวปุราณกัมม) กัมมนิโรธ  และ กัมมนิโรธ­คามินีปฏิปทา. ....

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !

จักษุ
(ตา) .... โสตะ (หู) .... ฆานะ (จมูก) .... ชิวหา (ลิ้น) .... กายะ (กาย) .... มนะ (ใจ) อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า) อภิสังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น) อภิสัญเจตยิตะ (อันปัจจัย ทำาให้เกิดความรู้สึกขึ้น) เวทนียะ (มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้)

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่ากรรมเก่

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมใหม่ (นวกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลกระทำากรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในกาลบัดนี้อันใด อันนี้เรียกว่ากรรมใหม่

ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลถูกต้องวิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันใด อันนี้เรียกว่า กัมมนิโรธ

ภิกษุทั้งหลาย ! กั ม ม นิ โ ร ธ คา มิ นี ป ฏิ ป ทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทานั้น คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปปะ
(ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา
(การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ
(การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ
(ความพากเพียรชอบ)
สัมมาสติ
(ความระลึกชอบ)
สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ)

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่ากัมมนิโรธคามินี-ปฏิปทา

ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยประการดังนี้แล (เป็นอันว่า) กรรมเก่า เราได้แสดงแล้ว แก่เธอ ทั้งหลาย กรรมใหม่ เราก็แสดงแล้ว กัมมนิโรธ เราก็ได้แสดงแล้ว กัมมนิโรธคามินี ปฏิปทา เราก็ได้แสดงแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลอาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลายกิจนั้น เราได้ทำแล้ว แก่พวกเธอ

ภิกษุทั้งหลาย ! นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง พวกเธอจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ ประมาท อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลยนี่แล เป็นวาจาเครื่อง พร่ำสอน ของเรา แก่เธอทั้งหลาย
สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖/๒๒๗-๒๓๑.

)

กายนี้ เป็น “กรรมเก่า”

ภิกษุทั้งหลาย ! กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และทั้งไม่ใช่ของบุคคล เหล่าอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมเก่า (กาย) นี้อันเธอ ทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ปัจจัย ปรุงแต่งขึ้น (อภิสงฺขต) เป็นสิ่งที่ปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น (อภิสญฺเจตยิต) เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ (เวทนีย)

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีของกายนั้น อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทำไว้ในใจ โดยแยบคายเป็นอย่างดีซึ่ง ปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว ดังนี้ว่า “ ด้วยอาการอย่างนี้
เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป

ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ

    เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
    เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย  จึงมีนามรูป
    เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย  จึงมีสฬายตนะ
    เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย  จึงมีผัสสะ
    เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย  จึงมีเวทนา
    เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย  จึงมีตัณหา
    เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย  จึงมีอุปาทาน
    เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย  จึงมีภพ
    เพราะมีภพเป็นปัจจัย  จึงมีชาติ
    เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส
    อุปายาส ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
    ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

    เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่ง อวิชชานั้น นั่นเทียว
    จึงมีความดับแห่ง สังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร
    จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ... ฯลฯ ... ฯลฯ ... ฯลฯ ...
    เพราะมีความดับ แห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
    ทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น
    ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้” ดังนี้ แล.
          นิทาน. สํ. ๑๖/๗๗/๑๔๓.

)

การทำกรรมทางใดมีโทษมากที่สุด

ทีฆตปัสสีนิครนถ์ ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม! พระองค์ เล่า ย่อมบัญญัติทัณฑะในการทำบาปกรรมในการเป็นไปแห่งบาปกรรมไว้เท่าไร ?

ทีฆตปัสสี ! ตถาคตจะบัญญัติว่ากรรมๆ ดังนี้ เป็นอาจิณ

ท่านพระโคดม! ก็พระองค์ย่อมบัญญัติกรรมในการทำบาปกรรมในการเป็นไป แห่งบาปกรรมไว้เท่าไร ?

ทีฆตปัสสี ! เราย่อมบัญญัติกรรม ในการทำปกรรม ในการเป็นไปแห่ง บาปกรรมไว้ ประการ คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

ท่านพระโคดม
! ก็กายกรรมอย่างหนึ่ง วจีกรรมอย่างหนึ่ง มโนกรรมอย่างหนึ่งมิใช่หรือ ? ทีฆตปัสสี! กายกรรมอย่างหนึ่ง วจีกรรม อย่างหนึ่ง มโนกรรมอย่างหนึ่ง

ท่านพระโคดม! ก็บรรดากรรมทั้ง๓ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็นส่วนละอย่าง ต่างกันเหล่านี้ กรรมไหนคือกายกรรมวจีกรรม หรือมโนกรรมที่พระองค์บัญญัติ ว่ามีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรมในการเป็นไปแห่งบาปกรรม ?

ทีฆตปัสสี ! บรรดากรรมทั้ง
ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็น ส่วนละอย่าง ต่างกันเหล่านี้

เราบัญญัติ
มโนกรรม ว่ามีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็น ไปแห่งบาปกรรม เราจะบัญญัติ กายกรรม วจีกรรม ว่ามีโทษมาก เหมือนมโนกรรม หามิได้

ท่านพระโคดม ! พระองค์ตรัสว่า มโนกรรม หรือ ?
ทีฆตปัสสี ! เรากล่าวว่า มโนกรรม

ท่านพระโคดม ! พระองค์ตรัสว่า มโนกรรม หรือ ?
ทีฆตปัสสี ! เรากล่าวว่า มโนกรรม

ท่านพระโคดม ! พระองค์ตรัสว่า มโนกรรมหรือ ?

ทีฆตปัสสี ! เรากล่าวว่า มโนกรรม

ทีฆตปัสสีนิครนถ์ให้พระผู้มีพระภาคทรงยืนยัน ในเรื่องที่ตรัสนี้ถึง ๓ ครั้ง ด้วยประการฉะนี้ แล้วลุกจาก อาสนะเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่.

(จากนั้นได้มี อุบาลีคหบดี เข้ามาเพื่อสนทนาในเรื่องนี้ ต่อจาก ฑีฆตปัสสี นิครณถ์ โดยยังมีความเห็นว่า กรรมทางกายมีโทษ มากกว่ากรรมทางใจ และ พระผู้มี พระภาคได้ยกอุปมา เพื่อให้เห็น เปรียบเทียบได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้)

คหบดี! ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นอย่างไร

ในบ้านนาลันทานี้ พึงมีบุรุษคนหนึ่งเงื้อดาบมา เขาพึง กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทำ สัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้อ อันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่ง

คหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร บุรุษนั้นจะสามารถทำสัตว์ เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียว กัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่งได้หรือ ?

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
! บุรุษ ๑๐ คนก็ดี ๒๐ คนก็ดี ๓๐ คนก็ดี ๔๐ คนก็ดี ๕๐ คนก็ดีไม่สามารถจะทำสัตว์ เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้อ อันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่งได้พระเจ้าข้าบุรุษผู้ต่ำทรามคนเดียว จะเก่งกาจอะไรกันเล่า

          คหบดี! ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นอย่างไร สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ชำานาญในทางจิต พึงมาในบ้านนาลันทานี้ สมณะ หรือพราหมณ์ นั้น พึงกล่าว อย่างนี้ว่าเราจักทำบ้านนาลันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยใจคิด ประทุษ ร้ายครั้งเดียว. คหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นอย่างไร สมณะหรือ พราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็น ผู้ชำนาญในทางจิตนั้น จะสามารถทำบ้าน นาลันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยใจคิดประทุษร้ายครั้งเดียวได้หรือไม่หนอ ?

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บ้านนาลันทา ๑๐ บ้านก็ดี ๒๐ บ้านก็ดี ๓๐ บ้านก็ดี ๔๐ บ้านก็ดี ๕๐ บ้านก็ดี สมณะหรือ พราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ ชำนาญในทางจิตนั้น ยังสามารถ ทำให้เป็นเถ้าได้ด้วยใจคิดประทุษร้ายครั้งเดียว แล้วบ้านนาลันทา ที่ทรุดโทรมหลังเดียวคณาอะไรเล่า


           คหบดี! ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้วจงพยากรณ์ คำหลังกับคำก่อน ก็ดี  คำก่อนกับคำหลังก็ดี ของท่าน ไม่ต่อกันเลย...


หลักการพิจารณาว่ากรรมชนิดนั้น ควรทำหรือไม่

)

เมื่อจะกระทำ

ราหุล ! เธอใคร่จะทำกรรมใดด้วยกาย พึง พิจารณากรรมนั้นเสียก่อนว่า “กายกรรมที่เราใคร่จะ กระทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เบียดเบียน ผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ” ดังนี้

ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนั้นไซร้ เธอไม่พึงกระทำกายกรรม ชนิดนั้นโดยถ่ายเดียว

ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนี้ว่า “กายกรรมที่เราใคร่จะกระทำนี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน ตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไป เพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมอันเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก” ดังนี้

ราหุล ! เธอพึงกระทำากายกรรมชนิดนั้น

๑๐)

เมื่อกระทำอยู่

ราหุล ! เมื่อเธอกระทำกรรมใด ด้วยกายอยู่ พึงพิจารณากรรมนั้นว่า กายกรรมที่เรากำลังกระทำอยู่นี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เบียดเบียน ผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ” ดังนี้

ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนั้นไซร้ เธอพึงเลิกละกายกรรมชนิดนั้นเสีย

ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนี้ว่า “กายกรรมที่เรากำลังกระทำอยู่นี้ ไม่เป็น ไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อ เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรม อันเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็น วิบาก” ดังนี้

ราหุล ! เธอพึงเร่งการกระทำกายกรรมชนิดนั้น

๑๑)

เมื่อกระทำแล้ว

ราหุล ! เมื่อกระทำกรรมใดด้วยกายแล้ว พึงพิจารณากรรมนั้นว่า

“กายกรรมที่เรากระทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เบียดเบียนผู้อื่น บ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ” ดังนี้

ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนั้นไซร้ เธอพึงแสดง พึงเปิดเผย พึงกระทำ ให้เป็นของหงาย ซึ่งกายกรรมนั้น ในพระศาสดา หรือในเพื่อนสพรหมจารี ผู้เป็น วิญญูชนทั้งหลาย ครั้นแสดง ครั้นเปิดเผย ครั้นกระทำ ให้เป็นของหงายแล้ว พึงถึงซึ่งความระวังสังวรต่อไป

ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนี้ว่า “กายกรรมที่เรากระทำแล้วนี้ ไม่เป็นไป เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้า ไม่เป็นไปเพื่อ เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมอันเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็น วิบาก” ดังนี้

ราหุล ! เธอพึงอยู่ด้วยปีติ และ ปราโมทย์ ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ทั้งกลางวัน และ กลางคืนเถิด
(ในส่วนของวจีกรรมและมโนกรรม ก็ทรงตรัสในทำนองเดียวกัน).



ข้อควรทราบ เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด เกี่ยวกับเรื่องกรรม

๑๒)

การพยากรณ์บุคคลอื่น ทำได้หรือไม่

อานนท์ ! ... เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคล ใครเล่าจะพึงรู้เหตุ นั้นได้ นอกจากตถาคต

อานนท์ ! เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณใน บุคคล  และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคล ได้

๑๓)

ทุกข์เกิดเพราะมีเหตุปัจจัย

อานนท์! คราวหนึ่งเราอยู่ที่ป่าไผ่  เป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต ใกล้กรุงราชคฤห์ นี่แหละ, ครั้งนั้น เวลาเช้า เราครองจีวรถือบาตร เพื่อไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ คิดขึ้นมาว่า ยังเช้าเกินไปสำหรับการบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ถ้าไฉน เราเข้าไป สู่อารามของ ปริพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่น เถิด

เราได้เข้าไปสู่อารามของปริพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่นกระทำสัมโมทนียกถา แก่กันและกัน นั่งลง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง

อานนท์! ปริพาชกเหล่านั้น ได้กล่าวกะเรา ผู้นั่งแล้ว อย่างนี้ว่า

“ท่านโคตมะ ! มีสมณพราหมณ์บางพวก ที่กล่าวสอน เรื่องกรรม ย่อมบัญญัติ ความ ทุกข์ว่า เป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเอง,  มีสมณพราหมณ์อีกบางพวก ที่กล่าวสอน เรื่องกรรม ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้, มีสมณ พราหมณ์อีกบางพวก ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า ไม่ใช่ ทำเองหรือใครทำให้ ก็เกิดขึ้น ได้

ในเรื่องนี้ ท่านโคตมะของพวกเรา กล่าวสอน
อยู่อย่างไร? และพวกเรากล่าว อยู่อย่างไร?

จึงจะเป็นอันกล่าวตามคำ ที่ท่านโคตมะกล่าวแล้ว, ไม่เป็นการกล่าวตู่ด้วยคำ ไม่จริง แต่เป็นการกล่าว โดยถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม จะไม่ พลอยกลายเป็น ผู้ควรถูกติเตียนไปด้วย ?” ดังนี้


อานนท์! เราได้กล่าวกะปริพาชกทั้งหลาย เหล่านั้นว่า ปริพาชกทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า ทุกข์อาศัยเหตุปัจจัย (ของมันเอง เป็นลำดับๆ) เกิดขึ้น

มันอาศัยเหตุปัจจัยอะไรเล่า ? อาศัยปัจจัยคือ ผัสสะ. ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่ากล่าวตรงตามที่เรากล่าว

๑๔)

ทาง ๒ สายที่ไม่ควรเดิน

ภิกษุทั้งหลาย ! มีสิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่ง (อนฺตา) อยู่ ๒ อย่าง ที่บรรพชิต ไม่ควร ข้องแวะด้วย

สิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งนั้นคืออะไร ? คือ

(๑) การประกอบตนพัวพันอยู่ ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย
(กามสุขัลลิกานุโยค) อันเป็นการกระทำ ที่ยังต่ำเป็นของชาวบ้าน เป็นของชั้น บุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน และ

(๒) การประกอบความเพียร ในการทรมานตนให้ลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค) อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อย่างนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ไม่ดิ่งไปหา สิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติ ทำให้เกิด จักษุเป็นข้อปฏิบัติ ทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ อันยิ่งเพื่อความ ตรัสรู้พร้อมเพื่อนิพพาน

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่งสอง ย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง นั้นคือ ข้อปฏิบัติ อันเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบอยู่ด้วยองค์แปดประการ นี่เอง

แปดประการ คืออะไรเล่า ? คือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ  สัมมาสมาธิ


๑๕)

บาปกรรมเก่า ไม่อาจสิ้นได้ ด้วยการทรมานตนเอง

มหานาม ! คราวหนึ่ง เราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้นครราชคฤห์ ครั้งนั้นพวก นิครนถ์ เป็นอันมาก ประพฤติวัตร ยืนอย่างเดียว งดการนั่ง อยู่ ณ ที่กาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ ต่างประกอบความเพียรแรง กล้าเสวยเวทนา อันเป็นทุกข์กล้ าแข็งแสบเผ็ด

มหานาม ! ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น เราออกจากที่เร้นแล้ว ไปสู่กาฬสิลา ข้างภูเขา อิสิคิลิ อันพวกนิครนถ์ประพฤติวัตรอยู่ ได้กล่าวกะ พวกนิครนถ์เหล่านั้นว่า

“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลาย ! เพราะอะไรหนอ พวกท่านทั้งหลาย จึงประพฤติ ยืน ไม่นั่ง ประกอบความเพียรได้รับเวทนาอันเป็นทุกข์ กล้าแข็งแสบเผ็ด ?” ดังนี้

มหานาม ! นิครนถ์เหล่านั้น ได้กล่าวกะเราว่า

ท่านผู้มีอายุ ! ท่านนิครนถนาฏบุตรเป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวงเห็นสิ่งทั้งปวง ได้ยืนยัน ญาณทัสสนะของตนเอง โดยไม่มี การยกเว้นว่าเมื่อเรา เดินอยู่ยืนอยู่หลับอยู่ ตื่นอยู่ ก็ตาม ญาณทัสสนะของเรา ย่อมปรากฏติดต่อกันไม่ขาดสาย” ดังนี้

ท่านนิครนถนาฏบุตรนั้นกล่าวไว้อย่างนี้ว่า

“นิครนถ์ผู้เจริญ ! บาปกรรมในกาลก่อนที่ได้ทำไว้มีอยู่แล พวกท่านจงทำลาย กรรม นั้นให้สิ้นไปด้วยทุกรกิริยาอันแสบเผ็ดนี้ อนึ่งเพราะการสำรวม กายวาจาใจ ในบัดนี้ ย่อมชื่อว่า ไม่ได้กระทำกรรมอันเป็นบาปอีกต่อไป เพราะการเผาผลาญ กรรมเก่าไม่มีเหลือ และเพราะการไม่กระทำกรรมใหม่ กรรมต่อไป ก็ขาดสาย เพราะกรรมขาดสายก็สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรมก็สิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ ก็สิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งหมดก็เหือดแห้งไป ดังนี้. คำสอนของท่าน นาฏบุตร นั้นเป็นที่ชอบใจและควรแก่เรา และพวกเรา ก็เป็นผู้พอใจ ต่อคำสอนนั้นด้วย” ดังนี้


มหานาม ! เราได้กล่าวคำนี้กะนิครนถ์เหล่านั้น สืบไปว่า

“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลาย รู้อยู่หรือ ว่าพวกเราทั้งหลาย ได้มีแล้วในกาลก่อน หรือว่ามิได้มี ?
“ไม่ทราบเลยท่าน !”

“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลาย รู้อยู่หรือว่าพวกเราทั้งหลาย ได้ทำกรรมที่เป็นบาปแล้วในกาลก่อน หรือว่าพวกเราไม่ได้ทำแล้ว ?”
“ไม่ทราบเลยท่าน !”

“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลาย! ท่านทั้งหลาย รู้อยู่หรือว่าพวกเราทั้งหลายได้ ทำกรรมที่ เป็นบาปอย่างนี้ๆในกาล ก่อน?”
“ไม่ทราบเลยท่าน !”

“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลาย! ท่านทั้งหลาย รู้อยู่หรือว่า (ตั้งแต่ทำตบะมา) ทุกข์มีจำนวนเท่านี้ๆ ได้สิ้นไปแล้ว และจำนวนเท่านี้ ๆจะสิ้นไปอีก หรือว่า ถ้าทุกข์สิ้นไปอีกจำนวน เท่านี้ ทุกข์ก็จักไม่มีเหลือ ?”
“ไม่ทราบได้เลยท่าน !”

“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลาย รู้อยู่หรือว่า อะไรเป็นการละเสีย ซึ่งสิ่งอัน เป็นอกุศล และ ทำสิ่งที่ เป็นกุศลให้เกิดขึ้นได้ในภพปัจจุบันนี้?”
“ไม่เข้าใจเลยท่าน !

มหานาม ! เราได้กล่าวคำนี้ กะนิครนถ์เหล่านั้น สืบไปว่า

“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลาย ! ดังได้ฟังแล้วว่า ท่านทั้งหลาย ไม่รู้อยู่ ว่าเรา ทั้งหลายได้ มีแล้วในกาลก่อน หรือไม่ได้มีแล้วในกาลก่อน ...ฯลฯ. อะไรเป็นการ ละเสีย ซึ่งสิ่งอัน เป็นอกุศลแล้ว และทำสิ่งที่เป็นกุศลให้เกิดขึ้นได้ในภพ ปัจจุบันนี้ ครั้นเมื่อไม่รู้อย่างนี้แล้ว (น่าจะเห็นว่า) ชนทั้งหลายเหล่าใดในโลก ที่เป็นพวกพราน มีฝ่ามือคร่ำไปด้วยโลหิต มีการงานอย่างกักขฬะ ภายหลังมาเกิด เป็นมนุษย์แล้ว ย่อมบรรพชาในพวกนิครนถ์ทั้งหลาย ละกระมัง ?”

๑๖)

สุข-ทุกข์ ที่ได้รับ ไม่ใช่ผลของ กรรมเก่า อย่างเดียว

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวกะพวกนิครนถ์นั้น ต่อไปอีกอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เป็น นิครนถ์ ทั้งหลาย ! พวกท่านจะ สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

สมัยใดพวกท่านมีความพยายามแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้นพวกท่าน ย่อม เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า แต่สมัยใดพวกท่าน ไม่มีความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านย่อม ไม่เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ ความพยายาม แรงกล้า”

พวกนิครนถ์รับว่า “พระโคดมผู้มีอายุ! สมัยใด พวกข้าพเจ้ามีความพยายาม แรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกข้าพเจ้าย่อมเสวย เวทนาอันเป็น ทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความ พยายามแรงกล้า  สมัยใด พวกข้าพเจ้า ไม่มีความพยายามแรงกล้า สมัยนั้น พวกข้าพเจ้าย่อมไม่เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความ พยายามแรงกล้า”

“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลาย ! เท่าที่พูดกันมานี้เป็นอันว่า สมัยใด พวกท่าน มีความ พยายามแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้นพวกท่านย่อมเสวยเวทนา อันเป็นทุกข์ กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ ความพยายามแรงกล้า แต่สมัยใด พวกท่าน ไม่มีความพยายาม แรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้นพวกท่าน ย่อมไม่เสวยเวทนา อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า

เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ไม่เป็นการสมควรแก่ท่าน ผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลายที่จะกล่าวว่า บุคคลเรา นี้ ย่อมเสวยเวทนาอย่างใด อย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ทั้งหมดนั้น
เป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในกาลก่อน
และว่าเพราะหมดกรรมเก่า ด้วยตบะ และ
เพราะการไม่ทำกรรมใหม่ กระแสแห่งกรรมต่อไปก็ไม่มี

เพราะกระแสแห่ง กรรมต่อไปไม่มีก็สิ้นทุกข์
เพราะสิ้นทุกข์ ก็สิ้นเวทนา
เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงก็สูญ สิ้นไป ดังนี้”


“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลาย! ถ้าสมัยใด พวกท่าน มีความพยายามแรงกล้า มีความเพียร แรงกล้า สมัยนั้น เวทนาอันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบ อันเกิดแต่ ความเพียร พยายามนั้น ก็ยัง ตั้งอยู่ แม้เมื่อใด พวกท่านไม่มีความ พยายาม แรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายาม พึงหยุดได้เอง

เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกนิครนถ์ผู้มีอายุก็ควรกล่าวได้ว่า บุคคลเรานี้ย่อมเสวยเวทนา อย่างใด อย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดีเป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ทั้งหมดนั้น
เป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในกาลก่อน หมดกรรมเก่า ด้วยตบะ และ
เพราะการไม่ทำกรรมใหม่ กระแสแห่งกรรมต่อไปก็ไม่มี
เพราะกระแสแห่งกรรม ต่อไปไม่มี ก็สิ้นกรรม
เพราะสิ้นกรรม ก็สิ้นทุกข์
เพราะสิ้นทุกข์ ก็สิ้นเวทนา
เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงก็สูญสิ้นไป ดังนี้”


“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลาย ! ก็เพราะเหตุที่ สมัยใด พวกท่านมีความพยายาม แรงกล้า มีความเพียร แรงกล้า สมัยนั้นพวกท่านจึงเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า แต่สมัยใด พวกท่านไม่มีความ พยายาม แรงกล้า ไม่มีความเพียร แรงกล้า

สมัยนั้นพวกท่านจึงไม่เสวยเวทนาอันเป็น ทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความ พยายาม แรงกล้า พวกท่านนั้นเสวยเวทนา อันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบ อันเกิดแต่ ความเพียรเอง ทีเดียว  ย่อมเชื่อผิดไป เพราะ อวิชชา คือความไม่รู้เพราะความ หลงว่า บุคคลเรานี้ย่อม เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง  เป็นสุขก็ดีเป็น ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้น ทั้งหมด เป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในกาลก่อน 
และว่าเพราะ หมดกรรมเก่าด้วยตบะ  
และเพราะไม่ทำกรรมใหม่ กระแสแห่งกรรมต่อไปก็ไม่มี
เพราะกระแสแห่งกรรม ต่อไปไม่มีก็สิ้นกรรม  
เพราะสิ้นกรรม ก็สิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ ก็สิ้นเวทนา
เพราะสิ้นเวทนา  ทุกข์ทั้งปวง ก็สูญสิ้นไป ดังนี้”


ภิกษุทั้งหลาย ! เรามีถ้อยคำและความเห็น แม้อย่างนี้แล จึงไม่เล็งเห็นการ โต้ตอบ ถ้อยคำาและ ความเห็นอันชอบด้วยเหตุอะไรๆ ในพวกนิครนถ์

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวกะพวกนิครนถ์นั้น ต่อไปอีกอย่างนี้ว่า

“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลาย ! พวกท่านจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน พวกท่าน จะพึง ปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผลในปัจจุบัน ขอกรรมนั้น จงเป็นของให้ผล ในอนาคต ด้วยความพยายามหรือ ด้วยความเพียรเถิด”
พวกนิครนถ์นั้นกล่าวว่า
“ท่านผู้มีอายุ ! ข้อนี้หามิได้เลย”

“และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผลในอนาคต ขอกรรม นั้นจงเป็นของให้ผลในปัจจุบัน ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรเถิด”
ท่านผู้มีอายุ ! ข้อนี้หามิได้เลย”

“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลาย ! พวกท่านจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน พวกท่าน จะพึง ปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผลเป็นสุข ขอกรรมนั้นจงเป็น ของให้ผล เป็นทุกข์ ด้วยความพยายามหรือด้วย ความเพียรเถิด”
ท่านผู้มีอายุ ! ข้อนี้หามิได้เลย”

“และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผลเป็นทุกข์ ของกรรม นั้นจงเป็นของให้ผล เป็นสุข ด้วยความพยายามหรือ ด้วยความเพียรเถิด”
“ท่านผู้มีอายุ ! ข้อนี้หามิได้เลย”.

“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลาย ! พวกท่านจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน พวกท่านจะพึง ปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว ขอกรรมนั้นอย่าพึงให้ผล เสร็จสิ้น ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด”.
“ท่านผู้มีอายุ ! ข้อนี้หามิได้เลย”

“และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผลยังไม่เสร็จสิ้น ขอกรรมนั้นจงเป็นของ ให้ผลเสร็จสิ้น ด้วยความพยายามหรือด้วย ความเพียรเถิด”
“ท่านผู้มีอายุ ! ข้อนี้หามิได้เลย”

“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลาย ! พวกท่านจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน พวกท่าน จะพึง ปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผลมาก ขอกรรมนั้นจงเป็นของ ให้ผลน้อย ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด”
“ท่านผู้มีอายุ ! ข้อนี้หามิได้เลย”

“และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผลน้อย ขอกรรมนั้นจง เป็นของให้ผลมาก ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด”

ท่านผู้มีอายุ ! ข้อนี้หามิได้เลย”

“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลาย ! พวกท่านจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน พวกท่าน จะพึง ปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผล ขอกรรมนั้นจงเป็นของ อย่าให้ผล ด้วย ความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด”
“ท่านผู้มีอายุ ! ข้อนี้หามิได้เลย”

“และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของไม่ให้ผล ขอกรรมนั้น จงเป็นของให้ผล ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด”
ท่านผู้มีอายุ ! ข้อนี้หามิได้เลย”

“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลาย!เท่าที่พูดกันมานี้เป็นอันว่า พวกท่านจะพึงปรารถนา ไม่ได้ ดังนี้
ว่ากรรมใด เป็นของให้ผลในปัจจุบัน ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผล ในอนาคต ... ว่ากรรมใดเป็นของให้ผลในอนาคต ขอกรรมนั้น จงเป็นของให้ผลในปัจจุบัน ... ว่ากรรมใดเป็นของให้ผลเป็นสุข ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลเป็นทุกข์ ... ว่ากรรมใดเป็น ของให้ผลเป็นทุกข์ ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลเป็นสุข ... ว่ากรรมใดเป็นของให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว ขอกรรมนั้นอย่าพึงให้ผลเสร็จ ... ว่ากรรมใดเป็นของให้ผลยังไม่เสร็จสิ้น ขอกรรมนั้น จงเป็นของให้ผลเสร็จสิ้น ... ว่ากรรมใดเป็นของให้ผลมาก ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลน้อย ...
ว่ากรรมใดเป็นของให้ผลน้อย ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลมาก ...
ว่ากรรมใดเป็นของให้ผล ขอกรรมนั้นจงเป็นของอย่าให้ผล ...
ว่ากรรมใดเป็นของไม่ให้ผล ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผล ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรเถิด

เมื่อเป็นเช่นนี้ ความพยายามของ พวกนิครนถ์ผู้มีอายุก็ไร้ผล ความเพียร ก็ไร้ผล”

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกนิครนถ์มีถ้อยคำ และ ความเห็นอย่างนี้ การกล่าวก่อนและ การ กล่าวตาม ๑๐ ประการอันชอบด้วยเหตุของพวกนิครนถ์ ผู้มีถ้อยคำ และ ความเห็น อย่างนี้ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุ แห่งกรรมที่ตน ทำไว้ในก่อน พวกนิครนถ์ต้อง เป็นผู้ทำกรรมชั่วไว้ก่อนแน่ ในบัดนี้พวกเขาจึงได้ เสวยเวทนาอันเป็น ทุกข์กล้า เจ็บแสบ เห็นปานนี้

ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวย สุขและทุกข์ เพราะเหตุที่อิศวร เนรมิตให้ พวกนิครนถ์ ต้องเป็น ผู้ถูกอิศวรชั้นเลวเนรมิตมาแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้ เสวย เวทนา อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ เห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อม เสวยสุขและทุกข์

เพราะเหตุที่มีความบังเอิญ พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้มีความบังเอิญชั่วแน่ ในบัดนี้ พวกเขา จึงได้เสวย เวทนาอันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบ เห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งอภิชาติ พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้มี อภิชาติ เลวแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้ เสวย เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ เห็นปานนี้

ถ้าหมู่สัตว์ย่อม เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน พวกนิครนถ์ ต้องเป็นผู้มีความพยายามใน ปัจจุบันเลวแน่ในบัดนี้ พวกเขาจึง ได้เสวยเวทนาอันเป็น ทุกข์กล้าเจ็บแสบ เห็นปานนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรม ที่ตน ทำไว้ในก่อน พวกนิครนถ์ต้อง น่าตำหนิถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตน ทำไว้ในกาลก่อน พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ ย่อมเสวยสุข และทุกข์ เพราะ เหตุที่อิศวรเนรมิตให้ พวกนิครนถ์ ต้องน่า ตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่อิศวรเนรมิต ให้พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่มี ความบังเอิญ พวกนิครนถ์

ต้องน่าตำหนิถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุที่มีความบังเอิญ พวกนิครนถ์ ก็ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่ง อภิชาติ พวกนิครนถ์ ต้องน่าตำหนิถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุข และทุกข์เพราะเหตุ แห่งอภิชาติ พวกนิครนถ์ก็ ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน พวกนิครนถ์ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งความ พยายามในปัจจุบัน พวกนิครนถ์ ก็ต้องน่าตำหนิ

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกนิครนถ์มีถ้อยคำ และ ความเห็นอย่างนี้การกล่าวก่อน และการ กล่าวตาม ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของพวกนิครนถ์ ผู้มีถ้อยคำ และความเห็น อย่างนี้ ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิ

ภิกษุทั้งหลาย ! ความพยายามไร้ผล ความเพียร ไร้ผล อย่างนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อย่างไร ความพยายามจึง จะมีผล ความเพียรจึงจะมีผล

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
.. ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ทับถม ๑
.. ไม่สละความสุขที่เกิดโดยธรรม ๑
.. ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในความสุขนั้น ๑

เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ถึงเรานี้จักยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อเริ่มตั้งความเพียร วิราคะ ย่อมมีได้

อนึ่ง ถึงเรานี้จะยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อวางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะ ก็ย่อมมีได้ เธอนั้นจึงเริ่มตั้งความเพียร และบำเพ็ญอุเบกขาอยู่ ด้วยการทำเช่นนี้ ทุกข์นั้น ก็เป็นอัน เธอสลัดได้แล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง
ภิกษุพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า

เมื่อเราอยู่ตามสบาย
อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อม
แต่เมื่อเราดำรงตนอยู่ในความลำบาก
อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง

อย่ากระนั้นเลย เราพึงดำรงตนอยู่ในความลำบากเถิด
เธอนั้นจึงดำรงตนอยู่ในความลำบาก

เมื่อเธอดำรงตนอยู่ในความลำบากอยู่
อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง
สมัยต่อมาเธอไม่ต้องดำรงตนอยู่ในความลำบากอีก

เพราะเหตุว่าประโยชน์ที่เธอหวังนั้น สำเร็จแล้วตามที่เธอประสงค์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล แม้อย่างนี้