เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ             

  เดรัจฉานวิชา พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
    01 of 4  
 
  ดรัจฉานวิชา พุทธวจน หน้า  
    คำอนุโมทนา a01  
    อักษรย่อ a02  
    คำนำ a03  
    ธรรมวินัย คือ ศาสดาแทนพระสัมมาสัมพุทธะ a04  
    ธรรมวินัยของพระสัมมา-เปิดเผยจะรุ่งเรือง a05  
    หลักตรวจว่าคำกล่าวของใครเป็นธรรม เป็นวินัย a06  
    หมายเหตุผู้รวบรวม a07  
     
     เดรัจฉานวิชา    
   1. อะไรคือเดรัจฉานวิชา 2  
   2. พระพุทธเจ้าเว้นขาดจากการทำเดรัจฉานวิชา 7  
   3. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการทำเดรัจฉานวิชา 13  
   4. อะไรคือเดรัจฉานกถา 20  
   5. พระพุทธเจ้า เว้นขาดจากเดรัจฉานกถา 21  
   6. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากเดรัจฉานกถา 22  
   7. ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง 26  
   8. ทรง อึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง อิทธิปาฏิหาริย์ 28  
    หลักปฏิบัติของภิกษุต่ออิทธิปาฏิหาริย์ 35  
   9. ทรงห้ามภิกษุแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ 36  
   10. ทรงห้ามภิกษุแกล้งบอกคุณวิเศษที่ตนเองไม่มี 38  
   11. ทรงห้ามภิกษุบอกคุณวิเศษให้กับผู้ที่ไม่ใช่นักบวช 39  
   12. ทรงห้ามพยากรณ์ (ทำนายทายทัก) บุคคลอื่น 40  
   13. มหาโจร ๕ จำพวก 41  
    อริยบุคคลไม่ทำเดรัจฉานวิชา 45  
   14. อริยบุคคลจะเจตนางดเว้นจากมิจฉาอาชีวะ 46  
   15. ฐานะที่เป็นไปไม่ได้ของโสดาบัน 54  
   16. ฐานะที่เป็นไปไม่ได้ของโสดาบัน นัยที่ ๒ 55  
   17. ฐานะที่เป็นไปไม่ได้ของโสดาบัน นัยที่ ๓ 56  
 
 





a01
คำอนุโมทนา


ขออนุโมทนา กุศลเจตนาเป็นอย่างยิ่งต่อคณะงานธัมมะที่ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจ รวบรวม เรียงร้อย เชื่อมโยงคำตถาคต พร้อมทั้ง เปรียบเทียบ ให้เห็นชัดเจนถึงหลักฐานที่มาที่ไปของ คำแต่งใหม่ รวมทั้งชี้ให้เห็นความขัดแย้งของคำแต่งใหม่กับคำของตถาคตได้อย่างชัดเจน รวบรวมมาไว้ในหนังสือ “เดรัจฉานวิชา” เล่มนี้เพื่อเปิดธรรม ที่ถูกปิดให้แก่หมู่ภิกขุ ภิกขุณี อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ทราบถึง ความจริงที่ศาสดาผู้ที่เป็นสัมมาสัมพุทธะบัญญัติ หรืออะไร ที่พระองค์ มิได้บัญญัติไว้ ซึ่งความไม่รู้นั้น จะเป็นเหตุให้เขาตกลงจมอยู่ในมิจฉาทิฏฐิว่ากรรม หรือ สุข ทุกข์ เกิดจากผู้อื่นบันดาล อันจะทำให้ เขา ทั้งหลายไม่สามารถ สมหวังในสิ่งที่เขา ตั้งความปรารถนาไว้ได้ ซึ่งคติ ๒ อย่างของผู้ที่ยังมี ความเห็น ผิดคือ นรก หรือกำเนิดเดรัจฉาน

ดังนั้นผู้ต้องการความสำเร็จสมหวังในสิ่งที่เขาปรารถนาในทางโลกหรือต้องการหวังการเข้าถึง ความ บริสุทธิ์หลุดพ้นได้จริงในทางธรรม จะได้เลือกที่จะเดินตามตถาคตอรหันตสัมมา สัมพุทธะผู้รู้แจ้งโลกเป็นสัพพัญญูหรือศรัทธาเดินตามความเห็น และการบัญญัติในคำแต่งใหม่
หรือของ สมณพราหมณ์ เหล่าอื่น ซึ่งเขาเหล่านั้นต้องสร้างศรัทธาของตนเอง ด้วยกำลัง อินทรีย์อ่อนแก่ หรือธุลีในดวงตาที่มาก หรือน้อยตามเหตุปัจจัย

ด้วยเหตุที่ได้กระทำมาแล้วนี้ ขอจงเป็นเหตุปัจจัยให้ผู้มีส่วนร่วม ในการทำหนังสือ และผู้ที่ได้ อ่าน ได้ศึกษาได้นำไปปฏิบัติ พึงสำเร็จสมหวัง พบความเจริญรุ่งเรืองของชีวิตได้จริง ในทางโลก และได้ดวงตาเห็นธรรมสำเร็จผลยังพระนิพพาน สมดังความปรารถนา ที่ได้สร้างมา อย่างดี แล้วด้วยเทอญ.

ขออนุโมทนา
ภิกขุคึกฤทธิ์โสตฺถิผโล
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



a02
อักษรย่อ

เพื่อความสะดวกแก่ผู้ที่ยังไม่เข้าใจเรื่องอักษรย่อที่ใช้หมายแทนชื่อคัมภีร์ ซึ่งมีอยู่โดยมาก
มหาวิ. วิ. มหาวิภังค์ วินัยปิฎก.
ภิกฺขุนี. วิ. ภิกขุนีวิภังค์ วินัยปิฎก.
มหา. วิ. มหาวรรค วินัยปิฎก.
จุลฺล. วิ. จุลวรรค วินัยปิฎก.
ปริวาร. วิ. ปริวารวรรค วินัยปิฎก.
สี. ที. สีลขันธวรรค ทีฆนิกาย.
มหา. ที. มหาวรรค ทีฆนิกาย.
ปา. ที. ปาฏิกวรรค ทีฆนิกาย.
มู. ม. มูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย.
ม. ม. มัชฌิมปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย.
อุปริ. ม. อุปริปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย.
สคาถ. สํ. สคาถวรรค สังยุตตนิกาย.
นิทาน. สํ. นิทานวรรค สังยุตตนิกาย.
ขนฺธ. สํ. ขันธวารวรรค สังยุตตนิกาย.
สฬา. สํ. สฬายตนวรรค สังยุตตนิกาย.
มหาวาร. สํ. มหาวารวรรค สังยุตตนิกาย.
เอก. อํ. เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ทุก. อํ. ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ติก. อํ. ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
จตุกฺก. อํ. จตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ปญฺจก. อํ. ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ฉกฺก. อํ. ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
สตฺตก. อํ. สัตตกนิบาต อังคุตตรนิกาย
อฏฺฐก. อํ. อัฏฐกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
นวก. อํ. นวกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ทสก. อํ. ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
เอกาทสก. อํ. เอกาทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ขุ. ขุ. ขุททกปาฐะ ขุททกนิกาย.
ธ. ขุ. ธรรมบท ขุททกนิกาย.
อุ. ขุ. อุทาน ขุททกนิกาย.
อิติวุ. ขุ. อิติวุตตกะ ขุททกนิกาย.
สุตฺต. ขุ. สุตตนิบาต ขุททกนิกาย.
วิมาน. ขุ. วิมานวัตถุ ขุททกนิกาย.
เปต. ขุ. เปตวัตถุ ขุททกนิกาย.
เถร. ขุ. เถรคาถา ขุททกนิกาย.
เถรี. ขุ. เถรีคาถา ขุททกนิกาย.
ชา. ขุ. ชาดก ขุททกนิกาย.
มหานิ. ขุ. มหานิทเทส ขุททกนิกาย.
จูฬนิ. ขุ. จูฬนิทเทส ขุททกนิกาย.
ปฏิสมฺ. ขุ. ปฏิสัมภิทามรรค ขุททกนิกาย.
อปท. ขุ. อปทาน ขุททกนิกาย.
พุทฺธว. ขุ. พุทธวงส์ ขุททกนิกาย.
จริยา. ขุ. จริยาปิฎก ขุททกนิกาย.


a03
คำนำ

มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก เมื่อเกิดความทุกข์หรือความกลัวขึ้นมาในชีวิตแล้ว ต่างก็พากัน แสวงหา ที่พึ่งในแบบของตน หรือโดยการยึดถือ ในสิ่งที่บัญญัติขึ้นมาเองตามแบบของสมณ พราหมณ์เหล่า อื่นผู้มีความเห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิดและมีศีลอันเป็นอกุศลคือการเลี้ยงชีพชั่ว เลี้ยง ชีวิตโดยมิจฉาชีพ มีประการต่างๆ โดยคิดไปว่าสิ่งนั้นจะทำให้เขาพ้นจากความทุกข์ ทั้งหลาย ได้ เขาหารู้ไม่ว่า นั่นไม่ใช่ การแสวงหา ที่พึ่งอันเกษม ไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด แต่เขาควรหันมา พึ่งตถาคต

ธรรมะที่ตถาคตตรัสรู้ และสงฆ์สาวกผู้เป็นทายาท แห่งธรรมของตถาคต ผู้เกิดโดยธรรม เนรมิต โดยธรรม ที่เรียกว่า สมณศากยปุตติยะ แต่เพราะเหตุที่ สมณพราหมณ์เหล่าอื่น หรือ สาวก ผู้ประกอบ ด้วยเครื่องเศร้าหมอง ไม่มีสง่า ไม่รุ่งเรือง ไม่ไพโรจน์มีลักษณะ แบบที่สัมมา สัมพุทธะ ตรัสไว้ว่า ไม่ใช่ “คนของเรา”ไม่ใช่ผู้อยู่ในอริยวงศ์ คือ ธรรมที่เป็นเชื้อสาย ของพระอริยเจ้า ที่ชนทั้งหลายพากันไป แสวงหา พึ่งพิงนั้น ชนเหล่านั้น ย่อมไม่สามารถ สำเร็จผลตามความปรารถนาได้ แต่ความสำเร็จที่เขา ได้รับอันเกิดเพราะผลแห่งกรรมนั้น

เขากลับเชื่อไปว่า เป็นเพราะผลจากการบูชาเทพเจ้า น้ำมนต์ เครื่องราง ของปลุกเสก สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือพิธีกรรมต่างๆ ตามแบบสมณ พราหมณ์ผู้เห็นผิดเหล่านั้น ซึ่งทำให้เขา จมลงสู่ มิจฉาทิฏฐิหนึ่ง ในสี่แบบว่า สุขและทุกข์ของเขาทั้งหลายนั้น เกิดจากผู้อื่นบันดาล ชื่อว่า เขาเหล่านั้นยังไม่ได้มีการ สร้างเหตุที่ถูกต้องตามความเห็นของตถาคตอรหันต สัมมาสัมพุทธะ ชนเหล่านั้นย่อมไม่หลุดพ้นไป จากทุกข์ ทั้งปวงได้พุทธวจน ฉบับ “เดรัจฉานวิชา”

จึงเป็นการรวบรวมรูปแบบต่างๆ ของการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยเดรัจฉานวิชาทั้งหมด ตามที่ศาสดา บัญญัติอันเป็นกิจเลว เป็นของ ชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ พร้อมทั้งที่มาที่ไป ของประเพณี ข้อวัตรปฏิบัติ คำสวด ผิดจากที่พระองค์ตรัสไว้ อันเกิดจากคำแต่งใหม่ ที่มิใช่ของ ตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธะ.. เป็นการทำมหาชน ให้เสื่อมเสีย ทำมหาชนให้หมดสุข เป็นความ พินาศ แก่มหาชนเป็นอันมาก

เพื่อทำพุทธบริษัททั้งสี่ ผู้ที่มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ในศาสดาแห่งตนได้ทราบความจริงว่า แบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อม ทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะที่สัมมาสัมพุทธะ ทรงประกาศไว้ คือ อย่างไร ? เพื่อสาวกตถาคต ผู้ปรารถนาความบริสุทธิ์ จะได้ละ เลิก เว้นขาด ในข้อปฏิบัติ อันไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัยในศาสนา ของพระศาสดา และเพื่อให้ค้นพบทางออก ด้วยข้อปฏิบัติ ตามบัญญัติ ของตถาคตที่ได้รวบรวม นำมาบรรจุไว้ในเล่มนี้ด้วย ดังที่พระองค์ได้กล่าวไว้ว่า สาวกทั้งหลาย ของพระองค์ ย่อมไม่ก้าวล่วง สิกขาบทใดๆ

แม้จะต้องเสียชีวิตเป็นผู้อดทนยอมรับฟังคำสั่งสอนโดยเคารพ เป็นผู้ที่มีลักษณะแห่งศรัทธา ของผู้มีศรัทธา เป็นผู้ทำมหาชนให้ได้รับ ประโยชน์ ทำมหาชนให้ได้รับความสุขเป็นไปเพื่อ ความเจริญ แก่มหาชน และเป็นไปเพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขทั้งแก่เทวดา และ มนุษย์ ทั้งหลาย เพื่อจะทำซึ่งที่สุด แห่งทุกข์โดยชอบด้วยการปฏิบัติตามสิ่งที่พระศาสดาบัญญัติ อันเป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน

คณะงานธัมมะวัดนาป่าพง

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


a04

ธรรมวินัย คือ ศาสดาแทนพระสัมมาสัมพุทธะ
-บาลีมหา. ที. ๑๐/๑๗๘/๑๔๑.
-บาลีม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓.
-บาลีมหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.


อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า
‘ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดาล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา’ ดังนี้.
อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น.
อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาล ล่วงไปแห่งเรา.

อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดีใครก็ตาม จักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็น สรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่

อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุดแล.
อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อว่าเป็นบุรุษ คนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย... เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า... เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษ คนสุดท้ายของเราเลย.


a05
ธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธะเปิดเผยจึงจะรุ่งเรือง
-
บาลีเอก. อํ. ๒๐/๓๖๔/๕๗๑.

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่ง ๓ อย่างนี้ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ๓ อย่างนั้น คือ
(1) มาตุคามปิดบังไว้จึงจะงดงาม เปิดเผยไม่งดงาม
(2) มนต์ของพราหมณ์ปิดบังไว้จึงรุ่งเรือง เปิดเผยไม่รุ่งเรือง
(3) มิจฉาทิฏฐิปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่ง ๓ อย่างเหล่านี้แล ปิดบังไว้จึงเจริญเปิดเผยไม่เจริญ.
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่ง ๓ อย่างนี้ เปิดเผยจึงรุ่งเรืองปิดบังไม่รุ่งเรือง ๓ อย่างนั้น คือ

(1) ดวงจันทร์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง
(2) ดวงอาทิตย์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิด บังไม่รุ่งเรือง
(3) ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้แล้ว เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่ง อย่างเหล่านี้แล เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง.


a06
หลักตรวจสอบว่า
คำกล่าวของใครเป็นธรรม เป็นวินัย
-บาลีมหา. ที. ๑๐/๑๔๔/๑๑๓-๖.


(1) (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่าผู้มีอายุ ! ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะ พระพักตร์พระผู้ มีพระภาคว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...

(2) (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่าในอาวาส ชื่อโน้นมีสงฆ์อยู่พร้อมด้วย พระเถระพร้อม ด้วยปาโมกข์1 ข้าพเจ้าได้สดับมา เฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัยนี้เป็นคำสอนของพระ ศาสดา”...

(3) (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่าในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็น เถระอยู่ จำนวนมาก เป็น พหูสุตเรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา2 ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะ หน้าพระเถระ เหล่านั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัยนี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...

(4) (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่าในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่รูปหนึ่ง เป็น พหุสูต เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระ รูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัยนี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้าน คำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงสอบ สวนลงในพระสูตรเทียบเคียง ดูในวินัย

ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลง สันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาผิด” เธอทั้งหลาย พึงทิ้งคำนั้นเสียถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้เทียบเข้าใน วินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า“นี้เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้นรับมาด้วยดี”

เธอทั้งหลาย พึงจำมหาปเทส ... นี้ไว้.


a07
หมายเหตุผู้รวบรวม

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ บางส่วนได้ปรับสำนวนต่างจากฉบับหลวง โดยเทียบเคียงจาก ทุกสำนัก (ฉบับสยามรัฐ ฉบับหลวง, ฉบับมหามงกุฏฯ ฉบับมหาจุฬาฯ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ฉบับสมาคมบาลี ปกรณ์แห่งประเทศอังกฤษ) เพื่อให้สอดรับกับบาลี และความเชื่อมโยงของพุทธวจน ให้มากที่สุด



1

P2
อะไรคือเดรัจฉานวิชา

-บาลีสี. ที. /๘๓/๑๐๓.

มหาราช ! อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์ บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิต โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือทำนายอวัยวะ ทำนายตำหนิ ทำนายลางดีลางร้าย ทำนายฝันทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต

เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอปลุกเสกเป็นหมอผี เป็นหมอ ลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองูเป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผล หนูกัดเป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุเป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะ ที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะศัสตรา
ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนูทายลักษณะอาวุธ ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส ทายลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอสุภะ ทายลักษณะโค ทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทา ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่าทายลักษณะมฤค.1

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะ ที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยัง เลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพ ว่าพระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก พระราชาภายใน จักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชา ภายนอกจักยกเข้าประชิด พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจัก ปราชัย พระราชาภายนอกจักมีชัย พระราชาภายในจักปราชัย พระราชาพระองค์นี้จักมีชัย พระราชา พระองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุนี้ๆ.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำนายว่าจักมี จันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์จักโคจรถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักโคจรผิดทาง ดาวนักษัตร จักโคจรถูกทาง ดาวนักษัตรจักโคจร ผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่น ดินไหว จักมีฟ้าร้อง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตร จักขึ้น จักตก จักมัวหมอง จักกระจ่าง จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้

สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ วงจันทร์ ดวงอาทิตย์โคจร ถูกทาง จักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์โคจรผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรโคจรถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรโคจรผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีอุกกาบาต จักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผลเป็น อย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้น ตก มัวหมอง กระจ่าง จักมีผลเป็นอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำนายว่าจักมีฝนดี จักมีฝนแล้งจักมี อาหารหาได้ง่าย จักมีอาหารหาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญ หาโรคมิได้ หรือคำนวณฤกษ์ยาม คำนวณดวงชะตาจับยาม แต่งกาพย์ โลกายตศาสตร์.1

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์ อาวาหมงคล2 ให้ฤกษ์วิวาห มงคล3 ดูฤกษ์เรียงหมอน4 ดูฤกษ์หย่าร้างดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ ให้คางแข็งร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยิน เสียง เป็นหมอทรงกระจก เป็นหมอทรง หญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์บวงสรวงท้าว มหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพ ด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชาย ให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาแก้ลมตีขึ้นเบื้องบน ปรุงยาแก้ลมตีลงเบื้องล่าง
ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทาให้กัด ปรุงยาทา ให้สมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยาชะแผล.
………………………………………….............................................................…………………………………….
1. สอนตำราว่าด้วยทางโลก
2. ‘การพาหญิงมาอยู่บ้านของตน’ หมายถึงการแต่งงานแบบหนึ่งที่ฝ่ายชายจะนำหญิง ที่ตน แต่งงาน ด้วยมาอยู่ที่บ้านของตนเรียกว่าอาวาหมงคลเป็นประเพณี แต่งงานที่นิยมปฏิบัติกัน ในประเทศอินเดีย ฝ่ายเหนือ
3. ‘การพาออกไป’ หมายถึงการแต่งงานแบบหนึ่งที่ฝ่ายชายจะต้องถูกนำไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง เรียกว่าวิวาหมงคลเป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายใต้ การ แต่งงาน ตามประเพณีไทย ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายชาย หรือฝ่ายชายจะไปอยู่ที่บ้าน ฝ่ายหญิง หรือจะแยกไปอยู่ตามลำพังก็เรียกว่าวิวาหะหรือวิวาหมงคลทั้งสิ้น
4. พิธีตอนหนึ่งในการแต่งงานผู้ถือฤกษ์ยามมักถือว่า เมื่อหนุ่มสาวเข้าสู่พิธีแต่งงาน จะต้องนอนคู่กันบนเตียงพอเป็นพิธีเรียกว่าเรียงหมอน

………………………………………….............................................................…………………………………….


2
P7
พระพุทธเจ้าเว้นขาดจากการทำเดรัจฉานวิชา
-บาลี พรหมชาลสูตร สี. ที. ๙/๑๑-๑๕/๑๙-๒๕.

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือ พราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย ศรัทธาแล้ว ท่าน เหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิต โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือทำนาย อวัยวะ ทำนายตำหนิ ทำนายลางดีลางร้าย ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธี ซัดรำบูชาไฟ ทำพิธี ซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทำพลีกรรม ด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกัน บ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอ ทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์.

ส่วนสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้เสียแล้ว เมื่อปุถุชน จะกล่าวสรรเสริญตถาคตพึงกล่าวสรรเสริญอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะศัสตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู ทายลักษณะอาวุธ ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส ทายลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า
ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอสุภะ ทายลักษณะโค ทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนก กระทา ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค.

ส่วนสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้เสียแล้ว เมื่อปุถุชนจะกล่าวสรรเสริญตถาคต พึงกล่าวสรรเสริญอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่งเมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่าน เหล่านั้น ยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพ ว่าพระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก พระราชาภายใน จักยกเข้าประชิด พระราชา ภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายใน จักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอกจักมีชัย พระราชาภายใน จักปราชัย พระราชาพระองค์นี้จักมีชัยพระราชาพระองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุนี้ๆ.

ส่วนสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้เสียแล้ว เมื่อปุถุชนจะกล่าวสรรเสริญตถาคต พึงกล่าวสรรเสริญอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำนายว่าจักมี จันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ จักโคจรถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักโคจรผิดทาง ดาวนักษัตรจักโคจรถูกทาง ดาวนักษัตรจักโคจรผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้องดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาว นักษัตร จักขึ้น จักตก จักมัวหมองจักกระจ่าง

จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์โคจรถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์โคจร ผิดทางจัก มีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรโคจรถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรโคจรผิดทาง จักมีผลเป็นอย่างนี้ มีอุกกาบาตจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหว จักมีผลเป็นอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรขึ้น ตก มัวหมอง กระจ่าง จักมีผลเป็นอย่างนี้.

ส่วนสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้เสียแล้ว เมื่อปุถุชนจะกล่าวสรรเสริญตถาคต พึงกล่าวสรรเสริญอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำนายว่าจักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีอาหารหาได้ง่าย จักมีอาหารหาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้ หรือคำนวณฤกษ์ยาม คำนวณดวงชะตาจับยาม แต่งกาพย์ โลกายตศาสตร์.

ส่วนสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้เสียแล้ว เมื่อปุถุชนจะกล่าวสรรเสริญตถาคต พึงกล่าวสรรเสริญอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้างดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้ายให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็งร่ายมนต์ ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ.

ส่วนสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้เสียแล้ว เมื่อปุถุชนจะกล่าวสรรเสริญตถาคต พึงกล่าวสรรเสริญอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือนทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลาย เป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาแก้ลมตีขึ้นเบื้องบน ปรุงยาแก้ลมตีลงเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะหุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทาให้กัดปรุงยาทาให้สมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา
ชะแผล.

ส่วนสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้เสียแล้ว เมื่อปุถุชนจะกล่าวสรรเสริญตถาคต พึงกล่าวสรรเสริญอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่ปุถุชนกล่าวสรรเสริญตถาคตจะพึงกล่าวด้วยประการใด ซึ่งมีประมาณน้อย ยังต่ำนักเป็นเพียงศีลนั้นเท่านี้แล.

3
P13
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการทำเดรัจฉานวิชา
-บาลีสามัญผลสูตรสี. ที. ๙/๘๙-๙๒/๑๑๔-๑๒๑.


มหาราช ! อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือทำนายอวัยวะ ทำนายตำหนิ ทำนายลางดีลางร้าย ทำนายฝันทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ

ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองูเป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัดเป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์.

ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพ ด้วยเดรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะศัสตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนูทายลักษณะอาวุธ ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส ทายลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ ทายลักษณะโค ทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทา ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่าทายลักษณะมฤค.

ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพ ด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่งเมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่าพระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอกจักมีชัย พระราชาภายในจักปราชัย พระราชาพระองค์นี้จักมีชัยพระราชาพระองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุนี้ๆ.

ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพ ด้วยเดรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำนายว่าจักมี จันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักโคจรถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักโคจรผิดทาง ดาวนักษัตรจักโคจรถูกทาง ดาวนักษัตรจักโคจรผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้องดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาว นักษัตร จักขึ้น จักตก จักมัวหมองจักกระจ่าง

จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์โคจรถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์โคจรผิดทาง จักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรโคจรถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรโคจรผิดทาง จักมีผลเป็นอย่างนี้ มีอุกกาบาตจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหว จักมีผล เป็นอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้น ตก มัวหมอง กระจ่าง จักมีผลเป็นอย่างนี้.

ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วย เดรัจฉานวิชา เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำนายว่าจักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีอาหารหาได้ง่าย จักมีอาหารหาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้ หรือคำนวณฤกษ์ยาม คำนวณดวงชะตาจับยาม แต่งกาพย์ โลกายตศาสตร์.

ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพ ด้วยเดรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้างดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้ายให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็งร่ายมนต์ ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ.

ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน
ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือนทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์
ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาแก้ลมตีขึ้นเบื้องบน ปรุงยาแก้ลมตีลงเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะหุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทาให้กัดปรุงยาทาให้สมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยาชะแผล.

ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพ ด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

มหาราช ! ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย เพราะสีลสังวรนั้น เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก1 กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น.

มหาราช ! ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะสีลสังวร นั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยสีลขันธ์นี้ย่อมได้เสวยสขุ อันปราศจากโทษในภายใน.

มหาราช ! ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
………………………………………….............................................................…………………………………….
1. นํ้ารดพระเศียรในงานราชาภิเษกหรือพระราชพิธีอื่นๆ นอกจากพรหมชาลสูตร และ สามัญญผลสูตรที่มีการกล่าวถึง การห้ามทำเดรัจฉานวิชาแล้วยังมีปรากฏ อยู่ในสูตรอื่นอีกคือ
อัมพัฏฐสูตรตรัสกับอัมพัฏฐมาณพ (-บาลีสี. ที. ๙/๑๒๙/๑๖๓.),
โสณทัณฑสูตรตรัสกับโสณทัณฑพราหมณ์ (-บาลีสี. ที. ๙/๑๕๙/๑๙๕.),
กูฏทันตสูตรตรัสกับกูฏทันตพราหมณ์ (-บาลีสี. ที. ๙/๑๘๘/๒๓๕.),
มหาลิสูตรตรัสกับเจ้าโอฏฐัทธลิจฉวี (-บาลีสี. ที. ๙/๒๐๑/๒๕๕.),
ชาลิยสูตรตรัสกับมัณฑิยปริพาชกและชาลิยปริพาชก (-บาลีสี. ที. ๙/๒๐๓/๒๕๖.),
มหาสีหนาทสูตรตรัสกับอเจลกัสสปะ (-บาลีสี. ที. ๙/๒๑๘/๒๗๐.),
โปฏฐปาทสูตรตรัสกับโปฏฐปาทปริพาชก (-บาลีสี. ที. ๙/๒๒๖/๒๗๙.),
สุภสูตรพระอานนท์กล่าวกับสุภมาณพโตเทยบุตร (-บาลีสี. ที. ๙/๒๕๔ /๓๑๙.),
เกวัฏฏสูตรตรัสกับเกวัฏฏะ (ชาวประมง) (-บาลีสี. ที. ๙/๒๗๖/๓๔๒.),
โลหิจจสูตรตรัสกับโลหิจจพราหมณ์ (-บาลีสี. ที. ๙/๒๙๓/๓๖๓.),
เตวิชชสูตรตรัสกับวาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพ (-บาลีสี. ที. ๙/๓๑๐/๓๘๓.).

………………………………………….............................................................…………………………………….

4
P20
อะไรคือเดรัจฉานกถา

-บาลีมหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๖/๑๖๖๓.


ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย จงอย่ากล่าวเดรัจฉานกถาเห็นปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยานพาหนะ เรื่องหมู่บ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะถ้อยคำนี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่งความรู้พร้อม และนิพพานเลย.

5
P21
พระพุทธเจ้า เว้นขาดจากเดรัจฉานกถา
-บาลีสี. ที. /๑๐/๑๕.

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา แล้ว ท่านเหล่านั้นยังกล่าวเดรัจฉานกถาเห็นปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพเรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยานพาหนะเรื่องหมู่บ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรีเรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับ ไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเลเรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ.

ส่วนสมณโคดม เว้นขาดจากเดรัจฉานกถาเห็นปานนี้เสียแล้ว เมื่อปุถุชนจะกล่าวสรรเสริญ ตถาคต พึงกล่าวสรรเสริญอย่างนี้.

6
p22
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากเดรัจฉานกถา

-บาลีสี. ที. /๘๗/๑๑๐.
-
บาลีมหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๖/๑๖๖๓.

...
เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังกล่าว เดรัจฉานกถาเห็นปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยานพาหนะ เรื่องหมู่บ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบทเรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำเรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเลเรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ.

ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากเดรัจฉานกถาเห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย จงอย่ากล่าวเดรัจฉานกถาเห็นปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจรเรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอมเรื่องญาติ เรื่องยานพาหนะ เรื่องหมู่บ้าน เรื่องนิคม เรื่องนครเรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอกเรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลกเรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการ นั้นๆเพราะเหตุไรจึงไม่ควรกล่าว เพราะการกล่าวนั้นๆ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้น ของพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพานเลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพวกเธอจะกล่าว จงกล่าวว่า“เช่นนี้ๆ เป็นทุกข์ เช่นนี้ๆ เป็นเหตุให้เกิด ทุกข์ เช่นนี้ๆ เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และเช่นนี้ๆ เป็นทางดำเนินให้ถึง ความดับ ไม่เหลือของ ทุกข์” ดังนี้ เพราะเหตุไรจึงควรกล่าวเพราะการกล่าวนั้นๆ ย่อมประกอบด้วย ประโยชน์ เป็น เบื่องต้นของพรหมจรรย์ เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อมและนิพพาน.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้เป็นทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.

P25
เดรัจฉานวิชา
ไม่ใช่อิทธิปาฏิหาริย์

7
P26
ปาฏิหาริย์
อย่าง

-บาลีติก. อํ. ๒๐/๒๑๗/๕๐๐.


พราหมณ์ ! ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างมีอยู่ ๓ อย่าง คืออิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ อนุสาสนีปาฏิหาริย์.

(1) พราหมณ์ ! อิทธิปาฏิหาริย์เป็นอย่างไร. คือ คนบางคนในโลกนี้กระทำอิทธิวิธีมีอย่างต่างๆผู้เดียวแปลงเป็นหลายคน หลายคนแปลงเป็น คนเดียว ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง ไปได้ไม่ขัดข้องผ่านทะลุฝา ทะลุ กำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่างๆ ผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ เดินไปได้ เหนือน้ำเหมือนเดินบนแผ่นดิน ไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่ง สมาธิคู้บัลลังก์ลูบ คลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์อานุภาพมากได้ด้วยฝ่ามือ และแสดงอำนาจ ทางกาย เป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้. พราหมณ์ ! นี้แล อิทธิปาฏิหาริย์.

(2) พราหมณ์ ! อาเทสนาปาฏิหาริย์เป็นอย่างไร.
คือ คนบางคนในโลกนี้โดยอาศัยนิมิต ย่อมทายใจคนว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่าน เป็นไปโดยอาการอย่างนี้ ความคิดของท่านเป็นดังนี้”1 แม้เขาทายมากเท่าไรก็ถูกหมด ไม่มี ผิดเลย

บางคนฟังเสียงของมนุษย์หรือของอมนุษย์หรือของเทวดา แล้วทายใจคนว่า “ใจของ ท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดยอาการอย่างนี้ ความคิดของท่านเป็นดังนี้” แม้เขาทาย มากเท่าไร ก็ถูกหมดไม่มีผิดเลย

บางคนฟังเสียงแห่งวิตกวิจาร ของบุคคลที่กำลังวิตกวิจาร อยู่แล้วทายใจคนว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดยอาการอย่างนี้ ความคิด ของท่านเป็นดังนี้”
แม้เขาทายมากเท่าไร ก็ถูกหมดไม่มีผิดเลย

บางคนกำหนดใจ ของผู้เข้า สมาธิอันไม่มีวิตกวิจาร ด้วยใจของตนแล้วรู้ว่า “มโนสังขาร อันท่านผู้นี้ตั้งไว้เช่นใด ในลำดับ แห่งจิตนี้ จักเกิดวิตกชื่อโน้น”ดังนี้ แม้เขาทายมากเท่าไรก็ถูกหมด ไม่มีผิดเลย. พราหมณ์ ! นี้แล อาเทสนาปาฏิหาริย์.

(3) พราหมณ์ ! อนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นอย่างไร.
คือ คนบางคนในโลกนี้ ย่อมพร่ำสอนว่า “ท่านทั้งหลายจงตรึกอย่างนี้ๆ อย่าตรึกอย่างนั้นๆ จงทำในใจอย่างนี้ๆอย่าทำในใจอย่างนั้นๆ จงละสิ่งนี้ๆ เสีย จงเข้าถึงสิ่งนี้ๆแล้วแลอยู่” ดังนี้.พราหมณ์ ! นี้แล อนุสาสนีปาฏิหาริย์.

8
P28
พระสัมมาสัมพุทธะ อึดอัด ขยะแขยง
เกลียดชัง อิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทสนาปาฏิหาริย์

-บาลีสี. ที. ๙/๒๗๓/๓๓๙.


เกวัฏฏะ ! นี่ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ได้ ๓ อย่าง คืออิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

(1) เกวัฎฎะ ! อิทธิปาฏิหาริย์นั้นเป็นอย่างไร.
เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำอิทธิวิธีมีอย่าง ต่างๆคือ ผู้เดียวแปลงเป็นหลายคน หลายคนแปลงเป็นคนเดียวทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่ แจ้งให้เป็นที่กำบัง ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่างๆ ผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดิน ได้เหมือนในน้ำ เดินไปได้เหนือน้ำเหมือนเดินบนแผ่นดิน ไปได้ใน อากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังก์ ลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ อันมี ฤทธิ์อานุภาพมากได้ด้วย ฝ่ามือ และแสดงอำนาจทางกายเป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้.

เกวัฏฏะ ! กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้เห็นการแสดงนั้นแล้ว เขาบอกเล่าแก่กุลบุตรอื่นบางคน ที่ไม่ศรัทธาเลื่อมใสว่ น่า อัศจรรย์นัก กุลบุตรผู้ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้นก็จะพึงตอบว่า วิชาชื่อคันธารี1 มีอยู่ ภิกษุนั้นแสดงอิทธิวิธีด้วยวิชานั่นเท่านั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่).

เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใส ได้อย่างนั้น มิใช่หรือ.พึงตอบได้พระองค์.

เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออิทธิปาฏิหาริย์

(2) เกวัฏฏะ ! อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้นเป็นอย่างไร

เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทายจิต ทายความรู้สึกของจิต ทายความตรึก ทายความตรอง ของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคล เหล่าอื่นได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดย อาการอย่างนี้ ความคิดของท่านเป็นดังนี้

เกวัฏฏะ ! กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้เห็นภิกษุนั้นทายจิต ทายความรู้สึกของจิต ทายความตรึก ทายความตรอง
…………………………………………………………………………………………………….

1. คันธารี ชื่อมนต์ แต่งโดยฤษีมีนามคันธาระ, อีกอย่างหนึ่งว่าในแคว้นคันธาระ
…………………………………………………………………………………………………….

ของสัตว์เหล่าอื่น ด้วยประการนั้นๆ แล้ว เขาบอกเล่าแก่กุลบุตรอื่นบางคน ที่ไม่ศรัทธาเลื่อมใส ว่าน่าอัศจรรย์นักกุลบุตรผู้ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมค้านกุลบุตรผู้เชื่อผู้เลื่อมใสว่า วิชาชื่อ มณิกา มีอยู่ ภิกษุนั้น กล่าวทายใจได้เช่นนั้นๆก็ด้วยวิชานั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่)

เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้ อย่างนั้น มิใช่หรือ.พึงตอบได้พระองค์

เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอาเทสนา-ปาฏิหาริย์ ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออาเทสนาปาฏิหาริย์.

(3) เกวัฏฏะ ! อนุสาสนีปาฏิหาริย์นั้นเป็นอย่างไร.เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมพร่ำสอนว่า ท่านจงตรึกอย่างนี้ๆ อย่าตรึกอย่างนั้นๆ จงทำไว้ในใจอย่างนี้ๆ อย่าทำไว้ในใจ อย่างนั้นๆ จงละสิ่งนี้ๆ เสีย จงเข้าถึงสิ่งนี้ๆแล้วแลอยู่ดังนี้

เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์.เกวัฏฏะ ! ข้ออื่นยังมีอีก ตถาคตเกิดขึ้นในโลก นี้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถี ฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่าเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรม ออกสอนสัตว์ ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดามาร พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ พราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตามตถาคต นั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น–ท่ามกลาง –ที่สุดประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ และ พยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.

คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า“ฆราวาสคับแคบ เป็นทาง มาแห่งธุลี บรรพชาเป็นโอกาสว่างการที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย ถ้ากระไร เราจะปลงผม และหนวด ครองผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด” ดังนี้โดยสมัย อื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.

ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท และโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ประกอบแล้วด้วยกายกรรม

วจีกรรมอันเป็นกุศล มีอาชีวะบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีลมีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ มีความสันโดษ.

เกวัฏฏะ ! ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า.

เกวัฏฏะ ! ภิกษุในธรรมวินัย นี้ ละการทำ สัตว์มีชีวีติให้ตกล่วงไป เป็นผู้เว้นขาดจากปาณา ติบาต วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์ เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่.

เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์.

(ต่อไปนี้ ทรงแสดงด้วยจุลศีล – มัชฌิมศีล – มหาศีล –อินทรียสังวร – สติสัมปชัญญะ - การสันโดษด้วยปัจจัยสี่ – การชำระจิตจากนิวรณ์ในที่สงัดแล้วได้ปฐมฌาน – ทุติยฌาน – ตติยฌาน - จตุตถฌาน– ญาณทัสสนะ – มโนมยิทธิ – อิทธิวิธี – ทิพพโสต – เจโตปริยญาณ – ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ – จุตูปปาตญาณ และตรัสเรียกความสำเร็จ ในการสอนแต่ละขั้นว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์ อย่างหนึ่งๆ จนกระทั่งถึงอาสวักขยญาณ ซึ่งมีข้อความว่า)


เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส1 เป็นธรรมชาติ อ่อนโยนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อ อาสวักขยญาณ2 เธอย่อมรู้ชัด ตามที่เป็นจริงว่า“นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี้ความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” และรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งอาสวะนี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ นี้ทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ” เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ3 ครั้นจิตหลุดพ้นแล้วก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “จิตพ้นแล้ว” เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

เกวัฏฏะ ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสที่ไหล่เขาไม่ขุ่นมัวคนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งในที่นั้น เขาเห็นหอยต่างๆ บ้าง กรวด
1. เครื่องเศร้าหมองแห่งจิต
2. ความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ
3. กามาสวะ = อาสวะคือกาม (กิเลสที่เป็นเหตุให้ติดในกาม)
ภาวสวะ = อาสวะคือภพ (กิเลสที่เป็นเหตุให้ติดในภพ)
อวิชชาสวะ = อาสวะคืออวิชชา (กิเลสที่เป็นเหตุให้ติดในไม่รู้ตามความเป็นจริง)
และหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้นเขาจะสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า “ห้วงน้ำนี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอยก้อนกรวด ปลาทั้งหลายเหล่านี้หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น” ดังนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น.

เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์
เกวัฏฏะ ! เหล่านี้แล ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศ ให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย.

P35
หลักปฏิบัติของภิกษุต่ออิทธิปาฏิหาริย์
และคุณวิเศษอื่นๆ

9
P36
พระสัมมาสัมพุทธะ
ห้ามภิกษุแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
-บาลีจุลฺล. วิ. ๗/๑๕/๓๓.

พระปิณโฑลภารทวาชะแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ โดยการเหาะขึ้นไปปลดบาตร ของราชคหเศรษฐี ในเมืองราชคฤห์จากนั้นก็ได้ถือบาตร และเหาะเวียนไปรอบเมืองราชคฤห์ ๓ รอบ เรื่องทราบ ไปถึง พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจึงสั่งประชุมสงฆ์เพื่อสอบถามภารทวาชะ !


ข่าวว่าเธอปลด บาตรของราชคหเศรษฐีลงจริงหรือ.

จริงพระพุทธเจ้าข้า.


ภารทวาชะ ! การกระทำของเธอนั่นไม่เหมาะ ไม่สมไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ไม่ควร ทำไฉนเธอจึงได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์แก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ ซึ่งเป็นดุจซากศพเล่า มาตุคามแสดงของลับ เพราะเหตุแห่งทรัพย์ ซึ่งเป็นดุจซากศพแม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวด ยิ่งของมนุษย์แก่พวกคฤหัสถ์

เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ซึ่งเป็นดุจซากศพ การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือ ไม่ทำผู้ที่เคยเลื่อมใสแล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นไป โดยที่แท้ย่อม เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใส ของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส และทำผู้ ที่เคยเลื่อมใสแล้วให้เปลี่ยน ไปเป็นอย่างอื่น เท่านั้น

ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่าภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่พึงแสดงอิทธิ ปาฎิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอัน ยวดยิ่ง ของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ รูปใดแสดงต้องอาบัติ ทุกกฏ.

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงทำลายบาตรไม้นั่นบดให้ละเอียด ใช้เป็นยาหยอดตาของภิกษุ ทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุไม่พึงใช้ บาตรไม้ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ

10
P38
พระสัมมาสัมพุทธะ
ห้ามภิกษุแกล้งบอกคุณวิเศษที่ตนเองไม่มี
-บาลีมหา. วิ. /๑๗๒/๒๓๒

อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม1 อันเป็นความรู้ ความเห็นอย่าง ประเสริฐ อย่างสามารถน้อมเข้ามา ในตนว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ครั้น สมัยอื่นแต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม เป็นอัน ต้องอาบัติแล้ว มุ่งความหมดจดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้นได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็น อย่างนั้นได้กล่าวว่า เห็น ได้พูดพล่อยๆเป็นเท็จเปล่าๆ เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก2 หาสังวาส3มิได้.
………………………………………………………………………………………………….
1. อุตตริมนุสสธรรม = ธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์
2. ปาราชิก = อาบัติหนักที่แก้ไขไม่ได้ เมื่อภิกษุกระทำ แล้ว ต้องขาดจากความเป็นภิกษุ
3. สังวาส = การอยู่ร่วมกัน ธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมกันของสงฆ์ เช่น การทำสังฆกรรมร่วมกัน การกินร่วมกัน การนอนร่วมกัน

………………………………………………………………………………………………….

11
P39
พระสัมมาสัมพุทธะ
ห้ามภิกษุบอกคุณวิเศษให้กับผู้ที่ไม่ใช่นักบวช
-บาลีมหา. วิ. ๒/๒๑๑/๓๐๕.


อนึ่ง ภิกษุใดบอกอุตตริมนุสสธรรมแก่อนุปสัมบัน1เป็นปาจิตตีย์ 2 เพราะมีจริง.
……………………………………………………………..……………………………………………………………..
1. อนุปสัมบัน = ผู้ที่ไม่ใช่นักบวช
2. ปาจิตตีย์ = อาบัติที่แก้ไขได้ ปลงด้วยวาจา หากภิกษุกระทำ แล้วต้องพูดเปิดเผย ความผิดนั้นแก่ภิกษุด้วยกันอย่างน้อยรูปใดรูปหนึ่งก็ได้

……………………………………………………………..……………………………………………………………..

12
P40
พระสัมมาสัมพุทธะ ห้ามพยากรณ์ (ทำนายทายทัก) บุคคลอื่น
-บาลีทสก. อํ. ๒๔/๑๕๐/๗๕.

ตรัสกับพระอานนท์ปรารภเหตุนางมิคสาลากล่าวแย้งพระพุทธเจ้า เรื่องการพยากรณ์ ความเป็น อริยบุคคล ระหว่างบิดา ของตนเอง ผู้ประพฤติพรหมจรรย์และเพื่อนของบิดา ผู้ไม่ได้ประพฤติ พรหมจรรย์ แต่พระพุทธเจ้าพยากรณ์ ทั้งบุคคลว่า เป็นสกทาคามีได้กายดุสิตเหมือนกัน.

อานนท์ ! … เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต.

อานนท์ ! เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าเป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล และอย่าได้ ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้

13
P41
มหาโจร จำพวก
-บาลีมหา. วิ. /๑๖๙/๒๓๐.

ภิกษุทั้งหลาย ! มหาโจร ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๕ จำพวกเป็นอย่างไร คือ

(1) ภิกษุทั้งหลาย ! มหาโจรบางคนในโลกนี้ ย่อมปรารถนาอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอเราจักเป็น ผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่ง แวดล้อมแล้ว ท่องเที่ยวไปในหมู่บ้าน นิคมและราชธานี เบียดเบียนเอง ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่นเผาผลาญ สมัยต่อมา เขาเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่ง แวดล้อมแล้วเที่ยวไปในหมู่บ้าน นิคม และราชธานี เบียดเบียนเอง ให้ผู้อื่นเบียดเบียนตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่น เผาผลาญฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมปรารถนา อย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอเราจึงจักเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้วเที่ยวจาริก ไปในหมู่บ้าน นิคมและราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรพชิต สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำ เกรง ได้จีวรบิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร* สมัยต่อมา
* (คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร = ยากับเครื่องใช้ในการรักษาโรค)
เธอเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้วเที่ยวจาริกไปในหมู่บ้าน นิคมและราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรพชิต สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรงแล้ว ได้จีวรบิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก.

(2) ภิกษุทั้งหลาย ! อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนธรรมวินัยอัน ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมอวดอ้าง ว่าเป็นของตน. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในโลก.

(3) ภิกษุทั้งหลาย ! อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมตามกำจัดเพื่อน พรหมจารี ผู้หมดจด ผู้ประพฤติ พรหมจรรย์อันบริสุทธิ์อยู่ด้วยธรรม อันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ อันหามูลมิได้. ภิกษุทั้งหลาย !นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในโลก.

(4) ภิกษุทั้งหลาย ! อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมสงเคราะห์ เกลี้ย กล่อมคฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วย ครุภัณฑ์ ครุบริขารของสงฆ์ คือ อาราม พื้นที่อารามวิหาร พื้นที่ วิหาร เตียง ตั่ง ฟูก หมอน หม้อโลหะ อ่างโลหะ กะถางโลหะ กะทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สว่านเถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้ามุงกะต่าย หญ้าปล้อง หญ้าสามัญดินเหนียว เครื่องไม้ เครื่องดิน. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก.

(5) ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง นี้จัด เป็นยอดมหาโจรในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นฉันก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ด้วยอาการแห่งคนขโมย.


P45
อริยบุคคลไม่ทำเดรัจฉานวิชา


14
P46
อริยบุคคลจะเจตนางดเว้นจากมิจฉาอาชีวะ

-บาลีอุปริ. ม. ๑๔/๑๘๑-๑๘๘/๒๗๔–๒๘๑.


ภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นธรรมนำหน้า1 ก็สัมมาทิฏฐิ ย่อมเป็น ธรรมนำหน้าเป็นอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาอาชีวะว่ามิจฉาอาชีวะ รู้จักสัมมาอาชีวะว่าสัมมา อาชีวะ ความรู้ของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็มิจฉาอาชีวะเป็นอย่างไร คือการโกง การล่อลวง การตลบตะแลง การยอม มอบตนในทางผิดการเอาลาภต่อลาภ นี้มิจฉาอาชีวะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สัมมาอาชีวะเป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวสัมมาอาชีวะเป็น ๒ อย่างคือ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ2 เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ย่างหนึ่ง สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่างหนึ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ.
…………………………………………………………………………………

1. ธรรมนำ หน้า = ธรรมที่เริ่มมีมาก่อน (ปุทงฺคม)
2. สาสวะ = ประกอบด้วยอาสวะ, ยังมีอาสวะ

…………………………………………………………………………………


ภิกษุทั้งหลาย ! นี้สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ1 เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความงด ความเว้น เจตนางดเว้นจากมิจฉาอาชีวะของภิกษุผู้มีจิตไกล ข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้พรั่ง พร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาอาชีวะของ พระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค.

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ เพื่อบรรลุสัมมาอาชีวะ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ.

ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาอาชีวะได้ มีสติบรรลุสัมมาอาชีวะอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ.

ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฏฐิสัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไป ตามสัมมาอาชีวะของภิกษุนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นธรรมนำหน้า ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็น ธรรมนำหน้าอย่างไร คือ เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะ
…………………………………………………………………………………

1. อนาสวะ = ไม่มีอาสวะ
…………………………………………………………………………………

ได้ เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะจึงพอ เหมาะได้ เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาอาชีวะสัมมาวายามะ จึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิ จึงพอเหมาะได้เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ จึงพอเหมาะได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐.

ภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นธรรมนำหน้า ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็น ธรรมนำหน้าอย่างไร คือ ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฏฐิได้ทั้งอกุศลธรรม อันเป็น บาป เป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฏฐิสลัดได้แล้ว และ กุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะ สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย.
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้...
ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้...
ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้...
ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้...
ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้...
ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้...
ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้...
ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้...
ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้ ทั้งอกุศลธรรมเป็นบาปเป็นอเนกบรรดามีเพราะ มิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวิมุตติสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมถึง ความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยประการนี้แล จึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่ายอกุศล ๒๐ ชื่อ ธรรมบรรยาย มหาจัตตารีสกะ1 อันเราให้ เป็นไปแล้ว สมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดาหรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก จะให้เป็นไปไม่ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงสำคัญที่จะติเตียนคัดค้านธรรมบรรยาย มหาจัตตารีสกะนี้การกล่าวก่อน และการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะ หรือพราหมณ์ผู้นั้น ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว.
…………………………………………………………………………………

1. มหาจัตตารีสกะ ธัมมะปริยายะ (มหาจตฺตารีสก ธมฺมปริยาย)
…………………………………………………………………………………

ถ้าใครติเตียนสัมมาทิฏฐิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญ
ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ
ถ้าใครติเตียนสัมมาสังกัปปะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญ
ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีมิจฉาสังกัปปะ
ถ้าใครติเตียนสัมมาวาจา เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญ
ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีมิจฉาวาจา
ถ้าใครติเตียนสัมมากัมมันตะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญ
ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีิมิจฉากัมมันตะ
ถ้าใครติเตียนสัมมาอาชีวะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญ
ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีมิจฉาอาชีวะ
ถ้าใครติเตียนสัมมาวายามะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญ
ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีิมิจฉาวายามะ
ถ้าใครติเตียนสัมมาสติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญ
ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีมิจฉาสติ
ถ้าใครติเตียนสัมมาสมาธิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญ
ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีมิจฉาสมาธิ
ถ้าใครติเตียนสัมมาญาณะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญ
ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีมิจฉาญาณะ
ถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญ
ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีมิจฉาวิมุตติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งพึงสำคัญที่จะติเตียน คัดค้านธรรม บรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าว ก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุ ของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบัน เทียว.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะชาวอุกกลชนบท ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ1ก็ยังสำคัญ ที่จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนั่น เพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และถูกก่อความ.
…………………………………………………………………………………

1. อเหตุกวาทะ = ผู้มีวาทะว่า เหตุไม่มี, อกิริยวาทะ = ผู้มีวาทะว่า การกระทำ ไม่มี, นัตถิกวาทะ = ผู้มีวาทะว่า ขาดสูญ
…………………………………………………………………………………


ฐานะที่เป็นไปไม่ได้ ของโสดาบัน

15
P54
ฐานะที่เป็นไปไม่ได้ของโสดาบัน

นัยที่ -บาลีฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๘/๓๖๔.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ
เหล่านี้มีอยู่ ๖ ประการเป็นอย่างไร คือ
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงสังขารไรๆ โดยความเป็นสุข
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงธรรมะไรๆ โดยความเป็นตัวตน
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจกระทำอนันตริยกรรม
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจหวังการถึงความบริสุทธิ์โดยโกตุหลมงคล
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจแสวงหาทักขิเณยยบุคคลภายนอกจากศาสนานี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.

16
P55
ฐานะที่เป็นไปไม่ได้ของโสดาบัน นัยที่

-บาลีฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๘/๓๖๓.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการเหล่านี้มีอยู่ ๖ ประการเป็นอย่างไร คือ
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระศาสดา
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระธรรม
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระสงฆ์
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในสิกขา
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่อนาคมนียวัตถุ1
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจยังภพที่แปดให้เกิดขึ้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้๖ ประการ.
………………………………………………………………………….

1. วัตถุที่ไม่ควรเข้าหา
………………………………………………………………………….


17
P56
ฐานะที่เป็นไปไม่ได้ของโสดาบัน
นัยที่
-บาลีฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๘/๓๖๕.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการเหล่านี้มีอยู่ ๖ ประการเป็นอย่างไร คือ
เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงปลงชีวิตมารดา
เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงปลงชีวิตบิดา
เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงปลงชีวิต
พระอรหันต์เป็นไปไม่ได้ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงคิดประทุษร้ายตถาคต แม้เพียงทำโลหิต ให้ห้อเป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงทำสงฆ์ให้แตกกันเป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วย ทิฏฐิ จะพึงถือศาสดาอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้๖ ประการ.