18
P57
ฐานะที่เป็นไปไม่ได้ของโสดาบัน นัยที่ ๔
-บาลีฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๙ /๓๖๖.
ภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการเหล่านี้มีอยู่ ๖ ประการเป็นอย่างไร คือ
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ตนทำเอง”
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ผู้อื่นทำให้”
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ตนทำเองก็มีผู้อื่นทำให้ก็มี”
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ไม่ต้องทำเองเกิดขึ้นได้ตามลำพัง”
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ไม่ต้องใครอื่นทำให้ เกิดขึ้นได้ตามลำพัง”
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ไม่ต้องทำเองและไม่ต้องใครอื่นทำให้ เกิดขึ้นได้ตามลำพัง”.
ข้อนั้น เพราะเหตุไร.
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า เหตุ (แห่งสุขและทุกข์) อันผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เห็นแล้ว โดยแท้จริง และธรรมทั้งหลายก็เป็นสิ่งที่เกิดมา แต่เหตุด้วย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้๖ ประการ.
19
P59
อานิสงส์แห่งการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
-บาลีฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๐/๓๖๘.
ภิกษุทั้งหลาย ! อานิสงส์แห่งการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๖ อย่างเหล่านี้มีอยู่ ๖ อย่างเป็น อย่างไร คือเป็นบุคคลผู้เที่ยงแท้ต่อสัทธรรม เป็นบุคคลผู้มีธรรม อันไม่รู้ เสื่อมทุกข์ดับไป ทุกขั้นตอน แห่งการกระทำ ที่กระทำแล้ว เป็นบุคคลผู้ ประกอบด้วย อสาธารณญาณเป็น บุคคลผู้เห็นธรรม ที่เป็นเหตุ เป็นบุคคลผู้เห็นธรรมทั้งหลาย ที่เกิดมาแต่เหตุ.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล อานิสงส์ ๖ ประการแห่งการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
20
P60
ความเข้าใจผิดเรื่องกรรม 3 แบบ ที่อริยบุคคลจะต้องละได้
-บาลีติก. อํ. ๒๐/๒๒๒/๕๐๑.
ภิกษุทั้งหลาย ! ลัทธิ ๓ ลัทธิเหล่านี้มีอยู่ เป็นลัทธิซึ่งแม้บัณฑิตจะพากันไตร่ตรอง จะหยิบขึ้น ตรวจสอบ จะหยิบขึ้นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างไร แม้จะบิดผันกันมาอย่างไรก็ชวนให้น้อมไป เพื่อการไม่ ประกอบกรรม ที่ดีงามอยู่นั่นเอง.
ภิกษุทั้งหลาย ! ลัทธิ ๓ ลัทธินั้นเป็นอย่างไร คือ
(1) สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า “บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์หรือ ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรมที่ทำไว้ แต่ปางก่อน”
(2) สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า “บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะอิศวรเนรมิตให้”
(3) สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า “บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์หรือ ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น ไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเลย”
21
P61
เชื่อว่าสุขและทุกข์ เกิดจากกรรมเก่าอย่างเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง ๓ นั้น สมณพราหมณ์พวกใด มีถ้อยคำ และความเห็นว่า “บุคคลได้รับสุข หรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ ทุกข์ เพราะกรรม ที่ทำไว้แต่ปางก่อนอย่างเดียว” มีอยู่ เราเข้าไปหา สมณพราหมณ์ เหล่านั้น แล้วสอบถาม ความที่เขายังยืนยัน อยู่ดังนั้น แล้วเรากล่าว กะเขาว่า “ถ้ากระนั้น คนที่ฆ่าสัตว์ ... ลักทรัพย์ ...ประพฤติผิด พรหมจรรย์ ... พูด เท็จ ... พูดคำหยาบ ... พูด ยุให้แตกกัน ... พูดเพ้อเจ้อ ... มีใจละโมบเพ่งเล็ง ... มีใจพยาบาท ... มีความเห็นวิปริตเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งนั่น ก็ต้องเป็นเพราะกรรม ที่ทำไว้แต่ปางก่อน.
เมื่อมัวแต่ถือเอากรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อนมาเป็นสาระสำคัญดังนี้แล้ว คนเหล่านั้นก็ไม่มี ความอยากทำ หรือความพยายามทำในข้อที่ว่า สิ่งนี้ควรทำ (กรณีย) สิ่งนี้ไม่ควรทำ (อกรณีย) อีกต่อไป.
เมื่อกรณียกิจ และอกรณยีกิจไม่ถูกทำ หรือถูกละเว้นให้จริงๆ จังๆ กันแล้ว คนพวก ที่ไม่มีสติคุ้มครอง ตนเหล่านั้น ก็ไม่มีอะไร ที่จะมาเรียก ตนว่า เป็นสมณะอย่างชอบธรรม ได้”ดังนี้.
22
P62
เชื่อว่าสุขและทุกข์เกิดจากเทพเจ้าบันดาลให้
ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง ๓ นั้น สมณพราหมณ์พวกใด มีถ้อยคำ และความเห็นว่า “บุคคลได้รับสุข หรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะอิศวรเนรมิตให้ (อิสฺสรนิมฺมานเหตุ)” ดังนี้ มีอยู่ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์ เหล่านั้น แล้วสอบถามความที่เขา ยังยืนยันอยู่ดังนั้นแล้ว เรากล่าวกะเขาว่า “ถ้ากระนั้น คนที่ฆ่าสัตว์... ลักทรัพย์ ... ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ... พูดเท็จ ... พูดคำหยาบ ... พูดยุให้แตกกัน ... พูดเพ้อเจ้อ ... มีใจละโมบเพ่งเล็ง ... มีใจพยาบาท มีความเห็นวิปริต เหล่านี้ อย่างใด อย่างหนึ่งอยู่ นั่นก็ต้องเป็น เพราะการเนรมิตของอิศวรด้วย.
เมื่อมัวแต่ถือเอาการเนรมิตของอิศวร มาเป็นสาระสำคัญดังนี้แล้ว คนเหล่านั้นก็ไม่มี ความอยากทำ หรือความพยายามทำในข้อที่ว่า สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ อีกต่อไป.
เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจ ไม่ถูกทำหรือถูกละเว้นให้จริงๆ จังๆ กันแล้ว คนพวก ที่ไม่มีสติ คุ้มครองตน เหล่านั้นก็ไม่มีอะไร ที่จะมาเรียก ตนว่า เป็นสมณะอย่าง ชอบธรรมได้”ดังนี้.
23
P63
เชื่อว่าสุขและทุกข์เกิดขึ้นเองลอยๆ
ไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง ๓ นั้น สมณพราหมณ์พวกใด มีถ้อยคำ และความเห็นว่า “บุคคลได้รับสุข หรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุข ไม่ใช่ ทุกข์ ทั้งหมดนั้น ไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเลย” ดังนี้ มีอยู่ เราเข้าไปหา สมณพราหมณ์เหล่านั้น แล้วสอบถามความที่เขายังยืนยันอยู่ ดังนั้นแล้วเรากล่าวกะเขาว่า “ถ้ากระนั้น คนที่ฆ่าสัตว์ … ลักทรัพย์ …ประพฤติผิดพรหมจรรย์ … พูดเท็จ … พูดคำหยาบ … พูดยุให้แตกกัน … พูดเพ้อเจ้อ … มีใจละโมบเพ่งเล็ง … มีใจพยาบาท … มีความเห็น วิปริตเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่นั่น ก็ต้องไม่มีอะไร เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเลยด้วย.
เมื่อมัวแต่ถือเอาความไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเลย มาเป็นสาระสำคัญดังนี้แล้ว คนเหล่านั้น ก็ไม่มีความอยากทำ หรือความพยายาม ทำในข้อที่ว่า สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ อีกต่อไป.
เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจ ไม่ถูกทำหรือถูกละเว้นให้จริงๆ จังๆ กันแล้ว คนพวกที่ไม่มี สติคุ้มครองตน เหล่านั้น ก็ไม่มีอะไร ที่จะมาเรียก ตนว่า เป็นสมณะอย่างชอบธรรม ได้”ดังนี้.
24
P64
อนุตตริยะ๖ (สิ่งที่ประเสรฐิ ๖ ประการ)
-บาลีฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๖๓/๓๐๑.
ภิกษุทั้งหลาย ! อนุตตริยะ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นอย่างไร คือ
(๑) ทัสสนานุตตริยะ (การเห็น)
(๒) สวนานุตตริยะ (การฟัง)
(๓) ลาภานุตตริยะ (การได้)
(๔) สิกขานุตตริยะ (การศึกษา)
(๕) ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุง)
(๖) อนุสสตานุตตริยะ (การระลึก)
(1) ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ทัสสนานุตตริยะเป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อดูช้างแก้วบ้าง ม้าแก้วบ้าง แก้วมณีบ้าง ของใหญ่ ของเล็กหรือสมณะ หรือพราหมณ์ ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด.
ภิกษุทั้งหลาย ! ทัสสนะนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่าทัสสนะนี้ นั้นแลเป็นกิจเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชนไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไป เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหวมีความ เลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปเห็นตถาคต หรือสาวกตถาคต การเห็นนี้ยอดเยี่ยมกว่าการเห็น ทั้งหลาย ย่อมเป็นไป เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศก และ ความร่ำไร เพื่อความ ดับสูญ แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งนิพพาน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความ เลื่อมใสยิ่ง ไปเห็นตถาคต หรือสาวกของ ตถาคตนี้ เราเรียกว่า ทัสสนานุตตริยะ ก็ทัสสนานุตตริยะเป็นอย่างนี้.
(2) ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สวนานุตตริยะเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อฟังเสียงกลองบ้าง เสียงพิณบ้าง เสียงเพลงขับบ้าง หรือเสียงสูงๆ ต่ำๆย่อมไปเพื่อ ฟังธรรม ของสมณะหรือพราหมณ์ ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด.
ภิกษุทั้งหลาย ! การฟังนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่าการฟังนี้ นั้นเป็นกิจเลว ... .
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่นมีศรัทธา ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปฟังธรรมของตถาคตหรือสาวก ของตถาคต การฟังนี้ ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย ย่อมเป็นไป เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ ทั้งหลาย
... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของตถาคต หรือ สาวกของตถาคตนี้ เราเรียกว่า สวนานุตตริยะ ก็ทัสสนานุตตริยะสวนานุตตริยะ เป็นดังนี้.
(3) ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ลาภานุตตริยะเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมได้ลาภคือบุตรบ้าง ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือลาภมากบ้าง น้อยบ้างหรือได้ศรัทธาในสมณะ หรือพราหมณ์ ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด.
ภิกษุทั้งหลาย ! ลาภนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่าลาภนี้นั้นเป็นของเลว ... .
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่นมีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความ เลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในตถาคต หรือสาวกของตถาคต การได้นี้ยอดเยี่ยม กว่าการได้ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อ ความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่นมีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในตถาคตหรือสาวก ของตถาคตนี้ เราเรียกว่า ลาภานุตตริยะ ก็ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุตตริยะ เป็นดังนี้.
(4) ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สิกขานุตตริยะเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมศึกษา
ศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง ธนูบ้าง ดาบบ้าง หรือ
ศึกษาศิลปะชั้นสูงชั้นต่ำ ย่อมศึกษาต่อสมณะหรือพราหมณ์ ผู้เห็นผิดผู้ปฏิบัติผิด.
ภิกษุทั้งหลาย ! การศึกษานี้มีอยู่
เราไม่กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่า การศึกษานั้น เป็นการศึกษา ที่เลว ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรัก ตั้งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง
อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้ว การศึกษานี้ยอดเยี่ยม กว่าการศึกษาทั้งหลาย ย่อมเป็นไป พร้อมเพื่อความ บริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ... เพื่อทำให้แจ้ง
ซึ่งนิพพาน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัย
ที่ตถาคต ประกาศแล้วนี้ เราเรียกว่า สิกขานุตตริยะ ก็ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ
เป็นดังนี้.
(5) ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ปาริจริยานุตตริยะเป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง บำรุงคนชั้นสูง ชั้นต่ำบำรุงสมณะหรือพราหมณ์ ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด.
ภิกษุทั้งหลาย ! การบำรุงนี้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่าการบำรุงนี้นั้น เป็นการบำรุงที่เลว ... .
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความ เลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุง ตถาคตหรือสาวกของตถาคต การบำรุงนี้ ยอดเยี่ยมกว่าการ บำรุง ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ แห่งสัตว์ทั้งหลาย ... เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งนิพพาน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงตถาคตหรือสาวกของ ตถาคตนี้ เราเรียกว่า ปาริจริยา นุตตริยะ ก็ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ปาริจริยานุตตริยะ เป็นดังนี้.
(6) ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อนุสสตานุตตริยะเป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมระลึกถึงการได้บุตรบ้าง ภริยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือการได้ มากน้อย ระลึกถึงสมณะ หรือ พราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด.
ภิกษุทั้งหลาย ! การระลึกนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่าการระลึกนี้นั้นเป็นกิจเลว ... .
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงตถาคตหรือสาวก ของตถาคต การระลึกถึงนี้ ยอดเยี่ยม กว่าการระลึกถึงทั้งหลาย ย่อมเป็นไป พร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วง ความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่นมีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงตถาคตหรือสาวก ของตถาคตนี้ เราเรียกว่า อนุสสตานุตตริยะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลอนุตตริยะ ๖ ประการ.
ภิกษุเหล่าใดได้ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะลาภานุตตริยะ ยินดีในสิกขานุตตริยะ เข้าไปตั้งการบำรุง เจริญอนุสสติที่ประกอบด้วยวิเวก เป็นแดนเกษม ให้ถึงอมตธรรม ผู้บันเทิงในความไม่ประมาท มีปัญญารักษาตนสำรวมในศีล ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ชัดซึ่งที่เป็นที่ดับทุกข์ โดยกาลอันควร.
25
P70
ลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
-บาลีเอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๖๖/๒๒๑.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ! บัดนี้เป็นกาลสมควร ทรงแสดงลักษณะของผู้มีศรัทธานั้น. ข้าแต่พระสุคต ! บัดนี้เป็นกาลสมควรทรงแสดง ลักษณะของผู้มีศรัทธานั้น ขอพระผู้มีพระภาค พึงตรัสลักษณะแห่งศรัทธา ของผู้มีศรัทธาเถิด ข้าพระองค์ จักทราบบัดนี้ว่า ภิกษุนี้จะเห็นพร้อม ในลักษณะ ของผู้มีศรัทธาทั้งหลายหรือไม่.
สุภูติ ! ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
(1) สุภูติ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย มารยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษ ทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ ในสิกขาบททั้งหลาย. สุภูติ ! ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ...
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา.
(2) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสุตตะมาก ทรงสุตตะสั่งสมสุตตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจแทงตลอดอย่างดีด้วย ทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้ง พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง.
สุภูติ !ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสุตตะมาก ... แทงตลอดด้วยดี ด้วยทิฏฐิแม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่ง ศรัทธาของ ผู้มีศรัทธา.
(3) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดีมีเพื่อนดี. สุภูติ ! ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดีมีเพื่อนดี แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่ง ศรัทธา ของผู้มีศรัทธา.
(4) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน ยอมรับฟังคำสั่งสอนโดยเคารพ.
สุภูติ ! ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม เครื่องกระทำ ให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทนยอมรับฟัง คำสั่งสอน โดยเคารพ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา.
(5) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกรณียกิจทั้งสูงและต่ำ ของเพื่อน สพรหมจารี ทั้งหลายประกอบ ด้วยปัญญาเป็น เครื่องพิจารณา อันเป็นอุบายในกรณียกิจ นั้น อาจทำ อาจจัดได้. สุภูติ ! ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ... อาจทำ อาจจัดได้ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา.
(6) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม กล่าวคำเป็นที่รัก เป็นผู้มีความปราโมทย์อย่างยิ่ง ในธรรม อันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง. สุภูติ ! ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้กล่าวคำอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่ง ในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธา ของผู้มีศรัทธา.
(7) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรม ให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลังมีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม. สุภูตู ! ข้อ ที่ภิกษุปรารภความเพียร ... แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา.
(8) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ได้ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้ง ๔ อันมีในจิต อันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน.
สุภูติ ! ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดย ไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้ง ๔ อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุข ในปัจจุบันแม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธา ของผู้มีศรัทธา.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติ บ้างสี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้างแสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็น อันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัป เป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆมีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้น จุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้นมีผิวพรรณ อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียง เท่านั้น ครั้น จุติจากภพนั้น แล้วได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึง ชาติก่อนได้เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยอาการ อย่างนี้.
สุภูติ !ข้อที่ภิกษุระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ... เธอย่อมระลึก ถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยอาการอย่างนี้แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่ง ศรัทธา ของผู้มีศรัทธา.
(9) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติกำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัด ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการ กระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป จึงต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ส่วนสัตว์ เหล่านี้ ประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระ-อริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป จึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เธอย่อม เห็น หมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีตมีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุ ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยอาการอย่างนี้.
สุภูติ ! ข้อที่ภิกษุเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ... ย่อมรู้ชัด ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยอาการอย่างนี้ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธา ของผู้มีศรัทธา.
(10 ) อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้น ไปด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.
สุภูติ ! ข้อที่ภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธา ของผู้มีศรัทธา.
P75
อริยบุคคลจะปฏิบัติตามสิ่งที่พระศาสดาบัญญัติ
26
p76
พระสัมมาสัมพุทธะ
บัญญัติให้ภิกษุฉันอาหารวันหนึ่ง เพียงหนเดียว
-บาลีม. ม. ๑๓/๑๖๔/๑๖๓.
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาค รับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย ถึงประโยชน์ของการฉันอาหารมื้อเดียว และบัญญัติ ให้ภิกษุ ฉันอาหารมื้อเดียว เพื่อความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกำลังและอยู่สำราญ ซึ่งพระภัททาลิ ได้แย้งว่าตนเองทำไม่ได้ พระผู้มีพระภาค จึงอนุญาตให้พระภัททาลิ สามารถนำอาหาร ที่ได้จากการรับนิมนต์ กลับมาฉันต่อ อีกมื้อหนึ่งได้ซึ่งพระภัททาลิก็ได้แย้งว่าตนเอง ทำไม่ได้อีก
จากนั้นพระภัททาลิก็ไม่กล้าพบหน้าพระผู้มีพระภาค จนตลอด ๓ เดือน จนกระทั่งถึง
ฤดูทำจีวรภิกษุทั้งหลาย ได้ตักเตือน พระภัททาลิถึงการกระทำที่ไม่เหมาะสม
พระภัททาลิจึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! โทษได้ครอบงำ ข้าพระองค์ ผู้เป็นคนพาลเป็นคนหลง ไม่ฉลาดซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะ ขึ้นแล้ว ในเมื่อพระผู้มีพระภาค กำลังทรงบัญญัติสิกขาบทในเมื่อภิกษุสงฆ์ สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงรับโทษของข้าพระองค์นั้น โดยความเป็นโทษเพื่อ ความสำรวม ระวังต่อไปเถิด
ภัททาลิ ! เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศ ความอุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลัง จะบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทาน อยู่ซึ่งสิกขา.
ภัททาลิ ! เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไรภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นอริยบุคคล ชื่อ อุภโตภาค วิมุตุติ เราพึงกล่าวแก่ภิกษุอย่างนี้ว่า มาเถิดภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่มดังนี้ ภิกษุนั้นพึงก้าวไป หรือพึงน้อมกายไปด้วยอาการอื่นหรือพึงกล่าวปฏิเสธบ้างหรือ.
ไม่มีเลยพระเจ้าข้า.
ภัททาลิ ! เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นอย่างไรภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นอริยบุคคลชื่อ ปัญญาวิมุตติ เป็นอริยบุคคลชื่อกายสักขี เป็นอริย บุคคลชื่อทิฏฐิปัตตะ เป็นอริยบุคคล ชื่อสัทธาวิมุตติ เป็นอริยบุคคลชื่อ ธรรมานุสารีเป็นอริยบุคคลชื่อสัทธานุสารี เราพึงกล่าว กะภิกษุ อย่างนี้ ว่ามาเถิดภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่ม ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงก้าวไป หรือพึงน้อมกายไปด้วยอาการอื่น หรือพึงกล่าวปฏิเสธบ้างหรือ ไม่มีเลยพระเจ้าข้า.
ภัททาลิ ! เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไรในสมัยนั้น เธอเป็นพระอริยบุคคลชื่อว่า อุภโตภาควิมุตติ ปัญญาวิมุตติ กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุตติ ธรรมานุสารีหรือ สัทธานุสารี บ้างหรือหนอ.
………………………………………………………………………………….
1. หาคำ ตอบในความหมายของชื่ออริยบุคคลแต่ละจำ พวก ได้ในไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๓ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๑๙ ข้อที่ ๒๓๐
………………………………………………………………………………….
มิได้เป็นเลยพระเจ้าข้า.
ภัททาลิ ! ในสมัยนั้น เธอยังเป็นคนว่าง คนเปล่าคนผิดมิใช่หรือ.เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! โทษได้ครอบงำ ข้าพระองค์ผู้เป็นคนพาลเป็นคนหลงไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศ ความไม่อุตสาหะขึ้นแล้วในเมื่อพระผู้มีพระภาค กำลังทรง บัญญัติ สิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลัง สมาทาน อยู่ซึ่งสิกขา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ!ขอพระผู้มี พระภาค จงทรงรับโทษของข้าพระองค์ นั้นโดยความ เป็นโทษเพื่อความสำรวมระวัง ต่อไปเถิด.
ภัททาลิ ! เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ ประกาศความไม่ อุตสาหะ ขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลัง บัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์ กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา แต่เพราะเธอเห็นโทษโ ดยความเป็นโทษ แล้วทำคืน ตามธรรม เราจึงรับ โทษของเธอนั้น ข้อที่บุคคล เห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมระวังต่อไป นี้เป็นความเจริญในอริยวินัย ของผู้นั้น.
27
P79
อริยสาวกทั้งหลายยอมเสียชีวิตแต่ไม่ยอมก้าวล่วงสิกขาบท
-บาลีอฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๐๓/๑๐๙.
ปหาราทะ! มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่งฉันใด เราบัญญัติสิกขาบทใดๆ แก่สาวกทั้งหลายของเรา แล้วสาวกทั้งหลายของเรา ย่อมไม่ก้าวล่วงสิกขาบทนั้นๆ แม้จะต้องเสียชีวิต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
ปหาราทะ ! ข้อที่เราบัญญัติสิกขาบทใดๆ แก่สาวกทั้งหลายของเราแล้ว สาวกทั้งหลาย ของเรา ย่อมไม่ก้าวล่วงสิกขาบทนั้นๆ แม้จะต้องเสียชีวิต นี้แลเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่น่าจะมีได้ ประการที่ ๒ ในธรรมวินัยนี้ซึ่งเมื่อภิกษุทั้งหลายได้เห็นแล้วๆ ซึ่งข้อนี้ ย่อมเกิดความพอใจ อย่างยิ่งในธรรมวินัยนี้แล.
(ในที่นี้ ยกมาเพียง ๑ ข้อจาก ๘ ข้อ ของสิ่งที่น่าอัศจรรย์ในธรรมวินัย)
P81
เครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์
28
P82
เครื่องเศร้า หมองของสมณพราหมณ์
-บาลีจุลฺล. วิ. ๗/๓๙๘/๖๓๔.
-บาลีจตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๘/๕๐.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเศร้าหมอง
เพราะเครื่องเศร้าหมอง ๔ ประการนี้ จึงไม่มีสง่า ไม่รุ่งเรืองไม่ไพโรจน์ ๔ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) ภิกษุทั้งหลาย ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งดื่มสุรา ดื่มเมรัย ไม่งดเว้นจากการ ดื่มสุราและเมรัย นี้เป็น เครื่องเศร้าหมอง ของสมณ พราหมณ์ข้อที่หนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุ ให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเศร้าหมอง ไม่มีสง่า ไม่รุ่งเรืองไม่ไพโรจน์.
(2) อนึ่ง สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเสพเมถุนธรรมไม่งดเว้นจากเมถุนธรรม นี้เป็นเครื่อง เศร้าหมองของ สมณพราหมณ์ข้อที่สอง ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เศร้าหมอง ไม่มีสง่า ไม่รุ่งเรือง ไม่ไพโรจน์.
(3) อนึ่ง สมณพราหมณ์พวกหนึ่งยินดีทองและเงินไม่งดเว้นจากการรับทองและเงิน นี้เป็นเครื่อง เศร้าหมองของสมณพราหมณ์ ข้อที่สาม ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง เศร้าหมอง ไม่มีสง่า ไม่รุ่งเรือง ไม่ไพโรจน์.
(4) อนึ่ง สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพ ไม่งดเว้นจากมิจฉาชีพ นี้เป็นเครื่อง เศร้าหมองของสมณพราหมณ์ข้อที่สี่ ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง เศร้าหมอง ไม่มีสง่า ไม่รุ่งเรือง ไม่ไพโรจน์.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเศร้าหมองเพราะเครื่องเศร้าหมอง ๔ ประการนี้ แล้วจึงไม่มีสง่าไม่รุ่งเรืองไม่ไพโรจน์.
P85
ศีลที่เป็นอกุศลคือ การเลี้ยงชีพชั่ว
29
P86
ศีลที่เป็นอกุศล คือ การเลี้ยงชีพชั่ว
-บาลีม. ม. ๑๓/๓๔๘/๓๖๒.
ถปติ ! ก็ศีลที่เป็นอกุศลนั้นเป็นอย่างไร.
ถปติ ! กายกรรมที่เป็นอกุศล วจีกรรมที่เป็นอกุศลการเลี้ยงชีพชั่ว (มิจฺฉาชีว) เหล่านี้ เรากล่าวว่าศีล ที่เป็นอกุศลก็ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด แม้เหตุให้เกิด แห่งศีลเป็นอกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าว แล้ว ก็ต้องกล่าวว่ามีจิต เป็นเหตุให้เกิด จิตนั้นเป็นอย่างไร แม้จิตเล่าก็มีมากหลายอย่าง มีประการต่างๆ จิตใดมีราคะ มีโทสะ มีโมหะศีล ที่เป็นอกุศล มีจิตนี้เป็นเหตุให้เกิด ก็ศีลที่เป็นอกุศล เหล่านี้ ดับลงหมดสิ้น ในที่ไหน แม้ความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวแล้ว.
ถปติ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต ละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาอาชีวะ ศีลที่เป็นอกุศล เหล่านี้ย่อมดับลง หมดสิ้นด้วยการละทุจริต เจริญสุจริต ด้วยการละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตด้วย สัมมาอาชีวะ.
ผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศล.
ถปติ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมปลูกความพอใจย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อยังอกุศลธรรม อันเป็นบาปทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อละอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม
ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิตย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อยังกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น ความไม่เลือนหาย ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรม ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว.
ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศล.
P89
ภาคผนวก
30
P90
หลักปฏิบัติต่อคำสอน ของสัมมาสัมพุทธะ
-บาลีทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒.
ภิกษุทั้งหลาย ! สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตน ควรศึกษาเล่าเรียนจึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร มีความหมายกี่นัย” ดังนี้.
ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้ ความสงสัย ในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า ปฏิปุจฉาวินีตาปริสา โน อุกกาจิตวินีตา
31
P91
หลักปฏิบัติต่อคำแต่งใหม่
-บาลีทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒
ภิกษุทั้งหลาย ! สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรอง ประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมี ผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดีไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
32
P92
การเข้าไปสนใจคำแต่งใหม่
มีผลให้คำตถาคตอันตรธานหายไป
-บาลีนิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓.
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่ เมื่อกลองอานกะนี้มีแผลแตก หรือลิ พวก กษัตริย์ทสารหะได้หาเนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย !เมื่อเชื่อมปะเข้าหลาย ครั้งหลายคราวเช่นนั้น นานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่ เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมี. ภิกษุทั้งหลาย ! สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้น โลกุตตระว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจัก ไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่ง ที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษร สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่อง นอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำ สุตตันตะ ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้นที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
33
P94
ผู้ทำสัทธรรมให้อันตรธาน
นัยที่ ๑
-บาลีเอก. อํ. ๒๐/๒๕/๑๓๑.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมว่าเป็นธรรม ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำมหาชนให้เสื่อมเสีย ทำมหาชนให้หมดความสุข ทำไปเพื่อความ ฉิบหาย แก่มหาชน ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เป็นไปเพื่อความทุกข์ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสบสิ่งไม่ใช่บุญเป็นอันมาก และได้ชื่อว่าทำ สัทธรรมนี้ ให้อันตรธานไปอีกด้วย.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าไม่ใช่ธรรม ... .
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งที่ไม่ใช่วินัย ว่าเป็นวินัย ... .
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งที่เป็นวินัย ว่าไม่ใช่วินัย ... .
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งอันตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ ว่าตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ ... .
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งอันตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ ว่าตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ ... .
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่แสดงกรรมอันตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมา ว่าตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมา ... .
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่แสดงกรรมอันตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมา ว่าตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมา ... .
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งอันตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ว่าตถาคตบัญญัติไว้ ... .
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งอันตถาคตได้บัญญัติไว้ ว่าตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อทำมหาชนให้เสื่อมเสียทำมหาชนให้หมดความสุข ทำไปเพื่อความฉิบหายแก่มหาชน ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เป็นไปเพื่อความทุกข์ ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสบสิ่งไม่ใช่บุญเป็นอันมาก และได้ชื่อว่าทำสัทธรรมนี้ให้อันตรธานไปอีกด้วย.1
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์ตรัสว่าสังฆเภท(สงฆ์แตกกัน) สังฆเภท (สงฆ์แตกกัน) ดังนี้สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุ มีประมาณเท่าไรเล่าพระเจ้าข้า.
………………………………………………………………………………
1. บาลีเดียวกัน ต่างสำนวนในบางฉบับของไตรปิฎกแต่ละสำนัก
………………………………………………………………………………….
อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรม ว่าเป็นธรรม
(2) ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าไม่ใช่ธรรม
(3) ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่วินัย ว่าเป็นวินัย
(4) ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัย ว่าไม่ใช่วินัย
(5) ย่อมแสดงสิ่งอันตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ ว่าตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้
(6) ย่อมแสดงสิ่งอันตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่าตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้
(7) ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมา ว่าตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมา
(8) ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมา ว่าตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมา
(9) ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ว่าตถาคตบัญญัติไว้
(10 ) ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ ว่าตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้
ภิกษุเหล่านั้น ! ย่อมทอดทิ้งกัน ย่อมแยกจากกันย่อมทำสังฆกรรมแยกกัน สวดปาติโมกข์ แยกจากกันด้วยวัตถุ ๑๐ ประการนี้.
อานนท์ ! สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็บุคคลผู้ที่ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันจะประสบผลอะไรพระเจ้าข้า.
อานนท์ ! บุคคลผู้ที่ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันนั้นจะประสบผลอันเผ็ดร้อนซึ่งตั้งอยู่ตลอดกัปหนึ่ง.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ผลอันเผ็ดร้อนซึ่งตั้งอยู่ตลอดกัปหนึ่งคืออะไรพระเจ้าข้า.
อานนท์ ! บุคคลผู้ที่ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันนั้นจะเสวยผลกรรมอยู่ในนรกตลอดกัปหนึ่ง.
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
ยินดีแล้วในการแตกแยก ตั้งอยู่ในอธรรม
เป็นผู้เข้าถึงอบาย เข้าถึงนรก
ตั้งอยู่ในนรกนั้นตลอดกัปหนึ่ง
ย่อมพลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ
ย่อมเสวยกรรมอยู่ในนรกตลอดกัปหนึ่ง
เพราะทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้แตกกัน.
34
P98
ผู้ทำสัทธรรมให้ดำรงอยู่ นัยที่ ๑
-บาลีเอก. อํ. ๒๐/๒๖/๑๓๓.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ธรรม ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำมหาชน ให้ได้รับประโยชน์ ทำมหาชนให้ได้รับความสุข เป็นไปเพื่อความเจริญแก่มหาชน และเป็นไปเพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสบบุญเป็นอันมาก และได้ชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้ อีกด้วย.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าเป็นธรรม ... .
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งที่ไม่ใช่วินัย ว่าไม่ใช่วินัย ... .
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งที่เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย ... .
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งอันตถาคตไม่ได้
ภาษิต ไม่ได้กล่าวไว้ ว่าตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งอันตถาคตได้ภาษิต ได้กล่าวไว้ ว่าตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ ... .
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่แสดงกรรม อันตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมา ว่าตถาคต ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมา
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่แสดงกรรม อันตถาคต ประพฤติปฏิบัติมา ว่าตถาคต ได้ประพฤติปฏิบัติมา ... .
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่แสดงสิ่ง อันตถาคต ไม่ได้บัญญัติไว้ ว่าตถาคต ไม่ได้บัญญัติไว้ ... .
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งอันตถาคตได้บัญญัติไว้ ว่าตถาคตได้บัญญัติไว้ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำมหาชน ให้ได้รับประโยชน์ ทำ มหาชนให้ได้รับ ความสุข เป็นไปเพื่อความเจริญแก่มหาชน และเป็นไปเพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสบบุญเป็นอันมากและได้ชื่อว่า ดำรงสัทธรรมนี้ ไว้อีกด้วย.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์ตรัสว่าสังฆสามัคคีสังฆสามัคคีดังนี้สงฆ์จะเป็นผู้พร้อม เพรียงกัน ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรเล่าพระเจ้าข้า.
อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรม ว่าไม่ใช่ธรรม
(2) ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าเป็นธรรม
(3) ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่วินัย ว่าไม่ใช่วินัย
(4) ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย
(5) ย่อมแสดงสิ่งอันตถาคตไม่ได้ภาษิต ไม่ได้กล่าวไว้ ว่าตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้
(6) ย่อมแสดงสิ่งอันตถาคตได้ภาษิต ได้กล่าวไว้ ว่าตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้
(7) ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมา ว่าตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมา
(8) ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติปฏิบัติมาว่าตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมา
(9) ย่อมแสดงสิ่งอันตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ว่าตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้
(10 ) ย่อมแสดงสิ่งอันตถาคตได้บัญญัติไว้ ว่าตถาคตได้บัญญัติไว้
ภิกษุเหล่านั้น ! ย่อมไม่ทอดทิ้งกัน ไม่แยกจากกันไม่ทำ สังฆกรรมแยกกัน ไม่สวดปาติโมกข์แยกจากกันด้วยวัตถุ ๑๐ ประการนี้.
อานนท์ ! สงฆ์ย่อมเป็นผู้พร้อมเพรียงกันด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็บุคคลผู้สมานสงฆ์ผู้แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียงกัน จะประสบผล อะไรพระเจ้าข้า.
อานนท์ ! บุคคลผู้ที่ทำ สงฆ์ผู้แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียงกันนั้น จะประสบสิ่งที่เป็นบุญ เป็นอันมาก.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สิ่งที่เป็นบุญเป็นอันมากคืออะไรพระเจ้าข้า.
อานนท์ ! บุคคลผู้สมานสงฆ์ผู้แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียงกันนั้น จะบันเทิงอยู่ในสวรรค์ ตลอดกัปหนึ่ง.
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
ความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์ เป็นเหตุให้เกิดความสุขและบุคคลผู้อนุเคราะห์สงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ผู้ยินดีแล้วในความพร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่พลาด จากธรรม เป็นแดนเกษมจากโยคะ ย่อมบันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัปหนึ่ง เพราะสมานสงฆ์ให้พร้อมเพรียงกัน.
35
P102
ผู้ทำสัทธรรมให้อันตรธาน นัยที่ ๒
-บาลีเอก. อํ. ๒๐/๘๘/๒๘๖.
-บาลีทสก. อํ. ๒๔/๗๘/๓๗.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่คัดค้าน (ปฏิพาหติ)1
อรรถและธรรม โดยสูตรซึ่งตน เรียนไว้ไม่ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น (พฺยญฺชนปฏิรูป)2 ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อทำมหาชน ให้เสื่อมเสีย ทำมหาชนให้หมด ความสุข ทำไปเพื่อความฉิบหาย แก่มหาชน ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลเป็นไปเพื่อความทุกข์ ทั้งแก่ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสบสิ่งไม่ใช่บุญเป็นอันมาก และได้ชื่อว่าทำ สัทธรรมนี้ ให้อันตรธานไปอีกด้วย.
………………………………………………………
1. ปฏิพาหติ = คัดค้าน, ห้าม, ขัดขวาง
2. ปฏิรูป = เหมาะสม, สมควร
………………………………………………………
36
P103
ผู้ทำสัทธรรมให้ดำรงอยู่ นัยที่ ๒
-บาลีเอก. อํ. ๒๐/๘๘/๒๘๖.
-บาลีทสก. อํ. ๒๔/๗๙/๓๙.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่ยอมรับ (อนุโลม)1 อรรถ
และธรรม โดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ด้วยพยัญชนะปฏิรูป นั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำมหาชนให้ได้รับประโยชน์ ทำมหาชน ให้ได้รับ ความสุข เป็นไปเพื่อความเจริญแก่มหาชน และเป็นไปเพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสบบุญเป็นอันมาก และได้ชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ ไว้อีกด้วย.
37
P104
มูลเหตุแห่งการวิวาท
-บาลีทสก. อํ. ๒๔/๘๑/๔๑.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้การหมางกัน การทะเลาะ การแก่งแย่ง และการวิวาทกันเกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุทั้งหลายอยู่ไม่สำราญ.
อุบาลี ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรม ว่าเป็นธรรม
(2) ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าไม่ใช่ธรรม
(3) ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่วินัย ว่าเป็นวินัย
(4) ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัย ว่าไม่ใช่วินัย
(5) ย่อมแสดงสิ่งอันตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ ว่าตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้
(6) ย่อมแสดงสิ่งอันตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่าตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้
(7) ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมา ว่าตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมา
(8) ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมา ว่าตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมา
(9) ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ว่าตถาคตบัญญัติไว้
(10 ) ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ ว่าตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้
อุบาลี ! เหล่านี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้การหมางกันการทะเลาะ การแก่งแย่ง และการวิวาทกันเกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุทั้งหลายอยู่ไม่สำราญ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มูลเหตุแห่งการวิวาทมีเท่าไรเล่าพระเจ้าข้า.
อุบาลี ! มูล เหตุแห่ง การวิวาท ๑๐ ประการ เหล่านี้ มีอยู่. ๑๐ ประการ คือ
อุบาลี ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรม ว่าเป็นธรรม
(2) ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าไม่ใช่ธรรม
(3) ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่วินัย ว่าเป็นวินัย
…
(9) ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ว่าตถาคตบัญญัติไว้
(10 ) ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ ว่าตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้
อุบาลี ! เหล่านี้แลมูลเหตุแห่งการวิวาท ๑๐ ประการ.
38
P106
ผู้เรียกร้องหาศาสดาเพื่อความเป็นมิตร หรือศัตรู
-บาลีอุปริ. ม. ๑๔/๒๔๔/๓๕๕-๓๕๖.
อานนท์ ! สาวกทั้งหลาย เรียกร้องหาศาสดา เพื่อความเป็นศัตรู ไม่เรียกร้องเพื่อความ เป็นมิตร เป็นอย่างไรเล่าอานนท์ ! ในกรณีนี้ ศาสดาผู้เอ็นดูแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จึงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า “สิ่งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล แก่พวกเธอทั้งหลาย และสิ่งนี้ก็เป็นไปเพื่อความสุขแก่พวกเธอทั้งหลาย”
ดังนี้ เป็นต้น สาวกเหล่านั้นของศาสดา ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟังไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง แต่แกล้งทำให้ผิดจากคำสั่งสอนของศาสดาไปเสีย.
อานนท์ ! สาวกทั้งหลายอย่างนี้แล ชื่อว่า ผู้เรียกร้องหาศาสดาเพื่อความเป็นศัตรู ไม่เรียกร้องเพื่อความเป็นมิตร.
อานนท์ ! สาวกทั้งหลาย เรียกร้องหาศาสดา เพื่อความเป็นมิตร ไม่เรียกร้องเพื่อความ เป็นศัตรู เป็นอย่างไรเล่า.
อานนท์ ! ในกรณีนี้ ศาสดาผู้เอ็นดูแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จึงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า “สิ่งนี้เป็นไป เพื่อประโยชน์ เกื้อกูลแก่พวกเธอ ทั้งหลาย และสิ่งนี้ก็เป็นไปเพื่อความสุขแก่พวกเธอทั้งหลาย”
ดังนี้ เป็นต้น สาวกเหล่านั้นของศาสดา ย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ย หูฟัง ย่อมตั้งจิต เพื่อรู้ทั่ว และไม่แกล้ง ทำให้ผิดจาก คำสั่งสอนของศาสดา
อานนท์ ! สาวกทั้งหลายอย่างนี้แล ชื่อว่า ผู้เรียกร้องหาศาสดา เพื่อความเป็นมิตร ไม่เรียกร้องเพื่อความเป็นศัตรู
อานนท์ ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายจงเรียกร้องหาตถาคตเพื่อความเป็นมิตรเถิด อย่าเรียกร้อง เพื่อความ เป็นศัตรูเลย ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่พวกเธอทั้งหลายเองตลอดกาลนาน
อานนท์ ! เราไม่พยายามทำกะพวกเธออย่างทะนุถนอม เหมือนพวกช่างหม้อ ทำแก่หม้อ ที่ยังเปียก ยังดิบอยู่.
อานนท์ ! เราจักขนาบแล้วขนาบอีก ไม่มีหยุด.
อานนท์ ! เราจักชี้โทษแล้วชี้โทษอีก ไม่มีหยุด ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทน อยู่ได้.
39
P108
ขีดจำกัดของสาวก เทียบกับ สัมมาสัมพุทธะ
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๒/๑๒๖.
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรค ที่กล่าวกันแล้ว ตถาคตเป็นผู้รู้มรรค (มคฺคญฺญู) เป็นผู้รู้แจ้งมรรค(มคฺควิทู) เป็นผู้ฉลาดในมรรค (มคฺคโกวิโท).
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้ เป็นผู้เดินตามมรรค (มคฺคานุคา) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกันเป็นความมุ่งหมาย ที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่าง ตถาคต ผู้อรหันตสัมมา สัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตติ
40
P109
อะไรคือใบไม้ในป่าอะไรคือใบไม้ในกำมือ
-บาลีมหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๘/๑๗๑๒.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำใบไม้สีสปาที่ร่วงอยู่ตามพื้นดินขึ้นมาหน่อยหนึ่งแล้วตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายเข้าใจว่าอย่างไร ใบไม้สีสปาที่เรากำขึ้นหน่อยหนึ่งนี้มาก หรือว่าใบไม้สีสปาที่ยังอยู่บนต้นเหล่านั้นมาก.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ใบไม้ที่พระผู้มีพระภาคทรงกำขึ้นหน่อยหนึ่งนั้นเป็นของน้อยส่วนใบไม้ที่ยังอยู่บนต้นสีสปาเหล่านั้นย่อมมีมาก.
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ธรรมะส่วนที่เรารู้ยิ่งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว ไม่กล่าวสอนนั้น มีมากกว่าส่วนที่นำมากล่าวสอน
ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุไรเล่าเราจึงไม่กล่าวสอนธรรมะส่วนนั้นๆ.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุว่า ธรรมะส่วนนั้นๆ ไม่ประกอบอยู่ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อความคลาย กำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวสอน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมะอะไรเล่า เป็นธรรมะที่เรากล่าวสอน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมะที่เรากล่าวสอน คือข้อที่ว่า ความทุกข์เป็นอย่างนี้ๆ เหตุเป็นที่เกิด ของความทุกข์เป็นอย่างนี้ๆ ความดับสนิท ของความทุกข์ เป็นอย่างนี้ๆข้อปฎิบัติเพื่อถึง ความดับสนิทของความทุกข์ เป็นอย่างนี้ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุไรเล่า ธรรมะส่วนนี้เราจึงนำมากล่าวสอน
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะว่าธรรมะส่วนนี้ ประกอบอยู่ด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นแห่ง พรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย เป็นไปเพื่อความ คลายกำหนัด เป็นไปเพื่อความดับ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น แลเราจึงนำมากล่าวสอน.
41
P111
การบอกสอนมนต์มาจากไหน
-บาลีปา. ที. ๑๑/๑๐๓/๖๔.
... ครั้งนั้นแล สัตว์บางจำพวก ได้มีความคิดขึ้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญเอ๋ย การถือเอา สิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ จักปรากฏ การติเตียนจักปรากฏ การกล่าวเท็จจักปรากฏ การถือท่อนไม้จักปรากฏ การขับไล่จักปรากฏในเพราะอกุศลธรรมอันเป็นบาปเหล่าใด อกุศลธรรมอันเป็นบาปเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว ในสัตว์ทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลยพวกเรา ควรไปลอยอกุศลธรรมอันเป็นบาปนี้เถิด” ดังนี้
ครั้นแล้ว สัตว์เหล่านั้นจึงได้พากันลอยอกุศลธรรม อันเป็นบาปทิ้งไป เพราะเหตุที่สัตว์ เหล่านั้นพากันลอยอกุศลธรรมอันเป็นบาปอยู่ดังนี้ อักขระว่า พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ (พฺราหฺมณ) จึงเกิดขึ้นเป็นอันดับแรก.
พราหมณ์เหล่านั้น พากันสร้างกระท่อม ซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่า เพ่งอยู่ใน กระท่อม ซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้นั้น พวกเขาไม่มีการหุงต้ม ไม่มีการตำข้าว ทั้งในเวลาเย็น และเวลาเช้า จึงได้พากันเที่ยวแสวงหาอาหาร ตามหมู่บ้าน นิคมและ ราชธานี เพื่อบริโภคในเวลาเย็นและเวลาเช้า เขาเหล่านั้นครั้นได้อาหารแล้ว จึงพากันกลับไปเพ่งอยู่ในกระท่อม ซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่าอีก คนทั้งหลาย เห็นการกระทำของพวกพราหมณ์นั้นแล้ว จึงพากันพูดอย่างนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญเอ๋ย สัตว์พวกนี้พากันมาสร้างกระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่า แล้วเพ่งอยู่ในกระท่อม ซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้นั้น ไม่มีการหุงต้ม ไม่มีการตำข้าว ทั้งในเวลาเย็นและเวลาเช้า จึงพากันเที่ยวแสวงหาอาหาร ตามหมู่บ้าน นิคม และ ราชธานี เพื่อบริโภคในเวลาเย็น และเวลาเช้า เขาเหล่านั้นครั้นได้อาหารแล้ว จึงพากันกลับไปเพ่งอยู่ในกระท่อม ซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่าอีก” ดังนี้ เพราะเหตุนั้น อักขระว่า พวกเจริญฌาน พวกเจริญฌาน(ฌายิกา) จึงเกิดขึ้น เป็นอันดับที่ ๒.
บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์บางพวกเมื่อไม่อาจสำเร็จฌาน ได้ที่กระท่อมซึ่งมุงและบัง ด้วยใบไม้ในราวป่า จึงเที่ยวไปยังหมู่บ้านและนิคม ที่ใกล้เคียง แล้วก็จัดทำคัมภีร์ อยู่คนทั้งหลายเห็นการกระทำของพวกพราหมณ์นี้นั้นแล้ว จึงพูดอย่างนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญเอ๋ย ก็สัตว์เหล่านี้ ไม่อาจสำเร็จฌานได้ที่กระท่อมซึ่งมุง และบัง ด้วยใบไม้ ในราวป่า เที่ยวไปยังหมู่บ้านและนิคมที่ใกล้เคียง จัดทำคัมภีร์อยู่ บัดนี้พวกชน เหล่านี้ ไม่เพ่งอยู่ บัดนี้พวกชนเหล่านี้ไม่เพ่งอยู่” ดังนี้
เพราะเหตุนั้น อักขระว่า พวกไม่เจริญฌาน พวกไม่เจริญฌาน(อชฺฌายิกา)จึงเกิดขึ้น เป็นอันดับที่ ๓. ก็สมัยนั้นการทรงจำ การสอน การบอกมนต์ ถูกสมมติว่าเลว มาในบัดนี้ สมมติกันว่าประเสริฐ ด้วยเหตุดังที่กล่าวมานี้ การเกิดขึ้นแห่งพวกพราหมณ์ นั้นจึงมีขึ้นได้... .
42
P114
การสาธยายธรรมในแบบพระศาสดาเป็นไปเพื่อวิมุตติ
-บาลีปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๓/๒๖.
...ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะ เป็นครูรูปใดรูปหนึ่งก็มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ และเธอนั้นก็มิได้แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น โดยพิสดาร ตามที่เธอได้ฟังมา ได้เล่าเรียนมาแต่เธอกระทำการท่องบ่นซึ่งธรรม (สชฺฌาย) โดยพิสดารตามที่ตนฟังมา เล่าเรียนมาอยู่.
เธอย่อมเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ในธรรมนั้น ตามที่เธอทำการ ท่องบ่นซึ่งธรรมโดยพิสดาร ตามที่ได้ฟังมา เล่าเรียนมา.
เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ปราโมทย์ ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอนั้น เมื่อปราโมทย์แล้วปีติย่อมเกิด เมื่อใจปีติ กายย่อมรำงับ ผู้มีกายรำงับแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือ ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติข้อที่ ๓ ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้นอาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบ ย่อมถึงซึ่งความสิ้นรอบ หรือว่าเธอย่อมบรรลุ ตามลำดับ ซึ่งความเกษมจากโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่า ที่ตนยังไม่บรรลุตามลำดับ.
(ในที่นี้ ยกมาเพียง ๑ ข้อ จาก ๕ ข้อ ของธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ) |