เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  มรรควิธีที่ง่าย-พุทธวจน ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  1 of 2  
 
  มรรควิธีที่ง่าย พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
       
  คำนำ    
  การละนันทิ    
  ๑. ภพแม้ชั่วขณะดีดนิ้วมือก็ยังน่ารังเกียจ 8  
  ๒. ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ผู้ไม่เข้าไปหา ย่อมเป็นผู้หลุดพ้น 9  
  ๓. จิตมีตัณหา เรียกว่าอยู่สองคน จิตไม่มีตัณหา เรียกว่าอยู่คนเดียว 12  
  ๔. พรหมจรรย์นี้ อันบุคคลย่อมประพฤติ 16  
       
  พื่อการละขาดซึ่งภพ    
  ๕. สิ้นนันทิ สิ้นราคะ ก็สิ้นทุกข์ 19  
  ๖. ความดับทุกข์มี พราะความดับไปแห่งความเพลิน (นันทิ)กายคตาสติ 21  
  ๗. กายคตาสติ เป็นเสาหลักเสาเขื่อนอย่างดีของจิต 24  
  ....ลักษณะของผู้ไม่ตั้งจิตในกายคตาสติ 24  
  ....ลักษณะของผู้ตั้งจิตในกายคตาสติ 26  
  ๘. กระดองของบรรพชิต 29  
  ๙. ตั้งจิตในกายคตาสติ เสมือนบุรุษผู้ถือหม้อน้ำมัน 32  
       
  อานาปานสติ    
  ๑๐. อานิสงส์สูงสุดแห่งอานาปานสติ ๒ ประการ 36  
  ๑๑. เจริญอานาปานสติ เป็นเหตุให้ 40  
  .... สติปัฏฐาน ๔โพชฌงค์ ๗ วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์ 40  
  ..... อานาปานสติบริบูรณ์ ย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์ 41  
  ..... สติปัฏฐานบริบูรณ์ ย่อมทำโพชฌงค์ให้บริบูรณ์ 47  
  ..... โพชฌงค์บริบูรณ์ ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ 51  
  ..... ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุ “นิพพาน” 53  
  ๑๒. ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน (นัยที่ ๑) 54  
  ๑๓. ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน (นัยที่ ๒) 56  
  ๑๔. ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน (นัยที่ ๓) 58  
  ๑๕. ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน (นัยที่ ๔) 60  
       
     
 
 




คำนำ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในยุคแห่งเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร ที่ผู้คนแข่งกันรู้ให้ได้เร็วที่สุด ไว้ก่อนนั้น ได้นำพัสังคมไปสู่วิถีชีวิตที่เสพติด ในความง่ายเร็วลัด ของขั้นตอนการ เรียนรู้โดยละทิ้งความถูกต้องตรงจริง ในการรู้นั้นไว้เป็นอันดับรอง ในแวดวงของ ชาวพุทธ ยุคใหม่ แม้ในส่วนที่มีปัญญาพอเห็นโทษภัยในทุกข์ มีจิตน้อมไปในการ ภาวนาแล้วก็ยังไม่พ้นที่จะมีการพูดถึงเกี่ยวกับ มรรควิธี ที่ง่าย ลัดสั้นปัญหามีอยู่… คือ การหมายรู้ ในคำว่า “ง่าย”โดยในแง่ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจนั้น มีความหมายไม่ตรงกับ รายละเอียด ในมรรควิธีที่ง่าย ซึ่งบัญญัติโดยพระตถาคต

เมื่อนิยามตั้งต้นไม่ตรงกันเสียแล้ว จะต้องกล่าวไปไยในรายละเอียดอื่นๆ ที่ตามมา เมื่อพูดถึงคำว่า “ง่าย” โดยทั่วไป มักจะถูก เข้าใจในลักษณะว่า เป็นอะไรสักอย่าง ที่ได้มาโดยไม่มีขั้นตอนยาก ได้มาโดยไม่ต้องลงแรง โดยไม่ต้องใช้ความ พยายามมาก ใช้การขวนขวายน้อย ใช้ข้อมูลน้อย ใช้การใคร่ครวญน้อยใช้การกระทำน้อย …กระทั่ง ไม่ต้อง ทำอะไรเลยในขณะที่ปฏิปทา (วิธีการกระทำเพื่อให้ได้มา) ที่นำไปสู่การบรรลุ มรรคผล ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงอธิบายไว้นั้น ประกอบด้วยหลักการที่วางต่อกันอยู่ ๒ ส่วน คือ

๑. ส่วนของมรรควิธีที่เลือกมาใช้ ซึ่งเป็นตัวกำหนด ระดับความสบายในการ ปฏิบัติ

๒. ส่วนของเหตุในความเร็วช้าในการบรรลุ ซึ่งแปรผันตามระดับความอ่อนแก่ ของ อินทรีย์ห้า

ในส่วนแรก คือ มรรควิธีที่เลือกมาใช้นั้น ทรงแบ่งออกไว้เป็นสองแบบคือ ทุกขาปฏิปทา และ สุขาปฏิปทาทุกขาปฏิปทา คือมรรควิธีที่ไม่ได้สุขวิหาร ในขั้นตอนปฏิบัติ เพราะเน้น การใช้ทุกข์เป็นเครื่องมือในการรู้แจ้ง ซึ่งอริยสัจ ส่วนสุขาปฏิปทา คือการอาศัยสุขเป็น เครื่องมือในการรู้ผู้ปฏิบัติ จึงได้สุขวิหาร ไปด้วยในระหว่างปฏิบัติ เพื่อสิ้นทุกข์ ในส่วน ของเหตุที่บรรลุเร็ว หรือช้านั้น คืออินทรีย์ห้า (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) ผู้มีศรัทธาในตถาคตมาก (อินทรีย์ คือ ศรัทธา) ก็ย่อมจะเชื่อใน พุทธปัญญาญาณ ย่อมจะศึกษา ทรงจำ สั่งสมสุตะเฉพาะที่เป็น พุทธวจน ไว้มาก จึงรู้แง่มุมของจิต และวิธีการปฏิบัติ ที่ถูกต้อง ไว้มาก

บุคคลผู้มีปัญญาเห็นได้เร็ว (อินทรีย์ คือ ปัญญา) เลือกหนทางที่สะดวก ก็ย่อมจะไปถึง จุดหมายได้เร็วกว่า แม้รู้หนทางที่ถูกแล้ว แต่เพียรน้อย (อินทรีย์คือ วิริยะ) มิได้ปฏิบัติ ธรรม ให้สมควรแก่ธรรม ฝึกสติน้อย ทิ้งสมาธิเหินห่างจากฌาน ก็ย่อมถึงที่หมายได้ช้า …ดังนี้ เป็นต้น

อีกทั้งแง่มุมที่ควรให้ความสำคัญว่าเป็นมรรควิธีที่ง่ายคือ สิ่งที่พระตถาคต ทรงแสดง สอนบ่อยๆ บอกตรงๆ ว่าเป็นวิธีที่สะดวก ต่อการเข้ามรรคผล ทรงใช้บอกสอนกับคนชรา คนเจ็บป่วย ใกล้ตาย มีกำลังน้อย มีเวลาในชีวิต เหลือน้อย คือ มรรควิธีที่ตรัสบอก ถึงอานิสงส์ไว้ดังนั้น มรรควิธีที่ง่าย

จึงไม่ใช่ว่า ง่าย ในแบบที่เข้าใจกันว่าใช้ความพยายามน้อย ใช้การกระทำน้อย ขวนขวายน้อยแต่ง่าย ตามเหตุปัจจัยอันสมควร แก่กรณีนั้นๆภายใต้ขีดจำกัด ของสาวก ซึ่งพระพุทธองค์ทรงยืนยันว่า แม้อรหันต์ผู้ปัญญาวิมุตติ ต่างก็เป็น ได้เพียงแค่ มัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรคมาทีหลัง)

จึงไม่แปลกที่เราจะได้รู้ได้ฟังการอธิบายแจงแจกมรรควิธีที่ง่าย ตามแบบของ สาวกในรูป แบบต่างๆ กันไป ซึ่งตรงกันบ้าง ไม่ตรงกันบ้าง และไม่สามารถนำมา ใช้อ้างอิง เป็นหลัก มาตรฐานได้หากเปรียบการบรรลุมรรคผล

คือการถึงจุดหมายหนังสือเล่มนี้ คือ แผนที่ ซึ่งเขียนโดย มัคคโกวิโท (ผู้ฉลาด ในมรรค คือพระตถาคต) และชาวพุทธต้อง หันกลับมาใช้แผนที่ฉบับถูกต้องนี้ เป็นมาตรฐาน เดียวเหมือนครั้งพุทธกาล

คณะผู้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ขอนอบน้อมสักการะต่อ ตถาคต ผู้อรหันตสัมมา สัมพุทธะ และ ภิกษุสาวกในธรรมวินัยนี้ ตั้งแต่ครั้ง พุทธกาล จนถึงยุคปัจจุบัน ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการสืบทอด พุทธวจน คือ ธรรม และวินัย ที่ทรงประกาศไว้ บริสุทธิ์บริบูรณ์ดีแล้ว

ตถาคตสาวโก
คณะงานธัมมะ วัดนาป่าพง


............................................................................................................................................

การละนันทิ


หน้า 8


ภพแม้ชั่วขณะดีดนิ้วมือก็ยังน่ารังเกียจ


ภิกษุทั้งหลาย ! คูถ แม้นิดเดียว ก็เป็นของมีกลิ่นเหม็น ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่เรียกว่า ภพ (ผลแห่งภวตัณหา) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้มีประมาณน้อย ชั่วลัดนิ้วมือเดียวก็ไม่มีคุณอะไรที่พอจะกล่าวได้.

(ในสูตรถัดไป ได้ตรัสอุปมาด้วยมูตร ด้วยน้ำลาย ด้วยหนอง ด้วยโลหิตโดยทำ

หน้า 9


ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้นผู้ไม่เข้าไปหา ย่อมเป็นผู้หลุดพ้น

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ผู้ไม่เข้าไปหา เป็นผู้หลุดพ้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูปตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็น อารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิ (ความเพลิน)เป็นที่เข้าไปส้องเสพก็ถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ได้

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีเวทนา เป็นอารมณ์มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิ เป็นที่เข้าไปส้องเสพก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสัญญา เป็นอารมณ์มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิ เป็นที่เข้าไปส้องเสพก็ถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ได้

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาสังขารตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสังขาร เป็นอารมณ์มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า“เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นสังขาร” ดังนี้นั้น นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว เพราะละราคะได้ อารมณ์สำหรับ วิญญาณ ก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี.

วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไป เพราะไม่ถูกปรุงแต่ง เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่นเพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง  เพราะยินดีในตนเองก็ไม่ หวั่นไหว เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน

ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จ แล้ว กิจอื่น ที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

หน้า 12


จิตมีตัณหา เรียกว่าอยู่สองคน
จิตไม่มีตัณหา เรียกว่าอยู่คนเดียว


“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่ อย่างมีเพื่อนสอง พระเจ้าข้า ?”.

มิคชาละ ! รูป ทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุอันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารักเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้ง แห่งความ กำหนัดย้อมใจมีอยู่.

ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลินพร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้น ไซร้ แก่ภิกษุผู้เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบ มัวเมาซึ่งรูปนั้นอยู่ นั่นแหละ นันทิ (ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น.

เมื่อ นันทิ มีอยู่ สาราคะ (ความพอใจอย่างยิ่ง)ย่อมมี
เมื่อ สาราคะ มีอยู่ สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมมี

มิคชาละ ! ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจ แห่ง ความเพลิน นั่นแลเราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง”.

(ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหูก็ดี กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดม ด้วยจมูกก็ดี รสทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้นก็ดี โผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึง สัมผัสด้วยผิวกายก็ดี และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจก็ดี พระผู้มี พระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มีนัยยะ อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปทั้งหลาย อันจะ พึงเห็นด้วยจักษุ).

มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้แม้จะส้องเสพเสนาสนะอันเป็น ป่าและป่าชัฏ ซึ่งเงียบสงัด มีเสียงรบกวนน้อย มีเสียงกึกก้องครึกโครมน้อย ปราศจากลมจากผิวกายคน เป็นที่ทำการลับของมนุษย์ เป็นที่สมควรแก่การ หลีกเร้น เช่นนี้แล้วก็ตาม ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็ยังคงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมี เพื่อนสองอยู่นั่นเอง.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น ตัณหานั้น อันภิกษุ นั้นยังละไม่ได้แล้วเพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างมี เพื่อนสอง” ดังนี้.

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแลภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีการ อยู่อย่าง อยู่ผู้เดียว พระเจ้าข้า ?”.

มิคชาละ ! รูป ทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารักเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่ ถ้าหากว่าภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลินไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบ มัวเมาซึ่งรูปนั้นไซร้ แก่ภิกษุผู้ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบ มัวเมา ซึ่งรูปนั้น นั่นแหละ นันทิ (ความเพลิน) ย่อมดับ เมื่อ นันทิ ไม่มีอยู่ สาราคะ (ความพอใจอย่างยิ่ง)ย่อมไม่มี เมื่อ สาราคะ ไม่มีอยู่ สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมไม่มี

มิคชาละ ! ภิกษุผู้ ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจ แห่งความเพลิน(นันทิ) นั่นแล เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว”.

(ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหูก็ดี กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดม ด้วยจมูกก็ดี รสทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้นก็ดี โผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึง สัมผัสด้วยผิวกายก็ดี และธรรมารมณ์ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้มีนัยยะ อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปทั้งหลาย อันจะพึงเห็นด้วยจักษุ).

มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้อยู่ในหมู่บ้าน อันเกลื่อนกล่น ไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย  ด้วยพระราชา มหาอำมาตย์ ของพระราชาทั้งหลาย  ด้วยเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ทั้งหลายก็ตาม ถึงกระนั้น ภิกษุนั้น เราก็เรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียวโดยแท้.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ข้อนั้นเพราะเหตุว่าตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น  ตัณหานั้น อันภิกษุนั้น ละเสียได้แล้วเพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้น เราจึงเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว” ดังนี้ แล.

หน้า 16


พรหมจรรย์นี้ อันบุคคลย่อมประพฤติ

เพื่อการละขาดซึ่งภพสัตว์โลกนี้ เกิดความเดือดร้อนแล้ว มีผัสสะบังหน้า ย่อมกล่าว ซึ่งโรค (ความเสียดแทง) นั้น โดยความเป็นตัวเป็นตน.

เขาสำคัญสิ่งใด โดยความเป็นประการใด แต่สิ่งนั้นย่อมเป็น (ตามที่เป็นจริง) โดยประการอื่นจากที่เขาสำคัญนั้น.

สัตว์โลกติดข้องอยู่ในภพ ถูกภพบังหน้าแล้ว มีภพโดยความเป็นอย่างอื่น (จากที่มันเป็นอยู่จริง) จึงได้เพลิดเพลินยิ่งนักในภพนั้น.

เขาเพลิดเพลินยิ่งนักในสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นภัย(ที่เขาไม่รู้จัก)  เขากลัวต่อสิ่งใด สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์.

พรหมจรรย์นี้ อันบุคคลย่อมประพฤติ ก็เพื่อการละขาดซึ่งภพ.

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความหลุดพ้นจากภพว่า มีได้เพราะภพ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น มิใช่ผู้หลุดพ้นจากภพ.

ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความออกไปได้จากภพว่า มีได้เพราะ วิภพ (ไม่มีภพ) เรากล่าวว่าสมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น ก็ยังสลัดภพออกไป ไม่ได้.

ก็ทุกข์นี้มีขึ้นเพราะอาศัยซึ่งอุปธิทั้งปวง.

เพราะความสิ้นไปแห่งอุปาทานทั้งปวงความเกิดขึ้นแห่งทุกข์จึงไม่มี.

ท่านจงดูโลกนี้เถิด (จะเห็นว่า) สัตว์ทั้งหลายอันอวิชชา (ความไม่รู้) หนาแน่น บังหน้า แล้ว และว่าสัตว์ผู้ยินดีในภพอันเป็นแล้วนั้น ย่อมไม่เป็นผู้หลุดพ้นไป จากภพได้ ก็ภพ ทั้งหลายเหล่าหนึ่งเหล่าใด อันเป็นไปในที่หรือในเวลาทั้งปวง เพื่อความมีแห่งประโยชน์ โดยประการทั้งปวง ภพทั้งหลายทั้งหมดนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา.

เมื่อบุคคลเห็นอยู่ซึ่งข้อนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้อยู่ เขาย่อมละ ภวตัณหา (ความอยากมีอยากเป็น)ได้ และไม่เพลิดเพลินวิภวตัณหา (ความไม่อยาก) ด้วย.

ความดับเพราะความสำรอกไม่เหลือ (แห่งภพทั้งหลาย) เพราะความสิ้นไป แห่งตัณหา โดยประการทั้งปวงนั้นคือนิพพาน.

ภพใหม่ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้ดับเย็นสนิทแล้วเพราะไม่มีความยึดมั่น.

ภิกษุนั้น เป็นผู้ครอบงำมารได้แล้ว ชนะสงครามแล้ว ก้าวล่วงภพทั้งหลายทั้งปวง ได้แล้ว เป็นผู้คงที่(คือไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป) ดังนี้ แล.

หน้า 19


สิ้นนันทิ สิ้นราคะ ก็สิ้นทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแลว่าไม่เที่ยง ความเห็นเช่นนั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ (การเห็นอยู่โดยถูกต้อง) ของเธอนั้น.

เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย(สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ)
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิจึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ(นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย)
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ(ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย)
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้.
(นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจติ).

 (ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ ฆานะ ชิวหากายะ มโน และในกรณีแห่งอายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งจักษุทุกประการ).

หน้า 21


ความดับทุกข์มี เพราะความดับไปแห่งความเพลิน (นันทิ)

ปุณณะ ! รูป ที่เห็นด้วย ตา ก็ดี เสียง ที่ฟังด้วย หู ก็ดี กลิ่น ที่ดมด้วย จมูก ก็ดี รส ที่ลิ้ม ด้วย ลิ้น ก็ดี โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วย กาย ก็ดี ธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้งด้วย ใจ ก็ดี อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่ง ความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่

ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกซึ่งอารมณ์ มีรูปเป็นต้นนั้น. เมื่อภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกซึ่งอารมณ์ มีรูปเป็นต้นนั้น อยู่ นันทิ (ความเพลิน) ย่อมดับไป.

ปุณณะ ! เรากล่าวว่า “ความดับไม่มีเหลือของทุกข์มีได้ เพราะความดับไม่เหลือ ของความเพลิน”ดังนี้ แล.

กายคตาสติ

หน้า 24


กายคตาสติเป็นเสาหลักเสาเขื่อนอย่างดีของ จิต
P7-1

ลักษณะของผู้ไม่ตั้งจิตในกายคตาสติ

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากิน ต่างกันมาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง คือเขาจับงูมาผูกด้วย เชือกเหนียว เส้นหนึ่ง จับจระเข้  จับนก จับสุนัขบ้าน จับสุนัขจิ้งจอก จับลิง มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ แล้วผูกรวมเข้าด้วยกันเป็นปมเดียว ใน ท่ามกลาง ปล่อยแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นทั้งหกชนิดอันมีที่อาศัยและที่เที่ยวต่างๆ กัน ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกันเพื่อจะไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตนๆ  งูจะเข้าจอมปลวก จระเข้จะลงน้ำ นกจะบินขึ้นไปในอากาศ สุนัขจะเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า ลิงก็จะไปป่า.

ครั้นเหนื่อยล้ากันทั้งหกสัตว์แล้ว สัตว์ใดมีกำลังกว่า สัตว์นอกนั้นก็ต้องถูกลาก ติดตาม ไปตามอำนาจของสัตว์นั้น ข้อนี้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุใด ไม่อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว
ตา ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ
รูป ที่ไม่น่าพอใจ ก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

หู ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง
เสียง ที่ไม่น่าฟังก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

จมูก
ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม
กลิ่น ที่ไม่น่าสูดดมก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

ลิ้น
ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ
รส ที่ไม่ชอบใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

กาย
ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ
สัมผัส ที่ไม่ยั่วยวนใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง  และ

ใจ
ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้น ไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ
ธรรมารมณ์ ที่ไม่ถูกใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.


P7-2
ลักษณะของผู้ตั้งจิตในกายคตาสติ

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากิน ต่างกันมาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง คือเขาจับงูมาผูกด้วย เชือกเหนียวเส้นหนึ่ง จับจระเข้ จับนก จับสุนัขบ้าน จับสุนัขจิ้งจอกและจับลิง มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ ครั้นแล้ว นำไปผูกไว้กับเสาเขื่อนหรือ เสาหลัก อีกต่อหนึ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้นอันมีที่อาศัยและที่เที่ยวต่างๆ กัน ก็ยื้อ แย่งฉุดดึงกันเพื่อจะไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตนๆ  งูจะเข้าจอมปลวก จระเข้จะลงน้ำ นกจะบินขึ้นไปในอากาศ สุนัขจะเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า ลิงก็จะไปป่า.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใดแล ความเป็นไปภายในของสัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีแต่ความเมื่อยล้าแล้ว ในกาลนั้น มันทั้งหลายก็จะพึงเข้าไปยืนเจ่า นั่งเจ่า นอนเจ่า อยู่ข้างเสาเขื่อนหรือเสาหลักนั้นเอง

ข้อนี้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุใดได้อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว ตา ก็จะไม่ฉุดเอา ภิกษุนั้น ไปหารูปที่น่าพอใจ รูปที่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัด ขยะแขยง หู ก็จะไม่ฉุด เอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง เสียงที่ไม่น่าฟัง ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง จมูก ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่น ที่น่าสูดดม กลิ่นที่ไม่น่าสูดดม ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอ รู้สึกอึดอัดขยะแขยง ลิ้น ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ รสที่ไม่ชอบใจ ก็ไม่ เป็นสิ่งที่เธอรู้สึก อึดอัดขยะแขยง กาย ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ สัมผัสที่ ไม่ยั่วยวนใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง และใจ ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้น ไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัด ขยะแขยง ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย ! คำว่า “เสาเขื่อน หรือ เสาหลัก”นี้เป็นคำเรียกแทนชื่อแห่ง กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า “กายคตาสติของเราทั้งหลาย จักเป็นสิ่งที่เราอบรม กระทำให้มาก กระทำให้ เป็นยาน เครื่องนำไปกระทำให้เป็นของที่อาศัยได้ เพียรตั้งไว้เนืองๆ เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ เพียรปรารภสม่ำเสมอด้วยดี”ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ด้วยอาการอย่างนี้แล.

หน้า 29


กระดองของบรรพชิต

ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องเคยมีมาแต่ก่อน  เต่าตัวหนึ่งเที่ยวหากิน ตามริมลำธาร ในตอนเย็น  สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งก็เที่ยวหากินตามริม ลำธารในตอนเย็น เช่นเดียวกัน เต่าตัวนี้ได้เห็น สุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากิน (เดินเข้ามา) แต่ไกล ครั้นแล้วจึงหดอวัยวะทั้งหลาย มีศีรษะ เป็นที่ ๕ เข้าในกระดองของตนเสีย เป็นผู้ขวนขวายน้อยนิ่งอยู่ แม้สุนัขจิ้งจอกก็ได้ เห็นเต่า ตัวที่เที่ยวหากินนั้น แต่ไกลเหมือนกัน

ครั้นแล้วจึงเดินตรงเข้าไปที่เต่า คอยช่องอยู่ว่า “เมื่อไรหนอเต่าจักโผล่อวัยวะ ส่วนใด ส่วนหนึ่ง ออกในบรรดาอวัยวะทั้งหลายมีศีรษะเป็นที่ ๕ แล้ว จักกัด อวัยวะส่วนนั้น คร่าเอาออกมากินเสีย” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตลอดเวลาที่เต่าไม่โผล่อวัยวะออกมา สุนัขจิ้งจอกก็ไม่ได้ โอกาสต้อง หลีกไปเอง

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น มารผู้ใจบาปก็คอยช่องต่อพวกเธอทั้งหลาย ติดต่อไม่ขาด ระยะอยู่เหมือนกันว่า “ถ้าอย่างไร เราคงได้ช่อง ไม่ทางตา ก็ทางหูหรือทางจมูก หรือ ทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย จงเป็นผู้คุ้มครอง ทวารใน อินทรีย์ทั้งหลายอยู่เถิด ได้เห็น รูปด้วยตา ได้ฟังเสียงด้วยหู ได้ดมกลิ่น ด้วยจมูก ได้ ลิ้มรสด้วยลิ้น ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย หรือได้รู้ธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว จงอย่าได้ถือ เอาโดยลักษณะที่เป็นการรวบถือทั้งหมด อย่าได้ ถือเอา โดยลักษณะที่เป็นการแยก ถือเป็นส่วนๆ เลย

สิ่งที่เป็นบาปอกุศล คืออภิชฌา (โลภอยากได้ของเขา) และโทมนัส (ความเป็นทุกข์ใจ) จะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเพราะการไม่สำรวมอินทรีย์ เหล่าใดเป็นเหตุ  พวกเธอทั้งหลายจงปฏิบัติเพื่อ การปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้ พวกเธอ ทั้งหลายจงรักษา และถึงความสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เถิด.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใด พวกเธอทั้งหลายจักเป็นผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ ทั้งหลายอยู่ ในกาลนั้นมารผู้ใจบาป จักไม่ได้ช่องแม้จากพวกเธอทั้งหลาย และจักต้องหลีกไปเอง เหมือนสุนัขจิ้งจอกไม่ได้ช่องจากเต่าก็หลีกไปเอง ฉะนั้น.

“เต่าหดอวัยวะไว้ในกระดอง ฉันใด ภิกษุ พึงตั้งมโนวิตก (ความตริตรึกทางใจ) ไว้ในกระดอง ฉันนั้น เป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิไม่อิงอาศัยได้ไม่เบียดเบียน ผู้อื่น ไม่กล่าวร้ายต่อใครทั้งหมด เป็นผู้ดับสนิทแล้ว” ดังนี้แล.

หน้า 32


ตั้งจิตในกายคตาสติ เสมือนบุรุษผู้ถือหม้อน้ำมัน

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนหมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่า มีนางงามในชนบท พึงประชุมกัน ก็นางงามในชนบทนั้น น่าดูอย่างยิ่งในการฟ้อนรำ น่าดูอย่างยิ่ง ในการขับร้อง หมู่มหาชน ได้ทราบข่าวว่า นางงามในชนบทจะฟ้อนรำ ขับร้อง พึงประชุมกันยิ่งขึ้นกว่าประมาณ ครั้งนั้น บุรุษผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย ปรารถนาความสุข เกลียดทุกข์ พึงมากล่าว กะหมู่มหาชนนั้นอย่างนี้ว่า

“บุรุษผู้เจริญ ! ท่านพึงนำ ภาชนะน้ำ มันอันเต็มเปี่ยมนี้ไปในระหว่างที่ประชุม ใหญ่กับ นางงามในชนบท และจักมีบุรุษเงื้อดาบตามบุรุษผู้นำ หม้อน้ำ มันนั้น ไปข้างหลังๆ บอกว่า ท่านจักทำ น้ำ มันนั้นหกแม้หน่อยหนึ่งในที่ใด ศีรษะ ของท่านจักขาดตกลงไป ในที่นั้น ทีเดียว”.

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร ? บุรุษผู้นั้นจะไม่ใส่ใจ ภาชนะน้ำมันโน้นแล้วพึงประมาทในภายนอกเทียวหรือ.

“ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !”.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราทำอุปมานี้ เพื่อให้เข้าใจเนื้อความนี้ชัดขึ้น เนื้อความในข้อนี้ มีอย่างนี้แล คำว่า“ภาชนะน้ำ􀄁มันอันเต็มเปี่ยม” เป็นชื่อของ “กายคตาสติ”.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้เธอทั้งหลาย พึงทำการศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติ จักเป็นของอันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็น ดังยาน กระทำให้เป็นที่ตั้งกระทำไม่หยุด สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย !เธอทั้งหลาย พึงทำการศึกษาอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย !ชนเหล่าใด ไม่บริโภคกายคตาสติชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมไม่บริโภ คอมตะ.

ภิกษุทั้งหลาย !ชนเหล่าใด บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมบริโภค อมตะ.

ภิกษุทั้งหลาย !ชนเหล่าใด ประมาทกายคตาสติชนเหล่านั้นชื่อว่า ประมาท อมตะ.

ภิกษุทั้งหลาย !ชนเหล่าใด ไม่ประมาทกายคตาสติชนเหล่านั้นชื่อว่า ไม่ประมาท อมตะ ดังนี้ แล.


อานาปานสติ


หน้า 36

๑๐
อานิสงส์สูงสุดแห่งอานาปานสติ ๒ ประการ

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว อย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่าหรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามา โดยรอบตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า

เธอนั้นมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง (สพฺพกายปฏิสํเวที) หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ กายสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ ) หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ (ปีติปฏิสํเวที) หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข (สุขปฏิสํเวที) หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร (จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที) หายใจเข้า”ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ) หายใจเข้า”ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต (จิตฺตปฏิสํเวที) หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง (อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ) หายใจเข้า” ว่า“เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น (สมาทหํ จิตฺตํ) หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ (วิโมจยํ จิตฺตํ) หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ (อนิจฺจานุปสฺสี) หายใจเข้า” ว่า“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ (วิราคานุปสฺสี) หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ (นิโรธานุปสฺสี) หายใจเข้า” ว่า“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ (ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี) หายใจเข้า”ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็น ประจำ หายใจออก”

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์ อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้ คือ อรหัตตผล ในปัจจุบัน หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี.

หน้า 40

๑๑
เจริญอานาปานสติ เป็นเหตุให้

P11-1
สติปัฏฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗ วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันเอกนั้นมีอยู่ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรม ทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์  

ครั้นธรรมทั้ง ๔ นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์

ครั้นธรรมทั้ง ๗ นั้นอันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๒ให้บริบูรณ์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธินี้แล เป็นธรรมอันเอก ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์

สติปัฏฐานทั้ง ๔อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงคทั้ง ๗ให้บริบูรณ์

โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชา และ วิมุตติ ให้บริบูรณ์ได้.

P11_2
อานาปานสติบริบูรณ์ ย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ให้บริบูรณ์ได้ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด

ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า“เราเป็น ผู้ทำ กายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับหายใจออก”

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลสมีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกาย อยู่เป็น ประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปีติ หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติหายใจออก”

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ รู้พร้อม เฉพาะซึ่งสุขหายใจออก”

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ จิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ทำ จิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก”

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็น เวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลก ออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว การทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้า และ ลมหายใจ ออก ว่าเป็นเวทนาอันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนา ในเวทนา ทั้งหลาย อยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ โทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งจิต หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตหายใจออก”

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งหายใจออก”

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ทำจิต ให้ตั้งมั่น หายใจออก”

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ทำจิต ให้ปล่อยอยู่หายใจออก”

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผา กิเลส มีสัมปชัญญะมีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติ อันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิต ในจิตอยู่เป็น ประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา และ โทมนัสในโลก ออก เสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็น ประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็น การละ อภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรม ในธรรม ทั้งหลายอยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ โทมนัส ในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำ สติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้.

P11-3
สติปัฏฐานบริบูรณ์ ย่อมทำโพชฌงค์ให้บริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไร เล่า จึงทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ให้บริบูรณ์ได้ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำก็ดี เป็นผู้เห็น เวทนา ในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำก็ดี เป็นผู้เห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำก็ดี เป็นผู้เห็น ธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำก็ดี มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

สมัยนั้น สติที่ภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อม เจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็ม รอบ แห่งการเจริญ

ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ชื่อว่าย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็น ผู้มีสติเช่นนั้น อยู่ทำการเลือกเฟ้น ใคร่ครวญ ธรรม นั้นอยู่ด้วยปัญญา สมัยนั้นธั มมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้น ปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธัมมวิจย สัมโพชฌงค์ ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ ย่อหย่อน ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อนอันภิกษุผู้เลือกเฟ้น ใคร่ครวญ ในธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้นวิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้น ปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นวิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้ว ปีติอันเป็น นิรามิส ก็เกิดขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ปีติอัน เป็น นิรามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียร อันปรารภแล้ว สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ สมัยนั้นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ของภิกษุชื่อว่าถึงความ เต็มรอบแห่งการเจริญ .

ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำงับแล้วมีความสุขอยู่จิตย่อมตั้งมั่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่ ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิ-สัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นสมาธิ-สัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่า ถึงความเต็ม รอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุนั้น ย่อมเป็น ผู้เข้าไปเพ่ง เฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่น แล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี สมัยนั้นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์

สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้.

P11-4
โพชฌงค์บริบูรณ์ย่อมทำวิชชา และ วิมุตติให้บริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงจะทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัย วิราคะ (ความจางคลาย) อันอาศัยนิโรธ (ความดับ) อันน้อมไป เพื่อโวสสัคคะ (ความสละ ความปล่อย)

ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอันอาศัย วิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอัน อาศัย วิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ภิกษุทั้งหลาย ! โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้.

P11-5

ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุ“นิพพาน”


หน้า 54

๑๒
ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน(นัยที่ ๑)

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ. พวกเธอจงฟังจงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย ! ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมเห็นซึ่ง จักษุ ว่า ไม่เที่ยง
ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลาย ว่า ไม่เที่ยง
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า ไม่เที่ยง
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส ว่า ไม่เที่ยง
ย่อมเห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข) ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ว่า ไม่เที่ยง.

(ในกรณีแห่ง โสตะ (หู) ฆานะ (จมูก) ชิวหา (ลิ้น)กายะ (กาย) และมนะ (ใจ) ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.

หน้า 56

๑๓

ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน (นัยที่ ๒)

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ. พวกเธอจงฟังจงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย ! ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ย่อมเห็นซึ่ง จักษุ ว่าเป็นทุกข์ ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลาย ว่าเป็นทุกข์ ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า เป็นทุกข์ ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส ว่าเป็นทุกข์ ย่อมเห็นซึ่ง เวทนาอันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข) ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ว่าเป็นทุกข์.

(ในกรณีแห่ง โสตะ (หู) ฆานะ (จมูก) ชิวหา (ลิ้น)กายะ (กาย) และมนะ (ใจ) ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.

หน้า 58

๑๔
ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน(นัยที่ ๓)

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ. พวกเธอจงฟังจงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย ! ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ย่อมเห็นซึ่ง จักษุ ว่า เป็นอนัตตา
ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลาย ว่า เป็นอนัตตา
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า เป็นอนัตตา
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส ว่า เป็นอนัตตา
ย่อมเห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข) ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ว่า เป็นอนัตตา.

(ในกรณีแห่ง โสตะ (หู) ฆานะ (จมูก) ชิวหา (ลิ้น)กายะ (กาย) และมนะ (ใจ) ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกันทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.

หน้า 60


๑๕
ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน(นัยที่ ๔)

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ.

พวกเธอจงฟังจงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย ! ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

“ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า !”.

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ?

“เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า !”.

สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตาม เห็นสิ่งนั้นว่า

“นั่นของเรา(เอตํ มม)
นั่นเป็นเรา (เอโสหมสฺมิ)  
นั่นเป็นอัตตาของเรา(เอโส เม อตฺตา)” ดังนี้ ?

“ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !”.

(ต่อไป ได้ตรัสถามและภิกษุตอบ เกี่ยวกับ รูป...จักขุ-วิญญาณ...จักขุสัมผัส ...จักขุสัมผัสสชา เวทนา ซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกัน กับในกรณีแห่งจักษุนั้น ทุกประการ ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น เมื่อตรัสข้อความในกรณีแห่งอายตนิกธรรม หมวดจักษุจบลงดังนี้ แล้ว ได้ตรัสข้อความในกรณีแห่ง อายตนิกธรรม หมวดโสตะ หมวด ฆานะ หมวดชิวหา หมวดกายะ และหมวด มนะ ต่อไปอีก ซึ่งมีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกันกับ ในกรณีแห่ง อายตนิกธรรม หมวดจักษุนั้น ทุกประการ ต่างกันแต่เพียงชื่อเท่านั้น ผู้ศึกษาพึงเทียบ เคียงได้เอง).

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้มีการสดับเมื่อเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักษุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน รูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักขุวิญญาณ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักขุสัมผัส
ย่อมเบื่อหน่ายใน เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข) ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย

(ในกรณีแห่งอายตนิกธรรมหมวดโสตะ ฆานะ ชิวหากายะ มนะ ก็ได้ตรัสต่อไปอีก โดยนัยอย่างเดียวกันกับกรณีแห่ง อายตนิกธรรม หมวดจักษุนี้)

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม คลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อม หลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้วย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว.

อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัดว่า“ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จ แล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ”.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คือ ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.