เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  หนังสือ พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  1 of 13  
 
  หนังสือ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
       
  A นื้อหาโดยสรุป    
  B การจัดแบ่งหมวดหมู่ ในมหาวารวรรค    
  C ข้อควรรู้เบื้องต้นในแต่ละสังยุต    
    ๑. มัคคสังยุต แปลว่า ประมวลเรื่องมรรค (๑๓ วรรค)    
    ๒. โพชฌงคสังยุต - ประมวลเรื่องโพชฌงค์ (๑๘ วรรค)    
    ๓. สติปัฎฐานสังยุต - ประมวลเรื่องสติปัฎฐาน    
    ๔. อินทริยสังยุต -ประมวลเรื่องอินทรีย์    
    ๕. สัมมัปปธานสังยุต -ประมวลเรื่องสัมมัปปธาน ๔ ประการ    
    ๖. พลสังยุต - หมวดเรื่องพละ ๕ ประการ    
    ๗. อิทธิปาทสังยุต - ประมวลเรื่องอิทธิบาท    
    ๘. อนุรุทธสังยุต - ประมวลเรื่องพระอนุรุทธะ    
    ๙. ฌานสังยุต - ประมวลเรื่องฌาน (๑-๔)    
    ๑๐. อานาปานสังยุต - ประมวลเรื่องอานาปานสติ (๒ วรรค)    
    ๑๑. โสตาปัตติสังยุต - ประมวลเรื่องโสดาปัตติ (๗ วรรค)    
    ๑๒. สัจจสังยุต - ประมวลเรื่องสัจจะ (๑๑ วรรค)    
       
  D คำชี้แจงก่อนอ่าน    
  E คำนำ ปรารภเหตุที่มาแห่งหนังสือพุทธวจน-ปิฎกโดยย่อ    
  F คำนำ ปรารภเหตุที่มาแห่งหนังสือหนังสือพุทธวจน-ปิฎกโดยละเอียด    
  ๑. พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ เมื่อจะพูด ทุกถ้อยคำจึงไม่ผิดพลาด    
  ๒. แต่ละคำพูดของพระองค์เป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา    
  ๓. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน    
  ๔. ทรงบอกเหตุแห่งความอันตรธานของคำสอน เปรียบด้วยตะโพนชื่ออานกะ    
  ๕. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น    
  ๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือเพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้    
  ๗. สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์ ถึงแม้จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม    
  ๘. ตรัสไว้ว่าให้ทรงจำบทพยัญชนะและคำอธิบายอย่างถูกต้อง พร้อมขยันถ่ายทอดบอกสอน    
  ๙. ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในคำสอน    
  ๑๐. ทรงตรัสแก่พระอานนท์ ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้เป็นศาสดาแทนต่อไป    
       
 
 





A
เนื้อหาโดยสรุป

ในพุทธวจน-ปิฎก เล่ม ๑๙

พุทธวจน-ปิฎกเล่มที่ ๑๙ คือ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค จัดเป็นเล่มที่ ๕ และเป็นเล่มสุดท้าย ของสังยุตตนิกาย ว่าด้วยวาระใหญ่ คือ วาระที่อธิบายหมวดธรรมไว้เป็นจำนวนมาก หลายนัย พระธรรมสังคีติกาจารย์จึงตั้งชื่อว่า มหาวารวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยวาระใหญ่

B
การจัดแบ่งหมวดหมู่ ในมหาวารวรรค
ในมหาวารวรรค มีการจัดแบ่งหมวดหมู่เป็นสังยุต (ประมวลเป็นเรื่องๆ) แต่ละสังยุตแบ่งย่อยออก เป็นวรรคต่างๆ ดังนี้

๑. มัคคสังยุต แบ่งเป็น ๑๓ วรรค
๒. โพชฌงคสังยุต แบ่งเป็น ๑๘ วรรค
๓. สติปัฏฐานสังยุต แบ่งเป็น ๑๐ วรรค
๔. อินทริยสังยุต แบ่งเป็น ๑๗ วรรค
๕. สัมมัปปธานสังยุต แบ่งเป็น ๕ วรรค
๖. พลสังยุต แบ่งเป็น ๑๐ วรรค
๗. อิทธิปาทสังยุต แบ่งเป็น ๘ วรรค
๘. อนุรุทธสังยุต แบ่งเป็น ๒ วรรค
๙. ฌานสังยุต แบ่งเป็น ๕ วรรค
๑๐. อานาปานสังยุต แบ่งเป็น ๒ วรรค
๑๑. โสตาปัตติสังยุต แบ่งเป็น ๗ วรรค
๑๒. สัจจสังยุต แบ่งเป็น ๑๐ วรรค
..........................................................................................................................................

C
ข้อควรรู้เบื้องต้นในแต่ละสังยุต

. มัคคสังยุต แปลว่า ประมวลเรื่องมรรค หมายถึงประมวลพระสูตรที่เกี่ยวกับอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งจัดแบ่งเป็นวรรคได้ ๑๓ วรรค แต่ละวรรคมีจำนวนพระสูตร ๘ สูตรบ้าง เกินกว่านี้บ้าง มีรายละเอียดดังนี้
          ๑.๑ อวิชชาวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยอวิชชา ชื่อวรรคตั้งตามชื่อ พระสูตร ที่ ๑ ในวรรคนี้
           ๑.๒ วิหารวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่) ชื่อวรรคตั้งตามชื่อ พระสูตรที่ ๑-๒ ในวรรคนี้
           ๑.๓ มิจฉัตตวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยมิจฉัตตธรรม (ธรรมที่ผิด) ชื่อวรรคตั้งตามชื่อ พระสูตร ที่ ๑ ในวรรคนี้
           ๑.๔ ปฏิปัตติวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยการปฏิบัติ ชื่อวรรคตั้งตามชื่อ พระสูตรที่ ๑-๒ ในวรรค นี้
           ๑.๕ อัญญติตถิยวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยอัญญติตถิย หมายถึง หมวดพระสูตรว่าด้วย อัญเดียรถีย์ ที่พระธรรมสังคีติกาจารย์จัดไว้โดยย่อในรูป ของ เปยยาล ชื่อวรรคตั้งตามเนื้อหา สาระของพระสูตรทั้ง ๘ สูตร ในวรรคนี้ ซึ่งเกี่ยวกับ การตอบปัญหาของอัญเดียรถีย์ พระสูตรแรกและพระสูตรสุดท้าย แสดงไว้เต็ม ส่วน พระสูตร ที่เหลือแสดงไว้โดยย่อให้อนุโลม ตามพระสูตรแรก กับพระสูตรสุดท้าย ตามควรแก่กรณี
           ๑.๖ สุริยเปยยาล แปลว่า หมวดว่าด้วยสุริยเปยยาล หมายถึง ว่าด้วย เรื่องเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ ที่พระธรรมสังคีติกาจารย์จัดไว้โดยย่อในรูป ของ เปยยาล ชื่อ วรรคตั้งตามเนื้อหาสาระของ พระสูตรทั้ง ๑๔ สูตรในวรรคนี้ พระสูตรที่ ๑,๗,๘,๑๔ ท่านจัดไว้เต็ม พระสูตรที่ ๒-๖ และ ๙-๑๓ จัดไว้โดยย่อ ให้อนุโลมตามพระสูตร ที่เต็มตามควรแก่กรณี
           ๑.๗ เอกธัมมเปยยาล แปลว่า หมวดว่าด้วยเอกธัมมเปยยาล หมายถึง หมวดพระสูตรว่าด้วย ธรรมอันเป็นเอกที่พระธรรมสังคีติกาจารย์จัดไว้ โดยย่อ ในรูปของเปยยาล ชื่อวรรคตั้งตามเนื้อหา สาระของพระสูตร ทั้ง ๑๔ สูตร ในวรรคนี้ ส่วนชื่อของพระสูตรทั้งหมด ตรงกับชื่อของพระสูตร ในสุริยเปยยาล เพราะตั้งชื่อ ตามธรรม ๗ ประการเหมือนกัน แต่ในวรรคนี้พระผู้มีพระภาค ตรัสยกย่องธรรม ๗ ประการนั้นว่าเป็นธรรมอันเอก เนื้อหาของแต่ละพระสูตรเหมือนใน สุริยเปยยาล (ดูรายละเอียดในสุริยเปยยาล)
           ๑.๘ นาหันตเอกธัมมเปยยาล เป็นหมวดที่ว่าด้วยเอกธัมมเปยยาลที่อีกหมวดหนึ่ง ในวรรคนี้ มีพระสูตร ที่มีลักษณะ เหมือนเอกธัมมเปยยาล ทุกประการ ต่างแต่ในที่นี้พระผู้มีพระภาคตรัส ยกย่องธรรม ๗ประการนั้นว่า พระองค์ไม่ทรงเห็นธรรมอื่น แม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้ อริยมรรค มีองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้นหรือที่เกิดขึ้นแล้วเจริญเต็มที่ เหมือนธรรม ๗ ประการนี้
           ๑.๙ คังคาเปยยาล แปลว่า หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล หมายถึง หมวด พระสูตรว่าด้วยเรื่อง แม่นํ้าที่พระธรรม สังคีติกาจารย์จัดไว้โดยย่อ ในรูปของเปยยาล คือ พระสูตรที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงด้วยอุปมาโวหารว่า ภิกษุเจริญอริยมรรค มีองค์ ๘ ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน เหมือนแม่นํ้า ๕ สาย คือ แม่นํ้าคงคา แม่นํ้ายมุนา แม่นํ้าอจิรวดี แม่นํ้าสรภูและแม่นํ้ามหี ไหลไปสู่ทิศปราจีน และอุปมาด้วยแม่นํ้า ๕ สายเหล่านี้ไหลไปสู่สมุทร ชื่อวรรคตั้งตามสาระสำคัญของพระสูตร ทั้งหมดในวรรค นี้ และจัดแบ่งเป็น ๔ หมวด ตามลักษณะธรรม ๔ ประการ คือ
          หมวดที่ ๑ ว่าด้วยอริยมรรคเป็นธรรมอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ สละมี ๑๒ สูตร คือ พระสูตรที่ ๑-๖ ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่นํ้าไหลไปสู่ ทิศปราจีน พระสูตรที่ ๗-๑๒ ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่นํ้าไหลไปสู่สมุทร
          หมวดที่ ๒ ว่าด้วยอริยมรรคอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะและโมหะเป็น ที่สุด คือ พระสูตร ที่๑๓-๒๔
          หมวดที่ ๓ ว่าด้วยอริยมรรคอันหยั่งสู่อมตะมี๑๒ สูตร คือพระสูตรที่ ๒๕-๓๖
          หมวดที่ ๔ ว่าด้วยอริยมรรคอันน้อมไปสู่นิพาน มี ๑๒ สูตร คือพระสูตรที่ ๓๗-๔๘
     
     ๑.๑๐ อัปปมาทวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท ชื่อวรรคตั้งตาม สาระสำคัญของ พระสูตรทั้ง ๑๔ สูตร ในวรรคนี้
          ๑.๑๑ พลกรณียวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง ชื่อวรรคตั้งตามสาระ สำคัญของพระสูตรที่ ๑ ในวรรคนี้
          ๑.๑๒ เอสนาวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยการแสวงหา ชื่อวรรคตั้งตามชื่อ พระสูตรที่ ๑ ในวรรค นี้
          ๑.๑๓ โอฆวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยโอฆะ ชื่อวรรคตั้งตามชื่อพระสูตรที่ ๑ ในวรรคนี้


. โพชฌงคสังยุต แปลว่า ประมวลเรื่องโพชฌงค์ หมายถึง ประมวลพระสูตร ที่เกี่ยวกับธรรม ที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ จัดแบ่งเป็นวรรคได้ ๑๘ วรรค แต่ละวรรคมี จำนวน พระสูตร ๖ สูตรบ้าง เกินกว่านี้บ้าง
          ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
           ๒.๑ ปัพพตวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยขุนเขา ชื่อวรรคตั้งตามสาระสำคัญ ของพระสูตรที่ ๑ ในวรรคนี้
           ๒.๒ คิลานวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยผู้อาพาธ ชื่อวรรคตั้งตามชื่อพระสูตร ที่ ๔-๖ ในวรรคนี้
           ๒.๓ อุทายิวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยพระอุทายี ชื่อวรรคตั้งตามชื่อ พระสูตรที่ ๑๐ ในวรรคนี้
           ๒.๔ นีวรณวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยนิวรณ์ ชื่อวรรคตั้งตามชื่อพระสูตรที่ ๑๐ และสาระ สำคัญของบางสูตร ในวรรคนี้
           ๒.๕ จักกวัตติวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ ชื่อวรรคตั้ง ตามชื่อพระสูตรที่ ๒ ในวรรคนี้
           ๒.๖ หมวด ๖ แห่งโพชฌงค์ที่ ๖ เป็นหมวดที่ว่าด้วยการสนทนา เรื่อง โพชฌงค์ ชื่อวรรคตั้ง ตามสาระสำคัญของพระสูตรทั้ง ๖ สูตรในวรรคนี้
           ๒.๗ อานาปานาทิเปยยาลที่ ๗ แห่งโพชฌงค์ เป็นหมวดที่ว่าด้วยอานา ปานสติ ชื่อวรรคตั้ง ตามชื่อพระสูตรที่ ๑๐ ในวรรคนี้
           ๒.๘ นิโรธวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยนิโรธสัญญา ชื่อวรรคตั้งตามชื่อ พระสูตรที่ ๑๐ ในวรรคนี้ ซึ่งมีทั้งหมด ๑๐ สูตร พระสูตรที่ ๑-๙ คือ อสุภสัญญา มรณสัญญา อาหาเรปฏิกูลสัญญา สัพพโลเกอนภิรตสัญญา อนิจจสัญญา อนิจเจทุกขสัญญา ทุกเขอนัตตสัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา ทั้ง ๙ สูตรนี้ พระธรรมสังคีติกาจารย์ จัดไว้โดยย่อ ให้เพิ่มเนี้อหาเต็มตามอัฎฐิก สัญญาแห่ง อานาปานาทิเปยยาล ส่วนพระสูตรที่ ๑๐ คือ นิโรธสัญญา ท่านจัดไว้เต็มมีเนื้อหา คล้ายอัฎฐิกสัญญา พระสูตรทั้งหมดในวรรคนี้ไม่ได้ยกชื่อ พระสูตรขึ้นมาให้เห็น เด่นชัด แต่ สามารถดูได้จากประมวลสรุปพระสูตรช่วงสุดท้ายของเนื้อหาในสังยุตนี้
          ๒.๙ คังคาเปยยาล แปลว่า หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล มีพระสูตร ๑๒ สูตร แต่ละสูตรมีสาระ สำคัญเหมือนคังคาเปยยาลแห่งมัคคสังยุต แต่เปลี่ยนหมวดธรรม จากอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็น โพชฌงค์ ๗ ประการ
           ๒.๑๐ อัปปมาทวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท มีพระสูตร ๑๐ สูตร แต่ละสูตรมี สาระสำคัญเหมือนอัปปมาทวรรค แห่ง มัคคสังยุต แต่เปลี่ยนหมวด ธรรมจากอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็น โพชฌงค์๗ ประการ
           ๒.๑๑ พลกรณียวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง มีพระสูตร ๑๒ สูตร แต่ละสูตรมีสาระสำคัญเหมือนพลกรณียวรรคแห่งมัคคสังยุต แต่เปลี่ยนหมวดธรรมจาก อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็น โพชฌงค์๗ ประการ
           ๒.๑๒ เอสนาวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยการแสวงหา มีพระสูตร ๑๒ สูตร แต่ละสูตรมีสาระ สำคัญเหมือนเอสนาวรรคแห่งมัคคสังยุต แต่เปลี่ยนหมวดธรรมจาก อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็น โพชฌงค์ ๗ ประการ
           ๒.๑๓ โอฆวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยโอฆะ มีพระสูตร ๙ สูตร แต่ละสูตร มีสาระสำคัญเหมือน โอฆวรรคแห่งมัคคสังยุต แต่เปลี่ยนหมวดธรรม จากอริยมรรค มีองค์ ๘ เป็น โพชฌงค์ ๗ ประการ
           ๒.๑๔ วรรคที่ ๑๔ เป็นหมวดที่ว่าด้วยคังคาเปยยาลอีกหมวดหนึ่ง มีพระสูตร ๑๒ สูตร แต่ละ สูตรมีสาระสำคัญเหมือนคังคาเปยยาลแห่งมัคคสังยุต แต่เปลี่ยนหมวดธรรมจากอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นโพชฌงค์ ๗ ประการอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด
           ๒.๑๕ วรรคที่ ๑๕ เป็นหมวดที่ว่าด้วยความไม่ประมาทอีกหมวดหนึ่ง มีพระสูตร ๑๐ สูตร แต่ละ สูตรมีสาระสำคัญเหมือนอัปปมาทวรรคแห่งมัคคสังยุต แต่เปลี่ยนหมวดธรรมจากอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็น โพชฌงค์๗ ประการ อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด
           ๒.๑๖ วรรคที่ ๑๖ เป็นหมวดที่ว่าด้วยการงานที่พึงทำด้วย กำลังอีก หมวดหนึ่ง มีพระสูตร ๑๒ สูตรแต่ละสูตรมีสาระสำคัญเหมือนพลกรณียวรรค แห่งมัคคสังยุต แต่เปลี่ยนหมวดธรรม จาก อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นโพชฌงค์ ๗ ประการ อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด
           ๒.๑๗ เอสนาวรรค แห่งโพชฌงคสังยุตที่ ๑๗ เป็นหมวดที่ว่าด้วยการ แสวงหาอีกหมวดหนึ่ง มีพระสูตร ๑๒ สูตร แต่ละสูตรมีสาระสำคัญ เหมือน เอสนา วรรค แห่งมัคคสังยุต แต่เปลี่ยนหมวด ธรรมจากอริยมรรคมีองค์ ๘เป็น โพชฌงค์ ๗ ประการ อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด
           ๒.๑๘ วรรคที่ ๑๘ เป็นหมวดที่ว่าด้วยโอฆะอีกหมวดหนึ่ง มีพระสูตร ๙ สูตร แต่ละสูตรมี สาระสำคัญเหมือนโอฆวรรคแห่งมัคคสังยุต แต่ เปลี่ยนหมวดธรรมจากอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็น โพชฌงค์ ๗ ประการอันเป็นธรรม มีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด


. สติปัฎฐานสังยุต แปลว่า ประมวลเรื่องสติปัฎฐาน หมายถึง ประมวลพระสูตรที่เกี่ยวกับ สติปัฎฐาน ๔จัดแบ่งเป็นวรรคได้ ๑๐ วรรค ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
           ๓.๑ อัมพปาลีวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนา ที่อัมพปาลีวัน ชื่อวรรคตั้งตาม ชื่อพระสูตรที่ ๑ ในวรรคนี้
           ๓.๒ นาฬันทวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เมือง นาฬันทา ชื่อวรรคตั้งตามชื่อ พระสูตรที่ ๒ ในวรรคนี้
           ๓.๓ สีลัฏฐิติวรรค แปลว่าหมวดว่าด้วยความดำรงอยู่แห่งศีล ชื่อวรรค ตั้งตามสาระสำคัญของ พระสูตรที่ ๑-๒ ในวรรคนี้
           ๓.๔ อนนุสสุตวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน ชื่อวรรคตั้งตามชื่อ พระสูตรที่ ๑ในวรรคนี้
          ๓.๕ อมตวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยอมตะ ชื่อวรรคตั้งตามชื่อพระสูตรที่ ๑ ในวรรคนี้เปยยาล วรรค ๕ วรรค คือ วรรคที่ ๓.๖-๓.๑๐ มีชื่อเหมือนวรรคที่ ๑.๙-๑.๑๓ ในมัคคสังยุต พระธรรมสังคีติกาจารย์จึงจัดได้โดยย่อ ให้อนุโลม ตามวรรค ที่มีชื่อตรงกันในมัคคสังยุต แต่เปลี่ยนหมวดธรรมจากอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสติปัฎฐาน ๔ ประการ โดยจัดคู่วรรคที่มีชื่อตรงกัน ดังต่อไปนี้
           ๓.๖ คังคาเปยยาล คู่กับ ๑.๙ คังคาเปยยาล ในมัคคสังยุต
           ๓.๗ อัปปมาทวรรค คู่กับ ๑.๑๐ อัปปมาทวรรค ในมัคคสังยุต
           ๓.๘ พลกรณียวรรค คู่กับ ๑.๑๑ พลกรณียวรรค ในมัคคสังยุต
           ๓.๙ เอสนาวรรค คู่กับ ๑.๑๒ เอสนาวรรค ในมัคคสังยุต
           ๓.๑๐ โอฆวรรค คู่กับ ๑.๑๓ โอฆวรรค ในมัคคสังยุต

. อินทริยสังยุต แปลว่า ประมวลเรื่องอินทรีย์
หมายถึงประมวลพระสูตร ที่เกี่ยวกับ อินทรีย์ โดยนัยยะต่างๆ ซึ่งมีอยู่หลายนัยยะ ในสังยุตนี้ จัดแบ่งเป็นวรรคได้ ๑๗ วรรค ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
          ๔.๑ สุทธิกวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยอินทรีย์ล้วน ชื่อวรรคตั้งตาม ชื่อพระสูตรที่ ๑ และสาระ สำคัญของพระสูตรทั้ง ๑๐ สูตรในวรรคนี้
           ๔.๒ มุทุตวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยอินทรีย์ที่อ่อนกว่า หมายถึง มีอินทรีย์ต่างๆ กัน ชื่อวรรค ตั้งตามสาระสำคัญของพระสูตที่ ๒-๗ ในวรรคนี้
           ๔.๓ ฉฬินทริยวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยอินทรีย์ ๖ ชื่อวรรคตั้ง ตามสาระสำคัญของสูตรที่ ๕-๑๐ในวรรคนี้
           ๔.๔ สุขินทริยวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยสุขินทรีย์ ชื่อวรรคตั้งตาม สาระสำคัญของ พระสูตรทั้ง ๑๐สูตรในวรรคนี้
           ๔.๕ ชราวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยความแก่ ชื่อวรรคตั้งตามสาระ สำคัญของพระสูตรที่ ๑ ในวรรคนี้
           ๔.๖ สูกรขาตวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยถ้ำสูกรขาตา ชื่อวรรคตั้งตาม ชื่อพระสูตรที่ ๘ ในวรรคนี้
           ๔.๗ โพธิปักขิยวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม ชื่อวรรค ตั้งตามสาระสำคัญ ของพระสูตรที่ ๗-๑๐ ในวรรคนี้เปยยาลวรรค ๑๐ วรรค คือ วรรคที่
          ๔.๘-๔.๑๗ มีชื่อเหมือนวรรคที่ ๑.๙-๑.๑๓ ในมัคคสังยุตพระธรรม สังคีติกาจารย์ จึงจัดไว้ โดยย่อ ให้อนุโลมตามวรรค ที่มีชื่อตรงกันในมัคคสังยุต แต่เปลี่ยนหมวด ธรรมจากอริยมรรค มีองค์ ๘ เป็นอินทรีย์ ๕ ประการ โดยจับคู่ วรรคที่มีชื่อตรงกัน ดังต่อไปนี้
           ๔.๘ คังคาเปยยาล คู่กับ ๑.๙ คังคาเปยยาล ในมัคคสังยุต
           ๔.๙ อัปปมาทวรรค คู่กับ ๑.๑๐ อัปปมาทวรรค ในมัคคสังยุต
           ๔.๑๐ พลกรณียวรรค คู่กับ ๑.๑๑ พลกรณียวรรค ในมัคคสังยุต
           ๔.๑๑ เอสนาวรรค คู่กับ ๑.๑๒ เอสนาวรรค ในมัคคสังยุต
           ๔.๑๒ โอฆวรรค คู่กับ ๑.๑๓ โอฆวรรค ในมัคคสังยุต
           ๔.๑๓ คังคาเปยยาล คู่กับ ๑.๙ คังคาเปยยาล ในมัคคสังยุต
           ๔.๑๔ อัปปมาทวรรค คู่กับ ๑.๑๐ อัปปมาทวรรค ในมัคคสังยุต
           ๔.๑๕ พลกรณียวรรค คู่กับ ๑.๑๑ พลกรณียวรรค ในมัคคสังยุต
           ๔.๑๖ เอสนาวรรค คู่กับ ๑.๑๒ เอสนาวรรค ในมัคคสังยุต
           ๔.๑๗ โอฆวรรค คู่กับ ๑.๑๓ โอฆวรรค ในมัคคสังยุต

. สัมมัปปธานสังยุต แปลว่า ประมวลเรื่องสัมมัปปธาน หมายถึงประมวลพระสูตรที่เกี่ยวกับสัมมัปปธาน (ความเพียรชอบ)๔ ประการ คือ
          (๑) สังวรปธาน เพียรระวัง
          (๒) ปหานปธาน เพียรละ
          (๓) ภาวนาปธาน เพียรเจริญ
          (๔) อนุรักขนาปธาน เพียรรักษา ในสังยุตนี้จัดแบ่งเป็น วรรคได้ ๕ วรรคมีชื่อเหมือน วรรคที่ ๑.๙-๑.๑๓ ในมัคคสังยุต พระธรรมสังคีติกาจารย์ จึงได้จัด ไว้โดยย่อ โดยให้อนุโลมตาม วรรคที่มี ชื่ออย่างเดียวกันในมัคคสังยุต เพราะมีชื่อ และเนื้อหา ตรงกัน ต่างแต่หมวดธรรมเท่านั้น คือเปลี่ยนจากอริย มรรคมีองค์  ๘ เป็น สัมมัปปธาน ๔ ประการ โดยมีการจับคู่วรรคที่มีชื่อตรงกัน เหมือนเปยยาลวรรค ในสติปัฏฐานสังยุต

. พลสังยุต แปลว่า หมวดเรื่องพละ หมายถึงประมวลพระสูตรที่เกี่ยวกับพละ ๕ ประการ คือ
          (๑) สัทธาพละ กำลังคือศรัทธา
          (๒) วิริยพละ กำลังคือวิริยะ
          (๓) สติพละ กำลังคือสติ
          (๔) สมาธิพละ กำลังคือสมาธิ
          (๕) ปัญญาพละ กำลังคือปัญญา ซึ่งก็คืออินทรีย์หมวดที่ ๔ ในอินทริย สังยุตนั่นเองแต่เรียกชื่อ ต่างกันในสังยุตนี้จัดแบ่งเป็นวรรคได้ ๑๐ วรรค มีชื่อ เหมือนวรรคที่ ๑.๙-๑.๑๓ ในมัคคสังยุต พระธรรมสังคีติกาจารย์จึงจัดไว้โดยย่อ โดยให้อนุโลมตามวรรคที่มีชื่อ อย่างเดียวกัน ในมัคคสังยุต เพราะมีชื่อและ เนื้อหา ตรงกัน ต่างแต่หมวดธรรมเท่านั้น คือ เปลี่ยนจากอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นพละ ๕ ประการ โดยมีการจับคู่ วรรคที่มีชื่อตรงกันเหมือนเปยยาลวรรค ในอินทริยสังยุต

. อิทธิปาทสังยุต แปลว่า ประมวลเรื่องอิทธิบาท หมายถึงประมวลพระสูตรที่เกี่ยวกับอิทธิบาท๔ ประการ คือ
           (๑) ฉันทะ พอใจ
           (๒) วิริยะ เพียร
           (๓) จิตตะ ใส่ใจ
           (๔) วิมังสา ไตร่ตรองพิจารณาจัดแบ่งเป็นวรรคได้ ๘ วรรค ดังมีรายละเอียด ต่อไปนี้
           ๗.๑ ปาวาลวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ปาวาลเจดีย์ ชื่อวรรค ตั้งตามสาระ สำคัญของพระสูตรที่ ๑๐ ในวรรคนี้
           ๗.๒ ปาสาทกัมปนวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยเหตุที่ทำให้ปราสาทไหว ชื่อวรรค ตั้งตามสาระ สำคัญของพระสูตรที่ ๕ ในวรรคนี้
          ๗.๓ อโยคุฬวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยอุปมาด้วยกอันเหล็กที่ถูกไฟเผา ชื่อวรรคตั้ง ตามชื่อ พระสูตรที่ ๒ ในวรรคนี้
           ๗.๔-๗.๘ เปยยาลวรรค คือ วรรคที่ ๗.๔-๗.๘ มีชื่อเหมือนวรรคที่ ๑.๙ และ ๑.๑๓ ในมัคคสังยุต พระธรรมสังคีติกาจารย์จึงจัดไว้ย่อ โดยให้อนุโลม ตามวรรค ที่มีชื่ออย่างเดียวกัน ในมัคคสังยุต เพราะมีชื่อและเนื้อหาตรงกัน ต่างแต่หมวดธรรมเท่านั้น คือ เปลี่ยนจากอริยมรรค มีองค์ ๘ เป็นอิทธิบาท ๔ ประการโดย มีการจับคู่ วรรคที่มีชื่อตรงกันเหมือนเปยยาลวรรค (๓.๖-๓.๑๐) ในสติปัฏฐานสังยุต


. อนุรุทธสังยุต แปลว่า ประมวลเรื่องพระอนุรุทธะ หมายถึงประมวลพระสูตร ที่เกี่ยวกับท่าน พระอนุรุทธะ


. ฌานสังยุต แปลว่า ประมวลเรื่องฌาน หมายถึงประมวลพระสูตรที่เกี่ยวกับ ฌานทั้ง ๔ คือ
           (๑) ปฐมฌาน
           (๒) ทุติยฌาน
          (๓) ตติยฌาน
           (๔) จตุตถฌาน ในสังยุตนี้จัดแบ่งเป็นวรรรคได้ ๕ วรรคมีชื่อเหมือนวรรค ที่ ๑.๙-๑.๑๓ ในมัคคสังยุต พระธรรมสังคีติกาจารย์จึงจัดไว้โดยย่อ โดยให้ อนุโลมตาม วรรค ที่มีชื่ออย่างเดียวกัน ในมัคคสังยุต เพราะมีชื่อและเนื้อหา ตรงกัน ต่างแต่หมวด ธรรมเท่านั้น คือเปลี่ยนจาก อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นฌาน ทั้ง ๔ โดยมีการจับคู่วรรค ที่มีชื่อตรงกันเหมือนเปยยา ลวรรค (๓.๖-๓.๑๐) ในสติปัฏฐานสังยุต


๑๐. อานาปานสังยุต แปลว่า ประมวลเรื่องอานาปานสติ หมายถึง ประมวลพระสูตร ที่เกี่ยวกับ อานาปานสติ จัดแบ่งเป็นวรรคได้ ๒ วรรค คือ
           ๑๐.๑ เอกธรรมวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยธรรมอันเป็นเอก ชื่อวรรค ตั้งตาม ชื่อพระสูตรที่ ๑ ในวรรคนี้
           ๑๐.๒ ทุติยวรรค แปลว่าหมวดที่ ๒ ชื่อวรรคตั้งตามจำนวนวรรคที่มีอยู่
ในสังยุตนี้


๑๑. โสตาปัตติสังยุต แปลว่า ประมวลเรื่องโสดาปัตติ หมายถึงประมวลพระสูตร ที่เกี่ยวกับการ ถึงกระแสธรรม คือองค์เครื่องบรรลุโสดา จัดแบ่งเป็นวรรคได้ ๗ วรรค มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
           ๑๑.๑ เวฬุทวารวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยเวฬุทวารคาม ชื่อวรรคตั้งตาม สาระ สำคัญ ของ พระสูตรที่ ๗ ในวรรคนี้
           ๑๑.๒ ราชการามวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนา ที่ราชการาม ชื่อวรรคตั้งตาม สาระสำคัญในพระสูตรที่ ๑ ในวรรคนี้
           ๑๑.๓ สรกานิวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่าสรกานิ ชื่อวรรคตั้ง ตามสาระ สำคัญของพระสูตรที่ ๔-๕ ในวรรคนี้
           ๑๑.๔ ปุญญาภิสันทวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยห้วงบุญกุศล ชื่อวรรค ตั้งตาม ชื่อพระสูตรที่ ๑-๓ในวรรคนี้
           ๑๑.๕ สคาถกปุญญาภิสันทวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยห้วงบุญกุศล ที่มีคาถา ชื่อวรรคตั้งตาม ชื่อและลักษณะที่มีคาถาของพระสูตรที่ ๑-๓ ในวรรคนี้
           ๑๑.๖ สัปปัญญวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยผู้มีปัญญา ชื่อวรรคตั้งตาม สาระสำคัญ ของพระสูตร ทั้ง ๑๑ สูตรในวรรคนี้
           ๑๑.๗ มหาปัญญวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมี
ปัญญามาก ชื่อวรรคตั้ง ตามชื่อพระสูตรที่ ๑ ในวรรคนี้


๑๒. สัจจสังยุต แปลว่า ประมวลเรื่องสัจจะ คือ ประมวลพระสูตรที่เกี่ยวกับ อริยสัจ ๔ ประการ จัดแบ่งเป็นวรรคได้ ๑๑ วรรค ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
           ๑๒.๑ สมาธิวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยสมาธิ ชื่อวรรคตั้งตามชื่อ พระสูตรที่ ๑ ในวรรคนี้
          ๑๒.๒ ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยการประกาศพระ ธรรมจักร ชื่อวรรคตั้ง ตามสาระสำคัญของพระสูตรที่ ๑ ในวรรคนี้
           ๑๒.๓ โกฏิคามวรรค แปลว่าหมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่โกฏิคาม ชื่อวรรค ตั้งตามชื่อ พระสูตรที่ ๑-๒ ในวรรคนี้
           ๑๒.๔ สีสปาปรรณวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ สีสปาวัน ชื่อวรรค ตั้งตามชื่อ พระสูตรที่ ๑ ในวรรคนี้
           ๑๒.๕ ปปาตวรรค แปลว่าหมวด ว่าด้วยเหวคือสังสารวัฏ ชื่อวรรคตั้ง ชื่อตามชื่อ พระสูตรที่ ๒ ในวรรคนี้
          ๑๒.๖ อภิสมยวรรค แปลว่าหมวดว่า ด้วยการรู้ยิ่งชื่อ วรรคตั้งตามสาระ สำคัญ ของพระสูตรทั้ง ๑๐ สูตรในวรรรคนี้
           ๑๒.๗ อามกธัญญเปยยาล ปฐมวรรค แปลว่า หมวดว่าด้วย อามกธัญญเปยยาลที่ ๑ หมายถึง พระสูตรย่อเกี่ยวกับธัญญาชาติดิบ ชื่อวรรคตั้ง ตามชื่อพระสูตรที่ ๔ แห่งอามกธัญญเปยยาล ตติยวรรคที่เป็นเช่นนี้ เพราะชื่อ ของพระสูตรแต่ละสูตร ในอามกธัญญเปยยาล ปฐมวรรค-อามกธัญญเปยยาล จตุตถวรรคมีความเกี่ยว เนื่องกันคือ เป็นหัวข้อธรรมในจุลศีลเหมือนกัน ในวรรค นี้มีทั้งหมด ๑๐ สูตร ทรงแสดงพระสูตรที่ ๑-๒ ไว้เต็ม ส่วนพระสูตรที่ ๓-๑๐ ทรงแสดง ไว้โดยย่อ ให้เพิ่มอุปมาและหมวดธรรมเข้ามาโดยอนุโลม ตาม พระสูตรที่ ๑-๒ ตามสมควร
          ๑๒.๘-๑๒.๑๐ อามกธัญญเปยยาล ทุติยวรรค อามกธัญญเปยยาล ตติยวรรค และ อามกธัญญเปยยาลจตุตถวรรค
          ทั้ง ๓ วรรคนี้ มีลักษณะเหมือน อามกธัญญเปยยาล ปฐมวรรค มีพระสูตร ทั้งหมดรวม ๓๑ สูตร ชื่อของพระสูตร แต่ละสูตร ตั้งตามสาระสำคัญในสูตรนั้นๆ เช่น ปาณาติปาตสูตร ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นจากการฆ่าสัตว์ อทินนาทานสูตร ว่าด้วย สัตว์ที่เว้นขาดจาก การลักทรัพย์ แต่ละสูตรทรงแสดงไว้โดยย่อ มีอุปมาและ หมวดธรรมเหมือนใน อัญญตรสูตร แห่งอามกธัญญเปยยาล ปฐมวรรค

           อีกส่วนเป็นพระสูตรย่อเกี่ยวกับคติ ๕ คือ มนุษย์ เทวดา นรก กำเนิด สัตว์เดรัจฉาน เปรตวิสัย ในพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง และฉบับมหา มกุฏฯ ได้จัดไว้ให้อยู่ในส่วนท้าย ของ อามกธัญญเปยยาล จตุตถวรรคแต่ในพระ ไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ และฉบับเฉลิมพระเกียรติฯ ได้แยกเนื้อหา ส่วนนี้ออกเป็น อีกวรรคหนึ่งชื่อว่า ปัญจคติ เปยยาลวรรค และพระสูตรทั้งหมดใน ส่วนนี้ แต่ละสูตรทรงแสดงไว้โดยย่อ มีอุปมา และ หมวดธรรม เหมือนใน อัญญตรสูตร แห่งอามกธัญญเปยยาล ปฐมวรรค ในสังยุตนี้

• อักษรย่อพระไตรปิฎกภาษาบาลี
โป. = โปราณโปตฺถเก (พระไตรปิฎกฉบับโบราณ)
ม. = มรมฺมโปตฺถเก (พระไตรปิฎกฉบับมอญ)
ยุ. = ยุโรปิยโปตฺถเก (พระไตรปิฎกฉบับยุโรป)
สี. = สีหฬโปตฺถเก (พระไตรปิฎกฉบับสิงหล)

..........................................................................................................................................

D
คำชี้แจงก่อนอ่าน


ข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ
๑. ข้อมูลที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้ นำมาจากพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๔พ.ศ. ๒๕๓๘ และพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๒๕

เป็นหนังสือ ๒ ภาษา
(เว็บ
anakame.com ลงไว้เฉพาะภาษาไทย เนื่องจากปัญหา การคัดลอก)
๒. หนังสือเล่มนีประกอบด้วยภาษาบาลี และภาษาไทย โดยภาษาบาลีจะอยู่ ด้านซ้าย และ ภาษาไทยอยู่ด้านขวา ซึ่งหัวข้อของเนื้อหา ทั้งภาษาบาลีและ ภาษาไทย จะถูกจัดให้ ตรงกัน ข้อต่อข้อ ในคู่หน้าเดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการ ตรวจสอบและเทียบเคียง ความหมายสำนวน การแปล ของผู้ต้องการศึกษา และปฏิบัติอย่างละเอียดละออ

คงเนื้อหาเดิม
. คงเนื้อหาของต้นฉบับเดิมทุกประการ เพื่อความถูกต้องตรงตามข้อมูลเดิม

ข้อสังเกต ใช้เป็นเชิงอรรถ
. เพื่อประโยชน์ในการศึกษาสืบค้น หรือปรับปรุงเนื้อหาต่อไปในอนาคตสำหรับ หน่วยงานหรือองค์กรใดๆ จึงได้ใส่เชิงอรรถในส่วน ที่คณะ งานธัมมสังเกตเห็น (เพื่อให้เป็นข้อสังเกตเท่านั้นแต่มิได้แก้ไขใดๆ คือคงของเดิมไว้ทุกประการ) ให้ได้พิจารณาเพื่อปรับปรุงแก้ไขในโอกาส ต่อไปตัวอย่างข้อสังเกตจาก พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค :-
         ๔.๑ หน้า ๑๙ พระสูตรที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๒ เนื้อความจากต้นฉบับพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง : นี้เรียกว่า สัสมากัมมันตะ มีเชิงอรรถว่า : สัมมากัมมันตะ –ผู้รวบรวม (ผู้รวบรวมสังเกตเห็นว่า มีการสะกด ไม่ถูกต้องที่คำว่า สัมมากัมมันตะ)
         ๔.๒ หน้า ๓๐๗ พระสูตรที่ ๕๐๕ บรรทัดที่ ๒ เนื้อความจากต้นฉบับพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง : รัตนะ ๗ อย่างเป็นไฉน ? คือจักรแกว้ ๑ ช้างแก้ว ๑ แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ มีเชิงอรรถว่า : ม้าแก้ว –ผู้รวบรวม
(ผู้รวบรวมสังเกตเห็นว่า ขาดไป ๑ ในรัตนะ ๗ คือ ม้าแก้ว)
         ๔.๓ หน้า ๖๐๓ พระสูตรที่ ๑๐๓๒ บรรทัดที่ ๑ เนื้อความจากต้นฉบับพระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับหลวง : ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูม ิมีเชิงอรรถว่า : ผู้เป็นเสขะ อาศัยแล้ว –ผู้รวบรวม
(ผู้รวบรวมสังเกตเห็นว่า โดยเนื้อความและเทียบเคียงในบาลีแล้ว น่าจะมีการจัดพิมพ์ผิดระหว่าง คำว่า ภิกษุผู้เป็นอเสขะและภิกษุ ผู้เป็นเสขะ)
         ๔.๔ หน้า ๙๔๑ พระสูตรที่ ๑๕๙๕ บรรทัดที่ ๑ เนื้อความจากต้นฉบับพระไตรปิฎกภาษา ไทย ฉบับหลวง : [๑๔๙๕] มีเชิงอรรถว่า : [๑๕๙๕] –ผู้รวบรวม (ผู้รวบรวมสังเกตเห็นว่า เลขข้อพระสูตรไม่ถูกต้อง)
         ๔.๕ หน้า ๑๐๐๗ พระสูตรที่ ๑๖๗๘ บรรทัดที่ ๒ เนื้อความจากต้นฉบับพระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับหลวง : อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ มีเชิงอรรถว่า : ข้อสังเกต : บาลีมีคำว่า “ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ” ซึ่งแปลว่า ทุกขสมุทย อริยสัจ-ผู้รวบรวม (ผู้รวบรวมสังเกตเห็นว่า ภาษาไทยแปลขาดไป ๑ องค์แห่งอริยสัจ ๔ โดยเทียบเคียงในบาลี)

• การเน้นอักษร

๕. การเน้นเพื่อให้ความสำคัญของข้อความ มี ๓ ระดับความสำคัญระดับที่ ๑ได้แก่ พุทธวจน หรือคำกล่าวของบุคคลอื่นที่พระพุทธเจ้า รับรอง หรือคำกล่าวของ บุคคลอื่นที่ยกพุทธวจน ขึ้นกล่าว

ความสำคัญระดับที่ ๒

ได้แก่ คำที่บุคคลอื่น กล่าวคำกํ้ากึ่งว่าน่าจะเป็นพุทธวจน หรือทางผู้รวบรวม ยังไม่สามารถ พิจารณาได้ว่าเป็นพุทธวจนหรือไม่

ความสำคัญระดับที่ ๓

ได้แก่ คำบรรยาย, คำประกอบอื่นๆ หรือคำกล่าวของสาวก ที่ไม่ใช่พุทธวจน

..........................................................................................................................................

E
คำนำ (ปรารภเหตุที่มาแห่งหนังสือพุทธวจน-ปิฎกโดยย่อ)
ตถาคตภาสิตอันเป็นเหตุแห่งการเกิดขึ้นของหนังสือพุทธวจน-ปิฎก (ฉบับ บาลี-ไทย)

พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ เมื่อจะพูด ทุกถ้อยคำจึงไม่ผิดพลาด
บาลี มู. ม. ๑๒/๔๕๘/๔๓๐.

แต่ละคำพูดของพระองค์เป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา
บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๑.

คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน
บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓.

ทรงบอกเหตุแห่งความอันตรธานของคำสอนเปรียบด้วยตะโพนชื่ออานกะ
บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓.

ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น
บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๙๑-๙๒/๒๙๒.

ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือเพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้
บาลี มหา. ที. ๑๐/๙๑/๗๐.

สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้น ถึงแม้จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม
บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๒/๑๒๖.

ตรัสไว้ว่าให้ทรงจำบทพยัญชนะ และคำอธิบายอย่างถูกต้อง พร้อมขยันถ่ายทอด บอกสอนกันต่อไป บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๗/๑๖๐.

ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในคำสอน บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๔๔/๑๑๓-๑๑๖.

ทรงตรัสแก่พระอานนท์ ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้เป็นศาสดาแทนต่อไป
บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๗๘/๑๔๑., มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐., ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓.

๑๐ พระสูตรข้างต้น ประหนึ่งดังแผนที่บอกทางไปสู่ขุมทรัพย์ ให้ผู้เดินตามมรรคทั้งหลาย ก้าวเดินตามองค์พระศาสดา ได้อย่างถูกต้อง ตรงตามพุทธประสงค์ พุทธบัญญัติเหล่านี้เองเป็นเหตุที่มาแห่งหนังสือ พุทธวจน-ปิฎก (ฉบับ บาลี-ไทย) ทั้ง ๓๓ เล่มนี้

คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกท่านที่ได้ศึกษา และประพฤติ ปฏิบัติตามคำสอนจากการแสดงธรรมะของสัพพัญญู จะได้มีดวงตาเห็นธรรม สำเร็จมรรคผลนิพพานโดยถ้วนหน้ากันทุกท่านทุกคนเทอญ ขอนอบน้อมแด่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า

(สาวกตถาคต)
คณะงานธัมมะวัดนาป่าพง (กลุ่มอาสาสมัครพุทธวจน-ปิฏก)

.......................................................................................................................................

F
คำนำ (ปรารภเหตุที่มาแห่งหนังสือหนังสือพุทธวจน-ปิฎกโดยละเอียด)
ตถาคตภาสิตอันเป็นเหตุแห่งการเกิดขึ้นของหนังสือพุทธวจน-ปิฎก (ฉบับ บาลี-ไทย)


. พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ เมื่อจะพูด ทุกถ้อยคำจึงไม่ผิดพลาด
ดูกรอัคคิเวสสนะ เรารู้เฉพาะอยู่ว่า เป็นผู้แสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ถึงแม้บุคคลคนหนึ่งๆ สำคัญเรา อย่างนี้บ้างว่า พระสมณโคดมแสดงธรรมปรารภ เราเท่านั้น ท่านอย่าพึงเห็นอย่างนั้นพระตถาคตย่อม แสดงธรรมแก่บุคคลเหล่านั้น โดยชอบ เพื่อประโยชน์ให้รู้แจ้งอย่างเดียว เราประคองจิต สงบตั้งมั่น ทำให้เป็น สมาธิ ณ ภายใน ในสมาธินิมิตเบื้องต้นจนจบคาถานั้น ทีเดียวเราอยู่ด้วยผลสมาธิ เป็นสุญญะ ตลอดนิตยกาล บาลี มู. ม. ๑๒/๔๕๘/๔๓๐.


. แต่ละคำพูดของพระองค์เป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้นถูกละ พวกเธออันเรานำเข้าไปแล้ว ด้วยธรรมนี้ อันเห็นได้ด้วยตนเอง ซึ่งให้ผลไม่มีกาลคั่นควรเรียกให้มาชม ควรน้อมเข้ามา อัน วิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตนคำที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ อันเห็นได้ด้วย ตนเอง ให้ผลไม่มีกาลคั่น ควรเรียกให้มาชมควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้ได้ เฉพาะตน ดังนี้ เราอาศัยความข้อ นี้กล่าวแล้ว บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๑.


. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตย่อมตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในราตรีใด และย่อมปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด ย่อมตรัสบอกแสดง ซึ่งพุทธพจน์อันใดในระหว่างนี้ พุทธพจน์นั้น ทั้งหมด ย่อมเป็นอย่างนั้นนั่นแล ไม่เป็นอย่างอื่นฉะนั้น บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓.


. ทรงบอกเหตุแห่งความอันตรธานของคำสอน เปรียบด้วยตะโพนชื่ออานกะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ ผู้มีพระนามว่า ทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่อ อานกะ ก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคต กล่าวแล้ว อันลึกมีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรมอยู่ จักไม่ปรารถนาฟัง จักไม่เข้าไป ตั้งจิต เพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียนควรศึกษา

แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอัน นักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิตอยู่จัก ปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธาน ฉันนั้น เหมือนกัน บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓.


. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือบริษัทที่ดื้อด้าน ไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ ๑บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับ การสอบถาม แนะนำเป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถ อันลึกลํ้า เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ไม่ตั้งใจฟัง ให้ดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้ เพื่อจะรู้ทั่วถึง

อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าว พระสูตรที่กวีได้รจนาไว้ เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก ซึ่งสาวกได้ ภาษิตไว้ ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อ จะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน ไม่เที่ยวไต่ถาม กันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่ง ภาษิตนี้เป็นไฉน

ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับไม่ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทา ความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้ง แห่งความสงสัย หลายอย่างเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทดื้อด้าน ไม่ได้รับการสอบถาม แนะนำ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้านเป็นไฉนภิกษุ ในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าว พระสูตรที่กวีรจนาไว้เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอกเป็นสาวกภาษิต ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง

อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตน ควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ แต่ว่าเมื่อผู้อื่นกล่าว พระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่งลึกลํ้า มีอรรถลึกลํ้า เป็นโลกุตระปฏิสังยุตด้วย สุญญตธรรมย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และภิกษุเหล่านั้น ย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ

ภิกษุเหล่านั้น เรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอบสวนเที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิต นี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้น ย่อมเปิดเผยอรรถ ที่ลี้ลับ ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทาความสงสัยในธรรม เป็นที่ตั้งแห่ง ความสงสัยหลายอย่างเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลายบริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้ได้รับ การสอบถาม แนะนำ ไม่ดื้อด้าน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้บริษัทที่ได้รับ การสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน เป็นเลิศ บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๙๑-๙๒/๒๙๒.


. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือเพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้แล้ว จักไม่ถอน สิ่งที่ได้ บัญญัติไว้แล้ว จักสมาทานประพฤติ อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ตามที่ได้ บ้ญัญติ ไว้แล้วอยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญ อย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น บาลี มหา. ที. ๑๐/๙๑/๗๐.


. สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้น ถึงแม้จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทางที่ยังไม่เกิด ให้เกิด ยังประชุมชนให้รู้จักมรรค ที่ใครๆ ไม่รู้จักบอกทางที่ยังไม่มีใครบอก เป็นผู้รู้จักทาง ประกาศทางให้ปรากฏ ฉลาดในทาง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สาวกทั้งหลาย ในบัดนี้ เป็นผู้ที่ดำเนินไปตามทางเป็นผู้ตามมาในภายหลัง อันนี้แล เป็นข้อแปลกกัน อันนี้ เป็นข้อประสงค์ยิ่งกว่ากัน อันนี้เป็น เหตุทำให้ต่างกันระหว่างพระตถาคตอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า กับภิกษุผู้หลุดพ้น ได้ด้วยปัญญา บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๒/๑๒๖.


. ตรัสไว้ว่าให้ทรงจำบทพยัญชนะและคำอธิบายอย่างถูกต้อง พร้อมขยันถ่ายทอดบอกสอนกันต่อไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อม สูญแห่งพระสัทธรรม... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาดี ด้วยบท และพยัญชนะ อันตั้งไว้ดี แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี ย่อมมีนัยดีไปด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญ แห่งพระสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ภิกษุเหล่านั้น บอกพระสูตร แก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้น มรณภาพลง พระสูตรย่อมไม่ขาดมูลเดิม ยังมีที่พึ่ง อาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่นเพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความ ไม่เสื่อมสูญ แห่งพระสัทธรรม
***ในที่นี้ยกมา ๒ นัยยะ จาก ๔ นัยยะ ของมูลเหตุสี่ประการ ที่ทำให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๗/๑๖๐.

. ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในคำสอน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อนี้ข้าพเจ้า ได้ฟัง มาได้รับมาเฉพาะ พระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรม วินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า สงฆ์พร้อมทั้งพระเถระพร้อมทั้งปาโมกข์ อยู่ในอาวาสโน้น ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะ หน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอน ของพระศาสดา ดังนี้...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระ มากรูป อยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมา เฉพาะหน้า พระเถระเหล่านั้น ว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่าภิกษุผู้เป็นเถระ อยู่ใน อาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้า พระเถระนั้น ว่านี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าว ของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะ เหล่านั้น ให้ดี แล้วสอบสวนใน พระสูตร เทียบเคียงใน พระวินัย

ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงใน พระวินัยไม่ได้พึงถึง ความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค แน่นอน และพระเถระนั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อ สอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัย ได้พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่านี้เป็นคำของ พระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนนั้ จำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศทั้ง ๔ เหล่านี้ไว้ บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๔๔/๑๑๓-๑๑๖.

๑๐. ทรงตรัสแก่พระอานนท์ ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้เป็นศาสดาแทนต่อไป
ดูกรอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดา ล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเรา ไม่มี ก็ข้อนี้ พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรม และวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของ พวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุพวกใด พวกหนึ่ง ในบัดนี้ก็ดี ในกาลที่เรา ล่วงไปก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตน เป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรม เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่น เป็นที่พึ่งอยู่ พวกภิกษุเหล่านี้นั้น ที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา จักเป็นผู้เลิศ

ดูกรอานนท์ เธอทั้งหลายจะพึงประพฤติตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้ ได้ด้วยประการใด เรากล่าวอย่างนี้ กะเธอ ทั้งหลาย ด้วยประการนั้น เธอทั้งหลาย อย่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลยเมื่อยุคบุรุษใดเป็นไปอยู่ กัลยาณวัตรเห็นปานนี้ ขาดสูญไป ยุคบุรุษนั้นชื่อว่าเป็นบุรุษ คนสุดท้าย ของบุรุษเหล่านั้น เธอทั้งหลาย จะพึง ประพฤติตามกัลยาณวัตร ที่เราตั้งไว้แล้วนี้ ได้ด้วยประการใด เรากล่าวอย่างนี้ กะเธอทั้งหลาย ด้วยประการนั้น เธอทั้งหลาย อย่าได้ชื่อว่าเป็นบุรุษคนสุดท้าย ของเราเลยบาลี มหา. ที. ๑๐/๑๗๘/๑๔๑., มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐., ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓.

๑๐ พระสูตรข้างต้น ประหนึ่งดังแผนที่บอกทางไปสู่ขุมทรัพย์
ให้ผู้เดินตามมรรค ทั้งหลาย ก้าวเดินตามองค์พระศาสดาได้อย่างถูกต้อง ตรงตาม พุทธประสงค์ พุทธบัญญัติ เหล่านี้เอง เป็นเหตุที่มาแห่งหนังสือ พุทธวจน-ปิฎก (ฉบับ บาลี-ไทย) ทั้ง ๓๓ เล่มนี้คณะผู้จัดทำ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกท่านที่ได้ศึกษา และประพฤติ ปฏิบัติตามคำสอนจากการแสดงธรรมของ สัพพัญญู จะได้มีดวงตา เห็นธรรม สำเร็จมรรคผลนิพพานโดยถ้วนหน้ากัน ทุกท่านทุกคนเทอญ

ดูกรเจ้าลิจฉวี ความปรากฏขึ้นแห่งรัตนะ ๕ หาได้ยากในโลก

รัตนะ ๕ เป็นไฉน คือ

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ๑
บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว อันผู้อื่นแสดงแล้ว ๑
บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว อันผู้อื่นแสดงแล้ว ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ๑
กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑

ดูกรเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งรัตนะ ๕ ประการนี้แล หาได้ยากในโลก

บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๖๖/๑๙๕.


ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ

อานนท์ ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่าธรรมวินัยของพวกเรา มีพระศาสดา ล่วงลับไปแล้วพวกเราไม่มีพระศาสดา ดังนี้”
อานนท์ พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น

อานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดีที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลายโดยกาลล่วงไปแห่งเรา”

อ่านต่อ