เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  หนังสือ พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  4 of 13  
 
  หนังสือ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ ข้อ  
  พลกรณียวรรคที่ ๑๑ (ต่อ)    
  พลกรณีสูตรที่ ๔ อาศัยศีลเจริญอริยมรรคน้อมไปสู่นิพพาน 270  
  พีชสูตร พืชอาศัยแผ่นดินผู้อาศัยศีลเจริญอริยมรรค 272  
  นาคสูตร นาคอาศัยขุนเขาผู้อาศัยศีลเจริญอริยมรรค 274  
  รุกขสูตร ต้นไม้ล้มลงทางที่โอน ผู้เจริญอริยมรรคน้อมไปสู่นิพพาน 276  
  กุมภสูตร ผู้เจริญอริยมรรคย่อมระบายอกุศลธรรม8 278  
  สุกกสูตร ทิฏฐิที่ตั้งไว้ชอบย่อมทำลายอวิชชา 280  
  อากาสสูตร ผู้เจริญอริยมรรคย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์ 282  
  เมฆสูตรที่ ๑ -๒ ผู้เจริญอริยมรรคทำอกุศลธรรมให้สงบโดยพลัน 284  
  นาวาสูตร ผู้เจริญอริยมรรคทำให้สังโยชน์สงบหมดไป 288  
  อาคันตุกาคารสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้แจ้ง ควรทำให้เจริญ 290  
  นทีสูตร ไม่มีผู้สามารถให้ผู้เจริญอริยมรรคกลับเป็นคนเลวได้ 296  
       
  เอสนาวรรคที่ ๑๒    
  เอสนาสูตรที่ ๑ - ๘ การแสวงหา ๓ 298  
  วิธาสูตร การถือตัว ๓ 313  
  อาสวสูตร อาสวะ ๓ 315  
  ภวสูตร ภพ ๓ 317  
  ทุกขตาสูตร ความเป็นทุกข์ ๓ 319  
  ขีลสูตร เสาเขื่อน ๓ 321  
  มลสูตร มลทิน ๓ 323  
  นิฆสูตร ทุกข์ ๓ 325  
  เวทนาสูตร เวทนา ๓ 327  
  ตัณหาสูตรที่ ๑ - ๒ ตัณหา ๓ 329  
       
  โอฆวรรคที่ ๑๓    
  โอฆสูตร โอฆะ ๔ 333  
  โยคสูตร โยคะ ๔ 335  
  อุปาทานสูตร อุปาทาน ๔ 337  
  คันถสูตร คันถะ ๔ 339  
  อนุสยสูตร อนุสัย ๗ 341  
  กามคุณสูตร กามคุณ ๕ 343  
  นิวรณสูตร นิวรณ์ ๕ 345  
  อุปาทานขันธสูตร อุปาทานขันธ์ ๕ 347  
  โอรัมภาคิยสูตร โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ 349  
  อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๑ - ๒ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ 351  
  หิมวันตสูตร ผู้เจริญโพชฌงค์ถึงความเป็นใหญ่ในธรรมทั้งหลาย 355  
  กายสูตร อาหารของนิวรณ์ ๕ 357  
  อาหารของโพชฌงค์ ๗ 364  
  สีลสูตร การหลีกออก ๒ วิธี 373  
  อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์ 381  
  วัตตสูตร การอยู่ด้วยโพชฌงค์ ๗ 383  
  ภิกขุสูตร ที่เรียกว่าโพชฌงค์เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้ 390  
  กุณฑลิยสูตร ตถาคตมีวิชชาและวิมุติเป็นผลานิสงส์ 394  
  กูฏสูตร ผู้เจริญโพชฌงค์ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน 401  
  อุปวาณสูตร โพชฌงค์ ๗ ที่ปรารภดีแล้วย่อมอยู่ผาสุก 403  
  อุปาทสูตรที่ ๑ -๒ โพชฌงค์ ๗ ไม่เกิดนอกจากการปรากฏแห่งตถาคต 407  
       
  คิลานวรรคที่ ๒    
  ปาณูปมสูตร อาศัยศีลเจริญโพชฌงค์ ๗ 409  
  สุริยูปมสูตรที่ ๑ - ๒ อาศัยกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗ 411  
  คิลานสูตรที่ ๑ - ๓ พระมหากัสสปหายอาพาธด้วยโพชฌงค์ ๗ 415  
  ปารคามีสูตร เจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง 429  
  วิรัทธสูตร โพชฌงค์ ๗ ที่ปรารภผิด ปรารภถูก 431  
  อริยสูตร เจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมนำตนออกจากทุกข์ 433  
       
  อุทายิวรรคที่ ๓    
  โพธนสูตร ที่เรียกว่าโพชฌงค์เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้ 435  
  เทสนาสูตร โพชฌงค์ ๗ 437  
  ฐานิยสูตร นิวรณ์ ๕ เกิดเพราะมนสิการถึงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์ 438  
  อโยนิโสสูตร นิวรณ์ ๕ เกิดเพราะมนสิการโดยไม่แยบคาย 444  
  อปริหานิยสูตร ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ๗ 448  
       
 
 




พลกรณียวรรคที่ ๑๑ (ต่อ)

270
พลกรณีสูตรที่ ๔

อาศัยศีลเจริญอริยมรรคน้อมไปสู่นิพพาน
[๒๗๐]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ ทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้การงาน ที่พึงทำด้วยกำลังเหล่านี้ อันบุคคลย่อมทำได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใดภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยูในศีลแล้วจึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้ว ยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๒๗๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วย องค์ ๘ กระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันน้อมไปสู่นิพพานโน้มไป สู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อมไปสู่นิพพานโน้มไป สู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญ อริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๔

272

พีชสูตร
พืชอาศัยแผ่นดินผู้อาศัยศีลเจริญอริยมรรค
[๒๗๒]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคามชนิดใดชนิดหนึ่งนี้ ย่อมถึงความ เจริญงอกงามใหญ่โต พืช คามและภูตคาม ทั้งหมดนั้นอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่ในแผ่นดินจึง ถึงความเจริญงอกงามใหญ่โต พืชคามและ ภูตคามเหล่านี้ ย่อมถึงความเจริญงอกงาม ใหญ่โตด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๒๗๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่ง อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า จึงถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน การสละ ฯลฯย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัย ศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่ง อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๕

274

นาคสูตร
นาคอาศัยขุนเขาผู้อาศัยศีลเจริญอริยมรรค
[๒๗๔]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนาคอาศัยขุนเขาชื่อ หิมวันต์ มีกายเติบโต มีกำลัง ครั้นมีกายเติบโต มีกำลังที่ขุนเขานั้นแล้ว ย่อมลงสู่บึงน้อย ครั้นลงสู่บึงน้อยแล้วย่อมลง สู่บึงใหญ่ ครั้นลงสู่บึงใหญ่แล้ว ย่อมลงสู่ แม่นํ้าน้อย ครั้นลงสู่แม่นํ้าน้อยแล้วย่อมลงสู่ แม่นํ้าใหญ่ ครั้นลงสู่แม่นํ้าใหญ่แล้ว ย่อมลงสู่มหาสมุทรสาคร นาคพวกนั้นย่อมถึง ความใหญ่โตทางกาย ในมหาสมุทรสาครนนั้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล แล้ว เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ย่อมถึงความเป็นใหญ่ ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๒๗๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่ง อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ย่อมถึงความเป็นใหญ่ ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน การสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มาก ซึ่ง อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ ในธรรม ทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๖

276

รุกขสูตร
ต้นไม้ล้มลงทางที่โอน ผู้เจริญอริยมรรคน้อมไปสู่นิพพาน
[๒๗๖]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้น้อมไปสู่ทิศปราจีน โน้มไปสู่ทิศปราจีนโอนไปสู่ ทิศปราจีน ต้นไม้นั้น เมื่อถูกตัดรากเสียแล้ว จักล้มลงทางทิศที่มันน้อมโน้มโอนไป แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อัน ประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพานโอนไปสู่ นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๒๗๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่ง อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่าย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไป สู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมา ทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯย่อมเจริญ สัมมา สมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วย องค์ ๘ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่ นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
จบ สูตรที่ ๗

278

กุมภสูตร
ผู้เจริญอริยมรรคย่อมระบายอกุศลธรรม
[๒๗๘]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หม้อที่ควํ่า ย่อมทำให้นํ้าไหลออก อย่างเดียวไม่ทำ ให้กลับไหลเข้า แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่ง อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมระบายอกุศล ธรรมอันลามกออกอย่างเดียว ไม่ให้กลับคืนมาได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๒๗๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่ง อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ย่อมระบายอกุศลธรรมอันลามกออกอย่างเดียว ไม่ให้กลับคืนมาได้ ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญ สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘อย่างนี้แล ย่อมระบายอกุศลธรรม อันลามกอย่างเดียว ไม่ให้กลับคืนมาได้.
จบ สูตรที่ ๘

280

สุกกสูตร
ทิฏฐิที่ตั้งไว้ชอบย่อมทำลายอวิชชา
[๒๘๐]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะ ตั้งไว้เหมาะมือหรือ เท้ายํ่าเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะเดือยตั้งไว้เหมาะ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จัก ทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน เพราะทิฏฐิ ที่ตั้งไว้ชอบ เพราะมรรคภาวนาตั้งไว้ชอบ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะทิฏฐิที่ตั้งไว้ชอบ.
[๒๘๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมทำลายอวิชชา ย่อมยังวิชชาให้เกิด ย่อมทำนิพพานให้แจ้ง เพราะทิฏฐิที่ตั้งไว้ ชอบ เพราะมรรคภาวนาที่ตั้งไว้ชอบอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมทำลายอวิชชาย่อมยังวิชชาให้เกิด ย่อมทำนิพพานให้แจ้ง เพราะทิฏฐิที่ตั้งไว้ชอบ เพราะมรรคภาวนาที่ตั้งไว้ชอบ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๙

282

อากาสสูตร
ผู้เจริญอริยมรรคย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์
[๒๘๒]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลมหลายชนิดพัดไปในอากาศ คือ ลมตะวันออกบ้าง ลมตะวันตกบ้าง ลมเหนือบ้าง ลมใต้บ้าง ลมมีธุลีบ้าง ลมไม่มีธุลีบ้างลมหนาวบ้าง ลมร้อนบ้าง ลมพัดเบาๆ บ้าง ลมพัดแรงบ้าง แม้ฉันใด เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรค อัน ประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ สติปัฏฐาน ๔ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง สัมมัปปธาน ๔ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง อิทธิบาท ๔ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง อินทรีย์ ๕ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง พละ ๕ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง โพชฌงค์ ๗ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง ฉันนั้น เหมือนกัน.
[๒๘๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่ง อริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า สติปัฏฐาน ๔ จึงถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง สัมมัปปทาน ๔... อิทธิบาท ๔... อินทรีย์ ๕... พละ ๕...โพชฌงค์ ๗ จึงถึงความเจริญ บริบูรณ์บ้าง ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญ สัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่ง อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล สติปฏั ฐาน ๔ ย่อมถึงความเจริญ บริบูรณ์บ้าง สัมมัปปธาน ๔... อิทธิบาท ๔... อินทรีย์ ๕... พละ ๕... โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความบริบูรณ์ 1 บ้าง.
จบ สูตรที่ ๑๐

284

เมฆสูตรที่ ๑
ผู้เจริญอริยมรรคทำอกุศลธรรมให้สงบโดยพลัน
[๒๘๔]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝุ่นละอองอันตั้งขึ้นในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน เมฆก้อน ใหญ่ที่เกิดในสมัยมิใช่กาล ย่อมยังฝุ่นละอองนั้นให้หาย ราบไปได้โดยพลันแม้ฉันใด ภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ย่อมยังอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ให้หายสงบไปได้โดยพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๒๘๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่ง อริยมรรค อันประกอบ ด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า จึงให้อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว หายสงบไปได้โดยพลัน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมา ทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมา สมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อ เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงให้ อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว หายสงบไปได้โดยพลัน.
จบ สูตรที่ ๑๑

286

เมฆสูตรที่ ๒
ผู้เจริญอริยมรรคทำอกุศลธรรมให้สงบในระหว่างโดยพลัน
[๒๘๖]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลมแรงย่อมยังมหาเมฆอันเกิดขึ้นแล้วให้หายหมด ไปได้ในระหว่างนั่นเอง แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมยังอกุศลธรรมอันลามก ที่เกิดขึ้นแลว้ให้หายสงบไปในระหว่างได้โดยพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๒๘๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มาก ซึ่ง อริยมรรคอันประกอบด้วย องค์ ๘ อย่างไรเล่า จึงให้อกุศลธรรมอันลามก ที่เกิดขึ้นแล้ว หายสงบไปในระหว่างได้ ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงให้อกุศลธรรม อันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว หายสงบไปในระหว่างได้โดยพลัน.
จบ สูตรที่ ๑๒

288

นาวาสูตร
ผู้เจริญอริยมรรคทำให้สังโยชน์สงบหมดไป
[๒๘๘]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรือเดินสมุทรที่ผูกด้วยเครื่องผูก คือหวายแช่อยู่ ในนํ้าตลอด ๖ เดือน เขายกขึ้นบกในฤดูหนาว เครื่องผูกต้องลมและแดดแล้ว อันฝนตก รดแล้ว ย่อมจะเสียไป ผุไป โดยไม่ยากเลย แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ สังโยชน์ทั้งหลาย ย่อมสงบหมดไป โดยไม่ยากเลย ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๒๘๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่ง อริยมรรคอันประกอบด้วย องค์ ๘ อย่างไรเล่า สังโยชน์ทั้งหลาย จึงจะสงบหมดไปโดย ไม่ยากเลย ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย นี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล สังโยชน์ทั้งหลายจึงสงบ หมดไป โดยไม่ยากเลย.
จบ สูตรที่ ๑๓

290

อาคันตุกาคารสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้แจ้ง ควรทำให้เจริญ
[๒๙๐]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้มาจากทิศบูรพาก็ดี จากทิศปัจจิม 1 ก็ดี จากทิศอุดรก็ดี จากทิศทักษิณ ก็ดี ย่อมพักอยู่ที่เรือนสำหรับรับแขก ถึงกษัตริย์พราหมณ์ แพศย์ ศูทรก็ดี ที่มาแล้วก็ย่อมพักอยู่ที่เรือนสำหรับ รับแขกนั้น แม้ฉันใดภิกษุเจริญอริย มรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบดว้ ยองค์ ๘ ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งย่อมละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมเจริญธรรมที่ควร ให้เจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๙๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน ? คือธรรมที่เรียกว่าอุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? คือ รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯวิญญาณูปาทานขันธ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.

[๒๙๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน ? คือ อวิชชาและภวตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง.

[๒๙๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน ? คือวิชชาและวิมุติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.

[๒๙๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน ? คือสมถะและ วิปัสสนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.

[๒๙๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่ง อริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า จึงกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯลฯ จึงเจริญธรรมที่ควรให้เจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไป ในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงกำหนด รู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯลฯ จึงเจริญธรรมที่ควรให้ เจริญด้วยปัญญา อันยิ่ง.
จบ สูตรที่ ๑๔

296

นทีสูตร
ไม่มีผู้สามารถให้ผู้เจริญอริยมรรคกลับเป็นคนเลวได้

[๒๙๖]
สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่นํ้าคงคา ไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศ ปราจีน ครั้งนั้นหมู่มหาชน พากันถือ เอาจอบ และตะกร้ามาด้วยประสงค์ว่า พวกเราจักทำการทดแม่นํ้าคงคานี้ให้ไหลกลับ ให้หลั่งกลับ ให้บ่ากลับ ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน หมู่มหาชนนั้นจะพึงทำการทดแม่น้ำคงคาให้ไหลกลับ ให้หลั่งกลับ ให้บ่ากลับ ได้ละหรือ ?

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่ได้ พระเจ้าข้า.

พ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร.

ภิ เพราะแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปทิศปราจีน การที่จะทำการทดแม่น้ำ คงคา ให้ไหลกลับให้หลั่งกลับ ให้บ่ากลับ มิใช่กระทำได้ง่าย แต่เป็นการแน่นอนว่า หมู่มหาชนพึงเป็นผู้มีส่วนแห่ง ความลำบากยากแค้นแม้ฉันใด.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา มิตร สหายหรือญาติ สาโลหิต จะพึงเชื้อเชิญภิกษุ ผู้เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ผู้กระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ด้วยโภคะทั้งหลาย เพื่อนำไปตามใจว่า ดูกรบุรุษ ผู้เจริญ เชิญท่านมาเถิด ท่านจะนุ่งห่มผ้ากาสายะเหล่านี้ทำไม ?

ท่านจะเป็นคนโล้นถือกระเบื้องเที่ยวไปทำไม ? ท่านจงสึกมาบริโภคโภคะและกระทำ บุญเถิดภิกษุผู้เจริญ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ผู้กระทำให้มากซึ่ง อริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ นั้น จักลาสิกขาสึก ออกเป็นคฤหัสถ์ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะว่า จิตที่น้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก ตลอดกาลนานนั้น จักสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

[๒๙๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่ง อริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล. (พึงขยายเนื้อความให้พิสดารเหมือนพลสูตร)
จบ สูตรที่ ๑๕

จบ พลกรณียวรรค
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. พลกรณียสูตรที่ ๑ ๒. พลกรณียสูตรที่ ๒
๓. พลกรณียสูตรที่ ๓ ๔. พลกรณียสูตรที่ ๔
๕. พีชสูตร ๖. นาคสูตร
๗. รุกขสูตร ๘. กุมภสูตร
๙. สุกกสูตร ๑๐. อากาสสูตร
๑๑. เมฆสูตรที่ ๑ ๑๒. เมฆสูตรที่ ๒
๑๓. นาวาสูตร ๑๔. อาคันตุกาคารสูตร
๑๕. นทีสูตร


เอสนาวรรคที่ ๑๒


298

เอสนาสูตรที่ ๑
การแสวงหา ๓
[๒๙๘]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ? คือการแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

[๒๙๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อความรู้ยิ่ง1 ซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ สัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัย วิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่งด้วยการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑

 

เอสนาสูตรที่ ๒
การแสวงหา ๓
[๓๐๐]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ? คือการแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.
[๓๐๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งซึ่งการ แสวงหา ๓ อย่างนี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ?ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุดมีอันกำจัด โทสะ เป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุดดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควร เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่งซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๒

 

เอสนาสูตรที่ ๓
การแสวงหา ๓
[๓๐๒]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ? คือการ แสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายการ แสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

[๓๐๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งซึ่งการ แสวงหา ๓ อย่าง อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษ ุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้ามีอมตะ เป็นที่สดุ ฯลฯ ยอ่ มเจริญสัมมาสมาธิ อนั หยงั่ ลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้ามีอมตะ เป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่งซึ่ง การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๓

เอสนาสูตรที่ ๔
การแสวงหา ๓

[๓๐๔]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ? คือการแสวงหากาม ๑ การแสวงภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

[๓๐๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งซึ่งการ แสวงหา ๓ อย่างนี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันน้อมไปสู่นิพพานโน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่ นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่งซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๔

เอสนาสูตรที่ ๕
การแสวงหา ๓

[๓๐๖]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ? คือการแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

[๓๐๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบดว้ ยองค์ ๘ เพื่อ กำหนดรู้ ซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อกำหนดรู้ซึ่งการ แสวงหา ๓ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๕

เอสนาสูตรที่ ๖
การแสวงหา ๓
[๓๐๘]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ? คือการแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๖

เอสนาสูตรที่ ๗
การแสวงหา ๓
[๓๐๙]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ? คือการ แสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายการ แสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

[๓๑๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภกิ ษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อความสิ้นไปแห่ง การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อความสิ้นไปแห่ง การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๗

เอสนาสูตรที่ ๘
การแสวงหา ๓
[๓๑๑]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ? คือการแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.
[๓๑๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ?
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อละการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๘

313

วิธาสูตร
การถือตัว ๓
[๓๑๓]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การถือตัว ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ? คือการถือตัวว่า เราประเสริฐกว่าเขา ๑ เราเสมอเขา ๑ เราเลวกว่าเขา ๑ ดูกร 1 ภิกษุทั้งหลาย การถือตัว ๓ อย่างนี้แล.
[๓๑๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการถือตัว ๓ อย่างนี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมา สมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้  เพื่อความสิ้นไปเพื่อละการถือตัว ๓ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๙

315

อาสวสูตร
อาสวะ ๓
[๓๑๕]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ? คือกามาสวะ ๑ ภวาสวะ ๑ อวิชชาสวะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ อย่างนี้แล.
[๓๑๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอาสวะ ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑๐

317

ภวสูตร
ภพ ๓
[๓๑๗]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภพ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ? คือกามภพ ๑ รูปภพ ๑ อรูปภพ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภพ ๓ อย่างนี้แล.
[๓๑๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละภพ ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑๑

319

ทุกขตาสูตร
ความเป็นทุกข์ ๓
[๓๑๙]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ?คือ ความเป็นทุกข์เกิดจาก ความไม่สบายกาย ๑ ความเป็นทุกข์เกิดจากสังขาร ๑ความเป็นทุกข์เกิดจากความแปรปรวน ๑ ดูกรภิกษุทงั้ หลาย ความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้แล.
[๓๒๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพอื่ กำหนดรู้  เพื่อความสิ้นไป เพื่อละความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑๒

321

ขีลสูตร
เสาเขื่อน ๓
[๓๒๑]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสาเขื่อน ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ? ได้แก่เสาเขื่อน คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสาเขื่อน ๓ อย่างนี้แล.
[๓๒๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละเสาเขื่อน ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑๓

323

มลสูตร
มลทิน ๓

[๓๒๓]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ? ได้แก่มลทิน คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๓ อย่างนี้แล.
[๓๒๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละมลทิน ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑๔


325

นิฆสูตร
ทุกข์ ๓

[๓๒๕]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ? ได้แก่ทุกข์ คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ ๓ อย่างนี้แล.
[๓๒๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละทุกข์ ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑๕

327

เวทนาสูตร
เวทนา ๓
[๓๒๗]

สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ? คือสุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ อย่างนี้แล.
[๓๒๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละเวทนา ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑๖

329

ตัณหาสูตรที่ ๑
ตัณหา ๓

[๓๒๙]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ? คือกามตัณหา ๑ ภวตัณหา ๑ วิภวตัณหา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ อย่างนี้แล.
[๓๓๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อ กำหนดรู้  เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา ๓ อย่างนี้แล อริยมรรคอันประกอบดว้ ยองค์ ๘ เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อม เจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อ ความสิ้นไปเพื่อละตัณหา ๓ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๗

331

ตัณหาสูตรที่ ๒
ตัณหา ๓

[๓๓๑]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ อย่างนี้ ฯลฯ.
[๓๓๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา ๓ อย่างนี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิมีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้ามีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพานโอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพานโอนไป สู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา ๓ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๘

จบ เอสนาวรรค
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เอสนาสูตรที่ ๑ ๒. เอสนาสูตรที่ ๒
๓. เอสนาสูตรที่ ๓ ๔. เอสนาสูตรที่ ๔
๕. เอสนาสูตรที่ ๕ ๖. เอสนาสูตรที่ ๖
๗. เอสนาสูตรที่ ๗ ๘. เอสนาสูตรที่ ๘
๙. วิธาสูตร ๑๐. อาสวสูตร
๑๑. ภวสูตร ๑๒. ทุกขตาสูตร
๑๓. ขีลสูตร ๑๔. มลสูตร
๑๕. นิฆสูตร ๑๖. เวทนาสูตร
๑๗. ตัณหาสูตรที่ ๑ ๑๘. ตัณหาสูตรที่ ๒

 

โอฆวรรคที่ ๑๓

333

โอฆสูตร
โอฆะ ๔

[๓๓๓]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอฆะ ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน ? ได้แก่โอฆะ คือกาม ๑ โอฆะคือภพ ๑ โอฆะคือทิฏฐิ ๑ โอฆะคืออวิชชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายโอฆะ ๔ อย่างนี้แล.
[๓๓๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโอฆะ ๔ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วย องค์ ๘ นี้ ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑

335

โยคสูตร
โยคะ ๔
[๓๓๕]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน ? ได้แก่โยคะ คือกาม ๑ โยคะคือภพ ๑ โยคะคือทิฏฐิ ๑ โยคะคืออวิชชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายโยคะ ๔ อย่างนี้แล.
[๓๓๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโยคะ ๔ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๒

337

อุปาทานสูตร
อุปาทาน ๔
[๓๓๗]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน ? ได้แก่อุปาทาน คือกาม ๑ อุปาทานคือทิฏฐิ ๑ อุปาทานคือศีลและพรต ๑ อุปาทานคือ อัตตวาทะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างนี้แล.
[๓๓๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุปาทาน ๔ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้แล ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๓

339

คันถสูตร
คันถะ ๔
[๓๓๙]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คันถะ ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน ? ได้แก่กายคันถะ คืออภิชฌา ๑ กายคันถะคือพยาบาท ๑ กายคันถะคือสีลัพพตปรามาส ๑กายคันถะคือ อิทังสัจจา 1 ภินิเวส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คันถะ ๔ อย่างนี้แล.
[๓๔๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละคันถะ ๔ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้แล ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๔

1. ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง
2. ข้อสังเกต : นี้เป็นความหมายของคันถะตามนัยแห่งพุทธวจน ซึ่งแตกต่างจากความ หมายเดิมที่ได้ทราบ โดยทั่วไป -ผู้รวบรวม

341

อนุสยสูตร
อนุสัย ๗

[๓๔๑]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ อย่างนี้ ๗ อย่างเป็นไฉน ? ได้แก่อนุสัย คือกามราคะ ๑ อนุสัยคือปฏิฆะ ๑ อนุสัยคือทิฏฐิ ๑ อนุสัยคือวิจิกิจฉา ๑อนุสัยคือมานะ ๑ อนุสัยคือภวราคะ ๑ อนุสัยคืออวิชชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ อย่างนี้แล.
[๓๔๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอนุสัย ๗ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้แล.
จบ สูตรที่ ๕

343

กามคุณสูตร
กามคุณ ๕

[๓๔๓]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน ? คือรูปที่พึง รู้ได้ด้วยตา อันน่า ปรารถนา น่าใคร  น่า พอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัดเสียงที่พึง รู้ด้วยหู... กลนิ่ ที่พึงรู้ด้วยจมูก... รสที่พึงรู้ด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลายกามคุณ ๕ อย่างนี้แล.
[๓๔๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละกามคุณ ๕ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๖

345

นิวรณสูตร
นิวรณ์ ๕

[๓๔๕]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน ? คือกามฉันท นิวรณ์ ๑ พยาบาทนิวรณ์ ๑ ถีนมิทธนิวรณ์ ๑ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ อย่างนี้แล.
[๓๔๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละนิวรณ์ ๕ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๗

347

อุปาทานขันธสูตร
อุปาทานขันธ์ ๕
[๓๔๗]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน ? ได้แก่ อุปาทานขันธ์ คือรูป ๑ อุปาทานขันธ์คือเวทนา ๑ อุปาทานขันธ์คือสัญญา ๑ อุปาทาน ขันธ์คือสังขาร ๑ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายอุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้แล.
[๓๔๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๘

349

โอรัมภาคิยสูตร
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
[๓๔๙]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องตํ่า ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน ? ได้แก่สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑พยาบาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องตํ่า ๕ อย่างนี้แล.
[๓๕๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องตํ่า ๕ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๙

351

อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๑
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕
[๓๕๑]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน ? คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล.
[๓๕๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แลอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป ในการสละ ฯลฯย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพ่อื ความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐

353

อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๒
ว่าด้วยวิธีกำจัดอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕
[๓๕๓]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน ? คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล.
[๓๕๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล อริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ

ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัด โมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันหยั่งลงสู่อมตะมีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อัน หยั่ง ลงสู่อมตะมีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมา ทิฏฐิ อันน้อมไปสู่นิพพานโน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๑

จบ โอฆวรรคที่ ๑๓
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นิวรณสูตร ๘. อุปาทานขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๑
๑๑. อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๒

๒. โพชฌงคสังยุต

ปัพพตวรรคที่ ๑

355

หิมวันตสูตร
ผู้เจริญโพชฌงค์ถึงความเป็นใหญ่ในธรรมทั้งหลาย
[๓๕๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนาคอาศัยขุนเขาชื่อหิมวันต์ มีกายเติบโต มีกำลังครั้นกายเติบโต มีกำลังที่ขุนเขานั้น แล้วย่อมลงสู่บึงน้อย ครั้นลงสู่บึงน้อยแล้วย่อมลงสู่บึงใหญ่ ครั้นลง สู่บึง ใหญ่แล้ว ย่อมลงสู่แม่น้ำน้อย ครั้นลงสู่แม่น้ำน้อยแล้ว ย่อมลงสู่แม่นํ้าใหญ่ ครั้นลงสู่ แม่นํ้าใหญ่แล้ว ย่อมลงสู่มหาสมุทรสาคร นาคพวกนั้น ย่อมถึงความโตใหญ่ ทางกาย ในมหาสมุทรสาครนั้น แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๓๕๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์ ๗กระทำให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไร จึงถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติ สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญธรรมวิจย สัมโพชฌงค์... วิริยสัมโพชฌงค์... ปีติสัมโพชฌงค์... ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์... สมาธิสัมโพชฌงค์... อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล จึงถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๑

357

กายสูตร
อาหารของนิวรณ์ ๕
[๓๕๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหารไม่มีอาหาร ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ ๕ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๓๕๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหาร ให้กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศุภนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโส มนสิการในศุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้ เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
[๓๕๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหาร ให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ? ดกู รภิกษุทงั้ หลาย ปฏิฆนิมติ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง อโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิตนั้น นี้เป็นอาหาร ให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่ เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
[๓๖๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหาร ให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่ยินดี ความเกียจคร้านความบิด ขี้เกียจ ความเมาอาหาร ความที่ใจหดหู่ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการ ในสิ่งเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
[๓๖๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหาร ให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือ ที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ ยิ่งขึ้น ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่สงบใจมีอยู่การกระทำ ให้มากซึ่ง โยนิโสมนสิการในความไม่สงบใจนั้น นี้เป็นอาหารให้ อุทธัจจ กุกกุจจะ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
[๓๖๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแหง่ วิจิกิจฉามีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง อโยนิโสมนสิการ ในธรรมเหล่านั้นนี้เป็น อาหารให้วิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
[๓๖๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหารไม่มีอาหาร ดำรง อยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัย อาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

364

อาหารของโพชฌงค์ ๗

[๓๖๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหารไม่มีอาหาร ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด โพชฌงค์ ๗ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๓๖๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือ ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญ บริบูรณ์ ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งสติ สัมโพชฌงค์ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโส มนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหาร ให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญ บริบูรณ์.
[๓๖๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์ ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล และอกุศล ที่มีโทษ และไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาวมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ธรรมวิจย-สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.
[๓๖๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือ ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญ บริบูรณ์ ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความริเริ่ม ความพยายามความ บากบั่นมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ ในสิ่งเหล่านี้ นี้เป็นอาหารให้วิริย สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.
[๓๖๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือ ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญ บริบูรณ์ ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งปีติ สัมโพชฌงค์ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโส มนสิการ ในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหาร ให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญ บริบูรณ์.
[๓๖๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือ ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญ บริบูรณ์ ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสงบกาย ความสงบจิต มีอยู่การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ ในความ สงบนั้น นี้เป็นอาหารให้ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.
[๓๗๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือ ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญ บริบูรณ์ ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต 1 มีอยู่การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.
[๓๗๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญ บริบูรณ์ ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง โยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้นนี้เป็น อาหารให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
1. หมายถึงนิมิตแห่งจิตที่มีอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน

[๓๗๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหารไม่มีอาหาร ดำรงอยู่ไม่ได้  แม้ฉันใด โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้งดำรงอยู่ได้เพราะอาศัย อาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือน กัน.
จบ สูตรที่ ๒

373

สีลสูตร
การหลีกออก ๒ วิธี
[๓๗๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ถึง พร้อมด้วยศีล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิเป็นผู้ถึง พร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ เป็นผู้ถึง พร้อมด้วย วิมุติญาณทัสสนะ การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี การได้ฟังภิกษุ เหล่านั้นก็ดี การเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ก็ดีการเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี การบวชตาม ภิกษุเหล่านั้นก็ดี แต่ละอย่างๆ เรากล่าวว่ามีอุปาการะมาก ข้อนนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะว่าผู้ที่ ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว ย่อมหลีกออกอยู่ด้วย ๒ วิธี คือ หลีกออกด้วยกาย ๑หลีกออกด้วยจิต ๑ เธอหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึง ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น.
[๓๗๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึงย่อมตรึกถึงธรรม นั้น สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึง ความเจริญบริบูรณ์ เธอมีสติอยู่อ ย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา.
[๓๗๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตราถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้น ด้วยปัญญา สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เมื่อภิกษุเลือกเฟ้นตรวจตรา พินิจ พิจารณาธรรมนั้น ด้วยปัญญาความเพียรอันไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว.
[๓๗๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วย ปัญญา ความเพียรอัน ไม่ย่อหย่อน อันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอัน ภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญวิริย สัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ปีติที่ไม่มีอามิส ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภ ความเพียร.
[๓๗๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุ ผู้ป รารภความเพียร สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ของภิกษุย่อมถึงความเจริญ บริบูรณ์ กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจ กอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ.
[๓๗๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติย่อมสงบระงับ สมัยนั้น ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์จิตของภิกษุ ผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.
[๓๗๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิ สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัม โพชฌงค์ ของภิกษุ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เธอย่อมเป็น ผู้เพ่งดูจิต ที่ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นด้วยดี.
[๓๘๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้ว อย่างนั้นด้วยดีสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญอุเบกขา-สัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึง ความเจริญบริบูรณ์.

381

อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์
[๓๘๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้ ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน ?

[๓๘๒]
คือ
(๑) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน
(๒) ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย
(๓) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ที่นั้นจะได้เป็น พระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕สิ้นไป
(๔) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เป็นพระอนาคามี ผู้อันตราปริพนิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามี ผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องตํ่า ๕ สิ้นไป
(๕) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี และไม่ได้เป็น พระอนาคามี ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ที่นั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขาร-ปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องตํ่า ๕ สิ้นไป
(๖) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี และ ไม่ได้เป็นพระ อนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ทีนั้นจะได้เป็น พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องตํ่า ๕ สิ้นไป
(๗) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้ อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามี ผู้อสังขารปรินิพพายี และไม่ได้เป็น พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีทีนั้น จะได้เป็น พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะสังโยชน์เบื้องตํ่า ๕ สิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ อันเธอพึงหวังได้.
จบ สูตรที่ ๓

383

วัตตสูตร
การอยู่ด้วยโพชฌงค์ ๗
[๓๘๓]
สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถีณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย 1 ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตร แล้วท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุ ทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน ? คือ สติ-สัมโพชฌงค์ ๑ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ วิริยสัมโพชฌงค์ ๑ ปีติสัมโพชฌงค์ ๑ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๑ สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย 2 โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล.
[๓๘๔]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เราประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ ข้อใดๆ ในเวลาเช้าก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้นๆ เราประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใดๆ ในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้นๆ เราประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใดๆ ในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้นๆ.
[๓๘๕]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าสติสัมโพชฌงค์มีอยู่แก่เรา ดังพรรณนามานี้ เราก็รู้ว่าสติสัม โพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้ อันเราปรารภดีแล้ว สติสัมโพชฌงค์เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว่าตั้งอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเราก็รู้ว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็น ปัจจัย.
[๓๘๖]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่แก่เรา ดังพรรณนามานี้ เราก็รู้ว่า อุเบกขา สัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้ อันเราปรารภดีแล้ว อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว่าตั้งอยู่ ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรา เคลื่อนไป เราก็รู้ว่า เคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย.
[๓๘๗]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย หีบผ้าของพระราชาหรือของราชมหาอำมาตย์ เต็มด้วยผ้าสีต่างๆ พระราชา หรือราชมหาอำมาตย์ ประสงค์จะนุ่งห่มผ้าชุดใดๆ ในเวลาเช้าก็นุงห่มผ้า ชุดนั้นๆ ได้  ประสงค์จะนุ่งห่มผ้าชุดใดๆ ในเวลาเที่ยง
1. ข้อสังเกต ในบาลีเป็นคำว่า “อาวุโส” ดังนั้นน่าจะใช้คำว่า “ดูกรผู้มีอายุ” -ผู้รวบรวม
2. ข้อสังเกต ในบาลีเป็นคำว่า “อาวุโส” ดังนั้นน่าจะใช้คำว่า
“ดูกรผู้มีอายุ” -ผู้รวบรวม

ก็นุ่งห่มผ้าชุดนั้นๆ ได้ ประสงค์จะนุ่งห่มผ้าชุดใดๆ ในเวลาเย็น ก็นุ่งห่มผ้าชุดนั้นๆ ได้ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรดาโพชฌงค์ทั้ง ๗ นี้ เราประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ ข้อใดๆ ในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้นๆประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใดๆ ในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้นๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใดๆในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้นๆ.
[๓๘๘]
ถ้าสติสัมโพชฌงค์มีอยู่แก่เรา ดังพรรณนามานี้ เราก็รู้ว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราหา ประมาณ มิได้ อันเราปรารภดีแล้ว สติสัมโพชฌงค์เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว่าตั้งอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราก็รู้ว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ฯลฯ.
[๓๘๙]
ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่แก่เรา ดังพรรณนามานี้ เราก็รู้ว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ของเรา หาประมาณมิได้ อันเราปรารภดีแล้ว อุเบกขาสัมโพชฌงค์เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว่าตั้งอยู่ ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรา เคลื่อนไปเราก็รู้ว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย.
จบ สูตรที่ ๔

390

ภิกขุสูตร
ที่เรียกว่าโพชฌงค์เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้

[๓๙๐]
ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาค ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า โพชฌงค์ๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร หนอ จึง จะเรียกว่าโพชฌงค์ ? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้.
[๓๙๑]
ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ สละ ฯลฯ.
[๓๙๒]
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัย นิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ.
[๓๙๓]
เมื่อภิกษุนั้นเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้น แล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้วย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้  ฉะนี้แล.
จบ สูตรที่ ๕

394

กุณฑลิยสูตร
ตถาคตมีวิชชาและวิมุติเป็นผลานิสงส์
[๓๙๔]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนมฤคทายวัน ใกล้เมืองสาเกต ครั้งนั้นแล กุณฑลิยปริพาชก เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้น ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้วจึงนั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้า เที่ยวไปในอาราม เข้าไปสู่บริษัท

เมื่อข้าพเจ้าบริโภคอาหารเช้าแล้ว ในเวลาปัจฉาภัต ข้าพเจ้าเดินไปเนืองๆ เที่ยวไปเนืองๆ สู่อารามจากอารามสู่อุทยานจากอุทยาน ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าเห็นสมณ พราหมณ์พวกหนึ่ง กำลังกล่าวถ้อยคำมีวาทะ และการเปลื้องวาทะว่าดังนี้เป็น อานิสงส์ และมีความขุ่น เคืองเป็น อานิสงส์ ส่วนท่านพระโคดม มีอะไรเป็น อานิสงส์ อยู่เล่า ? พระผูม้ พี ระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกุณฑลิยะ ตถาคตมีวิชชา และวิมุติเป็นผลานิสงส์อยู่.
[๓๙๕]
ก. ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชา และวิมุติให้ บริบูรณ์ ?

พ. ดูกรกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชา และวิมุติให้ บริบูรณ์.

ก. ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรูณ์ ?

พ. ดูกรกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.

ก. ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่า ไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปฏั ฐาน ๔ ให้บริบูรณ์?

พ. ดูกรกุณฑลิยะ สุจริต ๓ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.

ก. ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ?

[๓๙๖]
พ. ดูกรกุณฑลิยะ อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ อินทรีย์สังวร อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ? ดูกรกุณฑลิยะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปที่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ยินดี ไม่ขึ้งเคียด ไม่ยังความกำหนัดให้เกิด และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว อนึ่ง เธอเห็นรูปที่ไม่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ก็ไม่เก้อ ไม่มีจิตตั้งอยู่ ด้วยอำนาจกิเลส ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ที่ชอบใจด้วยใจแล้วย่อมไม่ยินดี ไม่ขึ้งเคียด ไม่ยังความกำหนัดให้เกิด และกายของเธอ ก็คงที่ จิตก็คงที่มนั่ คงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้วอนึ่งเธอรู้ธรรมารมณ์ ที่ไม่ชอบใจด้วยใจแล้ว ไม่เก้อไม่มีจิต ตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลส ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท และกายของเธอก็คงที่จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว.

ดูกรกุณฑลิยะ เพราะเหตุที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้คงที่ ไม่เสียใจมีจิต ไม่พยาบาท เพราะรูปทั้งที่ ชอบใจและไม่ชอบใจ กายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่มั่นคงดี ในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ภิกษุฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็น ผู้คงที่ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท เพราะธรรมารมณ์ ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ดูกรกุณฑลิยะ อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์.
[๓๙๗]
ดูกรกุณฑลิยะ ก็สุจริตเหล่านั้นอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไรย่อมยัง สติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญกายสุจริตเพื่อละกายทุจริตเจริ ญวจีสุจริตเพื่อละวจีทุจริต เจริญมโนสุจริตเพื่อละมโน ทุจริต สุจริต ๓ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.
[๓๙๘]
ดูกรกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ ? ภิกษุในธรรมวินยั นี้ ยอ่ มพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ย่อม พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นจิต 1 เนืองๆ อยู่ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติพึงกำจัด อภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียได้ ดูกรกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.
[๓๙๙]
ดูกรกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังวิชชา และวิมุติให้บริบูรณ์ ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อัน อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้สมบูรณ์.
[๔๐๐]
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว กุณฑลิยปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดมทรง ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่ควํ่า เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถึงท่าน พระโคดม กับทั้ง พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะขอท่านพระโคดม จงทรงจำ ข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจน ตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบ สูตรที่ ๖

401

กูฏสูตร
ผู้เจริญโพชฌงค์ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน
[๔๐๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลอนเรือนยอดทั้งหมด น้อมไปสู่ยอด โน้มไปสู่ยอดโอนไปสู่ยอด แม้ฉันใด ภิกษุเจริญ โพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่ นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๔๐๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่ นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ สละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แ ล ย่อมเป็น ผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพิพาน โอนไปสู่นิพพาน.
จบ สูตรที่ ๗

403

อุปวาณสูตร
โพชฌงค์ ๗ ที่ปรารภดีแล้วย่อมอยู่ผาสุก
[๔๐๓]
สมัยหนึ่ง ท่านพระอุปวาณะและท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้งนั้นท่านพระสารีบุตร ออกจากที่พัก ผ่อนในเวลาเย็นแล้วเข้าไปหาท่านพระอุปวาณะ ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัย กับท่านพระอุปวาณะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอุปวาณะว่า

ท่านอุปวาณะผู้มีอายุภิกษุจะพึงรู้หรือไม่ว่า โพชฌงค์ ๗ อันเราปรารภดีแล้วอย่างนี้ ด้วยการกระทำไว้ในใจ โดยแยบคายเฉพาะตน ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่ เป็นผาสุก ท่านพระอุปวาณะตอบว่าดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ ภิกษุพึงรู้ได้ว่าโพชฌงค์ ๗ อันเราปรารภดีแล้วอย่างนี้ ด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเฉพาะตน ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นผาสุก.
[๔๐๔]
สา. ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุปรารภสติสัมโพชฌงค์ ย่อมรู้ได้หรือว่า จิตของเราหลุดพ้นดีแล้ว ถีนมิทธะ เราถอน เสียแล้ว อุทธัจจกุกกุจจะเรากำจัดได้แล้ว ความเพียรเราปรารภแล้ว เรากระทำไว้ในใจอย่างจริงจัง มิได้ย่อหย่อน ฯลฯ.
[๔๐๕]
ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมรู้ได้หรือว่า จิตของเราหลุดพ้นดีแล้ว ถีนมิทธะเราถอน เสียแล้วอุทธัจจกุกกุจจะเรากำจัดได้แล้ว ความเพียรเราปรารภแล้ว เรากระทำไว้ในใจอย่างจริงจัง มิได้ย่อหย่อน.
[๔๐๖]
อุ.ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ ภิกษุพึงรู้ได้อย่างนี้แล้ว่า โพชฌงค์อันเราปรารภดีแล้ว อย่างนี้ ด้วยการกระทำไว้ ในใจโดยแยบคายเฉพาะตน ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็น ผาสุก.
จบ สูตรที่ ๘

407

อุปาทสูตรที่ ๑
โพชฌงค์ ๗ ไม่เกิดนอกจากการปรากฏแห่งตถาคต
[๔๐๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น นอกจากความปรากฏแห่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ว โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ย่อมไม่เกิดขึ้น โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ? คอื สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้วที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น นอกจากความปรากฏแห่ง พระตถาคตอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ย่อมไม่เกิดขึ้น .
จบ สูตรที่ ๙

408

อุปาทสูตรที่ ๒
โพชฌงค์ ๗ ไม่เกิดนอกวินัยของพระสุคต
[๔๐๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น นอกวินัยของพระสุคต โพชฌงค์ ๗เป็นไฉน ? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แลอันภิกษุ เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้นนอกวินัยของ พระสุคต.
จบ สูตรที่ ๑๐

จบ ปัพพตวรรคที่ ๑
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑ หิมวันตสูตร ๒. กายสูตร
๓. สีลสูตร ๔. วัตตสูตร
๕. ภิกขุสูตร ๖. กุณฑลิยสูตร
๗. กูฏสูตร ๘. อุปวาณสูตร
๙. อุปาทสูตรที่ ๑ ๑๐. อุปาทสูตรที่ ๒

คิลานวรรคที่ ๒


409
ปาณูปมสูตร
อาศัยศีลเจริญโพชฌงค์ ๗
[๔๐๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งสำเร็จอิริยาบถ ๔ คือ บางคราวก็เดินบางคราว ก็ยืน บางคราวก็นั่ง บางคราวก็นอน สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด อาศัยแผ่นดินดำรงอยู่บน แผ่นดิน จึงสำเร็จอิริยาบถ ๔ นั้น อย่างนั้นแหละ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีลตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๔๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน การสละฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้วย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑

411

สุริยูปมสูตรที่ ๑
อาศัยกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗
[๔๑๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อนคือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดขึ้นแหง่ โพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ คือความเป็น ผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลายอัน ภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่าจักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗.

[๔๑๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ สละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มัมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๒

413

สุริยูปมสูตรที่ ๒
โยนิโสมนสิการเป็นเบื้องแรกแห่งโพชฌงค์

[๔๑๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่ง โพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ คือ การกระทำไว้ในใจโดย แยบคาย ฉันนั้นเหมือนกันดกู รภิกษุทงั้ หลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗.
[๔๑๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำ ให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ? ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดย แยบคาย ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๓

415

คิลานสูตรที่ ๑
พระมหากัสสปหายอาพาธด้วยโพชฌงค์ ๗

[๔๑๕]
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านพระมหากัสสปอาพาธไม่สบาย เป็นไข้หนัก อยู่ที่ปิปผลิคูหา.
[๔๑๖]
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระมหากัสสป ถึงที่อยู่ แล้วประทับนั่ง บนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามท่านพระมหากัสสปว่า ดูกรกัสสป เธอพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพ ให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาคลายลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบขึ้นไม่ปรากฏ แลหรือ ?ท่านพระมหากัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ทุกข เวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก ยังไม่คลายไป ความกำเริบขึ้นย่อมปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ.

[๔๑๗]
พ.ดูกรกัสสป โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้ มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานโพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?

[๔๑๘]
ดูกรกัสสป สติสัมโพชฌงค์ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความรู้ยิ่งเพื่อ ความตรัสรู้  เพื่อนิพพาน ฯลฯ อุเบกขา-สัมโพชฌงค์ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูกรกัสสป โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แลเรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่งเพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

[๔๑๙]
ท่านพระมหากัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์ดีนัก ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์ดีนัก พระผู้มี-พระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมหากัสสปปลื้มใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค ท่านพระ มหากัสสปหายจากอาพาธนั้นแล้ว และอาพาธนั้น อันท่านพระมหากัสสปละได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สูตรที่ ๔

420

คิลานสูตรที่ ๒
พระมหาโมคคัลลานะหายอาพาธด้วยโพชฌงค์ ๗
[๔๒๐]
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนคร ราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะอาพาธ ไม่สบาย เป็นไข้หนัก อยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ.
[๔๒๑]
ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น ในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระมหา โมคคัลลานะ ถึงที่อยู่แล้ว ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่าน พระมหาโมคคัลลานะว่า ดูกรโมคคัลลานะ เธอพออด พอทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้ เป็นไปได้แลหรือทุกขเวทนาคลายลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลา ย่อมปรากฏ ความกำเริบขึ้นไม่ปรากฏแลหรือ ?

ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไป ไม่ได้ทุกขเวทนาของข้าพระองค์ย่อมกำเริบหนัก ยังไม่คลายลง ความกำเริบย่อมปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ.
[๔๒๒]
พ. ดูกรโมคคัลลานะ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานโพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ?
[๔๒๓]
ดูกรโมคคัลลานะ สติสัมโพชฌงค์ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้ มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯลฯ อุ เบกขา สัมโพชฌงค์ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูกรโมคคัลลานะ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
[๔๒๔]
ท่านพระโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์ดีนัก ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์ดีนัก พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ปลื้มใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มี พระภาคท่านพระมหาโมคคัลลานะหายจากอาพาธ นั้นแล้ว และอาพาธนั้น อันท่านพระมหาโมคคัลลานะละ ได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สูตรที่ ๕

425

คิลานสูตรที่ ๓
พระผู้มีพระภาคหายประชวรด้วยโพชฌงค์ ๗
[๔๒๕]
สมัยหนงึ่ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวนั กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคทรงประชวร ไม่สบาย เป็นไข้หนัก.

[๔๒๖]
ครั้งนั้นท่านพระมหาจุนทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระจุนทะว่า ดูกรจุนทะ โพชฌงค์ จงแจ่มแจ้งกะเธอ.

จ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้วอันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้ มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ?

[๔๒๗]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สติสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อ นิพพานฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคล เจริญแล้วกระทำ ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ เหล่า นี้แลพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็น ไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อ นิพพาน.

[๔๒๘]
ดูกรจุนทะ โพชฌงค์ดีนัก ดูกรจุนทะ โพชฌงค์ดีนักท่านพระมหาจุนทะได้กล่าว ไวยากรณภาษิตนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย พระผู้มีพระภาคทรงหายจากประชวร นั้นและอาพาธนั้น อันพระผู้มีพระภาค ทรงละ แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สูตรที่ ๖

429

ปารคามีสูตร
เจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง
[๔๒๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง จากที่มิใช่ฝั่ง โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ? คือสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง.
[๔๓๐]
ในหมู่มนุษย์ คนที่ไปถึงฝั่งมีจำนวนน้อยแต่หมู่สัตว์นอกนี้ ย่อมวิ่งไปตามฝั่งนั่นเอง ส่วนชนเหล่าใด ประพฤติ ตามธรรม ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ชนเหล่านั้น จักข้ามบ่วงมฤตยู ซึ่งแสนยากที่จะข้ามได้บัณฑิต พึงละธรรม ฝ่ายดำเสีย เจริญธรรม ฝ่ายขาวออกจากความอาลัย อาศัยความไม่มีความอาลัยแล้วพึงละกามเสีย เป็นผู้ไม่มี กิเลสเป็นเครื่องกังวลปรารถนาความยินดีในวิเวก ที่สัตว์ยินดีได้ยากบัณฑิต พึงชำระตน ให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองจิตชนเหล่าใดอบรมจิตดีแล้วโดยชอบ ในองค์เป็นเหตุ ตรัสรู้ไม่ถือมั่น ยินดีแล้วในความ สละคืน ซึ่งความยึดถือชนเหล่านั้น เป็นผู้สิ้นอาสวะ มีความรุ่งเรือง ปรินิพพานแล้วในโลก.
จบ สูตรที่ ๗

431

วิรัทธสูตร
โพชฌงค์ ๗ ที่ปรารภผิด ปรารภถูก
[๔๓๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภผิดแล้วอริยมรรค อันยังสัตว์ให้ถึงความสิ้น ทุกข์โดยชอบ เป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภผิดแล้วโพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภถูกแล้ว อริยมรรคอันยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ เป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภถูกแล้ว โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.

[๔๓๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภผิดแล้ว อริยมรรค อันยังสัตว์ให้ถึง ความสิ้นทุกข์โดยชอบ เป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภผิดแล้ว โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปรารภถูกแล้ว อริยมรรคอันยังสัตว์ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภถูกแล้ว.
จบ สูตรที่ ๘

433

อริยสูตร
เจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมนำตนออกจากทุกข์
[๔๓๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วให้เป็น อริยธรรม นำตนออก จากทุกข์ ย่อมนำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่ผู้กระทำซึ่ง โพชฌงค์ ๗ นั้น โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขา สัมโพชฌงค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วให้เป็น อริยธรรม นำตนออกจากทุกข์ ย่อมนำไปเพื่อความสิ้น ทุกข์โดยชอบ แก่ผู้กระทำซึ่ง โพชฌงค์ ๗ นั้น.
จบ สูตรที่ ๙

434

นิพพานสูตร
เจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย
[๔๓๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็น ไป เพื่อความหน่าย โดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลาย กำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่งเพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
จบ สูตรที่ ๑๐

จบ คิลานวรรคที่ ๒
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปาณูปมสูตร ๒. สุริยูปมสูตรที่ ๑
๓. สุริยูปมสูตรที่ ๒ ๔. คิลานสูตรที่ ๑
๕. คิลานสูตรที่ ๒ ๖. คิลานสูตรที่ ๓
๗. ปารคามีสูตร ๘. วิรัทธสูตร
๙. อริยสูตร ๑๐. นิพพานสูตร

อุทายิวรรคที่ ๓

435

โพธนสูตร
ที่เรียกว่าโพชฌงค์เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้
[๔๓๕]
ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า โพชฌงค์ โพชฌงค์ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงเรียกว่า โพชฌงค์ ? พระผู้มี พระภาคตรัสว่าดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้.
[๔๓๖]
ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ สละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นไป เพื่อตรัสรู้ ฉะนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑

437

เทสนาสูตร
โพชฌงค์ ๗
[๔๓๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงโพชฌงค์ ๗ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น ก็โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๒

438

ฐานิยสูตร
นิวรณ์ ๕ เกิดเพราะมนสิการถึงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์
[๔๓๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไป เพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งกามราคะ. [๔๓๙]
พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว 1 ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการ มากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งพยาบาท.
[๔๔๐]
ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำ มนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งถีนมิทธะ.
[๔๔๑]
อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำ มนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุทธัจจกุกกุจจะ.
[๔๔๒]
วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำ มนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา.
[๔๔๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึง ความเจริญไพบูลย์ เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญ ไพบูลย์ เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์.
จบ สูตรที่ ๓

444

อโยนิโสสูตร
นิวรณ์ ๕ เกิดเพราะมนสิการโดยไม่แยบคาย

[๔๔๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง พยาบาท...ถีนมิทธะ... อุทธัจจกุกกุจจะ... วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไป เพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง.

[๔๔๕]
สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป.

[๔๔๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว เธอย่อมละเสียได้ พยาบาท... ถีนมิทธะ...อุทธัจจกุกกุจจะ... วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้น แล้วเธอย่อมละเสียได้.

[๔๔๗]
สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญไพบูลย์ยิ่ง ฯลฯ อุเบกขา สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง.
จบ สูตรที่ ๔

448

อปริหานิยสูตร
ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ๗

[๔๔๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ๗ ประการแก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟังธรรมนั้น ก็ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม๗ ประการเป็นไฉน ? คือ โพชฌงค์ ๗ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ? คือ สติสัมโพชฌงค์ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ เสื่อม ๗ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๕