เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  หนังสือ พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  2 of 13  
 
  หนังสือ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ ลำดับ  
  ๑. มัคคสังยุต    
       
  อวิชชาวรรคที่ ๑    
  (สูตรที่ ๑) อวิชชาสูตร ว่าด้วยอวิชชาและวิชชา เป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล 101  
  (สูตรที่ ๒) อุปัฑฒสูตร ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น 102  
  (สูตรที่ ๓) สารีปุตตสูตร ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น 103  
  (สูตรที่ ๔) พราหมณสูตร อริยมรรคเรียกชื่อได้ ๓ อย่าง 104  
  (สูตรที่ ๕) กิมัตถิยสูตร ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ 105  
  (สูตรที่ ๖) ภิกขุสูตรที่ ๑ ว่าด้วยพรหมจรรย์และที่สุดพรหมจรรย์ 106  
  (สูตรที่ ๗) ภิกขุสูตรที่ ๒ ความกำจัดราคะ เป็นชื่อนิพพานธาตุ 107  
  (สูตรที่ ๘) วิภังคสูตร อริยมรรค ๘ 108  
  (สูตรที่ ๙) สุภสูตร มรรคภาวนาที่ตั้งไว้ผิดและตั้งไว้ถูก 109  
  (สูตรที่ ๑๐) นันทิยสูตร ธรรม ๘ ประการ เป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน 110  
       
  วิหารวรรคที่ ๒    
  วิหารสูตรที่ ๑ ว่าด้วยปัจจัยแห่งเวทนา 201  
  วิหารสูตรที่ ๒ ว่าด้วยปัจจัยแห่งเวทนา 202  
  เสขสูตร องคคุณ ๘ ของพระเสขะ 203  
  อุปปาทสูตรที่ ๑ ธรรม ๘ ประการ ย่อมมีเพราะการปรากฏแห่งพระตถาคต 204  
  อุปปาทสูตรที่ ๒ ธรรม ๘ ประการ ย่อมมีเพราะพระวินัยของพระสุคต 205  
  ปริสุทธิสูตรที่ ๑ ธรรม ๘ ประการ ย่อมเกิดเพราะความปรากฏแห่งพระตถาคต 206  
  ปริสุทธิสูตรที่ ๒ ธรรม ๘ ประการ ย่อมบริสุทธิ์เพราะวินัยของพระสุคต 207  
  กุกกุฏารามสูตรที่ ๑ มิจฉามรรค ว่าด้วยอพรหมจรรย์ 208  
  กุกกุฏารามสูตรที่ ๒ ว่าด้วยพรหมจรรย์ 209  
  กุกกุฏารามสูตรที่ ๓ ว่าด้วยพรหมจรรย์และพรหมจารี 210  
       
  มิจฉัตตวรรคที่ ๓    
  มิจฉัตตสูตร ความเห็นผิด-ความเห็นถูก อกุศลธรรมสูตร อกุศลธรรม-กุศลธรรม 301  
  ปฏิปทาสูตรที่ ๑ มิจฉาปฏิปทา-สัมมาปฏิปทา 302  
  ปฏิปทาสูตรที่ ๒ ว่าด้วยญายธรรม 303  
  อสัปปุริสสูตรที่ ๑ ว่าด้วยอสัตบุรุษ-สัตบุรุษ 304  
  อสัปปุริสสูตรที่ ๒ ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่า 305  
  กุมภสูตร ธรรมเครื่องรองรับจิต 306  
  สมาธิสูตร ว่าด้วยสัมมาสมาธิอันประเสริฐ 307  
  เวทนาสูตร เจริญอริยมรรคเพื่อกำหนดรู้เวทนา 308  
  อุตติยสูตร เจริญอริยมรรคเพื่อละกามคุณ ๕ 309  
    310  
  ปฏิปัตติวรรคที่ ๔    
  ปฏิปัตติสูตร ว่าด้วยมิจฉาปฏิบัติ-สัมมาปฏิบัติ 401  
  ปฏิปันนสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ปฏิบัติผิด-ปฏิบัติชอบ 402  
  วิรัทธสูตร ผลของผู้พลาดและผู้ปรารภอริยมรรค 403  
  ปารสูตร ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงฝั่ง (นิพพาน) 404  
  สามัญญสูตรที่ ๑ ว่าด้วยสามัญญะและสามัญญผล 405  
  สามัญญสูตรที่ ๒ ว่าด้วยสามัญญะและประโยชน์แห่งสามัญญะ 406  
  พรหมัญญสูตรที่ ๑ ความเป็นพรหมและเป็นพรหมมัญญผล 407  
  พรหมัญญสูตรที่ ๒ ความเป็นพรหมและประโยชน์แห่งความเป็นพรหม 408  
  พรหมจริยสูตรที่ ๑ พรหมจรรย์และผลแห่งพรหมจรรย์ 409  
  พรหมจริยสูตรที่ ๒ พรหมจรรย์และประโยชน์แห่งพรหมจรรย์ 410  
       
  อัญญติตถิยวรรคที่ ๕    
  วิราคสูตร ข้อปฏิบัติเพื่อสำรอกราคะ 501  
  สังโยชนสูตร ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละสังโยชน์ 502  
  อนุสยสูตร ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อถอนอนุสัย 503  
  อัทธานสูตร ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกำหนดรู้สังสารวัฏ 504  
  อาสวสูตร ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อสิ้นอาสวะ 505  
  วิชชาวิมุตติสูตร ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำให้แจ้งซึ่งวิชชาและวิมุตติผล 506  
  ญาณทัสสนสูตร ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อญาณทัสสนะ 507  
  อนุปาทาปรินิพพานสูตร ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน 508  
 
   
  สุริยเปยยาลที่ ๖    
  กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑ มิตรดีเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค 601  
  สีลสัมปทาสูตรที่ ๑ สีลสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค 602  
       
 
 






๑. มัคคสังยุต
(หน้า 3)

อวิชชาวรรคที่ ๑


อวิชชาสูตร (หน้า 3)
ว่าด้วยอวิชชาและวิชชา เป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล
[๑]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า.

[๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังอกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความไม่ ละอายบาป ความไม่สะดุ้งกลัวบาป ความเห็นผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ไม่รู้แจ้งประกอบด้วย อวิชชา ความดำริผิดย่อมเกิดมี แก่ผู้มีความเห็นผิด เจรจาผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริผิด การงานผิด ย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาผิด การเลี้ยงชีพผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานผิด พยายามผิดย่อมเกิดมี แก่ผู้เลี้ยงชีพผิด ระลึกผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามผิด ตั้งใจผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกผิด.

[๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความละอาย บาป ความสะดุง้ กลัวบาป ความเห็นชอบยอ่ มเกิดมีแก่ผู้รู้ แจ้งประกอบด้วยวิชชา ความดำริชอบ ย่อมเกิดมี แก่ผู้มีความ เห็นชอบ เจรจาชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริชอบ การงานชอบย่อมเกิดมี แก่ผู้เจรจาชอบ การลี้ยงชีพชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานชอบ พยายามชอบย่อมเกิดมี แก่ผู้เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบย่อมเกิดมีแก่ ผู้พยายามชอบ ตั้งใจชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกชอบ แล.
จบ สูตรที่ ๑


อุปัฑฒสูตร (หน้า 5)
ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น
[๔]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาว ศักยะ ชื่อสักระ ในแคว้นสักกะของชาวศากยะทั้งหลายครงั้ นนั้ ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้า พระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ค วรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นกึ่งหนึ่งแห่งพรหมจรรย์เทียวนะ พระเจ้าข้า.

[๕]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น เธออย่าง 1 ได้กล่าวอย่างนั้น ก็ความเป็น ผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพิ่อนดี นี้เป็นพรหมจรรยย์ทั้ง สิ้นทีเดียว ดูกรอานนท์ อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘.

[๖]
ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบ ด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ?

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ... สัมมาวาจา...สัมมากัมมันตะ... สัมมาอาชีวะ... สัมมาวายามะ... สัมมาสติ... สัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ สละ ดูกรอานนท์ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบ ด้วยองค์ ๘ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

[๗]
ดูกรอานนท์ ข้อว่าความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็น พรหมจรรย์ทั้งสิ้น ทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายแม้นี้ด้วยว่า เหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชาติผู้มีชราเป็น ธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส และอุปายาส เป็น ธรรมดา ย่อมพ้น ไปจากโสกะปริเทวะ ทุกข โทมนัส และอุปายาส เพราะอาศัยเราผู้เป็น กัลยาณมิตร ดูกรอานนท์ ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียวนั้นพึงทราบโดยปริยายนี้แล.
จบ สูตรที่ ๒

103

สารีปุตตสูตร (หน้า 7)
ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น
[๘]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นเทียวนะ พระเจ้าข้า.

[๙]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถูกละ ถูกละ สารีบุตร ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็น พรหมจรรย์ทั้งสิ้น ดูกรสารีบุตร ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดีพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.

[๑๐]
ดูกรสารีบุตร ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ?ดูกรสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญ สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวกอันอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรสารีบุตร ภิกษุผู้มีมิตรดีมีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบ ด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

[๑๑]
ดูกรสารีบุตร ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ ทั้งสิ้นนั้น พึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ด้วยว่า ย่อมพ้นไปจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชรา ผู้มีมรณะเป็น ธรรมดาย่อมพ้นไปจาก มรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดาย่อมพ้นไป จากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เพราะอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร ดูกรสารีบุตร ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดีเป็น พรหมจรรย์ทั้งสิ้นนั้น พึงทราบโดยปริยายนี้แล.
จบ สูตรที่ ๓

104

พราหมณสูตร (หน้า 9)
อริยมรรคเรียกชื่อได้ ๓ อย่าง
[๑๒]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น เวลาเช้าท่านพระอานนท์นุ่งแล้วถือ บาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยัง พระนครสาวัตถีได้เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ ออกจาก พระนครสาวัตถี ด้วยรถเทียมด้วยม้าขาวล้วน ได้ยินว่า ม้าที่เทียม เป็นม้าขาว เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว ประทุนรถขาว เชือกขาว ด้ามประตัก ขาว ร่มขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้าขาวพัดวาลวิชนีที่ด้ามพัดก็ขาว ชนเห็นท่านผู้นี้ แล้ว พูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ยานประเสริฐหนอ รูปของยานประเสริฐ หนอ ดังนี้.

[๑๓]
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ข้าพระองค์เห็น ชาณุสโสณี พราหมณ์ ออกจากพระนครสาวัตถี ด้วยรถม้าขาวล้วน ได้ยินว่าม้าที่เทียมเป็นม้า ขาว เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว ประทุนรถขาว เชือกขาว ด้ามประตักขาว ร่มขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้าขาว พัดวาลิวชีนที่ด้ามก็ขาว ชนเห็น ท่านผู้นี้แล้ว พูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย ยานประเสริฐหนอรูปของยาน ประเสริฐหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจทรง บัญญัติ ยานอันประเสริฐ ในธรรมวินัยนี้ได้ไหมหนอ ?

[๑๔]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ อาจบัญญัติได้ คำว่ายานอันประเสริฐ เป็น ชื่อของอริย มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เอง เรียกกันว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง รถพิชัยสงคราม อันยอดเยี่ยมบ้าง.

[๑๕]
ดูกรอานนท์ สัมมาทิฏฐิบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

[๑๖]
ดูกรอานนท์ สัมมาสังกัปปะบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

[๑๗]
ดูกรอานนท์ สัมมาวาจาบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

[๑๘]
ดูกรอานนท์ สัมมากัมมันตะบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

[๑๙]
ดูกรอานนท์ สัมมาอาชีวะบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

[๒๐]
ดูกรอานนท์ สัมมาวายามะบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

[๒๑]
ดูกรอานนท์ สัมมาสติบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

[๒๒]
ดูกรอานนท์ สัมมาสมาธิบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

[๒๓]
ดูกรอานนท์ ข้อว่า ยานอันประเสริฐ เป็นชื่อของอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เอง เรียกกันว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยม บ้างนั้นพึงทราบโดยปริยายนี้แล. พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัส ไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

[๒๔]
อริยมรรคญาณนั้นมีธรรม คือ ศรัทธากับปัญญาเป็นแอก มีศรัทธาเป็นทูบมี หิริ เป็นงอน มีใจเป็นเชือกชัก มีสติเป็นสารถีผู้ควบคุมรถนี้มีศีลเป็นเครื่องประดับ มีญาณเป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อ มีอุเบกขา กับสมาธิ เป็นทูน ความไม่อยากได้เป็นประทุน กุทบุตร 1 ใดมีความไม่พยาบาท ความไม่เบียดเบียน และวิเวกเป็นอาวุธมีความอดทนเป็นเกราะหนัง กุลบุตรนั้นย่อมเป็นไปเพื่อ ความเกษมจากโยคะพรหมยานอันยอดเยี่ยมนี้ เกิดแล้วในตนของบุคคลเหล่าใดบุคคลเหล่านั้น เป็นนักปราชญ์ย่อมออกไป จากโลก โดยความแน่ใจว่า มีชัยชนะโดยแท้.
จบ สูตรที่ ๔

105

กิมัตถิยสูตร (หน้า 15)
ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกำหนดรู้ทุกข์
[๒๕]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส พวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก ถามพวกข้าพระองค์อย่างนี้ว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระสมณโคดมเพื่อ ประโยชน์อะไร ? พวกข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว จึงพยากรณ์แก่พวกอัญญ เดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น อย่างนี้ว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้ทุกข์พวกข้า พระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ แล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มี พระภาคด้วยคำไม่จริง พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตาม วาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึง ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้ละหรือ.

[๒๖]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช่างเถิด พวกเธอถูกถามอย่างนั้น แล้วพยากรณ์ อย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวตามคำที่เรากล่าวไว้แล้ว ไม่กล่าวตู่เรา ด้วยคำไม่จริงพยากรณ์ธรรม สมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะ ที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได เพราะพวกเธออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในเรา เพิ่อกำหนดรู้ทุกข์.

[๒๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็หนทางมีอยู่หรือ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นมีอยู่หรือ ?พวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่พวกอัญญ เดียรถีย์ ปริพาชก เหล่านั้น อย่างนี้ว่าดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย หนทางมีอยู่ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ ทุกข์นั้นมีอยู่.

[๒๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็หนทางเป็นไฉน ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์เป็นไฉน อริยมรรค ประกอบด้วย องค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เป็น หนทางนี้ เป็นปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอถูกถาม อย่างนั้นแล้ว พึงพยากรณ์แก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก เหล่านั้นอย่างนี้.
จบ สูตรที่ ๕

106

ภิกขุสูตรที่ ๑
(หน้า 17)
ว่าด้วยพรหมจรรย์และที่สุดพรหมจรรย์
[๒๙]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญที่เรียกว่าพรหมจรรย์ๆ ดังนี้ก็พรหมจรรย์ เป็นไฉน ที่สุดแห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน ?

[๓๐]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ นี้แลเป็นพรหมจรรย์ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้น โมหะนี้เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์.
จบ สูตรที่ ๖

107

ภิกขุสูตรที่ ๒ (หน้า 17)
ความกำจัดราคะ เป็นชื่อนิพพานธาตุ
[๓๑]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ความกำจัดราคะความกำจัด โทสะ ความกำจัดโมหะ ดังนี้ คำว่า ความกำจัด ราคะ ความกำจัดโทสะ ความ กำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่งอะไรหนอ ? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ คำว่าความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่ง นิพพานธาตุ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ธรรมนี้เป็นที่สิ้นอาสวะ.

ความสิ้นราคะ ชื่อว่าอมตะ

[๓๒]
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าอมตะๆ ดังนี้ อมตะเป็นไฉน ทางที่จะให้ถึงอมตะ เป็นไฉน ?

พ. ดูกรภิกษุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอมตะอริย มรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเรียกว่าทาง ที่จะให้ถึงอมตะ.
จบ สูตรที่ ๗

108

วิภังคสูตร (หน้า 19)
อริยมรรค ๘
[๓๓]
สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจัก แสดง จักจำแนก อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟังอริยมรรคนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวภิกษุพวกนั้น ทูลรับพระดำรัสของ พระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ? คือสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.

[๓๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ? ความรู้ในทุกข์ ในทุกขสมุทัยในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

[๓๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ? ความดำริในการออกจากกาม ความดำริ ในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมา สังกัปปะ.

[๓๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน ? เจตนาเครื่องงดเว้นจากพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา.

[๓๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน ? เจตนาเครื่องงดเว้นจาก ปาณาติบาต อทินนาทาน จากอพรหมจรรย์ นี้เรียกว่า สัสมากัมมันตะ.

[๓๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ละการ เลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จชีวิตอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพ ที่ชอบ นี้เรียกว่าสัมมาอาชีวะ.

[๓๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารถนาความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอัน ลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่ง กุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้วนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ.

[๔๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสติเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น กายในกาย เนืองๆอยู่ มีความเพียร มีสัม ปชัญญะ มีสติ พึง กำจัดอภิชฌา และ โทมนัส ในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็น จิตในจิตเนืองๆ อยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย นี้เรียกว่า สัมมาสติ.

[๔๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามสงัด จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุ ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่ง จิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มี วิจารเพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติ และสุขเกิดแต่ สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยญาน 1 ที่พระ อริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มสติ อยู่เป็นสุข เธอบรรลุ จตุตถฌาณ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะละสุข ละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ อยู่นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.
จบ สูตรที่ ๘

109

สุภสูตร (หน้า 23)
มรรคภาวนาที่ตั้งไว้ผิดและตั้งไว้ถูก
[๔๒]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลี หรือเดือยข้าวยวะที่บุคคล ตั้งไว้ผิด มือหรือเท้ายํ่าเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือดข้อนี้มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยบุคคลตั้งไว้ผิด ฉันใดก็ดี ภิกษุนั้นแล ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ผิด ด้วยการ เจริญมรรคที่ตั้งไว้ผิด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะความเห็นตั้งไว้ผิด.

[๔๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลี หรือเดือย ข้าวยวะ ที่บุคคลตั้งไว้ถูกมือ หรือเท้า ย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือด ข้อนี้เป็น ฐานะที่มีได้ข้อนั้น เพราะเหตุไร ? เพราะเดือยบุคคลตั้งไว้ถูกฉันใดก็ดี ภิกษุนั้นแล ก็ฉันนั้น เหมือนกัน จักทำลาย อวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ถูกด้วยการ เจริญมรรค ที่ตั้งไว้ถูก ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะความเห็นตั้งไว้ถูก.

[๔๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุจักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้งด้วย ความเห็นที่ตั้งไว้ถูก ด้วยการเจริญมรรคที่ตั้งไว้ถูกอย่างไรเล่า ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญ สัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจักทำลาย อวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้งด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ถูก ด้วยการเจริญมรรค ที่ตั้งไว้ถูก อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๙

110

นันทิยสูตร (หน้า 25)
ธรรม ๘ ประการ เป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน
[๔๕]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล นันทิยปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพ ระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัย กับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ธรรมเท่าไรหนอแล ที่บุคคลเจริญ แล้วกระทำให้มากแล้ว เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด ?

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนันทิยะ ธรรม ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้วกระทำ ให้มากแล้ว เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ? คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูกรนันทิยะธรรม ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นเหตุให้ถึงนิพพานมีนิพพาน เป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด.

[๔๖]
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นันทิยปริพาชกได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่าน พระโคดมภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงาย ของที่ควํ่า เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีจัก ษุ จักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำ ข้าพระองค์ ว่าเป็นอุบาสกถึงสรณะจนตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้ เป็นต้นไป.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ อวิชชาวรรค


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อวิชชาสูตร ๒. อุปัฑฒสูตร
๓. สาริปุตตสูตร ๔. พราหมณสูตร
๕. กิมัตถิยสูตร ๖. ภิกขุสูตรที่ ๑
๗. ภิกขุสูตรที่ ๒ ๘. วิภังคสูตร
๙. สุภสูตร ๑๐. นันทิยสูตร



วิหารวรรคที่ ๒
(หน้า 27)

201

วิหารสูตรที่ ๑ (หน้า 27)
ว่าด้วยปัจจัยแห่งเวทนา
[๔๗]
สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนา จะหลีกเร้น อยู่ตลอดกึ่งเดือน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาต ไปให้รูปเดียว ภิกษุทั้งหลายรับพระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ในกึ่งเดือนนี้ไม่มีใครเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปถวายรูปเดียว.

[๔๘]
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงออกจากที่หลีกเร้นโดยล่วงไปกึ่งเดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาแล้วตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแรกตรัสรู้ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันใด เราอยู่แล้วโดยส่วนแห่งวิหารธรรมอันนั้น เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า เวทนาย่อมมี
เพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะความดำริผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความดำริชอบเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะเจรจาผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะเจรจาชอบเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะการงานผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะการงานชอบเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะเลี้ยงชีพผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะเลี้ยงชีพชอบเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะพยายามผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะพยายามชอบเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะความระลึกผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความระลึกชอบเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะความตั้งใจผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะฉันทะเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะสัญญาเป็นปัจจัยบ้างเพราะฉันทวิตกและสัญญายังไม่สงบเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะฉันทวิตกและสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะมีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึงและเมื่อถึงฐานะนั้้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง
จบ สูตรที่ ๑

202

วิหารสูตรที่ ๒ (หน้า 29)
ว่าด้วยปัจจัยแห่งเวทนา
[๔๙]
สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า เราปรารถนาจะหลีกเร้น อยู่ตลอด ๓ เดือน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาต ไปให้รูปเดียวภิกษุทั้ง หลายรับพระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ใน ๓ เดือนนี้ ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค นอกจากภิกษุผู้นำ บิณฑบาตไปวายรูปเดียว.

[๕๐]
ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงออกจากที่หลีกเร้น โดยล่วงไป ๓ เดือนนั้น แล้วตรัส เรียกภิกษุทงั้ หลายมาแลว้ ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแรกตรัสรู้ ย่อมอยู่ด้วย วิหารธรรมอันใด เราอยู่แล้วโดยส่วนแห่งวิหารธรรมอันนั้น เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า เวทนาย่อมมี
เพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นสงบชอบ เป็นปัจจัยบ้าง
เพราะความตั้งใจผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะความตั้งใจชอบเป็นปัจจัยบ้างเพราะความตั้งใจชอบสงบเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะฉันทะเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะสงบเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะวิตกเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกสงบเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะสัญญาเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะฉันทวิตกและสัญญายังไม่สงบเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะฉันทวิตกและสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะมีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึงและเมื่อถึงฐานะนั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง
จบ สูตรที่ ๒

203

เสขสูตร (หน้า 29)
องคคุณ ๘ ของพระเสขะ
[๕๑]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าพระเสขะๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ? จึงจะชื่อว่าเป็น พระเสขะพระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดุกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ อันเป็นของพระเสขะฯลฯ ประกอบด้วยสัมมาสมาธิ อันเป็นของพระเสขะ ดูกรภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ.
จบ สูตรที่ ๓

204

อุปปาทสูตรที่ ๑ (หน้า 31)
ธรรม ๘ ประการ ย่อมมีเพราะการปรากฏแห่งพระตถาคต
[๕๒]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำ ให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากความปรากฏแห่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ? คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจาก ความปรากฏแห่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.
จบ สูตรที่ ๔

205

อุปปาทสูตรที่ ๒ (หน้า 31)
ธรรม ๘ ประการ ย่อมมีเพราะพระวินัยของพระสุคต
[๕๓]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำ ให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของพระสุคตธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ? คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรม ๘ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของพระสุคต.
จบ สูตรที่ ๕

206

ปริสุทธิสูตรที่ ๑ (หน้า 33)
ธรรม ๘ ประการ ย่อมเกิดเพราะความปรากฏแห่งพระตถาคต
[๕๔]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส เครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจาก ความปรากฏแห่งพระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ? คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจาก อุปกิเลส ที่ยังไม่เกิดย่อม เกิดขึ้นไม่เกิดขึ้น นอกจากความปรากฏแห่ง พระตถาคตอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า.
จบ สูตรที่ ๖

207

ปริสุทธิสูตรที่ ๒ (หน้า 33)
ธรรม ๘ ประการ ย่อมบริสุทธิ์เพราะวินัยของพระสุคต
[๕๕]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส เครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัย ของพระสุคต ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ? คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรม ๘ ประการนี้แล บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลสที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของพระสุคต.
จบ สูตรที่ ๗

208

กุกกุฏารามสูตรที่ ๑ (หน้า 35)
มิจฉามรรค ว่าด้วยอพรหมจรรย์
[๕๖]
ข้าพเจ้าได้สดับแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่งท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะอยู่ ณ กุกุกฏาราม ใกล้นคร ปาฏลีบุตร ครั้งนั้น ท่านพระภัททะออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่าน พระอานนท์ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก ถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า อพรหมจรรย์ๆ ดังนี้ อพรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ ? ท่านพระอานนท์ตอบว่าดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างหลักแหลม ช่างไต่ถามก็ท่านถาม อย่างนี้หรือว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า อพรหมจรรย์ๆ ดังนี้ อพรหมจรรย์นี้เป็นไฉนหนอ ?

ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ

อา. มิจฉามรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มิจฉาสมาธินี้แลเป็นอพรหมจรรย์.
จบ สูตรที่ ๘

209

กุกกุฏารามสูตรที่ ๒ (หน้า 37)
ว่าด้วยพรหมจรรย์
[๕๗]
ปาฏลิปุตตนิทาน. ภ. ท่านอานนท์ ที่เรียกว่าพรหมจรรย์ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์ เป็นไฉนหนอ ? ที่สุดของพรหมจรรย์เป็นไฉน ?

อา. ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างหลักแหลม ช่างไต่ถาม ก็ท่านถาม อย่างนี้หรือว่า ท่านอานนท์ที่เรียกว่า พรหมจรรย์ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ ? ที่สุดของพรหมจรรย์เป็นไฉน ?

ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.

อา. อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธินี้แลเป็น พรหมจรรย์ ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นที่สุดของพรหมจรรย์. 1
จบ สูตรที่ ๙

210

กุกกุฏารามสูตรที่ ๓
(หน้า 37)
ว่าด้วยพรหมจรรย์และพรหมจารี
[๕๘]
ปาฏลิปุตตนิทาน. ภ. ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า พรหมจรรย์ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์เป็น ไฉนหนอ ? พรหมจารีเป็นไฉน ? ที่สุดของพรหมจรรย์เป็นไฉน ?

อา. ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างหลักแหลม ช่างไต่ถาม ก็ท่านถาม อย่างนี้หรือว่า ท่านอานนท์ที่เรียกว่า พรหมจรรย์ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ ? พรหมจารีเป็นไฉน ? ที่สุดของพรหมจรรย์เป็นไฉน ?

ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ

อา. อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเป็น พรหมจรรย์ บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เรียกว่าเป็น พรหมจารี ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นที่สุดของพรหมจรรย์.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ วิหารวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. วิหารสูตรที่ ๑ ๒. วิหารสูตรที่ ๒
๓. เสขสูตร ๔. อุปปาทสูตรที่ ๑
๕. อุปปาทสูตรที่ ๒ ๖. ปริสุทธิสูตรที่ ๑
๗. ปริสุทธิสูตรที่ ๒ ๘. กุกกุฏารามสูตรที่ ๑
๙. กุกกุฏารามสูตรที่ ๒ ๑๐. กุกกุฏารามสูตรที่ ๓


มิจฉัตตวรรคที่ ๓ (หน้า39)

301

มิจฉัตตสูตร (หน้า39)
ความเห็นผิด-ความเห็นถูก

[๕๙]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงมิจฉัตตะ (ความผิด) และสัมมัตตะ (ความถูก) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๖๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉัตตะเป็นไฉน ? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจผิดนี้ เรียกว่า มิจฉัตตะ.

[๖๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมัตตะเป็นไฉน ? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบนี้ เรียกว่า สัมมัตตะ.
จบ สูตรที่ ๑

302

อกุศลธรรมสูตร (หน้า39)
อกุศลธรรม-กุศลธรรม
[๖๒]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอกุศลธรรมและกุศลธรรมแก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงฟังเรื่องนั้น.

[๖๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อกุศลธรรมเป็นไฉน ? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจผิดนี้ เรียกว่า อกุศลธรรม.

[๖๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กุศลธรรมเป็นไฉน ? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบนี้ เรียกว่า กุศลธรรม.
จบ สูตรที่ ๒

303

ปฏิปทาสูตรที่ ๑ (หน้า41)
มิจฉาปฏิปทา-สัมมาปฏิปทา

[๖๕]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิปทา และสัมมาปฏิปทา แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงฟังเรื่องนั้น.

[๖๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน ? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจผิดนี้ เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา.

[๖๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน ? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจ ชอบนี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๓

304

ปฏิปทาสูตรที่ ๒ (หน้า41)
ว่าด้วยญายธรรม

[๖๘]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญ มิจฉาปฏิปทาของคฤหัสถ์ หรือบรรพชิต คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมไม่ฟัง 1 ญายธรรมอัน เป็นกุศลให้สำเร็จเพราะความ ปฏิบัติผิดเป็นตัวเหตุ ก็มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน ? ความเห็นผิด ฯลฯความตั้งใจผิด นี้เรียกว่ามิจฉาปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทา ของคฤหัสต์หรือ บรรพชิต คฤหัสถ์หรือ บรรพชิต ปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมไม่ยังญายธรรมอันเป็นกุศล ให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติผิด เป็นตัวเหตุ.

[๖๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญ สัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือ บรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติชอบเป็นตัวเหตุ ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน ? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่าสัมมาปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญ สัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติชอบเป็นตัวเหตุ.
จบ สูตรที่ ๔

305

อสัปปุริสสูตรที่ ๑ (หน้า43)
ว่าด้วยอสัตบุรุษ-สัตบุรุษ

[๗๐]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและสัตบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงตั้งใจฟัง จงฟังเรื่องนั้น.

[๗๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด ดำริผิด เจรจาผิด ทำการงานผิด เลี้ยงชีพผิด พยายามผิด ระลึกผิดตั้งใจผิด บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ.

[๗๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบระลึกชอบ ตั้งใจชอบ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ.
จบ สูตรที่ ๕

306

อสัปปุริสสูตรที่ ๒ (หน้า45)
ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่า
[๗๓]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่า อสัตบุรุษแก่เธอ ทั้งหลาย จักแสดงสัตบุรษุ และสัตบุรษุ ผู้ยิ่งกว่าสัตบุรษุ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟังเรื่องนั้น.

[๗๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรษุ เป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิดฯลฯ ตั้งใจผิด บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ.

[๗๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรษุ ผู้ยิ่งกว่า อสัตบุรษุ เป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มี ความเห็นผิด ฯลฯ ตั้งใจผิด รู้ผิด พ้นผิด บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ.

[๗๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น ผู้มีความเห็นชอบฯลฯ ตั้งใจชอบ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ.

[๗๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าสัตบุรุษเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความ เห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจชอบ รู้ชอบ พ้นชอบ บุคคลนี้เรียกว่าสัตบุรษุผู้ยิ่งกว่า สัตบุรษุ .
จบ สูตรที่ ๖

307

กุมภสูตร (หน้า 47)
ธรรมเครื่องรองรับจิต

[๗๘]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้ง ไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก ฉันใด จิตก็ฉันนั้น เหมือนกันไม่มี เครื่องรองรับ ย่อมกลิ้ง ไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก.

[๗๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเครื่องรองรับจิต อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เป็นเครื่องรองรับจิต.

[๘๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีเครื่องรองรับย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้ง ไปได้ยาก.
จบ สูตรที่ ๗

308

สมาธิสูตร (หน้า 47)
ว่าด้วยสัมมาสมาธิอันประเสริฐ
[๘๑]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิอันประเสริฐ พร้อมทั้ง เหตุพร้อม ทั้งเครื่องประกอบแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟังเรื่องนั้น.

[๘๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิ อันประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุ พร้อมทั้งเครื่อง ประกอบเป็นไฉน ? คือความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ.

[๘๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ความที่จิตมีเครื่องประกอบ ด้วยองค์ ๗ ประการเหล่านี้นั้น เรียกว่าสัมมาสมาธิอันประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุบ้าง พร้อมทั้งเครื่องประกอบบ้าง.
จบ สูตรที่ ๘

309

เวทนาสูตร (หน้า 49)
เจริญอริยมรรคเพื่อกำหนดรู้เวทนา
[๘๔]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน ?
คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ เวทนา ๓ ประการนี้แล.

[๘๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญเพื่อกำหนดรู้ เวทนา ๓ ประการนี้่ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ? คือความเห็น ชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญเพื่อ กำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๙

310

อุตติยสูตร (หน้า 49)
เจริญอริยมรรคเพื่อละกามคุณ ๕
[๘๖]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน พระวโรกาส ข้าพระองค์หลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจ อย่างนี้ว่า กามคุณ ๕ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว กามคุณ ๕ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสไว้แล้วเป็นไฉนหนอ ?

[๘๗]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดีละๆ อุตติยะ กามคุณ ๕ เหล่านี้ เรากล่าวไว้แล้ว กามคุณ ๕เป็นไฉน ? คือรูป ที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้ว ยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจ เป็นที่น่ารักยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วย หู... กลิ่น ที่พึง รู้แจ้ง ด้วยจมูก... รสที่พึง รู้แจ้งด้วยลิ้น... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่น่ารักยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูกรอุตติยะ กามคุณ ๕ เหล่านี้แล เรากล่าวไว้แล้ว.

[๘๘]
ดูกรอุตติยะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อละกามคุณ ๕เหล่านี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯความตั้งใจชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อละ กามคุณ ๕เหล่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ มิจฉัตตวรรคที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มิจฉัตตสูตร ๒. อกุศลธรรมสูตร
๓. ปฏิปทาสูตรที่ ๑ ๔. ปฏิปทาสูตรที่ ๒
๕. อสัปปุริสสูตรที่ ๑ ๖. อสัปปุริสสูตรที่ ๒
๗. กุมภสูตร ๘. สมาธิสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. อุตติยสูตร



ปฏิปัตติวรรคที่ ๔ (หน้า 53)


401
ปฏิปัตติสูตร (หน้า 53)
ว่าด้วยมิจฉาปฏิบัติ-สัมมาปฏิบัติ
[๘๙]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิบัติ และสัมมาปฏิบัติ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๙๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาปฏิบัติเป็นไฉน ? คือความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจ ผิดนี้เรียกว่า มิจฉาปฏิบัติ.

[๙๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาปฏิบัติ เป็นไฉน ? คือความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจ ชอบ นี้แลเรียกว่า สัมมาปฏิบัติ.
จบ สูตรที่ ๑

402

ปฏิปันนสูตร (หน้า 53)
ว่าด้วยบุคคลผู้ปฏิบัติผิด-ปฏิบัติชอบ
[๙๒]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลผู้ปฏิบัติผิด และบุคคล ผู้ปฏิบัติชอบ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๙๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ปฏิบัติผิดเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มี ความเห็นผิด ฯลฯ มีความตั้งใจผิด บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ปฏิบัติผิด.

[๙๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ปฏิบัติชอบเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มี ความเห็นชอบ ฯลฯ มีความตั้งใจชอบ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ปฏิบัติชอบ.
จบ สูตรที่ ๒

403

วิรัทธสูตร (หน้า 55)
ผลของผู้พลาดและผู้ปรารภอริยมรรค
[๙๕]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันบุคคล เหล่าใดเหล่าหนึ่ง พลาดแล้ว อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แห่งบุคคล เหล่านั้น ย่อมไม่ให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ แห่งบุคคลเหล่านั้น ย่อมให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.

[๙๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ? คือความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พลาดแล้ว อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แห่งบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แห่งบุคคลเหล่านั้น ย่อมให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
จบ สูตรที่ ๓

404

ปารสูตร (หน้า 55)
ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงฝั่ง (นิพพาน)
[๙๗]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้วย่อม เป็นไปเพื่อถึงฝั่ง (นิพพาน) จากที่มิใช่ฝั่ง (วัฏฏะ) ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ ธรรม ๘ ประการนี้ แล ที่บุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ถึงฝั่งจาก ที่มิใช่ฝั่ง. พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า

[๙๘]
ในพวกมนุษย์ ชนที่ไปถึงฝั่งมีจำนวนน้อยแต่หมู่สัตว์นอกนี้ ย่อมวิ่งไปตามฝั่งนั่น เองส่วนชน เหล่าใด ประพฤติตามในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ชนเหล่านั้นข้ามบ่วงมฤตยูซึ่งแสนยาก ที่จะข้ามไปถึงฝั่งได้ บัณฑิตพึงละธรรม ฝ่ายดำเสีย เจริญธรรมฝ่ายขาวออกจากความอาลัย อาศัยธรรมอันไม่มี ความอาลัยแล้วพึงละกามเสีย เป็นผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกังวลปรารถนา ความยินดีในวิเวก ที่สัตว์ยินดีได้ยากบัณฑิต พึงยังตนให้ผ่องแผ้ว จากเครื่อง เศร้าหมองจิต ชนเหล่าใดอบรมจิตดีแล้วโดยชอบในองค์ เป็นเหตุให้ตรัสรู้ ไม่ถือมั่น ยินดีแล้วในความสละคืน ความถือมั่นชนเหล่านั้นเป็นผู้สิ้นอาสวะ มีความรุ่งเรือง ปรินิพพานแล้ว ในโลกนี้.
จบ สูตรที่ ๔

405

สามัญญสูตรที่ ๑ (หน้า 57)
ว่าด้วยสามัญญะและสามัญญผล
[๙๙]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะ (ความเป็นสมณะ) และสามัญญผล (ผลแห่งความเป็นสมณะ) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๑๐๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญะเป็นไฉน ? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แลคือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า สามัญญะ.

[๑๐๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญผลเป็นไฉน ? คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล นี้เรียกว่า สามัญญผล.
จบ สูตรที่ ๕

406

สามัญญสูตรที่ ๒ (หน้า 59)
ว่าด้วยสามัญญะและประโยชน์แห่งสามัญญะ
[๑๐๒]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะ และประโยชน์แห่ง สามัญญะ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๑๐๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญะเป็นไฉน ? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า สามัญญะ.

[๑๐๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งสามัญญะเป็นไฉน ? ความสิ้นราคะความสิ้น โทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งสามัญญะ.
จบ สูตรที่ ๖

407

พรหมัญญสูตรที่ ๑ (หน้า 59)
ความเป็นพรหมและเป็นพรหมมัญญผล
[๑๐๕]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมัญญะ (ความเป็นพรหม) และพรหมัญญผล (ผลแห่งความเป็นพรหม) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟังเรื่องนั้น.

[๑๐๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมัญญะเป็นไฉน ? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า พรหมัญญะ.

[๑๐๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมัญญผลเป็นไฉน ? คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล นี้เรียกว่า พรหมัญญผล.
จบ สูตรที่ ๗

408

พรหมัญญสูตรที่ ๒ (หน้า 61)
ความเป็นพรหมและประโยชน์แห่งความเป็นพรหม
[๑๐๘]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมัญญะ และประโยชน์แห่ง พรหมัญญะ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๑๐๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมัญญะเป็นไฉน ? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แลคือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า พรหมัญญะ.

[๑๑๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งพรหมัญญะเป็นไฉน ? ความสิ้นราคะความสิ้น โทสะ ความสิ้น โมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งพรหมัญญะ.
จบ สูตรที่ ๘

409

พรหมจริยสูตรที่ ๑ (หน้า 61)
พรหมจรรย์และผลแห่งพรหมจรรย์
[๑๑๑]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมจรรย์ และผลแห่ง พรหมจรรย์ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๑๑๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์เป็นไฉน ? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แลคือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า พรหมจรรย์.

[๑๑๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผลแห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน ? คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผลอนาคามิผล อรหัตตผล นี้เรียกว่า ผลแห่งพรหมจรรย์.
จบ สูตรที่ ๙

410

พรหมจริยสูตรที่ ๒ (หน้า 63)
พรหมจรรย์และประโยชน์แห่งพรหมจรรย์
[๑๑๔]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมจรรย์ และประโยชน์แห่ง พรหมจรรย์ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๑๑๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์เป็นไฉน ? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แลคือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า พรหมจรรย์.

[๑๑๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน ? ความสิ้นราคะความสิ้น โทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งพรหมจรรย์.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ ปฏิปัตติวรรคที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฏิปัตติสูตร ๒. ปฏิปันนสูตร
๓. วิรัทธสูตร ๔. ปารสูตร
๕. สามัญญสูตรที่ ๑ ๖. สามัญญสูตรที่ ๒
๗. พรหมัญญสูตรที่ ๑ ๘. พรหมัญญสูตรที่ ๒
๙. พรหมจริยสูตรที่ ๑ ๑๐. พรหมจริยสูตรที่ ๒


อัญญติตถิยวรรคที่ ๕ (หน้า 65)

501

วิราคสูตร (หน้า 65)
ข้อปฏิบัติเพื่อสำรอกราคะ
[๑๑๗]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอ ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์อะไร ? เมื่อเธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค เพื่อสำรอกราคะ.

[๑๑๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ ว่า ดูกรผู้มีอายุุทั้งหลาย ก็ทางมีอยู่หรือ ? ข้อปฏิบัติเพื่อสำรอกราคะมีอยู่หรือ ?เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายทางมีอยู่ ข้อปฏิบัติ เพื่อสำรอกราคะ มีอยู่.

[๑๑๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางเป็นไฉน ? ข้อปฏิบัติเพื่อสำรอกราคะ เป็นไฉน ? อริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจ ชอบนี้เป็นทาง นี้เป็นข้อปฏิบัติเพื่อสำรอก ราคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้น อย่างนี้.
จบ สูตรที่ ๑

502

สังโยชนสูตร (หน้า 67)
ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละสังโยชน์
[๑๒๐]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอ ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระสมณโคดมเพื่อประโยชน์อะไร ? เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค เพื่อละสังโยชน์.
จบ สูตรที่ ๒

503

อนุสยสูตร (หน้า 67)
ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อถอนอนุสัย

[๑๒๑]
...ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค เพื่อถอนอนุสัย ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๓

504

อัทธานสูตร (หน้า 67)
ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกำหนดรู้สังสารวัฏ
[๑๒๒]
...ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้ สังสารวัฏ อันยืดยาว ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๔

505

อาสวสูตร (หน้า 69)
ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อสิ้นอาสวะ
[๒๓]
...ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค เพื่อความสิ้น อาสวะ ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๕

506

วิชชาวิมุตติสูตร (หน้า 69)
ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำให้แจ้งซึ่งวิชชาและวิมุตติผล
[๑๒๔]
...ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งผลแห่งวิชชา และวิมุตติผล ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๖

507

ญาณทัสสนสูตร (หน้า 69)
ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อญาณทัสสนะ
[๑๒๕]
...ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค เพื่อญาณทัสสนะ ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๗

508

อนุปาทาปรินิพพานสูตร (หน้า 71)
ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
[๑๒๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุ ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์อะไร เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญ เดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.

[๑๒๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ ว่า ดูกรผู้มีอายุ ทั้งหลาย ก็ทางมีอยู่หรือ ? ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน มีอยู่หรือ ? เธอทั้งหลายถูกถาม อย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวก อัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้น อย่างนี้ว่าดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ทางมีอยู่ ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่.

[๑๒๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางเป็นไฉน ? ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานเป็นไฉน ? อริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล้วคือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เป็นข้อปฏิบัติ เพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถาม อย่างนี้แล้วพึงชี้แจงแก่พวก อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.
จบ สูตรที่ ๘
จบ อัญญติตถิยวรรคที่ ๕

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วิราคสูตร ๒. สังโยชนสูตร
๓. อนุสยสูตร ๔. อัทธานสูตร
๕. อาสวสูตร ๖. วิชชาวิมุตติสูตร
๗. ญาณทัสสนสูตร ๘. อนุปาทาปรินิพพานสูตร


สุริยเปยยาลที่ ๖ (หน้า 73)

601

กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑ (หน้า 73)
มิตรดีเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๒๙]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้นเป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือความเป็น ผู้มีมิตรดี ฉันนั้น เหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มี มิตรดี พึงหวังข้อ นี้ได้ว่าจักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘.

[๑๓๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ? ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑

602

สีลสัมปทาสูตรที่ ๑ (หน้า 73)
สีลสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๑]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็น นิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึง พร้อมแห่งศีล ฉันนั้นเหมือนกันดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล พึง หวังข้อนี้ได้ ฯลฯ.

จบ สูตรที่ ๒

อ่านต่อ