เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  หนังสือ พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  8 of 13  
 
  หนังสือ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ ข้อ  
       
  ฉฬินทริยวรรคที่ ๓ (ต่อ)    
  อรหันตสูตรที่ ๒ การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระพุทธเจ้า 906  
  สมณพราหมณสูตรที่ ๑ ว่าด้วยอินทรีย์ ๖ 909  
  สมณพราหมณสูตรที่ ๒ ว่าด้วยการรู้อินทรีย์ ๖ 912  
       
  สุขินทริยวรรคที่ ๔    
  สุทธกสูตร ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ 914  
  โสตาปันนสูตร รู้การเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นโสดาบัน 915  
  อรหันตสูตร รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์ 916  
  สมณพราหมณสูตรที่ ๑ รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ นับว่าเป็นสมณพราหมณ์ 919  
  สมณพราหมณสูตรที่ ๒ รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นสมณพราหมณ์ 922  
  วิภังคสูตรที่ ๑ ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ ๕ 925  
  วิภังคสูตรที่ ๒ ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ เป็นสุขทุกข์และอทุกขมสุข 931  
  วิภังคสูตรที่ ๓ ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ ย่นเข้าเป็น ๓ 940  
  อรหันตสูตร อินทรีย์ ๕ อาศัยผัสสะเกิดเวทนา 949  
  อุปปฏิกสูตร อินทรีย์ ๕ มีนิมิตเหตุปัจจัยเครื่องปรุงแต่ง 956  
  ชราวรรคที่ ๕ ชราสูตร ว่าด้วยความแก่ 962  
  อุณณาภพราหมณสูตร อินทรีย์ ๕ มีอารมณ์ต่างกัน 966  
  สาเกตสูตร ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ พละ ๕ 975  
  ปุพพโกฏฐกสูตร พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า 983  
  ปุพพารามสูตรที่ ๑ ว่าด้วยปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ 987  
  ปุพพารามสูตรที่ ๒ ว่าด้วยอินทรีย์ ๒ 991  
  ปุพพารามสูตรที่ ๓ ว่าด้วยอินทรีย์ ๔ 995
  ปุพพารามสูตรที่ ๔ ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ 999  
  ปิณโฑลภารทวาชสูตร ว่าด้วยอินทรีย์ ๓ 1003  
  สัทธาสูตร ว่าด้วยศรัทธาของพระอริยสาวก 1010  
       
  สูกรขาตวรรคที่ ๖    
  โกสลสูตร ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม 1023  
  มัลลกสูตร ว่าด้วยอินทรีย์ ๔ 1027  
  เสขสูตร ว่าด้วยพระเสขะและพระอเสขะ 1031  
  ปทสูตร บทธรรมที่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ 1038  
  สารสูตร ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งบทธรรม 1040  
  ปติฎฐิตสูตร ว่าด้วยธรรมอันเอก 1044  
  พรหมสูตร ว่าด้วยท้าวสหัมบดีพรหม 1047  
  สูกรขาตาสูตร ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ 1052  
  อุปาทสูตรที่ ๑ อินทรีย์ ๕ ไม่เกิดนอกพุทธกาล 1061  
  อุปาทสูตรที่ ๒ อินทรีย์ ๕ ไม่เกิดนอกวินัยพระสุคต 1062  
       
  โพธิปักขิยวรรคที่ ๗    
  สัญโญชนาสูตร เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อละสังโยชน์ 1063  
  อนุสยสูตร เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อถอนอนุสัย 1064  
  ปริญญาสูตร เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อกำหนดรู้อัทธานะ 1065  
  อาสวักขยสูตร เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อความสิ้นอาสวะ 1066  
  ผลสูตรที่ ๑ เจริญอินทรีย์ ๕ หวังผลได้ ๒ อย่าง 1068  
  ผลสูตรที่ ๒ เจริญอินทรีย์ ๕ ได้อานิสงส์ ๗ ประการ 1069  
  รุกขสูตรที่ ๑ ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม 1070  
  รุกขสูตรที่ ๒ ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม ๒ 1073  
  รุกขสูตรที่ ๓ ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม ๓ 1076  
  รุกขสูตรที่ ๔ ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม 1079  
  อานิสงส์แห่ง การเจริญอินทรีย์ ๕ 1082  
       
 
 






906

อรหันตสูตรที่ ๒
การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระพุทธเจ้า

[๙๐๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน ? คือจักขุนทรีย์...มนินทรีย์.

[๙๐๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่าได้ตรัสรู้พระ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.

[๙๐๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เรารู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้นเราจึงปฏิญาณตนว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตตร สัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แหละญาณ ทัสสนะได้บังเกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติมีในที่สุดบัดนี้ความเกิดอีกไม่มี.
จบ สูตรที่ ๘

909

สมณพราหมณสูตรที่ ๑
ว่าด้วยอินทรีย์ ๖
[๙๐๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน ? คือจักขุนทรีย์...มนินทรีย์.

[๙๑๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณโทษ และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความ เป็นจริงสมณะ หรือพาหมณ์เหล่านั้นเราไม่นับ ว่าเป็น สมณะในหมู่สมณะ หรือว่าเป็น พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ ของความเป็นสมณะ หรือของความ เป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

[๙๑๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความ เป็นจริงสมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น เรานับว่าเป็น สมณะในหมู่สมณะ และว่าเป็น พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะท่าน เหล่านั้นกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ ของ ความเป็นสมณะและของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๙

912

สมณพราหมณสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการรู้อินทรีย์ ๖
[๙๑๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่ง จักขุนทรีย์ ความเกิด แห่งจักขุนทรีย์ ความดับแห่งจักขุนทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ แห่งจักขุนทรีย์ ไม่รู้ชัดซึ่งโสตินทรีย์... ฆานินทรีย์... ชิวหินทรีย์... กายินทรีย์.. มนินทรีย์ ความเกิดแห่ง มนินทรีย์ ความดับแห่งมนินทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึง ความดับแห่ง มนินทรีย์

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะ ในหมู่สมณะ หรือว่าเป็น พราหมณ์ ในหมู่พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นไม่กระทำ ให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของ ความเป็นสมณะหรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

 [๙๑๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งจักขุนทรีย์ ความเกิดแห่ง จักขุนทรีย์ ความดับแห่งจักขุนทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ แห่งจักขุนทรีย์ รู้ชัดซึ่ง โสตินทรีย์... ฆานินทรีย์... ชิวหินทรีย์... กายินทรีย์... มนินทรีย์ ความเกิดแห่งมนินทรีย์ ความดับแห่งมนินทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึง ความดับ แห่งมนินทรีย์

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะและว่าเป็นพราหมณ์ ในหมู่พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นกระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็น สมณะ และของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๑๐

จบ ฉฬินทริยวรรคที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปุนัพภวสูตร ๒. ชีวิตินทริยสูตร
๓. อัญญาตาวินทริยสูตร ๔. เอกาภิญญาสูตร
๕. สุทธกสูตร ๖. โสตาปันนสูตร
๗. อรหันตสูตรที่ ๑ ๘. อรหันตสูตรที่ ๒
๙. สมณพราหมณสูตรที่ ๑ ๑๐. สมณพราหมณสูตรที่ ๒

สุขินทริยวรรคที่ ๔

914

สุทธกสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕
[๙๑๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสุขินทรีย์ ๑ ทุกขินทรีย์ ๑ โสมนัสสินทรีย์ ๑ โทมนัสสินทรีย์ ๑ อุเปกขินทรีย์ ๑อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑

915

โสตาปันนสูตร
รู้การเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นโสดาบัน
[๙๑๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.

[๙๑๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณโทษ และอุบาย เครื่องสลัด ออกแห่ง อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๒

916

อรหันตสูตร
รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์
[๙๑๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์. สมุทยญฺจ อตฺถงฺคมญฺจ อสฺสาทญฺจ อาทีนวญฺจ นิสฺสรณญฺจ ยถาภูตํ ปชานนฺติ ฯเต โขเม ภิกฺขเว สมณา วา พฺราหฺมณา วา สมเณสุ เจว สมณสมฺมตา พฺราหฺมเณสุ

 [๙๑๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้นภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นพระอรหันต ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นสังโยชน์ ที่จะนำไปสู่ภพ หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.
จบ สูตรที่ ๓

919

สมณพราหมณสูตรที่ ๑
รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ นับว่าเป็นสมณพราหมณ์
[๙๑๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.

[๙๒๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือว่าเป็น พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นไม่กระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ ของความเป็นสมณะ หรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

[๙๒๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่ว่นสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความ เป็นจริงสมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะ ในหมู่สมณะ และว่าเป็น พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะท่านเหล่า นั้น กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความ เป็นสมณะหรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่ง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๔

922

สมณพราหมณสูตรที่ ๒
รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นสมณพราหมณ์
[๙๒๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.

[๙๒๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า หนึ่งไมรู้ชัดซึ่ง สุขินทรีย์ ความเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึง ความดับแห่งสุขินทรีย์ ไม่รู้ชัดซึ่งทุกขินทรีย์. .. โสมนัสสินทรีย์. .. โทมนัสสินทรีย์. .. อุเปกขินทรีย์ ความเกิดแห่ง อุเปกขินทรีย์ ความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และปฏิปทา ที่จะ ให้ถึงความดับแห่งอุเปกขินทรีย์

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือพราหมณ์ ในหมู่พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นไม่กระทำ ให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็น สมณะ หรือของ ความเป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่งในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

[๙๒๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งสุขินทรีย์ ความเกิดแห่ง สุขินทรีย์ ความดับแห่ง สุขินทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่ง สุขินทรีย์รู้ชัดซึ่ง ทุกขินทรีย์... โทมนัสสินทรีย์... อุเปกขินทรีย์ ความเกิดแห่งอุเปก ขินทรีย์ ความดับแห่ง อุเปกขินทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่ง อุเปกขินทรีย์

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และว่าเป็นพราหมณ์ ในหมู่พราหมณ์เพราะท่านเหล่านั้น กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ ของความเป็นสมณะ และของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๕

925

วิภังคสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ ๕
[๙๒๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ สุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.

[๙๒๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน ? ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย เวทนา อันเป็นสุขสำราญ เกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า สุขินทรีย์.

[๙๒๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน ? ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญ ทางกาย เวทนาอันเป็นทุกข์ ไม่สำราญ เกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์.

[๙๒๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ? ความสุขทางใจ ความสำราญทางใจ เวทนาอัน เป็นสุขสำราญ เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์.

[๙๒๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ? ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญ ทางใจ เวทนาอันเป็นทุกข์ ไม่สำราญ เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์.

[๙๓๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเปกขินทรีย์เป็นไฉน ? เวทนาอันสำราญก็ไม่ใช่ อันใช่ควา มสำราญ ก็ไม่ใช่ ทางกาย หรือทางใจ นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๖

931

วิภังคสูตรที่ ๒
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ เป็นสุขทุกข์และอทุกขมสุข
[๙๓๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.

[๙๓๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน ? ความสุขทางกาย... นี้เรียกว่าสุขินทรีย์.

[๙๓๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน ? ความทุกข์ทางกาย... นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์.

[๙๓๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ? ความสุขทางใจ... นี้เรียกว่าโสมนัส สินทรีย์.

[๙๓๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ? ความทุกข์ทางใจ... นี้เรียกว่าโทมนัส สินทรีย์.

[๙๓๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเปกขินทรีย์เป็นไฉน ? เวทนาอันสำราญก็ไม่ใช่ไม่ใช่ความ สำราญ ก็ไม่ใช่ ทางกายหรือ ทางใจ นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์.

[๙๓๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์พึงเห็นว่า เป็นสุขเวทนา.

[๙๓๘]
ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นทุกขเวทนา.

 [๙๓๙]
ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น อุเปกขินทรีย์ พึงเห็นว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๗

940

วิภังคสูตรที่ ๓
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ ย่นเข้าเป็น ๓
[๙๔๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.

[๙๔๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน ? ความสุขทางกาย... นี้เรียกว่าสุขินทรีย์.

[๙๔๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน ? ความทุกข์ทางกาย... นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์.

[๙๔๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ? ความสุขทางใจ... นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์.

[๙๔๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ? ความทุกข์ทางใจ... นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์.

[๙๔๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเปกขินทรีย์เป็นไฉน ? เวทนาอันสำราญก็ไม่ใช่ไม่ใช่ ความ สำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือ ทางใจ นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์.

 [๙๔๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์พึงเห็นว่า เป็นสุขเวทนา.

[๙๔๗]
ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นทุกขเวทนา.

[๙๔๘]
ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น อุเปกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นอทุกขมสุขเวทนาอินทรีย์มี ๕ ประการนี้ เป็น ๕ แล้วย่นเข้าเป็น ๓ เป็น ๓ แล้ว ขยายออกเป็น ๕ ก็ได้โดยปริยาย ด้วยประการดังนี้แล.
จบ สูตรที่ ๘

949

อรหันตสูตร
อินทรีย์ ๕ อาศัยผัสสะเกิดเวทนา
[๙๔๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.

[๙๕๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นสบาย กาย ก็รู้ชัดว่า สบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะเป็นที่ตั้ง แห่งสุข เวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ สุขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.

[๙๕๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นไม่ สบายกาย ก็รู้ชัดว่าเราไม่สบายกาย ย่อมรู้ชัดว่าเพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้ง แห่ง ทุกขเวทนานั้นแหละ ดับไป เวทนาซึ่งเกิด แต่ผัสสะนั้น คือ ทุกขินทรีย์ที่ อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง ทุกขเวทนา เกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.

 [๙๕๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง โสมนัสสเวทนา เกิดขึ้น ภิกษุนั้นสบายใจ ก็รู้ชัดว่าเราสบายใจ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้ง แห่งโสมนัสสเวทนา นั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิด แต่ผัสสะนั้น คือโสมนัสสินทรีย์ ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง โสมนัสสเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.

[๙๕๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุไม่ สบายใจ ก็รู้ชัดว่าเราไม่สบายใจ ย่อมรู้ชัดว่าเพราะผัสสะอันเป็น ที่ตั้งแห่งโทมนัสส เวทนา นั้นแหละดับไป เวทนาซึ่ง เกิดแต่ผัสสะนั้น คือ โทมนัสสินทรีย์ที่อาศัยผัสสะ อันเป็น ที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.

[๙๕๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุเปกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขาเวทนา เกิดขึ้น ภิกษุนั้นรู้สึกเฉยๆ ก็รู้ชัดว่าเรารู้สึกเฉยๆ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้ง แห่งอุเบกขาเวทน านั้นแหละดับไป เวทนาซึ่ง เกิดแต่ผัสสะนั้น คือ อุเปกขินทรีย์ที่ อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.

[๙๕๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้ ๒ อันเสียดสีกันจึงเกิดความร้อน เกิดไฟขึ้น เพราะแยกไม้ ๒ อันนั่นเอง ให้ออกจากกันเสีย ความร้อนที่เกิดเพราะความเสียดสียอ่ มดับไป สงบไป ฉันใด สุขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้น

ภิกษุนั้นสบายกาย ก็รู้ชัดว่าเราสบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็น ที่ตั้งแห่ง สุขเวทนา นั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะ คือ สุขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง สุขเวทนา เกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป ทุกขินทรีย์ย่อมอาศัย ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ

โสมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็น ที่ตั้งแห่งโสมนัสส-เวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ โสมนัสสินทรีย์ 1 ย่อมอาศัย ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัสสเวทนา เกิดขึ้น ฯลฯ อุเปกขินทรีย์ย่อมอาศัย ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา เวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นรู้สึกเฉยๆ ก็รู้ชัดว่าเรารู้สึกเฉยๆ ย่อมรู้ชัดว่าเพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา เวทนา นั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิด แต่ผัสสะ นั้น คือ อุเปกขินทรีย์ ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา เวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป ฉันนั้นเหมือนกัน.
จบ สูตรที่ ๙

956

อุปปฏิกสูตร
อินทรีย์ ๕ มีนิมิตเหตุปัจจัยเครื่องปรุงแต่ง
[๙๕๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือทุกขินทรีย์ ๑ โทมนัสสินทรีย์ ๑ สุขินทรีย์ ๑ โสมนัสสินทรีย์ ๑ อุเปกขินทรีย์ ๑.

[๙๕๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ทุกขินทรีย์ เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขินทรีย์นี้ เกิดขึ้นแล้ว แก่เราและ ทุกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่าทุกขินทรีย์ นั้นไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่อง ปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้มิใช่ ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดทุกขินทรีย์ เหตุเกิดแห่ง ทุกขินทรีย์ ความดับแห่ง ทุกขินทรีย์ และข้อ ปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งทุกขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือ ในที่ไหน ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปิติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่ง ความดับแห่งทุกขินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็น อย่างนั้น.

[๙๕๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว โทมนัส สินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา และโทมนัสสินทรีย์นั้น มีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า โทมนัสสินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้น ได้ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัด โทมนัสสินทรีย์ เหตุเกิดแห่งโทมนัสสินทรีย์ ความดับ แห่งโทมนัสสินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็น ที่ดับโดยไม่เหลือแห่งโทมนัส สินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็โทมนัสสินทรีย์ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌาน อันมีความผ่องใสแห่งจิตใน ภายในเป็น ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติ และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่าได้รู้แล้ว ซึ่งความดับแห่งโทมนัสสินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อ ความเป็นอย่างนั้น.

 [๙๕๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียรมีความเด็ดเดี่ยว 1 สุขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า สุขินทรีย์นี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เราและ สุขินทรีย์ นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่าสุขินทรีย์นั้น ไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ดังนี้มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดสุขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่ง สุขินทรีย์และ ข้อปฏิบัติที่ดับ โดยไม่เหลือแห่งสุขินทรีย์ เกิดขึ้นแล้ว ก็สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย เพราะปีติสิ้น ไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ ว่าผู้ได้ฌานนี้เป็น ผู้มีอุเบกขา 2 มีสติอยู่เป็น สุข สุขินทรีย์ เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ไม่เหลือในที่นี้ภิกษุนี้เรากล่าวว่าได้รู้แล้ว ซึ่งความดับแห่งสุขินทรีย์และน้อม จิตเข้าไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น.

[๙๖๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว โสมนัส สินทรีย์เกิดขึน เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่าโสมนัสสินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้ว แก่เราและ โสมนัส สินทรีย์นั้น มีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า โสมนัสสินทรีย์นั้น ไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัด โสมนัสสินทรีย์ เหตุเกิดแห่ง โสมนัสสินทรีย์ความดับ แห่งโสมนัสสินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ ดับโดยไม่เหลือ แห่งโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็โสมนัสสินทรีย์ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป ไม่มีเหลือในที่ไหน ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข และละทุกข์ ละสุข และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ โสมนัสินทรีย์ที่เกิดขึนแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่าได้รู้แล้ว ซึ่งความดับแหง่โสมนัสสินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.

[๙๖๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อุเปกขินทรีย์ เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่าอุเปกขินทรีย์นี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และอุเปกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า อุเปกขินทรีย์นั้น ไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้
1. ข้อสังเกต : ในที่อื่นๆ แห่งพระสูตรนี้ ใช้สำนวนแปลว่า “มีใจเด็ดเดี่ยว” -ผู้รวบรวม
2. อุเบกขา -ผู้รวบรวม


ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดอุเปกขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งอุเปกขินทรีย์ ความดับแห่ง อุเปกขินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่ง อุเปกขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็อุเปกขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป ไม่มีเหลือในที่ไหน ?

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการ ทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญา เวทยิตนิโรธอยู่ อุเปกขินทรีย์ที่ เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ไม่เหลือ ในที่นี้้ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับ แห่ง อุเปกขินทรีย์ และ น้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น .
จบ สูตร ที่ ๑๐
จบ สุขินทริยวรรคที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุทธกสูตร ๒. โสตาปันนสูตร
๓. อรหันตสูตร ๔. สมณพราหมณสูตรที่ ๑
๕. สมณพราหมณสูตรที่ ๒ ๖. วิภังคสูตรที่ ๑
๗. วิภังคสูตรที่ ๒ ๘. วิภังคสูตรที่ ๓
๙. อรหันตสูตร ๑๐. อุปปฏิกสูตร

962

ชราวรรคที่ ๕
ชราสูตร ว่าด้วยความแก่
[๙๖๒]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ในบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น ในเวลาเย็น แล้วประทับ นั่งผินพระปฤษฎางค์ผิงแดด ในที่มีแสงแดดส่องมาจาก ทิศประจิมอยู ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วบีบนวดพระกายของ พระผู้มีพระภาคด้วยฝ่ามือ พลางกราบทูลว่า

[๙๖๓]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว เวลานี้พระฉวีวรรณของพระผู้มี พระภาค ไม่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เหมือนเมื่อก่อน พระสรีระก็หย่อนย่นเป็นเกลียว พระกาย ก็ค้อมไปข้างหน้า และความแปรปรวนของอินทรีย์ คือ พระจักษุพระโสตะ พระฆานะ พระชิวหา พระกาย ก็ปรากฏอยู่.

[๙๖๔]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรอานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ชราธรรมย่อมมีในความเป็น หนุ่มสาว พยาธิธรรม ย่อมมีในความไม่มีโรค มรณธรรมย่อมมีในชีวิต ผิวพรรณไม่ บริสุทธิ์ผุดผ่อง เหมือน เมื่อก่อน สรีระก็หย่อนย่น เป็นเกลียว กายก็ค้อมไปข้างหน้า และความแปรปรวน แห่งอินทรีย์ คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ก็ปรากฏอยู่.
[๙๖๕]
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ ต่อไป อีกว่า ถึงท่านจะติความแก่อันเลวทราม ถึงท่านจะติความแก่ อันทำให้ผิวพรรณทราม ไปรูปอันน่าพึงใจ ก็คงถูก ความแก่ยํ่ายีอยู่นั่นเอง แม้ผู้ใด พึงมีชีวิตอยู่ได้ร้อยปี (ผู้นั้นก็ไม่พ้น ความตายไปได้) สัตว์ทั้งปวงมีความตาย เป็นเบื้องหน้าความตายย่อมไม่ละเว้นอะไรๆ ย่อมยํ่ายีทั้งหมดทีเดียว.
จบ สูตรที่ ๑

966

อุณณาภพราหมณสูตร
อินทรีย์ ๕ มีอารมณ์ต่างกัน
[๙๖๖]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น อุณณภพราหมณ์ 1 เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัย กับพระผู้มี พระภาคครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า

[๙๖๗]
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อัน เป็นโคจร ของกันและกัน อินทรีย์ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวย อารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกันและ อะไรย่อมเสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ?

[๙๖๘]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีอารมณ์ต่างกันมีโคจร ต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์ อันเป็นโคจรของกันและกัน อินทรีย์ ๕ ประการเป็นไฉน ?คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ใจเป็นที่ยึด เหนี่ยวของอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์ อันเป็นโคจรของกันและกัน และใจย่อมเสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของอินทรีย์ ๕ ประการนี้.

[๙๖๙]
อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งใจเล่า ? พ. ดูกรพราหมณ์ สติเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งใจ.

[๙๗๐]
อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งสติเล่า ? พ. ดูกรพราหมณ์ วิมุติเป็นที่ยึด เหนี่ยวแห่ง สติ.
1. อุณณาภพราหมณ์ -ผู้รวบรวม

[๙๗๑]
อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งวิมุติเล่า ?
พ. ดูกรพราหมณ์ นิพพานเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งวิมุติ.
อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งนิพพาน.
พ. ดูกรพราหมณ์ ท่านล่วงเลยปัญหาไปเสียแล้ว ไม่อาจถือเอาที่สุดแห่งปัญหาได้ด้วยว่าพรหมจรรย์ ที่บุคคลอยู่จบแล้ว มีนิพพานเป็นที่หยั่งลง มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด.

[๙๗๒]
ครั้งนั้น อุณณาภพราหมณ์ชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป.

[๙๗๓]
ครั้นอุณณาภพราหมณ์หลีกไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสว่า

[๙๗๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรือนยอดหรือศาลาคล้ายเรือนยอด มีหน้าต่างในทิศเหนือ หรือทิศตะวันออก เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นไป แสงส่องเข้าไปทางหน้าต่าง ตั้งอยู่ที่ฝา ด้านไหน ? ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ตั้งอยู่ที่ฝาด้านตะวันตก พระเจ้าข้า. พ. อย่างนั้นเหมือนกัน

ภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาในพระตถาคตของอุณณาภพราหมณ์มั่น คงแล้วมีรากเกิดแล้ว ตั้งอยู่มั่นแล้วอัน สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหมหรือใครๆ ในโลกจะพึงชักนำ ไปไม่ได้ ถ้าอุณณาภพราหมณ์ พึงทำกาละ ในสมัยนี้ไซร้ย่อมไม่มีสังโยชน์ ซึ่งเป็นเครื่องประกอบ ให้อุณณาภพราหมณ์ต้องมายังโลกนี้อีก.
จบ สูตรที่ ๒

975

สาเกตสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ พละ ๕
[๙๗๕]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนมิคทายวัน ใกล้เมืองสาเกต ณ ที่นั้น แล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว ย่อมเป็นพละ ๕ ที่พละ ๕อาศัยแล้ว ย่อมเป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่หรือหนอ ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูลมี พระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ขอประทานวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับแล้วจักทรงจำไว้.

[๙๗๖]
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕ ที่พละ ๕อาศัย แล้ว เป็นอินทรีย์์ ๕ มีอยู่ ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ เป็นไฉน ?

[๙๗๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้น เป็น สัทธาพละ สิ่งใดเป็น สัทธาพละ สิ่งนั้นเป็น สัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็น วิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็น วิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละสิ่งนั้นเป็น วิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้น เป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละสิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์ สิ่งใดเป็น สมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิ พละสิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็น ปัญญินทรีย์ สิ่งนั้น เป็น ปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็น ปัญญินทรีย์.

[๙๗๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่นํ้า ซึ่งไหลไปทางทิศตะวันออก หลั่งไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทาง ทิศตะวันออก ที่ตรงกลางแม่นํ้านั้นมีเกาะ ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า กระแสเดียวมีอยู่ อนึ่งปริยายที่กระแสแห่งแม่นํ้านั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสที่มีอยู่.

 [๙๗๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่นํ้านั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า กระแสเดียว เป็นไฉน ? คือ นํ้าในที่สุดด้านตะวันออก และในที่สุดด้านตะวันตกแห่ง เกาะนั้น ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่นํ้า นั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า กระแสเดียว.

[๙๘๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่นํ้านั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า สองกระแส เป็นไฉน ? คือ นํ้าในที่สุดด้านเหนือ และในที่สุดด้านใต้แห่งเกาะนั้น ปริยายนี้แล ที่กระแส แห่งแม่นํ้านั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึง ซึ่งความนับว่า สองกระแส ฉันใด.

[๙๘๑]
ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละสิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็น สัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละสิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็น วิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละสิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์ สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละสิ่งใด เป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.

[๙๘๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุจึงกระทำ ให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน ยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๓

983

ปุพพโกฏฐกสูตร
พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า
[๙๘๓]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพโกฏฐกะ ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส เรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้ว ตรัสว่า

[๙๘๔]
ดูกรสารีบุตร เธอเชื่อหรือว่า สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด วิริยินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

[๙๘๕]
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ไม่ถึง ความเชื่อต่อ พระผู้มีพระภาค ว่าสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณา เห็นด้วยปัญญา

ชนเหล่านั้นพึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่น ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหลั่ง 1 ลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แลอมตะนั้น ชนเหล่าใด รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นหมด ความเคลือบ แคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อมตะนั้น ข้าพระองค์รู้แล้ว เห็นแล้วทราบแล้ว กระทำให้แจ้ง แล้ว พิจารณาเห็นแล้ว ด้วยปัญญา ข้าพระองค์จึงหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

[๙๘๖]
พ. ดีละๆ สารีบุตร ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบไม่กระทำ ให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นแล้ว ด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่น ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แลอมตะนั้น ชนเหล่าใด รู้แล้วเห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.
จบ สูตรที่ ๔

987

ปุพพารามสูตรที่ ๑
ว่าด้วยปัญญินทรีย์เป็นใหญ่
[๙๘๗]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ในปุพพาราม ใกล้พระนคร สาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสถามว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์เท่าไรหนอ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์ อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มี พระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ.

[๙๘๘]
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที 1 อินทรีย์ประการหนึ่ง อันตนเจริญแล้วกระทำ ให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพ ย่อมพยากรณ์ รหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว ...กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี อินทรีย์อย่างหนึ่ง เป็นไฉน ? คือ ปัญญินทรีย์.

[๙๘๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ อันไปตามปัญญาของพระอริยสาวก ผู้มีปัญญา ย่อมตั้งมั่น.

[๙๙๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ประการหนึ่งนี้แล อันตนเจริญแล้วกระทำ ให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพ ย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่าเรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว ...กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๕

991

ปุพพารามสูตรที่ ๒
ว่าด้วยอินทรีย์ ๒
[๙๙๑]
นิทานนั้นเหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่ อินทรีย์ เท่าไรหนอ อันตน เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อม พยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวก ข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ.

[๙๙๒]
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๒ ประการ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้ มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพ ย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว... กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้ มิได้มี.

[๙๙๓]
อินทรีย์ ๒ ประการเป็นไฉน ? คือ ปัญญาอันเป็นอริยะ ๑ วิมุติอันเป็นอริยะ ๑ ก็ปัญญาอันเป็น อริยะ ของภิกษุ นั้น เป็นปัญญินทรีย์ วิมุติอันเป็นอริยะของภิกษุ นั้นเป็นสมาธินทรีย์.

[๙๙๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๒ ประการนี้แล อันตนเจริญแล้วกระทำ ให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพ ย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่าเรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว ...กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่าง นี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๖

995

ปุพพารามสูตรที่ ๓
ว่าด้วยอินทรีย์ ๔
[๙๙๕]
นิทานนั้นเหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่ อินทรีย์เท่าไร หนอ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อม พยากรณ์ อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ?

ภิกษุทั้ง หลายกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย ของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ.

[๙๙๖]
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๔ ประการ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว... กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้. 1

[๙๙๗]
อินทรีย์ ๔ ประการนั้นเป็นไฉน ? คือ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ปัญญินทรีย์ ๑.

[๙๙๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๔ ประการนี้แล อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพ ย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว...กิจอื่นเพื่อ ความเป็น อย่างนี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๗

999

ปุพพารามสูตรที่ ๔
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕
[๙๙๙]
นิทานนั้นเหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความ ที่อินทรีย์เท่าไร หนอ อันตน เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อม พยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มี พระภาคเป็น รากฐาน ฯลฯ.

[๑๐๐๐]
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ ประการ อันตนเจริญแล้วกระทำ ให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพ ย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่าเรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว ...กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่าง นี้มิได้มี.

[๑๐๐๑]
อินทรีย์ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑.

[๑๐๐๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล อันตนเจริญแล้วกระทำ ให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพ ย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่าเร้ารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว ...กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๘

1003

ปิณโฑลภารทวาชสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๓
[๑๐๐๓]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ก็สมัยนั้น ท่านพระ ปิณโฑลภารทวาชะ ได้พยากรณ์อรหัตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว... กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี.

[๑๐๐๔]
ครั้งนั้น ภิกษุมากรูป เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระ ปิณโฑลภารทวาชะพยากรณ์ อรหัตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว...กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี.

[๑๐๐๕]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ เห็นอำนาจประโยชน์อะไรหนอ จึงพยากรณ์ อรหัตผลว่า เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว...กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

 [๑๐๐๖]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๓ ประการอัน ตนเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะ จึงพยากรณ์อรหัตผล ได้ว่าเรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้ มิได้มี.

[๑๐๐๗]
อินทรีย์ ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑.

[๑๐๐๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๓ ประการนี้แล อันตนเจริญแล้วกระทำ ให้มากแล้ว ภิกษุปิณโฑล ภารทวาชะจึงพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่าชาติ สิ้นแล้ว... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๑๐๐๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๓ ประการนี้ มีอะไรเป็นที่สุด มีความสิ้นเป็นที่สุด มีความสิ้นแห่ง อะไรเป็นที่สุด มีความสิ้นแห่งชาติ ชราและมรณะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุปิณโฑลภาร ทวาชะเห็นว่า ความสิ้นแห่ง ชาติ ชราและ มรณะดังนี้แล้ว จึงพยากรณ์อรหัตผลได้ว่าเรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ...กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่าง นี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๙

1010

สัทธาสูตร
ว่าด้วยศรัทธาของพระอริยสาวก
[๑๐๑๐]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวอังคะชื่ออาปณะ ในแคว้นอังคะ ณ ที่นั้นแลพระผู้มี พระภาคตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้วตรัสว่า ดูกรสารีบุตร อริยสาวกผู้ใด มีศรัทธามั่นเลื่อมใสยิ่ง ในพระตถาคต อริยสาวกนั้น ไม่พึงเคลือบแคลง หรือสงสัยในตถาคต หรือในศาสนาของตถาคต.

 [๑๐๑๑]
พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกใด มีศรัทธามั่น เลื่อมใส ยิ่งใน พระตถาคต อริยสาวกนั้น ไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัยในพระตถาคต หรือในศาสนาของ พระตถาคต ด้วยว่า อริยสาวก ผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็น ผู้ปรารภความเพียรเพื่อละ อกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคงไม่ทอดธุระ ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

[๑๐๑๒]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็วิริยะของอริยสาวกนั้น เป็นวิริยินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวก ผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่าจักเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติ เป็นเครื่องรักษาตน อย่างยิ่ง จักระลึกถึง ตามระลึกถึง กิจที่ทำและคำพูดแม้นานได้.

[๑๐๑๓]
ข้าแต่พระองค์ผเจริญ ก็สติของอริยสาวกนั้นเป็นสตินทรีย์ ด้วยว่า อริยสาวกผู้มี ศรัทธาปรารภ ความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่าจักยึดหน่วงนิพพาน ให้เป็นอารมณ์ได้สมาธิ ได้ เอกัคคตาจิต.

.[๑๐๑๔]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวก ผู้มีศรัทธา ปรารภความ เพียรเข้าไปตั้งสติไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ชัดอย่างนี้ว่า สงสารมีที่สุดและเบื้องต้น อันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุด ไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ ผู้มีอวิชชาเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความดับด้วย การสำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืดคืออวิชชา นั้นเป็นบทอัน สงบ นั้นเป็นบทอันประณีต คือความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืน อุปธิทั้ง ปวงความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน.

[๑๐๑๕]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์ อริยสาวกนั้นแล พยายามอย่างนี้ ครั้น พยายามแล้ว ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้ว ตั้งมั่นอย่างนี้ครั้น ตั้งมั่นแล้ว รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว ย่อมเชื่อมั่น อย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ก็คือธรรม ที่เราเคยได้ฟังมาแล้ว นั่นเอง เหตุนั้น บัดนี้ เราถูกต้องด้วยนามกายอยู่ และ เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา.

 [๑๐๑๖]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ศรัทธาของอริยสาวก เป็นสัทธินทรีย์ ดังนี้แล.

[๑๐๑๗]
พ. ดีละๆ สารีบุตร อริยสาวกใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสในตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึง เคลือบแคลง หรือสงสัย ในพระตถาคต หรือในศาสนาของพระตถาคต ด้วยว่า อริยสาวกผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่าจักเป็น ผู้ปรารภ ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อ กุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระใน กุศลธรรม ทั้งหลาย.

[๑๐๑๘]
ดูกรสารีบุตร ก็วิริยะของอริยสาวกนั้น เป็นวิริยินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความ เพียรแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็น เครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง จักระลึกถึง ตามระลึกถึง กิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้.

[๑๐๑๙]
ดูกรสารีบุตร ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธาปรารภ ความเพียร เข้าไปตั้งสติ ไว้แล้วพึง หวังข้อนี้ได้ว่าจักยึดหน่วงนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต.

[๑๐๒๐]
ดูกรสารีบุตร ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภ ความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่าจักรู้ชัด อย่างนี้ ว่าสงสาร มีที่สุดและเบื้องต้น อันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว

เบื่องต้นที่สุดไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตวฺผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้นมีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไป แล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืด คืออวิชชานั่น เป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอันประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน.

[๑๐๒๑]
ดูกรสารีบุตร ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์ อริยสาวกนั้นแลพยายาม อย่างนี้ ครั้นพยายามแล้ว ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้ว ตั้งมั่นอย่างนี้ครั้นตั้งมั่นแล้ว รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว ย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ก็คือธรรมที่เราเคย ได้ฟังมาแล้วนั่นเอง เหตุนั้นบัดนี้ เราถูกต้องด้วยนามกายอยู่ และเห็นแจ้งแทง ตลอดด้วยปัญญา.

 [๑๐๒๒]
ดูกรสารีบุตร สิ่งใดเป็นศรัทธาของอริยสาวกนั้น สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ของอริยสาวก นั้น ดังนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ ชราวรรคที่ ๕

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ชราสูตร ๒. อุณณาภพราหมณสูตร
๓. สาเกตสูตร ๔. ปุพพโกฏฐกสูตร
๕. ปุพพารามสูตรที่ ๑ ๖. ปุพพารามสูตรที่ ๒
๗. ปุพพารามสูตรที่ ๓ ๘. ปุพพารามสูตรที่ ๔
๙. ปิณโฑลภารทวาชสูตร ๑๐. สัทธาสูตร

สูกรขาตวรรคที่ ๖

1023

โกสลสูตร
ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม
[๑๐๒๓]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โกสลพราหมณคาม ในแคว้นโกศล ณ ที่นั้นแล พระผู้มี พระภาคตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า.

[๑๐๒๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก สีหมฤคราช โลกกล่าวว่าเป็นยอด ของสัตว์ เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้ามีความกล้าฉันใด บรรดาโพธิปักขิยธรรม ทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม เหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๒๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิย ธรรมย่อมเป็นไป เพื่อความตรัสรู้ วิริยินทรีย์... สตินทรีย์... สมาธินทรีย์... ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้.

[๑๐๒๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก สีหมฤคราช โลกกล่าวว่าเป็น ยอดของ สัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มีความกล้าฉันใด บรรดาโพธิ ปักขิยธรรมทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่าเป็นยอดแห่ง โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
จบ สูตรที่ ๑

1027

มัลลกสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๔
[๑๐๒๗]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวมัลละ ชื่ออุรุเวลกัปปะ ในแคว้นมัลละ ณ ที่นั้นแลพระผู้มี พระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า

[๑๐๒๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อริยญาณยังไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกเพียงใด อินทรีย์ ๔ก็ยังไม่ตั้งลงมั่น เพียงนั้น เมื่อใด อริยญาณเกิดขึ้นแล้วแก่อริยสาวก เมื่อนั้นอินทรีย์ ๔ ก็ตั้งลงมั่น.

[๑๐๒๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือนยอด เมื่อเขายังไม่ได้ยกยอดขึ้นเพียงใด กลอนเรือน ก็ยังไม่ชื่อว่าตั้งอยู่ มั่นคงเพียงนั้นเมื่อใด เขายกยอดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น กลอนเรือนจึงเรียกว่าตั้ง อยูมั่นคง ฉันใด อริยญาณยัง ไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวก เพียงใดอินทรีย์ ๔ ก็ยังไม่ตั้งลงมั่นเพียง นั้น เมื่อใด อริยญาณเกิดขึ้นแล้ว แก่ อริยสาวก เมื่อนั้น อินทรีย์ ๔ ก็ตั้งลงมั่น ฉันนั้นเหมือนกัน อินทรีย์ ๔ เป็นไฉน ? คือสัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑.

[๑๐๓๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ อันไปตามปัญญาของอริยสาวกผู้มีปัญญา ย่อมตั้งมั่น.
จบ สูตรที่ ๒

1031

เสขสูตร
ว่าด้วยพระเสขะและพระอเสขะ
[๑๐๓๑]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี พระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ภิกษุ ผู้เป็นเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ พึงรู้ว่าเรา เป็นพระเสขะ ที่ภิกษุผู้เป็นอเสข ะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ใน อเสขภูมิ พึงรู้ว่าเราเป็นพระอเสขะ มีอยู่หรือ ? ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาค เป็นรากฐาน. 1

[๑๐๓๒]
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะ 2 อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็น พระเสขะ ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ 3 มีอยู่.

[๑๐๓๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ภิกษุผู้เป็น เสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่าเรา เป็น พระเสขะ เป็นไฉน ? ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็น เสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่าเราเป็น พระเสขะ.

[๑๐๓๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าสมณะ หรือ พราหมณ์อื่นภายนอก จากศาสนานี้ ซึ่งจะแสดงธรรมที่จริงแท้แน่นอนเหมือน พระผู้มีพระภาค มีอยู่หรือ ? พระเสขะนั้น ย่อมรู้ชัด อย่างนี้ว่าสมณะหรือพราหมณ์อื่น ภายนอกจากศาสนานี้ ซึ่งจะแสดงธรรมที่จริงแท้แน่นอน เหมือนพระผู้มีพระภาคไม่มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ.

[๑๐๓๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่งภิกษุผู้เป็นเสขะย่อมรู้ชัดซึ่ง อินทรีย์ ๕ คือสัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๕ มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็น อย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด

ภิกษุผู้เป็นเสขะยังไม่ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้ แล ที่ภิกษุผู้เป็น เสขะ อาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ ยอมรู้ว่าเราเป็น พระเสขะ.

[๑๐๓๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิย่อมรู้ว่า เราเป็น พระอเสขะ เป็นไฉน ? ภิกษุผู้เป็นอเสขะในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด อริยสาวกผู้เป็นอเสขะถูกต้องสิ่งนั้น ด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แลที่ภิกษุผู้เป็น อเสขะอาศัย และตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ. 1

[๑๐๓๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่งภิกษุผู้เป็น อเสขะ ย่อมรู้ชัด ซึ่งอินทรีย์ ๖ คือจักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายยินทรีย์ ๑ มนินทรีย์ ๑ อริยสาวกผู้เป็นอเสขะ ย่อมรู้ชัดว่าอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ จักดับไปหมดสื้น โดยประการ ทั้งปวงไม่มีเหลือ และอินทรีย์ ๖ เหล่าอื่น จก 2 ไม่เกิดขึ้นในภพไหนๆ ดูกรภิกษุ ทั้งหลายปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ชัด ว่า เราเป็นพระ อเสขะ.
จบ สูตรที่ ๓

1038

ปทสูตร
บทธรรมที่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้
[๑๐๓๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ผู้เที่ยวไปบนพื้นแผ่นดินชนิดใดชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้น ทั้งหมด ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง โลกกล่าวว่า เป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด บทแห่งธรรมเหล่าใด เหล่าหนึ่งย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ บท คือ ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่ง บทธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้น เหมือนกัน.

[๑๐๓๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทแห่งธรรมทั้งหลายเป็นไฉน ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ? ได้แก่ บทแห่งธรรม คือ สัทธินทรีย์... วิริยินทรีย์... สตินทรีย์... สมาธินทรีย์... ปัญญินทรีย์ ย่อมเป็นไป เพื่อความตรัสรู้.
จบ สูตรที่ ๔

1040

สารสูตร
ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งบทธรรม
[๑๐๔๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ผู้เที่ยวไปบนพื้นแผ่นดิน ชนิดใดชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้น ทั้งหมด ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง โลกกล่าวว่า เป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด บทแห่งธรรมเหล่าใด เหล่าหนึ่งยอมเป็นไปเพือความตรัสรู้บท คือปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่าเป็นยอด ของบทแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๔๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดง โลกกล่าวว่าเป็น ยอดของไม้ เหล่า นั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่ง โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๔๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์... วิริยินทรีย์... สตินทรีย์... สมาธินทรีย์... ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อ ความตรัสรู้.

 [๑๐๔๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดง โลกกล่าวว่าเป็น ยอดของไม้ เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์เรา กล่าวว่า เป็นยอด แห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ฉันนั้น เหมือนกัน.
จบ สูตรที่ ๕

1044

ปติฎฐิตสูตร
ว่าด้วยธรรมอันเอก
[๑๐๔๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันเอก เจริญแล้วเจริญดี แล้ว ธรรมอันเอกเป็นไฉน ? คือ ความไม่ประมาท.

[๑๐๔๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่ประมาทเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรักษาจิต ไว้ในอาสวะ และธรรม ที่มีอาสวะ เมื่อเธอรักษาจิตไว้ในอาสวะ และธรรมที่มีอาสวะ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ แม้ปัญญินทรีย์ ก็ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

[๑๐๔๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันเอก เจริญแล้วเจริญดี แล้ว แม้ด้วยประการฉะนี้ แล.
จบ สูตรที่ ๖

1047

พรหมสูตร
ว่าด้วยท้าวสหัมบดีพรหม
[๑๐๔๗]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่าง :-1
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสผู้ 2 ประทับอยู่ ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ แทบฝั่ง แม่น้ำ เนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ทรงเกิดความปริวิตก แห่งพระหฤทัยอย่างนี้ว่า อินทรีย์ ๕ ที่เจริญแล้วกระทำให้มาก แล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น เบื้องหน้ามีอมตะเป็นที่สุดอินทรีย์ ๕ เป็นไฉน ?

คือ สัทธินทรีย์ ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะมีอมตะ เป็น เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ที่ เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ เป็นที่สุด.

[๑๐๔๘]
ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบความปริวิตกแห่งพระหฤทัยด้วยใจแล้ว จึงหายตัว จาก พรหมโลก มาปรากฏเบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค เหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.

[๑๐๔๙]
ครั้งนั้นท้าวสหัมบดีพรหม กระทำผ้าห่มเฉวียงบ่า ข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ไปทาง พระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูล ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็น อย่างนั้น ข้าแต่ พระสุคต ข้อนี้เป็น อย่างนั้น อินทรีย์ ๕ ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมหยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้ามีอมตะ เป็นที่สุด อินทรีย์ ๕ เป็น ไฉน ?

คือ สัทธินทรีย์ ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น ที่สุด ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่ เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น เบื้องหน้า มีอมตะเป็น ที่สุด อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่ง ลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

[๑๐๕๐]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์ได้ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ แม้ในเวลานั้น เขารู้จักข้าพระองค์ อย่างนี้ว่า สหกภิกษุๆ เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันข้าพระองค์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ข้าพระองค์จึงคลาย กามฉันท์ในกามทั้งหลายเสียได้ เมื่อตายไป ได้เข้าถึงสุคติพรหมโลก แม้ในพรหมโลกนั้นเขา ก็รู้จักข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท้าวสหัมบดีพรหมๆ.
1. ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ -ผู้รวบรวม
2. ตรัสรู้ –ผู้รวบรวม

[๑๐๕๑]
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าพระองค์รู้ ข้าพระองค์เห็น ข้อที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้ มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.
จบ สูตรที่ ๗

1052

สูกรขาตาสูตร
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ
[๑๐๕๒]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสูกรขาตา เขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนคร ราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระองค์ ตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรแล้วตรัสถามว่าดูกรสารีบุตร ภิกษุผู้ขีณาสพเห็น อำนาจประโยชน์อะไรหนอ จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่ง ในตถาคต หรือในศาสนาของตถาคต.

[๑๐๕๓]
ท่านสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ขีณาสพ เห็นธรรมเป็น แดนเกษม จาก โยคะอันยอดเยี่ยม จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในพระตถาคต หรือในศาสนาของพระตถาคต.

[๑๐๕๔]
พ. ถูกละๆ สารีบุตร ภิกษุผู้ขีณาสพ เห็นธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม จึงประพฤติ นอบน้อม ในตถาคต หรือในศาสนาของตถาคต.

[๑๐๕๕]
ดูกรสารีบุตร ก็ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ภิกษุ ขีณาสพเห็นอยู่จึง ประพฤติ นอบน้อม อย่างยิ่ง ในตถาคต หรือในศาสนาของตถาคตนั้น เป็นไฉน ?

[๑๐๕๖]
สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ขีณาสพในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์อัน ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความ ตรัสรู้ ย่อมเจริญวิริยินทรีย์... สตินทรีย์... สมาธินทรีย์... ปัญญินทรีย์ อันให้ถึง ความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเป็น แดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม นี้แล ที่ภิกษุผู้ขีณาสพเห็นอยู่ จึงประพฤติ นอบน้อมอย่างยิ่งในตถาคต หรือในศาสนาขอ พระตถาคต

 [๑๐๕๗]
พ. ถูกละๆ สารีบุตร ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ อันยอดเยี่ยมนี้แล ที่ภิกษุ ผู้ขีณาสพเห็นอยู่ จึงประพฤติ นอบน้อมอย่างยิ่งในตถาคต หรือในศาสนาของตถาคต.

[๑๐๕๘]
ดูกรสารีบุตร การนอบน้อมอย่างยิ่ง ที่ภิกษุผู้ขีณาสพประพฤติในตถาคต หรือในศาสนาของ ตถาคต เป็นไฉน ?

[๑๐๕๙]
สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ขีณาสพในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงใน พระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ในสมาธิ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การนอบน้อมอย่างยิ่งแล ที่ภิกษุผู้ขีณาสพประพฤติ ในพระตถาคต หรือในศาสนา ของตถาคต.

[๑๐๖๐]
พ. ลูก 1 ละๆ สารีบุตร การนอบน้อมอย่างยิ่งนี้แล ที่ภิกษุผู้ขีณาสพประพฤติใน ตถาคต หรือใน สาสนา 2 ของตถาคต.
จบ สูตรที่ ๘

1061

อุปาทสูตรที่ ๑
อินทรีย์ ๕ ไม่เกิดนอกพุทธกาล
[๑๐๖๑]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้ มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้น นอกจากความอุบัติแห่งพระตถาคต อรหันต-สัมมาสัมพุทธเจ้า หาเกิดไม่ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้น นอกจากความอุบัติแห่ง พระตถาคตอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า หาเกิดไม่.
จบ สูตรที่ ๙

1062

อุปาทสูตรที่ ๒
อินทรีย์ ๕ ไม่เกิดนอกวินัยพระสุคต
[๑๐๖๒]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด จักเกิดขึ้น นอกจากวินัยของพระสุคตหาเกิดไม่ อินทรีย์ ๕เป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย ์...ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แลอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้น นอกจากวินัยของพระสุคตหาเกิดไม่.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ สูกรขาตวรรคที่ ๖

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โกสลสูตร ๒. มัลลสูตร
๓. เสขสูตร ๔. ปทสูตร
๕. สารสูตร ๖. ปติฏฐิตสูตร
๗. พรหมสูตร ๘. สูกรขาตาสูตร
๙. อุปาทสูตรที่ ๑ ๑๐. อุปาทสูตรที่ ๒

โพธิปักขิยวรรคที่ ๗

1063

สัญโญชนาสูตร
เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อละสังโยชน์

[๑๐๖๓]
สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้ มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์ อินทรีย์ 1 เป็นไฉน ? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อละสังโยชน์.
จบ สูตรที่ ๑

1064

อนุสยสูตร
เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อถอนอนุสัย
[๑๐๖๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อม เป็นไป เพื่อถอนอนุสัย อินทรีย์ ๕ เป็น ไฉน ? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย.
จบ สูตรที่ ๒

1065

ปริญญาสูตร
เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อกำหนดรู้อัทธานะ
[๑๐๖๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อม เป็นไปเพื่อ กำหนดรู้อัทธานะ (ทางไกล) อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน ? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อกำหนดรู้อัทธานะ.
จบ สูตรที่ ๓

1066

อาสวักขยสูตร
เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อความสิ้นอาสวะ
[๑๐๖๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อม เป็นไปเพื่อ ความสิ้นอาสวะ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ.

[๑๐๖๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ละสังโยชน์ เพื่อถอนอนุสัยเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ เพื่อความสิ้น อาสวะอินทรีย์ ๕ เป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อละสังโยชน์เพื่อถอนอนุสัย เพื่อกำหนดรู้อัทธานะ เพื่อความสิ้นอาสวะ.
จบ สูตรที่ ๔

1068

ผลสูตรที่ ๑
เจริญอินทรีย์ ๕ หวังผลได้ ๒ อย่าง
[๑๐๖๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน ? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งคือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมั่น เหลืออยู่เป็น พระอนาคามี.
จบ สูตรที่ ๕

1069

ผลสูตรที่ ๒
เจริญอินทรีย์ ๕ ได้อานิสงส์ ๗ ประการ
[๑๐๖๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลานิสงส์ได้ ๗ ประการผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน ?

คือ จะได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑ ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบัน จะได้ชมเวลาใกล้ตาย ๑ ถ้าปัจจุบันก็ไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร์ ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี ๑ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑ ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑ ผู้สสังขารปรินิพพายี [1] ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องตํ่า ๕ สิ้นไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๖

1070

รุกขสูตรที่ ๑
ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม
[๑๐๗๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ในชมพูทวีปชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นหว้า โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้ เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่ง โพธิปักขิยธรรม เหล่านั้น เพราะเป็นไป เพื่อความตรัสรู้ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๗๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไป เพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อ ความตรัสรู้.
1. ผู้สสังขารปรินิพพายี ๑ -ผู้รวบรวม

[๑๐๗๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ในชมพูทวีปชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นหว้า โลกกล่าวว่าเป็นยอด แห่งต้นไม้ เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิต กล่าวว่า เป็นยอดแห่ง โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ฉันนั้น เหมือนกัน.
จบ สูตรที่ ๗

1073

รุกขสูตรที่ ๒
ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม ๒
[๑๐๗๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นปาริฉัตตกะโลก กล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ บัณฑิต กล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไป เพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๗๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไป เพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อ ความตรัสรู้.

[๑๐๗๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นปาริฉัตตกะโลก กล่าวว่า เป็นยอดของ ต้นไม้เหล่านั้นแม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ บัณฑิตก ล่าวว่า เป็นยอดแห่ง โพธิปักขิยธรรม เหล่านั้น เพราะเป็นไป เพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
จบ สูตรที่ ๘

1076

รุกขสูตรที่ ๓
ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม ๓
[๑๐๗๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกอสูรชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นจิตตปาฏลีโลกกล่าวว่า เป็นยอด ของต้นไม้ เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่ง โพธิปักขิยธรรม เหล่านั้น เพราะเป็นไป เพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๗๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไป เพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อ ความตรัสรู้.

[๑๐๗๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกอสูรชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นจิตตปาฏลีโลกกล่าวว่า เป็นยอด ของต้นไม้เหล่านี้ แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม เหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
จบ สูตรที่ ๙

1079

รุกขสูตรที่ ๔
ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม
[๑๐๗๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกครุฑชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นโกฏสิมพลี (ไม้งิ้วป่า) โลกกล่าวว่า เป็นยอดของ ต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใด เหล่าหนึ่งปัญญินทรีย์ บัณฑิต กล่าวว่า เป็นยอดแห่ง โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๘๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไป เพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อ ความตรัสรู้.

[๑๐๘๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกครุฑชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นโกฏสิมพลีโลกกล่าวว่า เป็นยอด ของต้นไม้ เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิย ธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไป เพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ โพธิปักขิยวรรคที่ ๗

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สัญโญชนาสูตร ๒. อนุสยสูตร
๓. ปริญญาสูตร ๔. อาสวักขยสูตร
๕. ผลสูตรที่ ๑ ๖. ผลสูตรที่ ๒
๗. รุกขสูตรที่ ๑ ๘. รุกขสูตรที่ ๒
๙. รุกขสูตรที่ ๓ ๑๐. รุกขสูตรที่ ๔
คังคาทิเปยยาลที่ ๘

1082

อานิสงส์แห่ง 1 การเจริญอินทรีย์ ๕
[๑๐๘๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่นํ้าคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศ ปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อมไป สู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๘๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ นั้น เป็นอย่างไรเล่าย่อม เป็นผู้น้อมไปสู่ นิพพาน โน้ม ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป ในการสละ ย่อมเจริญวิริยินทรีย์... สตินทรีย์... สมาธินทรีย์...ปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญ อินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.2

[๑๐๘๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน ? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วน เบื้องบน ๕ นี้แล.

[๑๐๘๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ ซึ่งสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป ในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล. (อินทรีย์ที่อาศัย วิเวกเป็นต้น พึงขยายความออกไปเหมือน มรรคสังยุต)

[๑๐๘๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่นํ้าคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งลงสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่ นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๘๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อม ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะ เป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพานโน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.1

[๑๐๘๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน ? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชาดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็น ส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.

[๑๐๘๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้เพื่อ ความสิ้นไป เพื่อละ ซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะ เป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุดมีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.
(อินทรียสังยุตมีส่วนเหมือนในมรรคสังยุต)

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สัญโญชนาสูตร ๒. อนุสยสูตร
๓. อัทธานสูตร ๔. อาสวักขยสูตร
๕. ผลสูตรที่ ๑ ๖. ผลสูตรที่ ๒
๗. สัตตานิสังสสูตร ๘. รุกขสูตรที่ ๑
๙. รุกขสูตรที่ ๒ ๑๐. รุกขสูตรที่ ๓
๑๑. รุกขสูตรที่ ๔

จบ อินทรียสังยุต