เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  หนังสือ พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  13 of 13  
 
  หนังสือ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ ข้อ  
       
  ธัมมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒    
  ตถาคตสูตรที่ ๑ ทรงแสดงพระธรรมจักร 1664  
  ตถาคตสูตรที่ ๒ จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดแก่ตถาคต 1674  
  ขันธสูตร ว่าด้วยอริยสัจ ๔ 1676  
  อายตนสูตร ว่าด้วยอริยสัจ ๔ 1684  
  ธารณสูตรที่ ๑ ว่าด้วยการทรงจำอริยสัจ ๔ 1690  
  ธารณสูตรที่ ๒ ว่าด้วยการทรงจำอริยสัจ ๔ อย่างถูกต้อง 1692  
  อวิชชาสูตร ว่าด้วยอวิชชา 1694  
  วิชชาสูตร ว่าด้วยวิชชา 1695  
  สังกาสนสูตร ว่าด้วยบัญญัติแห่งอริยสัจ ๔ 1696  
  ตถสูตร ว่าด้วยของจริงแท้ ๔ อย่าง 1697  
       
  โกฏิคามวรรคที่ ๓    
  วัชชีสูตรที่ ๑ ว่าด้วยการตรัสรู้และไม่ตรัสรู้อริยสัจ ๔ 1698  
  วัชชีสูตรที่ ๒ ว่าด้วยการรู้ชัดและไม่รู้ชัดอริยสัจ ๔ 1700  
  สัมมาสัมพุทธสูตร ว่าด้วยความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 1703  
  อรหันตสูตร ว่าด้วยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า 1704  
  สอาวักขยสูตร ว่าด้วยความสิ้นอาสวะ 1705  
  มิตตสูตร ว่าด้วยการอนุเคราะห์มิตร 1706  
  ตถสูตร ว่าด้วยอริยสัจ ๔ เป็นของจริงแท้ 1707  
  โลกสูตร พระตถาคตเป็นอริยะในโลกทั้งปวง 1708  
  ปริญเญยยสูตร ว่าด้วยหน้าที่ในอริยสัจ ๔ 1709  
  ควัมปติสูตร ผู้เห็นทุกข์ ชื่อว่าเห็นในสมุทัยนิโรธมรรค 1710  
       
  สีสปาปรรณวรรคที่ ๔    
  สีสปาสูตร เปรียบสิ่งที่ตรัสรู้มีมากเหมือนใบไม้บนต้น 1712  
 

ขทิรสูตร ว่าด้วยการทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะตรัสรู้อริยสัจ ๔

1714  
  ทัณฑสูตร ผู้ท่องเที่ยวไปในโลกเพราะไม่เห็นอริยสัจ 1716  
  เจลสูตร ให้รีบเพียรเพื่อตรัสรู้ เหมือนรีบดับไฟบนศีรษะ 1717  
  สัตติสตสูตร ว่าด้วยการตรัสรู้อริยสัจ ๔ 1718  
  ปาณสูตร ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพ้นจากอบายใหญ่ 1719  
  สุริยูปมาสูตรที่ ๑ ว่าด้วยสิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อนการตรัสรู้อริยสัจ 1720  
  สุริยูปมาสูตรที่ ๒ พระตถาคตอุบัติความสว่างย่อมปรากฏ 1721  
  อินทขีลสูตร ผู้รู้ตามเป็นจริง ย่อมรู้ผู้อื่นว่ารู้หรือไม่รู้ 1722  
  วาทีสูตร ผู้รู้ชัดตามเป็นจริง ไม่หวั่นไหวต่อผู้ยกวาทะ 1724  
       
  ปปาตวรรคที่ ๔    
  จินตสูตร การคิดเรื่องตายแล้วเกิดหรือไม่ ไม่มีประโยชน์ 1725  
  ปปาตสูตร ว่าด้วยเหวคือความเกิด 1728  
  สูตร ..ว่าด้วยความเร่าร้อน 1731  
  กูฎสูตร ว่าด้วยฐานะที่มีได้และมีไม่ได้ 1735  
  วาลสูตร ว่าด้วยการแทงตลอดตามความเป็นจริงยาก 1737  
  อันธการีสูตร ผู้รู้ตามเป็นจริงไม่ตกไปสู่ที่มืด 1739  
  ฉิคคฬสูตรที่ ๑ ว่าด้วยความเป็นมนุษย์ยาก 1743  
  ฉิคคฬสูตรที่ ๒ ว่าด้วยการได้ความเป็นมนุษย์ยาก 1744  
  สิเนรุสูตรที่ ๑ ทุกข์ของพระอริยบุคคลหมดไปมากกว่าที่เหลือ
1745  
  สิเนรุสูตรที่ ๒ ทุกข์ของพระอริยบุคคลหมดไปมากกว่าที่เหลือ 1746  
       
  อภิสมยวรรคที่ ๖    
  นขสิขาสูตร ว่าด้วยทุกข์ของพระอริยะเท่ากับฝุ่นที่ปลายเล็บ 1747  
  โปกขรณีสูตร ว่าด้วยทุกข์ของพระอริยะเท่ากับนํ้าปลายหญ้าคา 1748  
  สัมเภชชสูตรที่ ๑ เปรียบทุกข์ที่ยังเหลือเท่ากับหยดนํ้า 1749  
  สัมเภชชสูตรที่ ๒ เปรียบทุกข์ที่หมดไปเท่ากับนํ้าในแม่นํ้า 1750  
  ปฐวีสูตรที่ ๑ เปรียบทุกข์ที่ยังเหลือเท่ากับก้อนดิน 1751  
  ปฐวีสูตรที่ ๒ เปรียบทุกข์ที่หมดไปเท่ากับแผ่นดิน 1752  
  สมุททสูตรที่ ๑ เปรียบทุกข์ที่เหลือเท่ากับหยดนํ้า 1753  
  สมุททสูตรที่ ๒ เปรียบทุกข์ที่หมดเท่ากับมหาสมุทร 1754  
  ปัพพตูปมาสูตรที่ ๑ เปรียบทุกข์ที่เหลือเท่ากับก้อนหิน 1755  
  ปัพพตูปมาสูตรที่ ๒ เปรียบทุกข์ที่หมดไปเท่ากับขุนเขา 1756  
       
  อามกธัญญเปยยาล ปฐมวรรคที่ ๗    
  อัญญตรสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้มาเกิดในมนุษย์น้อย 1757  
  ปัจจันตสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้มาเกิดในปัจจันตชนบทมาก 1758  
  ปัญญาสูตร ว่าด้วยสัตว์มีปัญญาจักษุน้อย 1759  
  สุราเมรยสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้งดเว้นการดื่มนํ้าเมามีน้อย 1760-5  
       
  อามกธัญญเปยยาล ทุติยวรรคที่ ๘    
  ปาณาติปาตสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นปาณาติบาตมีน้อย 1766  
  อทินนาทานสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นอทินนาทานมีน้อย 1767  
  กาเมสุมิจฉาจารสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นกาเมสุมิจฉาจารมีน้อย 1768  
  มุสาวาทสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นมุสาวาทมีน้อย 1769  
  เปสุญญสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นคำส่อเสียดมีน้อย 1770  
  ผรุสสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นคำหยาบมีน้อย 1771  
  สัมผัปปลาปสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการเพ้อเจ้อมีน้อย 1772  
  พีชสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการพรากพืชคามมีน้อย 1773  
  วิกาลโภชนสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นบริโภคในเวลาวิกาลมีน้อย 1774  
  คันธวิเลปนสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นเครื่องลูบไล้มีน้อย 1775  
       
  อามกธัญญเปยยาล ตติยวรรคที่ ๙    
  นัจจสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นจากการฟ้อนรำมีน้อย 1766  
  สยนสูตร ว่าด้วยสัตว์เว้นการนั่งนอนในที่นั่งนอนสูงใหญ่มีน้อย 1777  
  รชตสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับเงินทองมีน้อย 1778  
  ธัญญสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นจากการรับธัญญชาติดิบมีน้อย 1779  
  มังสสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับเนื้อดิบมีน้อย 1780  
  กุมาริกาสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับเด็กหญิงมีน้อย 1781  
  ทาสีสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับทาสมีน้อย 1782  
  อเชฬกสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับแพะแกะมีน้อย 1783  
  กุกกุฏสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับไก่และสุกรมีน้อย 1784  
  หัตถีสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับช้างมีน้อย 1785  
       
  อามกธัญญเปยยาล    
  จตุตถวรรคที่ ๑๐ ว่าด้วยสัตว์ผู้มีการทำต่างๆ กัน 1786  
 

พุทธวจน จบ

   
 
 





ธัมมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒


1664

ตถาคตสูตรที่ ๑
ทรงแสดงพระธรรมจักร
[๑๖๖๔]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนคร พาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุปัญจวัคคีย์มาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด ๒ อย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ ส่วนสุด ๒ อย่างนั้นเป็นไฉน ?

คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นของเลวเป็นของ ชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบ ความลำบากแก่ตน เป็นทุกข์ ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ข้อปฏิบัติ อันเป็นสายกลาง ไม่เข้าไป ใกล้ส่วนสุด ๒ อย่างเหล่านี้ อันตถาคตได้ตรัสรู้ แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ ตรัสรู้เพื่อนิพพาน ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางนั้น... เป็นไฉน ?  

คือ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ ซึ่งได้แก่ความเห็นชอบ ความดำริ ชอบ วาจาชอบ การงานชอบเลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ข้อปฏิบัติอันเป็น สายกลางนี้แล อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำ ญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความ สงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

[๑๖๖๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วย สิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้แม้ข้อนั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ก็ทุกขสมุทยอริยสัจนี้แลคือ ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจความเพลิดเพลิน ยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้แล คือ ความดับด้วยการ สำรอกโดย ไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้แล คือ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ซึ่งได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.

 [๑๖๖๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขอริยสัจนั้นควร กำหนดรู้ ฯลฯทุกขอริยสัจนั้น เรากำหนดรู้แล้ว.

[๑๖๖๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เราในธรรม ที่เรา ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ 1 ฯลฯ ทุกขสมุทยอริยสัจ นั้นควรละ ฯลฯ ทุกขสมุทัยอริยสัจนั้นเราละแล้ว.

[๑๖๖๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เราในธรรม ที่เรา ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจนั้น ควรกระทำให้แจ้ง. ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจนั้นเรากระทำให้แจ้งแล้ว

[๑๖๖๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เราในธรรม ที่เรา ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธ-คามินีปฏิปทา อริยสัจนั้นควรเจริญ จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรม ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจนั้นเราเจริญแล้ว.
1. ข้อสังเกต : มีการแปลโดยเขียนทั้ง ๒ แบบ คือ “ทุกขสมุทยอริยสัจ” และ “ทุกขสมุทัยอริยสัจ” -ผู้รวบรวม

 [๑๖๗๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็น) ตามความเป็นจริงมีวนรอบ ๓ อย่างนี้ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา ยังไม่บริสุทธิ์เพียงใด เราก็ยังไม่ ปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้ง เทวโลกมารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์  พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและ มนุษย์เพียงนั้นก็เมื่อใด ญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็น) ตามความเป็นจริง มีวนรอบ ๓ อย่างนี้มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา บริสุทธิ์ดีแล้ว

เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ก็ญาณ ทัสสนะได้บังเกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ปลื้มใจ ชื่นชมภาษิตของ พระผู้มีพระภาค.

[๑๖๗๑]
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่าน โกณฑัญญะว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา

ก็เมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงประกาศธรรมจักรแล้ว พวกภุมมเทวดาได้ประกาศว่า นั่นธรรมจักรอัน ยอดเยี่ยม อันพระผู้มีพระภาค ทรงประกาศแล้ว ณ ป่าอิสิปตนม ฤคทายวันใกล้พระนครพาราณสี อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกประกาศไม่ได้

พวกเทพ ชั้นจาตุมหาราชได้ฟังเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว...
พวกเทพ ชั้นดาวดึงส์ได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว...
พวกเทพ ชั้นยามาได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว...
พวกเทพ ชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นยามาแล้ว...
พวกเทพ ชั้นนิมมานรดีได้ฟังเสียงของพวกเทพช้นดุสิตแล้ว...
พวกเทพ ชั้นปรนิมมิตวสวัตตีได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้น นิมมานรดีแล้ว ...

พวกเทพที่นี่ นับเนื่องในหมู่พรหมได้ฟังเสียง ของพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัต ตีแล้วได้ประกาศว่า นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันพระผู้มีพระภาคทรงประกาศ แล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสีอันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ประกาศไม่ได้.

 [๑๖๗๒]
โดยขณะนั้น โดยครู่นั้น เสียงได้ระบือขึ้นไปจนถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้ ก็หมื่น โลกธาตุ นี้สะเทือนสะท้านหวั่นไหว ทั้งแสงสว่างอันยิ่ง หาประมาณมิได้ ได้ปรากฏแล้ว ในโลก ล่วงเทวานุภาพของพวกเทพดา ทั้งหลาย.

[๑๖๗๓]ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงเปล่งอุทานว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้นคำว่าอัญญาโกณฑัญญะ จึงได้เป็นชื่อ ของท่าน โกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑

1674

ตถาคตสูตรที่ ๒
จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดแก่ตถาคต
[๑๖๗๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่พระตถาคต ทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกข-อริยสัจนั้น ควรกำหนดรู้ ฯลฯ ทุกขอริยสัจนั้น พระตถาคตทั้งหลาย กำหนดรู้แล้ว.

[๑๖๗๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่พระตถาคต ทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ ฯลฯทุกขสมุทย อริยสัจ นั้นควรละ ฯลฯ ทุกขสมุทยอริยสัจนั้น พระตถาคตทั้งหลายละได้แล้ว.

 [๑๖๗๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่พระตถาคต ทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯทุกขนิโรธ อริยสัจนั้น ควรกระทำให้แจ้ง ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจนั้น พระตถาคตทั้งหลาย กระทำให้แจ้งแล้ว.

[๑๖๗๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่พระตถาคต ทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา-อริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทาอริยสัจนั้นควรเจริญ จักษุ ญาณ ปัญญาวิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่พระ ตถาคตทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทาอริยสัจนั้น พระตถาคตทั้งหลาย เจริญแล้ว.
จบ สูตรที่ ๒

1676

ขันธสูตร
ว่าด้วยอริยสัจ ๔
[๑๖๗๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจ[1] ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

[๑๖๗๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ? ควรจะกล่าวได้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ นี้เรียกว่าทุกขอริยสัจ.

[๑๖๘๐]
ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน ? ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความ กำหนัดด้วย อำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหาภวตัณหา วิภวตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.
1. ข้อสังเกต : บาลีมีคำว่า “ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ” ซึ่งแปลว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ -ผู้รวบรวม

 [๑๖๘๑]
ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ? ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหา นั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัยตัณหานั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.

[๑๖๘๒]
ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน ? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ.

[๑๖๘๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง กระทำ ความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๓

1684

อายตนสูตร
ว่าด้วยอริยสัจ ๔
[๑๑๘๔] 1
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจทุกข สมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

[๑๖๘๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ? ควรจะกล่าวว่า อายตนะภายใน๖ อายตนะ ภายใน ๖ เป็นไฉน ? คือ อายตนะคือตา ฯลฯ อายตนะคือใจ นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ.

[๑๖๘๖]
ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน ? ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความ กำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ ได้แก ่กามตัณหาภวตัณหา วิภวตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.

 [๑๖๘๗]
ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ? ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัยตัณหานั้น นี้เรียกว่าทุกขนิโรธอริยสัจ.

[๑๖๘๘]
ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน ? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ.

[๑๖๘๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำ ความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินปี ฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๔

1690

ธารณสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการทรงจำอริยสัจ ๔
[๑๖๙๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงไว้เถิด. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำซึ่งอริยสัจที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว.

พ. ดูกรภิกษุ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้วอย่างไร ?

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ ๑ ทุกขสมุทย อริยสัจ เป็นข้อที่ ๒ ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นข้อที่ ๓ ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสัจเป็นข้อที่ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำอริยสัจ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วอย่างนี้แล.

 [๑๖๙๑]
พ. ดูกรภิกษุ ดีละๆ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้วได้ถูกต้อง เราแสดง ทุกขอริยสัจ เป็นข้อที่ ๑ เธอทรงจำได้ เราแสดงทุกขสมุทยอริสัจ 1 เป็นข้อที่ ๒ เธอก็ทรงจำได้ เราแสดงทุกขนิโรธอริยสัจเป็นข้อที่ ๓ เธอก็ทรงจำได้ เราแสดง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจเป็นข้อที่ ๔ เธอก็ทรงจำได้ เธอจงทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้ว อย่างนี้แล ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำ ความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๕

1692

ธารณสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการทรงจำอริยสัจ ๔ อย่างถูกต้อง
[๑๖๙๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงไว้แล้วเถิด เมื่อพระผู้มี พระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ทรงจำได้ซึ่งอริยสัจ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว.

พ. ดูกรภิกษุ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้วอย่างไร ?

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ ๑ ที่พระผู้มี พระภาค ทรง แสดงแล้วก็สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้ไม่ใช่ทุกข อริยสัจข้อที่ ๑ ที่พระสมณโคดมทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิกทุกข อริยสัจข้อที่ ๑ นั้นเสียแล้วบัญญัติ ทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ

ข้าพระองค์ทรงจำทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจเป็นข้อที่ ๔ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง แล้วก็สมณะ หรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้มิใช่ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจข้อที่ ๔ ที่พระสมณโคดมทรงแสดงไว้ เราจัก บอกเลิก ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา-อริยสัจข้อที่ ๔ นั้นเสีย แล้วบัญญัติทุกข นิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจที่ ๔ อย่างอื่นใหม่ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้าแต่พระองค์ผู้ เจริญข้าพระองค์ ทรงจำ อริยสัจ ๔ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้วอย่างนี้แล.

[๑๖๙๓]
พ. ดูกรภิกษุ ดีละๆ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้วได้ถูกต้อง เราแสดง ทุกขอริยสัจ เป็นข้อที่ ๑ เธอก็ทรงจำได้ ก็สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้มิใช่ทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ ที่พระสมณโคดมทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิกทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ นั้นเสีย แล้วบัญญัติทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ

เราแสดงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นข้อที่ ๔ เธอก็ทรงจำได้ ก็สมณะหรือ พราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้มิใช่ทุกขนิโรธคามินี-ปฏิปทา อริยสัจข้อที่ ๔ ที่พระสมณ โคดมทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิกทุกขนิโรธคามินี-ปฏิปทาอริยสัจข้อที่ ๔ นั้นเสีย แล้วบัญญัติ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจข้อที่ ๔อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้ เธอจงทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้ว อย่างนี้แลดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึง กระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความ เป็นจริง ว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
จบ สูตรที่ ๖

1694

อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา
[๑๖๙๔]
ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าวิชชาๆ ดังนี้วิชชาเป็นไฉน และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงจะชื่อว่า ตก อยู่ในวิชชา ?  พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ 1 ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุให้เกิดทุกข์ ในความดับทุกข์ ในทางที่จะให้ถึงความดับทุกข์

นี้เรียกว่าอวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๗

1695

วิชชาสูตร
ว่าด้วยวิชชา
[๑๖๙๕]
ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ ผู้เจริญ ที่เรียกว่า วิชชาๆดังนี้ วิชชาเป็นไฉน และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงจะชื่อว่า ถึงวิชชา ? พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรภิกษุ ความรู้ในทุกข์ ในเหตุให้เกิดทุกข์ ในความดับทุกข์ ในทางที่ให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมชื่อว่าถึง วิชชา ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้น แหละ เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๘

1696

สังกาสนสูตร
ว่าด้วยบัญญัติแห่งอริยสัจ ๔
[๑๖๙๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราบัญญัติว่า นี้เป็นทุกขอริยสัจ อักขระ พยัญชนะการจำแนก ในทุกขอริยสัจนั้น หาประมาณมิได้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ นี้เป็นทุกข-อริยสัจ ฯลฯ เราบัญญัติว่า นี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อักขระ พยัญชนะการจำแนก ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจนั้น หาประมาณมิได้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ นี้เป็นทุกข นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละเธอ ทั้งหลายพึงกระทำ ความเพียรเพื่อรู้ตาม ความเป็นจริงว่านนี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ ทุกขนิโรธ-คามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๙

1697

ตถสูตร
ว่าด้วยของจริงแท้ ๔ อย่าง
[๑๖๙๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๔ อย่างนี้ เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่นสิ่ง ๔ อย่าง เป็นไฉน ? สิ่งนี้ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์นี้ทางให้ถึง ความดับทุกข์ เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น สิ่ง ๔ อย่างนี้เป็น ของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละเธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัยนี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ ธรรมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ตถาคตสูตรที่ ๑ ๒. ตถาคตสูตรที่ ๒
๓. ขันธสูตร ๔. อายตนสูตร
๕. ธารณสูตรที่ ๑ ๖. ธราณสูตรที่ ๒
๗. อวิชชาสูตร ๘. วิชชาสูตร
๙. สังกาสนสูตร ๑๐. ตถสูตร


โกฏิคามวรรคที่ ๓

1698

วัชชีสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการตรัสรู้และไม่ตรัสรู้อริยสัจ ๔
[๑๖๙๘]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โกฏิคามในแคว้นวัชชี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี พระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอด อริยสัจ ๔ เราด้วยเธอทั้งหลายด้วย จึงแล่นไป ท่องเที่ยวไปยัง สังสารวัฏนี้ตลอดกาลนาน อย่างนี้อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้ แทงตลอดทุกขอริยสัจ ๑ ทุกข-สมุทยอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจ ๑ เราด้วยเธอ ทั้งหลายด้วย จึงแล่นไป ท่องเที่ยวไปยังสังสารวัฏนี้ ตลอดกาลนานอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย ตรัสรู้แล้ว แทง ตลอดแล้ว ทุกขสมุทยอริยสัจ... ทุกขนิโรธอริยสัจ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ เราด้วยเธอ ทั้งหลายด้วย ตรัสรู้แล้วแทงตลอดแล้ว ตัณหาในภพ ขาดสูญแล้ว ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพ สิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีพระผู้มีพระภาค ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า

[๑๖๙๙]
เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริงเราและเธอทั้งหลาย ได้ท่องเที่ยวไป ในชาตินั้นๆ ตลอดกาลนานอริยสัจ ๔ เหล่านี้ เราและเธอทั้งหลายเห็นแล้ว ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพ ถอนขึ้นได้แล้วมูลแห่งทุกข์ตัดขาดแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.
จบ สูตรที่ ๑

1700

วัชชีสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการรู้ชัดและไม่รู้ชัดอริยสัจ ๔
[๑๗๐๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่านี้ทุกข์... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่นับว่าเป็น สมณะ ในพวกสมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์ และท่านเหล่านั้น ยังไม่ กระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

[๑๗๐๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้นนับว่าเป็น สมณะใน พวกสมณะ และนับว่าเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์ และท่านเหล่านั้นกระทำ ให้แจ้ง แล้ว ซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ และประโยชน์แห่งความเป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ศาสดา ครั้นได้ตรัส ไวยากรณภาษิต นี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า

[๑๗๐๒]
ชนเหล่าใดย่อมไม่รู้ชัดซึ่งทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ความดับทุกข์ โดยประการ ทั้งปวง ไม่มีเหลือและไม่รู้ชัด ซึ่งทางให้ถึงความสงบ ทุกข์ชนเหล่านั้นเสื่อมแล้ว จากเจโตวิมุติ และปัญญาวิมุติไม่ควรเพื่อกระทำที่สุดทุกข์ เข้าถึงชาติและชรา โดยแท้ส่วนชนเหล่าใด ย่อมรู้ชัดซึ่งทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ความดับทุกข์ โดยประการทั้งปวงไม่มีเหลือ และรู้ชัด ซึ่งทางให้ถึง ความสงบทุกข์ชนเหล่านั้น ถึงพร้อมแล้วด้วยเจโตวิมุติ และปัญญาวิมุติ ควรเพื่อกระทำที่สุดทุกข์ ไม่เข้าถึงชาติและชรา.
จบ สูตรที่ ๒

1703

สัมมาสัมพุทธสูตร
ว่าด้วยความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๑๗๐๓]
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการนี้แล ตามความเป็นจริง ตถาคตเขา จึงกล่าวว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละเธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯนี้ทุกขนิโรธค มินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๓

1704

อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๑๗๐๔]
พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด ในอดีตกาล ตรัสรู้แล้วตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดนั้น ตรัสรู้แล้วซึ่ง อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ถึงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เหล่าใดเหล่าหนึ่งใน อนาคตกาล จักตรัสรู้ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าทั้งหมดแล้ว จักตรัสรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ถึงพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน ตรัสรู้อยู่ตามความเป็นจริง

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดนั้นตรัสรู้อยู่ซึ่ง อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ?  คือ ทุกขอริยสัจ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็พระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ตรัสรู้แล้วตาม ความเป็นจริง... จักตรัสรู้... ตรัสรู้อยู่ตามความเป็นจริงพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าทั้งหมดนั้น ตรัสรู้อยู่ซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำ ความเพีย รเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๔

1705

สอาวักขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นอาสวะ
[๑๗๐๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะของผู้รู้ ผู้เห็น ไม่กล่าวความสิ้น อาสวะของ ผู้ไม่รู้ไม่เห็น ก็ความสิ้นอาสวะ ของผู้รู้อะไร ผู้เห็นอะไร ? ความสิ้นอาสวะของผู้รู้เห็นว่า นี้ทุกข์... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้น อาสวะของผู้รู้อย่างนี้ ผู้เห็นอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุก ขนิโรธคามินปี ฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๕

1706

มิตตสูตร
ว่าด้วยการอนุเคราะห์มิตร
[๑๗๐๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เธอทั้งหลายจะพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใด เหล่าหนึ่งและชน เหล่าใด จะเป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต ก็ตาม จะพึงสำคัญถ้อยคำว่า เป็นสิ่งที่ตนควรเชื่อ ฟังชนเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่นให้ ประดิษฐานอยู่ในการ ตรัสรู้ อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจ... ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสัจ

ก็เธอทั้งหลายจะพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง...ชนเหล่านั้น เธอทั้งหลาย พึงให้ สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐาน อยู่ในการตรัสรู้อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล ตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละเธอทั้งหลายพึงกระทำ ความเพียร เพื่อรู้ตามความ เป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-คามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๖

1707

ตถสูตร
ว่าด้วยอริยสัจ ๔ เป็นของจริงแท้
[๑๗๐๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ? คือ ทุกข-อริยสัจ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ ๔ ประการนี้แล เป็นของจริงแท้ไม่แปร ผัน ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลายเพราะ ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๗

1708

โลกสูตร
พระตถาคตเป็นอริยะในโลกทั้งปวง
[๑๗๐๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ? คือ ทุกข-อริยสั... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ตถาคตเป็น อริยะในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
จบ สูตรที่ ๘

1709

ปริญเญยยสูตร
ว่าด้วยหน้าที่ในอริยสัจ ๔
[๑๗๐๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ? คือ ทุกข-อริยสัจ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ ๔ ประการนี้แล บรรดาอริยสัจ ๔ ประการนี้ อริยสัจที่ควรกำหนดรู้ ที่ควรละ ที่ควรกระทำให้แจ้ง ที่ควรให้เกิดมี มีอยู่ก็อริยสัจ ที่ควรกำหนดรู้ เป็นไฉน ? ทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทย อริยสัจควรละ ทุกขนิโรธอริยสัจ ควรกระทำให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ ควรให้เกิดมี ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง กระทำความเพียร เพื่อรู้ ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๙

1710

ควัมปติสูตร
ผู้เห็นทุกข์ ชื่อว่าเห็นในสมุทัยนิโรธมรรค
[๑๗๑๐]
สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากรูปอยู่ ณ เมืองสหชนิยะ แคว้นเจดีย์ ก็สมัยนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระ มากรูปกลับจากบิณฑบาต ในเวลา ปัจฉาภัตนั่งประชุมกันใน โรงกลม เกิดสนทนากันขึ้น ในระหว่างประชุมว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดหนอ แลย่อมเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็น แม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกข นิโรธคามินีปฏิปทา.

[๑๗๑๑]
เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระควัมปติเถระได้กล่าว กะ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ฟังมา ได้รับมาในที่เฉพาะ พระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า ผู้ใด ย่อมเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นแม้ทุกข สมุทัย แม้ทุก ขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา ผู้ใดย่อมเห็นทุกขสมุทัยผู้นั้น ชื่อว่าย่อมเห็นแม้ทุกข์ แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้ใดย่อมเห็น ทุกขนิโรธ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็น แม้ทุกข์ แม้ทุกข สมุทัย แม้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาผู้ใดย่อมเห็น ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นแม้ทุกข์ แม้ทุกขสมุทัยแม้ทุกขนิโรธ.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ โกฏิคามวรรคที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรค คือ
๑. วัชชีสูตรที่ ๑ ๒. วัชชีสูตรที่ ๒
๓. สัมมาสัมพุทธสูตร ๔. อรหันตสูตร
๕. อาสวักขยสูตรู ๖. มิตตสูตร
๗. ตถสูตร ๘. โลกสูตร
๙. ปริญเญยยสูตร ๑๐. ควัมปติสูตร



สีสปาปรรณวรรคที่ ๔

1712

สีสปาสูตร
เปรียบสิ่งที่ตรัสรู้มีมากเหมือนใบไม้บนต้น
[๑๗๑๒]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวัน ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้งนั้น พระผู้มี พระภาค ทรงถือใบประดู่ลาย๒-๓ ใบด้วยฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสถามว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่เราถือด้วยฝ่ามือกับใบที่บนต้น ไหนจะมากกว่ากัน ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่พระผู้มีพระภาค ทรงถือด้วยฝ่าพระหัตถ์มีประมาณน้อย ที่บนต้นมากกว่า พระเจ้าข้า.

พ. อย่างนั้น เหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วมิได้บอกเธอทั้งหลายมีมาก ก็เพราะ เหตุไรเราจึงไม่บอก เพราะสิ่งนั้น ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์ เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่บอก.

[๑๗๑๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเราได้บอกแล้ว เราได้บอกแล้วว่า นี้ทุกข์... นี้ทุกข-นิโรธคา มินีปฏิปทา ก็เพราะเหตุไรเราจึงบอก เพราะสิ่งนั้นประกอบด้วย ประโยชน์เป็น พรหมจรรย์ เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย... นิพพาน เพราะฉะนั้นเราจึงบอก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑

1714

ขทิรสูตร
ว่าด้วยการทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะตรัสรู้อริยสัจ ๔
[๑๗๑๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจ... ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจ ตามความเป็นจริงแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ โดยชอบดังนี้ มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้ เปรียบเหมือนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจัก เอาใบตะเคียน ใบทองหลาง หรือใบมะขามป้อม ห่อนํ้าหรือตาลปัตรนำไป ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ฉันใด ผู้ใดพึงกล่าว อย่างนี้ว่าเราไม่ได้ตรัสรู้ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา-อริยสัจ ตามความเป็นจริงแล้ว จักกระทำที่สุดแห่ง ทุกข์โดยชอบ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะ มีได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๗๑๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ตามความเป็นจริงแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ โดยชอบดังนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักเอาใบบัวใบทองกวาว หรือใบย่านทรายห่อนํ้าหรือตาลปัตรนำไป ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ฉันใด

ผู้ใดพึงกล่าว อย่างนี้ว่า เราได้ตรัสรู้ ทุกขอริยสัจ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา-อริยสัจ ตามความเป็นจริง แล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๒

1716

ทัณฑสูตร
ผู้ท่องเที่ยวไปในโลกเพราะไม่เห็นอริยสัจ
[๑๗๑๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนท่อนไม้ที่บุคคลขว้างขึ้นไปบนอากาศแล้ว บางคราว เอาโคนตกลงมาก็มี บางคราวเอา ตอนกลางตกลงมาก็มี บางคราว เอาปลายตกลงมาก็มี ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีนิวรณ์ คืออวิชชา มีตัณหาเป็น เครื่องประกอบ ได้แล่นไปอยู่ ท่องเที่ยวไปอยู่ บางคราวจากโลกนี้ไปสู่ปรโลกก็มี บางคราวจากปรโลกมาสู่โลกนี้ ก็มีฉันนั้น เหมือนกัน ข้อนั้น เพราะเหตุไร ?

เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลายเพราะฉะนั้น แหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำ ความเพียรเพื่อ รู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ฯลฯ นี้ทุกข นิโรธคามินี ปฏิปทา.
จบ สูตรที่๓

1717

เจลสูตร
ให้รีบเพียรเพื่อตรัสรู้ เหมือนรีบดับไฟบนศีรษะ
[๑๗๑๗]
พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อผ้าหรือ ศีรษะ ถูกไฟไหม้แล้ว จะควรกระทำอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว ควรจะกระทำความพอใจความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่าง แรงกล้า เพื่อดับผ้าหรือศีรษะนั้น.
พ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงวางเฉย ไม่ใส่ใจถึงผ้าหรือศีรษะที่ถูกไฟไหม้แล้ว พึงกระทำ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อ ถอยสติและ สัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔ ที่ยังไม่ตรัสรู้ตาม ความเป็นจริงอริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำ ความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
จบ สูตรที่ ๔

1718

สัตติสตสูตร
ว่าด้วยการตรัสรู้อริยสัจ ๔
[๑๗๑๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุร้อยปี พึงกล่าวอย่างนี้กะผู้มีชีวิต อยู่ร้อยปีว่า มาเถิด บุรุษผู้เจริญ ชนทั้งหลายจัก เอาหอกร้อยเล่มทิ่มแทง ท่านในเวลาเช้า... ในเวลาเที่ยง... ในเวลาเย็น ท่านนั้นถูกเขาเอาหอกสามร้อย เล่มทิ่มแทงอยูทุ่กวันๆ มีอายุร้อยปีมีชีวิต อยู่ร้อยปี จักตรัสรู้ อริยสัจ ๔ ที่ยังไม่ได้ ตรัสรู้โดยล่วงร้อยปีไป กุลบุตรผู้เป็นไปในอำนาจแห่ง ประโยชน์ ควรจะรับเอา ข้อนั้น เพราะเหตุไร ?

เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุด แห่งการ ประหารด้วยหอก ดาบ หลาว และขวานย่อมไม่ปรากฏ ฉันใด ก็ข้อนี้ พึงมีได้ฉันนั้นว่า ก็เราไม่กล่าวการตรัสรู้อริยสัจ ๔ พร้อมด้วยทุกข์ โทมนัส แต่เรากล่าว การตรัสรู้อริยสัจ ๔ พร้อมด้วยสุข โสมนัส

อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๕

1719

ปาณสูตร
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพ้นจากอบายใหญ่
[๑๗๑๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงตัดหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ ในชมพู ทวีปนี้ แล้วรวบรวมเข้าด้วยกัน ครั้นแล้วกระทำ ให้เป็นหลาว ครั้นกระทำให้เป็น หลาวแล้ว พึงร้อยสัตว์ขนาดใหญ่ในมหาสมุทรในหลาวขนาดใหญ่ สัตว์ขนาด กลางในหลาว ขนาดกลาง สัตว์ขนาดเล็กในหลาวขนาดเล็ก ก็สัตว์ขนาดเขื่อง ในมหาสมุทรยังไม่ทัน

หมดหญ้า ไม้ กิ่งไม้และใบไม้ในชมพูทวีป พึงถึงความสิ้นไปหมดไปโดยแท้ การที่จะเอา หลาวร้อยสัตว์ขนาดเล็กในมหาสมุทร ซึ่งมีมากกว่าสัตว์ขนาดเขื่อง นั้น มิใช่กระทำได้ง่าย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

เพราะตัวมันเล็ก ฉันใด อบายก็โตใหญ ฉันนั้น บุคคลผู้ถึง พร้อมด้วยทิฏฐิ ? พ้นจาก อบายที่ใหญ่โตอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯนี้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๖

1720

สุริยูปมาสูตรที่ ๑
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อนการตรัสรู้อริยสัจ
[๑๗๒๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือแสงเงิน แสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อนแห่งการตรัสรู้ อริยสัจ ๔ ตามความ เป็นจริง คือ สัมมาทิฏฐิ ฉะนั้นเหมือนกัน อันภิกษุผู้มี ความเห็นชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข นิโรธคามินีปฏิปทา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๗

1721

สุริยูปมาสูตรที่ ๒
พระตถาคตอุบัติความสว่างย่อมปรากฏ
[๑๗๒๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระจันทร์และพระอาทิตย์ ยังไม่เกิดขึ้นในโลกเพียงใด ความปรากฏ แห่ง แสงสว่างแจ่มจ้าอย่างมาก ก็ยังไม่มีเพียงนั้น เวลานั้นมีแต่ ความมืดมิด มีแต่ ความมัว เป็นหมอก กลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ เดือนหนึ่ง และกึ่งเดือนก็ไม่ปรากฏ ฤดูและปีก็ไม่ ปรากฏ

เมื่อใด พระจันทร์และพระอาทิตย์เกิดขึ้นในโลกเมื่อนั้น ความ ปรากฏแห่ง แสงสว่าง แจ่มจ้าอย่างมาก ก็ย่อมมีเวลานั้น ไม่มีความมืดมิดไม่มีความ มัวเป็นหมอก กลางคืน กลางวันปรากฏ เดือนหนึ่ง และกึ่งเดือนก็ปรากฏฤดู และปีก็ ปรากฏ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน

ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันต-สัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่อุบัติขึ้นในโลก เพียงใด ความปรากฏแห่งแสงสว่างแจ่มแจ้งอย่างมากก็ยังไม่มีเพียงนั้น เวลานั้น มีแต่ความมืดมิด มีแต่ความมัวเป็นหมอกการบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การกระทำให้ง่าย ซึ่งอริยสัจ ๔ ก็ยังไม่มี เมื่อใด พระตถาคตอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลก เมื่อนั้น

ความปรากฏแห่งแสงสว่างแจ่มแจ้งอย่างมาก ก็ย่อมมีเวลานั้นไม่มี ความมืดมิด ไม่มีความมัวเป็นหมอก การบอก การแสดง... การกระทำให้ง่าย ซึ่งอริยสัจ ๔ ก็ย่อมมี อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกข-นิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพงึ กระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความ เป็น จริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๘

1722

อินทขีลสูตร
ผู้รู้ตามเป็นจริง ย่อมรู้ผู้อื่นว่ารู้หรือไม่รู้
[๑๗๒๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตาม ความ เป็นจริง ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ย่อมต้องมองดู หน้าของสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่

เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย เป็นของเบา คอยจะลอยไปตามลม บุคคลวาง ไว้ที่ภาคพื้น อันราบเรียบแล้ว ลมทิศบูรพา พึงพัดปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายนั้นไปทาง ทิศ ประจิมได้ ลมทิศ ประจิมพึงพัดเอา ไปทางทิศบูรพาได้ ลมทิศอุดรพึงพัด เอาไปทาง ทิศทักษิณได้ ลมทิศ ทักษิณ พึงพัดเอาไปทางทิศอุดรได้ข้อนั้น เพราะเหตุไร ?

เพราะปุยนุ่น หรือปุยฝ้ายนั้นเป็นของเบาฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลายก็สมณะ หรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมต้องมองดูหน้าของ สมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ข้อนั้น เพราะเหตุไร ?

เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๗๒๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ตามความเป็น จริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่ต้องมอง ดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ เปรียบเหมือนเสาเหล็กหรือเสาหินมีรากลึก เขาฝังไว้ดีแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ถึงแม้ลมฝนอย่างแรงจะพัดมาแต่ทิศบูรพา... ทิศประจิม ...ทิศอุดร... ทิศทักษิณ ก็ไม่สะเทือนสะท้าน หวั่นไหว ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

เพราะรากลึก เพราะเสาหินเขาฝังไว้ดีแล้ว ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ไม่ต้องมองดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

เพราะเห็นอริยสัจ ๔ ดีแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกข อริยสัจ ฯลฯ ทุกข-นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น แหละ เธอทั้งหลายพงึ กระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นที้ กุ ขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๙

1724

วาทีสูตร
ผู้รู้ชัดตามเป็นจริง ไม่หวั่นไหวต่อผู้ยกวาทะ
[๑๗๒๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนงึ่ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีความต้องการ วาทะ ผู้แสวง หาวาทะ พึงมาจากทิศบูรพา... ทิศประจิม... ทิศอุดร... ทิศทักษิณด้วย ประสงค์ว่า จักยกวาทะ ของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นจักสะเทือนสะท้านหรือหวั่นไหว ต่อสมณะหรือ พราหมณ์นั้นโด ยสหธรรม ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้

เปรียบเหมือนเสาหิน ๑๖ ศอก เสาหินนั้นมีรากลึกลงไปข้างล่าง ๘ ศอก ข้างบน ๘ ศอก ถึงแม้ลมฝนอย่างแรงจะพัดมาแต่ทิศบูรพา... ทิศประจิม... ทิศอุดร... ทิศทักษิณ ก็ไม่สะเทือนสะท้านหวั่นไหว ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะรากลึก เพราะเสาหินเขาฝัง ไว้ดีแล้ว ฉันใด

ก็ภิกษุรูป ใดรูปหนึ่ง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์ผู้ต้องการวาทะ ผู้แสวงหาวาทะ พึงมาจาก ทิศบูรพา... ทิศประจิม... ทิศอุดร... ทิศทักษิณ ด้วยประสงค์ว่า จักยกวาทะ ของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นจัก สะเทือนสะท้านหรือหวั่นไหวต่อสมณะ หรือพราหมณ์ นั้นโดยสหธรรมข้อนั้น มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

เพราะเห็นอริยสัจ ๔ ดีแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง กระทำ ความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ สีสปาปรรณวรรคที่ ๔


ปปาตวรรคที่ ๔

1725

จินตสูตร
การคิดเรื่องตายแล้วเกิดหรือไม่ ไม่มีประโยชน์
[๑๗๒๕]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนคร ราชคฤห์ ณที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย มาแล้วตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้วบุรุษ คนหนึ่ง ออกจากเมืองราชคฤห์ เข้าไปยังสระ โบกขรณี ชื่อสุมาคธา ด้วยประสงค์ว่า จักคิดเรื่องโลก ครั้นแล้ว นั่งคิดเรื่องโลกอยู่ ณ ขอบสระโบกขรณีชื่อสุมาคธา เข้าได้เห็น 2 กองทัพประกอบด้วยองค์ ๔ เข้าไปสู่ก้านบัว ที่ขอบสระโบกขรณี ชื่อสุมาคธา ครั้น แล้วได้มีความคิดว่าเราชื่อว่าเป็น คนบ้าชื่อว่า เป็นคน มีจิตฟุ้งซ่านเสียแล้ว เราเห็นสิ่งที่ไม่มีในโลก

ครั้งนั้น บุรุษนั้น เข้าไปยังนครบอกแก่หมู่มหาชนว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เราชื่อว่าเป็น คนบ้า ชื่อว่าเป็นคนมีจิตฟุ้งซ่านเสียแล้ว เราเห็นสิ่งที่ไม่มีในโลก หมู่มหาชนถามว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญท่านเป็นบ้าได้อย่างไร ท่านมีจิตฟุ้งซ่าน อย่างไร สิ่งอะไรที่ไม่มีใน โลกซึ่ง ท่านเห็นแล้ว ? บ.

ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย จะบอกให้ทราบ เราออกจากกรุงราชคฤห์ เข้าไปยัง สระโบก ขรณี ชื่อ สุมาคธา ด้วยประสงค์ว่าจัก คิดเรื่องโลก ครั้นแล้วนั่ง คิดเรืองโลกอยู่ ณ ขอบ สระโบก ขรณีชื่อ สุมาคธา เราได้เห็นกองทัพประกอบ ด้วยองค์ ๔ เข้าไปสู่ก้านบัวที่ขอบ สระโบก ขรณี ชื่อสุมาคธา เราเป็นบ้า ได้อย่างนี้ เรามีจิตฟุ้งซ่านอย่างนี้ ก็สิ่งนี้ไม่มีใน โลก เราเห็นแล้ว.มหา.

ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านเป็นบ้าแน่ ท่านมีจิตฟุ้งซ่านแน่ ก็และสิ่งนี้ไม่มีในโลก ท่านเห็นแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นได้เห็นสิ่งที่เป็นจริง ไม่ใช่ได้เห็นสิ่งที่ ไม่เป็นจริง.

[๑๗๒๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามเทวดากับอสูรประชิดกัน ก็ใน สงครามนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้ ก็พวกอสูรที่แพ้กลัวแล้ว ยังจิตของ พวกเทวดาให้งวยงงอยู่ เข้าไปสู่บุรีอสูรโดยทางก้านบัว เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงอย่าคิดเรื่องโลกว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มี ที่สุด ชีพก็อันนั้นสรีระก็อันนั้น ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย แล้ว ย่อมเป็นอีก
1. ปปาตวรรคที่ ๕ –ผู้รวบรวม
2. เขาได้เห็น -ผู้รวบรวม


สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก ก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีก ก็หามิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

เพราะความคิดนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์ เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

[๑๗๒๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะคิด พึงคิดว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะความคิดนั้น ประกอบด้วยประโยชน์เป็น พรหมจรรย์ เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย. เพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อร้ตู ามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑

1728

ปปาตสูตร
ว่าด้วยเหวคือความเกิด
[๑๗๒๘]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลาย มาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาเถิด เราจักเข้าไปยังยอดเขากั้นเขตแดนเพื่อพักกลางวัน ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระดำรัสของ พระผู้มีพระภาคแล้ว

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมากเสด็จเข้าไปยังยอดเขากั้นเขตแดน ภิกษุรูปหนึ่ง ได้เห็นเหวใหญ่บนยอดเขากั้นเขตแดน ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มี พระภาค ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหวนี้ใหญ่ เหวนี้ใหญ่แท้ๆ เหวอื่นที่ใหญ่กว่า และน่ากลัวกว่าเหว นี้มีอยู่หรือ พระเจ้าข้า ?

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เหวอื่นที่ ใหญ่กว่า และน่ากลัว กว่าเหวนี้มีอยู่. ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เหวอื่นที่ใหญ่กว่าและ น่ากลัวกว่าเหวนี้เป็นไฉน ?

 [๑๗๒๙]
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัด ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์... นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ย่อมยินดี ในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด... เพื่อความแก่... เพื่อความตาย... เพื่อความโศก ความรํ่าไร ความทุกข์ ความโทมนัสและ ความคับแค้นใจ ยินดีแล้ว ย่อมปรุงแต่งสังขาร ทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด บ้าง... และความคับแค้นใจบ้าง

ครั้นปรุงแต่งแล้ว ย่อมตกลงสู่เหวคือความเกิด บ้าง ... และความคับแค้นใจบ้าง เรากล่าวว่า สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่พ้นไปจากความเกิด ความแก่ ความตาย ความเศร้าโศก ความรํ่าไร ความทุกข์ความโทมนัส ความคับแค้นใจ ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์.

[๑๗๓๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่ยินดี ในสังขาร ทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด... และความคับแค้นใจ ไม่ยินดีแล้ว ย่อมไม่ปรุงแต่ง สังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็น ไปเพื่อความเกิด... และความคับแค้นใจ

ครั้นไม่ปรุงแต่งแล้ว ย่อมไม่ตกลงสู่เหว คือความเกิดบ้าง... และความคับแค้นใจ บ้าง เรากล่าวว่า สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมพ้นจาก ความเกิด... และความคับแค้นใจ ย่อมพ้น จากทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความ เพียร เพื่อรู้ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๒


1731
สูตร
ว่าด้วยความเร่าร้อน
[๑๗๓๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นรกชื่อว่ามีความเร่าร้อนมาก มีอยู่ ในนรกนั้น
บุคคลยังเห็นรูป อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยนัยน์ตาได้ (แต่)
เห็นรูปที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่เห็นรูป ที่น่าปรารถนา เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าใคร่
เห็นรูปที่ไม่น่าชอบใจ อย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าชอบใจ

ได้ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยหูได้...
ได้สูดกลิ่น อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยจมูกได้...
ได้ลิ้มรสอย่างใด อย่างหนึ่งด้วยลิ้นได้...
ได้ถูกต้อง โผฏฐัพพะ อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายได้... ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างหนึ่งด้วยใจได้

(แต่) รู้แจ้งรูปที่ไม่น่าปรารถนา อย่างเดียว
ไม่รู้แจ้งรูปที่น่าปรารถนา
รู้แจ้งรูปที่ไม่น่าใคร่ อย่างเดียว
ไม่รู้แจ้งรูปที่น่าใคร่
รู้แจ้งรูปที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว
ไม่รู้แจ้งรูปที่น่าพอใจ.

[๑๗๓๒]
เมอื่ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเจริญ ความเร่าร้อนมากความเร่าร้อนมากแท้ๆ ความเร่าร้อน อื่นที่มากกว่า และน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนนี้ มีอยู่หรือ ?

พ. ดูกรภิกษุ ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่าและ น่ากลัว กว่าความเร่าร้อนนี้มีอยู่.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่า และน่ากลัวกว่าความ เร่าร้อนนี้ เป็นไฉน ?

[๑๗๓๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตาม ความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ย่อมยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ฯลฯ ยินดีแล้ว ย่อมปรุงแต่ง

ครั้นปรุงแต่งแล้ว ย่อมเร่าร้อนด้วยความเร่าร้อน เพราะความเกิด บ้างความแก่ บ้าง ความตายบ้าง ความเศร้าโศก ความรํ่าไร ความทุกข์ ความโทมนัสและ ความคับแค้นใจ บ้าง เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่พ้นไป จากความเกิด... ความคับ แค้นใจ ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์.

[๑๗๓๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ชัดตาม ความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ย่อมไม่ ยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ฯลฯ ไม่ยินดีแล้วย่อมไม่ปรุงแต่ง ครั้นไม่ปรุงแต่งแล้ว ย่อมไม่เร่าร้อน ด้วยความ เร่าร้อนเพราะความเกิด... และความคับแค้นใจ

เรากล่าวว่า สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมพ้นจาก ความเกิด... ความคับ แค้นใจ ย่อมพ้นจาก ทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำ ความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็น จริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๓

1735

กูฎสูตร
ว่าด้วยฐานะที่มีได้และมีไม่ได้
[๑๗๓๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่ตรัสรู้ทุกขอริยสัจตาม ความเป็นจริง แล้ว ฯลฯ ไม่ตรัสรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ตามความ เป็นจริงแล้ว จักกระทำที่สุด แห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่ได้กระทำเรือนชั้นล่าง แล้วจักยก เรือนชั้น บนแห่งเรือนยอดดังนี้

ข้อนี้มืใช่ฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจ ตามความเป็นจริงแล้ว ฯลฯ ไม่ตรัสรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ตามความเป็นจริง แล้วจักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบดังนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น เหมือนกัน.

[๑๗๓๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจตาม ความ เป็นจริง แล้ว ฯลฯ ได้ตรัสรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ตามความเป็นจริง แล้วจักกระทำที่สุด แห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เปรียบ เหมือนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เรากระทำเรือนชั้นล่างแล้ว จักยกเรือนชั้นบนแห่ง เรือนยอดดังนี้

ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่าเราได้ตรัสรู้ ทุกขอริยสัจ ตามความเป็นจริงแล้ว ฯลฯ ได้ตรัสรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ตามความเป็นจริง แล้วจักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่ จะมีได้ ฉันนั้น เหมือนกันดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำ ความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๔

1737

วาลสูตร
ว่าด้วยการแทงตลอดตามความเป็นจริงยาก
[๑๗๓๗]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมือง เวสาลี ครั้งนั้น เวลาเช้าท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาต ในเมืองเวสาลี

ท่านพระอานนท์ได้เห็นลิจฉวีกุมารมากด้วยกัน กำลังทำการยิงศรอยู่ในศาลา สำหรับเรียนศิลปะ ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่ไกล ได้ไม่ผิดพลาด

ครั้นแล้ว ได้มีความคิดว่า พวกลิจฉวีกุมารเหล่านี้ ที่จักยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาดเป็นผู้ศึกษาแล้ว ศึกษาดีแล้ว.

[๑๗๓๘]
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในเมืองเวสาลีแล้ว เวลา ปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน พระวโรกาส เมื่อเวลาเช้าข้าพระองค์นุ่งแล้วถือบาตร และจีวรเข้าไปบิณฑบาตในเมือง เวสาลี ได้เห็น ลิจฉวี กุมารมากด้วยกัน กำลังทำการยิงศรอยู่ในศาลา สำหรับเรียนศิลปะ ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็กแต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด

ครั้นแล้ว ข้าพระองค์ ได้มีความคิดว่า พวกลิจฉวีกุมารเหล่านี้ที่ยิงลูกศร ให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด เป็นผู้ศึกษาแล้ว ศึกษาดีแล้ว

พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อย่างไหนจะทำได้ยาก กว่ากัน หรือจะให้เกิดขึ้นได้ยากกว่ากัน ?

คือการที่ยิง ลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่อง ดาลอันเล็กแต่ที่ไกลได้ ไม่ผิดพลาด กับการแทงปลายขนทรายด้วยปลายขนทราย ที่แบ่งออกแล้วเป็น ๗ ส่วน.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การแทงปลายขนทราย ด้วยปลายขนทราย ที่แบ่ง ออกแล้ว เป็น ๗ ส่วน กระทำได้ยากกว่า และให้เกิดขึ้นได้ยากกว่าพระเจ้าข้า.

พ. ดูกรอานนท์ ชนเหล่าใดย่อมแทงตลอดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข นิโรธคามินีปฏิปทา ชนเหล่านั้น ย่อมแทงตลอด ได้ยากกว่าโดยแท้ เพราะฉะนั้นแหละ

อานนท์ เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๕

1739

อันธการีสูตร
ผู้รู้ตามเป็นจริงไม่ตกไปสู่ที่มืด
[๑๗๓๙]
...ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกันตนรกมีแต่ความทุกข์ มืดคลุ้มมัวเป็นหมอกสัตว์ใน โลกันตนรกนั้น ไม่ได้รับรัศมีพระจันทร์ และพระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก อย่างนี้.

[๑๗๔๐]
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ความมืดนั้นมาก ความมืดนั้นมากแท้ๆ ความมืดอย่างอื่น ที่มากกว่า และน่ากลัวกว่าความมืดนี้ มีอยู่หรือ ?

พ. ดูกรภิกษุ ความมืดอย่างอื่น ที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความมืดนี้มีอยู่.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่า และน่ากลัวกว่าความมืดนี้ เป็นไฉน.

[๑๗๔๑]
พ. ดกู รภิกษุ กส็ มณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยินดี ในสังขาร ทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ฯลฯ

ยินดีแล้วย่อมปรุงแต่ง ครั้นปรุงแต่งแล้ว ย่อมตก ไปสู่ความมืดคือความเกิด... และความคับแค้นใจ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ย่อมไม่พ้นไป จากความเกิด... ความคับแค้นใจ ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์.

 [๑๗๔๒]
ดูกรภิกษุ ส่วนสมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมรู้ชัดตามความเป็น จริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่ยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ฯลฯ ไม่ยินดีแล้ว ย่อมไม่ปรุงแต่งครั้นไม่ปรุง แต่งแล้ว ย่อมไม่ตกไปสู่ความมืดคือความเกิดบ้าง... และความคับแค้น บ้างเรากล่าวว่า

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมพ้นไปจากความเกิด... และความคับแค้นใจ ย่อม พ้นไปจากความทุกข์

ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตาม ความจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๖

1743

ฉิคคฬสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความเป็นมนุษย์ยาก
[๑๗๔๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษโยนแอก ซึ่งมีช่องเดียวลงไปในมหาสมุทร เต่าตาบอดมีอยู่ในมหาสมุทรนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆมันจะโผลขึ้น คราวหนึ่ง ๆ เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เต่าตาบอดนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ จะสอดคอให้เข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้นได้บ้าง หรือหนอ ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าล่วงกาลนานไปบางครั้ง บางคราว เต่าจะสอดคอให้เข้าไปในแอกนั้นได้บ้าง.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เต่าตาบอด ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ สอดคอให้เข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้น ยังจะเร็วกว่า เราย่อมกล่าวความ เป็นมนุษย์ เพราะคนพาลผู้ไปสู่วินิบาตแล้ว คราวเดียวก็หามิได้ ข้อนั้นเพราะ เหตุไร ?

เพราะว่าในวินิบาตนี้ ไม่มีการประพฤติธรรม การประพฤติชอบ การกระทำกุศล การกระทำบุญ มีแต่การเคี้ยวกินกันและกัน การเคี้ยวกิน ผู้มีกำลังน้อยกว่า ย่อมเป็นไป ในวินิบาตนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๗

1744

ฉิคคฬสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการได้ความเป็นมนุษย์ยาก
[๑๗๔๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาปฐพีนี้มีนํ้าเป็นอันเดียวกัน บุรุษโยนแอก ซึ่งมี ช่องเดียวลงไปในมหาปฐพีนั้น ลมทิศบูรพาพัดเอาแอกนั้น ไปทางทิศ ประจิม ลมทิศ ประจิมพัดเอาไปทางทิศบูรพา ลมทิศอุดรพัดเอาไปทางทิศ ทักษิณ ลมทิศทักษิณพัด เอาไปทางทิศอุดร เต่าตาบอดมีอยู่ในมหาปฐพีนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆมันจะโผล่ขึ้น คราวหนึ่งๆ

เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เต่าตาบอดนั้นต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้น คราวหนึ่งๆ จะสอดคอให้เข้าไปในแอก ซึ่งมีช่องเดียวโน้นได้บ้าง หรือหนอ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่เต่าตาบอด ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ จะสอดคอเข้าไปในแอก ซึ่งมีช่องเดียวโน้น เป็นของยาก.พ. ฉันนั้น

ภิกษุทั้งหลาย การได้ความเป็นมนุษย์เป็นของยาก พระตถาคต-อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลก เป็นของยาก

ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วจะรุ่งเรืองในโลก ก็เป็นของยาก ความเป็น มนุษย์นี้ เขาได้แล้ว พระตถาคตอรหันต-สัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติแล้วในโลก และธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้วก็รุ่งเรืองอยู่ในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๘

1745

สิเนรุสูตรที่ ๑
ทุกข์ของพระอริยบุคคลหมดไปมากกว่าที่เหลือ
[๑๗๔๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเก็บก้อนหิน ประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนแห่งขุนเขาสิเนรุราช เธอจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนหินประมาณ เท่าเมล็ด ถั่วเขียว ๗ ก้อนที่บุรุษเก็บแล้วกับขุนเขาสิเนรุราช อย่างไหน จะมากกว่ากัน ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุราชมากกว่า ก้อนหิน ประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว๗ ก้อนที่บุรุษเก็บแล้ว น้อยกว่าเมื่อเทียบกับ ขุนเขาสิเนรุราช แล้ว ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อน ที่บุรุษนั้น เก็บไว้แล้ว ย่อมไม่ถึงซึ่ง การนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.พ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ1ตรัสรู้แล้ว ผู้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาที่สิ้นไป หมดไปแล้ว มากกว่าที่ยังเหลือมีประมาณน้อย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบหรือแม้ส่วนเสี้ยว เมื่อเทียบกับกองทุกข์อันมีในก่อนที่สิ้นไป หมดไปแล้ว อย่างสูงเพียง ๗ ชาติ ฉันนั้น เหมือนกัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความ เป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุก ขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๙

1746

สิเนรุสูตรที่ ๒
ทุกข์ของพระอริยบุคคลหมดไปมากกว่าที่เหลือ
[๑๗๔๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนขุนเขาสิเนรุราชพึงถึงความสิ้นไป หมดไปเว้น ก้อนหิน ประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ขุนเข าสิเนรุราชที่สิ้นไป หมดไป กับก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่ อย่างไหนจะมากกว่ากัน ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุราชที่สิ้นไป หมดไป นี้แหละมากกว่า ก้อนหินประมาณ เท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่ น้อยกว่า เมื่อเทียบกับขุนเขาสิเนรุราชที่สิ้นไป หมดไป ก้อนหินประมาณเท่า เมล็ด ถั่วเขียว ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่ ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิตรัสรู้ แล้ว ผู้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาที่สิ้นไป หมดไปแล้ว มากกว่าที่ยังเหลือมีประมาณน้อย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบหรือ แม้ส่วนเสี้ยว เมื่อเทียบกับกองทุกข์อันมีในก่อนที่สิ้นไป หมดไปแล้ว อย่างสูงเพียง ๗ ชาติ ฉันนั้นเหมือนกัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความ เป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑๐
1. ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ -ผู้รวบรวม
จบ ปปาตรวรรค 1 ที่ ๕

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จินตสูตร ๒. ปปาตสูตร
๓. ปริฬาหสูตร ๔. กูฏสูตร
๕. วาลสูตร ๖. อันธการีสูตร
๗. ฉิคคฬสูตรที่ ๑ ๘. ฉิคคฬสูตรที่ ๒
๙. สิเนรุสูตรที่ ๑ ๑๐. สิเนรุสูตรที่ ๒



อภิสมยวรรคที่ ๖


1747

นขสิขาสูตร
ว่าด้วยทุกข์ของพระอริยะเท่ากับฝุ่นที่ปลายเล็บ
[๑๗๔๗]
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อย ไว้ที่ปลายพระนขาแล้ว ตรัส เรียกภิกษุ ทั้งหลายมาแล้ว ตรัสถามว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อย ที่ปลายเล็บที่เราช้อนขึ้นนี้กับมหาปฐพีนี้ อย่างไหนจะมากกว่ากัน ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาปฐพีมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อย ที่ปลายพระนขา อันพระผู้มีพระภาคทรงช้อนขึ้นนี้ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับ มหาปฐพีแล้ว ฝุ่นเล็กน้อยที่ปลายพระนขาที่พระผู้มีพระภาคช้อนขึ้น แล้วย่อม ไม่ถึงซึ่งการนับ การ เปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ผู้สมบูรณวยทิฏฐิ ผู้ตรัสรู้ ผู้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี-ปฏิปทา ที่สิ้นไป หมดไป มากกว่า ที่ยังเหลือมีประมาณน้อย ย่อมไม่ถึงซึ่งการ นับการเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว เมื่อเทียบกับกองทุกข์อันมีในก่อนที่สิ้นไป หมดไปแล้ว อย่างสูงเพียง ๗ ชาติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-คามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑

1748

โปกขรณีสูตร
ว่าด้วยทุกข์ของพระอริยะเท่ากับนํ้าปลายหญ้าคา
[๑๗๔๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสระโบกขรณี โดยยาว ๕๐ โยชน์ โดยกว้าง๕๐ โยชน์ สูง ๕๐ โยชน์ เต็มด้วยนํ้าเปี่ยมฝั่ง กาดื่มกินได้ บุรุษเอาปลายหญ้าคา จุ่มน้ำขึ้นจากสระนั้น เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำที่ขาเอา ปลายหญ้าคา จุ่มขึ้น กับนํ้าในสระโบกขรณี ไหนจะมากกว่ากัน ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นํ้าในสระโบกขรณีมากกว่า นํ้าที่เขาเอาปลายหญ้าคาจุ่มขึ้นมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำในสระโบกขรณี แล้ว น้ำที่ี่ ขาเอาปลายหญ้าคาจุ่ม ขึนย่อมไม่ถึง ซึ่งการนับ การเปรียบเทียบหรือ แม้ส่วนเสี้ยว.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข-นิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๒

1749

สัมเภชชสูตรที่ ๑
เปรียบทุกข์ที่ยังเหลือเท่ากับหยดนํ้า
[๑๗๔๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่นํ้าใหญ่เหล่านี้ คือ แม่นํ้าคงคา ยมุนาอจิรวดี สรภู มหี ย่อมไหลไปไม่ขาดสายในที่ใด บุรุษตักนํ้า ๒-๓ หยดขึ้นจากที่นั้น เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นํ้า ๒-๓ หยดที่เขาตักขึ้น กับนํ้า ที่ไหลไปประจบกัน ไหนจะมากกว่ากัน ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำที่ไหลไปประจบมากกว่าน้ำ  ๒-๓ หยด ที่เขาตักขึ้น มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับนํ้าที่ไหลไปประจบกัน นํ้า ๒-๓ หยดที่เขาตักขึ้น ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.
พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข-นิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๓

1750

สัมเภชชสูตรที่ ๒
เปรียบทุกข์ที่หมดไปเท่ากับนํ้าในแม่นํ้า
[๑๗๕๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่นํ้าใหญ่เหล่านี้ คือ แม่นํ้าคงคา ยมุนาอจิรวดี สรภู มหี ย่อมไหลไปไม่ขาดสายในที่ใด นํ้านั้น พึงถึงความสิ้นไป หมดไป ยังเหลือนํ้า ๒-๓ หยด เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเทียบนํ้า ที่ไหลไปประจบกัน ซึ่งสิ้นไป หมดไป กับนํ้า ๒-๓ หยดที่ยังเหลือ ไหนจะมากกว่ากัน ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำที่ไหลไปประจบกัน ซึ่งสิ้นไป หมดไป มากกว่าน้ำ ๒-๓ หยดที่ยังเหลืออยู่ น้อยกว่า เมื่อเทียบกับน้ำที่ไหลไป ประจบกัน ซึ่งสิ้นไป หมดไปแล้ว น้ำ ๒-๓ หยดที่ยังเหลืออยู่ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว. พ. ฉันนั้นเหมือนกัน

ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯเธอทั้งหลายพึงกระทำ ความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-คามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๔

1751

ปฐวีสูตรที่ ๑
เปรียบทุกข์ที่ยังเหลือเท่ากับก้อนดิน
[๑๗๕๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเก็บก้อนดินประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ก้อนจากแผ่นดินใหญ่ เธอทั้งหลายจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนดิน ประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน ที่เขาเก็บไว้ กับแผ่นดินใหญ่ไหนจะ มากกว่ากัน ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่มากกว่าก้อน ดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน ที่เขาเก็บไว้ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดิน ใหญ่ ก้อนดินประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน ที่เขาเก็บไว้ ย่อมไม่ถึงซึ่งการ นับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน

ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำ ความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-คามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๕

1752

ปฐวีสูตรที่ ๒
เปรียบทุกข์ที่หมดไปเท่ากับแผ่นดิน
[๑๗๕๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แผ่นดินใหญ่พึงถึงความสิ้นไป หมดไป ยังเหลือก้อนดิน ประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไหน 1ความหมดไป สิ้นไป ของแผ่นดินใหญ่ กับก้อนดินประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่ยังเหลือ ไหนจะมากกว่ากัน ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่หมดไป สิ้นไป มากกว่า ก้อนดินประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน ที่ยังเหลืออยู่ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ที่หมดไป สิ้นไป ก้อนดินประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน ที่ยังเหลืออยู่ ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว. พ. ฉันนั้นเหมือนกัน

ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯเธอทั้งหลายพึงกระทำความ เพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯนี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๖

1753

สมุททสูตรที่ ๑
เปรียบทุกข์ที่เหลือเท่ากับหยดนํ้า
[๑๗๕๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษตักนํ้ามหาสมุทร ๒-๓ หยด เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นํ้า ๒-๓ หยดที่เขาตักขึ้น กับนํ้าในมหาสมุทรไหน จะมากกว่ากัน ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นํ้าในมหาสมุทรมากกว่านํ้า ๒-๓ หยด ที่เขาตักขึ้นมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับนํ้าในมหาสมุทร นํ้า ๒-๓ หยดที่เขาตักขึ้น ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบหรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๗

1754

สมุททสูตรที่ ๒
เปรียบทุกข์ที่หมดเท่ากับมหาสมุทร
[๑๗๕๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรพึงถึงความสิ้นไป หมดไปยังเหลือนํ้า ๒-๓ หยด เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน นํ้าในมหาสมุทรที่สิ้นไป หมดไป กับนํ้า ๒-๓ หยด ที่ยังเหลือ ไหนจะมากกว่ากัน ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทรที่สิ้นไป หมดไปมากกว่าน้ำ ๒-๓ หยดที่ยังเหลือมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับนํ้าใน มหาสมุทรที่สิ้นไป หมดไป นํ้า ๒-๓ หยดที่ยังเหลือ ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯเธอทงั้ หลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-คามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๘

1755

ปัพพตูปมาสูตรที่ ๑
เปรียบทุกข์ที่เหลือเท่ากับก้อนหิน
[๑๗๕๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเก็บก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด๗ ก้อน แห่งขุนเขาหิมวันต์ เธอทั้งหลายจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนหิน ประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน ที่เขาเก็บไว้ กับขุนเขาหิมวันต์ ไหนจะมากกว่ากัน ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมวันต์มากกว่า ก้อนหิน ประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ก้อน ที่เขาเก็บไว้ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับ ขุนเขาหิมวันต์ ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน ที่เขาเก็บไว้ย่อมไม่ถึง ซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯเธอทงั้ หลายพึงกระทำความเพียร เพิ่อรู้ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-คามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๙

1756

ปัพพตูปมาสูตรที่ ๒
เปรียบทุกข์ที่หมดไปเท่ากับขุนเขา
[๑๗๕๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนขุนเขาหิมวันต์ พึงถึงความสิ้นไป หมดไปยัง เหลือก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน ขุนเขาหิมวันต์ที่สิ้นไป หมดไป กับก้อนหินประมาณเท่าเมล็ด ผักกาด ๗ก้อน ที่ยังเหลืออยู่ ไหนจะมากกว่ากัน ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมวันต์ที่สิ้นไป หมดไป มากกว่าก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน ที่ยังเหลืออยู่ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับขุนเขาหิมวันต์ที่สิ้นไป หมดไป ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน ที่ยังเหลืออยู่ ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็น อริยสาวก ผู้สมบูรณ์ ด้วยทิฏฐิ ผู้ตรัสรู้ ผู้รู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์  นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ที่สิ้นไป หมดไป มากกว่า ที่ยังเหลือมีประมาณน้อย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับการ เปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว เมื่อเทียบกับกองทุกข์อันมีในก่อนที่สิ้นไป หมดไป อย่างสูงเพียง ๗ ชาติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ อภิสมยวรรคที่ ๖

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. นขสิขาสูตร ๒. โปกขรณีสูตร
๓. สัมเภชชสูตรที่ ๑ ๔. สัมเภชชสูตรที่ ๒
๕. ปฐวีสูตรที่ ๑ ๖. ปฐวีสูตรที่ ๒
๗. สมุททสูตรที่ ๑ ๘. สมุททสูตรที่ ๒
๙. ปัพพตูปมาสูตรที่ ๑ ๑๐. ปัพพตูปมาสูตรที่ ๒



อามกธัญญเปยยาล ปฐมวรรคที่ ๗

1757

อัญญตรสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มาเกิดในมนุษย์น้อย
[๑๗๕๗]
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อยไว้ในปลายพระนขา แล้วตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนขึ้นไว้ในปลายเล็บกับแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาค ทรงช้อนไว้ในปลาย พระนขา มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ ในปลาย พระนขา ย่อมไม่ถึงซ่งึ การนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อยโดยที่แท้ สัตว์ที่กลับมาเกิดนอกจากมนุษย์ มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะไม่ได้เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ?  คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินี-ปฏิปทาอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑

1758

ปัจจันตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มาเกิดในปัจจันตชนบทมาก
[๑๗๕๘]
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อยไว้ในปลายพระนขา แล้วตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนขึ้นไว้ในปลายเล็บ กับแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ในปลาย พระนขามีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ในปลาย พระนขา ย่อมไม่ถึงซ่งึ การนับ การเปรียบเทียบหรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบทมีประมาณน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่กลับมาเกิดในปัจจันตชนบท มีมากกว่า ที่กลับมาเกิดในพวกมิลักขะ ซึ่งเป็นพวกที่ไม่รู้แจ้ง ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๒

1759

ปัญญาสูตร
ว่าด้วยสัตว์มีปัญญาจักษุน้อย
[๑๗๕๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้ประกอบด้วยปัญญาจักษุ อันเป็น อริยะมีประมาณน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ตกไปใน อวิชชา เป็นผู้งมงาย มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๓

1760-5

สุราเมรยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้งดเว้นการดื่มนํ้าเมามีน้อย
[๑๗๖๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการดื่มนํ้าเมา คือสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการดื่ม นํ้าเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๔

อุทกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เกิดในนํ้ามีมาก

[๑๗๖๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกิดบนบกมีน้อย โดยที่แท้สัตว์ที่เกิด ในนํ้า มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๕

มัตเตยยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เกื้อกูลมารดามีน้อย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่มารดามีน้อย โดยที่แท้สัตว์ ผู้ไม่เกื้อกูลแก่มารดา มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๖

เปตเตยยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เกื้อกูลบิดามีน้อย

[๑๗๖๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่บิดามีน้อย โดยที่แท้สัตว์ ผู้ไม่เกื้อกูลแก่บิดา มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๗

สามัญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เกื้อกูลสมณะมีน้อย

[๑๗๖๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่สมณะมีน้อย โดยที่แท้สัตว์ ผู้ไม่เกื้อกูลแก่สมณะ มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๘

พราหมัญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์เกื้อกูลพราหมณ์มีน้อย

[๑๗๖๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่พราหมณ์มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่พราหมณ์ มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๙

อปจายิกสูตร 1
ว่าด้วยสัตว์ผู้อ่อนน้อมต่อผู้เจริญมีน้อย

[๑๗๖๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้นอบน้อมต่อบุคคลผู้เจริญ ในสกุล มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่นอบน้อมต่อบุคคลผู้เจริญในสกุล มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑๐

จบ อามกธัญญเปยยาล ปฐมวรรคที่ ๗
1. ขัอสังเกต : พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬา ฯ และฉบับเฉลิมพระเกียรติ ฯ ใช้ชื่อพระสูตรนี้ว่า “ปจายิกสูตร” –ผู้รวบรวม

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัญญตรสูตร ๒. ปัจจันตสูตร
๓. ปัญญาสูตร ๔. สุราเมรยสูตร
๕. อุทกสูตร ๖. มัตเตยยสูตร
๗. เปตเตยยสูตร ๘. สามัญญสูตร
๙. พราหมัญญสูตร ๑๐. อปจายิกสูตร


อามกธัญญเปยยาล ทุติยวรรคที่ ๘

1766

ปาณาติปาตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นปาณาติบาตมีน้อย
[๑๗๖๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เว้นจากปาณาติบาต มีน้อยโดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เว้นจากปาณาติบาต มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑

1767

อทินนาทานสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นอทินนาทานมีน้อย
[๑๗๖๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากอทินนาทาน มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากอทินนาทาน มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๒

1768

กาเมสุมิจฉาจารสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นกาเมสุมิจฉาจารมีน้อย
[๑๗๖๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้น 1 กาเมสุมิจฉาจาร มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๓

1769

มุสาวาทสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นมุสาวาทมีน้อย
[๑๗๖๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากมุสาวาท มีน้อยโดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากมุสาวาท มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๔

1770

เปสุญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นคำส่อเสียดมีน้อย
[๑๗๗๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากคำส่อเสียด มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากคำส่อเสียด มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๕

1771

ผรุสสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นคำหยาบมีน้อย
[๑๗๗๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากคำหยาบ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากคำหยาบ มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๖

1772

สัมผัปปลาปสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการเพ้อเจ้อมีน้อย
[๑๗๗๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากคำเพ้อเจ้อ มีน้อยโดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากคำเพ้อเจ้อ มีมากกว่า ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๗

1773

พีชสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการพรากพืชคามมีน้อย
[๑๗๗๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการพรากพืชคามและภูตคาม มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้น จากการพรากพืชคามและภูตคามมีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๘

1774

วิกาลโภชนสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นบริโภคในเวลาวิกาลมีน้อย
[๑๗๗๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลา วิกาล มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้น จากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๙

1775

คันธวิเลปนสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นเครื่องลูบไล้มีน้อย
[๑๗๗๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการทัดทรง ประดับและ ตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอมและเครื่อง ประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการ แต่งตัว มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการทัดทรงประดับ และตกแต่ง ร่างกาย ด้วยดอกไม้ ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐาน แห่งการ แต่งตัวมีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ อามกธัญญเปยยาล ทุติยวรรคที่ ๘

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปาณาติปาตสูตร ๒. อทินนาทานสูตร
๓. กาเมสุมิจฉาจารสูตร ๔. มุสาวาทสูตร
๕. เปสุญญสูตร ๖. ผรุสสูตร
๗. สัมผัปปลาปสูตร ๘. พีชสูตร
๙. วิกาลโภชนสูตร ๑๐. คันธวิเลปนสูตร


อามกธัญญเปยยาล ตติยวรรคที่ ๙


1766

นัจจสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นจากการฟ้อนรำมีน้อย
[๑๗๗๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้องประโคม ดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการ ฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑

1777

สยนสูตร
ว่าด้วยสัตว์เว้นการนั่งนอนในที่นั่งนอนสูงใหญ่มีน้อย
[๑๗๗๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอน อันสูงใหญ่ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้น จากการนั่งนอน บนที่นั่งที่นอน อันสูงใหญ่ มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๒

1778

รชตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับเงินทองมีน้อย
[๑๗๗๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับทองและเงินมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับทองและเงิน มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๓

1779

ธัญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นจากการรับธัญญชาติดิบมีน้อย
[๑๗๗๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับธัญญชาติดิบมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับ ธัญญชาติดิบ มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๔

1780

มังสสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับเนื้อดิบมีน้อย
[๑๗๘๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับเนื้อดิบ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับเนื้อดิบ มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๕

1781

กุมาริกาสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับเด็กหญิงมีน้อย
[๑๗๘๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับสตรีและกุมารีมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับสตรี และกุมารี มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๖

1782

ทาสีสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับทาสมีน้อย
[๑๗๘๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับทาสีและทาสมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับทาสี และทาส มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๗

1783

อเชฬกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับแพะแกะมีน้อย
[๑๗๘๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับแพะ และแกะมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับแพะ และแกะ มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๘

1784

กุกกุฏสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับไก่และสุกรมีน้อย
[๑๗๘๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับไก่ และสุกร มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับไก่และสุกร มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๙

1785

หัตถีสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับช้างมีน้อย
[๑๗๘๕]
ดูกรภิกษุทงั้ หลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับช้างโคม้า และลา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้น จากการรับช้าง โค ม้า และลา มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ อามกธัญญเปยยาล ตติยวรรคที่ ๙

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. นัจจสูตร ๒. สยนสูตร
๓. รชตสูตร ๔. ธัญญสูตร
๕. มังสสูตร ๖. กุมาริกาสูตร
๗. ทาสีสูตร ๘. อเชฬกสูตร
๙. กุกกุฏสูตร ๑๐. หัตถีสูตร


อามกธัญญเปยยาล

1786

จตุตถวรรคที่ ๑๐

ว่าด้วยสัตว์ผู้มีการทำต่างๆ กัน
[๑๗๘๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับไร่นา และที่ดิน มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับไร่นา และที่ดิน มีมากกว่า ฯลฯ.

[๑๗๘๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการซื้อ และการขายมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการซื้อ และการขาย มีมากกว่า ฯลฯ.

[๑๗๘๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการประกอบ ทูตกรรมและ การรับใช้ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้น จากการประกอบทูตกรรม และการ รับใช้มีมากกว่า ฯลฯ.

[๑๗๘๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกง ด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกง ด้วยเครื่องตวงวัด มีมากกว่า ฯลฯ.

[๑๗๙๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับสินบน การล่อลวง และการทำของปลอม มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับสินบน การล่อลวงและการทำของปลอม มีมากกว่า ฯลฯ.

[๑๗๙๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการตัด การฆ่าการจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก มีมากกว่า ฯลฯ.

 [๑๗๙๒]
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นไว้ในปลายพระนขาแล้ว ตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาแล้ว ตรัสถามว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนไว้ในปลายเล็บกับแผ่นดินใหญ่ ไหนจะ มากกว่ากัน ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ ที่ปลายพระนขามีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ ที่ปลาย พระนขา ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติในพวกมนุษย์แล้วกลับมาเกิด ในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ ไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก มีมากกว่า ฯลฯ.

[๑๗๙๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะกลับมาเกิด ในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติ จากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิด ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน มีมากกว่า ฯลฯ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะกลับมาเกิด ในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจาก มนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ.

[๑๗๙๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากเทวดาแล้ว จะกลับมาเกิดใน พวกเทวดามีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจาก เทวดาไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ.

[๑๗๙๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากเทวดาแล้ว จะกลับไปเกิด ในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจาก เทวดาไปแล้ว กลับไปเกิดใน นรกในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ.

[๑๗๙๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว จะกลับไปเกิด ในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจาก นรกไปแล้ว กลับไปเกิด ในนรกในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ

 [๑๗๙๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว จะกลับไปเกิด ในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจาก นรกไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ

[๑๗๙๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปแล้ว กลับไปเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ไปแล้วกลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ.

[๑๗๙๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปแล้ว จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไปแล้วกลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ.
[๑๘๐๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว จะกลับ ไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจาก ปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ.

[๑๘๐๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว จะกลับ ไปเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจาก ปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก มีมากกว่า ฯลฯ.

[๑๘๐๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว จะกลับ ไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจาก ปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน มีมากกว่า ฯลฯ.

[๑๘๐๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว จะกลับ ไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจาก ปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดในปิตติวิสัย มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ?

คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาพระผู้มี พระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้ จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่น ชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
จบ จักกเปยยาล
จบ สัจจสังยุต
จบ มหาวารวรรคสังยุต

รวมสังยุตที่มีในมหาวารวรรคนี้ คือ
๑. มรรคสังยุต ๒. โพชฌงคสังยุต
๓. สติปัฏฐานสังยุต ๔. อินทรียสังยุต
๕. สัมมัปปธานสังยุต ๖. พลสังยุต
๗. อิทธิปาทสังยุต ๘. อนุรุทธสังยุต
๙. ฌานสังยุต ๑๐. อานาปานสังยุต
๑๑. โสตาปัตติสังยุต ๑๒. สัจจสังยุต



พุทธวจน จบ