เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  หนังสือ พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  7 of 13  
 
  หนังสือ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ ข้อ  
       
  อนนุสสุตวรรคที่ ๔    
  อนนุสสุตสูตร ว่าด้วยธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน 796  
  วิราคสูตร เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อความหน่าย 800  
  วิรัทธสูตร ว่าด้วยผู้ไม่ปรารภและปรารภอริยมรรค 801  
  ภาวนาสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐานเพื่อถึงฝั่ง 802  
  สติสูตร ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่าผู้มีสติ 803  
  อัญญสูตร ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ หวังผลได้ ๒ อย่าง 805  
  ฉันทสูตร ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ชื่อว่าทำให้แจ้งอมตะ 806  
  ปริญญาสูตร ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่าทำให้แจ้งซึ่งอมตะ 810  
  ภาวนาสูตร การเจริญสติปัฏฐาน ๔ 814  
  วิภังคสูตร ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน 815  
       
  อมตวรรคที่ ๕    
  อมตสูตร ว่าด้วยจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน 818  
  สมุทยสูตร ว่าด้วยการเกิดดับแห่งสติปัฏฐาน ๔ 819  
  มัคคสูตร ว่าด้วยทางเป็นที่ไปอันเอก 820  
  สติสูตร ทรงเตือนภิกษุให้เป็นผู้มีสติ 825  
  กุสลราสิสูตร ว่าด้วยกองกุศล 826  
  ปาฏิโมกขสูตร ว่าด้วยปาฏิโมกขสังวร 827  
  ทุจริตสูตร ว่าทุจริต-สุจริต 832  
  มิตตสูตร การชักชวนให้เจริญสติปัฏฐาน 834  
  เวทนาสูตร เวทนา ๓ 835  
  อาสวสูตร อาสวะ ๓ 837  
       
  ๔. อินทริยสังยุต    
  สุทธิกวรรคที่ ๑ สุทธิกสูตร อินทรีย์ ๕ 843  
  โสตาสูตรที่ ๑ รู้คุณโทษของอินทรีย์ ๕ เป็นพระโสดาบัน 844  
  โสตาสูตรที่ ๒ รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ เป็นพระโสดาบัน 845  
  อรหันตสูตรที่ ๑ รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์ 846  
  สมณพราหมณสูตรที่ ๑ ผู้ไม่รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ ไม่นับว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์ 848  
  สมณพราหมณสูตรที่ ๒ ผู้รู้ชัดถึงความเกิดของอินทรีย์ ๕ นับว่าเป็นสมณพราหมณ์ 850  
  ทัฏฐัพพสูตร ว่าด้วยการเห็นอินทรีย์ ๕ ในธรรมต่างๆ 852  
  วิภังคสูตรที่ ๑ ความหมายของอินทรีย์ ๕ 858  
  วิภังคสูตรที่ ๒ ว่าด้วยหน้าที่ของอินทรีย์ ๕ 864  
       
  มุทุตวรรคที่ ๒    
  ปฏิลาภสูตร ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ 870  
  สังขิตตสูตรที่ ๑ ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ 876  
  สังขิตตสูตรที่ ๒ ความต่างแห่งผลเพราะความต่างแห่งอินทรีย์ 878  
  สังขิตตสูตรที่ ๓ อินทรีย์ ๕ ไม่เป็นหมัน 880  
  วิตถารสูตรที่ ๑ ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ 882  
  วิตถารสูตรที่ ๒ ความต่างแห่งผลเพราะความต่างแห่งอินทรีย์ 884  
  วิตถารสูตรที่ ๓ อินทรีย์ ๕ ไม่เป็นหมัน 886  
  ปฏิปันนสูตร ผู้ปฏิบัติอินทรีย์ ๕ 888  
  อุปสมสูตร ว่าด้วยผู้พร้อมด้วยอินทรีย์ ๕ 890  
  อาสวักขยสูตร ผลของการปฏิบัติอินทรีย์ ๕ 892  
       
  ฉฬินทริยวรรคที่ ๓    
  ปุนัพภวสูตร อินทรีย์ ๕ 894  
  ชีวิตินทริยสูตร อินทรีย์ ๓ 897  
  อัญญาตาวินทริยสูตร อินทรีย์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง 898  
  เอกาภิญญาสูตร ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ 899  
  สุทธกสูตร อินทรีย์ ๖ 901  
  โสตาปันนสูตร การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระโสดาบัน 902  
  อรหันตสูตรที่ ๑ การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระอรหันต์ 904  
       
 
 





อนนุสสุตวรรคที่ ๔


796

อนนุสสุตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน

[๗๙๖]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิด ขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้คือการพิจารณา เห็นกายในกาย... การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้น อันเราควรเจริญ... การพิจารณาเห็นกายในกาย อันเราเจริญแล้ว.

[๗๙๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรม ที่เราไม่เคยได้ฟัง มาก่อนว่า นี้คือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา... การพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนานนี้ นั้ อันเราควรเจริญ... การพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนานี้ อันเราเจริญแล้ว.

[๗๙๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรม ที่เราไม่เคยได้ฟัง มาก่อนว่า นี้คือการพิจารณาเห็นจิตในจิต... การพิจารณาเห็นจิต ในจิตนี้นั้นอันเราควรเจริญ... การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้ อันเราเจริญแล้ว.

[๗๙๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรม ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้คือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรม.. การพิจารณาเห็น ธรรม ในธรรมนี้นั้นอันเราควรเจริญ... การพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมนี้อันเราเจริญ แล้ว.
จบ สูตรที่ ๑

800

วิราคสูตร
เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อความหน่าย
[๘๐๐]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่...

ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว.
จบ สูตรที่ ๒

801

วิรัทธสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่ปรารภและปรารภอริยมรรค
[๘๐๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่ปรารภแล้ว บุคคล เหล่านั้นชื่อว่า ไม่ปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึง ความสิ้นทุกข์ โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงความ สิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔เป็นไฉน ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณา เห็นจิต ในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคล เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่ปรารภแล้ว บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ไม่ปรารภอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว บุคคลเหล่านั้นชื่อว่า ปรารภ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงความ สิ้นทุกข์โดยชอบ.
จบ สูตรที่ ๓

802

ภาวนาสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐานเพื่อถึงฝั่ง

[๘๐๒]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ยอ่ มเปน็ ไปเพอื่ ถึงฝงั่ จากที่มิใช่ฝั่งสติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แลอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง จากที่มิใช่ฝั่ง.
จบ สูตรที่ ๔

803

สติสูตร
ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่าผู้มีสติ
[๘๐๓]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็น อนุศาสนีของเราสำหรับเธอ ทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณา เห็น เวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็น ผู้มีสติ.

[๘๐๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ ? ดูกรภิกษุทั้ง หลาย เวทนาอันภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ทราบชัดแล้วย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้ว ปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้ว ย่อมถึงความตั้งอยู่ ไม่ได้ วิตกอันภิกษุทราบชัดแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้นที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้ว ย่อมถึงความ ตั้งอยู่ไม่ได้ ปัญญาอันภิกษุทราบชัดแล้วย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้วปรากฏ อยู่ ที่ทราบชัด แล้วย่อมถึง ความตั้งอยู่ไม่ได้อย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็น ผู้มีสัมปชัญญะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ สัมปชัญญะ อยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเรา สำหรับเธอทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๕

805

อัญญสูตร
ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ หวังผลได้ ๒ อย่าง
[๘๐๕]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อม พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อม พิจารณา เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย สติปัฏฐาน ๔เหล่านี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่ได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล พึงหวังผลได้ ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมนั่ เหลืออยู เป็นพระอนาคามี.
จบ สูตรที่ ๖

806

ฉันทสูต
ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ชื่อว่าทำให้แจ้งอมตะ
[๘๐๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความ เพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณา เห็นกายในกายอยู่ ย่อมละความพอใจในกายนั้นได้ เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอันได้ชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.

[๘๐๗]
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัด อภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ย่อมละความพอใจในเวทนานั้นได้ เพราะละความ พอใจได้ จึงเป็นอันได้ชื่อว่า กระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.

[๘๐๘]
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ย่อมละความ พอใจในจิตนั้นได้ เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอันได้ชื่อ ว่ากระทำให้แจ้ง ซึ่งอมตะ.

[๘๐๙]
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัด อภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ย่อมละ ความพอใจในธรรมนั้นได้ เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้ง ซึ่งอมตะ.
จบ สูตรที่ ๗

810

ปริญญาสูตร
ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่าทำให้แจ้งซึ่งอมตะ
[๘๑๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความ เพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณา เห็นกายในกายอยู่ ย่อมกำหนดรู้กายได้ เพราะกำหนดรู้กายได้ จึงเป็นอันชื่อว่า กระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.

[๘๑๑]
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัด อภิชฌาและ โทมนัส ในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ ย่อมกำหนดรู้เวทนาได้ เพราะกำหนดรู้เวทนาได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้ง ซึ่ง อมตะ.

[๘๑๒]
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ย่อมกำหนด รู้จิตได้เพราะ กำหนดรู้จิตได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้ง ซึ่งอมตะ.

[๘๑๓]
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัด อภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ย่อม กำหนดรู้ธรรมได้ เพราะกำหนดรู้ธรรมได้ จึงเป็น อันชื่อว่ากระทำให้แจ้ง ซึ่งอมตะ.
จบ สูตรที่ ๘

814

าวนาสูตร
การเจริญสติปัฏฐาน ๔
[๘๑๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เธอทั้งหลายจงฟังการ เจริญสติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... พิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือการเจริญสติปัฏฐาน ๔.
จบ สูตรที่ ๙

815

วิภังคสูตร
ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน
[๘๑๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสติปัฏฐาน การเจริญสติปัฏฐาน และปฏิปทาอัน ให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ก็สติปัฏฐาน เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกาย อยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน.

[๘๑๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การเจริญสติปัฏฐานเป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกาย พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในกาย พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป ในกายอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนา... พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในจิต ... พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในธรรม พิจารณา เห็นธรรม คือ ความเสื่อมในธรรม พิจารณา เห็นธรรม คือความเกิดขึ้น และความ เสิ่อมไปในธรรมอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และ โทมนัส ในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการเจริญสติปัฏฐาน.

[๘๑๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐานเป็นไฉน ? อริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ... สัมมาสมาธิ นี้แลเรียกว่า ปฏิปทาอันให้ถึง การเจริญสติปัฏฐาน.
จบ สูตรที่ ๑๐

จบ อนนุสสุตวรรคที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อนนุสสุตสูตร ๒. วิราคสูตร
๓. วิรัทธสูตร ๔. ภาวนาสูตร
๕. สติสูตร ๖. อัญญสูตร
๗. ฉันทสูตร ๘. ปริญญาสูตร
๙. ภาวนาสูตร ๑๐. วิภังคสูตร

อมตวรรคที่ ๕

818

อมตสูตร
ว่าด้วยจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน
[๘๑๘]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในสติปัฏฐาน ๔อยู่เถิด อย่ามีจิต ไม่ตั้งมั่นอยู่เลย และอมตะจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลก เสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และ โทมนัสในโล กเสียเธอทั้งหลาย จงมีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้เถิด อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลยและอมตะ จะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๑

819

สมุทยสูตร
ว่าด้วยการเกิดดับแห่งสติปัฏฐาน ๔
[๘๑๙]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิด และความดับแห่ง สติปัฏฐาน ๔ เธอทั้งหลาย จงฟัง ก็ความเกิดแห่งกายเป็นอย่างไร ? ความเกิด แห่งกายย่อมมี เพราะความเกิดแห่งอาหาร ความดับ แห่งกายย่อมมี เพราะความ ดับแห่งอาหาร ความเกิดแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดแห่งผัสสะ ความดับ แห่งเวทนาย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ ความเกิดแห่งจิตย่อมมี เพราะความ เกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งจิตย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป ความเกิด แห่งธรรมย่อมมีเพราะความเกิดแห่ง มนสิการ ความดับแห่งธรรมย่อมมี เพราะความดับแห่งมนสิการ.
จบ สูตรที่ ๒

820

มัคคสูตร
ว่าด้วยทางเป็นที่ไปอันเอก
[๘๒๐]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งหนึ่ง เมื่อแรกตรัสรู้ เราอยู่ที่ควงไม้ อชปาล-นิโครธ ใกล้ฝั่งแม่นํ้า เนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลา เมื่อเราหลีกเร้น อยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกขึ้นในใจอย่างนี้ว่า

[๘๒๑]
ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศก และความรํ่าไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?

ภิกษุพึงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณา เห็นจิตในจิตอยู่ หรือพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ทางเป็นที่ไปอันเอกนี้ เพื่อความ บริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วง ความโศกและความรํ่าไร เพื่อความ ดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพาน ให้แจ้ง ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔.

[๘๒๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้นนั้นแล ท้าวสหับดีพรหม รู้ความปริวิตกในใจของเรา ด้วยใจ จึงหายตัว จากพรหมโลก มาปรากฏเบื้องหน้าเรา เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม กระทำผ้า เฉวียงบ่า ข้างหนึ่ง ประนมมือมาทางเราแล้วได้กล่าวว่า :-

[๘๒๓]
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความรํ่าไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ นั้นเป็นไฉน ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุพึงพิจารณาเห็นกายในกาย... ในเวทนา...ในจิต... ในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศก และความรํ่าไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔.

[๘๒๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวดังนี้แล้วครั้นแล้ว ได้กล่าวนิคม คาถาต่อไปอีกว่า :-พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเห็นความสิ้นชาติ และที่สุดแห่งชาติ ทรงอนุเคราะห์ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล ทรงทราบทางเป็นที่ไปอันเอก ในกาลก่อน ชนทั้งหลาย ข้ามโอฆะได้แล้วด้วยทางนี้
(ในอนาคต) จักข้ามด้วยหนทางนี้
(ในบัดนี้) ก็ข้ามอยู่ด้วยหนทางนี้.
จบ สูตรที่ ๓

825

สติสูตร
ทรงเตือนภิกษุให้เป็นผู้มีสติ
[๘๒๕]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนี ของเรา สำหรับเธอทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสติ ?

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกายอยู่... ในเวทนาอยู่... ในจิตอยู่...ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย อย่างนี้แล ภิกษุจึง ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็น ผู้มีสติอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนี ของเราสำหรับเธอทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๔

826

กุสลราสิสูตร
ว่าด้วยกองกุศล
[๘๒๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึง สติปัฏฐาน ๔ เพราะว่ากองกุศล ทั้งสิ้น ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉนภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงสติ ปัฏฐาน ๔ เพราะว่ากอง กุศลทั้งสิ้นนี้ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔.
จบ สูตรที่ ๕

827

ปาฏิโมกขสูตร
ว่าด้วยปาฏิโมกขสังวร
[๘๒๗]
ครั้งนั้น พระภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อ แก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟัง แล้ว จะพึงเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อยู่เถิด.

[๘๒๘]
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอจงชำระเบื้องต้นใน กุศลธรรม ให้บริสุทธิ์ เสียก่อน ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม ? เธอจง สำรวมในปาฏิโมกขสังวร จงถึงพร้อมด้วยมารยาท และโคจร เห็นภัยในโทษ มีประมาณน้อยสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.

[๘๒๙]
ดูกรภิกษุ เมื่อใดแล เธอจักสำรวมในปาฏิโมกขสังวร จักถึงพร้อมด้วยมารยาท และโคจร เห็นภัยในโทษ มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย เมื่อนั้น เธออาศัยศีลดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึง เจริญสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?

ดูกรภิกษุ เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่... ในเวทนาอยู่... ในจิตอยู่... พิจารณา เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลกเสีย เมื่อใด เธออาศัยศีลดำรงอยู่ ในศีลแล้ว เจริญสติ ปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อย่างนี้เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรม ได้ทีเดียว ตลอดคืนหรือ วันที่จักมาถึงไม่มีความเสื่อม.

[๘๓๐]
ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้น ชื่นชม อนุโมทนา พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล้วลุก จากอาสนะ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ภิกษุนั้นเป็นผู้ ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียรมีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้ง หลายผูอ้ อกบวชเปน็ บรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลภิกษุนั้นเป็นพระอรหันต์ องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๖

832

ทุจริตสูตร

ว่าทุจริต-สุจริต

[๘๓๑]
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม โดยย่อ แก่ข้าพระองค์ซึ่ง ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้ ผู้เดียวหลีกออก จากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด.

[๘๓๒]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอจงชำระเบื้องต้น ในกุศลธรรมให้บริสุทธ์เสียก่อน ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม ? เธอจัก ละกาย ทุจริตเจริญกายสุจริตจักละวจีทุจริตเจริญวจีสุจริต จักละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต.

[๘๓๓]
ดูกรภิกษุ เมื่อใดแล เธอจักละกายทุจริตเจริญกายสุจริต จักละวจีทุจริต เจริญ วจีสุจริต จักละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต เมื่อนั้นเธอพึงอาศัยศีล ดำรงอยู่ใน ศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?

เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่....ในเวทนาอยู่ ในจิตอยู่... จงพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย เมื่อใดแล เธอจักอาศัยศีลดำรงอยู่ ในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อย่างนี้เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมได้ทีเดียว ตลอดคืน หรือวันที่จักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย ฯลฯก็แล ภิกษุรูปนั้น เป็นพระอรหันต์ องค์หนึ่ง ในจำนวน พระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๗

834

มิตตสูตร
การชักชวนให้เจริญสติปัฏฐาน
[๘๓๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใด และชนเหล่าใด พึงสำคัญถ้อยคำที่ควรฟัง ชนเหล่านั้นจะเป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต ก็ตาม เธอทั้งหลาย พึงชักชวน ชักนำ ให้ตั้งอยู่ในการ เจริญสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔เป็นไฉน ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกายอยู่มีความ เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณา เห็นเวทนา ในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็น ธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมป ชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์ ชนเหล่าใด และชนเหล่าใดพึง สำคัญถ้อยคำที่ควรฟัง ชนเหล่านั้นจะเป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต ก็ตาม เธอทั้งหลายพึงชักชวน ชักนำ ให้ตั้งอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๘

835

เวทนาสูตร
เวทนา ๓
[๘๓๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ สุขเวทนา ๑ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้แล.

[๘๓๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อกำหนดรู้เวทนา๓ ประการนี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้เพื่อกำหนดรู้ เวทนา ๓ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๙

837

อาสวสูตร
อาสวะ ๓
[๘๓๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน ? คือกามาสวะ ๑ ภวาสวะ ๑ อวิชชาสวะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการนี้แล.

[๘๓๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละอาสวะ ๓ ประการนี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อม พิจารณาเห็น กาย ในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณา เห็นจิตในจิต อยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัด อภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย ควรเจริญ สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เพื่อละอาสวะ ๓ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐

จบ อมตวรรคที่ ๕

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อมตสูตร ๒. สมุทยสูตร
๓. มัคคสูตร ๔. สติสูตร
๕. กุสลราสิสูตร ๖. ปาฏิโมกขสูตร
๗. ทุจริตสูตร ๘. มิตตสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. อาสวสูตร
สติปฏฺฐานสํยุตฺตสฺส คงฺคาทิเปยฺยาโล ฉฏฺโฐ คังคาทิเปยยาล แห่งสติปัฏฐาน สังยุตที่ ๖ ว่าด้วยผลของการเจริญสติปัฏฐาน ๔

[๘๓๙]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่นํ้าคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศ ปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพานฉันนั้นเหมือนกัน.

[๘๔๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างไร จึงจะเป็น ผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ สติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้แลจึงจะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ.1

[๘๔๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้ สังโยชน์ ๕ เป็นไฉน ?
คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้แล.

[๘๔๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อความรู้ยิ่งเพื่อกำหนด รู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้แลสติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลกเสีย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความ สิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้แล

แม่นํ้าทั้งหกไหลไปสู่ทิศปราจีน แม่นํ้าทั้งหกไหลไปสู่สมุทรทั้งสองอย่างๆ ละ ๖
รวมเป็น ๑๒ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าวรรค.
จบ สติปัฏฐานสังยุต

๔. อินทริยสังยุต

843

สุทธิกวรรคที่ ๑
สุทธิกสูตร อินทรีย์ ๕
[๘๔๓]
สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑

844

โสตาสูตรที่ ๑
รู้คุณโทษของอินทรีย์ ๕ เป็นพระโสดาบัน
[๘๔๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ๑วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ เมื่อใดแล อริยสาวก รู้ชัด ซึ่ง (ความเกิด ความดับ) คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามเป็นจริง เมื่อนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๒

845

โสตาสูตรที่ ๒
รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ เป็นพระโสดาบัน
[๘๔๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? ฯลฯ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก ... เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในกาล เบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๓

846

อรหันตสูตรที่ ๑
รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์
[๘๔๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์ ๑วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ เมื่อใดแล ภิกษุรู้ชัด ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัด ออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น เราเรียกภิกษ นั้นว่าเป็น พระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุ ประโยชน์ของตนแล้วสิ้นสังโยชน์ ที่จะนำไปสู่ ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.
จบ สูตรที่ ๔

847

อรหันตสูตรที่ ๒
รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์
[๘๔๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์ ๑วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ เมื่อใดแล ภิกษุรู้ชัด ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่อง สลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น เราเรียก ภิกษุนั้นว่าพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้วบรรลุ ประโยชน์ ของตนแล้ว สิ้น สังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ.
จบ สูตรที่ ๕

848

สมณพราหมณสูตรที่ ๑
ผู้ไม่รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ ไม่นับว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
[๘๔๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์ ๑วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ ก็สมณะหรือพราหมณ์ พวกใดพวกหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่อง สลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์ พวกนั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นยังไม่กระทำ ให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

[๘๔๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดรู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณโทษ และอุบายเครื่อง สลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะ ในพวกสมณะ หรือเป็น พราหมณ์ ในพวกพราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นกระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของ ความเป็น สมณะและของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๖

850

สมณพราหมณสูตรที่ ๒
ผู้รู้ชัดถึงความเกิดของอินทรีย์ ๕ นับว่าเป็นสมณพราหมณ์
[๘๕๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งสัทธินทรีย์ ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์ และปฏิปทาอันให้ถึงความดับ แห่งสัทธินทรีย์ ไม่รู้ชัดซึ่งวิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดซึ่งปัญญินทรีย์ ความเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญญินทรีย์ และปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งปัญญินทรีย์

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในพวก สมณะ หรือเป็น พราหมณ์ในพวกพราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นยังไม่กระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ ของความ เป็นสมณะ หรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

[๘๕๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่า ใดเหล่า หนึ่ง รู้ชัดซึ่ง สัทธินทรีย์ความเกิดแห่ง สัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์ และปฏิปทา อันให้ถึงความดับแห่งสัทธินทรีย์ รู้ชัดซึ่งวิริยินทรีย์... สตินทรีย์... สมาธินทรีย์ .. รู้ชัดซึ่งปัญญินทรีย์ความเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญญินทรีย์ และ ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งปัญญินทรีย์

สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น เรานับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ ในพวกพราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นกระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็น สมณะ และ ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๗

852

ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยการเห็นอินทรีย์ ๕ ในธรรมต่างๆ
[๘๕๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.

[๘๕๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า ? ในโสตาปัตติยังคะ ๔พึงเห็นสัทธินทรีย์ในธรรมนี้.

[๘๕๔]
ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า ? ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นวิริยินทรีย์ ในธรรมนี้.

[๘๕๕]
ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า ? ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นสตินทรีย์ ในธรรมนี้.

[๘๕๖]
ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า ? ในฌาน ๔ พึงเห็นสมาธินทรีย ์ในธรรมนี้.

[๘๕๗]
ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า ? ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นปัญญินทรีย์ในธรรม นี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๘

852

ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยการเห็นอินทรีย์ ๕ ในธรรมต่างๆ
[๘๕๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.

[๘๕๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า ? ในโสตาปัตติยังคะ ๔พึงเห็นสัทธินทรีย์ในธรรมนี้.

[๘๕๔]
ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า ? ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นวิริยินทรีย์ ในธรรมนี้.

[๘๕๕]
ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า ? ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นสตินทรีย์ในธรรม นี้.

[๘๕๖]
ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า ? ในฌาน ๔ พึงเห็นสมาธินทรีย์ในธรรม นี้.

[๘๕๗]
ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า ? ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นปัญญินทรีย์ ในธรรม นี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๘

858

วิภังคสูตรที่ ๑
ความหมายของอินทรีย์ ๕
[๘๕๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.

[๘๕๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม วินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปํญญาตรัสรู้ข องพระตถาคตว่าแม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง โดยชอบ ทรงถึงพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้ เรียกว่า สัทธินทรีย์.

[๘๖๐]
ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ปรารภ ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลังมีความ บากบั่น มั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.

[๘๖๑]
ก็สตินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่อง รักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งกิจ ที่กระทำ และคำที่พูดแม้นานได้ นี้แลเรียกว่า สตินทรีย์.

[๘๖๒]
ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำซึ่ง นิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้แลเรียกว่า สมาธินทรีย์.

[๘๖๓]
ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี ปัญญา ประกอบด้วยปัญญา เครื่องกำหนดความเกิดความดับ อันประเสริฐชำแรก กิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๙

864

วิภังคสูตรที่ ๒
ว่าด้วยหน้าที่ของอินทรีย์ ๕
[๘๖๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.

[๘๖๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม วินัย นี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์... เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.

[๘๖๖]
ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ปรารภ ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความ บากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้มั่น เพื่อความไม่ บังเกิดขึ้น แห่งอกุศลธรรม อันลามกที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วเพื่อ ความบังเกิดขึ้นแห่ง กุศลธรรมที่ยังไม่บังเกิดขึ้นเพื่อความ ถึงพร้อม เพื่อความไม่หลงลืมเพื่อความเจริญ ยิ่งขึ้น เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.

[๘๖๗]
ก็สตินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติ เครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำ และคำพูดแม้นานได้ อริยสาวกนั้นย่อม พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็น เวทนา ในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสีย นี้เรียกว่า สตินทรีย์.

[๘๖๘]
ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำ นิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต อริยสาวกนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุ ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ ตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็น สุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และ ดับโทมนัสโสมนัสก่อนๆ ได  มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.

[๘๖๙]
ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี ปัญญา ประกอบด้วยปัญญา เครื่องกำหนดความเกิดความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์นี้ ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า ปัญิญทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ สุทธิกวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สุทธิกสูตร ๒. โสตาสูตรที่ ๑
๓. โสตาสูตรที่ ๒ ๔. อรหันตสูตรที่ ๑
๕. อรหันตสูตรที่ ๒ ๖. สมณพราหมณสูตรที่ ๑
๗. สมณพราหมณสูตรที่ ๒ ๘. ทัฏฐัพพสูตร
๙. วิภังคสูตรที่ ๑ ๑๐. วิภังคสูตรที่ ๒

มุทุตวรรคที่ ๒

870

ปฏิลาภสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕
[๘๗๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.

[๘๗๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ม ีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆพระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์... เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่าสัทธินทรีย์.

[๘๗๒]
ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน ? อริยสาวกปรารภสัมมัปปธาน ๔ ย่อมได้ความเพียร นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.

[๘๗๓]
ก็สตินทรีย์เป็นไฉน ? อริยสาวกปรารภสติปัฏฐาน ๔ ย่อมได้สติ นี้เรียกว่า สตินทรีย์.

[๘๗๔]
ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ยึดหน่วงนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้ว ได้สมาธิ ได้ เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.

[๘๗๕]
ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความ สิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑

876

สังขิตตสูตรที่ ๑
ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ
[๘๗๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

[๘๗๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นพระสกทาคามีเพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า อินทรีย์ของพระอนาคามี เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า อินทรีย์ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรียข์ อง พระโสดาบัน เป็น พระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี.
จบ สูตรที่ ๒

878

สังขิตตสูตรที่ ๒
ความต่างแห่งผลเพราะความต่างแห่งอินทรีย์
[๘๗๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ 1 อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

[๘๗๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นพระสกทาคามีเพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามี เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ พระโสดาบัน เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี ดังพรรณนามาฉะนี้ ความต่างแห่งผลย่อมมีได้ เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ ความต่างแห่งบุคคลย่อมมีได้ เพราะความต่างแห่งผล.
จบ สูตรที่ ๓

880

สังขิตตสูตรที่ ๓
อินทรีย์ ๕ ไม่เป็นหมัน
[๘๘๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

[๘๘๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ เต็ม บริบูรณ์ เป็นพระอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ พระอรหันต์... เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ พระโสดาบัน ผู้ธัมมานุสารีดังพรรณนามาฉะนี้แล บุคคลผู้บำเพ็ญอรหัตมรรค ให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชมอรหัตผลบุคคลผู้บำเพ็ญมรรค ๓ ที่เหลือให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชมผลทั้ง ๓ เรากล่าวอินทรีย์ ๕ ว่าไม่เป็นหมันเลย.
จบ สูตรที่ ๔

882

วิตถารสูตรที่ ๑
ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ
[๘๘๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

[๘๘๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ พระอรหันต์เป็นพระอนาคามี ผู้อุปหัจจ ปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า อินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เป็นพระอนาคามี ผู้มีอสังขาร ปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาค มีผู้อุปหัจจ ปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า อินทรีย์ของอนาคามี ผู้อสังขาร ปรินิพพายี เป็นอนาคามี ผู้อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามี ผู้สสังขาร-ปรินิพพายี เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ พระอนาคามี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยัง อ่อนกว่ าอินทรีย์ของพระโสดาบัน เป็นพระโสดาบัน ผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี.
จบ สูตรที่ ๕

884

วิตถารสูตรที่ ๒
ความต่างแห่งผลเพราะความต่างแห่งอินทรีย์
[๘๘๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

[๘๘๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ พระอรหันต์... เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า อินทรีย์ ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี ดังพรรณนามาฉะนี้ ความต่างแห่งผล ย่อมมีได้ เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ความต่างแห่งบุคคลย่อมมีได้ เพราะความ ต่างแห่งผล.
จบ สูตรที่ ๖

886

วิตถารสูตรที่ ๓
อินทรีย์ ๕ ไม่เป็นหมัน
[๘๘๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็น พระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะอินทรียทั้ง ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์...เป็นพระโสดาบัน ผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า พระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี ดังพรรณนามาฉะนี้แล บุคคลผู้บำเพ็ญอรหัตมรรคให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชมอรหัตผล บุคคลผู้บำเพ็ญมรรค ๓ ที่เหลือให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชมผลทั้ง ๓ เรากล่าวอินทรีย์ ๕ว่าไม่เป็นหมันเลย.
จบ สูตรที่ ๗

888

ปฏิปันนสูตร
ผู้ปฏิบัติอินทรีย์ ๕
[๘๘๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

[๘๘๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็ม บริบูรณ์ เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า อินทรีย์ของ พระอรหันต์เป็นอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทร์ 1 ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำ อรหัตผลให้แจ้งเพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ พระอนาคามี เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ ผู้ปฏิบัติเพื่อทำ อนาคามิผล ให้แจ้ง เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำ โสดาปัตติผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ไม่มีแก่ผู้ใดเสียเลยโดยประการทั้งปวง เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน.
จบ สูตรที่ ๘

890

อุปสมสูตร
ว่าด้วยผู้พร้อมด้วยอินทรีย์ ๕
[๘๙๐]
ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์อื่นๆ ดังนี้ด้วยเหตุเพียง เท่าใดหนอ ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้พร้อมด้วยอินทรีย์ ?

[๘๙๑]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อัน ให้ความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ ดูกรภิกษุด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์.
จบ สูตรที่ ๙

892

อาสวักขยสูตร
ผลของการปฏิบัติอินทรีย์ ๕
[๘๙๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

[๘๙๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ภิกษุจึง กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๑๐

จบ มุทุตวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฏิลาภสูตร ๒. สังขิตตสูตรที่ ๑
๓. สังขิตตสูตรที่ ๒ ๔. สังขิตตสูตรที่ ๓
๕. วิตถารสูตรที่ ๑ ๖. วิตถารสูตรที่ ๒
๗. วิตถารสูตรที่ ๓ ๘. ปฏิปันนสูตร
๙. อุปสมสูตร ๑๐. อาสวักขยสูตร


ฉฬินทริยวรรคที่ ๓


894


ปุนัพภวสูตร
อินทรีย์ ๕
[๘๙๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.

[๘๙๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เพียงใด เราก็ยังไม่ ปฏิญาณ ตนว่าได้ตรัสรู้พระอนุตตร สัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.

[๘๙๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เรารู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้นเราปฏิญาณ ตน ว่าได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ก็แล ญาณทัสสนะ ได้บังเกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติ มีในที่สุด บัดนี้ ความเกิดอีกไม่มี.
จบ สูตรที่ ๑

897

ชีวิตินทริยสูตร
อินทรีย์ ๓
[๘๙๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน ? คืออิตถินทรีย์ ๑ ปุริสินทรีย์ ๑ ชีวิตินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๓ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๒

898

อัญญาตาวินทริยสูตร
อินทรีย์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง
[๘๙๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ อนัญญา-ตัญญัสสามีตินทรีย์ ๑ อัญญินทรีย์ ๑ อัญญาตาวินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๓ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๓

899

เอกาภิญญาสูตร
ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ
[๘๙๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

[๙๐๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์

เป็นพระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ พระอรหันต์

เป็นพระอนาคามี ผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า อินทรีย์ของ พระอนาคามี ผู้อันตรา ปรินิพพายี

เป็นพระอนาคามี ผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ พระอนาคามี ผู้อุปหัจจปรินิพพายี

เป็นพระอนาคามี ผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ พระอนาคามี ผู้อสังขารปรินิพพายี

เป็นพระอนาคามี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของพระอนาคามี ผู้สสังขาร-ปรินิพพายี

เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามี ผู้อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี

เป็นพระโสดาบันผู้เอกพิชี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ พระสกทาคามี

เป็น พระโสดาบัน ผู้โกลังโกละ เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ พระโสดาบัน ผู้เอกพิชี

เป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ พระโสดาบัน ผู้โกลังโกละ

เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าพระโสดาบัน
ผู้สัตตักขัตตุปรมะ

เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ พระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี.
จบ สูตรที่ ๔

901

สุทธกสูตร
อินทรีย์ ๖
[๙๐๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ จักขุนทรีย์ ๑โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ มนินทรีย์ ๑ นี้แลอินทรีย์ ๖ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๕

902

โสตาปันนสูตร
การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระโสดาบัน
[๙๐๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน ? คือจักขุนทรีย์... มนินทรีย์.

[๙๐๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษและ อุบายอันเป็นเครื่องสลัด ออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความเป็นจริงเมื่อนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๖

904

อรหันตสูตรที่ ๑
การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระอรหันต์
[๙๐๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน ? คือจักขุนทรีย์... มนินทรีย์.

[๙๐๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ อุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น

เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ทำกิจ ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ ของตนแล้ว สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพ หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.
จบ สูตรที่ ๗

อ่านต่อ