449
ขยสูตร
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อสิ้นตัณหาคือโพชฌงค์
[๔๔๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรรคาใด ปฏิปทาใด ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา เธอทั้งหลายจงเจริญมรรคานั้น ปฏิปทานั้น มรรคาและปฏิปทา ที่เป็นไปเพื่อ ความสิ้นตัณหาเป็นไฉน ? คือ โพชฌงค์ ๗ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.
[๔๕๐]
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ? ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นตัณหา.
ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีความ เบียดเบียน
เมื่อภิกษุนั้นเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีความเบียดเบียนย่อมละตัณหาได้ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีความเบียดเบียน
เมื่อภิกษุนั้น เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมละตัณหาได้ เพราะละตัณหาได้ จึงละกรรมได้ เพราะละกรรม ได้ จึงละทุกข์ได้
ดูกรอุทายี เพราะสิ้นตัณหา จึงสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จึงสิ้นทุกข์ ด้วยประการดังนี้แล.
จบ สูตรที่ ๖
451
นิโรธสูตร
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อดับตัณหาคือโพชฌงค์
[๔๕๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรรคาใด ปฏิปทาใด ย่อมเป็นไปเพื่อความดับตัณหา เธอทั้งหลายจงเจริญมรรคานั้น ปฏิปทานั้น มรรคาและปฏิปทาที่เป็นไป เพื่อความดับตัณหาเป็นไฉน ?
คือ โพชฌงค์ ๗ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขา สัมโพชฌงค์.
[๔๕๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความ ดับตัณหา ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน การสละ ฯลฯย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดับตัณหา.
จบ สูตรที่ ๗
453
นิพเพธสูตร
มรรคาอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอดคือโพชฌงค์
[๔๕๓]
ดูกรภิกษุทงั้ หลาย เราจักแสดงมรรคาอันเปน็ สว่ นแหง่ การแทงตลอด แก่เธอทั้งหลายเธอทั้งหลาย จงฟัง มรรคานั้น ก็มรรคาอันเป็นส่วนแห่งการ แทงตลอดเป็นไฉน ? คือโพชฌงค์ ๗ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.
[๔๕๔]
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไป เพื่อความแทงตลอด ?
พ. ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีความเบียดเบียน
เธอมีจิตอันสติสัมโพชฌงค์อบรมแล้ว ย่อมแทงทะลุ ย่อมทำลายกองโลภะ ที่ยังไม่เคยแทงทะลุ ยังไม่เคยทำลายเสียได้ ย่อมแทงทะลุ ย่อมทำลายกอง โทสะที่ยังไม่เคยแทงทะลุ ยังไม่เคยทำลายเสียได้ ย่อมแทงทะลุ ย่อมทำลาย กองโมหะ ที่ยังไม่เคยแทงทะลุ ยังไม่เคยทำลายเสียได้ ฯลฯ
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ไม่มีความเบียดเบียน เธอมีจิตอัน อุเบกขา สัมโพชฌงค์อบรมแล้ว ย่อมแทงทะลุย่อมทำลายกองโลภะ ที่ยังไม่เคยแทงทะลุ ยังไม่เคยทำลายเสียได้ ย่อมแทงทะลุย่อมทำลาย กองโทสะ ที่ยังไม่เคยแทงทะลุ ยังไม่เคยทำลายเสียได้ ย่อมแทงทะลุ
ย่อมทำลายกองโมหะ ที่ยังไม่เคยแทงทะลุ ยังไม่เคยทำลายเสียได้
ดูกรอุทายี โพชฌงค์ ๗อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความแทงตลอด.
จบ สูตรที่ ๘
455
เอกธัมมสูตร
โพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมเป็นที่ตั้งสังโยชน์
[๔๕๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้ข้อหนึ่ง ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เหมือน โพชฌงค์ ๗ นี้เลยโพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.
[๔๕๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง สังโยชน์ ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แลย่อมเป็นไป เพื่อละธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์.
[๔๕๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์เป็นไฉน ? จักษุเป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เครื่องผูก เครื่องจองจำ คือ สังโยชน์เหล่านั้นย่อมเกิดที่จักษุนี้หู... จมูก... ลิ้น... 1 ใจ เป็นธรรมเป็น ที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เครื่องผูก เครื่องจองจำ คือสังโยชน์เหล่านั้น ย่อมเกิดที่ใจนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้ เรียกว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์.
จบ สูตรที่ ๙
458
อุทายิสูตร
พระผู้มีพระภาครับรองมรรคที่พระอุทายีได้แล้ว
[๔๕๘]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชนชาวสุมภะ ชื่อเสตกะ ในแคว้น สุมภะ ครั้งนั้นท่าน พระอุทายี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า.
[๔๕๙]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นักพระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา มีขึ้น ความรัก ความเคารพ ความละอายใจ และความเกรงกลัวของข้าพระองค์ ซึ่งมีอยู่ใน พระผู้มีพระภาคมากเพียงไร ด้วยว่า ข้าพระองค์เมื่อเป็น คฤหัสถ์ ผู้ครองเรือน อยู่ในกาลก่อน ก็มิได้กระทำความคุ้นเคยกับพระธรรมมากนัก มิได้กระทำ ความคุ้น เคยกับพระสงฆ์มากนัก
ข้าพระองค์เห็นความรัก ความเคารพ ความละอายใจ ความเกรงกลัว ในพระผู้มี พระภาค จึงออกบวชเป็น บรรพชิต พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดแห่งรูป อย่างนี้ ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา... อย่างนี้สัญญา... อย่างนี้สังขาร... อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ ความเกิด แห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ.
[๔๖๐]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อยู่ในเรือนว่าง พิจารณาถึงความเกิดและ ความเสื่อมแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่า นี้ได้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
1. บาลีเป็นอย่างนี้ กายหายไป
[๔๖๑]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมที่ข้าพระองค์บรรลุแล้ว และมรรคที่ข้าพระองค์ได้แล้ว นั้น อันข้าพระองค์ เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว จักน้อมนำข้าพระองค์ผู้อยู่ โดยอาการอย่างนั้นๆ ไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น โดยที่ข้าพระองค์ จักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี คือ
สติสัมโพชฌงค์ ที่ข้าพระองค์ได้แล้วนั้น อันข้าพระองค์เจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้วจักน้อมนำข้าพระองค์ ผู้อยู่โดยอาการอย่างนั้นๆ ไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น โดยที่ข้าพระองค์ จักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่ข้าพระองค์ได้แล้วนั้นอันข้าพระองค์เจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว จักน้อมนำ ข้าพระองค์ ผู้อยู่โดยอาการนั้น ๆ ไปเพื่อความเป็น อย่างนั้น โดยที่ข้าพระองค์ จักรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้วกิจ ที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
มรรคที่ข้าพระองค์ ได้แล้วนี้แล อันข้าพระองค์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว จักน้อมนำข้าพระองค์ ผู้อยู่โดยอาการนั้นๆ ไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น โดยที่ข้า พระองค์ จักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
[๔๖๒]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ อุทายี มรรคที่เธอได้แล้วนั้นแล อันเธอเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว จักน้อมนำเธอผู้อยู่โดยอาการนั้นๆ ไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น โดยที่เธอจักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ อุทายิวรรคที่ ๓
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โพธนสูตร ๒. เทสนาสูตร
๓. ฐานิยสูตร ๔. อโยนิโสสูตร
๕. อปริหานิยสูตร ๖. ขยสูตร
๗. นิโรธสูตร ๘. นิพเพธสูตร
๙. เอกธัมมสูตร ๑๐. อุทายิสูตร
นิวรณวรรคที่ ๔
463
กุสลสูตรที่ ๑
ธรรมที่เป็นกุศลมีความไม่ประมาทเป็นมูล
[๔๖๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นกุศลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง อันเป็นไปในส่วนแห่งกุศล เป็นไปในฝ่ายแห่งกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท เรากล่าวว่าเป็นยอดของธรรม เหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ไม่ประมาทแล้วพุงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗.
[๔๖๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำ ให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ สละฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมเจริญ โพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้ มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑
465
กุสลสูตรที่ ๒
ธรรมที่เป็นกุศลมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล
[๔๖๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นกุศลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง อันเป็นไปในส่วนแห่งกุศล เป็นไปในฝ่ายแห่งกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ประชุมลงในโยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการ เรากล่าวว่า เป็นยอดของธรรม เหล่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึง พร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗.
[๔๖๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยนิโสมนสิการ 1 ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ย่อมกระทำให้มากซึ่ง โพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัย วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๒
467
อุปกิเลสสูตร
อุปกิเลสของทอง ๕ อย่าง
[๔๖๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของทอง ๕ อย่างนี้ เป็นเครื่องทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดี อุปกิเลส ๕ อย่างเป็นไฉน ?
[๔๖๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล็กเป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่ การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดี.
[๔๖๙]
โลหะ เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ฯลฯ.
[๔๗๐]
ดีบุก เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ฯลฯ.
[๔๗๑]
ตะกั่ว เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ฯลฯ.
[๔๗๒]
เงิน เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุกให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดี.
[๔๗๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของทอง ๕ อย่างนี้แล เป็นเครื่องทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดี.
[๔๗๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นก็เหมือนกันแล อุปกิเลสของจิต ๕ อย่างนี้ เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้นิ่มนวล ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดี เพื่อความสิ้นอาสวะ อุปกิเลส ๕ อย่างเป็นไฉน ?
[๔๗๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะเป็นอุปกิเลสของจิต เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้นิ่มนวล ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อ ความสิ้นอาสวะ.
[๔๗๖]
พยาบาทเป็นอุปกิเลสของจิต เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้นิ่มนวล ไม่ให้ควรแก่ การงานไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดี เพื่อความสิ้นอาสวะ ฯลฯ.
[๔๗๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของจิต ๕ อย่างนี้แล เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้นิ่มนวล ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดี เพื่อความ สิ้นอาสวะ.
[๔๗๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้ามไม่เป็น อุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ?
[๔๗๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็น อุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแลว้ กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ กระทำให้แจ้ง ซึ่งผลคือ วิชชาและวิมุติ ฯลฯ.
[๔๘๐]
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ฯลฯ ย่อมเป็นไป เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ.
[๔๘๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ กระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ.
จบ สูตรที่ ๓
482
อโยนิโสสูตร
มนสิการโดยไม่แยบคาย นิวรณ์ ๕ ย่อมเกิด
[๔๘๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์ยิ่งขึ้น ฯลฯ. 1
[๔๘๓]
พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
[๔๘๔]
ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
[๔๘๕]
อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
[๔๘๖]
วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
จบ สูตรที่ ๔
1. ข้อสังเกต : เมื่อเทียบเคียงจากบาลีแล้ว เครื่องหมาย ฯลฯ เกินมา -ผู้รวบรวม
487
โยนิโสสูตร
มนสิการโดยแยบคายย่อมเกิดโพชฌงค์
[๔๘๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯลฯ.
[๔๘๘]
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมถึงความเจริญ บริบูรณ์.
จบ สูตรที่ ๕
489
วุฑฒิสูตร
โพชฌงค์เป็นไปเพื่อความเจริญ
[๔๘๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ นี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อม เป็นไปเพื่อความเจริญ เพื่อความไม่เสื่อม โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ นี้แล 1 อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ เพื่อความไม่เสื่อม.
จบ สูตรที่ ๖
490
อาวรณานีวรณสูตร
นิวรณ์ ๕ เป็นอุปกิเลสของจิต
[๔๙๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะเป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่องห้าม เป็น อุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม พยาบาท...ถีนมิทธะ... อุทธัจจกุกกุจจะ... วิจิกิจฉา เป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่องห้ามเป็นอุปกิเลส ของจิต ทำปัญญาให้ทราม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ อย่างนี้แลเป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลส ของจิต ทำปัญญาให้ทราม.
[๔๙๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ กระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ?
คือ สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ นี้แล ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็น อุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ.
[๔๙๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจ รวมเข้าไว้ด้วยใจทั้งหมดเงี่ย โสต ลงฟังธรรม สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความ เจริญบริบูรณ์.
จบ สูตรที่ ๗
493
นีวรณาวรณสูตร
นิวรณ์ ๕ โพชฌงค์ ๗
[๔๙๓]
ในสมัยนั้น นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน ? ย่อมไม่มีแก่เธอ คือ กามฉันทนิวรณ์ ย่อมไม่มี พยาบาทนิวรณ์... ถีนมิทธนิวรณ์... อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์... วิจิกิจฉานิวรณ์ ย่อมไม่มีในสมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ.
[๔๙๔]
ในสมัยนนั้ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ? คือสติ สัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมถึง ความเจริญบริบูรณ์โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.
[๔๙๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจ รวมเข้าไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงฟังธรรม สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.
จบ สูตรที่ ๘
496
รุกขสูตร
ธรรมเป็นเครื่องกั้น ๕ อย่าง
[๔๙๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ มีพืชน้อย มีลำต้นใหญ่ งอกคลุมไม้ต้นทั้งหลาย เป็นเครื่องทำต้นไม้ที่มันงอกคลุมแล้ว ให้ล้มหักกระจัดกระจายวิบัติไป.
[๔๙๗]
ก็ต้นไม้ใหญ่เหล่านั้น ที่มีพืชน้อย มีลำต้นใหญ่ ปกคลุมต้นไม้ทั้งหลาย เป็นเครื่องทำต้นไม้ที่มันงอกคลุมแล้ว ให้ล้มหักกระจัดกระจายวิบัติไปเป็นไฉน ? คือต้นโพธิ์ใบ ต้นไทร ต้นมิลักขุ ต้นมะเดื่อ ต้นกัจฉกะ ต้นมะสัง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่เหล่านี้แล ที่มีพืชน้อย มีลำต้นใหญ่ งอกคลุม ต้นไม้ทั้งหลาย เป็นเครื่องทำ
ต้นไม้ที่มันงอกคลุมแล้ว ให้ล้มหักกระจัดกระจาย วิบัติไป.
[๔๙๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นก็เหมือนกัน กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ละกามเช่นใดแล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต กุลบุตรนั้น ย่อมเป็นผู้เสียหายวิบัติไป ด้วยกามเช่นนั้น หรือที่เลวกว่านั้น.
[๔๙๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม ๕ อย่าง ที่ครอบงำ จิตทำปัญญาให้ทราม ๕ อย่างเป็นไฉน ? คือ กามฉันทะ เป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่องห้าม ครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทราม พยาบาท... ถีนมิทธะ... อุทธัจจกุกกุจจะ...วิจิกิจฉา เป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่องห้าม ครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทราม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม ครอบงำจิต ทำปัญญา ให้ทราม๕ อย่างเหล่านี้แล.
[๕๐๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้ามไม่ ครอบงำจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งผลคือ วิชชาและวิมุติ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ?
คือ สติสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นธรรมกั้นไม่เป็นธรรมห้าม ไม่ครอบงำจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้ มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ ฯลฯ
อุเบกขา สัมโพชฌงค์ ไม่เป็นธรรมกั้น... ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗เหล่านี้แล ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ไม่ครอบงำจิต อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ.
จบ สูตรที่ ๙
501
นีวรณสูตร
นิวรณ์ทำให้มืด
[๕๐๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุกระทำ ไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน ?
คือ กามฉันทนิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
พยาบาทนิวรณ์... ถีนมิทธนิวรณ์... อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์... วิจิกิจฉานิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุกระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับ ปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้นไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล กระทำให้มืดกระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ เป็น ที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความ คับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.
[๕๐๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพานโพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ?
คือ สติสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณเป็นที่ตั้งแห่งความ เจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความ คับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญ ปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่ง ความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไป เพื่อนิพพาน.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ นีวรณวรรคที่ ๔
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กุสลสูตรที่ ๑ ๒. กุสลสูตรที่ ๒
๓. อุปกิเลสสูตร ๔. อโยนิโสสูตร
๕. โยนิโสสูตร ๖. วุฑฒิสูตร
๗. อาวรณาวนีรณสูตร ๘. นีวรณาวรณสูตร
๙. รุกขสูตร ๑๐. นีวรณสูตร
จักกวัตติวรรคที่ ๕
503
วิธาสูตร
ละมานะ ๓ เพราะโพชฌงค์
[๕๐๓]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาลละมานะ ๓ อย่างได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ทั้งหมด ละได้แล้วก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักละมานะ ๓ อย่างได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด จักละได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน ละมานะ ๓ อย่างได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ละได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว.
[๕๐๔]
โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล ละมานะ ๓อย่างได้แล้ว... สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักละมานะ ๓อย่างได้...
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน ละมานะ ๓ อย่างได้สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ละได้ก็เพราะ โพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว.
จบ สูตรที่ ๑
505
จักกวัตติสูตร
รัตนะ ๗ อย่าง
[๕๐๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะพระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ รัตนะ ๗ อย่างจึงปรากฏรัตนะ ๗ อย่างเป็นไฉน ? คือ จักรแก้ว ๑ ช้างแก้ว ๑ [1] แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑คหบดีแก้ว ๑ ปริณายกแก้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะพระเจ้าจักรพรรดิ ปรากฏรัตนะ ๗ อย่างเหล่านี้จึงปรากฏ.
1. ม้าแก้ว -ผู้รวบรวม
[๕๐๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ รัตนะคือ โพชฌงค์ ๗ จึงปรากฏ รัตนะ คือ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ? ได้แก่ รัตนะคือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ รัตนะ คือ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกรภิกษุทั้งหลายเพราะ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ รัตนะ คือโพชฌงค์ ๗ เหล่า นี้จึงปรากฏ.
จบ สูตรที่ ๒
507
มารสูตร
โพชฌงค์เป็นมรรคาเครื่องยํ่ายีมาร
[๕๐๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมรรคาเป็นเครื่องยํ่ายีมาร และเสนามารแก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงตั้งใจฟังมรรคานั้น ก็มรรคาที่เป็นเครื่องยํ่ายีมารและ เสนามารเป็นไฉน ? คือ โพชฌงค์ ๗ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯอุเบกขา สัมโพชฌงค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมรรคา เครื่องยํ่ายีมารและเสนามาร.
จบ สูตรที่ ๓
508
ทุปปัญญสูตร
เหตุที่เรียกว่าคนโง่คนใบ้
[๕๐๘]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูล ถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า คนโง่ คนใบ้ คนโง่ คนใบ้ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะเรียกว่าคนโง่ คนใบ้ ?
[๕๐๙]
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า คนโง่ คนใบ้ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗อันตนไม่เจริญแล้ว ไม่กระทำให้มากแล้ว ไม่กระทำให้มากแล้ว 1 โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า คนโง่ คนใบ้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันตนไม่เจริญแล้ว ไม่กระทำ ให้มากแล้ว.
จบ สูตรที่ ๔
510
ปัญญวาสูตร
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงเรียกว่าคนมีปัญญา
[๕๑๐]
สาวัตถีนิทาน. ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า คนมีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้ คนมีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้ ดังนี้ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะเรียกว่า คนมีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้ ?
[๕๑๑]
พ. ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า คนมีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตน เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ? คือ สติสัมโพชฌงค์ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า คนมีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้ก็เพราะ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว.
จบ สูตรที่ ๕
512
ทฬิททสูตร
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงเรียกว่าคนจน
[๕๑๒]
สาวัตถีนิทาน. ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า คนจน คนจน ดังนี้ ด้วยเหตุ เพียงเท่าไรหนอ จึงเรียกว่าคนจน ?
[๕๑๓]
พ. ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า คนจน ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนไม่เจริญแล้วไม่กระทำ ให้มากแล้ว โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขา-สัมโพชฌงค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่เรียกว่า คนจน ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันตนไม่เจริญแล้ว ไม่กระทำให้มากแล้ว.
จบ สูตรที่ ๖
514
อทฬิททสูตร
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงเรียกว่าคนไม่จน
[๕๑๔]
สาวัตถีนิทาน. ภิ.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าคนไม่จน คนไม่จน ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงเรียกว่าคน ไม่จน ?
[๕๑๕]
พ. ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า คนไม่จน ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขา-สัมโพชฌงค์ ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า คนไม่จน ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันตน เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว.
จบ สูตรที่ ๗
516
อาทิจจสูตร
ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นเบื้องต้นแห่งโพชฌงค์
[๕๑๖]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อนคือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิด แห่งโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นก็เหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อ นี้ได้ว่าจักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗.
[๕๑๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๘
518
อังคสูตรที่ ๑
โยนิโสมนสิการเป็นปัจจัยแห่งโพชฌงค์
[๕๑๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทำปัจจัยภายในให้เป็นเหตุแล้ว เรายังไม่เล็งเห็นเหตุอื่น แม้อันหนึ่งเพื่อความบังเกิดแห่งโพชฌงค์ ๗ เหมือนกับโยนิโสมนสิการเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย [1] โยนิโสมนสิการ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำ
ให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗.
[๕๑๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึง พร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๙
520
อังคสูตรที่ ๒
ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นปัจจัยแห่งโพชฌงค์
[๕๒๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทำปัจจัยภายนอกให้เป็นเหตุแล้ว เรายังไม่เล็งเห็นเหตุอื่น แม้อันหนึ่ง เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ ๗ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดีเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗.
[๕๒๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัย วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ จักกวัตติวรรคที่ ๕
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. วิธาสูตร ๒. จักกวัตติสูตร
๓. มารสูตร ๔. ทุปปัญญสูตร
๕. ปัญญวาสูตร ๖. ทฬิททสูตร
๗. อทฬิททสูตร ๘. อาทิจจสูตร
๙. อังคสูตรที่ ๑ ๑๐. อังคสูตรที่ ๒
หมวด ๖ แห่งโพชฌงค์ที่ ๖
522
อาหารสูตร
อาหารของนิวรณ์
[๕๒๒]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาหารและสิ่งที่มิใช่อาหาร ของนิวรณ์ ๕และโพชฌงค์ ๗ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังเรื่องนั้น.
[๕๒๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ ยิ่งขึ้น ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศุภนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการ ในศุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้กามฉันทะ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
[๕๒๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญ ไพบูลย์ยื่งขึ้น ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิฆนิมติ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในปฏิฆ นิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้พยาบาท ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
[๕๒๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่ยินดี ความเกียจคร้านความบิดขี้เกียจ ความเมา อาหาร ความที่ใจหดหู่มีอยู่ การกระทำ ให้มากซึ่ง อโยนิโสมนสิการ ในสิ่งเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
[๕๒๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะ ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้น ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่สงบใจมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง อโยนิโสมนสิการ ในความไม่สงบใจนั้นนี้เป็น อาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
[๕๒๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือ ที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ ยิ่งขึ้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉามีอยู่ การกระทำ ให้มากซึ่งอโยนิโส มนสิการ ในธรรม เหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้วิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.อาหารของโพชฌงค์
[๕๒๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์ ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย เป็นที่ตั้งแห่งสติสมั โพชฌงค์ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง โยนิโสมนสิการ ในธรรมเหล่านั้น นี้เป็น อาหารให้สติ สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
[๕๒๙]
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์ ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศลและอกุศลที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นส่วนข้างดำ และข้างขาว มีอยู่ การกระทำให้มาก ซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
[๕๓๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์ ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความริเริ่ม ความพยายามความบากบั่น มีอยู่ การกระทำ ให้มากซึ่ง โยนิโสมนสิการ ในสิ่งเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้วิริยสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
[๕๓๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย เป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรม เหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
[๕๓๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์ ?
ดูกรภิกษุทั้งหาย ความสงบกาย ความสงบจิต มีอยู่การกระทำให้มากซึ่ง โยนิโสมนสิการในความสงบนี้ นี้เป็นอาหารให้ปัสัสทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
[๕๓๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์ ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต(นิมิตร 1 แห่งจิตอันมีอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน) มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง โยนิโสมนสิการในนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด กิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญบริบูรณ์.
[๕๓๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์ ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ ในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์. มิใช่อาหารของนิวรณ์
[๕๓๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้น ? ดูกรภิกษุทั้ง หลาย อศุภนิมติ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในอศุภนิมิตนั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้ กามฉันทะ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
[๕๓๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือ ที่เกิดแล้วให้เจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้น ? ดูกรภิกษุทั้ง หลาย เจโตวิมุติมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในเจโตวิมุตินั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้พยาบาท ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
[๕๓๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือ ที่เกิดแล้วให้เจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้น ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความริเริ่ม ความพยายาม ความบากบั่นมีอยู่ การกระทำให้มาก ซึ่งโยนิโสมนสิการในสิ่งเหล่านั้นนี้ ไม่เป็นอาหาร ให้ถีนมิทธะ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว 1 ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
[๕๓๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดแล้วให้ เจริญไพบูลย์ ยิ่งขึ้น ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสงบใจ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ ในความสงบใจนั้น นี้ไม่เป็นอาหาร ให้ อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
[๕๓๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศลที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็น ส่วนข้างดำ และข้างขาว มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ ในธรรมเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.มิใช่อาหารของโพชฌงค์
[๕๔๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์ ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย เป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การไม่กระทำให้มากซึ่ง มนสิการในธรรม เหล่านั้นนี้ไม่เป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
[๕๔๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้ธัมมจยสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์ ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็น กุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นส่วนข้างดำ และ ข้างขาว มีอยู่การไม่กระทำให้มาก ซึ่งมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหาร ให้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
[๕๔๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์ ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความริเริ่ม ความพยายามความบากบั่น มีอยู่ การไม่กระทำให้มากซึ่งมนสิการในสิ่งเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
[๕๔๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์ ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย เป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การไม่กระทำให้มากซึ่งมนสิการ ในธรรม เหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
[๕๔๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัม โพชฌงค์ทยิ่งไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดแล้วให้เจริญ บริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสงบกาย ความสงบจิต มีอยู่การไม่กระทำให้มากซึ่งมนสิการในความสงบนั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
[๕๔๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์ ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพัยคคินมิต มีอยู่การไม่กระทำให้มากซึ่งมนสิการใน นิมิตนั้น นี้ไม่เป็นอาหาร ให้สมาธิ สัมโพชฌงค์ที่ยัง ไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
[๕๔๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญ บริบูรณ์ ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็น ที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การไม่กระทำให้มากซึ่งมนสิการ ในธรรม เหล่านั้นนี้ไม่เป็นอาหารให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือ ที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
จบ สูตรที่ ๑
547
ปริยายสูตร
ปริยายนิวรณ์ ๕
[๕๔๗]
ครั้งนั้น ภิกษุมากรูป เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยัง พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ได้มีความดำริว่า เวลานี้เราจะเที่ยวไป บิณฑบาตในพระนครสาวัตถีก่อน ก็ยังเช้านัก ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปยังอาราม ของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปยังอารามของพวก อัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับ พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการ ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพวก อัญญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายเหล่านี้ว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละ นิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ดังนี้แม้พวกเรา ก็แสดงธรรม แก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงละนิวรณ์ ๕อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลัง ปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของเรานี้อะไรเป็นความ แปลกกัน อะไร เป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็นความต่างกัน ระหว่างธรรมเทศนา ของพวกเรากับ ธรรมเทศนา ของพระสมณโคดม หรืออนุศาสนีของพวกเรา กับอนุศาสนีของ พระสมณโคดม.
[๕๔๘]
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูดของอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก พวกนั้น ครั้นแล้วลุกจาก อาสนะหลีกไป ด้วยตั้งใจว่า เราทั้งหลายจักทราบ เนื้อความ แห่งคำพูดนี้ในสำนัก ของพระผู้มีพระภาค.
[๕๔๙]
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นครั้นเที่ยวบิณฑบาต ในพระนครสาวัตถี เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อเช้าวันนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายนุ่งแล้ว ถือบาตร และจีวร ได้เข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร สาวัตถี
ข้าพระองค์ทั้งหลายได้มีความดำริว่า เวลานี้เราจะเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนคร สาวัตถีก่อน ก็ยังเช้านัก ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปยังอาราม ของพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเถิด ลำดับนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายเข้าไปยัง อารามของพวกอัญญ เดียรถีย์ ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการ ปราศรัยพอให้ระลึก ถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกได้พูดกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายพระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย อย่างนี้ว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ดังนี้ แม้พวกเราก็แสดง ธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละ นิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอน กำลังปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของเรานี้อะไรเป็นความแปลกกัน อะไรเป็น ประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็นความต่าง กัน ของพระสมณโคดม หรือของพวกเรา คือว่าธรรมเทศนาของพวกเรา กับธรรมเทศนาของ พระสมณโคดม หรืออนุศาสนีของพวกเรากับอนุศาสนีของพระสมณโคดม.
[๕๕๐]
ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูดของอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุก จากอาสนะหลีกไป ด้วยตั้งใจว่า เราทั้งหลาย จักทราบเนื้อความของคำพูดนี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาค.
[๕๕๑]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกผู้มีวาทะ อย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอ ทั้งหลาย พึงถามอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปริยายที่นิวรณ์ ๕อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่าง ที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง มีอยู่หรือ ?พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ถูกเธอทั้งหลายถาม อย่างนี้แล้ว จักแก้ไม่ได้เลย และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่ง ข้อเป็นเพราะเหตุไร ? เพราะเป็นปัญหา ที่ถามในฐานะมิใช่วิสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะยังจิตให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้ เว้นเสียจากตถาคต สาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากตถาคตหรือจากสาวกของตถาคตนั้น.
[๕๕๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่นิวรณ์ ๕ อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่าง เป็นไฉน ?
[๕๕๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้กามฉันทะในภายในก็เป็นนิวรณ์ แม้กามฉันทะในภายนอก ก็เป็นนิวรณ์ คำว่า กามฉันทนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ กามฉันทนิวรณ์นั้น ก็เป็น ๒ อย่าง.
[๕๕๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พยาบาทในภายในก็เป็นนิวรณ์ แม้พยาบาทในภายนอก ก็เป็นนิวรณ์ คำว่า พยาบาทนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ พยาบาทนิวรณ์นั้น ก็เป็น ๒ อย่าง.
[๕๕๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ถีนะก็เป็นนิวรณ์ แม้มิทธะก็เป็นนิวรณ์ คำว่า ถีนมิทธนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ ถีนมิทธนิวรณ์นั้น ก็เป็น ๒ อย่าง.
[๕๕๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อุทธัจจะก็เป็นนิวรณ์ แม้กุกกุจจะก็เป็นนิวรณ์ คำว่า อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ นั้นก็เป็น ๒ อย่าง.
[๕๕๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้วิจิกิจฉาในธรรมทั้งหลายภายใน 1 ก็เป็นนิวรณ์ แม้วิจิกิจฉาในธรรมทั้งหลายในภายนอก ก็เป็นนิวรณ์ คำว่า วิจิกิจฉานิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศแม้โดยปริยายนี้ วิจิกิจฉานิวรณ์นั้น ก็เป็น ๒ อย่าง.
[๕๕๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายนี้แล ที่นิวรณ์ ๕ อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่างนี้.
[๕๕๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง เป็นไฉน ?
[๕๖๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สติในธรรมทั้งหลายในภายในก็เป็นสติ สัมโพชฌงค์แม้สติ ในธรรมทั้งหลาย ในภายนอกก็เป็น สติสัมโพชฌงค์ คำว่า สติสัมโพชฌงค์ ดังนี้ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ สติสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.
[๕๖๑]
แม้ธรรมทั้งหลายในภายใน ที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจตราถึงความพินิจพิจารณา ด้วยปัญญา ก็เป็นธัมมวิจย สัมโพชฌงค์ แม้ธรรมทั้งหลายในภายนอก ที่บุคคล เลือกเฟ้นตรวจตรา ถึงความพินิจพิจารณาด้วยปัญญา ก็เป็นธัมมวิจย สัมโพชฌงค์ คำว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.
[๕๖๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ความเพียรทางกายก็เป็น วิจยสัมโพชฌงค์ แม้ความเพียร ทางจิตก็เป็นวิริย สัมโพชฌงค์ คำว่า วิริยสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.
[๕๖๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ปีติที่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์ แม้ปีติที่ไม่มีวิตก วิจารก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์ คำว่าปีติสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อเทศ แม้โดยปริยายนี้ปีติสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.
[๕๖๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ความสงบกายก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ แม้ความสงบจิต ก็เป็นปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ คำว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็น ๒ อย่าง.
[๕๖๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิที่มีวิตกวิจารก็เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์ แม้สมาธิที่ไม่มี วิตกวิจารก็เป็นสมาธิ สัมโพชฌงค์ คำว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ สมาธิสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.
[๕๖๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ความวางเฉยในธรรมทั้งหลายในภายใน ก็เป็นอุเบกขา-สัมโพชฌงค์ แม้ความวางเฉยในธรรม ทั้งหลายในภายนอก ก็เป็นอุเบกขา สัมโพชฌงค์คำว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.
[๕๖๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยปริยายนี้แล ที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง.
จบ สูตรที่ ๒
568
อัคคิสูตร
เจริญโพชฌงค์ตามกาล
[๕๖๘]
ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมาก เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต ยังพระนครสาวัตถี (ความต่อไปเหมือนปริยายสูตรข้อ ๕๔๗-๕๕๐) พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ผู้มีวาทะ อย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลายพึงถามอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใดจิตหดหู่ สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อเจริญโพชฌงค์ เหล่าไหนเป็นกาลเพื่อ เจริญโพชฌงค์เหล่าไหน ?
สมัยใด จิตฟุ้งซ่านสมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน เป็นกาลเพื่อ เจริญโพชฌงค์เหล่าไหน ? พวกอัญญเดียร์ถีย์ปริพาชกถูกเธอทั้งหลาย ถามอย่างนี้แล้ว จักแก้ไม่ได้เลย และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่ง ข้อเป็น เพราะเหตุไร ?
เพราะเป็นปัญหาที่ถามในฐานะมิใช่วิสัยดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่แลเห็น บุคคลในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะยังจิตให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้ เว้นเสียจากตถาคต สาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากตถาคต หรือ จากสาวกของตถาคตนั้น.
[๕๖๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญปัสสัทธิสมั โพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัม โพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะจิตที่หดหู่ จิตที่หดหู่นั้นยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือน บุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นนํ้า และโรยฝุ่นลงในไฟนั้น บุรุษนั้น จะสามารถก่อไฟ ดวงน้อยให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ ?
ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.
พ. ฉันนั้นก็เหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อ เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาล เพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อ เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น
[๕๗๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญธัมมวิจย สัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริย สัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติ สัมโพชฌงค์ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะจิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรม เหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้งไม้แห้ง เอาปากเป่า และไม่โรยฝุ่นในไฟนั้น บุรุษนั้นจะสามารถก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ ?
ภิ. ได้ พระเจ้าข้า.พ. ฉันนั้นก็เหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญธัมมวิจย สัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะจิต หดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น.
[๕๗๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญธัมมวิจย-สัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญ วิยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัม โพชฌงค์ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะ ให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้งไม้แห้ง เอาปากเป่า และไม่โรยฝุ่นลงไป ในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นจะสามารถดับไฟกองใหญ่ได้หรือหนอ ?
ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.
พ. ฉันนั้นก็เหมือนกันภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อ เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาล เพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อ เจริญปีติ-สัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่าน นั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่าน้นั .
[๕๗๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิ สัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขา สัมโพชฌงค์ขอ้ นนั้ เปน็ เพราะเหตุไร ? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่า ยด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสดไม้สด พ่นนํ้า และโรยฝุ่นลงในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นจะสามารถดับกองไฟกองใหญ่นั้นได้หรือหนอ ?
ภิ. ได้ พระเจ้าข้า.
พ. ฉันนั้นก็เหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นเป็นกาล เพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาล เพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อ นั้นเพราะเหตุไร ? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้นให้สงบได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสติแล ว่ามีประโยชน์ในที่ทั้งปวง.
จบ สูตรที่ ๓
573
เมตตสูตร
พรหมวิหาร ๔
[๕๗๓]
สู่สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวโกลิยะ ชื่อ หลิททวสันนะ ในโกลิยชนบท ครั้งนั้น ภิกษุหลาย รูป ด้วยกัน เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและ จีวร เข้าไปบิณฑบาตยังหลิททวสันนนิคม ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความ ดำริว่า เวลานี้เราจะเที่ยวไปบิณฑบาตยังหลิททวสันนนิคมก่อน ก็ยังเช้านัก ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปยังอารามของพวก อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด.
[๕๗๔]
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก ถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกได้พูดกะ ภิกษุเหล่านั้นว่า
[๕๗๕]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย อย่างนี้ว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละ นิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจทอน กำลังปัญญา แล้วจงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิดทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวางจงมีใจ ประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวรไม่มีความ เบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่าอยู่เถิด.
[๕๗๖]
จงมีใจประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วย กรุณาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่าอยู่เถิด.
[๕๗๗]
จงมีใจประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วย มุทิตาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียด เบียนแผ่ ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่าอยู่เถิด.
[๕๗๘]
จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วย อุเบกขา อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่าอยู่เถิด.
[๕๗๙]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย แม้พวกเราก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละ นิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลัง ปัญญา แล้วจงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิดทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ฯลฯ.
[๕๘๐]
จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วย อุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวรไม่มีความเบียด เบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่าอยู่เถิด.
[๕๘๑]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของพวกเรานี้ อะไรเป็นความแปลกกัน อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็น ความ ต่างกัน ของพระสมณโคดม หรือ ของพวกเรา คือว่า ธรรมเทศนาของพวกเรากับธรรมเทศนาของ พระสมณ โคดมหรืออนุศาสนีของพวกเรากับอนุศาสนีของพระสมณโคดม.
[๕๘๒]
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูดของอัญญเดียรถีย์ปริพาชก เหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยตั้งใจว่า เราทั้งหลายจักทราบ เนื้อความแห่งคำพูดนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค.
[๕๘๓]
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในหลิททวสันนนิคม กลับจาก บิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
[๕๘๔]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ทั้งหลาย นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไป บิณฑบาต ยังหลิททวสันนนิคม ข้าพระองค์ ทั้งหลายได้มีความดำริว่า เวลานี้ เราจะเที่ยวไปบิณฑบาต ยังหลิททวสันนนิคม ก่อนก็ยังเช้านัก ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปยังอาราม ของพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเถิด.
[๕๘๕]
ลำดับนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ ระลึก ถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก ได้พูดกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า.
[๕๘๖]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละ นิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วจงมีใจ ประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิดทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวางจงมีใจประกอบด้วยเมตต าอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไป ทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่าอยู่เถิด.
[๕๘๗]
จงมีใจประกอบด้วยกรุณา...
[๕๘๘]
จงมีใจประกอบด้วยมุทิตา...
[๕๘๙]
จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วย อุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียด เบียนแผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่าอยู่เถิด.
[๕๙๐]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย แม้พวกเราก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละ นิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอน กำลังปัญญา แล้วจงมีใจระกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิดทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ฯลฯ.
[๕๙๑]
จงมีใจประกอบด้วยกรุณา...
[๕๙๒]
จงมีใจประกอบด้วยมุทิตา...
[๕๙๓]
จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วย อุเบกขา อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวรไม่มีความ เบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่าอยู่เถิด.
[๕๙๔]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของพวกเรานี้ อะไรเป็นความแปลกกัน อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็น ความต่างกัน ของพระสมณโคดมของหรือ พวกเรา1 คือว่า ธรรมเทศนาของพวกเรากับธรรมเทศนาของ พระสมณ โคดม หรืออนุศาสนีของพวกเรากับอนุศาสนีของพระสมณโคดม.
[๕๙๕]
ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูดของ อัญญเดียรถีย์ ปริพาชก เหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะ หลีกไป ด้วยตั้งใจว่า เราทั้งหลาย จักทราบเนื้อความแห่งคำพูดนี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาค.
[๕๙๖]
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะ อย่างนี้ควรเป็น ผู้อันเธอทั้งหลาย พึงถามอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผลมีอะไรเป็นที่สุด
กรุณาเจโตวิมุติ... มุทิตาเจโตวิมุติ... อุเบกขา เจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ถูกเธอทั้งหลาย ถามอย่างนี้แล้ว จักแก้ไม่ได้เลย และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่งข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร ? เพราะเป็น ปัญหาที่ถาม ในฐานะมิใช่วิสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะยังจิต ให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้ เว้นเสียจากตถาคต สาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากตถาคต หรือจากสาวกของตถาคต.
[๕๙๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยเมตตา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ
ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมี ความสำคัญว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญ ว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความ สำคัญว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งปฏิกูลนั้น อยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมความสำคัญว่าปฏิกูล ในสิ่งไม่ปฏิกูล และสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
ถ้าหวังอยู่ว่าเราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งปฏิกูล และสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งปฏิกูล และในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสีย แล้ววางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมวางเฉย มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรืออีก อย่างหนึ่ง เธอย่อมเข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเมตตา เจโตวิมุติว่า มีสุภวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุติ อันยวดยิ่ง ในธรรมวินัย ปัญญาของเธอ จึงยังเป็นโลกีย์.
[๕๙๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรุณาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคต ด้วยกรุณาอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูล ในสิ่งไม่ปฏิกูล อยู่ เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึง แยกสิ่งไม่ปฏิกูล และปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ววางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมวางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ในสิ่งทั้งสองนั้น หรืออีกอย่างหนึ่ง
เพราะล่วงรูปสัญญาเสียโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่ง นานัตตสัญญา เธอคำนึงอยู่ว่า อากาศไม่มีที่สุด ย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกรุณา เจโตวิมุติ ว่ามีอากาสานัญจายตนะเป็น อย่างยิ่ง เพราะภิกษุผู้ยังไม่แทงตลอด วิมุติ อัน ยวดยิ่งในธรรมวินัยนี้ ปัญญา ของเธอจึงยังเป็นโลกีย์.
[๕๙๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มุทิตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น อย่างยิ่งมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น ที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย นี้ย่อมเจริญสติ สัมโพชฌงค์ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขา สัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยมุทิตาอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่ง ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ
ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูล และปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ววางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมวางเฉย มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะ เสีย โดยประการทั้งปวง เธอคำนึงอยู่ว่าวิญญาณไม่มีที่สุด ย่อมบรรลุวิญญาณัญจายตนะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวมุทิตาเจโตวิมุติว่า มีวิญญาณัญจายตนะเป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่งในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของเธอจึง ยังเป็นโลกีย์.
[๖๐๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น อย่างยิ่งมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขา สัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอุเบกขาอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ถ้าเธอหวังอยู่ว่า
เราพึงมีความสำคัญ ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่า ไม่ปฏิกูล ในสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูล ในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความ สำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูล นั้นอยู่
ถ้าหวังอยู่ว่าเราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่ง ปฏิกูล และไม่ปฏิกูล อยู่ก็ย่อมมีความสำคัญว่า ไม่ปฏิกูล ในสิ่ง ปฏิกูล และในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่าเราพึงแยกสิ่งไม่ป ฏิกูล และปฏิกูล ทั้งสองนั้นออกเสียแล้ววางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมวางเฉยมีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง สองนั้นอยู่ หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญ จายตนะ เสียโดยประการทั้งปวง เธอคำนึงอยู่ว่าอะไรนิดหนึ่ง ไม่มีย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนะอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอุเบกขาเจโตวิมุติว่า มีอากิญจัญญายตนะเป็น อย่างยิ่ง เพราะภิกษุนั้น ยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่ง ในธรรมวินัยนี้ ปัญญา ของเธอจึงเป็นโลกีย์.
จบ สูตรที่ ๔
601
สคารวสูตร
นิวรณ์เป็นปัจจัยให้มนต์ไม่แจ่มแจ้ง
[๖๐๑]
สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อว่าสคารวะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วได้ทูล ถามพระผู้มีพระภาคว่า
[๖๐๒]
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้มนต์แม้ที่บุคคลกระทำ การสาธยายไว้นาน ไม่แจ่มแจ้ง ในบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำ การสาธยาย ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้มนต์แม้ ที่มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน ก็ยังแจ่มแจ้งในบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึง มนต์ที่กระทำการสาธยาย.
[๖๐๓]
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ สมัยใดแล บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วย กามราคะ อันกามราคะเหนี่ยวรั้งไป และไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง สมัยนั้น เขาไม่รู้ ไม่เห็นแม้ ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง แม้ซึ่ง ประโยชน์ทั้งสองอย่างตาม ความ เป็นจริง มนต์แม้ที่กระทำการสาธยาย ไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.
[๖๐๔]
ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่นํ้า ซึ่งระคนด้วยสีครั่ง สีเหลือง สีเขียวสีแดงอ่อน บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงา หน้าของตนในนํ้านั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจ ฟุ้งซ่าน ด้วยกามราคะ อันกามราคะเหนี่ยวรั้งไป และไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็น เครื่อง สลัดออกซึ่งกามราคะ ที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความ เป็นจริง ในสมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็นแม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ บุคคลอื่นตามความ เป็นจริงแม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองนั้นตามความเป็นจริง มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าว ถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.
[๖๐๕]
ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยพยาบาทอนั พยาบาทเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็น อุบายเป็น เครื่องสลัดออก ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง... .
[๖๐๖]
ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่นํ้า ซึ่งร้อนเพราะไฟเดือดพล่านมีไอพลุ่ง ขึ้น บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้า ของตนในนํ้านั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็น ตามความเป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้น เหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วย พยาบาทอันพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป และไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่อง สลัดออก ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความ เป็นจริง... .
[๖๐๗]
ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ อันถีนมิทธะ เหนี่ยวรั้งไป ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบาย เป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
[๖๐๘]
ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่นํ้า อันสาหร่ายและจอกแหนปกคลุมไว้ บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตน ในนํ้านั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความ เป็นจริงฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ อันถีนมิทธะเหนี่ยวรั้ง ไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้น แล้วตามความ เป็นจริง... .
[๖๐๙]
ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ อันอุทธัจจกุกกุจจะ เหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง... .
[๖๑๐]
ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่นํ้า อันลมพัดต้องแล้ว หวั่นไหวกระเพื่อม เกิดเป็นคลื่น บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมอง ดูเงาหน้าของตนในนํ้านั้น ไม่พึงรู้ไม่พึงเห็น ตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วย อุทธัจจกุกกุจจะ อันอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป และไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่อง สลัดออก ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง... .
[๖๑๑]
ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง ในสมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา อันวิจิกิจฉา เหนี่ยวรั้งไป และไม่รู้ ไม่เห็น อุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งวิจิกิจฉา ที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็นแม้ซึ่งประโยชน์ ตนตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง แม้ซึ่ง ประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.
[๖๑๒]
ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่นํ้าที่ขุ่นมัวเป็นเปือกตม อันบุคคลวางไว้ ในที่มืด บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้า ของตนในนํ้านั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็น ตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วย วิจิกิจฉา อันวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
สมัยนั้นเขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็นแม้ซึ่ง ประโยชน์ตน ตามความเป็นจริง แม้ซึ่ง ประโยชน์บุค คลอื่นตามความเปนจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่าง ตามความเป็นจริง มนต์ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่มิได้กระทำการสาธยาย.
[๖๑๓]
ดูกรพราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ไม่แจ่มแจ้งในบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึง มนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.
[๖๑๔]
ดูกรพราหมณ์ ส่วนสมัยใด บุคคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ ไม่ถูกกามราคะ เหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบาย เป็น เครื่องสลัดออก ซึ่งกามราคะ ที่บังเกิดขึ้น แล้วตามความเป็น จริง ในสมัยนั้นเขาย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ซึ่ง ประโยชน์ ตนตามความเป็น จริงแม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่น ตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริงมนต์ แม้ที่มิได้กระทำการสาธยาย เป็นเวลานาน ย่อมแจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.
[๖๑๕]
ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่นํ้าอันไม่ระคนด้วยสีครั่ง สีเหลือง สีเขียวหรือสีแดงอ่อน บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในนํ้านั้น พึงรู้พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉนั ใด ฉนั นนั้ เหมือนกัน สมัยใดหากบุคคล มีใจไม่ฟุ้ง ซ่านด้วยกามราคะ ไม่ถูกกามราคะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามราคะ ที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความ เป็นจริง ฯลฯ.
[๖๑๖]
ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใดแล บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท ไม่ถูกพยาบาท เหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็น เครื่องสลัดออก ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง ฯลฯ.
[๖๑๗]
ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่นํ้าที่ไม่ร้อนเพราะไฟ ไม่เดือดพล่าน ไม่เกิดไอ บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้า ของตนในนน้ำนั้นพึงรู้ พึงเห็นตาม ความเป็นจริงได้ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วย พยาบาท ไม่ถูกพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็น อุบายเป็นเครื่อง สลัดออก ซึ่งพยาบาท ที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความ เป็นจริง ฯลฯ.
[๖๑๘]
ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะไมถ่ กู ถีนมิทธะเหนยี่ วรงั้ ไป และยอ่ มรู ยอ่ มเห็นอุบายเปน็ เครืองสลัดออก ซึ่งถีนมิทธะ ที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ.
[๖๑๙]
ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่นํ้า อันสาหร่ายและจอกแหนไม่ปกคลุมไว้ บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้า ของตนในนํ้านั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง ได้ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ ไม่ถูก ถีนมิทธะ เหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบาย เป็นเครื่องสลัดออก ซึ่ง ถีนมิทธะ ที่บังเกิดขึ้น แล้วตามความ เป็นจริง ฯลฯ.
[๖๒๐]
ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่งสมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะ เหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความจริง ฯลฯ.
[๖๒๑]
ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่นํ้า อันลมไม่พัดต้องแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่กระเพื่อม ไม่เกิดเป็นคลื่น บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในนํ้านั้น พึงรู้พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจ ไม่ฟุ้ง ซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะ ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง ฯลฯ.
[๖๒๒]
ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา ไม่ถูกวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ.
[๖๒๓]
ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่นํ้า อันใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว อันบุคคล วางไว้ในที่แจ้ง บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงา หน้าของตนในนํ้านั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจ ไม่ฟุ้งซ่านด้วย วิจิกิจฉาไม่ถูกวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบาย เป็นเครื่อง สลัดออก ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง
สมัยนั้น เขาย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ซึ่งประโยชน์ตน ตามความเป็นจริง แม้ซึ่ง ประโยชน์บุคคล อื่น ตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่าง ตามความเป็นจริง มนต์แม้ ที่มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน ย่อมแจ่มแจ้งได้ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ ที่กระทำการสาธยาย.
[๖๒๔]
ดูกรพราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้มนต์แม้ที่มิได้กระทำการสาธยาย เป็นเวลานาน ก็ยังแจ่มแจ้งได้ในบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำ การสาธยาย.
[๖๒๕]
ดูกรพราหมณ์ โพชฌงค์แม้ทั้ง ๗ นี้ มิใช่เป็นธรรมกั้น มิใช่เป็นธรรมห้ามไม่เป็น อุปกิเลส ของใจ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ?
คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกรพราหมณ์ โพชฌงค์ ๗ นี้แล มิใช่เป็นธรรมกั้น มิใช่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของใจ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ.
[๖๒๖]
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สคารวพราหมณ์ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาค ว่าข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนักฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรด ทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบ สูตรที่ ๕
|