เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
    01 of 5  
  ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา  ที่มา : http://watnapp.com/book  
     
    หน้า  
  ความสำคัญของ สมถะ วิปัสสนา 1  
  ข้อ    
  01 ธรรมที่เป็นส่วนแห่งวิชชา 3  
  02 เจริญสมถะและวิปัสสนา ย่อมแทงตลอดซึ่งธาตุเป็นอเนก 4  
  03 สมถะและวิปัสสนา ต้องเป็นธรรมที่เคียงคู่กันไป 8  
  04 ธรรมที่ควรกำหนดรู้, ควรละ,ควรทำให้เจริญ, ควรทำให้แจ้ง (นัยที่ ๑) 13  
  05 ธรรมที่ควรกำหนดรู้, ควรละ,ควรทำให้เจริญ, ควรทำให้แจ้ง (นัยที่ ๒) 14  
  06 เพราะไม่รู้อริยสัจ จึงต้องท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ 18  
  07 เจริญสมาธิแล้ว จักรู้ได้ตามเป็นจริง (นัยที่ ๑) 20  
  08 เจริญสมาธิแล้ว จักรู้ได้ตามเป็นจริง (นัยที่ ๒) 21  
  09 เจริญสมาธิแล้ว จักรู้ได้ตามเป็นจริง (นัยที่ ๓) 22  
  10 เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่ากำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน 25  
  11 เจริญสมาธิ ได้ความอยู่เป็นสุขในปัจจุบันและ ที่สุดแม้แต่ความสิ้นอาสวะ 27  
  12 อานิสงส์ของการหลีกเร้น (นัยที่ ๑ ) 30  
  13 อานิสงส์ของการหลีกเร้น (นัยที่ ๒) 31  
  14 ตถาคตตรัสให้ “พึ่งตน พึ่งธรรม” 32  
  15 การแสวงหา ๒ แบบ 36  
       - การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ 36  
       - การแสวงหาที่ประเสริฐ 39  
  16 โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก 41  
  17 สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ 44  
  18 สิ่งที่ใครๆ ในโลกไม่ได้ตามปรารถนา 48  
  19 สิ่งที่ควรพิจารณาเนืองๆ 53  
  20 เพราะแตกสลาย จึงได้ชื่อว่า “โลก” 60  
  21 เป็นทุกข์เพราะติดอยู่ในอายตนะ 62  
  22 ความเพลินในอายตนะ เท่ากับเพลินอยู่ในทุกข์ 64  
  23 ความไม่เพลินในอายตนะ คือความหลุดพ้นจากทุกข์ 66  
  24 ฉันทะ เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ 68  
  25 ทิ้งเสียนั่นแหละกลับจะเป็นประโยชน์ 71  
  26 ความเร่าร้อนเพราะกามตัณหา 73  
  27 สิ่งทั้งปวงที่ต้องรู้จัก เพื่อความสิ้นทุกข์ (นัยที่ ๑) 75  
  28 สิ่งทั้งปวงที่ต้องรู้จัก เพื่อความสิ้นทุกข์ (นัยที่ ๒) 79  
  29 สิ่งทั้งปวงที่ต้องรู้จัก เพื่อความสิ้นทุกข์ (นัยที่ ๓) 83  
  30 ธรรมที่ละได้ด้วยกาย ละได้ด้วยวาจา และไม่อาจละได้ด้วยกายหรือวาจา 84  
  31 ปัจจัยแห่งทุกข์ และความดับแห่งทุกข์ โดยอเนกปริยาย 90  
  32 เหตุให้ได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ 100  
  33 ทางให้ถึงความหลุดพ้นห้าทาง 104  
  34 ทัศนะต่างกัน แต่หลุดพ้นเหมือนกัน 109  
  35 ลำดับการปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล 114  
  36 อานิสงส์ของธรรม ๔ ประการ 116  
  37 ธรรมย่อมไหลไปสู่ธรรม 118  
  38 ความไม่ประมาท เป็นยอดแห่งกุศลธรรม 121  
  39 ลักษณะของผู้ไม่ประมาท (นัยที่ ๑) 122  
  40 ลักษณะของผู้ไม่ประมาท (นัยที่ ๒) 123  
     
 
 






ความสำคัญของ สมถะ วิปัสสนา

01 ธรรมที่เป็นส่วนแห่งวิชชา
-บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๗๗-๗๘/๒๗๕-๒๗๖.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่างอะไรเล่า คือ สมถะ และ วิปัสสนา.

ภิกษุทั้งหลาย.
สมถะที่อบรมแล้ว
ย่อมได้ประโยชน์อะไร (สมถะที่อบรมแล้ว) ย่อมอบรมจิต
จิตที่อบรมแล้ว ย่อมได้ประโยชน์อะไร(จิตที่อบรมแล้ว) ย่อมละราคะได้.

ภิกษุทั้งหลาย
วิปัสสนาที่อบรมแล้ว ย่อมได้ประโยชน์อะไร (วิปัสสนาที่อบรมแล้ว) ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมได้ประโยชน์อะไร (ปัญญาที่อบรมแล้ว) ย่อมละอวิชชาได้.

ภิกษุทั้งหลาย. จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือ ปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยอาการ อย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย.
เพราะ สำรอก ราคะ ได้ จึงชื่อว่า เจโตวิมุตติ
เพราะ สำรอก อวิชชาได้ จึงชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ  



02 เจริญสมถะและวิปัสสนา ย่อมแทงตลอดซึ่งธาตุเป็นอเนก
-บาลี ม. ม. ๑๓/๒๕๗-๒๖๑/๒๖๐-๒๖๖.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญผลที่กำหนดไว้เท่าใด ที่บุคคลพึงบรรลุด้วยญาณของพระเสขะ ด้วยวิชชาของพระเสขะ ผลนั้น ทั้งหมดข้าพระองค์ได้ บรรลุแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมที่ยิ่งขึ้นไปแก่ข้าพระองค์เถิด.

วัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเจริญธรรมทั้งสอง คือ สมถะและวิปัสสนาให้ยิ่งขึ้นไปเถิดวัจฉะ ธรรมทั้งสอง คือ สมถะและ วิปัสสนานี้ เมื่อเธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จักเป็นไปเพื่อแทงตลอดซึ่งธาตุเป็นอเนก.

          (๑).วัจฉะ. เธอนั้นเพียงหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธี หลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียว ก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด ดุจไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลง แม้ใน แผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ ไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำ พระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดังนี้ ในอิทธิ วิธีนั้นๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่

          (๒).วัจฉะ เธอนั้นเพียงหวังว่า เราพึงฟังเสียงทั้งสองคือเสียงทิพย์ และ เสียงของมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ด้วยทิพย โสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตธาตุของมนุษย์ดังนี้ ในทิพยโสตธาตุนั้นๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถทำ ได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่

          (๓).วัจฉะ.เธอนั้นเพียงหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วย คือ จิตมีราคะ พึงรู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิต ปราศจากราคะ พึงรู้ว่าจิตปราศจากราคะจิตมีโทสะ พึงรู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ พึงรู้ว่าจิต ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ พึงรู้ว่าจิตมีโมหะหรือจิตปราศจากโมหะ พึงรู้ว่าจิตปราศจากโมหะจิตหดหู่ พึงรู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน พึงรู้ว่าจิตฟุ้งซ่านจิตถึงซึ่งคุณอันใหญ่ พึงรู้ว่าจิตถึงซึ่งคุณอันใหญ่หรือจิตไม่ถึงซึ่งคุณอันใหญ่ พึงรู้ว่า จิตไม่ถึงซึ่งคุณอันใหญ่จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า พึงรู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าหรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า พึงรู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่น ยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ พึงรู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ พึงรู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น พึงรู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิต ไม่หลุดพ้น พึงรู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น ดังนี้ ในเจโตปริยญาณนั้นๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถทำได้จน เป็นสักขี พยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่.

          (๔).วัจฉะ เธอนั้นเพียงหวังว่า เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือพึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติ บ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ลอดสังวัฏฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏ วิวัฏฏกัป เป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวย ทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่าง นั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วย อาการ อย่างนี้ ดังนี้ ในบุพเพนิวาสานุสติญาณนั้นๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่.

          (๕).วัจฉะ เธอนั้นเพียงหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.ส่วนสัตว์ เหล่านี้ประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะ เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำ ด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้า แต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้. ในจูตูปปาตญาณนั้นๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่ อายตนะยังมีอยู่.

          (๖).วัจฉะ เธอนั้นเพียงหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดังนี้ ในอาสวักขยญาณนั้นๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถทำได้จน เป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่.

03 สมถะ และ วิปัสสนา ต้องเป็นธรรมที่เคียงคู่กันไป
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๒๑–๑๒๔/๙๓-๙๔.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคล ๔ จำ.พวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก.
๔ จำพวกเป็นอย่างไรคือ

        (๑).บุคคลบางคนในโลกนี้ มีปกติได้ความสงบแห่งใจในภายใน(เจโตสม ถะ) แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งในธรรม ด้วยปัญญาอันยิ่ง(อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา)
        (๒).บุคคลบางคนในโลกนี้ มีปกติได้ความเห็นแจ้งในธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่ไม่ได้ ความสงบ แห่งใจในภายใน
        (๓).บุคคลบางคนในโลกนี้ มีปกติไม่ได้ความสงบแห่งใจในภายใน ทั้งไม่ได้ความเห็น แจ้งในธรรม ด้วยปัญญาอันยิ่ง
        (๔).บุคคลบางคนในโลกนี้ มีปกติได้ความสงบแห่งใจในภายใน ทั้งได้ความเห็นแจ้ง ในธรรมด้วย ปัญญาอันยิ่ง

ภิกษุทั้งหลายในบุคคลเหล่านั้น
          (๑).บุคคลผู้มีปกติได้ความสงบแห่งใจในภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้ง ในธรรมด้วย ปัญญาอันยิ่ง บุคคลนั้นพึงตั้งอยู่ ใน ความสงบแห่งใจในภายใน แล้วกระทำ ความเพียรในความ เห็นแจ้งในธรรมด้วยปัญญา อันยิ่งสมัยต่อมา เขาย่อม เป็นผู้มีปกติได้ทั้งความสงบแห่งใจ ในภาย ใน และได้ทั้งความเห็นแจ้งในธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง.

          (๒).บุคคลผู้มีปกติได้ความเห็นแจ้งในธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่ไม่ได้ความสงบแห่งใจ ในภายในบุคคล นั้น พึงตั้งอยู่ ในความเห็นแจ้งในธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แล้วกระทำ ความเพียร ในความสงบแห่งใจในภายใน สมัยต่อมา เขาย่อม เป็นผู้มีปกติได้ทั้งความเห็นแจ้ง ในธรรมด้วย ปัญญาอันยิ่ง และได้ทั้งความสงบแห่งใจในภายใน.

          (๓).บุคคลผู้มีปกติไม่ได้ความสงบแห่งใจในภายใน ทั้งไม่ได้ความเห็นแจ้ง ในธรรมด้วย ปัญญาอันยิ่ง บุคคลนั้นพึง กระทำ ฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ย่อท้อ สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อให้ได้กุศลธรรมเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนบุคคล ผู้มีเสื้อผ้า ถูกไฟไหม้หรือมีศีรษะ ถูกไฟไหม้เขาพึงกระทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ย่อท้อ สติและสัมป ชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟที่ผ้าหรือที่ศีรษะ ฉันใดบุคคลนั้นก็พึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ย่อท้อ สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อให้ได้กุศลธรรม เหล่านั้น ก็ฉันนั้น เหมือนกัน สมัยต่อมาเขาย่อมเป็นผู้มีปกติ ได้ทั้งความสงบแห่งใจในภายใน และได้ ทั้งความเห็นแจ้งในธรรม ด้วยปัญญาอันยิ่ง.

          (๔).ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีปกติได้ทั้งความสงบแห่งใจในภายใน และได้ทั้งความเห็นแจ้งในธรรม ด้วยปัญญาอันยิ่ง บุคคลนั้นพึงตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแหละ แล้วกระทำความ เพียรให้ยิ่งขึ้น เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย...

ภิกษุทั้งหลายในบุคคลเหล่านั้น
          (๑).บุคคลผู้มีปกติได้ความสงบแห่งใจในภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้ง ในธรรมด้วย ปัญญาอันยิ่ง พึงเข้าไปหา บุคคล ผู้มีปกติได้ความเห็นแจ้งในธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แล้วถาม อย่างนี้ว่าท่านผู้มีอายุ พึงเห็นสังขารอย่างไร พึงพิจารณา สังขารอย่างไร พึงเห็นแจ้งสังขาร อย่างไร ผู้ถูกถามนั้น ย่อมตอบเขา ตามที่ตนเห็นแล้ว ตามที่ตนรู้แล้วว่า ท่านผู้มีอายุ พึงเห็น สังขารอย่างนี้ พึงพิจารณาสังขารอย่างนี้ พึงเห็น แจ้งสังขารอย่างนี้ สมัยต่อมา เขาย่อมเป็นผู้มี ปกติได้ทั้งความ สงบแห่งใจในภายใน และได้ทั้ง ความเห็นแจ้งในธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง.

          (๒).ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้มีปกติได้ความเห็นแจ้งในธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่ไม่ได้ ความสงบแห่งใจในภายใน พึงเข้าไปหาบุคคลผู้มีปกติได้ความสงบแห่งใจในภายใน แล้วถาม อย่างนี้ว่าท่านผู้มีอายุ พึงตั้งจิตไว้อย่างไร พึงน้อม จิตไปอย่างไร พึงทำจิตมีอารมณ์เดียว ให้เกิด ขึ้น ได้อย่างไร พึงชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างไร ผู้ถูกถามนั้น ย่อมตอบ เขาตามที่ตนเห็นแล้ว ตามที่ตนรู้แล้วว่า พึงตั้งจิตไว้อย่างนี้ พึงน้อมจิตไปอย่างนี้ พึงทำจิตมีอารมณ์เดียวให้เกิดขึ้น อย่างนี้ พึงชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างนี้ สมัยต่อมา เขาย่อมเป็นผู้มีปกติได้ทั้งความเห็นแจ้ง ในธรรม ด้วยปัญญา อันยิ่ง และได้ทั้งความสงบแห่งใจในภายใน.

          (๓).ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีปกติไม่ได้ความสงบแห่งใจในภายใน ทั้งไม่ได้ความเห็น แจ้ง ในธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง พึงเข้าไปหาบุคคลผู้มีปกติได้ทั้งความสงบแห่งใจในภายใน และ ได้ทั้งความเห็นแจ้งในธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แล้ว ถาม อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ พึงตั้งจิตไว้ อย่างไร พึงน้อมจิตไปอย่างไร พึงทำจิตมีอารมณ์เดียวให้เกิดขึ้น ได้อย่างไร พึงชักจูงจิตให้เป็น สมาธิได้อย่างไร พึงเห็นสังขารนั้นอย่างไร พึงพิจารณาสังขารอย่างไร พึงเห็นแจ้ง สังขาร อย่างไร
           ผู้ถูกถามนั้น ย่อมตอบเขาตามที่ตนเห็นแล้ว ตามที่ตนรู้แล้วว่า พึงตั้งจิตไว้อย่างนี้ พึง น้อมจิตไปอย่างนี้ พึงทำจิตมี อารมณ์เดียวให้เกิดขึ้นอย่างนี้ พึงชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างนี้ พึงเห็นสังขารอย่างนี้ พึงพิจารณาสังขารอย่างนี้ พึงเห็นแจ้งสังขารอย่างนี้.สมัยต่อมา เขาย่อม เป็นผู้มีปกติได้ทั้งความสงบแห่งใจในภายใน และได้ทั้งความเห็นแจ้งใน ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง.

          (๔).ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีปกติได้ความสงบแห่งใจในภายใน และได้ทั้งความเห็นแจ้ง ในธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง บุคคลนั้นพึงตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแหละ แล้วกระทำความเพียร ให้ยิ่งขึ้น เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.

          ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.


04 ธรรมที่ควรกำหนดรู้, ควรละ,
ควรทำให้เจริญ, ควรทำให้แจ้ง (นัยที่ ๑)

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓๓-๓๓๔/๒๕๔.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ๔ ประการเป็นอย่างไร คือ

ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงกำหนดรู้
ก็มีธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงละเสีย
ก็มีธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงทำให้เจริญ
ก็มีธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึง ทำให้แจ้งก็มี.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงกำหนดรู้ เป็นอย่างไรคือ อุปาทานขันธ์ ๕
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงกำหนดรู้

ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงละเสีย เป็นอย่างไร คือ อวิชชา และ ภวตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงละเสีย

ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงทำให้เจริญ เป็น อย่างไร คือ สมถะและวิปัสสนา
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงทำให้เจริญ

ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงทำให้แจ้ง เป็นอย่างไร คือ วิชชาและวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลายนี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วย ปัญญาแล้ว พึงทำให้แจ้ง

ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้แล ธรรม ๔ ประการ.


05 ธรรมที่ควรกำหนดรู้, ควรละ,
ควรทำให้เจริญ, ควรทำให้แจ้ง (นัยที่ ๒)

-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๕๒๓-๕๒๖/๘๒๘-๘๓๑.

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นรูปตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสุขก็ตาม อันเป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์ มิใช่สุขก็ตาม ตามความเป็นจริงเขาย่อมไม่กำหนัดในจักษุไม่กำหนัดในรูป ไม่กำหนัดในจักษุ วิญญาณไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส ไม่กำหนัดในเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม.

เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ลุ่มหลงแล้ว มีปกติเห็นโทษอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดต่อไป และตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบด้วยความ กำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ เขาย่อมละเสียได้ ความกระวนกระวายแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความกระวนกระวายแม้ทางจิต เขาย่อมละ เสียได้ความแผดเผาแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความแผดเผาแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้

ความเร่าร้อน แม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความเร่าร้อนแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความสุข อันเป็นไปทางกายด้วย ซึ่งความสุขอันเป็นไปทางจิต ด้วยเมื่อบุคคล เป็น เช่นนั้นแล้ว ทิฏฐิของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ ความดำริของเขา ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ ความ พยายามของเขา ย่อมเป็นสัมมาวายามะ สติของเขาย่อมเป็นสัมมาสติ สมาธิของเขา ย่อมเป็น สัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม แล ะอาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์อยู่ก่อนแล้วนั่นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค ของเขานั้น ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์

เมื่อเขาทำอริยอัฏฐังคิกมรรค ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ สติปัฏฐานทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความ เจริญบริบูรณ์ สัมมัปปธานทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์อิทธิบาท ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความ เจริญบริบูรณ์อินทรีย์ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ พละทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเจริญ บริบูรณ์โพชฌงค์ทั้ง ๗ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์

ธรรมทั้งสอง คือ สมถะและวิปัสสนา ของเขานั้น ย่อมเป็นธรรมเคียงคู่กันไปเขาชื่อว่า ย่อม กำหนดรู้ซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งย่อมละด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรม ทั้งหลายอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่งย่อมทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลาย

อันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันบุคคล พึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร กล่าวคือ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ได้แก่ อุปาทานขันธ์คือรูปอุปาทานขันธ์ คือเวทนาอุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์ คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร กล่าวคือ อวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้เจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร กล่าวคือ สมถะ และ วิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรเจริญด้วย ปัญญาอันยิ่ง

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำ ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร กล่าวคือ วิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรทำ ให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่ง (ในกรณีแห่งหมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน พึงขยายความเอาเองให้เต็มตามนั้น)


06 เพราะไม่รู้อริยสัจ จึงต้องท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑/๑, บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๑/๑๖๙๘.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจทั้ง ๔ เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้

ภิกษุทั้งหลาย.ก็อริยสัจทั้ง ๔ เป็นอย่างไร. คือ.
ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ (เหตุให้เกิดทุกข์) ทุกขนิโรธอริยสัจ (ความดับไม่เหลือของทุกข์) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์) ที่เมื่อไม่รู้ตามลำดับ และไม่แทงตลอดแล้ว เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้ว ในสังสารวัฏตลอดกาล ยืดยาวนานถึงเพียงนี้.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อทุกขอริยสัจ อันเราและพวกเธอทั้งหลาย รู้ตามลำดับและแทงตลอดแล้ว เมื่อทุกขสมุทยอริยสัจ อันเราและ พวกเธอ ทั้งหลาย รู้ตามลำดับและแทงตลอดแล้ว.เมื่อทุกขนิโรธอริยสัจ อันเราและพวกเธอทั้งหลาย รู้ตามลำดับและแทงตลอดแล้ว เมื่อทุกข นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อันเรา และพวกเธอทั้งหลาย รู้ตามลำดับ และ แทงตลอดแล้ว ตัณหาในภพก็ถูกถอนขึ้นได้ ตัณหาที่จะนำไป สู่ภพใหม่ก็สิ้นไป บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป
(สูตรอื่นได้ตรัสเหตุที่ทำให้ ต้องท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ เพราะไม่รู้ อริยธรรมสี่ประการ ดังต่อไปนี้ )

ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอดซึ่งธรรม ๔ ประการเราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนาน ถึงเพียงนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเป็นอย่างไร คือศีลที่เป็นอริยะ สมาธิที่เป็นอริยะปัญญาที่เป็นอริยะ และวิมุตติที่เป็นอริยะ ที่เมื่อไม่รู้ ตามลำดับ และไม่แทงตลอดแล้ว เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้ว ในสังสารวัฏตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้..

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อศีลที่เป็น อริยะสมาธิ ที่เป็น อริยะปัญญา ที่เป็นอริยะ และวิมุตติที่เป็นอริยะอันเรา และพวกเธอทั้งหลาย รู้ตามลำดับ และแทงตลอดแล้ว ตัณหาในภพก็ถูกถอนขึ้นได้ ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพใหม่ ก็สิ้นไป บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป.


07 เจริญสมาธิแล้ว จักรู้ได้ตามเป็นจริง (นัยที่ ๑)
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๐/๑๖๕๔.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ได้ตามความเป็นจริง ก็ภิกษุย่อมรู้อะไรได้ตามความเป็นจริง คือ ย่อมรู้ได้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์นี้ ทุกขสมุทัย.(เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา (ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์).

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามความเป็นจริง.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกข นิโรธคามินีปฏิปทา.


08 เจริญสมาธิแล้ว จักรู้ได้ตามเป็นจริง (นัยที่ ๒)
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๘๑/๒๔๙.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏตามความเป็นจริงก็อะไรเล่า ย่อมปรากฏตาม ความเป็นจริงคือจักษุ ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยงรูป ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยงจักษุวิญญาณ ย่อมปรากฏตาม ความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง จักษุสัมผัส ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง. (ในกรณีแห่งหมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน พึงขยายความเอาเองให้เต็มตามนั้น).

ภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด เพราะเมื่อภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏ ตามความเป็นจริง.


09 เจริญสมาธิแล้ว จักรู้ได้ตามเป็นจริง (นัยที่ ๓)
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘-๒๐/๒๗-๒๙.

ภิกษุทั้งหลาย.เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ก็ภิกษุ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งอะไรคือ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดและความดับแห่งเวทนา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด และ ความดับแห่งสัญญา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดและความดับแห่งสังขาร ย่อมรู้ชัดตาม ความเป็นจริง ซึ่งความเกิดและความดับแห่งวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป....แห่งเวทนา....แห่งสัญญา....แห่งสังขาร....แห่งวิญญาณ ภิกษุทั้งหลายบุคคล บางคน ในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ก็บุคคล ย่อมเพลิด เพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ซึ่งอะไร ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำ ถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเขา เพลิด เพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลินใดในรูป ความเพลินนั้นเป็น อุปาทาน เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพเพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. (ในกรณีของ การเกิดขึ้นแห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร และ แห่งวิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่าง เดียวกัน เปลี่ยนแต่ชื่อขันธ์ เท่านั้น).

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความเกิดแห่งรูปความเกิดแห่งเวทนา ความเกิดแห่งสัญญา ความเกิดแห่งสังขาร และความเกิดแห่งวิญญาณ ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความดับแห่งรูป.... แห่งเวทนา....แห่งสัญญา.... แห่งสังขาร....แห่งวิญญาณ ภิกษุทั้งหลาย. บุคคลบางคน ในกรณีนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำ ถึงย่อมไม่ดื่มด่ำ อยู่ก็บุคคลย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ ซึ่งอะไรย่อมไม่ เพลิด เพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเขาไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความ เพลินในรูปย่อมดับเพราะ มีความดับแห่งความเพลิน จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่ง อุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมี ความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่ง ชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้นความดับลงแห่ง กอง ทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. (ในกรณีของ การดับแห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร และแห่งวิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่าง เดียวกัน เปลี่ยนแต่ชื่อขันธ์ เท่านั้น)

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความดับแห่งรูป ความดับแห่งเวทนา ความดับแห่งสัญญาความดับแห่งสังขาร และความดับแห่งวิญญาณ.


10 เจริญสมาธิ ได้ชื่อว่ากำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๒-๓๙๓/๑๓๐๑-๑๓๐๒.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา ไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศ ปราจีน ฉันใด ภิกษุเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งฌานทั้ง ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพานโน้ม ไปสู่ นิพพานโอนไปสู่ นิพพาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญ กระทำ.ให้มากซึ่งฌานทั้ง ๔ อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่ นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามและจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดจาก วิเวกแล้วแลอยู่ เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อัน เกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็น ผู้อยู่อุเบกขา มีสติและ สัมป ชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความ ดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึง จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติ เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขา แล้วแลอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญ กระทำให้มากซึ่งฌานทั้ง ๔ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่ นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.


11 เจริญสมาธิ ได้ความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
และ ที่สุดแม้แต่ความสิ้นอาสวะ

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๕๗-๕๘/๔๑.

ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นอย่างไร คือ

          (๑) สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน (ทิฏฺ.ธมฺมสุขวิหาร) มีอยู่
          (๒) สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่ง ญาณทัสสนะ (ญาณทสฺสนปฏิลาภ) มีอยู่
          (๓) สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ.ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ(สติสมฺปชญฺ.) มีอยู่
          (๔) สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ (อาสวกฺขย) มีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุข ในปัจจุบัน เป็นอย่างไร

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามและจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่

เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสใจในภายใน ให้สมาธิ เป็นธรรม อันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่

เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวย ความสุข ด้วยกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่

เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัส และโทมนัสทั้งสอง ในกาล ก่อน เข้าถึง จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้ว แลอยู่

ภิกษุทั้งหลาย นี้คือสมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่ เป็นสุข ในปัจจุบัน.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่ง ญาณทัสสนะ เป็นอย่างไร ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งอาโลกสัญญา อธิษฐาน ทิวา สัญญา ว่ากลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้นกลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น เธอมีใจอันสงัด ปราศจากเครื่องรัดรึง อบรมจิตให้มีความสว่างอยู่

ภิกษุทั้งหลาย นี้คือสมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมป ชัญญะ เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลายในกรณีนี้ เวทนาเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้ง แก่ ภิกษุสัญญา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ วิตกเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ก็เป็นที่ แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ

ภิกษุทั้งหลายนี้คือสมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อติสัมปชัญญะ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น อาสวะ เป็นอย่างไร  ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และ ความเสื่อม ไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า
          รูป เป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้
          เวทนา เป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้
          สัญญา เป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้ ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้
          สังขาร เป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้
          วิญญาณ
เป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ สมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ สิ้นอาสวะ.
ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แล สมาธิภาวนา ๔ ประการ.


12 อานิสงส์ของการหลีกเร้น (นัยที่ ๑ )

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๐-๕๒๑/๑๖๕๕.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงประกอบความเพียรในการหลีกเร้นเถิด ภิกษุผู้หลีกเร้นย่อมรู้ได้ ตาม เป็นจริง ภิกษุย่อมรู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งอะไร ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งความจริง อันประเสริฐว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่ง ทุกข์ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงประกอบความเพียร ในการหลีกเร้นเถิด ภิกษุผู้ หลีกเร้น ย่อมรู้ได้ ตามเป็นจริง.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ ดังนี้เถิด.


13 อานิสงส์ของการหลีกเร้น (นัยที่ ๒)
-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๖๐/๒๒๓.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้มีความหลีกเร้น (ปฏิสลฺลาน) เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วใน ความหลีก เร้น เป็นผู้ประกอบซึ่งความสงบจิตของตนในภายใน มีฌานอันไม่เสื่อม ประกอบ ด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารอยู่เถิด.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายมีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น เป็นผู้ ประกอบ ซึ่งความสงบจิตของตนในภายใน มีฌานอันไม่เสื่อม ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูน สุญญาคารอยู่ พึงหวังได้ผล ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี (ในสูตรอื่น (-บาลี ขนฺธ สํ. ๑๗/๒๐/๓๐.) แสดงอานิสงส์แห่งการหลีกเร้นไว้ด้วยการรู้ชัดการเกิดขึ้นและความดับไปแห่งขันธ์ห้า ก็มี.

ในสูตรอื่น (-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๐๐/๑๔๘.) แสดงไว้ด้วยการรู้ชัดอายตนิกธรรม ๖ หมวดๆ ละ ๕ อย่าง คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เวทนาที่เกิดขึ้นจากจักษุสัมผัส ฯลฯ รวมเป็นรู้ชัดอายตนิกธรรม ๓๐ อย่าง ว่าเป็นอนิจจัง ก็มี..ในสูตรอื่น (-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๘๑/๒๕๐.) แสดงไว้ด้วยการปรากฏของอายตนิกธรรมทั้ง ๖ หมวดนั้น โดยความเป็นอนิจจังก็มี).


14 ตถาคตตรัสให้ “พึ่งตน พึ่งธรรม”
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๖-๒๑๗/๗๓๖-๗๔๐.

(ทรงตรัสแก่พระอานนท์ที่เสียใจต่อข่าวการปรินิพพานของพระสารีบุตร)
อานนท์ เราได้กล่าวเตือนไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่น จากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ย่อมมี.

อานนท์ ข้อนั้นจักได้มาแต่ไหนเล่า สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแล้ว มีความชำรุด ไปเป็นธรรมดา สิ่งนั้นอย่าชำรุดไปเลย ดังนี้ ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่มีไม่ได้

อานนท์ เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ จงมีธรรมเป็นประทีป.มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ.

อานนท์ ภิกษุมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะนั้น เป็นอย่างไรเล่า.

อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

          พิจารณาเห็นกาย ในกายอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัส ในโลกเสีย
          พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย
          พิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทม นัสในโลกเสีย
          พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสีย.

อานนท์ ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่ามีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็น ประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่.

อานนท์ ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตาม จักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ.

อานนท์ ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา (สนใจศึกษาและปฏิบัติตาม) ภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้ อยู่ใน สถานะอันเลิศที่สุดแล.


15 การแสวงหา ๒ แบบ
-บาลี มู. ม. ๑๒/๓๑๔-๓๑๖/๓๑๔-๓๑๕.

การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ

ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
          ตนเองเป็นผู้มี ความเกิด เป็นธรรมดาอยู่แล้ว
ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง.
          ตนเองเป็นผู้มี ความแก่ เป็นธรรมดาอยู่แล้ว
ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง.
          ตนเองเป็นผู้มี ความเจ็บไข้ เป็นธรรมดาอยู่แล้ว
ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง.
          ตนเองเป็นผู้มี ความตาย เป็นธรรมดาอยู่แล้ว
ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง
          ตนเองเป็นผู้มี ความโศก เป็นธรรมดาอยู่แล้ว
ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความโศกเป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง.
          ตนเองเป็นผู้มี ความเศร้าหมอง เป็นธรรมดาอยู่แล้ว
ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมอง เป็นธรรมดา อยู่นั่นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็อะไรเล่าเรากล่าวว่า มีความเกิดเป็นธรรมดา.ภิกษุทั้งหลาย.บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรากล่าวว่าเป็น สิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา. ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาเหล่านั้นเป็นอุปธิ (กิเลส กรรม).ซึ่งบุคคลในโลกนี้ พากันจมติดอยู่ พากัน มัวเมาอยู่ในอุปธิเหล่านั้น จึงทำให้ตนทั้งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว
ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาอยู่นั่นเองอีก.

ภิกษุทั้งหลายก็อะไรเล่าเรากล่าวว่า มีความแก่เป็นธรรมดา.ภิกษุทั้งหลาย บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลายสิ่งที่มีความแก่ เป็นธรรมดาเหล่านั้นเป็นอุปธิ ซึ่งบุคคลในโลกนี้ พากันจมติดอยู่ พากันมัวเมาอยู่ พากันสยบอยู่ในอุปธิเหล่านั้น จึงทำให้ตนทั้งที่มีความแก่เป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว
ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาอยู่นั่นเองอีก.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเรากล่าวว่า มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย.บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาเหล่านั้นเป็นอุปธิ ซึ่งบุคคลในโลกนี้ พากันจมติดอยู่ พากันมัวเมาอยู่ พากันสยบอยู่ในอุปธิเหล่านั้น จึงทำ.ให้ตนทั้งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว
ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาอยู่นั่นเองอีก.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็อะไรเล่าเรากล่าวว่า มีความตายเป็นธรรมดา.ภิกษุทั้งหลาย.บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา. ภิกษุทั้งหลาย.สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาเหล่านั้นเป็นอุปธิ ซึ่งบุคคลในโลกนี้ พากันจมติดอยู่ พากันมัวเมาอยู่ พากันสยบอยู่ในอุปธิเหล่านั้น จึงทำให้ตนทั้งที่มีความตายเป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว
ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาอยู่นั่นเองอีก.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็อะไรเล่าเรากล่าวว่า มีความโศกเป็นธรรมดา.ภิกษุทั้งหลาย.บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่มีความโศกเป็นธรรมดา. ภิกษุทั้งหลาย.สิ่งที่มีความโศกเป็นธรรมดาเหล่านั้นเป็นอุปธิ ซึ่งบุคคลในโลกนี้ พากันจมติดอยู่ พากันมัวเมาอยู่ พากันสยบอยู่ในอุปธิเหล่านั้น จึงทำให้ตนทั้งที่มีความโศกเป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว
ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความโศกเป็นธรรมดาอยู่นั่นเองอีก.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็อะไรเล่าเรากล่าวว่า มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา.ภิกษุทั้งหลาย บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่มีความเศร้า หมองเป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย. สิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาเหล่านั้นเป็นอุปธิ. ซึ่งบุคคลใน โลกนี้พากันจมติดอยู่ พากันมัวเมาอยู่ พากันสยบอยู่ในอุปธิเหล่านั้น จึงทำให้ตนทั้งที่มีความเศร้า หมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว
ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาอยู่นั่นเองอีก.

ภิกษุทั้งหลาย.นี้คือ การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ.

การแสวงหาที่ประเสริฐ

ภิกษุทั้งหลาย.การแสวงหาที่ประเสริฐ เป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ตนเองมีความเกิดเป็นธรรมดา ก็ทราบชัดโทษในสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา แล้วแสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่เกิด เป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ตนเองมีความแก่เป็นธรรมดา ก็ทราบชัดโทษในสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา แล้วแสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่แก่ เป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ตนเองมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ก็ทราบชัดโทษในสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา แล้วแสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่เจ็บไข้ เป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าตนเองมีความตายเป็นธรรมดา ก็ทราบชัดโทษในสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา

แล้วแสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่ตาย เป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าตนเอง มีความโศก เป็นธรรมดา ก็ทราบชัดโทษในสิ่งที่มีความโศกเป็นธรรมดา แล้วแสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่โศก เป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าตนเองมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ก็ทราบชัดโทษ ในสิ่ง ที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา แล้วแสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่เศร้าหมอง เป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.

ภิกษุทั้งหลาย.นี้คือ การแสวงหาที่ประเสริฐ.


16 โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๘-๕๖๙/๑๗๔๔.

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนมหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้ มีน้ำท่วมถึงเป็นอันเดียวกันทั้งหมด บุรุษคนหนึ่ง ทิ้งแอก ซึ่งมีรูเจาะเพียงรูเดียว ลงไปในน้ำนั้น ลมตะวันออกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันตก ลมตะวันตก พัดให้ลอยไปทาง ทิศตะวันออก ลมเหนือพัดให้ลอยไปทางทิศใต้ ลมใต้พัดให้ลอยไปทางทิศเหนืออยู่ดังนี้ ในน้ำนั้น มีเต่า ตัวหนึ่งตาบอด ล่วงไปร้อยปีๆ มันจะผุดขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร จะเป็นไปได้ไหม ที่เต่าตาบอด ร้อยปีจึงจะผุด ขึ้นสักครั้งหนึ่ง จะพึงยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น

ข้อนี้ยากที่จะเป็นไปได้ พระเจ้าข้าที่เต่าตาบอดนั้น ร้อยปีผุดขึ้นเพียงครั้งเดียว จะพึงยื่นคอเข้าไปในรู ซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น.

ภิกษุทั้งหลายยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกันที่ใครๆ จะพึงได้ความเป็นมนุษย์ยาก ที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ จะเกิดขึ้นในโลกยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ธรรม วินัยอันตถาคตประกาศแล้วจะรุ่งเรืองไปทั่วโลก.

ภิกษุทั้งหลาย.แต่ว่าบัดนี้ ความเป็นมนุษย์ ก็ได้แล้ว ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก็บังเกิดขึ้น ในโลกแล้ว และธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ก็รุ่งเรืองไปทั่วโลกแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับแห่งทุกข์ นี้หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด.


17 สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
-บาลี อฏฺ.ก. อํ. ๒๓/๒๒๙-๒๓๑/๑๑๙.

ภิกษุทั้งหลาย.ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมกล่าวว่า โลกได้ขณะจึงทำกิจ แต่เขาไม่รู้ขณะหรือมิใช่ขณะ ภิกษุทั้งหลายกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๘ ประการณ์

๘ ประการเป็นอย่างไร คือ.

ภิกษุทั้งหลาย. ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม และแสดงธรรม อันนำความสงบมาให้.เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลผู้นี้เข้าถึงนรกเสีย ภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๑

อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติขึ้นในโลก … เป็นผู้จำแนกธรรม และแสดงธรรมอันนำ.ความสงบมาให้ … แต่บุคคลผู้นี้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเสีย ภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๒

อีกประการหนึ่ง … แต่บุคคลนี้เข้าถึงเปรตวิสัยเสีย ภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๓.

อีกประการหนึ่ง … แต่บุคคลนี้เข้าถึงเทพนิกายผู้มีอายุยืน เหล่าใดเหล่าหนึ่งเสีย.ภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง … แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในปัจจันตชนบทและอยู่ในพวกมิลักขะ ไม่รู้ดีรู้ชอบ อันเป็นสถานที่ไม่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปมา ภิกษุทั้งหลาย. นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๕.

อีกประการหนึ่ง … บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขาเป็นมิจฉาทิฎฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมดี กรรมชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ทั้งหลายที่ผุดเกิดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสั่งสอนผู้อื่นให้รู้ตามไม่มี ภิกษุทั้งหลาย.นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๖.

อีกประการหนึ่ง … บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขามีปัญญาทราม บ้าใบ้ ไม่สามารถรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิต. ภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๗.

อีกประการหนึ่ง ตถาคตไม่ได้อุบัติขึ้นในโลก เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไป ดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบาน แล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม และไม่ได้แสดงธรรมอันนำ.ความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคต ทรงประกาศแล้ว ถึงบุคคลผู้นี้จะเกิดในมัชฌิมชนบทและมีปัญญา ไม่บ้าใบ้ ทั้งสามารถจะรู้อรรถแห่งสุภาษิต และ ทุพภาษิต. ภิกษุทั้งหลาย.นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๘.

ภิกษุทั้งหลายนี้แล กาลอันมิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๘ ประการนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย. ส่วนขณะและสมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ มีประการเดียวประการเดียวเป็นอย่างไรคือ ภิกษุทั้งหลาย. ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี แล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ เบิกบาน แล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม และแสดงธรรมอันนำ ความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพานให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระ สุคตประกาศแล้ว และบุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบท ทั้งมีปัญญา ไม่บ้าใบ้ สามารถเพื่อจะรู้อรรถแห่งสุภาษิต และ ทุพภาษิตได้.

ภิกษุทั้งหลาย.นี้เป็นขณะและสมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ประการเดียว.


18 สิ่งที่ใครๆ ในโลกไม่ได้ตามปรารถนา
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๕๙-๖๒/๔๘.

ภิกษุทั้งหลาย.ฐานะ ๕ ประการเหล่านี้ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่พึงได้ตาม ปรารถนา ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่อาจได้ตามปรารถนาว่า
(๑) สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าแก่เลย
(๒) สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าเจ็บไข้เลย
(๓) สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าตายเลย
(๔) สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อย่าสิ้นไปเลย
(๕) สิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา อย่าวินาศเลย

ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ก็ย่อมแก่สำ.หรับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่แล้ว เขาก็ไม่พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา จะแก่สำหรับเราผู้เดียวเท่านั้น โดยที่แท้แล้ว สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมแก่สำหรับสัตว์ ทั้งปวง ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่ เป็นธรรมดา แก่แล้ว เราจะมามัวเศร้าโศก กระวนกระวาย ร่ำไรรำพัน ทุบอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหล แม้อาหารก็ไม่ย่อย กายก็เศร้าหมอง การงานก็หยุดชะงัก พวกอมิตรก็ดีใจ มิตรสหายก็เศร้าใจ ดังนี้.ปุถุชนนั้น เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็น ธรรมดา แก่แล้ว ย่อมเศร้าโศก กระวนกระวาย ร่ำไรรำพันเป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ย่อมถึงความหลงใหล.

ภิกษุทั้งหลาย..เรากล่าวว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ ถูกลูกศรแห่งความโศก อันมีพิษเสียบแทงแล้ว ทำตนเองให้เดือด ร้อนอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ก็ย่อมเจ็บไข้สำหรับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ …
สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ก็ย่อมตายสำหรับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ …
สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ก็ย่อมสิ้นไปสำหรับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ …
สิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา ก็ย่อมวินาศสำหรับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เมื่อสิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดาวินาศแล้ว เขาก็ไม่พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา จะวินาศสำหรับเราผู้เดียวเท่านั้น

โดยที่แท้แล้ว สิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา ย่อมวินาศสำหรับสัตว์ทั้งปวง ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็เมื่อ สิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา วินาศแล้ว เราจะมามัวเศร้าโศก กระวนกระวาย ร่ำไรรำพัน ทุบอกร่ำไห้ ถึงความหลง ใหล แม้อาหารก็ไม่ย่อย กายก็เศร้าหมอง การงานก็หยุดชะงัก พวกอมิตรก็ดีใจ มิตรสหายก็เศร้าใจ ดังนี้

ปุถุชนนั้น เมื่อสิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา วินาศแล้ว ย่อมเศร้าโศก กระวนกระวาย ร่ำไรรำพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ย่อมถึงความหลงใหล

ภิกษุทั้งหลาย.เรากล่าวว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับนี้ ถูกลูกศรแห่งความโศก อันมีพิษเสียบแทงแล้ว ทำตนเองให้เดือดร้อน อยู่ ภิกษุทั้งหลาย. สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ก็ย่อมแก่สำหรับอริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา แก่แล้ว

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา จะแก่สำ.หรับเราผู้เดียวเท่านั้น โดยที่แท้แล้ว สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมแก่สำ.หรับสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็น ธรรมดา แก่แล้ว เราจะมามัวเศร้าโศก กระวนกระวาย ร่ำไรรำพัน ทุบอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหล แม้อาหารก็ไม่ย่อย กายก็เศร้าหมอง การงานก็หยุดชะงัก พวกอมิตรก็ดีใจ มิตรสหายก็เศร้าใจ ดังนี้

อริยสาวกนั้น เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา แก่แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่กระวนกระวาย ไม่ร่ำไรรำพัน ไม่เป็นผู้ทุบอก ร่ำไห้ ไม่ถึงความหลงใหล

ภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่า อริยสาวกผู้ได้สดับนี้ ถอนลูกศรแห่งความโศก ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ อันมีพิษเสียบแทง แล้ว ทำตนเองให้เดือดร้อน อริยสาวกผู้ไม่มีความโศก ถอนลูกศรได้แล้ว ย่อมปรินิพพานด้วยตน.

ภิกษุทั้งหลาย.ข้ออื่นยังมีอีก

สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ก็ย่อมเจ็บไข้สำหรับอริยสาวกผู้ได้สดับ …
สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ก็ย่อมตายสำหรับอริยสาวกผู้ได้สดับ …
สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ก็ย่อมสิ้นไปสำหรับอริยสาวกผู้ได้สดับ …
สิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา ก็ย่อมวินาศสำหรับอริยสาวกผู้ได้สดับ
เมื่อสิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา วินาศแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา จะวินาศสำหรับเราผู้เดียวเท่านั้น โดยที่แท้แล้ว สิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา ย่อมวินาศสำหรับสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็เมื่อสิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดาวินาศแล้ว เราจะมามัวเศร้าโศก กระวนกระวาย ร่ำไรรำพัน ทุบอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหล แม้อาหารก็ไม่ย่อย กายก็เศร้าหมอง การงานก็หยุดชะงัก พวกอมิตรก็ดีใจ มิตรสหายก็เศร้าใจ ดังนี้.

อริยสาวกนั้น เมื่อสิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา วินาศแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่กระวนกระวาย ไม่ร่ำไรรำพัน ไม่เป็นผู้ ทุบอกร่ำไห้ ไม่ถึงความหลงใหล.

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าอริยสาวกผู้ได้สดับนี้ ถอนลูกศรแห่งความโศก อันมีพิษเสียบแทงแล้ว ของปุถุชนผู้ไม่ได้ สดับ อันทำตนเองให้เดือดร้อนอยู่ อริยสาวกผู้ไม่มีความโศก ถอนลูกศรได้แล้ว ย่อมปรินิพพานด้วยตน.

ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แลฐานะ ๕ ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกไม่พึงได้ตาม ปรารถนา.


19 สิ่งที่ควรพิจารณาเนืองๆ
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๘๑-๘๖/๕๗.

ภิกษุทั้งหลาย. ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต
ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
(๑) เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
(๒) เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
(๓) เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
(๔) เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
(๕) เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง ทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

ภิกษุทั้งหลาย. เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามี ความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้. ภิกษุทั้งหลาย.ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความ มัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือว่าทำให้เบาบางลงได้.

ภิกษุทั้งหลายเพราะอาศัย อำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆว่า เรามี ความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามี ความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย.ความมัวเมาในความไม่มีโรคมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลาย ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในความไม่มีโรคนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือว่า ทำให้เบาบางลงได้.ภิกษุทั้งหลาย.เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณา เนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์

หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้. ภิกษุทั้งหลาย.ความมัวเมาในชีวิตมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตเมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในชีวิตนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือว่าทำ.ให้เบาบางลงได้.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความ ตาย เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะ ต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น. ภิกษุทั้งหลาย.ความพอใจ ความรักใคร่ในของรักมีอยู่แก่สัตว์ ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความ พอใจ ความรักใคร่นั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือว่าทำให้เบาบางลงได้.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่าเราจะ ต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่าเรามี กรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง ทำ.กรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น. ภิกษุทั้งหลาย.กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเขา พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละทุจริตเหล่านั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือว่าทำให้เบาบางลงได้.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามี กรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง ทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความแก่ไปได้.โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ แก่ไปได้.

เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ ไปได้เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น. อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรค นั้น เมื่อเสพ อบรม ทำ.ให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้.

เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น.อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น โดย ที่แท้ สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น เมื่ออริย สาวก นั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น

อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรม เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น โดยที่แท้สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็น กำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง ทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรมทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา มีความตายเป็นธรรมดา สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามธรรมดา พวกปุถุชนย่อมเกลียดถ้าเราพึงเกลียดธรรมนั้น

ในพวกสัตว์ผู้มีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ข้อนั้นไม่สมควรแก่เราผู้เป็นอยู่อย่างนี้ เรานั้นเป็นอยู่อย่างนี้ ทราบธรรมที่หาอุปธิ มิได้ เห็นการออกบวชโดยเป็นธรรมเกษม ครอบงำ ความมัวเมาทั้งปวงในความไม่มีโรค ในความเป็นหนุ่มสาว และใน ชีวิต ความอุตสาหะได้มีแล้วแก่เราผู้เห็นเฉพาะซึ่งนิพพาน

บัดนี้ เราไม่ควรเพื่อเสพกามทั้งหลาย จักเป็นผู้ประพฤติไม่ถอยหลัง ตั้งหน้าประพฤติพรหมจรรย์


20 เพราะแตกสลาย จึงได้ชื่อว่า “โลก”
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๖๔/๙๘.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า โลก โลก ดังนี้ อันว่าโลกมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้าภิกษุ เพราะจะต้อง แตกสลาย เราจึงกล่าวว่าโลกก็อะไรเล่าจะต้องแตกสลาย. ภิกษุ จักษุแตกสลาย รูปแตกสลาย จักษุวิญญาณแตก สลาย จักษุสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัยก็แตกสลาย ภิกษุ โสตะแตกสลาย เสียงแตกสลาย โสตวิญญาณแตกสลาย โสตสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัส เป็นปัจจัยก็แตกสลาย.

ภิกษุ ฆานะแตกสลาย กลิ่นแตกสลาย ฆานวิญญาณแตกสลาย ฆานสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัยก็แตกสลาย.

ภิกษุ.ชิวหาแตกสลาย รสแตกสลาย ชิวหาวิญญาณแตกสลาย ชิวหาสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดีทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็แตกสลาย.

ภิกษุ.กายแตกสลาย โผฏฐัพพะแตกสลาย กายวิญญาณแตกสลาย กายสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัยก็แตกสลาย.

ภิกษุ.ใจแตกสลาย ธรรมแตกสลาย มโนวิญญาณแตกสลาย มโนสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็แตกสลาย.

ภิกษุ.เพราะจะต้องแตกสลาย เราจึงกล่าวว่าโลก ดังนี้.


21 เป็นทุกข์เพราะติดอยู่ในอายตนะ
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๑/๒๑๘.

ภิกษุทั้งหลาย.เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีรูปเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในรูป เพลิดเพลินแล้วในรูปเทวดา และมนุษย์ ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของรูป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีเสียงเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในเสียง เพลิดเพลินแล้วในเสียง.เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะ ความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของเสียง.

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีกลิ่นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในกลิ่น เพลิดเพลินแล้วในกลิ่น เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของกลิ่น.

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีรสเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในรส เพลิดเพลินแล้วในรส เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของรส.

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีโผฏฐัพพะเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในโผฏฐัพพะ เพลิดเพลินแล้วในโผฏฐัพพะ  เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของโผฏฐัพพะ.

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม เพลิดเพลินแล้วในธรรม เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน เสื่อมสลาย และความดับไปของธรรม.


22 ความเพลินในอายตนะ เท่ากับเพลินอยู่ในทุกข์
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๖/๑๙.

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดยังเพลิดเพลินอยู่ กับตา(จักษุ) ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปได้จากทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดยังเพลิดเพลินอยู่ กับหู (โสตะ)ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปได้จากทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดยังเพลิดเพลินอยู่ กับจมูก(ฆานะ) ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปได้จากทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดยังเพลิดเพลินอยู่ กับลิ้น.(ชิวหา)ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปได้จากทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดยังเพลิดเพลินอยู่ กับกาย(กายะ) ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปได้จากทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดยังเพลิดเพลินอยู่ กับใจ (มนะ) ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปได้จากทุกข์ (ในสูตรต่อไป ได้ตรัสถึงในกรณีแห่ง อายตนะภายนอกหก ซึ่งมีข้อความเหมือนในกรณีแห่งอายตนะภายในข้างบนนี้ทุกประการ ต่างแต่ชื่ออายตนะเท่านั้น).


23 ความไม่เพลินในอายตนะ คือความหลุดพ้นจากทุกข์
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๖/๑๙.

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดไม่เพลิดเพลินกับตา ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นย่อมหลุดพ้นไปได้จากทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดไม่เพลิดเพลินกับหู ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นย่อมหลุดพ้นไปได้จากทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดไม่เพลิดเพลินกับจมูก ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นย่อมหลุดพ้นไปได้จากทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดไม่เพลิดเพลินกับลิ้น ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นย่อมหลุดพ้นไปได้จากทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดไม่เพลิดเพลินกับกาย ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นย่อมหลุดพ้นไปได้จากทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดไม่เพลิดเพลินกับใจ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นย่อมหลุดพ้นไปได้จากทุกข์.
(ในสูตรต่อไป ได้ตรัสถึงในกรณีแห่งอายตนะภายนอกหก ซึ่งมีข้อความเหมือนในกรณีแห่งอายตนะภายในข้างบนนี้ทุกประการ ต่างแต่ชื่ออายตนะเท่านั้น).


24 ฉันทะ เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์
(ฉันทะ คือความพอใจ ความรักใคร่ ความยินดี)
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๔๐๓-๔๐๕/๖๒๗.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ.ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงซึ่งเหตุเกิดและเหตุดับแห่งทุกข์แก่ข้าพระองค์เถิด.

คามณิ ถ้าเราพึงปรารภอดีตกาลแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์แก่ท่านว่า ในอดีตกาลได้มีแล้วอย่างนี้ ความ สงสัย ความเคลือบแคลงในข้อนั้นจะพึงมีแก่ท่าน ถ้าเราปรารภอนาคตกาล แสดงความเกิดและความดับ แห่งทุกข์ แก่ท่านว่า ในอนาคตกาลจักมีอย่างนี้ แม้ในข้อนั้นความสงสัย ความเคลือบแคลงจะพึงมีแก่ท่าน อนึ่งเล่า เรานั่งอยู่ ณ ที่นี้แหละ จักแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์แก่ท่านซึ่งนั่งอยู่ที่นี่เหมือนกัน ท่านจงฟังคำนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

คามณิ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ จะพึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่ มนุษย์ในอุรุเวลกัปปนิคม ที่ถูกฆ่า ถูกจองจำ  ถูกทำให้เสื่อมเสีย หรือถูกติเตียน มีแก่ท่านหรือ มีอยู่ พระเจ้าข้า.

คามณิ ก็โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ จะไม่พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ในอุรุเวลกัปปนิคม ที่ถูกฆ่า ถูกจองจำ  ถูกทำให้เสื่อมเสีย หรือถูกติเตียน มีอยู่แก่ท่านหรือ.

มีอยู่ พระเจ้าข้า.

คามณิ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่โสกะ ปริเทวะทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ จะพึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาว อุรุเวลกัปปนิคมบางพวกถูกฆ่า ถูกจองจำ ถูกทำให้เสื่อมเสีย หรือถูกติเตียน หรือว่าอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ จะไม่พึงเกิดมีขึ้น แก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมบางพวก ถูกฆ่า ถูกจองจำ ถูกทำให้เสื่อมเสีย หรือ ถูกติเตียน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ.โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสะ จะพึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะ หมู่มนุษย์ชาว อุรุเวล กัปปนิคมเหล่าใดที่ถูกฆ่า ถูกจองจำ ถูกทำให้เสื่อมเสีย หรือถูกติเตียน ก็เพราะข้าพระองค์ มีฉันทราคะ ในหมู่มนุษย์ ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่านั้น ส่วนโส

กะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสะ จะไม่พึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาว อุรุเวล กัปปนิคม เหล่าใด ถูกฆ่า ถูกจองจำ ถูกทำให้เสื่อมเสีย หรือถูกติเตียน ก็เพราะข้าพระองค์ไม่มี ฉันทราคะในหมู่มนุษย์ ชาวอุรุเวลกัปป นิคมเหล่านั้น พระเจ้าข้า.

คามณิ.ด้วยธรรมนี้ อันท่านเห็นแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงทั่วถึงแล้ว อันไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ท่านจงนำ ไปซึ่งนัยนี้ สู่อดีตและอนาคตว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ทุกข์ทั้งหมดนั้นมี ฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะว่า ฉันทะ เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ และทุกข์ใดๆ อันจะเกิดขึ้น ในอนาคต ทุกข์ทั้งหมดนั้น ก็มี ฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะว่าฉันทะเป็นมูลเหตุแห่ง ทุกข์ ดังนี้.


25 ทิ้งเสียนั่นแหละกลับจะเป็นประโยชน์
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๑-๑๖๒/๒๑๙.

ภิกษุทั้งหลาย.สิ่งใดไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละสิ่งนั้นเสีย.สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เธอ ภิกษุทั้งหลาย. อะไรเล่าไม่ใช่ของพวกเธอ

ภิกษุทั้งหลาย. ตาไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็น ไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เธอ

ภิกษุทั้งหลาย หูไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละมันเสีย.สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็น ไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย.จมูกไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละมันเสีย.สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็น ไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย.ลิ้นไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละมันเสีย.สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็น ไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย.กายไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละมันเสีย.สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็น ไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย.ใจไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละมันเสีย.สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็น ไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนคนเขาพึงนำหญ้า กิ่งไม้ และใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวันนี้ไป หรือพึงเผา หรือพึงทำ ตาม สมควรแก่เหตุ เธอทั้งหลายพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า คนเขานำพวกเราไป หรือเผาเรา หรือทำพวกเราตามสมควร แก่เหตุ ดังนี้บ้างหรือหนอ.

หาเป็นดังนั้นไม่ พระเจ้าข้า. ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร.

เพราะเหตุว่า ความรู้สึกว่าตัวตน (อตฺตา) ของตน (อตฺตนิยา) ของข้าพระองค์ไม่มีในสิ่งเหล่านั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นก็เหมือนกัน ตาไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันพวกเธอ ละได้แล้ว จักเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เธอหู ....จมูก ....ลิ้น ....กาย ....ใจ ไม่ใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เธอ


26 ความเร่าร้อนเพราะกามตัณหา
-บาลี ม. ม. ๑๓/๒๗๔/๒๘๕.

มาคัณฑิยะ.เปรียบเหมือนบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล สุกปลั่ง ถูกเชื้อโรคแทะกัดอยู่ เกาปาก แผล อยู่ ด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง..

มาคัณฑิยะ. เขาทำ.เช่นนั้นอยู่เพียงใด ปากแผลเหล่านั้นของเขา ยิ่งเป็นของไม่สะอาด มีกลิ่น เหม็นขึ้น และเน่าขึ้น ด้วยประการนั้นๆ และจะมีความรู้สึกว่า น่ายินดี น่าพอใจสักหน่อยหนึ่ง ก็คือ ปากแผลทั้งหลาย ได้รับการเกาหรือการ อบอุ่นด้วยไฟเป็นเหตุเท่านั้น ข้อนี้ฉันใด.

มาคัณฑิยะ. สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำ.หนัดในกาม ถูกกาม ตัณหา เคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะกามแผดเผาอยู่ ก็ยังขืนเสพกามอยู่นั่นเอง..

มาคัณฑิยะ. สัตว์เหล่านั้นทำ.เช่นนั้นอยู่เพียงใด กามตัณหาก็ย่อมเจริญขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้น และ สัตว์ เหล่านั้นก็ถูก ความเร่าร้อนที่เกิด เพราะความปรารภกามแผดเผาอยู่ ด้วยประการนั้นๆ และ จะมีความ รู้สึกว่าน่ายินดี น่าพอใจ สักหน่อยหนึ่ง ก็เพราะอาศัยกามคุณทั้ง ๕ เป็นเหตุ เท่านั้น.


27 สิ่งทั้งปวงที่ต้องรู้จัก เพื่อความสิ้นทุกข์ (นัยที่ ๑)
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๒๑/๒๗-๒๘.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาดซึ่งสิ่งทั้งปวง ย่อมเป็นผู้ไม่สมควร เพื่อความ สิ้นไป แห่งทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย. ก็สิ่งทั้งปวงนั้นคืออะไรเล่า อันบุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ย่อมเป็นผู้ ไม่สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย.ตา ….รูป ….จักษุวิญญาณ … จักษุสัมผัส ….สุขเวทนา หรือทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุข-เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย อันบุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ยังไม ่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ย่อมเป็นผู้ไม่สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. หู ….เสียง ….โสตวิญญาณ …  โสตสัมผัส … สุขเวทนา หรือทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุข-เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย อันบุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ยังไม่ คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ย่อมเป็นผู้ไม่ สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. จมูก ….กลิ่น ….ฆานวิญญาณ … ฆานสัมผัส ….สุขเวทนา หรือทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุข-เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย อันบุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ยังไม่ คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ย่อมเป็นผู้ไม่สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. ลิ้น ….รส ….ชิวหาวิญญาณ … ชิวหาสัมผัส ….สุขเวทนา หรือทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย อันบุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ยังไม่ คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ย่อมเป็นผู้ไม่ สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. กาย … โผฏฐัพพะ … กายวิญญาณ … กายสัมผัส … สุขเวทนา หรือทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย อันบุคคล เมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ยังไม่ คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ย่อมเป็น ผู้ไม่สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. ใจ … ธรรม … มโนวิญญาณ ….มโนสัมผัส ….สุขเวทนา หรือทุกข์เวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย อันบุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ยังไม่ คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง ย่อมเป็นผู้ไม่สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. เหล่านี้แลคือ สิ่งทั้งปวง อันบุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่รอบรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ย่อมเป็นผู้ ไม่สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. ส่วนบุคคล เมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้ คลายกำหนัด ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้สมควรเพื่อ ความสิ้นไป แห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. ก็สิ่งทั้งปวงนั้นคืออะไรเล่า อันบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้ คลายกำหนัด ละได้ ย่อมเป็น ผู้สมควร เพื่อความ สิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. ตา ….รูป ….จักษุวิญญาณ … จักษุสัมผัส ….สุขเวทนา หรือทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุข เวทนาที่เกิด ขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย อันบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้ คลายกำหนัด ละได้ ย่อมเป็นผู้สมควร เพื่อความสิ้นไปแห่ง ทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. หู … เสียง … โสตวิญญาณ … โสตสัมผัส ….สุขเวทนา หรือทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุข เวทนาที่ เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย อันบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้ คลายกำหนัด ละได้ ย่อมเป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นไป แห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. จมูก ….กลิ่น ….ฆานวิญญาณ ….ฆานสัมผัส ….สุขเวทนา หรือทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย อันบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้ คลายกำหนัด ละได้ ย่อมเป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นไป แห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. ลิ้น ….รส ….ชิวหาวิญญาณ … ชิวหาสัมผัส ….สุขเวทนา หรือทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย อันบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้ คลายกำหนัด ละได้ ย่อมเป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. กาย ….โผฏฐัพพะ … กายวิญญาณ ….กายสัมผัส ….สุขเวทนา หรือทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย อันบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้ คลายกำหนัด ละได้ ย่อมเป็นผู้สมควร เพื่อความ สิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. ใจ ….ธรรม ….มโนวิญญาณ … มโนสัมผัส … สุขเวทนา หรือทุกขเวทนา หรือ อทุกขม-สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย อันบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้ คลายกำหนัด ละได้ ย่อมเป็นผู้สม ควรเพื่อความสิ้นไป แห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แล คือสิ่งทั้งปวง อันบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้ คลายกำหนัด ละได้ ย่อมเป็น ผู้สมควร เพื่อความ สิ้นไป แห่งทุกข์.


28 สิ่งทั้งปวงที่ต้องรู้จัก เพื่อความสิ้นทุกข์  (นัยที่ ๒)
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๒๒-๒๓/๒๙-๓๐.

ภิกษุทั้งหลาย. เมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาดซึ่งสิ่งทั้งปวง ก็เป็นผู้ไม่สมควร เพื่อความ สิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. ก็สิ่งทั้งปวงนั้นคืออะไรเล่า อันบุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ย่อมเป็นผู้ไม่สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. ตา ….รูป ….จักษุวิญญาณ … ธรรมอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ อันบุคคล เมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ย่อมเป็นผู้ไม่สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. หู ….เสียง ….โสตวิญญาณ … ธรรมอันจะพึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ. อันบุคคล เมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ย่อมเป็นผู้ไม่สมควรเพื่อ ความสิ้นไปแห่ง ทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. จมูก ….กลิ่น ….ฆานวิญญาณ … ธรรมอันจะพึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ อันบุคคล เมื่อยัง ไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ย่อมเป็นผู้ไม่สมควรเพื่อความสิ้นไป แห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. ลิ้น ….รส ….ชิวหาวิญญาณ … ธรรมอันจะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ อันบุคคล เมื่อยัง ไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ย่อมเป็นผู้ไม่สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่ง ทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. กาย ….โผฏฐัพพะ ….กายวิญญาณ… ธรรมอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ อัน บุคคลเมื่อยัง ไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ย่อมเป็นผู้ไม่สมควรเพื่อความ สิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. ใจ ….ธรรมารมณ์ ….มโนวิญญาณ ….ธรรมอันจะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ อัน บุคคลเมื่อยัง ไม่รู้ยิ่งไม่รอบรู้ยังไม่คลายกำหนัดยังละไม่ได้ ย่อมเป็นผู้ไม่สมควรเพื่อความสิ้นไป แห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. เหล่านี้แลคือสิ่งทั้งปวง อันบุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่รอบรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ย่อมเป็นผู้ไม่สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. ส่วนบุคคล เมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้ คลายกำหนัด ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรเพื่อความ สิ้นทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. ก็สิ่งทั้งปวงนั้นคืออะไรเล่า อันบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้ คลายกำหนัด ละได้ ย่อมเป็น ผู้สมควร เพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. ตา ….รูป ….จักษุวิญญาณ … ธรรมอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ อันบุคคล เมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้ คลายกำหนัด.ละได้.ย่อมเป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. หู ….เสียง ….โสตวิญญาณ … ธรรมอันจะพึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ อันบุคคล เมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้ คลายกำหนัดละได้ย่อมเป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. จมูก ….กลิ่น ….ฆานวิญญาณ ….ธรรมอันจะพึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ อันบุคคล เมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้คลายกำหนัดละได้ย่อมเป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. ลิ้น ….รส ….ชิวหาวิญญาณ … ธรรมอันจะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ อันบุคคล เมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้คลายกำหนัดละได้ย่อมเป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย.กาย ….โผฏฐัพพะ … กายวิญญาณ ….ธรรมอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ อันบุคคล เมื่อรู้ ยิ่งรอบรู้คลายกำหนัดละได้ย่อมเป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย.ใจ ….ธรรม ….มโนวิญญาณ ….ธรรมอันจะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ อันบุคคล เมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้คลายกำหนัดละได้ย่อมเป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย. เหล่านี้แล คือสิ่งทั้งปวง อันบุคคลเมื่อรู้ยิ่งรอบรู้คลายกำหนัดละได้ ย่อมเป็นผู้สมควร เพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.


29 สิ่งทั้งปวงที่ต้องรู้จัก เพื่อความสิ้นทุกข์ (นัยที่ ๓)
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๓/๕๖-๕๗.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลเมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ไม่คลาย กำหนัด ไม่ละขาดซึ่งรูป
เป็นผู้ไม่สมควร เพื่อความ สิ้นทุกข์.

บุคคลเมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาดซึ่งเวทนา
เป็นผู้ไม่สมควร เพื่อความ สิ้นทุกข์

บุคคลเมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาดซึ่งสัญญา
เป็นผู้ ไม่สมควรเพื่อความสิ้นทุกข์.

บุคคลเมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาดซึ่งสังขาร
เป็นผู้ไม่สมควรเพื่อความสิ้นทุกข์

บุคคลเมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาดซึ่งวิญญาณ
เป็นผู้ไม่สมควรเพื่อความสิ้นทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้ คลายกำหนัด ละขาดซึ่งรูป
จึงเป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นทุกข์บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้ คลายกำหนัด ละขาดซึ่งเวทนา จึงเป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นทุกข์.บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้ คลายกำหนัด ละขาดซึ่งสัญญา จึงเป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นทุกข์บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้ คลายกำหนัด ละขาดซึ่งสังขาร จึงเป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นทุกข์.บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง รอบรู้ คลายกำหนัด ละขาดซึ่งวิญญาณ จึงเป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นทุกข์


30 ธรรมที่ละได้ด้วยกาย ละได้ด้วยวาจา
และไม่อาจละได้ด้วยกายหรือวาจา

-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๔๑/๒๓.

ภิกษุทั้งหลาย.ธรรมอันบุคคลพึงละได้ด้วยกาย ไม่ใช่ละด้วยวาจาก็มีอยู่ ธรรมอันบุคคลพึงละได้ด้วย วาจา ไม่ใช่ละด้วยกายก็มีอยู่ ธรรมอันบุคคลพึงละด้วยกายก็ไม่ได้ ละด้วยวาจาไม่ได้ แต่เมื่อเห็นด้วย ปัญญาแล้วจึงจะละได้ก็มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ธรรมอันบุคคลพึงละด้วยกาย ไม่ใช่ละด้วยวาจาเป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้ต้องอาบัติบางส่วน อันเป็นอกุศลด้วยกาย เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ ทั้งหลายใคร่ครวญแล้ว ได้กล่าวกะภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านนัั้นแลเป็นผู้ต้องแล้วซึ่งอาบัติบางส่วน อันเป็นอกุศลด้วยกาย จะเป็นการดีหนอ ที่ท่านจะละกายทุจริต ประพฤติกายสุจริต ภิกษุนั้นอันเพื่อน พรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วว่ากล่าวอยู่ ย่อมละกายทุจริต ประพฤติกายสุจริต ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมอันบุคคลพึงละได้ด้วยกาย ไม่ใช่ละด้วยวาจา.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ธรรมอันบุคคลพึงละได้ด้วยวาจา ไม่ใช่ละด้วยกายเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน กรณีนี้ เป็นผู้ต้องอาบัติบางส่วน อันเป็นอกุศลด้วยวาจา เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย ใคร่ครวญแล้ว ได้กล่าวกะภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านนั้นแลเป็นผู้ต้องแล้วซึ่งอาบัติบางส่วน อันเป็นอกุศล ด้วยวาจา จะเป็นการดีหนอ ที่ท่านผู้นี้จะละวจีทุจริต ประพฤติวจีสุจริต ภิกษุนั้นอันเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย ใคร่ครวญแล้วว่ากล่าวอยู่ ย่อมละวจีทุจริต ประพฤติวจีสุจริต ภิกษุทั้งหลาย.นี้เรียกว่า ธรรมอันบุคคล จะพึงละได้ด้วยวาจา มิใช่ละด้วยกาย.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ธรรมอันบุคคลพึงละด้วยกายไม่ได้ ละด้วยวาจาไม่ได้ แต่เมื่อเห็นด้วยปัญญาแล้ว จึงจะละได้ เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลายโลภะ (ความโลภ) บุคคลพึงละด้วยกายไม่ได้ ละด้วยวาจา ไม่ได้ แต่เมื่อเห็นด้วยปัญญาแล้วจึงจะละได้ โทสะ(ความประทุษร้าย) ... โมหะ.(ความหลง) ... โกธะ.(ความโกรธ) ... อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ... มักขะ.(ความลบหลู่คุณ) ... ปฬาสะ (ความตีตนเสมอท่าน) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่) บุคคลพึงละด้วยกายไม่ได้ ละด้วยวาจาไม่ได้ แต่เมื่อเห็นด้วยปัญญาแล้วจึงจะละได้.

ภิกษุทั้งหลาย.ความริษยาอันชั่วช้า (ปาปิกา อิสฺสา) บุคคลพึงละด้วยกายไม่ได้ ละด้วยวาจาไม่ได้ แต่เมื่อเห็นด้วยปัญญาแล้วจึงจะละได้. ภิกษุทั้งหลาย.ก็ความริษยาอันชั่วช้าเป็นอย่างไร

ภิกษุทั้งหลาย คหบดีหรือบุตรแห่งคหบดีในกรณีนี้ ย่อมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ ด้วยข้าวเปลือก เงินหรือ ทอง ทาสหรือคนเข้าไปอาศัยของคหบดีหรือบุตรแห่งคหบดีผู้ใดผู้หนึ่งย่อมคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ คหบดีหรือบุตรแห่งคหบดีนี้ ไม่พึงสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ ไม่พึงสมบูรณ์ด้วยข้าวเปลือก ไม่พึงสมบูรณ์ ด้วยเงินหรือทอง อนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็น ปัจจัยแก่คนไข้ สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง ย่อมคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ท่านผู้นี้ ไม่พึงได้จีวร ไม่พึง ได้บิณฑบาต ไม่พึงได้เสนาสนะ และไม่พึงได้เภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ภิกษุทั้งหลายนี้ เรียกว่าความริษยาอันชั่วช้า. ภิกษุทั้งหลาย.ความริษยาอันชั่วช้านี้ บุคคลพึงละด้วยกายไม่ได้ ด้วยวาจาไม่ได้ แต่เมื่อเห็นด้วยปัญญาแล้วจึงจะละได้.

ภิกษุทั้งหลาย.ความปรารถนาอันชั่วช้า(ปาปิกา อิจฺฉา) บุคคลพึงละด้วยกายไม่ได้ ละด้วยวาจาไม่ได้ แต่เมื่อเห็นด้วยปัญญาแล้วจึงจะละได้

ภิกษุทั้งหลาย. ก็ความปรารถนาอันชั่วช้าเป็นอย่างไร. ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา.บุคคลเป็นผู้ทุศีลย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักว่า เราเป็นผู้มีศีล.บุคคลเป็นผู้ได้สดับน้อย ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักว่า เราเป็นผู้ได้สดับมาก บุคคลเป็นผู้มีความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ย่อมปารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักว่า เราเป็นผู้ชอบสงัด บุคคลเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักว่าเราเป็นผู้ปรารภความเพียร บุคคลเป็นผู้มีสติหลงลืม ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักว่า เราเป็นผู้มีสติตั้งมั่น บุคคลเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักว่า เราเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นบุุคคลเป็นผู้มีปัญญาทราม ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักว่า เราเป็นผู้มีปัญญา บุคคลเป็นผู้ยังไม่สิ้นอาสวะ ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักว่า เราเป็นผู้สิ้นอาสวะ.

ภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่าความปรารถนาอันชั่วช้า ภิกษุทั้งหลายความปรารถนาอันชั่วช้านี้ บุคคลพึงละ ด้วยกายไม่ได้ ละด้วยวาจาไม่ได้ แต่เมื่อเห็นด้วยปัญญาแล้วจึงจะละได้

ภิกษุทั้งหลาย หากว่าโลภะย่อมครอบงำภิกษุนั้นเป็นไป หากว่าโทสะ … หากว่าโมหะ … หากว่าโกธะ … หากว่าอุปนาหะ … หากว่ามักขะ … หากว่าปฬาสะ … หากว่ามัจฉริยะ … หากว่าความริษยา อันชั่วช้า … หากว่าความปรารถนาอันชั่วช้า ครอบงำ.ภิกษุนั้นเป็นไป. ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ผู้รู้ชัด และท่านผู้นี้ หาได้รู้ชัดอย่างนั้นไม่ เพราะเหตุนั้นโลภะจึงครอบงำท่านผู้นี้ได้

ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่าโทสะ … โมหะ ... โกธะ … อุปนาหะ … มักขะ … ปฬาสะ … มัจฉริยะ … ความริษยาอันชั่วช้า … ความปรารถนาอันชั่วช้าย่อมไม่มีแก่ผู้รู้ชัด และท่านผู้นี้หาได้รู้ชัดอย่างนั้นไม่ เพราะเหตุนั้นความปรารถนาอันชั่วช้าจึงครอบงำท่านผู้นี้ได้ ภิกษุทั้งหลายหากว่าโลภะไม่ครอบงำ

ภิกษุนั้นเป็นไป หากว่าโทสะ … หากว่าโมหะ ... หากว่าโกธะ … หากว่าอุปนาหะ … หากว่ามักขะ … หากว่าปฬาสะ … หากว่ามัจฉริยะ … หากว่าความริษยาอันชั่วช้า … หากว่าความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่ครอบงำ.ภิกษุนั้นเป็นไป.ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ผู้รู้ชัด และท่านผู้นี้ย่อมเป็นผู้รู้ชัด เพราะเหตุนั้นโลภะจึงครอบงำ.ท่านผู้นี้ไม่ได้.ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่าโทสะ.(ความประทุษร้าย) … โมหะ.(ความหลง) ... โกธะ.(ความโกรธ) … อุปนาหะ.(ความผูกโกรธ) … มักขะ.(ความลบหลู่คุณ) … ปฬาสะ.(ความตีตนเสมอท่าน) … มัจฉริยะ.(ความตระหนี่) … ความริษยาอันชั่วช้า.(ปาปิกา อิสฺสา) … ความปรารถนาอันชั่วช้า.

(ปาปิกา อิจฺฉา) ย่อมไม่มีแก่ผู้รู้ชัด และท่านผู้นี้ย่อมเป็นผู้รู้ชัด เพราะเหตุนั้นความปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้ ดังนี้.


31 ปัจจัยแห่งทุกข์ และความดับแห่งทุกข์ โดยอเนกปริยาย
-บาลี สุตฺต. ขุ. ๒๕/๔๗๓-๔๘๒/๓๙๐-๔๐๖.

ภิกษุทั้งหลาย.ถ้าจะพึงมีผู้ถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า จะมีประโยชน์อะไร เพื่อการฟังกุศลธรรม อันเป็น อริยะ เป็นเครื่องนำออก อันให้ถึงปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ เธอทั้งหลายพึงตอบเขาอย่างนี้ว่ามีประโยชน์ เพื่อรู้ธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างตามความเป็นจริง

ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ท่านทั้งหลาย กล่าวอะไรว่าเป็นธรรม ๒ อย่าง เธอทั้งหลายพึงตอบเขา อย่างนี้ ว่า การพิจารณา เห็นเนืองๆ (อนุปสฺสนา) ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้เป็นอย่างที่ ๑.

การพิจารณาเห็นเนืองๆ (อนุปสฺสนา) ว่า นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-ปฏิปทา นี้เป็นอย่างที่ ๒.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนืองๆ อย่างนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่  พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือ เมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า การพิจารณาเห็นธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนืองๆจะพึง มีโดยปริยาย อย่างอื่น อีกบ้างไหม.ให้ตอบเขาว่า พึงมี.ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่า

ให้ตอบเขาว่า การพิจารณา เห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะอุปธิ เป็นปัจจัย นี้เป็นอย่างที่ ๑.

การพิจารณา เห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่ง อุปธินั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่าง โดยชอบอย่างนี้ พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี

ภิกษุทั้งหลาย.… ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่า. ให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนี้เป็นอย่างที่ ๑.

การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั่นเอง ทุกข์ จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผล ๒.อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็น อนาคามี

ภิกษุทั้งหลาย.… ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะสังขารเป็นปัจจัย นี้เป็นอย่างที่ ๑.

การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งสังขารนั่นเอง ทุกข์จึง ไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็น อนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย.… ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นี้เป็นอย่างที่ ๑. การ พิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งวิญญาณนั่นเอง ทุกข์จึง ไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒.

ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ …พึงหวังผล ๒.อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็น อนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย.… ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย นี้เป็นอย่างที่ ๑.

การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งผัสสะนั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็น อนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย.… ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะเวทนาเป็นปัจจัย นี้เป็นอย่างที่ ๑.

การพิจารณา เห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งเวทนานั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน.หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็น อนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย.… ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะตัณหาเป็นปัจจัย นี้เป็นอย่างที่ ๑.

การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคา มี..

ภิกษุทั้งหลาย.… ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย นี้เป็นอย่างที่ ๑.

การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอุปาทานนั่นเอง ทุกข์จึง ไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒

ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็น อนาคามี ภิกษุทั้งหลาย.… ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็น เนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะความริเริ่ม (อารมฺภ) เป็นปัจจัย นี้เป็น อย่างที่ ๑

การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งความริเริ่มนั่นเอง ทุกข์จึงไม่ เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย.… ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาหารเป็นปัจจัย นี้เป็นอย่างที่ ๑.

การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอาหาร ทั้งหมดนั่นเอง ทุกข์ จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒. ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่าง โดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันหรือ เมื่อยังมี ความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็น อนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย.… ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่า.ให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งหมดย่อมเกิดขึ้นเพราะความหวั่นไหวเป็นปัจจัย นี้เป็นอย่างที่ ๑.

การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่ง ความหวั่นไหวทั้งหลาย นั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็น อนาคามี..

ภิกษุทั้งหลาย.… ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ความดิ้นรนย่อมมีแก่ผู้อันตัณหา ทิฏฐิ และมานะอาศัยแล้ว นี้เป็นอย่างที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ผู้ที่ตัณหา ทิฏฐิ และมานะไม่อาศัยแล้ว ย่อมไม่ดิ้นรน นี้เป็นอย่างที่ ๒.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผล ๒ อย่าง  อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลือ อยู่ ก็จะเป็น อนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย.… ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่า.ให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า อรูปภพละเอียดกว่ารูปภพ นี้เป็นอย่างที่ ๑.การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่านิโรธละเอียดกว่าอรูปภพ นี้เป็น อย่างที่ ๒.ภิกษุทั้งหลาย.

ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย.… ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่าให้ตอบเขาว่าการพิจารณา เห็นเนืองๆ ว่า นามรูปที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ มนุษย์เล็งเห็นว่า นามรูปนี้เป็นของจริง พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตาม ความเป็นจริงว่า นามรูปนั่นเป็นของเท็จ นี้เป็นอย่างที่ ๑.การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า นิพพานที่โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็นว่า นิพพานนี้เป็นของเท็จ พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นิพพานนั้นเป็นของจริง นี้เป็นอย่างที่ ๒.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน.หรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็น อนาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย.... ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า การพิจารณาเห็นธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างเนืองๆ โดยชอบ จะพึงมีโดยปริยายอย่างอื่นบ้างไหม ให้ตอบเขาว่า พึงมี ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่า ให้ ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า อิฏฐารมณ์ (อารมณ์หรือสิ่งที่น่าปรารถนา น่าพอใจ) ที่โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เล็งเห็นว่า เป็นสุข พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นั่นเป็นทุกข์ นี้เป็น อย่างที่ ๑. การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า นิพพานที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่ สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็นว่า นี้เป็นทุกข์ พระอริยะเจ้า ทั้งหลายเห็น ด้วยดี แล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงว่า นั่นเป็นสุข นี้เป็นอย่างที่ ๒.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่าง โดยชอบเนืองๆ อย่างนี้ ไม่ประมาท มี ความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในจจุบัน หรือเมื่อ ยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี. (สำหรับบทนี้มีเนื้อหาค่อนข้างยาว ผู้รวบรวมจึงได้นำมาใส่ ไว้บางส่วน ผู้สนใจพึงตามอ่านเนื้อ ความเต็มได้จากที่มาของพระสูตร)

32 เหตุให้ได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
-บาลี อฏฺ.ก. อํ. ๒๓/๑๕๒-๑๕๖/๙๒.

ภิกษุทั้งหลาย.เหตุ ๘ ประการ.ปัจจัย ๘ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ (อาทิพฺรหฺมจริยิกา) ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงามไพบูลย์ ความเจริญบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.๘ ประการเป็นอย่างไร คือ

(๑) ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู อันเป็นที่ซึ่งความละอาย ความเกรงกลัว ความรักและความเคารพของภิกษุนั้น จะตั้งไว้อย่างแรงกล้า. ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยข้อที่ ๑. ย่อมเป็นไป เพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงาม ไพบูลย์ ความเจริญบริบูรณ์แห่งปัญญา ที่ได้แล้ว.

(๒) ภิกษุนั้นอาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู จนกระทั่งความละอาย ความ เกรงกลัว ความรัก และความเคารพของภิกษุนั้นตั้งขึ้นไว้อย่างแรงกล้าแล้ว เธอนั้นเข้าไปหาแล้วไต่ถาม สอบถามตาม กาลสมควรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อม เปิดเผย ข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้แจ้งข้อที่ยังไม่ได้ทำ.ให้แจ้ง และบรรเทาความสงสัยในธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย หลาย ประการแก่เธอ. ภิกษุทั้งหลาย.นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้น แห่ง พรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงามไพบูลย์ ความเจริญบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

(๓) ภิกษุนั้น ครั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมยังความสงบ ๒ อย่าง คือ ความสงบกายและความสงบจิตให้ถึงพร้อม. ภิกษุทั้งหลาย.นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยข้อที่ ๓. ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงามไพบูลย์ ความเจริญบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

(๔) ภิกษุนั้น เป็นผู้มีศีล สำ.รวมระวังในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษ แม้มี ประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.ภิกษุทั้งหลาย.นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยข้อที่ ๔. ย่อมเป็นไปเพื่อได้ ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงามไพบูลย์ ความเจริญบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

(๕) ภิกษุนั้น เป็นพหูสูต ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก ทรงจำได้้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดี ด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถพร้อม ทั้ง พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง.ภิกษุทั้งหลาย.นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา อันเป็น เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงามไพบูลย์ ความเจริญบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

(๖) ภิกษุนั้น.ย่อมปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบาก บั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมหลาย.ภิกษุทั้งหลาย.นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยข้อที่ ๖.ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา อัน เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงามไพบูลย์ ความเจริญบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

(๗) ภิกษุนั้น เข้าสู่ที่ประชุมสงฆ์แล้ว ไม่พูดเรื่องนอกเรื่อง ไม่พูดเรื่องไม่เป็นประโยชน์.(ติรจฺฉานกถา) ย่อมแสดง ธรรมเองบ้าง ย่อมเชื้อเชิญผู้อื่นให้แสดงธรรมบ้าง ย่อมไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่างพระอริยเจ้า.ภิกษุทั้งหลายนี้ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยข้อที่ ๗.ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงามไพบูลย์ ความเจริญบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

(๘) เธอพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕.ว่ารูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็น อย่างนี้.ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้เวทนาเป็นอย่างนี้ .... สัญญาเป็นอย่างนี้ .... สังขารทั้งหลายเป็นอย่างนี้ ....วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้. ภิกษุทั้งหลาย. นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยข้อที่ ๘.ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงาม ไพบูลย์ ความเจริญบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.นี้แลเหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงามไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว


33 ทางให้ถึงความหลุดพ้นห้าทาง
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๒-๒๕/๒๖.

ภิกษุทั้งหลาย.เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว จิตที่ยังไม่ หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ.เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ

(๑) ภิกษุทั้งหลาย.พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อม เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ เมื่อเธอเข้าใจ อรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. ภิกษุทั้งหลาย. นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๑. ซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น.อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อม ได้ บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ.

(๒) ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอนั้นย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจ ธรรมในธรรมนั้น ตามที่เธอได้ทำ.การแสดงธรรมตามที่ได้ฟังมาแล้ว ได้เล่าเรียนมาแล้ว แก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น.ภิกษุทั้งหลาย.นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒ ...

(๓) ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ และภิกษุนั้นก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำกา ร สาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่เธอได้ทำ การสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังมาแล้ว ได้เล่าเรียนมาแล้วโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมย่อมเกิด ปราโมทย์ ... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น.ภิกษุทั้งหลาย.นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ ...

(๔) ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุนั้นก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร และภิกษุนั้นก็ไม่ได้ทำการ สาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังมา ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เล่าเรียนมาด้วยใจ เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่เธอได้ทำ.การตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรม ตาม ที่ได้ฟังมาแล้ว ได้เล่าเรียนมาแล้วด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ... เมื่อมีสุข จิตย่อม ตั้งมั่น.ภิกษุทั้งหลาย.นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔ ...

(๕) ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุนั้นก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุนั้นก็ไม่ได้สาธยายธรรม ตาม ที่ได้ฟังมา ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร และภิกษุนั้นก็ไม่ได้ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้ศึกษาเล่าเรียนม าด้วยใจ ก็แต่ว่าสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิด ปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุขจิต ย่อม ตั้งมั่น

ภิกษุทั้งหลาย.นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕.ซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ จิตที่ยังไม่ หลุด พ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ อันยอด เยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ .

ภิกษุทั้งหลาย.นี้แลเหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ ซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ จิตที่ยัง ไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ อันยอด เยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ.


34 ทัศนะต่างกัน แต่หลุดพ้นเหมือนกัน
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๒๓๙-๒๔๒/๓๔๐-๓๔๒.

ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปถามปัญหากับภิกษุหลายรูป แต่ก็ไม่ยินดีการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุเหล่านั้น จึงได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค แล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ข้าพระองค์เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า อาวุโส ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า อาวุโส ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุ รู้ชัดเหตุเกิด และความดับ แห่งผัสสายตนะ.๖ ตามความเป็นจริง.

ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า อาวุโส ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าว กะข้าพระองค์ว่า อาวุโส ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุ รู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งอุปาทานขันธ ๕ ตามความเป็นจริง.

ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า อาวุโส ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าว กะข้าพระองค์ว่า อาวุโส ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุที่ภิกษุ รู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งมหาภูตรูป๔ ตามความเป็นจริง.

ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปอีกหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า อาวุโส ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าว กะข้าพระองค์ว่า อาวุโส ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา.

ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ขอทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล.

ภิกษุ บุรุษผู้ยังไม่เคยเห็นต้นทองกวาว บุรุษนั้นพึงเข้าไปหาบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถาม อย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า บุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวดำเหมือนตอไม้ไหม้ ก็สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น.

ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า ต้นทองกวาวแดงเหมือนชิ้นเนื้อ ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น.

ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า บุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวที่เกิดนานมีฝัก เหมือนต้นซึก ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น.

ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า บุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวมีใบแก่และ ใบอ่อน หนาแน่น มีร่มทึบเหมือนต้นไทร ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น แม้ฉันใด.

ภิกษุ. ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ทัศนะของสัปบุรุษเหล่านั้น ผู้น้อมไปแล้วเป็นอันหมดจดดีด้วยประการใดๆ ก็เป็นอันว่า สัปบุรุษผู้ฉลาดเหล่านั้นพยากรณ์แล้วด้วยอาการอย่างนั้นๆ.

ภิกษุ.เปรียบเหมือน เมืองชายแดนของพระราชาเป็นเมืองที่มั่นคง มีกำแพงและเชิงเทิน มีประตู๖ประตู นายประตู เมือง นั้นเป็นคนฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จัก อนุญาตให้คนที่ตนรู้จักเข้าไปในเมืองนั้น ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศตะวันออก พึงถามนายประตูนั้นว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน นายประตู นั้นตอบว่า แน่ะท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสี่แพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล ราชทูตคู่นั้นมอบถ้อยคำ ตามความ เป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปตามทางที่มาแล้ว ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศตะวันตก ... ราชทูต คู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศเหนือ ... ราชทูตคู่หนึ่ง

มีราชการด่วนมาแต่ทิศใต้ แล้วถามนายประตูนั้นอย่างนี้ว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน นายประตูนั้นพึง ตอบว่า แน่ะท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสี่แพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล ราชทูตคู่หนึ่งนั้นมอบถ้อยคำตาม ความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปทางตามที่มาแล้ว.

ภิกษุ.อุปมานี้แล เรากระทำ แล้วเพื่อจะให้เนื้อ ความแจ่มแจ้ง ก็ในอุปมานั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ คำว่าเมือง เป็นชื่อของกายนี้ที่ ประกอบด้วย มหาภูตรูป.๔ ซึ่งมี มารดาและบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด มีอันต้องอบ ต้องนวดฟั้นเป็นนิตย์ มีอันทำลาย และ กระจัดกระจาย เป็นธรรมดาคำว่าประต ๖ ประตู เป็นชื่อของอายตนะภายใน๖คำ ว่านายประตู เป็นชื่อของสติ.

คำว่าราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน เป็นชื่อของสมถะและวิปัสสนาคำว่าเจ้าเมือง เป็นชื่อของวิญญาณ คำว่าทางสี่ แพร่งกลางเมือง เป็นชื่อของมหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุคำว่าถ้อยคำตามความเป็นจริง เป็นชื่อของนิพพานคำว่าทางตามที่มาแล้ว เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ.


35 ลำดับการปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล
-บาลี ม. ม. ๑๓/๒๓๓/๒๓๘.
ภิกษุทั้งหลาย.เราย่อมไม่กล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการกระทำเพียงอันดับแรกเท่านั้น แต่การตั้งอยู่ใน อรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการกระทำโดยลำดับ ด้วยการปฏิบัติโดยลำดับ.


ภิกษุทั้งหลาย.ก็การตั้งอยู่ในอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการกระทำโดยลำดับ ด้วยการปฏิบัติ โดยลำดับอย่างไรเล่า

ภิกษุทั้งหลาย.กุลบุตรในกรณีนี้
เกิดศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปหา
เมื่อเข้าไปหา ย่อมเข้าไปนั่งใกล้
เมื่อเข้าไปนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลง
เมื่อเงี่ยโสตลงแล้ว ย่อมได้ฟังซึ่งธรรม
ครั้นได้ฟังธรรมแล้ว ย่อมทรงจำธรรมนั้นไว้
ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว
เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อการเพ่งพิสูจน์
เมื่อธรรมทนต่อการเพ่งพิสูจน์ได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด
เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมมีอุตสาหะ
ครั้นมีอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง
ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร
เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย และย่อมเห็นแจ้งแทงตลอดบรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา.


36 อานิสงส์ของธรรม ๔ ประการ
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๖-๕๑๘/๑๖๓๔-๑๖๕๓.

ภิกษุทั้งหลาย. ธรรม ๔ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง
โสดาปัตติผลธรรม ๔ ประการเป็นอย่างไร คือ
(๑) การคบสัตบุรุษ
(๒) การฟังสัทธรรม
(๓) การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
(๔) การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล
อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว


ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.....
ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ... .....
ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ... .....
ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล ... .....
ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา ... .....
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา(ปญฺญาวุฑฺฒิยา) ...
ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา(ปญฺญา-เวปุลฺลาย) ...
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ (มหาปญฺญตาย) ...
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา(ปุถุปญฺญตาย) ...
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์(วิปุลปญฺญตาย) ...
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง(คมฺภีรปญฺญตาย) …
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาประมาณมิได้(อปฺปมตฺต ปญฺญตาย)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน(ภูริปญฺญตาย) …
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก(ปญฺญาพาหุลฺลาย)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว(สีฆปญฺญตาย) …
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเบา(ลหุ-ปญฺญตาย) …
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง(หาสปญฺญตาย) …
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไว(ชวนปญฺญตาย ) …
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคมกล้า(ติกฺขปญฺญตาย)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องชำแรกกิเลส (นิพฺเพธิกปญฺญตาย)


37 ธรรมย่อมไหลไปสู่ธรรม
-บาลี เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๓๖/๒๐๙.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์แล้วด้วยศีลไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอความไม่เดือดร้อนจงเกิดขึ้นแก่เราเถิด ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ความไม่เดือดร้อนเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์แล้วด้วยศีลนี้ เป็นธรรมดา.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้ไม่มีความเดือดร้อนไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอความปราโมทย์จงเกิดขึ้นแก่เราเถิด ภิกษุทั้งหลาย. ข้อที่ความปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่มีความเดือดร้อนนี้ เป็นธรรมดา.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้มีความปราโมทย์ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอปีติจงเกิดขึ้นแก่เราเถิดภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปีติเกิดขึ้น แก่บุคคลผู้มีความปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอกายของเราจงสงบเถิด ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กาย ของบุคคล ผู้มีใจประกอบด้วยปีติสงบนี้ เป็นธรรมดา.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้มีกายสงบแล้วไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงเสวยสุขเถิด. ภิกษุทั้งหลายข้อที่บุคคลผู้มีกาย สงบแล้ว เสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้มีสุขไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอจิตของเราจงตั้งมั่นเถิด..ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่จิตของบุคคลผู้มี สุข แล้วตั้งมั่นนี้ เป็นธรรมดา.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงรู้จงเห็นตามเป็นจริงเถิด.ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคล ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วรู้เห็นตามเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้รู้เห็นตามเป็นจริง ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงเบื่อหน่ายเถิด.ภิกษุทั้งหลาย. ข้อที่บุคคล ผู้รู้เห็นตามเป็นจริงแล้วเบื่อหน่ายนี้ เป็นธรรมดา.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้เบื่อหน่าย ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงคลายกำหนัดเถิด. ภิกษุทั้งหลายข้อที่บุคคลผู้ เบื่อหน่าย แล้วคลายกำ.หนัดนี้ เป็นธรรมดา.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้มีจิตคลายกำหนัดแล้วไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะเถิด ภิกษุทั้งหลาย. ข้อที่บุคคลคลายกำหนัดแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะนี้ เป็นธรรมดา.

ภิกษุทั้งหลาย.วิราคะ มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ นิพพิทา มีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาเป็นผล มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ สมาธิ มียถาภูตญาณทัสสนะ เป็นผล มีถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์ สุข มีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิ มีสุขเป็นผล มีสุขเป็น อานิสงส์ ปีติ มีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ความปราโมทย์ มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ความไม่ เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ศีลที่เป็นกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความ ไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย.ธรรมย่อมไหลไปสู่ธรรม ธรรมย่อมยังธรรมให้บริบูรณ์ เพื่อการถึงฝั่ง(คือนิพพาน) จากที่อันมิใช่ฝั่ง (สังสารวัฏ) ด้วยอาการอย่างนี้แล.


38 ความไม่ประมาท เป็นยอดแห่งกุศลธรรม
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๖๒/๒๔๕.

ภิกษุทั้งหลาย.สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดี มี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ บัณฑิตกล่าว ว่า เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์เหล่านั้น ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย.กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความ ไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย.อันภิกษุผู้ไม่ประมาทแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์๘ จักกระทำ ให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.


39 ลักษณะของผู้ไม่ประมาท (นัยที่ ๑)
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๙๘/๑๔๔.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทเป็นอย่างไรเล่า.
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุสำรวมอินทรีย์คือตาอยู่ จิตก็ไม่ซ่านไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยตา เมื่อภิกษุนั้นมีจิตไม่ซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อภิกษุเกิด ปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อภิกษุมีใจเกิดปีติ แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ ภิกษุผู้มีกายและจิตสงบ ย่อมอยู่เป็นสุข จิตของภิกษุผู้มีสุขก็ตั้งมั่นเมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความ นับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทแท้จริง (ในกรณีแห่งอินทรีย์ คือ หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็มีนัยอย่างเดียวกัน)
ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ด้วยอาการอย่างนี้.


40 ลักษณะของผู้ไม่ประมาท (นัยที่ ๒)
-บาลี อฏฺ.ก. อํ. ๒๓/๓๒๗/๑๗๐.

ภิกษุทั้งหลาย.ส่วนภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราอาจมีชิวิตอยู่ชั่วระยะเวลาเคี้ยวข้าวคำหนึ่ง แล้วกลืนกิน เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเถิด การกระทำตามคำ สอนของพระผู้มีพระภาค เราควรทำ ให้มากหนอ และภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราอาจมีชีวิตอยู่ชั่วระยะเวลาหายใจออก แล้วหายใจเข้า หรือหายใจ เข้า แล้วหายใจออก เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเถิด การกระทำ ตามคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราควร ทำให้มากหนอ.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุเหล่านี้เรากล่าวว่าเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ ย่อมเจริญมรณสติ เพื่อความสิ้นอาสวะ.
ภิกษุทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ประมาทอยู่ จักเจริญมรณสติเพื่อความ สิ้นอาสวะ.

ภิกษุทั้งหลาย.เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.