เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  02 of 5  
  ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา  ที่มา : http://watnapp.com/book  
  หน้า    
  ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ อริยมรรคมีองค์ ๘ 125  
  41 กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน 126  
  42 อริยมรรคมีองค์ ๘ ทางสายกลางอันเป็นเหตุให้เกิดจักษุและญาณเพื่อนิพพาน 128  
  43 ปรารภโพชฌงค์แล้ว มรรคก็เป็นอันปรารภด้วย 129  
  44 ปรารภสติปัฏฐานแล้ว มรรคก็เป็นอันปรารภด้วย 131  
  45 ความถึงพร้อมด้วยศีล เป็นเบื้องต้นเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ 133  
  46 หนทางมีอยู่ เมื่อปฏิบัติตามแล้ว จะรู้ได้เอง (หลักการเลือกครู) 134  
  ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ขันธ์ ๕ 143  
  47 ความหมายของคำว่า “รูป” 144  
  48 อุปมาแห่งรูป 145  
  49 มหาภูต ๔.และรูปอาศัย 146  
  50 รายละเอียดของธาตุสี่ 147  
  51 อัสสาทะและอาทีนวะของรูป 150  
  52 อริยมรรคมีองค์ ๘ คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งรูป 151  
  53 ความหมายของคำว่า “เวทนา” 153  
  54 อุปมาแห่งเวทนา 154  
  55 หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับ เวทนา 155  
  56 เวทนา เป็นทางมาแห่งอนุสัย 157  
  57 เวทนามีธรรมดาไม่เที่ยง 159  
  58 อาการเกิดดับแห่งเวทนา 161  
  59 เวทนา ๑๐๘ (นัยที่ ๑) 163  
  60 เวทนา ๑๐๘ (นัยที่ ๒) 165  
  61 อินทรีย์ ๕ - เวทนา ๓ 167  
  62 เวทนาใดๆ ต่างประมวลลงใน “ทุกข์” 169  
  63 ความเป็นทุกข์สามลักษณะ 170  
  64 อัสสาทะและอาทีนวะของเวทนา 171  
  65 อริยมรรคมีองค์ ๘ คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนา 172  
  66 ความหมายของคำว่า “สัญญา” 174  
  67 อุปมาแห่งสัญญา 175  
  68 หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับสัญญา 176  
  69 อัสสาทะและอาทีนวะของสัญญา 178  
  70 อริยมรรคมีองค์ ๘ คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสัญญา 179  
  71 ความหมายของคำว่า “สังขาร” 181  
  72 อุปมาแห่งสังขาร 182  
  73 อัสสาทะและอาทีนวะของสังขาร 183  
  74 อริยมรรคมีองค์ ๘ คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร 184  
  75 ความหมายของคำว่า “วิญญาณ” 186  
  76 อุปมาแห่งวิญญาณ 187  
  77 ปัจจัยแห่งการเกิดขึ้นของวิญญาณ 188  
  78 ที่ตั้งอาศัยของวิญญาณ 191  
  79 วิญญาณ ไม่ใช่สิ่งที่ท่องเที่ยว 194  
  80 วิญญาณ ไม่เที่ยง 201  
  81 วิญญาณ เป็นสิ่งที่เกิดดับ 204  
  82 อัสสาทะและอาทีนวะของวิญญาณ 206  
  83 อริยมรรคมีองค์ ๘ คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ 207  
  84 ความลับของขันธ์ ๕ 209  
  85 สัญโญชน์และที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ 212  
  86 ทุกข์เกิด เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรม โดยความเป็นอัสสาทะ (นัยที่ ๑) 214  
  87 ทุกข์ดับ เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรม โดยความเป็นอาทีนวะ (นัยที่ ๑) 217  
  88 ทุกข์เกิด เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรม โดยความเป็นอัสสาทะ (นัยที่ ๒) 219  
  89 ทุกข์ดับ เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรม โดยความเป็นอาทีนวะ (นัยที่ ๒) 221  
  90 อุปาทานและที่ตั้งแห่งอุปาทาน 223  
  91 อุปาทาน กับ อุปาทานขันธ์ มิใช่อันเดียวกัน 225  
  92 รากเง่าแห่งอุปาทานขันธ์ 226  
  93 ขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ 227  
  94 ทุกข์เกิด เพราะเห็นอุปาทานิยธรรมโดยความเป็นอัสสาทะ 230  
  95 ทุกข์ดับ เพราะเห็นอุปาทานิยธรรมโดยความเป็นอาทีนวะ 232  
  96 เพลินในขันธ์ ๕ เท่ากับเพลินในทุกข์ไม่เพลินในขันธ์ ๕ เท่ากับพ้นไปจากทุกข์ 234  
 

 

   
 
 






ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ อริยมรรคมีองค์ ๘

41 กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๙/๑๘๙-๑๙๐.

ภิกษุทั้งหลาย.แม่น้ำใหญ่ๆ สายใดสายหนึ่งนี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำ อจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมด นั้นไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค อันประกอบ ด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘. ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไป สู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย. ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์๘ เมื่อกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรค อันประกอบ ด้วยองค์.๘ อย่างไรเล่า จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัมมาทิฏฐิ … สัมมาสังกัปปะ … สัมมาวาจา … สัมมากัมมันตะ … สัมมา อาชีวะ … สัมมาวายามะ … สัมมาสติ … สัมมาสมาธิ.อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ โน้มไปในการสละ.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์.๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบ ด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่ นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

(คำว่า เจริญกระทำ.ให้มากซึ่งองค์มรรค ชนิดที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะเป็นต้น ดังที่กล่าวข้างบนนั้น ในบางสูตร ตรัสว่า เจริญกระทำ ให้มากซึ่งองค์มรรคชนิดที่มีการนำ ออกซึ่งราคะ - โทสะ - โมหะ เป็นปริโยสาน ดังนี้ก็มี -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒/๒๐๕. ในบางสูตรตรัสว่า ชนิดที่มีการหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตะเป็น ปริโยสาน ดังนี้ก็มี -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕/๒๒๐..และในบางสูตรตรัสว่า ชนิดที่น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดังนี้ก็มี -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๘/๒๓๖..คำ.ที่ว่า ไหล หลั่ง บ่า ไปทางทิศปราจีนนั้น ในบางสูตร ทรงใช้คำ.ว่า ไหล หลั่ง บ่า ไปสู่สมุทร ก็มี -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๐,๕๔,๕๗,๖๐/๑๙๗,๒๑๒,๒๒๗,๒๔๓.).


42 อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นทางสายกลาง
อันเป็นเหตุให้เกิดจักษุและญาณเพื่อนิพพาน

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔.

ภิกษุทั้งหลาย.ส่วนข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง(มัชฌิมาปฏิปทา) ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุด ๒ อย่างเหล่านี้ อันตถาคต ได้ตรัสรู้แล้ว กระทำให้เกิด จักษุ กระทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อ นิพพาน

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว กระทำให้เกิดจักษุ กระทำให้เกิดญาณ ย่อม เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความ รู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้นเป็นอย่างไร คือ อริยมรรค อันประกอบ ด้วยองค์๘ นี้แหละ ซึ่งได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจ ชอบ

ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว เป็นข้อปฏิบัติกระทำ ให้เกิดจักษุ กระทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็น ไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

43 ปรารภโพชฌงค์แล้ว มรรคก็เป็นอันปรารภด้วย
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๑๗-๑๑๘/๔๓๑-๔๓๔.

ภิกษุทั้งหลาย.โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่ปรารภแล้ว อริยมรรคอันยังสัตว์ให้ถึงความ สิ้นทุกข์โดยชอบ ก็เป็นอันบุคคลเหล่านั้น ไม่ปรารภแล้ว โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปรารภแล้ว อริยมรรค อันยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็เป็นอันบุคคลเหล่านั้น ปรารภแล้ว

โพชฌงค์ทั้ง ๗ เป็นอย่างไร คือ

สติสัมโพชฌงค์
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
วิริยะสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์


ภิกษุทั้งหลาย.โพชฌงค์ทั้ง ๗ เหล่านี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่ปรารภแล้ว อริยมรรคอันยังสัตว ให้ถึง ความ สิ้นทุกข์โดยชอบ ก็เป็นอันบุคคล เหล่านั้นไม่ปรารภแล้ว โพชฌงค์ทั้ง ๗ เหล่านี้ อันบุคคลเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ปรารภ แล้ว อริยมรรคอันยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็เป็นอัน บุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย.โพชฌงค์ทั้ง ๗ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นธรรมเครื่องนำออก อันประเสริฐ ย่อมนำไปเพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบ แก่ผู้กระทำซึ่ง โพชฌงค์ทั้ง ๗ นั้น.

ภิกษุทั้งหลาย.โพชฌงค์ทั้ง ๗ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความหน่ายโดยส่วน เดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.


44 ปรารภสติปัฏฐานแล้ว มรรคก็เป็นอันปรารภด้วย
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๔๐-๒๔๑/๘๐๑.

ภิกษุทั้งหลาย.สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่ปรารภแล้ว. อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ 1 อันยัง สัตว์ให้ถึงความ สิ้นทุกข์ โดยชอบ ก็เป็นอันบุคคล เหล่า นั้นไม่ปรารภแล้ว สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเหล่าใด เหล่า หนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็เป็นอันบุคคลเหล่านั้น ปรารภแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.สติปัฏฐานทั้ง๔ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความ เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัส ในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมป ชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.

1..บาลีฉบับมอญและอักษรโรมัน ไม่ปรากฏคำว่า ประกอบด้วยองค์ ๘ –ผู้รวบรวม

ภิกษุทั้งหลาย.สติปัฏฐานทั้ง ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่ปรารภแล้ว อริยมรรค อันประกอบด้วย องค์ ๘ อันยังสัตว์ให้ถึง ความสิ้นทุกข์ โดยชอบ ก็เป็นอันบุคคล เหล่านั้น ไม่ปรารภแล้ว สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคล เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ปรารภแล้ว อริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ อันยังสัตว์ให้ถึง ความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็เป็นอัน บุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว.


45 ความถึงพร้อมด้วยศีล เป็นเบื้องต้น
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๖/๑๓๑.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง

ภิกษุทั้งหลาย.สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘. ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งศีล ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ภิกษุทั้งหลาย.อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล พึงหวังข้อนี้ได้ว่าจักเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘.จักทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอัน ประกอบ ด้วย องค์ ๘ …..


46 หนทางมีอยู่ เมื่อปฏิบัติตามแล้ว จะรู้ได้เอง (หลักการเลือกครู)
-บาลี สี. ที. ๙/๒๐๕-๒๑๐/๒๖๐-๒๖๕.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ.ข้าพเจ้าได้ฟังมาว่า พระสมณโคดมทรงติตบะทุกอย่าง ทรงคัดค้าน กล่าวโทษ บุคคลผู้ ประพฤติตบะทั้งปวง ผู้มีอาชีพ เศร้าหมองโดยส่วนเดียว ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม ทรงติตบะทุกอย่าง ทรงคัดค้าน กล่าวโทษ บุคคลผู้ประพฤติตบะทั้งปวง ผู้มีอาชีพเศร้าหมองโดย ส่วนเดียว เป็นผู้กล่าวตามคำ ที่พระโคดมผู้เจริญตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่ พระโคดมผู้เจริญด้วยคำไม่จริง และชื่อว่า พยากรณ์ธรรมตามสมควรแก่ธรรม.

อนึ่ง การกล่าวและกล่าวตามที่ชอบแก่เหตุแม้น้อยหนึ่ง จะไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียนแลหรือ ความจริงข้าพเจ้ามิได้ มีความประสงค์ ที่จะกล่าวตู่ พระโคดมผู้เจริญ

กัสสปะ.สมณพราหมณ์ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณ-โคดมทรงติตบะทุกอย่าง ทรงคัดค้าน กล่าวโทษ บุคคลผู้ ประพฤติ ตบะทั้งปวง ผู้มีอาชีพ เศร้าหมองโดยส่วนเดียว ไม่ เป็นอันกล่าวตามเรา และชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำที่ไม่ มีจริง ไม่เป็นจริง

เราเห็นบุคคลผู้ประพฤติตบะมีอาชีพ เศร้า หมอง บางคนในโลกนี้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะการ ทำลาย แห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ มนุษย์ก็มี เราเห็นบุคคล ผู้ประพฤติตบะ มีอาชีพเศร้าหมองบางคน ในโลกนี้ เบื้องหน้า แต่ตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ก็มี.

เราเห็นบุคคลผู้ประพฤติตบะบางคนในโลกนี้ อยู่เป็นทุกข์เพราะบุญน้อย เบื้องหน้า แต่ตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ก็มี

เราเห็นบุคคลผู้ประพฤติ ตบะ บางคนในโลกนี้ อยู่เป็นทุกข์เพราะบุญน้อย เบื้องหน้า แต่ตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ก็มี เรารู้การมา การไป จุติและอุบัติของ บุคคลผู้ประพฤติตบะเหล่านี้ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เหตุไร เราจักติตบะทุกอย่าง จักคัดค้าน กล่าวโทษ บุคคลผู้ประพฤติตบะทั้งปวง ผู้มีอาชีพ เศร้าหมองโดยส่วนเดียวเล่า

กัสสปะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นบัณฑิต มีปัญญา ละเอียด ทำการโต้เถียงผู้อื่น มีท่าทางเหมือนคนแม่นธนู เขาน่าจะเที่ยวทำลายทิฏฐิ ทั้งหลายด้วยปัญญา สมณพราหมณ์พวกนั้น ย่อมลงกับเราในฐานะบางอย่าง ไม่ลง กับเราในฐานะบางอย่าง บางอย่างที่เขากล่าวว่าดี แม้เรา ก็กล่าวว่าดีบางอย่างที่เขากล่าวว่าไม่ดี แม้เราก็กล่าวว่าไม่ดี บางอย่างที่เขากล่าวว่าดี เรากล่าวว่าไม่ดีบางอย่างที่เขากล่าวว่าไม่ดี เรากล่าวว่าดี บางอย่างที่เรากล่าวว่าดี

แม้สมณพราหมณ์พวกอื่นก็กล่าวว่าดี บางอย่างที่เรา กล่าวว่าไม่ดี แม้สมณพราหมณ์พวกอื่นก็กล่าวว่าไม่ดี บางอย่างที่เรากล่าวว่าดี สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่าไม่ดีบางอย่างที่เรากล่าวว่าไม่ดี สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่าดี เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านผู้มีอายุ. ฐานะที่เราไม่ลงกันจงงดไว้ ในฐานะทั้งหลายที่ลงกัน วิญญูชนจงซักไซ้ไล่เลียง สอบสวน เปรียบเทียบ ครูด้วยครู เปรียบเทียบ หมู่ด้วยหมู่ ว่าธรรมของท่าน พวกนี้ เหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศลมีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพไม่เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าไม่เป็นธรรมประเสริฐ และเป็นฝ่ายดำ นับว่าเป็นฝ่ายดำ

ใครละธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ จะเป็นพระสมณโคดม หรือคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น.

กัสสปะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นอกุศล นับว่า เป็นอกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพไม่เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าไม่ เป็นธรรมประเสริฐ และเป็นฝ่ายดำ นับว่าเป็นฝ่ายดำ

พระสมณโคดม หรือว่าท่านคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น ละธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือประพฤติอยู่

กัสสปะ.วิญญูชนในโลกนี้ เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนดังนี้ โดยมากพึงสรรเสริญพวกเราพวกเดียวในข้อนั้น

กัสสปะ. อีกข้อหนึ่งเล่า วิญญูชนจงซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนพวกเรา เปรียบเทียบครูด้วยครู เปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ ว่าธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ.ควรเสพ นับว่าควรเสพ เป็นธรรม ประเสริฐ นับว่าเป็นธรรมประเสริฐ และเป็นฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาว ใครสมาทานประพฤติธรรม เหล่านี้ ได้ครบ ถ้วนไม่มีเหลือ จะเป็นพระสมณโคดม หรือคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น.

กัสสปะ.ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็น กุศลไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรเสพ นับว่าควรเสพเป็นธรรมประเสริฐ นับว่าเป็นธรรม ประเสริฐ และเป็นฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาว พระสมณ โคดม หรือคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น สมาทานประพฤติธรรม เหล่านี้ได้ครบถ้วนไม่มีเหลือ.

กัสสปะ. วิญญูชนในโลกนี้ เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนดังนี้ โดยมากพึงสรรเสริญพวกเราพวกเดียวในข้อนั้น.

กัสสปะ. อีกข้อหนึ่งเล่า วิญญูชนจงซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนพวกเรา เปรียบเทียบครูด้วยครู เปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ ว่าธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ

ไม่เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าไม่เป็นธรรมประเสริฐ และฝ่ายดำ นับว่าเป็นฝ่ายดำ ใครละธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ จะเป็นหมู่สาวก ของพระโคดม หรือหมู่สาวกของ คณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น

กัสสปะ. ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ วิญญูชน เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ไม่เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าไม่ เป็นธรรมประเสริฐ และเป็นฝ่ายดำ นับว่าเป็นฝ่ายดำ หมู่สาวกของพระโคดม หรือหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญ เหล่าอื่น ละธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือประพฤติอยู่.

กัสสปะ วิญญูชนทั้งหลายในโลกนี้ เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนดังนี้ โดยมากพึงสรรเสริญพวกเราพวกเดียวในข้อนั้น.

กัสสปะ. อีกข้อหนึ่งเล่า วิญญูชนจงซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนพวกเรา เปรียบเทียบครูด้วยครู เปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ว่า ธรรมทั้งหลายของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็น กุศลไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษควรเสพ นับว่าควรเสพ เป็น ธรรมประเสริฐ นับว่าเป็นธรรมประเสริฐ และเป็นฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาวใครสมาทานประพฤติธรรมเหล่านี้ ได้ครบ ถ้วนไม่มีเหลือ จะเป็นหมู่สาวกของพระโคดม หรือหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น.

กัสสปะ.ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ วิญญูชน เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็น กุศลไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรเสพ นับว่าควรเสพเป็นธรรมประเสริฐ นับว่าเป็นธรรม ประเสริฐและเป็นฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาวหมู่ สาวกของ พระโคดม หรือหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น สมาทานธรรมประพฤติเหล่านี้ได้ครบถ้วนไม่มีเหลือ.

กัสสปะ วิญญูชนในโลกนี้ เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนดังนี้ โดยมากพึงสรรเสริญพวกเราพวกเดียวในข้อนั้น.

กัสสปะ.หนทางมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ บุคคลเมื่อปฏิบัติตามแล้ว จักรู้ได้เอง จักเห็นได้เองว่า พระสมณโคดม กล่าวตาม กาล (กาลวาที) กล่าวคำจริง(ภูตวาที) กล่าวโดยอรรถ (อตฺถวาที) กล่าวโดยธรรม (ธมฺมวาที) กล่าวโดยวินัย (วินยวาที)

กัสสปะ.หนทางเป็นอย่างไร ปฏิปทาเป็นอย่างไร ที่บุคคลเมื่อปฏิบัติตามแล้ว จักรู้ได้เอง จักเห็นได้เองว่า พระสมณ-โคดมกล่าวตามกาล กล่าวคำจริง กล่าวโดยอรรถ กล่าวโดยธรรม กล่าวโดยวินัย หนทางนั้นคือ หนทางอันประกอบ ด้วยองค์๘ อันประเสริฐ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ..

กัสสปะ. มรรคานี้แล ปฏิปทานี้แล ที่บุคคลปฏิบัติตามแล้ว จักรู้เอง จักเห็นเองว่า พระสมณโคดมกล่าวตามกาล กล่าว คำจริง กล่าวโดยอรรถ กล่าวโดยธรรม กล่าวโดยวินัย.


47 ความหมายของคำว่า “รูป”
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๕/๑๕๙.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะอะไรจึงเรียกว่า รูป ภิกษุทั้งหลาย. เพราะสิ่งนั้นแตกสลาย ดังนั้นจึงเรียกว่า รูปแตกสลายไป เพราะ อะไรแตกสลายไป เพราะความหนาวบ้าง แตกสลาย ไปเพราะ ความร้อนบ้าง แตกสลายไปเพราะความหิวบ้าง แตก สลายไปเพราะกระหายบ้าง แตกสลายไปเพราะสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เลื้อยคลานบ้าง.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะสิ่งนั้นแตกสลาย ดังนั้นจึงเรียกว่า รูป


48 อุปมาแห่งรูป
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๗๑/๒๔๒.

ภิกษุทั้งหลาย. แม่น้ำคงคานี้ไหลพากลุ่มฟองน้ำ ก้อนใหญ่มา บุรุษผู้มีจักษุเห็นกลุ่มฟองน้ำ นั้นย่อมเพ่งพินิจพิจารณา โดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาอยู่ โดยแยบคายอยู่ กลุ่มฟองน้ำนั้น พึงปรากฏเป็นของว่าง ของ เปล่า เป็นของหาแก่นสารมิได้เลย ก็แก่นสารในกลุ่มฟองน้ำนั้น จะพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย.ฉันนั้นก็เหมือนกัน รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม ทั้งที่เป็นภายใน หรือ ภายนอกก็ตามหยาบ หรือ ละเอียดก็ตามเลว หรือ ประณีตก็ตามอยู่ ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ภิกษุเห็นรูปนั้น ย่อมเพ่ง พินิจพิจารณาโดยแยบคายเมื่อภิกษุนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาอยู่โดยแยบคายอยู่ รูปนั้น ย่อมปรากฏเป็น ของว่าง ของเปล่า เป็นของหาแก่นสารมิได้เลย ก็แก่นสารในรูปนั้นจะพึงมีได้อย่างไร


49 มหาภูต ๔.และรูปอาศัย
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๐๓/๔๐๓, -บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๒/๑๑๓.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็รูปเป็นอย่างไร คือ มหาภูต ๔.และรูปที่อาศัยมหาภูต นี้เรียกว่า รูป

ภิกษุทั้งหลาย.ธาตุมี ๔ อย่างเหล่านี้ คือ

ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน)
อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
เตโชธาตุ (ธาตุไฟ)
วาโยธาตุ (ธาตุลม)

ภิกษุทั้งหลาย. เหล่านี้แล ธาตุ ๔ อย่าง ดังนี้


50 รายละเอียดของธาตุสี่
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๔๓๗-๔๓๙/๖๘๔-๖๘๗.

ภิกษุ. ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน)เป็นอย่างไร
         คือ ปฐวีธาตุภายในก็มีปฐวีธาตุภายนอกก็มี ภิกษุ.ก็ปฐวีธาตุภายใน เป็นอย่างไรได้แก่ สิ่งที่เป็นของแข็ง ของหยาบ ถูกต้องได้ มีในตน อาศัยตน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือแม้สิ่งอื่น ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เป็นของแข็ง เป็นของหยาบ ถูกต้องได้ มีในตน เฉพาะตน นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุภายใน
         ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอกเหล่านี้แล ต่างก็เป็นปฐวีธาตุ ทั้งนั้น ปฐวีธาตุนั้น บุคคลพึงเห็นด้วยปัญญา อันถูกต้อง ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
         ครั้นเห็นอยู่ ด้วยปัญญา อันถูกต้อง ตามที่เป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ ย่อมยังจิต ให้คลายกำหนัด ในปฐวีธาตุได้

ภิกษุ.ก็อาโปธาตุุ (ธาตุน้ำ)เป็นอย่างไร
        คือ อาโปธาตุภายในก็มี อาโปธาตุภายนอกก็มี ภิกษุ. ก็อาโปธาตุภายใน เป็นอย่างไร ได้แก่ สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป ถูกต้องได้ มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบ ซึมซาบไป ถูกต้องได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน
         ก็อาโปธาตุทั้งภายในและภายนอกเหล่านี้แล ต่างก็เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น อาโปธาตุนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญา อันถูกต้อง ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน ของเรา
         ครั้นเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันถูกต้อง ตามที่เป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ ย่อมยังจิตให้คลายกำหนัด ในอาโปธาตุได้

ภิกษุ. ก็เตโชธาตุ(ธาตุไฟ) เป็นอย่างไร
        คือ เตโชธาตุภายในก็มี เตโชธาตุภายนอกก็มีก็เตโชธาตุภายใน เป็นอย่างไร ได้แก่ สิ่งที่เป็นของร้อน มีลักษณะร้อน ถูกต้องได้ มีในตน อาศัยตนคือ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกายให้กระวนกระวาย และไฟที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้ว ถึงความย่อยไปด้วยดี.
หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เป็นของมีลักษณะร้อน ถูกต้องได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน
         ก็เตโช ธาต ทั้งภายในและ ภายนอก เหล่านี้แล ต่างก็เป็น เตโชธาตุทั้งนั้น เตโชธาตุนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญา อันถูกต้องตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน ของเรา
         ครั้นเห็นอยู่ด้วยปัญญา อันถูกต้องตามที่เป็นจริง อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ ย่อมยังจิตให้คลาย กำหนัดในเตโชธาตุได้

ภิกษุ.ก็วาโยธาตุ(ธาตุลม) เป็นอย่างไร
        คือ วาโยธาตุภายในก็มี วาโยธาตุภายนอกก็มี.ก็วาโยธาตุภายใน เป็นอย่างไร ได้แก่ สิ่งที่พัดไปมา ถูกต้องได้ มีในตน อาศัยตน คือ ลมพัดขึ้น เบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไปตาม อวัยวะ น้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือแม้สิ่งอื่น ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่พัดไปมา ถูกต้องได้ มีใน ตน อาศัยตน นี้เรียกว่า วาโยธาตุภายใน
         ก็วาโยธาตุทั้งภายใน และ ภายนอกเหล่านี้แล ต่างก็เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น วาโยธาตุนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญา อันถูกต้อง ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน ของเรา
         ครั้นเห็นอยู่ ด้วย ปัญญาอันถูกต้อง ตามที่เป็นจริง อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ ย่อมยังจิต ให้คลาย กำหนัดในวาโยธาตุได้.


51 อัสสาทะและอาทีนวะของรูป
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๔/๕๙.

ภิกษุทั้งหลาย. ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า อะไรหนอ เป็นคุณ(อัสสาทะ) ของรูป อะไรเป็นโทษ(อาทีนพ) ของรูปอะไรเป็นอุบายเครื่องสลัดออก (นิสสรณะ) ของรูป.

ภิกษุทั้งหลาย.เรานั้นได้ปริวิตกต่อไปว่า สุขโสมนัสอันใด อาศัยรูปแล้วเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของรูปรูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดา นี้เป็นโทษของรูปการ กำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในรูปเสียได้ นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป


52 อริยมรรคมีองค์ ๘ คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งรูป
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๒/๑๑๓.

ภิกษุทั้งหลาย.รูป เป็นอย่างไรคือ มหาภูต ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูต.๔ เหล่านั้นด้วย นี้เรียกว่า รูปความเกิดขึ้นแห่งรูป ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้น แห่งอาหาร ความดับแห่งรูป ย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งรูป คือสัมมาทิฏฐิ สัมมา-สังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันต สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย. ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งแล้วซึ่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่งความดับแห่ง รูปอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งรูป สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใดปฏิบัติ ดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งแล้วซึ่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่งความดับ แห่งรูป อย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ แล้วเป็นผู้หลุดพ้น เพราะเบื่อ หน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นในรูป

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นเป็นเกพลี สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เป็นเกพลี ความเวียนวนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น.


53 ความหมายของคำว่า “เวทนา”
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๕/๑๕๙.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะอะไรจึงเรียกว่า เวทนา.ภิกษุทั้งหลาย.เพราะสิ่งนั้นรู้สึก ดังนั้นจึงเรียกว่า เวทนารู้สึกได้ซึ่งอะไร รู้สึกได้ซึ่งสุขบ้าง รู้สึกได้ ซึ่งทุกข์บ้าง รู้สึกได้ซึ่ง อทุก ขมสุขบ้าง

ภิกษุทั้งหลาย. เพราะสิ่งนั้นรู้สึก ดังนั้นจึงเรียกว่า เวทนา


54 อุปมาแห่งเวทนา
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๗๑-๑๗๒/๒๔๓.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อฝนเมล็ดหยาบตกอยู่ในสรทสมัย (ท้ายฤดูฝน) ฟองอากาศในน้ำ ย่อมบังเกิดขึ้นและดับไป บนผิวน้ำ .. บุรุษผู้มีจักษุเห็นฟองอากาศนั้น ย่อมเพ่งพินิจ พิจารณาโดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจ พิจารณา อยู่โดยแยบคายอยู่ ฟองอากาศนั้น พึงปรากฏเป็นของ ว่างของเปล่า เป็นของหาแก่นสารมิได้เลย ก็แก่นสาร ในฟอง อากาศนั้นจะพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย.ฉันนั้นก็เหมือนกัน เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตามทั้งที่เป็นภายใน หรือภายนอก ก็ตามหยาบ หรือละเอียดก็ตาม เลวหรือ ประณีต ก็ตามอยู่ในที่ไกล หรือในที่ใกล้ก็ตาม.

ภิกษุเห็นเวทนานั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายเมื่อภิกษุนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่ เวทนา นั้นย่อมปรากฏเป็น ของว่างของเปล่า เป็นของหาแก่น สาร มิได้เลย ก็แก่นสารในเวทนานั้น จะพึงมีได้อย่างไร.


55 หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับ เวทนา
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๑-๔๖๒/๓๓๔.

ภิกษุทั้งหลาย.ข้อที่เรากล่าวว่า เธอทั้งหลาย พึงรู้จักเวทนา พึงรู้จักเหตุเกิดแห่งเวทนา พึงรู้จักความต่างกันแห่ง เวทนา พึงรู้จักวิบากแห่งเวทนา พึงรู้จักความดับแห่งเวทนา พึงรู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ แห่งเวทนา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย.ข้อนั้นเรากล่าวหมายถึง เวทนา ๓ ประการนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ภิกษุทั้งหลาย. ก็เหตุเกิดแห่งเวทนา เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย. ผัสสะ เป็นเหตุเกิดแห่งเวทนา

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ความต่างกันแห่งเวทนาเป็นอย่างไร คือ สุขเวทนาที่เจือด้วยอามิส(กามคุณ ๕) มีอยู่ สุขเวทนาที่ไม่ เจือด้วยอามิส (ไม่มีกามคุณ ๕) มีอยู่ ทุกขเวทนา ที่เจือด้วยอามิส มีอยู่ทุกขเวทนาที่ไม่เจือ ด้วยอามิส มีอยู่ อทุกขม สุข เวทนาที่เจือด้วยอามิส มีอยู่ อทุกขมสุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส มีอยู่ นี้เรียกว่า ความต่างแห่งเวทนา.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็วิบากแห่งเวทนาเป็นอย่างไร คือ การที่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่ ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้น จากเวทนา นั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนแห่ง บุญก็ดี หรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่า วิบากแห่งเวทนา.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร คือ ความดับแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ ภิกษุทั้งหลาย. อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นข้อ ปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนา รู้ชัดเหตุเกิดแห่งเวทนา รู้ชัดความต่างกันแห่งเวทนา รู้ชัดวิบาก แห่งเวทนา รู้ชัดความดับ แห่งเวทนา รู้ชัดข้อปฏิบัติ ให้ถึง ความดับแห่งเวทนา ว่าเป็นอย่างนี้ๆ เมื่อนั้นอริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่ การ ชำแรกกิเลส อันเป็นที่ดับเวทนานี้ ข้อที่เรากล่าวว่า

ภิกษุทั้งหลาย.เธอทั้งหลาย พึงรู้จักเวทนา พึงรู้จักเหตุเกิดแห่งเวทนา พึงรู้จักความต่างกันแห่งเวทนา พึงรู้จักวิบาก แห่งเวทนา พึงรู้จักความดับ แห่งเวทนา พึงรู้จักข้อปฏิบัติ ให้ถึง ความดับแห่งเวทนา ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว


56 เวทนา เป็นทางมาแห่งอนุสัย
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๖-๕๑๘/๘๒๒.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะอาศัยตาและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมของธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย

เพราะอาศัยหูและเสียง จึงเกิดโสต วิญญาณ การประจวบ พร้อม ของธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย …

เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น จึงเกิดฆานวิญญาณ การประจวบพร้อมของธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย …

เพราะอาศัยลิ้นและรส จึงเกิดชิวหาวิญญาณ การประจวบพร้อมของ ธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย …

เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ จึงเกิดกายวิญญาณ การ ประจวบพร้อมของธรรม ๓ ประการนั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย …

เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโน วิญญาณ การประจวบพร้อมของธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขบ้าง.

เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ราคานุสัยย่อมนอนเนื่องในบุคคลนั้น เขาอัน ทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก คร่ำครวญ ทุบอก ร่ำไห้ ถึงความหลงไหล ปฏิฆานุสัย ย่อมนอนเนื่องอยู่ใน บุคคลนั้น เขาอันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนานั้น.

อวิชชานุสัย ย่อมนอนเนื่องอยู่ในบุคคลนั้น ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นยังไม่ละ ราคานุสัย เพราะสุขเวทนา ยังไม่บรรเทา ปฏิฆานุสัย เพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชา นุสัยเพราะ อทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทำวิชชาให้เกิด เพราะไม่ ละอวิชชาเสียแล้ว จักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ ในปัจจุบันได้นั้น นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้.


57 เวทนามีธรรมดาไม่เที่ยง
-บาลี ม. ม. ๑๓/๒๖๗-๒๖๘/๒๗๓.

อัคคิเวสสนะ. เวทนาสามอย่างเหล่านี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

อัคคิเวสสนะ. สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น ในสมัยใด ได้เสวยทุกขเวทนาในสมัยนั้น ไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวย อทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น.

ในสมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้เสวยแต่อทุกขมสุข เวทนาเท่านั้น.

อัคคิเวสสนะ.สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็น ธรรมดา แม้ทุกขเวทนา ก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป เป็นธรรมดา แม้ อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัย ปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา.

อัคคิเวสสนะ. อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งใน อทุกขมสุขเวทนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ คลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว กิจอื่นที่ต้องทำเพื่อความ เป็น อย่างนี้มิได้มี

อัคคิเวสสนะ. ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่น ด้วยทิฎฐิ


58 อาการเกิดดับแห่งเวทนา
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๖-๒๖๗/๓๘๙-๓๙๐.

ภิกษุทั้งหลาย.เวทนา ๓ นี้ เกิดแต่ผัสสะ มีผัสสะเป็นมูลมีผัสสะเป็นเหต .มีผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา ๓ เป็นอย่างไรคือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

ภิกษุทั้งหลาย.สุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา เพราะความดับแห่งผัสสะ อันเป็นที่ ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาอันเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น ย่อมดับ ย่อมระงับไป

ภิกษุทั้งหลาย.ทุกขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา เพราะความดับแห่งผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะ อาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้น ย่อมดับ ย่อม ระงับไป

ภิกษุทั้งหลาย.อทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา เพราะความดับแห่ง ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง อทุกขมสุขเวทนาอทุกขมสุข เวทนา อันเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง อทุกขมสุข เวทนานั้น ย่อมดับ ย่อมระงับไป ภิกษุทั้งหลาย. เปรียบเหมือน ไม้สองอัน เสียดสีกัน เพราะการเสียดสีกัน จึงเกิดไออุ่น จึงเกิดไฟ เมื่อแยกไม้สองอันนั้นแหละออกจากกัน ไออุ่นที่เกิดเพราะการ เสียดสีนั้น ย่อมดับย่อมระงับไป ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย.เวทนา ๓ อย่างนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดจากผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาอาศัยผัสสะแล้ว ย่อมเกิดขึ้น ย่อมดับไปเพราะ ผัสสะดับ ดังนี้แล.

59 เวทนา ๑๐๘ (นัยที่ ๑)
-บาลี ม. ม. ๑๓/๙๔-๙๖/๙๘-๙๙.

นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีว่าท่านพระอุทายี พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้เท่าไร.

ท่านพระอุทายีตอบว่า คหบดีพระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา คหบดี พระผู้มีพระภาคตรัส เวทนาไว้ ๓ ประการดังนี้

ข้าแต่ท่านพระอุทายี. พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา เพราะอทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระ ภาคตรัสไว้ในสุขอันสงบ อันประณีตแล้ว

ท่านพระอุทายีได้กล่าวคำเดิมเป็นครั้งที่ ๒ และนายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ก็ได้กล่าวยืนยันคำของตัวเอง เป็นครั้งที่ ๒

ท่านพระอุทายีได้กล่าวคำเดิมเป็นครั้งที่ ๓ และนายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ได้กล่าวยืนยันคำของตัวเอง เป็นครั้งที่ ๓

ท่านพระอุทายีไม่สามารถจะให้นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะยินยอมได้ นายช่างไม้ชื่อปัญจะกังคะก็ไม่สามารถ จะให้ท่าน พระอุทายียินยอมได้.

ท่านพระอานนท์ได้สดับถ้อยคำเจรจาของ ท่านพระอุทายี กับนายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ จึงได้กราบทูลถ้อยคำเจรจา ของ ท่านพระอุทายี กับ นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาค เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูล อย่างนี้ แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

อานนท์. นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะไม่ยอมตามบรรยายอันมีอยู่ของพระอุทายี และ อุทายีก็ไม่ยอมตามบรรยายอันมีอยู่ของนายช่างไม้ชื่อ ปัญจกังคะ

อานนท์.แม้เวทนา ๒ เราได้กล่าวโดยปริยาย ถึงเวทนา ๓.เวทนา ๔.(1).เวทนา ๕.เวทนา ๖.เวทนา ๑๘ เวทนา ๓๖. เวทนา ๑๐๘. เราก็กล่าว แล้วโดยปริยาย

อานนท์.ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้แล ผู้ใดไม่รู้ตามด้วยดี ไม่สำ.คัญตามด้วยดี ไม่ยินดีตามด้วยดี ซึ่งคำ ที่กล่าวดี พูดดี ของกัน และกัน ในธรรมที่เราแสดงโดย ปริยายอย่างนี้แล้ว ผู้นั้นจะได้ผลอันนี้ คือ จักบาดหมาง ทะเลาะวิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่.

อานนท์.ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้ ผู้ใดรู้ตามด้วยดี สำคัญตามด้วยดี ยินดีตามด้วยดี ซึ่งคำที่กล่าวดี พูดดี ของกันและกัน ในธรรมที่แสดงโดยปริยายอย่างนี้แล้ว ผู้นั้นจะได้ผลอันนี้ คือ จักพร้อม เพรียง บันเทิง ไม่วิวาท กัน เป็นเหมือนน้ำนมระคนกับน้ำ แลดูกันด้วย สายตาเป็นที่รักอยู่.

(1)..บาลีฉบับมอญและอักษรโรมัน ไม่มีเวทนา ๔  -ผู้รวบรวม


60 เวทนา ๑๐๘ (นัยที่ ๒)
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๒๘๖-๒๘๘/๔๓๐-๔๓๗.

ภิกษุทั้งหลาย.เราจักแสดงธรรมปริยายอันมีปริยาย ๑๐๘ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมปริยายนั้น ก็ธรรม ปริยายอันมีปริยาย ๑๐๘ เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย.โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๒ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๑๘ ก็มี โดย ปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓๖ ก็มี.โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๑๐๘ ก็มี.

ภิกษุทั้งหลายก็เวทนา๒ เป็นอย่างไร เวทนา ๒ คือ
เวทนาทางกาย เวทนาทางใจ เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๒

ภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนา ๓ เป็นอย่างไร เวทนา ๓ คือ
สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เหล่านี้เราเรียกว่าเวทนา ๓

ภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนา ๕ เป็นอย่างไร เวทนา ๕ คือ
อินทรีย์คือสุข อินทรีย์คือทุกข์ อินทรีย์คือโสมนัส อินทรีย์คือโทมนัส อินทรีย์คืออุเบกขา
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๕.

ภิกษุทั้งหลาย. ก็เวทนา ๖ เป็นอย่างไร เวทนา๖ คือ
เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางตา เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางหู เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางจมูก เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางลิ้น เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางกาย เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางใจ เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๖

ก็เวทนา ๑๘ เป็นอย่างไร เวทนา ๑๘ คือ
เวทนาที่เกิดร่วมกับโสมนัส๖ เวทนาที่เกิดร่วมกับโทมนัส ๖ เวทนาที่เกิดร่วมกับอุเบกขา ๖ เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๑๘.

ก็เวทนา ๓๖ เป็นอย่างไรเวทนา ๓๖ คือ
เคหสิตโสมนัส ๖ (โสมนัสอาศัยเรือน)
เนกขัมมโสมนัส๖ (โสมนัสอาศัยการหลีกออกจากกาม)
เคหสิตโทมนัส ๖ (โทมนัสอาศัยเรือน)
เนกขัมมสิตโทมนัส ๖ (โทมนัสอาศัยการหลีกออกจากกาม)
เคหสิตอุเบกขา๖ (อุเบกขาอาศัยเรือน)
เนกขัมมสิตอุเบกขา๖ (อุเบกขาอาศัยการหลีกออกจากกาม)
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา๓๖

เวทนา ๑๐๘ เป็นอย่างไรเวทนา ๑๐๘ คือ
เวทนาที่เป็นอดีต ๓๖ เวทนาที่เป็นอนาคต ๓๖ เวทนาที่เป็นปัจจุบัน๓๖ เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๑๐๘

ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แล ธรรมปริยายอันมีปริยาย ๑๐๘.


61 อินทรีย์ ๕ - เวทนา ๓
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๗๕/๙๔๐.

ภิกษุทั้งหลาย.อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นอย่างไรคือ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์

ภิกษุทั้งหลาย.ก็สุขินทรีย์เป็นอย่างไร ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย เวทนาอันเป็นสุขสำราญ ที่เกิดจากกายสัมผัส นี้เรียกว่าสุขินทรีย์

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ทุกขินทรีย์เป็นอย่างไร ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย เวทนาอันเป็นทุกข์ไม่สำราญ ที่เกิดจากกายสัมผัส นี้เรียกว่าทุกขินทรีย์

ภิกษุทั้งหลาย.ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นอย่างไรความสุขทางใจ ความสำ.าญทางใจ เวทนาอันเป็นสุขสำราญ ที่เกิดจากมโนสัมผัส นี้เรียกว่าโสมนัส สินทรีย์

ภิกษุทั้งหลาย.ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นอย่างไร ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ เวทนาอันเป็นทุกข์ไม่สำราญ ที่เกิดจากมโนสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์

ภิกษุทั้งหลาย.ก็อุเปกขินทรีย์เป็นอย่างไร เวทนาทางกายหรือทางใจ อันสำราญก็ไม่ใช่ ไม่สำราญก็ไม่ใช่ นี้เรียกว่าอุเปกขินทรีย์

ภิกษุทั้งหลาย.ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่า เป็นสุขเวทนา

ภิกษุทั้งหลาย.ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่า เป็น ทุกขเวทนา

ภิกษุทั้งหลาย.ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น อุเปกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็น อทุกขมสุขเวทนา

ภิกษุทั้งหลาย.อินทรีย์มี ๕ ประการนี้.เป็น ๕ แล้วย่นเข้าเป็น ๓.เป็น ๓ แล้ว ขยายออกเป็น ๕ก็ได้

โดยปริยาย ด้วยอาการอย่างนี้.


62 เวทนาใดๆ ต่างประมวลลงใน “ทุกข์”
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๘/๓๙๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ความปริวิตกแห่งใจเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ ผู้หลีกเร้นอยู่ในที่ลับอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนา ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาค ตรัสเวทนา ๓ อย่างนี้ ก็พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ว่า เวทนาใดๆ ก็ตาม เวทนานั้นๆ ประมวลลงในความทุกข์ ดังนี้ ข้อที่พระองค์ ตรัสว่า เวทนาใดๆ ก็ตามเวทนานั้นๆ ประมวลลงใน ความทุกข์ ดังนี้ ทรงหมาย ถึงอะไรหนอ.

สาธุ สาธุ ภิกษุ.เรากล่าวเวทนาไว้ ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เรากล่าวเวทนาไว้ ๓ อย่างนี้ ภิกษุ.เรากล่าวคำนี้ว่า เวทนาใดๆก็ตาม เวทนานั้นๆ ประมวล ลงในความทุกข์ ดังนี้.

ภิกษุ.ก็คำนี้ว่า เวทนาใดๆ ก็ตาม เวทนานั้นๆ ประมวลลงในความทุกข์ ดังนี้ เรากล่าวหมายเอาความที่สังขารทั้งหลายนั่นเอง ไม่เที่ยง

ภิกษุ ก็คำนี้ว่า เวทนาใดๆก็ตามเวทนานั้นๆ ประมวลลงในความทุกข์ ดังนี้ เรากล่าว หมายเอาความที่สังขารทั้งหลาย นั่นแหละ มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางคลายไป ดับไป และมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา.


63 ความเป็นทุกข์สามลักษณะ
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๕/๓๑๙.

ภิกษุทั้งหลาย.ความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นอย่างไร คือ
(๑) ความเป็นทุกข์ เพราะทนได้ยาก (ทุกฺขทุกฺขตา)
(๒) ความเป็นทุกข์ เพราะเป็นของปรุงแต่ง (สงฺขารทุกฺขตา)
(๓) ความเป็นทุกข์ เพราะมีความแปรปรวน เปลี่ยนไปเป็นประการอื่น (วิปริณามทุกฺขตา)

ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แลความเป็นทุกข์ ๓ อย่าง


64 อัสสาทะ และ อาทีนวะของเวทนา
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๔/๕๙.

ภิกษุทั้งหลาย.สุขโสมนัสใด อาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งเวทนา (อัสสาทะ)

เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งเวทนา (อาทีนวะ)

การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในเวทนาเสียได้ นี้เป็นอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งเวทนา (นิสสรณะ)


65 อริยมรรคมีองค์ ๘ คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนา
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๓-๗๔/๑๑๔.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็เวทนาเป็นอย่างไร เวทนา ๖ หมวดนี้ คือ เวทนาเกิดจากจักขุสัมผัส เวทนาเกิดจาก โสตสัมผัส เวทนา เกิดจาก ฆานสัมผัส เวทนาเกิดจากชิวหาสัมผัส เวทนาเกิดจากกายสัมผัส เวทนาเกิดจากมโนสัมผัส

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความดับ แห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งเวทนา คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ..

ภิกษุทั้งหลาย. ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งแล้วซึ่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้ว ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่งความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้ว ซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงความ ดับแห่งเวทนาอย่างนี้ แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ แห่งเวทนา

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งแล้วซึ่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ รู้ยิ่งแล้ว ซึ่งความ ดับแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้ว ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ แห่ง เวทนาอย่างนี้ แล้วเป็นผู้ หลุดพ้น เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะ ความดับ เพราะไม่ถือมั่นในเวทนา

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นเป็น เกพลี

สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดเป็น เกพลี ความเวียนวนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เหล่านั้น.


66 ความหมายของคำว่า “สัญญา”
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๔,๑๐๕-๑๐๖/๑๑๕,๑๕๙.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็สัญญาเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๖ หมวดนี้ คือ สัญญาในรูป สัญญาในเสียง สัญญาในกลิ่น สัญญาในรส สัญญาใน โผฏฐัพพะ สัญญาในธรรม ภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า สัญญา

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะอะไรจึงเรียกว่า สัญญา เพราะจำได้หมายรู้ จึงเรียกว่าสัญญา จำได้หมายรู้อะไร จำได้หมายรู้สี เขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง. ภิกษุทั้งหลาย เพราะจำได้หมายรู้ จึงเรียกว่าสัญญา.


67 อุปมาแห่งสัญญา
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๗๒/๒๔๔.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนยังอยู่ พยับแดด ย่อมไหวระยิบระยับในเวลากลางวัน บุรุษผู้มีจักษุ เห็น พยับแดดนั้น ย่อมเพ่งพินิจ พิจารณาดยแยบคาย เมื่อบุรุษ นั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณา โดยแยบคายอยู่ พยับแดดนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างของเปล่า เป็นของหาแก่นสาร มิได้เลย ก็แก่นสารในพยับแดดนั้นจะพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นก็เหมือนกัน สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตามเป็นภายใน หรือ ภายนอก ก็ตามหยาบ หรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีต ก็ตามอยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ภิกษุเห็นสัญญานั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย.

เมื่อภิกษุนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่ สัญญานั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า เป็นของหาแก่น สารมิได้เลย ก็แก่นสารใน สัญญานั้นจะพึงมีได้อย่างไร.


68 หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับสัญญา
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๒-๔๖๓/๓๓๔.

ภิกษุทั้งหลาย.ข้อที่เรากล่าวว่า เธอทั้งหลาย พึงรู้จักสัญญา พึงรู้จักเหตุเกิดแห่งสัญญา พึงรู้จักความต่างกันแห่ง สัญญา พึงรู้จักวิบากแห่ง สัญญา พึงรู้จักความดับแห่งสัญญา พึงรู้จัก ข้อปฏิบัติ ให้ถึง ความดับ แห่งสัญญา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวภิกษุทั้งหลาย.สัญญา ๖ ประการนี้ คือ สัญญาในรูป สัญญาในเสียง สัญญาในกลิ่น สัญญาในรส สัญญาในโผฏฐัพพะ และสัญญาในธรรม.

ภิกษุทั้งหลาย.เหตุเกิดแห่งสัญญา เป็นอย่างไร.ภิกษุทั้งหลาย.ผัสสะ เป็นเหตุเกิดแห่งสัญญา. ภิกษุทั้งหลาย. ก็ความ ต่างกันแห่งสัญญาเป็น อย่างไร คือ สัญญาในรูป เป็น อย่างหนึ่ง สัญญาใน เสียงเป็น อย่างหนึ่ง สัญญาในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในรสเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ความต่างกันแห่งสัญญา.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็วิบากแห่งสัญญา เป็นอย่างไร คือ เราย่อมกล่าวสัญญาว่ามีคำพูดเป็นผล.(เพราะว่า) บุคคลย่อม หมายรู้โดยประการใดๆ ก็ย่อมพูดโดยประการนั้นๆ ว่า เราเป็น ผู้มีสัญญาอย่างนั้น นี้เรียกว่า วิบาก แห่งสัญญา.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ความดับแห่งสัญญา เป็นอย่างไร คือ ความดับแห่งสัญญาย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ ภิกษุทั้งหลาย. อริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นข้อ ปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสัญญา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งสัญญา รู้ชัดเหตุเกิดแห่งสัญญา รู้ชัดความต่างกันแห่งสัญญา รู้ชัดวิบาก แห่งสัญญา รู้ชัดความดับ แห่งสัญญา รู้ชัดข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งสัญญา ว่าเป็น อย่างนี้ๆ เมื่อนั้นอริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไป ในส่วนแห่งการ ชำแรกกิเลส อันเป็นที่ดับแห่งสัญญาข้อที่เรากล่าวว่า

ภิกษุทั้งหลาย. เธอทั้งหลายพึงรู้จักสัญญา พึงรู้จักเหตุเกิดแห่งสัญญา พึงรู้จักความ ต่างกันแห่งสัญญา พึงรู้จักวิบาก แห่งสัญญา พึงรู้จักความดับแห่งสัญญา พึงรู้จักข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งสัญญา ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้ กล่าวแล้ว.


69 อัสสาทะและอาทีนวะของสัญญา
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๔/๕๙.

ภิกษุทั้งหลาย.
สุขโสมนัสอันใด อาศัยสัญญาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของสัญญา(อัสสาทะ)

สัญญาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของสัญญา(อาทีนวะ)

การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในสัญญาเสียได้ นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งสัญญา(นิสสรณะ).


70 อริยมรรคมีองค์ ๘ คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสัญญา
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๔/๑๑๕.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็สัญญาเป็นอย่างไร.ภิกษุทั้งหลาย.สัญญา ๖ หมวดนี้ คือ สัญญาในรูป สัญญาในเสียง สัญญาในกลิ่น สัญญาในรส สัญญาในโผฏฐัพพะ และสัญญาในธรรม.

ภิกษุทั้งหลาย.นี้เรียกว่าสัญญา ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะความดับแห่ง ผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วย องค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งสัญญา คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมา กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ มมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งแล้วซึ่งสัญญาอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่ง สัญญาอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่งความ ดับแห่งสัญญาอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้ว ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ แห่งสัญญาอย่างนี้แล้ว ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความ ดับแห่งสัญญา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดี แล้ว ชนเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมหยั่งลง ในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งแล้วซึ่งสัญญาอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่งความ ดับแห่งสัญญาอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้ว ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับ แห่งสัญญาอย่างนี้ แล้วเป็นผู้ หลุดพ้น เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะ ความดับ เพราะไม่ถือมั่นในสัญญา สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่า หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นเป็นเกพลี สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นเกพลี ความเวียนวน เพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.


71 ความหมายของคำว่า “สังขาร”
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๔,๑๐๖/๑๑๖,๑๕๙.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็สังขาร เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย.
เจตนา ๖ หมวดนี้ คือ สัญเจตนา ในรูป สัญเจตนาในเสียง สัญเจตนาในกลิ่น สัญเจตนา ในรสสัญเจตนาในโผฏฐัพพะ สัญเจตนาในธรรม

ภิกษุทั้งหลาย.นี้เรียกว่า สังขาร.


ภิกษุทั้งหลาย.เพราะอะไรจึงเรียกว่า สังขาร เพราะปรุงแต่ง สังขตธรรม จึงเรียกว่า สังขาร ปรุงแต่งสังขตธรรม อะไร ปรุงแต่งสังขตธรรม คือรูปโดยความเป็นรูปปรุง แต่งสังขตธรรม คือเวทนาโดยความ เป็นเวทนาปรุงแต่ง สังขตธรรม คือสัญญาโดย ความเป็นสัญญาปรุงแต่งสังขตธรรม คือสังขารโดยความเป็นสังขาร ปรุงแต่งสังขต ธรรมคือ วิญญาณ โดยความเป็นวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะปรุงแต่งสังขตธรรม จึงเรียกว่าสังขาร


72 อุปมาแห่งสังขาร
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๗๒-๑๗๓/๒๔๕.

ภิกษุทั้งหลาย.บุรุษผู้มีความต้องการด้วยแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้อยู่ เขาถือเอาจอบ อันคม เข้าไปสู่ป่า บุรุษนั้นเห็นต้น กล้วยใหญ่ ลำต้นตรง ยังอ่อน ยังไม่เกิดแกนไส้ ในป่านั้น เขาพึงตัดโคน ต้นกล้วยนั้นแล้ว จึงตัดปลาย แล้วจึงปอกกาบใบออก บุรุษนั้นปอก กาบใบออก ก็ไม่พบแม้กระพี้ ในต้นกล้วย ใหญ่นั้น จะพบแก่นได้ อย่างไร

บุรุษผู้มีจักษุเห็นต้นกล้วยนั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณา โดยแยบคาย เมื่อบุรุษ นั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดย แยบคายอยู่ ต้นกล้วยใหญ่นั้น พึงปรากฏเป็นของว่าง ของเปล่า เป็นของหา แก่นสารมิได้เลย ก็แก่น สารในต้นกล้วย ใหญ่นั้น จะพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด..

ภิกษุทั้งหลาย.ฉันนั้นก็เหมือนกัน สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตามเป็น ภายใน หรือ ภายนอกก็ตามหยาบ หรือ ละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีต ก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือ ในที่ใกล้ก็ ตาม.

ภิกษุเห็นสังขารนั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย.เมื่อภิกษุนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่ สังขาร นั้นย่อมปรากฏ เป็นของ ว่างของเปล่า เป็นของหาแก่น สารมิได้เลย ก็แก่นสารใน สังขาร นั้นจะพึงมีได้อย่างไร.



73 อัสสาทะและอาทีนวะของสังขาร
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๕/๕๙.

ภิกษุทั้งหลาย.
สุขโสมนัสใดๆ ที่อาศัยสังขารเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของสังขาร (อัสสาทะ)

สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดา นี้เป็นโทษของ สังขาร (อาทีนวะ)

การกำจัด ฉันทราคะ การละ ฉันทราคะใน สังขารเสียได้ นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออก แห่งสังขาร (นิสสรณะ).



74 อริยมรรคมีองค์ ๘ คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๔-๗๕/๑๑๖.

ภิกษุทั้งหลาย. ก็สังขารเป็นอย่างไร.ภิกษุทั้งหลาย. เจตนา ๖ หมวดนี้ คือ สัญเจตนาในรูป สัญเจตนาในเสียง สัญเจตนาในกลิ่น สัญเจตนา ในรส สัญเจตนาในโผฏฐัพพะ สัญเจตนาในธรรม ภิกษุทั้งหลาย. นี้เรียกว่า สังขาร ความ เกิดขึ้นแห่งสังขารย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความ ดับแห่งผัสสะ อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งสังขาร คือ สัมมา ทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย. ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งแล้วซึ่งสังขารอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่งความเกิดขึ้น แห่ง สังขารอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่งความ ดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ยิ่ง แล้วซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ แห่งสังขาร อย่างนี้ แล้ว ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความ ดับแห่งสังขาร สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมหยั่งลง ในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งแล้วซึ่งสังขารอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่งความเกิดขึ้น แห่งสังขาร อย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่งความ ดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ยิ่ง แล้วซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ แห่งสังขาร ย่างนี้ แล้วเป็นผู้ หลุดพ้น เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะ ความดับ เพราะไม่ถือมั่นในสังขาร สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นเป็นเกพลี สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่าใดเป็นเกพลี ความเวียนวนเพื่อ ความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.


75 ความหมายของคำว่า “วิญญาณ”
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๖/๑๕๙.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะอะไรจึงเรียกว่า วิญญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย.เพราะรู้แจ้ง จึงเรียกว่า วิญญาณ รู้แจ้งซึ่งอะไร รู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รู้แจ้งรสขมบ้าง รู้แจ้งรสเผ็ด บ้าง รู้แจ้ง รสหวานบ้าง รู้แจ้งรสขื่น บ้าง รู้แจ้งรสไม่ขื่นบ้าง รู้แจ้ง รสเค็มบ้าง รู้แจ้งรสไม่เค็มบ้าง.

ภิกษุทั้งหลาย. เพราะรู้แจ้ง จึงเรียกว่าวิญญาณ.


76 อุปมาแห่งวิญญาณ
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๗๓/๒๔๖.

ภิกษุทั้งหลาย. นักเล่นกลหรือลูกมือนักเล่นกล พึงแสดงกลที่หนทางใหญ่ สี่แพร่ง บุรุษผู้จักษุเห็นกลนั้น ย่อม เพ่งพินิจ พิจารณาโดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้น เห็นอยู่ เพ่งพินิจ พิจารณา โดยแยบคายอยู่ กลนั้น พึงปรากฏเป็น ของว่าง ของเปล่า เป็นของหา แก่นสารมิได้เลย ก็แก่นสารในกลนั้น จะพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย. ฉันนั้นก็เหมือนกัน วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตามเป็น ภายใน หรือภายนอก ก็ตามหยาบ หรือละเอียดก็ตาม เลวหรือ ประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือ ในที่ ใกล้ก็ตาม ภิกษุเห็น วิญญาณนั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อ ภิกษุนั้น เห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบ คาย อยู่ วิญญาณ นั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า เป็นของหาแก่นสารมิได้เลย ก็แก่นสารใน วิญญาณ นั้นจะพึงมีได้อย่างไร.


77 ปัจจัยแห่งการเกิดขึ้นของวิญญาณ
-บาลี มหา. ที. ๑๐/๗๒-๗๕/๖๐.

อานนท์. ก็คำนี้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เรากล่าวอธิบาย ดังต่อไปนี้.

อานนท์. เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

อานนท์. ก็วิญญาณจักไม่หยั่งลงในท้องแห่งมารดา นามรูป จะก่อขึ้น ในท้องแห่งมารดาได้บ้างไหม
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า


อานนท์. ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดาแล้วจักสลายลงเสีย นามรูปจัก บังเกิดเพื่อความเป็นอย่างนี้ได้ บ้างไหม
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า


อานนท์. ก็ถ้าวิญญาณของกุมารก็ดี ของกุมารีก็ดี ผู้ยังเยาว์วัยอยู่ จักขาดความสืบต่อ นามรูปจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้บ้างไหม
ไม่ได้เลยพระเจ้าข้า



อานนท์. เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน(นิ-ทา-นะ) นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย แห่งนามรูป ก็คือวิญญาณ นั่นเอง

อานนท์. ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เรากล่าวอธิบาย ดังต่อไปนี้

อานนท์. เธอพึงทราบ ความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ.

อานนท์. ก็ถ้าวิญญาณจักไม่ได้อาศัยในนามรูปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งชาติ ชรามรณะ และกองทุกข์ พึงปรากฏ ต่อไปได้บ้างไหม
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า


อานนท์. เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละ คือสมุทัย นั่นแหละคือ ปัจจัยแห่งวิญญาณ ก็คือนามรูปนั่นเอง.

อานนท์. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลกจึงเกิดบ้าง จึงแก่บ้าง จึงตายบ้าง จึงจุติบ้าง จึงอุบัติบ้าง
ทางแห่งการเรียก ก็มีเพียงเท่านี้
ทางแห่งการพูดจา ก็มีเพียงเท่านี้
ทางแห่งการบัญญัติ ก็มีเพียงเท่านี้
เรื่องที่ต้องกำหนดรู้ด้วยปัญญา ก็มีเพียงเท่านี้
ความเวียนว่ายในวัฏฏะ ก็มีเพียงเท่านี้
นามรูป พร้อมทั้งวิญญาณตั้งอยู่
เพื่อการบัญญัติซึ่งความเป็นอย่างนี้.

78 ที่ตั้งอาศัยของวิญญาณ
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๗-๖๘/๑๐๖-๑๐๗.

ภิกษุทั้งหลาย.พืช ๕ อย่างเหล่านี้.๕ อย่าง เป็นอย่างไร คือ
(๑) พืชเกิดจากเหง้าหรือราก (มูลพีช)
(๒) พืชเกิดจากต้น (ขนฺธพีช)
(๓) พืชเกิดจากตาหรือผล (ผลพีช)
(๔) พืชเกิดจากยอด (อคฺคพีช)
(๕) พืชเกิดจากเมล็ด (พีชพีช)

ภิกษุทั้งหลาย. ถ้าพืช ๕ อย่างเหล่านี้ ยังไม่ถูกทำลาย ยังไม่เน่า ยังไม่แห้ง เพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอก บริบูรณ์อยู่ อันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี แต่ดิน น้ำ ไม่มี ภิกษุทั้งหลาย. พืช ๕ อย่างเหล่านั้น จะพึงเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้หรือ ข้อนั้นไม่ได้ พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย. พืช ๕ อย่างเหล่านี้ ยังไม่ได้ถูกทำลาย ยังไม่เน่า ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอก บริบูรณ์อยู่ อันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี และมีดิน มีน้ำ..ภิกษุทั้งหลายพืช ๕ อย่างเหล่านั้น จะพึงเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ได้หรือได้ พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย. เธอทั้งหลาย พึงเห็นวิญญาณฐิติทั้ง๔ ว่าเหมือนกับดิน (ปฐวีธาตุ) พึงเห็นความกำหนัด ด้วย อำนาจ ความเพลิน (นันทิราคะ) เหมือนกับน้ำ.. (อาโปธาตุ). พึงเห็นวิญญาณพร้อมด้วยอาหารเหมือนพืชทั้ง ๕ นั่น.

ภิกษุทั้งหลาย. วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูปตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิ เป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย.วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนา เป็นที่ตั้ง อาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไป ซ่องเสพ ก็ถึง ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย. วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญา เป็นที่ตั้ง อาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไป ซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้.ภิกษุทั้งหลายวิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสังขาร เป็น อารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิ เป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึง ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย. ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป การจุติ การอุบัติ หรือความเจริญ ความ งอกงาม ความไพบูลย์แห่งวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา เว้นจากสังขาร ข้อนี้ไม่ เป็นฐานะที่จะมีได้.

ภิกษุทั้งหลาย. ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็น อันภิกษุ ละได้แล้ว เพราะละความ กำหนัดได้ อารมณ์ ย่อมขาดลง ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอัน ไม่มีที่ตั้งนั้น ย่อมไม่งอกงาม หลุดพ้นไป เพราะไม่ปรุงแต่ง เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดี พร้อมจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตน เธอย่อมทราบชัดว่าชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.


79 วิญญาณ ไม่ใช่สิ่งที่ท่องเที่ยว
-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๗๕-๔๗๙/๔๔๒-๔๔๕.

สาติ.ได้ยินว่าเธอมีทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยว ไป หาใช่สิ่ง อื่นไม่ดังนี้ จริงหรือข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า วิญญาณนี้แหละ ย่อมแล่นไป ย่อม ท่องเที่ยวไป หาใช่สิ่งอื่น ไม่ดังนี้ จริง.

สาติ.วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ย่อมเสวยวิบากของกรรม ทั้งหลายทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็น วิญญาณ. โมฆบุรุษ เธอรู้ ทั่วถึงธรรม อย่างนี้ ที่เราแสดง แล้วแก่ใครเล่าโมฆบุรุษ วิญญาณเป็น ปฏิจจสมุปปันนธรรม (สิ่งที่อาศัยปัจจัยแล้วเกิดขึ้น) เราได้กล่าวแล้วโดย อเนกปริยาย ถ้าเว้นจากปัจจัย แล้ว ความที่เกิดขึ้นแห่ง วิญญาณ มิได้มีดังนี้ มิใช่หรือ โมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสีย ด้วย จะประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้วโมฆบุรุษ ก็ความ เห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูลแก่ เธอตลอด กาลนาน.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย. พวกเธอจะสำคัญความนั้นเป็นอย่างไร ภิกษุ สาติเกวัฏฏบุตรนี้ จะเป็นผู้ทำความ เจริญ ในธรรม วินัยนี้ได้บ้าง หรือไม่ ข้อนี้จะมีได้อย่างไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว ภิกษุสาติเกวัฏฏบุตร นั่งนิ่ง ก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่มีปฏิภาณ. พระผู้มี พระภาคทอดพระเนตรเห็น ดังนั้นแล้ว ได้ตรัสว่า โมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันชั่วของตนนั้น เราจักสอบถาม ภิกษุทั้งหลายในที่นี้.

ภิกษุทั้งหลาย.พวกเธอย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเหมือนสาติภิกษุ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะ ประสบสิ่ง มิใช่บุญเป็นอันมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตน ถือชั่วแล้วดังนี้ หรือข้อนี้ไม่มีเลย พระเจ้าข้า เพราะ วิญญาณอาศัยปัจจัยแล้ว เกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแก่พวกข้าพระองค์ โดยอเนกปริยาย ถ้าเว้นจาก ปัจจัยแล้ว ความเกิดแห่ง วิญญาณ มิได้มี.

ภิกษุทั้งหลาย.ดีละ พวกเธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงอย่างนี้ ถูกแล้ว ภิกษุทั้งหลายวิญญาณอาศัยปัจจัย แล้วเกิดขึ้น เราได้กล่าวแล้วโดยอเนก ปริยาย ถ้าเว้นจาก ปัจจัยแล้ว ความ เกิดขึ้นแห่งวิญญาณมิได้มี ก็แต่ภิกษุสาติเกวัฏฏบุตรนี้ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสบสิ่งมิใช่บุญ เป็นอันมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตน ถือชั่วแล้ว ความเห็นนั้นของ โมฆบุรุษนั้น จักเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อ กูลแก่เธอตลอดกาลนาน.

ภิกษุทั้งหลาย.วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ วิญญาณอาศัยจักษุ และรูปทั้ง หลาย เกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าจักษุ วิญญาณ

วิญญาณอาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าโสตวิญญาณ วิญญาณอาศัยฆานะ และกลิ่น ทั้งหลาย เกิดขึ้น ก็ถึงความ นับว่าฆานวิญญาณ

วิญญาณอาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกาย และ โผฏฐัพพะ ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ

วิญญาณอาศัยมนะและธรรมทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ามโนวิญญาณ เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ ไฟอาศัยไม้ ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟไม้ไฟอาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟป่า ไฟอาศัยหญ้า ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟหญ้าไฟอาศัยโคมัยติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟโคมัย ไฟอาศัย แกลบติดขึ้น ก็ถึงความนับ ว่าไฟแกลบไฟ อาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟหยากเยื่อ ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย. ฉันนั้นก็เหมือนกัน วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ วิญญาณ อาศัยจักษุ และรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุ-วิญญาณ วิญญาณอาศัยโสต และเสียงทั้งหลาย เกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ วิญญาณอาศัยฆานะ และกลิ่น ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆาน วิญญาณ วิญญาณอาศัย ชิวหา และรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัย กาย และโผฏฐัพพะทั้งหลาย เกิดขึ้น ก็ถึงความ นับว่า กายวิญญาณ วิญญาณอาศัยมนะ และ ธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย.เธอทั้งหลายย่อมเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นแล้วหรือไม่เห็น พระเจ้าข้าเธอทั้งหลายย่อมเห็นว่าขันธ์ ๕ นั้น เกิดขึ้นเพราะอาหาร เช่นนั้นหรือ เห็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า.

เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่าขันธ์ ๕ นั้น มีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่ง อาหารเช่นนั้นหรือเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ความสงสัย ย่อมเกิดขึ้น เพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธ์ ๕ นี้ มีอยู่หรือไม่หนอเป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ความสงสัยย่อมเกิดขึ้น เพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธ์ ๕ เกิดขึ้นเพราะอาหารนั้น หรือไม่ หนอเป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ความสงสัยย่อมเกิดขึ้น เพราะความเคลือบแคลงว่าขันธ์ ๕ นั้น มีความดับเป็น ธรรมดา เพราะความดับ แห่งอาหารนั้น หรือไม่หนอ เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า บุคคลเห็นอยู่ด้วย ปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงว่าขันธ์ ๕ นี้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้เช่นนั้นหรือเป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่าขันธ์ ๕ เกิดเพราะอาหารนั้น ย่อมละความสงสัย ที่เกิด ขึ้นเสียได้ เช่นนั้นหรือ เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธ์ ๕ นั้น มีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่ง อาหาร นั้น ย่อมละความสงสัย ที่เกิดขึ้นเสียได้ หรือ เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธ์ ๕ นี้เกิดแล้ว แม้ดังนี้หรือเป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้าเธอทั้งหลาย หมด ความ สงสัยในข้อว่า ขันธ์ ๕ เกิดเพราะอาหาร นั้น แม้ดังนี้หรือ เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้าเธอทั้งหลาย หมด ความสงสัย ในข้อ ว่า ขันธ์ ๕ นั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความ ดับแห่งอาหารนั้น แม้ดังนี้หรือ เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธ์ ๕ นี้เกิดแล้ว ดังนี้หรือ เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธ์ ๕ เกิดเพราะอาหารนั้น ดังนี้หรือเป็น อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธ์ ๕ นั้น มีความดับเป็นธรรมดา เพราะ ความดับ แห่งอาหารนั้น ดังนี้หรือเป็น อย่างนั้น พระเจ้าข้าหากว่า เธอทั้งหลาย พึงติดอยู่ เพลินอยู่ ปรารถนา อยู่ ยึดถือเป็นของ เราอยู่ ซึ่งทิฏฐินี้อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ (ด้วยตัณหา และทิฏฐิ) เธอทั้งหลาย พึงรู้ทั่วถึง ธรรม ที่เปรียบได้กับ พ่วงแพ อันเราแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอันสลัดออกมิใช่แสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ ในอัน ถือไว้บ้างหรือหนอ ข้อนี้ไม่อย่าง นั้น พระเจ้าข้า

หากว่าเธอทั้งหลาย ไม่ติดอยู่ ไม่เพลินอยู่ ไม่ปรารถนาอยู่ ไม่ยึดถือเป็นของเราอยู่ ซึ่งทิฏฐิอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง อย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงรู้ทั่วถึง ธรรมที่เปรียบได้ กับพ่วงแพอันเรา แสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอันสลัดออก ไม่ใช่แสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอันถือไว้ บ้างหรือหนอ เป็นอย่าง นั้น พระเจ้าข้า.

(จากนั้นทรงแสดงเรื่องอาหาร ๔.ปฏิจจสมุปบาท และธรรมะอื่นอีกหลายประการ ผู้อ่านสามารถศึกษาได้จาก ความเต็ม ของพระสูตรนี้).


80 วิญญาณ ไม่เที่ยง
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๘๕-๘๗/๑๒๔-๑๒๗.

ภิกษุทั้งหลาย.วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยส่วนสอง วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยส่วนสอง เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย.จักษุวิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัยจักษุและรูป.จักษุไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยน เป็น อย่างอื่น รูปไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็น อย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้ หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความ แปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น.

จักษุวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง จักษุ วิญญาณ ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ภิกษุทั้งหลาย ก็จักษุวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัย ปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย. ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมกันแห่งธรรมทั้ง ๓ ประการนี้แลเรียกว่า จักษุสัมผัส ถึงจักษุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่าง อื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้น แห่ง จักษุสัมผัส ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น

ภิกษุทั้งหลาย.ก็จักษุสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงได้อย่างไร ภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลอันผัสสะกระทบ แล้วย่อมรู้สึก อันผัสสะกระทบ แล้วย่อมคิด อันผัสสะกระทบแล้ว ย่อมจำได้ หมายรู้ แม้ธรรม เหล่านี้ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปร ปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น.

(ในกรณีแห่งโสตวิญญาณก็ดี, ฆานวิญญาณก็ดี, ชิวหาวิญญาณก็ดี, กายวิญญาณก็ดี, ก็มีนัยอย่างเดียวกัน).

ภิกษุทั้งหลาย.มโนวิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัยใจและธรรม.ใจไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยน เป็นอย่างอื่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยน เป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้ หวั่นไหว และอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น

มโนวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง มโน วิญญาณ ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยน เป็นอย่างอื่น

ภิกษุทั้งหลาย.มโนวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงได้อย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมกัน แห่งธรรม ๓ ประการนี้แลเรียกว่า มโนสัมผัส

แม้มโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้น แห่งมโน สัมผัส ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยน เป็นอย่างอื่น ภิกษุทั้งหลายก็มโนสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอัน ไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลอันผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก อันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด อันผัสสะกระทบแล้ว ย่อมจำ ได้ หมายรู้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่น ไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความ แปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น.


81 วิญญาณ เป็นสิ่งที่เกิดดับ
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๖/๒๓๕.

ภิกษุทั้งหลาย.ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเบื่อหน่ายได้บ้าง พึงคลายกำหนัด ได้บ้าง พึงปล่อยวางได้บ้าง ในกายอัน เป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เล่า ภิกษุทั้งหลาย. ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ความก่อขึ้นก็ดี ความ สิ้นไปก็ดี การถือเอาก็ดี การทอดทิ้งร่างไว้ก็ดี แห่งกายอันเป็นที่ประชุมแห่ง มหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏอยู่ เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จึงเบื่อ หน่ายได้บ้าง จึงคลายกำหนัดได้บ้าง จึงปล่อยวางได้บ้าง ในกายนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย.ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้ มิได้สดับแล้ว ไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งสิ่งนั้น ข้อนั้นเพราะ เหตุไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย. ข้อนั้นเพราะเหตุว่า สิ่งที่เรียก ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง เป็นสิ่งที่ปุถุชน ผู้มิได้สดับแล้ว ได้ถึงทับแล้ว ด้วยตัณหา ได้ยึดถือแล้วด้วยทิฏฐิ โดยความเป็นตัวตนมาตลอดกาลช้านานว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัว ตน ของเรา ดังนี้.เพราะเหตุนั้น ปุถุชน ผู้มิได้ สดับแล้ว จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลาย กำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งสิ่งที่เรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง  วิญญาณบ้าง นั้นได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย.ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเข้าไปยึดถือเอากาย อันเป็นที่ประชุม แห่งมหาภูตทั้ง ๔.นี้ โดยความเป็น ตัวตนยังดีกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิต โดยความเป็น ตัวตนไม่ดีเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า

ภิกษุทั้งหลาย.ข้อนั้นเพราะเหตุว่า กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปี บ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง เกินกว่าร้อยปีบ้าง ก็ยังมี ปรากฏอยู่

ภิกษุทั้งหลาย.ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้างนั้น ดวงอื่น เกิดขึ้น ดวงอื่นดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน (จากนั้นทรงตรัส ถึง ปฏิจจสมุปบาท เหตุเกิดขึ้นและ เหตุดับไปของเวทนา อุปมาเปรียบเหมือนไม้สอง อันสีกัน ผู้อ่านสามารถศึกษาได้จากความเต็มของพระสูตรนี้).


82 อัสสาทะและอาทีนวะของวิญญาณ
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๐/๑๒๓.

ภิกษุทั้งหลาย. สุขโสมนัสใดๆ อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณ แห่งวิญญาณ (อัสสาทะ)

วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่ง วิญญาณ (อาทีนวะ)

การกำจัด ฉันทราคะ การละฉันทราคะ(ความกำหนัดด้วยความพอใจ)ในวิญญาณ นี้เป็นอุบาย เครื่องสลัด ออกแห่ง วิญญาณ(นิสสรณะ).


83 อริยมรรคมีองค์ ๘ คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๕-๗๖/๑๑๗.

ภิกษุทั้งหลาย. ก็วิญญาณเป็นอย่างไร.ภิกษุทั้งหลาย.วิญญาณ ๖

หมวดนี้.คือ.จักขุวิญญาณ.โสตวิญญาณ.ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ. ภิกษุทั้งหลาย.นี้เรียกว่าวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่ง วิญญาณย่อมมี เพราะ ความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความดับ แห่ง วิญญาณย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเองเป็นข้อ ปฏิบัติให้ถึง ความดับแห่ง วิญญาณ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมา สมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งแล้วซึ่งวิญญาณ อย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่งความเกิดขึ้น แห่ง วิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่ง ความดับ แห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ แห่ง วิญญาณอย่างนี้ แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่ง วิญญาณ สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด ปฏิบัติ ดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมหยั่งลงในธรรม วินัยนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งแล้วซึ่งวิญญาณ อย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่งความเกิดขึ้น แห่ง วิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่ง ความดับ แห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งแล้วซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่ง วิญญาณอย่างนี้ แล้วเป็นผู้หลุดพ้น เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะ ไม่ถือมั่นใน วิญญาณ สมณะหรือ พราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นเกพลี สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นเกพลี ความเวียนวน เพื่อความ ปรากฏ ย่อมไม่มี แก่สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น.


84 ความลับของขันธ์ ๕
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๗-๓๙/๖๒-๖๓.

ภิกษุทั้งหลาย.ถ้าอัสสาทะของ รูป จักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัด ในรูป แต่เพราะอัสสาทะของรูปมีอยู่ ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในรูป ถ้าโทษของรูปจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่เพราะโทษ ของรูปมีอยู่ ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป ถ้าอุบายเครื่องสลัดออก ของรูปจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึง ออกไปได้จากรูป แต่เพราะอุบาย เครื่องสลัดออกของรูปมีอยู่ ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงออกไปได้จากรูป.

ภิกษุทั้งหลาย.ถ้าอัสสาทะของ เวทนา จักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัด ในเวทนา แต่เพราะอัสสาทะ ของเวทนามีอยู่ ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัด ในเวทนา ถ้าโทษ ของเวทนาจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่พึงเบื่อหน่าย ในเวทนา แต่เพราะโทษของเวทนามีอยู่ ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่าย ในเวทนา ถ้าอุบายเครื่องสลัดออก แห่ง เวทนาจักไม่ได้มี.สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่พึงออกไปได้จากเวทนา แต่เพราะอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งเวทนามีอยู่. ดังนั้น สัตว์ทั้งหลาย จึงออก ไปได้จากเวทนา

ภิกษุทั้งหลาย.ถ้าอัสสาทะของ สัญญา จักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัด ในสัญญาแต่เพราะอัสสาทะ ของสัญญามีอยู่ ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัด ในสัญญา ถ้าโทษของสัญญาจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่พึงเบื่อหน่าย ในสัญญา แต่เพราะโทษของสัญญามีอยู่ ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่าย ในสัญญา ถ้าอุบายเครื่องสลัดออก แห่งสัญญาจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่ พึงออกไปได้จากสัญญา แต่เพราะอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งสัญญามีอยู่ ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง ออกไปได้จากสัญญา

ภิกษุทั้งหลาย.ถ้าอัสสาทะของ สังขาร จักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัด นสังขาร แต่เพราะอัสสาทะ ของสังขารมีอยู่ ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัด ในสังขาร ถ้าโทษ ของสังขารจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายใน สังขาร แต่เพราะโทษของสังขารมีอยู่ ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่าย ในสังขาร ถ้าอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง สังขาร จักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่ พึงออกไปได้ จากสังขาร แต่เพราะอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งสังขารมีอยู่ ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงออก ไปได้จากสังขาร

ภิกษุทั้งหลาย. ถ้าอัสสาทะของ วิญญาณ จักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึง กำหนัดในวิญญาณ แต่เพราะ อัสสาทะของวิญญาณมีอยู่ ดังนั้น สัตว์ทั้งหลาย จึงกำหนัดใน วิญญาณ ถ้าโทษของวิญญาณจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึง เบื่อหน่าย ในวิญญาณ แต่เพราะโทษของวิญญาณมีอยู่ ดังนั้น สัตว์ทั้งหลาย จึงเบื่อหน่ายใน วิญญาณ ถ้าอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่พึง ออกไปได้ จากวิญญาณ แต่เพราะอุบายเครื่องสลัดออก แห่งวิญญาณมีอยู่ ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง ออกไปได้ จากวิญญาณ

ภิกษุทั้งหลาย. หากสัตว์ทั้งหลาย ยังไม่รู้ยิ่งซึ่งอัสสาทะโดยความเป็นอัสสาทะ ยังไม่รู้ยิ่งซึ่งโทษ โดยความเป็นโทษ และยังไม่รู้ยิ่งซึ่งอุบายเครื่องสลัดออก โดยความ เป็นอุบาย เครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ตามความ เป็นจริง เพียงใด สัตว์ทั้งหลาย ก็ยังไม่เป็นผู้ออกไป ยังไม่พรากไป ยังไม่หลุด พ้นไป ยังไม่มีใจอันหา ขอบเขตมิได้ อยู่ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด สัตว์ทั้งหลาย รู้ยิ่งซึ่งอัสสาทะโดยความเป็นอัสสาทะ รู้ยิ่งซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ รู้ยิ่งซึ่งอุบายเครื่องสลัดออก โดยความเป็นอุบาย เครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น สัตว์ทั้ง หลาย จึงเป็นผู้ออกไป เป็นผู้พรากไป หลุดพ้นไป มีใจอันหาขอบเขตมิได้ อยู่ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.


85 สัญโญชน์และที่ตั้งแห่งสัญโญชน์
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๒/๓๐๘.

ภิกษุทั้งหลาย.เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ และ สัญโญชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง ภิกษุทั้งหลาย. ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ เป็นอย่างไร และ สัญโญชน์ เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย. รูป เป็นธรรมเป็นที่ตั้ง แห่งสัญโญชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจในรูป ชื่อว่า สัญโญชน์

ภิกษุทั้งหลาย. เวทนา เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์
ความกำหนัด ด้วย อำนาจความพอใจในเวทนา ชื่อว่า สัญโญชน์

ภิกษุทั้งหลาย. สัญญา เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์
ความกำหนัดด้วย อำนาจความพอใจในสัญญา ชื่อว่าสัญโญชน์

ภิกษุทั้งหลาย. สังขาร เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์
ความกำหนัดด้วย อำนาจความพอใจในสังขาร ชื่อว่า สัญโญชน์

ภิกษุทั้งหลาย. วิญญาณ เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์
ความกำหนัดด้วย อำนาจความพอใจ ในวิญญาณ ชื่อว่า สัญโญชน์

ภิกษุทั้งหลาย. ขันธ์เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้ง แห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะ นี้เรียกว่า สัญโญชน์

(ในสูตรอื่นทรงแสดง สัญโญชนิยธรรม ด้วยอายตนะภายในหก -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๑๐/๑๕๙..และอายตนะภายนอกหก -บาลี สฬา. สํ.
๑๘/๑๓๕/๑๘๙.).



86 ทุกข์เกิด เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรม
โดยความเป็นอัสสาทะ (นัยที่ ๑)

-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๓-๑๐๔/๒๐๐-๒๐๑.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุเห็นอัสสาทะเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่ง สัญโญชน์1 อยู่ตัณหา ย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทานเพราะ อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะปริเวะทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันพึงลุกอยู่ได้เพราะอาศัยน้ำ.มันและไส้ บุรุษพึงเติมน้ำมัน และ เปลี่ยนไส้ใหม่อยู่ ตลอดเวลาที่ควรเติมควรเปลี่ยนทุก ระยะๆ เมื่อเป็น อย่างนี้ประทีปน้ำมัน ซึ่งมีอาหาร อย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น ก็พึงลุก โพลงตลอดกาลนาน แม้ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุเห็นอัสสาทะเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่ง 1..ธรรมอันเป็นที่ตั้งสัญโญชน์ หรือสัญโญชนิยธรรมนั้น ได้แก่ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ (-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๒/๓๐๘.).; ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ (-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๑๐/๑๕๙.).; รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ, ธรรม (-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๓๕/๑๘๙.).  –ผู้รวบรวม

สัญโญชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ก็ฉันนั้นเหมือนกันเพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน เพราะอุปาทานเป็น ปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสะ ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วนความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้.

(ในสูตรหนึึ่ง มีข้อความเหมือนสูตรข้างบนนี้ ผิดกันแต่ว่าทรงเริ่มต้นสูตร ด้วยคำ อุปมาก่อน แล้วจึงกล่าวถึง ข้อธรรมซึ่งเป็นตัวอุปไมย  -บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๔/๒๐๔.).

(ในสูตรหนึ่ง แสดงข้อธรรมอย่างเดียวกันกับสูตรข้างบนนี้ ต่างกันแต่อุปมา โดยทรงอุปมาด้วยต้นไม้ยัง อ่อนอยู่ มีผู้คอยพรวนดิน รดน้ำ. ใส่ปุ๋ย จึงเจริญเติบโต -บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๗/๒๑๒.).


87 ทุกข์ดับ เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรม โดยความเป็นอาทีนวะ (นัยที่ ๑)
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๔/๒๐๒-๒๐๓.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุเห็นอาทีนวะเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่ง สัญโญชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน เพราะมี ความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับ แห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสอุปายาสะ ทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนประทีปน้ำ มันพึงลุกอยู่ได้เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ บุรุษไม่พึงเติมน้ำมัน และไม่ เปลี่ยนไส้ใหม่ ตลอดเวลาที่ควรเติมควรเปลี่ยน ทุกระยะๆ ก็เมื่อ เป็นอย่างนี้ เพราะหมดอาหาร เพราะสิ้นเชื้อ เก่า ก็เป็นประทีป น้ำมันที่หมดเชื้อแล้วดับไป แม้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุเห็นอาทีนวะเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่ง สัญโญชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสอุปายาสะทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลง แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. (ในสูตรหนึึ่ง มีข้อความ เหมือน สูตรข้างบนนี้ ผิดกันแต่ว่าทรงเริ่มต้นสูตรด้วย คำอุปมาก่อน แล้วจึงกล่าว ถึงข้อ ธรรมซึ่งเป็นตัวอุปไมย -บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๔/๒๐๕.). (ในสูตรหนึ่ง แสดง ข้อธรรมอย่างเดียวกันกับสูตรข้างบนนี้ ต่างกันแต่อุปมา โดย ทรงอุปมา ด้วยต้นไม้ยังอ่อนอยู่ มีผู้ตัดที่โคน ขุดเอารากออก ตัดเป็นท่อนน้อย ท่อนใหญ่ ผ่าให้เป็นชิ้นๆ ตากลม ตากแดด เอาไฟเผาจนเป็นเขม่า แล้วนำไป โปรยลง ในลม หรือลอยในแม่น้ำ. -บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๗/๒๑๔.).


88 ทุกข์เกิด เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรม โดยความเป็นอัสสาทะ (นัยที่ ๒)
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๘/๒๑๖-๒๑๗.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุเห็นอัสสาทะเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่ง สัญโญชน์อยู่ นามรูปก็หยั่งลง เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะเพราะมี สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนา เพราะมี เวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหาเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมี อุปาทาน เป็น ปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็น ปัจจัย จึงมีชาติเพราะมีชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบ ถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลง และแผ่ไปข้างๆ รากทั้งหมดนั้นย่อมดูดโอชารส ไปเบื้อง บน ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่าง นั้น พึงเป็นอยู่ตลอดกาลนาน แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัย แห่งสัญโญชน์อยู่ นามรูปก็ หยั่งลง ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ.เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็น ปัจจัย จึงมี อุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้. (ในสูตรหนึึ่ง มีข้อความคล้ายสูตรข้างบนนี้ ผิดกันแต่ที่ทรงตรัสว่า วิญญารก็หยั่งลง แทนจะเป็นนามรูปก็หยั่งลง แล้วไล่เรียงข้อธรรม ไปตามแนว ของปฏิจจสมุปบาท -บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๙/๒๒๐..ผู้ศึกษา พึงเทียบเคียงได้เอง ).


89 ทุกข์ดับ เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรม โดยความเป็นอาทีนวะ (นัยที่ ๒)
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๙/๒๑๘-๒๑๙.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุเห็นอาทีนวะเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่ง สัญโญชน์อยู่ นามรูปก็ไม่หยั่งลง เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่ง สฬายตนะ เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่ง ผัสสะ เพราะมี ความดับ แห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมี ความดับแห่ง ตัณหา เพราะมี ความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับ แห่ง ภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย. เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอยู่อย่างนั้น ทีนั้นบุรุษเอาจอบ และภาชนะมา ตัดต้นไม้นั้น ที่โคนต้นแล้ว ขุดลงไป ครั้นขุดลงไปแล้ว คุ้ยเอา รากใหญ่เล็ก แม้เท่า ก้านแฝกขึ้น บุรุษนั้นพึงทอนต้นไม้นั้น เป็นท่อนเล็กท่อน ใหญ่ แล้วพึงผ่า ครั้นผ่าแล้วจักให้เป็นชิ้นๆ ครั้นจักให้เป็นชิ้นๆ แล้ว พึงผึ่งลม ตากแดด ครั้นผึ่งลม ตากแดดแล้ว พึงเอา ไฟเผา ครั้นเอาไฟเผาแล้ว พึงทำให้ เป็นเขม่า ครั้นทำให้เป็นเขม่าแล้ว พึงโปรยที่ลมแรงหรือลอยในแม่น้ำ มีกระแส อันเชี่ยว ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น ถูกตัดเอา รากขึ้นแล้ว ถูกทำให้เป็นดัง ตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี ไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่ง สัญโญชน์อยู่ นามรูปก็ไม่หยั่งลง ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับ แห่ง สฬายตนะ เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่ง ผัสสะ เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา เพราะมีความดับ แห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับ แห่งอุปาทาน เพราะมีความดับ แห่ง อุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมี ความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับ แห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลง แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. (ในสูตรหนึึ่ง มีข้อความคล้าย สูตรข้างบนนี้ ผิดกันแต่ที่ทรงตรัสว่า วิญญาณ ก็ไม่ หยั่ง ลง แทนจะเป็นนามรูปก็ไม่หยั่งลง แล้วไล่เรียงข้อธรรมไปตามแนวของปฏิจจสมุปบาท -บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๐/๒๒๒. ผู้ศึกษาพึงเทียบเคียงได้เอง).


90 อุปาทานและที่ตั้งแห่งอุปาทาน
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๒-๒๐๓/๓๐๙.

ภิกษุทั้งหลาย.เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง ภิกษุทั้งหลาย.ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานเป็นอย่างไร อุปาทานเป็นอย่างไร

ภิกษุทั้งหลาย รูป เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป ชื่อว่า อุปาทาน

ภิกษุทั้งหลาย. เวทนา เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำ.นาจความพอใจในเวทนา ชื่อว่า อุปาทาน

ภิกษุทั้งหลาย. สัญญา เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำ.นาจความพอใจในสัญญา ชื่อว่า อุปาทาน

ภิกษุทั้งหลาย. สังขาร เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสังขาร ชื่อว่า อุปาทาน

ภิกษุทั้งหลาย. วิญญาณ เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในวิญญาณ ชื่อว่า อุปาทาน.

ภิกษุทั้งหลาย. ขันธ์เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทราคะนี้เรียกว่า อุปาทาน.
(ในสูตรอื่นทรงแสดง อุปาทานิยธรรม ด้วยอายตนะภายในหก -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๑๐/๑๖๐. และอายตนะภายนอกหก -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๓๖/๑๙๐).


91 อุปาทาน กับ อุปาทานขันธ์  มิใช่อันเดียวกัน
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๑๐๑-๑๐๒/๑๒๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ. อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น อย่างเดียวกันหรือ หรือว่าอุปาทานเป็นอื่นไปจาก อุปาทานขันธ์ ๕.

ภิกษุ. อุปาทานกับ อุปาทานขันธ ๕ นั้น ไม่ใช่อย่างเดียวกัน แต่อุปาทานนั้นก็ไม่ได้มีในอื่น นอกไปจากอุปาทานขันธ์ ๕.

ภิกษุ.ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ (ฉันทราคะ)
ในอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแล เป็นตัวอุปาทาน ในอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น.


92 รากเง่าแห่งอุปาทานขันธ์
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๑๐๑/๑๒๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์มี ๕ ประการเท่านี้ หรือหนอแล

ภิกษุ.อุปาทานขันธ์ มี ๕ ประการเท่านี้ คือ
รูปูปาทานขันธ์ (ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป)
เวทนูปาทานขันธ์ (ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ เวทนา)
สัญญูปาทานขันธ์ (ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา)
สังขารูปาทานขันธ (ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สังขาร)
วิญญาณูปาทานขันธ์ (ขันธ์อันเป็นที่ตั้ง แห่งความยึดมั่น คือ วิญญาณ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีอะไรเป็นมูล
ภิกษุ.อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้มีฉันทะ(ความพอใจ)เป็นมูล


93 ขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๘-๖๐/๙๕-๙๖.

ภิกษุทั้งหลาย.เราจักแสดงขันธ์ ๕.และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง..
ภิกษุทั้งหลาย.ก็ขันธ์ ๕ เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย.รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม ยาบหรือละเอียดก็ตามเลวหรือประณีตก็ตามอยู่ใน ที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า รูปขันธ์.

ภิกษุทั้งหลาย.เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ใน ที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์.

ภิกษุทั้งหลาย.สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ใน ที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์.

ภิกษุทั้งหลาย.สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตามอยู่ใน ที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า สังขารขันธ์.

ภิกษุทั้งหลาย.วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตามอยู่ใน ที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์.

ภิกษุทั้งหลาย. เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕.

ภิกษุทั้งหลาย. ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย. รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายใน หรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม อันเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือ รูป

ภิกษุทั้งหลาย.เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่ เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือ ภายนอก ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตามเลว หรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล หรือใกล้ก็ตาม อันเป็นไปกับ ด้วยอาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ คือเวทนา

ภิกษุทั้งหลาย.สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล หรือใกล้ก็ตาม อันเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัย แก่อุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ คือสัญญา

ภิกษุทั้งหลาย.สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก ก็ตามหยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล หรือใกล้ก็ตาม อันเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือสังขาร.

ภิกษุทั้งหลาย.วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก ก็ตามหยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล หรือใกล้ก็ตาม อันเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัย แก่อุปาทาน. นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย. เหล่านี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕.


94 ทุกข์เกิด เพราะเห็นอุปาทานิยธรรมโดยความเป็นอัสสาทะ
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๒/๑๙๖-๑๙๗.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุเห็นอัสสาทะเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่ง อุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทานเพราะมี อุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะ ทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิด ขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนไฟกองใหญ่ซึ่งลุกโพลง ขึ้นได้ด้วยไม้ สิบเล่ม เกวียนบ้าง ยี่สิบเล่มเกวียนบ้าง สามสิบเล่มเกวียนบ้าง สี่สิบเล่มเกวียนบ้าง บุรุษพึงใส่หญ้าแห้ง ใส่โคมัยแห้ง และใส่ไม้แห้ง ลงในไฟกองนั้น ตลอดเวลา ที่ควร เติมอยู่เป็นระยะๆ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ไฟกองใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาล นาน แม้ฉันใด..

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุเห็นอัสสาทะเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัย แห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมี อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพเพราะมีภพเป็น ปัจจัยจึงมีชาติ เพราะมี ชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสะ ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ความเกิดขึ้น พร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ (ในสูตรหนึ่ง แสดงข้อธรรม ข้อเดียวกัน กับสูตรข้างบนนี้ ต่างกันแต่อุปมา แทนที่จะอุปมาด้วยไฟกองใหญ่มีเชื้อเพลิงมาก ดังในสูตร ข้างบนนี้ แต่ทรงอุปมาด้วยต้นไม้ใหญ่ มีรากมั่นคง -บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๕/๒๐๖.). (ในสูตรหนึ่ง มีใจความเหมือนสูตรข้างบนนี้ทุกประการ ผิดกันแต่ว่าทรงเริ่มต้น สูตรด้วยคำ.อุปมา แล้วจึงกล่าวถึงข้อธรรม ซึ่งเป็นตัว อุปไมย -บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/ ๑๐๖/๒๑๐.).


95 ทุกข์ดับ เพราะเห็นอุปาทานิยธรรมโดยความเป็นอาทีนวะ
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๒-๑๐๓/๑๙๘-๑๙๙.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุเห็นอาทีนวะเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัย แห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน เพราะมีความ ดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับ แห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะ ทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนไฟกองใหญ่ซึ่งลุกโพลง ขึ้นได้ ด้วยไม้สิบเล่ม เกวียน บ้าง ยี่สิบเล่มเกวียนบ้าง สามสิบเล่มเกวียนบ้าง สี่สิบเล่มเกวียนบ้าง บุรุษไม่ใส่ หญ้าแห้ง ไม่ใส่โคมัยแห้ง และไม่ใส่ไม้แห้งลงในไฟ กองนั้นตลอด เวลา ที่ควร เติมอยู่เป็นระยะๆ ภิกษุทั้งหลาย. ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ไฟกองใหญ่นั้น เมื่อไม่มีอาหาร เพราะสิ้นเชื้อเก่า และเพราะไม่เติมเชื้อใหม่ ก็เป็นไฟที่หมดเชื้อ แล้วดับไป แม้ฉันใด..

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุเมื่อเห็นโทษเนืองๆ ในธรรม ทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่ง อุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับก็ฉันนั้น หมือนกันเพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมี ความดับแห่ง อุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับ แห่งภพ เพราะมี ความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริ เทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสะทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลง แห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ (ในสูตรหนึ่ง แสดงข้อธรรม ข้อเดียวกัน กับสูตรข้างบนนี้ ต่างกัน แต่อุปมา แทนที่จะ อุปมาด้วยไฟกองใหญ่ หมด เชื้อดังในสูตรข้างบนนี้ แต่ทรงอุปมาด้วยต้นไม้ใหญ่ที่ถูกทำ.ลายหมดสิ้น -บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๖/๒๐๘.). (ในสูตรหนึ่ง มีใจความ เหมือนสูตรข้างบน นี้ทุกประการ ผิดกันแต่ว่าทรงเริ่มข้อความ ด้วยคำอุปมาก่อน แล้วจึงกล่าวถึง ข้อธรรมซึ่งเป็นตัวอุปไมย -บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๗/๒๑๑.).


96 เพลินในขันธ์ ๕ เท่ากับเพลินในทุกข์ไม่เพลินในขันธ์ ๕ เท่ากับพ้นไปจากทุกข์
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๙/๖๔.

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดเพลิดเพลินในรูป ผู้นั้นชื่อว่า เพลิดเพลินในทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินในทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่พ้นไปจากทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดเพลิดเพลินในเวทนา ผู้นั้นชื่อว่า เพลิดเพลินในทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินในทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่พ้นไปจากทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดเพลิดเพลินในสัญญา ผู้นั้นชื่อว่า เพลิดเพลินในทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินในทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่พ้นไปจากทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดเพลิดเพลินในสังขาร ผู้นั้นชื่อว่า เพลิดเพลินในทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินในทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่พ้นไปจากทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดเพลิดเพลินในวิญญาณ ผู้นั้นชื่อว่า เพลิดเพลินในทุกข์. ผู้ใดเพลิดเพลินในทุกข์.เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่พ้นไปจากทุกข์
..............................................................................................................

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใด ไม่ เพลิดเพลินในรูป ผู้นั้นชื่อว่า ไม่เพลิดเพลินในทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลินในทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดไม่เพลิดเพลินในเวทนา ผู้นั้นชื่อว่า ไม่เพลิดเพลินในทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลินในทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดไม่เพลิดเพลินในสัญญา ผู้นั้นชื่อว่า ไม่เพลิดเพลินในทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลินในทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดไม่เพลิดเพลินในสังขาร ผู้นั้นชื่อว่า ไม่เพลิดเพลินในทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลินในทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย.ผู้ใดไม่เพลิดเพลินในวิญญาณ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์
ผู้ใดไม่เพลิดเพลินในทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์
(ในสูตรอื่น ได้ตรัสถึงในกรณีแห่งอายตนะภายในหก -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๖/๑๙..ได้ตรัสถึงอายตนะภายนอกหก -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๖/๒๐..ซึ่งมีข้อความเหมือนกันกับในกรณีแห่งขันธ์ ๕ ข้างบนนี้ทุกประการ ผู้ศึกษาพึงเทียบเคียงได้เอง).