เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  04 of 5  
  ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา  ที่มา : http://watnapp.com/book  
  หน้า    
  141 ที่สำหรับเที่ยวไป ของนักปฏิบัติ 354  
  142 การเจริญสติปัฏฐานของคนฉลาด 355  
  143 อานิสงส์ของการเดินจงกรม 360  
  144 การอยู่ป่าเหมาะกับภิกษุบางรูป 361  
  145 ลักษณะของบุคคลสี่ประเภท 364  
  146 ไม่ต้องร้อนใจ หากยังไม่ประสบผล 366  
  147 สิ้นกิเลสก็แล้วกัน ไม่ต้องรู้ว่าสิ้นไปเท่าไร 368  
  148 หากประพฤติถูกต้อง จะหวังผลหรือไม่หวังผล ย่อมได้รับผล 369  
  149 บทอธิษฐานจิตเพื่อทำความเพียร 372  
  ตัวอย่าง วิธีการปฏิบัติ 375  
  150 สมาธิทุกระดับสามารถอาศัยเพื่อสิ้นอาสวะได้ 376  
  151 อานาปานสติ 383  
  152 เจริญอานา-เป็นเหตุให้สติปัฏฐาน ๔โพชฌงค์ ๗ วิชชา และวิมุตติบริบูรณ์ 387
  153 สัญญา ๑๐ ประการ 398  
  154 ลักษณะของสัญญา ๑๐ ประการ 399  
  155 อานิสงส์แห่งการภาวนาแบบต่างๆ 406  
  156 ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การบรรลุนิพพาน (นัยที่ ๑) 407  
  157 ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การบรรลุนิพพาน (นัยที่ ๒) 408  
  158 ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การบรรลุนิพพาน (นัยที่ ๓) 409  
  159 ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การบรรลุนิพพาน (นัยที่ ๔) 410  
  160 ธรรมโดยย่อ เพื่อการหลุดพ้น (นัยที่ ๑) 412  
  161 ธรรมโดยย่อ เพื่อการหลุดพ้น (นัยที่ ๒) 414  
  162 ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ผ่านราตรีนาน 415  
  163 ข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผล ของคนเจ็บไข้ 419  
  164 ข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผล ของบุคคลทั่วไป (นัยที่ ๑) 420  
  165 ข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผล ของบุคคลทั่วไป (นัยที่ ๒) 421  
  166 ธรรมอย่างหนึ่ง เพื่อละอวิชชา (นัยที่ ๑) 424  
  167 ธรรมอย่างหนึ่ง เพื่อละอวิชชา (นัยที่ ๒) 426  
  168 ย่อมยุบ ย่อมไม่ก่อ ย่อมขว้างทิ้ง ย่อมไม่ถือเอา 428  
  169 การดับเหตุแห่งสุขและทุกข์ภายใน 435  
  170 ความดับทุกข์มี เพราะความดับแห่งนันทิ 437  
  171 สิ้นนันทิ สิ้นราคะ จิตหลุดพ้น (นัยที่ ๑) 438  
  172 สิ้นนันทิ สิ้นราคะ จิตหลุดพ้น (นัยที่ ๒) 439  
  173 เห็นตามความเป็นจริง จึงหลุดพ้น 440  
  174 การเห็นชนิดที่ละมิจฉาทิฏฐิได้ 442  
  175 การเห็นชนิดที่ละสักกายทิฏฐิได้ 444  
  176 การเห็นชนิดละอัตตานุทิฏฐิได้ 445  
  177 การเห็นเพื่อความหลุดพ้น (นัยที่ ๑) 446  
  178 การเห็นเพื่อความหลุดพ้น (นัยที่ ๒) 451  
  179 ลักษณะของผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม 453  
  180 ธรรมที่สมควรแก่ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (นัยที่ ๑) 455  
  181 ธรรมที่สมควรแก่ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (นัยที่ ๒) 456  
  การแก้ปัญหา และข้อควรระวัง ขณะปฏิบัติ 459  
  182 ธรรมอันสมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา 460  
  183 เข้าใจนิวรณ์ ๕ 462  
  184 อาหารของนิวรณ์ ๕ 466  
  185 อาหารของอวิชชา 471  
  186 อาหารของวิชชาและวิมุตติ 475  
  187 อาหารของภวตัณหา 479  
    489  
 
 







141 ที่สำหรับเที่ยวไป ของนักปฏิบัติ
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๙๘/๗๐๐.

ภิกษุทั้งหลาย.เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในที่ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็นวิสัยแห่งบิดาตนเถิด เมื่อเธอ ทั้ง หลายเที่ยวไปในที่ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็นวิสัยแห่งบิดาตน มารจักไม่ได้ช่อง มารจักไม่ได้โอกาส ก็ที่ ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็นวิสัยแห่งบิดาตน คืออะไรคือ สติปัฏฐาน ๔..

สติปัฏฐาน ๔ เป็นอย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมป ชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความ เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่มี ความ เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความ เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.

ภิกษุทั้งหลาย.นี้คือที่ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็นวิสัยแห่งบิดาตนของภิกษุ.


142 การเจริญสติปัฏฐานของคนฉลาด
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๐๐-๒๐๓/๗๐๔-๗๐๗.

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนพ่อครัวผู้เขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลม บำรุงพระราชา หรือมหาอำมาตย์ ของ พระราชาด้วยสูปะต่างชนิด มีรสเปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัดบ้าง เผ็ดจัดบ้าง หวานจัดบ้าง มีรสเฝื่อน บ้าง ไม่เฝื่อนบ้าง เค็มบ้าง จืดบ้าง พ่อครัวนั้นไม่สังเกตรสอาหารของตนว่า

วันนี้ภัตและสูปะ ของเรา ชนิดนี้ ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะนี้มาก หรือท่านชมสูปะนี้ วันนี้ภัตและสูปะของเรามีรสเปรี้ยวจัด ท่านชอบ ใจ หรือท่านรับสูปะมีรสเปรี้ยวจัด หรือท่านหยิบเอาสูปะมีรสเปรี้ยวจัดมาก หรือท่านชม สูปะมีรสเปรี้ยวจัด วันนี้ภัตและสูปะของเรา มีรสขมจัด … มีรสเผ็ดจัด … มีรสหวานจัด … มีรสเฝื่อน … มีรสไม่เฝื่อน … มีรสเค็ม … วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสจืดท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะมีรสจืด หรือท่านหยิบเอา สูปะมีรสจืดมาก หรือท่านชมสูปะมีรสจืด ดังนี้

พ่อครัวนั้นย่อมไม่ได้เครื่องนุ่งห่ม ไม่ได้ค่าจ้าง ไม่ได้ รางวัล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพ่อครัวนั้น เป็นคนเขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลม ไม่สังเกตเครื่องหมาย อาหารของตน ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลม ย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็น กายในกายอยู่ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น ยังละอุปกิเลสไม่ได้ เธอไม่สำเหนียกนิมิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็น เวทนา ในเวทนาอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความ เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

เมื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ จิต ย่อมไม่ ตั้งมั่น ยังละอุปกิเลสไม่ได้ เธอไม่สำเหนียกนิมิตนั้น ภิกษุนั้นย่อมไม่ได้ธรรมเป็นเครื่อง อยู่ เป็นสุขใน ปัจจุบันและไม่ได้สติสัมปชัญญะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เฉียบแหลม ไม่สำเหนียกนิมิตแห่งจิตของตน.

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนพ่อครัวผู้มีปัญญาฉลาด เฉียบแหลม บำรุงพระราชาหรือมหาอำมาตย์ ของพระราชาด้วยสูปะต่างชนิด มีรสเปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัดบ้าง เผ็ดจัดบ้าง หวานจัดบ้าง มีรสเฝื่อนบ้าง ไม่เฝื่อนบ้าง มีรสเค็มบ้าง จืดบ้าง พ่อครัวนั้นย่อมสังเกตรสอาหารของตนว่า วันนี้ภัตและสูปะของเรา ชนิดนี้ ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะนี้ หรือหยิบเอาสูปะนี้มาก หรือท่านชมสูปะนี้ วันนี้ภัตและสูปะของ เรา มีรสเปรี้ยวจัด … วันนี้ภัตและสูปะของเรามีรสขมจัด … มีรสเผ็ดจัด … มีรสหวานจัด … มีรสเฝื่อน … มีรสไม่เฝื่อน … มีรสเค็ม … วันนี้ภัตและสูปะของเรามีรสจืดท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะมีรสจืด หรือท่านหยิบเอาสูปะมีรสจืดมาก หรือท่านชมสูปะมีรสจืด ดังนี้ พ่อครัวนั้นย่อมได้เครื่องนุ่งห่ม ได้ค่า จ้าง ได้รางวัล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพ่อครัวนั้นเป็นคนมีปัญญา ฉลาด เฉียบแหลม สังเกตรส อาหารของตนฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ฉลาด เฉียบแหลม ย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็น กายในกายอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น ละอุปกิเลสได้ เธอย่อมสำเหนียกนิมิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาใน เวทนาอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ … ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมป ชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ จิตย่อมตั้ง มั่น ละอุปกิเลสได้ เธอย่อมสำเหนียกในนิมิตนั้น ภิกษุนั้นย่อมได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และได้สติสัมปชัญญะ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร.เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญา ฉลาด เฉียบแหลม สำเหนียกนิมิตแห่งจิตของตน.


143 อานิสงส์ของการเดินจงกรม
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๑/๒๙.

ภิกษุทั้งหลาย.อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ ภิกษุผู้เดินจงกรม
(๑) ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล
(๒) ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการปรารภความเพียร
(๓) ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย
(๔) อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้ว ย่อมย่อยไปโดยดี.
(๕) สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้งอยู่ได้นาน

ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แล อานิสงส์ในการเดินจงกรม ๕ ประการ.



144 การอยู่ป่าเหมาะกับภิกษุบางรูป
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๒๑๖/๙๙.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาเพื่อซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด
อุบาลี. เสนาสนะคือป่าและราวป่าอันสงัด อยู่ลำบาก ทำความวิเวกได้ยาก ยากที่จะอภิรมย์ในการอยู่ ผู้เดียว ป่าทั้งหลายเห็นจะนำใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิไปเสีย.

อุบาลี.ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราเมื่อไม่ได้สมาธิ จักซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด ผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือจักจมลงหรือจักฟุ้งซ่าน.

อุบาลี.เปรียบเหมือนมีห้วงน้ำใหญ่อยู่ มีช้างใหญ่สูง ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกกึ่ง มาถึงเข้า ช้างตัวนั้นพึง คิดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราลงสู่ห้วงน้ำนี้แล้วพึงขัดถูหูเล่นบ้าง พึงขัดถูหลังเล่นบ้าง ครั้นแล้ว จึงอาบ ดื่ม ขึ้นมาแล้วกลับไปตามต้องการ ช้างนั้นลงสู่ห้วงน้ำนั้นแล้วพึงขัดถูหูเล่นบ้าง ขัดถูหลังเล่นบ้าง ครั้นแล้วจึงอาบดื่ม ขึ้นมาแล้วกลับไปตามต้องการข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะว่าช้างนั้นเป็นสัตว์มี ร่างกายใหญ่ ย่อมได้การลงในน้ำลึก ครั้นกระต่ายหรือเสือปลามาถึง (ห้วงน้ำนั้น) เข้า กระต่ายหรือ เสือปลาพึงคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นอะไรและช้างใหญ่เป็นอะไร ไฉนหนอ เราพึงลงสู่ห้วงน้ำนี้แล้วพึง ขัดถูหูเล่นบ้าง พึงขัดถูหลังเล่นบ้าง

ครั้นแล้ว จึงอาบ ดื่ม ขึ้นมาแล้วกลับไปตามต้องการ กระต่ายหรือเสือปลานั้นก็ลงสู่ห้วงน้ำนั้นโดยพลัน ไม่ทันได้พิจารณา กระต่ายหรือเสือปลานั้น จำต้อง หวังข้อนี้ คือจักจมลงหรือจักลอยขึ้น ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะว่ากระต่ายหรือเสือปลานั้น เป็นสัตว์ มีร่างกายเล็ก ย่อมไม่ได้การลงในห้วงน้ำลึก แม้ฉัน ใด

อุบาลี.ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราเมื่อไม่ได้สมาธิ จักซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด ผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลงหรือฟุ้งซ่าน ฉันนั้นเหมือนกัน.

อุบาลี. เธอจงอยู่ในหมู่สงฆ์เถิด เมื่อเธออยู่ในหมู่สงฆ์ ความสำราญจักมี(เนื้อความข้อนี้แสดงว่า การ ออกไปอยู่ป่ามิได้เหมาะสำหรับทุกคน.)


145 ลักษณะของบุคคลสี่ประเภท
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๘๕-๑๘๖/๑๓๘.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก.
๔ จำพวกเป็นอย่างไรคือ
(๑) บุคคลมีกายออกไปแล้ว มีจิตยังไม่ออก
(๒) บุคคลมีกายยังไม่ออก มีจิตออกไปแล้ว
(๓) บุคคลมีกายยังไม่ออกด้วย มีจิตยังไม่ออกด้วย
(๔) บุคคลมีกายออกไปแล้วด้วย มีจิตออกไปแล้วด้วย

ภิกษุทั้งหลาย.ก็บุคคลเป็นผู้มีกายออกไปแล้ว มีจิตยังไม่ออกไป เป็นอย่างไร บุคคลบางคน ในโลกนี้ เสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและราวป่า เขาตรึกถึงกามวิตกบ้าง ตรึกถึงพยาบาทวิตกบ้าง ตรึกถึงวิหิงสาวิตกบ้างในเสนาสนะนั้น. ภิกษุทั้งหลาย. บุคคลเป็นผู้มีกายออกไปแล้วมี จิตยังไม่ออก อย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็บุคคลเป็นผู้มีกายยังไม่ออกไป มีจิตออกไป เป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและราวป่า เขาตรึกถึงเนกขัมมวิตกบ้าง อัพยาบาทวิตกบ้าง อวิหิง สาวิตกบ้างในที่นั้น.ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลเป็นผู้มีกายยังไม่ออกไป มีจิตออกไปแล้วอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็บุคคลเป็นผู้มีกายยังไม่ออกด้วย มีจิตยังไม่ออกด้วย เป็นอย่างไรบุคคลบางคน ในโลกนี้ ไม่เสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและราวป่า เขาตรึกถึงกามวิตกบ้าง ตรึกถึงพยาบาทวิตก บ้าง ตรึกถึงวิหิงสาวิตกบ้าง. ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลเป็นผู้มีกายยังไม่ออกด้วย มีจิตยังไม่ออกด้วยอย่าง นี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็บุคคลเป็นผู้มีกายออกไปแล้วด้วย มีจิตออกไปแล้วด้วย เป็นอย่างไร บุคคล บางคนในโลกนี้ เสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและราวป่า เขาตรึกถึงเนกขัมมวิตกบ้าง อัพยาบาทวิตก บ้าง อวิหิงสาวิตกบ้าง ในเสนาสนะนั้น. ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลเป็นผู้มีกายออกไปแล้วด้วย มีจิตออก ไปแล้วด้วยอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคล ๔ จำ.พวกเหล่านี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.


146 ไม่ต้องร้อนใจ หากยังไม่ประสบผล
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๐๙-๓๑๐/๕๓๒.

ภิกษุทั้งหลาย.กิจที่ควรรีบด่วนทำ.ของคหบดีชาวนา ๓ อย่างเหล่านี้.๓ อย่าง เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย.คหบดีชาวนาในโลกนี้ต้องรีบเร่งไถนาให้ดี คราดนาให้เรียบร้อย ครั้นแล้วต้องรีบเร่ง เพาะพืชลงไป ครั้นแล้วรีบเร่งไขเอาน้ำเข้าบ้าง ระบายเอาน้ำ ออกเสียบ้าง

ภิกษุทั้งหลาย. กิจที่ควรรีบด่วนทำของคหบดีชาวนา ๓ อย่างนี้แล.ภิกษุทั้งหลาย คหบดีชาวนานั้น ไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพจะบันดาลว่า ข้าวเปลือกของเราจงเกิดในวันนี้ พรุ่งนี้จงมีท้อง มะรืนนี้จงหุงได้

ภิกษุทั้งหลาย.โดยที่แท้ สมัยที่ข้าวเปลือกของคหบดีชาวนานั้น มีความแปรของฤดู เกิดก็ดี มีท้องก็ดี หุงได้ก็ดี มีอยู่.ภิกษุทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกันแล กิจที่ควรรีบทำของภิกษุ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่าง เป็น อย่างไร

คือ การสมาทานอธิศีลสิกขา (การปฏิบัติในศีลอันยิ่ง)
การสมาทานอธิจิตตสิกขา.(การปฏิบัติในจิตอันยิ่ง)
การสมาทานอธิปัญญาสิกขา (การปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง)
ภิกษุทั้งหลาย.กิจที่ควรรีบด่วนทำ.ของภิกษุ ๓ อย่างเหล่านี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุนั้นไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า จิตของเราจงพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ในวันนี้แหละ หรือมิฉะนั้นก็ในวันพรุ่งนี้ หรือในวันมะรืนนี้

ภิกษุทั้งหลาย.โดยที่แท้ สมัยที่จิตของภิกษุนั้น ผู้ศึกษาอธิศีลอยู่ก็ดี ผู้ศึกษาอธิจิตอยู่ก็ดี ผู้ศึกษาอธิ ปัญญาอยู่ก็ดี หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น มีอยู่

เพราะเหตุนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย. เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักมีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิศีลสิกขา เราจักมีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิจิตตสิกขา เราจักมีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา

ภิกษุทั้งหลาย.เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล


147 สิ้นกิเลสก็แล้วกัน ไม่ต้องรู้ว่าสิ้นไปเท่าไร

-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๒๘/๖๘.

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือที่ด้ามมีด ย่อมปรากฏแก่นายช่างไม้ หรือ ลูกมือนายช่างไม้ แต่เขา ไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ด้ามมีดของเราสึกไปเท่านี้ เมื่อวานสึกไปเท่านี้ หรือเมื่อ วานซืนสึกไปเท่านี้ ที่จริง เมื่อด้ามมีดสึกไปเขาก็ รู้ว่าสึกไปนั่นเทียว ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ อาสวะ ของเราสิ้นไปเท่านี้ เมื่อวาน สิ้นไปเท่านี้ หรือเมื่อวานซืนสิ้นไปเท่านี้ แต่ที่จริง เมื่ออาสวะสิ้นไป ภิกษุนั้นก็รู้ว่าสิ้นไป นั่นเทียว


148 หากประพฤติถูกต้อง จะหวังผลหรือไม่หวังผล ย่อมได้รับผล
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๗๙-๒๘๐/๔๑๔-๔๑๕.

ภูมิชะ.ส่วนสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่มีสัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสัมมาวาจา มีสัมมา กัมมันตะ มีสัมมา อาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติชอบ มีสัมมาสมาธิ ถ้าแม้ทำความหวังแล้ว ประ พฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล ถ้าแม้ทำ ความไม่หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ สามารถบรรลุผล ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวัง แล้วประพฤติ พรหม จรรย์ เขาก็สามารถ บรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ ความไม่หวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุ ผล นั่นเพราะเหตุไร

ภูมิชะ เพราะเขาสามารถบรรลุผลได้โดยอุบายแยบคาย

ภูมิชะ. เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการน้ำมัน แสวงหาน้ำมันจึงเที่ยวเสาะหาน้ำมัน เขาเกลี่ยงาป่นลงใน ราง ประพรมด้วยน้ำ แล้ว คั้นเรื่อยไปถ้าแม้ทำความหวัง แล้วเกลี่ยงาป่นลงในราง ประพรมด้วยน้ำแล้ว คั้นเรื่อยไป เขาก็สามารถได้น้ำมัน ถ้าแม้ทำความ ไม่หวัง แล้วเกลี่ยงาป่นลงในราง ประพรมด้วยน้ำ แล้วคั้นเรื่อยไป เขาก็สามารถได้น้ำมันถ้าแม้ทำทั้งความหวัง และความไม่ หวัง แล้วเกลี่ยงาป่นลง ในราง ประพรมด้วยน้้นแล้วคั้นเรื่อยไป เขาก็สามารถได้น้ำมันถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ ความไม่หวัง ก็มิใช่ แล้วเกลี่ยงาป่นลงในราง ประพรมด้วยน้ำแล้วคั้นเรื่อยไป เขาก็สามารถได้น้ำมัน ข้อนั้นเพราะ เหตุอะไร

ภูมิชะ.เพราะเหตุแห่งการได้น้ำมันนั้น เป็นสิ่งที่บุรุษนั้นได้ทำแล้ว โดยวิธีแยบการที่แยบคาย ฉันใดก็ ฉันนั้น (ทรงให้อุปมา โดยทำนองนี้อีกสามข้อ คือบุรุษผู้ต้องการน้ำนม รีดน้ำนมจากแม่โคลูกอ่อน บุรุษผู้ต้องการเนย ปั้นเนยจากนมที่หมักเป็น เยื่อ แล้วบุรุษผู้ต้องการไฟ สีไฟจากไม้แห้ง ก็ย่อมได้ผล ตามที่ตนต้องการ แม้จะทำความหวังหรือความไม่หวังก็ตาม ผลนั้นๆ ก็ย่อมมีให้เอง เพราะได้มีการ ทำที่ถูกต้องลงไปแล้ว).


149 บทอธิษฐานจิตเพื่อทำความเพียร
-บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๖๔/๒๕๑.

ภิกษุทั้งหลาย.เรารู้ทั่วถึงคุณของธรรม ๒ อย่าง ๒ อย่าง เป็นอย่างไรคือ ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ในกุศลธรรม  และความเป็นผู้ ไม่ย่อหย่อนในความเพียร.

ภิกษุทั้งหลาย.เราย่อมตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ ด้วยการตั้งจิตว่า หนัง เอ็น กระดูก จักเหลือ อยู่ เนื้อและเลือดใน สรีระจักเหือดแห้งไปก็ตามที ประโยชน์ใด อันบุคคลจะพึงบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ ถ้า ยังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มีดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย.การตรัสรู้เป็นสิ่งที่เรานั้นได้บรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท ธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก โยคะอันยอดเยี่ยม ก็เป็น สิ่งที่เรานั้นได้บรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท.

ภิกษุทั้งหลาย.ถ้าแม้เธอทั้งหลายจะพึงตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ ด้วยการตั้งจิตว่า หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่ เนื้อและเลือดในสรีระจักเหือดแห้งไปก็ตามที ประโยชน์ใด อันบุคคลจะพึงบรรลุ ได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบาก บั่น ของบุรุษ ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุด ความเพียรเสียเป็นไม่มี ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย.แม้เธอทั้งหลายก็จักทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออก จากเรือนบวช เป็นบรรพชิตต้องการนั้น ด้วยความรู้ยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ได้ต่อกาล ไม่ นานเลย.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักตั้งไว้ซึ่งความเพียร อันไม่ถอย กลับ ด้วยการตั้งจิตว่า หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่ เนื้อและเลือดในสรีระจักเหือดแห้งไปก็ตามที ประโยชน์ใด อันบุคคลจะพึงบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ ถ้ายังไม่ บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสียเป็นไม่มี ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย.เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.


ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ขันธ์ ๕

ข้อแนะนำ. ในการปรารภความเพียร
ตัวอย่าง วิธีการปฏิบัติ

150 สมาธิทุกระดับสามารถอาศัยเพื่อสิ้นอาสวะได้
-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๓๘-๔๔๔/๒๔๐.

ภิกษุทั้งหลาย.เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌาณบ้าง เพราะอาศัยทุติยฌาณบ้าง เพราะอาศัยตติยฌาณ บ้าง เพราะอาศัยจตุตถฌาณบ้าง เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนะบ้าง เพราะอาศัยวิญญาณณัญจายตนะบ้าง เพราะอาศัย อากิญจัญญายตนะบ้าง เพราะอาศัยเนวสัญญา-นาสัญญายตนะบ้าง (1)

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะอาศัย ปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัย อะไรกล่าวเล่าภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ เธอย่อม พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในปฐมฌาน นั้น โดย ความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็น ของผู้อื่น เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นอนัตตาเธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นระงับ นั่น ประณีต นั่นคือธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิ ทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจาง คลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้ เธอดำรงอยู่ใน ปฐมฌาณนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้น ไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็ เป็นโอปปาติกะผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป และเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆ นั่นเอง. (1.บาลีฉบับมอญ กล่าวลงเลยไปถึงว่า “เพราะอาศัยสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง” แต่ฉบับบาลีสยามรัฐหยุดเสียเพียง แค่เนว สัญญานาสัญญายตนะนี้เท่านั้น.  –ผู้รวบรวม)

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา ประกอบการฝึกยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้า หรือก้อนดิน สมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงได้ไกล ยิงได้ เร็ว ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้.

ภิกษุทั้งหลาย.ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาณอันมีวิตกวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิด จากวิเวกแล้วแลอยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ใน ปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นของ ผู้อื่น เป็นของแตกสลาย เป็น ของว่าง เป็นอนัตตาเธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุว่า นั่นสงบนั่น ระงับ นั่นประณีต

นั่นคือธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไป แห่งตัณหา เป็น ความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้ เธอดำรงอยู่ในปฐมฌาณนั้น ย่อมถึง ความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึง ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นโอปปาติกะผู้ปริ นิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภา คิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป และ เพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆ นั่นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย.ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ภิกษุทั้งหลาย.เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะอาศัย ปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว (ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย ทุติย ฌานบ้าง เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง เพราะอาศัย จตุตถฌานบ้าง ก็มีคำ.อธิบายที่ตรัสไว้โดยทำนอง เดียวกันกับในกรณีแห่งปฐมณานข้างบนนี้ ทุกตัวคำพูดทั้งในส่วนอุปไมย และส่วนอุปมา ผิดกันแต่ชื่อ แห่งฌานเท่านั้น ผู้ศึกษาพึงเทียบเคียงได้เอง).

ภิกษุทั้งหลาย.ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ภิกษุทั้งหลาย.เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะอาศัย อากาสานัญจายตนะบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า.

ภิกษุทั้งหลาย.ในกรณีนี้ ภิกษุเพราะก้าวล่วงรูปสัญญาเสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไป แห่งปฏิฆสัญญา เพราะ การไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำใน ใจว่า อากาศไม่มีที่สิ้นสุด ดังนี้แล้วแลอยู่

เธอ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ใน อากาสานัญจายตนะ นั้น โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของแตก สลาย เป็นของว่าง เป็นอนัตตา

เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นระงับ นั่นประณีต นั่นคือธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิ ทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็น ความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้ เธอดำรงอยู่ ในอากาสานัญจายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้าไม่ถึงความสิ้น ไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย ก็เป็นโอปปาติกะ ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัม ภาคิย สังโยชน์ ๕ สิ้นไป และเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆ นั่นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา ประกอบการฝึกยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้า หรือก้อนดิน สมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงได้ไกล ยิงได้เร็ว ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้.

ภิกษุทั้งหลาย.ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุเพราะก้าวล่วงซึ่งรูปสัญญาเสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะ ความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมี การทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สิ้นสุด ดังนี้แล้วแลอยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในอากาสานัญจายตนะนั้น

โดยความเป็น ของไม่เที่ยง โดยความ เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของ แตกสลาย เป็นของว่าง เป็นอนัตตา เธอดำรงจิต ด้วยธรรมเหล่านั้นแล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุว่า นั่นสงบระงับ นั่นประณีต นั่นคือธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้เธอดำรงอยู่ในอากาสานัญจายตนะนั้น

ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้น ไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นโอปปาติกะ ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ สิ้นไป และเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆ นั่นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย.ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ภิกษุทั้งหลาย.เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยอากาสานัญ จายตนะบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว (ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยวิญญา ณัญจายตนะบ้าง เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนะบ้าง ก็มีคำอธิบายที่ตรัสไว้โดยทำนอง เดียวกัน กับในกรณีแห่งอากาสานัญจายตนะข้างบนนี้ ทุกตัวคำพูดทั้งในส่วน อุปไมยและส่วนอุปมา ผิดกันแต่ ชื่อแห่งสมาธิเท่านั้น ผู้ศึกษาพึงเทียบเคียงได้เอง ครั้นตรัสข้อความในกรณีแห่ง อากิญ จัญญายตนะ จบแล้ว ได้ตรัสข้อความนี้ ต่อไปว่า).

ภิกษุทั้งหลาย.ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล เป็นอันกล่าวได้ว่า สัญญาสมาบัติ มีประมาณเท่าใด อัญญา ปฏิเวธ (การบรรลุ อรหัตตผล) ก็มีประมาณเท่านั้น

ภิกษุทั้งหลาย.ส่วนว่า อายตนะอีก ๒ ประการ กล่าวคือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ และ สัญญา เวทยิตนิโรธ ซึ่งอาศัย สัญญาสมาบัติเหล่านั้น เรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่ฌายีภิกษุ1 ผู้ฉลาด ในการเข้าสมาบัติ ฉลาดในการออกจากสมาบัติ จะพึงเข้า สมาบัติ ออกจากสมาบัต แล้วกล่าวว่าเป็น อะไรได้เองโดยชอบ ดังนี้.
1.ฌายีภิกษุ คือภิกษุผู้เพ่งอยู่  -ผู้รวบรวม


151 อานาปานสติ
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๖-๓๙๗/๑๓๑๑–๑๓๑๓.

ภิกษุทั้งหลาย.อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติ อันบุคคล เจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่

ภิกษุทั้งหลาย.ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่าหรือโคนไม้หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า

เธอนั้นมีสติ หายใจเข้า มีสติ หายใจออก

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษา
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษา
ว่าเราเป็น ผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้ทำกายสังขาร ให้รำงับอยู่ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษา
ว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษา
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษา
ว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษา
ว่า เราเป็นผู้ทำ จิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก.

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษา
ว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษา
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษา
ว่าเราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษา
ว่าเราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษา
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษา
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษา
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำหายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำหายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำหายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่

ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน บรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้ คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือว่า ถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี.


152 เจริญอานาปานสติ เป็นเหตุให้สติปัฏฐาน ๔
โพชฌงค์ ๗ วิชชา และวิมุตติบริบูรณ์

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๔/๑๔๐๒-๑๔๐๓.

ภิกษุทั้งหลาย. ธรรมอันเอกนั้นมีอยู่ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง๔ ให้บริบูรณ์ ครั้นธรรมทั้ง๔นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ ครั้นธรรมทั้ง ๗นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๒ ให้บริบูรณ์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย.อานาปานสติสมาธินี้แล เป็นธรรมอันเอก ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มาก แล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำ โพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชา และ วิมุตติให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุทั้งหลาย.ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย. สมัยใด ภิกษุ. เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ ชัดว่าเราหายใจออกยาว

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเรา หายใจออกสั้น ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้าว่าเราเป็น ผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง

หายใจออกย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า ว่าเราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำ อภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

ภิกษุทั้งหลาย.เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความ เพียรเผากิเลส มีสัมป ชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยใด ภิกษุย่อมทำ.การฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปีติ หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้าว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งจิตตสังขาร หายใจ ออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้ รำงับ หายใจออก.

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย. เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออกว่าเป็น เวทนาอันหนึ่งๆ ในเวทนา ทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ภิกษุทั้งหลาย.สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษา ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก.

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หาย ใจออก.

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก.

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำ อภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย.เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมป ชัญญะ.

ภิกษุทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมป ชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้าว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลาย อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็น ประจำ หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า ว่าเราเป็น ผู้เห็นซึ่งความดับ ไม่เหลือ อยู่เป็นประจำ หายใจออก.

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้ เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก.

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผา กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำ อภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและ โทมนัสทั้งหลาย ของเธอ นั้นด้วยปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายอยู่ เป็นประจำ มีความเพียรเผา กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำ อภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

ภิกษุทั้งหลาย.อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง๔ ให้บริบูรณ์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย. ก็สติปัฏฐานทั้ง๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา และ โทมนัสในโลกออกเสียได้ สมัยนั้นสติที่ภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรม ชาติไม่ลืมหลง.

ภิกษุทั้งหลาย. สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง สมัยนั้น สติสัมโพช ฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุ นั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติ สัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่ง การเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อม ทำการเลือก ย่อมทำ การเฟ้น ย่อมทำ การใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ทำการเลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมนั้นอยู่ด้วยปัญญา สมัยนั้น ธัมมวิจยสัม โพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว

สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึง ความเต็มรอบแห่ง การ เจริญ ภิกษุนั้น.เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียร อันไม่ย่อหย่อน ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้น ปรารภแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อนอันภิกษุผู้เลือกเฟ้น ใคร่ครวญในธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพช ฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึง ความ เต็มรอบแห่งการเจริญ ภิกษุนั้น เมื่อมีความ เพียรอันปรารภแล้ว ปีติอันไม่อิงอามิสก็เกิดขึ้น..

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยใด ปีติอันไม่อิงอามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วสมัยนั้น ปีติสัม โพชฌงค์ ก็เป็นอันว่า ภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์.

สมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วย ปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิต ก็รำงับ..

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ สมัยนั้น ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่า ภิกษุนั้นปรารภแล้ว. สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัย นั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความ เต็มรอบแห่งการเจริญ. ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำงับ แล้ว มีความสุขอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น

ภิกษุทั้งหลาย. สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายอันรำงับแล้วมีความสุขอยู่ ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัม โพชฌงค์ ก็เป็นอันว่า ภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบ แห่งการเจริญ.ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่ง เฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพช ฌงค์ สมัยนั้นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ของภิกษุชื่อ ว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ. ภิกษุทั้งหลาย. สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความ เพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ สมัยนั้น สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็น ธรรมชาติไม่ลืมหลง.

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง.สมัยนั้น สติสัมโพช ฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้น ปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นสติสัม โพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการ เจริญ(ต่อไปนี้มีข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณี ของผู้เห็นกายในกาย ผู้อ่านพึงเทียบเคียงได้เอง).

ภิกษุทั้งหลาย. สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำ อภิชฌาและ โทมนัส ในโลกออกเสียได้ สมัยนั้น สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็น ธรรมชาติไม่ลืมหลง..

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลงสมัยนั้น สติสัมโพช ฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้น ปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นสติสัม โพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบ แห่งการ เจริญ (ต่อไปนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันกับใน กรณี ของผู้เห็นกายในกาย ผู้อ่านพึงเทียบเคียงได้เอง)

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำ อภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ สมัยนั้น สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง สมัยนั้น สติสัมโพช ฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้น ปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นสติสัม โพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่ง การเจริญ (ต่อไปนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันกับใน กรณี ของผู้เห็นกายในกาย ผู้อ่านพึงเทียบเคียงได้เอง)

ภิกษุทั้งหลาย.สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้. ภิกษุทั้งหลาย.โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงจะ ทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุทั้งหลาย.ในกรณีนี้ ภิกษุ ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ (ความจาง คลาย) อันอาศัยนิโรธ (ความดับ) อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ(ความสละความปล่อย)

ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ
ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ
ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ
ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวส สัคคะ
ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ
ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวส สัคคะ.

ภิกษุทั้งหลาย.โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำวิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้.


153 สัญญา ๑๐ ประการ
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๑๒/๕๖.

ภิกษุทั้งหลาย.สัญญา ๑๐ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่สุด

๑๐ ประการเป็นอย่างไร คือ
อสุภสัญญา (ความหมายรู้ในความไม่งาม)
มรณสัญญา (ความหมายรู้ในความตาย)
อาหารเรปฏิกูลสัญญา (ความหมายรู้ในความเป็นปฏิกูลของอาหาร)
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา (ความหมายรู้ในความไม่ยินดีในโลกทั้งปวง)
อนิจจสัญญา (ความหมายรู้ในความไม่เที่ยง)
อนิจเจทุกขสัญญา (ความหมายรู้ในความเป็นของไม่เที่ยงและเป็นทุกข์)
ทุกเขอนัตตสัญญา (ความหมายรู้ในความเป็นทุกข์และไม่ใช่ตัวตน)
ปหานสัญญา (ความหมายรู้ในการละเสีย)
วิราคสัญญา (ความหมายรู้ในความคลายกำหนัด)
นิโรธสัญญา (ความหมายรู้ในความดับไม่เหลือ)

ภิกษุทั้งหลาย.สัญญา๑๐ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.


154 ลักษณะของสัญญา ๑๐ ประการ
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๑๕-๑๒๐/๖๐.

อานนท์.ถ้าเธอพึงเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์แล้ว กล่าวสัญญา ๑๐.ประการแก่เธอ ข้อที่อาพาธของ ภิกษุคิริมานนท์ จะพึงสงบ ระงับไปเพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.

สัญญา ๑๐ ประการ เป็นอย่างไร.คือ

1.อนิจจสัญญา 2.อนัตตสัญญา 3.อสุภสัญญา 4.อาทีนวสัญญา 5.ปหานสัญญา 6.วิราคสัญญา 7.นิโรธสัญญา 8.สัพพโลเกอนภิรตสัญญา 9.สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา 10.อานาปานสติ.

อานนท์.ก็อนิจจสัญญา เป็นอย่างไร. อานนท์.ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง ย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็น ของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้.อานนท์.นี้เรียกว่า อนิจจสัญญา.

อานนท์.ก็อนัตตสัญญา เป็นอย่างไร. อานนท์.ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็น อนัตตา กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมเป็นอนัตตา ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้. อานนท์.นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา.

อานนท์.ก็อสุภสัญญา เป็นอย่างไร.อานนท์.ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ เบื้องบนแต่พื้น เท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆว่า ในกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามในกายนี้ ด้วยอาการอย่างนี้.อานนท์นี้เรียกว่า อสุภสัญญา.

อานนท์.ก็อาทีนวสัญญา เป็นอย่างไร.อานนท์.ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละอองบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง
อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียร เกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์.นี้เรียกว่า อาทีนวสัญญา.

อานนท์. ก็ปหานสัญญา เป็นอย่างไร .อานนท์.ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มีซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มีซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมให้ถึงความไม่มีซึ่งวิหิงสาวิตก อันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้าอันเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้ว. อานนท์.นี้เรียกว่า ปหานสัญญา

อานนท์.ก็วิราคสัญญา เป็นอย่างไร. อานนท์.ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต นั่นคือ ธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความคลายกำหนัด เป็นนิพพาน. อานนท์.นี้เรียกว่า วิราคสัญญา

อานนท์.ก็นิโรธสัญญา เป็นอย่างไร. อานนท์.ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต นั่นคือธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความดับ เป็นนิพพาน. อานนท์.นี้เรียกว่า นิโรธสัญญา.

อานนท์.ก็สัพพโลเกอนภิรสัญญา.เป็นอย่างไร. อานนท์.ภิกษุในกรณีนี้ ละอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุในการตั้งมั่น ในการถือมั่น และเป็นอนุสัย (ความเคยชิน) แห่งจิต เธอย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น.อานนท์.นี้เรียกว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญา.

อานนท์.ก็สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา เป็นอย่างไร.อานนท์.ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชังต่อสังขารทั้งปวง.อานนท์.นี้เรียกว่า สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา.

อานนท์.ก็อานาปานสติ เป็นอย่างไร. อานนท์.ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น.มีสติหายใจเข้า..มีสติหายใจออก

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชดว่าเราหายใจออกสั้น

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้าว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่าเราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก

อานนท์.นี้เรียกว่า อานาปานสติ.

อานนท์.ถ้าเธอพึงเข้าไปหา ภิกษุ คิริมานนท์แล้ว กล่าวสัญญา ๑๐ประการนี้แก่เธอ ข้อที่อาพาธของภิกษุคิริมานนท์จะพึงสงบระงับไป เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐.ประการนี้ นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้

ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่ท่านพระคิริมานนท์ ครั้งนั้นแล อาพาธนั้นของท่านพระคิริมานนท์สงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ ท่านพระคิริมานนท์หายจากอาพาธนั้น ก็แล อาพาธนั้นเป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์ละได้แล้ว ด้วยประการนั้นแล.


155 อานิสงส์แห่งการภาวนาแบบต่างๆ
-บาลี ม. ม. ๑๓/๑๔๐/๑๔๕.

ราหุล.เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอ เจริญเมตตาภาวนาอยู่ จักละพยาบาทได้

ราหุล.เธอจงเจริญกรุณาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอ เจริญกรุณาภาวนายู่ จักละวิหิงสา (ความคิดเบียดเบียน) ได้

ราหุล.เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอ เจริญมุทิตาภาวนาอยู่ จักละอรติ (ความไม่ยินดีด้วยใครๆ) ได้

ราหุล.เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอ
เจริญอุเบกขาภาวนาอยู่ จักละปฏิฆะ (ความหงุดหงิดแห่งจิต)ได้

ราหุล.เธอจงเจริญอสุภภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอ เจริญอสุภภาวนาอยู่ จักละราคะได้

ราหุล.เธอจงเจริญอนิจจสัญญาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอ เจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่ จักละอัสมิมานะ (ความสำคัญว่าตัวตนและของตน) ได้


156 ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การบรรลุนิพพาน (นัยที่ ๑)
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๗/๒๓๒.

ภิกษุทั้งหลาย.เราจะแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะ.(สบาย)แก่นิพพาน แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว..

ภิกษุทั้งหลาย. ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้นเป็นอย่างไร. ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เห็นว่า จักษุไม่เที่ยง รูปทั้งหลายไม่เที่ยง จักษุวิญญาณไม่เที่ยง จักษุสัมผัสไม่เที่ยงแม้สุขเวทนา ทุกข์ เวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง. (ในกรณีแห่ง ธรรม หมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกันทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุทั้งหลาย.นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพาน.


157 ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การบรรลุนิพพาน (นัยที่ ๒)
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๘/๒๓๓.

ภิกษุทั้งหลาย.เราจักแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย.ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้น เป็นอย่างไร. ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเห็นว่า จักษุเป็น ทุกข์ รูปเป็นทุกข์ จักษุวิญญาณเป็นทุกข์จักษุสัมผัสเป็นทุกข์ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม สุขเวทนา ที่เกิด ขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ (ในกรณีแห่งธรรมหมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกันทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น) ภิกษุทั้งหลาย.นี้แล ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพาน.


158 ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การบรรลุนิพพาน (นัยที่ ๓)
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๘/๒๓๔.

ภิกษุทั้งหลาย.เราจักแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

ภิกษุทั้งหลาย.ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้น เป็นอย่างไร.ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเห็นว่า จักษุเป็น อนัตตา รูปเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสเป็นอนัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นอนัตตา (ในกรณีแห่งธรรมหมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกันทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุทั้งหลาย.นี้แล ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพาน.

159 ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การบรรลุนิพพาน (นัยที่ ๔)
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๙/๒๓๕.

ภิกษุทั้งหลาย.เราจักแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

ภิกษุทั้งหลาย.ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้นเป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย. เธอทั้งหลายจักสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ไม่เที่ยง พระเจ้า ข้า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่าเป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่านั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเราไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า (ต่อไปได้ตรัสถามและภิกษุตอบ เกี่ยวกับรูป … จักษุวิญญาณ … จักษุสัมผัส … เวทนาอันเกิดจากจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ซึ่งมีข้อความ อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งจักษุนั้นทุกประการต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น เมื่อตรัสข้อความในกรณี แห่ง ธรรมหมวดจักษุ จบลงดังนี้แล้ว ได้ตรัสข้อความในกรณีแห่งธรรมหมวดโสตะ หมวดฆานะ หมวด ชิวหา หมวดกายะ และหมวดมนะ ต่อไปอีก ซึ่งมีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน กับในกรณีแห่งธรรม หมวดจักษุนั้นทุกประการ ต่างกันแต่เพียงชื่อเท่านั้น ผู้ศึกษาพึงเทียบเคียงได้เอง).

ภิกษุทั้งหลาย.อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อ หน่ายแม้ใน รูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ-สัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย (ในกรณีแห่งธรรมหมวดโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มนะ ก็ได้ตรัสต่อไปอีก โดยนัยอย่างเดียวกันกับ กรณีแห่งอายตนิกธรรมหมวดจักษุนี้)

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ ว่า หลุดพ้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ภิกษุทั้งหลาย.นี้แล ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพาน.


160 ธรรมโดยย่อ เพื่อการหลุดพ้น (นัยที่ ๑)
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๒๘-๒๒๙/๓๖๔-๓๖๕.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งเมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะเป็นผู้หลีก ออกผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด.

อานนท์.เธอจะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร  รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยงไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา ดังนี้.. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

อานนท์.เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม อันมี อยู่ในภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือ ในที่ ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีการตรัสถาม และ การทูลตอบ ซึ่งได้ตรัสอย่างเดียวกันทุกตัวอักษร กับในกรณีแห่งรูป ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์ แต่ ละขันธ์เท่านั้น)

อานนท์.อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี ญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


161 ธรรมโดยย่อ เพื่อการหลุดพ้น (นัยที่ ๒)
-บาลี อุ. ขุ. ๒๕/๘๓-๘๔/๔๙.

พาหิยะ.เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เมื่อเห็นแล้ว สักว่าเห็น
เมื่อฟังแล้ว เป็นสักว่าฟัง
เมื่อรู้สึกแล้ว สักว่ารู้สึก (ทางจมูก ลิ้น กาย).
เมื่อรู้แจ้งแล้วสักว่ารู้แจ้ง (ทางวิญญาณ)
พาหิยะเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.

พาหิยะ.ในกาลใด เมื่อเธอเห็นจักเป็นเพียงสักว่าเห็น.
เมื่อฟังจักเป็นเพียงสักว่าฟัง.
เมื่อรู้สึกจักเป็นเพียงสักว่ารู้สึก.
เมื่อรู้แจ้งจักเป็นเพียงสักว่ารู้แจ้ง.

ในกาลนั้น เธอ ย่อมไม่มี.
ในกาลใด.เธอไม่มี.เธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้
ไม่ปรากฏในโลกอื่น.ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง.
นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์.


162 ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ผ่านราตรีนาน
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๙๐-๙๕/๑๓๒-๑๓๙.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้้าพระองค์เป็นคนชรา เป็นคนแก่คนเฒ่ามานาน ผ่านวัยมาตามลำดับ ถึงกระนั้น ขอพระผู้มีพระภาคผู้สุคตโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์เถิด โดยประการที่ข้า พระองค์จะพึงรู้ทั่วถึง พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค พึงเป็นผู้ได้รับพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค.

มาลุงก๎ยบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยตาเหล่าใด อันเธอไม่ได้เห็น ไม่เคยเห็น ที่กำลังเห็นอยู่ก็ไม่มี ที่เธอคิดว่าควรจะได้เห็นก็ไม่มี ดังนี้แล้ว เธอย่อมมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในรูปเหล่านั้นหรือ ไม่มีเลย พระเจ้าข้า (ต่อไปนี้ ได้มีการตรัสถาม และ การทูลตอบในทำนองเดียวกันนี้ทุกตัวอักษร ผิดกันแต่ชื่อของสิ่งที่นำมากล่าว คือในกรณีแห่งเสียง ที่รู้แจ้งได้ทางหู กลิ่นที่รู้แจ้งได้ทางจมูก รสที่รู้แจ้งได้ทางลิ้น โผฏฐัพพะที่รู้แจ้งได้ทางผิวกาย และ ธรรมที่รู้แจ้งได้ทางใจ)

มาลุงก๎ยบุตร. ก็ในธรรมเหล่านั้น คือ ในสิ่งที่เธอเห็นแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่าเห็นในสิ่งที่เธอฟังแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่าได้ยิน ในสิ่งที่เธอรู้สึกแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้สึกในสิ่งที่เธอรู้แจ้งแล้ว ก็จัก เป็นแต่เพียงสักว่ารู้แจ้ง..

มาลุงก๎ยบุตร.ในกาลใด เมื่อเธอเห็นจักเป็นเพียงสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นเพียงสักว่าฟัง เมื่อรู้สึกจัก เป็นเพียงสักว่ารู้สึก เมื่อรู้แจ้งจักเป็นเพียงสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น เธอย่อมไม่มี..

ในกาลใด.เธอไม่มี.เธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้ ไม่ปรากฏในโลกอื่น ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่ง ธรรม ที่พระผู้มี พระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารว่า สติหลงลืมแล้วเพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ ใจถึงนิมิตแห่งรูปว่าน่ารัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ เวทนา อันเกิดจากรูปเป็น อเนกประการ ย่อมเจริญแก่เขานั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไป กลุ้มรุมจิตของ เขา เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่าห่างไกลนิพพาน (ในกรณีแห่งการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้แจ้งธรรม ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกัน).

บุคคลนั้นเห็นรูปแล้วมีสติ ไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความ ติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อเห็นรูปและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ก็สิ้นไปไม่เพิ่มพูนขึ้น เขาเป็นผู้ มีสติประพฤติอยู่ด้วย อาการอย่างนี้ เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน (ในกรณีแห่งการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้แจ้งธรรม ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่าง เดียวกัน)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรม ที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้ ได้โดย พิสดาร ด้วยประการฉะนี้.

มาลุงก๎ยบุตร.สาธุๆ เธอรู้ทั่งถึงเนื้อความแห่งธรรมที่เรากล่าวโดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร. ...

ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุงก๎ยบุตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวาย อภิวาท กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป

ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุงก๎ยบุตรเป็นผู้ๆเดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตเด็ด เดี่ยว ไม่ช้าก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ก็แลท่านพระมาลุงก๎ยบุตรได้เป็น อรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

163 ข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผล ของคนเจ็บไข้
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๐-๑๖๑/๑๒๑.

ภิกษุทั้งหลาย.ถ้าธรรม ๕ ประการ ไม่เว้นห่างไปเสียจากคนเจ็บไข้ทุพพลภาพคนใด เธอนั้นพึงหวังผลข้อนี้ คือ จักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ได้ต่อกาลไม่นานเลย ธรรม ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในกรณีนี้
(๑).พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย
(๒).มีความสำ.คัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร
(๓).มีความสำ.คัญว่าโลกทั้งปวงไม่มีอะไรที่น่ายินดี
(๔).พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
(๕).มีมรณสัญญาอันตั้งไว้ดีแล้วในภายใน
ภิกษุทั้งหลาย.ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ ไม่เว้นห่างไปเสียจากคนเจ็บไข้ทุพพลภาพคนใด เธอนั้นพึง หวังผลข้อนี้ คือ จักทำ.ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ได้ต่อกาลไม่นานเลย.


164 ข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผล ของบุคคลทั่วไป (นัยที่ ๑)
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๑/๑๒๒.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใด เจริญแล้ว กระทำให้มาก ซึ่งธรรม ๕ ประการเหล่านี้ ผลอย่าง ใดอย่างหนึ่งในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่เธอหวังได้ คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือถ้ายังมีอุปาทิ เหลืออยู่ ก็จะเป็น อนาคามี ภิกษุทั้งหลายธรรม ๕ ประการนั้น เป็นอย่างไร
๕ ประการ คือ ภิกษุในกรณีนี้

(๑).เป็นผู้มีสติอันเข้าไปตั้งไว้ด้วยดีเฉพาะตน เพื่อปัญญาอันให้หยั่งถึงความเกิดขึ้นและดับไปแห่งธรรมทั้งหลาย
(๒).พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย
(๓).มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร
(๔).มีความสำ.ญว่าโลกทั้งปวงไม่มีอะไรที่น่ายินดี.
(๕).พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใด เจริญแล้ว กระทำให้มาก ซึ่งธรรม ๕ ประการเหล่านี้ ผลอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่เธอหวังได้ คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จะเป็น อนาคามี.


165 ข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผล ของบุคคลทั่วไป (นัยที่ ๒)
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๕-๙๗/๗๑.

ภิกษุทั้งหลาย.ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมี เจโตวิมุตติเป็นอานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นอานิสงส์.

ธรรม ๕ ประการเป็นอย่างไรคือ ภิกษุในกรณีนี้
(๑).พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย
(๒).มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร
(๓).มีความสำคัญว่าโลกทั้งปวงไม่มีอะไรที่น่ายินดี
(๔).พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
(๕).มีมรณสัญญาอันตั้งไว้ดีแล้วในภายใน

ภิกษุทั้งหลาย.ธรรม ๕ ประการนี้เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมีเจโตวิมุตติเป็นอานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นอานิสงส์ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มี เจโต วิมุตติ และปัญญาวิมุตติ เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ดังนี้บ้าง เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ดังนี้บ้าง เป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ดังนี้บ้าง เป็นผู้ถอดกลอนออก ได้ดังนี้บ้าง เป็นผู้ไกลจากข้าศึกปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบ ด้วยวัฏฏะ ดังนี้บ้าง

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้เป็นอย่างไรคือภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้ละอวิชชาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้เป็นอย่างไรคือ ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละชาติสงสารที่เป็นเหตุ นำ ให้เกิดในภพใหม่ต่อไปได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปเป็น ธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละตัณหาเสียได้ถอนราก ขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุชื่อว่าเป็น ผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนกลอนออกได้เป็นอย่างไร คือภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป เป็นธรรมดา.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ เป็นอย่างนี้แล. ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะ เสียได้ ถอนราก ขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะใดๆ เป็นอย่างนี้ แล. (ในสูตรอื่นตรัสว่า ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความคลาย กำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน -บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๔/๖๙. และอีกสูตรตรัสว่าเป็นไป เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย -บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๕/๗๐.)


166 ธรรมอย่างหนึ่ง เพื่อละอวิชชา (นัยที่ ๑)
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๖๑-๖๒/๙๕.

ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่หรือไม่หนอ.

ภิกษุ.เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งจักษุโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น.
เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย … .
เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุวิญญาณ … .
เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุสัมผัส … .
เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น.
(ในกรณีแห่งธรรมหมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็มีข้อความอย่างเดียวกัน).

ภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น.


167 ธรรมอย่างหนึ่ง เพื่อละอวิชชา (นัยที่ ๒)
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๖๒-๖๓/๙๖.

ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งซึ่งเมื่อภิกษ ละ ได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่หรือไม่หนอ.

ภิกษุ.ธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้นเป็น อย่างไร พระเจ้าข้า.

ภิกษุ.ธรรมข้อหนึ่ง คือ อวิชชาแล ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุรู้อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงละอวิชชาได้.วิชชาจึงเกิดขึ้น พระเจ้า ข้า.

ภิกษุ.ภิกษุในกรณีนี้ได้สดับว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น (สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย) ครั้นเธอได้สดับว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงอันใครๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นอย่างนี้แล้ว เธอนั้นย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรม ทั้งปวง.

ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมรอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวงครั้นรอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมเห็นนิมิต ของสิ่งทั้งปวงโดยประการอื่น คือย่อมเห็นจักษุโดยประการอื่น ย่อมเห็นรูปโดยประการอื่น ย่อมเห็น จักษุวิญญาณโดย ประการอื่น ย่อมเห็นจักษุสัมผัสโดยประการอื่นย่อมเห็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น.
(ในกรณีแห่งโสตะก็ดี ฆานะก็ดี ชิวหาก็ดี กายะก็ดี มนะก็ดี และธรรมทั้งหลายที่เนื่องด้วยด้วยโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ นั้นๆ ก็ดี ก็ได้ตรัสไว้ มีนัยอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งการเห็นด้วยจักษุ และธรรม ทั้งหลายที่เนื่องด้วยจักษุ)

ภิกษุ.เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น.


168 ย่อมยุบ ย่อมไม่ก่อ ย่อมขว้างทิ้ง ย่อมไม่ถือเอา
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๕-๑๑๐/๑๕๘-๑๖๔.

ภิกษุทั้งหลาย.สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงชาติก่อน ได้ เป็น อันมาก สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ก็ย่อมตาม ระลึกถึงอุปาทานขันธ์ ๕ หรือขันธ์ใดขันธ์ หนึ่งแห่งอุปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นอย่างไรคือ

ภิกษุทั้งหลาย.ย่อมตามระลึกถึงรูปดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้ย่อมตามระลึก ถึงเวทนา ดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีเวทนา อย่างนี้ย่อมตาม ระลึกถึงสัญญาดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็น ผู้มีสัญญาอย่างนี้ ย่อมตามระลึกถึงสังขารดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสังขารอย่างนี้ ย่อมตามระลึก ถึงวิญญาณ ดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีวิญญาณอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะอะไรจึงเรียกว่า รูป เพราะสิ่งนั้นแตกสลาย ดังนั้นจึงเรียกว่า รูป แตกสลาย ไปเพราะอะไรแตกสลายไปเพราะความหนาวบ้าง แตก สลายไปเพราะความร้อนบ้าง แตกสลายไป เพราะความหิวบ้าง แตกสลายไปเพราะกระหายบ้าง แตกสลายไปเพราะสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์ เลื้อยคลานบ้าง.ภิกษุทั้งหลาย.เพราะสิ่งนั้นแตกสลาย ดังนั้นจึงเรียกว่า รูป.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะอะไรจึงเรียกว่า เวทนา เพราะสิ่งนั้นรู้สึก ดังนั้นจึงเรียกว่า เวทนารู้สึกได้ซึ่ง อะไร รู้สึกได้ซึ่งสุขบ้าง รู้สึกได้ซึ่งทุกข์บ้าง รู้สึกได้ ซึ่ง อทุกขมสุขบ้าง ภิกษุทั้งหลาย เพราะสิ่งนั้น รู้สึก ดังนั้นจึงเรียก ว่า เวทนา.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะอะไรจึงเรียกว่า สัญญา เพราะจำได้หมายรู้ จึงเรียกว่าสัญญาจำได้ หมายรู้ อะไร จำได้หมายรู้สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง ภิกษุทั้งหลายเพราะจำได้หมายรู้ จึงเรียกว่าสัญญา

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะอะไรจึงเรียกว่า สังขาร เพราะปรุงแต่งสังขตธรรม จึงเรียกว่าสังขาร ปรุงแต่ง สังขตธรรม อะไรปรุงแต่งสังขตธรรม คือรูปโดยความ เป็นรูป ปรุงแต่งสังขตธรรมคือเวทนา โดยความ เป็นเวทนา ปรุงแต่งสังขตธรรมคือสัญญา โดยความเป็นสัญญา ปรุงแต่งสังขตธรรม คือสังขาร โดย ความ เป็นสังขารปรุงแต่งสังขตธรรม คือวิญญาณโดยความเป็นวิญญาณ ภิกษุทั้งหลายเพราะ ปรุงแต่งสังขตธรรม จึงเรียกว่าสังขาร

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะอะไรจึงเรียกว่า วิญญาณ เพราะรู้แจ้ง จึงเรียกว่า วิญญาณรู้แจ้ง ซึ่งอะไรรู้ แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รู้แจ้งรสขมบ้าง รู้แจ้งรสเผ็ดบ้าง รู้แจ้ง รสหวานบ้าง รู้แจ้งรสขื่นบ้าง รู้แจ้งรสไม่ขื่น บ้าง รู้แจ้งรสเค็มบ้าง รู้แจ้งรสไม่เค็มบ้าง ภิกษุทั้งหลาย.เพราะรู้แจ้ง จึงเรียกว่าวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย.ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ในกาลนี้เราถูกรูปเคี้ยว กินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกรูปเคี้ยวกินแล้ว เหมือนกับที่ ถูกรูปอันเป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในบัดนี้ ก็เรานี้แล พึงชื่นชมรูป ในอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึงถูกรูปเคี้ยวกิน เหมือนกับที่ถูกรูปอันเป็น ปัจจุบันเคี้ยวกิน อยู่ในบัดนี้.

เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมไม่มีความอาลัยในรูปอันเป็นอดีต ย่อมไม่ชื่นชมรูปในอนาคต ย่อมเป็น ผู้ปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ ไม่เหลือแห่งรูปในปัจจุบัน. (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทรงตรัสไว้อย่างเดียวกัน แล้วตรัสต่อไปว่า)

ภิกษุทั้งหลาย.เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยงไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของ เรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเราไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า. (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีการถามตอบแบบเดียวกัน แล้วตรัสต่อไปว่า)

ภิกษุทั้งหลาย.รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายใน หรือ ภายนอก ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมด นั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็น เรา ไม่ใช่ตัวตน ของเรา (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทรงตรัสไว้อย่างเดียวกันแล้ว ตรัสต่อไปว่า)

ภิกษุทั้งหลาย.อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า ย่อมทำให้พินาศ ย่อมไม่ก่อ ย่อมละทิ้ง ย่อมไม่ถือมั่น ย่อมเรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมเข้าไว้ ย่อมทำให้มอด ไม่ก่อให้ลุก โพลงขึ้น อริยสาวก ย่อมทำอะไรให้พินาศ ย่อมไม่ก่อซึ่งอะไร เธอย่อมทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณให้พินาศ ย่อมไม่ก่อซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.

ย่อมละทิ้งอะไร ย่อมไม่ถือมั่นอะไร เธอย่อมละทิ้งซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่ถือมั่นซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมเรี่ยราย อะไร ย่อมไม่รวบรวมอะไรไว้เธอย่อมเรี่ยรายซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่รวบรวม ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมทำ อะไรให้ มอด ย่อมไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น เธอย่อมทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้มอด ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ลุกโพลงขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย.อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อ หน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ แล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ภิกษุทั้งหลาย.อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า ย่อมไม่ก่อ ย่อมไม่ทำให้พินาศ แต่เป็นอันว่าทำให้พินาศได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ละ ย่อมไม่ถือมั่น แต่เป็นอันว่า ละได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่เรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมไว้ แต่เป็นอันว่า เรี่ยรายได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ทำให้มอด ย่อมไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นอันว่าทำให้มอดได้ แล้วตั้งอยู่.

อริยสาวก ย่อมไม่ก่อ ย่อมไม่ทำ อะไรให้พินาศ แต่เป็นอันว่าทำให้พินาศ ได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ก่อ ย่อมไม่ทำให้พินาศซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่เป็นอันว่าทำให้พินาศ ได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ละ ย่อมไม่ถือมั่นซึ่งอะไร แต่เป็นอันว่าละ ได้แล้วตั้งอยู่ย่อมไม่ละ ย่อมไม่ถือมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่เป็นอันว่าละได้แล้วตั้งอยู่.

ย่อมไม่เรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมซึ่งอะไรไว้ แต่เป็นอันว่าเรี่ยรายได้แล้วตั้งอยู่ย่อมไม่เรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่เป็นอันว่าเรี่ยรายได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ทำ ให้มอด ย่อมไม่ก่อ ให้ลุกโพลงขึ้นซึ่งอะไร แต่เป็นอันว่าทำให้มอด ได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ทำให้มอด ย่อมไม่ก่อ ให้ลุกโพลงขึ้น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่เป็นอันว่า ทำให้มอดได้แล้ว ตั้งอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย.เทวดาพร้อมด้วยอินทร์ พรหม และปชาบดีย่อมนมัสการ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ มาจากที่ไกลเทียว กล่าวว่า ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด ข้าพเจ้าขอนมัสการท่าน เพราะ ข้าพเจ้าไม่อาจจะทราบสิ่งซึ่งท่านอาศัยแล้วเพ่ง ของท่านนี้.


169 การดับเหตุแห่งสุขและทุกข์ภายใน
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๒๑/๓๔๖.
ภิกษุทั้งหลาย.เมื่ออะไรมีอยู่เพราะอาศัยซึ่งอะไร สุขและทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้น. ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป สุขและทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย.เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง.สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สุขและทุกข์ภายในพึงบังเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ.. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีการตรัส ตรัสถามและ ภิกษุทั้งหลายทูลตอบ อย่างเดียวกันทุกตัวอักษร กับในกรณีแห่งรูป ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์ แต่ละขันธ์ เท่านั้น)

ภิกษุทั้งหลาย.อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งใน สัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม คลายกำหนัด เพราะคลายกำนัด ย่อมหลุดพ้นเมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


170 ความดับทุกข์มี เพราะความดับแห่งนันทิ
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๔๘๒/๗๕๖-๓๔๗.

ปุณณะ.รูปที่รู้ได้ด้วยตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยวนตา ยวนใจให้รัก เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่เมา หมกอยู่ซึ่งรูปนั้น นันทิ (ความเพลิน) ของเธอผู้เป็นเช่นนั้นย่อมดับไป ปุณณะ เพราะนันทิดับ เราจึงกล่าวว่า ทุกข์ดับ ดังนี้.
ปุณณะ.เสียงที่รู้ได้ด้วยโสตะ....
ปุณณะ.กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ....
ปุณณะ.รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา....
ปุณณะ.โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายะ....
ปุณณะ.ธรรมที่รู้ได้ด้วยมนะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยวนตา ยวนใจให้รัก เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่  ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่เมาหมกอยู่ซึ่งธรรมนั้น นันทิของเธอผู้เป็นเช่นนั้น ย่อมดับไป ปุณณะ เพราะนันทิดับ เราจึง กล่าวว่า ทุกข์ดับ ดังนี้.


171 สิ้นนันทิ สิ้นราคะ จิตหลุดพ้น (นัยที่ ๑)
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๕-๒๔๖.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแลว่า
ไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย (สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ)
เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ (นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย)
เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน (ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย)
เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว
(นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจติ)
(ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มนะ และในกรณีแห่งอายตนะภายนอก ๖ คือ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรม ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งจักษุทุกประการ)



172 สิ้นนันทิ สิ้นราคะ จิตหลุดพ้น (นัยที่ ๒)
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๗๙-๑๘๐/๒๔๗-๒๔๘.

ภิกษุทั้งหลาย.เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงจักษุโดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง แห่งจักษุตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงจักษุโดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความ ไม่เที่ยง แห่งจักษุตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ
เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ
เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน
เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่าจิตหลุดพ้นดีแล้ว
(ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มนะ และในกรณีแห่ง อายตนะ ภายนอก ๖ คือ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรม ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับ ในกรณีแห่งจักษุ ทุกประการ)


173 เห็นตามความเป็นจริง จึงหลุดพ้น
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๗-๒๘/๓๙-๔๑.

ภิกษุทั้งหลาย. รูปไม่เที่ยง.เวทนาไม่เที่ยงสัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง. ภิกษุทั้งหลาย. อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ภิกษุทั้งหลาย.รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ภิกษุทั้งหลาย.รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา.

ภิกษุทั้งหลาย.อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


174 การเห็นชนิดที่ละมิจฉาทิฏฐิได้
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๘๕/๒๕๔.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้.

ภิกษุ.บุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้
เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจักษุวิญญาณโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้
เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจักษุสัมผัสโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้
เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจักษุสัมผัสโดยความไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้
เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้

บุคคลเมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งหู... เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจมูก... เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งลิ้น... เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งกาย... เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งใจ โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้

บุคคลเมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งเสียง... กลิ่นทั้งหลาย... รสทั้งหลาย... โผฏฐัพพะทั้งหลาย... ธรรมทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้

บุคคลเมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งโสตวิญญาณ... ฆานวิญญาณ... ชิวหาวิญญาณ... กายวิญญาณ... มโนวิญญาณโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ บุคคลเมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งโสตสัมผัส... ฆานสัมผัส... ชิวหาสัมผัส... กายสัมผัส... มโนสัมผัส โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้

บุคคลเมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัส... เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย... เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย... เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย... เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้.

ภิกษุ.เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้.


175 การเห็นชนิดที่ละสักกายทิฏฐิได้
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๘๕/๒๕๕.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละสักกายทิฏฐิได้.
ภิกษุ.บุคคลเมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฏฐิได้.
เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งรูปโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฏฐิได้.
เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจักษุวิญญาณ โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฏฐิได้
เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจักษุสัมผัส โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฏฐิได้
เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฏฐิได้.
(ในกรณีแห่งอายตนิกธรรมอีก ๕ หมวดถัดไป คือ หมวดโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็มีข้อความอย่างเดียวกันกับข้างบนนี้ ต่างแต่ชื่อธรรมที่ต้องเปลี่ยนไปตามหมวดนั้นๆ เท่านั้น).ภิกษุ.เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้.เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละสักกายทิฏฐิได้.



176 การเห็นชนิดละอัตตานุทิฏฐิได้
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๘๖/๒๕๖.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้. ภิกษุ.บุคคลเมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจักษุโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุุทิฏฐิได้
เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งรูปโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้
เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจักษุวิญญาณ โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้.
เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจักษุสัมผัสโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิ.ได้
เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้.
(ในกรณีแห่ง อายตนิกธรรมอีก ๕ หมวดถัดไป คือ หมวดโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็มีข้อความอย่างเดียวกันกับข้างบนนี้ ต่างแต่ชื่อธรรมที่ต้องเปลี่ยนไปตามหมวดนั้นๆ เท่านั้น).
ภิกษุ.เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้.เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้.




177 การเห็นเพื่อความหลุดพ้น (นัยที่ ๑)
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๒-๘๕/๑๒๗-๑๓๐.

ภิกษุทั้งหลาย.รูปเป็นอนัตตา ก็หากว่ารูปนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ รูปก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความปรารถนาในรูปว่า ขอรูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่าง นั้นเลย แต่เพราะเหตุที่รูป เป็นอนัตตา ดังนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์ย่อมไม่ได้ตาม ความปรารถนาในรูปว่า ขอรูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย.เวทนาเป็นอนัตตา ก็หากเวทนานี้ จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนาก็คงไม่เป็นไปเพื่อ อาพาธ ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความปรารถนาในเวทนาว่า ขอเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้ เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะเหตุที่เวทนาเป็นอนัตตา ดังนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์ย่อม ไม่ได้ตามความปรารถนาในเวทนาว่า ขอเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้ เป็นอย่างนั้น เลย.

ภิกษุทั้งหลาย.สัญญาเป็นอนัตตา ก็หากสัญญานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สัญญาก็คงไม่เป็นไปเพื่อ อาพาธ ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความปรารถนาในสัญญาว่า ขอสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่า ได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะเหตุที่สัญญาเป็นอนัตตา ดังนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์ ย่อมไม่ได้ตามความปรารถนาในสัญญาว่า ขอสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้ เป็นอย่างนั้น เลย.

ภิกษุทั้งหลาย.สังขารเป็นอนัตตา ก็หากสังขารนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สังขารก็คงไม่เป็นไปเพื่อ อาพาธ ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความปรารถนาในสังขารว่า ขอสังขารของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้ เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะเหตุที่สังขารเป็นอนัตตา ดังนั้น สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์ไม่ได้ ตามความปรารถนาในสังขารว่า ขอสังขารของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย.วิญญาณเป็นอนัตตา ก็หากวิญญาณนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ วิญญาณก็คงไม่เป็น ไปเพื่ออาพาธ ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความปรารถนาในวิญญาณว่า ขอวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้ เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะเหตุที่วิญญาณเป็นอนัตตา ดังนั้นวิญญาณจึงเป็นไปเพื่อ อาพาธ และสัตว์ย่อมไม่ได้ตามความปรารถนาในวิญญาณว่า ขอวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย.เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า
นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย.เธอทั้งหลายจะสำ.คัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา
นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย.เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม เวทนาทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย.สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม สัญญาทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย.สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม สังขารทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย.วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย.อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ใน สัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุด พ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่ จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ.เสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำ.เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


178 การเห็นเพื่อความหลุดพ้น (นัยที่ ๒)
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑-๒/๑-๓.
ภิกษุทั้งหลาย.ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็น จริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย.ตา... ห.. จมูก.. ลิ้น... กาย.. ใจเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น อนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน ของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย.ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเราไม่ใช่ตัวตนของ เรา ภิกษุทั้งหลาย.อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในตา... หู... จมูก... ลิ้น ... กาย... ใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำ.หนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น แล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.(ในสูตรอื่นทรงแสดงโดย อายตนะ ภายในหก อายตนะภายนอกหก ซึ่งมีหลักวิธีพิจารณาอย่างเดียวกับนัยแห่งสูตรดังกล่าวนี้.
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑-๓/๑-๖)



179 ลักษณะของผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๒/๔๖.

ภิกษุ.ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ภิกษุ.ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด
เพื่อความดับไม่เหลือแห่งชาติ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ภิกษุ.ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด
เพื่อความดับไม่เหลือแห่งภพ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ภิกษุ.ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ภิกษุ.ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ภิกษุ.ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ภิกษุ.ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ภิกษุ.ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ภิกษุ.ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ภิกษุ.ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ภิกษุ.ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งสังขารทั้งหลาย ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ภิกษุ.ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.


180 ธรรมที่สมควรแก่ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (นัยที่ ๑)
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๐/๘๓.

ภิกษุ.ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมมีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่ายในรูปอยู่ พึงเป็นผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่ายในเวทนาอยู่พึงเป็นผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่ายในสัญญาอยู่ พึงเป็นผู้มาก ไปด้วยความเบื่อหน่ายในสังขารอยู่ พึงเป็นผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่ายในวิญญาณอยู่

ภิกษุนั้นเมื่อเป็นผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่ ย่อมกำหนดรู้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากรูป ย่อมหลุดพ้นจากเวทนา ย่อมหลุดพ้นจากสัญญา ย่อมหลุดพ้นจากสังขาร ย่อมหลุดพ้นจากวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์.



181 ธรรมที่สมควรแก่ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (นัยที่ ๒)
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๔.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมมีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณา เห็น ความไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่เมื่อเธอ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่ ย่อมกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อเธอกำหนดรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากรูป ย่อมหลุดพ้นจาก เวทนา ย่อมหลุดพ้นจากสัญญา ย่อมหลุดพ้น จากสังขาร ย่อมหลุดพ้นจากวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจาก ชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะ เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์.
(ในสูตรอื่น ทรงตรัสว่า การพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์, พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในขันธ์ทั้ง ๕ ก็จัดเป็นธรรมที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม -บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑-๕๒/๘๕-๘๖.)



182 ธรรมอันสมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๑๙/๓๔๒.

ภิกษุทั้งหลาย.ข้อนี้ย่อมเป็นธรรมอันสมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา คือ ความเป็นผู้อยู่มากด้วย ความเบื่อหน่ายในรูป … ในเวทนา … ในสัญญา … ในสังขาร … ในวิญญาณ. เมื่อเป็นผู้อยู่มากด้วย ความเบื่อหน่ายในรูป … ในเวทนา … ในสัญญา … ในสังขาร … ในวิญญาณย่อมกำหนดรู้ซึ่งรูป … ซึ่งเวทนา … ซึ่งสัญญา … ซึ่งสังขาร …ซึ่งวิญญาณเมื่อกำหนดรู้อยู่ซึ่งรูป … ซึ่งเวทนา … ซึ่งสัญญา … ซึ่งสังขาร … ซึ่งวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นไป จากรูป … จากเวทนา … จากสัญญา … จากสังขาร … จากวิญญาณ และย่อมหลุดพ้นไปจากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะ เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปได้จากทุกข์. (ในสูตรอื่น ทรงตรัสว่าการเป็นผู้อยู่มาก ด้วยพิจารณา เห็นความ ไม่เที่ยง, เห็นความเป็นทุกข์, เห็นความเป็นอนัตตาในขันธ์ทั้ง ๕ ก็จัดเป็นธรรมอันสมควร แก่กุลบุตร ผู้บวชด้วยศรัทธา -บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๑๙-๒๒๐/๓๔๓-๓๔๕.)



183 เข้าใจนิวรณ์ ๕
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๗๒/๕๑.

ภิกษุทั้งหลาย. นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้
ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง.๕ ประการเป็นอย่างไร ๕ อย่าง คือ
(๑) นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ
(๒) นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ พยาบาท
(๓) นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ ถีนมิทธะ
(๔) นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจะ
(๕) นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา

ภิกษุทั้งหลาย.นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการเหล่านี้แล ครอบงำ.จิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุนั้นไม่ละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ถอยกำลังแล้ว จักรู้จักประโยชน์ของตน ประโยชน์ของผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ ที่สามารถกระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยปัญญาที่ไม่มีกำลัง

ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลง จากภูเขาไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดพาสิ่งที่จะพัดไปได้ มีบุรุษมาเปิดช่องทั้งหลายที่เขาขุดขึ้น ด้วยเครื่องไถทั้งสองฝั่งแม่น้ำนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสน้ำในท่ามกลางแห่งแม่น้ำนั้น ก็ซัดส่าย ไหลผิดทาง ไม่พึงไหลไปสู่ที่ไกล ไม่มีกระแสเชี่ยว ไม่พัดพาสิ่งที่จะพัดไปได้ ฉันใดภิกษุนั้น ก็ฉันนั้น เหมือนกัน

เมื่อไม่ละนิวรณ์ เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว จักรู้ ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ ที่สามารถกระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยปัญญาอันไม่มีกำลัง ทุรพล ข้อนั้นไม่ เป็นฐานะที่จะมีได้ (ต่อไปนี้ ได้ตรัสโดยนัยตรงข้าม คือ ภิกษุละนิวรณ์แล้ว ทำญาณวิเศษให้แจ้ง ได้ด้วยปัญญา อันมีกำลังเหมือนแม่น้ำที่เขาอุดรูรั่วทั้งสองฝั่งเสียแล้ว มีกระแสเชี่ยวแรงมากฉะนั้น)


184 อาหารของนิวรณ์ ๕
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๙๔-๙๕,๑๔๖-๑๔๗/๓๕๗-๓๖๓,๕๓๕-๕๓๙.

ภิกษุทั้งหลาย.กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ ๕ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ ยิ่งขึ้น.ภิกษุทั้งหลาย. ศุภนิมิต (อารมณ์อันน่าพอใจ) มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการ (การไม่ใช้ปัญญา พิจารณา) ในศุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิด แล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ ยิ่งขึ้น. ภิกษุทั้งหลาย.ปฏิฆนิมิต (อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ) มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการ ในปฏิฆนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ ยิ่งขึ้น. ภิกษุทั้งหลาย.ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ ความเมาอาหาร ความที่ใจ หดหู่ มีอยู่ การกระทำให้ มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในสิ่งเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้น .ภิกษุทั้งหลาย.ความไม่สงบใจ มีอยู่ การกระทำให้มาก ซึ่งอโยนิโส มนสิการในความ ไม่สงบใจนั้น นี้เป็นอาหาร ให้ อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ ยิ่งขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพ บูลย์ ยิ่งขึ้น. ภิกษุทั้งหลาย.ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา มีอยู่ การกระทำให้มาก ซึ่งอโยนิโส มนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ ยิ่งขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย.กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหารไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉัน ใด นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรง อยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย. ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้น.ภิกษุทั้งหลาย. อศุภนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในอศุภนิมิตนั้น นี้ไม่เป็นอาหาร ให้กาม ฉันทะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลาย.เจโตวิมุตติ มีอยู่ การกระทำ.ให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในเจโตวิมุตตินั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้ พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ ยิ่งขึ้น.ภิกษุทั้งหลาย.ความริเริ่ม ความพยายาม ความบากบั่น มีอยู่ การกระทำให้มาก ซึ่งโยนิโส มนสิการในสิ่งเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญ ไพบูลย์ยิ่งขึ้น. ภิกษุทั้งหลาย.ความสงบแห่งใจ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง โยนิโสมนสิการ ในความ สงบแห่งใจนั้น นี้ไม่ เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ ยิ่งขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย. ก็อะไรเล่าไม่เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ ยิ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลาย. ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศลที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและ ประณีต ที่เป็น ส่วนข้างดำ และ ข้างขาว มีอยู่ การกระทำให้มาก ซึ่งโยนิโสมนสิการ ในธรรมเหล่านั้นนี้ไม่เป็น อาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.



185 อาหารของอวิชชา
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๐/๖๑.

ภิกษุทั้งหลาย. เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏก่อนแต่นี้อวิชชาไม่ได้มี อวิชชาพึ่งมีในภายหลัง เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชาย่อมปรากฏเพราะมีข้อนี้เป็นปัจจัย.

ภิกษุทั้งหลาย.เราย่อมกล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา ควรจะกล่าวว่า นิวรณ์ ๕..

แม้นิวรณ์ ๕.เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓.

แม้ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์..

แม้การไม่สำ.รวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า ความไม่มีสติสัมปชัญญะ..

แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย..

แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ควรกล่าวว่า ความไม่มีศรัทธา.

แม้ความไม่มีศรัทธา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธาควรกล่าวว่า การไม่ฟังสัทธรรม..

แม้การไม่ฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรมควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ.

ภิกษุทั้งหลาย.ด้วยประการดังนี้ การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์
ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์
ย่อมยังการทำไว้ในใจ โดยไม่แยบ คายให้บริบูรณ์การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์

ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์ นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขาเมื่อฝนตกหนักๆอยู่ น้ำนั้นไหลไป ตามที่ลุ่ม
ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็ม
ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็มย่อม ยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็ม
ย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็ม
ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม
ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม
มหาสมุทรสาครนั้น มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย.การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์
ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์ ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์
ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์ นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.


186 อาหารของวิชชาและวิมุตติ
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๒/๖๑.


ภิกษุทั้งหลาย.เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗..

แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗.ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔

..แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร  มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓..

แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของสุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์..

แม้การสำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ..

แม้สติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย..

แม้การทำ.ไว้ในใจโดยแยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า ศรัทธา..

แม้ศรัทธา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธาควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม..

แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบสัปบุรุษ

ภิกษุทั้งหลาย.ด้วยประการดังนี้
การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์
ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์
การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
วิชชา และ วิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขาเมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหล ไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธาร และห้วยให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนอง ให้เต็ม หนองที่เต็มย่อม ยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยัง แม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็มมหาสมุทรสาครนั้นมีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย. การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์ ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติ สัมปชัญญะให้บริบูรณ์

สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยัง โพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตติ นี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน


187 อาหารของภวตัณหา
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๔/๖๒.

ภิกษุทั้งหลาย. เงื่อนต้นแห่งภวตัณหาย่อมไม่ปรากฏก่อนแต่นี้ภวตัณหาไม่ได้มี ภวตัณหาพึ่งมีในภายหลัง เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ภวตัณหาย่อมปรากฏ เพราะมีข้อนี้เป็นปัจจัย

ภิกษุทั้งหลาย.เราย่อมกล่าวภวตัณหาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของภวตัณหา ควรกล่าวว่า อวิชชา

แม้อวิชชาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา ควรกล่าวว่า นิวรณ์ ๕..

แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓
แม้ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์..

แม้การไม่สำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการไม่สำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า ความไม่มีสติสัมปชัญญะ..

แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย..

แม้การทำ.ไว้ในใจโดยไม่แยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ควรกล่าวว่า ความไม่มีศรัทธา..

แม้ความไม่มีศรัทธา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธาควรกล่าวว่า การไม่ฟังสัทธรรม..

แม้การไม่ฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การไม่คบสัตบุรุษ.

ภิกษุทั้งหลาย.ด้วยประการดังนี้ การไม่คบสัตบุรุษที่บริบูรณ์
ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์
ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์ ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์
ย่อมยังการทำไว้ในใจ โดยไม่แยบ คายให้บริบูรณ์การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์
ย่อมยังทุจริต ๓ ให้ บริบูรณ์ ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์ นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์อวิชชาที่บริบูรณ์
ย่อมยังภวตัณหาให้บริบูรณ์ภวตัณหานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไป ตามที่ลุ่มย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วย ที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็มย่อมยังบึง ให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็มย่อมยังแม่น้ำใหญ่ ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็มย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทรสาครนั้นมีอาหารอย่างนี้ และเต็ม เปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย. การไม่คบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์
ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์

การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์
ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์ อวิชชาที่บริบูรณ์
ย่อมยังภวตัณหา ให้บริบูรณ์ภวตัณหานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.