เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  05 of 5    
  ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา ที่มา : http://watnapp.com/book  
  หน้า    
  188 ที่เกิดแห่งอุปธิ 479  
  189 วิธีแก้ความง่วง 489  
  190 เครื่องกั้นจิตจากกามคุณในอดีต 491  
  191 วิธีกำจัดอกุศลวิตก ๕ ประการ 493  
  192 เมื่อตรึกถึงอารมณ์ใดมาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้น 500  
  193 วิธีแก้ความหดหู่ และความฟุ้งซ่านแห่งจิต 508  
  194 เหตุให้สมาธิเคลื่อน 512  
  195 การทำสมาธิมีเคล็ดลับ เหมือนโคปีนภูเขาที่ลาดชัน 521  
  196 ประโยชน์ของการระลึกถึง สิ่งที่ตนเองเลื่อมใส 521  
  197 ข้อควรระวัง ในการเจริญสติปัฏฐานสี่ 528  
  198 ภิกษุอาชาไนย-ภิกษุกระจอก 833  
  199 ลักษณะของการอยู่อย่างมีตัณหาเป็นเพื่อน 537  
  200 ท่อนไม้ที่ลอยออกไปได้ถึงทะเล 540  
  201 เครื่องกีดขวางการละสัญโญชน์ 543  
  202 ไม่มีผู้อยาก ไม่มีผู้ยึดมั่น 454  
  วิธีวัดความก้าวหน้าของการปฏิบัติ 551  
  203 ความสามารถในการทิ้งอารมณ์ได้เร็ว 552  
  204 ความสามารถในการละ 557  
  205 แว่นส่องความเป็นพระโสดาบัน 569  
  206 ธรรม ๗ ประการของผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล 571  
  207 ฐานะที่เป็นไปไม่ได้ของโสดาบัน (นัยที่ ๑) 576  
  208 ฐานะที่เป็นไปไม่ได้ของโสดาบัน (นัยที่ ๒) 577  
  209 ฐานะที่เป็นไปไม่ได้ของโสดาบัน (นัยที่ ๓) 579  
  210 ฐานะที่เป็นไปไม่ได้ของโสดาบัน (นัยที่ ๔) 580  
  211 ความหมายของคำว่า เสขะ 582  
  212 ผู้เป็นเสขะ-อเสขะ 583  
  213 เหตุให้เป็นคนดุร้าย หรือคนสงบเสงี่ยม 586  
  214 ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ 588  
  ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ความเร็วในการบรรลุธรรม 595  
  215 ปฏิปทาการบรรลุมรรคผล ๔ แบบ 596  
        แบบปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า 596  
        แบบปฏิบัติลำบาก รู็ได้เร็ว 597  
        แบบปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า 598  
        แบบปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว 599  
  216 อินทรีย์ ๖ 600  
  217 อินทรีย์ ๕ (นัยที่ ๑) 601  
  218 อินทรีย์ ๕ (นัยที่ ๒) 603  
  219 อินทรีย์ ๕ (นัยที่ ๓) 606  
  220 อินทรีย์ ๕ กับ พละ ๕ 608  
  221 ปัจจัยต่อความลดหลั่นของความเป็นอริยบุคคล (นัยที่ ๑) 610  
  222 ปัจจัยต่อความลดหลั่นของความเป็นอริยบุคคล (นัยที่ ๒) 614  
  223 สิกขา ๓ 617  
  224 ลักษณะของผู้เป็นธรรมกถึก 619  
  225 การวางจิตเมื่อถูกเบียดเบียนทางวาจา 621  
  จบ ปฏิบัติ สมถะ วิปัสสนา    
 

 

   
 
 






188 ที่เกิดแห่งอุปธิ

(กิเลส และกรรม จัดเป็นกิเลสชนิดหยาบที่สุดในกิเลส ๓ ระดับ)
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๓๐-๑๓๕/๒๕๖-๒๖๒.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถึงเวลาที่จะทรงแสดงเรื่องนี้แล้ว ข้าแต่พระสุคต ถึงเวลาที่จะทรงแสดง เรื่องนี้แล้ว พระองค์ตรัสการพิจารณาปัจจัยภายในข้อใด. ภิกษุทั้งหลายฟังการพิจารณาปัจจัย ภายในข้อนั้น จากพระองค์ แล้ว จักทรงจำไว้ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาซึ่งปัจจัย ภายในว่า ชรา และมรณะนี้ใด เป็นทุกข์มิใช่น้อยนานา ประการเกิดขึ้นในโลก ชราและมรณะที่เป็นทุกข์นี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร เป็น ที่ตั้งขึ้น มีอะไร เป็น กำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมีชราและมรณะจึงมี เมื่อเธอพิจารณา อยู่ ย่อมรู้ได้ อย่างนี้ว่า ชราและมรณะนี้ใด เป็นทุกข์มิใช่น้อยนานา ประการเกิดขึ้นในโลก ชราและมรณะที่ เป็นทุกข์นี้ มีอุปธิ เป็นเหตุ มีอุปธิเป็นกำเนิด มีอุปธิเป็นแดนเกิด

เมื่ออุปธิมี ชราและมรณะจึงมี เมื่ออุปธิไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มี เธอย่อมรู้ชัดซึ่งชราและมรณะ ย่อมรู้ชัดซึ่ง ความ เกิดแห่งชราและมรณะ ย่อมรู้ชัดซึ่งความดับแห่งชราและมรณะ และย่อมรู้ชัด ซึ่งข้อปฏิบัติอันสมควร ให้ถึง ความ ดับแห่งชราและมรณะ และเธอผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ ประพฤติตามธรรม

ภิกษุทั้งหลาย. เราเรียกภิกษุนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อความ ดับ ไปแห่งชราและมรณะ โดย ชอบทุกประการ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาซึ่งปัจจัยภายในว่า ก็อุปธิอันนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี อุปธิจึงมี เมื่ออะไรไม่มี อุปธิจึงไม่มี เมื่อเธอพิจารณา อยู่ย่อม รู้ได้อย่างนี้ว่า อุปธิมี ตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นที่ตั้งขึ้น มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด เมื่อตัณหามี อุปธิจึงมี เมื่อตัณหาไม่มีอุปธิก็ไม่มี เธอ ย่อมทราบชัดซึ่งอุปธิ ย่อมทราบชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งอุปธิ ย่อม ทราบชัด ซึ่งความดับแห่งอุปธิ ย่อมทราบชัดซึ่งข้อปฏิบัติอันสมควร ให้ถึงความดับแห่งอุปธิ และเธอผู้ ปฏิบัติอย่างนั้น ชื่อว่า เป็นผู้ประพฤติตามธรรม

ภิกษุทั้งหลายเราเรียกภิกษุนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อความดับไปแห่งอุปธิโดยชอบ ทุกประการ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาซึ่งปัจจัยภายในว่า ก็ตัณหานี้ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ในที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน เมื่อเธอพิจารณา อยู่ย่อมรู้ อย่างนี้ว่า ที่ใดแล เป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น ก็อะไรเล่า เป็นที่รักที่ยินดีในโลก

ตา … รูปทั้งหลาย จักขุวิญญาณ ..จักขุสัมผัส จักขุสัมผัสสชาเวทนา .. รูปสัญญา .. รูปสัญ เจตนา
รูปตัณหา .. รูปวิตก .. รูปวิจาร ...(แต่ละอย่างทุกอย่าง)เป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อ เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น

หู ... เสียงทั้งหลาย ... โสตวิญญาณ ... โสตสัมผัส .. โสตสัมผัสสชาเวทนา .. สัททสัญญา .. สัททสัญเจตนา.. สัททตัณหา .. สัททวิตก .. สัททวิจาร .. (แต่ละอย่างทุกอย่าง) เป็นที่รัก ที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น

จมูก ... กลิ่นทั้งหลาย ... ฆานวิญญาณ .. ฆานสัมผัส .. ฆานสัมผัสสชาเวทนา .. คันธ สัญญา .. คันธสัญเจตนา ...คันธตัณหา ... คันธวิตก ... คันธวิจาร ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) เป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น

ลิ้น ... รสทั้งหลาย ... ชิวหาวิญญาณ .. ชิวหาสัมผัส ... ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา .. รสสัญญา .. รสสัญเจตนา .. รสตัณหา .. รสวิตก .. รสวิจาร.. (แต่ละอย่างทุกอย่าง) เป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น

กาย ... โผฏฐัพพะทั้งหลาย ... กายวิญญาณ ... กายสัมผัส .. กายสัมผัสสชาเวทนา … โผฏฐัพพสัญญา .. โผฏฐัพพสัญเจตนา .. โผฏฐัพพตัณหา .. โผฏฐัพพวิตก ... โผฏฐัพพวิจาร .. (แต่ละอย่างทุกอย่าง)เป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น

ใจ ... ธรรมทั้งหลาย... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... มโนสัมผัสสชาเวทนา ... ธัมม สัญญา... ธัมมสัญเจตนา ... ธัมมตัณหา ... ธัมมวิตก ... ธัมมวิจาร ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) เป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อ เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น

ภิกษุทั้งหลาย. สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ได้เห็นอารมณ์อันเป็นที่รักที่ ยินดีใน โลกนั้น โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน โดยความเป็น ของไม่มีโรค โดย ความเป็น ของ เกษมสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำตัณหาให้เจริญขึ้น

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ทำตัณหาให้เจริญขึ้นแล้วสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำอุปธิให้เจริญ ขึ้น

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ทำอุปธิให้เจริญขึ้นแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำ ทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำทุกข์ให้เจริญขึ้นแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่าไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสะ เรากล่าวว่า เขาไม่พ้นแล้วจากทุกข์ได้เลย

ภิกษุทั้งหลาย.สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักเห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก ที่ยินดี ในโลกนั้น โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน โดยความเป็น ของไม่มีโรค โดยความเป็น ของเกษมสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักทำตัณหาให้เจริญ ขึ้น

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักทำตัณหาให้เจริญขึ้นสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจัก ทำอุปธิให้เจริญ ขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักทำอุปธิให้เจริญขึ้นสมณะ หรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่าจักทำทุกข์ให้ เจริญ ขึ้นสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักทำทุกข์ให้เจริญขึ้น. สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักไม่พ้น ไป จากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัส อุปายาสะ เรากล่าวว่า เขาจักไม่พ้นไปจากทุกข์ได้เลย

ภิกษุทั้งหลาย.สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบันนี้ เห็นอารมณ์อันเป็นที่รักที่ยินดี ในโลกนั้น โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน โดยความเป็นของ ไม่มีโรค โดยความเป็น ของเกษม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมทำตัณหา ให้เจริญ ขึ้นสมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใด ทำ ตัณหา ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะ หรือพราหมณ์ เหล่าใด ทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะ เรากล่าวว่า เขาย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ได้เลย ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือน ถ้วยน้ำสำริดที่มีเครื่องดื่มใส่อยู่ อันถึงพร้อมด้วยสี กลิ่นและรส แต่ว่าเจือด้วย ยาพิษ ทันใดนั้น มีบุรุษเดินฝ่าความร้อนอบอ้าว เหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้ามา ระหายน้ำ คนทั้งหลาย จึงได้พูด กะบุรุษ ผู้นั้นว่า ท่านผู้เจริญถ้วยน้ำสำริดที่มีเครื่องดื่มใส่อยู่นี้ ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส สำหรับท่าน แต่ว่าเจือด้วยยาพิษ ถ้าท่านประสงค์ก็จงดื่มเถิด เพราะว่าขณะที่ท่านดื่ม ก็จักซาบซ่านด้วยสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง แต่ครั้นดื่ม เข้าไปแล้ว ตัวท่านจะถึงความตาย หรือถึงทุกข์แทบตาย ด้วยเพราะการดื่มนั้น ดังนี้ บุรุษนั้นผลุนผลัน ไม่พิจารณา รีบดื่มเข้าไป ไม่บ้วนทิ้งเลย เขาก็พึงถึงความตาย หรือถึงทุกข์แทบตาย ด้วยเพราะ การดื่มนั้นทันที ฉันนั้น ก็เหมือนกัน

ภิกษุทั้งหลาย.สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ได้เห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก ที่ยินดีในโลก นั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นสภาพ มิใช่ ตัวตน โดยความเป็นโรค โดย ความ เป็น ภัยแล้วสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละตัณหา ได้แล้ว

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละอุปธิเสียได้ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใด ละอุปธิได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละทุกข์เสียได้ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด ละทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าพ้นแล้วจาก ชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสะ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น พ้นแล้วจากทุกข์ได้

ภิกษุทั้งหลาย.อนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักเห็นอารมณ์อันเป็น ที่รัก ที่ยินดี ในโลกนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นสภาพ มิใช่ตัวตน โดยความเป็นโรค โดยความเป็นภัยสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละตัณหา ได้แล้ว

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ละตัณหาได้แล้วสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละอุปธิเสียได้ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใด ละอุปธิได้แล้ว  สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่าละทุกข์เสียได้

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ละทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าพ้นแล้วจาก ชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะเรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น พ้นแล้วจากทุกข์ได้

ภิกษุทั้งหลาย.อนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล ย่อมเห็นอารมณ์อัน เป็นที่รัก ที่ยินดีในโลกนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นสภาพ มิใช่ตัวตน โดยความ เป็นโรค โดยความเป็นภัย สมณะหรือพราหมณเหล่านั้น ย่อมละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ย่อมละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมละ อุปธิได้

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ย่อมละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมละทุกข์ได้ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดย่อมละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมพ้นจาก ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่า นั้น ย่อมพ้นจากทุกข์ได้ ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนถ้วยน้ำสำริดที่มีเครื่องดื่มใส่อยู่ อันถึงพร้อมด้วยสี กลิ่นและรส แต่ว่าเจือด้วย ยาพิษ ทันใดนั้น มีบุรุษเดินฝ่าความร้อนอบอ้าว เหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้ามา ระหาย น้ำ คนทั้งหลายจึงได้พูด กะบุรุษผู้นั้นว่า

ท่านผู้เจริญ. ถ้วยน้ำสำริดที่มีเครื่องดื่มใส่อยู่นี้ ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส สำหรับท่าน แต่ว่า เจือด้วยยาพิษ ถ้าท่านประสงค์ก็จงดื่มเถิด เพราะว่าขณะที่ท่านดื่ม ก็จักซาบซ่านด้วยสีบ้าง กลิ่นบ้างรสบ้าง แต่ครั้นดื่มเข้า ไปแล้ว ตัวท่านจะถึงความตาย หรือถึงทุกข์แทบตาย ด้วยเพราะการดื่มนั้น

ภิกษุทั้งหลาย.ลำ.ดับนั้น บุรุษนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า ครั้นเราดื่มแล้ว เราอาจจะบรรเทาได้ด้วย น้ำเย็น ด้วยเนย ใส ด้วยน้ำ ข้าวสัตตุเค็ม หรือด้วยน้ำ ชื่อโลณโสจิรกะ แต่เราจะไม่ดื่มเครื่องดื่ม นั้นเลย เพราะไม่เป็น ประโยชน์ มีแต่ ทุกข์แก่เราช้านาน เขาพิจารณาดูถ้วยน้ำสำริดนั้นแล้ว ไม่พึงดื่ม เขาทิ้งเสีย เขาก็ไม่เข้าถึง ความตาย หรือความทุกข์แทบตาย ด้วยเพราะการดื่มนั้น ฉันนั้นก็เหมือนกัน




189 วิธีแก้ความง่วง
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๘๗/๕๘.

โมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ โมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ.อย่างนั้น พระเจ้าข้า

(๑).โมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่ ความง่วงนั้นย่อมครอบงำ เธอได้ เธอพึงทำไว้ในใจซึ่ง สัญญานั้นให้มาก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

(๒) ถ้าเธอยังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตนได้สดับแล้ว ได้เรียนมา แล้ว ด้วยใจ ข้อนี้จะเป็นเหตุ ให้เธอละความง่วงนั้นได้

(๓).ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมาแล้วได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอ ละความง่วงนั้นได้

(๔).ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงยอนช่องหูทั้งสองข้าง เอามือลูบตัว ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละ ความง่วงนั้นได้

(๕) ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตาเหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาว นักษัตรฤกษ์ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้ เธอละความง่วงนั้นได้

(๖) ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงทำในใจถึงอาโลก-สัญญา อธิษฐานทิวาสัญญา ว่ากลางคืน ฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น เธอมีใจอันสงัด ปราศจากเครื่องรัดรึง อบรมจิต ให้มีความสว่างอยู่ ข้อนี้ จะเป็นเหตุให้ เธอละความง่วงนั้นได้

(๗) ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงอธิษฐานจงกรม กำหนดหมายเดินกลับไปกลับมาสำรวม อินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

(๘) ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสำเร็จสีหไสยา คือนอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติ สัมปชัญญะ ทำความ หมายในอันจะลุกขึ้น พอตื่นแล้วพึงรีบลุกขึ้นด้วย ตั้งใจว่าเราจักไม่ ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับ

โมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.


190 เครื่องกั้นจิตจากกามคุณในอดีต
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๒๑/๑๗๓.

ภิกษุทั้งหลาย. ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ มีความรู้สึกเกิดขึ้น ว่า กามคุณห้าที่เป็นอดีต ที่เราเคยสัมผัสมาแล้วแต่ก่อนได้ดับไปแล้ว เพราะความแปรปรวน ก็จริง แต่โดยมากจิต ของเราเมื่อ จะแล่น ก็แล่นไปสู่กาม คุณเป็นอดีตนั้น น้อยนักที่จะแล่นไปสู่ กามคุณ ในปัจจุบัน หรืออนาคต ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย.ความตกลงใจได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ความไม่ประมาทและสติ เป็นสิ่งซึ่งเราผู้ หวัง ประโยชน์แก่ตนเอง พึงกระทำให้เป็นเครื่องป้องกันจิต ในเพราะกามคุณห้าอันเป็นอดีต ที่เราเคย สัมผัสมาและดับไปแล้ว เพราะความแปรปรวน นั้น

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ แม้จิตของพวกเธอทั้งหลาย เมื่อจะแล่น ก็คงแล่นไปใน กามคุณห้าอันเป็นอดีต ที่พวกเธอเคยสัมผัสมาและดับไปแล้วเพราะความแปรปรวน(เหมือนกัน) โดยมาก น้อยนักที่จะแล่นไปสู่ กามคุณในปัจจุบัน หรืออนาคต

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ความไม่ประมาทและสติ จึงเป็นสิ่งที่พวกเธอ ผู้หวัง ประโยชน์ แก่ ตัวเอง พึงกระทำให้ เป็นเครื่องป้องกันจิต ในเพราะเหตุกามคุณห้า อันเป็นอดีต ที่พวกเธอเคย สัมผัสมาและดับไป แล้ว เพราะความแปรปรวนนั้น

191 วิธีกำจัดอกุศลวิตก ๕ ประการ
-บาลี มู. ม. ๑๒/๒๔๑-๒๔๖/๒๕๗-๒๖๒.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้หมั่นประกอบอธิจิต ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร นิมิต ๕ ประการ เป็นอย่างไร

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลาย อันเป็น บาปอกุศล ประกอบด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล เมื่อเธอมนสิการ นิมิตอื่น จากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะ บ้าง อันเธอย่อม ละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาป อกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้น

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนช่างไม้ หรือลูกมือของช่างไม้ผู้ฉลาด ใช้ลิ่มอันเล็ก ตอก โยก ถอน ลิ่ม อันใหญ่ออก แม้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่ออาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลาย อัน เป็นบาปอกุศลประกอบ ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้นอันประกอบด้วยกุศล เมื่อเธอมนสิกา รนิมิตนั้น อันประกอบด้วย กุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล อันประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศล เหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้ง อยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้น

ภิกษุทั้งหลาย.หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตก อันเป็น บาปอกุศล ประกอบ ด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ทีเดียว

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่ เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้ ดังนี้

เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อม ละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาป อกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้น

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่มที่ชอบแต่งตัว รู้สึกอึดอัด ระอา เกลียดชัง ต่อซากงู ซากสุนัข หรือซาก มนุษย์ ซึ่งผูกติดอยู่ที่คอ.(ของตน) แม้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากเมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้ว ยกุศล อยู่ วิตกอันเป็นบาป อกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่ เป็นโทษแม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้ดังนี้ เมื่อเธอ

พิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะ บ้าง อันเธอย่อมละ เสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศล เหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้น

ภิกษุทั้งหลาย.หากว่า เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุนั้นพึงถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจ วิตก เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็น บาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอ ย่อมละ เสียได้ ย่อมถึงความตั้ง อยู่ไม่ได้ เพราะละวิตก อัน เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อม ตั้งอยู่ด้วยดี สงบเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้น

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ไม่ต้องการจะเห็นรูปที่ผ่านมา เขาพึงหลับตาเสีย หรือ เหลียวไปทางอื่นเสีย แม้ฉันใด. ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากเมื่อเธอพิจารณา โทษ ของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอัน เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิด ขึ้นเรื่อยๆ

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุนั้นพึงถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจ วิตก เหล่านั้นอยู่ อันเธอย่อม ละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาป อกุศล เหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วย ดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้น

ภิกษุทั้งหลาย.หากว่าเมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ . ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุนั้นควร มนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขาร ของวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอมนสิการสัณฐาน แห่งวิตกสังขาร ของวิตก เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาป อกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้น

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนบุรุษพึงเดินเร็ว เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะเดินเร็วทำไมหนอ ถ้ากระไร เราพึงค่อยๆ เดิน เขาก็พึงค่อยๆ เดิน เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราค่อยๆเดินไป ทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรยืน เขาพึงยืน เขาพึงมีความ คิดอย่างนี้อีกว่า เราจะยืนทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควร นั่ง เขาพึงนั่ง เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะนั่งทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรนอน เขาพึงลงนอน

ภิกษุทั้งหลาย.ก็บุรุษคนนั้น เปลี่ยนอิริยาบถหยาบๆเสีย พึงสำเร็จอิริยาบถละเอียดๆ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน หากว่าเมื่อเธอมนสิการสัณฐานแห่งวิตก สังขารของ วิตก เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาป อกุศล ประกอบด้วยฉันทะ บ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิด ขึ้นเรื่อยๆ

ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุนั้นพึงถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจ วิตก เหล่านั้นอยู่ อันเธอย่อม ละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาป อกุศลเหล่านั้น ได้ จิตย่อมตั้งอยู่ ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้น

ภิกษุทั้งหลาย.หากว่าเมื่อภิกษุนั้นมนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกแม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอัน เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ. ภิกษุนั้น พึงกัดฟัน ด้วยฟัน ดุนเพดาน ด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับ จิตด้วยจิต เมื่อเธอกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพ ดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ ด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาป อกุศลเหล่านั้น จิตย่อมตั้งอยู่ ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้น

ภิกษุทั้งหลาย. เปรียบเหมือนเหมือนบุรุษผู้มีกำลังมาก จับบุรุษผู้มีกำ.ลังน้อยกว่าไว้ได้แล้ว บีบ กด เค้นที่ศีรษะ คอ หรือ ก้านคอไว้ให้แน่น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากเมื่อเธอ มนสิการ ถึงสัณฐานแห่งวิตกสังขาร ของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดาน ด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตไว้ด้วยจิต เมื่อเธอกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วย ลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิต อยู่ได้ วิตกอันเป็น บาป อกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุนั้นพึงถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจ วิตก เหล่านั้นอยู่ อันเธอย่อม ละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาป อกุศล เหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้น (เมื่อสามารถละอกุศล วิตกจากวิธีใดวิธีหนึ่งข้างต้นได้แล้ว ทรงตรัสสรุปในตอนท้ายว่า)

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ชำนาญในทางเดินของวิตก เธอจักจำนงวิตกใด ก็จัก ตรึก วิตกนั้นได้ จักไม่จำนงวิตก ใด ก็จักไม่ตรึกวิตกนั้นได้ เธอนั้นตัดตัณหาได้แล้ว คลี่คลาย สังโยชน์ ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ ได้แล้ว เพราะละมานะได้ โดยชอบ


192 เมื่อตรึกถึงอารมณ์ใดมาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้น
-บาลี มู. ม. ๑๒/๒๓๒/๒๕๒.

ภิกษุทั้งหลาย.ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ได้คิดอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงแยกวิตกให้ เป็น ๒ ส่วนๆ ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย.เรานั้นจึงแยกกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก นี้ออกเป็นส่วนหนึ่ง และแยก เนกขัมมวิตก อัพยาบาท วิตก และอวิหิงสาวิตก นี้ออกเป็นส่วนที่สอง

ภิกษุทั้งหลาย.เรานั้นไม่ประมาท มีความเพียร เครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ กามวิตกย่อม บังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบ ชัดอย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้วก็แต่ว่ามันย่อมเป็นไป เพื่อ เบียดเบียนตนบ้าง ย่อมเป็นไป เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน และผู้อื่น ทั้งสองบ้างทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้นไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า.มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มัน เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเรา พิจารณา เห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียด เบียนตนและผู้อื่น ทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณา เห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อ นิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความดับ สูญไป.ภิกษุทั้งหลายเรานั้น ละเสีย บรรเทาเสีย ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้น แล้วๆ ได้ทำให้มัน หมดสิ้นไป

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียร เครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ พยาบาท วิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้น ย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า พยาบาทวิตก เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ก็แต่ว่ามัน ย่อม เป็นไปเพื่อเบียดเบียน ตนบ้าง ย่อมเป็นไปเพื่อเบียด เบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมเป็นไป เพื่อเบียด เบียนตน และผู้อื่นทั้งสองบ้าง ทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อ นิพพาน

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ ถึงความดับสูญไป เมื่อเรา พิจารณา เห็นว่า มันเป็นไปเพื่อ เบียดเบียนตนและผู้อื่น ทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณา เห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อ นิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความดับ สูญไป

ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นละเสีย บรรเทาเสีย ซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้วๆ ได้ทำ.ให้มันหมดสิ้นไป

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ วิหิงสา วิตก ย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ก็แต่ว่ามัน เป็นไปเพื่อ เบียดเบียนตนบ้าง เป็นไป เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน ตนและ ผู้อื่นทั้งสองบ้าง ทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้นไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่ามัน เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเรา พิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียด เบียนตนและผู้อื่น ทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณา เห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไป เพื่อ นิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความดับ สูญไป ภิกษุทั้งหลายเรานั้น ละเสีย บรรเทาเสีย ซึ่งวิหิงสาวิตก ที่เกิดขึ้นแล้วๆ ได้ทำให้มันหมดสิ้นไป

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆ. ภิกษุทั้งหลาย. คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงกามวิตกมาก เธอก็ละทิ้ง เนกขัมมวิตกเสีย มากระทำอยู่แต่กามวิตกให้มาก จิตของเธอนั้น ก็น้อมไปเพื่อกามวิตก

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงพยาบาทวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอัพยาบาทวิตกเสีย มากระทำ อยู่แต่พยาบาทวิตก ให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อพยาบาทวิตก

ภิกษุทั้งหลาย.ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก เธอก็ละทิ้ง อวิหิงสาวิตกเสีย มากระทำ อยู่ แต่วิหิงสาวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก

ภิกษุทั้งหลาย.เหมือนในสรทสมัยเดือนท้ายแห่งปี คนเลี้ยงโคต้องคอยระวังโคทั้งหลาย ในที่ คับคั่ง ด้วยข้าวกล้า เขาต้องตี ต้อนโคทั้งหลายจากที่นั้นๆ กั้นไว้ ห้ามไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. ภิกษุทั้งหลาย. คนเลี้ยงโค มองเห็น การฆ่า การถูกจำการ เสียทรัพย์ การถูกติเตียน เพราะโค ทั้งหลาย เป็นต้นเหตุ แม้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แลเห็นโทษ ความเลวทราม ความ เศร้าหมองของ อกุศลธรรม ทั้งหลาย และเห็น อานิสงส์ ในการออกจากกาม อันเป็นฝ่ายแห่งความผ่องแผ้วของ กุศลธรรมทั้ง หลายแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย. เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียร เครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ เนกขัมม วิตก ย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า เนกขัมมวิตกนี้ เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ก็แต่ว่าเนก ขัมมวิตก นั้น ไม่เป็นไปเพื่อ เบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัย อันจะ บังเกิด แต่เนกขัมมวิตก นั้นได้เลย. ภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึง เนกขัมม วิตกนั้น อยู่ตลอด ทั้งกลางคืนและกลางวัน ก็ดี เราก็ยังมอง ไม่เห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจาก เนกขัมมวิตกนั้นได้เลย

ภิกษุทั้งหลาย หากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืน และกลางวันก็ดี เราก็ยังไม่ มองเห็นภัย อันจะบัง เกิดขึ้นจาก เนกขัมมวิตกนั้นได้เลย ก็แต่ว่าเมื่อเราตรึกตรอง อยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ

ภิกษุ ทั้งหลาย เรานั้นแลดำ.รงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร เพราะ ปรารถนาไว้ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลย ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียร เครื่องเผากิเลส ส่งตนไปแล้วอยู่อย่างนี้ อัพยาบาท วิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า อัพยาบาทวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ก็แต่ว่า อัพยาบาทวิตกนั้นไม่ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไป เพื่อเบียด เบียนทั้งสองฝ่าย เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อ นิพพาน

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงอัพยาบาทวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัย
อันจะบังเกิดแต่อัพยาบาท วิตกนั้นได้เลย

ภิกษุทั้งหลาย.ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงอัพยาบาทวิตกนั้น อยู่ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันก็ดี เราก็ ยังมองไม่เห็นภัย อันจะบังเกิดขึ้นจากอัพยาบาทวิตกนั้นได้เลย

ภิกษุทั้งหลาย.หากเราจะตรึกตรอง ถึงอัพยาบาทวิตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืน และกลางวันก็ดี เราก็ยังไม่มอง เห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจาก อัพยาบาทวิตกนั้นได้เลย ก็แต่ว่าเมื่อเราตรึกตรอง อยู่นานเกินไป ร่างกายก็ เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกาย เหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธ

ภิกษุทั้งหลาย.เรานั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร เพราะปรารถนาไว้ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลย ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียร เครื่องเผากิเลส ส่งตนไปแล้วอยู่อย่างนี้ อวิหิงสา วิตก ย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า อวิหิงสาวิตกนี้ เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ก็แต่ว่า อวิหิง สาวิตกนั้นไม่เป็นไป เพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไป เพื่อเบียดเบียน ทั้งสองฝ่าย เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี เราก็ยังไม่มองเห็นภัย อันจะ เกิดขึ้นจาก อวิหิงสาวิตก นั้นได้เลย ภิกษุทั้งหลาย. ถึงหากเราจะตรึกตรอง ถึงอวิหิงสา วิตกนั้นอยู่ ตลอดวันก็ดี เราก็ยังไม่มอง เห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจาก อวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย

ภิกษุทั้งหลาย. หากเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันก็ดี เราก็ยัง มองไม่เห็นภัย อันจะเกิด ขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย ก็แต่ว่า เมื่อเราตรึกตรอง อยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย.เรานั้นแลดำรงจิตไว้ในภายในทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร เพราะ หมายในใจว่าจิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลย ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆ มาก ภิกษุทั้งหลาย. คือถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็จะละกามวิตกเสียได้ ทำเนกขัมมวิตก อย่างเดียว ให้มาก จิตของเธอก็จะน้อมไป เพื่อเนก ขัมมวิตก

ภิกษุทั้งหลาย. ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอัพยาบาทวิตกมาก เธอก็จะละพยาบาทวิตกเสียได้ ทำอัพยาบาท วิตก อย่างเดียว ให้มาก จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่ออัพยาบาทวิตก

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอวิหิงสาวิตกมาก เธอก็จะละวิหิงสาวิตกเสียได้ ทำ อวิหิงสาวิตก อย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็น้อมไปเพื่ออวิหิงสาวิตก

ภิกษุทั้งหลาย.เหมือนในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน คนเลี้ยงโคจะต้องรักษาโคทั้งหลาย ในที่ใกล้ บ้าน ในทุก ด้าน เมื่อเข้าไปสู่ โคนต้นไม้ หรือไปสู่ที่แจ้ง พึงทำแต่ความกำหนดว่า นั้นฝูงโค (ของเรา) ดังนี้ ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ถึงภิกษุก็เพียงแต่ทำ ความระลึกว่า นั่นธรรมทั้งหลาย

(คือกุศลวิตก) ดังนี้.


193 วิธีแก้ความหดหู่ และความฟุ้งซ่านแห่งจิต
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๕๖-๑๕๘/๕๖๙-๕๗๒.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญ สมาธิ สัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ยากที่จะให้ ตั้งขึ้นได้ ด้วยธรรม เหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษ ต้องการจะก่อไฟ ดวงน้อยให้ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่น ลงในไฟนั้น บุรุษนั้นจะสามารถก่อไฟ ดวงน้อย ให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า

ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย.สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิ สัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญอุเบกขา-สัมโพชฌงค์  ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่ นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้น ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น

ภิกษุทั้งหลาย. สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาล เพื่อเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่าย ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะ ก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลง เขาจึงใส่ หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า และไม่โรยฝุ่น ในไฟนั้น บุรุษนั้นสามารถจะก่อไฟ ดวงน้อย ให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอได้ พระเจ้าข้า

ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย.สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญธัมมวิจย สัมโพชฌงค์ เป็นกาล เพื่อเจริญวิริย สัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะจิต หดหู่ จิตที่ หดหู่นั้นให้ตั้ง ขึ้นได้ง่ายด้วยธรรม เหล่านั้น

ภิกษุทั้งหลาย.ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาล เพื่อ เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตฟุ้ง ซ่าน จิตที่ ฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้ สงบได้ด้วยธรรม เหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะ ดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า และไม่โรยฝุ่น ลงไปในกอง ไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้น สามารถจะดับไฟกองใหญ่ได้หรือหนอไม่ได้เลย พระเจ้าข้าฉันนั้นเหมือนกัน

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาล เพื่อ เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิต ฟุ้งซ่าน จิตที่ ฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้ สงบได้ด้วยธรรม เหล่านั้น. ภิกษุทั้งหลาย.ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น เป็นกาล เพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิ สัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการ จะดับ ไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่ หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ. และโรยฝุ่นลงในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นจะ สามารถดับกองไฟ กองใหญ่นั้น ได้หรือหนอ ได้ พระเจ้าข้าฉันนั้นเหมือนกัน

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาล เพื่อเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขา-สัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบ ได้ง่ายด้วยธรรม เหล่านั้น

ภิกษุทั้งหลาย.เรากล่าว “สติ” แลว่า มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง


194 เหตุให้สมาธิเคลื่อน
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๓๐๒-๓๑๐/๔๕๒-๔๖๖.

อนุรุทธ.นิมิตนั้นแหละ พวกเธอพึงแทงตลอดเถิด แม้เราเมื่อครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็น โพธิสัตว์อยู่ ก็ย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูปเหมือนกันแต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่าง และการ เห็นรูป อันนั้นของเราย่อม หายไปได้ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้แสง สว่างและ การเห็นรูปของเราหายไปได้

อนุรุทธ.เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า วิจิกิจฉา(ความลังเล) เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะวิจิกิจฉาเป็น เหตุ สมาธิ ของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจัก ทำโดย ประการ ที่ไม่ให้วิจิกิจฉา เกิดขึ้นแก่เราได้อีก

อนุรุทธ.เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่าง และการ เห็นรูป แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้นของเรา ย่อมหายไปได้

เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูป ของเราหาย ไปได้

อนุรุทธ.เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า อมนสิการ(การไม่ใส่ใจ) เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะอมนสิการ เป็นเหตุ สมาธิของเราจึง เคลื่อนเมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ ไม่เกิด วิจิกิจฉา และ อมนสิการ ขึ้นแก่ เราได้อีก

อนุรุทธ.เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท... อนุรุทธ.เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า ถีนมิทธะ (ความง่วงงุน) เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ก็ถีนมิทธะ เป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อนเมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็นรูป จึงหายไปได้ เราจัก ทำโดยประการ ที่ไม่ให้ วิจิกิจฉา อมนสิการ และถีนมิทธะ เกิดขึ้นแก่เราได้อีก

อนุรุทธ. เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า ความหวาดเสียว (ฉัมภิตัตตะ)เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความหวาด เสียว เป็นเหตุ สมาธิของ เราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึง หายไปได้

อนุรุทธ.เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เกิดมีคนปองร้ายเขาขึ้นที่สองข้างทาง เขาจึงเกิดความ หวาดเสียว เพราะถูกคน ปองร้ายนั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น เราจักทำ โดยประการที่ไม่ให้วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ และความหวาดเสียวเกิดขึ้น แก่เรา ได้อีก

อนุรุทธ.เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ความตื่นเต้น(อุพพิละ) เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความตื่นเต้น เป็นเหตุ สมาธิของเรา จึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้

อนุรุทธ เปรียบเหมือนบุรุษแสวงหาแหล่งขุมทรัพย์ แห่งหนึ่ง พบแหล่งขุมทรัพย์เข้า ๕ แห่ง ในคราวเดียว กัน เขาจึงเกิดความตื่นเต้น เพราะพบแหล่งขุมทรัพย์ ๕ แห่งนั้นเป็น เหตุ ฉะนั้น เราจักทำโดยประการ ที่ไม่ให้วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว และความตื่นเต้น เกิดขึ้น แก่เรา ได้อีก

อนุรุทธ.เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ความชั่วหยาบ(ทุฏฐุลละ)  เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความ ชั่วหยาบ เป็นเหตุ สมาธิของเรา จึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็นรูป จึงหายไปได้ เราจัก ทำโดยประการ ที่ไม่ให้วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น และความชั่ว หยาบเกิดขึ้นแก่เราได้อีก

อนุรุทธ.เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไป(อัจจารัทธวิริยะ)เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความเพียร ที่ปรารภ เกินไปเป็นเหตุ.สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็นรูป จึงหายไปได้

อนุรุทธ.เปรียบเหมือนบุรุษเอามือทั้ง ๒ จับนกคุ่มไว้แน่น นกคุ่มนั้นต้องถึงความตาย ในมือนั้นเอง ฉะนั้น เราจักทำโดย ประการที่ไม่ให้วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความ ตื่นเต้น ความชั่วหยาบ และความ เพียรที่ปรารภเกินไป เกิดขึ้นแก่เราได้อีก

อนุรุทธ.เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป (อติลีนวิริยะ) เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความเพียรที่ ย่อ หย่อนเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็นรูปจึงหาย ไปได้

อนุรุทธ.เปรียบเหมือนบุรุษจับนกคุ่มหลวมๆ นกคุ่มนั้นก็จะบินไปจากมือเขาได้ ฉะนั้นเราจักทำ โดยประการที่ไม่ให้วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความ เพียรที่ปรารภเกินไป และความเพียรที่ย่อหย่อน เกินไปเกิดขึ้นแก่เราได้อีก

อนุรุทธ.เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า ความกระสันอยาก(อภิชัปปา) เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความ กระสัน อยากเป็นเหตุสมาธิ ของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็นรูป จึง หายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความ ชั่วหยาบ ความเพียร ที่ปรารภเกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป และความ กระสันอยาก เกิดขึ้น แก่เราได้อีก

อนุรุทธ.เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า ความใส่ใจไปในสิ่งต่างๆ (นานัตตสัญญา) เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความใส่ใจไปในสิ่ง ต่างๆ เป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสง สว่างและ การเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำโดยประการ ที่ไม่ให้วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป ความเพียรที่ ย่อหย่อน เกินไป ความกระสัน อยาก และความใส่ใจไปในสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นแก่เราได้อีก

อนุรุทธ.เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า ความเพ่งต่อรูปทั้งหลายจนเกินไป (รูปานัง อตินิชฌายิตัตตะ)  เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะ ลักษณะที่ความเพ่งต่อรูปทั้งหลายจนเกินไป สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่าง และการเห็นรูปจึง หายไปได้ เราจักทำโดยประการ ที่ไม่ให้ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ ปรารภเกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ความกระสันอยาก ความใส่ใจ ไปในสิ่งต่างๆและ ความเพ่งต่อรูป ทั้งหลายจนเกินไปเกิดขึ้นแก่เราได้อีก

อนุรุทธ.เรานั้นแลรู้ว่า วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่ว หยาบ ความเพียรที่ปรารภ เกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ความกระสันอยาก ความใส่ใจ ไปในสิ่งต่างๆ และความเพ่งต่อรูป ทั้งหลายจนเกินไป เป็นอุปกิเลส จึงละวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป ความเพียร ที่ย่อหย่อนเกินไป ความกระสันอยาก ความใส่ใจไปในสิ่งต่างๆ และความเพ่งต่อรูปทั้งหลาย จนเกินไป เป็นอุปกิเลสแห่งจิต

อนุรุทธ.เรานั้นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่างอย่างเดียว แต่ไม่ เห็นรูป เห็นรูปอย่างเดียว แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลาง คืนและกลางวันบ้าง เรานั้นจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เรารู้สึกแสงสว่าง อย่างเดียว แต่ไม่เห็นรูป เห็นรูปอย่างเดียว แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง ตลอด กลางคืนบ้าง ตลอดกลางวัน บ้าง ตลอดทั้งกลางคืน และกลางวันบ้าง

อนุรุทธ.เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า สมัยใดเราไม่ใส่ใจนิมิตคือรูป ใส่ใจแต่นิมิตคือแสงสว่าง สมัยนั้น เราย่อมรู้สึกแสงสว่าง อย่างเดียว แต่ไม่เห็นรูป ส่วนสมัยใดเราไม่ใส่ใจ นิมิตคือ แสงสว่าง ใส่ใจแต่นิมิต คือรูป สมัยนั้นเราย่อม เห็นรูปอย่างเดียว แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง ตลอด กลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง

อนุรุทธ.เรานั้นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่างเพียงนิดหน่อย เห็น รูปได้ นิดหน่อย และรู้สึกแสงสว่างอย่างหาประมาณมิได้ ก็เห็นรูปอย่างหาประมาณมิได้ ตลอดกลาง คืนบ้าง ตลอดกลาง วันบ้าง ตลอดทั้ง กลางคืนและกลางวันบ้าง เราจึงมีความดำริ ดังนี้ว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้เรารู้สึกแสงสว่างเพียงนิดหน่อย เห็นรูปได้นิดหน่อย และรู้สึกแสงสว่างอย่างหา ประมาณมิได้ เห็นรูปอย่างหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวัน บ้าง ตลอดทั้งกลางคืน และกลางวันบ้าง

อนุรุทธ.เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า สมัยใดเรามีสมาธินิดหน่อย.สมัยนั้นเราก็มีจักษุนิดหน่อย ด้วยจักษุ นิดหน่อย เรานั้นจึงรู้สึก แสงสว่างเพียงนิดหน่อย เห็นรูปได้นิดหน่อย

ส่วนสมัยใดเรามีสมาธิหาประมาณมิได้ สมัยนั้นเราก็มีจักษุหาประมาณมิได้ ด้วยจักษุหาประมาณ มิได้ เรานั้นจึงรู้สึกแสงสว่าง หาประมาณมิได้ และเห็นรูปหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลาง วันบ้าง ตลอดทั้ง กลางคืนและกลางวันบ้าง

อนุรุทธ.เพราะเรารู้ว่าวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่ว หยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ความกระสันอยาก ความใส่ใจ ไปในสิ่งต่างๆ และความเพ่งต่อรูป ทั้งหลายจนเกินไป เป็นอุป กิเลสแห่งจิตแล้ว เป็นอันละ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ ปรารภเกินไป ความเพียรที่ย่อ หย่อนเกินไป ความกระสันอยาก ความใส่ใจไปในสิ่งต่างๆ และความเพ่งต่อรูปทั้งหลาย จนเกินไป ตัวเกาะจิตให้เศร้า หมองได้ เรานั้นจึงได้มีความรู้ดังนี้ว่า อุปกิเลสแห่งจิตนั้นๆ ของเรา เราละได้แล้วดังนั้น เราจึง เจริญสมาธิ โดยส่วนสามได้ในบัดนี้

อนุรุทธ.เรานั้นได้เจริญสมาธิมีวิตกมีวิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิไม่มีวิตก มีแต่วิจารบ้าง ได้เจริญ สมาธิ ไม่มี วิตกไม่มีวิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิ มีปีติบ้างได้เจริญสมาธิไม่มีปีติบ้างได้เจริญสมาธิ สหรคต ด้วยสุข บ้าง ได้เจริญสมาธิ สหรคตด้วยอุเบกขา บ้าง

อนุรุทธ. กาลใดสมาธิชนิดที่มีวิตกมีวิจารบ้า ชนิดที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารบ้าง ชนิดที่ไม่มีวิตกไม่มี วิจารบ้าง ชนิดที่มีปีติบ้าง ชนิดที่ไม่มีปีติบ้าง ชนิดที่สหรคต ด้วยสุขบ้างชนิดที่สหรคต ด้วย อุเบกขา บ้าง (เหล่านั้นทั้ง ๗ อย่าง) เป็นอันเราเจริญแล้ว กาลนั้นญาณเป็นเครื่องรู้จึง ได้เกิด ขึ้นแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้ เป็นชาติที่สุด บัดนี้ความเกิดใหม่ย่อมไม่มี


195 การทำสมาธิมีเคล็ดลับ เหมือนโคปีนภูเขาที่ลาดชัน
-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๓๓/๒๓๙.

ภิกษุทั้งหลาย. แม่โคเที่ยวไปตามภูเขา เป็นโคโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขตที่หากิน ไม่เข้าใจที่จะไปเที่ยว บนเขาอันขรุขระ แม่โคนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกิน หญ้าที่ยังไม่ เคยกิน และพึงดื่มน้ำ ที่ยังไม่เคยดื่ม แม่โคนั้นยันเท้าหน้าก็ไม่ดีเสียแล้ว พึงยก เท้าหลังอีก ก็คงจะไป ยังทิศ ที่ไม่เคยไปไม่ได้ กินหญ้าที่ยังไม่เคยกินไม่ได้ และดื่มน้ำ ที่ยังไม่ เคยดื่มไม่ได้ แม่โคนั้นยืน อยู่ในที่ใด พึงคิด อย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึง ไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้า ที่ยังไม่เคยกิน และพึง ดื่มน้ำที่ยัง ไม่เคยดื่ม มันกลับมายังที่นั้นอีกโดยสวัสดี ไม่ได้ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่โคนั้น เที่ยวไปบนภูเขา เป็นโคโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขต ที่หากิน ไม่เข้าใจที่จะ เที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระ ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขต ไม่เข้าใจ เพื่อสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอไม่เสพโดยมาก ไม่เจริญ ไม่กระทำ ให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น ไม่อธิษฐาน นิมิตนั้นให้ดี

เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรม เอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่ สมาธิอยู่ เธอไม่อาจเพื่อ บรรลุทุติยฌาน ... เธอย่อมมีความคิด อย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศล บรรลุ ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอย่อม ไม่อาจเพื่อสงัดจากกาม ... บรรลุปฐม ฌาน ....ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พลาดแล้ว เสื่อมแล้วจากทั้ง ๒ สิ่ง เปรียบเหมือนแม่โคโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขตที่หากิน ไม่เข้าใจที่จะเที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระ ฉันนั้น

ภิกษุทั้งหลาย.แม่โคที่เที่ยวไปบนภูเขา เป็นโคฉลาด เฉียบแหลม รู้จักเขตที่หากิน เข้าใจที่ เที่ยวไป บนภูเขา อันขรุขระ แม่โคนั้นพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศ ที่ไม่ เคยไป พึงกินหญ้า ที่ยังไม่เคยกิน และพึงดื่มน้ำ ที่ไม่เคยดื่ม แม่โคนั้นยันเท้าหน้าไว้ดีแล้ว พึงยกเท้าหลัง แม่โคนั้นพึงไป ยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และพึงดื่มน้ำ ที่ไม่เคยดื่ม เมื่อยืนอยู่ในที่ใด พึงคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกิน หญ้าที่ยังไม่เคยกินพึงดื่มน้ำ ที่ยังไม่เคยดื่ม และพึงกลับมา ยังที่นั้นโดยสวัสดี ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะแม่โคเที่ยวไปบนภูเขา เป็นโคฉลาด เฉียบ แหลม รู้จักเขตที่หากิน เข้าใจที่จะเที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระ ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย.ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นบัณฑิต ฉลาด รู้จักเขต เข้าใจ ที่จะสงัด จากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน

เสพโดยมาก เจริญกระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงบรรลุ ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรม อัน เอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจาก สมาธิแล้วแลอยู่ เธอยังไม่ยินดี เพียงทุติยฌาน ที่ได้บรรลุ

เธอเสพโดยมากซึ่งนิมิตนั้น เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความ คิดดังนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติ สิ้นไปบรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่ เป็นสุข เธอยังไม่ยินดีเพียง ตติยฌานที่ได้บรรลุ

เธอเสพโดยมาก เจริญกระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิด อย่าง นี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงบรรลุ จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์ เพราะ อุเบกขา แล้วแลอยู่ เธอยังไม่ยินดีเพียง จตุตถฌานที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดย มาก เจริญ กระทำให้ มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี (ในกรณีแห่งสมาธิที่เหลือ อีก ๘ ระดับก็ทรงตรัสไว้ ทำนองเดียวกัน กล่าวคือ ทรงให้ดำรงจิตในสมาธิที่ได้ให้มั่นคง เสียก่อน แล้วจึงค่อยขยับเพื่อเจริญ สมาธิในขั้นถัดไป)

(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า แม่โคที่ฉลาดย่อมรู้จักจรดเท้าหน้าลงในที่อันมั่นคงเสียก่อน แล้วจึง ค่อยยกเท้าหลัง จึงจะไม่ พลาดกลิ้งลงมา เช่นเดียวกับภิกษุ ต้องมีความตั้งอยู่อย่าง มั่นคงในสมาธิ ที่ได้ขั้นแรกก่อน จึงค่อยขยับไปเจริญสมาธิ ขั้นถัดไป).


196 ประโยชน์ของการระลึกถึง สิ่งที่ตนเองเลื่อมใส
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๐๗-๒๐๘/๗๑๖-๗๑๘.

อานนท์.ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุหรือ ภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔.ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่น จากคุณวิเศษ ในกาลก่อน สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน

อานนท์.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ความเร่าร้อนมีกายเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นในกาย ก็ดี ความหดหู่แห่งจิตเกิดขึ้นก็ดี จิตฟุ้งซ่านไปในภายนอกก็ดี ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ให้มั่นในนิมิต อันเป็น ที่ตั้ง แห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเธอตั้งจิตไว้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้ง แห่งความเลื่อมใส อย่างใด อย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อเธอปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมระงับ เธอมีกายระงับแล้ว ย่อมเสวยสุข เมื่อเธอมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น เธอย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราตั้งจิตไว้เพื่อ ประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแก่เราแล้ว บัดนี้เราจะคุมจิตไว้ เธอคุมจิตไว้และไม่ตรึก ไม่ตรอง ย่อมรู้ชัด ว่า เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีสติในภายใน เป็นผู้มีความสุขดังนี้

อานนท์.อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่ ... ย่อมเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ความเร่าร้อนมีธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้นในกายก็ดี ความหดหู่แห่งจิต เกิดขึ้นก็ดี

จิตฟุ้งซ่านไปในภายนอกก็ดี ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ให้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใด อย่างหนึ่ง เมื่อเธอตั้งจิตไว้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ ย่อมเกิด เมื่อเธอ ปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมระงับ เธอมีกายระงับแล้ว ย่อมเสวยสุข เมื่อเธอมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราตั้งจิตไว้ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้น สำเร็จแก่เราแล้ว บัดนี้เราจะเพิกถอน เมื่อเธอเพิกถอนคือ ไม่ตรึก ไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า เราไม่มีวิตก เราไม่มีวิจาร มีสติในภายใน เป็นผู้มีความสุขอยู่ดังนี้

อานนท์.ภาวนาย่อมมีเพราะตั้งจิตไว้ ด้วยอาการอย่างนี้


197 ข้อควรระวัง ในการเจริญสติปัฏฐานสี่
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๖๗-๒๗๐/๓๙๖-๔๐๑.

อัคคิเวสสนะ.ในเมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจรอยู่ย่อม เป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายได้ ตถาคตจึงแนะนำ เธอให้ยิ่งขึ้น ไปว่า ภิกษุมาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุ พยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุ ให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียง ด้วยโสตะ

ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยชิวหา ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายะ... รู้แจ้งธรรมด้วยมนะแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้ อกุศลธรรมอัน เป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ เห็นรูป ด้วยจักษุแล้วจงอย่าถือโดยนิมิตย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแลในการเหลียว ในการคู้ เข้าในการ เหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่าย อุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืนการนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ภิกษุนั้น ประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรียสังวร สติสัมปชัญญะและสันโดษอันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับจาก บิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า

เธอละความเพ่งเล็งในโลก มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิต ให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือพยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนด หมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจะกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจะกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้

เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำ.ใจให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้วย่อมเป็นผู้ พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสใน โลกเสียได้อยู่ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ... ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต ....

ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสียได้อยู่

อัคคิเวสสนะ. เปรียบเหมือนควาญช้างฝังเสาตะลุงใหญ่ลงในแผ่นดิน ล่ามคอช้างป่าไว้มั่นคง เพื่อแก้ไข ปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความดำริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความเร่า ร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิงในปกติที่มนุษย์ต้องการ ฉันใด

อัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สติปัฏฐาน.๔.นี้ ชื่อว่าเป็นหลักผูกใจของอริยสาวก เพื่อแก้ไขปกติชนิด อาศัยเรือน แก้ไขความดำริพล่าน ชนิดอาศัยเรือน แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความ เร่าร้อนใจชนิดอาศัยเรือน เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้

ตถาคตจึงแนะนำ. เธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ภิกษุ. มาเถิดเธอจงเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อย่า ตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย.จงเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ แต่อย่าตรึกวิตก ที่เข้าประกอบ กับเวทนา จงเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับจิต จงเป็นผู้พิจารณา เห็นธรรมในธรรมอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับธรรม

เธอย่อมเข้าถึง ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่เมื่อเธอมีจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสปราศจาก อุปกิเลส เป็นจิตอ่อน โยนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาน ....ย่อมน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ

เธอเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อ อาสวักขยญาณ เธอย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับแห่งทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์ เธอย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับแห่งอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ แห่งอาสวะ เมื่อเธอรู้อยู่ อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้น แล้ว ย่อมมีญาณรู้ชัดว่า หลุดพ้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


198 ภิกษุอาชาไนย-ภิกษุกระจอก
-บาลี เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๔๘/๒๑๖.


สันธะ.เธอจงเพ่งแบบการเพ่งของม้าอาชาไนย อย่าเพ่งแบบการเพ่งของม้ากระจอก

สันธะ.ก็การเพ่งของม้ากระจอก ย่อมมีอย่างไร

สันธะ.ธรรมดาม้ากระจอกถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมเพ่งว่า ข้าวเหนียวๆ ดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะม้ากระจอกที่เขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้า จักให้เราทำ เหตุอะไรหนอแล เราจักทำอะไรตอบแก่เขา ดังนี้ ม้ากระจอกนั้นถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมเพ่งว่า ข้าวเหนียวๆ ดังนี้ ฉันใด

สันธะ. บุรุษกระจอกบางคนในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อยู่ที่ป่าก็ดี อยู่ที่โคนต้นไม้ก็ดี อยู่ที่เรือน ว่าง เปล่าก็ดี มีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุมแล้ว ถูกกามราคะครอบงำแล้ว และย่อมไม่รู้อุบาย เครื่องสลัด กาม ราคะ ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง

บุรุษกระจอกนั้น ทำกามราคะนั่นแหละในภายในแล้ว ย่อมเพ่ง ย่อมเพ่งต่างๆ ย่อมเพ่งเนืองนิตย์ ย่อมเพ่ง ฝ่ายต่ำ
มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้ว อันพยาบาท ครอบงำ แล้ว ...
มีจิตอันถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว อันถีน มิทธะครอบงำแล้ว ...
มีจิตอันอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุมแล้ว อันอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำแล้ว ...
มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว
และย่อมไม่รู้อุบายเครื่องสลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง
บุรุษกระจอกนั้นทำวิจิกิจฉานั่นแหละในภายในแล้ว

ย่อมเพ่ง ย่อมเพ่งต่างๆ ย่อมเพ่งเนืองนิตย์ ย่อมเพ่งฝ่ายต่ำ.. บุรุษกระจอกนั้น ย่อมอาศัยปฐวีธาตุเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยอาโปธาตุเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยเตโชธาตุ เพ่งบ้าง ย่อมอาศัยวาโยธาตุเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยอากา สานัญจา ยตนะเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยวิญญาณัญจายตนะเพ่งบ้าง ย่อม อาศัยอากิญจัญญายตนะเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยโลกนี้เพ่งบ้าง ย่อมอาศัยโลกหน้าเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตาม แล้วด้วยใจ เพ่งบ้าง

สันธะ.การเพ่งของบุรุษกระจอกย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล.สันธะ.ก็การเพ่งของม้าอาชาไนยย่อมมีอย่างไร สันธะ. ธรรมดาม้าอาชาไนยที่เจริญ ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมไม่เพ่งว่า ข้าวเหนียวๆ ดังนี้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะม้าอาชาไนยที่เจริญ ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า วันนี้สารถี ผู้ฝึกม้าจักให้เราทำเหตุอะไรหนอแล เราจะกระทำ อะไรตอบเขา ดังนี้ ม้าอาชาไนยนั้น ถูกเขาผูกไว้ใกล้ราง ข้าวเหนียว ย่อมไม่เพ่งว่า ข้าวเหนียวๆ ดังนี้

สันธะ.ด้วยว่าม้าอาชาไนยที่เจริญ ย่อมพิจารณาเห็นการถูกปฏักแทงว่า เหมือนคนเป็นหนี้ครุ่นคิดถึงหนี้ เหมือนคนถูกจองจำมองเห็นการจองจำ เหมือนคนผู้เสื่อมนึกเห็นความเสื่อม เหมือนคนมีโทษเล็ง เห็นโทษ

สันธะ.บุรุษอาชาไนยที่เจริญ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อยู่ที่ป่าก็ดี อยู่ที่โคนต้นไม้ก็ดี หรืออยู่เรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมไม่มีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว อันกามราคะครอบงำแล้วอยู่ และย่อมรู้ทั่วถึงอุบาย เครื่องสลัดกาม ราคะ ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ย่อมไม่มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้ว

ย่อมไม่มีจิตอันถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว ... ย่อมไม่มีจิตอันอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุมแล้ว ... ย่อมไม่มีจิต อันวิจิกิจ ฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้วและย่อมรู้ทั่วถึงอุบาย เครื่องสลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว บุรุษอาชา ไนยนั้น ย่อมไม่อาศัยปฐวีธาตุเพ่ง ย่อมไม่อาศัยอาโปธาตุเพ่ง ย่อมไม่อาศัยเตโชธาตุเพ่ง ย่อมไม่อาศัย วาโยธาตุเพ่ง ย่อมไม่อาศัยอากาสานัญจายตนะเพ่ง ย่อมไม่อาศัยวิญญาณัญจายตนะ เพ่ง ย่อมไม่อาศัย อากิญจัญญายตนะเพ่ง ย่อมไม่อาศัยเนวสัญญา นาสัญญายตนะเพ่ง ย่อมไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ย่อมไม่อาศัย โลกหน้าเพ่ง ย่อมไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรม ที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจเพ่ง ก็แต่ว่าย่อมเพ่ง

สันธะ.อนึ่ง เทวดาพร้อมทั้งอินทร์ พรหม ปชาบดีย่อมนมัสการภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ มาจากที่ไกล เทียว กล่าวว่าข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด ข้าพเจ้าขอนมัสการท่าน เพราะข้าพเจ้าไม่ อาจจะทราบสิ่งซึ่งท่านอาศัยแล้วเพ่ง ของท่านนี้


199 ลักษณะของการอยู่อย่างมีตัณหาเป็นเพื่อน
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๔๓-๔๔/๖๖-๖๗.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง มิคชาละรูป ทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไป ตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่  เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่ ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำ สรรเสริญ สยบมัวเมาซึ่งรูปนั้น แก่ภิกษุผู้เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นอยู่นั่นแหละ นันทิ (ความเพลิดเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น

เมื่อนันทิ มีอยู่ สาราคะ (ความกำหนัดกล้า) ย่อมมีเมื่อสาราคะ มีอยู่ สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมมีมิคชาละ.ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งความ เพลิน นั่นแล เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง

(ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหู กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูก รสทั้งหลายอันจะพึงลิ้ม ด้วยลิ้นโผฏฐัพพะทั้งหลาย อันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกาย และธรรมทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้ง ด้วยใจ ก็ทรงตรัส อย่างเดียวกัน)

มิคชาละ.ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ถึงจะเสพเสนาสนะ อันเป็นป่าและป่าชัฏ ซึ่งเงียบสงัด มีเสียง รบกวนอันแผ่วเบา ไร้ซึ่งลมจากกายคน ควรเป็นที่ประกอบกิจอันสงบของมนุษย์ สมควรเป็นที่ หลีกเร้น เช่นนี้ แล้วก็ตาม กระนั้น ภิกษุนั้นเราก็ยังเรียกว่าผู้มีการอยู่อย่างเป็นเพื่อนสอง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ผู้นั้นยังมี ตัณหาเป็นเพื่อนสอง เขายังละตัณหานั้นไม่ได้ ฉะนั้นจึงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่าง มีเพื่อนสอง

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า ภิกษุจึงชื่อว่า ผู้มีการอยู่อย่างผู้เดียว

มิคชาละ.รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้ กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมก มุ่นรูปนั้นอยู่ ความเพลิดเพลินย่อมดับเมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีความกำ.หนัด.เมื่อไม่มีความกำหนัด ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง

มิคชาละ.ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างผู้เดียว (ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหู กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูกรสทั้งหลาย อันจะพึงลิ้ม ด้วยลิ้นโผฏฐัพพะทั้งหลาย อันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกายและธรรมทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ก็ทรงตรัส อย่างเดียวกัน)

มิคชาละ.ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้จะอยู่ปะปนกับภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ในที่สุดบ้านก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ยังเรียกว่า ผู้มีการ อยู่อย่างผู้เดียว.. มิคชาละ. เราเรียกผู้มีปกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ว่า มีปกติอยู่ผู้เดียว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตัณหาซึ่งเป็นเพื่อนสอง เธอละได้แล้ว เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่าง ผู้เดียว


200 ท่อนไม้ที่ลอยออกไปได้ถึงทะเล
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๒๒๓-๒๒๔/๓๒๒-๓๒๓.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแห่งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ ใหญ่ ท่อนหนึ่ง อันกระแสน้ำพัดลอยมาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย. ท่านทั้งหลายเห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแสน้ำพัดลอยมาในแม่น้ำคงคา เห็นพระเจ้าข้า

ภิกษุทั้งหลาย.ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น จักไม่จมเสียในท่ามกลาง จักไม่เกยบก ไม่ถูก มนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้ ไม่ถูกน้ำวนๆไว้ จักไม่เน่าในภายใน ภิกษุทั้งหลาย. ด้วยประการ ดังกล่าวมานี้ แล ท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่ากระแสน้ำ แห่งแม่น้ำคงคา ลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย. ถ้าท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่ง ข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น ไม่จม ลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆไว้ จักไม่เป็นผู้เสียใน ภายใน ไซร้ ด้วยประการดังกล่าว มานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อม เอียงโอน ไปสู่นิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า สัมมาทิฏฐิย่อม โน้มน้อม เอียงโอนไปสู่นิพพาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่อะไร ฝั่งโน้นได้แก่อะไรการจมลงในท่ามกลางได้แก่อะไร การเกยบนบกได้แก่อะไร มนุษย์ผู้จับ คืออะไร อมนุษย์ผู้จับคืออะไร เกลียวน้ำวนๆไว้คืออะไร ความเป็นของเน่าในภายใน คืออะไร.. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ภิกษุ.คำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน ๖
คำว่า ฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖.
คำว่าจมในท่ามกลาง เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ
คำว่า เกยบก เป็นชื่อแห่งอัสมิมานะ
คำว่า ถูกมนุษย์จับไว้

ได้แก่ ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลิน โศกเศร้าอยู่กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อเขา ทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ย่อมถึงการประกอบตนในกิจการอันบังเกิดขึ้นแล้วของเขา ภิกษุนี้เรียกว่า ถูกมนุษย์ผู้จับ

คำว่า ถูกอมนุษย์จับไว้ ได้แก่ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ ปรารถนาเป็นเทพนิกาย หมู่ใด หมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทพเจ้า องค์ใดองค์ หนึ่ง ภิกษุนี้เรียกว่า ถูกอมนุษย์จับไว้

ภิกษุ.คำว่าเกลียวน้ำวนๆไว้ เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕

ภิกษุ.ความเป็นของเน่าในภายในเป็นไฉน. ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานปกปิดไว้ ไม่เป็นสมณะก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่เป็น พรหมจารีก็ ปฏิญาณ ว่าเป็นพรหมจารี เป็นผู้เน่าในภายใน มีใจชุ่มด้วยกาม เป็นดุจขยะมูลฝอย.ภิกษุนี้เรียกว่า ความเป็น ผู้เน่าในภายใน



201 เครื่องกีดขวางการละสัญโญชน์
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๗๑/๓๓๙.

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุชอบคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ประกอบความยินดีในการคลุกคลีด้วย หมู่ ชอบคณะ ยินดีคณะ ประกอบความยินดีในคณะ จักเป็นผู้อยู่รูปเดียว ยินดียิ่งในวิเวก ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้ เมื่อไม่อยู่รูปเดียว ยินดียิ่งในวิเวก จักถือนิมิตแห่งจิต ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

เมื่อไม่ถือนิมิตแห่งจิตจักกระทำสัมมาทิฏฐิให้สมบูรณ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้  ไม่กระทำสัมมาทิฏฐิให้ สมบูรณ์แล้ว จักกระทำสัมมาสมาธิให้สมบูรณ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ไม่กระทำสัมมาสมาธิ ให้สมบูรณ์ แล้ว จักละสังโยชน์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ไม่ละสังโยชน์แล้ว จักกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ข้อนี้ไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ประกอบความยินดีในการ คลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ชอบคณะ ไม่ยินดีคณะ ไม่ประกอบความยินดีคณะ จักเป็นผู้อยู่รูปเดียว ยินดียิ่ง ในวิเวก ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้  เมื่อเป็นผู้อยู่รูปเดียวยินดียิ่งในวิเวกจักถือนิมิตแห่งจิต ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะ มีได้ เมื่อถือนิมิตแห่งจิตจักกระทำสัมมาทิฏฐิให้สมบูรณ์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะ มีได้กระทำสัมมาทิฏฐิ ให้ สมบูรณ์แล้วจักกระทำสัมมาสมาธิให้สมบูรณ์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ กระทำสัมมาสมาธิ ให้สมบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ ละสังโยชน์ได้แล้ว จักกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ข้อนี้ย่อมเป็น ฐานะที่จะมีได้


202 ไม่มีผู้อยาก ไม่มีผู้ยึดมั่น
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๕-๑๗/๓๑-๓๗.

ภิกษุทั้งหลายอาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่อ อนุเคราะห์ หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ เป็นไฉนคือ
(๑) กวฬีการาหารหยาบหรือละเอียด
(๒) ผัสสาหาร
(๓) มโนสัญเจตนาหาร
(๔) วิญญาณาหาร

อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือ เพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ ผู้แสวงหาที่เกิด เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระโมลิยผัคคุนะได้ กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมกลืนกินวิญญาณาหาร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่ากลืนกิน (วิญญาณาหาร) ถ้าเรากล่าวว่ากลืนกิน (วิญญาณาหาร) ควรตั้งปัญหา ในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมกลืนกิน (วิญญาณาหาร) แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า

วิญญาณาหารย่อมมีเพื่ออะไรหนอ อันนี้ ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า วิญญาณาหาร ย่อมมี เพื่อความบังเกิดในภพใหม่ต่อไป เมื่อวิญญาณาหารนั้นเกิดมีแล้ว จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถูกต้องตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่าย่อมถูกต้อง ถ้าเรากล่าวว่าย่อมถูกต้อง ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถูกต้อง แต่เรามิได้ กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้นอย่างนี้ว่าพระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีผัสสะ

อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมเสวยอารมณ์ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้ กล่าวว่าย่อม เสวยอารมณ์ ถ้าเรากล่าวว่าย่อมเสวยอารมณ์ ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อม เสวยอารมณ์ แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า

เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีเวทนา อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหาพระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมทะเยอ ทะยาน ตั้ง ปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมทะเยอทะยาน ถ้าเรากล่าวว่า ย่อมทะเยอทะยาน ควรตั้งปัญหา ในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมทะเยอทะยาน แต่เรามิได้ กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเราผู้มิได้ กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า

เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีตัณหา อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทานพระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อม ถือมั่น ตั้งปัญหา ยังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมถือมั่น ถ้าเราพึงกล่าวว่าย่อมถือมั่น ควรตั้งปัญหาในข้อนั้น ได้ว่า พระพุทธ เจ้าข้า ใครหนอย่อมถือมั่น แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเราผู้มิได้กล่าว อย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า

เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีอุปาทาน อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจง ให้กระจ่างใน ปัญหานั้นว่า เพราะ ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติ เป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะ ความ เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

ผัคคุนะก็เพราะบ่อเกิดแห่งผัสสะทั้ง ๖ ดับด้วยการสำรอก โดยไม่เหลือ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนา จึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะ ภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะจึงดับ ความดับแห่ง กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการอย่างนี้

(หมายเหตุผู้รวบรวม : สูตรนี้ทั้งสูตร แสดงว่า ไม่มีบุคคลที่กลืนกินวิญญาณาหาร ไม่มีบุคคลที่เป็นเจ้าของ อายตนะ ไม่มีบุคคลที่กระทำผัสสะ ไม่มีบุคคลที่เสวยเวทนา ไม่มีบุคคลที่อยากด้วยตัณหา ไม่มีบุคคลที่ ยึดมั่นถือมั่น มีแต่ธรรมชาติที่เป็นปฏิจจสมุปปันนธรรมอย่างหนึ่งๆ เป็นปัจจัย สืบต่อแก่กันและกันเป็นสายไป เท่านั้น)


203 ความสามารถในการทิ้งอารมณ์ได้เร็ว
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๒–๕๔๕/๘๕๖–๘๖๑.

อานนท์. อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย เป็นอย่างไร
อานนท์. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อเห็นรูปด้วยตา ความชอบใจก็เกิดขึ้น ความไม่ชอบใจก็เกิดขึ้น ความชอบใจและไม่ชอบใจก็เกิดขึ้น ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่าความชอบใจที่เกิดขึ้น ความไม่ชอบใจที่เกิดขึ้น ความชอบใจและ ไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานั้น เป็นของปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคือ อุเบกขา เมื่อรู้ชัดอย่างนี้ ความชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว ความไม่ ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว ความชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว นั้นย่อมดับไป ส่วนอุเบกขายังดำรงอยู่

อานนท์.ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็ว เหมือนบุรุษกระพริบตา ส่วนอุเบกขายังคงดำรงอยู่. อานนท์. นี้เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ ในอริย วินัย ในกรณี แห่งรูปที่รู้แจ้งด้วยตา

อานนท์.อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุได้ยินเสียงด้วยหูความชอบใจก็เกิดขึ้น ความไม่ชอบใจก็เกิดขึ้น ความชอบใจและไม่ชอบใจก็เกิดขึ้น ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่าความชอบใจที่เกิดขึ้น ความไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้น ความชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานั้น เป็นของปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคือ อุเบกขา เมื่อรู้ชัดอย่างนี้ ความชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว ความไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว ความชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว นั้นย่อมดับไป ส่วนอุเบกขายังดำรงอยู่ อานนท์. ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็วเหมือนบุรุษ มีกำลังดีดนิ้วมือโดยไม่ลำบาก ส่วนอุเบกขายังคงดำรงอยู่

อานนท์.นี้เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่งเสียงที่รู้แจ้งด้วยหู อานนท์. อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุได้ดมกลิ่นด้วยจมูก ความชอบใจก็เกิดขึ้น ความไม่ชอบใจก็เกิดขึ้น ความชอบใจ และไม่ชอบใจ ก็เกิดขึ้น ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่าความชอบใจที่เกิดขึ้น ความไม่ชอบใจที่เกิดขึ้น ความชอบใจ และไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานั้น เป็นของปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ ละเอียด ประณีต นั่นคือ อุเบกขา เมื่อรู้ชัดอย่างนี้ ความชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว ความไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว ความชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว นั้นย่อมดับไป ส่วนอุเบกขายังดำรงอยู่

อานนท์.ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็ว เหมือนหยาดน้ำ.กลิ้งไปบนใบบัวที่ลาดเอียง ย่อมไม่ติดในที่ที่กลิ้งไปสักน้อยหนึ่ง ส่วนอุเบกขา ยังคงดำรงอยู่ อานนท์.นี้เราเรียกว่าอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่งกลิ่นที่รู้แจ้งด้วยจมูก

อานนท์.อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ความชอบใจก็เกิดขึ้น ความไม่ชอบใจก็เกิดขึ้น ความชอบใจและไม่ชอบใจก็เกิดขึ้น ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่าความชอบใจที่เกิดขึ้น ความไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้น ความชอบใจและ ไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานั้น เป็นของปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคือ อุเบกขา เมื่อรู้ชัดอย่างนี้ ความชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว ความไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว ความชอบใจและ ไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว นั้นย่อมดับไป ส่วนอุเบกขายังดำรงอยู่

อานนท์.ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็ว เหมือนบุรุษมีกำลังตะล่อมก้อนน้ำลาย ไว้ที่ปลายลิ้นแล้วถ่มไปโดยไม่ลำบาก ส่วนอุเบกขายังคง ดำรงอยู่

อานนท์.นี้เราเรียกว่า.อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่งรสที่รู้แจ้งด้วยลิ้น

อานนท์.อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุถูกต้องกระทบทางกาย ความชอบใจก็เกิดขึ้น ความไม่ชอบใจก็เกิดขึ้น ความชอบใจและไม่ชอบใจก็เกิดขึ้น ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่าความชอบใจที่เกิดขึ้น ความไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้น ความชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานั้น เป็นของปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคือ อุเบกขา เมื่อรู้ชัดอย่างนี้ ความชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว ความไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว ความชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว นั้นย่อมดับไป ส่วนอุเบกขายังดำรงอยู่

อานนท์.ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็ว เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออก หรือคู้แขนเข้าโดยไม่ลำบาก ส่วนอุเบกขายังคงดำรงอยู่

อานนท์.นี้เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่งสัมผัสทางผิวหนังที่รู้แจ้งด้วยกาย

อานนท์.อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุรู้ธรรมด้วยใจ ความชอบใจก็เกิดขึ้น ความไม่ชอบใจก็เกิดขึ้น ความชอบใจ และไม่ชอบใจก็เกิดขึ้น ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่าความชอบใจที่เกิดขึ้น ความไม่ชอบใจที่เกิดขึ้น ความชอบใจ และไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานั้น เป็นของปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ ละเอียด ประณีต นั่นคือ อุเบกขา เมื่อรู้ชัดอย่างนี้ ความชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว ความไม่ ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว ความชอบใจ และไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว นั้นย่อมดับไป ส่วนอุเบกขายังดำรงอยู่

อานนท์.ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็ว เหมือนบุรุษมีกำลัง เอาหยดน้ำสองหรือสามหยด ใส่ลงในกะทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดวัน น้ำที่หยด ลงยังช้าไป ที่แท้หยดน้ำนั้นจะระเหยแห้งไปอย่างรวดเร็ว ส่วนอุเบกขายังคงดำรงอยู่

อานนท์.นี้เราเรียกว่าอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่งธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ
อานนท์.อย่างนี้แล เป็นการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ


204 ความสามารถในการละ
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๔๘/๔๖.

ภิกษุทั้งหลาย.สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด

๗ ประการเป็นไฉน.คือ อสุภสัญญา ๑.มรณสัญญา ๑.อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑.สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑.อนิจจสัญญา ๑.อนิจเจทุกขสัญญา ๑.ทุกเขอนัตตสัญญา ๑

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์ มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วย อสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบ เหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากันไม่คลี่ออก

ฉะนั้น. ภิกษุทั้งหลาย.ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในการร่วม เมถุนธรรม หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเรา ไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น

ภิกษุทั้งหลาย.ถ้าหากว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล ย่อมตั้งอยู่ ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย ของเรา มีอยู่ ผลแห่ง ภาวนา ของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน อสุภสัญญานั้น ข้อที่กล่าว ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย. อสุภสัญญาอัน

ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าว แล้วเพราะอาศัยข้อนี้. ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายมรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมมีผล มาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการรักชีวิต ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบ เหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็น ที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออกฉะนั้น

ภิกษุทั้งหลาย.ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในความรักชีวิต หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเรา ไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง เบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้นภิกษ นั้น จึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล ย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้นภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ข้อที่กล่าว ดังนี้ว่า มรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูล สัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะมีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขา หรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบ เหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น. ภิกษุทั้งหลาย. ถ้าเมื่อ ภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในตัณหาในรส หรือความเป็น ของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราไม่ได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายของเรา ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้น จึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล ย่อมตั้ง อยู่ไซร้ ภิกษุพึง ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้อง ปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว

เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย. อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย. สัพพโลเกอนภิรต สัญญา อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของ ปฏิกูล ย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก

ฉะนั้น.ภิกษุทั้งหลาย.ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหล ไปในความวิจิตรแห่งโลก หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้น ดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรต สัญญา อันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่ง ภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน สัพพโลเกอนภิรต สัญญานั้น

ภิกษุทั้งหลาย.ถ้าหากว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือ ความเป็นของปฏิกูล ย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว

เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย. สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลง สู่อมตะ มีอมตะเป็น ที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้

ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย.อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร. ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุมีใจ อันอบรมแล้ว ด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับในลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล ย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขา ใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า หากัน ไม่คลี่ออก

ฉะนั้น.ภิกษุทั้งหลาย.ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในลาภ สักการะ และความสรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจ สัญญาอันเรา ไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น

ภิกษุทั้งหลาย.ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับลาภ สักการะและความสรรเสริญอุเบกขาหรือความเป็นของ ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้น ดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ข้อที่ กล่าวดังนี้ว่า.

ภิกษุทั้งหลาย.อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้

ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย.อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำ.ให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร. ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุมีใจ อันอบรม แล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา (ความสำคัญเป็นภัย) อย่างแรงกล้าในความ เฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ในการไม่ประกอบ ความเพียร ในการไม่ พิจารณา ย่อมปรากฏเปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น

ฉะนั้น.ภิกษุทั้งหลาย.ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญาอย่าง แรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ในการไม่ประกอบ ความเพียร ในการไม่ พิจารณา ย่อมไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมไม่ปรากฏ ในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ภิกษุพึงทราบ ข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญา อันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและ เบื้องปลายของ เราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้น จึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ถ้าว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญาอย่าง แรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ในการไม่ประกอบ ความเพียรในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาต เงื้อดาบขึ้น ฉะนั้นไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญา อันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษ ทั้ง เบื้องต้น เบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน อนิจเจทุกขสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า.

ภิกษุทั้งหลาย.อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย.ทุกเขอนัตตสัญญา อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำ.ให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์ มาก หยั่งลงสู่อมตะมีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร. ภิกษุทั้งหลาย. เมื่อภิกษุมีใจ อันอบรมแล้ว ด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฏฐิว่าเราตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกาย ที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย.ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ใจย่อมไม่ปราศจากทิฏฐิ ว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้ และสรรพนิมิตในภายนอก ไม่ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ ไม่สงบระงับ ยังไม่หลุดพ้นด้วยดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเรา ไม่เจริญ แล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนา ของเรา ยังไม่ถึงที่ เพราะ ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในทุกเขอนัตตสัญญานั้น.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ถ้าว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฏฐิ ว่าเรา ตัณหาว่า ของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้ และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วง กิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญา อันเราเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าว แล้วเพราะอาศัย ข้อนี้.

ภิกษุทั้งหลาย.สัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำ.ให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.


205 แว่นส่องความเป็นพระโสดาบัน
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๕๐-๔๕๑/๑๔๗๙-๑๔๘๐.

อานนท์.ข้อที่บุคคลเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว พึงกระทำ.กาละ มิใช่เป็นของน่าอัศจรรย์ ถ้าเมื่อผู้นั้นๆ กระทำ กาละแล้ว เธอทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้วสอบถามเนื้อความนั้น ข้อนี้ เป็นความลำบาก ของตถาคต เพราะฉะนั้น แหละ เราจักแสดงธรรมปริยายชื่อ ธรรมาทาส (แว่นส่องธรรม) ที่อริยสาวกประกอบแล้ว เมื่อหวัง อยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

อานนท์. ก็ธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกประกอบแล้ว เมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำ.เนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความ เลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัส รู้เองโดย ชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้ ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่ หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน พระสงฆ์ว่า

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ คือ คู่แห่ง บุรุษ ๔ บุรุษ บุคคล ๘ นี้ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรของ ทำบุญ ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ ประกอบด้วยศีลที่ พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว อันไม่ ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย วิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิ ลูบคลำ ไม่ได้ เป็นไปเพื่อ สมาธิ นี้แล คือ ธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส (แว่นส่องธรรม) ที่อริยสาวกประกอบแล้ว เมื่อหวังอยู่พึงพยากรณ์ ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นพระ โสดาบัน มีความ ไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.


206 ธรรม ๗ ประการของผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
-บาลี มู. ม. ๑๒/๕๘๔-๕๘๙/๕๔๓-๕๕๐.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ทิฏฐิอันเป็นอริยะ อันเป็นเครื่องนำออกนำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม เป็นอย่างไร

ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปแล้วสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่างก็ตาม ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้มีจิตถูกเครื่องครอบงำใดครอบงำแล้ว(ปริยุฏฺฐาเนนปริยุฏฺฐิตจิตฺโต) ไม่พึงรู้เห็นตามความ เป็นจริง เครื่องครอบงำนั้นที่เรายังละไม่ได้ในภายใน มีอยู่หรือไม่หนอ

ภิกษุทั้งหลาย. ถ้าภิกษุมีจิตอันกามราคะครอบงำ หรือมีจิตอันพยาบาทครอบงำ หรือมีจิตอันถีนมิทธะ ครอบงำ หรือมีจิตอันอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ หรือมีจิตอันวิจิกิจฉาครอบงำ ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีจิต ถูก เครื่อง ครอบงำ ครอบงำ แล้ว ถ้าภิกษุเป็นผู้ขวนขวายในการคิดเรื่องโลกนี้ หรือเป็นผู้ขวนขวาย ในการคิดเรื่อง โลกอื่น ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตถูกเครื่องครอบงำครอบงำแล้ว ถ้าภิกษุุเกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและ กันด้วยหอก คือปากอยู่ ก็ชื่อว่า เป็นผู้มีจิตถูกเครื่องครอบงำครอบงำแล้ว ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัด อย่างนี้ว่าเรา เป็นผู้มีจิตถูกเครื่องครอบงำใด ครอบงำแล้ว ไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง เครื่องครอบงำนั้นที่เรายังละ ไม่ได้ในภายใน มิได้มีเลย จิตของเรา ตั้งไว้ดี แล้ว เพื่อความตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย นี้คือ ญาณที่ ๑ อันเป็นอริยะ เป็นโลกุตระไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันภิกษุนั้นบรรลุแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย .อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเสพให้ทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งทิฏฐินี้ ย่อมได้ความสงบเฉพาะตน ย่อมได้ความดับเฉพาะตนหรือหนอ อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัด อย่างนี้ว่า เราเสพ ให้ทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำ.ให้มากซึ่งทิฏฐินี้ ย่อมได้ความสงบเฉพาะตน ย่อมได้ความดับเฉพาะตน นี้คือ ญาณที่ ๒ อันเป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้น บรรลุแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย.อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นใด สมณะ หรือพราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นนั้นมีอยู่หรือหนอ อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัด อย่างนี้ว่า เราเป็น ผู้ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ ประกอบ ด้วยทิฏฐิเช่นนั้นมิได้มี นี้คือ ญาณที่ ๓ อันเป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวก นั้นบรรลุแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วย ธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย. ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเป็นอย่างไร. ภิกษุทั้งหลาย. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิมีธรรมดาดังนี้ คือ ความออกจากอาบัติเช่นใด ย่อมปรากฏ อริยสาวก ย่อมต้อง อาบัติเช่นนั้นบ้าง โดยแท้ แต่ถึงอย่างนั้น อริยสาวกนั้นจะรีบแสดง เปิดเผย ทำให้ตื้น ซึ่งอาบัตินั้น

ในสำนักพระศาสดาหรือเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ที่เป็นวิญญูชนทั้งหลาย ครั้นแสดง เปิดเผย ทำให้ตื้นแล้ว ก็ถึงความสำรวมต่อไป เปรียบเหมือนเด็กอ่อนที่นอนหงาย ถูกถ่านไฟด้วยมือ หรือด้วย เท้าเข้าแล้ว ก็จะชักหนี เร็วพลัน ฉะนั้นอริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น นี้คือ ญาณที่ ๔ อันเป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย. อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบ ด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น. ภิกษุทั้งหลาย. ก็บุคคลผู้ถึงพร้อม ด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ ประกอบด้วยธรรมดาเป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิมีธรรมดาดังนี้ คือ อริยสาวกย่อมถึงความขวนขวาย ในกิจใหญ่ น้อย ที่ควรทำของเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ โดยแท้ แต่ถึงอย่างนั้น ความ ปรารถนาอย่างแรงกล้า ในอธิศีล สิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ของอริย สาวกนั้นก็ยังมีอยู่ เปรียบเหมือนแม่โคลูกอ่อน ย่อมเล็มหญ้ากินไปด้วย ชำเลืองดูลูก ไปด้วยฉะนั้น.

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็เป็น ผู้ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น นี้คือ ญาณที่ ๕ อันเป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไป กับพวกปุถุชน อันอริย สาวกนั้น บรรลุแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วย พละเช่นใด ถึงเราก็เป็นผู้ประกอบด้วยพละเช่นนั้น.. ภิกษุทั้งหลาย.ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ ประกอบด้วย พละเป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย. พละของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นดังนี้ คือ อริยสาวกนั้น เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคต ประกาศแล้ว อันบัณฑิตแสดงอยู่ ย่อมทำให้เกิดประโยชน์ ย่อมทำไว้ในใจ ย่อมกำหนดด้วยจิตทั้งปวง ย่อมเงี่ยโสตลงฟัง ธรรม อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยพละ เช่นใด ถึงเราก็เป็นผู้ประกอบด้วยพละเช่นนั้น นี้คือ ญาณที่ ๖ อันเป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับ พวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วย พละ เช่นใด ถึงเราก็เป็นผู้ประกอบด้วยพละเช่นนั้น. ภิกษุทั้งหลาย. ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ ประกอบด้วย พละเป็นอย่างไร. ภิกษุทั้งหลาย.พละของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นดังนี้ คือ อริยสาวกนั้น เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันบัณฑิตแสดงอยู่ ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ ความรู้ธรรม ย่อมได้ ปราโมทย์อันประกอบ ด้วยธรรม อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบ ด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็เป็นผู้ประกอบด้วยพละเช่นนั้น นี้คือ ญาณที่ ๗ อันเป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไป กับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้น บรรลุแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย.ธรรมดาอันอริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการอย่างนี้ ตรวจดูดีแล้ว ด้วยการทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล..ภิกษุทั้งหลาย. อริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้เพรียบ พร้อมด้วย โสดา ปัตติผล ดังนี้แล.


207 ฐานะที่เป็นไปไม่ได้ของโสดาบัน (นัยที่ ๑)
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๘/๓๖๔.

ภิกษุทั้งหลาย.ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการนี้
๖ ประการเป็นอย่างไร.คือ
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงสังขารใดๆ โดยความเป็นของเที่ยง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงสังขารใดๆ โดยความเป็นของสุข
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงธรรมะใดๆ โดยความเป็นตัวตน
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจกระทำ.อนันตริยกรรม
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจหวังการถึงความบริสุทธิ์ โดยโกตุหลมงคล
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจแสวงหาทักขิเณยยบุคคล ภายนอกจากศาสนานี้.
ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.


208 ฐานะที่เป็นไปไม่ได้ของโสดาบัน (นัยที่ ๒)
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๘/๓๖๓.

ภิกษุทั้งหลาย.ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้.
๖ ประการเป็นอย่างไร.คือ
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำ.เกรง ในพระศาสดา
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำ.เกรง ในพระธรรม
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำ.เกรง ในพระสงฆ์
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำ.เกรง ในสิกขา
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่อนาคมนียวัตถุ (วัตถุที่ไม่ควรเข้าหา)
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจยังภพที่แปดให้เกิดขึ้น.
ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.


209 ฐานะที่เป็นไปไม่ได้ของโสดาบัน (นัยที่ ๓)
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๘/๓๖๕.

ภิกษุทั้งหลาย.ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้.
๖ ประการเป็นอย่างไร.คือ
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจปลงชีวิตมารดา
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจปลงชีวิตบิดา
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจปลงชีวิตพระอรหันต์
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจคิดประทุษร้ายตถาคตแม้เพียงทำ.โลหิตให้ห้อ
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจทำ.ให้สงฆ์แตกกัน
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจถือศาสดาอื่น.
ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.


210 ฐานะที่เป็นไปไม่ได้ของโสดาบัน (นัยที่ ๔)
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๙ /๓๖๖.

ภิกษุทั้งหลาย.ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้.
๖ ประการเป็นอย่างไร.คือ
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า สุขและทุกข์ ตนทำเอง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า สุขและทุกข์ ผู้อื่นทำให้
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า สุขและทุกข์ ตนทำเองก็มี ผู้อื่นทำให้ก็มี
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า สุขและทุกข์ ไม่ต้องทำเอง เกิดขึ้นได้ตามลำพัง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า สุขและทุกข์ ไม่ต้องใครอื่นทำให้ เกิดขึ้นได้ตามลำพัง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า สุขและทุกข์ ไม่ต้องทำเองและไม่ต้องใครอื่นทำให้ เกิดขึ้นได้ตามลำพัง ข้อนั้น เพราะเหตุไร. ภิกษุทั้งหลาย. ข้อนั้นเพราะเหตุว่า เหตุ (แห่งสุขและทุกข์) อันผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เห็นแล้ว โดยแท้จริง และธรรมทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่เกิดมาแต่เหตุด้วย.

ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.

211 ความหมายของคำว่า เสขะ
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๙๗/๕๒๕.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า เสขะๆ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นเสขะ..
ภิกษุ.ที่เรียกชื่อว่าเสขะ ด้วยเหตุว่ายังต้องศึกษา ศึกษาอะไร ศึกษาอธิศีลสิกขา ศึกษาอธิจิตตสิกขา และ ศึกษาอธิปัญญาสิกขา.
ภิกษุ.ที่เรียกชื่อว่าเสขะ ด้วยเหตุว่ายังต้องศึกษาแล.


212 ผู้เป็นเสขะ-อเสขะ
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๐๓/๑๐๓๒.

ภิกษุทั้งหลาย. ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ และปริยาย ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะมีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย.ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุผู้เป็นเสขะในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ภิกษุทั้งหลาย.ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่า เราเป็นพระเสขะ.
ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่น ภายนอก จากศาสนานี้ ซึ่งจะแสดงธรรมที่จริงแท้แน่นอนเหมือนพระผู้มีพระภาค มีอยู่หรือ เธอนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่นภายนอกจากศาสนานี้ ซึ่งจะแสดงธรรมที่จริงแท้แน่นอนเหมือนพระผู้มีพระภาคไม่มี

ภิกษุทั้งหลายปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่าเราเป็นพระเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะย่อม รู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ นั้นมีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด ภิกษุผู้เป็นเสขะ ยังไม่ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย.ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย.ก็ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ เป็นอย่างไร ภิกษุผู้เป็นอเสขะในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด อริยสาวกผู้เป็นอเสขะถูกต้องสิ่งนั้นด้วยกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ภิกษุทั้งหลาย.ปริยาย
แม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัย และตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ.

ภิกษุทั้งหลาย.อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นอเสขะย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๖ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายยินทรีย์ มนินทรีย์ อริยสาวกผู้เป็นอเสขะย่อม รู้ชัดว่า อินทรีย์ ๖ เหล่านี้ จักดับไปหมดสิ้นโดยประการ ทั้งปวง ไม่มีเหลือ และอินทรีย์ ๖ เหล่าอื่น จักไม่เกิดขึ้นในภพไหนๆ ภิกษุทั้งหลาย.ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่า เราเป็น พระอเสขะ.


213 เหตุให้เป็นคนดุร้าย หรือคนสงบเสงี่ยม
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๗๖/๕๘๖.

คามณิ.บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังละ ราคะ ไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละราคะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธได้ เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นจึงถึงความนับว่า เป็นคนดุร้าย.

คามณิ.บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังละ โทสะ ไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละโทสะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธได้ เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นจึงถึงความนับว่า เป็นคนดุร้าย.

คามณิ.บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังละ โมหะ ไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละโมหะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธได้ เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นจึงถึงความนับว่า เป็นคนดุร้าย.

คามณิ.นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคนในโลกนี้ถึงความนับว่า เป็นคนดุร้าย.

คามณิ.อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ละราคะได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละราคะได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธไม่ได้ เมื่อถูก
คนอื่นยั่วให้โกรธ ก็ไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นจึงถึงความนับว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม.

คามณิ.บุคคลบางคนในโลกนี้ละโทสะได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละโทสะได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธไม่ได้ เมื่อถูกคน อื่นยั่วให้โกรธ ก็ไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นจึงถึงความนับว่า เป็นคนสงบ เสงี่ยม

คามณิ.บุคคลบางคนในโลกนี้ละโมหะได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละโมหะได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธไม่ได้ เมื่อถูกคน อื่นยั่วให้โกรธ ก็ไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นจึงถึงความนับว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม

คามณิ.นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคนในโลกนี้ถึงความนับว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม.
(ราคะ แปลว่า ความกำหนัดยินดี, ความพอใจ, ความติดใจ )
(โทสะ แปลว่า ความโกรธ ความขัดเคือง ความไม่พอใจ)
(โมหะ แปลว่า ความหลง ความเขลา ความโง่ )




214 ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๓๑/๒๐.


ภิกษุทั้งหลาย.การอยู่แบบพระอริยเจ้า ซึ่งพระอริยเจ้าทั้งหลาย ได้อยู่มาแล้วก็ดี กำลังอยู่ในบัดนี้ก็ดี จักอยู่ต่อไปก็ดี ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นอย่างไร คือ. ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ขาด เป็นผู้ ประกอบพร้อมด้วยองค์ ๖. เป็นผู้มีอารักขาอย่างเดียว เป็นผู้มีพนักพิง ๔ ด้าน เป็นผู้ถอน ความเห็นว่าจริงดิ่งไปคนละทางขึ้นเสียแล้ว เป็นผู้ละการแสวงหาสิ้นเชิงแล้ว เป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว เป็นผู้มีกาย สังขาร อันสงบรำงับแล้ว เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นด้วยดี เป็นผู้มีปัญญาในความหลุดพ้นด้วยดี.

(๑) ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ขาด เป็นอย่างไร ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละกามฉันทะ ละพยาบาท.ละ ถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ และละวิจิกิจฉาได้แล้ว. ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ขาด

(๒) ภิกษุเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างไร. ภิกษุในกรณีนี้ ได้เห็นรูปด้วยตาได้ฟังเสียงด้วยหู ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก.ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย และได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ก็เป็นผู้ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ อยู่ได้.. ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบ พร้อมด้วยองค์ ๖.

(๓) ภิกษุเป็นผู้มีอารักขาอย่างเดียว เป็นอย่างไร.ภิกษุในกรณีนี้ ประกอบการรักษาจิตด้วยสติ.. ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่ามีอารักขาอย่างเดียว.

(๔) ภิกษุเป็นผู้มีพนักพิง ๔ ด้าน เป็นอย่างไร.ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาแล้วเสพของสิ่งหนึ่ง พิจารณาแล้ว อดกลั้นของสิ่งหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นขาดของสิ่งหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทา ของสิ่งหนึ่ง.. ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีพนักพิง ๔ ด้าน.

(๕) ภิกษุเป็นผู้ถอนความเห็นว่าจริงดิ่งไปคนละทางขึ้นเสียแล้ว เป็นอย่างไร.ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ถอน สละ คาย ปล่อย ละทิ้งเสียแล้ว ซึ่งความเห็นว่าจริงดิ่งไปคนละทางมากอย่าง ของเหล่าสมณพราหมณ์ มากผู้ ด้วยกัน ที่มีความเห็นว่า โลกเที่ยง บ้างโลกไม่เที่ยง บ้างโลกมีที่สุด บ้างโลกไม่มีที่สุด บ้างชีวะ ก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น บ้างชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น บ้างตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีก บ้างตถาคต ภายหลัง แต่การตาย ย่อมไม่มีอีก บ้างตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีก ก็มี ไม่มีอีกก็มี บ้างตถาคต ภายหลังแต่ การตาย ย่อมมีอีกก็หามิได้ ไม่มีอีกก็หามิได้ บ้าง ..ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถอน ความเห็น ว่าจริงดิ่งไปคนละทางขึ้นเสียแล้ว.

(๖) ภิกษุเป็นผู้ละการแสวงหาสิ้นเชิงแล้ว เป็นอย่างไร.ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละการแสวงหากามแล้ว เป็นผู้ละการแสวงหาภพแล้ว และการแสวงหาพรหมจรรย์ของเธอนั้นก็ระงับไปแล้ว.. ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ละการแสวงหาสิ้นเชิงแล้ว.

(๗) ภิกษุเป็นผู้มีความดำ.ริไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างไร. ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละความดำริในทางกาม เสียแล้ว เป็นผู้ละความดำริในทางพยาบาทเสียแล้ว และเป็นผู้ละความดำริในทางเบียดเบียนเสียแล้ว.. ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว.

(๘) ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันสงบรำงับแล้ว เป็นอย่างไร. ภิกษุในกรณีนี้ เพราะละสุขเสียได้ เพราะละ
ทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนจึงบรรลุฌานที่ ๔.อันไม่มีทุกข์ และสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่..ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีกายสังขารอันสงบรำ.งับแล้ว.

(๙) ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นด้วยดี เป็นอย่างไร.ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ..ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นด้วยดี.

(๑๐) ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาในความหลุดพ้นด้วยดี เป็นอย่างไร ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดว่า เราละ ราคะ โทสะ โมหะ เสียแล้ว ถอนขึ้นได้กระทั่งราก ทำ.ให้เหมือนตาลยอดเน่า ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดได้อีกต่อไป ดังนี้.. ภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาในความหลุดพ้น ด้วยดี. ภิกษุทั้งหลาย ในกาลยืดยาว ฝ่ายอดีต พระอริยเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้เป็นอยู่แล้วอย่างพระอริยเจ้า พระอริยเจ้าทั้งหมดเหล่านั้น ก็ได้ เป็นอยู่แล้วในการอยู่อย่างพระอริยเจ้า ๑๐ ประการนี้เหมือนกัน..

ภิกษุทั้งหลาย.ในกาลยืดยาวฝ่าย อนาคต พระอริยเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง จักเป็นอยู่อย่างพระอริยเจ้า พระอริยเจ้าทั้งหมดเหล่านั้น ก็จักเป็นอยู่ ในการ อยู่อย่างพระอริยเจ้า ๑๐ ประการนี้เหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย.ในกาลบัดนี้ พระอริยเจ้าเหล่าใด เหล่าหนึ่ง กำลังเป็นอยู่อย่างพระอริยเจ้า พระอริยเจ้าทั้งหมดเหล่านั้น ก็กำลังเป็นอยู่ในการอยู่อย่างพระอริยเจ้า ๑๐ ประการนี้เหมือนกัน.. ภิกษุทั้งหลาย. การอยู่แบบพระอริยเจ้า ซึ่งพระอริยเจ้าทั้งหลายได้อยู่มาแล้วก็ดี กำลังอยู่ในบัดนี้ก็ดี จักอยู่ต่อไปก็ดี มีเครื่องอยู่ ๑๐ ประการเหล่านี้แล.


215 ปฏิปทาการบรรลุมรรคผล ๔ แบบ

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๐๒/๑๖๓.

ภิกษุทั้งหลาย.ปฏิปทา ๔ ประการเหล่านี้.๔ ประการ
เป็นอย่างไร.คือ
(๑).ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำ.บาก รู้ได้ช้า)
(๒).ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำ.บาก รู้ได้เร็ว)
(๓).สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า)
(๔).สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว)

แบบปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า ภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นอย่างไร.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่า ไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง

อนึ่ง มรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน เธอเข้าไปอาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริ โอตัปปะ วิริยะ ปัญญาอินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าอ่อน เธอจึงได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน ภิกษุทั้งหลาย. นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา แบบปฏิบัติลำบาก รู็ได้เร็ว

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มีความสำคัญในโลกทั้งปวง ว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นใน สังขาร ทั้งปวง ว่าไม่เที่ยง อนึ่ง มรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน เธอเข้าไปอาศัยธรรม อันเป็นกำลังของ พระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริ โอตัปปะ วิริยะ ปัญญาแต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า เธอย่อมได้บรรลุ คุณวิเศษเพื่อ ความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า ภิกษุทั้งหลาย. นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา แบบปฏิบัติสบายรู้ได้ช้า

ภิกษุทั้งหลาย. ก็สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจา อกุศล ธรรม ทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตก และวิจารสงบไป จึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มี วิตกวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิด จากสมาธิอยู่ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้ เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสก่อนๆ ได้ จึงบรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่ เธออาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริ โอตัปปะ วิริยะ ปัญญา.แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าอ่อน เธอจึงบรรลุ คุณวิเศษ เพื่อความสิ้นอาสวะช้า

เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน ภิกษุทั้งหลาย.นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาแบบปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว
ภิกษุทั้งหลาย.ก็สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นอย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล ธรรม ทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกและวิจารสงบไป จึงบรรลุ ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มี วิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจาก สมาธิอยู่ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้ เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสก่อนๆ ได้ จึงบรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอย่ เธออาศัย ธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริ โอตัปปะ วิริยะ ปัญญา ทั้งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า เธอย่อมได้บรรลุคุณวิเศษ เพื่อความ สิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า.

ภิกษุทั้งหลาย. นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา.


ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แล ปฏิปทา ๔ ประการ.


216 อินทรีย์ ๖
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๗๑-๒๗๒/๙๐๒,๙๐๓,๙๐๕.

ภิกษุทั้งหลาย.อินทรีย์ ๖ ประการ.๖ ประการเป็นอย่างไร คือ อินทรีย์คือ ตา อินทรีย์คือ หู อินทรีย์คือ จมูก อินทรีย์คือ ลิ้น อินทรีย์คือ กาย อินทรีย์คือ ใจ

ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อใด อริยสาวก รู้แจ้งชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิดขึ้น (สมุทัย) ความตั้งอยู่ไม่ได้ (อัตถังคมะ) รสอร่อย (อัสสาทะ) โทษอันต่ำทราม (อาทีนวะ) และอุบาย เครื่องออก (นิสสรณะ) แห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้เมื่อนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้ว่า เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน จักตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า

…ภิกษุทั้งหลาย.เมื่อใด ภิกษุ รู้แจ้งชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อย โทษอันต่ำ.ทราม และอุบายเครื่องออก แห่งอินทรีย์ ๖ ประการน้ี ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้น เพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น เราเรียกภิกษุนี้ว่า เป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพ หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ โดยชอบ.


217 อินทรีย์ ๕ (นัยที่ ๑)
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๕๙-๒๖๑/๘๕๒-๘๖๓.

ภิกษุทั้งหลาย.อินทรีย์ ๕ ประการนี้.๕ ประการ เป็นอย่างไร คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ในธรรมไหนเล่า ในโสตาปัตติยังคะ.๔ พึงเห็นสัทธินทรีย์ในธรรมนี้.
ภิกษุทั้งหลาย.ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ในธรรมไหนเล่า ในสัมมัปปธาน.๔ พึงเห็นวิริยินทรีย์ในธรรมนี้.
ภิกษุทั้งหลาย.ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ในธรรมไหนเล่า ในสติปัฏฐาน.๔ พึงเห็นสตินทรีย์ในธรรมนี้.
ภิกษุทั้งหลาย.ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ในธรรมไหนเล่า ในฌานทั้ง.๔ พึงเห็นสมาธินทรีย์ในธรรมนี้.
ภิกษุทั้งหลาย.ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ในธรรมไหนเล่า ในอริยสัจ.๔ พึงเห็นปัญญินทรีย์ในธรรมนี้.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็สัทธินทรีย์เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย.อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระ ปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดย ชอบ ทรงถึงพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะเสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่ง กว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.

ก็วิริยินทรีย์เป็นอย่างไร.ภิกษุทั้งหลาย.อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.

ก็สตินทรีย์เป็นอย่างไร. ภิกษุทั้งหลาย. อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็น เครื่อง รักษาตัว อย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ซึ่งกิจที่กระทำ และคำที่พูดแม้นานได้ นี้เรียกว่า สตินทรีย์.

ก็สมาธินทรีย์เป็นอย่างไร. ภิกษุทั้งหลาย.อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ กระทำโวสสัคคารมณ์ (ความที่จิตมี การปล่อย หรือการวางเป็นอารมณ์) แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า
สมาธินทรีย์.


ก็ปัญญินทรีย์เป็นอย่างไร. ภิกษุทั้งหลาย.อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา เครื่องกำหนดความเกิดความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์.

ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แลอินทรีย์ ๕ ประการ.


218 อินทรีย์ ๕ (นัยที่ ๒)
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๖๒-๒๖๓/๘๖๔-๘๖๙.


ภิกษุทั้งหลาย.อินทรีย์ ๕ ประการนี้.๕ ประการ เป็นอย่างไร คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็สัทธินทรีย์เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย.อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระ ปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง โดยชอบ ทรงถึงพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ ที่ควรฝึก ไม่มี ผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.

ก็วิริยินทรีย์เป็นอย่างไร. ภิกษุทั้งหลาย.อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย อริยสาวก นั้น ยังฉันทะ ให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิต ไว้มั่น เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่ง อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อความบังเกิดขึ้น แห่งกุศลธรรม ที่ยังไม่ บังเกิดขึ้น เพื่อความถึงพร้อม เพื่อความไม่หลงลืม เพื่อเจริญยิ่งขึ้น เพื่อความ ไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรม ที่บังเกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.

ก็สตินทรีย์เป็นอย่างไร .ภิกษุทั้งหลาย.อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัว อย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำ และคำพูดแม้นานได้ อริยสาวกนั้น ย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำ.จัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย นี้เรียกว่า สตินทรีย์.

ก็สมาธินทรีย์เป็นอย่างไร. ภิกษุทั้งหลาย. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำโวสสัคคารมณ์ (ความที่จิตมี การ ปล่อยหรือการวางเป็นอารมณ์) แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต อริยสาวกนั้น สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละ สุขและทุกข์ และดับโทมนัสโสมนัส ก่อนๆ ได้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.

ก็ปัญญินทรีย์เป็นอย่างไร. ภิกษุทั้งหลาย.อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา เครื่องกำหนดความเกิดความดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลสให้ถึง ความสิ้นทุกข์โดยชอบ อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์.

ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แลอินทรีย์ ๕ ประการ.


219 อินทรีย์ ๕ (นัยที่ ๓)
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๙๙–๓๐๐/๑๐๑๗–๑๐๒๒.

ดีละๆ สารีบุตร. อริยสาวกใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสในตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัย ในพระตถาคต หรือในศาสนาของพระตถาคต ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภ ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระใน กุศลธรรมทั้งหลาย. สารีบุตร.ก็วิริยะของอริยสาวกนั้น เป็นวิริยินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภ ความเพียรแล้ว พึงหวัง ข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง จักระลึกถึง ตามระลึกถึง กิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้. สารีบุตร. ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็น สตินทรีย์

ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักกระทำให้ได้ซึ่ง กระทำ โวสสัคคารมณ์ (ความที่จิตมีการปล่อย หรือการวางเป็นอารมณ์) แล้วได้สมาธิ จักได้ซึ่งความตั้งมั่น แห่งจิต ได้เอกัคคตาจิต สารีบุตร.ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์

ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ชัด อย่างนี้ว่า สงสารมีที่สุดและเบื้องต้น อันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุดไม่ปรากฏ แก่เหล่าสัตว์ ผู้มีอวิชชา เป็น เครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความดับด้วยการสำรอก โดยไม่ เหลือแห่งกองมืด คือ อวิชชา นั่นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอันประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความ สละคืนอุปธิ ทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน.

สารีบุตร.ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์ อริยสาวกนั้นแล พยายามอย่างนี้
ครั้นพยายามแล้ว ระลึกอย่างนี้
ครั้นระลึกแล้ว ตั้งมั่นอย่างนี้
ครั้นตั้งมั่นแล้ว รู้ชัดอย่างนี้
ครั้นรู้ชัดแล้ว ย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้
ก็คือธรรมที่เราเคยได้ฟังมาแล้วนั่นเอง
เหตุนั้น บัดนี้เราถูกต้องด้วยกายอยู่
และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา.

สารีบุตร.สิ่งใดเป็นศรัทธาของอริยสาวกนั้น สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ของอริยสาวกนั้น ดังนี้แล.
(สามารถดูความหมายของอินทรีย์ ๕.อีกนัยหนึ่งได้ในหน้า ๑๖๗ ของหนังสือเล่มนี้)


220 อินทรีย์ ๕ กับ พละ ๕
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๙๐/๙๗๖.

ภิกษุทั้งหลาย.
ปริยาย
ที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕
ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่

ปริยาย
ที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕
ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ เป็นอย่างไร

ภิกษุทั้งหลาย.
สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็น สัทธาพละ
สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์
สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ
สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์
สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ.
สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็น สตินทรีย์.
สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้น เป็นสมาธิพละ
สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์
สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ
สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์

ภิกษุทั้งหลาย. เปรียบเหมือนแม่น้ำ ซึ่งไหลไปทางทิศตะวันออก หลั่งไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทางทิศ ตะวันออก ที่ตรงกลางแม่น้ำนั้นมีเกาะ ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า กระแสเดียวมีอยู่ อนึ่ง ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสมีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียว เป็นอย่างไร คือ น้ำในที่สุดด้านตะวันออก และในที่สุดด้านตะวันตก แห่งเกาะนั้นปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัย แล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียว.

ภิกษุทั้งหลาย.ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสเป็นอย่างไร คือ น้ำในที่สุดด้านเหนือ และในที่สุดด้านใต้แห่งเกาะนั้นปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึง ซึ่งความ นับว่าสองกระแส ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย.ฉันนั้นก็เหมือนกัน

สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ
สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์
สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ
สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์
สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ
สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์
สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ
สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์
สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ
สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์

ภิกษุทั้งหลาย.เพราะความที่อินทรีย์ ๕ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุจึงกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอย่.


221 ปัจจัยต่อความลดหลั่นของความเป็นอริยบุคคล (นัยที่ ๑)
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๖๕/๘๗๘-๘๗๙.

ภิกษุทั้งหลาย.อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการ เป็นอย่างไร
คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลเป็นอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ เต็มบริบูรณ์
เป็นอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ อรหันต์
เป็นสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ อนาคามี
เป็นโสดาบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ สกทาคามี
เป็นธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ โสดาบัน
เป็นสัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ ธัมมานุสารี

ภิกษุทั้งหลาย.ด้วยอาการอย่างนี้ ความต่างแห่งผลย่อมมีได้เพราะความต่างแห่งอินทรีย์
ความต่างแห่งบุคคลย่อมมีได้เพราะ ความต่าง แห่งผล.

ภิกษุทั้งหลาย.อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการ เป็นอย่างไร
คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.

ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ ประการ. ภิกษุทั้งหลาย.
บุคคลเป็นอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์
เป็นอันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอรหันต์
เป็นอุปหัจจ ปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอันตราปรินิพพายี
เป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอุปหัจจปรินิพพายี
เป็นสสังขาร ปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอสังขารปรินิพพายี
เป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของสสังขารปรินิพพายี
เป็นสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี.
เป็นโสดาบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของสกทาคามี
เป็นธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของโสดาบัน
เป็นสัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของธัมมานุสารี

ภิกษุทั้งหลาย.อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการ เป็นอย่างไร คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.
ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ ประการ.
ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้เป็นอรหันต์
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผล ให้แจ้ง

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอรหันต์ เป็นอนาคามี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผล ให้แจ้ง

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอนาคามี เป็นสกาทาคามี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผล ให้แจ้ง
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำ สกทาคามิผลให้แจ้ง

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของสกทาคามี เป็นโสดาบัน
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำ สกทาคามิผลให้แจ้ง
เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของโสดาบัน ภิกษุทั้งหลาย.อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ไม่มีแก่ผู้ใดเสียเลยโดยประการทั้งปวง เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน.

ภิกษุทั้งหลาย.อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการ เป็นอย่างไร คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.ภิกษุทั้งหลาย. เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นอรหันต์

เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็น อันตราปรินิพพายี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอรหันต์ เป็นอุปหัจจปรินิพพายี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอันตราปรินิพพายี เป็น สสังขารปรินิพพายี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอุปหัจจปรินิพพายี เป็นสสังขารปรินิพพายี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอสังขารปรินิพพายี เป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอสังขารปรินิพพายีเป็นสกทาคามี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็นเอกพิชี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของสกทาคามีเป็นโกลังโกละ
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของเอกพิชี เป็น สัตตักขัตตุปรมะ
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของโกลังโกละ เป็นธัมมานุสารี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า สัตตักขัตตุปรมะ เป็น สัทธานุสารี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ ธัมมานุสารี.


222 ปัจจัยต่อความลดหลั่นของความเป็นอริยบุคคล (นัยที่ ๒)
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๙๙/๕๒๗.

ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์ศึกษากันอยู่. ภิกษุทั้งหลายสิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด.

สิกขา ๓ เป็นอย่างไร คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา..

ภิกษุทั้งหลายสิกขา ๓ นี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอประมาณในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพ เพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืนและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป เธอเป็น สัตตักขัตตุปรมะ ย่อมท่องเที่ยวไปในเทวดา และมนุษย์อย่างมากเจ็ดครั้ง แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป เธอเป็น โกลังโกละ ย่อมท่องเที่ยวไปสู่ ๒ หรือ ๓ ตระกูล แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป เธอเป็น เอกพีชี ย่อมมาเกิดยังภพมนุษย์นี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไปและ เพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เธอเป็นสกทาคามี ย่อมมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียว แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

ภิกษุทั้งหลายก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป เธอเป็นอุทธังโสโต อกนิฏฐคามี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป เป็น สสังขารปรินิพพายี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป เป็น อสังขารปรินิพพายี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป เป็น อุปหัจจปรินิพพายี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป เป็นผู้ อันตราปรินิพพายี

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำ.ให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำให้ บริบูรณ์ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้างข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบท เหล่านั้นสมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงบางส่วน ย่อมให้สำเร็จได้บางส่วน ผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์อย่างนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสิกขาบททั้งหลายว่า ไม่เป็นหมันเลย.


223 สิกขา ๓
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๐๓/๕๒๙.

ภิกษุทั้งหลาย.สิกขา ๓ นี้.สิกขา ๓ เป็นอย่างไร.คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

ภิกษุทั้งหลาย ก็อธิศีลสิกขาเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วด้วย การสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษา อยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา

ภิกษุทั้งหลาย ก็อธิจิตตสิกขาเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เพราะวิตกและวิจารสงบไป จึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรม เอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิด แต่สมาธิอยู่ เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ ทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขเพราะ ละสุข และทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ จึงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. ภิกษุทั้งหลาย.นี้เรียกว่า อธิจิตตสิกขา

ภิกษุทั้งหลาย ก็อธิปัญญาสิกขา เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา  

ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แลสิกขา ๓


224 ลักษณะของผู้เป็นธรรมกถึก
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๑-๒๒/๔๕-๔๖.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ธรรมกถึก ธรรมกถึก ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่าธรรมกถึก.

         ภิกษุ.ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่าภิกษุธรรมกถึก.
          ภิกษุ.ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับชาติ ควรจะกล่าวว่าภิกษุธรรมกถึก.
         ภิกษุ.ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับภพ ควรจะกล่าวว่าภิกษุธรรมกถึก.
         ภิกษุ.ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับอุปาทาน ควรจะกล่าวว่าภิกษุธรรมกถึก.
         ภิกษุ.ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับตัณหา ควรจะกล่าวว่าภิกษุธรรมกถึก.
         ภิกษุ.ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับเวทนา ควรจะกล่าวว่าภิกษุ ธรรมกถึก
         ภิกษุ.ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับผัสสะ ควรจะกล่าวว่าภิกษุธรรมกถึก
         ภิกษุ.ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับสฬายตนะ ควรจะกล่าวว่าภิกษุธรรมกถึก.
         ภิกษุ.ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับนามรูป ควรจะกล่าวว่าภิกษุธรรมกถึก.
         ภิกษุ.ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณ ควรจะกล่าวว่าภิกษุธรรมกถึก.
         ภิกษุ.ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับสังขาร ควรจะกล่าวว่าภิกษุธรรมกถึก.
         ภิกษุ.ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับอวิชชา ควรจะกล่าวว่าภิกษุธรรมกถึก.


225 การวางจิตเมื่อถูกเบียดเบียนทางวาจา
-บาลี มู. ม. ๑๒/๒๕๔-๒๖๐/๒๖๗-๒๗๓.

ภิกษุทั้งหลาย.ทางแห่งถ้อยคำ.ที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวหาเธอ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ คือ กล่าวโดยกาล หรือโดยมิใช่กาล กล่าวโดยเรื่องจริงหรือโดยเรื่องไม่จริง กล่าวโดยอ่อนหวาน หรือโดยหยาบคาย กล่าวด้วยเรื่องมี ประโยชน์ หรือไม่มีประโยชน์ กล่าวด้วยมีจิตเมตตาหรือ มีโทสะในภายใน.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขากล่าวอยู่อย่างนั้น ในกรณีนั้นๆ เธอพึงทำการศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจัก ไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน  จักมีจิตประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้นอยู่ และจักมีจิตประกอบด้วยด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย เธอพึงทำการศึกษาอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย.เปรียบเหมือนบุรุษถือเอาสีมา เป็นสีครั่งบ้าง สีเหลืองบ้าง สีเขียวบ้าง สีแสดบ้าง กล่าวอยู่ว่า เราจักเขียนรูปต่างๆ ในอากาศนี้ ทำให้มีรูปปรากฏอยู่ ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย. เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่า อย่างไร บุรุษนั้นจะเขียนรูปต่างๆ ในอากาศนี้ ทำให้มีรูปปรากฏอยู่ได้หรือ ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า นั่นเพราะเหต อะไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเพราะเหตุว่าอากาศนี้ เป็นสิ่งที่มีรูปไม่ได้ แสดงออกซึ่งรูปไม่ได้ ในอากาศนั้นไม่ เป็นการ ง่ายที่ใครๆ จะเขียนรูป ทำให้มีรูปปรากฏอยู่ได้ รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่ง ความลำบาก คับแค้นเสียเปล่า พระเจ้าข้า

ภิกษุทั้งหลาย.ฉันนั้นก็เหมือนกัน ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหา ๕ ประการนั้น เมื่อเขากล่าว หาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำประการใดประการหนึ่งอยู่ เธอพึงทำการศึกษาในกรณีนั้นอย่างนี้ว่า จิตของเรา จักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายในอยู่ จักมีจิตประกอบด้วยด้วยเมตตา แผ่ไปยังบุคคลนั้นอยู่ และจักมีจิตประกอบด้วย ด้วยเมตตา อันเป็น จิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุก ทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลายเธอพึงทำการศึกษาอย่างนี้แล …

(นอกจากนี้ยังทรงอุปมาเปรียบกับบุรุษถือเอาจอบและกระทอมาขุดแผ่นดิน หวังจะไม่ให้เป็นแผ่นดินอีก, เปรียบกับบุรุษถือเอาคบเพลิงหญ้ามาเผาแม่น้ำคงคา หวังจะให้เดือดพล่าน ซึ่งเป็นฐานะที่ไม่อาจเป็นได้).
ภิกษุทั้งหลาย. ถ้าโจรผู้คอยหาช่อง พึงเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ของใครด้วยเลื่อยมีด้ามสองข้าง ผู้ใดมีใจ ประทุษร้ายในโจรนั้น ผู้นั้นชื่อว่าไม่ทำตามคำสอนของเรา เพราะเหตุที่มีใจประทุษร้ายต่อโจรนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนั้น เธอพึงทำการศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอัน เป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตาไม่มีโทสะในภายในอยู่ จักมีจิตประกอบด้วย ด้วยเมตตาแผ่ ไปยัง บุคคลนั้นอยู่ และจักมีจิตประกอบด้วยด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่ ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย เธอพึงทำการ ศึกษา อย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย. เธอพึงกระทำในใจถึงโอวาท อันเปรียบด้วยเลื่อยนี้อยู่เนืองๆ เถิด.ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอ ทำในใจถึงโอวาทนั้นอยู่ เธอจะได้เห็นทางแห่งการกล่าวหาเล็ก หรือใหญ่ที่เธออดกลั้นไม่ได้ อยู่อีกหรือ ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า.!”.

ภิกษุทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย จงกระทำในใจถึงโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยนี้ อยู่เป็นประจำเถิด นั่นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน.

จบ ปฏิบัติ สมถะ วิปัสสนา