คำอนุโมทนา
ขออนุโมทนา กับคณะผู้จัดทำ หนังสือพุทธวจน ฉบับ “ภพภูมิ” ที่มีความตั้งใจ และมีเจตนาอันเป็นกุศล ในการเผยแผ่คำสอนของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ที่ออกจากพระโอษฐ์ของพระองค์เอง ที่ท่านตรัสรู้ในหลาย แง่มุม เกี่ยวกับการแล่นไป การท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ ของสัตว์ทั้งหลายตลอดกาลยึดยาวนาน เป็นสัจจะ ตามหลัก พุทธวจน เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาและนำมาปฏิบัติให้ถึง
ด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าว ขอให้ผู้มีส่วนร่วมใน การรวบรวมคำสอนของตถาคต ที่บัญญัติเกี่ยวกับภพภูมิ จนสำเร็จมาเป็นหนังสือเล่มนี้ รวมถึงผู้ที่ได้อ่าน ได้ศึกษา และได้ปฏิบัติ พึงเกิดปัญญาได้ดวงตาเห็นธรรม กระทำที่สุด เพื่อการละขาดแห่งภพ ทั้งหลายด้วยเทอญ. ความพ้นทุกข์
ขออนุโมทนา
พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำนำ
เพราะเหตุว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยความทุกข์ ความเผ็ดร้อน
คํานํา น้ำตา ที่เราเคยหลั่งไหล น้ำนม ที่เราเคยได้ดื่ม ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพี ที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน เลือด ที่เราเคยสูญเสีย เปรียบกับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ แล้ว ไม่มากกว่าเลย ด้วยเหตุว่าสังสารวัฏนั้น กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
เพียงพอหรือยังที่เราทั้งหลาย จะบอกตนเองว่า มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมา อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขาร
ตถาคตอรหันตสัมมา สัมพุทธะ ได้ทรงเห็นและ ทั้งหลาย พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ทรงแสดงภพภูมิต่าง ๆ ให้เราได้ทราบแล้ว เหมือนอย่างนั้น จากสังขารทั้งปวงนี้
ฉะนั้นแผนภูมิชีวิตของเราจะเป็นอย่างไร ! เราสามารถกําหนดได้หรือไม่ ? หาคําตอบด้วยตัวเองจากหนังสือ พุทธวจน ฉบับ ภพภูมิ เล่มนี้
คณะผู้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ขอนอบน้อมสักการะ
ต่อ ตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธะ และ ภิกษุสาวกในธรรมวินัยนี้ ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล จนถึงยุคปัจจุบันที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการสืบทอดพุทธวจน คือ ธรรมและวินัย ที่ทรงประกาศไว้ บริสุทธิ์บริบูรณ์ดีแล้ว
คณะศิษย์ตถาคต
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า ๓
๑
ภพ เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ! ภพ(๑) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภพทั้งหลาย ๆ อย่างเหล่านี้คือ : -
กามภพ รูปภพ อรูปภพ
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ภพ.
ความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทาน ความดับไม่เหลือแห่งภพ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน
มรรค อันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งภพ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ : ความเห็นชอบ ความดําริชอบ การพูดจาชอบ การทําการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
นิทาน. ส. ๑๖/๕๑/๙๑.
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑. ภพ : สถานที่อันวิญญาณใช้ตั้งอาศัยเพื่อเกิดขึ้น หรือเจริญงอกงามต่อไป
(ดูเพิ่มเติม ที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ น.๑๕ ตรัสภพเปรียบกับดิน วิญญาณ เปรียบกับส่วน ของพืช เช่น เมล็ด ที่สามารถเจริญงอกงามต่อไปได้)
๒. กามภพ : ที่เกิดอันอาศัย ดิน น้ำ ไฟ ลม
๓. รูปภพ : สถานที่เกิดอันอาศัยสิ่งที่เป็นรูป ในส่วนละเอียด
๔.
อรูปภพ : สถานที่เกิดอันอาศัยสิ่งที่ไม่ใช่รูป
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า ๔
๒
ความมีขึ้นแห่งภพ (นัยที่ ๑)
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า“ภพ-ภพ” ดังนี้
ภพ ย่อมมีได้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า !
-------------------------------------------------------------------------
อานนท์! ถ้ากรรมมี กามธาตเป็นวิบากจักไม่ได้มี แล้วไซร้ กามภพ จะพึงปรากฏ ได้แลหรือ ? หามิได้ พระเจ้าข้า !
(กามธาตุ คือ ธาตุอันทราม ดิน น้ำ ไฟ ลม)
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยาง (สําหรับหล่อเลี้ยง เชื้องอก) ของพืช วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชา เป็นเครื่อง กั้น มีตัณหา เป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วย ธาตุชั้นทราม (กามธาตุ) การบังเกิดขึ้นใน ภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้
-------------------------------------------------------------------------
อานนท์! ถ้ากรรมมี รูปธาตุ เป็นวิบากจักไม่ได้มีแล้วไซร้ รูปภพ จะพึงปรากฏ ได้แลหรือ ? หามิได้ พระเจ้าข้า !
(รูปธาตุ เป็นเหตุให้เกิดรูปภพ)
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยาง ของพืช วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกัน มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุ ชั้นกลาง (รูปธาตุ) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้
-------------------------------------------------------------------------
อานนท์! ถ้ากรรมมี อรูปธาตุ เป็นวิบาก จักไม่ได้มี แล้วไซร้
อรูปภพ จะพึง ปรากฏ ได้ แลหรือ ? หามิได้ พระเจ้าข้า !
(อรูปธาตุ เป็นนามธรรม เช่นสมาธิระดับอากาสา)
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยาง ของพืช วิญญาณ ของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้น ประณีต (อรูปธาตุ) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้
อานนท์ ! ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
ติก. อ๋ ๒๐/๒๕๕๗/๕๑๖.
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑. กามธาตุ ธาตุดิน ธาตุน้ํา ธาตุลม และธาตุไฟ (ดูเพิ่มเติม ไตรปิฎกไทย นิทาน. ส. ๑๖/๑๕๘/๒๕๕-๖.)
๒. รูปธาตุ : สิ่งที่เป็นรูปในส่วนละเอียด (ดูเพิ่มเติม มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน
มีอินทรีย์ไม่ทราม” ไตรปิฎกไทย สี. ที. ๑๙/๑๒/๕๑๙.)
๓. อรูปธาตุ : สิ่งที่ไม่ใช่รูป เป็นนามธรรม เช่น เวทนา สัญญา สังขาร (ผู้ได้สมาธิ ระดับ อากาสานัญจายตนะขึ้นไป)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า ๖
๓
ความมีขึ้นแห่งภพ (นัยที่ ๒)
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า “ภพ-ภพ” ดังนี้
ภพ ย่อมมีได้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! ถ้ากรรมมี กามธาตุ เป็นวิบาก จักไม่ได้มี แล้วไซร้
กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ?
-หามิได้ พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยาง ของพืช (สําหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชา เป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็น เครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วย ธาตุชั้นทราม (กามธาตุ)
การบังเกิดขึ้นใน ภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้
อานนท์! ถ้ากรรมมี รูปธาตุ เป็นวิบาก จักไม่ได้มี แล้วไซร้
รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
-หามิได้ พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยาง ของพืช ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดีของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่อง ผูก ตั้งอยู่แล้วด้วย ธาตุชั้นกลาง (รูปธาตุ) การบังเกิดขึ้นในภพ ใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้
อานนท์! ถ้ากรรมมี อรูปธาตุ เป็นวิบาก จักไม่ได้มี แล้วไซร้
อรูปภพ จะพึงปรากฏได้ แลหรือ ?
- หามิได้ พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยาง ของพืช ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดีของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วย ธาตุชั้นประณีต (อรูปธาตุ) การบังเกิดขึ้นใน ภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ด้วยอาการ อย่างนี้
อานนท์ ! ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล
ติก. อ๋ ๒๐/๒๕๕๘/๕๑๗
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า ๘
๔
เครื่องนําไปสู่ภพ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! พระองค์ตรัสอยู่ว่า “เครื่องนําไปสู่ภพ เครื่องนําไปสู่ภพ” ดังนี้ ก็เครื่องนําไปสู่ภพ เป็นอย่างไร พระเจ้าข้า ! และความดับไม่เหลือของเครื่องนําไปสู่ ภพนั้น เป็นอย่างไรเล่า พระเจ้าข้า !
ราธะ! ฉันทะ (ความพอใจ) ก็ดี ราคะ (ความ กําหนัด) ก็ดี นันทิ (ความเพลิน) ก็ดี ตัณหา ความอยาก) ก็ดี อุปายะ (กิเลสเป็นเหตุเข้าไปสู่ภพ) และอุปาทาน (ความถือมั่นด้วยอํานาจกิเลส) อันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่อง เข้าไปอาศัย และ เครื่องนอนเนื่องแห่งจิตก็ดีใด ๆ ในรูป ในเวทนา ในสัญญาในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณกิเลสเหล่านี้
นี่เราเรียกว่า “เครื่องนําไปสู่ภพ” ความดับไม่เหลือของเครื่องนําไปสู่ภพ มีได้ เพราะความดับ ไม่เหลือของกิเลส มีฉันทะ ราคะ เป็นต้น เหล่านั้นเอง
ขนม. สี่ ๑๗/๒๓/๓๖๘.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า ๙
๕
ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่
ภิกษุทั้งหลาย !
ถ้าบุคคลย่อมคิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่ ย่อมดําริ (ปกปุเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่ และย่อม มีจิตฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่ออารมณ์มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว ความเกิดขึ้น แห่งภพใหม่ต่อไปย่อมมี เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพ ใหม่ ต่อไป มีอยู่ ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย !
ถ้าบุคคลย่อมไม่คิด (โนเจเตติ) ถึงสิ่งใด ย่อมไม่ดําริ (โน ปกปเปติ) ถึงสิ่งใด แต่เขายังมีจิตฝัง ลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่ แห่ง วิญญาณ เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ
ย่อมมี เมื่อวิญญาณ นั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี เมื่อความ เกิดขึ้นแห่ง ภพใหม่ต่อไป มีอยู่ ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วย อาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย !
ก็ถ้าว่าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย ย่อมไม่ดําริ ถึงสิ่งใดด้วย และย่อมไม่มีจิต ฝังลงไป (โน อนุเสติ) ในสิ่ง ใดด้วย ในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่ง วิญญาณได้เลย เมื่ออารมณ์ไม่มี ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี เมื่อวิญญาณนั้น ไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว ความเกิดขึ้นแห่ง ภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มี เมื่อความเกิดขึ้น แห่งภพใหม่ ต่อไป ไม่มี ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล.
นิทาน. ส. ๑๖/๒๘/๑๔๔.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า ๑๑
๖
ที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ (นัยที่ ๑)
อานนท์ ! วิญญาณฐิติ (ที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ) เหล่านี้ และ อายตนะ ๒ มีอยู่
วิญญาณฐิติ เหล่าไหนเล่า ?
วิญญาณฐิติ ๗ คือ :
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย (สตุตา) มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน มีอยู่ ได้แก่ มนุษย์ทั้งหลาย เทวดาบางพวก และวินิบาตบางพวก นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๑
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญา อย่างเดียวกัน มีอยู่ ได้แก่ พวกเทพผู้นับเนื่องใน หมู่พรหม ที่บังเกิดโดย ปฐมภูมิ (๑) (ปรมานิพพตตา) นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๒(๒)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑. ปฐมภูมิ : ภูมิเบื้องต้น สามารถเข้าถึงได้หลายทาง เช่น ผู้ได้ปฐมฌาน ผู้เจริญเมตตา ผู้กระทํา กุศลกรรมบท ๑๐, ผู้ประกอบพร้อมด้วย ศรัทธา
ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เป็นต้น. (ดูเพิ่มเติม สัตตาวาสที่ ๒ น.๒๙)
๒. ในไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เฉพาะในสูตรนี้ วิญญาณฐิติที่ ๒ จะพบว่ามีคําว่าอบาย ทั้ง ๔ อยู่เพียงตําแหน่งเดียวที่เป็น พุทธวจน แต่ไม่ตรงกับ สูตรอื่น ที่กล่าวถึง วิญญาณ ธิติ ๗ (คือใน ๒ สูตรของพระสารีบุตรที่พระพุทธเจ้า รับรอง ๑ สูตร และพระสารีบุตรทรงจําเอง ๑ สูตร) และไม่ตรง กับไตรปิฎกฉบับภาษามอญ และ ภาษายุโรป ดังนั้นคําว่าอบายทั้ง ๔ จึงไม่ได้นํามาใส่ ในที่นี้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน มีอยู่ ได้แก่ พวกเทพอาภัสสระ นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๓.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน มีอยู่ ได้แก่ พวกเทพสุภกิณหะ นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๔.
อานนท์! สัตว์ทั้งหลายเพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง รูปสัญญา(๑) โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไป แห่ง ปฏิฆสัญญา(๒) เพราะไม่ใส่ใจ นานัตตสัญญา(๓)จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ มีการทําในใจว่า “อากาศไม่มีที่สุด” ดังนี้ มีอยู่ นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๕.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง อากาสานัญจายตนะ โดยประการ ทั้งปวง จึงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ มีการทําในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” ดังนี้ มีอยู่ นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๖.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง วิญญาณัญจายตนะโดยประการ ทั้งปวง จึงเข้าถึง อากิญ
จัญญายตนะ มีการทําในใจว่า “อะไร ๆ ไม่มี” ดังนี้ มีอยู่ นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๗.
ส่วน อายตนะ ๒ นั้น คือ
อสัญญีสัตตายตนะที่ ๑
เนวสัญญานาสัญญายตนะที่ ๒
อานนท์ ! ในบรรดาวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ (รวมเป็น ๔) นั้น วิญญาณฐิติที่ ๑ อันใด มีอยู่ คือ สัตว์ ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่มนุษย์ทั้งหลาย เทวดาบางพวก และ วินิบาตบางพวก.
อานนท์ !
ผู้ใดรู้ชัดวิญญาณฐิติที่ ๑ นั้น
รู้ชัด การเกิด (สมุทัย) แห่งสิ่งนั้น
รู้ชัด ความดับ (อัตถังคมะ) แห่งสิ่งนั้น
รู้ชัด รสอร่อย (อัสสาทะ) แห่งสิ่งนั้น
รู้ชัด โทษต่ำทราม (อาทีนวะ) แห่งสิ่งนั้น และ
รู้ชัด อุบายเป็นเครื่องออก ไปพ้น (นิสสรณะ) แห่งสิ่งนั้น ดังนี้แล้ว
ควรหรือหนอ ที่ผู้นั้น จะเพลิดเพลินยิ่งซึ่งวิญญาณฐิติที่ ๑ นั้น ?
ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า !
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑. รูปสัญญา : ความหมายรู้ในรูป
๒. ปฏิมสัญญา : ความหมายรู้อันไม่น่ายินดีในส่วนรูป
๓. นานัตตสัญญา : ความหมายรู้อันมีประการต่างๆ ในส่วนรูป
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อานนท์ ! ในบรรดาวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ (รวมเป็น ๔) นั้น เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ความหมายรู้ว่า มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่) อันใด มีอยู่
อานนท์ ! ผู้ใดรู้ชัดเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น รู้ชัดการเกิดแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดการดับแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดรสอร่อย แห่งสิ่งนั้น รู้ชัดโทษอันต่ําทรามแห่งสิ่งนั้น และรู้ชัดอุบาย เป็นเครื่องออกแห่งสิ่งนั้น ดังนี้แล้ว ควรหรือหนอ ที่ผู้นั้น จะเพลิดเพลินยิ่งซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ?
ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! เมื่อใดแล ภิกษุรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง ซึ่งการเกิด การดับ รสอร่อย โทษอัน ต่ําทราม และอุบายเป็น เครื่องออกแห่งวิญญาณฐิติ ๗ เหล่านี้ และแห่งอายตนะ ๒ เหล่านี้ด้วยแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะความไม่ยึดมั่น.
อานนท์ ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ผู้เป็นปัญญาวิมุตติ
มหา. ที. ๑๐/๘๑-๔/ ๖๕.
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ในกรณีแห่งวิญญาณฐิติที่ ๒ วิญญาณฐิติที่ ๓ วิญญานฐิติที่ ๔ วิญญาณฐิติที่ ๕ วิญญาณฐิติที่ 5 วิญญาณฐิติที่ ๗ และ อสัญญีสัตตายตนะที่ ๑ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ
อย่างดังที่กล่าวแล้วข้างต้น ก็ได้มีการอธิบาย ตรัสถาม และทูลตอบ โดยข้อความ ทํานองเดียวกันกับ ในกรณีแห่งวิญญาณฐิติที่ ๑ นั้น ทุกประการต่างกันแต่ชื่อแห่ง สภาพธรรมนั้นๆ เท่านั้น ส่วนเนวสัญญานาสัญญายตนะที่ ๒ นั้น จะได้บรรยายด้วย ข้อความเต็มอีกครั้งหนึ่ง ดังต่อไปนี้ :-)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า ๑๕
๗
ที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ (นัยที่ ๒)
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืชมี ๕ อย่างเหล่านี้ ๕ อย่าง เหล่าไหนเล่า ? ๕ อย่าง คือ: -
(๑) พืชจากเหง้าหรือราก (มูลพืช)
(๒) พืชจากต้น (ขนุธพีช)
(๓) พืชจากตาหรือผล (ผลพีซ)
(๔) พืชจากยอด (อคุคพีซ)
(๕) พืชจากเมล็ด (พีชพืช)
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านี้ ที่ไม่ถูกทําลายยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้ง เพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี แต่ดิน น้ํา ไม่มี
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่างเหล่านั้น จะพึงเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ได้แล หรือ ?
หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า !
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพีซ ๕ อย่าง เหล่านี้ แหละ ที่ไม่ถูกทําลายยังไม่ เน่าเปื่อย ยังไม่แห้งเพราะลม และแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ ด้วยดี ทั้งดิน น้ํา ก็มีด้วย.
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่างเหล่านั้น จะพึงเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้มิใช่หรือ?
อย่างนั้น พระเจ้าข้า !
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) พึงเห็นว่า เหมือนกับ ดิน.
ภิกษุทั้งหลาย ! นันทิราคะ (ความกําหนัดด้วยอํานาจแห่งความเพลิน) พึงเห็นว่า เหมือนกับ น้ํา
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย จึงเห็นว่า เหมือนกับ พืชสดทั้ง ๕ นั้น
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีรูป เป็นอารมณ์ มีรูปเป็น ที่ตั้งอาศัย มีนันที่เป็นที่เข้าไปร้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มี เวทนา เป็น อารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนั้นที่เป็นที่เข้าไปร้องเสพ ก็ถึง ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มี สัญญาเป็น อารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนั้นที่เป็นที่เข้าไปร้องเสพ ก็ถึง ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มี สังขารเป็น อารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนั้นที่เป็นที่เข้าไปร้องเสพ ก็ถึง ความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติซึ่งการมา การไป การจุติ (การตาย) การอุบัติ (การเกิด) ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ของ วิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร ดังนี้นั้น นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย
ภิกษุทั้งหลาย! ถ้าราคะในรูปธาตุในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุ ละได้แล้ว
เพราะละราคะได้ อารมณ์สําหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี วิญญาณ อันไม่มีที่ตั้ง นั้น ก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไป เพราะไม่ถูกปรุงแต่ง เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น เพราะตั้งมั่น ก็ยินดี ในตนเอง เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําได้สําเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทําเพื่อความเป็น อย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้
ขนุศ. ส. ๑๕๗/๒๕๗-๖๘/๑๐๖-๑๐๗.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า ๑๙
๘
ความมีขึ้นแห่งภพ แม้มีอยู่ชั่วขณะก็น่ารังเกียจ
ภิกษุทั้งหลาย ! คูถ แม้นิดเดียว ก็เป็นของมีกลิ่นเหม็น ฉันใด.
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่เรียกว่า ภพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้มีประมาณน้อย ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ก็ไม่มีคุณอะไรที่พอจะกล่าวได้
เอก. อ. ๒๐/๕๖/๒om.
(ในสูตรถัดไปได้ตรัสอุปมาด้วยมูตรด้วยน้ําลาย ด้วยหนอง ด้วยโลหิต โดยทํานอง เดียวกัน เอก. อ. ๒๐/๔๖/๒๐๔.)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า ๒๓
๙
ความหมายของคําว่า “สัตว์”
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกกันว่า “สัตว์ สัตว์ ดังนี้ อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุ เพียงไรเล่า พระเจ้าข้า !
ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกําหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความอยาก) ใด ๆ มีอยู่ในรูป เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในรูปนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” (ผู้ข้องติดในขันธ์ทั้ง ๕) ดังนี้
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ ในเวทนา (ความรู้สึกสุข ทุกข์และไม่สุข ไม่ทุกข์) เพราะการ ติดแล้ว ข้องแล้วในเวทนานั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ ในสัญญา (ความหมายรู้) เพราะการติด แล้วข้องแล้ว ใน สัญญานั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ ในสังขารทั้งหลาย (ความปรุงแต่ง) เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสังขารทั้งหลายนั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ ในวิญญาณ เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในวิญญาณ นั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้แล.
ขนุบ. ส. ๑๕๗/๒๓๒/๓๖๕๗.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า ๒๕
๑๐
เหตุให้มีการเกิด
วัจฉะ ! เราย่อมบัญญัติความบังเกิดขึ้น สําหรับสัตว์ผู้ที่ยังมีอุปาทาน (เชื้อ) อยู่ ไม่ใช่ สําหรับสัตว์ ผู้ที่ไม่มีอุปาทาน
วัจฉะ ! เปรียบเหมือนไฟที่มีเชื้อ ย่อมโพลงขึ้นได้ ที่ไม่มีเชื้อ ก็โพลงขึ้นไม่ได้ อุปมานี้ ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น.
วัจฉะ ! เราย่อมบัญญัติความบังเกิดขึ้น สําหรับ สัตว์ผู้ที่ยังมีอุปาทานอยู่ ไม่ใช่ สําหรับสัตว์ ผู้ที่ไม่มีอุปาทาน
พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าสมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัด หลุดปลิวไปไกล สมัยนั้น พระโคดม ย่อมบัญญัต ิซึ่งอะไรว่าเป็น เชื้อแก่เปลวไฟนั้น ถ้าถือว่ามันยังมีเชื้ออยู่?
วัจฉะ ! สมัยใดเปลวไฟ ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกล เราย่อมบัญญัติเปลวไฟนั้น ว่า มีลมนั่นแหละ เป็นเชื้อ เพราะว่า สมัยนั้นลมย่อมเป็นเชื้อของเปลวไฟนั้น
พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าสมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ และ ยังไม่บังเกิดขึ้นด้วยกายอื่น สมัยนั้น พระโคดมย่อมบัญญัติซึ่ง อะไรว่าเป็นเชื้อแก่สัตว์นั้น ถ้าถือว่ามันยังมีเชื้ออยู่ ?
วัจฉะ ! สมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ และยังไม่บังเกิดขึ้นด้วยกายอื่น เรากล่าวสัตว์นี้ว่า มีตัณหา นั่นแหละ เป็นเชื้อ เพราะว่าสมัยนั้น ตัณหาย่อมเป็นเชื้อของสัตว์นั้น
สพา. ส. ๑๕/๕๔๕/๘oo.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า ๒๗
๑๑
ลักษณะของการเกิด
สารีบุตร ! กําเนิด ๔ ประการเหล่านี้ มีอยู่ ๔ ประการ อย่างไรเล่า ? คือ :
(๑) อัณฑชะกําเนิด (เกิดในไข่)
(๒) ชลาพุชะกําเนิด เกิดในครรภ์)
(๓) สังเสทชะกําเนิด (เกิดในเถ้าไคล)
(๔) โอปปาติกะกําเนิด (เกิดผุดขึ้น)
สารีบุตร ! ก็อัณฑชะกําเนิด เป็นอย่างไรเล่า ?
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชําแรกเปลือกแห่งฟองเกิด นี้เราเรียกว่า อัณฑชะกําเนิด.
สารีบุตร ! ชลาพุซะกําเนิด เป็นอย่างไรเล่า ?
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใด ชําแรกไส้ (มดลูก) เกิด นี้เราเรียกว่า ชลาพุชะกําเนิด
สารีบุตร ! สังเสทชะกําเนิด เป็นอย่างไรเล่า ?
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใด ย่อมเกิดในปลาเน่า ในซากศพเน่า ในขนมบูด หรือในน้ําครํา ในเถ้าไคล (ของสกปรก) นี้เราเรียกว่า สังเสทชะกําเนิด
สารีบุตร ! โอปปาติกะกําเนิดเป็นอย่างไรเล่า ?
เทวดา สัตว์นรก มนุษย์บางจําพวก และวินิบาต บางจําพวก นี้เราเรียกว่า โอปปาติกะกําเนิด
สารีบุตร ! เหล่านี้แล กําเนิด ๔ ประการ
ม. ม. ๑๒/๑๔ ๖/๑๖๙.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า ๒๙
๑๒
กายแบบต่างๆ
ภิกษุทั้งหลาย ! สัตตาวาส” ๙ มีอยู่ สัตตาวาส(๑) ๙ อย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย !
สัตว์พวกหนึ่ง (สตุตา) มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือน มนุษย์ทั้งหลายเทวดา บางพวก และวินิบาตบางพวก นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๑
สัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือน เทวดาผู้นับเนื่อง ในหมู่ พรหม ผู้เกิดในปฐมภูมิ (ปรมานิพพตตา) นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๒
สัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือน พวกเทพอาภัสสระ นี้เป็น สัตตาวาสที่ ๓
สัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือน พวกเทพสุภกิณหะ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๔
สัตว์พวกหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เหมือน พวกเทพผู้เป็นอสัญญีสัตว์ (๒) นี้เป็น สัตตาวาสที่ ๕
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑. ที่อยู่ ที่อาศัยของสัตว์
๒. สัตว์ผู้ไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เข้าถึง โดยผู้ที่ได้สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นต้น
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สัตว์พวกหนึ่ง เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะความ ดับไปแห่ง ปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ มีการทําในใจว่า อากาศไม่มีที่สิ้นสุด(๑) ” ดังนี้ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๖
สัตว์พวกหนึ่ง เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง อากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ มีการทําในใจว่า วิญญาณไม่มีที่สุด(๒) ” ดังนี้ นี้เป็น สัตตาวาส ที่๗
สัตว์พวกหนึ่ง เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ มีการทําในใจว่า อะไรๆ ก็ไม่มี(๓) ” ดังนี้ นี้เป็นสัตตาวาส ที่๘
สัตว์พวกหนึ่ง เพราะก้าวล่วงเสียได้ ซึ่ง อากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้า ถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ (๔) ดังนี้ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล สัตตาวาส ๙
สตุตก. อ. ๒๕๑๓/๓๒๔๘.
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑. ความหมาย ในความไม่มีที่สิ้นสุดของอากาศ
๒. ความหมาย ในความไม่มีที่สุดของวิญญาณ
๓. ความหมาย ในความไม่มีอะไร
๔. ความหมายรู้ว่า สัญญามีก็ไม่ใช่ สัญญาไม่มีก็ไม่ใช่
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า ๓๑
๑๓
คติ ๕ และอุปมา
สารีบุตร ! คติ(๑) ๕ ประการเหล่านี้ มีอยู่ ๕ ประการ อย่างไรเล่า ? คือ
(๑) นรก
(๒) กําเนิดเดรัจฉาน
(๓) เปรตวิสัย
(๔) มนุษย์
(๕) เทวดา
สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งนรก ทางยังสัตว์ให้ถึง นรก และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึง นรก อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติ ประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก(๒) เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย
สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งกําเนิดเดรัจฉาน ทาง ยังสัตว์ให้ถึงกําเนิดเดรัจฉาน และ ปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึง กําเนิดเดรัจฉาน อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงกําเนิดเดรัจฉาน เราย่อม รู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑. คติ : ทางไปของสัตว์ ที่นําไปสู่ภพ)
๒. อบาย ทุคติ วินิบาต นรก : ที่เกิดของสัตว์ต่ํา กว่ามนุษย์
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งเปรตวิสัย ทางยังสัตว์ ให้ถึงเปรตวิสัย และปฏิปทาอันจะ ยังสัตว์ให้ถึงเปรตวิสัย อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย
สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งเหล่ามนุษย์ ทาง ยังสัตว์ให้ถึงมนุษย์โลก และปฏิปทา อันจะยังสัตว์ให้ถึง มนุษย์โลก อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก ย่อมบังเกิดในหมู่มนุษย์ เราย่อมรู้ชัดซึ่ง ประการนั้นด้วย
สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งเทวดาทั้งหลายทางยังสัตว์ ให้ถึงเทวโลก และปฏิปทา อันจะยังสัตว์ให้ถึงเทวโลก อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
กายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย
สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งนิพพาน ทางยังสัตว์ ให้ถึงนิพพาน และปฏิปทาอันจะยัง สัตว์ ให้ถึงนิพพาน อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด ย่อมกระทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่ เราย่อม รู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย
อุปมาการเห็นคติ (นรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย มนุษย์ เทวดา ผู้สิ้นอาสวะ)
(คติ นรก)
สารีบุตร ! (1) เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ เต็มไป ด้วยถ่านเพลิง ปราศจากเปลว ปราศจากควัน ลําดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผด เผา เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย มุ่งมาสู่หลุมถ่านเพลิงนั้นแหละ โดยมรรคา สายเดียว
บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าว อย่างนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนิน อย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงหลุมถ่านเพลิงนี้ที่เดียว” โดยสมัยต่อมา บุรุษ ผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาตกลงในหลุม ถ่านเพลิงนั้น เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อนโดย ส่วนเดียว แม้ฉันใด
สารีบุตร ! เราย่อมกําหนดรู้ใจบุคคลบางคนใน โลกนี้ด้วยใจฉันนั้นเหมือนกันว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก โดยสมัยต่อมา เราได้เห็นบุคคล นั้น เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อนโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
-------------------------------------------------------------------
(คติ กำเนิดเดรัจฉาน)
สารีบุตร ! (2) เปรียบเหมือนหลุมคูถ ลึกยิ่งกว่า ชั่วบุรุษเต็มไปด้วยคูถ ลําดับนั้น บุรุษผู้มี ตัวอันความร้อน แผดเผา เหน็ดเหนื่อย หิวระหาย มุ่งมาสู่หลุมคูถนั้นแหละ โดย มรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติ อย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงหลุมคูถนี้ที่เดียว” โดยสมัย ต่อมาบุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาตกลงในหลุมถนั้น เสวยทุกขเวทนา อันแรงกล้า เผ็ดร้อน แม้ฉันใด.
สารีบุตร ! เราย่อมกําหนดรู้ใจบุคคลบางคนใน โลกนี้ด้วยใจฉันนั้นเหมือนกันว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก จักเข้าถึงกําเนิดเดรัจฉาน โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งกําเนิดเดรัจฉาน เสวยทุกขเวทนา อันแรงกล้า เผ็ดร้อน ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
-------------------------------------------------------------------
(คติ เปรตวิสัย)
สารีบุตร ! (3) เปรียบเหมือนต้นไม้เกิดในพื้นที่อันไม่เสมอ มีใบอ่อนและใบแก่อัน เบาบาง มีเงา อันโปร่ง ลําดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา เหน็ดเหนื่อย
หิว ระหาย มุ่งมาสู่ต้นไม้นั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าว อย่างนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทาง นั้น จักมาถึงต้นไม้นี้ที่เดียว” โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขานั่งหรือนอน ในเงาต้นไม้นั้น เสวยทุกขเวทนา เป็นอันมาก แม้ฉันใด.
สารีบุตร ! เราย่อมกําหนดรู้ใจบุคคลบางคนใน โลกนี้ด้วยใจฉันนั้นเหมือนกันว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก จักเข้าถึงเปรตวิสัย โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งเปรตวิสัย เสวยทุกขเวทนา เป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
-------------------------------------------------------------------
(คติ-มนุษย์)
สารีบุตร ! (4) เปรียบเหมือนต้นไม้เกิดในพื้นที่อันเสมอ มีใบอ่อนและใบแก่ อันหนา มีเงาหนาทึบ ลําดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา เหน็ดเหนื่อย หิวระหาย มุ่งมาสู่ต้นไม้นั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุ เห็นเขาแล้ว พึงกล่าว อย่างนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น
ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนี้ จักมาถึงต้นไม้นี้ที่เดียว” โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขานั่งหรือนอน ในเงาต้นไม้นั้น เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก แม้ฉันใด.
สารีบุตร ! เราย่อมกําหนดรู้ใจบุคคลบางคนใน โลกนี้ด้วยใจฉันนั้นเหมือนกันว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก จักบังเกิดในหมู่มนุษย์ โดยสมัยต่อมาเราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก บังเกิดแล้วในหมู่มนุษย์ เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก ด้วย ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
-------------------------------------------------------------------
(คติ-เทวดา)
สารีบุตร ! (5) เปรียบเหมือนปราสาท ในปราสาทนั้น มีเรือนยอด ซึ่งฉาบทาแล้ว ทั้งภายใน และภายนอก หาช่องลมมิได้ มีวงกรอบอันสนิท มีบานประตู และ หน้าต่าง อันปิดสนิทดี ในเรือนยอดนั้น มีบัลลังก์อันลาด ด้วยผ้าโกเชาว์ขนยาว ลาดด้วย เครื่องลาด ทําด้วยขนแกะ สีขาว ลาดด้วยขนเจียมเป็นแผ่นทึบ มีเครื่องลาดอย่างดี ทําด้วยหนังชะมด มีเพดานกั้นในเบื้องบน มีหมอนแดง วาง ณ ข้างทั้งสอง ลําดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อน
แผดเผาเหน็ดเหนื่อย หิวระหาย มุ่งมาสู่ปราสาทนั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าว อย่างนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงปราสาทนี้ที่เดียว” โดยสมัย ต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขานั่งหรือนอนบนบัลลังก์ ในเรือนยอด ณ ปราสาทนั้น เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด
สารีบุตร ! เราย่อมกําหนดรู้ใจบุคคลบางคนใน โลกนี้ด้วยใจฉันนั้นเหมือนกันว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติโลกสวรรค์ เสวยสุขเวทนา โดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
-------------------------------------------------------------------
(คติ-ผู้สิ้นอาสวะ)
สารีบุตร! (6) เปรียบเหมือนสระโบกขรณี มีน้ำอันเย็น ใสสะอาด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ และในที่ไม่ไกลสระโบกขรณีนั้น มีแนวป่าอันทึบ ลําดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อน แผดเผา เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย มุ่งมาสู่สระโบกขรณีนั้นแหละ
โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าว อย่างนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงสระโบกขรณีนี้ ที่เดียว” โดย สมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาลงสู่สระโบกขรณีนั้น อาบและดื่ม ระงับ ความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความร้อนหมดแล้ว ขึ้นไปนั่ง หรือนอน ในแนวป่านั้น เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด.
สารีบุตร ! เราย่อมกําหนดรู้ใจบุคคลบางคนใน โลกนี้ด้วยใจฉันนั้นเหมือนกันว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักกระทําให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุรุษนั้น กระทํา ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่ เสวยสุขเวทนา โดยส่วนเดียว
ม. ม. ๑๒/๑๔๕๗-๑๕๓/๑๗๐-๑๖.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 42
๑๔
เหตุให้ทุคติปรากฏ
จุนทะ !
ความไม่สะอาดทางกาย มี ๓ อย่าง
ความไม่สะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง
ความไม่สะอาดทางใจ มี ๓ อย่าง
(อกุศลกรรมบถ๑๐)
จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางกาย มี ๓ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
จุนทะ ! คนบางคนในกรณีนี้ :
(๑) เป็นผู้มีปกติทําสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนด้วยโลหิต มีแต่การฆ่า และการทุบตี ไม่มี ความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต
(๒) เป็นผู้มีปกติถือเอาสิ่งของที่มีเจ้าของมิได้ให้ คือวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของบุคคล อื่นที่อยู่ในบ้านหรือในป่า ก็ตาม เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่ง ขโมย
(๓) เป็นผู้มีปกติประพฤติผิดในกาม (คือ ประพฤติผิด) ในหญิงซึ่งมารดา รักษาบิดา รักษาพี่น้องชาย พี่น้องหญิงหรือญาติรักษา อันธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ใน สินไหม โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วย การคล้องพวงมาลัย) เป็นผู้ประพฤติ ผิด จารีต ในรูปแบบเหล่านั้น
จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางกาย ๓ อย่าง
จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
จุนทะ ! คนบางคนในกรณีนี้ :
(๑) เป็นผู้มีปกติกล่าวเท็จ ไปสู่สภาก็ดี ไปสู่บริษัท ก็ดีไปสู่ท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี ไปสู่ท่ามกลางศาลาประชาคม ก็ดี ไปสู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขานําไปเป็นพยาน ถามว่า “บุรุษผู้เจริญ! ท่านรู้อย่างไร ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น” ดังนี้ บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น เมื่อเห็นก็กล่าวไม่เห็น เพราะเหตุตนเอง เพราะเหตุผู้อื่นหรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสไรๆ ก็เป็นผู้กล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่
(๒) เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือฟังจากฝ่ายนี้แล้ว ไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทําลายฝ่ายนี้ หรือฟังจากฝ่ายโน้นแล้ว มาบอกฝ่ายนี้เพื่อทําลายฝ่ายโน้น เป็นผู้ทําคนที่สามัคคีกัน ให้แตกกัน หรือทําคนที่แตกกันแล้วให้แตกกันยิ่งขึ้น พอใจ ยินดีเพลิดเพลินในการแตกกันเป็นพวก เป็นผู้กล่าววาจา ที่กระทําให้แตกกันเป็นพวก
(๓) เป็นผู้มีวาจาหยาบ อันเป็นวาจาหยาบคาย กล้าแข็ง แสบเม็ดต่อผู้อื่น กระทบ กระเทียบผู้อื่น แวดล้อม อยู่ด้วยความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิเขาเป็นผู้กล่าววาจา มีรูปลักษณะเช่นนั้น
(๔) เป็นผู้มีวาจาเพ้อเจ้อ คือเป็นผู้กล่าวไม่ถูกกาล ไม่กล่าวตามจริง กล่าวไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย เป็นผู้กล่าววาจาไม่มีที่ตั้งอาศัย ไม่ถูกกาลเทศะ ไม่มีจุดจบ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางวาจา ๔ อย่าง
จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางใจ มี ๓ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
จุนทะ ! คนบางคนในกรณีนี้ :
(๑) เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา (ความโลภเพ่งเล็ง) เป็นผู้โลกเพ่งเล็ง วัตถุอุปกรณ์แห่ง ทรัพย์ของผู้อื่น ว่า “สิ่งใดเป็นของผู้อื่น สิ่งนั้น จงเป็นของเรา” ดังนี้
(๒) เป็นผู้มีจิตพยาบาท มีความดําริในใจเป็นไป ในทางประทุษร้าย ว่า “สัตว์ทั้งหลาย เหล่านี้ จงเดือดร้อน จงแตกทําลายจงขาดสูญ จงพินาศอย่าได้มีอยู่เลย” ดังนี้เป็นต้น
(๓) เป็นผู้มีความเห็นผิด มีทัสสนะวิปริตว่า
ทานที่ให้แล้ว ไม่มี (ผล)
ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล)
การบูชา ที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล)
ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่ว ไม่มี
โลกนี้ ไม่มี
โลกอื่น ไม่มี
มารดา ไม่มี
บิดา ไม่มี
โอปปาติกะสัตว์ ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดําเนินไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ถึงกับกระทําให้แจ้งโลกนี้ และ โลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง
แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็ไม่มี ดังนี้
จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางใจ ๓ อย่าง
จุนทะ ! เหล่านี้แล เรียกว่า อกุศลกรรมบถสิบ.
จุนทะ ! อนึ่ง เพราะมีการประกอบด้วยอกุศลกรรมบถทั้งสิบประการเหล่านี้เป็นเหตุ
นรก ย่อมปรากฏ กําเนิดเดรัจฉานย่อมปรากฏ เปรตวิสัยย่อมปรากฏ หรือ ว่าทุคติใด ๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นเหมือน บุคคลผู้ถูกนําตัว ไปเก็บไว้ในนรก.
ทสก. อ. ๒๔/๒๕๔-๒๔๗/๑๖๔
ทสก. อ. ๒๔/๓๑/๑๘๕.
(สูตรอื่น ๆ แทนที่จะนับจํานวนกรรมบถ ๑๐ ได้ทรงขยาย ออกไปเป็น ๒๐ คือ ทําเองสิบ ชักชวนผู้อื่นให้ทําอีกสิบ และทรงขยายออกไปเป็น ๓๐ คือ ทําเองสิบ ซักชวนผู้อื่นให้ทําสิบ ยินดี เมื่อเขาทําสิบ และทรงขยายออกไปเป็น ๔๐ คือ ทําเองสิบซักชวนทำสิบ สรรเสริญผู้กระทําสิบ: จึงมี กรรมบถ สิบ ยี่สิบสามสิบ สี่สิบ. ทสก. อ. ๒๔/๓๕๒-๓๓๒/๑๙๘-๒๐๑.
ในสูตรอื่น แสดงผลแห่งการกระทําแปลกออกไป จาก คําว่า “เหมือนถูกนําไปเก็บไว้ ในนรก” นั้น ทรงแสดงด้วยคําว่า “เป็นผู้ขุดรากตนเอง” ก็มี, “ตายแล้วไปทุคติ” ก็มี, “เป็นพาล” ก็มี ทสก. อ. ๒๔/๓๓๒-๓๓๓/๒๐๒-๒๐๓.)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า47
๑๕
โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล
คหบดีทั้งหลาย ! โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ ประการเหล่านี้
๕ ประการ คือ : คหบดีทั้งหลาย !
(๑) คนทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว ย่อมเข้าถึงความเสื่อม แห่งโภคทรัพย์เป็นอันมาก ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษข้อที่ ๑ แห่งศีลวิบัติของคนทุศีล
(๒) เกียรติศัพท์อันชั่วของคนทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว ย่อมกระฉ่อนไป นี้เป็นโทษข้อที่ ๒ แห่งศีลวิบัติของ คนทุศีล
(๓) คนทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว จะเข้าไปสู่บริษัท(๑) ใด ๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท หรือสมณ บริษัทย่อมครั่นคร้าม เก้อเขิน นี้เป็นโทษข้อที่ ๓ แห่งศีล วิบัติ ของคนทุศีล
(๔) คนทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว ย่อมหลงกระทํากาละ นี้เป็นโทษข้อที่ ๔ แห่งศีลวิบัติ ของคนทุศีล
(๕) คนทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว เบื้องหน้าแต่การตาย เพราะการทําลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นโทษข้อที่ ๕ แห่งศีลวิบัติของคนทุศีล
คหบดีทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือ โทษแห่งศีลวิบัติ ของคนทุศีล ๕ ประการ.
มหา. ที่ ๑๐/๑๐/๕.
----------------------------------------------------------
๑. กลุ่ม, หมู่คณะ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 49
๑๖
ทุคติของผู้ทุศีล
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงธรรมปริยาย อันเป็น เหตุแห่งความกระเสือก กระสน ไปตามกรรม (ของหมู่สัตว์) แก่พวกเธอ เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ธรรมปริยายอันแสดงความกระเสือกกระสนไป ตามกรรม เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกําเนิด มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทํากรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลกรรมนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ! คนบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มี ปกติ ทําปาณาติบาต หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนด้วยโลหิต มีแต่ การฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต เขา กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) กาย
กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) วาจา
กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) ใจ
กายกรรมของเขาคด วจีกรรมของเขาคด
มโนกรรมของ เขาคด คติของเขาคด
อุปบัติ (การเข้าถึงภพ) ของเขาคด.
ภิกษุทั้งหลาย! สําหรับผู้มีคติคด มีอุปบัติคดนั้น เรากล่าวคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาคติสองอย่าง แก่เขา คือ เหล่าสัตว์นรก ผู้มีทุกข์โดยส่วนเดียว หรือว่า สัตว์เดรัจฉานผู้มีกําเนิดกระเสือกกระสน ได้แก่งแมลงป่อง ตะขาบ พังพอน แมว หนู นกเค้า หรือสัตว์เดรัจฉานเหล่าอื่น ที่เห็นมนุษย์แล้วกระเสือกกระสน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภูตสัตว์ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ คือ อุปบัติย่อมมีแก่ภูตสัตว์ เขาทํากรรมใดไว้ เขาย่อมอุปบัติ ด้วยกรรมนั้น ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้องภูตสัตว์นั้น ผู้อุปบัติแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่าสัตว์ทั้งหลายเป็น ทายาทแห่งกรรม ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้
ทสก. อ. ๒๔/๓๐๙/๑๙๓.
(ในกรณีแห่งบุคคลผู้กระทําอทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความ อย่างเดียวกันกับในกรณีของผู้กระทํา ปาณาติบาตดังกล่าวมาแล้วข้างต้นทุกประการ และยังได้ตรัสเลยไปถึง วจีทุจริตสี่ มโนทุจริตสาม ด้วยข้อความอย่างเดียวกันอีกด้วย)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 51
๑๗
วิบากของผู้ทุศีล
ภิกษุทั้งหลาย ! ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ที่เสพ ทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกําเนิดเดรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย วิบากแห่ง ปาณาติบาต ของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่า วิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไปเพื่อมีอายุสั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ที่เสพ ทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกําเนิดเดรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย วิบากแห่ง อทินนาทาน ของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่า วิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไปเพื่อความ เสื่อมแห่งโภคะ
ภิกษุทั้งหลาย ! กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิด ในกาม) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อนรก เป็นไปเพื่อกําเนิดเดรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.
วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารของผู้เป็นมนุษย์ที่เบา กว่าวิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไป เพื่อก่อเวรด้วยศัตรู
ภิกษุทั้งหลาย ! มุสาวาท (คําเท็จ) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อนรก เป็นไป เพื่อกําเนิดเดรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย,
วิบากแห่ง มุสาวาท ของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่า วิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไป เพื่อการ ถูกกล่าวด้วย คําไม่จริง
ภิกษุทั้งหลาย ! ปิสุณวาท (คํายุยงให้แตกกัน) ที่ เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทําให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกําเนิดเดรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.
วิบากแห่งปีสุณวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่า วิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไปเพื่อ
การแตกจากมิตร
ภิกษุทั้งหลาย ! ผรุสวาท (คําหยาบ) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อนรก เป็นไป เพื่อกําเนิดเดรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย
วิบากแห่งผรุสวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่า วิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไปเพื่อ การได้ฟังเสียง ที่ไม่น่าพอใจ
ภิกษุทั้งหลาย ! สัมผัปปลาปะ (คําเพ้อเจ้อ) ที่ เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกําเนิดเดรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย
วิบากแห่ง สัมผัปปลาปะของผู้เป็นมนุษย์ที่เบา กว่าวิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไปเพื่อวาจา ที่ไม่มีใคร เชื่อถือ
ภิกษุทั้งหลาย ! การดื่มน้ําเมาคือสุราและเมรัย ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทําให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อนรก เป็นไปเพื่อกําเนิดเดรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย
วิบาก แห่งการดื่มน้ําเมาคือสุราและเมรัยของ ผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไป เพื่อความเป็นบ้า (อุมุมตุตก).
อฏฐก. อ. ๒๓/๒๕/๑๓๐.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 54
18
เคราะห์ร้ายอันใหญ่หลวงของคนพาล
ภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนบุรุษทิ้งแอกที่มีรูเดียว ลงไปในมหาสมุทร แอกนั้น ถูกลมตะวันออก พัดไปทาง ทิศตะวันตก ถูกลมตะวันตก พัดไปทางทิศตะวันออก ถูกลมเหนือพัดไปทางทิศใต้ ถูกลมใต้พัดไปทางทิศเหนือ มีเต่าตาบอด อยู่ในมหาสมุทรนั้น ล่วงไปร้อยปีจึงจะผุดขึ้นครั้งหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เต่าตาบอดตัวนั้น จะพึงเอาคอสวมเข้า ที่แอกซึ่งมีรูเดียวโน้นได้บ้างไหมหนอ ?
ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย พระเจ้าข้า !
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ถ้าจะเป็นไปได้บ้างในบางครั้ง บางคราว ก็โดยล่วงระยะกาล นานแน่นอน
ภิกษุทั้งหลาย ! เต่าตาบอดตัวนั้นจะพึงเอาคอ สวมเข้าที่แอกซึ่งมีรูเดียวโน้น ได้ยังจะเร็วกว่า เรากล่าว ความเป็นมนุษย์ที่คนพาลผู้ไปสู่วินิบาตคราวหนึ่งแล้ว จะพึงได้ยังยากกว่านี้ นั่นเพราะเหตุไร?
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะในตัวคนพาลนี้ไม่มีการ ประพฤติธรรม ไม่มีความประพฤติสงบ ไม่มีการทํากุศล ไม่มีการทําบุญ มีแต่การกินกันเอง การเบียดเบียนผู้อ่อนแอ.
ภิกษุทั้งหลาย ! คนพาลนั้นนั่นแล ถ้าจะมาสู่ ความเป็นมนุษย์ในบางครั้งบางคราว ไม่ว่ากาลไหน ๆ โดย ล่วงระยะกาลนาน ก็ย่อมเกิดในสกุลต่ํา คือ สกุลคนจัณฑาล หรือสกุลคนจักสาน หรือสกุลช่างรถ หรือสกุลคนเทขยะ เห็นปานนั้น ในบั้นปลาย อันเป็นสกุลคนจน มีข้าว น้ําและ อาหารน้อย มีชีวิตเป็นไปลําบาก ซึ่งเป็นสกุล ที่จะได้ของกิน และเครื่องนุ่งห่มโดยฝืดเคือง และเขาจะมีผิวพรรณทราม น่าเกลียดชัง ร่างม่อต้อ มีโรคมาก เป็นคนตาบอดบ้างเป็น คนง่อยบ้าง เป็นคนกระจอกบ้าง เป็นคนเปลี้ยบ้าง ไม่ได้ ข้าว น้ํา ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องตามประทีป เขาจะประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ครั้นแล้วเมื่อตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหมือนนักเลงการพนัน เพราะ เคราะห์ร้ายประการแรกเท่านั้น จึงต้อง เสียลูกบ้าง เสียเมียบ้าง เสียสมบัติทุกอย่างบ้างยิ่งขึ้นไปอีก ต้องถึงถูกจองจํา เคราะห์ร้าย ของนักเลงการพนันที่ต้องเสียไปดังนั้น เพียงเล็กน้อย ที่แท้แล เคราะห์ร้าย อันใหญ่หลวงกว่านั้น คือ เคราะห์ที่คนพาลนั้นประพฤติกายทุจริตวจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว ตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นั่นเอง
อุปร. ม. ๑๕/๓๑๙-๓ ๒๐/๔๘๑-๔๘๓. |