เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ      

  หนังสือภพภูมิ - พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  2 of 7  
 
   หนังสือภพภูม พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  ๑๙ ปฏิปทาให้เข้าถึงนรกชื่อปหาสะ 57  
  ๒๐ ปฏิปทาให้เข้าถึงนรกชื่อสรชิต 59  
  ๒๑ อสัทธรรมที่ทำให้เกิดในนรกตลอดกัป 61  
  ๒๒ อุปมาความทุกข์ในนรก 63  
  ๒๓ ความทุกข์ในนรก 73  
  ๒๔ อายุนรก 89  
  ๒๕ การเข้าถึงนรกในภพปัจจุบัน (นัยที่๑) 93  
  ๒๖ การเข้าถึงนรกในภพปัจจุบัน (นัยที่๒) 96  
  ๒๗ การจองจำที่ทารุณเจ็บปวด 98  
  ๒๘ ความเป็นไปได้ยาก 101  
  ๒๙ การไม่รู้อริยสัจ มืดยิ่งกว่าโลกันตริก 104  
  ๓๐ เหตุที่ทำให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน 108  
  ๓๑ นาคเป้นสัตว์เดรัจฉาน 111  
  ๓๒ กำเนิดนาค ๔ จำพวก 115  
  ๓๓ เหตุให้นาครักษาอุโบสถ 116  
  ๓๔ เหตุให้เข้าถึงความเป็นสหายของนาค (นัยที่ ๑) 117  
  ๓๕ เหตุให้เข้าถึงความเป็นสหายของนาค (นัยที่ ๒) 118  
  ๓๖ กำเนิดครุฑ ๔ จำพวก 119  
  ๓๗ เหตุให้เข้าถึงความเป็นสหายพวกครุฑ (นัยที่ ๑) 120  
  ๓๘ เหตุให้เข้าถึงความเป็นสหายพวกครุฑ (นัยที่ ๒) 121  
  ๓๙ ปฏิปทาให้ถึงความเป็นสุนัขและโค 123  
 
 


หน้า 57

๑๙
ปฏิปทาให้เข้าถึงนรกชื่อปหาสะ


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์เคยได้ยินคําของ นักเต้นรําผู้เป็นอาจารย์และ ปาจารย์ก่อนๆ กล่าวว่า นักเต้นคนใด ทําให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคําจริงบ้าง คําเท็จบ้าง ในท่ามกลาง สถานเต้นรํา ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้ร่าเริงในข้อนี้พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าอย่างไร ?

อย่าเลยคามณิ! ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถาม ข้อนี้กะเราเลย.

แม้ครั้งที่ ๒ คามณี ได้ทูลถามอีก พระผู้มีพระภาคตรัสห้าม
แม้ครั้งที่ ๓ คามณี ได้ทูลถามอีก พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

คามณี ! เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจาก ราคะ อันกิเลสเครื่องผูกคือราคะผูกไว้ นักเต้นรํารวบรวม เข้าไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด ในท่ามกลาง สถาน เต้นรํา ในท่ามกลางสถานมหรสพแก่สัตว์เหล่านั้น มากยิ่งขึ้น

เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลาย ยังไม่ปราศจาก โทสะ อัน กิเลสเครื่องผูกคือโทสะผูกไว้ นักเต้นรํารวบรวมเข้าไว้ซึ่ง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ในท่ามกลางสถานเต้นรํา ในท่ามกลางสถานมหรสพแก่สัตว์ เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น

เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโมหะ อัน กิเลสเครื่องผูกคือโมหะผูกไว้ นักเต้นรําย่อมรวบรวมไว้ ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ในท่ามกลางสถานเต้นรํา ในท่ามกลางสถานมหรสพแก่สัตว์เหล่านั้น มากยิ่งขึ้น นักเต้นรํานั้น ตนเอง ก็มัวเมา ประมาท ตั้งอยู่ใน ความประมาท เมื่อแตกกายตายไป ย่อมบังเกิดในนรก ชื่อปหาสะ

อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักเต้นรําคนใด ทําให้คนหัวเราะ รื่นเริงด้วยคําจริง บ้าง คําเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรํา ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตก กายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย แห่ง เทวดาชื่อปหาสะ ดังนี้ไซร้ ความเห็น ของเขานั้น เป็นความเห็นผิด.

คามณี ! ก็เราย่อมกล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรก หรือ กําเนิดเดรัจฉาน ของบุคคล ผู้มีความเห็นผิด.
สฬา. ส. ๑๕/๓๔๗๗/๕๕๕

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 59

๒๐
ปฏิปทาให้เข้าถึงนรกชื่อสรชิต


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ได้สดับคําของ นักรบอาชีพทั้งอาจารย์และปาจารย์ ก่อนๆ กล่าวกันอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายาม ในสงคราม คนอื่นฆ่า ผู้นั้น ซึ่งกําลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความ เป็นสหายของเทวดาเหล่าสรซิต ในข้อนี้พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าอย่างไร?

อย่าเลยคามณิ! ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถาม ข้อนี้กะเราเลย

แม้ครั้งที่ ๒ คามณี ได้ทูลถามอีก พระผู้มีพระภาคตรัสห้าม
แม้ครั้งที่ ๓ คามณี ได้ทูลถามอีก พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

คามณี ! นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายาม ในสงคราม ผู้นั้นยึดหน่วงจิตกระทํา ไว้ไม่ดี ตั้งจิตไว้ ไม่ดีก่อนว่า สัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ หรือว่าอย่าได้มีคนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกําลังอุตสาหะ พยายามให้ถึงความตาย

ผู้นั้นเมื่อตาย ไป ย่อมเกิดในนรก ชื่อสรชิต ก็ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพ คนใด อุตสาหะ พยายามในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกําลัง อุตสาหะพยายามให้ถึง ความตาย ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อม เข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ดังนี้ ไซร้ ความเห็นของผู้นั้นเป็นความเห็นผิด.

คามณี ! ก็เราย่อมกล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใด อย่างหนึ่ง คือ นรก หรือ กําเนิดสัตว์ เดรัจฉาน ของบุคคล ผู้มีความเห็นผิด.
สฬา. ส. ๑๕/๓๘๐/๕๕๓.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 61

๒๑
อสัทธรรมที่ทําให้เกิดในนรกตลอดกัป


ภิกษุทั้งหลาย ! เทวทัตต์ผู้อันอสัทธรรม ๓ ประการครอบงําย่ํายีจิตแล้วเป็นผู้เกิด ในอบาย เกิดในนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้

อสัทธรรม ๓ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?

(๑) เทวทัตต์ผู้อันความเป็นผู้มีความปรารถนา เลวทรามครอบงําย่ํายีจิตแล้ว ...
(๒) เทวทัตต์ผู้อันความเป็นผู้มีมิตรชั่วครอบงํา ย่ํายีจิตแล้ว ...
(๓) ก็เมื่อมรรคและผลที่ควรกระทําให้ยิ่งมีอยู่ เทวทัตต์ถึงความพินาศเสียในระหว่าง เพราะการบรรลุ คุณวิเศษมีประมาณเล็กน้อย

ภิกษุทั้งหลาย ! เทวทัตต์ผู้อันอสัทธรรม ๓ ประการนี้แล ครอบงําย่ํายีจิตแล้ว เป็นผู้เกิดในอบาย เกิดในนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้
ข. ข. ๒๕/๒๙๖/๒๖๙.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 63

๒๒
อุปมาความทุกข์ในนรก

ภิกษุทั้งหลาย ! ลักษณะเครื่องหมาย เครื่องอ้าง ว่าเป็นพาลของคนพาลนี้ มี ๓ อย่าง
๓ อย่าง อย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! คนพาลในโลกนี้
มักคิดความคิดที่ชั่ว
มักพูดคําพูดที่ชั่ว
มักทําการทํา ที่ชั่ว


ถ้าคนพาลจักไม่เป็นผู้คิดความคิดที่ชั่ว พูดคําพูด ที่ชั่ว และทําการทําที่ชั่ว บัณฑิตพวกไหนจะพึงรู้จักเขาได้ว่า ผู้นี้เป็นคนพาล เป็นอสัตบุรุษ เพราะคนพาล มักคิด ความคิดที่ชั่ว มักพูดคําพูดที่ชั่ว และมักทําการทําที่ชั่ว ฉะนั้น พวกบัณฑิตจึงรู้ ได้ว่า นี่เป็นคนพาล เป็นอสัตบุรุษ

ภิกษุทั้งหลาย ! คนพาลนั้นนั่นแล ย่อมเสวยทุกขโทมนัส ๓ อย่างในปัจจุบัน

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าคนพาลนั่งในสภาก็ดี ริมถนนก็ดี ริมทางสามแพร่งก็ดี ชนในที่นั้นๆ จะพูดถ้อยคําที่พอเหมาะพอสมแก่เขา ถ้าคนพาลมักเป็นผู้ทําชีวิตสัตว์ให้ ตกล่วง มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มีปกติตั้งอยู่ ในความประมาทเพราะดื่ม น้ำเมาคือสุราและเมรัย ในเรื่องที่ชนพูดถ้อยคําที่พอเหมาะ พอสมแก่เขานั้นแล คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเรา ก็ปรากฏในธรรม เหล่านั้นด้วย

ภิกษุทั้งหลาย ! คนพาลย่อมเสวยทุกขโทมนัส ข้อที่ ๑ ดังนี้ในปัจจุบัน

ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก คนพาลเห็น พระราชาทั้งหลายจับโจรผู้ประพฤติ ผิดมาแล้ว สั่งลง กรรมกรณ์ต่างชนิด คือ :
(๑) โบยด้วยแส้บ้าง
(๒) โบยด้วยหวายบ้าง
(๓) ตีด้วยตะบองสั้นบ้าง
(๔) ตัดมือบ้าง
(๕) ตัดเท้าบ้าง
(๖) ตัดทั้งมือทั้งเท้าบ้าง
(๗) ตัดหูบ้าง
(๘) ตัดจมูกบ้าง
(๙) ตัดทั้งหูทั้งจมูกบ้าง
(๑๐) ลงกรรมกรณ์วิธี หม้อเคี่ยวน้ําส้ม บ้าง(๑)
(๑๑) ลงกรรมกรณ์วิธี ขอดสังข์ บ้าง
(๑๒) ลงกรรมกรณ์วิธี ปากราหู บ้าง
(๑๓) ลงกรรมกรณ์วิธี มาลัยไฟ บ้าง
(๑๔) ลงกรรมกรณ์วิธี คบมือ บ้าง
(๑๕) ลงกรรมกรณ์วิธีริ้วส่าย บ้าง
(๑๖) ลงกรรมกรณ์วิธี นุ่งเปลือกไม้ บ้าง
(๑๗) ลงกรรมกรณ์วิธี ยืนกวาง บ้าง
(๑๘) ลงกรรมกรณ์วิธี เกี่ยวเหยื่อเบ็ด บ้าง
(๑๙) ลงกรรมกรณ์วิธี เหรียญกษาปณ์ บ้าง
(๒๐) ลงกรรมกรณ์วิธี แปรงแสบ บ้าง
(๒๑) ลงกรรมกรณ์วิธี กางเวียน บ้าง
(๒๒) ลงกรรมกรณ์วิธี ตั้งฟาง บ้าง
(๒๓) ราดด้วยน้ํามันเดือดๆ บ้าง
(๒๔) ให้สุนัขทิ้งบ้าง
(๒๕) ให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็น ๆ บ้าง
(๒๖) ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง
๑. วิธีลงกรรมกรณ์ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ท้ายบทนี้

ในขณะที่เห็นนั้น คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เพราะเหตุแห่งกรรมชั่วปานใดแล พระราชาทั้งหลายจึง จับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงกรรมกรณ์ต่างชนิด คือ โบยด้วยแส้บ้าง . ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ก็ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเราก็ปรากฏ ในธรรมเหล่านั้นด้วย ถ้าแม้พระราชาทั้งหลายรู้จักเรา ก็จะจับเราแล้วสั่งลงกรรมกรณ์ ต่างชนิด คือ โบยด้วยแส้บ้าง... ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง

ภิกษุทั้งหลาย ! คนพาลย่อมเสวยทุกขโทมนัส ข้อที่ ๒ แม้ดังนี้ในปัจจุบัน

ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก กรรมอันเป็น บาปที่คนพาลทําไว้ในกาลก่อน คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงําคนพาลผู้อยู่บนตั๋ง หรือ บนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น เปรียบเหมือน เงายอดภูเขาใหญ่ ย่อมปกคลุม ครอบงํา แผ่นดินในสมัย เวลาเย็น ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันนั้นเหมือนกันแลกรรมอันเป็น บาปที่คนพาลทําไว้ในก่อน คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงําคนพาลผู้อยู่บนตั๋ง หรือบนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น

ภิกษุทั้งหลาย! ในสมัยนั้น คนพาลจะมีความรู้สึก อย่างนี้ว่าเราไม่ได้ทําความดี ไม่ได้ทํากุศล ไม่ได้ทําเครื่อง ป้องกันความหวาดกลัวไว้ ทําแต่ความชั่ว ทําแต่ความร้าย ทําแต่ความเลว ละโลกนี้ไปแล้ว จะไปสู่คติของคนที่ไม่ได้ ทําความดี ไม่ได้ทํากุศล ไม่ได้ทําเครื่องป้องกันความ หวาดกลัวไว้ ทําแต่ความชั่ว ความร้าย และความเลว เป็นกําหนด คนพาลนั้นย่อมเศร้าโศก ระทมใจ คร่ําครวญ ทุบอกให้ ถึงความหลงใหลอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! คนพาลย่อมเสวยทุกขโทมนัส ข้อที่ ๓ แม้ดังนี้ในปัจจุบัน

ภิกษุทั้งหลาย ! คนพาลนั้นนั่นแลประพฤติทุจริต ทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงนรกนั้นนั่นแหละว่า เป็นสถานที่ ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจโดยส่วนเดียว

ภิกษุทั้งหลาย ! เพียงเท่านี้แม้จะเปรียบอุปมา ถึงความทุกข์ในนรก ก็ไม่ใช่ง่ายนัก

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อาจเปรียบอุปมาได้หรือไม่ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! อาจเปรียบได้

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนพวกราชบุรุษจับโจร ผู้ประพฤติผิด มาแสดงแด่ พระราชา ว่า “ขอเดชะ ! ผู้นี้เป็น โจรประพฤติผิดต่อพระองค์ ขอพระองค์โปรดลง อาชญาที่ทรงพระราชประสงค์แก่มันเถิด”

พระราชาทรงสั่งการนั้น อย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ! ไปเถิด พวกท่านจงเอาหอกร้อยเล่ม แทงบุรุษนี้ในเวลาเช้า” พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่ม แทงบุรุษนั้นในเวลาเช้า ครั้นเวลากลางวัน พระราชาตรัส ถามอย่างนี้ว่า

“พ่อมหาจําเริญ ! บุรุษนั้นเป็นอย่างไร ?

พวกราชบุรุษกราบทูลว่า “ขอเดชะ ! ยังเป็นอยู่อย่างเดิม พระเจ้าข้า !” พระราชาทรง สั่งการนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ! ไปเถิด พวกท่านจงเอาหอกร้อยเล่มแทงมันใน เวลากลางวัน

พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนั้น ในเวลากลางวัน ครั้นเวลาเย็น พระราชา ตรัสถามอย่างนี้ ว่า “พ่อมหาจําเริญ! บุรุษนั้นเป็นอย่างไร ?”

พวกราชบุรุษ กราบทูลว่า “ขอเดชะ ! ยังเป็นอยู่อย่างเดิมพระเจ้าข้า !” พระราชาทรง สั่งการนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ! ไปเถิด พวกท่านจงเอาหอกร้อยเล่มแทงมัน ในเวลาเย็น” พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนั้นในเวลาเย็น

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? บุรุษนั้น ถูกแทงด้วยหอกสามร้อยเล่ม พึงเสวยทุกขโทมนัสเพราะการที่ถูกแทงนั้นเป็นเหตุบ้าง หรือหนอ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! บุรุษนั้นถูกแทงด้วยหอกแม้เล่มเดียว ก็เสวยทุกขโทมนัส เพราะเหตุที่ถูกแทงนั้นได้ป่วยการกล่าวถึงหอก ตั้งสามร้อยเล่ม.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหยิบ แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือ แล้วตรัสถาม ภิกษุทั้งหลายว่า : ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่เราถือนี้ กับภูเขาหลวงหิมพานต์อย่างไหนหนอ แลใหญ่กว่ากัน ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือ ที่ทรงถือนี้ มีประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบภูเขาหลวงหิมพานต์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้ความนับ ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนแห่ง เสี่ยว ย่อมไม่ถึง แม้การเทียบกันได้

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันนั้นเหมือนกันแลทุกขโทมนัส ที่บุรุษกําลังเสวยเพราะการถูกแทง ด้วยหอกสามร้อยเล่ม เป็นเหตุ เปรียบเทียบทุกข์ของนรก ยังไม่ถึงแม้ความนับ ยังไม่ถึง แม้ส่วนแห่งเสี้ยว ยังไม่ถึงแม้การเทียบกันได้
อุปร. ม. ๑๔/๓๑๑-๓๑๕๔๖๘-๔๗๔.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กฎหมายตราสามดวง
(สำนวนตามภาษาดั่งเดิม)

๑) ลงกรรมกรณ์วิธี หม้อเคี่ยวน้ำส้ม คือ ให้ต่อยกระบานศีศะ เลิกออกเสียแล้ว เอาคิมคีบก้อนเหลกแดงใหญ่ใส่ลง ให้มันสะหมองศีศะพลุ่งฟู่ขึ้น ดั่งม่อเคี่ยว น้ำส้มพะอูม

(๒) ลงกรรมกรณ์วิธี ขอดสังข์ คือ ให้ตัดแต่หนังจำระเบื้องหน้า ถึงไพรปาก เบื้องบน ทังสองข้างเปนกำหนด ถึงหมวกหูทังสองข้าง เปนกำหนด ถึงเกลียวฅอ ชายผม เบื้องหลังเปนกำหนด แล้วให้มุ่นกระหมวดผมเข้าทังสิ้น เอาท่อนไม้สอด เข้าข้างละคน โยกถอนคลอนสั่น เพิกหนังทังผมนั้นออกเสียแล้ว เอากรวดทรายหยาบ ขัดกระบานศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์

(๓) ลงกรรมกรณ์วิธี ปากราหู คือ เอาขอเกี่ยวปากให้อ้าไว้แล้ว ตามประทีป ไว้ในปาก ไนยหนึ่งเอาปากสิ่วอันคมนั้น แสะแหวะผ่าปาก จนหมวกหูทั้งสองข้าง แล้วเอา ฃอเกี่ยวให้อ้าปากไว้ให้โลหิตไหลออกเตมปาก

(๔) ลงกรรมกรณ์วิธี มาลัยไฟ คือ เอาผ้าชุ่มน้ำมันพันให้ทั่วกายแล้วเอาเพลิงจุด

(๕) ลงกรรมกรณ์วิธี คบมือ คือ เอาผ้าชุบน้ำมันพันนิ้วมือสิ้นทัง ๑๐ นิ้วแล้ว เอาเพลิงจุด

(๖) ลงกรรมกรณ์วิธี ริ้วส่าย คือ เชือดเนื้อให้เปนแร่ง เปนริ้ว อย่าให้ขาด ให้เนื่อง ด้วย หนังตั้งแต่ใต้ฅอลงไปถึงข้อเท้า แล้วเอาเชือกผูกจำให้เดิรเหยียบยํ่าริ้วเนื้อ ริ้วหนังแห่ง ตนใหฉุ้ดครา ตีจำใหเดิรไปจนกว่าจะตาย

(๗) ลงกรรมกรณ์วิธี นุ่งเปลือกไม้ คือ เชือดเนื้อให้เนื่อง ด้วยหนังเปนแร่งเป็นริ้ว แต่ใต้ฅอลงมาถึงเอวแล้วเชือดแต่เอวให้เปนแร่ง เปนริ้วลงมาถึงข้อเท้า กระทำเนื้อ เบื้องบนนั้นให้เปนริ้ว ตกปกคลุมลงมาเหมือนนุ่งผ้าคากรอง

(๘) ลงกรรมกรณ์วิธี ยืนกวาง คือ เอาห่วงเหลกสวมข้อสอกทังสองข้อเฃ่าทังสองข้าง ให้หมั้นแล้วเอาหลักเหลก สอด ลงในวงเหลกแย่งขึง ตรึงลงไว้กับแผ่นดิน อย่าให้ไหวตัวได้ แล้วเอาเพลิงลนให้ รอบตัวกว่าจะตาย

(๙) ลงกรรมกรณ์วิธี เกี่ยวเหยื่อเบ็ด คือ เอาเบดใหญ่มีคมสองข้างเกี่ยวทั่วกาย เพิกหนังเนื้อแลเอนน้อยใหญ่ ให้หลุดขาดออกมากว่าจะตาย

(๑๐) ลงกรรมกรณ์วิธี เหรียญกษาปณ์ คือ ให้เอามีดที่คม เชือดเนื้อให้ตก ออกมาจากกาย แต่ทิละตำลึงกว่าจะสิ้นมังสะ

(๑๑) ลงกรรมกรณ์วิธี แปรงแสบ คือ ให้แล่สับฟันทั่วกาย แล้วเอาแปรงหวีชุบน้ำ แสบกรีด ครูดขุดเซาะหนัง แลเนื้อแล เอนน้อยใหญ่ ให้ลอกออกมาให้สิ้น ให้อยู่แต่ร่างกระดูก

(๑๒) ลงกรรมกรณ์วิธี กางเวียน คือ ให้นอนลงโดยข้างๆ หนึ่งแล้ว ให้เอาหลาว เหลก ตอกลงไปโดยช่องหูให้แน่นกับแผ่นดิน แล้วจับเท้าทังสองหันเวียนไป ดังบุทคล ทำบังเวียน

(๒๒) ลงกรรมกรณ์วิธี ตั่งฟาง คือ ทำมิให้เนื้อพังหนังขาด เอาลูกศีลาบดทุบกระดูก ให้แหลก ย่อยแล้วรวบผมเข้าทังสิ้น ยกขึ้นหย่อนลง กระทำให้เนื้อเปนกองเปนลอม แล้วพับห่อเนื้อหนัง กับทังกระดูกนั้นทอดวางไว้ ทำดั่งตั่งอันทำด้วยฟางซึ่งไว้เชดเท้า

(๑๓) ราดด้วยน้ำมันเดือดๆ คือ เคี่ยวน้ำมันให้เดือดพลุ่งพล่าน แล้วรดสาดลงมา แต่ศีศะกว่าจะตาย

(๑๔) ให้สุนัขทึ้งบ้าง คือ ให้กักขังสูนักขร้ายทังหลายไว้ ให้อดอาหารหลายวัน ให้เตมหยาก แล้วปล่อยออก ให้กัดทึ้งเนื้อหนังกินให้เหลือแต่ร่างกระดูกเปล่า

(๑๕) ให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็นๆ บ้าง

(๑๖) ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง

กฎหมายตราสามดวง เล่ม ๔ (พิมพ์ตามต้นฉบับกฎหมายตราสามดวง ฉบับหลวง) หมวด พระไอยการกระบดศึก พิมพ์ครั้งที่ ๒ สํานักพิมพ์คุรุสภา ปีที่พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๓๖

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


หน้า 73

๒๓
ความทุกข์ในนรก


ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเรือน ๒ หลังมี ประตูตรงกัน บุรุษผู้มีตาดียืนอยู่ระหว่าง กลางเรือน ๒ หลังนั้น พึงเห็นมนุษย์กําลังเข้าเรือนบ้าง กําลังออกจากเรือนบ้าง กําลังเดินมาบ้าง กําลังเดินไปบ้าง ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กําลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไป ตามกรรมได้ว่า

สัตว์ผู้กําลังเป็นอยู่เหล่านี้
ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยะ เป็นสัมมาทิฏฐิ
เชื่อมั่นกรรมด้วยอํานาจสัมมาทิฏฐิ
เมื่อตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ก็มี.

สัตว์ผู้กําลังเป็นอยู่เหล่านี้
ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยะ เป็นสัมมาทิฏฐิ
เชื่อมั่นกรรมด้วยอํานาจสัมมาทิฐิ
เมื่อตายไปแล้ว บังเกิดใน หมู่มนุษย์ก็มี

สัตว์ผู้กําลังเป็นอยู่เหล่านี้
ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ
เชื่อมั่นกรรมด้วยอํานาจ มิจฉาทิฏฐิ
เมื่อตายไปแล้ว เข้าถึง เปรตวิสัยก็มี.

สัตว์ผู้กําลังเป็นอยู่เหล่านี้
ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ
เชื่อมั่นกรรมด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิ
เมื่อตายไปแล้ว เข้าถึง กําเนิดเดรัจฉานก็มี.

สัตว์ผู้กําลังเป็นอยู่เหล่านี้
ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ
เชื่อมั่นกรรมด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิ
เมื่อตายไปแล้ว เข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรกก็มี.

ภิกษุทั้งหลาย! เหล่านายนิรยบาลจะจับสัตว์นั้น ที่ส่วนต่างๆ ของแขน ไปแสดง แก่ พระยายมว่า

ข้าแต่พระองค์! บุรุษนี้ไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ไม่ปฏิบัติชอบ ในพราหมณ์ ไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล ขอพระองค์จงลงอาชญา แก่บุรุษนี้เถิด
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(นายนิรยบาล ถามถึงการเห็นเทวทูตทั้ง ๕)

ภิกษุทั้งหลาย ! พระยายม จะปลอบโยน เอาอกเอาใจ ไต่ถามถึง เทวทูตที่ ๑ กะสัตว์นั้นว่า

พ่อมหาจําเริญ ! ท่านไม่ได้เห็นเทวทูตที่ ๑ ปรากฏในหมู่มนุษย์ หรือ?
สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าไม่เห็นเลยเจ้าข้า !

พระยายมถามอย่างนี้ว่า “พ่อมหาจําเริญ ! ท่านไม่ได้เห็นเด็กแดง ๆ ยังอ่อนนอนหงาย เปื้อนมูตรคูณ ของตน อยู่ในหมู่มนุษย์หรือ ? ” (เห็นการเกิด)
สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า “เห็นเจ้าข้า !”

พระยายมถามอย่างนี้ว่า “พ่อมหาจําเริญ! ท่านนั้น เมื่อรู้ความมีสติ เป็นผู้ใหญ่แล้ว ได้มีความคิดดังนี้ บ้างไหมว่า แม้ตัวเราแล ก็มีความเกิดเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ เกิด ไปได้ ควรที่เราจะทําความดีทางกาย ทางวาจา และทางใจ”
สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าไม่อาจ เจ้าข้า ! มัวประมาทเสีย เจ้าข้า !”
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระยายมกล่าวอย่างนี้ว่า “พ่อมหาจําเริญ ! ท่าน ไม่ได้ทําความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจไว้ เพราะมัว ประมาทเสีย ดังนั้น เหล่านายนิรยบาลจักลงโทษ โดยอาการ ที่ท่านประมาทแล้ว ก็บาปกรรมนี้นั่นแล ไม่ใช่มารดาทําให้ ท่าน ไม่ใช่บิดา ทําให้ท่าน ไม่ใช่พี่น้องชายทําให้ท่าน ไม่ใช่ พี่น้องหญิงทําให้ท่าน ไม่ใช่มิตร อํามาตย์ ทําให้ท่าน ไม่ใช่ ญาติสาโลหิตทําให้ท่าน ไม่ใช่สมณะและพราหมณ์ ทําให้ท่าน ไม่ใช่เทวดาทําให้ท่าน ตัวท่านเองทําเข้าไว้ ท่านเท่านั้น จักเสวยวิบาก ของบาปกรรมนี้”

ภิกษุทั้งหลาย ! พระยายมครั้นปลอบโยน เอาอกเอาใจไต่ถามถึง เทวทูตที่ ๑ กะสัตว์นั้นแล้ว จึงปลอบโยนเอาอกเอาใจไต่ถามเทวทูตที่ ๒ ว่า
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พ่อมหาจําเริญ ! ท่านไม่ได้เห็นเทวทูตที่ ๒ ปรากฏในหมู่มนุษย์หรือ ? สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าไม่เห็นเลย เจ้าข้า !”

พระยายมถามอย่างนี้ว่า “พ่อมหาจําเริญ ! ท่านไม่ได้เห็นหญิงหรือชาย มีอายุ ๖๐ ปี ๙๐ ปี หรือ ๙๐๐ ปี นับแต่เกิดมา เป็นผู้ชรา ซี่โครงคด หลังงอ ถือไม้เท้า งกเงิน เดินไป กระสับกระส่าย ล่วงวัยหนุ่มสาว ฟันหักผมหงอก หนังเหี่ยวย่น ศีรษะล้าน ผิวตกกระในหมู่มนุษย์หรือ ?” (เห็นการแก่)
สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า “เห็น เจ้าข้า !”

พระยายมถามอย่างนี้ว่า “พ่อมหาจําเริญ! ท่านนั้น รู้ความมีสติ เป็นผู้ใหญ่แล้ว ได้มีความดําริดังนี้บ้างไหมว่า แม้ตัวเราแล ก็มีความแก่เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความแก่ ไปได้ ควรที่เราจะทําความดีทางกาย ทางวาจา และทางใจ”
สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าไม่อาจ เจ้าข้า ! มัวประมาทเสีย เจ้าข้า !”

พระยายมกล่าวอย่างนี้ว่า “พ่อมหาจําเริญ ! ท่านไม่ได้ทําดีทางกาย ทางวาจา และทางใจไว้ เพราะมัวประมาทเสีย ดังนั้น เหล่านายนิรยบาลจักลงโทษโดยอาการที่ ท่านประมาทแล้ว ก็บาปกรรมนี้นั่นแล ไม่ใช่มารดาทําให้ท่าน ไม่ใช่บิดาทําให้ท่าน ไม่ใช่พี่น้องชายทําให้ท่านไม่ใช่พี่น้องหญิง ทําให้ท่าน ไม่ใช่มิตรอํามาตย์ทําให้ท่าน ไม่ใช่ญาติสาโลหิต ทําให้ท่าน ไม่ใช่สมณะและพราหมณ์ทําให้ท่าน ไม่ใช่เทวดา ทําให้ท่าน ตัวท่านเองทําเข้าไว้ ท่านเท่านั้นจักเสวยวิบาก ของบาปกรรมนี้”
ภิกษุทั้งหลาย ! พระยายมครั้นปลอบโยนเอาอกเอาใจไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๒ กะสัตว์นั้นแล้ว จึงปลอบโยน เอาอกเอาใจ ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๓ ว่า
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พ่อมหาจําเริญ ! ท่านไม่ได้เห็นเทวทูตที่ ๓ ปรากฏในหมู่มนุษย์หรือ ?
สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าไม่เห็นเลย เจ้าข้า !??

พระยายมถามอย่างนี้ว่า “พ่อมหาจําเริญ ! ท่าน ไม่ได้เห็นหญิงหรือชาย ผู้ป่วยทน ทุกข์ เป็นไข้หนัก นอนเปื้อนมูตรคูถของตน มีคนอื่นคอยพยุงลุกพยุงเดิน ในหมู่มนุษย์ หรือ ?” (เห็นการเจ็บ)
สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า “เห็น เจ้าข้า !”

พระยายมถามอย่างนี้ว่า “พ่อมหาจําเริญ ! ท่านนั้น เมื่อรู้ความ มีสติ เป็นผู้ใหญ่แล้ว ได้มีความคิดดังนี้บ้างไหมว่า แม้ตัวเราแล ก็มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความเจ็บป่วยไปได้ ควรที่เราจะ ทําความดี ทางกาย ทางวาจา และทางใจ”
สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าไม่อาจ เจ้าข้า ! มัวประมาทเสีย เจ้าข้า !”

พระยายมกล่าวอย่างนี้ว่า “พ่อมหาจําเริญ ! ท่านไม่ได้ทําความดีทางกาย ทางวาจา และทางใจไว้ เพราะมัวประมาทเสีย ดังนั้น เหล่านายนิรยบาลจักลงโทษ โดยอาการ ที่ท่านประมาทแล้ว ก็บาปกรรมนี้นั่นแล ไม่ใช่มารดาทําให้ท่าน ไม่ใช่บิดาทําให้ท่าน ไม่ใช่พี่น้องชายทําให้ท่าน ไม่ใช่พี่น้องหญิงทําให้ท่าน ไม่ใช่มิตรอํามาตย์ ทําให้ท่าน ไม่ใช่ญาติสาโลหิตทําให้ท่าน ไม่ใช่สมณะและ พราหมณ์ทําให้ท่าน ไม่ใช่เทวดา ทําให้ท่าน ตัวท่านเองทําเข้าไว้ ท่านเท่านั้นจักเสวยวิบากของบาปกรรม นี้”

ภิกษุทั้งหลาย ! พระยายมคนปลอบโยนเอาอกเอาใจไต่ถามถึง เทวทูตที่ ๓ กะสัตว์ นั้นแล้ว จึงปลอบโยน เอาอกเอาใจ ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๔ ว่า
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พ่อมหาจําเริญ ! ท่านไม่ได้เห็นเทวทูตที่ ๔ ปรากฏในหมู่มนุษย์หรือ ?

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าไม่เห็นเลย เจ้าข้า !”

พระยายมถามอย่างนี้ว่า “พ่อมหาจําเริญ ! ท่าน ไม่ได้เห็นพระราชาทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์จับโจร ผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงกรรมกรณ์ต่างชนิดบ้างหรือ คือ (๑) โบยด้วยแส้บ้าง ..(เห็นการถูกลงโทษ) (เนื้อความเต็มสามารถศึกษาได้จากหน้า ๖๕-๖๕)
สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า “เห็น เจ้าข้า !”

พระยายมถามอย่างนี้ว่า “พ่อมหาจําเริญ! ท่านนั้น เมื่อรู้ความมีสติ เป็นผู้ใหญ่แล้ว ได้มีความคิดดังนี้บ้างไหมว่า จําเริญละ เป็นอันว่า สัตว์ที่ทํากรรมอันเป็นบาปไว้นั้น ย่อมถูกลงกรรมกรณ์ต่างชนิด เห็นปานนี้ ในปัจจุบัน จะป่วยกล่าวไปไยถึงชาติหน้า ควรที่เราจะทําความดี ทางกาย ทางวาจา และทางใจ”
สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าไม่อาจ เจ้าข้า ! มัวประมาทเสีย เจ้าข้า !”

พระยายม กล่าวอย่างนี้ว่า “พ่อมหาจําเริญ ! ท่านไม่ได้ทําความดีทางกาย ทางวาจา และทางใจ ไว้ เพราะมัวประมาทเสีย ดังนั้น เหล่านายนิรยบาลจักลงโทษโดยอาการ ที่ท่าน ประมาทแล้ว
ก็บาปกรรมนี้นั่นแล
ไม่ใช่มารดา ทําให้ท่าน
ไม่ใช่บิดา ทําให้ท่าน
ไม่ใช่พี่น้องชาย ทําให้ท่าน
ไม่ใช่พี่น้องหญิง ทําให้ท่าน
ไม่ใช่มิตรอํามาตย์ ทําให้ท่าน
ไม่ใช่ญาติสาโลหิต ทําให้ท่าน
ไม่ใช่สมณะและ พราหมณ์ ทําให้ท่าน
ไม่ใช่เทวดา ทําให้ท่าน
ตัวท่านเองทําเข้าไว้ ท่านเท่านั้น จักเสวยวิบากของบาปกรรมนี้”

ภิกษุทั้งหลาย ! พระยายม ครั้นปลอบโยนเอาอกเอาใจไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๔ กะสัตว์นั้นแล้ว จึงปลอบโยน เอาอกเอาใจ ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๕ ว่า
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พ่อมหาจําเริญ ! ท่านไม่ได้เห็นเทวทูตที่ ๕ ปรากฏในหมู่มนุษย์หรือ ?
สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าไม่เห็นเลย เจ้าข้า !

พระยายม ถามอย่างนี้ว่า “พ่อมหาจําเริญ ! ท่าน ไม่ได้เห็นหญิงหรือชายที่ตายแล้ว วันหนึ่งหรือสองวัน หรือ สามวันขึ้นพอง เขียวช้ำ มีน้ำเหลืองเยิ้มในหมู่มนุษย์หรือ ?” (เห็นการตาย)
สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า “เห็น เจ้าข้า !”

พระยายมถามอย่างนี้ว่า “พ่อมหาจําเริญ! ท่านนั้น เมื่อรู้ความ มีสติ เป็นผู้ใหญ่แล้ว ได้มีความคิดดังนี้บ้างไหมว่า แม้ตัวเราแล ก็มีความตายเป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้น ความตาย ไปได้ ควรที่เราจะทําความดีทางกาย ทางวาจา และทางใจ”
สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าไม่อาจ เจ้าข้า ! มัวประมาทเสีย เจ้าข้า !”

พระยายมกล่าวอย่างนี้ว่า “พ่อมหาจําเริญ ! ท่านไม่ได้ทําความดีทางกาย ทางวาจา และทางใจไว้ เพราะมัวประมาทเสีย ดังนั้น เหล่านายนิรยบาลจักลงโทษ โดยอาการที่ท่านประมาทแล้ว ก็บาปกรรมนี้นั่นแล ไม่ใช่มารดาทําให้ท่าน ไม่ใช่บิดาทําให้ท่าน ไม่ใช่พี่น้องชาย ทําให้ท่าน ไม่ใช่พี่น้องหญิงทําให้ท่าน ไม่ใช่มิตรอํามาตย์ ทําให้ท่าน ไม่ใช่ญาติสาโลหิตทําให้ท่าน ไม่ใช่สมณะและ พราหมณ์ทําให้ท่าน ไม่ใช่เทวดาทําให้ท่าน ตัวท่านเอง ทําเข้าไว้ ท่านเท่านั้น จักเสวยวิบากของบาปกรรมนี้”

ภิกษุทั้งหลาย ! พระยายมครั้นปลอบโยนเอาอกเอาใจ ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๕ กะสัตว์นั้นแล้ว ก็ทรงนิ่งอยู่
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ขั้นตอนการลงทัณฑ์ในนรก )

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านิรยบาลจะให้สัตว์นั้น กระทําเหตุชื่อการจํา ๕ ประการ คือ ตริงตะปูเหล็กแดงที่มือ ข้างที่๑ ข้างที่๒ ที่เท้าข้างที่๑ ข้างที่ ๒ และ ที่ทรวงอก ตรงกลาง สัตว์นั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบอยู่ในนรกนั้น และยัง ไม่ตาย ตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านิรยบาล จะจับสัตว์นั้น ขึงพืดแล้วเอาผึ้งถาก ....
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านิรยบาล จะจับสัตว์นั้น เอาเท้าขึ้นข้างบน เอาหัวลงข้างล่าง แล้วถากด้วยพร้า ....

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านิรยบาล จะเอาสัตว์นั้น เทียมรถแล้วให้วิ่งกลับไปกลับมา บนแผ่นดินที่มีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง .... ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านิรยบาล จะให้สัตว์นั้น ปืนขึ้นปืนลงซึ่งภูเขาถ่านเพลิง ลูกใหญ่ ที่มีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านิรยบาล จะจับสัตว์นั้นเอา เท้าขึ้นข้างบนเอาหัวลงข้างล่าง แล้วพุ่งลงไปในหม้อทองแดง ที่มีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง สัตว์นั้นจะเดือดพล่าน เป็นฟองอยู่ในหม้อทองแดงนั้น เขาเมื่อเดือดเป็นฟองอยู่ จะพล่านขึ้นข้างบนครั้งหนึ่ง บ้าง พล่านลงข้างล่างครั้งหนึ่งบ้าง พล่านไปด้านขวางครั้งหนึ่งบ้าง จะเสวยเวทนา อันเป็นทุกข์ กล้า เจ็บแสบ อยู่ในหม้อทองแดงนั้น และยังไม่ตายตราบ เท่า บาปกรรม ยังไม่สิ้นสุด
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ขั้นตอนการลงทัณฑ์ในมหานรก)

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านายนิรยบาลจะโยนสัตว์นั้น เข้าไปในมหานรก ก็มหานรกนั้นแล มีสี่มุม สี่ประตู แบ่งไว้โดยส่วนเท่ากัน มีกําแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบไว้ด้วยแผ่นเหล็ก พื้นของมหานรกนั้นล้วนเต็มไปด้วยเหล็ก ลุกโพลง แผ่ไปตลอดร้อยโยชน์ รอบด้าน ตั้งอยู่ทุกเมื่อ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย ! และมหานรกนั้น มีเปลวไฟพลุ่ง จากฝาด้านหน้าจดฝาด้านหลัง พลุ่งจากฝาด้านหลังจดฝา ด้านหน้า พลุ่งจากฝาด้านเหนือจดฝาด้านใต้ พลุ่งจาก ฝาด้านใต้จดฝาด้านเหนือ พลุ่งขึ้นจากข้างล่างจดข้างบน พลุ่งจากข้างบนจดข้างล่าง สัตว์นั้นจะเสวยเวทนาอัน เป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในมหานรกนั้น และยังไม่ตาย ตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด.

ภิกษุทั้งหลาย ! ย่อมมีสมัย ที่ในบางครั้งบางคราว โดยล่วงระยะกาลนาน ประตูด้าน หน้า ของมหานรกเปิด ... ประตูด้านหลังของมหานรกเปิด ... ประตูด้านเหนือเปิด ...ประตูด้านใต้เปิด สัตว์นั้นจะรีบวิ่งไปยังประตูนั้นโดยเร็ว และย่อมถูกไฟไหม้ผิวไหม้ หนังไหม้เนื้อไหม้เอ็น แม้กระดูก ทั้งหลายก็เป็นควันตลบ แต่อวัยวะที่สัตว์นั้นยกขึ้น แล้วจะกลับคืนรูปเดิมทันที และในขณะที่สัตว์นั้นใกล้จะถึง ประตู ประตูนั้นจะปิด สัตว์นั่นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบอยู่ในมหานรก นั้นและยังไม่ตาย ตราบเท่าบาปกรรม นั้นยังไม่สิ้นสุด

ภิกษุทั้งหลาย ! ย่อมมีสมัย ที่ในบางครั้งบางคราว โดยล่วงระยะกาลนาน ประตู ด้านหน้า ของมหานรกนั้นเปิด สัตว์นั้นจะรีบวิ่งไปยังประตูนั้นโดยเร็ว และย่อมถูก ไฟไหม้ผิว ไหม้หนังไหม้เนื้อไหม้เอ็นแม้กระดูกทั้งหลาย ก็เป็นควันตลบ แต่อวัยวะ ที่สัตว์นั้นยกขึ้นแล้ว จะกลับคืนรูปเดิมทันที สัตว์นั้นจะออกทางประตูนั้นได้ แต่ว่า มหานรกนั้นแล มีนรกเต็มด้วยคูถใหญ่ ประกอบอยู่รอบด้าน สัตว์นั้นจะตกลงใน นรกคูกนั้น และในนรกคูถนั้นแล มีหมู่สัตว์ปากดังเข็ม คอยเฉือดเฉือนผิว แล้วเฉือด เฉือนหนังแล้วเลือด เฉือนเนื้อ แล้วเฉือดเฉือนเอ็น แล้วเฉือดเฉือนกระดูก แล้ว กินเยื่อในกระดูก สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบอยู่ในนรกคูถนั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมนั้น ยังไม่สิ้นสุด
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(บรรยากาศในมหานรก)

ภิกษุทั้งหลาย ! และนรกคูถนั้น มีนรกเต็มด้วย เถ้าดึงใหญ่ (ขี้เถ้าร้อน) ประกอบ อยู่รอบด้าน สัตว์นั้นจะตกลงไปในนรกเถ้ารึ่งนั้น สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็น ทุกข์กล้า เจ็บแสบอยู่ในนรกเถ้าสิ่งนั้น และยังไม่ตายตราบเท่า บาปกรรมนั้น ยังไม่สิ้นสุด

ภิกษุทั้งหลาย! และนรกเถ้าดึงนั้น มีป่างิ้วใหญ่ ประกอบอยู่รอบด้าน ต้นสูงชลูด ขึ้นไป โยชน์หนึ่ง มีหนามยาว ๑๖ องคุลี มีไฟติดทั่วลุกโพลง โชติช่วง เหล่านาย นิรยบาล จะบังคับให้สัตว์นั้นขึ้นๆ ลงๆ ที่ต้นงิ้วนั้น สัตว์นั้นย่อม เสวยเวทนา อันเป็น ทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ที่ต้นงิ้วนั้น และ ยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด

ภิกษุทั้งหลาย ! และป่างิ้วนั้น มีป่าต้นไม้ใบเป็นดาบใหญ่ ประกอบอยู่รอบด้าน สัตว์นั้นจะเข้าไปในป่านั้น จะถูกใบไม้ที่ลมพัด ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและ เท้าบ้าง และตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง สัตว์นั้นย่อมเสวย เวทนา อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ที่ป่า ต้นไม้มีใบเป็นดาบนั้น และยังไม่ตายตราบ เท่า บาปกรรมนั้น ยังไม่สิ้นสุด

ภิกษุทั้งหลาย ! และป่าต้นไม้มีใบเป็นดาบนั้นมีแม่น้ำใหญ่ น้ำเป็นด่าง ประกอบ อยู่รอบด้าน สัตว์นั้น จะตกลงไปในแม่น้ำนั้นจะลอยอยู่ในแม่น้ำนั้น ตามกระแสบ้าง ทวนกระแสบ้าง ทั้งตามและทวนกระแสบ้าง สัตว์นั้นย่อม เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในแม่น้ำนั้น และ ยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านายนิรยบาลพากันเอา เบ็ดเกี่ยวสัตว์นั้นขึ้นวางบนบกแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า“พ่อมหาจําเริญ ! เจ้าต้องการอะไร” สัตว์นั้นบอกอย่างนี้ ว่า “ข้าพเจ้าหัว เจ้าข้า !” เหล่านายนิรยบาลจึงเอาขอ เหล็กร้อนมีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง เปิดปากออก แล้วใส่ก้อนโลหะร้อนมีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง เข้า ในปาก ก้อนโลหะนั้น จะไหม้ริมฝีปากบ้าง ไหม้ปากบ้าง ไหม้คอบ้างไหม้ท้องบ้าง ของสัตว์นั้น และพาเอาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้างออกมาทางส่วนเบื้องล่าง สัตว์นั้น ย่อม เสวยเวทนา อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบอยู่ ณ ที่นั้น และยังไม่ตายตราบเท่า บาปกรรมนั้น ยังไม่สิ้นสุด.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านายนิรยบาลกล่าวกะสัตว์นั้น อย่างนี้ว่า “พ่อมหาจําเริญ ! เจ้าต้องการอะไร” สัตว์นั้น บอกอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าระหาย เจ้าข้า !” เหล่านาย นิรยบาล จึงเอาขอเหล็กร้อนมีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง เปิดปาก ออกแล้วเอาน้ำ ทองแดงร้อนมีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง กรอกเข้าไปในปาก น้ำทองแดงนั้น จะไหม้ริมฝีปากบ้าง ไหม้ปากบ้างไหม้คอบ้างไหม้ท้องบ้าง ของสัตว์นั้น และพาเอา ไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้าง ออกมาทางส่วนเบื้องล่าง สัตว์นั้น ย่อมเสวยเวทนา อันเป็น ทุกข์กล้า เจ็บแสบอยู่ ณ ที่นั้น และยังไม่ตายตราบเท่า บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านายนิรยบาลจะโยนสัตว์นั้น เข้าไปในมหานรกอีก.
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องเคยมีมาแล้ว พระยายม ได้มีความดําริอย่างนี้ว่า :

“พ่อเจ้าประคุณเอ๊ย ! เป็นอันว่าเหล่าสัตว์ที่ ทํากรรมอันเป็นบาปไว้ในโลก ย่อมถูกนาย นิรยบาลลง กรรมกรณ์ต่างชนิด เห็นปานนี้ โอหนอ ! ขอเราจึงได้ความ เป็นมนุษย์ ขอตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พึงเสด็จอุบัติ ขึ้นในโลก ขอเรา พึงได้ นั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นพึงทรง แสดงธรรม แก่เรา และขอเราพึงรู้ทั่วถึงธรรม ของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นเถิด”

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็เรื่องนั้น เรามิได้ฟังต่อสมณะ หรือพราหมณ์อื่น ๆ แล้วจึงบอก
ก็แล เราบอกเรื่องที่รู้เอง เห็นเอง ปรากฏเองทั้งนั้น

(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
นรชนเหล่าใดยังเป็นมาณพ อันเทวทูตตักเตือนแล้วประมาทอยู่ นรชนเหล่านั้นจะเข้า ถึง หมู่สัตว์อันเลว ถึงความเศร้าโศกสิ้นกาลนาน ส่วนนรชนเหล่าใด เป็นสัตบุรุษ ผู้สงบ ระงับในโลกนี้ อันเทวทูตตักเตือนแล้ว ย่อมไม่ประมาทในธรรมของพระอริยะ ในกาลไหน ๆ เห็นภัยในความถือมั่น อันเป็นเหตุแห่งชาติและมรณะ แล้วไม่ถือมั่น หลุดพ้นในธรรมเป็นที่สิ้นชาติและมรณะได้ นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ถึงความเกษม มีสุข ดับสนิทในปัจจุบัน ล่วงเวรและภัยทั้งปวง และเข้าไปล่วงทุกข์ทั้งปวงได้
อุปร. ม. ๑๔/๓๓๔-๓๔๖/๕๐๔-๕๒๕
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 89

๒๔
อายุนรก


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เป็นผู้มีความปรารถนา อันเลวทราม ตกอยู่ในอํานาจแห่งความ ปรารถนาอันเลวทราม พระเจ้าข้า !

โกกาลิกะ ! เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้

โกกาลิกะ! เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ เธอจงยังจิต ให้เลื่อมใสในสารีบุตร และ โมคคัลลานะ เถิด สารีบุตรและ โมคคัลลานะมีศีลเป็นที่รัก

แม้ครั้งที่ ๒ โกกาลิกภิกษุได้กราบทูลอีก พระผู้มีพระภาคตรัสห้าม

แม้ครั้งที่ ๓ โกกาลิกภิกษุได้กราบทูลอีก พระผู้มีพระภาคตรัสห้าม

ลําดับนั้นแล โกกาลิกภิกษุลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคกระทํา ประทักษิณ แล้วหลีกไป..ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุ ทั้งหลายว่า

ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหม มีรัศมีอันงามยิ่ง ทําวิหารเชตวันทั้งสิ้น ให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ! โกกาลิกภิกษุมรณภาพแล้ว อุบัติ ในปทุมนรก เพราะจิตคิดอาฆาตในพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ” ท้าวสหัมบดี พรหม ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว กระทำประทักษิณแล้ว ได้อันตรธานหายไป ในที่นั้นเอง

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ประมาณอายุใน ปทุมนรก นานเพียงใด พระเจ้าข้า !

ภิกษุทั้งหลาย! ประมาณอายุในปทุมนรกนานนัก การนับประมาณอายุในปทุมนรก นั้น ว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือว่าเท่านี้แสนปี ไม่ใช่ทำได้ง่าย.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็พระองค์สามารถจะทรงกระทำ การเปรียบเทียบได้หรือไม่ พระเจ้าข้า !

ภิกษุทั้งหลาย ! อาจเปรียบได้

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเกวียนที่บรรทุกงา ของชาวโกศลมีอัตรา ๒๐ ขารี เมื่อล่วงไปทุกแสนปี(ความเข้าใจใหม่คือ ทุก๑๐๐ปี) บุรุษพึงหยิบเมล็ดงาขึ้นจากเกวียน นั้นออกหนึ่งเมล็ด

ภิกษุทั้งหลาย ! เกวียนที่บรรทุกงาของชาวโกศล มีอัตรา ๒๐ ขารีนั้น จะพึงถึงความ สิ้นไป หมดไปโดยลําดับ นี้ยังเร็วเสียกว่า ส่วน ๑ อัพพุทนรกยังไม่พึงถึงความสิ้นไป หมดไปได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย !
๒๐ อัพพุทนรก เป็น ๑ นิรัพพุทนรก
๒๐ นิรัพพุทนรก เป็น ๑ อัพพนรก
๒๐ อัพพนรก เป็น ๑ อหหนรก
๒๐ อหหนรก เป็น ๑ อฏฏนรก
๒๐ อฏฏนรก เป็น ๑ กุมทนรก
๒๐ กุมทนรก เป็น ๑ โสคันธิกนรก
๒๐ โสคันธิกนรก เป็น ๑ อุปลกนรก
๒๐ อุปลกนรก เป็น ๑ ปุณฑรีกนรก
๒๐ ปุณฑรีกนรก เป็น ๑ ปทุมนรก อย่างนี้
(นรกกลุ่มนี้ แบ่งตามอายุมี 10 ภพย่อย)

ก็โกกาลิกภิกษุ อุบัติใน ปทุมนรก เพราะ จิตคิดอาฆาตในสารีบุตร และ โมคคัลลานะ

(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
ก็วาจาหยาบเช่นกับขวาน เกิดในปากของบุรุษแล้ว เป็นเหตุตัดรอนตนเองของบุรุษ ผู้เป็นพาล ผู้กล่าวคําทุภาษิต ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรนินทา หรือนินทาคนที่ควรส รรเสริญ ผู้นั้นย่อมก่อโทษเพราะปาก ย่อมไม่ได้ความสุขเพราะโทษนั้น การแพ้ด้วย ทรัพย์เพราะเล่นการพนัน เป็นโทษเพียงเล็กน้อย โทษของผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้าย ในท่านผู้ปฏิบัติดี นี้แลเป็นโทษมากกว่า บุคคลตั้งวาจาและใจอันเป็นบาปไว้แล้ว เป็นผู้ติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมเข้าถึงนรกตลอดกาล ประมาณด้วยการนับปี ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทะ และ ๕ อัพพุทะ.

ทสก.อ. ๒๔/๑๘/๘๕.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 93

๒๔
การเข้าถึงนรกในภพปัจจุบัน (นัยที่ ๑)


ภิกษุทั้งหลาย ! นรกชื่อว่า มหาปริฬาหะ (นรกที่มีความเร่าร้อนทางอายตนะ) มีอยู่
ในนรกนั้น บุคคลยังเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ด้วยจักษุ (ตา) แต่ได้เห็นรูปที่ไม่น่า ปรารถนาอย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าปรารถนาเลย เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าใคร่เลย เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าพอใจเลย.

ในนรกนั้น บุคคลยังฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้ด้วยโสตะ (หู)....
ในนรกนั้น บุคคลยังดมกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้ด้วยฆานะ (จมูก)...
ในนรกนั้น บุคคลยังลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้ด้วยชิวหา (ลิ้น)...
ในนรกนั้น บุคคลยังถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใด อย่างหนึ่งได้ด้วยกาย...
ในนรกนั้น บุคคลยังรู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใด อย่างหนึ่งได้ด้วยมโน (ใจ) แต่ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าปรารถนา เลย ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียวไม่ได้รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ที่น่าใคร่เลย ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าพอใจเลย

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ความเร่าร้อนนั้นใหญ่หลวงหนอ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ความเร่าร้อนนั้นใหญ่หลวงนักหนอ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีไหม พระเจ้าข้า ! ความร้อนอื่น ที่ใหญ่หลวงกว่า น่ากลัวกว่า กว่าความร้อนนี้ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! มีอยู่ ความเร่าร้อนอื่นที่ใหญ่หลวงกว่าน่ากลัวกว่า กว่าความร้อน นี้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ความร้อนอื่นที่ใหญ่หลวงกว่า น่ากลัวกว่า กว่าความร้อนนี้ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า (อริยสัจสี่)
-ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ
-
เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ
-
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ
-
ข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยินดียิ่งในสังขาร ทั้งหลาย อันเป็นไปพร้อมเพื่อชาติ ชรามรณะโสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาส.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นยินดียิ่งในสังขาร ทั้งหลายเช่นนั้นแล้ว ย่อมปรุงแต่งซึ่ง สังขารทั้งหลาย อันเป็นไปพร้อมเพื่อชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาส.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นปรุงแต่งซึ่งสังขาร ทั้งหลายเช่นนั้นแล้ว ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อน แห่งชาติ (ความเกิด) บ้าง ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อน แห่งชราบ้าง ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนแห่งมรณะ บ้าง ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนแห่งโสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสบ้าง

เรากล่าวว่า “สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่พ้นจาก ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย คือ ไม่พ้นจากทุกข์ ดังนี้
มหาวาร. ส. ๑๕/๕๖๒/๑๗๓๑.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 96

๒๖
การเข้าถึงนรกในภพปัจจุบัน (นัยที่ ๒)


ภิกษุทั้งหลาย ! เป็นลาภของเธอทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย! เป็นการได้ที่ดีของเธอ ทั้งหลายแล้ว ภิกษุทั้งหลาย! ขณะสําหรับการประพฤติ พรหมจรรย์ พวกเธอก็ได้ โดยเฉพาะแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! นรก ชื่อว่า ผัสสายตนิกะ ๕ ขุม เราได้เห็นแล้ว

-ในบรรดานรกเหล่านั้น บุคคลเห็นรูปใด ๆ ด้วยตา ย่อมเห็นแต่รูปที่ไม่น่าปรารถนา เท่านั้น ไม่เห็นรูปที่น่า ปรารถนาเลย เห็นแต่รูปที่ไม่น่ารักใคร่เท่านั้น ไม่เห็นรูป ที่น่ารักใคร่เลย เห็นแต่รูปที่ ไม่น่าพอใจเท่านั้น ไม่เห็นรูป ที่น่าพอใจเลย.
-ในบรรดานรกเหล่านั้น บุคคลฟังเสียงใดๆ ด้วยหู ....
-ในบรรดานรกเหล่านั้น บุคคลดมกลิ่นใดๆ ด้วยจมูก
-ในบรรดานรกเหล่านั้น บุคคลลิ้มรสใดๆ ด้วยลิ้น ....
-ในบรรดานรกเหล่านั้น บุคคลถูกต้องโผฏฐพพะใดๆ ด้วยผิวกาย ...

ในบรรดานรกเหล่านั้น บุคคลรู้แจ้งธรรมารมณ์ใดๆ ด้วยใจ ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ ที่ไม่น่าปรารถนาเท่านั้น ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าปรารถนาเลย รู้แจ้งธรรมารมณ์ ที่ไม่น่ารักใคร่เท่านั้น ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่ารักใคร่เลย รู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่ไม่น่า พอใจเท่านั้น ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ ที่น่าพอใจเลย

ภิกษุทั้งหลาย! เป็นลาภของเธอ ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ! เป็นการได้ที่ดีของเธอ ทั้งหลายแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! ขณะสําหรับการประพฤติพรหมจรรย์ พวกเธอก็ได้โดย เฉพาะแล้ว ดังนี้แล.
สพา. ส. ๑๔/๑๕๘/๒๑๔.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 98

๒๗
การจองจําที่ทารุณเจ็บปวด


ภิกษุทั้งหลาย ! ความไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มี โอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญา ในกุศลธรรม มีอยู่แก่ผู้ใด เรากล่าวบุคคลผู้นั้น ว่าเป็นคนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ ในอริยวินัย.

ภิกษุทั้งหลาย ! คนจนชนิดนั้น เมื่อไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม เขาย่อมประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรา กล่าวการประพฤติทุจริตของเขานี้ ว่าเป็นการกู้หนี้ เพื่อจะปกปิดกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ของเขา เขาตั้งความปรารถนาอันเลวทราม ปรารถนา ไม่ให้ใครรู้จักเขา ดําริไม่ให้ใครรู้จักเขา พูดจาเพื่อไม่ให้ ใครรู้จักเขา ขวนขวายทุกอย่างเพื่อไม่ให้ใคร รู้จักเขา เรากล่าวการปกปิดความทุจริตอย่างนี้ของเขานี้ ว่าเป็น ดอกเบี้ยที่เขาต้องใช้

เพื่อนสพรหมจารีผู้มีศีลเป็นที่รัก พากันกล่าว ปรารภเขาอย่างนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุนี้ ทําอะไรๆ (ทุจริต) อย่างนี้ มีปกติประพฤติกระทําอะไรๆ (ทุจริต) อย่างนี้” เรากล่าวการ ถูกกล่าวอย่างนี้ ว่าเป็นการถูกทวงหนี้ เขาจะไปอยู่ป่าก็ตาม อยู่โคนไม้ก็ตาม อยู่เรือนว่าง ก็ตาม อกุศลวิตกอันเป็นบาปประกอบอยู่ด้วยความร้อนใจ ย่อมเกิดขึ้น กลุ้มรุมจิตใจเขา เรากล่าวอาการอย่างนี้ ว่าเป็นการถูกติดตามเพื่อทวงหนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! คนจนชนิดนี้ ครั้นประพฤติ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว ภายหลังแต่การตาย เพราะการแตกทําลายแห่งกาย ย่อมถูกจองจําอยู่ในนรกบ้าง ในกําเนิดเดรัจฉานบ้าง

ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่มองเห็นการจองจําอื่น แม้อย่างเดียว ที่ทารุณอย่างนี้ เจ็บปวด อย่างนี้ เป็น อันตรายอย่างนี้ ต่อการบรรลุโยคักเขมธรรมอันไม่มี ธรรมอื่นยิ่งกว่า เหมือนการถูกจองจําในนรก หรือใน กําเนิดเดรัจฉาน อย่างนี้

(คาถาผนวกท้ายพระสูตร) ความยากจน และการกู้หนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นความทุกข์ ในโลก คนจนกู้หนี้มาเลี้ยงชีวิต ย่อมเดือดร้อน เพราะเจ้าหนี้ติดตามบ้าง เพราะถูก จับกุม บ้าง.

การถูกจับกุมนั้น เป็นความทุกข์ของคนบูชา การได้กามถึงแม้ในอริยวินัยนี้ก็เหมือนกัน ผู้ใดไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ สั่งสม แต่บาปกรรม กระทํากายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ปกปิดอยู่ด้วยการกระทําทางกาย ทางวาจา ทางจิต เพื่อ ไม่ให้ผู้ใด รู้จักเขา ผู้นั้นพอกพูนบาปกรรมอยู่เนืองนิตย์ ในที่นั้น ๆ

คนชั่วทําบาปกรรม รู้สึกแต่กรรมชั่วของตน เสมือนคนยากจนกู้หนี้มาบริโภคอยู่ ย่อมเดือดร้อน ความตริตรึกที่เกิดจาก วิปฏิสาร(๑) อันเป็นเครื่อง ทรมานใจ ย่อม ติดตามเขาทั้งในบ้าน และในป่าคนชั่วทําบาปกรรม รู้สึกแต่กรรมชั่วของตน ไปสู่กําเนิดเดรัจฉานบางอย่าง หรือว่าถูกจองจําอยู่ในนรก การถูกจองจํานั้นเป็นทุกข์ ชนิดที่ธีรชนไม่เคยประสบเลย.
ฉกก. อ. ๒๒/๓๙๓/๓๑๖.
---------------------------------------
๑. ความเดือดร้อนใจ
------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า ๑๐๑

๒๘
ความเป็นไปได้ยาก


ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสําคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราซ้อนขึ้น ด้วยปลายเล็บนี้ กับมหาปฐพีนั้น ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดิน ที่มากกว่า ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ทรง ซ้อนขึ้น ด้วยปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย ฝุ่นนั้น เมื่อน้ําเข้าไปเทียบกับ มหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคํานวณได้เปรียบเทียบได้ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งส่วนเสี้ยว

ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว จะกลับไป เกิด ในหมู่มนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก กําเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย มีมากกว่าโดยแท้

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่

อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ?

สื่อย่างคือ : อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์อริยสัจ คือความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจ คือทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่อง กระทํา ให้รู้ว่า ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสําคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราซ้อนขึ้น ด้วยปลายเล็บนี้ กับ มหาปฐพี่นั้น ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดิน ที่มากกว่า ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ ทรง ช้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย ฝุ่นนั้น เมื่อนําเข้าไปเทียบกับ มหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคํานวณได้เปรียบเทียบได้ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งส่วนเสี้ยว

ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น : สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว จะกลับไป เกิดในหมู่เทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก กําเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย มีมากกว่าโดยแท้

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะความที่สัตว์เหล่านั้น ไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่ อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ?

สื่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทํา ให้รู้ว่า ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ดังนี้
มหาวาร. . ๑๕/๕๘/๑๗๙๖-๔๗.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 104

๒๙
การไม่รู้อริยสัจ มืดยิ่งกว่าโลกันตริก


ภิกษุทั้งหลาย ! โลกันตริก (โลกันตนรก) มีแต่ ความทุกข์ มีดคลุ้มมัวเป็นหมอก สัตว์ในโลกันตริกนั้น ไม่ได้รับรัศมีพระจันทร์ และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพ มากอย่างนี้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ความมืดนั้นมาก ความมืดนั้น มากแท้ๆ ความมืดอย่างอื่น ที่มากกว่า และน่ากลัวกว่าความมืดนี้ มีอยู่หรือ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่าและ น่ากลัวกว่าความมืดนี้ มีอยู่

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่า และน่ากลัวกว่าความมืดนี้ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความ เป็นจริง ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่านั้นย่อมยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจ ครั้นยินดีแล้วย่อมปรุงแต่ง ครั้นปรุงแต่งแล้ว ย่อมตกไป สู่ความมืด คือ ความเกิดบ้าง ... เรากล่าวว่า สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่พ้นไปจากความเกิด...ย่อมไม่ พ้นไปจากทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่ยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด .... ครั้น ไม่ยินดีแล้ว ย่อมไม่ปรุงแต่ง ครั้นไม่ปรุงแต่งแล้ว ย่อมไม่ตกไปสู่ความมืด คือ ความ เกิดบ้าง ... เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมพ้นไปจากความเกิด ... ย่อมพ้นไปจากความทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทํา ความเพียร เพื่อรู้ตามความจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
มหาวาร. ส. ๑๕/๔๖๖-๔๖๗/๑๓๕-๑๗๔๒.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 108

๓๐
เหตุที่ทําให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน


ภิกษุทั้งหลาย ! มีเหล่าสัตว์เดรัจฉานจําพวก มีหญ้าเป็นภักษา สัตว์เดรัจฉานเหล่านั้น ย่อมใช้ฟันแทะ เล็มกินหญ้าสด ก็เหล่าสัตว์เดรัจฉานจําพวกมีหญ้าเป็นภักษา คืออะไร ? คือ ม้า โค ลา แพะ เนื้อ หรือแม้จําพวกอื่น ๆ ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่มีหญ้าเป็นภักษา.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในเบื้องต้นคนพาลนั้นนั่นแล เป็นผู้กินอาหารด้วยความติดใจในรส และทํากรรมอัน เป็นบาปไว้ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความ เป็นสหายของ สัตว์จําพวกที่มีหญ้าเป็นภักษาเหล่านั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! มีเหล่าสัตว์เดรัจฉานจําพวก มีคถเป็นภักษา สัตว์เดรัจฉานเหล่านั้น ได้กลิ่นคูถแต่ไกลๆ แล้วย่อมวิ่งไปด้วยหวังว่า จักกันตรงนี้ จักกินตรงนี้ เปรียบเหมือน พวกพราหมณ์เดินไปตามกลิ่นเครื่องบูชา ด้วยตั้งใจว่า จักกินตรงนี้ จักกินตรงนี้ ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันนั้นเหมือนกันแล มีเหล่าสัตว์ เดรัจฉานจําพวกมีคูกเป็นภักษา สัตว์เดรัจฉานเหล่านั้น ได้กลิ่นคูกแต่ไกล ๆ แล้ว ย่อมวิ่งไปด้วยหวังว่า จักกันตรงนี้

จักกินตรงนี้ ก็เหล่าสัตว์เดรัจฉานจําพวกมีคูถเป็นภักษา คืออะไร? คือ ไก่ สุกร สุนัขบ้าน สุนัขป่า หรือแม้จําพวกอื่น ๆ ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่มีคูถเป็นภักษาภิกษุทั้งหลาย ! ในเบื้องต้นคนพาลนั้นนั่นแล เป็นผู้กินอาหารด้วยความติดใจในรส และทํากรรมอัน เป็นบาปไว้ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความ เป็นสหายของสัตว์จําพวก มีคูถเป็นภักษาเหล่านั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! มีเหล่าสัตว์เดรัจฉานจําพวก เกิดแก่ตายในที่มืด ก็เหล่าสัตว์เดรัจฉาน จําพวกเกิดแก่ตาย ในที่มืด คืออะไร ? คือ ตักแตน มอด ไส้เดือน หรือแม้ จําพวกอื่น ๆ ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เกิดแก่ตายในที่มืด

ภิกษุทั้งหลาย ! ในเบื้องต้นคนพาลนั้นนั่นแล เป็นผู้กินอาหารด้วยความติดใจในรส และทํากรรมอัน เป็นบาปไว้ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความ เป็นสหาย ของสัตว์จําพวกเกิดแก่ตายในที่มืด

ภิกษุทั้งหลาย ! มีเหล่าสัตว์เดรัจฉานจําพวก เกิดแก่ตายในน้ำ ก็เหล่าสัตว์เดรัจฉาน จําพวกเกิดแก่ตาย ในน้ำ คืออะไร ? คือ ปลา เต่า จระเข้ หรือแม้จําพวกอื่นๆ ไม่ว่า ชนิดไรๆ ที่เกิดแก่ตายในน้ํา

ภิกษุทั้งหลาย ! ในเบื้องต้นคนพาลนั้นนั่นแล เป็นผู้กินอาหารด้วยความติดใจในรส และทํากรรมอัน เป็นบาปไว้ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความ เป็นสหาย ของสัตว์จําพวกเกิดแก่ตายในน้ำ

ภิกษุทั้งหลาย ! มีเหล่าสัตว์เดรัจฉานจําพวก เกิดแก่ตายในของโสโครก ก็เหล่าสัตว์ เดรัจฉานจําพวก เกิดแก่ตายในของโสโครกคืออะไร? คือ เหล่าสัตว์จําพวกที่ เกิดแก่ตาย ในปลาเน่าก็มี ในศพเน่าก็มี ในขนมกุมมาสเก่า ก็มี ในน้ำครําก็มี ในหลุมโสโครกก็มี หรือแม้จําพวกอื่น ๆ ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เกิดแก่ตายในของโสโครก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในเบื้องต้นคนพาลนั้นนั่นแล เป็นผู้กินอาหารด้วยความติดใจในรส และทํากรรมอัน เป็นบาปไว้ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความ เป็นสหาย ของสัตว์จําพวกเกิดแก่ตายในของโสโครก

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวเรื่องกําเนิดเดรัจฉาน แม้โดยอเนกปริยายแลเพียงเท่านี้ จะกล่าวให้ถึงกระทั่ง ความทุกข์ในกําเนิดเดรัจฉาน ไม่ใช่ทําได้ง่าย
อุปร. ม. ๑๔/๓๑๗-๓๑๙/๔๗๖-๕๘๐.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 111

๓๑
นาคเป็นสัตว์เดรัจฉาน


ก็โดยสมัยนั้นแล นาคตัวหนึ่ง อึดอัด ระอา เกลียดกําเนิดนาค นาคนั้นได้มีความ ดําริ ว่าด้วยวิธีอะไรหนอ เราจึงจะพ้นจากกําเนิดนาค และ กลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เร็วพลัน

ครั้นแล้วได้ดําริต่อไปว่า สมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้แล เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวแต่ คําสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม หากเรา จะพึ่งบวชในสํานักสมณะ เชื้อสายศากยบุตร ด้วยวิธีเช่นนี้ เราก็จะพ้นจากกําเนิดนาค และ กลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน.

ครั้นแล้วนาคนั้นจึงแปลงกาย เป็นชายหนุ่ม แล้วเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอ บรรพชา ภิกษุทั้งหลายจึงให้เขาบรรพชาอุปสมบท สมัยต่อมา พระนาคนั้นอาศัยอยู่ ในวิหาร สูดเขตกับภิกษุรูปหนึ่ง

ครั้นปัจจุสสมัย แห่งราตรี ภิกษุรูปนั้น ตื่นนอนแล้วออกไป เดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ครั้นภิกษุรูปนั้น ออกไปแล้ว พระนาคนั้น ก็วางใจจําวัดวิหารทั้งหลังเต็มไปด้วยงูขนด ยื่นออกไปทางหน้าต่าง

ครั้นภิกษุรูปนั้นผลักบานประตูด้วยตั้งใจจักเข้าวิหาร ได้เห็นวิหารทั้งหลังเต็มไปด้วย เห็นขนดยื่นออกไปทางหน้าต่าง ก็ตกใจ จึงร้องเอะอะขึ้น

ภิกษุทั้งหลายพากันวิ่งเข้าไปแล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า “อาวุโส ท่านร้องเอะอะ ไปทําไม?”

ภิกษุรูปนั้นบอกว่า “อาวุโสทั้งหลายวิหารนี้ทั้งหลังเต็มไปด้วยงู ขนดยื่นออก ไปทาง หน้าต่าง”

ขณะนั้น พระนาคนั้นได้ตื่นขึ้นเพราะเสียงนั้น แล้วนั่งอยู่ บนอาสนะของตน.

ภิกษุทั้งหลายถามว่า “อาวุโส ท่านเป็นใคร?”

น. “ผมเป็นนาค ขอรับ”

ภิ. “อาวุโส ท่านได้ทําเช่นนี้เพื่อประสงค์อะไร ?”

พระนาคนั้นจึงแจ้งเนื้อความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แก่พระผู้มีพระภาค

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ใน เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วได้ทรง ประทานพระพุทธโอวาทนี้แก่นาคนั้นว่า

“พวกเจ้าเป็นนาค มีความไม่งอกงามในธรรมวินัยนี้ เป็นธรรมดา ไปเถิดเจ้านาค จงไปรักษาอุโบสถในวันที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๔ แห่งปักษ์นั้นแหละ ด้วยวิธีนี้ เจ้าจักพ้นจาก กําเนิดนาค และจักกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน”

ครั้นนาคนั้นได้ทราบว่า ตนมีความไม่งอกงามในธรรมวินัยนี้ เป็นธรรมดา ก็เสียใจ หลั่งน้ำตา ส่งเสียงดังแล้วหลีกไป.

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุแห่งความปรากฏ ตามสภาพของนาค มีสองประการนี้คือ
เวลาเสพเมถุนธรรม กับ นางนาคผู้มีชาติเสมอกัน ๑
เวลาวางใจนอนหลับ ๑

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เหตุแห่งความปรากฏ ตามสภาพของนาค ๒ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อนุปสัมบัน คือ สัตว์เดรัจฉาน ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบท แล้ว ต้องให้สึกเสีย
มหา. วิ. ๔/๑๗/๑๒๗
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 115

๓๒
กําเนิดนาค ๔ จําพวก


ภิกษุทั้งหลาย ! กําเนิดของนาค ๔ จําพวกนี้ ๔ จําพวก เป็นอย่างไรเล่า ? คือ
(๑) นาคที่เป็นอัณฑซะ (เกิดในไข่) .... ปราณีตน้อยที่สุด
(๒) นาคที่เป็นชลาพุซะ (เกิดในครรภ์)
(๓) นาคที่เป็นสังเลทซะ (เกิดในเถ้าไคล)
(๔) นาคที่เป็นโอปปาติกะ (เกิดผุดขึ้น) ... ปราณีตมากที่สุด

ในนาค ๔ จําพวกนั้น

นาคที่เป็น ชลาพุชะ (เกิดในครรภ์) สังเสทชะ (เกิดในเถ้าไคล) และโอปปาติกะ (ผุดขึ้น) ประณีตกว่านาค ที่เป็น อัณฑซะ (เกิดในไข่)

นาคที่เป็น สังเสทชะ (เกิดในเถ้าไคล) และโอปปาติกะ (ผุดขึ้น) ประณีตกว่า นาคที่เป็นอัณฑซะ (เกิดในไข่) และ ชลาพุซะ (เกิดในครรภ์)

นาคที่เป็นโอปปาติกะ (ผุดขึ้น) ประณีตกว่านาคที่เป็น อัณฑซะ (เกิดในไข่) ชลาพุชะ (เกิดในครรภ์) และสังเสทชะ (เกิดในเถ้าไคล)

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล กําเนิดของนาค ๔ จําพวก
ขนุ. ส. ๑๗/๒๙๘/๕๑๙
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 116

๓๓
เหตุให้นาครักษาอุโบสถ


ภิกษุ ! นาคบางพวกที่เป็นอัณฑชะในโลกนี้ มีความคิดอย่างนี้ว่า :
เมื่อก่อน พวกเราเป็นผู้กระทํากรรมทั้งสอง (กุศล-อกุศล) ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ พวกเรานั้น กระทํากรรมทั้งสอง ด้วยกายด้วยวาจาด้วยใจ เมื่อตายไปจึงเข้าถึงความ เป็นสหาย ของพวกนาคที่เป็นอัณฑซะ ถ้าวันนี้พวกเราพึงประพฤติ สุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจไซร้เมื่อเป็นอย่างนี้ เมื่อ ตายไป พวกเราจะพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เชิญพวกเรา มาประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจเสียในบัดนี้เถิด.

ภิกษุ ! ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็น อัณฑชะบางพวกในโลกนี้ รักษา อุโบสถ และ สละกายได้
(ตรัสอย่างเดียวกันกับกรณีของนาคที่เป็นชลาพุชะ สั่งเสทซะ และโอปปาติกะ รักษาอุโบสถ)
ขนร. ส. ๑๕/๒๙๙-๓๐๐/๕๒๑-๕๒๔.
---------------------------------------------------
๑. กรรมทั้งสอง : กุศลกรรมและอกุศลกรรม
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 117

๓๔
เหตุให้เข้าถึงความเป็นสหายของนาค (นัยที่ ๑)


ภิกษุ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทํา กรรมทั้งสอง (กุศล-อกุศล) ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาได้ฟังมาว่า พวกนาคที่เป็นอัณฑซะ มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เขาจึงมี ความปรารถนาอย่างนี้ว่า

“โอหนอ ! เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความ เป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอัณฑซะ” ครั้นตายไป เขา ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอัณฑซะ

ภิกษุ ! ข้อนี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคล บางคนในโลกนี้ เมื่อตายไป เข้าถึง ความเป็นสหายของ พวกนาคที่เป็นอัณฑชะ
(ตรัสอย่างเดียวกันกับกรณีของนาคที่เป็นซลาพุซะ สั่งเสทชะ และโอปปาติกะ)
ขน. ส. ๑๗/๓๐๑-๓๐๒/๕๒๔-๕๕๒๕๔.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 118

๓๕
เหตุให้เข้าถึงความเป็นสหายของนาค (นัยที่ ๒)


ภิกษุ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทํา กรรมทั้งสอง(กุศล-อกุศล) ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาได้ฟังมาว่า พวกนาคที่เป็นอัณฑชะ มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า

“โอหนอ! เมื่อตายไปขอเราพึงเข้าถึงความเป็น สหายของพวกนาคที่เป็นอัณฑซะ”

เขาจึงให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป ครั้น ตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็น อัณฑชะ

ภิกษุ ! ข้อนี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคล บางคนในโลกนี้ เมื่อตายไป เข้าถึงความ เป็นสหายของ พวกนาคที่เป็นอัณฑชะ
(ตรัสอย่างเดียวกันกับกรณีของนาคที่เป็นซลาพุซะ สั่งเสทซะ และโอปปาติกะ)
ขนุธ. ส. ๑๗/๓๑/๕๒๙.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 119


๓๖
กําเนิดครุฑ ๔ จําพวก


ภิกษุทั้งหลาย ! กําเนิดของครุฑ (สปณณ) ๔ จําพวกนี้
๔ จําพวก เป็นอย่างไรเล่า ? คือ  
(๑) ครุฑที่เป็นอัณฑซะ (เกิดในไข่) ... มีฤทธิ์น้อยที่สุด
(๒) ครุฑที่เป็นชลาพุชะ (เกิดในครรภ์)
(๓) ครุฑที่เป็นสังเสทชะ (เกิดในเถ้าไคล)
(๔) ครุฑที่เป็นโอปปาติกะ (เกิดผุดขึ้น) ... มีฤทธิ์มากที่สุด

ในครุฑทั้ง ๔ จําพวกนั้น
ครุฑที่เป็น อัณฑซะ (เกิดในไข่) ย่อมนํานาคที่เป็น อัณฑซะ ไปได้ นํานาคที่เป็น ชลาพุชะ สังเสทชะ และ โอปปาติกะไปไม่ได้

ครุฑที่เป็น ชลาพุซะ (เกิดในครรภ์) ย่อมนํานาคที่เป็น อัณฑซะ และ ชลาพุซะ ไปได้ นํานาคที่เป็น สังเสทชะ โอปปาติกะไปไม่ได้

ครุฑที่เป็นสังเสทชะ (เกิดในเถ้าไคล) ย่อมนํานาค ที่เป็น อัณฑซะ ชลาพุชะ และ สังเสทซะ ไปได้ นํานาค ที่เป็นโอปปาติกะไปไม่ได้

ครุฑที่เป็นโอปปาติกะ (ผุดขึ้น) ย่อมนํานาค ที่เป็นอัณฑซะ ชลาพุซะ สังเสทชะ และ โอปปาติกะ ไปได้

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล กําเนิดของครุฑ ๔ จําพวก
ขนุธ. ส. ๑๗/๓๐/๕๓๑.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 120

๓๗
เหตุให้เข้าถึงความเป็นสหายพวกครุฑ (นัยที่ ๑)


ภิกษุ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทํา กรรมทั้งสอง(๑) ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาได้ฟังมาว่า พวกครุฑที่เป็นอัณฑซะ มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า

โอหนอ! เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็น สหายของพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ ครั้นตายไป เขาย่อม เข้าถึงความเป็นสหายของพวกครุฑที่เป็นอัณฑซะ

ภิกษุ ! ข้อนี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคล บางคนในโลกนี้ เมื่อตายไป เข้าถึงความ เป็นสหายของ พวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ
(ตรัสอย่างเดียวกันกับกรณีของครุฑที่เป็นซลาพระ สั่งเสทซะ และโอปปาติกะ)
ชน. ส. ๑๗/๓๐๖/๕๓๒-๕๓๗.
------------------------------------------------------------------
๑. กรรมทั้งสอง : กุศลกรรม และ อกุศลกรรม
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 121

๓๘
เหตุให้เข้าถึงความเป็นสหายพวกครุฑ (นัยที่ ๒)

ภิกษุ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทํากรรมทั้งสอง (กุศล-อกุศล) ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาได้ฟังมาว่า พวกครุฑที่เป็นอัณฑซะ มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า

โอหนอ! เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็น สหายของพวกครุฑที่เป็นอัณฑซะ เขาจึงให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป ครั้นตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกครุฑที่เป็น อัณฑซะ

ภิกษุ ! ข้อนี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคล บางคนในโลกนี้ เมื่อตายไป เข้าถึง ความเป็นสหายของ พวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ

(ตรัสอย่างเดียวกันกับกรณีของครุฑที่เป็นซลาพุชะ สังเสทชะ และโอปปาติกะ)
ขนธ. ส. ๑๓๗/๓๐๗/๕๓๔-๕๓๕
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 123

๓๙
ปฏิปทาให้ถึงความเป็นสุนัขและโค


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เสนิยะอเจละนี้ ประพฤติวัตรดังสุนัข ทํากรรมยาก ที่ผู้อื่น จะทําได้บริโภคโภชนะที่วางไว้ ณ พื้นดิน เขาสมาทานกุกกรวัตรนั้นอย่างบริบูรณ์ สิ้นกาลนาน คติของเขา จะเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจะเป็นอย่างไร ?

อย่าเลย ปุณณะ ! จงงดข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย ปุณณโกลิยบุตร ผู้ประพฤติวัตร ดังโค ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเป็นครั้งที่ ๒ .... เป็นครั้งที่ ๓

ปุณณะ ! บุคคลบางคนในโลกนี้บําเพ็ญ กุกกุรวัตร บําเพ็ญปกติของสุนัข บําเพ็ญกิริยา การของสุนัขให้บริบูรณ์ ไม่ขาดสาย ครั้นแล้วเมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็น สหาย ของสุนัข อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า เรา จักเป็นเทวดาหรือเทพองค์ใด องค์หนึ่ง ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด

ปุณณะ ! เรากล่าวคติของผู้เห็นผิดว่ามี ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรกหรือ กําเนิดเดรัจฉาน

ปุณณะ ! กุกกุรวัตร เมื่อถึงพร้อม ย่อมนําเข้าถึง ความเป็นสหายของสุนัข เมื่อวิบัติ ย่อมนําเข้าถึงนรก ด้วยประการฉะนี้. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เสนียะอเจละ ผู้ประพฤติวัตรดังสุนัข ร้องไห้ น้ำตาไหล.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ปุณณโกลิยบุตร ประพฤติวัตรดังโค เขาสมาทานโควัตรนั้น อย่างบริบูรณ์มาช้านาน คติของเขาจะเป็น อย่างไร ภพหน้าของเขาจะเป็นอย่างไร?

อย่าเลย เสนิยะ ! จงงดข้อนั้นเสียเถิด อย่าถามเรา ถึงข้อนั้นเลย. เสนิยะอเจละ ผู้ประพฤติวัตรดังสุนัข ได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคเป็นครั้งที่ ๒ .. เป็นครั้งที่ ๓

เสนิยะ ! บุคคลบางคนในโลกนี้บําเพ็ญโควัตร บําเพ็ญปกติของโคบําเพ็ญกิริยาการ ของโคอย่างบริบูรณ์ ไม่ขาดสาย ครั้นแล้วเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย ของโค อนึ่งถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า เราจักเป็นเทวดาหรือ เทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วย ศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด

เสนิยะ! เรากล่าวคติของผู้เห็นผิดว่ามี ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรก หรือ กําเนิดเดรัจฉาน เสนิยะ ! โควัตรเมื่อถึงพร้อม ย่อมนําเข้าถึงความ เป็นสหายของโค เมื่อวิบัติ ย่อมนํา เข้าถึงนรก ด้วยประการฉะนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ปุณณโกลิยบุตร ผู้ประพฤติวัตรดังโค ร้องไห้น้ําตาไหล

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเสนิยะอเจละ ผู้ประพฤติวัตรดังสุนัขว่า
เสนิยะ ! เราไม่ได้คํานี้จากท่านว่า อย่าเลยเสนียะ จงงดข้อนั้นเสียเถิด อย่าถามเรา ถึงข้อนั้นเลย ดังนี้

ปุณณโกลิยบุตรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพเจ้ามิได้ร้องไห้ถึงการ พยากรณ์นั้น ที่พระผู้มีพระภาคตรัส กะข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าสมาทาน โควัตรนี้อย่างบริบูรณ์ มาช้านาน

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาค ทรงสามารถแสดงธรรมโดยประการที่ ให้ข้าพเจ้าจึงละโควัตรนี้ได้ และ เสนิยะอเจละ ผู้ประพฤติวัตร ดังสุนัข พึงละทุกกรวัตรนั้นได้
ม. ม. ดูด/-๘๒/๘๔-๘๖.