หน้า 404
๑๐๘
การท่องเที่ยวที่แสนยาวนาน
ภิกษุทั้งหลาย ! สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี อวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพี่ที่เป็น ป่าช้า ตลอดกาลนาน เหมือนฉะนั้น เมื่อบุคคลหนึ่งท่องเที่ยวไปมาอยู่ตลอด กัปหนึ่ง จึงมีโครงกระดูก ร่างกระดูก กองกระดูก ใหญ่เท่า ภูเขาเวปุลละนี้ ถ้ากองกระดูกนั้น จึงเป็นของที่จะขนมา รวมกันได้ และกระดูกที่ได้สั่งสมไว้แล้ว ก็ไม่พึงหมดไป.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเหตุว่า สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
เราผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า กระดูกของบุคคลคนหนึ่งที่สะสมไว้ กัปหนึ่ง พึงเป็นกองเท่าภูเขา ก็ภูเขาที่เรากล่าวนั้น คือ ภูเขาใหญ่ชื่อ เวปุลละอยู่ทิศเหนือ ของภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้เมืองราชคฤห์ อันมีภูเขาล้อมรอบ เมื่อใดบุคคล เห็นอริยสัจ คือ ทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความล่วงพ้นทุกข์ และอริยมรรค มีองค์ ๘ อันยังสัตว์ให้ถึงความสงบทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ เมื่อนั้น เขาท่องเที่ยว ๗ ครั้งเป็นอย่างมาก ก็เป็นผู้ทําที่สุดทุกข์ได้ เพราะสิ้นสัญโญชน์ทั้งปวง ดังนี้แล.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 406
๑๐๙
การเวียนเกิดที่แสนยาวนาน
ภิกษุทั้งหลาย! สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี อวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏ
ภิกษุทั้งหลาย! เหมือนอย่างว่าบุรุษตัดทอนหญ้า ไม้ กิ่งไม้ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทําให้เป็นมัด ๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็น มารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลําดับ มารดาของมารดาแห่ง บุรุษนั้นไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเหตุว่า สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย ไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย! สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี อวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏ
ภิกษุทั้งหลาย! เหมือนอย่างว่า บุรุษปั้นมหาปฐพีนี้ ให้เป็นก้อน ก้อนละเท่าเม็ด กระเบา แล้ววางไว้ สมมติว่า นี้เป็นบิดาของเรา นี้เป็นบิดาของบิดาของเรา โดยลําดับ บิดาของบิดาแห่งบุรุษนั้นไม่พึงสิ้นสุด ส่วนมหาปฐพีนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเหตุว่า สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย ไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชช าเป็น เครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ ปรากฏสัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็น ป่าช้าตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 408
๑๑๐
ผู้ที่ไม่เคยเกี่ยวข้องกัน หาได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย! สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี อวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏ สัตว์ ที่ไม่เคยเป็นมารดา โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเหตุว่า สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย ไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย! สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ ... สัตว์ที่ไม่เคย เป็น บิดา โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย ... ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย! สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ ... สัตว์ที่ไม่เคยเป็น พี่ชายน้องชาย โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย ... ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย! สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ ... สัตว์ที่ไม่เคยเป็น พี่หญิงน้องหญิง โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ ... สัตว์ที่ไม่เคยเป็น บุตร โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย ... ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี อวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นธิดา โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเหตุว่า สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย ไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี อวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพี่ที่เป็น ป่าช้า ตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 411
๑๑๑
น้ำตาที่เคยหลั่งไหล
ภิกษุทั้งหลาย ! สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี อวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏเธอทั้งหลายจะสําคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร น้ำตาที่หลั่งไหลของ พวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญ ร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะ พลัดพรากจาก สิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหน จะมากกว่ากัน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! พวกข้าพระองค์ย่อมทราบธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้ว ว่าน้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวก ข้าพระองค์ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ําครวญร้องไห้อยู่ เพราะการประสบ สิ่งที่ไม่พอใจ เพราะการพลัดพรากจากสิ่ง ที่พอใจ โดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย.
ภิกษุทั้งหลาย! สาธุ สาธุ พวกเธอทราบธรรม ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออก ของพวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมา ... โดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของมารดา ตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของ พวกเธอ ผู้ประสบมรณกรรม ของมารดา คร่ําครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่ พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละ มากกว่า ส่วนน้ำ ในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
...พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของบิดา ....ของ พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว .... ของบุตร .... ของธิดา .... ความเสื่อมแห่งญาติ .... ความเสื่อมแห่งโภคะ ...
.... พวกเธอได้ประสบความเสื่อมเพราะโรค ตลอด กาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออก ของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบ ความเสื่อมเพราะโรค คร่ําครวญร้องไห้อยู่เพราะประสบสิ่ง ที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทร ทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเหตุว่า สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย ไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพี่ที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
นิทาน. ส. ๑๖/๒๑๓-๒๑๔/๕๒๕-๔๒๖.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 414
๑๑๒
น้ำนม ที่เคยได้ดื่ม
ภิกษุทั้งหลาย ! สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี อวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ ปรากฏ เธอทั้งหลายจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำนมมารดาที่พวกเธอผู้ท่องเที่ยว ไปมาอยู่โดยกาลนานนี้ ดื่มแล้ว กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหนจะมากกว่ากัน?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พวกข้าพระองค์ย่อมทราบ ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้ว น้ำนมมารดาที่พวกข้า พระองค์ผู้ท่องเที่ยวไปมาอยู่โดยกาลนาน ดื่มแล้วนั่นแหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย.
ภิกษุทั้งหลาย! สาธุ สาธุ พวกเธอทราบธรรม ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว น้ำนมมารดา ที่พวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมาอยู่โดยกาลนานดื่มแล้วนั่นแหละ มากกว่า น้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเหตุว่า สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย ไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 416
๑๑๓
ทุกข์ ที่เคยประสบ
ภิกษุทั้งหลาย! สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี อวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏ เธอทั้งหลายเห็น ทุคตบุรุษ ผู้มีมือและเท้า ไม่สมประกอบ จึงลง สันนิษฐานในบุคคลนี้ว่า เราทั้งหลาย ก็เคยเสวยทุกข์เห็นปานนี้มาแล้ว โดยกาล นานนี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเหตุว่า สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย ไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี อวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพี ที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 417
๑๑๔
สุข ที่เคยได้รับ
ภิกษุทั้งหลาย ! สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี อวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏ เธอทั้งหลายเห็นบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วย ความสุข มีบริวารคอยรับใช้ พึงลงสันนิษฐานในบุคคลนี้ว่า เราทั้งหลายก็เคยเสวยสุขเห็นปานนี้มาแล้ว โดยกาล นานนี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเหตุว่า สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย ไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 418
๑๑๕
เลือด ที่เคยสูญเสีย
ภิกษุทั้งหลาย ! สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี อวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏ เธอทั้งหลายจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน โลหิตที่หลั่งไหลออกของ พวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมาซึ่งถูก ตัดศีรษะ โดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหน จะมากกว่ากัน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมทราบ ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้วว่า โลหิตที่หลั่งไหลออก ของพวกข้าพระองค์ผู้ท่องเที่ยวไปมา ซึ่งถูกตัดศีรษะโดยกาลนาน นี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย! สาธุ สาธุ พวกเธอทราบธรรม ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว โลหิต ที่หลั่งไหลออกของ พวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมาซึ่งถูกตัดศีรษะโดยกาลนานนี้ นี้แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นโค ซึ่งถูกตัดศีรษะตลอดกาลนาน โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำใน มหาสมุทร ทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย.
.... เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นกระบือ .... เกิดเป็นแกะ .... เกิดเป็นแพะ ... เกิดเป็นเนื้อ ... เกิดเป็นสุกร .... เกิดเป็นไก่ ซึ่งถูกตัดศีรษะตลอดกาลนาน โลหิตที่หลั่งไหลออก นั่นแหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
... เมื่อเธอทั้งหลายถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่า เป็นโจรฆ่าชาวบ้าน ... ถูกจับตัด ศีรษะโดยข้อหาว่า เป็นโจร คิดปล้น ... ถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่า เป็นโจรประพฤติ ผิดในภรรยาของผู้อื่น ตลอดกาลนาน โลหิตที่หลั่งไหลออก นั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำ ในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเหตุว่า สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย ไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพี่ที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 420
๑๑๖
ความไม่แน่นอนของการได้อัตภาพ
ภิกษุทั้งหลาย ! สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี อวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพี ที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน เหมือนฉะนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนท่อนไม้อันบุคคล ซัดขึ้นไปสู่อากาศ บางคราว ตกเอาโคนลง บางคราวตก เอาตอนกลางลง บางคราวตกเอาปลายลง ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็น เครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน บางคราวแล่นไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น บางคราว แล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเหตุว่า สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย ไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 422
๑๑๗
สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง (นัยที่ ๑)
(อุปมาการอันตรธานของ เวลปุละบรรพต)
ภิกษุทั้งหลาย! สงสารนี้กําหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี อวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏ
ภิกษุทั้งหลาย! เรื่องเคยมีมาแล้ว เวปุลลบรรพต นี้ มีชื่อว่า ปาจีนวังสะ สมัยนั้นแล หมู่มนุษย์มีชื่อว่าติวรา หมู่มนุษย์ชื่อติวรา มีอายุประมาณสี่หมื่นปี หมู่มนุษย์ชื่อ ติวรา ขึ้นปาจีนวังสบรรพตเป็นเวลา ๔ วัน ลงก็เป็นเวลา 4 วัน
สมัยพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่า กกุสันธะ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากกุสันธะ มีพระสาวกคู่หนึ่ง เป็นคู่เลิศ เป็นคู่เจริญ ชื่อว่า วิธูระและสัญชีวะ
ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอจงดูเถิด ชื่อแห่งภูเขานี้ นั้นแล อันตรธานไปแล้ว มนุษย์ เหล่านั้นกระทํากาละไปแล้ว และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว สังขาร ทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืนอย่างนี้ สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่ง ที่หวังอะไรไม่ได้อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องเคยมีมาแล้ว เวปุลลบรรพต นี้ มีชื่อว่า วงกฏ สมัยนั้นแล หมู่มนุษย์ มีชื่อว่า โรหิตัสสะ หมู่มนุษย์ชื่อ โรหิตัสสะ มีอายุประมาณสามหมื่นปี มนุษย์ชื่อ โรหิตัสสะ ขึ้นวงกฏบรรพตเป็นเวลา ๓ วัน ลงก็เป็นเวลา ๓ วัน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าโกนาคมนะ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าโกนาคมนะ มีพระสาวก คู่หนึ่ง เป็นคู่เลิศ เป็นคู่เจริญ ชื่อว่า ภิยโยสะและอุตตร
ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอจงดูเถิด ชื่อแห่งภูเขานี้ นั้นแลอันตรธานไปแล้ว มนุษย์ เหล่านั้น กระทํากาละไปแล้ว และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว สังขาร ทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ... พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องเคยมีมาแล้ว เวปุลลบรรพต นี้ มีชื่อว่า สุปัสสะ สมัยนั้นแล หมู่มนุษย์มีชื่อว่าสุปปิยา หมู่ มนุษย์ชื่อสุปปิยามีอายุประมาณสองหมื่นปี หมู่มนุษย์ชื่อ สุปปิยาขึ้นสุปัสสบรรพตเป็นเวลา ๕ วัน ลงก็เป็นเวลา ๕ วัน
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่า กัสสปะ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาค อรหันต สัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากัสสปะ มีพระสาวกคู่หนึ่ง เป็นคู่เลิศ เป็นคู่เจริญชื่อว่า ติสสะและภารทวาชะ
ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอจงดูเถิด ชื่อแห่งภูเขานี้ นั้นแล อันตรธานไปแล้วมนุษย์ เหล่านั้น กระทํากาละไปแล้ว และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว สังขาร ทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืนอย่างนี้ สังขาร ทั้งหลาย เป็นสิ่งที่หวังอะไรไม่ได้อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย! ก็บัดนี้แล ภูเขาเวปุลละ นี้มีชื่อ เวปุลละ ทีเดียวก็บัดนี้หมู่มนุษย์ เหล่านี้มีชื่อว่ามาคธะ หมู่มนุษย์ ชื่อมาคธะมีอายุเพียงน้อยนิด ผู้ใดมีชีวิตอยู่นาน ผู้นั้น มีอายุเพียงร้อยปี น้อยกว่าก็มี เกินกว่าก็มี หมู่มนุษย์ชื่อ มาคธะ ขึ้นเวปุลล บรรพต เพียงครู่เดียว ลงก็เพียงครู่เดียว และบัดนี้ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระองค์ นี้ เสด็จอุบัติ ขึ้นแล้วในโลก ก็เราแลมีสาวกคู่หนึ่ง เป็นคู่เลิศ เป็นคู่เจริญ ชื่อว่า สารีบุตรและโมคคัลลานะ
ภิกษุทั้งหลาย! ชื่อแห่งบรรพตนี้จักอันตรธาน หมู่มนุษย์เหล่านี้ จักทํากาละ และเรา ก็จักปรินิพพาน.
ภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืนอย่างนี้ สังขารทั้งหลายเป็นสิ่งที่ หวังอะไรไม่ได้อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร) ปาจีนวังสบรรพตของหมู่มนุษย์ชื่อติวรา วงกฏบรรพต ของหมู่มนุษย์ชื่อโรหิตัสสะ สุปัสสบรรพตของหมู่มนุษย์ชื่อสุปปิยา และเวปุลลบรรพต ของหมู่มนุษย์ชื่อมาคธะ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็น ธรรมดา ครั้นเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป ความสงบรํางับซึ่งสังขารทั้งปวงได้ เป็นสุข ดังนี้
นิทาน. ส. ๑๖/๒๒๕ - ๒๒๘/๕๕๖-๔๖๑.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 426
๑๑๘
สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง (นัยที่ ๒)
ภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง (อนิจจ) สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืน (อธุว) สังขารทั้งหลายเป็นสิ่งที่หวังอะไรไม่ได้ (อนสุสาสิก)
ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย! ขุนเขาสิเนรุโดยยาว ๘๔,๐๐๐ โยชน์ โดยกว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงขึ้นจากผิวพื้นสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์
ภิกษุทั้งหลาย ! มีสมัยซึ่งล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี ที่ฝนไม่ตกเลย เมื่อฝนไม่ตก (ตลอดเวลาเท่านี้) ป่าใหญ่ ๆ อันประกอบด้วย พืชคาม ภูตคาม ไม้ หยูกยาและหญ้าทั้งหลาย ย่อมเฉา ย่อม เหี่ยวแห้ง มีอยู่ไม่ได้
------------------------------------------------------------------------
๑.๑ โยชน์ = ๑๖ กิโลเมตร (๘๔,๐๐๐ โยชน์ เท่ากับ ๑,๓๔๔,๐๐๐ กม.)
------------------------------------------------------------------------
ภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืนอย่างนี้ สังขารทั้งหลายเป็นสิ่งที่หวัง อะไรไม่ได้อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่งกาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่สอง ย่อมปรากฏ เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่สองปรากฏ แม่น้ำน้อย หนองบึง ทั้งหมดทั้งวดแห้งไป ไม่มีอยู่
ภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืนอย่างนี้ สังขารทั้งหลายเป็นสิ่งที่หวัง อะไรไม่ได้อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่งกาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่สามย่อมปรากฏ
เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่สามปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ ๆ เช่น แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ทั้งหมดก็งวดแห้งไป ไม่มีอยู่
ภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืนอย่างนี้ สังขารทั้งหลายเป็นสิ่งที่หวัง อะไรไม่ได้อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่งกาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่สี ย่อมปรากฏ เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่สี่ปรากฏ มหาสระทั้งหลาย อันเป็น ที่เกิดแห่งแม่น้ำสายใหญ่ๆ เช่น แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี มหาสระเหล่านั้น ทั้งหมดก็งวดแห้งไป ไม่มีอยู่
ภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืนอย่างนี้ สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งที่หวัง อะไรไม่ได้อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่งกาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่ห้า ย่อมปรากฏ เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ห้าปรากฏ น้ำในมหาสมุทรอันลึก ร้อยโยชน์ก็งวดลงน้ำในมหาสมุทรอันลึก สอง-สาม-สี่-ห้าหก-เจ็ดร้อยโยชน์ ถึงวดลง เหลืออยู่เพียงเจ็ดชั่วต้นตาล ก็มี เหลืออยู่เพียงหก-ห้า-สี่-สาม-สอง กระทั่งหนึ่งชั่ว ต้นตาล ก็มี งวดลงเหลืออยู่เพียงเจ็ดชั่วบุรุษก็มีเหลืออยู่ เพียงหก-ห้า-สี่-สาม-สอง-หนึ่ง กระทั่งครึ่งชั่วบุรุษ ก็มี งวดลง เหลืออยู่เพียงแค่สะเอว เพียงแค่เข่า เพียงแค่ ข้อเท้า กระทั่งเหลืออยู่ลึกเท่าน้ำในรอยเท้าโคในที่นั้นๆ เช่นเดียวกับน้ำในรอยเท้าโค เมื่อฝนเม็ดใหญ่เริ่มตกใน ฤดูสารทลงมาในที่นั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย! เพราะการปรากฏแห่งอาทิตย์ ดวงที่ห้า น้ำในมหาสมุทรไม่มีอยู่แม้ สักว่าองคุลีเดียว
ภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืนอย่างนี้ สังขารทั้งหลายเป็นสิ่งที่หวัง อะไรไม่ได้อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่งกาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่หก ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งอาทิตย์ดวงที่หก มหาปฐพีนี้และ ขุนเขาสิเนรุ ก็มีควันขึ้น ยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้น เปรียบเหมือน เตาเผาหม้อ อันนายช่างหม้อ สุมไฟแล้ว ย่อมมีควันขึ้นโขมง ยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้น ฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืนอย่างนี้ สังขารทั้งหลายเป็นสิ่งที่หวัง อะไรไม่ได้อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่งกาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่เจ็ดย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งอาทิตย์ดวงที่เจ็ด มหาปฐพีนี้ และ ขุนเขาสิเนรุ ย่อมมีไฟลุกโพลง ๆ มีเปลวเป็นอันเดียวกัน เมื่อมหาปฐพีนี้ และ ขุนเขา สิเนรุอันไฟเผาอยู่ไหม้อยู่อย่างนี้ เปลวไฟถูกลมชัดขึ้นไป จนถึงพรหมโลก
ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาอยู่ ไหม้อยู่ วินาศอยู่ อันกองไฟท่วมทับแล้ว ยอดทั้งหลาย อันสูงร้อยโยชน์บ้าง สอง-สาม-สี่-ห้าร้อยโยชน์บ้าง ก็พังทําลายไป.
ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อมหาปฐพีนี้และขุนเขาสิเนรุ อันไฟเผาอยู่ ไหม้อยู่, ขี้เถ้าและเขม่า ย่อมไม่ปรากฏ เหมือนเมื่อเนยใสหรือน้ำมันถูกเผา ขี้เถ้าและเขม่า ย่อม ไม่ปรากฏ ฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืนอย่างนี้ สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งที่หวัง อะไรไม่ได้อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกําหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! ในข้อความนั้น ใครจะคิด ใครจะเชื่อว่า ปฐพีนี้และขุนเขาสิเนรุ จักลุกไหม้ จักวินาศ จักสูญสิ้นไปได้ นอกเสียจาก พวกมีบทอันเห็นแล้ว
สตุตก. อ. ๒/๑๐๒-๑๐๕/๖๓.
หน้า ๔๓๓
๑๑๙
เพราะไม่รู้อริยสัจ จึงต้องท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ
ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนท่อนไม้อันบุคคล ซัดขึ้นไปสู่อากาศ บางคราว ตกเอาโคนลง บางคราวตกเอา ตอนกลางลง บางคราวตกเอาปลายลง ข้อนี้ฉันใด.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชา เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บางคราวแล่นไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น บางคราว แล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่
อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ?
สื่อย่างคือ : -
อริยสัจคือทุกข์
อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทํา ให้รู้ว่า ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ดังนี้
มหาวาร. ส. ๑๙/๕๕๐/๑๗๑๖.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจสี่อย่าง เราและพวกเธอ ทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสัจสี่อย่าง เหล่าไหนเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่ง อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ อริยสัจคือความดับ ไม่เหลือของทุกข์ และอริยสัจคือทางดําเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือของทุกข์
เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนาน ถึงเพียงนี้
ภิกษุทั้งหลาย! เมื่ออริยสัจ คือทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับไม่เหลือของทุกข์ และ ทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นความจริงที่เราและพวกเธอทั้งหลาย รู้ถึงและแทงตลอดแล้ว ตัณหาในภพ ก็ถูกถอนขึ้นขาด ตัณหาที่จะนําไปสู่ภพ ก็สิ้นไปหมด บัดนี้ ความต้องเกิดขึ้นอีก มิได้มี ดังนี้
มหาวาร. ส. ๑๕/๕๕๑/๑๖๙๘.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 438
๑๒๐
อุปมาแห่งนิพพาน
สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งนิพพาน ทางอันยังสัตว์ ให้ถึงนิพพาน และปฏิปทาอันจะยัง สัตว์ให้ถึงนิพพาน อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด ย่อมกระทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่เราย่อมรู้ชัด ซึ่งประการนั้นด้วย
สารีบุตร ! เปรียบเหมือนสระโบกขรณี มีน้ําอันใส สะอาดเย็น ใสตลอด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ และในที่ไม่ไกล สระโบกขรณีนั้น มีแนวป่าอันทึบ ลําดับนั้น บุรุษผู้มีตัว อันความร้อนแผดเผา เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย มุ่งมาสู่ สระโบกขรณีนั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุ เห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงสระโบกขรณี นี้ที่เดียว”
โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาลงสู่ สระโบกขรณีนั้น อาบและดื่ม ระงับ ความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความร้อนหมดแล้ว ขึ้นไปนั่งหรือ นอน ในแนวป่านั้น เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด.
สารีบุตร ! เราย่อมกําหนดรู้ใจบุคคลบางคนใน โลกนี้ด้วยใจฉันนั้นเหมือนกันว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักกระทําให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่
โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุรุษนั้น กระทําให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้ว แลอยู่ (ย่อม) เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว
ม. ม. ๑๒/๑๕/๑๗๖.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 440
๑๒๑
ความรู้สึกของปุถุชน
ภิกษุทั้งหลาย ! ในโลกนี้ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาด ในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนําในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่เห็นสัปบุรุษ ทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการ แนะนําในธรรมของสัปบุรุษ : ปุถุชนนั้น
(๑) ย่อมรู้สึกซึ่ง ดิน โดยความเป็นดิน ครั้นรู้สึก ซึ่งดินโดยความเป็นดินแล้ว ย่อม สําคัญมั่นหมายซึ่งดิน ย่อมสําคัญมั่นหมายในดิน ย่อมสําคัญมั่นหมายโดยความ เป็นดิน ย่อมสําคัญมั่นหมายว่า ดินของเรา ย่อมเพลิน อย่างยิ่งซึ่งดิน ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าว ว่า เพราะดินเป็นสิ่งที่ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๒) ย่อมรู้สึกซึ่ง น้ำ ....
(๓) ย่อมรู้สึกซึ่ง ไฟ ....
(๔) ย่อมรู้สึกซึ่ง ลม ....
(๕) ย่อมรู้สึกซึ่ง ภูตสัตว์ทั้งหลาย ....
(๖) ย่อมรู้สึกซึ่ง เทพทั้งหลาย ....
(๗) ย่อมรู้สึกซึ่ง ปชาบดี ....
(๘) ย่อมรู้สึกซึ่ง พรหม ..
(๙) ย่อมรู้สึกซึ่ง อาภัสสรพรหมทั้งหลาย ......
(๑๐) ย่อมรู้สึกซึ่ง สุภกิณหพรหมทั้งหลาย
(๑๑) ย่อมรู้สึกซึ่ง เวหัปผลพรหมทั้งหลาย ...
(๑๒) ย่อมรู้สึกซึ่ง อภิภู ...
(๑๓) ย่อมรู้สึกซึ่ง อากาสานัญจายตนะ ....
(๑๔) ย่อมรู้สึกซึ่ง วิญญาณัญจายตนะ ...
(๑๕) ย่อมรู้สึกซึ่ง อากิญจัญญายตนะ ....
(๑๖) ย่อมรู้สึกซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะ .....
(๑๗) ย่อมรู้สึกซึ่ง รูปที่เห็นแล้ว ....
(๑๘) ย่อมรู้สึกซึ่ง เสียงที่ได้ฟังแล้ว ...
(๑๙) ย่อมรู้สึกซึ่ง สิ่งที่รู้สึกแล้ว .... (ทางจมูก, ลิ้น, ผิวกาย) ..
(๒๐) ย่อมรู้สึกซึ่ง สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว ....(ทางมโนวิญญาณ)
(๒๑) ย่อมรู้สึกซึ่ง เอกภาวะ” (เอกตต์) ....
-----------------------------------------------------------
๑. เอกภาวะ : ความเป็นหนึ่ง (วิญญาณ)
-----------------------------------------------------------
(๒๒) ย่อมรู้สึกซึ่ง นานาภาวะ” (๑) (นานตต์) ...
(๒๓) ย่อมรู้สึกซึ่ง สรรพภาวะ (๒) (สพุพ) ....
(๒๔) ย่อมรู้สึกซึ่งนิพพาน โดยความเป็น นิพพาน
ครั้นรู้สึกซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว
ย่อมสําคัญมั่นหมายซึ่งนิพพาน
ย่อมสําคัญมั่นหมายใน นิพพาน
ย่อมสําคัญมั่นหมายโดยความเป็นนิพพาน
ย่อมสําคัญมั่นหมายว่านิพพานของเรา
ย่อมเพลินอย่าง ยิ่งซึ่งนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ข้อนั้นเรากล่าว ว่า เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
ม. ม. ๑๒/๑/๒.
----------------------------------------------------------------------
๑. นานาภาวะ: ความแตกต่างกัน (รูป เวทนา สัญญาและสังขาร).
๒. สรรพภาวะ : สิ่งทั้งปวง (ขันธ์ทั้ง ๕)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 443
๑๒๒
นิพพาน คือ ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่พระองค์ทรงเรียกอยู่ว่า “ธรรมเป็นที่กําจัดราคะ เป็นที่ กําจัด โทสะ เป็นที่กําจัด โมหะ" ดังนี้
คําว่า “ธรรมเป็นที่กําจัดราคะ เป็นที่กําจัดโทสะ เป็นที่กําจัดโมหะ" นี้เป็นคําที่ใช้เรียก แทนชื่อของอะไรเล่า พระเจ้าข้า !
ภิกษุทั้งหลาย ! คําว่า “ธรรมเป็นที่กําจัดราคะ (ราควินโย) เป็นที่กําจัดโทสะเป็นที่ กําจัดโมหะ” นี้ เป็นคําที่ใช้เรียกแทนชื่อของนิพพานธาตุ เรียกว่า เป็นธรรมที่สิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายแล
มหาวาร. ส. ๑/๑๐/๓๑.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 444
๑๒๓
ความสิ้นตัณหา คือ นิพพาน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกว่า “สัตว์ สัตว์” ดังนี้ อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุเพียง เท่าไรเล่า พระเจ้าข้า !
ราธะ ! ความพอใจอันใด ราคะอันใด นันทิ อันใด ตัณหาอันใด มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ เพราะการติดแล้ว ข้องแล้ว ในสิ่งนั้น ๆ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้
ราธะ ! เปรียบเหมือนพวกกุมารน้อย ๆ หรือ กุมารีน้อย ๆ เล่นเรือนน้อย ๆ ที่ทําด้วยดิน อยู่ ตราบใด เขายังมีราคะ มีฉันทะ มีความรัก มีความกระหาย มี ความเร่าร้อน และมี ตัณหา ในเรือนน้อยที่ทําด้วยดิน เหล่านั้น ตราบนั้น พวกเด็กน้อยนั้นๆ ย่อมอาลัยเรือน น้อยที่ทําด้วยดินเหล่านั้น ย่อมอยากเล่น ย่อมอยากมี เรือนน้อยที่ทําด้วยดินเหล่านั้น ย่อมยึดถือเรือนน้อยที่ ทําด้วยดินเหล่านั้น ว่าเป็นของเรา ดังนี้
ราธะ ! แต่เมื่อใดแล พวกกุมารน้อย ๆ หรือกุมารี น้อย ๆ เหล่านั้น ปราศจากราคะแล้ว ปราศจากฉันทะ แล้ว ปราศจากความรักแล้ว ปราศจากความเร่าร้อนแล้ว ปราศจาก ตัณหาแล้วในเรือนน้อย ที่ทําด้วยดิน เหล่านั้น ในกาลนั้น พวกเขาย่อมทําเรือนน้อยๆ ที่ทําด้วยดินเหล่านั้น ให้กระจัดกระจายเรี่ยราย เกลื่อนกล่นไป กระทําให้จบ การเล่นเสีย ด้วยมือและเท้าทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด
ราธะ ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ : - แม้พวกเธอทั้งหลายจงเรี่ยรายกระจายออก ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ จงขจัดเสียให้ถูกวิธี จงทําให้แหลกลาญ โดยถูกวิธี จงทําให้จบการเล่นให้ถูกวิธี จงปฏิบัติ เพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด.
ราธะ ! เพราะว่า ความสิ้นไปแห่งตัณหานั้น คือ นิพพาน ดังนี้แล
ขนู. . ๑/๒๓๒/๓๖๗.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 446
๑๒๔
นิพพานที่เห็นได้เอง (ละราคะ โทสะ โมหะ)
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! คําที่พระโคดมกล่าวว่า “นิพพานที่เห็นได้เอง (สนุทิฏฐิก นิพพาน) นิพพาน ที่เห็นได้เอง ดังนี้
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! นิพพานที่เห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นสิ่งที่กล่าว กับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ได้เฉพาะตน นั้น มีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า !
พราหมณ์ ! บุคคลผู้กําหนัดแล้ว อันราคะครอบงําแล้ว มีจิตอันราคะซึ่งรัดแล้ว ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน ตนเองบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อ เบียดเบียน ทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองบ้าง ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งทุกขโทมนัส อันเป็นไป ทางจิตบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดแม้เพื่อเบียดเบียน ตนเอง ย่อมไม่คิด แม้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมไม่คิดแม้เพื่อ เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทั้งสองอย่าง และย่อมไม่เสวย เฉพาะซึ่งทุกขโทมนัสอันเป็นไปทางจิตโดยแท้
พราหมณ์ ! นิพพานที่เห็นได้เอง ไม่ประกอบ ด้วยกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า “ท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจเป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน” ย่อมมีได้ แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
พราหมณ์ ! บุคคลผู้เกิดโทสะแล้ว อันโทสะ ครอบงําแล้ว มีจิตอันโทสะจึงรัดแล้ว ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน ตนเองบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อ เบียดเบียนทั้งตนเอง และผู้อื่น ทั้งสองบ้าง ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งทุกขโทมนัส อันเป็นไป ทางจิตบ้าง เมื่อละโทสะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดแม้เพื่อเบียดเบียนตนเอง ย่อมไม่คิดแม้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมไม่คิดแม้เพื่อ เบียดเบียนตนเอง และ ผู้อื่น ทั้งสองอย่าง และย่อมไม่เสวย เฉพาะซึ่งทุกขโทมนัสอันเป็นไปทางจิตโดยแท้
พราหมณ์ ! นิพพานที่เห็นได้เอง ไม่ประกอบ ด้วยกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า “ท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจเป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน” ย่อมมีได้ แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
พราหมณ์ ! บุคคลผู้มีโมหะแล้ว อันโมหะครอบงําแล้ว มีจิตอันโมหะจึงรัดแล้ว ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน ตนเองบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อ บียดเบียน ทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองบ้าง ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งทุกขโทมนัส อันเป็น ไปทางจิตบ้าง เมื่อละโมหะได้แล้ว ย่อมไม่คิดแม้เพื่อเบียดเบียน ตนเอง ย่อมไม่คิด แม้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมไม่คิดแม้เพื่อ เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองอย่าง และย่อมไม่เสวย เฉพาะซึ่งทุกขโทมนัสอันเป็นไปในทางจิตโดยแท้
พราหมณ์ ! นิพพานที่เห็นได้เอง ไม่ประกอบ ด้วยกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า “ท่านจงมาดู เถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน” ย่อมมีได้ แม้ด้วยอาการ อย่างนี้แล.
พราหมณ์ ! เมื่อใดแล ผู้นี้
ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งความสิ้นไปแห่งราคะ อันหาเศษเหลือมิได้
ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งความสิ้นไปแห่งโทสะ อันหาเศษเหลือมิได้
ย่อมเสวยเฉพาะ ซึ่งความสิ้นไปแห่งโมหะ อันหาเศษเหลือมิได้
พราหมณ์เอย ! เมื่อนั้น นิพพานที่เห็น ได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าว กะผู้อื่นว่า “ท่านจงมา ดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะ ตน” ย่อมมีได้ ด้วยอาการ อย่างนี้แล
ติก. อ. ๒๐/๒๐๒/๕๕๕
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 450
๑๒๕
นิพพานที่เห็นได้เอง ตามคําของพระอานนท์
อาวุโส ! มีคํากล่าวกันอยู่ว่า “สันทิฏฐิกนิพพาน* (สนุทิฏฐิก นิพพาน) สันทิฏฐิก นิพพาน ดังนี้ *(นิพพานที่เห็นได้ด้วยตนเอง)
อาวุโส ! สันทิฏฐิกนิพพานนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ?
(พระอุทายีถามพระอานนท์, พระอานนท์เป็นผู้ตอบ)
อาวุโส ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้ว จากอกุศลธรรม เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ อาวุโส ! สันทิฏฐิกนิพพานอันพระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าวโดย ปริยาย (โดยอ้อม)
(ในกรณีแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญา ณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ มีข้อความ ที่กล่าวไว้โดย ทํานอง เดียวกันกับข้อความ ในกรณีแห่งปฐมฌาน ทุกประการ และ ในฐานะเป็น สันทิฏฐิก นิพพาน โดยปริยาย
ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งมีการสิ้นอาสวะนั้น กล่าวไว้ในฐานะเป็น สันทิฏฐิก นิพพาน โดยนิปปริยายด้วย ข้อความ ดังต่อไปนี้)
อาวุโส ! นัยอื่นอีกมีอยู่ : ภิกษุในกรณีนี้ ก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วแลอยู่ อนึ่งเพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอนั้น ก็สิ้นไปรอบ
อาวุโส ! สันทิฏฐิกนิพพาน อันพระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าวโดย นิปปริยาย (๑)
นวก. อ. ๒๓/๔๗๕/๒๕๑.
------------------------------------------------
๑. นิปปริยาย : โดยตรง
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 452
๑๒๖
การปรินิพพานในปัจจุบัน
คหบดี ! รูปทั้งหลาย ที่เห็นด้วยตาก็ดี เสียง ทั้งหลาย ที่ฟังด้วยหูก็ดี กลิ่นทั้งหลาย ที่ดมด้วยจมูกก็ดี รสทั้งหลาย ที่ลิ้มด้วยลิ้นก็ดี โผฏฐพพะทั้งหลาย ที่สัมผัส ด้วยกาย ก็ดี และธรรมารมณ์ทั้งหลาย ที่รู้แจ้ง ด้วยใจก็ดี อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจ ให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย อยู่แห่ง ความใคร่เป็นที่ตั้งแห่ง ความกําหนัดย้อมใจ มีอยู่
และภิกษุก็ไม่เป็นผู้เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูป เป็นต้นนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้น นั้น วิญญาณของภิกษุนั้น ก็ไม่อาศัย ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น ไม่มีสิ่งนั้น ๆ เป็น อุปาทาน
คหบดี ! ภิกษุผู้หมดอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน (ผู้ไม่หมดอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน)
คหบดี! นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่สัตว์ทั้งหลายบางเหล่าในโลกนี้ ย่อมปรินิพพานใน ปัจจุบันนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะความหน่าย เพราะคลาย กําหนัด เพราะความดับเย็นแล้ว ที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจ ก็เป็นการสมควรที่จะกล่าวว่า ภิกษุเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรมนี้นั่นแล.
สฬา. ส. ๑๘/๑๓๘/๑๙๒. สฬา. ส. ๑๘/๑๗๗/๒๕๔.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 454
๑๒๗
ความหมายของคําว่า “ความดับ”
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! พระองค์กล่าวอยู่ว่า “ความดับๆ” ดังนี้อันว่า “ความดับๆ” ดังกล่าวนี้หมายถึง ความดับแห่งธรรมทั้งหลาย เหล่าไหนเล่า พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! รูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขาร ทั้งหลายก็ดี วิญญาณก็ดี เป็นของ ไม่เที่ยง อันปัจจัย ปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจาง คลายไป เป็นธรรมดา มีความดับไปเป็น ธรรมดา คําอันเรากล่าวว่า “ความดับๆ” หมายถึง ความดับแห่งรูป แห่งเวทนา แห่ง สัญญา แห่งสังขาร และแห่งวิญญาณ ดังนี้
อานนท์! คําอันเรากล่าวว่า “ความดับ ๆ ดังนี้ หมายถึง ความดับแห่งธรรมทั้งหลาย เหล่านี้แล.
ขนุธ. ส. ๑๗/๓๐/๔๘.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 455
๑๒๘
ความดับของขันธ์ ๕ คือ ความดับของทุกข์
(เห็นขันธ์๕ ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่าย เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา)
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับ ความเข้าไปสงบรํางับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ของรูป ของเวทนา ของสัญญา ของสังขาร และของวิญญาณ ใด ๆ
อันนั้นแหละ เป็นความดับ ของทุกข์
อันนั้นแหละ เป็นความเข้าไปสงบรํางับของสิ่งซึ่งมีปกติ เสียบแทงทั้งหลาย
อันนั้นแหละ เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะแล.
ขน. ส. ๑๓/๒๔๗/๕๙๔.
--------------------------------------------------------------------
ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
คือ ข้อที่ภิกษุ
เป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึก เบื่อหน่ายในรูป
เป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึก เบื่อหน่าย ในเวทนา
เป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึก เบื่อหน่าย ในสัญญา
เป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึก เบื่อหน่าย ในสังขาร
เป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึก เบื่อหน่าย ในวิญญาณ
ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึกเบื่อหน่าย ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ใน สังขาร ในวิญญาณ ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ
เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ ย่อมหลุดพ้น จากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ
ย่อมพ้นได้ จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรําพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้
--------------------------------------------------------------------
ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
คือ ข้อที่ภิกษุ
เป็นผู้ตามเห็นความ ไม่เที่ยงในรูป อยู่เป็นประจํา
เป็นผู้ตามเห็นความ ไม่เที่ยง ในเวทนา อยู่เป็นประจํา
เป็นผู้ตามเห็นความ ไม่เที่ยง ในสัญญา อยู่เป็นประจํา
เป็นผู้ตามเห็นความ ไม่เที่ยง ในสังขาร อยู่เป็นประจํา
เป็นผู้ตามเห็นความ ไม่เที่ยง ในวิญญาณ อยู่เป็นประจํา
ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้ตาม เห็นความไม่เที่ยง ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจํา ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ
ย่อมพ้นได้ จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรําพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้น จากทุกข์ ดังนี้
--------------------------------------------------------------------
ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
คือ ข้อที่ภิกษุ
เป็นผู้ตามเห็นความ เป็นทุกข์ ในรูป อยู่เป็นประจํา
เป็นผู้ตามเห็นความ เป็นทุกข์ ในเวทนา อยู่เป็นประจํา
เป็นผู้ตามเห็นความ เป็นทุกข์ ในสัญญา อยู่เป็นประจํา
เป็นผู้ตามเห็นความ เป็นทุกข์ ในสังขาร อยู่เป็นประจํา
เป็นผู้ตามเห็นความ เป็นทุกข์ ในวิญญาณ อยู่เป็นประจํา
ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้ตาม เห็นความเป็นทุกข์ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่เป็นประจํา ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่ง วิญญาณ
เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ
ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ
ย่อมพ้นได้จาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรําพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้
--------------------------------------------------------------------
ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
คือ ข้อที่ภิกษุ
เป็นผู้ตามเห็นความ เป็นอนัตตา ในรูป อยู่เป็นประจํา
เป็นผู้ตามเห็นความ เป็นอนัตตา ในเวทนา อยู่เป็นประจํา
เป็นผู้ตามเห็นความ เป็นอนัตตา ในสัญญา อยู่เป็นประจํา
เป็นผู้ตามเห็นความ เป็นอนัตตา ในสังขาร อยู่เป็นประจํา
เป็นผู้ตามเห็นความเป็น อนัตตา ใน วิญญาณอยู่เป็นประจํา
ภิกษุนั้น เมื่อตาม เห็นความเป็นอนัตตา ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจํา
ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ
เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ ย่อมพ้นได้จาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ําไรรําพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้
ขนุธ. ส. ๑๗/๕๐-๔๒/๘๓-๘๖
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 460
๑๒๙
ความดับของอายตนะ คือ ความดับของทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับ ความเข้าไปสงบรํางับ และความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งตา แห่งหู แห่งจมูก แห่งลิ้น แห่งกาย แห่งใจ ใด ๆ อันนั้นแหละเป็นความดับแห่งทุกข์ อันนั้น แหละเป็นความเข้าไปสงบ รํางับแห่ง สิ่งซึ่งมีปกติ เสียบแทงทั้งหลาย อันนั้นแหละ เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา และ มรณะแล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับ ความเข้าไปสงบรํางับ และความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งรูป แห่งเสียง แห่งกลิ่น แห่งรส แห่งโผฏฐพพะ แห่งธรรมารมณ์ ใด ๆ อันนั้นแหละ เป็นความดับแห่งทุกข์ อันนั้นแหละเป็นความ เข้าไปสงบรํางับแห่งสิ่งซึ่งมีปกติ เสียบแทงทั้งหลาย อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา และ มรณะแล.
ขนุธ. ส. ๑๗/๒๘๓-๒๔๔/๔๘๐-๔๘๒.
สฬา. ส. ๑๕/๑๗/๒๑-๒๓
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 461
๑๓๐
ละตัณหาได้ คือ ละเบญจขันธ์ได้
ราธะ ! ความพอใจ (ฉันทะ) ก็ดี ความกําหนัด (ราคะ) ก็ดี ความเพลิน (นันทิ) ก็ดี ความอยาก (ตัณหา) ก็ดี มีอยู่ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย ใน วิญญาณ ใด ๆ
พวกเธอทั้งหลาย จงละกิเลสนั้นๆ เสีย
ด้วยการทําอย่างนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณนั้นๆ จักเป็นสิ่งที่ พวกเธอละได้แล้ว เป็นสิ่งที่มีมูลราก อันตัดเสียแล้ว ทําให้เหมือนตาลยอดเน่า ทําให้มีอยู่ไม่ได้ ทําให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ได้อีกต่อไป
ราธะ ! ความพอใจก็ดี ความกําหนัดก็ดี ความเพลินก็ดี ความอยากก็ดี กิเลสเป็นเหตุ ให้เข้าไป สู่ภพ (อุปายะ) ก็ดี และความยึดมั่น อุปาทาน) ก็ดี อันเป็น เครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไปอาศัย และเครื่องนอน เนื่องแห่งจิต มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณใด ๆ
พวกเธอทั้งหลายจงละกิเลสนั้น ๆ เสีย
ด้วยการทําอย่างนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร ทั้งหลาย วิญญาณ นั้นๆ จักเป็นสิ่งที่ พวกเธอละได้แล้ว เป็นสิ่งที่มีมูลรากอันตัดเสีย แล้ว ทําให้เหมือนตาลยอดเน่า ทําให้มีอยู่ไม่ได้ ทําให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป
ขนุธ. ส. ๑๒๓๖-๒๓๗/๓๗๔-๓๖.
|