เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ     

  หนังสือภพภูมิ - พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  3 of 7  
 
   หนังสือภพภูม พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  ๔๐ สัตว์ที่อยู่ในอบายมีมาก 126  
  ๔๑ การจองจำที่ทารุณเจ็บปวด 129  
  ๔๒ ความเป็นได้ยาก 131  
  ๔๓ เปรตวิสัย ๒๑ ประเภท 136  
  ๔๔ ภพภูมิที่บริโภคทานได้ 149  
  ๔๕ ความเป็นไปได้ยาก 155  
  ๔๖ เหตุให้เกิด สุคติปรากฏ 160  
  ๔๗ อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล 165  
  ๔๘ สุคติของผู้มีศีล 167  
  ๔๙ ข้อดีของมนุษย์เทียบกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ 169  
  ๕๐ เหตุแห่งการเกิดในครรภ์ 171  
  ๕๑ สัตว์ตั้งอยู่ในครรภ์ได้อย่างไร 175  
  ๕๒ เหตุแห่งการดำรงอยู่ของชีวิต 177  
  ๕๓ เหตุให้ได้ความเป็นหญิงหรือชาย 181  
  ๕๔ เหตุให้มนุษย์เกิดมาแตกต่างกัน 185  
  ๕๕ ธรรมของพระเจ้าจักรพรรดิ 197  
  ๕๖ กรรมกำหนด
199  
  ๕๗ เหตุสำเร็จความปรารถนา 201  
  ๕๘ การเกิดสังคมมนุษย์ 203  
  ๕๙ ปัจจัยต่ออายุขัยของมนุษย์ 217  
  ๖๐ ผลจากความไม่มีธรรมะของมนุษย์ 222  
  ๖๑ เหตุที่ทำให้มนุษย์จำนวนลดลง 224  
  ๖๒ เครื่องผูกพันสัตว์ 227  
  ๖๓ เหตุที่สัตว์บางพวกกลัวตาย บางพวกไม่กลัวตาย 229  
 
 


หน้า 126

๔๐
สัตว์ที่อยู่ในอบายมีมาก


ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษ ตัดหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ในชมพูทวีปนี้ นํามารวมไว้ในที่เดียวกัน ครั้นนํามารวมไว้ในที่เดียวกันแล้ว กระทําให้เป็นหลาว ครั้นกระทําให้เป็นหลาวแล้ว ก็เสียบสัตว์ใหญ่ ๆ ใน มหาสมุทร ด้วยหลาวขนาดใหญ่ เสียบสัตว์ขนาดกลาง ๆ ในมหาสมุทรด้วยหลาวขนาดกลาง เสียบสัตว์ขนาดเล็ก ๆ ในมหาสมุทร ด้วยหลาวขนาดเล็ก

ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ใหญ่ ๆ ในมหาสมุทรยัง ไม่ทันจะหมด แต่หญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ในชมพูทวีปนี้ ก็หมดเสียแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ตัวเล็กในมหาสมุทรขนาด ที่เสียบด้วยหลาวได้โดยยากนั้น มีมากกว่านั้นมากนัก

ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะมันมาก โดยตัวมันเล็ก ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ! อบายก็กว้างใหญ่อย่างนั้น เหมือนกัน จากอบายที่กว้างใหญ่อย่างนั้น ก็มีทิฏฐิสัมปันนบุคคล (บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ) หลุดพ้นออกมาได้ เขารู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้ ความทุกข์ นี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่ง ทุกข์ นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ ทางดําเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทํา ให้รู้ว่า : ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ดังนี้
มหาวาร. ส. ๑๙/๕๕๑/๑๗๑๙.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 129

๔๑
การจองจําที่ทารุณเจ็บปวด


ภิกษุทั้งหลาย ! ความไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มี โอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญา ในกุศลธรรม มีอยู่แก่ผู้ใด เรากล่าวบุคคลผู้นั้นว่า เป็นคนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ ในอริยวินัย.

ภิกษุทั้งหลาย !
คนจนชนิดนั้น เมื่อไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญาในกุศล ธรรม เขาย่อมประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรา กล่าวการประพฤติทุจริต ของเขานี้ ว่าเป็นการกู้หนี้ เพื่อจะปกปิดกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตของเขา

เขาตั้งความปรารถนาอันเลวทราม ปรารถนาไม่ให้ใครรู้จักเขา ดําริไม่ให้ใครรู้จักเขา พูดจาเพื่อไม่ให้ใครรู้จักเขาขวนขวาย ทุกอย่างเพื่อไม่ให้ใคร รู้จักเขา เรากล่าวการ ปกปิด ความทุจริตอย่างนี้ของเขานี้ ว่าเป็นดอกเบี้ยที่เขาต้องใช้

เพื่อนสพรหมจารีผู้มีศีลเป็นที่รัก พากันกล่าว ปรารภเขาอย่างนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุนี้ ทําอะไรๆ (ทุจริต) อย่างนี้ มีปกติประพฤติกระทําอะไรๆ (ทุจริต) อย่างนี้” เรากล่าวการ ถูกกล่าวอย่างนี้ ว่าเป็นการถูกทวงหนี้

เขาจะไปอยู่ป่าก็ตาม อยู่โคนไม้ก็ตาม อยู่เรือนว่าง ก็ตาม อกุศลวิตกอันเป็นบาป ประกอบอยู่ด้วยความร้อนใจ ย่อมเกิดขึ้นกลุ้มรุมจิตใจเขา เรากล่าวอาการอย่างนี้ ว่าเป็นการถูกติดตามเพื่อทวงหนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! คนจนชนิดนี้ ครั้นประพฤติ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว ภายหลังแต่การตาย เพราะการแตกทําลายแห่งกาย ย่อมถูกจองจําอยู่ในนรกบ้าง ในกําเนิดเดรัจฉานบ้าง

ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่มองเห็นการจองจําอื่น แม้อย่างเดียว ที่ทารุณอย่างนี้ เจ็บปวดอย่างนี้ เป็นอันตราย อย่างนี้ ต่อการบรรลุ โยคักเขมธรรม อันไม่มีธรรมอื่น ยิ่งกว่า เหมือนการถูกจองจําในนรกหรือในกําเนิดเดรัจฉานอย่างนี้
ฉกก. อ. ๒๒/๓๙๗/๓๑๖.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 131

๔๒
ความเป็นไปได้ยาก


ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสําคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร : ฝุ่นนิดหนึ่งที่เรา ซ้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้ กับ มหาปฐพีนั้น ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดิน ที่มากกว่า ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ทรง ซ้อนขึ้น ด้วยปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย ฝุ่นนั้น เมื่อนําเข้าไปเทียบ กับ มหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคํานวณได้เปรียบเทียบได้ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งส่วนเสี้ยว.

ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สัตว์ที่จุติจากกําเนิดเดรัจฉานไปแล้ว จะกลับไปเกิดใน หมู่มนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากกําเนิด เดรัจฉานไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก กําเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย มีมากกว่าโดยแท้

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่

อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สื่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง ทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจ คือทางดําเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรม อันเป็นเครื่อง กระทํา ให้รู้ว่า ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร  ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราซ้อนขึ้น ด้วยปลายเล็บนี้ กับ มหาปฐพีนั้น ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดิน ที่มากกว่า ฝุ่นนิดหนึ่ง เท่าที่ทรง ซ้อนขึ้น ด้วยปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย ฝุ่นนั้น เมื่อนําเข้าไปเทียบ กับ มหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคํานวณได้เปรียบเทียบได้ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งส่วนเสี้ยว

ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น : สัตว์ที่จุติจากกําเนิดเดรัจฉานไปแล้ว จะกลับไปเกิดใน หมู่เทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากกําเนิด เดรัจฉานไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก กําเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย มีมากกว่า โดยแท้

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่

อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สื่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดําเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทํา ให้รู้ว่า ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ดังนี้
มหาวาร. ส. ๑๙/๕๘๗-๔๘๘/๑๗๙๘-๙๕.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 136

๔๓
เปรตวิสัย
๒๑ ประเภท

๑. อัฏฐิสังขลิกเปรต ท่านพระโมคคัลลานะกล่าวว่า
อาวุโส ! ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนคร ราชคฤห์ นี้ ได้เห็นอัฏฐิสังขลิกเปรต มีแต่ร่างกระดูก ลอย ไปในเวหาส ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรุม พากันโฉบ อยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรงจิกซึ้ง ยื้อแย่งตามช่องซี่โครง สะบัดซึ่งเปรตนั้นอยู่ไปมา เปรตนั้นร้องครวญคราง.

อาวุโส ! ผมนั้นได้คิดเช่นนี้ว่า น่าอัศจรรย์จริง หนอ น่าประหลาดจริงหนอ ที่สัตว์ แม้เห็นปานนี้ ยักษ์แม้ เห็นปานนี้ เปรตแม้เห็นปานนี้ การได้อัตภาพแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่

ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ท่านพระโมคคัลลานะ อวดอุตริมนุสธรรม.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย! สาวกทั้งหลายย่อม เป็นผู้มีจักษุอยู่ ย่อมเป็นผู้มีญาณอยู่เพราะสาวกได้รู้ได้เห็น หรือได้ทําสัตว์ เช่นนี้ ให้เป็นพยานแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อกาลก่อนเราก็ได้เห็นสัตว์นั้น แต่เราไม่ได้พยากรณ์ ถ้าเราพยากรณ์สัตว์นั้น และคนอื่น ไม่เชื่อเราข้อนั้นก็จะพึงเป็นไป เพื่อไม่เป็นประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เขาเหล่านั้นสิ้นกาลนาน

ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์นั้นเคยเป็นคนฆ่าโค อยู่ใน พระนครราชคฤห์นี่เองด้วยวิบาก แห่งกรรมนั้น เขาหมกไหม้ อยู่ในนรกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี แล้วได้ประสบอัตภาพเช่นนี้ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นแหละ ที่ยังเป็นส่วนเหลืออยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! โมคคัลลานะพูดจริง โมคคัลลานะไม่ต้องอาบัติ

พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาลเถิด” ดังนี้ ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้ว อย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จ ในภาวะนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อ ความสําเร็จ ในความเป็นสหายแห่ง พราหมณ์มหาศาล

ภิกษุทั้งหลาย! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เธอมี ความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความ เป็น สหายแห่งคหบดีมหาศาลเถิด” ดังนี้ ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้ว อย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จ ในภาวะนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อ ความสําเร็จในความเป็นสหาย แห่ง คหบดีมหาศาล
อุปร. ม. ๑๔/๒๑๗/๓๑๘-๓๒๐

๒. มังสเปสิเปรต ได้เห็นมังสเปสิเปรต มีแต่ชิ้นเนื้อลอยไป ในเวหาส์ ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรมพากันโฉบอยู่ ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทิ้ง ยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรตนั้น อยู่ไปมา เปรตนั้นร้องครวญคราง...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :
ภิกษุทั้งหลาย ! ... สัตว์นั้นเคยเป็นคนฆ่าโค อยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ..

๓. มังสปิณฑเปรต ได้เห็นมังสปิณฑเปรต มีแต่ก้อนเนื้อ ลอยไป ในเวหาส ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรุมพากันโฉบอยู่ ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทิ้ง ยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรตนั้น อยู่ไปมา เปรตนั้นร้องครวญคราง ....
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :
ภิกษุทั้งหลาย ! ...สัตว์นั้นเคยเป็นคนฆ่านก อยู่ ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...

๔. นิจฉวีเปรต
ได้เห็นนิจฉวีเปรตชาย ไม่มีผิวหนัง ลอยไป ในเวหาส์ ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรุมพากันโฉบอยู่ ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทิ้ง ยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรตนั้น อยู่ไปมา เปรตนั้นร้องครวญคราง ....
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :
ภิกษุทั้งหลาย ! ... สัตว์นั้นเคยเป็นคนฆ่าแกะ อยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ....

๕. อสโลมเปรต
...ได้เห็นอสิโลมเปรตชาย มีขนเป็นดาบ ลอยไป ในเวหาส์ ดาบเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้นไปแล้วตกลง ที่กายของมันเอง เปรตนั้นร้องครวญคราง....
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :
ภิกษุทั้งหลาย ! .... สัตว์นั้นเคยเป็นคนฆ่าสุกร อยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง

๖. สัตติโลมเปรต ได้เห็นสัตติโลมเปรตชาย มีขนเป็นหอกลอยไป ในเวหาส์ หอกเหล่านั้นของมัน หลุดลอยขึ้นไปแล้ว ตกลงที่กายของมันเอง เปรตนั้นร้องครวญคราง ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :
ภิกษุทั้งหลาย ! ...สัตว์นั้นเคยเป็นคนฆ่าเนื้อ อยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...

๗. อุสุโลมเปรต ได้เห็นอุสุโลมเปรตชาย มีขนเป็นลูกศรลอยไป ในเวหาส ลูกศรนั้นของมัน หลุดลอยขึ้นไปแล้ว ตกลงที่กายของมันเอง เปรตนั้นร้องครวญคราง
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :
ภิกษุทั้งหลาย ! ... สัตว์นั้นเคยเป็นเพชฌฆาต อยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...

๘. สูจิโลมเปรต ได้เห็นสูจิโลมเปรตชาย มีขนเป็นเข็มลอยไป ในเวหาส์ เข็มเหล่านั้นของมัน หลุดลอยขึ้นไปแล้ว ตกลงที่กายของมันเอง เปรตนั้นร้อง ครวญคราง ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :
ภิกษุทั้งหลาย ! .. สัตว์นั้นเคยเป็นคนฝึกม้า อยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...

๙ สูจกเปรต ...ได้เห็นสูจกโลมเปรตชาย มีขนเป็นเข็ม ลอยไป ในเวหาส์ เข็มเหล่านั้น ของมันทิ่มเข้าไปในศีรษะ แล้วออก ทางปาก ทิมเข้าไปในปาก แล้วออกทางอก เข็มออกทางอก พิ่มเข้าไปในอก แล้วออกทางปาก ทิมเข้าไปในปาก แล้ว ออกทางอก ทิมเข้าไปในอก แล้วออกทางท้อง อิ่มเข้าไป ในท้อง แล้วออกทางขาทั้งสอง ทิมเข้าไปในขาทั้งสอง แล้วออกทางแข้งทั้งสอง ทิมเข้าไปในแข้งทั้งสอง แล้ว ออกทางเท้าทั้งสอง เปรตนั้นร้องครวญคราง ....
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :
ภิกษุทั้งหลาย ! ... สัตว์นั้นเคยเป็นคนชอบ พูดจาส่อเสียด อยู่ในพระนครราชคฤห์ นี้เอง ....

๑๐. กุมภัณฑเปรต ...ได้เห็นกุมภัณฑเปรตชาย มีอัณฑะโตเท่าหม้อ ลอยไป ในเวหาส์ เปรตนั้นแม้เมื่อเดินไปย่อมยกอัณฑะ เหล่านั้นแหละ ขึ้นพาดบ่า เดินไป แม้เมื่อนั่งก็ย่อมนั่งบน อัณฑะเหล่านั้นแหละ ฝูงแร้งเหยี่ยว และนกตะกรม พากัน โฉบอยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรงจิกซึ้ง ยื้อแย่ง สะบัดซึ่ง เปรตนั้นอยู่ไปมา เปรตนั้น ร้องครวญคราง ....
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :
ภิกษุทั้งหลาย ! .... สัตว์นั้นเคยเป็นผู้พิพากษา ตัดสินคดีไม่เป็นธรรม อยู่ในพระนคร ราชคฤห์นี้เอง ....

๑๑. คูถนิมคคเปรต ได้เห็นคูถนิมคคเปรตชาย ผู้จมอยู่ในหลุมดูถ ท่วมศีรษะ ....
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ! .... สัตว์นั้นเคยเป็นชู้กับภรรยา ของผู้อื่น อยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ......

๑๒. คูถขาทิเปรต ....ได้เห็นคูถขาทิเปรตชาย ผู้จมอยู่ในหลุมคูถ ท่วมศีรษะ กําลังเอามือทั้งสองกอบกูถกินอยู่... ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ภิกษุทั้งหลาย ! .... สัตว์นั้นเคยเป็นพราหมณ์ ผู้ชั่วช้า อยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ครั้งศาสนาพระ กัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พราหมณ์นั้นนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ ด้วยภัตตาหารแล้ว เทคูถลงในรางจนเต็ม สั่งคนให้ไปบอก ภัตตกาล แล้วได้กล่าวคํา นี้ว่า “ขอท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! จงฉันอาหารและนําไปให้พอแก่ความต้องการจาก สถานที่นี้” ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เขาหมกไหม้ในนรก หลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี แล้วได้ ประสบอัตภาพเช่นนี้ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นแหละซึ่ง ยังเป็นส่วนเหลืออยู่ ....

๑๓. นิจฉวิตถีเปรต ...ได้เห็นนิจฉวิตถีเปรตหญิง ไม่มีผิวหนัง ลอย ไปในเวหาส์ ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรม พากันโฉบ อยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทิ้ง ยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรต หญิงนั้นอยู่ไปมา เปรตหญิงนั้นร้องครวญคราง ....
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :
ภิกษุทั้งหลาย ! ... เปรตหญิงนั้นเคยเป็นหญิง ประพฤตินอกใจสามี อยู่ในพระนคร ราชคฤห์นี้เอง ด้วย วิบากแห่งกรรมนั้น เขาหมกไหม้อยู่ในนรกหลายปี หลาย ร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี แล้วได้ประสบอัตภาพเช่นนี้ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นแหละ ที่ยังเป็นส่วนเหลืออยู่

๑๔. มังคุลิตถีเปรต ...ได้เห็นมังคุลิตถีเปรตหญิง มีรูปร่างน่าเกลียด มีกลิ่นเหม็น ลอยไปในเวหาส์ ฝูงแร้ง เหยี่ยว และ นกตะกรุม พากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทิ้ง ยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรตหญิงนั้นอยู่ไปมา เปรตหญิงนั้น ร้องครวญคราง....
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :
ภิกษุทั้งหลาย ! ... เปรตหญิงนั้นเคยเป็นหญิง หมอดู (อิกขณิกา) อยู่ในพระนคร ราชคฤห์นี้เอง ....

๑๕. โอกิลินีเปรต ได้เห็นโอกิลินีเปรตหญิง มีร่างกายถูกไฟลวก มีหยาดเหงื่อ ไหลหยด มีถ่านเพลิงโปรยลง ลอยไปใน เวหาส์ เปรตหญิงนั้นร้องครวญคราง....
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :
ภิกษุทั้งหลาย ! ... เปรตหญิงนั้นเคยเป็น อัครมเหสีของพระเจ้ากาลิงคะ นางเป็นคนขี้หึง ได้เอา กระทะเต็มด้วยถ่านเพลิงคลอกสตรีร่วมพระสวามี ....

๑๖. อสีสกพันธเปรต ...ได้เห็นอสีสกพันธเปรต มีศีรษะขาดลอยไป ในเวหาส ตาและปากของมันอยู่ที่อก ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรุม พากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทิ้ง ยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรตนั้นอยู่ไปมา เปรตนั้น ร้องครวญคราง ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :
ภิกษุทั้งหลาย ! ... สัตว์นั้นเคยเป็นเพชฌฆาต ผู้ฆ่าโจร ชื่อทามริกะ อยู่ในพระนคร ราชคฤห์นี้เอง ....

๑๗. ภิกษุเปรต ...ได้เห็นภิกษุเปรต ลอยไปในเวหาส์ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมันถูกไฟติดลุกโชน เปรตนั้นร้องครวญคราง ....
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :
ภิกษุทั้งหลาย ! ... ภิกษุเปรตนั้นเคยเป็นภิกษุ ผู้ชั่วช้า ในศาสนาของพระกัสสป สัมมาสัมพุทธเจ้า ....

๑๘. ภิกษุณีเปรต ได้เห็นภิกษุณีเปรต ลอยไปในเวหาส สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมันถูกไฟติดลุกโชน เปรตนั้นร้องครวญคราง....
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :
ภิกษุทั้งหลาย! . ภิกษุณีเปรตนั้นเคยเป็นภิกษุณี ผู้ชั่วช้า ในศาสนาของ พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ....

๑๙. สิกขมานาเปรต
ได้เห็นสิกขมานาเปรต ลอยไปในเวหาส์สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และ ร่างกาย ของมัน ถูกไฟติดลุกโชน เปรตนั้นร้องครวญคราง ....
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :
ภิกษุทั้งหลาย ! ...สิกขมานาเปรตนั้นเคยเป็น สิกขมานาผู้ชั่วช้า ในศาสนาของ พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า

๒๐. สามเณรเปรต ...ได้เห็นสามเณรเปรต ลอยไปในเวหาส์ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมันถูกไฟติดลุกโชน เปรตนั้นร้องครวญคราง ....
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :
ภิกษุทั้งหลาย ! - สามเณรเปรตนั้น เคยเป็น สามเณรผู้ชั่วช้า ในศาสนาของ พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า

๒๑. สามเณรีเปรต ...ได้เห็นสามเณรีเปรตลอยไปในเวหาส สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมันถูกไฟติดลุกโชน เปรตนั้นร้องครวญคราง ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :
ภิกษุทั้งหลาย ! ... สามเณรีเปรตนั้น เคยเป็น สามเณรีผู้ชั่วช้า ในศาสนาของ พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
มหาวิ. วิ. ๑๙๒๑๐/๒๕๕

(ในสูตรอื่นก็มีตรัสถึงเรื่องนี้เช่นกัน แต่มีต่างกันตรงที่ ในบาลีไม่มีคําว่า เปโต (เปรต) นิทาน. ส.๐๖/๒๙๔/๖๓๗.
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 149

๔๔
ภพภูมิที่บริโภคทานได้

(ฟังคลิปประกอบ คลิก)

พระโคดมผู้เจริญ ! พวกข้าพเจ้าได้นามว่าเป็นพราหมณ์ ย่อมให้ทาน ย่อมทํา ความเชื่อว่า ทานนี้ต้องสําเร็จแก่ญาติสาโลหิต ผู้ล่วงลับไปแล้ว ขอญาติสาโลหิต ผู้ล่วงลับไปแล้ว จงบริโภคทานนี้

พระโคดมผู้เจริญ ! ทานนั้นย่อมสําเร็จแก่ญาติสาโลหิต ผู้ล่วงลับไปแล้วหรือ ญาติสาโลหิต ผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่านั้น ย่อมได้ บริโภคทานนั้นหรือ ?

พราหมณ์! ทานนั้น ย่อมสําเร็จใน ฐานะ และ ย่อมไม่สําเร็จใน อฐานะ
---------------------------------------------------------------------------------------------------

(1. กรณีผู้ตายไปเกิดในนรก)
พระโคดมผู้เจริญ ! ฐานะ เป็นอย่างไรเล่า ? อฐานะ เป็นอย่างไรเล่า ?

พราหมณ์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูด คําหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตปองร้าย มีความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงนรก เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในนรก นั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรกนั้น ด้วยอาหารของสัตว์นรก

พราหมณ์ ! ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสําเร็จแห่ง ทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล เป็นอฐานะ ๑.โอกาสที่เป็นได้. (สถานภาพในภพนั้นที่ยังความสําเร็จประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้)
๒.โอกาสที่เป็นไปไม่ได้ (สถานภาพในภพนั้นที่ยังความสําเร็จประโยชน์ให้เกิดขึ้นไม่ได้)
---------------------------------------------------------------------------------------------------

(2. กรณีผู้ตายไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน)
พราหมณ์! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์..มีความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงกําเนิด เดรัจฉาน เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในกําเนิดเดรัจฉาน นั้น ย่อมตั้ง อยู่ในกําเนิดเดรัจฉานนั้น ด้วยอาหารของ สัตว์เดรัจฉาน.

พราหมณ์ ! แม้ฐานะ อันเป็นที่ไม่เข้าไปสําเร็จ แห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็น อฐานะ (ทานที่เจาะจงให้ญาติ จะไม่ได้รับผลของทานนั้น)
---------------------------------------------------------------------------------------------------

(3. กรณีผู้ตายไปเกิดเป็นมนุษย์)
พราหมณ์! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาด จากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคําหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตไม่ปองร้าย มีความเห็นชอบ บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของมนุษย์ เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพ อยู่ในมนุษยโลกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในมนุษยโลกนั้น ด้วยอาหารของมนุษย์

พราหมณ์ ! แม้ฐานะ อันเป็นที่ไม่เข้าไปสําเร็จ แห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็น อฐานะ (ทานที่เจาะจงให้ญาติ จะไม่ได้รับผลของทานนั้น)
---------------------------------------------------------------------------------------------------

(4. กรณีผู้ตายไปเกิดเป็นเทวดา)
พราหมณ์! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาด จากการฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นชอบ บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพ อยู่ในเทวโลกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเทวโลกนั้น ด้วยอาหาร ของเทวดา

พราหมณ์ ! แม้ฐานะ อันเป็นที่ไม่เข้าไปสําเร็จ แห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็น อฐานะ (ทานที่เจาะจงให้ญาติ จะไม่ได้รับผลของทานนั้น)
---------------------------------------------------------------------------------------------------

(5.กรณีผู้ตายไปเกิดเป็นเปรตวิสัย มี 2 กรณี)
พราหมณ์! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ มีความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเปรตวิสัยนั้นด้วยอาหารของสัตว์ ผู้เกิดในเปรตวิสัย หรือว่ามิตรอํามาตย์ หรือญาติสาโลหิต ของเขา ย่อมอุทิศทานให้ เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ใน เปรตวิสัยนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเปรตวิสัยนั้นด้วยทานนั้น

พราหมณ์ ! ฐานะ อันเป็นที่เข้าไปสําเร็จแห่งทาน แก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล เป็นฐานะ
ท่านโคดมผู้เจริญ ! ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น ? (สูญเปล่าสำหรับญาติที่เจตนาจะให้)

พราหมณ์ !
(กรณีที่ 1) ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วแม้เหล่าอื่น(คนอื่นที่เป็นญาติที่ไปเกิดเป็นเปรต) ของ ทายกนั้น ที่ เข้าถึงฐานะนั้นมีอยู่ ญาติสาโลหิตเหล่านั้นย่อมบริโภคทานนั้น (สำเร็จ-เป็นฐานะ)

ท่านโคดมผู้เจริญ ! ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น ไม่เข้าถึงฐานะ นั้น และ ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วแม้เหล่าอื่น ของทายก(ผู้ให้ทาน) นั้น ก็ไม่เข้าถึงฐานะ นั้น ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น ?

พราหมณ์ ! (กรณีที่ 2) ฐานะที่จะพึงว่างจากญาติสาโลหิต ผู้ล่วงลับไปแล้วโดยกาล ช้านานเช่นนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ (ญาติไม่ได้มาเกิดเป็นเปรต-เป็นอฐานะ)

พราหมณ์ ! อีกประการหนึ่ง แม้ทายกก็เป็น ผู้ไม่ได้ผล
ท่านโคดมผู้เจริญ ! ย่อมตรัสกําหนดแม้ใน อฐานะ หรือ ?
พราหมณ์ ! เรากล่าวกําหนด แม้ใน อฐานะ

(ทานจะไม่สูญเปล่า แม้ญาติเราที่พึ่งตายจะไม่ได้ แต่อย่างน้อยๆ ญาติเราที่ล่วงลับไปก่อน หน้านี้และกลับมาเกิดเป็นเปรต จะได้รับทานนั้น- จะไม่มีการสูญเปล่า)
(ฟังคลิปเสียงประกอบ คลิก)
---------------------------------------------------------------------------------------------------

พราหมณ์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นผิด แต่เขายังให้ข้าว น้ํา ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องตาม ประทีป แก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหายของช้าง แต่เขายังได้ข้าว น้ำ มาลา และ เครื่องประดับต่าง ๆ ในกําเนิดช้างนั้น.

พราหมณ์ ! ข้อที่บุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นผิดด้วยกรรมนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความ เป็นสหายของช้าง และ

ข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว เครื่องตามประทีป แก่สมณพราหมณ์ ด้วยกรรมนั้น เขาย่อมได้ ข้าว น้ํา มาลาและเครื่องประดับต่างๆ ในกําเนิดช้างนั้น
... ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของม้า
... ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย ของโค
... ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข

---------------------------------------------------------------------------------------------------

พราหมณ์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาด จากการฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นชอบ และเขายังให้ข้าว ... เครื่องตามประทีป แก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของมนุษย์ และ เขาย่อมได้ เบญจกามคุณ อันเป็นของ มนุษย์ นั้น

พราหมณ์ ! ข้อที่บุคคล เป็นผู้เว้นขาด จากการ ฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นชอบ ด้วยกรรมนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของมนุษย์ และข้อที่ผู้นั้นเป็น ผู้ให้ข้าว ... เครื่องตามประทีป แก่สมณพราหมณ์ ด้วย กรรมนั้น เขาย่อมได้เบญจ กามคุณ อันเป็นของ มนุษย์ นั้น
---------------------------------------------------------------------------------------------------

พราหมณ์ ! อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาด จากการฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นชอบ และเขายังให้ ข้าว ... เครื่องตามประทีป แก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เขาย่อม ได้เบญจกามคุณ อันเป็น ทิพย์ใน เทวโลก นั้น

พราหมณ์ ! ข้อที่บุคคล เป็นผู้เว้นขาด จากการ ฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นชอบ ด้วยกรรมนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา และข้อที่ผู้นั้น เป็นผู้ให้ข้าว .. เครื่องตามประทีป แก่สมณพราหมณ์ ด้วยกรรมนั้น เขาย่อมได้เบญจ กามคุณอันเป็นทิพย์ใน เทวโลก นั้น
---------------------------------------------------------------------------------------------------

พราหมณ์ ! (ด้วยเหตุอย่างนี้) แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีแล้ว
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้อที่แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผลนี้ เป็นของควรเพื่อให้ทาน โดยแท้เป็นของควรเพื่อกระทําศรัทธาโดยแท้
พราหมณ์! ข้อนี้เป็นอย่างนี้ ๆ พราหมณ์ ! แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ... ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจําข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ทสก. อ. ๒๔/๒๙๐/๑๖๖.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า ๑๕๕

๔๘
ความเป็นไปได้ยาก


ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสําคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร
ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราซ้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้ กับมหาปฐพีนั้น ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดิน ที่มากกว่า ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ทรง ซ้อนขึ้น ด้วยปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย ฝุ่นนั้น เมื่อนําเข้าไปเทียบกับ มหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคํานวณได้เปรียบเทียบได้ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งส่วนเสี้ยว

ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น

สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปแล้ว จะกลับไปเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อย โดยที่แท้
สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก กําเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย มีมากกว่า โดยแท้

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้น เพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่

อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สื่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดําเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทํา ให้รู้ว่า ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสําคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราซ้อน ขึ้น ด้วยปลายเล็บนี้ กับ มหาปฐพีนั้น ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดิน ที่มากกว่า ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ทรง ซ้อน ขึ้นด้วยปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย ฝุ่นนั้น เมื่อนําเข้าไปเทียบกับ มหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคํานวณได้เปรียบเทียบได้ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งส่วนเสี้ยว

ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปแล้ว จะกลับไปเกิดในหมู่เทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปแล้ว กลับไป เกิดในนรก กําเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย มีมากกว่า โดยแท้

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่

อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สื่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดําเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทํา ให้รู้ว่า ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ดังนี้
มหาวาร. ส. ๑๙/๕๘๘/๑๘๐๐-๑๘๐๑.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 160


๔๖
เหตุให้สุคติปรากฏ

(กุศลกรรมบถ ๑๐)

จุนทะ !
ความสะอาดทางกายมี ๓ อย่าง
ความสะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง
ความสะอาดทางใจมี ๓ อย่าง

จุนทะ ! ความสะอาด ทางกาย มี ๓ อย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
จุนทะ ! บุคคลบางคนในกรณีนี้

(๑) ละการทําสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง เว้นขาดจาก ปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอายถึง ความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายอยู่

(๒) ละการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ เว้นขาด จากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ มิได้ให้ ไม่ถือเอาทรัพย์และ อุปกรณ์แห่งทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ในบ้านก็ดี ในป่าก็ดี ด้วยอาการแห่งขโมย

(๓) ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการ ประพฤติผิดในกาม (คือเว้นจากการ ประพฤติผิด) ในหญิง ซึ่งมารดารักษา บิดารักษา พี่น้องชาย พี่น้องหญิงหรือญาติ รักษา อันธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม โดยที่สุดแม้หญิง อันเขา หมั้นไว้ (ด้วยการคล้องพวงมาลัย) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางกาย ๆ อย่าง
-------------------------------------------------------------------------

จุนทะ ! ความสะอาด ทางวาจา มี ๔ อย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
จุนทะ ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
(๑) ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท ไปสู่สภาก็ดี ไปสู่บริษัทก็ดี ไปสู่ท่ามกลางหมู่ ญาติก็ดี ไปสู่ท่ามกลาง ศาลาประชาคมก็ดีไปสู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขานําไป เป็นพยาน ถามว่า “บุรุษผู้เจริญ! ท่านรู้อย่างไร ท่านจง กล่าวไปอย่างนั้น” ดังนี้ บุรุษนั้นเมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เมื่อเห็น ก็กล่าวว่าเห็น เพราะเหตุตนเอง เพราะเหตุผู้อื่น หรือ เพราะเหตุเห็นแก่อามิสไรๆ ก็ไม่เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่

(๒) ละคําส่อเสียด เว้นขาดจากคําส่อเสียด ได้ฟัง จากฝ่ายนี้แล้วไม่เก็บไปบอก ฝ่ายโน้น เพื่อแตกจากฝ่ายนี้หรือ ได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้วไม่เก็บมาบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อแตกจาก ฝ่ายโน้นแต่จะสมานคนที่แตกกันแล้วให้กลับพร้อมเพรียงกัน อุดหนุน คนที่พร้อมเพรียงกันอยู่ให้พร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น เป็นคนชอบในการพร้อมเพรียง เป็นคนยินดีในการ พร้อมเพรียง เป็นคนพอใจในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่ วาจาที่ ทําให้พร้อมเพรียงกัน

(๓) ละการกล่าวคําหยาบเสียเว้นขาดจากกล่าว คําหยาบ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสตให้เกิดความรัก เป็นคําฟูใจ เป็นคําสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกันเป็นที่ใคร่ ที่พอใจของมหาชน กล่าวแต่วาจาเช่นนั้นอยู่

(๔) ละคําพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคําพูดเพ้อเจ้อ กล่าวแต่ในเวลาอันสมควร กล่าว แต่คําจริงเป็นประโยชน์ เป็นธรรม เป็นวินัย กล่าวแต่วาจามีที่ตั้ง มีหลักฐานที่อ้างอิง มีเวลาจบ ประกอบด้วยประโยชน์ สมควรแก่เวลา
จุนทะ ! อย่างนี้แลเป็นความสะอาดทางวาจา ๔ อย่าง
-------------------------------------------------------------------------

จุนทะ ! ความสะอาด ทางใจ มี ๓ อย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
จุนทะ ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
(๑) เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา คือเป็นผู้ไม่โลภ เพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ ของผู้อื่นว่า “สิ่งใดเป็นของ ผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็นของเรา” ดังนี้

(๒) เป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาท มีความดําริแห่งใจ อันไม่ประทุษร้ายว่า “สัตว์ทั้งหลาย เหล่านี้ จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีสุข บริหารตนอยู่เถิด” ดังนี้ เป็นต้น

(๓) เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีทัสสนะไม่วิปริต ว่า “ทานที่ให้แล้ว มี (ผล) ยัญที่บูชา แล้ว มี (ผล), การบูชา ที่บูชาแล้ว มี (ผล), ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ ทําดีทําชั่ว มี โลกนี้ มี, โลกอื่น มี, มารดา มี, บิดา มี, โอปปาติกะสัตว์ มี สมณพราหมณ์ ผู้ดําเนิน ไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ถึงกับ กระทําให้แจ้งโลกนี้ และ โลกอื่น ด้วยปัญญาโดย ชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มี” ดังนี้
จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาด ทางใจ ๓ อย่าง

จุนทะ ! เหล่านี้แล เรียกว่า กุศลกรรมบถสิบ


จุนทะ ! อนึ่ง เพราะมีการประกอบด้วยกุศลกรรมบถทั้งสิบประการเหล่านี้เป็นเหตุ พวกเทพจึงปรากฏ พวกมนุษย์จึงปรากฏ หรือว่าสุคติใด ๆ แม้อื่นอีก ย่อมมีภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็น เหมือน บุคคลผู้ถูกนําตัว ไปเก็บไว้ในสวรรค์
ทสก. อ. ๒๔/๒๕๔๗-๒๙๐/๑๖๔.
ทสก. อ. ๒๔/๓๐๖/๑๘๕.

(สูตรอื่นๆ แทนที่จะนับจํานวนกรรมบถมี ๑๐ ได้ทรง ขยายออกไปเป็น ๒๐ คือ ทําเองสิบ ชักชวนผู้อื่นให้ทําอีกสิบ และ ทรงขยายออกไปเป็น ๓๐ คือ ทําเองสิบ ชักชวนผู้อื่นให้ทําสิบ ยินดี เมื่อเขาทําสิบ และทรงขยายออกไปเป็น ๔๐ คือ ทําเองสิบ ซักซวน ผู้อื่นให้ทําสิบ ยินดีเมื่อเขาทําสิบ สรรเสริญผู้กระทําสิบ จึงมี กรรมบถ สิบ ยี่สิบ สามสิบ สี่สิบ. ทสก. อ. ๒๕๓๕๒-๓๓๒๗ ๑๙๘-๒๐๑.
ในสูตรอื่น แสดงผลแห่งการกระทําแปลกออกไป จาก คําว่า “เหมือนถูกนําไปเก็บไว้ ใน สวรรค์” นั้น ทรงแสดงด้วยคําว่า “ผู้ไม่ขุดรากตนเอง” ก็มี “ตายแล้วไปสุคติ” ก็มี “เป็นบัณฑิต” ก็มี ทสก. อ. ๒๔/๓๓๒-๓๓/๒๐๒-๒๐๓.)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า ๑๖๕

๔๗
อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล


คหบดีทั้งหลาย ! อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคน มีศีล ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการ คือ :

คหบดีทั้งหลาย !

(๑) คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีลย่อมมีโภคทรัพย์เป็นอันมาก ซึ่งมีความไม่ประมาท เป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ ข้อที่ ๑ แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล.

(๒) เกียรติศัพท์อันงามของคนมีศีล ถึงพร้อมแล้ว ด้วยศีล ย่อมขจรไป นี้เป็นอานิสงส์ ข้อที่ ๒ แห่งศีลสมบัติ ของคนมีศีล

(๓) คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล จะเข้าไปสู่ บริษัทใด ๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณ บริษัท คหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท ย่อมองอาจ ไม่เก้อเขิน นี้เป็นอานิสงส์ ข้อที่ ๓ แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล.

(๔) คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมไม่หลง ทํากาละ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล

(๕) คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล เบื้องหน้าแต่ การตาย เพราะการทําลายแห่ง กาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล

คหบดีทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือ อานิสงส์แห่ง ศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ ประการ
มหา. ที่ ๑๐/๑๐๒/๘๐.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า ๑๖๗

๔๘
สุคติของผู้มีศีล


ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ทั้งหลาย
(๑) เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน
(๒) เป็นทายาทแห่งกรรม
(๓) มีกรรมเป็นกําเนิด
(๔) มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
(๕) มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

กระทํากรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วาง ท่อนไม้วางศัสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย เขาไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) กาย ไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) วาจา ไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) ใจ กายกรรมของ เขาตรง วจีกรรมของเขา ตรง มโนกรรมของเขาตรง คติของเขาตรง อุปบัติ (การเข้าถึงภพ) ของเขาตรง.

ภิกษุทั้งหลาย! สําหรับผู้มีคติตรง มีอุปบัติตรงนั้น เรากล่าวคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาคติสองอย่างแก่เขา คือ เหล่าสัตว์ผู้มีสุขโดยส่วนเดียว หรือว่าตระกูลอันสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือ ตระกูลคหบดีมหาศาล อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์มาก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภูตสัตว์ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ คือ อุปบัติ ย่อมมีแก่ภูตสัตว์ เขาทํากรรมใดไว้ เขาย่อมอุปบัติด้วยกรรมนั้น ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้อง ภูตสัตว์นั้น ผู้อุปบัติแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่าสัตว์ทั้งหลายเป็น ทายาทแห่งกรรม ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้

(ในกรณีแห่งบุคคลผู้ไม่กระทําอทินนาทาน ไม่กระทํา กาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ตรัสไว้ ด้วยข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณี ของผู้ไม่กระทําปาณาติบาต ดังกล่าวมาแล้ว ข้างบนทุกประการ และยังได้ตรัสเลยไปถึง วจีสุจริตสี่ มโนสุจริตสาม ด้วยข้อความ อย่างเดียวกันอีกด้วย)
ทสก. อ. ๒๔/๓๑๑๙.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 169

๔๙
ข้อดีของมนุษย์เทียบกับ
เทวดาชั้นดาวดึงส์

ภิกษุทั้งหลาย! มนุษย์ชาวอุตรกุรุทวีป ประเสริฐ กว่าพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ และพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการ

๓ ประการ อย่างไรเล่า ? คือ :
(๑) ไม่มีทุกข์
(๒) ไม่มีความหวงแหน
(๓) มีอายุแน่นอน

ภิกษุทั้งหลาย ! มนุษย์ชาวอุตรกุรุทวีป ประเสริฐ กว่าพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ และพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! มนุษย์ชาวชมพูทวีป ประเสริฐ กว่าพวกมนุษย์ซาวอุตรกุรุทวีป และพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ

๓ ประการ อย่างไรเล่า ? คือ 
(๑) เป็นผู้กล้า
(๒) เป็นผู้มีสติ
(๓) เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์อันเยี่ยม

ภิกษุทั้งหลาย ! มนุษย์ซาวชมพูทวีป ประเสริฐกว่า พวกมนุษย์ชาวอุตรกุรุทวีป และพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล.
สตุตก. อ. ๒๗ ๔๐๔/๒๒๔.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 171

๕๐
เหตุแห่งการเกิดในครรภ์


ภิกษุทั้งหลาย ! การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ย่อมมีได้ เพราะการประชุมพร้อมของสิ่ง ๓ อย่าง

ในสัตว์โลกนี้ แม้มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วมกัน แต่มารดายังไม่ผ่านการมีระดู และ คันธัพพะ (สัตว์ที่จะเข้าไป ปฏิสนธิในครรภ์นั้น) ก็ยังไม่เข้าไปตั้งอยู่โดยเฉพาะด้วย การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ก็ยังมีขึ้นไม่ได้ก่อน.(กรณีที่1)

ในสัตว์โลกนี้ แม้มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วมกันและ มารดาก็ผ่านการมีระดู แต่
คันธัพพะ ยังไม่เข้าไปตั้งอยู่โดยเฉพาะ การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ก็ยังมีขึ้น ไม่ได้นั่นเอง (กรณีที่2)

ภิกษุทั้งหลาย! แต่เมื่อใด มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วมกันด้วย มารดาก็ผ่านการ มีระดูด้วย คันธัพพะก็เข้าไปตั้งอยู่โดยเฉพาะด้วย การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ย่อมสําเร็จได้ (กรณีที่3)

เพราะการประชุมพร้อมกันของสิ่ง ๓ อย่าง ด้วยอาการอย่างนี้

(มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน+มารดามีฤดู+มีเชื้ออสุจิเข้าไปปฏิสนธิในครรภ์)

ภิกษุทั้งหลาย ! มารดา ย่อมบริหารสัตว์ที่เกิดในครรภ์นั้น ด้วยความเป็นห่วง อย่างใหญ่หลวงเป็นภาระหนัก ตลอดเวลาเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อล่วงไปเก้าเดือนหรือสิบเดือน มารดา ย่อมคลอดบุตรนั้น ด้วยความเป็นห่วงอย่างใหญ่หลวง เป็นภาระหนัก ได้เลี้ยงซึ่งบุตรอันเกิดแล้วนั้น ด้วยโลหิต ของตนเอง

ภิกษุทั้งหลาย ! ในอริยวินัย คําว่า “โลหิต” นี้ หมายถึงน้ำนมของมารดา

ภิกษุทั้งหลาย ! ทารกนั้น เจริญวัยขึ้นมีอินทรีย์ อันเจริญเต็มที่แล้ว เล่นของเล่น สําหรับเด็ก เช่น เล่นไถ น้อยๆ เล่นหม้อข้าวหม้อแกง เล่นของเล่นชื่อโมกขจิกะ เล่นกังหันลมน้อย ๆ เล่นตวงของด้วยเครื่องตวงที่ทําด้วย ใบไม้ เล่นรถน้อย ๆ เล่นธนูน้อย ๆ

ภิกษุทั้งหลาย ! ทารกนั้น ครั้นเจริญวัยขึ้นแล้ว มีอินทรีย์อันเจริญเต็มที่แล้ว เป็นผู้ เอิบอิ่ม เพียบพร้อมด้วย กามคุณ ๕ ให้เขาบําเรออยู่ ทางตาด้วยรูป ทางหูด้วยเสียง ทางจมูกด้วยกลิ่น ทางลิ้นด้วยรส และทางกายด้วยโผฏฐพพะ ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่ง ที่ปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่ แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัดย้อมใจ และเป็นที่ตั้ง แห่งความรัก ทารกนั้น

ครั้นเห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมกําหนัด ยินดีในรูป ที่ยั่วยวนให้เกิดความรัก ย่อมขัดใจ ในรูป ที่ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความรัก ไม่เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งสติ อันเป็นไป ในกาย มีใจเป็น อกุศล ไม่รู้ตามที่เป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งธรรม อันเป็นบาป อกุศลทั้งหลาย ทารกนั้น

ครั้นได้ยินเสียงด้วยหู... ดมกลิ่นด้วย จมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐพพะ ด้วยกาย... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ แล้ว ย่อมกําหนัดยินดีในธรรมารมณ์ ที่ยั่วยวน ให้เกิดความรัก ย่อมขัดใจในธรรมารมณ์ที่ไม่เป็น ที่ตั้งแห่งความรัก ไม่เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่ง สติอันเป็นไปในกาย มีใจเป็นอกุศล ไม่รู้ตาม ที่เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งธรรม อันเป็นบาปอกุศล ทั้งหลาย.
-------------------------------------------------
๑. เจโตวิมุตติ : การหลุดพ้นอันอาศัยสมถะ (สมาธิ)
๒. ปัญญาวิมุตติ : การหลุดพ้นอันอาศัยวิปัสสนา (ปัญญา)

---------------------------------------------------------
กุมารน้อยนั้น เมื่อประกอบด้วยความยินดีและ ความยินร้ายอยู่เช่นนี้แล้ว เสวยเฉพาะ ซึ่งเวทนาใด ๆ เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม เขาย่อม เพลิดเพลิน พร่ําสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนานั้นๆ

เมื่อเป็นอยู่เช่นนั้น ความเพลิน (นันทิ) ย่อมบังเกิดขึ้น ความเพลินใดในเวทนา ทั้งหลาย มีอยู่ ความเพลินอันนั้น เป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
ม. ม. ๑๒/๔๘๕-๔๔๗/๔๕๒-๔๕๓.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 175

๕๑
สัตว์ตั้งอยู่ในครรภ์ได้อย่างไร


อินทกยักษ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลด้วยคาถาว่า (ถ้า) ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่า
รูปหาใช่ชีพไม่
สัตว์นี้จะประสพร่างกายนี้ได้อย่างไร หนอ
กระดูกและก้อนเนื้อ จะมาแต่ไหน
สัตว์นี้จะติดอยู่ในครรภ์ได้อย่างไร?


รูปนี้เป็น กลละ ก่อนจากกลละเป็นอัพพุทะจากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ (ชิ้นเนื้อ) จากเปสิเกิดเป็นฆนะ (ก้อน) จากฆนะเกิดเป็นปัญจสาขา ต่อจากนั้น มีผมขน และเล็บ (เป็นต้น) เกิดขึ้น มารดาของสัตว์ในครรภ์บริโภค ข้าวน้ำโภชนาหารอย่างใด สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดาก็ยัง อัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารอย่างนั้นในครรภ์นั้น
สคาถ. ส. ๑๕/๓๐๗ ๘๐๑-๔๐๓.
----------------------------------------------------------------------------------
๑. กลละ : รูปเริ่มแรกที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา
๒. ยังไม่พบความหมายโดยนัยแห่งพุทธวจน.
๓. ปัญจสาขา : กิ่งห้า คือ แขน ๒ ขา ๒ หัว ๑ ของทารกที่อยู่ในครรภ์

---------------------------------------------------------------------------------

หน้า 177

๕๒
เหตุแห่งการดํารงอยู่ของชีวิต


อานนท์ ! ก็คํานี้ว่า “นามรูปมี เพราะปัจจัย คือ วิญญาณ” ดังนี้ เช่นนี้แล เป็นคําที่เรา กล่าวแล้ว

อานนท์ ! ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบาย โดย ปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อ ที่เรากล่าวไว้แล้วว่า

“นามรูปมี เพราะปัจจัยคือวิญญาณ”

อานนท์ ! ถ้าหากว่าวิญญาณจักไม่ก้าวลงในท้อง แห่งมารดาแล้วไซร้ นามรูป จักปรุง ตัวขึ้นมาในท้องแห่ง มารดาได้ไหม?
ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !

อานนท์ ! ถ้าหากว่าวิญญาณก้าวลงในท้องแห่ง มารดาแล้ว จักสลายลงเสียแล้วไซร้ นามรูปจักบังเกิดขึ้น เพื่อความเป็นอย่างนี้ได้ไหม?
ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !

อานนท์! ถ้าหากว่าวิญญาณของเด็กอ่อน ที่เป็น ชายก็ตาม เป็นหญิงก็ตาม จักขาดลงเสียแล้วไซร้ นามรูป จักถึงซึ่งความเจริญ งอกงาม ความไพบูลย์บ้างหรือ ?
ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !

อานนท์ ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ นั่นแหละ คือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละ คือ สมุทัย นั่นแหละ คือปัจจัยของนามรูป นั้นคือวิญญาณ

อานนท์ ! ก็คํานี้ว่า “วิญญาณมี เพราะปัจจัยคือ นามรูป” ดังนี้ เช่นนี้แล เป็นคําที่เรา กล่าวแล้ว

อานนท์ ! ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบายโดย ปริยายดังต่อไปนี้ที่ตรงกับ หัวข้อที่เรา กล่าวไว้แล้วว่า “วิญญาณมี เพราะปัจจัยคือนามรูป”

อานนท์ ! ถ้าหากว่าวิญญาณ จักไม่ได้มีที่ตั้งที่ อาศัยในนามรูปแล้วไซร้ ความเกิดขึ้น พร้อมแห่งทุกข์ คือ ชาติ ชรา มรณะ ต่อไป จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหม?
ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !

อานนท์ ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ นั่นแหละ คือเหตุ นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละคือ สมุทัย นั่นแหละ คือปัจจัยของวิญญาณ นั้นคือนามรูป.

อานนท์ ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลก จึงเกิดบ้าง จึงแก่บ้าง จึงตายบ้าง จึงจุติบ้าง จึงอุบัติบ้าง คลองแห่งการเรียก (อธิวจน) ก็มีเพียงเท่านี้ คลองแห่งการพูดจา (นิรุตติ) ก็มีเพียงเท่านี้ คลองแห่งการบัญญัติ (ปญญตติ) ก็มีเพียงเท่านี้

เรื่องที่จะต้องรู้ด้วยปัญญา (ปญญาวจร) ก็มีเพียงเท่านี้ ความเวียนว่ายในวัฏฏะ ก็มีเพียงเท่านี้ นามรูปพร้อมทั้งวิญญาณตั้งอยู่ เพื่อการบัญญัติซึ่งความเป็นอย่างนี้ (ของนามรูปกับวิญญาณ นั่นเอง)
มหา. ที. ๑๐/๒๔/๖๐.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 181

๕๓
เหตุให้ได้ความเป็น หญิง หรือ ชาย


ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง ธรรมปริยาย อันเป็น ความเกี่ยวข้อง (สญโญค) และความไม่เกี่ยวข้อง (วิสญโญค) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ธรรมปริยาย อันเป็นความเกี่ยวข้องและความไม่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็หญิงย่อมสนใจสภาพแห่งหญิง ในภายใน กิริยา ท่าทาง ความ ไว้ตัว ความพอใจ เสียง และเครื่องประดับของหญิง เขาย่อมยินดี พอใจ ในสภาพ ของตนนั้น ๆ เขายินดี พอใจในสภาพของตนนั้น ๆ แล้ว ย่อมสนใจถึงสภาพของชาย ในภายนอก กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับของชาย ย่อมยินดี พอใจในสภาพของชายนั้น ๆ เขายินดี พอใจ ในสภาพของซายนั้น ๆ แล้ว ย่อมมุ่งหวังการสมาคมกับชาย และสุขโสมนัสที่เกิดเพราะการสมาคมกับชายเป็นเหตุ

ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ผู้พอใจในภาวะแห่งหญิง ก็ถึงความเกี่ยวข้องในชาย ด้วยอาการ อย่างนี้แล หญิงจึงไม่ล่วงพ้นภาวะแห่งหญิงไปได้

ภิกษุทั้งหลาย ! ชายย่อมสนใจสภาพแห่งชาย ในภายใน กิริยา ท่าทางความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและ เครื่องประดับของซาย เขาย่อมยินดี พอใจในสภาพนั้น ๆ ของตน เขายินดี พอใจในสภาพนั้น ๆ ของตนแล้ว ย่อมสนใจถึงสภาพของหญิง ในภายนอก กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับของหญิง ย่อมยินดี พอใจในสภาพของหญิงนั้น ๆ แล้ว ย่อมมุ่งหวัง การสมาคมกับหญิง และ สุขโสมนัสที่เกิดเพราะการสมาคม กับหญิงเป็นเหตุ

ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ผู้พอใจในภาวะแห่งชาย ก็ถึงความเกี่ยวข้องในหญิง ด้วยอาการ อย่างนี้แล ชายจึงไม่ล่วงพ้นภาวะแห่งชายไปได้

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเกี่ยวข้อง ย่อมมี ด้วย อาการอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย! ความไม่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย! หญิงย่อมไม่สนใจในสภาพแห่งหญิง ในภายใน กิริยา ท่าทาง ความ ไว้ตัว ความพอใจ เสียงและ เครื่องประดับของหญิง เขาไม่ยินดี ไม่พอใจในสภาพ แห่ง หญิงนั้น ๆ แล้ว ย่อมไม่สนใจถึงสภาพแห่งชายในภายนอก กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับ แห่งชาย เขาไม่ยินดีไม่พอใจใน สภาพ แห่งชายนั้น ๆ แล้ว ย่อมไม่มุ่งหวังการสมาคมกับชาย และสุขโสมนัสที่เกิด เพราะการสมาคมกับชายเป็นเหตุ

ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ผู้ไม่พอใจในสภาพแห่งหญิง ก็ถึงความไม่เกี่ยวข้องในชาย ด้วยอาการอย่างนี้แล หญิงจึงล่วงพ้นสภาพแห่งหญิงไปได้

ภิกษุทั้งหลาย! ชายย่อมไม่สนใจในสภาพแห่งชาย ในภายใน กิริยา ท่าทาง ความไว้ ตัว ความพอใจ เสียงและ เครื่องประดับของชาย เขาไม่ยินดี ไม่พอใจในสภาพแห่ง ชายนั้น ๆ แล้ว ย่อมไม่สนใจถึงสภาพแห่งหญิงในภายนอก กิริยาท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับ ของหญิง เขาไม่ยินดีไม่พอใจในสภาพแห่ง หญิง นั้น ๆ แล้ว ย่อมไม่มุ่งหวังการสมาคมกับหญิง และสุขโสมนัสที่เกิด เพราะการสมาคม กับหญิงเป็นเหตุ

ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ผู้ไม่พอใจในสภาพแห่งชาย ก็ถึงความไม่เกี่ยวข้องในหญิง ด้วยอาการอย่างนี้แล ชายจึงล่วงพ้นภาวะแห่งชายไปได้

ภิกษุทั้งหลาย ! ความไม่เกี่ยวข้อง ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล ชื่อว่า ธรรมปริยายอัน เป็นทั้งความเกี่ยวข้อง และ ความไม่ เกี่ยวข้อง
สตุตก. อ. ๒๓/๕๘/๕๘.

เพราะการสมาคมกับหญิงเป็นเหตุ

ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ผู้ไม่พอใจในสภาพแห่งชาย ก็ถึงความไม่เกี่ยวข้องในหญิง ด้วยอาการอย่างนี้แล ชายจึงล่วงพ้นภาวะแห่งชายไปได้

ภิกษุทั้งหลาย ! ความไม่เกี่ยวข้อง ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล ชื่อว่า ธรรมปริยาย อันเป็นทั้งความเกี่ยวข้อง และความ ไม่เกี่ยวข้อง
สตุตก. อ. ๒๓/๕๘/๕๘.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 185

๕๔ 
เหตุให้มนุษย์เกิดมาแตกต่างกัน


ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้พวกมนุษย์ที่เกิด เป็น มนุษย์อยู่ปรากฏความเลวและความประณีต คือ มนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏมีอายุสั้น มีอายุยืน มีโรคมากมีโรคน้อย มีผิวพรรณทรามมีผิวพรรณงาม มีศักดาน้อยมีศักดามาก มีโภคะน้อย มีโภคะมาก เกิดในสกุลต่า เกิดในสกุลสูง ไร้ปัญญา มีปัญญา

มาณพ! สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกําเนิด มี กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจําแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้

ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบเนื้อความโดยพิสดารของอุเทศ ที่พระโคดมผู้เจริญตรัส โดยย่อมิได้ จําแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้ได้ ขอพระโคดมผู้เจริญ ได้โปรดแสดง ธรรมแก่ข้าพระองค์โดยประการ ที่ข้าพระองค์จะพึงทราบเนื้อความแห่ง อุเทศนี้ โดยพิสดารด้วยเถิด.

มาณพ ! ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว


มาณพ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทําชีวิตสัตว์ ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหารไม่เอ็นดู ในเหล่าสัตว์มีชีวิต เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ เมื่อตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หากตายไปไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็น มนุษย์เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น

มาณพ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอายุสั้น นี้ คือ เป็นผู้มักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดู ในเหล่าสัตว์มีชีวิต. มาณพ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศัสตราได้ มีความละอาย ถึงความ เอ็นดู กรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายอยู่ เพราะกรรมนั้น อันเขา ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ เมื่อตายไปจะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ถ้ามาเป็น มนุษย์เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน.

มาณพ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอายุยืน นี้ คือ ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาด จากปาณาติบาตางท่อนไม้ วางศัสตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู กรุณา เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายอยู่ มาณพ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีปกติเบียดเบียน สัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือ ก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศัสตรา เพราะกรรมนั้น อันเขา ให้พรั่ง พร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ เมื่อตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็น มนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็น คนมีโรคมาก.

มาณพ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโรคมาก นี้ คือ เป็นผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศัสตรา. มาณพ! บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็น สตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีปกติไม่เบียดเบียน สัตว์ ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศัสตรา เพราะกรรมนั้น อัน เขาให้พรั่ง พร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ เมื่อตายไป จะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ หากตายไป ไม่เข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็น มนุษย์เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคน้อย.

มาณพ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโรคน้อย นี้ คือ เป็นผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศัสตรา. มาณพ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะ เป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนมักโกรธ มากด้วย ความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อย ก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทําความ โกรธ ความร้าย และความซึ้งเคียด ให้ปรากฏ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ เมื่อตายไป จะเข้า ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็น มนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม

มาณพ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีผิวพรรณทราม นี้ คือ เป็นคนมักโกรธ มากด้วย ความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทําความ โกรธ ความร้าย และความพึงเคียดให้ปรากฏ มาณพ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็น สตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มาก ด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามาก ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทําความโกรธ ความร้าย และ ความพึงเคียดให้ปรากฏ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่ง พร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ เมื่อตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ หากตายไป ไม่เข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ ถ้ามา เป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส.

มาณพ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้น่าเลื่อมใส นี้ คือ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มาก ด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทําความโกรธ ความร้าย ความซึ้งเคียดให้ปรากฏ มาณพ! บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็น สตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภ สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชา ของคนอื่น เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้ อย่างนี้ เมื่อตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หาก ตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดาน้อย.

มาณพ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีศักดาน้อย นี้ คือ มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้และการบูชา ของคนอื่น. มาณพ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีใจ ไม่ริษยา ย่อม ไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เพราะกรรมนั้น อันเขาให้ พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ เมื่อตายไป จะเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามา เป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดามาก.

มาณพ ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีศักดามาก นี้ คือ มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉา ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และ การบูชาของคนอื่น มาณพ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้ายาน ดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องตามประทีป แก่ สมณะหรือพราหมณ์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ เมื่อตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามา เป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะน้อย

มาณพ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโภคะน้อย นี้ คือ ไม่ให้ข้าวน้ำผ้ายาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องตามประทีป แก่สมณะ หรือ พราหมณ์ มาณพ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้ ข้าวน้ําผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องตาม ประทีป แก่ สมณะหรือพราหมณ์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้ อย่างนี้ เมื่อตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ หาก ตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะมาก

มาณพ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโภคะมาก นี้ คือ ให้ข้าวน้ํา ผ้ายาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องตามประทีป แก่สมณะ หรือ พราหมณ์ มาณพ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คน ที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่ คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา เพราะกรรม นั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ เมื่อตายไป จะเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ

มาณพ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเกิดในสกุลต่ำ นี้ คือ เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควร กราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่ สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา มาณพ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้ คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คน ที่สมควร แก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะ คนที่ควรสักการะ เคารพคน ที่ควรเคารพนับถือคนที่ควร นับถือ บูชาคนที่ควรบูชาเพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่ง พร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ เมื่อตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ หาก ตายไป ไม่เข้า ถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุล สูง

มาณพ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเกิดในสกุลสูง นี้ คือเป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควร กราบไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่ อาสนะให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะ คนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควร เคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา มาณพ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็น สตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหา สมณะหรือพราหมณ์แล้ว สอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศลอะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ ควรเสพ อะไรเมื่อทํา ย่อมเป็นไปเพื่อความ ไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทําย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อ ความสุขสิ้นกาลนาน เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทาน ไว้อย่างนี้ เมื่อตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามา เป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลังจะเป็นคน มีปัญญาทราม.

มาณพ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาทรามนี้ คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือ พราหมณ์แล้วสอบถาม ว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไป เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทําย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน. มาณพ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะ หรือพราหมณ์แล้ว สอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็น อกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษอะไรควรเสพอะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทํา ย่อมเป็น ไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทําย่อมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนานเพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้ อย่างนี้ เมื่อตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญามาก.

มาณพ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญามาก นี้ คือ เป็นผู้เข้าไปหาสมณะ หรือ พราหมณ์แล้วสอบถาม ว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษอะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทําย่อมเป็นไป เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความ ทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทําย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน.

มาณพ! ด้วยประการฉะนี้แล

ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอายุสั้น ย่อมนําไปสู่ความเป็นคนมีอายุสั้น
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอายุยืน ย่อมนําไปสู่ความเป็นคนมีอายุยืน
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อความมีโรคมาก ย่อมนําไปสู่ความเป็นคนมีโรคมาก
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโรคน้อย ย่อมนําไปสู่ความเป็นคนมีโรคน้อย
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีผิวพรรณทราม ย่อมนําไปสู่ความเป็นคนมีผิวพรรณทราม
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้น่าเลื่อมใส ย่อมนําไปสู่ความเป็นคนน่าเลื่อมใส
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีศักดาน้อย ย่อมนําไปสู่ความเป็นคนมีศักดาน้อย
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีศักดามาก ย่อมนําไปสู่ความเป็นคนมีศักดามาก
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโภคะน้อย ย่อมนําไปสู่ความเป็นคนมีโภคะน้อย
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโภคะมาก ย่อมนําไปสู่ความเป็นคนมีโภคะมาก
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเกิดในสกุลต่ํา ย่อมนําไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลต่ํา
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเกิดในสกุลสูง ย่อมนําไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลสูง
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาทราม ย่อมนําไปสู่ความเป็นคนมีปัญญาทราม
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญามาก ย่อมนําไปสู่ความเป็นคนมีปัญญามาก.
มาณพ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกําเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจําแนกสัตว์ให้เลวและประณีต
อุปร. ม. ๑๔/๓๗๖/๕๗๙.

ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโภคะมาก ย่อมนําไปสู่ความเป็นคนมีโภคะมาก
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเกิดในสกุลต่ํา ย่อมนําไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลต่ํา
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเกิดในสกุลสูง ย่อมนําไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลสูง
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาทราม ย่อมนําไปสู่ความเป็นคนมีปัญญาทราม
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญามาก ย่อมนําไปสู่ความเป็นคนมีปัญญามาก.
มาณพ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกําเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจําแนกสัตว์ให้เลวและประณีต
อุปร. ม. ๑๔/๓๗๖/๕๗๙.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 197

๕๕  
ธรรมของพระเจ้าจักรพรรดิ


ตรัสเล่าถึงพระเจ้าจักรพรรดิในกาลก่อน โดยเป็นการสนทนาระหว่างพระราชฤาษี ที่เป็นบิดา กับพระราชาที่เป็นบุตร เกี่ยวกับข้อปฏิบัติเพื่อความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ (จกกวตุติวตุต)

ก็ จักกวัตติวัตร อันประเสริฐนั้น เป็นอย่างไร?

ลูกเอ๋ย ! ถ้าเช่นนั้น เจ้าจงอาศัยธรรมเท่านั้น จงสักการะธรรม เคารพธรรม นับถือธรรม บูชาธรรม ยําเกรงธรรม มีธรรมเป็นธงชัย มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็นใหญ่ จงจัดการ อารักขาป้องกัน และคุ้มครองโดยชอบธรรม ในหมู่ชน ในราชสํานัก ในหมู่พล ในพวก กษัตริย์ผู้ตามเสด็จ ในพวกพราหมณ์และคหบดี ในราษฎรชาวนิคมและชาว ชนบท ทั้งหลาย ในพวกสมณะและพราหมณ์ ในเหล่าเนื้อ และนกทั้งหลาย

ลูกเอ๋ย ! การอธรรม อย่าให้มีได้ในแว่นแคว้น ของเจ้าเลย.

ลูกเอ๋ย ! อนึ่ง บุคคลเหล่าใดในแว่นแคว้นของเจ้า ไม่มีทรัพย์ เจ้าพึงให้ทรัพย์ แก่ บุคคลเหล่านั้นด้วย

ลูกเอ๋ย ! อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใด ในแว่นแคว้นของเจ้า เป็นผู้งดเว้นจากความ มัวเมา และความประมาท ตั้งมั่นอยู่ในขันติ (อดทน, อดกลั้น) และโสรัจจะ (ความสงบ) ฝึกตนอยู่แต่ผู้เดียว สงบตนอยู่แต่ผู้เดียว ให้ตนดับกิเลส อยู่แต่ผู้เดียว พึงเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นโดยกาล อันควร แล้วไต่ถามสอบถามว่า

ท่านขอรับ!
อะไร เป็นกุศล อะไรเป็น อกุศล
อะไร มีโทษ อะไรไม่มีโทษ
อะไร ควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไร เมื่อทําย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูลเพื่อความทุกข์ สิ้นกาลนาน หรือว่า
อะไร เมื่อทําย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน

เจ้าได้ฟังคําของสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว สิ่งใดเป็นอกุศล พึงละเว้นสิ่งนั้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศล พึงยึดถือประพฤติสิ่งนั้น

ลูกเอ๋ย ! นี้แลคือ จักกวัตติวัตร อันประเสริฐนั้น
ปา, ที่. ๑๙๖๔/๓๔
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 199

๕๖
กรรมกําหนด


บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติ(กําเนิด) ก็หามิได้ จะมิใช่พราหมณ์เพราะชาติก็หามิได้
บุคคลเป็นพราหมณ์ เพราะกรรม ไม่เป็นพราหมณ์ ก็เพราะกรรม
บุคคลเป็นชาวนา ก็เพราะกรรม เป็นศิลปิน ก็เพราะกรรม
บุคคลเป็นพ่อค้า ก็เพราะกรรม เป็นคนรับใช้ ก็เพราะกรรม
บุคคลแม้เป็นโจร ก็เพราะกรรม เป็นนักรบ ก็เพราะกรรม
บุคคลเป็นปุโรหิต ก็เพราะกรรม แม้เป็นพระราชา ก็เพราะกรรม

บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมเห็นซึ่งกรรมนั้น ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้เห็นซึ่งปฏิจจ สมุปบาท เป็นผู้ฉลาดในเรื่องวิบากแห่งกรรม โลกย่อมเป็นไปตามกรรม หมู่สัตว์ ย่อมเป็นไปตามกรรม สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นเครื่องรึ่งรัด เหมือนลิ่มสลักขันยึดรถ ที่กําลังแล่นไปอยู่
สุตุต. ข. ๒๕๔๕๗/๓๘๒
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 201

๕๗
เหตุสําเร็จความปรารถนา


ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงเหตุสําเร็จความ ปรารถนาแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟัง เหตุสําเร็จ ความปรารถนานั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความ เป็นสหายแห่ง กษัตริย์มหาศาลเถิด ดังนี้ ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มากแล้ว อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จ ในภาวะนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสําเร็จในความเป็นสหายแห่ง กษัตริย์มหาศาล
-------------------------------------------------------------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้วพึงเข้าถึง ความเป็นสหายแห่ง พราหมณ์มหาศาลเถิด ดังนี้ ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้ว อย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จ ในภาวะนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อ ความสําเร็จในความเป็นสหาย แห่งพราหมณ์มหาศาล
-------------------------------------------------------------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เธอมี ความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึง เข้าถึงความ เป็นสหายแห่ง คหบดีมหาศาลเถิดดังนี้ ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้ว อย่างนี้ ทําให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จ ในภาวะนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อ ความสําเร็จในความเป็นสหาย แห่ง คหบดีมหาศาล
อุปร. ม. ๑๔/๒๑๗/๓๑๘-๓๒๐.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 203

๕๘
การเกิดสังคมมนุษย์


วาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้ง บางคราวโดยการล่วงไปแห่ง กาลนานไกล ที่โลกนี้จะพินาศ เมื่อโลกกําลังพินาศอยู่ โดยมากเหล่าสัตว์ย่อมเกิดใน อาภัสสรพรหม (อาภสุสร) สัตว์เหล่านั้น ได้สําเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่าน ออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้น สิ้นกาล ยืดยาวช้านาน

วาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้ง บางคราวโดยการล่วงไป แห่งกาล นานไกล ที่โลกนี้จะกลับ เจริญขึ้น เมื่อโลกกําลังเจริญขึ้นอยู่โดยมากเหล่าสัตว์พากัน จุติ (เคลื่อน) จากอาภัสสรพรหม (อาภสุสรกายา) ลงมาเป็น อย่างนี้ และสัตว์เหล่านั้น ได้สําเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ใน อากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน

ก็ใน สมัยนั้นจักรวาล ทั้งสิ้นนี้เป็นน้ำทั้งนั้น มืดมนแลไม่เห็นอะไร ดวงจันทร์ และ ดวงอาทิตย์ก็ยังไม่ปรากฏ ดาวนักษัตร และดาวทั้งหลาย ก็ยังไม่ปรากฏ กลางวัน และ กลางคืนก็ยัง ไม่ปรากฏ เดือนและปักษ์ก็ยังไม่ปรากฏ ฤดูและปีก็ยัง ไม่ปรากฏ เพศ ชาย และเพศหญิง ก็ยังไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลาย ถึงซึ่งการนับเพียงว่าสัตว์ (สตุต) เท่านั้น

วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นต่อมา โดยการล่วงไป แห่งกาลนานไกล ได้เกิดมี ง้วนดิน (รสปฐวี) ขึ้นปรากฏแก่ สัตว์เหล่านั้น ง้วนดินนี้ลอยอยู่ทั่วไปบนน้ำ เหมือน นมสด ที่บุคคลเดี่ยวให้งวด แล้วตั้งไว้ให้เย็น จับเป็นฝาอยู่ข้างบน ง้วนดินนั้น ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส มีสีคล้ายเนยใส หรือ เนยข้นอย่างดี มีรสอร่อยดจรวงผึ้งเล็ก อันหาโทษมิได้

เมื่อสัตว์เหล่านั้น พากันเอานิ้วช้อนง้วนดินขึ้นลอง ลิ้มดูอยู่ รสของง้วนดินได้ซาบซ่าน ไปแล้ว สัตว์เหล่านั้น จึงเกิดความอยากขึ้น ต่อมาก็ได้พากันพยายามเพื่อจะปั้น ง้วนดิน ให้เป็นคํา ๆ ด้วยมือแล้วบริโภค ในคราวที่พากัน บริโภคง้วนดินอยู่ รัศมีกาย ของสัตว์เหล่านั้นก็ได้หายไป เมื่อรัศมีกายหายไป ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ย่อม ปรากฏ เมื่อดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ปรากฏ ดาวนักษัตรและดาว ทั้งหลายย่อม ปรากฏ เมื่อดาวนักษัตรและดาวทั้งหลายปรากฏ กลางคืนและกลางวันย่อมปรากฏ เมื่อกลางคืนและกลางวัน ปรากฏ เดือนและปักษ์ย่อมปรากฏ เมื่อเดือนและปักษ์ ปรากฏ ฤดูและปีย่อมปรากฏ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล โลกนี้ จึงกลับเจริญขึ้นอีก

ครั้นต่อมา สัตว์เหล่านั้น พากันบริโภคง้วนดิน รับประทานง้วนดิน มีง้วนดินเป็นอาหาร ดํารงอยู่ได้สิ้นกาล ช้านาน ด้วยเหตุที่สัตว์เหล่านั้น มัวเพลิดเพลินบริโภคง้วนดิน รับประทานง้วนดิน มีง้วนดินเป็นอาหาร ดํารงอยู่ได้สิ้นกาล ช้านาน สัตว์เหล่านั้น จึงมีร่างกายแข็งกล้าขึ้นทุกที ทั้งผิวพรรณ ก็ปรากฏว่าแตกต่างกันออกไป สัตว์บางพวก มีผิวพรรณงาม สัตว์บางพวกมีผิวพรรณไม่งาม ในสัตว์ทั้งสองพวกนั้น สัตว์ พวกที่มีผิวพรรณงาม ได้พากันดูหมิ่นสัตว์พวกที่มีผิวพรรณ ไม่งาม เมื่อสัตว์ ทั้งสองพวกนั้น เกิดมีการไว้ตัวดูหมิ่นกัน เพราะทะนงตัวปรารภผิวพรรณ เป็นปัจจัย ง้วนดินจึงหายไป

เมื่อวนดินหายไปแล้วก็ได้เกิดมีกระบิดิน (ภูมิปปปฏิก) ขึ้น สัตว์เหล่านั้น ได้ใช้กระบิดิน เป็นอาหาร ดํารงอยู่ สิ้นกาลช้านาน ผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตกต่างกันออกไปด้วย เพราะมีการไว้ตัวดูหมิ่นกัน เพราะทะนงตัวปรารภผิวพรรณ เป็นปัจจัย กระบิดิน จึงหายไป เมื่อกระบิดินหายไปแล้ว ก็ได้เกิดมีเครือดิน (ปทาลตา) ขึ้น

สัตว์เหล่านั้น ได้ใช้เครือดิน เป็นอาหาร ดํารงอยู่สิ้นกาลช้านาน ผิวพรรณก็ปรากฏ ว่าแตกต่างกัน ออกไป ด้วยเพราะมีการไว้ตัวดูหมิ่นกัน เพราะทะนงตัวปรารถผิวพรรณ เป็นปัจจัย เครือดินจึงหายไป เมื่อเครือดินหายไปแล้ว ก็ได้เกิดมีข้าวสาลีเกิดขึ้น ในที่ ที่ไม่ ต้องไถ เป็นข้าวไม่มี ไม่มีแกลบ ขาวสะอาด มีกลิ่นหอม มี เมล็ดเป็นข้าวสาร

ตอนเย็นสัตว์เหล่านั้น นําเอาข้าวสาลีใดมา เพื่อบริโภคในเวลาเย็น ตอนเช้าข้าวสาลี นั้น ก็มีเมล็ดสุกแล้ว งอกขึ้นแทนที่ ตอนเช้าสัตว์เหล่านั้น นําเอาข้าวสาลีใดมา เพื่อบริโภคในเวลาเช้า ตอนเย็นข้าวสาลีนั้น ก็มีเมล็ดสุกแล้ว งอกขึ้นแทนที่ ไม่ปรากฏว่าบกพร่องไปเลย

สัตว์เหล่านั้น จึงได้บริโภคข้าวสาลีนั้นเป็นอาหาร ดํารงอยู่สิ้นกาลช้านาน ด้วยประการ ที่สัตว์เหล่านั้นมีข้าวสาลีเป็นอาหาร ดํารงอยู่ สิ้นกาลช้านาน สัตว์เหล่านั้นจึงมี ร่างกาย แข็งกล้าขึ้นทุกที ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏ ว่าแตกต่างกันออกไป สตรีก็มี เพศหญิง ปรากฏและบุรุษก็มีเพศชายปรากฏด้วยว่า สตรีก็เพ่งดูบุรุษ อยู่เสมอ และบุรุษก็เพ่งดูสตรีอยู่เสมอ เมื่อคนทั้งสองเพศ ต่างก็เพ่งดูกันและกันอยู่เสมอ ก็เกิดความกําหนัด เกิด ความเร่าร้อนขึ้นในกาย เพราะความเร่าร้อนเหล่านั้นเป็นปัจจัย เขาทั้งสองจึงเสพเมถุนธรรมกัน

ในสมัยนั้น การโปรยฝุ่นใส่กันเป็นต้นนั้น สมมติ กันว่าไม่เป็นธรรม มาในบัดนี้ กลับ สมมติกันว่าเป็นธรรม ก็สมัยนั้น สัตว์พวกใดเสพเมถุนธรรมกัน สัตว์พวกนั้น เข้าบ้าน หรือนิคมไม่ได้ สิ้นสองเดือนบ้าง สามเดือนบ้าง เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายพากันเสพ อสัทธรรมนั่นอยู่เสมอ เมื่อนั้น จึงพยายามสร้างบ้านเรือนกันขึ้น เพื่อเป็นที่กําบัง อสัทธรรมนั้น

ครั้งนั้น สัตว์ผู้หนึ่งเกิดความเกียจคร้าน จึงได้เก็บ ข้าวสาลีมาไว้เพื่อบริโภคเสีย คราวเดียว ทั้งเวลาเช้า และเวลาเย็น

ต่อมาสัตว์พวกอื่นก็ถือเอาแบบอย่างของสัตว์ผู้นั้น โดยเก็บข้าวสาลีมาไว้เพื่อบริโภค เสียคราวเดียวทั้งเวลาเช้า และเวลาเย็นบ้าง เก็บไว้เพื่อบริโภคสิ้น ๒ วันบ้าง เก็บไว้ เพื่อบริโภคสิ้น ๔ วันบ้าง เก็บไว้เพื่อบริโภคสิ้น ๔ วันบ้าง

เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น พยายามเก็บสะสม ข้าวสาลีไว้เพื่อบริโภค เมื่อนั้น ข้าวสาลี นั้นจึงกลายเป็นข้าว ที่มีรห่อเมล็ดบ้าง มีแกลบหุ้มเมล็ดบ้างต้นที่ถูกเกี่ยวแล้ว ก็ไม่กลับงอกขึ้นแทนที่ ปรากฏความบกพร่องให้เห็น จึงได้มี ข้าวสาลีเป็นหย่อมๆ

(ต่อมาสัตว์เหล่านั้นพากันจับกลุ่มและได้ปรับทุกข์แก่กัน และกัน ถึงเรื่องที่มีการ ปรากฏ ของอกุศลธรรมอันเป็นบาป ทําให้ สัตว์เหล่านี้จากที่เคยเป็นผู้ได้สําเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหารมีรัศมี ซ่านออกจากกายตน แล้วก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเรื่อย ๆ จน กระทั่งมาถึงในสมัยที่ดํารงอยู่ด้วยการบริโภคข้าวสาลี ที่มีรห่อ เมล็ด มีแกลบหุ้มเมล็ด ต้นที่ถูกเกี่ยวแล้วก็ไม่กลับงอกขึ้นแทนที่ ปรากฏความบกพร่องให้เห็น จากนั้นจึงได้มีการแบ่งส่วนข้าวสาลี และปักปันเขตแดนกัน)

วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์ผู้หนึ่ง เป็นคนโลภ สงวนส่วนของตนไว้ ไปเก็บเอาส่วนอื่นที่เขา ไม่ได้ให้มาบริโภค สัตว์เหล่านั้นจึงช่วยกันจับสัตว์ผู้นั้น

ครั้นแล้ว ได้ตักเตือนอย่างนี้ว่า “แน่ะสัตว์ผู้เจริญ ก็ท่าน กระทํากรรมชั่วช้านัก ที่สงวน ส่วนของตนไว้ ไปเก็บเอาส่วนอื่น ที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค ท่านอย่าได้กระทํากรรม ชั่วช้าเห็น ปานนี้อีกเลย” สัตว์ผู้นั้นได้รับคําของสัตว์เหล่านั้นแล้ว

แม้ครั้งที่ ๒ สัตว์ผู้นั้นก็ยังขึ้นทําเช่นเดิมและรับคํา สัตว์ทั้งหลายว่าจะไม่ทําอีก แม้ครั้งที่ ๓ สัตว์ผู้นั้นก็ยังขึ้นทํา เช่นเดิมอีก สัตว์เหล่านั้นจึงช่วยกันจับสัตว์ผู้นั้น

ครั้นแล้ว ได้ตักเตือนว่า “แน่ะสัตว์ผู้เจริญ ท่านทํากรรมอันชั่วช้านัก ที่สงวนส่วนของ ตนไว้ ไปเอาส่วนที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค ท่านอย่าได้กระทํากรรมอันชั่วช้า เห็นปานนี้ อีกเลย” สัตว์ พวกหนึ่งประหารด้วยฝ่ามือบ้าง สัตว์พวกหนึ่งประหาร ด้วยก้อนดินบ้าง พวกหนึ่งประหารด้วยท่อนไม้บ้าง ใน เพราะมีเหตุเช่นนี้เป็นต้นมา การถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของ ไม่ได้ให้จึงปรากฏ การติเตียนจึงปรากฏ การกล่าวเท็จจึง ปรากฏ การถือ ท่อนไม้ จึงปรากฏ

ครั้งนั้นแล พวกสัตว์ที่เป็นผู้ใหญ่จึงประชุมกัน ครั้นแล้ว ต่างก็ปรับทุกข์กันว่า “ท่านผู้เจริญเอ๋ย การถือเอา สิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้จักปรากฏ การติเตียน จัก ปรากฏ การพูดเท็จจักปรากฏ การถือท่อนไม้จักปรากฏ ในเพราะ อกุศลธรรม อันเป็นบาปเหล่าใด อกุศลธรรมอันเป็นบาป เหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว ในสัตว์ทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลย

พวกเราจักสมมติ (แต่งตั้ง) สัตว์ผู้หนึ่งให้เป็นผู้ว่ากล่าวผู้ที่ ควรว่ากล่าว ให้เป็นผู้ ติเตียน ผู้ที่ควรติเตียน ให้เป็นผู้ขับ ไล่ผู้ที่ควรขับไล่โดยชอบ ส่วนพวกเราจักแบ่งส่วน ข้าวสาลี ให้แก่ผู้นั้น” ดังนี้ ครั้นแล้ว สัตว์เหล่านั้นพากันเข้าไปหา สัตว์ที่สวยงามกว่า น่าดูน่าชมกว่า น่าเลื่อมใสกว่า และน่า เกรงขามกว่า แล้วจึงแจ้งเรื่องนี้ว่า “มาเถิดท่านผู้เจริญ ขอท่านจงว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวจงติเตียนผู้ที่ควรติเตียน จงขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่โดยชอบเถิด ส่วนพวกข้าพเจ้าจัก แบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่ท่าน”

สัตว์ผู้นั้นรับคําแล้ว จึงว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าว ติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ขับไล่ผู้ที่ควร ขับไล่ โดยชอบ ส่วน สัตว์เหล่านั้นก็แบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่สัตว์ที่เป็นหัวหน้านั้น เพราะเหตุผู้ที่เป็นหัวหน้า อันมหาชนสมมติ (แต่งตั้ง) นั้น อักขระว่า มหาซนสมมติ มหาซนสมมติ (มหาสมุมต) จึงเกิดขึ้น เป็นอันดับแรก เพราะเหตุผู้ที่เป็นหัวหน้า เป็นใหญ่ยิ่ง แห่งเขตทั้งหลายนั้น อักขระว่า กษัตริย์ กษัตริย์ (ขฤติย) จึงเกิดขึ้นเป็น อันดับที่ ๒ เพราะเหตุที่ผู้เป็นหัวหน้า ยังชน เหล่าอื่นให้สุขใจได้โดยธรรม อักขระว่า ราชา ราชา (ราช) จึงเกิดขึ้นเป็นอันดับที่ ๗

ด้วยเหตุดังที่กล่าวมานี้ การบังเกิดขึ้นแห่งพวก กษัตริย์นั้นจึงมีขึ้นได้เพราะอักขระ ที่รู้กันว่าเป็นของดี เป็น ของโบราณอย่างนี้ เรื่องของสัตว์เหล่านั้น จะต่างกันหรือ เหมือนกัน จะไม่ต่างกันหรือไม่เหมือนกัน ก็ด้วยธรรม เท่านั้น ไม่ใช่นอกไปจากธรรม ความจริง ธรรมเท่านั้นเป็น ของประเสริฐสุดในหมู่มหาซน ทั้งในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรม) และภายหน้า (อภิสัมปราย)

ครั้งนั้นแล สัตว์บางจําพวก ได้มีความคิดขึ้นอย่างนี้ ว่า “ท่านผู้เจริญเอ๋ย การถือเอา สิ่งของ ที่เจ้าของไม่ได้ให้ จักปรากฏ การติเตียนจักปรากฏ การกล่าวเท็จจักปรากฏ การถือท่อนไม้จักปรากฏ การขับไล่จักปรากฏ ในเพราะ อกุศลธรรมอันเป็นบาป เหล่าใด อกุศลธรรมอันเป็นบาป เหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วในสัตว์ทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรไปลอย อกุศลธรรมอันเป็นบาปนี้เถิด” ดังนี้

ครั้นแล้ว สัตว์เหล่านั้นจึงได้พากัน ลอยอกุศลธรรมอันเป็นบาป ทิ้งไป เพราะเหตุที่ สัตว์เหล่านั้นพากันลอยอกุศลธรรมอัน เป็นบาปอยู่ดังนี้ อักขระว่า พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ (พราหมณ) จึงเกิดขึ้นเป็นอันดับแรก

พราหมณ์เหล่านั้น พากันสร้างกระท่อม ซึ่งมุง และบังด้วยใบไม้ในราวป่า เพ่งอยู่ใน กระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้นั้น พวกเขาไม่มีการหุงต้ม ไม่มีการตําข้าว ทั้งใน เวลาเย็น และเวลาเช้า จึงได้พากันเที่ยวแสวงหา อาหาร ตามคามนิคม และ ราชธานี เพื่อบริโภคในเวลาเย็น และเวลาเช้า เขาเหล่านั้นครั้นได้อาหารแล้ว จึงพากันกลับ ไปเพ่งอยู่ในกระท่อม ซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่าอีก

คนทั้งหลายเห็นการกระทําของพวกพราหมณ์นั้นแล้ว จึง พากันพูดอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญเอ๋ย สัตว์พวกนี้พากัน มาสร้างกระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่า แล้วเพ่ง อยู่ในกระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้นั้น ไม่มีการหุงต้ม ไม่มีการตําข้าวทั้งใน เวลาเย็น และเวลาเช้า จึงพากันเที่ยว แสวงหาอาหาร ตามคาม นิคมและราชธานี เพื่อบริโภค ในเวลาเย็นและเวลาเช้า เขาเหล่านั้นครั้นได้อาหารแล้ว จึงพากันกลับไป เพ่งอยู่ในกระท่อม ซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ ในราวป่าอีก” ดังนี้ เพราะเหตุนั้น อักขระว่า พวกเจริญฌาน พวกเจริญฌาน (มายิกา) จึงเกิดขึ้นเป็นอันดับที่ ๒

บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์บางพวกเมื่อไม่อาจ สําเร็จฌานได้ ที่กระท่อมซึ่งมุง และบัง ด้วย ใบไม้ในราวป่า จึงเที่ยวไปยังบ้านและนิคมที่ใกล้เคียง แล้วก็จัดทําคัมภีร์อยู่ คนทั้งหลายเห็นการกระทําของพวกพราหมณ์นี้นั้นแล้ว จึงพูดอย่างนี้ว่า

“ท่านผู้เจริญเอ๋ย ก็สัตว์เหล่านี้ ไม่อาจสําเร็จ ฌานได้ที่กระท่อมซึ่งมุงและบัง ด้วย ใบไม้ในราวป่า เที่ยวไป ยังบ้าน และนิคมที่ใกล้เคียง จัดทําคัมภีร์อยู่ บัดนี้พวกชน เหล่านี้ไม่เพ่งอยู่ บัดนี้พวกชนเหล่านี้ไม่เพ่งอยู่” ดังนี้ เพราะเหตุนั้น อักขระว่า อัชฌายิกา อัชฌายิกา (อชุญายิกา) จึงเกิดขึ้นเป็นอันดับที่ ๓

ก็สมัยนั้นการทรงจํา การสอน การบอกมนต์ ถูก สมมติว่าเลว มาในบัดนี้ สมมติกันว่า ประเสริฐ ด้วยเหตุ ดังที่กล่าวมานี้ การเกิดขึ้นแห่งพวกพราหมณ์นั้นจึงมีขึ้นได้

บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์บางจําพวกยึดมั่นเมถุนธรรม แล้วประกอบการงานเป็นแผนก ๆ เพราะเหตุที่สัตว์เหล่านั้น ยึดมั่นเมถุนธรรม แล้วประกอบการงานเป็นแผนก ๆ นั้นแล อักขระว่า เวสสา เวสสา (เวสุสา) จึงเกิดขึ้น ด้วยเหตุดังที่ กล่าวมานี้ การเกิดขึ้นของ แพศย์นั้น จึงมีขึ้นได้

บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์บางจําพวกประพฤติตน โหดร้าย ทํางานต่ําต้อยเพราะเหตุ ที่สัตว์เหล่านั้นประพฤติ ตนโหดร้าย ทํางานต่ําต้อยนั้นแล อักขระว่า สุททา สุททา (สุททา) จึงเกิดขึ้น ด้วยเหตุดังที่กล่าวมานี้ การเกิดขึ้นแห่ง พวกศูทรนั้น จึงมีขึ้นได้ มีสมัยที่กษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง แพศย์บ้าง ศูทรบ้าง ตําหนิธรรมของตน จึงได้ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต ด้วยประสงค์ว่า เราจักเป็นสมณะ ด้วยประการ ดังที่กล่าวมานี้ พวกสมณะจึงเกิดมีขึ้นได้ จากวรรณะทั้งสี่ เหล่านี้

กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี แพศย์ก็ดี ศูทรก็ดี สมณะ ก็ดี ประพฤติกายทุจริตวจีทุจริต มโนทุจริต เป็นมิจฉาทิฏฐิ ย่อมยึดถือกรรมด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิ เพราะยึดถือกรรม ด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิเป็นเหตุ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ทั้งสิ้น

กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี แพศย์ก็ดี ศูทรก็ดี สมณะ ก็ดี ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เป็นสัมมาทิฏฐิ ย่อมยึดถือกรรมด้วยอํานาจสัมมาทิฏฐิ เพราะยึดถือกรรม ด้วยอํานาจสัมมาทิฏฐิเป็นเหตุเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์

กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี แพศย์ก็ดี ศูทรก็ดี สมณะ ก็ดี มีปกติกระทํากรรมทั้งสอง (คือสุจริตและทุจริต) ด้วย กาย มีปกติกระทํากรรมทั้งสองด้วยวาจา มีปกติกระทํา กรรมทั้งสองด้วยใจ มีความเห็นปนกัน ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจความเห็นปนกัน เพราะยึดถือการกระทําด้วย อํานาจความเห็นปนกันเป็นเหตุ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก ย่อมเสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง

กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี แพศย์ก็ดี ศูทรก็ดี สํารวมกาย สํารวมวาจา สํารวมใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้ง ๓) แล้ว ย่อมปรินิพพานในปัจจุบันนี้ที่เดียว ก็บรรดาวรรณะทั้งสี่นี้ วรรณะใด เป็นภิกษุ สิ้น อาสวะแล้ว มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว มีกิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว วางภาระเสียได้แล้ว บรรลุถึงประโยชน์ของ ตนแล้ว หมดเครื่องเกาะเกี่ยวในภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบวรรณะนั้น ปรากฏว่า เป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลายโดยธรรมแท้จริง มิใช่นอกไปจากธรรมเลย ความจริงธรรม เท่านั้นเป็นของประเสริฐที่สุดในหมู่ มหาชน ทั้งในปัจจุบัน และภายหน้า กษัตริย์เป็น ประเสริฐที่สุดในหมู่ชนผู้รังเกียจ ด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์
ปา. ที่. ๑๑/๕๒-๑๐๗/๕๖-๗๒.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 217

๕๙
ปัจจัยต่ออายุขัยของมนุษย์


ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพระราชา มีการกระทําชนิด ที่เป็นไปแต่เพียงเพื่อการคุ้มครอง อารักขา แต่มิได้เป็นไป เพื่อการกระทําให้เกิดทรัพย์ แก่บุคคลผู้ไม่มีทรัพย์ทั้งหลาย ดังนั้นแล้ว ความยากจนขัดสน ก็เป็นไปอย่างกว้างขวาง แรงกล้าถึงที่สุด เพราะความยากจนขัดสนเป็นไปอย่างกว้างขวาง แรงกล้าถึงที่สุด อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ก็เป็นไปอย่าง กว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด

เพราะอทินนาทานเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า ถึงที่สุด การใช้ศัสตราวุธโดย วิธีการต่าง ๆ ก็เป็นไปอย่าง กว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด

เพราะการใช้ศัสตราวุธโดยวิธีการต่างๆ เป็นไป อย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด ปาณาติบาต (ซึ่งหมายถึง การฆ่ามนุษย์ด้วยกัน) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวาง แรงกล้า ถึงที่สุด

เพราะปาณาติบาตเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า ถึงที่สุด มุสาวาท (การหลอกลวงคดโกง) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวาง แรงกล้าถึงที่สุด (ในสมัยนี้มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาจาก ๘ หมื่นปี เหลือเพียง ๔ หมื่นปี)

เพราะมุสาวาทเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด ปิสุณาวาท (การพูดจายุแหย่เพื่อ การแตกกันเป็นพวก เป็นหมู่ทําลาย ความสามัคคี) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า ถึงที่สุด (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๒ หมื่นปี)

เพราะปิสุณาวาทเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า ถึงที่สุด กาเมสุมิจฉาจาร (การทําการละเมิดของรักของบุคคลอื่น) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๑ หมื่นปี)

เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นไปอย่างกว้างขวาง แรงกล้าถึงที่สุด ผรุสวาทและสัมผัปปลาปะ (การใช้คําหยาบ และคําพูดเพ้อเจ้อเพื่อความสําราญ) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวาง แรงกล้าถึงที่สุด (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๕ พันปี)

เพราะผรุสวาทและสัมผัปปลาปะเป็นไปอย่าง กว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด อภิชฌาและ พยาบาท (แผนการ กอบโกยและการทําลายล้าง) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า ถึงที่สุด (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๒,๕๐๐-๒,๐๐๐ ปี)

เพราะอภิชญาและพยาบาทเป็นไปอย่างกว้างขวาง แรงกล้าถึงที่สุด มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิดชนิดเห็นกงจักรเป็น ดอกบัว นิยมความชั่ว) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า ถึงที่สุด (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๑,๐๐๐ ปี)

เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า ถึงที่สุด ( อกุศล) ธรรมทั้งสาม คือ อธัมมราคะ (ความยินดี ที่ไม่เป็นธรรม) วิสมโลภะ (ความโลภไม่สิ้นสุด) มิจฉาธรรม (การประพฤติตามอํานาจกิเลส) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า ถึงที่สุด (อย่างไม่แยกกัน) (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๕๐๐ ปี)

เพราะ (อกศล) ธรรม ทั้งสาม .... นั้นเป็นไปอย่าง กว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด (อกุศล) ธรรมทั้งหลาย คือ ไม่ปฏิบัติอย่างถูกต้องในมารดา บิดา สมณะพราหมณ์ ไม่มี กุลเชฏฐาปจายนธรรม (ความอ่อนน้อมตามฐานะสูงต่ํา) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวาง แรงกล้าถึงที่สุด (ในสมัยนี้มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๒๕๐-๒๐๐-๑๐๐ ปี)

สมัยนั้น จักมีสมัยที่มนุษย์มีอายุขัยลดลงมาเหลือ เพียง ๙๐ ปี (จักมีลักษณะแห่ง ความเสื่อมเสียมีประการต่างๆ ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า) หญิงอายุ ๕ ปี ก็มีบุตร รสทั้งห้า คือ เนยใสเนยข้น น้ํามัน น้ําผึ้ง น้ําอ้อย และรสเค็ม ก็ไม่ปรากฏ มนุษย์ทั้งหลาย กินหญ้าที่เรียกว่า กทรูสกะ แทนการกินข้าว กุศลกรรมบถหายไป ไม่มีร่องรอย อกุศลกรรมบถ รุ่งเรือง ถึงที่สุด ในหมู่มนุษย์ ไม่มีคําพูดว่ากุศล จึงไม่มีการทํากุศล

มนุษย์สมัยนั้น จักไม่ยกย่องสรรเสริญ ความเคารพเกื้อกูล ต่อมารดา (มัตเตยยธรรม) ความเคารพเกื้อกูลต่อบิดา (เปตเตยยธรรม) ความเคารพเกื้อกูลต่อสมณะ (สามัญญธรรม) ความเคารพเกื้อกูลต่อพราหมณ์ (พรหมัญญธรรม) และ ความประพฤติ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล (กุลเชฏฐาปจายนธรรม) เหมือนอย่างที่มนุษย์ยกย่องกัน อยู่ในสมัยนี้

ไม่มีคําพูดว่า แม่ น้าชาย น้าหญิง พ่อ อา ลุง ป้า ภรรยา ของอาจารย์ และคําพูดว่า เมียของครู สัตว์โลกจักกระทํา การสัมเภท (สมสู่สําส่อน) เช่นเดียวกันกับแพะ แกะ ไก่ สุกร สุนัข สุนัขจิ้งจอก ความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดฆ่า เป็นไป อย่างแรงกล้า แม้ในระหว่างมารดากับบุตร บุตรกับมารดา บิดากับบุตร บุตรกับบิดา พี่กับน้อง น้อง กับพี่ทั้งชายและหญิง เหมือนกับที่นายพราน มีความรู้สึกต่อ เนื้อ ทั้งหลาย

ในสมัยนั้น จักมี สัตถันตรกัปป์ (การใช้ศัสตราวุธ ติดต่อกันไม่หยุดหย่อน) ตลอดเวลา ๗ วัน : สัตว์ทั้งหลาย เหล่านั้นจักมีความสําคัญแก่กันและกัน ราวกะว่าเนื้อ แต่ละคนมีศัสตราวุธในมือ ปลงชีวิตซึ่งกันและกัน ราวกะว่า ฆ่าปลา ฆ่าเนื้อ,

(มีมนุษย์หลายคนไม่เข้าร่วมวงสัตถันตรกัปป์ด้วยความกลัว หนีไปซ่อนตัวอยู่ในที่ ที่พอจะซ่อนตัวได้ตลอด ๗ วัน แล้วกลับออก มาพบกันและกัน ยินดีสวมกอดกัน กล่าวแก่กันและกันในที่นั้นว่า มีโชคดีที่รอดมาได้แล้วก็ตกลงกันในการตั้งต้น ประพฤติธรรมกันใหม่ต่อไป ชีวิตมนุษย์ก็ค่อยเจริญขึ้น จาก ๑๐ ปี ตามลําดับๆ จนถึง สมัย ๘ หมื่นปี อีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งเป็นสมัยแห่งศาสนาของ พระพุทธเจ้า มีพระนามว่า เมตเตยยสัมมาสัมพุทธะ)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 222

๖๐
ผลจากความไม่มีธรรมะของมนุษย์



ภิกษุทั้งหลาย !

สมัยใดราชา (ผู้ปกครอง) ทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในธรรม สมัยนั้น ราชยุตต์ (ข้าราชการ) ทั้งหลายก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม

เมื่อ ราชยุตต์ทั้งหลาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรม พราหมณ์ และคหบดีทั้งหลาย ก็ไม่ตั้งอยู่ ในธรรม

เมื่อ พราหมณ์และคหบดีทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในธรรม ชาวเมืองและชาวชนบททั้งหลาย ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม

เมื่อ ชาวเมืองและชาวชนบททั้งหลาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ก็มีปริวรรต (การเคลื่อนที่ การหมุนเวียน) ไม่สม่ําเสมอ

เมื่อ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ มีปริวรรต ไม่สม่ําเสมอ ดาวนักษัตรและดาวทั้งหลาย ก็มีปริวรรต ไม่สม่ําเสมอ

เมื่อ ดาวนักษัตรและดาวทั้งหลาย มีปริวรรต ไม่สม่ําเสมอ คืนและวัน ก็มีปริวรรต ไม่สม่ําเสมอ
เมื่อ คืนและวัน มีปริวรรตไม่สม่ําเสมอ เดือน และปักษ์ ก็มีปริวรรตไม่สม่ําเสมอ

เมื่อ เดือนและปักษ์ มีปริวรรตไม่สม่ําเสมอ ฤดูและปี ก็มีปริวรรตไม่สม่ําเสมอ
เมื่อ ฤดูและปี มีปริวรรตไม่สม่ําเสมอ ลม (ทุกชนิด) ก็พัดไปไม่สม่ําเสมอ
เมื่อ ลม (ทุกชนิด) พัดไปไม่สม่ําเสมอ ปัญชสา (ระบบแห่งทิศทางลมอันถูกต้อง) ก็แปรปรวน

เมื่อ ปัญชสา แปรปรวน เทวดาทั้งหลาย ก็ ระส่ําระสาย
เมื่อ เทวดาทั้งหลาย ระส่ําระสาย ฝนก็ตกลงมา อย่างไม่เหมาะสม
เมื่อ ฝนตก ลงมาอย่างไม่เหมาะสม พืชพรรณ ข้าวทั้งหลาย ก็แก่และสุกไม่สม่ําเสมอ

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อมนุษย์ทั้งหลาย บริโภค พืชพรรณ ข้าวทั้งหลายอันมีความแก่ และสุกไม่สม่ําเสมอ ก็กลายเป็นผู้มีอายุสั้น ผิวพรรณทราม ทุพพลภาพและ มีโรคภัย ไข้เจ็บมาก.

(ข้อความต่อไปนี้ได้ตรัสถึงภาวะการณ์ที่ตรงกันข้าม ผู้ศึกษา พึงทราบโดยนัย ตรงกันข้าม ตลอดสาย)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 224

๖๑
เหตุที่ทําให้มนุษย์จํานวนลดลง


ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ได้สดับมาต่อ บูรพพราหมณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ผู้เป็น อาจารย์และปาจารย์กล่าวไว้ว่า ได้ยินว่า แต่ก่อนโลกนี้ ย่อมหนาแน่นด้วยหมู่มนุษย์ เหมือนอเวจี บ้าน นิคม ชนบท และราชธานี มีทุกระยะไก่บินตก ดังนี้

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องทําให้มนุษย์ทุกวันนี้ หมดไป ปรากฏว่ามีน้อย แม้บ้านก็ไม่เป็นบ้าน แม้นิคมก็ไม่เป็นนิคม แม้นครก็ไม่เป็น นคร แม้ชนบท ก็ไม่เป็นชนบท ?

พราหมณ์ ! ทุกวันนี้ มนุษย์กําหนัดแล้วด้วย ความกําหนัดผิดธรรม ถูกความโลภอย่าง แรงกล้า ครอบงํา ประกอบด้วยมิจฉาธรรม มนุษย์เหล่านั้น กําหนัดแล้วด้วยความ กําหนัด ผิดธรรม ถูกความโลภ อย่างแรงกล้าครอบงํา ประกอบด้วยมิจฉาธรรม ต่างก็ ฉวยศัสตราอันคมเข้าฆ่าฟันกันและกัน เพราะฉะนั้น มนุษย์จึงล้มตายเสียเป็นอันมาก

พราหมณ์! แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่อง ทําให้มนุษย์ทุกวันนี้หมดไป ปรากฏว่า มีน้อย แม้บ้านก็ไม่เป็นบ้าน แม้นิคมก็ไม่เป็นนิคม แม้นครก็ไม่เป็นนคร แม้ชนบทก็ไม่ เป็นชนบท.

พราหมณ์ ! อีกประการหนึ่ง ทุกวันนี้ มนุษย์กําหนัดแล้ว ด้วยความกําหนัดผิดธรรม ถูกความโลภอย่าง แรงกล้าครอบงํา ประกอบด้วยมิจฉาธรรม เมื่อมนุษย์ เหล่านั้น กําหนัดแล้วด้วยความกําหนัดผิดธรรม ถูก ความโลภอย่างแรงกล้าครอบงํา ประกอบด้วย มิจฉาธรรม ฝนก็ไม่ตกต้องตามฤดูกาล ฉะนั้น จึงเกิดทุพภิกขภัย ข้าวกล้าเสียหาย เป็นเพลี้ย ไม่ให้ผล เพราะเหตุนั้น มนุษย์จึงล้มตายเสียเป็นอันมาก.

พราหมณ์ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่อง ทําให้มนุษย์ทุกวันนี้หมดไป ปรากฏว่า มีน้อย แม้บ้านก็ไม่เป็นบ้าน แม้นิคมก็ไม่เป็นนิคม แม้นครก็ไม่เป็นนคร แม้ชนบทก็ ไม่เป็น ชนบท.

พราหมณ์! อีกประการหนึ่ง ทุกวันนี้ มนุษย์ กําหนัดแล้วด้วยความกําหนัดผิดธรรม ถูกความโลภอย่าง แรงกล้าครอบงํา ประกอบด้วยมิจฉาธรรม เมื่อมนุษย์ เหล่านั้น กําหนัดแล้วด้วยความกําหนัดผิดธรรม ถูกความโลภอย่างแรงกล้าครอบงํา ประกอบด้วยมิจฉาธรรม พวกยักษ์ได้ปล่อยอมนุษย์ที่ร้ายกาจลงไว้ เพราะฉะนั้น มนุษย์จึงล้มตายเสียเป็นอันมาก.

พราหมณ์ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่อง ทําให้มนุษย์ทุกวันนี้หมดไป ปรากฏว่า มีน้อย แม้บ้านก็ ไม่เป็นบ้าน แม้นิคมก็ไม่เป็นนิคม แม้นครก็ไม่เป็นนคร แม้ชนบทก็ ไม่เป็น ชนบท

(ปโลภสูตร P793)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 227

๖๒

เครื่องผูกพันสัตว์


ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! อะไรเป็นเครื่องผูกพันเทวดา มนุษย์ อสูรนาค คนธรรพ์ ทั้งหลาย อันมีอยู่เป็นหมู่ๆ (ซึ่งแต่ละหมู่) ปรารถนาอยู่ว่า เราจักเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มี การเบียดเบียนแก่กันและกัน แต่แล้วก็ไม่สามารถจักเป็น ผู้อยู่อย่าง ผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญาไม่มีข้าศึก ไม่มีเบียดเบียนแก่กันและกันเล่า พระเจ้าข้า ?

จอมเทพ! ความอิจฉา (อิสสา) และความตระหนี้ (มัจฉริยะ) นั่นแล เป็นเครื่องผูกพัน เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ทั้งหลาย อันมีอยู่เป็นหมู่ ๆ (ซึ่งแต่ละหมู่) ปรารถนา อยู่ว่า เราจักเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีการเบียดเบียนแก่กันและกัน แต่แล้วก็ไม่สามารถ จักเป็นผู้อยู่อย่างผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มี การเบียดเบียน แก่กันและกันได้

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ก็ความอิจฉาและความตระหนี่ นั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ (นิทาน) มีอะไรเป็นเครื่องก่อขึ้น (สมุทัย) มีอะไรเป็นเครื่องทําให้เกิด (ซาติกะ) มีอะไรเป็นแดนเกิด (ปภวะ) ?

เมื่ออะไรมีอยู่ ความอิจฉาและความตระหนี้จึงมี? เมื่ออะไรไม่มีอยู่ ความอิจฉา และ ความตระหนี้จึงไม่มี พระเจ้าข้า !

จอมเทพ! ความอิจฉาและความตระหนี่นั้น มีสิ่งอันเป็นที่รักและสิ่งอันไม่เป็นที่รัก (ปิยาปุปิย) นั่นแล เป็นต้นเหตุ .... เมื่อสิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักไม่มีอยู่ ความอิจฉา และ ความตระหนี่ก็ไม่มี

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ก็สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็น ที่รักนั้นเล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ? เมื่ออะไรมีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและ สิ่งไม่เป็นที่รักจึงมี? เมื่ออะไรไม่มีอยู่ สิ่งเป็นที่รัก และ สิ่งไม่เป็น ที่รักจึงไม่มีพระเจ้าข้า !

จอมเทพ! สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักนั้น มีฉันทะ (ความพอใจ) เป็นต้นเหตุ .. เมื่อฉันทะ ไม่มีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักก็ไม่มี
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า 229

๖๓  
เหตุที่สัตว์บางพวกกลัวตาย บางพวกไม่กลัวตาย


พราหมณ์! สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อม กลัวถึงความสะดุ้งต่อความตาย มีอยู่ สัตว์ผู้มีความตาย เป็นธรรมดา ไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย มีอยู่

พราหมณ์ ! ก็สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมกล้วย่อมถึงความสะดุ้งต่อความตายเป็นอย่างไรเล่า ?

(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกําหนัด ยังไม่ปราศจาก ความพอใจ ยังไม่ปราศจาก ความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจาก ความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความทะยานอยากในกาม ทั้งหลาย มีโรคหนักอย่างใด อย่างหนึ่ง ถูกต้องเขา เมื่อเขา มีโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว ย่อมมีความ ปริวิตก อย่างนี้ว่า กามอันเป็นที่รักจักละเราไปเสียละหนอ และ เราก็จะต้องละกาม อันเป็นที่รักไป เขาย่อมเศร้าโศก ระทมใจ คร่ําครวญ ทุบ อก ให้ถึงความหลงใหล
พราหมณ์ ! บุคคลนี้แล ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมกลัว ย่อมถึงความสะดุ้ง ต่อ ความตาย

(๒) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจาก ความกําหนัด ยังไม่ปราศจาก ความ พอใจ ยังไม่ปราศจาก ความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจาก ความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความทะยานอยากในกาย มีโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่ง ถูกต้องเขา เมื่อเขามีโรคหนัก อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว ย่อมมีความปริวิตก อย่างนี้ ว่า กายอันเป็นที่รักจักละเราไปละหนอ และเราก็จักละกาย อันเป็นที่รักไป เขาย่อมเศร้าโศก... พราหมณ์ ! แม้บุคคลนี้แล ผู้มีความตายเป็น ธรรมดา ย่อมกลัว ย่อมถึงความสะดุ้งต่อความตาย

(๓) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้ทําความดีไว้ ไม่ได้ทํากุศลไว้ ไม่ได้ทําความ ป้องกันความกลัวไว้ ทํา แต่บาป ทําแต่กรรมที่หยาบช้า ทําแต่กรรมที่เศร้าหมอง มี โรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องเขา เมื่อเขามีโรคหนัก อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้อง แล้ว ย่อมมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ทําความดีไว้ ไม่ได้ทํากุศลไว้ ไม่ได้ทํา ความ ป้องกัน ความกลัวไว้ ทําแต่บาป ทําแต่กรรมที่หยาบช้า ทําแต่กรรม ที่เศร้า หมอง คติของคนไม่ได้ทําความดี ไม่ได้ทํากุศล ไม่ได้ทําความป้องกันความกลัว ทําแต่บาป ทําแต่กรรม ที่หยาบช้า ทําแต่กรรมที่เศร้าหมองมีประมาณเท่าใด เราละ ไปแล้วย่อมไปสู่คตินั้น เขาย่อมเศร้าโศก... พราหมณ์ ! แม้บุคคลนี้แล ผู้มีความตาย เป็นธรรมดา ย่อมกลัว ย่อมถึงความสะดุ้ง ต่อความตาย.

(๔) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความสงสัย เคลือบแคลง ไม่ถึงความตกลงใจใน พระสัทธรรม มีโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องเขา เมื่อเขามีโรคหนัก อย่างใดอย่าง หนึ่ง ถูกต้องแล้ว ย่อมมีความปริวิตกอย่างนี้ ว่าเรามีความสงสัยเคลือบแคลง ไม่ถึงความ ตกลงใจ ในพระสัทธรรม เขาย่อมเศร้าโศก.... พราหมณ์ ! แม้บุคคลนี้แล ผู้มีความตาย เป็นธรรมดา ย่อมกลัว ย่อมถึงความสะดุ้งต่อ ความตาย.

พราหมณ์ ! บุคคล ๔ จําพวกนี้ มีความตาย เป็นธรรมดา ย่อมกลัว ย่อมถึง ความสะดุ้ง ต่อความตาย

-----------------------------------------------------------------------------------------------

พราหมณ์! บุคคลมีความตายเป็นธรรมดาย่อม ไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้ง ต่อความตาย เป็นอย่างไรเล่า ?

(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ปราศจากความกําหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความ ทะยาน อยากในกามทั้งหลายมีโรคหนัก อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องเขา เมื่อเขามีโรค หนัก อย่างใด อย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว ย่อมไม่มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า กามทั้งหลาย อันเป็นที่รักจักละเราไปเสียละหนอ และ เราก็จักละกามอันเป็นที่รักไป เขาย่อมไม่ เศร้าโศก ไม่ระทมใจ ไม่คร่ําครวญไม่ทุบอกให้ไม่ถึงความหลงใหล พราหมณ์ ! บุคคลนี้แล ผู้มีความตายเป็น ธรรมดา ย่อมไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งต่อ ความตาย.

(๒) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ปราศจาก ความกําหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความ ทะยาน อยากในกาย มีโรคหนักอย่างหนึ่ง ถูกต้องเขา เมื่อเขามีโรคหนักอย่างใด อย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว ย่อมไม่มีปริวิตกอย่างนี้ว่า กายอันเป็นที่รักจักละเราไป ละหนอ และเราก็จักละกายอันเป็นที่รักนี้ไป เขาย่อม ไม่เศร้าโศก.... พราหมณ์ ! บุคคลแม้นี้ แล มีความตายเป็น ธรรมดา ย่อมไม่กลัว ย่อมไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย

(๓) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้กระทําบาป ไม่ได้ทํากรรมที่หยาบช้า ไม่ได้ทํากรรมที่เศร้าหมอง เป็นผู้ทําความดีไว้ ทํากุศลไว้ ทํากรรมเครื่องป้องกัน ความกลัวไว้ มีโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องเขา เมื่อ เขามีโรคหนักอย่างใด อย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว ย่อมมีความ ปริวิตก อย่างนี้ว่า เราไม่ได้ทํากรรมอันเป็นบาป ไม่ได้ ทํากรรมหยาบช้า ไม่ได้ทํากรรมที่เศร้าหมอง เป็นผู้ ทํากรรมดีไว้ ทํากุศลไว้ ทํากรรมเครื่องป้องกันความ กลัวไว้ คติของบุคคลผู้ไม่ได้ทําบาปไว้ ไม่ได้ทํากรรม หยาบช้า ไม่ได้ทํากรรมที่เศร้าหมอง ทํากรรมดีไว้ ทํา กุศลไว้ ทํากรรมเครื่องป้องกัน ความกลัวไว้เพียงใด เรา ละไปแล้วจักไปสู่คตินั้น เขาย่อมไม่เศร้าโศก... พราหมณ์ ! แม้บุคคลนั้นแลมีความตายเป็น ธรรมดา ย่อมไม่กลัว ย่อมไม่ถึงความ สะดุ้ง ต่อความตาย

(๔) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีความสงสัย ไม่มีความเคลือบแคลง ถึงความ ตกลงใจในพระสัทธรรม มีโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องเขา เมื่อเขามีโรคหนัก อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว ย่อมมีความปริวิตกอย่างนี้ ว่า เราไม่มีความสงสัย ไม่มี ความเคลือบแคลงถึงความ ตกลงใจในพระสัทธรรม เขาย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ระทมใจ ไม่คร่ําครวญ ไม่ทุบอกให้ ไม่ถึงความหลงใหล พราหมณ์ ! แม้บุคคลนี้แล มีความตาย เป็นธรรมดา ย่อมไม่กลัว ย่อมไม่ถึงความสะดุ้ง ต่อความตาย

พราหมณ์ ! บุคคล ๔ จําพวกนี้แล มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมไม่กลัว ย่อมไม่ถึงความสะดุ้ง ต่อความตาย