|
หน้า 235
๖๔
โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าสมมติว่า มหาปฐพีอันใหญ่ หลวงนี้ มีน้ำท่วมถึงเป็นอันเดียวกัน ทั้งหมด บุรุษคนหนึ่ง ทิ้งแอก ซึ่งมีรูเจาะได้เพียงรูเดียวลงไปในน้ำนั้น ลมตะวันออก พัดให้ลอยไปทางทิศตะวันตก ลมตะวันตกพัดให้ลอยไป ทางทิศตะวันออก ลมทิศเหนือ พัดให้ลอยไปทางทิศใต้ ลมทิศใต้พัดให้ลอยไป ทางทิศเหนือ อยู่ดังนี้ในน้ำนั้น มีเต่า ตัวหนึ่ง ตาบอด ล่วงไปร้อยๆ ปี มันจะผุดขึ้นมาครั้งหนึ่ง ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสําคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร จะเป็นไปได้ไหม ที่เต่าตาบอด ร้อยปีจึงจะผุดขึ้น สักครั้งหนึ่ง จะพึงยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียว ในแอกนั้น ?
ข้อนี้ยากที่จะเป็นไปได้ พระเจ้าข้า ! ที่เต่าตาบอดนั้น ร้อยปีผุดขึ้นเพียงครั้งเดียว จะพึงยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียว ในแอกนั้น
ภิกษุทั้งหลาย! ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกันที่ ใครๆ จะพึงได้ความเป็นมนุษย์ยาก ที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ จะเกิดขึ้นในโลก ยากที่ จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว จะรุ่งเรืองไปทั่วโลก
ภิกษุทั้งหลาย ! แต่ว่า บัดนี้ ความเป็นมนุษย์ ก็ได้แล้ว ตถาคตผู้อรหันตสัมมา สัมพุทธะก็บังเกิดขึ้น ในโลกแล้ว และธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ก็ รุ่งเรืองไป ทั่วโลกแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงกระทําโยคกรรม เพื่อให้รู้ว่า
นี้ ทุกข์
นี้ เหตุให้เกิดทุกข์
นี้ ความดับแห่งทุกข์
นี้ หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้ เกิด
มหาวาร. ส. ๑/๔๖๘/๑๗๔๔.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 237
๖๕
ความเป็นไปได้ยาก ภิกษุทั้งหลาย !
เธอทั้งหลายจะสําคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราซ้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้ กับมหาปฐพีนั้น ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดิน ที่มากกว่า ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ทรงซ้อน ขึ้น ด้วยปลาย พระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย ฝุ่นนั้น เมื่อนําเข้าไปเทียบกับ มหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคํานวณได้ เปรียบเทียบได้ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งส่วนเสี้ยว
ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะกลับไป เกิดในหมู่มนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิด ในนรก กําเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย มีมากกว่า โดยแท้
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่
อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สื่อย่างคือ
อริยสัจคือทุกข์
อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
อริยสัจคือความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์
อริยสัจคือทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่อง กระทําให้รู้ว่า ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดําเนินให้ถึง ความ ดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสําคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราซ้อนขึ้น ด้วยปลายเล็บนี้ กับ มหาปฐพีนั้น ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดิน ที่มากกว่า ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ ทรง ซ้อนขึ้นด้วยปลาย พระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย ฝุ่นนั้น เมื่อนําเข้าไปเทียบกับ มหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคํานวณได้ เปรียบเทียบได้ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งส่วนเสี้ยว
ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะกลับ ไปเกิดในหมู่เทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก กําเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย มีมากกว่า โดยแท้
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่
อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สื่อย่างคือ :อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรม อันเป็นเครื่อง กระทําให้รู้ว่า ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดําเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ดังนี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 243
๖๖
ข้อดีของเทวดาเทียบกับมนุษย์
ภิกษุทั้งหลาย ! เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประเสริฐกว่า พวกมนุษย์ชาวอุตรกุรุทวีป และ พวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการ
๓ ประการ อย่างไรเล่า ? คือ-
(๑) อายุทิพย์
(๒) วรรณะทิพย์
(๓) สุขทิพย์
ภิกษุทั้งหลาย ! เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประเสริฐกว่า พวกมนุษย์ซาวอุตรกุรุทวีปและพวก มนุษย์ซาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 244
๖๗
ผลแห่งความประพฤติเรียบร้อย
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต และนรกภายหลัง แต่การตาย เพราะการทําลาย แห่งกาย?
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ภายหลังแต่การตาย เพราะการทําลายแห่งกาย ?
พราหมณ์และคหบดี ! สัตว์บางพวกในโลกนี้ เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต และนรก(๑) ภายหลังแต่การตาย เพราะการทําลายแห่งกาย เพราะเหตุประพฤติ ไม่เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติธรรม
พราหมณ์และคหบดี ! สัตว์บางพวกในโลกนี้ เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ภายหลังแต่การตาย เพราะการ ทําลายแห่งกาย เพราะเหตุประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม.
พวกข้าพระองค์ไม่ทราบเนื้อความอย่างพิสดารแห่งธรรม ที่พระโคดมตรัสโดยย่อ มิได้ทรงจําแนกความ ให้พิสดารขอพระโคดม ผู้เจริญโปรดแสดงธรรมแก่ พวกข้า พระองค์โดยอาการที่พวกข้าพระองค์ จะพึงรู้เนื้อความอย่างพิสดารแห่งธรรม ที่ พระโคดมผู้เจริญตรัสโดยย่อ มิได้ทรงจําแนกความให้พิสดารเถิด.
-------------------------------------------------------------------------------
๑. อบาย ทุคติ วินิตบาต นรก : ภพที่ต่ำกว่ามนุษย์
-------------------------------------------------------------------------------
พราหมณ์และคหบดี! ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจงฟัง จงทําไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว.
พราหมณ์และคหบดี! ความประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ความไม่ประพฤติธรรมทางกายมี ๓ อย่าง ทางวาจามี ๔ อย่าง ทางใจมี ๓ อย่าง
พราหมณ์และคหบดี! ความประพฤติเรียบร้อย คือ ความประพฤติธรรมทางกายมี ๓) อย่าง ทางวาจามี ๔ อย่าง ทางใจมี ๓ อย่าง.
(รายละเอียดอกุศลกรรมบท ๑๐ และกุศลกรรมบท ๑๐ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในหน้า ๔๒-๔๖ และ ๑๖๐-๑๖๔ ของ หนังสือเล่มนี้)
พราหมณ์และคหบดี ! ถ้าบุคคลผู้ประพฤติ เรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม พึงหวังว่า
“โอหนอ ! ภายหลังแต่การตาย เพราะการ ทําลายแห่งกาย เราพึงเข้าถึงความเป็น สหายแห่งกษัตริย์ มหาศาลเถิด”
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
คือ ภายหลังแต่การตาย เพราะการทําลายแห่งกาย บุคคลนั้นพึงเข้าถึงความเป็น สหายแห่งกษัตริย์มหาศาล
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะว่าบุคคลนั้น เป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ เป็นผู้ประพฤติธรรมอย่างนั้นแล
พราหมณ์และคหบดี ! ถ้าบุคคลผู้ประพฤติ เรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม พึงหวังว่า
“โอหนอ ! ภายหลังแต่การตาย เพราะการ ทําลายแห่งกาย เราพึ่งเข้าถึงความเป็น สหายแห่ง พราหมณ์มหาศาล ... คหบดีมหาศาล ... เทวดาเหล่า จาตุมหาราชิกา ...เทวดาเหล่าดาวดึงส์ ...เทวดาเหล่ายามา ... เทวดาเหล่าดุสิต ... เทวดาเหล่า นิมมานรดี ... เทวดา เหล่าปรนิมมิตวสวัตตี... เทวดาที่นับเนื่อง ในหมู่พรหม... เทวดาเหล่าอาภา ...เทวดาเหล่าปริตตาภา ... เทวดาเหล่า อัปปมาณาภา ... เทวดาเหล่าอาภัสสรา ... เทวดาเหล่า ปริตตสุภา ... เทวดาเหล่าอัปมาณสุภา ... เทวดาเหล่า สุภกิณหกะ ...เทวดาเหล่าเวหัปผละ ... เทวดาเหล่าอวิหา... เทวดาเหล่าอตัปปา ...เทวดาเหล่าสุทัสสา ...เทวดาเหล่า สุทัสสี ...เทวดาเหล่า อกนิฏฐะ...เทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ... เทวดาผู้เข้าถึงวิญญา ณัญจายตนภพ... ทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ... เทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญา นาสัญญายตนภพ....
พราหมณ์และคหบดี ! ถ้าบุคคลผู้ประพฤติ เรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม พึงหวังว่า
“เราพึงทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่เถิด”
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
บุคคลนั้นจึงทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้น ไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะว่าบุคคลนั้น เป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ เป็นผู้ประพฤติธรรมอย่างนี้แล.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 248
๖๘
ผลจากการวางจิตเมื่อให้ทาน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ?
อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้น นั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ?
สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดย มีความหวังผล ให้ทานโดยมีจิตผูกพัน ในผล ให้ทานโดย มุ่งการสั่งสม (บุญ) ให้ทานโดยคิดว่า “เราตายไปจักได้ เสวยผล ของทานนี้” เขาจึงให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และ เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือ พราหมณ์ ... เขาให้ทาน นั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง เทวดาเหล่า จาตุมหาราชิกา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความ เป็นอย่างนี้
สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดย ไม่มีความหวังผล ให้ทานโดย ไม่มีจิต ผูกพันในผล ให้ทาน โดยไม่มุ่งการสั่งสม (บุญ) ให้ทานโดยไม่คิดว่า “เราตายไป
จักได้เสวยผลของทานนี้” แต่เขาให้ทานด้วยคิดว่า “การให้ทาน เป็นการดี” เขาจึง ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ... ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดา เหล่าดาวดึงส์ เขา สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความ เป็นอย่างนี้
สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดย ไม่มีความหวังผล ... ไม่ได้ให้ทาน ด้วยคิดว่า “การให้ ทานเป็นการดี” แต่ให้ทานด้วยคิดว่าบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้เคยทํามา เราก็ไม่ควรทําให้เสีย ประเพณี เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ..ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหาย แห่งเทวดาเหล่ายามา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความ เป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้
สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดย ไม่มีความหวังผล ... ไม่ได้ให้ ทานด้วย คิดว่าบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้เคยทํามา เราก็ไม่ควรทําให้เสีย ประเพณี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านี้ ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหา ไม่สมควร เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ .... ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง เทวดาเหล่าดุสิต เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความ เป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้
สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดย ไม่มีความหวังผล .... ไม่ได้ให้ ทานด้วยคิดว่า เราหุงหา กินได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ ผู้หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จําแนก แจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามก ฤาษีวาม เทวฤาษี เวสสามิตรฤาษียมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชา มหายัญ เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ... ย่อมเข้าถึงความเป็น สหายแห่งเทวดา เหล่านิมมานรดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ ความเป็น อย่างนี้
สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดย ไม่มีความหวังผล... ไม่ได้ให้ ทาน ด้วยคิดว่า เราจักเป็น ผู้จําแนกแจกทานเหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี ...ภคุฤาษี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้
ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ํา ... ย่อมเข้าถึงความเป็น สหาย แห่งเทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัสดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้ กลับมา คือ มาสู่ ความเป็นอย่างนี้
สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดย ไม่มีความหวังผล ... ไม่ได้ให้ทาน ด้วย คิดว่า เมื่อเราให้ ทานอย่างนี้จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส แต่ให้ทาน เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งเทวดา เหล่าพรหมกายิกา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความ เป็นใหญ่แล้ว เป็นผู้ไม่ต้อง กลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้
สารีบุตร ! นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ทาน เช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มี อานิสงส์มาก และเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเช่นนั้นที่บุคคล บางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 253
๖๙
ผลของการต้อนรับบรรพชิต
ด้วยวิธีที่ต่างกัน ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ในราตรีนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไป แล้ว เทวดาเป็น อันมากมีผิวพรรณ งดงาม ยังวิหารเซตวัน ทั้งสิ้น ให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บรรพชิตทั้งหลาย เข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ทั้งหลาย เมื่อเป็นมนุษย์อยู่ ในกาลก่อน ข้าพระองค์เหล่านั้น ลุกรับ แต่ไม่กราบไหว้ ข้าพระองค์เหล่านั้น มีการงานยังไม่บริบูรณ์ มีความ กินแหนงใจ มีความเดือดร้อน ตามในภายหลัง เข้าถึง หมู่เทวดาชั้นเลว”
ภิกษุทั้งหลาย ! เทวดาอีกพวกหนึ่งเป็นอันมาก เข้ามาหาเราแล้วได้กล่าวว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! บรรพชิตทั้งหลายเข้ามายัง เรือนของข้าพระองค์ทั้งหลาย เมื่อเป็นมนุษย์ อยู่ใน กาลก่อน ข้าพระองค์เหล่านั้น ลุกรับ กราบไหว้ แต่ไม่ให้อาสนะ ข้าพระองค์เหล่านั้นมีการงานไม่บริบูรณ์ มีความกินแหนงใจ มีความเดือดร้อน ตามใน
ภายหลัง เข้าถึงหมู่เทวดาชั้นเลว”
“...ข้าพระองค์เหล่านั้น ลุกรับ กราบไหว้และ ให้อาสนะ แต่ไม่แบ่งปันของให้ตาม สามารถ ตามกําลัง ....”.
“ข้าพระองค์เหล่านั้น ลุกรับ กราบไหว้ให้อาสนะ และแบ่งปันของให้ตามสามารถ ตามกําลัง แต่ไม่เข้าไป นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม ....
“ข้าพระองค์เหล่านั้น ลูกรับ กราบไหว้ให้อาสนะ แบ่งปันของให้ตามสามารถ ตามกําลัง และเข้าไปนั่งใกล้ เพื่อฟังธรรม แต่ไม่เงี่ยโสตลงฟังธรรม ...”
“ข้าพระองค์เหล่านั้น ลุกรับ กราบไหว้ให้อาสนะ แบ่งปันของให้ตามสามารถ ตามกําลัง เข้าไปนั่งใกล้เพื่อ ฟังธรรม และเงี่ยโสตลงฟังธรรม แต่ฟังแล้วไม่ทรงจํา ธรรมไว้ ...”.
“...ข้าพระองค์เหล่านั้น ลุกรับ กราบไหว้ให้อาสนะ แบ่งปันของให้ตามสามารถ ตามกําลัง เข้าไปนั่งใกล้ เพื่อ ฟังธรรม เงี่ยโสตลงฟังธรรม และฟังแล้วทรงจําธรรมไว้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจําไว้ ..”
“ข้าพระองค์เหล่านั้น ลุกรับกราบไหว้ให้อาสนะ แบ่งปันของให้ตามสามารถ ตามกําลัง เข้าไปนั่งใกล้เพื่อ ฟังธรรม เงี่ยโสตลงฟังธรรม ฟังแล้วทรงจําธรรมไว้ และ พิจารณา เนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจําไว้ แต่ไม่รู้ ทั่วถึงอรรถ ไม่รู้ทั่วถึงธรรม และไม่ได้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม
ข้าพระองค์เหล่านั้นมีการงานไม่บริบูรณ์ มีความกินแหนงใจ มีความเดือดร้อนตามใน ภายหลังเข้าถึง หมู่เทวดา ชั้นเลว”.
ภิกษุทั้งหลาย ! เทวดาอีกพวกหนึ่งเป็นอันมาก เข้ามาหาเราแล้วได้กล่าวว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บรรพชิตทั้งหลาย เข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ทั้งหลาย เมื่อยังเป็นมนุษย์ ในกาลก่อน ข้าพระองค์เหล่านั้นลุกรับ กราบไหว้ให้อาสนะ แบ่งปัน สิ่งของให้ตามสามารถ ตามกําลัง เข้าไปนั่งใกล้ เพื่อฟังธรรม เงี่ยโสตลงฟังธรรม ฟังแล้วทรงจําธรรมไว้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ที่ทรงจําไว้ และรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมข้าพระองค์ เหล่านั้นมีการงาน บริบูรณ์ ไม่มีความกินแหนงใจ ไม่มี ความเดือดร้อนตามในภายหลัง เข้าถึงหมู่เทวดาชั้น ประณีต”
ภิกษุทั้งหลาย ! นั่น โคนไม้ทั้งหลาย นั่น เรือนว่างทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท อย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจในภายหลัง เหมือนเทวดา พวกต้น ๆ เหล่านั้น
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 256
๗๐
เหตุสําเร็จความปรารถนา
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงเหตุสําเร็จความปรารถนาแก่เธอ ทั้งหลาย พวกเธอจงฟัง เหตุสําเร็จความ ปรารถนานั้น จงทําในใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เธอมี ความ ปรารถนา อย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึง ความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาลเถิด” ดังนี้ ก็มี ... ว่า “โอหนอ ! เราเมื่อตายไป แล้ว พึงเข้าถึงความ เป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาลเถิด” ดังนี้ก็มี ... ว่า “โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งคหบดีมหาศาลเถิด” ดังนี้ก็มี เธอจึง ตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอ เจริญแล้ว อย่างนี้ ทําให้มากแล้ว อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จในภาวะนั้นๆ
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟัง มาว่า เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความ สุข เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ! เราเมื่อตายไปแล้วพึงเข้าถึงความเป็น สหาย แห่งเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาเถิด” เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนา และวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มาก แล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จในภาวะนั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟัง มาว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา ... เทวดาชั้นดุสิต .... เทวดาชั้นนิมมานรดี... เทวดาชั้นปรนิม มิตวสวัสดี มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วย ความสุข เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
“โอหนอ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งเทวดาชั้นปรนิมมิต วสวัสดีเถิด” เธอจึงตั้งจิต นั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนา และ วิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มาก แล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสําเร็จในภาวะนั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟัง มาว่า สหัสสพรหม มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข
ภิกษุทั้งหลาย ! สหัสสพรหมย่อมน้อมจิตแผ่ไป ตลอดโลกธาตุพันหนึ่งอยู่ แม้สัตว์ ทั้งหลายที่เกิดแล้วใน สหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้เปรียบเหมือนบุรุษ มีนัยน์ตาดี วางมะขามป้อมผลหนึ่งในมือ แล้วพิจารณาดูได้ ฉันใด.
ภิกษุทั้งหลาย ! สหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุ พันหนึ่งอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลาย ที่เกิดแล้วในสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้ เธอมี ความปรารถนาอย่างนี้ว่า
“โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งสหัสสพรหมเถิด” เธอจึง ตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิต นั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและ วิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มากแล้ว อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จในภาวะนั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังมาว่า
ทวิสหัสสพรหม ... ติสหัสสพรหม ... จตุสหัสสพรหม ... ปัญจสหัสสพรหม มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข.
ภิกษุทั้งหลาย! ปัญจสหัสสพรหมย่อมน้อมจิต แผ่ไปตลอดโลกธาตุห้าพันอยู่ แม้สัตว์
ทั้งหลายที่เกิดแล้ว ในปัญจสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้ เปรียบ เหมือน บุรุษมีนัยน์ตาดีวางผลมะขามป้อม ๕ ผล ในมือแล้ว พิจารณาดูได้ ฉันใด.
ภิกษุทั้งหลาย ! ปัญจสหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือน กันแล ย่อมน้อมจิตแผ่ไปสู่โลกธาต ุห้าพันอยู่ แม้สัตว์ ทั้งหลาย ที่เกิดแล้วในปัญจสหัสสพรหม ก็น้อมจิต แผ่ไปอยู่ได้ เธอ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็น สหายแห่งปัญจสหัสสพรหมเถิด” เธอ จึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนา และวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มาก แล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จในภาวะนั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟัง มาว่า ทสสหัสสพรหม มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข.
ภิกษุทั้งหลาย! ทสสหัสสพรหมย่อมน้อมจิตแผ่ ไปตลอดโลกธาตุหมื่นหนึ่งอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว ในทสสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้เปรียบเหมือน แก้วไพฑูรย์ งามโซติช่วงแปดเหลี่ยมอันเขา เจียระไนดีแล้ว วางไว้บนผ้ากัมพลเหลือง ย่อมส่องแสงเรือง ไพโรจน์ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ! ทสสหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือน กันแล ย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอด โลกธาตุหมื่นหนึ่งอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในทสสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิต แผ่ไปอยู่ได้ เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เรา เมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึง ความเป็นสหายแห่งทสสหัสสพรหมเถิด” เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้ว อย่างนี้ ทําให้มาก แล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จ ในภาวะนั้นๆ
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟัง ว่าสตสหัสสพรหม มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข
ภิกษุทั้งหลาย ! สตสหัสสพรหมย่อมน้อมจิตแผ่ ไปตลอดโลกธาตุแสนหนึ่งอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว ในสตสหัสสพรหมนั้นก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้เปรียบเหมือน แท่งทองชมพูนุท ที่เขาหลอมด้วยความชํานาญ ดี ในเบ้า ของช่างทองผู้ฉลาดแล้ว วางไว้บนผ้ากัมพลสีเหลือง ย่อม ส่องแสงเรืองไพโรจน์ ฉันใด.
ภิกษุทั้งหลาย ! สตสหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือน กันแล ย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอด โลกธาตุแสนหนึ่งอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในสตสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิต แผ่ไปอยู่ได้ เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ “โอหนอ! เรา เมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึง ความเป็นสหายแห่งสตสหัสส พรหมเถิด” เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้ว อย่างนี้ ทําให้มาก แล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสําเร็จ ในภาวะนั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังมา ว่า เทวดาชั้นอาภา ... เทวดาชั้นปริตตาภา ... เทวดาชั้น
อัปปมาณาภา ... เทวดาชั้นอาภัสสรา ... เทวดาชั้นสุภา... เทวดาชั้นปริตตสุภา เทวดาชั้นอัปปมาณสุภา เทวดาชั้น สุภกิณหา .... เทวดาชั้นเวหัปปผลา .. เทวดาชั้นอวิหา .. เทวดาชั้นอตัปปา .... เทวดาชั้น สุทัสสา .. เทวดาชั้นสุทัสสี ...เทวดาชั้นอกนิฏฐา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เธอมีความ ปรารถนา อย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง เทวดาชั้น อกนิฏฐาเถิด” เธอ จึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนา และ วิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้ว อย่างนี้ ทําให้มาก แล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสําเร็จในภาวะนั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟัง มาว่า เทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ ... เทวดาผู้เข้าถึง วิญญาณัญจายตนภพ ...เทวดาผู้เข้าถึง อากิญจัญญายตนภพ ... เทวดาผู้เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนภพ มีอายุยืน ดํารงอยู่นาน มากด้วย ความสุข เธอมีความ ปรารถนาอย่างนี้ ว่า “โอหนอ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็น
สหายแห่งเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพเถิด” เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนา และวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทําให้มาก แล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสําเร็จในภาวะนั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความ ปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เราพึงเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ ความสิ้น ไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้ว แลอยู่” เธอจึงเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา อาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนี้ ย่อมไม่เกิดในที่ไหน ๆ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 264
๗๑
เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน ๔ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน ๔ ประการนี้ ๘ ประการ อย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องตามประทีปแก่สมณะ หรือ พราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาเห็น กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อม ถูกบําเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ เขาจึงมีความ ปรารถนาอย่างนี้ ว่า “โอหนอ! เมื่อตายไปขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งกษัตริย์ มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคหบดี มหาศาล” เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น จิตของเขา นึกน้อมไปในทางเลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น ภายหลัง แต่การตาย เพราะการทําลายแห่งกาย เขาย่อมเข้าถึง ความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่า เป็นของผู้มีศีล ไม่ใช่ ของผู้ทุศีล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความปรารถนาแห่งใจของ บุคคลผู้มีศีล ย่อมสําเร็จได้ เพราะ จิตบริสุทธิ์
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทาน คือ ข้าว น้ํา ... เครื่องตาม ประทีปแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาได้ฟังมาว่า เทวดา ชั้นจาตุมหาราชิกา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เขาจึงมีความปรารถนา อย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความ เป็น สหายแห่งเทวดา ชั้นจาตุมหาราชิกา” เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น จิตของเขา นึกน้อมไป ในทางที่เลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น ภายหลังแต่การตาย เพราะการทําลายแห่งกาย เขาย่อม เข้าถึงความเป็น สหาย แห่งเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่าเป็น ของ ผู้มีศีล ไม่ใช่ของผู้ทุศีล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความปรารถนาแห่งใจของ บุคคลผู้มีศีล ย่อมสําเร็จได้ เพราะจิต บริสุทธิ์
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ... เครื่องตาม ประทีปแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาได้ฟังมาว่า เทวดา ชั้นดาวดึงส์ .. เทวดาชั้นยามา ...เทวดา ชั้นดุสิต... เทวดาชั้นนิมมานรดี... เทวดาชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เขาจึงมี ความปรารถนาอย่างนี้ ว่า “โอหนอ! เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง เทวดาชั้นปรนิมมิตว สวัตตี” เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น
เจริญจิตนั้น จิตของเขานึกน้อมไปในทางที่เลว ไม่เจริญ ยิ่งขึ้น ภายหลังแต่การตาย เพราะการทําลาย แห่งกาย เขาย่อม เข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่าเป็น ของ ผู้มีศีล ไม่ใช่ของผู้ทุศีล
ภิกษุทั้งหลาย ! ความปรารถนาแห่งใจของ บุคคลผู้มีศีล ย่อมสําเร็จได้ เพราะจิต บริสุทธิ์
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ... เครื่องตาม ประทีปแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาได้ฟังมาว่า เทวดา ชั้นพรหมกายิกา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เขาจึงมีความปรารถนา อย่างนี้ ว่า “โอหนอ ! เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมกายิกา ” เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น จิตของเขา นึกน้อมไปในทาง ที่เลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น ภายหลังแต่การตาย เพราะการทําลายแห่งกาย เขาย่อมเข้าถึงความ เป็นสหาย แห่งเทวดาชั้นพรหมกายิกา แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่าเป็น ของผู้มีศีล ไม่ใช่ของ ผู้ทุศีล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความปรารถนาแห่งใจของ บุคคลผู้มีศีล ย่อมสําเร็จได้ เพราะจิต ปราศจากราคะ ภิกษุทั้งหลาย! เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน ๔ ประการนี้แล.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 267
๗๒
สัดส่วนของทาน ศีล ภาวนา
ภิกษุทั้งหลาย ! บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้ ๓ ประการ อย่างไรเล่า ? คือ
(๑) บุญกิริยาวัตถุสําเร็จด้วยทาน
(๒) บุญกิริยาวัตถุสําเร็จด้วยศีล
(๓) บุญกิริยาวัตถุสําเร็จด้วยภาวนา
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ทําบุญ กิริยาวัตถุที่สําเร็จด้วยทานนิดหน่อย ทําบุญกิริยาวัตถุ ที่สําเร็จด้วยศีลนิดหน่อย ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สําเร็จ ด้วย ภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็น ผู้มีส่วนชั่วในมนุษย์
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ทําบุญ กิริยาวัตถุ ที่สําเร็จด้วยทาน พอประมาณ ทําบุญกิริยาวัตถุ ที่สําเร็จด้วยศีลพอประมาณ ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุ ที่สําเร็จ ด้วย ภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็น ผู้มีส่วนดีในมนุษย์
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ทําบุญกิริยาวัตถุที่สําเร็จด้วยทาน มีประมาณ ยิ่ง ทําบุญกิริยาวัตถุ ที่สําเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุ ที่สําเร็จด้วย ภาวนาเลย เมื่อตายไปเขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่า จาตุมหาราชิกา
ภิกษุทั้งหลาย ! มหาราชทั้ง ๔ นั้น เพราะทําบุญกิริยาวัตถุที่สําเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทําบุญกิริยาวัตถุที่ สําเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงพวกเทวดาเหล่า จาตุมหา ราชิกา โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐพพทิพย์
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ทําบุญกิริยาวัตถุที่สําเร็จด้วยทาน มีประมาณ ยิ่ง ทําบุญกิริยา วัตถุที่สําเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุ ที่สําเร็จด้วย ภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึงความ เป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าดาวดึงส์
ภิกษุทั้งหลาย! ท้าวสักกะจอมเทพในดาวดึงส์นั้น กระทําบุญกิริยาวัตถุที่สําเร็จ ด้วย ทานเป็นอดิเรก ทําบุญ กิริยาวัตถุที่สําเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงพวกเทวดา
เหล่าดาวดึงส์ โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ... โผฏฐพพทิพย์
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ทําบุญกิริยาวัตถุที่สําเร็จด้วยทานมีประมาณ ยิ่ง ทําบุญกิริยา วัตถุ ที่สําเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุ ที่สําเร็จด้วย ภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึง ความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่ายามา
ภิกษุทั้งหลาย ! ท้าวสยามเทพบุตรในยามานั้น ทําบุญกิริยาวัตถุที่สําเร็จด้วยทาน เป็นอดิเรก ทําบุญ กิริยาวัตถุ ที่สําเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงพวกเทวดา เหล่ายามา โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายทิพย์ ... โผฏฐพพทิพย์
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ทําบุญกิริยาวัตถุที่สําเร็จด้วยทาน มีประมาณ ยิ่ง ทําบุญกิริยาวัตถุ ที่สําเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่ สําเร็จด้วย ภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึงความ เป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าดุสิต
ภิกษุทั้งหลาย ! ท้าวสันดุสิตเทพบุตรในดุสิตนั้น ทําบุญกิริยาวัตถุที่สําเร็จด้วยทาน เป็นอดิเรก ทําบุญ กิริยาวัตถุที่สําเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงพวกเทวดาเหล่า ดุสิต โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ... โผฏฐพพทิพย์
ภิกษุทั้งหลาย! บุคคลบางคนในโลกนี้ ทําบุญกิริยาวัตถุที่สําเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทําบุญกิริยา วัตถุ ที่สําเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุ ที่สําเร็จด้วย ภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึง ความ เป็นสหายแห่งเทวดาเหล่านิมมานรดี.
ภิกษุทั้งหลาย ! ท้าวสุนิมมิตเทพบุตรใน นิมมานรดีนั้น ทําบุญกิริยาวัตถุที่สําเร็จ ด้วยทานเป็นอดิเรก ทําบุญกิริยาวัตถุที่สําเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วง พวกเทวดาเหล่านิมมานรดีโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ... โผฏฐพพทิพย์
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ทําบุญกิริยาวัตถุที่สําเร็จด้วยทาน มีประมาณ ยิ่ง ทําบุญกิริยาวัตถุ ที่สําเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สําเร็จด้วย ภาวนาเลย เมื่อตายไปเขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่า ปรนิมมิต วสวัตตี
ภิกษุทั้งหลาย ! ท้าวปรนิมมิตวสวัตตีเทพบุตร ในปรนิมมิตวสวัตตินั้น ทําบุญกิริยา วัตถุที่สําเร็จด้วยทาน เป็นอดิเรก ทําบุญกิริยาวัตถุที่สําเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงพวกเทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัตตี โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ... โผฏฐพพทิพย์
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 273
๗๓
ความแตกต่างของผู้ให้กับผู้ไม่ให้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ขอประทานพระวโรกาส สาวก ของพระผู้มีพระภาค ๒ คน มีศรัทธา มีศีล มีปัญญา เท่า ๆ กัน คนหนึ่งเป็นผู้ให้ คนหนึ่งเป็นผู้ไม่ให้คนทั้งสองนั้น เมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นเทวดาเหมือนกัน จักมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ?
สุมนา! คนทั้งสองนั้นจักมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้ที่เป็นเทวดา ย่อมข่ม เทวดา ผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ อายุวรรณะ สุข ยศ และอธิปไตยที่เป็นทิพย์
สุมนา ! ผู้ให้ที่เป็นเทวดา ย่อมข่มเทวดาผู้ไม่ให้ ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ถ้าเทวดาทั้งสองนั้นจุติจาก เทวโลกนั้นแล้ว มาสู่ความเป็น มนุษย์ แต่คนทั้งสอง นั้น ทั้งที่เป็น มนุษย์เหมือนกัน จึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ ?
สุมนา! คนทั้งสองนั้นจึงมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้ที่เป็นมนุษย์ ย่อมข่มมนุษย์ ผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตยที่เป็น ของมนุษย์
สุมนา ! ผู้ให้ที่เป็นมนุษย์ ย่อมข่มมนุษย์ผู้ไม่ให้ ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ถ้าคนทั้งสองนั้นออกบวช แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็น บรรพชิต เหมือนกัน จึงมี ความพิเศษ แตกต่างกันหรือ ?
สุมนา! คนทั้งสองนั้นจึงมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้ที่เป็นบรรพชิต ย่อมข่ม บรรพชิตผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ
(๑) เมื่อเอ่ยปากขอย่อมได้จีวรมาก เมื่อไม่เอ่ย ปากขอย่อมได้น้อย
(๒) เมื่อเอ่ยปากขอย่อมได้บิณฑบาตมาก เมื่อ ไม่เอ่ยปากขอย่อมได้น้อย
(๓) เมื่อออกปากขอย่อมได้เสนาสนะมาก เมื่อ ไม่เอ่ยปากขอย่อมได้น้อย
(๔) เมื่อเอ่ยปากขอย่อมได้บริขาร คือ ยาที่เป็น เครื่องบําบัดไข้มาก เมื่อไม่เอ่ยปาก ขอย่อมได้น้อย
(๕) เมื่ออยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เหล่าใด เพื่อนพรหมจรรย์เหล่านั้น ก็ประพฤติ ต่อเธอด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก ไม่เป็นที่พอใจ เป็นส่วนน้อย ย่อมนําสิ่งเป็นที่พอใจมา เป็นส่วนมาก ย่อม นําสิ่งไม่เป็นที่พอใจม าเป็นส่วนน้อย
สุมนา ! ผู้ให้ที่เป็นบรรพชิต ย่อมข่มบรรพชิต ผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ถ้าคนทั้งสองนั้นบรรลุเป็น พระอรหันต์แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่ได้บรรลุเป็น พระอรหันต์เหมือนกัน จึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ ?
สุมนา ! ข้อนี้ เราไม่กล่าวว่า มีความพิเศษ แตกต่างกันใด ๆ ในวิมุตติ กับวิมุตติ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ไม่เคยมี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้กําหนดได้ว่า บุคคลควร ให้ทาน ควรทําบุญเพราะบุญ เป็นอุปการะ แม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต.
อย่างนั้น สุมนา ! อย่างนั้น สุมนา !
บุคคลควรให้ทาน ควรทําบุญ เพราะบุญเป็น อุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 276
๗๔
อุปมาความสุขบนสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย ! บัณฑิตนั้นนั่นแล ประพฤติสุจริต ทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์ (กุศลกรรมบถ๑๐)
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง จึงกล่าวถึงสวรรค์นั้นนั่นแหละว่า เป็นสถานที่ที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจโดยส่วนเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ! เพียงเท่านี้แม้จะเปรียบอุปมาถึง ความสุขในสวรรค์ ก็ไม่ใช่ง่ายนัก
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! อาจเปรียบอุปมาได้หรือไม่ ? ภิกษุทั้งหลาย ! อาจเปรียบได้
ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงประกอบด้วยแก้ว ๒ ประการ และ ความสัมฤทธิผล ๔ อย่าง จึงเสวยสุขโสมนัสอันมีสิ่งเหล่านั้นเป็นเหตุได้
พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ อย่างไรเล่า ?
(๑) ภิกษุทั้งหลาย ! พระราชามหากษัตริย์ในโลกนี้ ผู้ทรงได้มุรธาภิเษกแล้ว ทรงสรง สนานพระเศียร ทรงรักษา อุโบสถในดิถีที่ ๑๕ ซึ่งวันนั้นเป็นวันอุโบสถ เมื่อประทับ อยู่ในมหาปราสาทชั้นบน ย่อมปรากฏ จักรแก้วทิพย์ มีกําตั้งพัน พร้อมด้วยกงและดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ครั้นทอดพระเนตรแล้ว ได้มีพระราชดําริดังนี้ว่า
“ก็เราได้สดับมาดังนี้แล พระราชาพระองค์ใด ผู้ทรงได้มุรธาภิเษกแล้ว ทรงสรง สนานพระเศียร ทรงรักษา อุโบสถในดิถีที่ ๑๕ ซึ่งวันนั้นเป็นวันอุโบสถ เมื่อประทับ อยู่ในมหาปราสาทชั้นบนย่อมปรากฏ จักรแก้ว ทิพย์ มีกําตั้งพัน พร้อมด้วยกงและดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง พระราชานั้นย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เราเป็นพระเจ้า จักรพรรดิหรือหนอ”
ภิกษุทั้งหลาย ! ต่อนั้น พระองค์เสด็จลุกจาก ราชอาสน์ ทรงจับพระเต้าน้ำด้วย พระหัตถ์ซ้าย ทรงหลั่งรด จักรแก้วด้วยพระหัตถ์ขวา รับสั่งว่า “จงพัดผันไปเถิด จักรแก้วผู้เจริญ จักรแก้วผู้เจริญจงพิชิตให้ยิ่งเถิด”
ลําดับนั้น จักรแก้วนั้นก็พัดผันไปทางทิศตะวันออก พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วย จตุรงคเสนา ก็เสด็จตามไป
จักรแก้วประดิษฐานอยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิ ก็เสด็จเข้าประทับ ณ ประเทศนั้น พร้อมด้วยจตุรง คินีเสนา
บรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศ ตะวันออก เข้ามาเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทูลอย่างนี้ว่า “เชิญเสด็จเถิด มหาราช ! พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราช ! ข้าแต่มหาราช ! แผ่นดินนี้เป็นของพระองค์ ขอพระองค์จงสั่งการเถิด”
พระเจ้าจักรพรรดิรับสั่งอย่างนี้ว่า
ท่านทุกคน
ไม่ควรฆ่าสัตว์
ไม่ควรลักทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้
ไม่ควรประพฤติผิดในกาม
ไม่ควรพูดเท็จ
ไม่ควรดื่มน้ำเมา และท่านทั้งหลายจงครอบครองบ้านเมืองกัน ตามสภาพที่เป็นจริงเถิด
บรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออก เหล่านั้นแล ได้กลายเป็นผู้สนับสนุน พระเจ้าจักรพรรดิ
ต่อนั้น จักรแก้วนั้นได้พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศ ตะวันออก แล้วกลับขึ้นพัดผันไป ทิศใต้ ... พัดผันไป จดสมุทรด้านทิศใต้ แล้วกลับขึ้นพัดผันไปทิศตะวันตก ... พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศตะวันตก แล้วกลับขึ้นพัดผันไป ทิศเหนือ
ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งนั้นแล จักรแก้วนั้นพิชิตยิ่ง ตลอดแผ่นดินมีสมุทรเป็นขอบเขต แล้วกลับมาสู่ราชธานี เดิม ประดิษฐานอยู่เป็นเสมือนลิ่มสลักพระทวาร ภายใน พระราชวัง ของพระเจ้าจักรพรรดิ ทําให้งดงาม อย่าง มั่นคงอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ! ย่อมปรากฏจักรแก้วเห็นปานนี้ แก่พระเจ้าจักรพรรดิ
(๒) ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อมปรากฏ ช้างแก้ว อันเป็น ช้างหลวงชื่ออุโบสถ เผือกทั่วสรรพางค์กาย มีที่ตั้งอวัยวะทั้งเจ็ดถูกต้องดี มี ฤทธิ์ เหาะได้ ครั้นพระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตร เห็นแล้ว ย่อมมีพระราชหฤทัยโปรด ปรานว่า “จะเป็นยานช้างที่เจริญหนอ พ่อมหาจําเริญ ถ้าสําเร็จการ ฝึกหัด” ต่อนั้น ช้างแก้วนั้น จึง สําเร็จการฝึกหัดเหมือนช้างอาชาไนยตัวเจริญ ที่ถูกฝึกปรือดี แล้ว เป็นเวลานาน
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิ เมื่อจะทรงทดลองช้างแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้นทรง ในเวลาเช้า เสด็จเวียนรอบปฐพีมีสมุทรเป็นขอบเขต เสด็จกลับมา ราชธานีเดิม ทรงเสวยพระกระยาหาร เช้า ได้ทันเวลา
ภิกษุทั้งหลาย ! ย่อมปรากฏช้างแก้วเห็นปานนี้ แก่พระเจ้าจักรพรรดิ
(๓) ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้า จักรพรรดิย่อมปรากฏ ม้าแก้ว อันเป็น อัสวราชชื่อวลาหก ขาวปลอด ศีรษะดําเหมือนกา เส้นผมสลวยเหมือน หญ้าปล้อง มีฤทธิ์เหาะได้ ครั้นพระเจ้าจักรพรรดิทอด พระเนตรเห็นแล้ว ย่อมมีพระราชหฤทัย โปรดปรานว่า “จะเป็นยานม้าที่เจริญหนอ พ่อมหาจําเริญ ถ้าสําเร็จ การ ฝึกหัด” ต่อนั้น ม้าแก้วนั้นจึงสําเร็จการฝึกหัดเหมือน ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ที่ถูกฝึกปรือดีแล้ว เป็นเวลานาน
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิ เมื่อจะทรงทดลองม้าแก้วนั้น จึง เสด็จขึ้นทรง ในเวลา เช้า เสด็จเวียนรอบปฐพี่มีสมุทรเป็นขอบเขต เสด็จกลับมา ราชธานีเดิม ทรงเสวยพระกระยาหารเช้า ได้ทัน เวลา
ภิกษุทั้งหลาย ! ย่อมปรากฏม้าแก้วเห็นปานนี้ แก่พระเจ้าจักรพรรดิ
(๔) ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้า จักรพรรดิย่อมปรากฎ มณีแก้ว อันเป็น แก้วไพฑูรย์ งาม โชติช่วง แปดเหลี่ยม อันเจียระไนไว้อย่างดี มีแสงสว่าง แผ่ไปโยชน์ หนึ่งโดยรอบ
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิ เมื่อจะทรงทดลองมณีแก้วนั้น จึงสั่งให้จตุรงคินีเสนา ยกมณีขึ้น เป็นยอดธง แล้วให้เคลื่อนพลไปในความมืดทึบ ของราตรี ชาวบ้านที่อยู่รอบๆ พากันประกอบ การงานด้วยแสงสว่างนั้น สําคัญว่า เป็นกลางวัน
ภิกษุทั้งหลาย ! ย่อมปรากฏมณีแก้วเห็นปานนี้ แก่พระเจ้าจักรพรรดิ
(๕) ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้า จักรพรรดิย่อมปรากฏ นางแก้ว รูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความงามแห่งผิวพรรณอย่างยิ่ง ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดํานัก ไม่ขาวนัก ล่วง ผิวพรรณของมนุษย์ แต่ยังไม่ถึง ผิวพรรณทิพย์ มีสัมผัส ทางกายปานประหนึ่ง สัมผัสปุยนุ่น หรือ ปุยฝ้าย นางแก้วนั้น มีตัวอุ่นในคราวหนาว มีตัวเย็นในคราวร้อน มีกลิ่นดัง กลิ่นจันทน์ฟังไปแต่กาย มีกลิ่น ดังกลิ่นอุบลฟังไปแต่ปาก นางแก้วนั้นมีปกติตื่นก่อนนอนที่หลัง คอยฟังบรรหารใช้ (ตรัสสั่ง) ประพฤติถูกพระทัย ทูลปราศรัยเป็นที่โปรดปราน ต่อพระเจ้าจักรพรรดิ และไม่ประพฤติล่วงพระเจ้า จักรพรรดิ แม้ทางใจ ไฉนเล่า จะมีการประพฤติ ล่วงทาง กายได้
ภิกษุทั้งหลาย ! ย่อมปรากฏนางแก้วเห็นปานนี้ แก่พระเจ้าจักรพรรดิ
(๖) ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้า จักรพรรดิย่อมปรากฏ คหบดีแก้ว ผู้มีจักษุอันเป็นทิพย์ เกิดแต่วิบากของกรรมปรากฏ ซึ่งเป็นเหตุให้มองเห็น ทรัพย์ทั้ง ที่มี เจ้าของ ทั้งที่ไม่มีเจ้าของได้
เขาเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า “ขอเดชะ ! พระองค์จงทรงเป็นผู้ ขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จักทําหน้าที่การคลังให้พระองค์”
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิ เมื่อจะทรงทดลองคหบดีแก้วนั้น จึงเสด็จลงเรือ พระที่นั่ง ให้ลอยล่องกระแสน้ำกลางแม่น้ำคงคา แล้วรับสั่งกะคหบดี แก้ว ดังนี้ว่า “คหบดี! ฉันต้องการเงิน และทอง”
คหบดีแก้วกราบทูลว่า “ข้าแต่มหาราซ! ถ้าเช่นนั้น โปรดเทียบเรือเข้าฝั่งข้างหนึ่งเถิด”
พระเจ้าจักรพรรดิตรัสว่า “คหบดี ! ฉันต้องการ เงินและทองตรงนี้แหละ”
ทันใดนั้น คหบดีแก้วจึงเอามือทั้ง ๒ หย่อนลง ในน้ำ ยกหม้อเต็มด้วยเงินและทอง ขึ้นมา แล้วกราบทูล พระเจ้าจักรพรรดิดังนี้ว่า “ข้าแต่มหาราช ! พอหรือยัง เพียงเท่านี้ ใช้ได้หรือยังเพียงเท่านี้ บูชาได้หรือ ยังเพียงเท่านี้”
พระเจ้าจักรพรรดิจึงรับสั่งอย่างนี้ว่า “คหบดี ! พอละ ใช้ได้แล้ว บูชาได้แล้วเพียง เท่านี้”
ภิกษุทั้งหลาย ! ย่อมปรากฏคหบดีแก้ว เห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ
(๗) ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้า จักรพรรดิย่อมปรากฏ ปริณายกแก้ว ปริณายกนั้นเป็น บัณฑิต ฉลาด มีปัญญา สามารถถวายข้อแนะนําให้ พระองค์ทรง บํารุงผู้ที่ควรบํารุง ทรงถอดถอนผู้ที่ควร ถอดถอน ทรงแต่งตั้งผู้ที่ควร แต่งตั้งเขา เข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า “ขอเดชะ ! ขอพระองค์ จงเป็นผู้ ขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จักสังการถวาย”
ภิกษุทั้งหลาย ! ย่อมปรากฏปริณายกแก้ว เห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ
ภิกษุทั้งหลาย ! พระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรง ประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการนี้
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผล ๔ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
(๑) ภิกษุทั้งหลาย ! พระเจ้าจักรพรรดิในโลกนี้ ย่อมทรงพระสิริโฉมงดงาม น่าดูน่า เลื่อมใส ประกอบด้วย พระฉวีวรรณอันงดงามอย่างยิ่งเกินมนุษย์อื่น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ! พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบ ด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๑ ดังนี้
(๒) ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้า จักรพรรดิย่อมทรงพระชนมายุยืน ทรงดํารงอยู่นานเกิน มนุษย์อื่น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ! พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบ ด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๒ ดังนี้
(๓) ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้า จักรพรรดิย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ไม่ทรงลําบาก ทรง ประกอบด้วยพระเตโชธาตุย่อยพระกระยาหารสม่ําเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เกินมนุษย์อื่น ๆ ภิกษุทั้งหลาย ! พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบ ด้วยความ สัมฤทธิผลข้อที่ ๓ ดังนี้
(๔) ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้า จักรพรรดิย่อมทรงเป็นที่รักใคร่พอใจ ของพราหมณ์และ คหบดี เหมือนบิดาเป็นที่รักใคร่พอใจของบุตรฉะนั้น พราหมณ์ และ คหบดีก็เป็นที่ทรงโปรดปราน พอพระราชหฤทัยของพระเจ้าจักรพรรดิ เหมือนบุตร เป็นที่รักใคร่ พอใจของบิดาฉะนั้น.
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้า จักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ออก ประพาสพระราช อุทยาน ทันทีนั้น พราหมณ์และคหบดีเข้าไปเฝ้าพระองค์ แล้ว กราบทูลอย่างนี้ว่า
“ขอเดชะ ! ขอพระองค์อย่ารีบด่วน โปรดเสด็จ โดยอาการที่พวกข้าพระองค์ได้ ชม พระบารมีนาน ๆ เถิด”
แม้พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงสั่งสารถีว่า
“สารถี ท่านอย่ารีบด่วน จงขับไปโดยอาการที่ฉัน ได้ชมบรรดาพราหมณ์และคหบดี นาน ๆ เถิด”
ภิกษุทั้งหลาย ! พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบ ด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๔ ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้น เป็นอย่างไรเล่า พระเจ้าจักรพรรดิทรง ประกอบด้วยแก้ว ๒ ประการ และความสัมฤทธิผล ๕ อย่างดังนี้ พึงเสวย สุขโสมนัส อันมีสิ่งประกอบนั้นเป็นเหตุบ้างไหมหนอ ?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบ ด้วยแก้วแม้ประการหนึ่งๆ ก็ทรงเสวยสุขโสมนัส อันมี แก้วประการนั้น เป็นเหตุได้จะป่วยกล่าวไปไยถึงแก้วทั้ง ๗ ประการและความสัมฤทธิผล ทั้ง ๔ อย่าง
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหยิบแผ่นหินย่อม ๆ ขนาดเท่าฝ่ามือ แล้วตรัสถามภิกษุ
ทั้งหลายว่า :
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้น เป็นอย่างไรเล่า แผ่นหินย่อมๆ ขนาด เท่าฝ่ามือที่เราถือนี้ กับภูเขาหลวงหิมพานต์อย่างไหนหนอแลมากกว่ากัน ?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่ทรงถือนี้มีประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบภูเขาหลวง หิมพานต์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้ความนับ ย่อมไม่ถึงแม้ส่วน แห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันนั้นเหมือนกันแล พระเจ้า จักรพรรดินี้ ทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ และ ความสัมฤทธิผล ๔ อย่าง ย่อมทรงเสวยสุขโสมนัสอันมี สิ่งเหล่านั้น เป็นเหตุได้ สุขโสมนัสนั้นเปรียบเทียบ สุขอันเป็นทิพย์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้การนับ ย่อมไม่เข้าถึง แม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้
ภิกษุทั้งหลาย ! บัณฑิตนั้นนั่นแล ถ้ามาสู่ความ เป็นมนุษย์ในบางครั้งบางคราว ไม่ว่า กาลไหน ๆ โดยล่วง ระยะกาลนาน ก็ย่อมเกิดในสกุลสูง คือ สกุลกษัตริย์ มหาศาล หรือสกุลพราหมณ์มหาศาล หรือสกุลคหบดี มหาศาล เห็นปานนั้น อันเป็นสกุล มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงิน อุปกรณ์เครื่องปลื้มใจ และ ทรัพย์ธัญญาหาร อย่างเพียงพอ และเขาจะเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบ ด้วยความงาม แห่งผิวพรรณ อย่างยิ่ง มีปกติได้ข้าว น้ํา ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องตามประทีป เขาจะประพฤติ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ครั้นแล้ว เมื่อตายไป จะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย ! เหมือนนักเลงการพนัน เพราะ ฉวยเอาชัยชนะได้ประการแรกเท่านั้น จึงบรรลุโภคสมบัติ มากมาย การฉวยเอาชัยชนะของนักเลงการพนันที่บรรลุ โภคสมบัติ มากมายได้นั้นแลเพียงเล็กน้อย ที่แท้แล การฉวยเอาชัยชนะใหญ่หลวง กว่านั้น คือ การฉวยเอาชัยชนะที่บัณฑิตนั้น ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต แล้วตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นั่นเอง
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้ภูมิของบัณฑิตครบถ้วนบริบูรณ์
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 289
๗๕
อานิสงส์การรักษาอุโบสถ (๒)
วิสาขา ! อุโบสถ มี ๓ อย่าง ๓ อย่าง เป็นไฉน ? คือ
(๑) โคปาลกอุโบสถ
(๒) นิคัณฐอุโบสถ
(๓) อริยอุโบสถ
วิสาขา ! ก็โคปาลกอุโบสถ เป็นอย่างไร ?
วิสาขา ! เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโค เวลาเย็น มอบฝูงโคให้แก่เจ้าของแล้ว พิจารณา ดังนี้ว่า “วันนี้โค เที่ยวไปในประเทศโน้น ๆ ดื่มน้ําในประเทศโน้น ๆ พรุ่งนี้โค จัก เที่ยวไปในประเทศโน้น ๆ จักดื่มน้ําในประเทศโน้น ๆ” แม้ฉันใด.
วิสาขา ! ฉันนั้นเหมือนกัน คนรักษาอุโบสถ บางคนในโลกนี้ พิจารณาดังนี้ว่า “วันนี้ เราเคี้ยวของเคี้ยว ชนิดนี้ ๆ กินของชนิดนี้ๆ พรุ่งนี้เราจะเคี้ยวของเคี้ยวชนิดนี้ๆ จักกิน ของกินชนิดนี้ ๆ เขามีใจประกอบด้วย ความโลภ อยากได้ของเขา ทําวันให้ล่วงไป ด้วยความโลภนั้น”
----------------------------------------------------------------------------------
๒. อุโบสถ รูปแบบหนึ่งของการประพฤติ พรหมจรรย์
----------------------------------------------------------------------------------
วิสาขา ! โคปาลกอุโบสถเป็นเช่นนี้แล.
วิสาขา ! โคปาลกอุโบสถ ที่บุคคลเข้าจําแล้ว อย่างนี้แลไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่รุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก.
วิสาขา ! ก็นิคัณฐอุโบสถ เป็นอย่างไร ?
วิสาขา ! มีสมณนิกายหนึ่ง มีนามว่านิครนถ์ นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนสาวกอย่างนี้ว่า “มาเถอะพ่อคุณ ท่านจงวางท่อนไม้ในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศบูรพา ในที่เลย ร้อยโยชน์ ไป จงวางท่อนไม้ในหมู่สัตว์ ที่อยู่ทางทิศปัจฉิม ในที่เลยร้อยโยชน์ไป จงวางท่อนไม้ ในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศ อุดรในที่เลยร้อยโยชน์ ไปจงวางท่อนไม้ ในหมู่สัตว์ ที่อยู่ ทาง ทิศทักษิณในที่เลยร้อยโยชน์ไป” นิครนถ์เหล่านั้นซักชวน เพื่อเอ็นดู กรุณาสัตว์บาง เหล่า ไม่ชักชวนเพื่อเอ็นดูกรุณา สัตว์บางเหล่า
ด้วยประการฉะนี้ นิครนถ์เหล่านั้นซักชวน สาวกในอุโบสถเช่นนั้นอย่างนี้ว่า “มาเถอะ พ่อคุณ ท่านจง ทิ้งผ้าเสียทุกชิ้น” แล้วพูดอย่างนี้ว่า “เราไม่เป็นที่กังวลของ ใครๆ ในที่ไหน ๆ และตัวเราก็ไม่มีความกังวลในบุคคล และสิ่งของใดๆ ในที่ไหนๆ” ดังนี้ แต่ว่ามารดาและบิดา
ของเขารู้อยู่ว่า ผู้นี้เป็นบุตรของเรา แม้เขาก็รู้ว่า ท่านเหล่า นี้เป็นมารดาบิดาของเรา อนึ่ง บุตรและภรรยา ของเขาก็รู้ อยู่ว่า ผู้นี้เป็นบิดาและสามีของเราแม้เขาก็รู้อยู่ว่า ผู้นี้เป็น บุตรภรรยาของเรา พวกทาส และ คนงานของเขารู้อยู่ว่า ท่านผู้นี้เป็นนาย ของเรา ถึงตัวเขาก็รู้ว่า คนเหล่านี้เป็นทาส และคนงานของเรา เขาชักชวนในการ พูดเท็จ ในสมัยที่ควร ชักชวนในคําสัตย์ ด้วยประการฉะนี้ เรากล่าวถึงกรรมของ ผู้นั้นเพราะมุสาวาท พอล่วงราตรีนั้นไป เขาย่อมบริโภค โภคะเหล่านั้นที่เจ้าของไม่ได้ ให้เรากล่าวถึง กรรมของผู้นั้น เพราะอทินนาทาน.
วิสาขา ! นิคัณฐอุโบสถเป็นเช่นนี้แล.
วิสาขา ! นิคัณฐอุโบสถ ที่บุคคลเข้าจําแล้ว อย่างนี้ ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่รุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก.
วิสาขา ! ก็อริยอุโบสถ เป็นอย่างไร ?
วิสาขา ! จิตที่เศร้าหมองย่อมทําให้ผ่องแผ้วได้ด้วย ความเพียร ก็จิตที่เศร้าหมองย่อม ทําให้ผ่องแผ้ว ได้ด้วย ความเพียรอย่างไร ?
วิสาขา ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึง ตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ จรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นผู้ สามารถ ฝึกคนที่ ควรฝึก อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกธรรม เมื่อเธอหมั่น ระลึกถึงตถาคตอยู่จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้า หมอง แห่งจิตเสียได้.
วิสาขา ! เปรียบเหมือน ศีรษะที่เปื้อน จะทําให้สะอาดได้ด้วยความเพียร ก็ศีรษะที่เปื้อน จะทําให้สะอาด ได้ด้วยความเพียรอย่างไร? จะทําให้สะอาดได้เพราะอาศัย ขี้ตะกรัน ดินเหนียว น้ํา และความพยายาม อันเกิดแต่เหตุนั้น ของบุคคล.
วิสาขา ! ศีรษะที่เปื้อนย่อมทําให้สะอาดได้ด้วย ความเพียร อย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้า หมองจะทําให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน
วิสาขา ! อริยสาวกนี้เรียกว่าเข้าจําพรหมอุโบสถ อยู่ร่วมกับพรหม และมีจิตผ่องใส เพราะ ปรารภพรหม เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
วิสาขา ! จิตที่เศร้าหมองย่อมทําให้ผ่องแผ้วได้ ด้วยความเพียรอย่างนี้แล.
วิสาขา ! จิตที่เศร้าหมองย่อมทําให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ก็จิตที่เศร้าหมองย่อม ทําให้ ผ่องแผ้วได้ ด้วยความเพียรอย่างไร?
วิสาขา ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึง ธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาค ตรัสดีแล้ว อันบุคคล ผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญซนพึงรู้เฉพาะตน เมื่อเธอหมั่น ระลึกถึงธรรมอยู่ จิตย่อม ผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
วิสาขา ! เปรียบเหมือนกายที่เปื้อนจะทําให้ สะอาดได้ด้วยความเพียร ก็กายที่เปื้อน ย่อมทําให้สะอาด ได้ด้วยความเพียรอย่างไร? จะทําให้สะอาดได้เพราะอาศัย เชือกจุรณ สําหรับอาบน้ํา และความพยายามอันเกิดแต่เหตุนั้น ของบุคคล.
วิสาขา ! กายที่เปื้อนย่อมทําให้สะอาดได้ด้วย ความเพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้าหมอง ย่อมทําให้ ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน
วิสาขา ! อริยสาวกนี้เรียกว่าเข้าจําธรรมอุโบสถอยู่ อยู่ร่วมกับธรรม และมีจิตผ่องใส เพราะปรารภธรรม เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
วิสาขา ! จิตที่เศร้าหมองย่อมทําให้ผ่องแผ้วได้ ด้วยความเพียรอย่างนี้แล
วิสาขา ! จิตที่เศร้าหมองจะทําให้ผ่องแผ้วได้ ด้วยความเพียร ก็จิตที่เศร้าหมอง จะทําให้ผ่องแผ้วได้ด้วย ความเพียรอย่างไร ?
วิสาขา ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึง พระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติสมควร นี้คือคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวได้ ๔ บุรุษ พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรแก่ ของสักการะ เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรของ ทําบุญ เป็นผู้ควรทําอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญ อื่นยิ่งกว่า เมื่อเธอหมั่น ระลึก ถึงพระสงฆ์อยู่ จิตย่อม ผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่ง จิตเสียได้
วิสาขา ! เปรียบเหมือนผ้าที่เปื้อนจะทําให้ สะอาดได้ด้วยความเพียร ก็ผ้าที่เปื้อนจะทํา ให้สะอาดได้ ด้วยความเพียรอย่างไร? จะทําให้สะอาดได้เพราะอาศัย เกลือ น้ําด่าง โคมัย น้ํา และความพยายามอันเกิดแต่เหตุนั้น ของบุคคล.
วิสาขา ! ผ้าที่เปื้อนย่อมทําให้สะอาดได้ด้วย ความเพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้า หมอง จะทําให้ผ่องแผ้ว ได้ด้วยความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน
วิสาขา ! อริยสาวกนี้เรียกว่า เข้าจําสังฆอุโบสถ อยู่ร่วมกับสงฆ์ และมีจิตผ่องใสเพราะ ปรารภสงฆ์ เกิด ความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
วิสาขา ! จิตที่เศร้าหมองย่อมทําให้ผ่องแผ้วได้ ด้วยความเพียรอย่างนี้แล.
วิสาขา ! จิตที่เศร้าหมองจะทําให้ผ่องแผ้วได้ ด้วยความเพียร ก็จิตที่เศร้าหมอง จะทําให้ ผ่องแผ้วได้ด้วย ความเพียรอย่างไร?
วิสาขา ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึง ศีลของตนอันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทแก่ ตัณหา ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฐิลูบคลํา เป็นไป เพื่อสมาธิ เมื่อเธอหมั่นระลึกถึงศีลอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่อง เศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
วิสาขา ! เปรียบเหมือนกระจกเงาที่มัวจะทําให้ ใสได้ด้วยความเพียร ก็กระจกเงาที่มัว จะทําให้ใสได้ด้วย ความเพียรอย่างไร? จะทําให้ใสได้เพราะอาศัยน้ํามัน เถ้า แปรง และความพยายามอันเกิดแต่เหตุนั้นของบุคคล
วิสาขา ! กระจกเงาที่มัวจะทําให้ใสได้ด้วยความ เพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้า หมอง จะทําให้ผ่องแผ้ว ได้ก็ด้วยความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน.
วิสาขา ! อริยสาวกนี้เรียกว่าเข้าจําศีลอุโบสถ อยู่ ร่วมกับศีล และมีจิตผ่องใสเพราะ ปรารภศีล เกิดความ ปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
วิสาขา ! จิตที่เศร้าหมองย่อมทําให้ผ่องแผ้วได้ ด้วยความเพียรอย่างนี้แล.
วิสาขา ! จิตที่เศร้าหมองจะทําให้ผ่องแผ้วได้ ด้วยความเพียร ก็จิตที่เศร้าหมองจะ ทําให้ ผ่องแผ้วได้ด้วย ความเพียรอย่างไร ?
วิสาขา ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึง เทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกา มีอยู่ เทวดาเหล่า ดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่ เทวดา เหล่านิมมานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรินิมมิตวสวัตตี มีอยู่ เหล่าเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่ พรหมมีอยู่ เทวดาเหล่าที่ สูงกว่านั้นขึ้นไปมีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธา เช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเรา ก็มี เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากภพนี้
ไปเกิดในภพนั้น ศีลเช่นนั้นแม้ของเราก็มี เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยสุตตะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น สุตตะเช่นนั้นแม้ของเราก็มี เทวดาเหล่านั้นประกอบ ด้วย จาคะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น จาคะเช่นนั้นแม้ ของเราก็มี เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติ จากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มี เมื่อเธอหมั่นระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ และ ปัญญาของตนกับของเทวดา เหล่านั้น อยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
วิสาขา ! เปรียบเหมือนทองที่หมองจะทําให้สุกได้ ก็ด้วยความเพียรก็ทอง ที่หมอง จะทําให้สุกได้ด้วยความเพียร อย่างไร? จะทําให้สุกได้เพราะอาศัยเบ้าหลอมทอง เกลือ ยางไม้คีม และความพยายามอันเกิดแต่เหตุนั้นของบุคคล
วิสาขา ! ทองที่หมองจะทําให้สุกได้ด้วยความเพียร อย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้าหมอง จะทําให้ผ่องแผ้วได้ด้วย ความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน
วิสาขา ! อริยสาวกเช่นนี้เรียกว่า เข้าจําเทวดา อุโบสถ อยู่ร่วมกับเทวดา มีจิตผ่องใส เพราะปรารภเทวดา เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
วิสาขา ! จิตที่เศร้าหมองจะทําให้ผ่องแผ้วได้ ด้วยความเพียรอย่างนี้แล.
วิสาขา ! อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
(๑) พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาด จากการฆ่าสัตว์ วางท่อนไม้วาง ศัสตรา แล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง อยู่จนตลอดชีวิต แม้เราก็ได้ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจาก การฆ่าสัตว์ วางท่อนไม้ วางศัสตราแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ ทั้งปวงอยู่ ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ ชื่อว่าได้ทําตาม พระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็น อันเราเข้าจําแล้ว
(๒) พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการลักทรัพย์ เว้นขาด จากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขา ให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นคนขโมยเป็นผู้สะอาดอยู่จนตลอดชีวิต แม้เราก็ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของ ที่เขาให้ ไม่ประพฤติตน เป็นคนขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งใน วันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทําตามพระอรหันต์ ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็น อันเราเข้าจําแล้ว
(๓) พระอรหันต์ทั้งหลาย ละกรรมเป็นข้าศึก แก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้านจนตลอดชีวิต แม้เราก็ได้ ละกรรม เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติ พรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจาก เมถุนอัน เป็นกิจของชาวบ้าน ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทําตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจําแล้ว
(๔) พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการพูดเท็จ เว้นขาด จากการพูดเท็จ พูดแต่คําจริง ดํารงคําสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ไม่พูดลวงโลกจนตลอดชีวิต แม้เราก็ได้ละ การพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คําจริง ดํารงคําสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทําตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถ ก็จักเป็นอันเราเข้าจําแล้ว
(๕) พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความ ประมาท เว้นขาดจากการ ดื่มน้ําเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
แม้จนตลอดชีวิต แม้เราก็ละการดื่มน้ําเมา คือ สุราและ เมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาท เว้นขาดจากการดื่ม น้ําเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ ชื่อว่าได้ทําตามพระอรหันต์ ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็น อันเราเข้าจําแล้ว
(๖) พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้ฉันอาหารวันหนึ่ง เพียงหนเดียว เว้นจากการฉัน ในราตรีและวิกาลจนตลอด ชีวิต แม้เราก็เป็นผู้บริโภคอาหารวันหนึ่งเพียงหนเดียว เว้นจากการบริโภคในราตรีและวิกาล ตลอดคืนหนึ่งกับ วันหนึ่งในวันนี้ แม้ด้วยองค์ อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทําตาม พระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถจักเป็นอันเราเข้าจําแล้ว
(๗) พระอรหันต์ทั้งหลาย เว้นขาดจากฟ้อนรํา ขับร้อง การประโคมดนตรี และการดู การเล่นอันเป็น ข้าศึกแก่กุศล เว้นขาดจากการทัดทรงประดับและ ตกแต่งกายด้วย ดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัวจนตลอดชีวิต แม้เราก็เว้นขาด จากการฟ้อนรํา ขับร้อง การประโคมดนตรี และดูการเล่น อันเป็น ข้าศึกแก่กุศล เว้นขาดจากการทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วย ดอกไม้ ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งใน วันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทําตามพระอรหันต์ ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็น อันเราเข้าจําแล้ว
(๘) พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการนั่งและนอนบน ที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เว้นขาดจาก การนั่งและนอนบน ที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ สําเร็จการนอนบนที่นอนอันต่ำ จน ตลอดชีวิต แม้เราก็ได้ละการนั่งและนอนบนที่นั่ง ที่นอนอันสูงใหญ่ เว้นขาดจากการนั่ง และนอนบนที่นั่ง ที่นอนอันสูงใหญ่ สําเร็จการนอนบนที่นอนอันต่ํา ตลอด คืนหนึ่ง กับวันหนึ่งในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่า ได้ทําตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้ง อุโบสถก็จักเป็นอัน เราเข้าจําแล้ว
วิสาขา ! อริยอุโบสถเป็นเช่นนี้แล อริยอุโบสถ อันบุคคลเข้าจําแล้วอย่างนี้แลย่อม มีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแผ่ไพศาลมาก
อริยอุโบสถมีผลมากเพียงไร? มีอานิสงส์มากเพียงไร? มีความรุ่งเรืองมากเพียงไร? มีความแผ่ไพศาลมากเพียงไร?
วิสาขา ! เปรียบเหมือนผู้ใดพึ่งครองราชย์เป็นอิศราธิบดีแห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้น เหล่านี้ อันสมบูรณ์ ด้วยรัตนะ ๗ ประการ คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพซะ การครองราชย์ ของผู้นั้นยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะราชสมบัติที่เป็นของมนุษย์ เมื่อน้ําเข้าไปเปรียบเทียบ กับสุขที่เป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย
วิสาขา ! ๕๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นคนหนึ่ง กับวันหนึ่งของเทวดาชั้น จาตุมหา ราชิกา โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๕๐๐ ปีอันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของ เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา (ประมาณ ๔,๑๒๕,๐๐๐ ปีมนุษย์)
วิสาขา ! ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ สตรีหรือ บุรุษบางคนในโลกนี้เข้าจําอุโบสถ อัน ประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว ภายหลังแต่การตาย เพราะการทําลายแห่งกาย จึงเข้าถึง ความเป็นสหายของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา
วิสาขา ! เราหมายเอาความข้อนี้แล จึงกล่าวว่า ราชสมบัติที่เป็นของมนุษย์ เมื่อจะนํา เข้าไปเปรียบเทียบ กับสุขอันเป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย
วิสาขา ! ๑๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่ง กับวันหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๑,๐๐๐ ปี อันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุ ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ..... (ประมาณ ๓๖,๕๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์)
วิสาขา ! ๒๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์เป็นคืนหนึ่ง กับวันหนึ่งของเทวดาชั้นยามา โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรี เป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๒,๐๐๐ ปี อันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุ ของเทวดาชั้นยามา ... (ประมาณ ๑๔๖,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์)
วิสาขา ! ๔๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่ง กับวันหนึ่งของเทวดาชั้นดุสิต โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรี เป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๔,๐๐๐ ปี อันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุ ของเทวดาชั้นดุสิต .... (ประมาณ ๕๕๔,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์)
วิสาขา ! ๘๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่ง กับวันหนึ่งของเทวดาชั้นนิมมานรดี โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๘,๐๐๐ ปี อันเป็นทิพย์ เป็นประมาณของอายุ ของเทวดาชั้นนิมมานรดี... (ประมาณ ๒,๓๓๖,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์)
วิสาขา ! ๑,๖๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็น คืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดา ชั้นปรนิม มิตวสวัสดี โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๑๖,๐๐๐ ปี อันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี (ประมาณ ๔,๓๔๔,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์)
วิสาขา ! ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้คือ สตรีหรือบุรุษ บางคนในโลกนี้ เข้าจําอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว ภายหลังแต่การตาย เพราะการทําลายแห่งกาย จึงเข้าถึง ความเป็นสหายของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี.
วิสาขา ! เราหมายความเอาข้อนี้แล จึงกล่าวว่า ราชสมบัติอันเป็นของมนุษย์ เมื่อนําเข้าไปเปรียบเทียบ กับสุขอันเป็นทิพย์ จึงเป็นของเล็กน้อย
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 305
๗๖
เทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงพวกเทวดาซึ่งนับ เนื่องในหมู่คนธรรพ์ (คนธพุพกายิกา เทวา) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่ คนธรรพ์ เป็นอย่างไรเล่า ?
พวกเทวดาซึ่งอาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รากก็มี (มูลคนุธ อธิวตุถ)
อาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น ที่แก่นก็มี (สารคนธ อธิวตุถ)
อาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น ที่กระพี้ก็มี (เผดุคุคนธ อธิวตุถ)
อาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น ที่เปลือกก็มี (ตจคนธ อธิวตุถ)
อาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น ที่กะเทาะก็มี (ปปฏิกคนธ อธิวตุถ)
อาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น ที่ใบก็มี (ปตุตคนธ อธิวตุถ)
อาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น ที่ดอกก็มี (ปุปุผคนธ อธิวตุถ)
อาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น ที่ผลก็มี (ผลคุธ อธิวตุถ)
อาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น ที่รสก็มี (รสคนธ อธิวตถ)
อาศัยอยู่ที่ต้นไม้ มีกลิ่น ที่กลิ่นก็มี (คนธครุธ อธิวตถ)
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกนี้เราเรียกว่า พวกเทวดา ซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 307
๗๗
เหตุให้เข้าถึงความเป็นสหายของ เทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่ คนธรรพ์ (ชาวสวรรค์ชั้นต่ำ)
(นัยที่ ๑) ภิกษุ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติสุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาได้ฟังมาว่า พวกเทวดา ซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์ มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วย ความสุข เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า :
“โอหนอ ! เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความ เป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งนับเนื่อง ในหมู่คนธรรพ์” ครั้นตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดา ซึ่งนับ เนื่อง ในหมู่คนธรรพ์
ภิกษุ ! ข้อนี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บุคคล บางคนในโลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหายของ พวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์
ขนุธ. ส. ๑๗/๓๐๙/๕๕๓๗.
(ในสูตรถัดไป ได้ตรัสถึงการสร้างเหตุอย่างเดียวกัน แต่ว่าลงรายละเอียดไปในแต่ละ ประเภท ของเทวดา เหล่านี้)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 308
๗๘
เหตุให้เข้าถึงความเป็นสหายของ เทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์
(นัยที่ ๒) ภิกษุ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติสุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาได้ฟังมาว่า พวกเทวดาซึ่ง อาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วย ความสุข เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
“โอหนอ! เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความ เป็นสหายของเทวดาซึ่งอาศัย อยู่ที่ต้นไม้ มีกลิ่นที่ราก”
เขาจึงให้ข้าว น้ํา ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่อง ตาม ประทีป ครั้น ตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่ง อาศัย อยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก.
ภิกษุ ! ข้อนี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคล บางคนในโลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหาย ของพวกเทวดาซึ่งอาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก.
(ตรัสอย่างดียวกันกับกรณีของเทวดาซึ่งอาศัยอยู่ที่ต้นไม้ มีกลิ่นที่แก่น, มีกลิ่นที่กระพ, มีกลิ่นที่เปลือก, มีกลิ่นที่กะเทาะ มีกลิ่นที่ใบ, มีกลิ่นที่ดอก, มีกลิ่นที่ผล, มีกลิ่นที่รส, มีกลิ่นที่กลิ่น)
ขนุธ. ส. ๑๗/๓๑๒-๓๑๓/๕๔๐-๕๕๑.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 310
๗๙
เทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่วลาหก
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงพวกเทวดาซึ่ง นับเนื่องในหมู่วลาหก(เมฆ)” (วลาหกกายิกา เทวา) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่ วลาหก เป็นอย่างไรเล่า ?
พวกเทวดาที่เป็นสีตวลาหกก็มี (เกี่ยวเนื่องกับความหนาว)
พวกเทวดาที่เป็นอุณหวลาหกก็มี (เกี่ยวเนื่องกับความร้อน)
พวกเทวดาที่เป็นอัพภวลาหกก็มี (เกี่ยวเนื่องกับหมอก)
พวกเทวดาที่เป็นวาตวลาหกก็มี (เกี่ยวเนื่องกับลม)
พวกเทวดาที่เป็นวัสสวลาหกก็มี (เกี่ยวเนื่องกับฝน)
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกนี้เราเรียกว่า พวกเทวดา ซึ่งนับเนื่องในหมู่วลาหก(เมฆ)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 311
๘๐
เหตุให้เข้าถึงความเป็นสหายของ เทวดาซึ่งนับเนื่องใน หมู่ วลาหก(เมฆ)
ภิกษุ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติสุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาได้ฟังมา ว่า พวกเทวดาซึ่ง นับเนื่องในหมู่วลาหก มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เขาจึงมี ความปรารถนาอย่างนี้ว่า
“โอหนอ! เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความ เป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งนับเนื่องใน หมู่วลาหก”
เขาจึงให้ข้าว น้ํา ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่อง ตามประทีป ครั้นตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดา ซึ่งนับเนื่องใน หมู่วลาหก.
ภิกษุ! ข้อนี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บุคคล บางคนในโลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหาย ของพวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่วลาหก.
(ในสูตรถัดไป ได้ตรัสถึงการสร้างเหตุอย่างเดียวกัน แต่ว่าลงรายละเอียดไปในแต่ละ ประเภท ของเทวดา เหล่านี้ และเป็นที่น่าสังเกตว่า ในการเข้าถึงความเป็นสหายของ เทวดาเหล่านี้ ไม่ได้มีพุทธวจน ที่กล่าวถึงการสร้างเหตุ ที่มีเพียงการกระทํา กายสุจริต วจีสุจริตมโนสุจริตและการตั้งความปรารถนา เหมือนอย่างที่พบในเทวดาซึ่งนับเนื่อง ในหมู่คนธรรพ์ -ผู้รวบรวม)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 313
๘๑
เทวดาเหล่า มนาปกายิกา (เทวดา)
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอประทานวโรกาส วันนี้ ข้าพระองค์ไปยังวิหารที่พักกลางวัน หลีกเร้นอยู่ ครั้งนั้นแล เทวดา เหล่ามนาปกายิกามากมาย เข้ามาหาข้าพระองค์ ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วกล่าวกะข้าพระองค์ว่า
ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็น เทวดาชื่อว่า มนาปกายิกา มีอิสระ และอํานาจในฐานะ ๓ ประการ คือ
(๑) ข้าพเจ้าทั้งหลายหวังวรรณะเช่นใด ก็ได้วรรณะ เช่นนั้นโดยพลัน
(๒) หวังเสียงเช่นใด ก็ได้เสียงเช่นนั้นโดยพลัน
(๓) หวังความสุขเช่นใด ก็ได้ความสุขเช่นนั้นโดยพลัน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! มาตุคามประกอบด้วยธรรมเท่าไร เมื่อตายไป จึงเข้าถึงความ เป็น สหายของเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
อนุรุทธะ ! มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็น สหาย ของเทวดาเหล่า มนาปกายิกา.
ธรรม ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?
อนุรุทธะ !
(๑) มาตุคามในโลกนี้ ที่มารดาบิดาผู้มุ่งประโยชน์ แสวงหาความเกื้อกูล อนุเคราะห์ เอื้อเอ็นดูยอมยกให้แก่ชายใด ผู้เป็นสามีสําหรับซายนั้น เธอต้องตื่นก่อนนอน ภายหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ กล่าวถ้อยคําเป็นที่รัก
(๒) ชนเหล่าใดเป็นที่เคารพของสามี คือ มารดา บิดาหรือสมณพราหมณ์ เธอสักการะ เคารพนับถือบูชาชน เหล่านั้น และต้อนรับท่านเหล่านั้นผู้มาถึงแล้วด้วยอาสนะ และน้ำ
(๓) การงานใดเป็นงานในบ้านของสามี คือ เธอ เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงาน นั้น ประกอบด้วย ปัญญาอันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถจัดทําได้
(๔) ชนเหล่าใดเป็นคนภายในบ้านของสามี คือ ทาส คนใช้ หรือกรรมกร ย่อมรู้ว่า การงาน ที่เขาเหล่านั้น ทําแล้วและยังไม่ได้ทํา
(๕) ย่อมรู้อาการของคนภายในบ้านผู้เป็นไข้ว่า ดีขึ้นหรือทรุดลง
(๖) ย่อมแบ่งปันของกินของบริโภคให้แก่เขา ตามควร
(๗) สิ่งใดที่สามีหามาได้จะเป็นทรัพย์ ข้าว เงิน หรือทอง ย่อมรักษาคุ้มครองสิ่งนั้นไว้ และไม่เป็นนักเลง การพนัน ไม่เป็นขโมย ไม่เป็นนักดื่ม ไม่ผลาญทรัพย์ ให้พินาศ
(๘) เป็นอุบาสิกาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ เป็นผู้มีศีล งดเว้น จาก ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และการดื่มน้ําเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็น ผู้มีการบริจาค มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันซุ่ม ยินดี ในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจําแนกทาน
อนุรุทธะ ! มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความ เป็น สหาย ของเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
สุภาพสตรีผู้มีปรีชา ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี ผู้หมั่นเพียร ขวนขวายอยู่เป็นนิตย์ เลี้ยงตนอยู่ ทุกเมื่อ ทั้งให้ความปรารถนาทั้งปวง ไม่ยังสามีให้ขุ่นเคือง ด้วยถ้อยคําแสดงความ หึงหวง และย่อมบูชา ผู้ที่เคารพทั้งปวงของสามี เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน สงเคราะห์ คนข้างเคียงของสามี ประพฤติ เป็นที่พอใจของสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ นารีใด ย่อมประพฤติตามความชอบใจของสามีอย่างนี้ นารีนั้น ย่อมเข้าถึงความเป็น เทวดา เหล่ามนาปกายิกา
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 317
๘๒
เทวดาเข้าถือเอาพื้นที่
อานนท์ ! ใครหนอจะสร้างเมืองในปาฏลิคาม ?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สุนธะและวัสสการะอํามาตย์ ผู้ใหญ่ในมคธรัฐ จะสร้างเมือง ปาฏลิคาม เพื่อป้องกันพวกเจ้าวัชซี.
อานนท์! สุนธะและวัสสการะอํามาตย์ผู้ใหญ่ใน มคธรัฐจะสร้างเมืองในปาฏลิคาม เพื่อ ป้องกันพวกเจ้าวัชซี ก็เปรียบเหมือนท้าวสักกะทรงปรึกษากับพวกเทวดาชั้น ดาวดึงส์ ในที่นี้เราได้เห็นเทวดาเป็นอันมากนับเป็นพัน ๆ เข้าถือเอาพื้นที่ (ปริคคุณห) ในปาฏลิคาม ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ เข้าถือเอา พื้นที่ในส่วนใด จิตของพระราชาและราชมหาอํามาตย์ ผู้มีศักดิ์ใหญ่ก็ น้อมไป เพื่อสร้างนิเวศน์ในส่วนนั้น เทวดา ชั้นกลางเข้าถือเอาพื้นที่ในส่วนใด จิตของพระราชาและ ราชมหาอํามาตย์ชั้นกลาง ก็น้อมไปเพื่อสร้างนิเวศน์ใน ส่วนนั้น เทวดาชั้นต่ําเข้าถือเอาพื้นที่ในส่วนใด จิตของ พระราชาและราชมหาอํามาตย์ชั้นต่ํา ก็น้อมไปเพื่อสร้าง นิเวศน์ในส่วนนั้น
อานนท์ ! ที่นี้จักเป็นที่อยู่อันประเสริฐ เป็นทาง ค้าขายเป็นนครอันเลิศ ชื่อว่าปาฏลี บุตร เป็นที่แก้ห่อสินค้า แต่นครปาฏลีบุตรจักมีอันตราย ๓ ประการ คือ ไฟ น้ํา หรือการยุให้แตกพวก
มหา. ที่. ๑๐/๑๐/๘๒.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 319
๘๓
เหตุให้ได้ความเป็น จอมเทพ (เทวดาพรหมชั้นที่1 พรหมกายิกา)
ภิกษุทั้งหลาย !
ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็น มนุษย์อยู่ในกาลก่อน เป็นมาณพชื่อว่า มฆะ เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าวมฆวา
..ได้ให้ทานมาก่อน เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าวปุรินททะ
..ได้ให้ทานโดยเคารพ
เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าวสักกะ
..ได้ให้ที่พักอาศัย เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าววาสวะ
..ย่อมทรงคิดเนื้อความได้ตั้งพันโดยครู่เดียว เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าวสหัสนัยน์
..ทรงมีนางอสุรกัญญานามว่าสุชาเป็นปชาบดี เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าวสุซัมบดี
...เสวยรัชสมบัติเป็นอิสราธิบดีของเทวดาเหล่า ดาวดึงส์ เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า เทวานมันท
ภิกษุทั้งหลาย ! ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อยังเป็น มนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทานวัตร บท ๗ ประการ บริบูรณ์ เพราะเป็นผู้สมาทานวัตรบท ๗ ประการ จึงได้ถึง ความเป็น ท้าวสักกะ
วัตรบท ๗ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ
(๑) เราพึงเลี้ยงมารดาบิดาจนตลอดชีวิต
(๒) เราพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ใน ตระกูลจนตลอดชีวิต
(๓) เราพึงพูดวาจาอ่อนหวานตลอดชีวิต
(๔) เราไม่พึงพูดวาจาส่อเสียดตลอดชีวิต
(๕) เราพึงมีใจปราศจากความตระหนี้อันเป็น มลทิน อยู่ครองเรือน มีการบริจาคอัน ปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอยินดี ในการแจกจ่ายทาน ตลอดชีวิต
(๖) เราพึ่งพูดคําสัตย์ตลอดชีวิต
(๗) เราไม่พึ่งโกรธตลอดชีวิต ถ้าแม้ความโกรธ พึงเกิดขึ้นแก่เรา เราพึงกําจัดมันเสีย โดยฉับพลันทีเดียว
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 321
๘๔
การบูชาเทวดา
ตรัสแก่สุนธะและวัสสการะมหาอํามาตย์ภายหลังจากที่ พระองค์ได้ฉันของเคี้ยว และของฉัน อันประณีตที่ทั้ง ๒ ได้ถวายด้วย มือของตนแล้ว ด้วยคาถาว่า
บุรุษซาติบัณฑิต ย่อมสําเร็จการอยู่ในประเทศใดพึงเชิญท่านผู้มีศีล ผู้สํารวมและ ประพฤติ พรหมจรรย์ ให้บริโภคในประเทศนั้นควรอุทิศทักษิณา เพื่อเทวดาผู้สถิต อยู่ในที่นั้น ๆ
เทวดาเหล่านั้นอันบุรุษซาติบัณฑิตนับถือบูชาแล้ว ย่อมนับถือบูชาตอบแต่นั้นย่อม อนุเคราะห์ บุรุษซาติบัณฑิตนั้น ประหนึ่ง มารดาอนุเคราะห์บุตรบุรุษผู้อันเทวดา อนุเคราะห์แล้ว ก็ย่อมเห็นความเจริญทุกเมื่อ (๔)
มหา. ที. ๑๐/๑๐๕/๘๔.
-------------------------------------------------------------
๔. สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับทักษิณาได้ที่ภาคผนวก.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 322
๘๕
การบูชาที่จัดเป็นการบูชาอย่างสูงสุด
อานนท์! เธอจงจัดตั้งที่นอน ระหว่างต้นสาละคู่ มีศีรษะทางทิศเหนือ เราลําบากกาย นัก จักนอน.
(ประทับสีหไสยยาแล้ว มีอัศจรรย์ ดอกสาละผลิผิดฤดูกาล โปรยลงบนพระสรีระ ดอก มณฑารพ จูรณ์ไม้จันทน์ ดนตรีล้วนแต่ ของทิพย์ได้ตกลงและบรรเลงขึ้น เพื่อบูชาตถาคตเจ้า)
อานนท์ ! การบูชาเหล่านี้ หาชื่อว่า ตถาคตเป็น ผู้ที่ได้รับสักการะ เคารพนับถือบูชา แล้วไม่.
อานนท์ ! ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาใด ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมสักการะ เคารพนับถือ บูชาตถาคต ด้วยการ บูชาอันสูงสุด
อานนท์ ! เพราะฉะนั้นเธอจึงกําหนดใจว่า
“เราจักประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติ ชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่” ดังนี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้า 323
๘๖
ทางเพื่อความเป็นสหายแห่งพรหม
มาณพ ! ก็ทางเพื่อความเป็นสหายแห่งพรหม เป็นอย่างไรเล่า ?
มาณพ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีจิตประกอบด้วย เมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือน อย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวาง เธอแผ่ไป ตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบ ด้วยเมตตา เป็นจิตไพบูลย์ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แล้วแลอยู่ เมื่อ เมตตาเจโตวิมุตติ(๑) อันภิกษุนั้นเจริญแล้วอย่างนี้ กรรมชนิดที่ทํา อย่างมีขีด จํากัด ย่อมไม่มีเหลืออยู่ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น
มาณพ ! เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้มีกําลัง ย่อม เป่าสังข์ให้ได้ยินได้ทั้งสี่ทิศ โดย ไม่ยาก ฉันใด ในเมตตา เจโตวิมุตติ(ที่เจริญแล้วอย่างนี้ กรรมชนิดที่ทําอย่างมีขีด จํากัด ย่อมไม่มีเหลืออยู่ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น แม้ข้อนี้ ก็เป็นทาง เพื่อความเป็น สหายแห่งพรหม.
----------------------------------------------------------------------------
๑. เมตตาเจโตวิมุตติ : การหลุดพ้นโดยการเจริญเมตตา แล้วเห็นอริยสัจ ๔.
----------------------------------------------------------------------------
มาณพ ! อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีจิตประกอบด้วย กรุณา ....
มาณพ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีจิตประกอบด้วย มุทิตา ...
มาณพ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีจิตประกอบด้วย อุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือน อย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวาง เธอแผ่ไป ตลอด โลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วย อุเบกขา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวรไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่ เมื่อ อุเบกขาเจโตวิมุตติ(๑) อันภิกษุนั้นเจริญแล้วอย่างนี้ กรรมชนิดที่ทํา อย่างมีขีดจํากัด ย่อมไม่มีเหลืออยู่ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น
มาณพ ! เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้มีกําลังย่อม เป่าสังข์ให้ได้ยินได้ทั้งสี่ทิศ โดย ไม่ยาก ฉันใด ในอุเบกขาเจโตวิมุตติ ที่เจริญแล้วอย่างนี้ กรรมชนิดที่ทํา อย่างมีขีด จํากัด ย่อมไม่มีเหลืออยู่ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น แม้ข้อนี้ ก็เป็นทาง เพื่อความเป็น สหายแห่งพรหม.
ม. ม. ๑/๖๖๔/๗๓o.
๑. อุเบกขาเจโตวิมุตติ : การหลุดพ้นโดยการเจริญอุเบกขา แล้วเห็นอริยสัจ ๔.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
|