คำนำ
หนังสือ “พุทธวจน ฉบับ ก้าวย่างอย่างพุทธะ”ได้จัดทำขึ้น ด้วยปรารภ เหตุที่ว่า หลายคนยังเห็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เป็นสิ่งที่ยาก หรือเป็นสิ่งที่ไกล ตัวเกินไป ทำให้มีน้อยคนนักที่จะหันมาใส่ใจศึกษาคำสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้า อย่างจริงจังทั้งๆ ที่พระองค์ได้ตรัสไว้แล้วว่า
คำสอนที่พระองค์ตรัสสอนทั้งหมดนั้น บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้วสิ้นเชิง อีกทั้งคำสอน นั้น ยังเป็นสิ่งที่เรียกว่า“อกาลิโก” คือใช้ได้ไปตลอด ไม่มีคำว่าเก่าหรือ ล้าสมัย และใช้ได้ กับบุคคลทุกคน อันจะเห็นได้จากในสมัยพุทธกาล ที่พุทธบริษัท๔ ทั้งหลายนั้น มีคนจากหลายชาติและวรรณะ นอกจากนี้พระองค์ ยังได้ตรัสอีกว่า บุคคลที่ ท่านตรัสสอนนั้นมีตั้งแต่ พรหม เทวดา ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไป จนถึงปุถุชน คนธรรมดาทั่วไป และทุกคนนั้น เมื่อนำคำสอน ของพระองค์ไปปฏิบัติแล้ว ก็สามารถ แก้ทุกข์หรือดับทุกข์ให้กับตนเองได้ทั้งสิ้น.
คณะงานธัมมะ วัดนาป่าพง
กันยายน ๒๕๕๔
.................................................................................................................................................
หน้า 1
๑
มนุษย์เป็นอันมากได้ยึดถือเอาที่พึ่งผิดๆ
มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกความกลัวคุกคามเอาแล้ว ย่อมยึดถือเอาภูเขาบ้าง ป่าไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์บ้างสวนศักดิ์สิทธิ์บ้าง รุกขเจดีย์บ้าง ว่าเป็นที่พึ่งของตนๆ นั่นไม่ใช่ ที่พึ่ง อันทำความเกษมให้ได้เลย นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด ผู้ใดถือเอา สิ่งนั้นๆ เป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้.
ส่วนผู้ใด ที่ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งแล้ว เห็นอริยสัจทั้งสี่ ด้วยปัญญา อันถูกต้องคือ เห็นทุกข์ เห็นเหตุเป็นเครื่องให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เห็นความก้าวล่วง เสียได้ซึ่งทุกข์ และเห็นมรรคประกอบ ด้วยองค์แปด อันประเสริฐ ซึ่งเป็นเครื่องให้ถึง ความเข้าไปสงบรำงับแห่งทุกข์ นั่นแหละคือ ที่พึ่งอันเกษม นั่นคือที่พึ่งอันสูงสุด ผู้ใดถือเอาที่พึ่งนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นไปจาก ทุกข์ทั้งปวง ได้แท้.
หน้า 3
๒
สัตว์เกิดกลับมาเป็นมนุษย์มีน้อย เพราะไม่รู้อริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ฝุ่นนิดหนึ่ง ที่เราช้อนขึ้ นด้วยปลายเล็บนี้กับมหาปฐพีนี้ ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดินที่มากกว่า.
ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ทรงช้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้เป็นของมีประมาณน้อย. ฝุ่นนั้น
เมื่อนำเข้าไปเทียบกับมหาปฐพีย่อมไม่ถึงซึ่งการคำนวณได้ เปรียบเทียบได้ ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งกะละภาค (ส่วนเสี้ยว)”.
ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี่ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สัตว์ที่เกิดกลับมาสู่หมู่มนุษย์ มีน้อย สัตว์ที่เกิดกลับมาเป็นอย่างอื่นจากหมู่มนุษย์ มีมากกว่าโดยแท้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้น เพราะความที่สัตว์เหล่านั้น ไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่.
อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่าง คือ
อริยสัจคือ ทุกข์
อริยสัจคือ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
อริยสัจคือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
อริยสัจคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรม1 อันเป็นเครื่อง กระทำให้รู้ว่า ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.
โยคกรรม คือ การกระทำอย่างเป็นระบบ.
หน้า 5
3
การรู้อริยสัจเป็นของไม่เหลือวิสัยพระอริยบุคคล จึงมีปริมาณมาก
วัจฉะ ! ภิกษุ ผู้สาวกของเรา บรรลุเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ได้กระทำให้แจ้งแล้ว ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามากโดยแท้.
วัจฉะ ! ภิกษุณี ผู้สาวิกาของเรา บรรลุเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ได้กระทำให้แจ้งแล้ว ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามากโดยแท้.
วัจฉะ ! อุบาสก ผู้สาวกของเรา พวกเป็นคฤหัสถ์นุ่งขาว อยู่ประพฤติกับผู้ ประพฤติ พรหมจรรย์ เป็น โอปปาติกะ (อนาคามี) มีปกติปรินิพพานในภพ ที่ไปเกิดนั้น ไม่เวียน กลับจากภพนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่ง สัญโญชน์ มีส่วนในเบื้องต่ำห้าอย่าง ก็มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามากโดยแท้.
วัจฉะ ! อุบาสก ผู้สาวกของเรา พวกเป็นคฤหัสถ์นุ่งขาว ยังบริโภคกาม เป็นผู้ทำตาม คำสอนเป็นผู้ สนองโอวาท มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว ไม่ต้องกล่าวด้วยความ สงสัยว่า นี่อะไรๆ เป็นผู้ปราศจากความครั่นคร้าม ไม่ใช่ผู้ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสนา ของพ ระศาสดา ก็มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียวฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามากโดยแท้.
วัจฉะ ! อุบาสิกา ผู้สาวิกาของเรา พวกเป็นหญิงคฤหัสถ์นุ่งขาว อยู่ประพฤติ กับผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ เป็นโอปปาติกะ (อนาคามี) มีปกติปรินิพพานในภพ ที่ไปเกิดนั้น ไม่เวียนกลับจากภพนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่ง สัญโญชน์ มีส่วนในเบื้องต่ำห้าอย่าง ก็มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก โดยแท้.
วัจฉะ ! อุบาสิกา ผู้สาวิกาของเรา พวกเป็นหญิงคฤหัสถ์นุ่งขาว ยังบริโภคกาม เป็นผู้ ทำตามคำสอนเป็นผู้ สนองโอวาท มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว ไม่ต้องกล่าว ด้วยความสงสัยว่า นี่อะไรๆ เป็นผู้ปราศจากความครั่นคร้าม ไม่ใช่ผู้ต้องเชื่อตามคำ ของผู้อื่น อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสนา ของ พระศาสดา ก็มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียวฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามากโดยแท้.
หน้า 8
4
ให้พึ่งตน พึ่งธรรม
อานนท์ ! เราได้กล่าวเตือนไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า “ความเป็นต่างๆ ความ พลัดพราก ความเป็นอย่างอื่นจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ย่อมมี อานนท์ ! ข้อนั้นจักได้มา แต่ไหนเล่า สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแล้ว มีความชำรุดไปเป็นธรรมดา สิ่งนั้นอย่าชำรุดไปเลยดังนี้ ข้อนั้น ย่อมเป็นฐานะ ที่มีไม่ได้”.
อานนท์ ! เปรียบเหมือนเมื่อต้นไม้ใหญ่ มีแก่นเหลืออยู่ ส่วนใดเก่าคร่ำ กว่าส่วนอื่น ส่วนนั้นพึงย่อยยับไปก่อน ข้อนี้ ฉันใด
อานนท์ ! เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่มีธรรมเป็นแก่นสารเหลืออยู่ สารีบุตรปรินิพพาน ไปแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน.
อานนท์ ! ข้อนั้นจักได้มาแต่ไหนเล่า สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัย ปรุงแล้ว มีความชำรุดไปเป็นธรรมดา สิ่งนั้นอย่าชำรุดไปเลยดังนี้ ข้อนั้น ย่อมเป็นฐานะที่มี ไม่ได้.
อานนท์ ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้
พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป
มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ
จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ
ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ.
อานนท์ ! ภิกษุ มีตนเป็นประทีป มีตนเป็น
สรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป
มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเนืองๆอยู่
พิจารณาเห็นจิต ในจิตเนืองๆ อยู่
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเนืองๆอยู่
มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
อานนท์ ! ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่ามีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่น เป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเป็นอยู่.
อานนท์ !
ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตามจักต้องมีตน เป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็น สรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่.
อานนท์ !
ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะ อันเลิศที่สุด. ตรัสแก่ท่านพระอานนท์ ผู้เศร้าสลดในข่าวการปรินิพพาน ของท่านพระสารีบุตร ซึ่งจุนทสามเณร นำมาบอกเล่า ที่พระอารามเชตวัน ใกล้นครสาวัตถี.
หน้า 11
๕
ฉบับ ๓ ก้าวย่างอย่างพุทธะ ผู้ไม่หลงเอาสิ่งอื่นมาเป็นแก่น
ภิกษุทั้งหลาย ! พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะและเสียงเยินยอเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้มิใช่มีความถึงพร้อมด้วยศีลเป็นอานิสงส์ พรหมจรรย์นี้มิใช่ มีความถึง พร้อมด้วยสมาธิเป็น อานิสงส์ พรหมจรรย์นี้มิใช่มีความถึงพร้อม ด้วยญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ เจโตวิมุตติ1 ที่ไม่กำเริบอันใดมีอยู่ พรหมจรรย์นี้มีสิ่งนั้นนั่น แหละเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย เป็นแก่นสาร เป็นผลสุดท้ายของพรหมจรรย์แล.
1. เจโตวิมุตติ คือ การบรรลุอรหัตตผลโดยมีน้ำหนักของการทำสมาธิ มากกว่าการกระทำด้านอื่นๆ. แบบของการหลุดพ้นยังมีอย่างอื่นอีก เช่น สัทธาวิมุตติ ปัญญาวิมุตติเป็นต้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการด้วยแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้ เที่ยวค้นหา แก่นไม้ จนถึงต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว ตัดเอาแก่นถือไปด้วย มั่นใจว่า‘นี่เป็นแก่นแท้’ ดังนี้.
บุรุษมีตาดี เห็นคนนั้นเข้าแล้ว ก็กล่าวว่า “ผู้เจริญคนนี้ ช่างรู้จักแก่น รู้จักกระพี้ รู้จักเปลือกสด รู้จักสะเก็ดแห้งตามผิวเปลือก รู้จักใบอ่อนที่ปลายกิ่ง.
จริงดังว่า ผู้เจริญคนนี้ ต้องการแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้ เที่ยวค้นหาแก่นไม้ จนถึง ต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้วก็ตัดเอาแก่นแท้ถือไปด้วยมั่นใจว่า ‘นี่ เป็นแก่นแท้’ ดังนี้.
สิ่งที่เขาจะต้องทำด้วยแก่นไม้ จักสำเร็จประโยชน์เป็นแท้”ดังนี้.
หน้า 13
๖
จะเกิดในตระกูลสูงหรือต่ำก็สามารถทำนิพพานให้แจ้งได้
อานนท์ ! ในกรณีแห่ง อภิชาติ ๖ นี้ คือ
คนบางคนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมดำ ๑
บางคนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมขาว ๑
บางคนมีชาติดำ ก่อให้เกิดนิพพาน (ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ) อันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว ๑
บางคนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมดำ ๑
บางคนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมขาว ๑
บางคนมีชาติขาว ก่อให้เกิดนิพพาน อันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว ๑
อานนท์ ! คนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมดำ เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! คนบางคนในกรณีนี้ เกิดในตระกูลต่ำคือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลพราน ตระกูลจักสาน ตระกูลทำรถ หรือตระกูลเทหยากเยื่อ ซึ่งเป็นคนยากจน มีข้าว และ น้ำน้อยเป็นอยู่ฝืดเคือง มีอาหารและเครื่องนุ่งห่ม หาได้โดยยากเขาเป็นผู้มี ผิวพรรณ ทราม ไม่น่าดู เตี้ยค่อม ขี้โรค ตาบอดง่อย กระจอก มีตัวตะแคงข้าง ไม่ค่อยจะมีข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่อยู่ และประทีป โคมไฟ
เขาก็ยังประพฤติกายทุจริตวจีทุจริต มโนทุจริต ครั้นประพฤติทุจริตแล้ว เบื้องหน้า แต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก.
อย่างนี้แล อานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติดำก่อให้เกิดธรรมดำ.
อานนท์ ! คนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมขาวเป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! คนบางคนในกรณีนี้ เกิดในตระกูลต่ำคือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลพราน ... ฯลฯ ... มีอาหารและเครื่องนุ่งห่มหาได้โดยยาก มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู... ฯลฯ ... ไม่ค่อยจะมีข้าว น้ำ ...ฯลฯ ... ประทีปโคมไฟ เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตครั้นประพฤติสุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่การตาย เพราะการ ทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. อย่างนี้แล
อานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมขาว.
อานนท์ ! คนมีชาติดำ ก่อให้เกิดนิพพาน อันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! คนบางคนในกรณีนี้ เกิดในตระกูลต่ำคือ ตระกูล จัณฑาล ตระกูลพราน ... ฯลฯ ... มีผิวพรรณทรามไม่น่าดู เตี้ยค่อม. เขาปลงผม และหนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีประโยชน์ เกี่ยวข้อง ด้วยเรือน.
เขานั้น ครั้นบวชแล้วอย่างนี้ ละนิวรณ์ทั้งห้า อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต ทำปัญญา ให้ถอยกำลังได้แล้ว มีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐานทั้งสี่ ยังโพชฌงค์เจ็ด ให้เจริญแล้ว ตามที่เป็นจริง ชื่อว่าย่อมก่อให้เกิดนิพพานอันเป็นธรรม ไม่ดำ ไม่ขาว. อย่างนี้แล อานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติดำก่อให้เกิดนิพพาน อันเป็น ธรรมไม่ดำไม่ขาว.
อานนท์ ! คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมดำ เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! คนบางคนในกรณีนี้ เกิดในสกุลสูงคือ สกุลกษัตริย์มหาศาล สกุล พราหมณ์มหาศาล หรือสกุลคหบดีมหาศาล อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและ เงิน พอตัว มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์พอตัว มีทรัพย์และข้าวเปลือกพอตัว เขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใสประกอบด้วยความเกลี้ยงเกลา แห่งผิวพรรณ อย่างยิ่ง ร่ำรวยด้วยข้าว ด้วยน้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีป โคมไฟ เขาประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ครั้นประพฤติทุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.
อย่างนี้แลอานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมดำ.
อานนท์ ! คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมขาวเป็นอย่างไรเล่า?
อานนท์ ! คนบางคนในกรณีนี้ เกิดในสกุลสูงคือ สกุลกษัตริย์มหาศาล สกุลพราหมณ์ มหาศาล ... ฯลฯ ...มีทรัพย์และข้าวเปลือกพอตัว มีรูปงาม ... ฯลฯ ... ร่ำรวยด้วยข้าว ด้วยน้ำ ... ฯลฯ ... ประทีปโคมไฟ เขาประพฤติกาย สุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ครั้นประพฤติสุจริตแล้วเบื้องหน้าแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์. อย่างนี้แล อานนท์ ! เรียกว่าคนมีชาติขาว ก่อให้เกิด ธรรมขาว.
อานนท์ ! คนชาติขาว ก่อให้เกิดนิพพานอันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! คนบางคนในกรณีนี้ เกิดในสกุลสูงคือ สกุลกษัตริย์ มหาศาล สกุลพราหมณ์ มหาศาล ... ฯลฯ ...มีทรัพย์และข้าวเปลือกพอตัว มีรูปงาม ... ฯลฯ ... ร่ำรวยด้วยข้าวด้วยน้ำ ... ฯลฯ ... ประทีปโคมไฟ เขาปลงผมและหนวด ครองผ้า ย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มี ประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยเรือน.
เขานั้น ครั้นบวชแล้วอย่างนี้ ละนิวรณ์ทั้งห้า อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญา ให้ถอยกำลังได้แล้วมีจิตตั้งมั่นดีในสติ ปัฏฐานทั้งสี่ ยังโพชฌงค์เจ็ด ให้เจริญแล้วตามที่ เป็นจริง ชื่อว่าย่อมก่อให้เกิด นิพพานอันเป็นธรรมไม่ดำ ไม่ขาว.
อย่างนี้แล
อานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดนิพพานอันเป็นธรรม ไม่ดำ ไม่ขาว.
อานนท์ ! เหล่านี้แล อภิชาติ ๖ ชนิด.
หน้า 18
๗
รายชื่อแห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งการขูดเกลา
จุนทะ ! สัลเลขธรรม (ความขูดเกลา) เป็นสิ่งที่เธอทั้งหลายพึงกระทำ ในธรรมทั้งหลายเหล่านี้ กล่าวคือ
ทำสัลเลขะว่า
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้เบียดเบียนเราจักเป็นผู้ ไม่เบียดเบียน
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น กระทำปาณาติบาตเราจัก เว้นขาดจากปาณาติบาต
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น กระทำอทินนาทานเราจัก เว้นขาดจากอทินนาทาน
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น ไม่ประพฤติพรหมจรรย์เราจักเป็น ผู้ประพฤติรหมจรรย์
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น พูดเท็จเราจัก เว้นขาดจากการพูดเท็จ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น พูดส่อเสียดเราจัก เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น พูดคำหยาบเราจัก เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น พูดเพ้อเจ้อเราจัก เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มากด้วยอภิชฌาเราจักเป็น ผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีจิตพยาบาทเราจักเป็น ผู้ไม่มีจิตพยาบาท
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาทิฏฐิเราจักเป็น ผู้มีสัมมาทิฏฐิ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาสังกัปปะเราจักเป็น ผู้มีสัมมาสังกัปปะ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาวาจาเราจักเป็น ผู้มีสัมมาวาจา
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉากัมมันตะ เราจักเป็น ผู้มีสัมมากัมมันตะ;
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาอาชีวะเราจักเป็น ผู้มีสัมมาอาชีวะ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาวายามะเราจักเป็น ผู้มีสัมมาวายามะ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาสติเราจักเป็น ผู้มีสัมมาสติ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาสมาธิเราจักเป็น ผู้มีสัมมาสมาธิ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาญาณะเราจักเป็น ผู้มีสัมมาญาณะ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาวิมุตติเราจักเป็น ผู้มีสัมมาวิมุตติ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีถีนมิทธะกลุ้มรุมเราจักเป็น ผู้ปราศจากถีนมิทธะ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ฟุ้งซ่านเราจักเป็นผู้ ไม่ฟุ้งซ่าน
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีวิจิกิจฉาเราจักเป็นผู้ ข้ามพ้นวิจิกิจฉา
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ มักโกรธเราจักเป็น ผู้ไม่มักโกรธ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ผูกโกรธเราจักเป็น ผู้ไม่ผูกโกรธ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ลบหลู่คุณเราจักเป็น ผู้ไม่ลบหลู่คุณ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ แข่งดีเราจักเป็น ผู้ไม่แข่งดี
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ริษยาเราจักเป็น ผู้ไม่ริษยา
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ตระหนี่เราจักเป็น ผู้ไม่ตระหนี่
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ โอ้อวดเราจักเป็น ผู้ไม่โอ้อวด
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ มีมารยาเราจักเป็น ผู้ไม่มีมารยา
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ กระด้างเราจักเป็น ผู้ไม่กระด้าง
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ดูหมิ่นท่านเราจักเป็น ผู้ไม่ดูหมิ่นท่าน
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ว่ายากเราจักเป็น ผู้ว่าง่าย
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ มีมิตรชั่วเราจักเป็น ผู้มีมิตรดี
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ประมาทเราจักเป็น ผู้ไม่ประมาท
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ไม่มีศรัทธาเราจักเป็น ผู้มีศรัทธา
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ไม่มีหิริเราจักเป็น ผู้มีหิริ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ไม่มีโอตตัปปะเราจักเป็น ผู้มีโอตตัปปะ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ มีสุตะน้อยเราจักเป็น ผู้มีสุตะมาก
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ขี้เกียจเราจักเป็น ผู้ปรารภความเพียร
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ มีสติหลงลืมเราจักเป็น ผู้มีสติตั้งมั่น
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ มีปัญญาทรามเราจักเป็น ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ลูบคลำด้วยทิฏฐิของตน เป็นผู้ยึดถืออย่างเหนียวแน่น และเป็นผู้ยากที่จะสลัดคืน ซึ่งอุปาทานเราจักเป็นผู้ ไม่ลูบคลำด้วยทิฏฐิของตน เป็นผู้ไม่ยึดถืออย่างเหนียวแน่น และเป็นผู้ง่ายที่จะ สลัดคืนซึ่งอุปาทาน.
หน้า 24
๘
ความทุกข์ของเทวดาและมนุษย์ตามธรรมชาติ
ภิกษุทั้งหลาย ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายมีรูปเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในรูป บันเทิงแล้วในรูปย่อม อยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน จางคลายดับไปแห่ง รูป.
(ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ก็ตรัส อย่างเดียวกัน).
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนตถาคตอรหันตสัมมา-สัมพุทธะ รู้แจ้งความเกิด ความตั้งอยู่ ไม่ได้ รสอร่อยโทษและอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ตามเป็นจริง ไม่มีรูปเป็น ที่มายินดี ไม่ยินดีในรูป ไม่บันเทิงในรูป ยังคงอยู่เป็นสุขแม้เพราะ ความแปรปรวน จางคลาย ดับไปแห่งรูป.
(ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกัน).
หน้า 25
๙
เป็นทุกข์เพราะติดอยู่ในอายตนะ
ภิกษุทั้งหลาย ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายมีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รื่นรมย์ใจ ยินดีแล้วในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะธรรมารมณ์ บันเทิงด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะธรรมารมณ์.
ภิกษุทั้งหลาย ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความเปลี่ยน แปลง เสื่อมสลายและความดับไปของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะธรรมารมณ์.
|