เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ             

  สกทาคามี-พุทธวจน ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  1 of 4  
 
  สกทาคามี พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
       
     คำนำ    
  1. สมณะบุณฑริก (สกทาคามี) 2  
  2. สกทาคามีในภพมนุษย 4  
  3. สกทาคามี เปรียบได้กับ บุคคลผู้ว่ายเข้าหาฝั่ง 7  
  4. เป็นสกทาคามี ได้กายชั้นดุสิต 11  
  5. ความเป็นอริยบุคคล กับอินทรีย์ ๕ 13  
  6. เอกพีชี อินทรีย์ ๕ อ่อนกว่า สกทาคามี 14  
  7. ความเป็นอริยบุคคล กับการละสังโยชน์ (บุคคล ๔ จำพวก) 16  
  8. สังโยชน์ ๑๐ 19  
  9. ความเป็นอริยบุคคล กับการละกามโยคะและภวโยคะ(บุคคล ๓ จำพวก) 20  
  10 . ความเป็นอริยบุคคล กับสิกขา ๓ 21  
  11 . สิกขา ๓ 24  
  12 . ผู้ที่ต้องศึกษาสิกขา ๓ 26  
  13 . บุคคลที่มีเชื้อเหลือ แต่พ้นทุคติ 27  
  14 . บุคคลผู้พ้นทุคติ หรือไม่ไปทุคติ 31  
       
 
 




สกทาคามี

คำนำ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยคนตกน้ำ ๗ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๗ จำพวกอะไรบ้าง คือ

(1) บุคคลบางคนในโลกนี้ จมลงคราวเดียวแล้วก็เป็นอันจมอยู่นั่นเอง
(2) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว กลับจมลงไปอีก
(3) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว ทรงตัวอยู่
(4) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว เหลียวดูรอบๆ
(5) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว ว่ายหาฝั่ง
(6) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว เข้ามาถึงที่ตื้น
(7) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว ข้ามถึงฝั่ง เป็นพราหมณ์อยู่บนบก

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว ว่ายหาฝั่งเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ในโลกนี้ โผล่ขึ้นมาแล้ว คือ เขามีศรัทธาดี หิริดี โอตตัปปะดี วิริยะดี และปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

เขายังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้ ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติ ไม่ได้ ยังละ สังโยชน์อันเป็น ปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้ แต่เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เขาเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

จุนทะ เราไม่แสดงธรรมเพื่อเป็นเครื่องปิดกั้นอาสวะทั้งหลาย ที่เป็นไปในปัจจุบัน แก่พวกเธอ อย่างเดียว เท่านั้นจุนทะ อนึ่ง เราไม่ได้แสดงธรรม เพื่อเป็นเครื่อง กำจัดอาสวะทั้งหลาย ที่เป็นไปในสัมปรายะ อย่างเดียวเท่านั้น จุนทะแต่เรา แสดงธรรม เพื่อเป็นเครื่องปิดกั้นอาสวะ ทั้งหลาย ที่เป็นไปในปัจจุบันด้วย เพื่อเป็นเครื่องกำจัดอาสวะทั้งหลาย ที่เป็นไปในสัมปรายะ ด้วย.

ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจรวมเข้าไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงฟังธรรม สมัยนั้นนิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ และโพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

พุทธวจน ฉบับ สกทาคามี จึงเป็นการรวบรวมสุตะที่เป็นตถาคตภาษิต อันเป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่อง สุญญตา เพื่อบรรเทาความสงสัย ในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย อันเกี่ยวกับ อริยบุคคล ผู้จะกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียว เท่านั้น แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ และเมื่อกระทำกาละ แล้ว ย่อมพ้นจากนรกพ้นจากกำเนิด เดรัจฉาน พ้นจาก เปรตวิสัย พ้นจากอบายทุคติ และวินิบาต.

อันจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ที่ได้เข้ามาศึกษา จะได้ทราบถึงสัจจะ ความจริง ที่ตถาคตอรหันตสัมมา-สัมพุทธะได้บอก แสดง บัญญัติ เปิดเผย จำแนกแจกแจงกระทำให้ เข้าใจได้ง่าย ซึ่งข้อปฏิบัติเพื่อความเป็นสกทาคามี.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เชื่อมั่นในเราบุคคลเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้สมบูรณ์ ด้วยทิฏฐิ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ เหล่านั้น ๕ จำพวก สำเร็จในโลกนี้และ ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้วจึงสำเร็จ.

คณะงานธัมมะ วัดนาป่าพง

...........................................................................................................................................


สกทาคามี

2


1
สมณะบุณฑริก (สกทาคามี)
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๑๖/๘๘.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้1 มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกอะไรบ้าง คือ
(1) สมณะมจละ (สมณะผู้ไม่หวั่นไหว)
(2) สมณะบุณฑริก (บัวขาว)
(3) สมณะปทุมะ (บัวชมพู)
(4) สมณะสุขุมาล (ผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ)

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นโสดาบัน เพราะ สังโยชน์ ๓ สิ้นไปมีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง จะตรัสรู้ได้ในกาลเบื้องหน้า บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะบุณฑริกเป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นสกทาคามี เพราะ สังโยชน์ ๓ สิ้นไปและเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง (ราคโทสโมหานํ ตนุตฺตา) จะมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจะทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้บุคคล เป็นสมณะ บุณฑริกเป็นอย่างนี้แล.

1. ใน -บาลี ปา. ที. ๑๑/๑๙๓/๒๗๗. มีการเรียงตำแหน่งของลำดับที่ ๒ และ ๓ ต่างออกไปดังนี้ คือ สมณะมจละ สมณะปทุมะ สมณะปุณฑรีกะ สมณะสุขุมาล.-ผู้รวบรวม

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะปทุมะเป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นโอปปาติกะ เพราะ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลก นั้นเป็นธรรมดา บุคคลเป็นสมณะปทุมะเป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะสุขุมาล เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันย่งิ เองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ บุคคลเป็นสมณะสุขุมาล เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

4

2
สกทาคามีในภพมนุษย์
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๑๙๑/๒๘๔.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบริษัทนี้ ไม่เหลวไหลเลย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบริษัทนี้ ไม่เหลวแหลกเลย ภิกษุบริษัทนี้ตั้งอยู่แล้วในธรรมที่เป็นสาระล้วน.

ภิกษทั้งหลาย บริษัทเช่นใด มีลักษณะเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของ ต้อนรับ ควรแก่ของ ทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญ อื่นยิ่งกว่าหมู่ภิกษุนี้ก็มี ลักษณะเช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ ก็มีลักษณะเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นใด มีลักษณะที่ทานอันบุคคลให้น้อย แต่กลับมีผลมาก ทานที่ให้มาก ก็มีผลมากทวียิ่งขึ้น หมู่ภิกษุนี้ก็มีลักษณะเช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ ก็มีลักษณะเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นใด มีลักษณะยากที่ชาวโลกจะได้เห็น หมู่ภิกษุนี้ก็มี ลักษณะเช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ก็มีลักษณะเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นใด มีลักษณะที่ควรจะไปดูไปเห็น แม้จะต้องเดิน สิ้นหนทางนับด้วยโยชน์ๆ ถึงกับต้องเอาห่อเสบียงไปด้วยก็ตาม หมู่ภิกษุนี้ ก็มีลักษณะเช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ ก็มีลักษณะเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งเป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว มีภาระปลงลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนเองบรรลุแล้ว โดยลำดับ มีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ทั่วถึงโดยชอบ พวกภิกษุแม้เห็น ปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็น โอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ก็มีอยู่ ในหมู่ภิกษุนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งสิ้นสังโยชน์ ๓ และ เพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง (ราคโทสโมหานํตนุตฺตา) เป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้ อีกครั้งเดียว เท่านั้น แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งสิ้นสังโยชน์ ๓ เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง จะตรัสรู้ได้ในกาลเบื้องหน้า พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งประกอบความเพียร เป็นเครื่องต้องทำ เนืองๆ ในการอบรม สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อสุภะ อนิจจสัญญา และอานาปานสติ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.

(เนื้อความของพระสูตรนี้ได้นำมาใส่ไว้โดยย่อ ด้วยเพื่อให้เห็นการกล่าวถึง สกทาคามี ที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้ที่สนใจสามารถอ่านเนื้อความเต็มได้จากพระสูตร. -ผู้รวบรวม)

7

3
สกทาคามี เปรียบได้กับบุคคลผู้ว่ายเข้าหาฝั่ง
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐/๑๕.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยคนตกน้ำ ๗จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๗ จำพวกอะไรบ้าง คือ
(1) บุคคลบางคนในโลกนี้ จมลงคราวเดียวแล้วก็เป็นอันจมอยู่นั่นเอง
(2) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว กลับจมลงไปอีก
(3) บางคนโผลขึ่น้ มาแลว้ ทรงตวั อยู่
(4) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว เหลียวดูรอบๆ
(5) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว ว่ายหาฝั่ง
(6) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว เข้ามาถึงที่ตื้น
(7) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว ข้ามถึงฝั่ง เป็นพราหมณ์อยู่บนบก

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่จมลงคราวเดียวแล้ว ก็เป็นอันจมอยู่นั่นเอง เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยอกุศลธรรมฝ่ายดำ โดยส่วนเดียว ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่จมลงคราวเดียวแล้วก็เป็นอันจมอยู่นั่นเอง เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว กลับจมลงไปอีกเป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว คือ เขามีศรัทธาดี หิริดี โอตตัปปะดี วิริยะดี และปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ ศรัทธา หิริโอตตัปปะ วิริยะ และปัญญาของเขานั้น ไม่ตั้งอยู่นาน ไม่เจริญขึ้น เสื่อมไปฝ่ายเดียว ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว กลับจมลงไปอีกเป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว ทรงตัวอยู่เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว คือ เขามีศรัทธาดี หิริดี โอตตัปปะดี วิริยะดี และ ปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย ส่วนศรัทธา หิริ โอตตัปปะวิริยะ และปัญญาของเขานั้น ไม่เสื่อมลง ไม่เจริญขึ้นคงที่อยู่ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว ทรงตัวอยู่เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว เหลียวดูรอบๆ เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว คือ เขามีศรัทธาดี หิริดี โอตตัปปะดี วิริยะดี และ ปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เขาเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง จะตรัสรู้ได้ ในกาลเบื้องหน้า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว เหลียวดูรอบๆ เป็นอย่างนี้ แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว ว่ายหาฝั่งเป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นมาแล้ว คือ เขามีศรัทธาดี หิริดี โอตตัปปะดี วิริยะดี และปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไปและเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เขาเป็นสกทาคามี จะมาสู่โลกนี้ อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจะทำที่สดุ แห่งทุกข์ได้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว ว่ายหาฝั่งเป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว เข้ามาถึงที่ตื้นเป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว คือ เขามีศรัทธาดี หิริดี โอตตัปปะดี วิริยะดีและ ปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะโอรัมภาคิย-สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เขาเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพาน ในที่นั้นมีอันไม่กลับ จาก โลกนั้นเป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว เข้ามาถึงที่ตื้นเป็น อย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้ว ข้ามถึงฝั่งเป็นพราหมณ์ อยู่บนบกเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นมาแล้ว คือ เขามีศรัทธาดี หิริดี โอตตัปปะดี วิริยะดี และปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย เขากระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะ ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่โผล่ ขึ้นมาแล้วข้ามถึงฝั่ง เป็นพราหมณ์ อยู่บนบก เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยคนตกน้ำ ๗ จำพวกเหล่านี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

11

4
เป็นสกทาคามี ได้กายชั้นดุสิต
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๔๙/๗๕.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ … มิคสาลาอุบาสิกาได้ถามข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่าน อานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มี พระภาค ทรงแสดงแล้วอันเป็นเหตุให้ คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติ พรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จะเป็นผู้มีคติ เสมอกัน ในสัมปรายะ อันวิญญูชน จะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร คือ บิดาของดิฉัน ชื่อปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ประพฤติ ห่างไกล งดเว้นจากเมถุน อันเป็นธรรมของชาวบ้าน

ท่านทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาค ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามี ได้กายชั้น ดุสิต บุรุษชื่อ อิสิทัตตะ ผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน ไม่เป็นผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ แต่ยินดีด้วยภรรยาของตน แม้เขาทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาค ก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามี ได้กายชั้นดุสิต

ข้าแต่ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้วอันเป็นเหตุให้คน สองคน คือ คนหนึ่งประพฤติ พรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จะเป็นผู้มีคติเสมอกันใน สัมปรายะ อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร.

เมื่อมิคสาลาอุบาสิกากล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะมิคสาลา อุบาสิกาว่า น้องหญิง ก็ข้อนี้พระผู้มี พระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างนี้แล.

อานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกา เป็นพาล ไม่ฉลาด เป็นคนบอด มีปัญญาทึบ เป็นอะไร และสัมมา สัมพุทธะ เป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่ง และหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล …

อานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมแม้ของคนนี้ ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของ คนอื่น ก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุอะไรใน สองคน นั้น คนหนึ่งเลวคนหนึ่งดี ก็การประมาณ ของคนผู้ถือ ประมาณเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนาน … เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ใครเล่าจะพึงรู้เหตุ นั้นได้ นอกจากตถาคต

อานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือ ประมาณใน บุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณ วิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณ ในบุคคลได้ … .

13

5
ความเป็นอริยบุคคลกับอินทรีย์ ๕
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๖๕/๘๗๖.

ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ปัญญินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ ประการ.

(1) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ เต็มบริบูรณ์
(2) เป็นอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอรหันต์
(3) เป็นสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอนาคามี
(4) เป็นโสดาบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของสกทาคามี
(5) เป็นธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของโสดาบัน
(6) เป็นสัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของธัมมานุสารี.

(มีอีกหลายสูตร ที่ได้ตรัสในทำนองว่า เพราะอินทรีย์ ๕ ต่างกันจึงได้ความเป็น อริยบุคคลที่แตกต่างกัน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากพุทธวจน-หมวดธรรม เล่ม ๑๖ และจากพระไตรปิฎก. -ผู้รวบรวม)


14

6
เอกพีชี อินทรีย์ ๕ อ่อนกว่า สกทาคามี
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๖๖/๘๘๓.

ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ปัญญินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ ประการ.
1. ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์
2. เป็นอันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ อรหันต์
3. เป็นอุปหัจจปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ อันตราปรินิพพายี
4. เป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ อุปหัจจปรินิพพายี
5. เป็นสสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ อสังขารปรินิพพายี
6. เป็น อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ สสังขารปรินิพพายี
7. เป็นสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี
8. เป็นเอกพีชี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ สกทาคามี
9. เป็นโกลังโกละ เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ เอกพีชี
10. เป็นสัตตักขัตตุปรมะ เพราะอินทรีย์ ๕ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ โกลังโกละ
11. เป็นธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า สัตตักขัตตุปรมะ
12. เป็นสัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ ธัมมานุสารี

(ในสูตรอื่นๆ มีตรัสช่วงท้ายต่างกันออกไป ได้แก่ ด้วยอาการอย่างนี้ ความต่าง แห่งผล ย่อมมีได้ เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ความต่างแห่ง บุคคลย่อมมีได้ เพราะความต่าง แห่งผล, หรือ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ไม่มีแก่ผู้ใดเสียเลย โดยประการทั้งปวง เราเรียก ผู้นั้นว่าเป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน, หรือ บุคคลผู้ กระทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จ ได้บริบูรณ์ (ความเป็นอรหันต์) บุคคล ผู้กระทำได้บางส่วน ย่อมให้สำเร็จได้ บางส่วน เรากล่าวอินทรีย์ ๕ ว่าไม่เป็นหมันเลย. -ผู้รวบรวม)

16

7
ความเป็นอริยบุคคลกับการละสังโยชน์ (บุคคล ๔ จำพวก)
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๘๑/๑๓๑.
(สังโยชนสูตร ฉบับหลวง เล่ม 21 สุตตันต หน้า 134-138)

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกอะไรบ้าง คือ
(1สกทาคามี 2 อนาคามีชั้นอวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี/ 3.อนาคามีชั้นอกนิฏฐา/ 4.อรหันต์)


(1) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ (สกทาคามี)
ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้ อุบัติ ไม่ได้
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ ภพ ไม่ได้.
(สกทาคามี ต้องไปเกิดอีก 1 คราว )

(2) อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ (อนาคามี ชั้นอวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี)
ละโอรัมภาคิย-สังโยชน์ได้
แต่ยังละสังโยชน์อัน เป็นปัจจัย เพื่อให้ได้ อุบัติ ไม่ได(ยังต้องเกิด)
และยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ ภพ ไม่ได้ (สะเก็ดไฟยังตกถึงพื้น)
(เทียบสะเก็ดไฟ- อุปหัจจ อสังขาร สสังขาร อุทธังโสโต)

(3) อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ (อนาคามี ชั้นอกนิฏฐ)
ละโอรัมภาคิย-สังโยชน์ได้
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ ได้ อุบัติ ได้
แต่ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ ภพ ไม่ได้.
(อนาคามีชั้น อกนิฏฐ- สะเก็ดไฟลอยไปแล้วดับก่อนตกถึงพิ้น)

(4) อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ (อรหันต์ขีนาสพ)
ละโอรัมภาคิย-สังโยชน์ได้
ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ อุบัติ ได้ (ไม่เกิด)
และ ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ ภพ ได้ (ภพใหม่ไม่มี)
(สิ้นการจุติและการอุบัติ)
--------------------------------------------------------------------------------------------

1) ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลจำพวกไหน
ยังละโอรัมภาคิย-สังโยชน์ไม่ได้ (โอรมฺภาคิยานิ สญฺโญชนานิ อปฺปหีนานิ) ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ อุบัติ ไม่ได้ (อุปฺปตฺติปฏิลา ภิกานิสญฺโญชนานิ อปฺปหีนานิ)
ยังละสังโยชน์ อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ ภพ ไม่ได้ (ภวปฏิลา ภิกานิ สญฺโญชนานิ อปฺปหีนานิ) คือ สกทาคามี ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล ยังละโอรัมภา คิยสังโยชน์ ไม่ได้ ยังละสังโยชน์ อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้ อุบัติ ไม่ได้
ยังละสังโยชน์ อันเป็น ปัจจัยเพื่อให้ได้ ภพ ไม่ได้.

2.ภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวกไหน
ละโอรัมภาคิย-สังโยชน์ได้ (โอรมฺภาคิยานิ สญฺโญชนานิ ปหีนานิ)
แต่ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ อุบัติ ไม่ได้
ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อ ให้ได้ ภพ ไม่ได้
คือ อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
(ผู้มีกระแสเบื้องบนไปสู่ อกนิฏฐภพ)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล ละโอรัมภาคิย สังโยชน์ได้ แต่ยังละสังโยชน์ อันเป็น ปัจจัยเพื่อ ให้ได้อุบัติไม่ได้ และยังละสังโยชน์ อันเป็นปัจจัยเพื่อ ให้ได้ภพไม่ได้.

3.ภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวกไหน
ละโอรัมภาคิย-สังโยชน์ได้ ละสังโยชน์ อันเป็นปัจจัยเพื่อ ให้ได้อุบัติได้ (อุปฺปตฺติ-ปฏิลาภิกานิ สญฺโญชนานิ ปหีนานิ) แต่ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้ภพไม่ได้ คือ อันตราปรินิพพายี ภิกษุทั้งหลายบุคคลนี้แล ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ได้ ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้อุบัติได้ แต่ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้ ภพไม่ได้.

4. ภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวกไหน
ละโอรัมภาคิย-สังโยชน์ได้ ละสังโยชน์อัน เป็นปัจจัยเพื่อ ให้ได้อุบัติได้ และ ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพได้ (ภวปฏิลาภิกานิสญฺโญชนานิ ปหีนานิ) คือ อรหันต์ผู้สิ้นอาสวะ แล้ว ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ได้ ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้อุบัติได้ ละสังโยชน์ อันเป็นปัจจัยเพื่อ ให้ได้ภพได้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

(ควรดูประกอบเพิ่มเติมเรื่อง “อุปมาช่างตีเหล็ก” ในหนังสือพุทธวจน-หมวดธรรม เล่ม ๑๖ อนาคามี หน้า ๒๘. และจากพระไตรปิฎก. -ผู้รวบรวม)

19

8
สังโยชน์ ๑๐
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๘/๑๓.

ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นอะไรบ้าง คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ประการ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการ.โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ
(1) สักกายทิฏฐิ
(2) วิจิกิจฉา
(3) สีลัพพตปรามาส
(4) กามฉันทะ
(5) พยาบาท
เหล่านี้แล โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ
(1) รูปราคะ
(2) อรูปราคะ
(3) มานะ
(4) อุทธัจจะ
(5) อวิชชา
เหล่านี้แล อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล สังโยชน์ ๑๐ ประการ.

20

9
ความเป็นอริยบุคคล กับการละกามโยคะและภวโยคะ (บุคคล ๓ จำพวก)
-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๐๓/๒๗๖.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะ (กามโยคยุตฺโต) ผู้ประกอบแล้ว ด้วยภวโยคะ (ภวโยคยุตฺโต)1 เป็น อาคามี ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พรากแล้วจากกามโยคะ (กามโยควิสํยุตฺโต) (แต่) ยังประกอบด้วย ภวโยคะ เป็น อนาคามี ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พรากแล้วจากกามโยคะพรากแล้วจากภวโยคะ (ภวโยควิสํยุตฺโต) เป็นอรหันต์สิ้น อาสวะแล้ว

สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบแล้ว ด้วยกามโยคะและภวโยคะ ย่อมไปสู่สังสารวัฏ ซึ่งมีปกติถึงความเกิดและ ความตาย.

ส่วนสัตว์เหล่าใด ละกามทั้งหลายได้เด็ดขาด แต่ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ยังประกอบ ด้วยภวโยคะ สัตว์เหล่านั้นบัณฑิตกล่าวว่า เป็นอนาคามี.

ส่วนสัตว์เหล่าใดตัดความสงสัยได้แล้ว มีมานะและมีภพใหม่สิ้นแล้ว ถึงความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย แล้วสัตว์เหล่านั้นแลถึงฝั่งแล้วในโลก.

1. กามโยคะ = เครื่องผูก คือ กาม, ภวโยคะ = เครื่องผูก คือ ภพ. -ผู้รวบรวม

21

10
ความเป็นอริยบุคคลกับสิกขา ๓
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๙๗/๕๒๖.
(วัชชีปุตตสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก หน้า ๒๒๑ ข้อ ๕๒๔- ๕๒๘)

(อริยบุคคลตั้งแต่โสดาบัน จนถึงอรหันต์ ยังต้องอาบัติ หรือล่วงสิกขาบทเล็กน้อยได้บ้าง ซึ่งสามารถปลงอาบัติได้)

ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตรทั้งหลาย ผู้ปรารถนา ประโยชน์ ศึกษากันอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ นั้นอะไรบ้าง คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ เหล่านี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล (สีเลสุ ปริปูรการี) เป็นผู้ทำพอ ประมาณในสมาธิ (สมาธิสฺมึ มตฺตโสการี) เป็นผู้ทำพอประมาณใน ปัญญา(ปญฺญาย มตฺตโสการี) เธอย่อมล่วงสิกขาบท เล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจาก อาบัตินั้นบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุ อะไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพ เพราะล่วงสิกขาบทเหล่านี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และเป็นผู้มีศีลมั่นคง ในสิกขาบท เหล่านั้น สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอเป็นโสดาบัน เพราะ สังโยชน์ ๓ สิ้นไป มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง จะตรัสรู้ได้ในกาล เบื้องหน้า

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำ พอประมาณในสมาธิ เป็นผู้ทำพอ ประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วง สิกขาบท เล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัตินั้นบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพ เพราะล่วงสิกขาบทเหล่านี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงใน สิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ ในสิกขาบททั้งหลาย เธอเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และ เพราะราคะ โทสะโมหะ เบาบาง จะมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล (สีเลสุ ปริปูรการี) เป็นผู้ทำให้ บริบูรณ์ในสมาธิ (สมาธิสฺมึ ปริปูรการี) เป็นผู้ทำพอ ประมาณ ในปัญญา (ปญฺญายมตฺตโสการี) เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อย บ้าง ย่อมออก จากอาบัตินั้นบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุ อะไร เพราะไม่มีใครกล่าวความ เป็นคนอาภัพ เพราะล่วง สิกขาบทเหล่านี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์เธอ เป็นผู้มีศีล ยั่งยืน และมีศีลมั่นคงใน สิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ ในสิกขาบททั้งหลาย เธอเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพาน ในที่นั้น มีอันไม่กลับ จากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภา คิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป (เป็นอนาคามี)

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้ บริบูรณ์ ในสมาธิ เป็นผู้ทำให้ บริบูรณ์ในปัญญา (ปญฺญาย ปริปูรการี) เธอย่อม ล่วงสิกขาบท เล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัตินั้นบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพ เพราะล่วงสิกขาบทเหล่านี้ แต่ว่า สิกขาบท เหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่ พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบท เหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ มิได้ เพราะความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ (เป็นพระอรหันต์)

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำได้เพียงบางส่วน ย่อมให้สำเร็จบางส่วน ผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จ ได้บริบูรณ์ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสิกขาบท ทั้งหลายว่าไม่เป็นหมันเลย.

(ในสูตรอื่น -บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๙๙-๓๐๑/๕๒๗-๕๒๘. ก็ได้ตรัสโดยทำนองเดียวกันนี้ แต่กล่าวถึงประเภทอริยบุคคลต่างจากไปจากนี้บางส่วน. -ผู้รวบรวม)


24


11
สิกขา ๓
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๐๓/๕๒๙.
(เสขสูตรที่ ๓ ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก หน้า ๒๖๓ ข้อ ๕๒๗)

ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ สิกขา ๓ อะไรบ้างคือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อธิศีลสิกขาเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วด้วยความ สำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมารยาท และโคจรมีปกติเห็นภัย ในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิศีลสิกขา

ภิกษุทั้งหลาย ก็อธิจิตตสิกขาเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสงัดจาก กามและ อกุศล ธรรมท้งั หลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้ว แลอยู่ เพราะสงบวิตก และ วิจารเสียได้ จึงบรรลุทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิต ในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่ เพราะ ความจางคลายไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และย่อมเสวย สุขด้วยกาย จึงบรรลุตติยฌาน อันเป็นฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวว่า ผู้ได้ ฌานนี้เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะ ความดับหายไปแห่งโสมนัส และโทมนัสทั้งหลายในกาลก่อน จึงบรรลุ จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาแล้ว แลอยู่ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิจิตตสิกขา

ภิกษุทั้งหลาย ก็อธิปัญญาสิกขาเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิปัญญา สิกขา

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลสิกขา ๓.

26

12
ผู้ที่ต้องศึกษาสิกขา ๓
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๙๗/๕๒๕.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า เสขะๆ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ บุคคลจึง ชื่อว่าเป็นเสขะ.

ภิกษุ ที่เรียกชื่อว่าเสขะ ด้วยเหตุว่ายังต้องศึกษาศึกษาอะไร ศึกษาอธิศีลสิกขา ศึกษา อธิจิตตสิกขา และศึกษาอธิปัญญาสิกขา.

ภิกษุ ที่เรียกชื่อว่าเสขะ ด้วยเหตุว่ายังต้องศึกษาแล.

27

13

บุคคลที่มีเชื้อเหลือ แต่พ้นทุคติ
-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๓๙๑/๒๑๖.

สมัยหนึ่ง ในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองจีวร ถือบาตรเข้าไปบิณฑบาต ในนครสาวัตถี ท่านเห็นว่าเวลา ยังเช้าเกินไปสำหรับการบิณฑบาต จึงแวะเข้าไป ในอารามของพวก ปริพพาชกอัญญเดียรถีย์ ได้ทักทาย ปราศรัยกัน พอสมควรแล้ว จึงนั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ก็ในสมัยนั้น พวกปริพพาชก เหล่านั้น กำลังนั่ง ประชุมสนทนากันว่า บุคคลใด ใครก็ตาม ที่ยังมีเชื้อเหลือ (สอุปาทิเสสะ) ถ้าตายแล้ว ย่อมไม่พ้นจากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดเดรัจฉาน ไม่พ้นจากเปรตวิสัย ไม่พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต

ท่านพระสารีบุตรไม่ยินดี ไม่คัดค้านถ้อยคำที่ปริพพาชก อัญญเดียรถีย์เหล่านั้น กล่าว แล้วลุกจากที่นั่งไป โดยคิดว่าจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนัก พระผู้มีพระภาค ครั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังอาหาร แล้ว จึงเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค กราบทูลถึง เรื่องราวที่เกิดขึ้นให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า.

สารีบุตร ปริพพาชกอัญญเดียรถีย์บางพวกโง่เขลาไม่ฉลาด จะรู้ได้อย่างไร ว่าใครมีเชื้อเหลือ (สอุปาทิเสสะ) หรือไม่มีเชื้อเหลือ (อนุปาทิเสสะ) สารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้ที่มีเชื้อเหลือ เมื่อทำกาละ ย่อมพ้นจากนรก พ้นจากกำเนิด เดรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ๙ จำพวกอะไรบ้าง คือ

สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็น อันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๑ ที่มีเชื้อเหลือ เมื่อทำกาละ ย่อมพ้นจากนรกพ้นจากกำเนิดเดรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบายทุคติ และวินิบาต.

สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้ บริบูรณ์ในสมาธิเป็น ผู้ทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น อุปหัจจ-ปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตร นี้บุคคล จำพวกที่ ๒ … .

สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้ บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำ พอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น อสังขาร-ปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๓ … .

สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้ บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น สสังขาร-ปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๔ … .

สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้ บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น อุทธังโสโต-อกนิฏฐคามี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตรนี้ บุคคลจำพวกที่ ๕ … .

สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นทำพอประมาณ ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง จะมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๖ … .

สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอ ประมาณในสมาธิเป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้น เป็นเอกพีชี เพราะ สังโยชน์ ๓ สิ้นไป จะมาสู่ภพมนุษย์นี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น (เอกํเยว มานุสกํ ภวํ) แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ ได้ สารีบุตรนี้บุคคลจำพวกที่ ๗ … .

สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอ ประมาณในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น โกลังโกละ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป จะท่องเที่ยวอยู่ ๒-๓ ตระกูลเท่านั้นแลว้ จะทำที่สดุ แห่งทุกข์ได้ สารีบุตร นี้บุคคลจำ พวกที่ ๘ … .

สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอ ประมาณในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น สัตตักขัตตุ-ปรมะ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป จะท่องเที่ยวอยู่ ในเทวดาและ มนุษย์ ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๙ ที่มีเชื้อเหลือ เมื่อทำกาละย่อมพ้น จากนรก พ้นจากกำเนิดเดรัจฉาน พ้นจาก เปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต.

สารีบุตร ปริพพาชกอัญญเดียรถีย์บางพวกโง่เขลาไม่ฉลาด จะรู้ได้อย่างไรว่า ใครมีเชื้อเหลือ หรือไม่มีเชื้อ เหลือ.

สารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้แล ที่มีเชื้อเหลือเมื่อทำกาละ ย่อมพ้นจากนรก พ้นจากกำเนิด เดรัจฉาน พ้นจาก เปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต.

สารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ยังไม่เคยแสดงแก่ภิกษุภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกามาก่อน ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร เพราะผู้ฟังธรรมปริยายนี้แล้ว จักเข้าถึงซึ่งความประมาท อนึ่ง ธรรมปริยายเช่นนี้ เราจะกล่าวก็ต่อเมื่อถูกถาม เจาะจงเท่านั้น.

31


14
บุคคลผู้พ้นทุคติ หรือไม่ไปทุคติ
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๗๑/๑๕๓๐.

มหานาม บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อย่างไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วย วิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้แจ้ง โลก เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกอย่าง ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้วเป็นผู้จำแนกธรรม เป็นผู้ประกอบด้วยความ เลื่อมใส อย่างไม่หวั่นไหว ในพระธรรมว่า

พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่เห็นได้ด้วยตนเอง เป็น อกาลิโก เป็นสิ่งที่ควรกล่าว กะผู้อื่น ว่าท่านจงมาดู เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามา ใส่ตน เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ ได้เฉพาะตน เป็นผู้ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอย่าง ไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ ว่าสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติให้รู้ธรรมเครื่อง ออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว

ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ นั่นแหละ คือ สงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา ควรแก่สักการะ ที่เขาจัดไว้ต้อนรับ ควรรับทักษิณาทาน ควรที่บุคคลทั่วไป จะทำอัญชลี เป็น นาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า เป็นผู้มีปัญญาร่าเริง เฉียบแหลม และประกอบด้วยวิมุตติ เขาย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง เองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ บุคคลนี้พ้นจากนรก กำเนิด-เดรัจฉาน เปรตวิสัย อบาย ทุคติ และวินิบาต. (1-อรหันต์)

มหานาม ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วย ความลื่อมใส อย่างไม่ หวั่นไหว ใน พระพุทธเจ้า … ในพระธรรม … ในพระสงฆ์ … มีปัญญาร่าเริง เฉียบแหลม แต่ไม่ประกอบ ด้วยวิมุตติ เพราะโอรัมภา คิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เขาเป็น โอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนี้ก็พ้นจากนรกกำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย อบาย ทุคติ และวินิบาต. (2-อนาคามี)

มหานาม ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วย ความเลื่อมใสอย่างไม่ หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า …ในพระธรรม …ในพระสงฆ์ …ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และ ไม่ประกอบด้วยวิมุตติ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และ เพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เขาเป็น สกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียว เท่านั้นแล้ว จะทำที่สุด แห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย อบาย ทุคติ และวินิบาต. (3-สกทาคามี)

มหานาม ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วย ความเลื่อมใสอย่างไม่ หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า … ในพระธรรม …ในพระสงฆ์ …ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และ ไม่ประกอบด้วยวิมุตติ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เขาเป็น โสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง จะตรัสรู้ได้ในกาล เบื้องหน้า บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดเดรัจฉานเปรตวิสัย อบาย ทุคติ และ วินิบาต. (4-โสดาบัน)

มหานาม ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่าง ไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า …ในพระธรรม …ในพระสงฆ์ …ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบ ด้วยวิมุตติ แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ธรรมทั้งหลาย ที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมทน ต่อการเพ่งด้วยปัญญาของเขา(ยิ่ง)กว่าประมาณ บุคคลนี้ก็ไม่ไปสู่นรกกำเนิด เดรัจฉาน เปรตวิสัย อบาย ทุคติ และวินิบาต. (5-ธัมมานุสารี)

มหานาม ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่ หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า …ในพระธรรม …ในพระสงฆ์ …ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุตติ แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ … ปัญญินทรีย์ และเขามีศรัทธา มีความรักในตถาคตพอประมาณ บุคคลนี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย อบาย ทุคติ และวินิบาต (6-สัทธานุสารี)