เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  สกทาคามี-พุทธวจน ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  2 of 4  
 
  สกทาคามี พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
       
  15 . ผู้เชื่อมั่นในตถาคต ที่สำเร็จในโลกนี้และที่ละโลกนี้ไปแล้วจึงสำเร็จ 34  
  16 . ข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อได้สมาธิ (รูปสัญญา) 37  
  17 . ข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อเจริญพรหมวิหาร 41  
  18 . ข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อได้สมาธิ (อรูปสัญญา) 46  
  19 . อริยสาวกผู้ประกอบด้วยสังโยชน์ แต่ไม่มีสังโยชน์ที่เป็นเหตุให้กลับมายังโลกนี้อีก 50  
  20 . ผลของการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการ 51  
  21 . บุคคลผู้ควรแก่ของทำบุญ 53  
  22 . สัทธานุสารี ธัมมานุสารี โสดาบัน 54  
  23 . แม้แต่อริยบุคคลขั้นโสดาบัน ก็ไม่อาจแปรปรวน 56  
       
  กาม และ กามคุณ    
  24 . ความหมายของกามและกามคุณ 60  
  25 . โลก ในอริยวินัย คือ กามคุณ ๕ 62  
  26 . โลก คือ สิ่งที่แตกสลายได้ 66  
  27 . กามคุณ ๕ คือ เครื่องจองจำในอริยวินัย 68  
  28 . กามเลว ปานกลาง และประณีต 71  
  29 . กามอันเป็นทิพย์ ประณีตกว่ากามของมนุษย์ 73  
  30 . เทียบเคียงลักษณะเทวดาชั้นดาวดึงส์ 80  
       
 
 





34

15

ผู้เชื่อมั่นในตถาคต ที่สำเร็จในโลกนี้ และ ที่ละโลกนี้ไปแล้วจึงสำเร็จ
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๘/๖๓.

ภิกษุท้้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เชื่อมั่นในเราบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็น ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ(ทฏิ ฐฺ สิ มปฺ นนฺ า)บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิเหล่านั้น ๕ จำพวกสำเร็จในโลกนี้ และอีก ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้วจึงสำเร็จ
บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหนที่ สำเร็จในโลกนี้ คือ
(1) สัตตักขัตตุปรมะ (เกิดไม่เกิน 7 คราว ภพมนุษย์และเทวดา)
(2) โกลังโกละ (เกิดอีก2-3 คราว ภมนุษย์และเทวดา)
(3) เอกพีชี (เกิดอีกคราวเดียว-กายมนุษย์)
(4) สกทาคามี (เกิดอีกคราวเดียว-ได้กายดุสิต)
(5) อรหันต์ในปัจจุบัน (ทิฏฺเฐว ธมฺเม อรหา)
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้แล สำเร็จในโลกนี้.

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน ละโลกนี้ไปแล้วจึงสำเร็จ คือ
(1) อันตราปรินิพพายี
(2) อุปหัจจปรินิพพายี
(3) อสังขารปรินิพพายี
(4) สสังขารปรินิพพายี
(5) อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้แล ละโลกนี้ไปแล้วจึงสำเร็จ.

ภิกษุท้้ง หลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เชื่อมั่นในเราบุคคลเหล่านั้น ทั้งหมดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิเหล่านั้น ๕ จำพวกสำเร็จในโลกนี้และอีก ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้วจึงสำเร็จ.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงกระแสนิพพาน (โสตาปนฺนา) บุคคลผู้ถึงกระแส นิพพานเหล่านั้น๕ จำพวกสำเร็จในโลกนี้ และอีก ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้ว จึงสำเร็จ บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหนที่สำเร็จในโลกนี้ คือ
(1) สัตตักขัตตุปรมะ
(2) โกลังโกละ
(3) เอกพีชี
(4) สกทาคามี
(5) อรหันต์ในปัจจุบัน
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้แล สำเร็จในโลกนี้.

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน ละโลกนี้ไปแล้วจึงสำเร็จคือ
(1) อันตราปรินิพพายี
(2) อุปหัจจปรินิพพายี
(3) อสังขารปรินิพพายี
(4) สสังขารปรินิพพายี
(5) อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้แล ละโลกนี้ไปแล้วจึงสำเร็จ.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงกระแสนิพพาน บุคคลผู้ถึงกระแสนิพพานเหล่านั้น๕ จำพวกสำเร็จในโลกนี้ และอีก ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้วจึงสำเร็จ.

(ใน -บาลี ปฏิสมฺ. ขุ. ๓๑/๒๔๒/๓๖๐-๓๖๑. มีบาลีเหมือนกันนี้ แต่พระไตรปิฎก ภาษาไทยฉบับหลวง แปลส่วนท้ายต่างออกไปจาก ๕ จำพวกสำเร็จในโลกนี้ และอีก ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้วจึงสำเร็จ เป็นบุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในภพชั้น สุทธาวาส ในธรรมนี้. -ผู้รวบรวม)

37

16
ข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อได้สมาธิ
(รูปสัญญา)
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๖๘/๑๒๓.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีอยู่ในโลกหาได้ในโลก ๔ จำพวกอะไรบ้าง คือ

(1) บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ เขาย่อมชอบใจ ธรรมนั้นปรารถนาธรรมนั้น และถึงความยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดำรงอยู่ในธรรมนั้น น้อมใจไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้นไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่า พรหมกายิกา

ภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่ง เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่า พรหมกายิกาปุถุชน ดำรงอยู่ในชั้นพรหมกายิกา นั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณ อายุของ เทวดาเหล่า นั้นให้สื้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัย บ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค (ภควโต สาวโก) ดำรงอยู่ในชั้นพรหมกายิกา นั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อม ปรินิพพานในภพนั้นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกันเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่.

(2) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เพราะสงบวิตกและวิจารเสียได้ จึงบรรลุ ทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรม อันเอก ผุดขึ้นไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่ เขาย่อม ชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และถึงความยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดำรงอยู่ใน ธรรมนั้น น้อมใจไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจาก ธรรมนั้น เมื่อทำกาละย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่า อาภัสสระ

ภิกษุทั้งหลาย ๒ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่า อาภัสสระปุถุชน ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉานบ้างเปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวก ของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณ อายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่.

(3) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ จึง อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะและย่อมเสวยสุขด้วยกาย จึงบรรลุตติยฌาน อันเป็น ฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และถึงความยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดำรง อยู่ในธรรมนั้น น้อมใจไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่า สุภกิณหะ

ภิกษุทั้งหลาย ๔ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่า สุภกิณหะ ปุถุชน ดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดา เหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉานบ้างเปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกันเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกันระหว่าง อริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่.

(4) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะ ความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสท้้งหลายในกาลก่อน จึงบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุขมีแต่สติอันบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่ เขาย่อมชอบใจ ธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และถึงความยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดำรงอยู่ในธรรมนั้น น้อมใจไปในธรรมนั้นอยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ

ภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่า เวหัปผละ ปุถุชน ดำรงอยู่ใน ชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดา เหล่านั้นให้สิ้นไปแล้วย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกันเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำ พวกนี้แล มีอยู่ในโลกหาได้ในโลก.

41

17

ข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อเจริญพรหมวิหาร
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗๒/๑๒๕.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีอยู่ในโลกหาได้ในโลก ๔ จำพวกอะไรบ้าง คือ

(1) บุคคลบางคนในโลกนี้ มีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง และเบื้องขวาง เขาแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยเมตตา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวงไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่ เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และถึงความ ยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดำรงอยู่ในธรรมนั้น น้อมใจไปในธรรมนั้นอยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อทำกาละย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เหล่า พรหมกายิกา

ภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่ง เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่า พรหมกายิกาปุถุชน ดำรงอยู่ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดา เหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉานบ้างเปรตวิสัยบ้าง (ผู้ไม่ได้สดับ)

ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง(ผู้ได้สดับ)

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกันเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่.

(2) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปสู่ทิศ ที่หนึ่ง ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและ เบื้องขวาง เขาแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้า เสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยกรุณา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่ เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และถึงความยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดำรงอยู่ในธรรมนั้น น้อมใจไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้นเมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย ของเทวดา เหล่าอาภัสสระ

ภิกษุทั้งหลาย ๒ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่า อาภัสสระปุถุชน ดำรงอยู่ ในชั้นอาภัสสระนั้นตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดา เหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉานบ้างเปรตวิสัยบ้าง(ผู้ได้สดับ) ส่วนสาวก ของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณ อายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง (ผู้ได้สดับ)

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกันเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่.

(3) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีจิตประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปสู่ทิศ ที่หนึ่ง ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง และเบื้องขวาง เขาแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้า เสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยมุทิตาเป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่ เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และถึงความยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดำรงอยู่ในธรรมนั้นน้อมใจไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย ของเทวดา เหล่าสุภกิณหะ

ภิกษุทั้งหลาย ๔ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่า สุภกิณหะปุถุชน ดำรงอยู่ ในชั้นสุภกิณหะนั้นตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉานบ้างเปรตวิสัยบ้าง(ผู้ได้สดับ) ส่วนสาวก ของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณ อายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง (ผู้ได้สดับ)

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกันเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกนัระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่.

(4) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีจิตประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศ ที่หนึ่ง ทิศที่สองทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและ เบื้องขวาง เขาแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้า เสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยอุเบกขา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่ เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และถึงความยินดีด้วยธรรม นั้น เขาดำรงอยู่ในธรรมนั้น น้อมใจไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย ของเทวดา เหล่าเวหัปผละ

ภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่า เวหัปผละปุถุชน ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้นตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุของเทวดา เหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉานบ้างเปรตวิสัยบ้าง (ผู้ได้สดับ) ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าสิ้น อายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง(ผู้ได้สดับ)

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกันเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกนัระหว่าง อริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีอยู่ในโลกหาได้ในโลก.

46

18

ข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อได้สมาธิ (อรูปสัญญา)
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๔๓/๕๕๖.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีอยู่ในโลกหาได้ในโลก ๓ จำพวกอะไรบ้าง คือ

(1) บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาเสียได้ โดยประการทั้ง ปวง เพราะความดับไปแห่ง ปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ใส่ใจซึ่ง นานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสา-นัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สิ้นสุด ดังนี้แล้วแลอยู่ เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และถึงความยินดีด้วยธรรมนั้น เขาดำรงอยู่ในธรรมนั้นน้อมใจไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรม นั้น เมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดา ที่เข้าถึงชั้น อากาสานัญจายตนะ

ภิกษุทั้งหลาย เหล่าเทวดาที่เข้าถึงชั้น อากาสานัญจายตนะ มีอายุประมาณ สองหมื่นกัป
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอากาสานัญจายตนะ นั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิด เดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง (ผู้ได้สดับ) ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ใน ชั้นอากาสานัญจายตนะนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง(ผู้ได้สดับ)

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกันเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่.

(2) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เพราะก้าวล่วง อากาสานัญจายตนะ เสียได้ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และถึงความยินดี ด้วยธรรมนั้น เขาดำรงอยู่ในธรรมนั้น น้อมใจไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้นเมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดา ที่เข้าถึงชั้น วิญญาณัญจายตนะ

ภิกษุทั้งหลาย เหล่าเทวดาที่เข้าถึงชั้น วิญญาณัญจายตนะ มีอายุประมาณ สี่หมื่นกัป ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้น วิญญาณัญจายตนะนั้น ตราบเท่าสิ้นอายุยัง ประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉาน บ้าง เปรตวิสัยบ้าง(ผู้ได้สดับ) ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ใน ชั้นวิญญานัญจา ยตนะนั้น ตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไป แล้วย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง(ผู้ได้สดับ)

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกันเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกันระหว่าง อริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่.

(3) อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ เสียได้ โดยประการทั้งปวงจึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า อะไรๆก็ไม่มี เขาย่อมชอบใจธรรมนั้น ปรารถนาธรรมนั้น และถึงความยินดีด้ว ยธรรมนั้น เขาดำรงอยู่ในธรรมนั้น น้อมใจไปในธรรมนั้น อยู่มากด้วยธรรมนั้น ไม่เสื่อมจากธรรมนั้น เมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดา ที่เข้าถึงชั้น อากิญจัญญายตนะ

ภิกษุทั้งหลาย เหล่าเทวดาที่เข้าถึงชั้น อากิญจัญญายตนะ มีอายุประมาณ หกหมื่นกัป
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอากิญจัญญายตนะนั้น ตราบเท่าสิ้นอายุยัง ประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิด เดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง (ผู้ได้สดับ) ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ ในชั้น อากิญจัญญายตนะ นั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไป แล้วย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง(ผู้ได้สดับ)

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความผิดแผกแตกต่างกันเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ในเมื่อคติอุบัติยังมีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีอยู่ในโลกหาได้ในโลก.

50


19
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยสังโยชน์ แต่ไม่มี สังโยชน์ที่เป็นเหตุให้กลับมายังโลกนี้อีก
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๑๒/๕๓๔. /สรทสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันต หน้า ๒๓๑ ข้อ [๕๓๔]

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนท้องฟ้าอันอยู่ห่างไกล ที่ปราศจากเมฆหมอก ในสรทสมัย (ฤดูใบไม้ร่วง) ดวงอาทิตย์ขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้ว ย่อมขจัดความมืดที่อยู่ใน อากาศ เสียทั้งหมด แล้วส่องแสงร้อนแรงและรุ่งโรจน์อยู่ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้น ก็เหมือนกัน เมื่อใด ธรรมจักษุอันปราศจากธุลีปราศจากมลทินเกิดแก่ อริยสาวก พร้อมกับความเกิดขึ้น แห่งทัศนะ

อริยสาวกนั้นย่อมละสังโยชน์ ๓ อย่างได้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต ปรามาส ลำดับต่อมาอริยสาวกออกจากธรรม ๒ ประการ คือ อภิชฌา(ความโลภ) และพยาบาท

อริยสาวกนั้นสงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอริยสาวกนั้น พึงทำกาละ ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่มีสังโยชน์ ที่เป็นเหตุให้อริยสาวกผู้ยังประกอบด้วยสังโยชน์ พึงกลับมายังโลกนี้อีก.

(ผู้สิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ +ได้ปฐมฌาน หลังทำกาละย่อมไม่กลับมาสู่โลกมนุษย์อีก)

51

20
ผลของการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการ
-บาลี ปา. ที. ๑๑/๑๔๕/๑๑๖.

จุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ การที่พวกปริพพาชกอัญญเดียรถีย์จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ก็เมื่อพวกท่าน ประกอบตนให้ติด เนื่องในความสุข ๔ ประการ1เหล่านี้อยู่ผลกี่ประการ อานิสงส์ กี่ประการ อันท่านทั้งหลายพึงหวังได้.

จุนทะ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส เมื่อพวกเราประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้อยู่ ผล ๔ ประการอานิสงส์ ๔ ประการอันพวกเราพึงหวังได้ ๔ ประการอะไรบ้าง คือ.

อาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไปจะเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง จะตรัสรู้ได้ ในกาลเบื้องหน้า ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๑ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑.

1. ความสุข ๔ ประการ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌานผู้อ่าน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเนื้อความเต็มของพระสูตร. -ผู้รวบรวม

อาวุโส ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง จะเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจะทำที่สุด แห่งทุกข์ ได้ ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๒ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒.

อาวุโส ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป จะเป็น โอปปาติกะ ผู้จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อนี้เป็นผล ประการที่ ๓ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓.

อาวุโส ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษจะทำให้แจ้ง ซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ มิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึง อยู่ ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๔ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔.

อาวุโส เมื่อพวกเราเป็นผู้ประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้อยู่ ผล ๔ ประการ อานิสงส์ ๔ ประการเหล่านี้ อันพวกเราพึงหวังได้ ดังนี้.

53

21
บุคคลผู้ควรแก่ของทำบุญ
-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๐๑/๑๔๙.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้ ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๘ จำพวกอะไรบ้าง คือ
(1) โสดาบัน
(2) ผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
(3) สกทาคามี
(4) ผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล
(5) อนาคามี
(6) ผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล
(7) อรหันต์
(8) ผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ผู้ปฏิบัติแล้ว๔ จำพวก และผู้ตั้งอยู่ในผลแล้ว ๔ จำพวก นี่แหละสงฆ์ ที่เป็นคนตรง เป็นผู้ตั้งมั่นแล้วในปัญญาและศีล ย่อมกระทำให้เกิดบุญอื่นเนื่องด้วยอุปธิ แก่มนุษย์ทั้งหลายผู้มีความต้องการด้วยบุญ กระทำการบูชาอยู่ ทานที่ให้แล้ว ในสงฆ์จึงมีผลมาก.

54

22

สัทธานุสารี ธัมมานุสารี โสดาบัน
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๗๘/๔๖๙.

ภิกษุทั้งหลาย ตา เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยนเป็น อย่างอื่นเป็นปกติ หู... จมูก...ลิ้น... กาย... ใจ เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวน เป็นปกติมีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเป็นปกติ.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดมีความเชื่อน้อมจิตไปในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็นสัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม (หนทางแห่งความถูกต้อง) ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัปบุรุษ) ล่วงพ้นปุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันบุคคลทำแล้ว จะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือ เปรตวิสัย และไม่อาจจะทำกาละ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ทนต่อการเพ่งโดยประมาณอันยิ่งแห่งปัญญา ของบุคคลใด ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตต นิยาม (หนทางแห่งความถูกต้อง) ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัปบุรุษ) ล่วงพ้น ปุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันบุคคลทำแล้วจะเข้าถึงนรกกำเนิดเดรัจฉาน หรือเปรตวิสัย และไม่อาจจะทำกาละ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดย่อมรู้ ย่อมเห็นซึ่งธรรม๖ อย่างเหล่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลนี้เราเรียกว่าโสดาบันมีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัส รู้ได้ในกาลเบื้องหน้า.

(พระสูตรที่ยกมานี้ ได้ตรัสถึงความไม่เที่ยงของธรรม ๖ อย่างคือ อายตนะภายใน หก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ส่วนในสูตรถัดไปทรงแสดง อารมณ์นั้น ด้วยอายตนะ ภายนอกหก คือ รูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรม ก็มี, แสดงด้วย วิญญาณหก ก็มี, ด้วยสัมผัสหก ก็มี,ด้วยเวทนาหก ก็มี, ด้วยสัญญาหก ก็มี, ด้วยสัญเจตนาหก ก็มี,ด้วยตัณหาหก ก็มี, ด้วยธาตุหก ก็มี, และด้วยขันธ์ห้า ก็มี ซึ่งได้แสดงไว้ด้วยหลักการปฏิบัติอย่างเดียวกัน. -ผู้รวบรวม)

56

23
แม้แต่อริยบุคคลขั้นโสดาบันก็ไม่อาจแปรปรวน
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๕๗/๑๔๙๔.

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเอ็นดูใคร และใครถือว่าเธอเป็นผู้ที่เขาควรเชื่อฟัง เขาจะเป็นมิตรก็ตาม อำมาตย์ก็ตามญาติหรือสายโลหิตก็ตาม เธอพึงยังชน เหล่านั้น ให้สมาทานให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ ในโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ (องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดาบัน) ๔ ประการอะไรบ้าง

คือภิกษุทั้งหลาย เธอพึงยังชนเหล่านั้น ให้สมาทานให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ ในความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้นเป็นพระอรหันต์ … เป็นผู้จำแนกธรรม ภิกษุทั้งหลาย แม้มหาภูตรูป ๔ กล่าวคือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ยังมีความแปรปรวนเป็นอย่างอื่น ไปได้ แต่เหล่าอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ประกอบพร้อมแล้ว

ด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ย่อมไม่มีความแปรปรวน เป็นอย่างอื่นเลย ข้อที่ว่าผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ยังจะมีความแปรปรวนเป็นอย่างอื่น จนเข้าถึง นรกก็ดี กำเนิด เดรัจฉานก็ดี เปรตวิสัยก็ดี ดังนี้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย เธอพึงยังชนเหล่านั้น ให้สมาทานให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ ในความ เลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคตรัส ไว้ดีแล้ว … เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ภิกษุทั้งหลายแม้มหาภูตรูป ๔ กล่าวคือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ยังมีความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไปได้ แต่เหล่าอริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ ผู้ประกอบพร้อมแล้ว

ด้วยความเลื่อมใสอย่างมั่นไม่หวั่นไหวในพระธรรม ย่อมไม่มีความแปรปรวน เป็นอย่างอื่นเลย ข้อที่ว่าผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหว ในพระธรรม ยังจะมีความแปรปรวนเป็นอย่างอื่น จนเข้าถึง นรกก็ดี กำเนิด เดรัจฉานก็ดี เปรตวิสัยก็ดี ดังนี้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย เธอพึงยังชนเหล่านั้น ให้สมาทานให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ ในความเ ลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติ ดีแล้ว … เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ภิกษุทั้งหลาย แม้มหาภูตรูป ๔ กล่าวคือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ยังมีความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไปได้

แต่เหล่าอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอย่าง ไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ย่อมไม่มีความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเลย ข้อที่ว่า  ผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ยังจะมีความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นจนเข้าถึงนรกก็ดี กำเนิดเดรัจฉานก็ดี เปรตวิสัยก็ดี ดังนี้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย เธอพึงยังชนเหล่านั้น ให้สมาทานให้ตั้ง มั่นให้ดำรงอยู่ ในศีลทั้งหลายที่พระอริยะชอบใจ เป็น ศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันผู้รู้สรรเสริญไม่ถูกทิฏฐิครอบงำ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย แม้มหาภูตรูป ๔ กล่าวคือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ยังมีความแปรปรวนเป็นอย่างอื่น ไปได้

แต่เหล่าอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายที่พระอริยะ ชอบใจ ย่อมไม่มีความแปรปรวนเป็น อย่างอื่นเลย ข้อที่ว่าผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายที่พระอริยะชอบใจ ยังจะมีความแปรปรวนเป็นอย่างอื่น จนเข้าถึง นรกก็ดีกำเนิดเดรัจฉานก็ดี เปรตวิสัยก็ดี ดังนี้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเอ็นดูใคร และใครถือว่าเธอเป็นผู้ที่เขาควรเชื่อฟัง เขาจะเป็นมิตรก็ตาม อำมาตย์ก็ตาม ญาติหรือสายโลหิต ก็ตาม เธอพึง ยัง ชนเหล่า นั้น ให้สมาทานให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ ในโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ เหล่านี้แล.


กาม และ กามคุณ

60

24

ความหมายของกามและกามคุณ
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๙/๓๓๔.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกามปฏิปทา ที่ให้ถึงความดับ แห่งกาม.

ภิกษุท้้ง หลาย ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างกันแห่งกาม วิบากแห่งกามความดับแห่งกาม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ แห่งกามนั้นเราอาศัยอะไรกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ คือ รูปที่รู้ได้ด้วยตา อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารักเป็นที่ตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด เสียงที่รู้ได้ด้วยหู ... กลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูก ... รสที่รู้ได้ด้วยลิ้น ...โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางผิว) ที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ชื่อว่ากาม สิ่งเหล่านี้เรียกว่า กามคุณในอริยวินัย.

ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก (สงฺกปฺปราค) นั่นแหละ คือกาม ของคนเรา อารมณ์อันวิจิตร ทั้งหลายในโลกไม่ชื่อว่ากาม ความกำหนัดไปตาม อำนาจความ ตริตรึก นั่นแหละคือกามของคนเรา อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก ย่อมตั้งอยู่ ตามสภาพของมันเท่านั้น ผู้มีปัญญาทั้งหลายย่อมกำจัด ความพอใจ ในอารมณ์ อันวิจิตรเหล่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเกิดแห่งกามเป็นอย่างไร คือผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกาม ทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างกันแห่งกามเป็นอย่างไรคือ กามในรูปเป็นอย่างหนึ่ง กามในเสียงเป็นอย่างหนึ่งกามในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง กามในรสเป็นอย่างหนึ่ง กามในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ความต่างกันแห่งกาม.

ภิกษุทั้งหลาย ก็วิบากแห่งกามเป็นอย่างไร คือ การที่บุคคลผู้ใคร่อยู่ซึ่ง อารมณ์ใด ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้นจากความใคร่นั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญ ก็ดีหรือเป็นส่วนไม่ใช่บุญก็ดี นี้เรียกว่า วิบากแห่งกาม.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งกามเป็นอย่างไร คือความดับแห่งกาม ย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกาม.

62


25

โลก ในอริยวินัย คือ กามคุณ ๕
-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๔๖/๒๔๒./โรหิตัสสสูตรที่ ๑ ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๔๗

ครั้งหนึ่ง พราหมณ์ผู้ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ ๒ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค และได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ปูรณกัสสปะ เป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง เห็นสิ่งทั้งปวง ปฏิญาณการรู้การเห็นอันไม่มีส่วนเหลือว่าเมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะ ปรากฏติดต่อเนื่องกันไป ปูรณกัสสปะนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า

เรารู้เราเห็นโลกอันไม่มีที่สุด ด้วยญาณอันไม่มีที่สุด ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ แม้นิครณฐนาฏบุตร ก็เป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวงเห็นสิ่งทั้งปวง ปฏิญาณการรู้ การเห็น อันไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะปรากฏ ติดต่อเนื่องกันไป นิครณฐนาฏบุตร นั้น กล่าวอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นโลกอันไม่มี ที่สุด ด้วยญาณอันไม่มีที่สุด ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ คนทั้ง ๒ ต่างก็พูดอวดรู้กัน มีคำพูดขัดแย้งกันใครพูดจริง ใครพูดเท็จ.

พราหมณ์ อย่าเลย ข้อที่คนทั้ง ๒ นี้ต่างพูดอวดรู้กันมีคำพูดขัดแย้งกัน ใครพูดจริง ใครพูดเท็จนั้น พักไว้ก่อนเถิดพราหมณ์ เราจักแสดงธรรม แก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าว.

พราหมณ์ เปรียบเหมือนชาย ๔ คน ยืนอยู่ใน ๔ ทิศต่างก็มีฝีเท้าในการเดิน และการวิ่ง ที่เยี่ยมพอๆกันความเร็วในการวิ่งของเขานั้น ประดุจลูกธนูชนิดเบา ที่ถูกยิงผ่านเงาต้นตาลตามขวางได้โดยง่าย ของนายขมังธนูที่ถือธนูไว้อย่างมั่น คง ผู้ที่ศึกษามาเจนฝีมือแล้ว ผ่านการประลองฝีมือแล้ว ในการก้าวของเขานั้น ประดุจก้าวจากมหาสมุทรด้านทิศตะวันออก ถึงมหาสมุทรด้านทิศตะวันตก1

ครั้งนั้น ชายผู้ยืนอยู่ด้านทิศตะวันออก กล่าวอย่างนี้ว่า เราจะเดินทางไปให้ถึง ที่สุดโลก โดยเขาเว้นจากการดื่ม การกิน การลิ้ม เว้นจากการถ่ายอุจจาระ และ ปัสสาวะ เว้นจากการหลับ และการพัก เขามีอายุ ๑๐๐ ปีมีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี เดินทางไปตลอด ๑๐๐ ปี ยังไม่ทันถึงที่สุดโลกเลย ก็ตายเสียก่อน

ถ้าชายผู้ยืนอยู่ด้านทิศตะวันตก …ถ้าชายผู้ยืนอยู่ด้านทิศเหนือ … ถ้าชายผู้ยืนอยู่ ด้านทิศใต้กล่าวอย่างนี้ว่า เราจะเดินทางไปให้ถึงที่สุดโลก โดยเขาเว้นจากการดื่ม การกิน การลิ้ม เว้นจากการถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะเว้นจากการหลับและการพัก เขามีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี เดินทางไปตลอด ๑๐๐ ปี ยังไม่ทันถึงที่สุดโลก เลยก็ตายเสียก่อน

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร

เพราะเราไม่กล่าวว่าบุคคลจะพึงรู้พึงเห็น จะพึงถึงที่สุดของโลกด้วยเดินทาง เห็นปานนั้น และเราไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกจะกระทำที่สุด แห่งทุกข์ได้.

พราหมณ์ กามคุณ ๕ ประการนี้ เรียกว่าโลกในอริยวินัย กามคุณ ๕ ประการ อะไร บ้าง คือ รูปที่รู้ได้ด้วยตาอันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่ตั้ง 1

1. สำนวนแปลมีความแตกต่างจากพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงบ้าง เพื่อให้สามารถ เข้าใจเนื้อความได้ดีขึ้น จึงได้นำสำนวนของ โรหิตัสสสูตร และฉบับแปล ภาษาอังกฤษ ของ ภิกขุโพธิ มาปรับใช้บางส่วน. –ผู้รวบรวม

อาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่รู้ได้ด้วยหู … กลิ่นที่รู้ได้ ด้วยจมูก … รสที่รู้ได้ด้วยลิ้น …โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจมีลักษณะน่ารัก เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด พราหมณ์ กามคุณ ๕ ประการเหล่านี้แลเรียกว่าโลก ในอริยวินัย.

พราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ ภิกษุนี้ เรียกว่าได้ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว และอยู่ในที่สุดแห่งโลก แต่ชนเหล่าอื่นกล่าวภิกษุ นั้นอย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ก็ยังนับเนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไปจากโลก พราหมณ์ เป็นความจริง แม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ก็ยังนับเนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไปจากโลก.

พราหมณ์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน …บรรลุตติยฌาน … บรรลุ จตุตถฌาน ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว และอยู่ในที่สุด แห่งโลก แต่ชนเหล่าอื่นกล่าวภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ก็ยังนับเนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตน ไม่พ้นไปจากโลก พราหมณ์ เป็นความจริงแม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ก็ยังนับ เนื่องอยู่ในโลกยังสลัดตนไม่พ้นไปจากโลก.

พราหมณ์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เสียได้ โดยประการ ทั้งปวง ... จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ... ภิกษุนี้เรียกว่าได้ถึงที่สุดแห่งโลก แล้ว และอยู่ในที่สุดแห่งโลก แต่ชนเหล่าอื่นกล่าวภิกษุนั้นอย่างนี้ว่าแม้ภิกษุนี้ ก็ยังนับเนื่อง อยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไปจากโลกพราหมณ์ เป็นความจริง แม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ก็ยังนับเนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไป จากโลก.

พราหมณ์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ เสียได้ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ … เพราะก้าวล่วง วิญญาณัญจายตนะ เสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ … เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะเสียได้ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะภิกษุนี้เรียกว่าได้ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว และอยู่ใน ที่สุดแห่งโลก แต่ชนเหล่าอื่นกล่าวภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้ก็ยังนับเนื่อง อยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไปจากโลก พราหมณ์ เป็นความจริง แม้เราก็กล่าว อย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ก็ยังนับเนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไปจากโลก.

พราหมณ์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะเสียได้ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ อาสวะของเธอสิ้นรอบแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา พราหมณ์ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว และอยู่ในที่สุดแห่งโลก ก้าวพ้นเครื่องยึดเหนี่ยวในโลกได้แล้ว.

(ผู้เข้าถึง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จัตตุถฌาน อากาสา วิญญานัญจา อากิจจัญญา เนวสัญญา เรียกว่า ได้ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว ก้าวพ้นเครื่องยึดเหนี่ยวได้แล้ว ..ที่สุดของโลก คือ กายที่ประกอบด้วย สัญญาและใจนี้เท่านั้น)

66

26

โลก คือ สิ่งที่แตกสลายได้
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๖๔/๙๘.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า โลก โลก ดังนี้ อันว่าโลกมีได้ด้วยเหตุเพียง เท่าไรหนอ.

ภิกษุ เพราะจะต้องแตกสลาย เราจึงกล่าวว่าโลกก็อะไรเล่าจะต้องแตกสลาย.

ภิกษุ ตาแตกสลาย รูปแตกสลาย จักษุวิญญาณแตกสลาย จักษุสัมผัส แตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัยก็แตกสลาย.

ภิกษุ หูแตกสลาย เสียงแตกสลาย โสตวิญญาณแตกสลาย โสตสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัส เป็นปัจจัยก็แตกสลาย.

ภิกษุ จมูกแตกสลาย กลิ่นแตกสลาย ฆานวิญญาณแตกสลาย ฆานสัมผัส แตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ ฆานสัมผัสเป็นปัจจัยก็แตกสลาย.

ภิกษุ ลิ้นแตกสลาย รสแตกสลาย ชิวหาวิญญาณแตกสลาย ชิวหาสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส เป็นปัจจัยก็แตกสลาย.

ภิกษุ กายแตกสลาย โผฏฐัพพะแตกสลาย กาย-วิญญาณแตกสลาย กายสัมผัส แตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดีทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ กายสัมผัสเป็นปัจจัยก็แตกสลาย.

ภิกษุ ใจแตกสลาย ธรรมแตกสลาย มโนวิญญาณแตกสลาย มโนสัมผัสแตกสลาย แม้สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัยก็แตกสลาย.

ภิกษุ เพราะจะต้องแตกสลาย เราจึงกล่าวว่า โลกดังนี้.

68

27

กามคุณ ๕คือ เครื่องจองจำในอริยวินัย
-บาลี สี. ที. ๙/๓๐๕/๓๗๗.

วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดี น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้ต้องการฝั่งแสวงหาฝั่ง ไปยังฝั่ง ประสงค์จะข้ามฝั่งไป เขามัดแขน ไพล่หลังอย่างแน่นด้วยเชือกอย่างเหนียวที่ริมฝั่งนี้ วาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญ ความข้อ นั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นพึงไปสู่ฝั่งโน้น จากฝั่งนี้ แห่งแม่น้ำอจิรวดี ได้หรือไม่.

ไม่ได้เลย ท่านพระโคดมผู้เจริญ.

วาเสฏฐะ ฉันนั้นก็เหมือนกัน กามคุณ ๕ เหล่านี้ในอริยวินัยเรียกว่า ขื่อคาบ้าง เรียกว่า เครื่องจองจำบ้างกามคุณ ๕ อะไรบ้าง คือ รูปที่รู้ได้ด้วยตา เสียงที่รู้ได้ ด้วยหูกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูก รสที่รู้ได้ด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายอันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด วาเสฏฐะกามคุณ ๕ เหล่านี้ ในอริยวินัยเรียกว่า ขื่อคาบ้าง เรียกว่าเครื่องจองจำบ้าง.

วาเสฏฐะ พวกพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา ผู้หยั่งลงอยู่สยบอยู่ หมกมุ่นอยู่ ไม่มองเห็น โทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออกพากันบริโภคอยู่ซึ่งกามคุณ ๕ เหล่านี้ ก็พราหมณ์ ผู้ได้ไตรวิชชาเหล่านั้น ละธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์เสีย สมาทานธรรม ประพฤติธรรมที่ไม่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ เขาเป็นผู้หยั่งลงอยู่ สยบอยู่ หมกมุ่น อยู่ ไม่มองเห็นโทษไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ซึ่งกามคุณ ๕ มีกาม ฉันทะผูกมัดแล้ว เบื้องหน้าจากการตายเพราะกายแตกทำลาย จะเข้าถึงความเป็น สหายแห่งพรหม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดี น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้ต้องการฝั่งแสวงหาฝั่ง ไปยังฝั่ง ประสงค์จะข้ามฝั่งไป เขากลับนอน คลุมตลอดศีรษะเสียที่ฝั่ง วาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้น พึงไปสู่ฝั่งโน้นจากฝั่งนี้ แห่งแม่น้ำอจิรวดีได้หรือไม่.

ไม่ได้เลย ท่านพระโคดมผู้เจริญ.

วาเสฏฐะ ฉันนั้นก็เหมือนกัน นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ในอริยวินัยเรียกว่า เครื่องปิดบ้าง เครื่องกางกั้นบ้างเครื่องคลุมบ้าง เครื่องร้อยรัดบ้าง นิวรณ์ ๕ อะไรบ้าง คือ กามฉันท-นิวรณ์ พยาบาท-นิวรณ์ ถีนมิทธ-นิวรณ์ อุทธัจจ-กุกกุจจ-นิวรณ์ วิจิกิจฉา-นิวรณ์ วาเสฏฐะ  นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ในอริยวินัยเรียกว่า เครื่องปิดบ้าง เครื่องกางกั้น บ้าง เครื่องคลุมบ้าง เครื่องร้อยรัดบ้าง.

วาเสฏฐะ พวกพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา ถูกนิวรณ์ ๕เหล่านี้ปิดแล้ว กั้นแล้ว คลุมแล้ว ร้อยรัดแล้ว ก็พราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชาเหล่านั้น ละธรรมที่ทำบุคคลให้เป็น พราหมณ์เสียสมาทาน ธรรมประพฤติธรรมที่ไม่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์่ เขาถูก นิวรณ์ ๕ ปิดแล้ว กั้นแล้ว คลุมแล้ว ร้อยรัดแล้วเบื้องหน้าจากการตาย เพราะกาย แตกทำลาย จะเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

71

28
กามเลว ปานกลาง และประณีต

-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๖/๗.

ภิกษุทั้งหลาย โดยมากสัตว์ทั้งหลาย หมกมุ่นอยู่ในกาม กุลบุตรผู้ละเคียว และคานหาบหญ้าออกบวชเป็นบรรพชิต ควรเรียกว่าเป็นกุลบุตรผู้มีศรัทธาออกบวช ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเขาควรได้กามด้วยความเป็นหนุ่มและกามเหล่านั้น ก็มีอยู่ตามสภาพ คือ กามเลว (หีนา กามา)กามปานกลาง (มชฺฌิมา กามา) และกามประณีต (ปณีตา กามา) ซึ่งกามทั้งหมดก็ถึงการนับว่าเป็นกามทั้งนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเด็กที่ยังอ่อน ยังได้แต่นอนหงาย เมื่อพี่เลี้ยงเผลอ ได้คว้าชิ้นไม้หรือเศษกระเบื้องกลืนเข้าไป พี่เลี้ยงเห็นแล้วก็จะพยายามหาวิธี เอาออกโดยเร็ว เมื่อเอาออกไม่ได้โดยง่าย ก็จะประคองศีรษะเด็กด้วยมือซ้าย งอนิ้วมือขวาล้วงลงไปเกี่ยวขึ้นมา แม้ว่าจะถึงกับเลือดออกก็ต้องทำ

ข้อนี้เพราะเหตุอะไรเล่า เพราะแม้เด็กนั้น จะได้รับความเจ็บปวดก็จริง แต่พี่เลี้ยง ที่หวังความปลอดภัยแก่เด็กหวังจะช่วยเหลือเด็ก มีความเอ็นดูเด็ก ก็ต้องทำเช่นนั้น เพราะความเอ็นดูนั่นเอง ครั้นเด็กนั้นเติบโตขึ้น มีความรู้เดียงสาพอควรแล้ว พี่เลี้ยงก็วางใจในเด็กนั้น ด้วยคิดว่าบัดนี้เด็กนี้คุ้มครองตัวเองได้แล้ว ไม่อาจประมาทอีกต่อไปแล้ว ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตราบใดที่ภิกษุยังไม่ได้ทำกิจในกุศลธรรม ทั้งหลาย อันตนจะต้องทำด้วยศรัทธา ด้วยหิริ ด้วยโอตตัปปะ ด้วยวิริยะ และด้วยปัญญาตราบนั้น เรายังจะต้องตามคุ้มครองภิกษุนั้น แต่เมื่อใดภิกษุนั้น ได้ทำกิจในกุศลธรรมทั้งหลาย อันตนจะต้องทำด้วยศรัทธา ด้วยหิริ ด้วยโอตตัปปะ ด้วยวิริยะ ด้วยปัญญาสำเร็จแล้ว เราก็หมดห่วงในภิกษุนั้น ด้วยคิดว่า บัดนี้ภิกษุนี้ คุ้มครองตัวเองได้แล้ว ไม่อาจประมาทอีกต่อไปแล้ว ดังนี้.

73


29
กามอันเป็นทิพย์ ประณีตกว่ากามของมนุษย์
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๓/๑๖๒๗., -บาลี ม. ม. ๑๓/๒๗๕/๒๘๒.

เจ้าศากยะพระนามว่ามหานาม ได้ทูลถามผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ยินมาว่า ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคทรงทำจีวรสำเร็จแล้ว จะเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริกโดยล่วง ๓ เดือน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้หม่อมฉันยังไม่ได้ฟัง ยังไม่ได้รับมา เฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า อุบาสกผู้มีปัญญา พึงกล่าวสอนอุบาสกผู้มีปัญญา ผู้ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก.

มหานาม อุบาสกผู้มีปัญญา พึงปลอบอุบาสกผู้มีปัญญา ผู้ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ๔ ประการว่า ท่านจงเบาใจเถิด ว่าท่านมีความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ท่านมีความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระธรรม ... ท่านมีความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ... ท่านมีศีลทั้งหลายที่พระอริยะชอบใจ … เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ.

มหานาม อุบาสกผู้มีปัญญา ครั้นปลอบอุบาสกผู้มีปัญญา ผู้ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแหง่ ความเบาใจ ๔ ประการนี้แล้วพึงถามเขา อย่างนี้ว่า ท่านมีความห่วงใยในมารดาและบิดาอยู่หรือ ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เรายังมีความห่วงใยในมารดา และบิดาอยู่ อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านผู้เช่นกับเรา ซึ่งมีความตายเป็นธรรมดา ถ้าแม้ท่านจักกระทำความห่วงใย ในมารดา และบิดาก็จักตายไป ถ้าแม้ท่านจักไม่กระทำความห่วงใย ในมารดา และบิดา ก็จักตายไปเหมือนกัน ขอท่านจงละความห่วงใยในมารดา และบิดาของ ท่านเสียเถิดถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่ าเราละความห่วงใยในมารดา และบิดาของเรา แล้ว.

มหานาม อุบาสกนั้นพึงถามเขาอย่างนี้ว่า ท่านยังมีความห่วงใยในบุตร และภรรยาอยู่หรือ ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่าเรายังมีความห่วงใยในบุตร และภรรยาอยู่ อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านผู้เช่นกับเรา ซึ่งมีความตายเป็นธรรมดา ถ้าแม้ท่านจักกระทำความห่วงใยในบุตร และภรรยาก็จักตายไป ถ้าแม้ท่านจักไม่ กระทำความห่วงใยในบุตรและภรรยา ก็จักตายไปเหมือนกัน ขอท่านจงละความ ห่วงใยในบุตร และภรรยาของท่านเสียเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เราละความห่วงใยในบุตรและภรรยาของเราแล้ว.

มหานาม อุบาสกนั้นพึงถามเขาอย่างนี้ว่า ท่านยังมีความห่วงใยในกามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์อยู่หรือ ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เรายังมีความห่วงใยในกามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์อยู่ อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า กามอันเป็นทิพย์ ยังดีกว่า ประณีตกว่ากามอันเป็นของมนุษย์ (มานุสเกหิ กาเมหิ ทิพฺพา กามา อภิกฺกนฺตตรา จ ปณีตตรา จ) ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากกามอันเป็นของมนุษย์ แล้วน้อมจิต ไปในพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่าจิต ของเรา ออกจาก กาม อันเป็นของมนุษย์แล้ว จิตของเราน้อมไปในพวกเทวดาชั้น จาตุมหาราชิกา แล้ว.

มหานาม อุบาสกนั้น พึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ยังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจาก พวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา แล้วน้อมจิตไปในพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์เถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาแล้ว จิตของเราน้อมไปในพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้ว.

มหานาม อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า พวกเทวดาชั้นยามายังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ...พวกเทวดาชั้นดุสิตยังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทวดาชั้นยามา ...พวกเทวดาชั้นนิมมานรดียังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทวดา ชั้นดุสิต ... พวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ยังดีกว่า ประณีตกว่าพวกเทวดาชั้น นิมมานรดี ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากพวกเทวดาชั้นนิมมานรดี แล้วน้อมจิตไป ในพวกเทวดา ชั้นปรนิมมิตวสวัตตีเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจาก พวกเทวดาชั้นนิมมานรดีแล้ว จิตของเราน้อมไปในพวกเทวดา ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี แล้ว.

มหานาม อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่าพรหมโลกยังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ขอท่านจงพรากจิต ให้ออกจากพวกเทวดาชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี แล้วน้อมจิตไปในพรหมโลกเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่าจิตของเรา ออกจากพวกเทวดาชั้น ปรนิมมิตวสวัตตีแล้วจิตของเราน้อมไปในพรหมโลกแล้ว.

มหานาม อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่าท่านผู้มีอายุ แม้พรหมโลกก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ยังนับเนื่องในสักกายะ ขอท่านจงพรากจิต ให้ออกจากพรหมโลก แล้วนำจิตเข้าไปในความดับสักกายะเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่าจิตของเรา ออกจากพรหมโลกแล้ว เรานำจิตเข้าไปในความดับแห่งสักกายะแล้ว.

มหานาม เราไม่กล่าวถึงความต่างอะไรกันของอุบาสก ผู้มีจิตพ้นแล้วอย่างนี้ กับภิกษุผู้พ้นแล้วตั้งร้อยปีคือ พ้นด้วยวิมุตติเหมือนกัน.

… มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคหบดี หรือบุตรของคหบดีที่เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนด้วยรูปที่รู้ได้ด้วยตา อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด บำเรอตนด้วยเสียงที่รู้ได้ด้วยหู ... บำเรอตนด้วยกลิ่น ที่รู้ได้ด้วยจมูก ... บำเรอตนด้วยรสที่รู้ได้ด้วยลิ้น ... บำเรอตนด้วยโผฏฐัพพะ ที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่ตั้งอาศัย แห่งความใคร่เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

เขาเป็นผู้ประพฤติกายสุจริตวจีสุจริต มโนสุจริต เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทพบุตรนั้นอันหมู่ นางอัปสรแวดล้อมในสวนนันทวัน เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ บำเรอตนอยู่ในดาวดึงส์เทวโลกเทพบุตรนั้น ได้เห็นคหบดี หรือบุตรของคหบดี ผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่.

มาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไรเทพบุตรนั้น อันหมู่นางอัปสร แวดล้อมในสวนนันทวัน เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ บำเรอ ตนอยู่ จะพึงทะเยอทะยานต่อคหบดี หรือต่อบุตรของคหบดี หรือต่อกามคุณ ๕ ของมนุษย์ หรือจะพึงเวียนกลับมาในกามอันเป็นของมนุษย์บ้างไหม.

ไม่เป็นอย่างนั้น ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่ากามอัน เป็นทิพย์ น่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่ากามของมนุษย์.

มาคัณฑิยะ ถึงเราเองก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่ม เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนด้วยรูปที่รู้ได้ด้วยตา อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด บำเรอตนด้วยเสียงที่รู้ได้ด้วยหู ...บำเรอตนด้วยกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูก ... บำเรอตน ด้วย รสที่รู้ได้ด้วยลิ้น ... บำเรอตนด้วยโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด.

สมัยต่อมาเรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษและอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่ง กามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง แล้วละตัณหาในกาม ได้บรรเทาความเร่าร้อน ที่เกิดขึ้น เพราะความปรารภกามได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบใน ภายในอยู่ เรานั้นเห็นหมู่สัตว์อื่นที่ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกาม ตัณหา เคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้น เพราะความปรารภกามแผดเผาอยู่ แต่ก็ยังขืนเสพกามอยู่นั่นเอง เราย่อมไม่ทะเยอทะยานต่อสัตว์เหล่านั้น ไม่ยินดีใน กามนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเรายินดีอยู่ด้วยความยินดีที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ทั้งเป็นความยินดีที่ล่วงเลยความสุขอันเป็นของทิพย์ เราจึงไม่ทะเยอทะยานต่อธรรมอันเลว ไม่ยินดีในธรรมอันเลวนั้นเลย.

มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล สุกปลั่ง ถูกเชื้อโรคแทะกัด อยู่ เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง มาคัณฑิยะเขาทำ เช่นนั้นอยู่เพียงใด ปากแผลเหล่านั้นของเขา ยิ่งเป็นของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็นขึ้น และเน่าขึ้นด้วยประการนั้นๆ และจะมีความรู้สึกว่าน่ายินดี น่าพอใจสักหน่อยหนึ่ง ก็คือปากแผลทั้งหลาย ได้รับการเกาหรือการอบอุ่นด้วยไฟเป็นเหตุเท่านั้น ข้อนี้ฉันใด.

มาคัณฑิยะ สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ในกาม ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้น เพราะความปรารภ กามแผดเผาอยู่แต่ก็ยังขืนเสพกามอยู่นั่นเอง มาคัณฑิยะ สัตว์เหล่านั้นทำเช่นนั้น อยู่เพียงใด กามตัณหาก็ย่อมเจริญขึ้น แก่สัตว์เหล่านั้น และสัตว์เหล่านั้นก็ถูกความ เร่าร้อนที่เกิดขึ้น เพราะความปรารภกามแผดเผาอยู่ ด้วยประการนั้นๆ และจะมีความ รู้สึกว่าน่ายินดี น่าพอใจสักหน่อยหนึ่ง ก็เพราะอาศัยรสอร่อยของกามคุณ ๕ เป็นเหตุเท่านั้น.

80

30

เทียบเคียงลักษณะเทวดาชั้นดาวดึงส์
-บาลี มหา. วิ. ๕/๙๕/๗๗., -บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๑๕/๙๒.

พวกเจ้าลิจฉวีชาวพระนครเวสาลี ได้ฟังข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จมาโดยลำดับ ถึงโกฏิคามแล้ว จึงพากันจัดยวดยานที่งามๆ เสด็จขึ้นสู่ยวดยานที่งามๆ มียวดยานที่งามๆ ออกไปจากพระนครเวสาลี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค เจ้าลิจฉวี บางพวกเขียวล้วน คือ มีผิวสีเขียว ทรงผ้าสีเขียวทรงเครื่องประดับสีเขียว บางพวกเหลืองล้วน คือ มีผิวสีเหลือง ทรงผ้าสีเหลืองทรงเครื่องประดับสีเหลือง บางพวกแดงล้วน คือ มีผิวสีแดง ทรงผ้าสีแดงทรงเครื่องประดับสีแดง บางพวกขาวล้วน คือ มีผิวสีขาว ทรงผ้าสีขาวทรงเครื่องประดับสีขาว.

พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น กำลังเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดไม่เคยเห็นเทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็จงมองดูพวกเจ้าลิจฉวี จงพิจารณาดู จงเทียบเคียงดูพวกเจ้าลิจฉวีกับพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์เถิด.

(ในสูตรอื่น -บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๖๙/๑๓๖. ยังพบการกล่าวถึงสี ที่เกี่ยวข้องกับ เทวดาด้วย. ผู้รวบรวม)