เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  สกทาคามี-พุทธวจน ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  4 of 4  
 
  สกทาคามี พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
       
  48 . การละธรรม ๓ เพื่อละราคะ โทสะ โมหะ 126  
  49 . เห็นสัญโญชนิยธรรมโดยความเป็นของน่าเบื่อหน่ายเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ 133  
  50 . เพราะมีความสิ้นไปแห่งนันทิ จึิงมีความสิ้นไปแห่งราคะ 135  
  51 . นิพพานที่เห็นได้เอง 138  
       
  ภพ ๓    
  52 . ภพ ๓ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ) 142  
  53 . การตั้งอยู่ของวิญญาณ คือ การบังเกิดในภพใหม่ 143  
  54 . การตั้งอยู่ของความเจตนา หรือความปรารถนาคือ การบังเกิดในภพใหม่ 145  
  55 . ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา อุปายะและอุปาทาน ในขันธ์ ๕ คือ เครื่องนำไปสู่ภพ 147  
  56 . มีจิตฝังลงไปในสิ่งใด เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ย่อมมี 148  
  57 . มีจิตฝังลงไปในสิ่งใด การก้าวลงแห่งนามรูปย่อมมี 150  
  58 . มีจิตฝังลงไปในสิ่งใด การเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปย่อมมี 152  
       
  ข้อปฏิบัติเพื่อความเป็น อริยบุคคล    
  59 . อานิสงส์ของธรรม ๔ ประการ 156  
  60 . ละธรรม ๕ อย่าง ได้ความเป็นอริยบุคคล 160  
  61 . ผลของการพิจารณาเห็นสังขาร โดยความไม่เที่ยง 162  
  62 . ผลของการพิจารณาเห็นสังขาร โดยความเป็นทุกข์ 163  
  63 . ผลของการพิจารณาเห็นธรรม โดยความเป็นอนัตตา 164  
  64 . ผลของการพิจารณาเห็นนิพพาน โดยความเป็นสุข 165  
  65 . การเห็นเพื่อละสังโยชน์ 166  
  66 . การเห็นเพื่อละอนุสัย 168  
  67 . การเห็นเพื่อละอาสวะ 169  
  68 . การเห็นเพื่อละอวิชชา 170  
  69 . เหตุสำเร็จตามความปรารถนา 171  
  70 . บทสรุป    
       
 
 





126


48

การละธรรม ๓ เพื่อละราคะ โทสะ โมหะ
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๕๔/๗๖.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรม ๓ ประการเหล่านี้ ไม่มีอยู่ในโลก ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้น ในโลก เป็นอรหันตสัมมา-สัมพุทธะ และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองอยู่ในโลก

ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ชาติ ชรา และมรณะ

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ถ้าไม่มีในโลก ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้น ในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ และธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองอยู่ในโลก.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ธรรม ๓ ประการเหล่านี้มีอยู่ในโลก ดังนั้น ตถาคต จึงต้องเกิดขึ้น ในโลก เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ และธรรมวินัยที่ตถาคต ประกาศแล้วจึงต้องรุ่งเรือง อยู่ในโลก.

ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเมื่อไม่ละ ซึ่งธรรม ๓ คือ ราคะ โทสะ และโมหะ
ก็ไม่อาจละ ซึ่งธรรม ๓ คือ ชาติ ชรา และ มรณะ.

(๑) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่ละซึ่งธรรม ๓ คือ
สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่ากายของตน)
วิจิกิจฉา (ความลังเลในธรรมที่ไม่ควรลังเล) และ
สีลัพพัตตปรามาส (การลูบคลำศีลและพรต) ก็ไม่อาจละ ซึ่งธรรม ๓ คือ ราคะ โทสะ และโมหะ.

(2) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่ละซึ่งธรรม ๓ คือ
การทำในใจโดยไม่แยบคาย (อโยนิโส มนสกิาร)
การพัวพันอยู่ในทฏิ ฐิอันชั่ว (กุมมัคคเสวนา) และ
การมีจิตหดหู่ (เจตโสลีนัตตา) ก็ไม่อาจละ ซึ่งธรรม ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพัตตปรามาส.

(3) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่ละซึ่งธรรม ๓ คือ
ความมีสติอันลืมหลง (มุฏฐสัจจะ)
ความไม่มี สัมปชัญญะ (อสัมปชัญญะ) และ
ความส่ายแห่งจิต (เจตโส วิกเขปะ) ก็ไม่อาจละซึ่งธรรม ๓ คือ การทำในใจ โดยไม่แยบคาย การพัวพันอยู่ในทิฏฐิอันชั่ว และการมีจิตหดหู่.

(4) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่ละซึ่งธรรม ๓ คือ
ความไม่อยากเห็นพระอริยะ (อรยิานัง อทัส สนกัมย๎ ตา) ความไม่อยากฟังธรรมของพระอริยะ (อริยธัมมัง อโสตุกัม๎ยตา) และ
ความมีจิตเที่ยว เกาะเกี่ยว (อุปารัมภจิตตตา) ก็ไม่อาจละซึ่งธรรม ๓ คือ ความมีสติอันลืมหลง ความไม่มีสัมปชัญญะ และความส่ายแห่งจิต.

(5) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่ละซึ่งธรรม ๓ คือ
ความฟุ้งซ่าน (อุทธัจจะ)
ความไม่สำรวม (อสังวระ) และ
ความทุศีล (ทุสสีล๎ยะ) ก็ไม่อาจละซึ่งธรรม ๓ คือ ความไม่อยากเห็นพระอริยะ ความไม่อยากฟังธรรมของพระอริยะ และความมีจิตเที่ยวเกาะเกี่ยว.

(6) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่ละซึ่งธรรม ๓ คือ
ความไม่มีศรัทธา (อสัทธิยะ)
ความไม่เอื้อเฟื้อ (อวทัญญุตา) และ
ความเกียจคร้าน (โกสัชชะ) ก็ไม่อาจละซึ่งธรรม ๓ คือความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม และความทุศีล.

(7) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่ละซึ่งธรรม ๓ คือ
ความไม่ใส่ใจ (อนาทริยะ)
ความเป็นผู้ว่ายาก (โทวจัสสตา) และ
ความมีมิตรชั่ว (ปาปมิตตา) ก็ไม่อาจละซึ่งธรรม ๓ คือ ความไม่มีศรัทธา ความไม่เอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้าน.

(8) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่ละซึ่งธรรม ๓ คือ
ความไม่มีหิริ (ไม่ละอายต่อบาปอกุศล)
ความไม่มีโอตตัปปะ (ไม่เกรงกลัวต่อบาปอกุศล) และ
ความประมาท ก็ไม่อาจละซึ่งธรรม๓ คือ ความไม่ใส่ใจ ความเป็นผู้ว่ายาก และความมีมิตรชั่ว.

ภิกษุท้้งหลาย เมื่อบุคคลนี้
เป็นผู้ไม่มีหิริ (ไม่ละอายต่อบาปอกุศล)
ไม่มีโอตตัปปะ (ไม่เกรงกลัว ต่อบาปอกุศล) และ
มีความประมาทแล้ว เขาเมื่อเป็นผู้ประมาท ก็ไม่อาจละซึ่งความไม่ใส่ใจ ความเป็นผู้ว่ายาก และความมีมิตรชั่ว.

เขาเมื่อเป็นผู้มีมิตรชั่ว ก็ไม่อาจละซึ่ง ความไม่มีศรัทธา ความไม่เอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้าน.

เขาเมื่อเป็นผู้เกียจคร้าน ก็ไม่อาจละซึ่ง ความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม และความทุศีล.

เขาเมื่อเป็นผู้ทุศีล ก็ไม่อาจละซึ่งความ ไม่อยากเห็นพระอริยะ ความไม่อยากฟังธรรม ของพระอริยะ และความมีจิตเที่ยวเกาะเกี่ยว.

เขาเมื่อเป็นผู้มีจิตเที่ยวเกาะเกี่ยว ก็ไม่อาจละซึ่งความ มีสติอันลืมหลง ความไม่มีสัมปชัญญะ และความส่ายแห่งจิต.

เขาเมื่อเป็นผู้มีความส่ายแห่งจิต ก็ไม่อาจละซึ่ง การทำในใจโดยไม่แยบคาย การพัวพันอยู่ในทิฏฐิอันชั่ว และการมีจิตหดหู่.

เขาเมื่อเป็นผู้มีจิตหดหู่ ก็ไม่อาจละซึ่ง สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพัตตปรามาส.

เขาเมื่อเป็นผู้มีวิจิกิจฉา ก็ไม่อาจละซึ่งราคะ โทสะ และโมหะ.

เขาเมื่อไม่ละซึ่งราคะ โทสะ และโมหะ ก็ไม่อาจละซึ่งชาติ ชรา และมรณะได้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อละซึ่งธรรม ๓ คือ ราคะ โทสะ และโมหะ
ก็อาจละซึ่งธรรม ๓ คือ ชาติ ชรา และมรณะ.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อละซึ่งธรรม ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพัตตปรามาส ก็อาจละซึ่งธรรม ๓ คือราคะ โทสะ และโมหะ.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อละซึ่งธรรม ๓ คือ การทำในใจโดยไม่แยบคาย การพัวพันอยู่ใน ทิฏฐิอันชั่ว และการมีจิตหดหู่ ก็อาจละซึ่งธรรม ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส .

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อละซึ่งธรรม ๓ คือ ความมีสติอันลืมหลง ความไม่มีสัมปชัญญะ และความส่ายแห่งจิตก็อาจละซึ่งธรรม ๓ คือ การทำในใจโดยไม่แยบคาย การพัวพันอยู่ใน ทิฏฐิอันชั่ว และการมีจิตหดหู่.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อละซึ่งธรรม ๓ คือความไม่อยากเห็นพระอริยะ ความไม่อยากฟังธรรม ของพระอริยะและความมีจิตเที่ยวเกาะเกี่ยว ก็อาจละซึ่งธรรม ๓ คือ ความมีสติอันลืมหลง ความไม่มีสัมปชัญญะ และความส่ายแห่งจิต.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อละซึ่งธรรม ๓ คือ ความฟุ้งซ่านความไม่สำรวม และความทุศีล ก็อาจละซึ่งธรรม ๓ คือความไม่อยากเห็นพระอริยะ ความไม่อยากฟังธรรมของพระอริยะ และความมีจิตเที่ยวเกาะเกี่ยว.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อละซึ่งธรรม ๓ คือ ความไม่มีศรัทธา ความไม่เอื้อเฟื้อ และความ เกียจคร้าน ก็อาจละซึ่งธรรม ๓ คือ ความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม และความทุศีล.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อละซึ่งธรรม ๓ คือ ความไม่ใส่ใจ ความเป็นผู้ว่ายาก และความมีมิตรชั่ว ก็อาจละซึ่งธรรม ๓ คือ ความไม่มีศรัทธา ความไม่เอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้าน.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อละซึ่งธรรม ๓ คือ ความไม่มีหิริ ความไม่มีโอตตัปปะ และความประมาท ก็อาจละซึ่งธรรม ๓ คือ ความไม่ใส่ใจ ความเป็นผู้ว่ายาก และความมีมิตรชั่ว.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลนี้ เป็นผู้มีหิริ มีโอตตัปปะและมีความไม่ประมาทแล้ว เขาเมื่อเป็นผู้ไม่ ประมาท ก็อาจละซึ่งความไม่ใส่ใจ ความเป็นผู้ว่ายาก และความมีมิตรชั่ว.

เขาเมื่อเป็นผู้มีกัลยาณมิตร (มิตรที่ดีงาม) แล้ว ก็อาจละซึ่งความไม่มีศรัทธา ความไม่เอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้าน.

เขาเมื่อเป็นผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว (อารัทธวิริยะ)ก็อาจละซึ่งความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม และความทุศีล.

เขาเมื่อเป็นผู้มีศีล ก็อาจละซึ่งความไม่อยากเห็นพระอริยะ ความไม่อยากฟังธรรมของพระอริยะ และความมีจิตเที่ยวเกาะเกี่ยว.

เขาเมื่อเป็นผู้มีจิตไม่เที่ยวเกาะเกี่ยว (อนุปารัมภจิตตะ)ก็อาจละซึ่งความมีสติอันลืมหลง ความไม่มีสัมปชัญญะ และความส่ายแห่งจิต.

เขาเมื่อเป็นผู้มีจิตไม่ส่ายแล้ว (อวิกขิตตจิตตะ) ก็อาจละซึ่งการทำในใจโดยไม่แยบคาย การพัวพันอยู่ในทิฏฐิอันชั่วและการมีจิตหดหู่.

เขาเม่อื เป็นผู้มีจิตไม่หดหู่แล้ว (อลีนจิตตะ) ก็อาจละซึ่งสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพัตต ปรามาส.

เขาเมื่อเป็นผู้ไม่มีวิจิกิจฉาแล้ว ก็อาจละซึ่งราคะโทสะ และโมหะ.

เขาเมื่อเป็นผู้ละได้แล้วซึ่งราคะ โทสะ และโมหะ ก็อาจละซึ่งชาติ ชรา และมรณะได้ ดังนี้.

133

49

เห็นสัญโญชนิยธรรมโดยความเป็นของน่าเบื่อหน่าย เพื่อละราคะ โทสะ โมหะ
-บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๖๕/๒๕๒.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้มีอยู่ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ การตามเห็นความ เป็นของน่า ยินดี (อสฺสาทา) ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ (สญฺโญชนิเยสุ ธมฺเมสุ) และการตามเห็นความเป็นของน่าเบื่อหน่าย (นิพฺพิทา) ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์.

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ตามเห็นความเป็นของน่ายินดีในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่ง สังโยชน์อยู่ ย่อมละราคะโทสะ โมหะไม่ได้ เพราะละราคะ โทสะ โมหะไม่ได้ ย่อมไม่หลุดพ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย เรากล่าวว่า ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ตามเห็นความเป็นของน่าเบื่อหน่ายในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้ง แห่งสังโยชน์ อยู่ ย่อมละราคะโทสะ โมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ โมหะได้ ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลธรรม ๒ อย่าง.

 (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ได้แก่ อายตนะภายในหก คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๑๐/๑๕๙. อายตนะภายนอกหก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรม -บาลี สฬา. สํ.๑๘/๑๓๕/๑๘๙.

ขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๒/๓๐๘. นอกจากนี้ ยังได้ตรัสอีกว่า ธรรมเหล่านี้ ก็เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (อุปาทานนิยธรรม) ด้วยเช่นกัน ผู้สนใจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก หนังสือ พุทธวจน-หมวดธรรมเล่ม ๑๕ ปฏิบัติ สมถะ วิปัสสนา หรือจากพระไตรปิฎก. -ผู้รวบรวม)


135

50

เพราะมีความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๓/๑๐๓.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็น รูป อันไม่เที่ยงนั่นแหละว่าไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย

พราะความสิ้นไปแห่งนันทิ (ความเพลิน) จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
เพราะความสิ้นไป แห่งนันทิ และราคะ กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี

ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเห็น เวทนา อันไม่เที่ยงนั่นแหละว่าไม่เที่ยง
ภิกษุเห็น สัญญา อันไม่เที่ยง นั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง
ภิกษุเห็น สังขาร อันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็น วิญญาณ
อันไม่เที่ยงนั่นแหละว่าไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้น ไปแห่ง ราคะ
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่ง นันทิ
เพราะความสิ้นไปแห่ง นันทิ และราคะ กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจ ซึ่งรูป โดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็น ความไม่เที่ยงแห่งรูป ตามความเป็นจริง
เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจ ซึ่งรูป โดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณา เห็นความไม่เที่ยงแห่งรูป ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในรูป
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่ง ราคะ
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่ง นันทิ
เพราะความสิ้นไปแห่ง นันทิ และ ราคะ กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจ ซึ่งเวทนาโดยอุบายอันแยบคาย … เธอทั้งหลาย จงกระทำไว้ในใจ ซึ่งสัญญาโดยอุบายอันแยบคาย … เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจ ซึ่งสังขาร โดยอุบายอันแยบคาย … .
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจ ซึ่งวิญญาณ โดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุกระทำ ไว้ในใจซึ่งวิญญาณ โดย อุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็น ความไม่เที่ยงแห่ง วิญญาณ ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในวิญญาณ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
เพราะความ สิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
เพราะความสิ้นไปแห่ง นันทิ และ ราคะ กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี


 (ในสูตรอื่น -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๗๙-๑๘๐/๒๔๕-๒๔๘.ได้ตรัสโดย ลักษณะ เดียวกันนี้ แต่เปลี่ยนจากชื่อของขันธ์ห้าเป็นอายตนะ ภายในหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และอายตนะภายนอกหก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรม. -ผู้รวบรวม)

138

51
นิพพานที่เห็นได้เอง
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๐๒/๔๙๕.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ คำที่พระโคดมกล่าวว่า นิพพานที่เห็นได้เอง (สนฺทิฏฺฐิก นิพฺพาน) นิพพานที่เห็นได้เอง ดังนี้

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ นิพพานที่เห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นสิ่งที่กล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อม เข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้ เฉพาะตนนั้นมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า

พราหมณ์ บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน ตนเองบ้าง
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง
ย่อมเสวยเฉพาะ ซึ่งทุกขะโทมนัส อันเป็นไปทางจิตบ้าง
เมื่อละราคะได้แล้ว
เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย และย่อมไม่เสวยเฉพาะซึ่ง ทุกขะโทมนัสอันเป็นไปทางจิตโดยแท้

พราหมณ์ นิพพานที่เห็นได้เอง (สนฺทิฏฺฐิกํ นิพฺพานํ) ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าว กะผู้อื่น ว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
--------------------------------------------------------------------------------------------------

พราหมณ์ บุคคลผู้มีโทสะ ถูกโทสะครอบงำ มีจิตถูกโทสะกลุ้มรุม
ย่อมคิดเพื่อ เบียดเบียน ตนเองบ้าง
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน ทั้งสองฝ่ายบ้าง
ย่อมเสวย เฉพาะซึ่งทุกขะโทมนัส อันเป็นไปทางจิตบ้าง
มื่อละโทสะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียน ตนเองย่อมไม่คิดเพื่อ เบียดเบียนผู้อื่น ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย และย่อมไม่เสวย เฉพาะซึ่ง ทุกขะโทมนัส อันเป็นไปทางจิตโดยแท้

พราหมณ์ นิพพานที่เห็นได้เองไม่ประกอบด้วยกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่น ว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.
--------------------------------------------------------------------------------------------------

พราหมณ์ บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง บ้าง
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง
ย่อมเสวยเฉพาะ ซึ่งทุกขะโทมนัส อันเป็นไปทางจิตบ้าง
เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย และย่อมไม่เสวย เฉพาะซึ่ง ทุกขะโทมนัส อันเป็นไปในทางจิตโดยแท้

พราหมณ์ นิพพานที่เห็นได้เองไม่ประกอบด้วยกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.
--------------------------------------------------------------------------------------------------

พราหมณ์ เมื่อใด ผู้นี้ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งความสิ้นไปแห่งราคะ อันหาเศษเหลือมิได้ ย่อมเสวย เฉพาะซึ่งความสิ้นไปแห่งโทสะ อันหาเศษเหลือมิได้ ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งความสิ้นไปแห่งโมหะ อันหาเศษเหลือมิได้

พราหมณ์เอย เมื่อนั้นนิพพานที่เห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด เป็น สิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส้ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ด้วยอาการ อย่างนี้แล

ภพ ๓


142


52

ภพ ๓ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ)
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๕๒/๙๒.

ภิกษุทั้งหลาย ภพ1 เป็นอย่างไรเล่า.
ภิกษุทั้งหลาย ภพทั้งหลาย ๓ อย่าง เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภพ

ความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ ย่อมมีเพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทาน ความดับไม่เหลือแห่งภพ ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งอุปาทานมรรค อันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเองเป็น ปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่ง ภพ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

1. ภพ = สถานที่อันวิญญาณใช้ตั้งอาศัยเพื่อเกิดขึ้น หรือเจริญงอกงามต่อไป
2. กามภพ = ที่เกิดอันอาศัย ดิน น้ำ ไฟ ลม
3. รูปภพ = สถานที่เกิดอันอาศัยสิ่งที่เป็นรูป ในส่วนละเอียด
4. อรูปภพ = สถานที่เกิดอันอาศัยสิ่งที่ไม่ใช่รูป


143

53

การตั้งอยู่ของวิญญาณคือ การบังเกิดในภพใหม่
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๘๗/๕๑๖.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ภพ ภพ ดังนี้ ภพ ย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า.

อานนท์ ถ้ากรรมมีกามธาตุ1 เป็นวิบาก จะไม่ได้มีแล้ว กามภพจะพึงปรากฏได้หรือ.

ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า.

อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ
กรรม จึงเป็น ผืนนา (กมฺมํเขตฺตํ)
วิญญาณ เป็น พืช (วิญฺญาณํ พีชํ)
ตัณหา เป็น ยางของพืช (ตณฺหา สิเนโห)

วิญญาณของสัตว์ทั้งหลายที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้น ทราม การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ (อวิชฺชานีวรณานํ สตฺตานํ ตณฺหาสญฺโญชนานํ หีนาย ธาตุยา วิญฺญาณํปติฏฺฐิตํ เอวํ อายตึ ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ โหติ)

อานนท์ ถ้ากรรมมีรูปธาตุ2 เป็นวิบาก จะไม่ได้มีแล้วรูปภพจะพึงปรากฏได้หรือ. ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า.

1. กามธาตุ = ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม. -ผู้รวบรวม
2. รูปธาตุ = สิ่งที่เป็นรูปในส่วนละเอียด. –ผู้รวบรวม

อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นผืนนา วิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็นยางของพืช วิญญาณ ของสัตว์ทั้งหลายที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง (มชฺฌิมาย ธาตุยา) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ถ้ากรรมมีอรูปธาตุ1 เป็นวิบาก จะไม่ได้มีแล้วอรูปภพ จะพึงปรากฏได้หรือ.

ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า.

อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นผืนนาวิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็นยาง ของพืช วิญญาณ ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหา เป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นประณีต (ปณีตาย ธาตุยา) การบังเกิดขึ้น ในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ภพ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.

อรูปธาตุ = สิ่งที่ไม่ใช่รูป เป็นนามธรรม เช่น เวทนา สัญญา สังขาร (ผู้ได้สมาธิระดับอากาสานัญจายตนะขึ้นไป) -ผู้รวบรวม

145

54

การตั้งอยู่ของความเจตนาหรือความปรารถนา
คือ การบังเกิดในภพใหม่

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๘๘/๕๑๗.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ภพ ภพ ดังนี้ ภพ ย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า.

อานนท์ ถ้ากรรม มีกามธาตุเป็นวิบาก จะไม่ได้มีแล้วกามภพจะพึงปรากฏได้หรือ.

ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า.

อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ
กรรมจึงเป็นผืนนา (กมฺมํเขตฺตํ)
วิญญาณเป็นพืช (วิญฺญาณํ พีชํ)
ตัณหาเป็นยางของพืช(ตัณหา สิเนโห)
ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ท้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องก้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นทราม การบังเกิดขึ้นใน ภพใหม่ ต่อไป ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ (อวิชฺชานีวรณานํ สตฺตานํ ตณฺหา-สญฺโญชนานํ หีนาย ธาตุยา เจตนา ปติฏฺฐิตา ปตฺถนา ปติฏฺฐิตา เอวํ อายตึปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ โหติ).

อานนท์ ถ้ากรรมมีรูปธาตุเป็นวิบาก จะไม่ได้มีแล้วรูปภพจะพึงปรากฏได้หรือ.

ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า.

อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นผืนนาวิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็นยางของพืช ความเจตนา ก็ดีความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง (มชฺฌิมาย ธาตุยา) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ด้วย อาการอย่างนี้.

อานนท์ ถ้ากรรมมีอรูปธาตุเป็นวิบาก จะไม่ได้มีแล้วอรูปภพจะพึงปรากฏได้หรือ.

ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า.

อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นผืนนาวิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็นยางของพืช ความเจตนา ก็ดีความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นประณีต (ปณีตาย ธาตุยา) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ภพ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.

147


55
ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา อุปายะ
และอุปาทาน ในขันธ์ ๕ คือ เครื่องนำไปสู่ภพ

-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๓/๓๖๘.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า เครื่องนำไปสู่ภพเครื่องนำไปสู่ภพ ดังนี้ ก็เครื่องนำไปสู่ภพเป็นอย่างไร และความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพ เป็นอย่างไร พระเจ้าข้า.

ราธะ ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความอยาก) อุปายะ (ความเข้าถึง) และอุปาทาน (ความถือมั่น) อันเป็นเครื่องตั้งทับเครื่องเข้าไปอาศัย และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิต (เจตโส อธิฏฺฐานา-ภินิเวสานุสยา) ในรูป สิ่งเหล่านี้เราเรียกว่าเครื่องนำไปสู่ภพ

ความดับไม่เหลือ ของเครื่องนำไปสู่ภพมีได้ เพราะความดับไม่เหลือของฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา อุปายะ และอุปาทานเหล่านั้นนั่นเอง.

ราธะ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา อุปายะ และอุปาทาน อันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไปอาศัย และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิตในเวทนา … ในสัญญา … ในสังขารทั้งหลาย …ในวิญญาณ

สิ่งเหล่านี้เราเรียกว่าเครื่องนำไปสู่ภพ ความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพ มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา อุปายะ และอุปาทาน เหล่านั้น นั่นเอง.

148


56
มีจิตฝังลงไปในสิ่งใด
เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ย่อมมี

-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๘๐/๑๔๙.

ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าบุคคลย่อมคิด
(เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่
ย่อมดำริ
(ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่
และย่อมมีจิตฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่
สิ่งนั้นย่อมเป็น อารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ

เมื่ออารมณ์มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ (นติ) ย่อมมี

เมื่อเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ มีการมาการไป (อาคติคติ) ย่อมมี
เมื่อการมาการไปมี การเคลื่อนและการบังเกิด ย่อมมี

เมื่อการเคลื่อน และการบังเกิด มี ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใด แต่เขายังมีจิต ฝังลงไปในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ

เมื่อ อารมณ์มีอยู่ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ย่อมมีเมื่อเครื่องนำ ไปสู่ ภพใหม่มี การมาการไปย่อมมี

เมื่อการมาการไปมี การเคลื่อนและการบังเกิดย่อมมี เมื่อการเคลื่อน และ การบังเกิดมี ชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย
ก็ถ้าว่าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย
ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย และ
ย่อมไม่มีจิตฝังลงไปในสิ่งใดด้วย ในกาลใด ในกาลนั้น
สิ่งนั้นย่อมไม่เป็น อารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย

เมื่ออารมณ์ไม่มี ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมไม่มี เมื่อวิญญาณนั้น ไม่ตั้งขี้นเฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ย่อมไม่มี

เมื่อเครื่องนำ ไปสู่ภพใหม่ไม่มี การมาการไปย่อมไม่มี เมื่อการมาการไปไม่มี การเคลื่อน และการบังเกิดย่อมไม่มี

เมื่อการเคลื่อนและการบังเกิดไม่มี ชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะทั้งหลายต่อไป จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วย อาการอย่างนี้ ดังนี้แล.

 อารมณ์
 - คือ สิ่งที่หน่วง ที่ยึด เพื่อความยินดีหรือความยินร้าย ของอายตนะ (ภายใน+ภายนอก)
 - คือ ความรู้สึกพอใจ หรือไม่พอใจ จากการกระทบของอายตนะ (ภายใน+ภายนอก)


150


57
มีจิตฝังลงไปในสิ่งใดการก้าวลงแห่งนามรูปย่อมมี
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๗๙/๑๔๗.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อมคิดถึงสิ่งใดอยู่ ย่อมดำริถึงสิ่งใดอยู่ และย่อมมีจิต ฝังลงไปในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็น อารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่ออารมณ์มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี
เมื่อวิญญาณนั้นตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว
การก้าวลงแห่งนามรูป (นามรูปสฺส อวกฺกนฺติ) ย่อมมี
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใด แต่เขายังมีจิต ฝังลงไปในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ

เมื่ออารมณ์มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว การก้าวลงแห่งนามรูปย่อมมี เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ … ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมม ีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าบุคคล ย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย และย่อมไม่มีจิตฝังลงไปในสิ่งใดด้วยในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งนั้นย่อม่ไม่เป็น อารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย

เมื่ออารมณ์ไม่มี
ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมไม่มี
เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว
การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มี
เพราะมีความดับแห่ง นามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่ง สฬายตนะ จึงมีความดับ แห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับ แห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับ แห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทานจึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับ แห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอากา รอย่างนี้ ดังนี้แล.

152


58
มีจิตฝังลงไปในสิ่งใดการเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปย่อมมี
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๗๘/๑๔๕.

ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าบุคคลย่อมคิดถึงสิ่งใดอยู่
ย่อมดำริถึงสิ่งใดอยู่ และ
ย่อมมีจิต ฝังลงไปในสิ่งใดอยู่

สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ

เมื่ออารมณ์มีอยู่ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว การเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป (ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ) ย่อมมี

เมื่อการเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปมีอยู่ ชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใด แต่เขายังมีจิต ฝังลงไปในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ

เมื่ออารมณ์มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว การเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปย่อมมี

เมื่อการเกิดขึ้น แห่ง ภพใหม่ต่อไปมีอยู่ ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย
ก็ถ้าว่าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย
ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย และ
ย่อมไม่มีจิตฝังลงไปในสิ่งใดด้วย
ในกาลใด ในกาลนั้น
สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย

เมื่ออารมณ์ไม่มี ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมไม่มี เมื่อวิญญาณนั้น ไม่ตั้งขึ้น เฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว การเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มี

เมื่อการเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปไม่มี ชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลายต่อไป จึงดับสิ้นความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้ดังนี้แล.


ข้อปฏิบัติเพื่อความเป็นอริยบุคคล


156

59
อานิสงส์ของธรรม ๔ ประการ
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๖/๑๖๓๔., -บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓๒/๒๔๘.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๔ ประการอะไรบ้าง คือ
(1) การคบสัตบุรุษ (สปฺปุริสสํเสว)
(2) การฟังสัทธรรม (สทฺธมฺมสฺสวน)
(3) การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ)
(4) การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (ธมฺมานุธมฺม-ปฏิปตฺติ)

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ๔ ประการอะไรบ้าง คือ การคบสัตบุรุษ การฟังสัทธรรม การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย การปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล.

เปิดธรรมที่ถูกปิด : สกทาคามีภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ๔ ประการอะไรบ้างคือ การคบสัตบุรุษการฟังสัทธรรม การกระทำไว้ในใจ โดยแยบคาย การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล ๔ ประการอะไรบ้าง คือ การคบ สัตบุรุษ การฟังสัทธรรม การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย การปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๔ ประการเหล่านี้ เป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา (ปญฺญาปฏิลาภ) ๔ ประการอะไรบ้างคือ การคบสัตบุรุษ การฟังสัทธรรม การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นไปพร้อมเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา.

[ธรรม ๔ ประการเหล่านี้เป็นหลักธรรมที่สำคัญ เพราะได้ตรัสไว้ในบาลีแห่งอื่น อีกหลายพระสูตร ดังนี้เป็นธรรมที่มีอุปการะมากแก่มนุษย์ (มนุสฺสภูตพหุการ)
(-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓๒/๒๔๙.)

เป็นองค์คุณเครื่องให้ถึงกระแสแห่งพระนิพพาน
(โสตาปตฺติยงฺค) (-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๔/๑๔๒๙.)

เป็นเครื่องให้มีความเจริญแห่งปัญญา
(ปญฺญาวุฑฺฒิ) (-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๗/๑๖๓๙.)

เป็นเครื่องให้มีความไพบูลย์แห่งปัญญา
(ปญฺญาเวปุลฺล) (-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๗/๑๖๔๐.)

เป็นเครื่องให้มีปัญญาอันใหญ่หลวง
(มหาปญฺญตา) (-บลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๔๑.)

เป็นเครื่องให้มีปัญญาอันหนาแน่น
(ปุถุปญฺญตา) (-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๔๒.)

เป็นเครื่องให้มีปัญญาอันไพบูลย์
(วิปุลปญฺญตา) (-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๔๓.)

เป็นเครื่องให้มีปัญญาอันลึกซึ้ง
(คมฺภีรปญฺญตา) (-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๔๔.)

เป็นเครื่องให้มีปัญญาอันหาประมาณมิได้
(อปฺปมตฺต- ปญฺญตา) (-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๔๕.)

เป็นเครื่องให้มีปัญญาเสมือนแผ่นดิน
(ภูริปญฺญตา) (-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๔๖.)

เป็นเครื่องให้มีปัญญามาก
(ปญฺญาพาหุลฺลาย) (-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๔๗.)

เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาฉับพลัน
(สีฆปญฺญตา) (-บาลีมหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๔๘.)

เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาไว
(ลหุปญฺญตา) (-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๔๙.)

เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาอันร่าเริง
(หาสปญฺญตา) (-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๕๐.)

เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาแล่น
(ชวนปญฺญตา) (-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๕๑.)

เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาคมกล้า
(ติกฺขปญฺญตา) (-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๕๒.)

เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาเครื่องเจาะแทง
(นิพฺเพธิกปญฺญตา) (-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๑๘/๑๖๕๓.)]

160

60
ละธรรม ๕ อย่างได้ความเป็นอริยบุคคล
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๐๓/๒๕๙.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน ธรรม ๕ ประการอะไรบ้าง คือ
(๑) ความตระหนี่ที่อยู่ (๒) ความตระหนี่สกุล
(๓) ความตระหนี่ลาภ (๔) ความตระหนี่วรรณะ
(๕) ความเป็นคนอกตัญญูกตเวทีภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการเหล่านี้แลไม่ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อบรรลุทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน … ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล … สกทาคามิผล … อนาคามิผล …อรหัตตผล ธรรม ๕ ประการอะไรบ้าง คือ
(๑) ความตระหนี่ที่อยู่ (๒) ความตระหนี่สกุล
(๓) ความตระหนี่ลาภ (๔) ความตระหนี่วรรณะ
(๕) ความเป็นคนอกตัญญูกตเวที
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการเหล่านี้แลไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการได้ ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน ธรรม ๕ ประการอะไรบ้าง คือ
(๑) ความตระหนี่ที่อยู่ (๒) ความตระหนี่สกุล
(๓) ความตระหนี่ลาภ (๔) ความตระหนี่วรรณะ
(๕) ความเป็นคนอกตัญญูกตเวที
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการเหล่านี้ได้ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการได้ ควรเพื่อบรรลุทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน … ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล … สกทาคามิผล … อนาคามิผล …อรหัตตผล ธรรม ๕ ประการอะไรบ้าง คือ
(๑) ความตระหนี่ที่อยู่ (๒) ความตระหนี่สกุล
(๓) ความตระหนี่ลาภ (๔) ความตระหนี่วรรณะ
(๕) ความเป็นคนอกตัญญูกตเวที
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการเหล่านี้ได้ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล.

(ในสูตรอื่น ได้ตรัสโดยนัยเดียวกันนี้ ต่างกันเฉพาะในข้อที่ ๕โดยตรัสว่าเป็น ความตระหนี่ธรรม -บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๐๒/๒๕๗.-ผู้รวบรวม)

162


61
ผลของการพิจารณาเห็นสังขารโดยความไม่เที่ยง
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๑/๓๖๙.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารใดๆ โดยความเป็นของเที่ยง จะเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้
เธอไม่ประกอบด้วยขันติ* ที่สมควรแล้ว จะก้าวลงสู่หนทางแห่งความถูกต้อง  ข้อนั้นย่อมไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ก้าวลงสู่หนทางแห่งความถูกต้องแล้ว จะกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
* ขันติ คือ อดทน เชื่อโดยไม่หวั่นไหว

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยง จะเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เธอประกอบ ด้วยขันติที่สมควรแล้ว จะก้าวลงสู่หนทางแห่งความถูกต้อง (สมฺมตฺตนิยาม) ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อก้าวลงสู่หนทางแห่ง ความถูกต้องแล้ว จะกระทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล สกทาคามิผลอนาคามิผล หรืออรหัตตผล ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้

163

62
ผลของการพิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นทุกข์
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๒/๓๗๐.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารใดๆ โดยความเป็น สุข จะเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เธอไม่ประกอบด้วยขันติที่สมควรแล้ว จะก้าวลงสู่หนทางแห่งความถูกต้อง ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ก้าวลงสู่หนทางแห่งความถูกต้องแล้ว จะกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลหรืออรหัตตผล ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง โดยความเป็น ทุกข์ จะเป็นผู้ ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เธอประกอบด้วยขันติ ที่สมควรแล้วจะก้าวลงสู่หนทางแห่งความถูกต้อง ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อก้าวลงสู่หนทางแห่งความถูกต้องแล้ว จะกระทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรือ อรหัตตผล ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้

164

63
ผลของการพิจารณาเห็นธรรมโดยความเป็นอนัตตา
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๒/๓๗๑.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมใดๆ โดยความเป็น อัตตา จะเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เธอไม่ประกอบด้วยขันติที่สมควรแล้ว จะก้าวลงสู่หนทางแห่งความถูกต้อง ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ก้าวลงสู่หนทางแห่ง ความถูกต้องแล้ว จะกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลหรืออรหัตตผล ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมทั้งปวงโดยความเป็น อนัตตา จะเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เธอประกอบด้วยขันติ ที่สมควรแล้วจะก้าวลงสู่หนทางแห่งความถูกต้อง ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อก้าวลงสู่หนทางแห่งความถูกต้องแล้ว จะกระทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.

165

64
ผลของการพิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุข
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๒/๓๗๒.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความ เป็นทุกข์ จะเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เธอไม่ประกอบด้วยขันติที่สมควรแล้ว จะก้าวลงสู่หนทางแห่งความถูกต้อง ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ก้าวลงสู่หนทางแห่ง ความถูกต้องแล้ว จะกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความ เป็นสุข จะเป็นผู้ประกอบด้วยขันติ ที่สมควร ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เธอประกอบด้วยขันติ ที่สมควรแล้วจะก้าวลงสู่หนทางแห่งความถูกต้อง ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อก้าวลงสู่หนทางแห่ง ความถูกต้องแล้ว จะกระทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.

166

65
การเห็นเพื่อละสังโยชน์
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๗/๕๗.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรจึงจะละสังโยชน์ได้.
ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งตาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละสังโยชน์ได้.
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งรูปทั้งหลาย … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งจักษุวิญญาณ … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งจักษุสัมผัส … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละสังโยชน์ได้.

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งหู … ซึ่งเสียงทั้งหลาย… ซึ่งโสตวิญญาณ … ซึ่งโสตสัมผัส … ซึ่งสุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละสังโยชน์ได้.

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งจมูก … ซึ่งกลิ่นทั้งหลาย… ซึ่งฆานวิญญาณ … ซึ่งฆานสัมผัส … ซึ่งสุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละสังโยชน์ได้.

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งลิ้น … ซึ่งรสทั้งหลาย… ซึ่งชิวหาวิญญาณ … ซึ่งชิวหาสัมผัส … ซึ่งสุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะชิวหา-สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละสังโยชน์ได้.

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งกาย … ซึ่งโผฏฐัพพะทั้งหลาย … ซึ่งกายวิญญาณ … ซึ่งกายสัมผัส …ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยงย่อมละ สังโยชน์ได้.

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งใจ … ซึ่งธรรมทั้งหลาย… ซึ่งมโนวิญญาณ … ซึ่งมโนสัมผัส … ซึ่งสุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละสังโยชน์ได้.

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แลย่อมละสังโยชน์ได้.

(ในสูตรอื่นตรัสว่า เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งธรรมเหล่านี้ โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๘/๕๘.-ผู้รวบรวม)

168


66
การเห็นเพื่อละอนุสัย
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๙/๖๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรจึงจะละอนุสัยได้.
ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งตาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละอนุสัยได้.
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งรูปทั้งหลาย … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งจักษุวิญญาณ … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งจักษุสัมผัส … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละอนุสัยได้.
(ในกรณีแห่งธรรมหมวด หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็มีข้อความอย่างเดียวกัน).

ภิกษุ บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล ย่อมละอนุสัยได้.
(ในสูตรอื่นตรัสว่า เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งธรรมเหล่านี้ โดยความเป็นอนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๙/๖๒.-ผู้รวบรวม)

169

67
การเห็นเพื่อละอาสวะ
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๘/๕๙.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรจึงจะละอาสวะได้.
ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งตาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละอาสวะได้.
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งรูปทั้งหลาย … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งจักษุวิญญาณ … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งจักษุสัมผัส … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละอาสวะได้.
(ในกรณีแห่งธรรมหมวด หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็มีข้อความอย่างเดียวกัน).
ภิกษุ บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล ย่อมละอาสวะได้.
(ในสูตรอื่นตรัสว่า เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งธรรมเหล่านี้ โดยความเป็นอนัตตา อาสวะจึงจะถึงความเพิกถอน -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๘/๖๐.-ผู้รวบรวม)

170

68
การเห็นเพื่อละอวิชชา
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๗/๕๖.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรจึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น.

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งตาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น.

เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งรูปทั้งหลาย … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งจักษุวิญญาณ … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งจักษุสัมผัส … .
เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น.
(ในกรณีแห่งธรรมหมวด หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็มีข้อความอย่างเดียวกัน).

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แลย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น.
171

69

เหตุสำเร็จตามความปรารถนา
-บาลี มู. ม. ๑๒/๕๘/๗๓.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็น ผูมีศีลอันสมบูรณ์ มีปาติโมกข์อันสมบูรณ์ อยู่เถิด จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมารยาท และ โคจร อยู่เถิดจงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้มีประมาณน้อยสมาทาน ศึกษา ในสิกขาบททั้งหลายเถิด.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ขอเราพึงเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็นผู้ควรยกย่องของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายเถิดดังนี้ ภิกษุนั้น พึงกระทำ ให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมอันเป็นเครื่องสงบแห่งใจ ในภายใน
ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา และให้วัตรของผู้อยู่สุญญาคาร เจริญงอกงาม.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ขอเราพึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเถิดดังนี้ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราบริโภคจีวรบิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเทวดาหรือมนุษย์เหล่าใด สักการะเหล่านั้นของ เทวดา และมนุษย์เหล่านั้นพึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ญาติและสายโลหิตของเราเหล่าใด ล่วงลับ ทำกาละไปแล้ว มีจิตเลื่อมใสระลึกถึงอยู่ ความระลึกถึงด้วยจิตอันเลื่อมใส ของญาติและสายโลหิตเหล่านั้น พึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ข่มความไม่ยินดีและ ความ ยินดีได้ อนึ่ง ความไม่ยินดีไม่พึงครอบงำเราได้ เราพึงครอบงำย่ำยี ความไม่ยินดี ที่ เกิดขึ้น อยู่ได้เถิดดังนี้ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ข่มความกลัวและความขลาดได้ อนึ่ง ความกลัวและความขลาดอย่าพึงครอบงำเราได้เลย เราพึงครอบงำย่ำยี ความกลัวและความขลาดที่เกิดขึ้นอยู่ได้เถิด ดังนี้ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌานท้ง ๔อันเกิดขึ้นเพราะจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็น สุขในปัจจุบันเถิด ดังนี้ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงถูกต้องด้วยกายซึ่งวิโมกข์ อันสงบ อันไม่มีรูป เพราะก้าวล่วงรูปเสียได้แล้วอยู่เถิด ดังนี้ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เพราะสังโยชน์ ๓สิ้นไป เราพึงเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาเป็นผู้เที่ยง จะตรัสรู้ได้ในกาลเบื้องหน้าเถิด ดังนี้ …

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เพราะสังโยชน์ ๓สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เราพึงเป็นสกทาคามี จะมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เถิด ดังนี้ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เพราะโอรัมภาคิย-สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เราพึงเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดาเถิด ดังนี้ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงบรรลุ อิทธิวิธีหลายประการ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงได้ยินเสียงทั้ง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่น ด้วยใจ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดีมีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ … .

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแหง่ อาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่เถิดดังนี้ ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมอันเป็นเครื่องสงบแห่งใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา และให้วัตรของผู้อยู่สุญญาคารเจริญงอกงาม.

คำใด ที่เรากล่าวแล้วว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลอันสมบูรณ์ มีปาติโมกข์อันสมบูรณ์อยู่เถิดจงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจรอยู่เถิด จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัย ในโทษทั้งหลาย แม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดังนี้ คำนั้น อันเราอาศัยอำนาจประโยชน์นี้จึงได้กล่าวแล้ว.

175


70
บทสรุป

๑.) ราคะ โทสะ โมหะ ในส่วนใดของกามภพที่สกทาคามียังต้องทำลาย (ละ)
๒.) สกทาคามี คือ ผู้ยังต้องมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวนั้นคือ โลกส่วนใด

• สกทาคามียังต้องมาสู่กามภพ เพราะยังไม่พรากจากกามแต่เป็นผู้เริ่มทำลายกาม

-บุคคล ๓ จำพวก ที่ยังประกอบแล้วด้วยกามโยคะ(กามโยคยุตฺโต) และภวโยคะ (ภวโยคยุตฺโต) เป็นอาคามี (เหตุที่ต้องกลับสู่กามภพ) บทที่ ๙ หน้า ๒๐.

-บุคคล ๔ จำพวก ที่ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้(โอรมฺภาคิยานิ สญฺโญชนานิ อปฺปหีนานิ) คือ เริ่มทำลายกามแต่ยังทำลายได้ไม่หมด บทที่ ๗ หน้า ๑๖.

-สกทาคามี เปรียบได้กับบุคคลตกน้ำ ที่เป็นพวกว่ายเข้าหาฝั่ง (เป็นผู้ทำลายกามโดยลักษณะอุปมาอินทรีย์ ๕ ที่แก่กล้ากว่าโสดาบัน) บทที่ ๓ หน้า ๗, บทที่ ๕ หน้า ๑๓.

-โสดาบัน เปรียบได้กับบุคคลตกน้ำ ที่เป็นพวกลอยตัวและเห็นฝั่ง แต่ยังไม่ได้ว่ายสู่ฝั่ง บทที่ ๓ หน้า ๗.

• อินทรีย์ ๕ ของสกทาคามี แก่กล้ากว่าอินทรีย์ ๕ ของโสดาบันประเภทเอกพีชี ซึ่งมาสู่ภพมนุษย์คราวเดียว บทที่ ๖หน้า ๑๔, บทที่ ๑๓ หน้า ๒๗.

• กามที่ดีกว่า ประณีตกว่า กามของมนุษย์ คือ กามอันเป็นทิพย์(ทิพฺพา กามา) แต่สกทาคามียังไม่ถึงการหมดกาม บทที่ ๒๙หน้า ๗๓, บทที่ ๙ หน้า ๒๐.

ภพที่สกทาคามีไปไม่ได้
-ผู้สิ้นสังโยชน์ ๓ พ้นแล้วจาก นรก กำเนิดเดรัจฉานเปรตวิสัย บทที่ ๑๓ หน้า ๒๗, บทที่ ๑๔ หน้า ๓๑.
-รูปภพ และอรูปภพ ไปไม่ได้ เพราะผู้พอประมาณในสมาธิ และยังไม่พรากจากกาม ยังต้องเป็นอาคามีบทที่ ๙ หน้า ๒๐, บทที่ ๑๐ หน้า ๒๑, บทที่ ๑๖ หน้า ๓๗,บทที่ ๑๘ หน้า ๔๖, บทที่ ๑๙ หน้า ๕๐.

• ตัวอย่างของภพที่สกทาคามีมาเกิด
-เทวดาชั้นดุสิต ในมิคสาลาสูตร บทที่ ๔ หน้า ๑๑.

• เมื่อตัดภพที่สกทาคามีไปไม่ได้ออก ด้วยเหตุของสังโยชน์ที่ละได้ และ กำลัง ของอินทรีย์ ๕ ที่แก่กล้ากว่าเอกพีชี รวมถึงกำลังของอินทรีย์ ๕ ในส่วน ของการ เป็นผู้ทำพอประมาณในสมาธิ จึงทำให้กรอบของความ น่าจะเป็นไปได้ ของการมา สู่โลกนี้อีกครั้งเดียว ที่สกทาคามีจะมาเกิดได้ คือกลุ่มของเทวดา ในกามภพ (ซึ่งเป็นส่วนของกามอันเป็นทิพย์ในกามภพ ที่สกทาคามีกำลังเริ่มละ สังโยชน์ ในส่วนนี้ จนกระทั่งราคะโทสะ และโมหะสิ้นไป)

หมายเหตุ นอกจากพระสูตรที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้แล้ว พระศาสดายังได้ตรัส ถึง ข้อปฏิบัติเพื่อการละสังโยชน์ และธรรมะที่เกี่ยวกับสกทาคามีไว้อีกมาก คณะงานธัมมะฯ ได้รวบรวมมาไว้เพียงบางส่วนเท่านั้น ผู้สนใจสามารถศึกษา เพิ่มเติมได้จากหนังสือพุทธวจน-หมวดธรรม เล่ม ๑-๑๗ / แอปพลิเคชันตรวจหา และ เทียบเคียงพุทธวจนจากพระไตรปิฎก(E-Tipitaka) และจากพระไตรปิฎก.