เว็บไซต์ อนาคามี แหล่งเผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  โสดาบัน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
    01 of 3  
  โสดาบัน พุทธวจน   ที่มา : http://watnapp.com/book  
     
     หน้า  
  ๑ แว่นส่องความเป็นพระโสดาบัน 2  
  ๒ พระโสดาบันเป็นใคร (นัยที่หนึ่ง) 4  
  ๓ พระโสดาบันเป็นใคร (นัยที่สอง) 7  
  ๔ พระโสดาบันประกอบพร้อมแล้วด้วยอริยมรรคมีองค์แปด 10  
  ๕ หลักเกณฑ์พยากรณ์ภาวะโสดาบันของตนเอง 11  
  ๖ พระโสดาบัน รู้จักปัญจุปาทานขันธ์ 19  
  ๗ พระโสดาบัน รู้จักอินทรีย์หก 20  
  ๘ โสดาปัตติมรรค ๒ จำพวก 23  
  ๙ โสดาปัตติผล 25  
  ๑๐โสดาบันเป็นผู้บริบูรณ์ในศีล(ปาฏิโมกข์) พอประมาณในสมาธิและปัญญา 27  
  ๑๑ พระโสดาบันละสังโยชน์ได้สามข้อมีสามจำพวก 30  
  ๑๒ ละสังโยชน์สามและกรรมที่พาไปอบาย คือ โสดาบัน 31  
  ๑๓ พระโสดาบันมีญาณหยั่งรู้เหตุให้เกิดขึ้น และเหตุให้ดับไป ของโลก 33  
  ๑๔ โสดาบันเห็นชัดรายปฏิจจสมุปบาทตลอดทั้งสาย โดยนัยแห่งอริยสัจสี่-นัยยะ1 39  
  ๑๕ โสดาบันเห็นชัดรายปฏิจจสมุปบาทตลอดทั้งสาย โดยนัยแห่งอริยสัจสี่-นัยยะ2 49  
       
 

 

   
 
 





หน้า 2

แว่นส่องความเป็นพระโสดาบัน


อานนท์ ! เราจักแสดง ธรรมปริยายอันชื่อว่า แว่นธรรม ซึ่งหากอริยสาวกผู้ใด ได้ประกอบพร้อมแล้ว เมื่อจำนงจะ พยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้ในข้อที่ตนเป็น ผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว ในข้อที่ตนเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน เป็น ผู้มีอันจะตรัสรู้ ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า ดังนี้.

อานนท์! ก็ธรรมปริยายอันชื่อว่า แว่นธรรม ในที่นี้ เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยควม เลื่อมใส อันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหวในองค์ พระพุทธเจ้า... ในองค์พระธรรม... ในองค์พระสงฆ์... และอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ประกอบพร้อมแล้วด้วย ศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจ ของเหล่าอริยเจ้า คือ เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไท จากตัณหา เป็นศีล ที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญ เป็นศีลที่ ทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ.

อานนท์ ! ธรรมปริยายอันนี้แล ที่ชื่อว่าแว่นธรรมซึ่งหากอริยสาวกผู้ใด ได้ประกอบพร้อมแล้ว เมื่อจำนงจะพยากรณ์ ตนเอง ก็พึงทำได้ ดังนี้แล.


(หน้า 4)

พระโสดาบันเป็นใคร
(นัยที่หนึ่ง)


ภิกษุทั้งหลาย ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วย ธรรม ๔ ประการ นี้เองจึงเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการนั้น เป็นอย่างไร ? ๔ ประการนั้น คือ : -

(๑) ภิกษุทั้งหลาย ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในองค์พระพุทธเจ้า ว่าเพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้ โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งวิชชา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.

(๒) ภิกษุทั้งหลาย ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในองค์พระธรรม ว่าพระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษา และปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.

(๓) ภิกษุทั้งหลาย ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ ว่าสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติให้ รู้ธรรม เครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว อันได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่นับเรียงตัวได้ แปดบุรุษ. นั่นแหละ คือ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะ ที่เขานำมาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่ สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำอัญชลี เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.

(๔) ภิกษุทั้งหลาย ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย ศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจ ของเหล่าอริยเจ้า : เป็นศีลที่ไม่ขาดไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหาเป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญ เป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำและเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สาวกของพระอริยเจ้า ผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๙-๔๓๐/๑๔๑๔-๑๔๑๕.


(หน้า 7)

พระโสดาบันเป็นใคร
(นัยที่สอง)


อย่ากลัวเลย มหานาม ! อย่ากลัวเลย มหานาม ! ความตายของท่านจักไม่ต่ำทราม กาลกิริยาของท่านจักไม่ต่ำทราม.

มหานาม ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ประการ ย่อมเป็นผู้มีปกติน้อมไป ในนิพพานโน้มไปสู่นิพพาน เอนไปทางนิพพานโดยแท้. ธรรม ๔ ประการ อย่างไรเล่า? ธรรม ๔ ประการ คือ :-มหานาม ! อริยสาวกในกรณีนี้

(๑) เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระ ภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งวิชชา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้งเป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอน ของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” ดังนี้.

(๒) เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ว่า “พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษา และปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิดเป็นสิ่ง ที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัวเป็น สิ่งที่รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน” ดังนี้.

(๓) เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ว่า “สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้วเป็นผู้ปฏิบัติให้รู้ธรรม เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว อันได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ ควรแก่สัก การะที่เขานำมาบูชาเป็น สงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำอัญชลีเป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า” ดังนี้.

(๔) เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจ ของเหล่า พระอริยเจ้า : เป็นศีลที่ไม่ขาดไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหาเป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญ เป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไป พร้อมเพื่อสมาธิ ดังนี้.

มหานาม ! เปรียบเหมือนต้นไม้น้อมไปในทิศปราจีน โน้มไปสู่ทิศปราจีน เอนไปทางทิศปราจีน ต้นไม้นั้น เมื่อเขาตัดที่ โคนแล้ว มันจะล้มไปทางไหน ?

มันจะล้มไปทางทิศที่มันน้อมไปโน้มไปเอนไปพระเจ้าข้า !”.

มหานาม ! ฉันใดก็ฉันนั้น : อริยสาวกประกอบแล้วด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้มีปกติน้อมไปในนิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน เอนไปทางนิพพานโดยแท้แล.


(หน้า 10)

พระโสดาบันประกอบพร้อมแล้วด้วยอริยมรรคมีองค์แปด


สารีบุตร ! ที่มักกล่าวกันว่า โสดาบัน-โสดาบันดังนี้ เป็นอย่างไรเล่า สารีบุตร ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ท่านผู้ใดเป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยอริยมรรคมีองค์แปด นี้อยู่ผู้เช่นนั้น แลข้าพระองค์เรียกว่าเป็นพระโสดาบันผู้มีชื่ออย่างนี้ๆมีโคตรอย่างนี้ๆพระเจ้าข้า !”.

สารีบุตร ! ถูกแล้ว ถูกแล้ว ผู้ที่ประกอบพร้อมแล้วด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่ ถึงเราเองก็เรียกผู้เช่นนั้นว่าเป็น พระโสดาบัน ผู้มีชื่ออย่างนี้ๆ มีโคตรอย่างนี้ๆ.


(หน้า 11)

หลักเกณฑ์พยากรณ์ภาวะโสดาบันของตนเอง


คหบดี ! ในกาลใด ภัยเวร ๕ ประการอัน อริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้ว ด้วย อริยสาวกประกอบ พร้อม แล้วด้วยโสตาปัตติยังคะสี่ ด้วย อริยญายธรรม เป็นธรรม ที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา ด้วย;

ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่ก็พยากรณ์ตนด้วยตน นั่นแหละว่า

“เราเป็น ผู้มีนรก สิ้นแล้วมีกำเนิด เดรัจฉานสิ้นแล้วมีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายทุคติวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส (แห่งนิพพาน) มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อม เป็นเบื้องหน้า”
ดังนี้.

คหบดี ! ภัยเวร ประการ เหล่าไหนเล่าอันอริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้ว ?

(๑) คหบดี ! บุคคลผู้ฆ่าสัตว์อยู่เป็นปกติย่อมประสพภัยเวรใดในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) บ้าง ย่อมประสพภัยเวรใด ในสัมปรายิก (ในเวลาถัดต่อมา) บ้างย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย; ภัยเวรนั้นๆ เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจากปาณาติบาต ทำให้สงบรำงับได้แล้ว.

(๒) คหบดี ! บุคคลผู้ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้อยู่เป็นปกติ ย่อมประสพภัยเวรใดในทิฏฐธรรมบ้าง ย่อมประสพ ภัยเวรใดในสัมปรายิกบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง เพราะอทินนาทาน เป็นปัจจัย; ภัยเวรนั้นๆเป็นสิ่งที่ อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจาก อทินนาทาน ทำให้สงบรำงับได้แล้ว.

(๓) คหบดี ! บุคคลผู้ประพฤติผิดในกามทั้ง หลายอยู่เป็น ปกติย่อมประสพภัยเวรใดในทิฏฐธรรมบ้าง ย่อมประสพ ภัยเวรใดในสัมปรายิกบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย ภัยเวรนั้นๆเป็นสิ่งที่ อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจากกาเมสุมิจฉาจาร ทำให้สงบรำงับได้แล้ว.

(๔) คหบดี ! บุคคลผู้กล่าวคำเท็จอยู่เป็นปกติ ย่อมประสพภัยเวรใดในทิฏฐธรรมบ้าง ย่อมประสพภัยเวรใด ในสัมปรายิกบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้างเพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย; ภัยเวรนั้นๆ เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาด แล้วจากมุสาวาท ทำให้สงบรำงับได้แล้ว.

(๕) คหบดี ! บุคคลผู้ดื่มสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งของความประมาท อยู่เป็นปกติ ย่อมประสพภัยเวรใด ในทิฏฐธรรม บ้าง ย่อมประสพภัยเวรใดในสัมปรายิกบ้างย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง เพราะสุราและเมรัยเป็นปัจจัย ภัยเวรนั้นๆ เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจากสุราและเมรัย ทำให้สงบรำงับได้แล้ว.

คหบดี ! ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้แล อันอริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้ว.
… … … …
คหบดี ! อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วย องค์แห่งโสดาบัน ประการ เหล่าไหนเล่า ?

(๑) คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ใน พระพุทธเจ้า ว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ๆพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึง พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้ อย่างไม่มีใคร ยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรมเป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอน สัตว์” ดังนี้.

(๒) คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ในพระธรรม ว่า “พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิดเป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ ได้ด้วยเฉพาะตน” ดังนี้.

(๓) คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ ว่า “สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อรู้ธรรม เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้วเป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ นั่นแหละ คือ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะ ที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำอัญชลี เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า”ดังนี้.

(๔) คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายในลักษณะเป็นที่พอใจ ของพระอริยเจ้า : เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่างไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา วิญญูชนสรรเสริญไม่ถูก ทิฏฐิ ลูบคลำ เป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดังนี้.

คหบดี ! อริยสาวก เป็น ผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยองค์แห่งโสดาบัน ๔ ประการ เหล่านี้แล.
… … … …
คหบดี ! ก็ อริยญายธรรม เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?

คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำไว้ในใจโดยแยบคาย เป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียวดังนี้ว่า “เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี; เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น. เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี; เพราะ ความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป : ข้อนี้ได้แก่สิ่ง เหล่านี้ คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้ง หลาย;

เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ; ...ฯลฯ......ฯลฯ... ...ฯลฯ... เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร; เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; ...ฯลฯ... ...

ฯลฯ......ฯลฯ... เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้”.

คหบดี ! อริยญายธรรม1 นี้แล เป็นธรรมที่อริยสาวกนั้นเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดีด้วยปัญญา.

คหบดี ! ในกาลใดแล ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ เป็นสิ่งที่อริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้วด้วย อริยสาวกเป็น ผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะสี่เหล่านี้ ด้วย อริยญายธรรมนี้ เป็นธรรมอันอริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญาด้วย;

ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นปรารถนาอยู่ ก็พยากรณ์ตนด้วยตนนั้นแหละว่า “เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิด เดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายทุคติวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส (แห่งนิพพาน) มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพานมีการตรัสรู้พร้อมเป็นเบื้องหน้า” ดังนี้.

ทสก. อํ. ๒๔/๑๙๕-๑๙๘/๙๒.หมายเหตุผู้รวบรวม : ยังมีสูตรอีกสูตรหนึ่งข้อความอย่างเดียวกันกับสูตรนี้ ผิดกันแต่เพียง ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายแทนที่จะตรัสกับนาถบิณฑิกคหบดี คือ สูตรที่ ๒ แห่งคหปติวรรค อภิสมยสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๘๕/๑๕๖. และยังมีสูตรอีกสูตรหนึ่ง (เวรสูตรที่ ๒ อุปาสกวรรค ทสก. อํ. ๒๔/๑๙๕/๙๒.)

มีเค้าโครงและใจความของสูตรเหมือนกันกับสูตรข้างบนนี้ ต่างกันแต่เพียงในสูตรนั้นมีคำว่า “ย่อมพิจารณา เห็นโดยประจักษ์” แทนคำว่า “ย่อมกระทำไว้ในใจ โดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว” แห่งสูตรข้างบนนี้ เท่านั้น.


(หน้า 19)

พระโสดาบัน
รู้จักปัญจุปาทานขันธ์


ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ มารู้จักความก่อขึ้นแห่งอุปาทานขันธ์ห้า

รู้จักความตั้งอยู่ไม่ได้ของอุปาทานขันธ์ห้า
รู้จักรสอร่อยของอุปาทานขันธ์ห้า
รู้จักโทษอันร้ายกาจของอุปาทานขันธ์ห้า
รู้จักอุบายที่ไปให้พ้นอุปาทานขันธ์ห้านี้เสียตามที่ถูกที่จริง

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อนั้นแหละ สาวกของพระอริยเจ้าผู้นั้นเราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน จักตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า.


(หน้า 20)

พระโสดาบัน
รู้จักอินทรีย์หก


ภิกษุทั้งหลาย ! อินทรีย์1 ๖ อย่างเหล่านี้ มีอยู่.
๖ อย่างอะไรเล่า ? ๖ อย่าง คือ

จักขุนทรีย์.. โสตินทรีย์
ฆานินทรีย์.. ชิวหินทรีย์
กายินทรีย์.. มนินทรีย์


ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล อริยสาวกมา
รู้จัก ความก่อขึ้น แห่งอินทรีย์ทั้งหกเหล่านี้
รู้จัก ความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งอินทรีย์ทั้งหกเหล่านี้
รู้จัก รสอร่อย ของอินทรีย์ทั้งหกเหล่านี้
รู้จัก โทษอันร้ายกาจ ของอินทรียทั้งหกเหล่านี้
รู้จัก อุบายที่ไปให้พ้นอินทรีย์ทั้งหก เหล่านี้ ตามที่ถูก ที่จริง
..................................................................................
1. อินทรีย์ แปลว่า อำนาจหรือความเป็นใหญ่; เมื่อรวมกับคำว่า ตา (จักขุนทรีย์) ก็จะหมายถึง ความเป็นใหญ่ ในเรื่องการมองเห็น หรือ ก็คือความเป็นใหญ่ในหน้าที่นั้นๆ (เช่นการได้ยิน การได้กลิ่น ...).
..................................................................................

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อนั้นแหละ อริยสาวกนั้นเราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน จักตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า.


(หน้า 23)

โสดาปัตติมรรค
จำพวก


. สัทธานุสารี
ภิกษุทั้งหลาย ! ตา...หู...จมูก...ลิ้น ...กาย...ใจ เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยน เป็นอย่างอื่นเป็นปกติ.
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลใด มีความเชื่อน้อมจิตไปในธรรม อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้;

บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็น สัทธานุสารี
หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
(ระบบแห่งความถูกต้อง)
หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)
ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้ว จะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือเปรตวิสัย และไม่ควรที่จะทำกาละ ก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

. ธัมมานุสารี
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ทนต่อการเพ่ง โดยประมาณอันยิ่งแห่งปัญญา ของบุคคลใด ด้วยอาการอย่างนี้

บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมานุสารี
หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง)
หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)
ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้วจะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือเปรตวิสัย และไม่ควรที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.


(หน้า 25)

โสดาปัตติผล


ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลใดย่อมรู้ ย่อมเห็นซึ่งธรรม อย่างเหล่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้ (ตามที่กล่าวแล้วในโสดาปัตติมรรค ๒ จำพวก มีการเห็นความไม่เที่ยงเป็นต้น)

บุคคลนี้เราเรียกว่า โสดาบัน (ผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส)ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมเป็นเบื้องหน้า.

ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๗๘/๔๖๙. สูตรข้างบนนี้ (ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๗๘/๔๖๙.)

ทรงแสดงอารมณ์แห่งอนิจจังเป็นต้น ด้วยธรรม ๖ อย่าง คือ อายตนะภายในหก ในสูตรถัดไปทรงแสดง อารมณ์นั้น ด้วยอายตนะภายนอกหก คือ รูป เสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็มี แสดงด้วยวิญญาณหก ก็มีด้วยสัมผัสหก ก็มี ด้วยเวทนาหก ก็มี ด้วยสัญญาหก ก็มี ด้วยสัญเจตนาหก ก็มี ด้วยตัณหาหก ก็มี ด้วยธาตุหก ก็มี และด้วยขันธ์ห้า ก็มี ทรงแสดงไว้ด้วยหลักการปฏิบัติอย่างเดียวกัน.

สารีบุตร !อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้นั่นแหละ ชื่อว่า กระแสได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติสัมมาสมาธิ.


(หน้า 27)
๑๐
พระโสดาบันเป็นผู้บริบูรณ์ในศีล(ปาฏิโมกข์)
ได้พอประมาณในสมาธิและปัญญา


ภิกษุทั้งหลาย ! สิกขาบทร้อยห้าสิบสิกขาบทนี้ย่อมมาสู่อุทเทส (การยกขึ้นแสดงในท่ามกลางสงฆ์) ทุกกึ่งแห่งเดือนตามลำดับ อันกุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์พากันศึกษาอยู่ในสิกขาบทเหล่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! สิกขาสามอย่างเหล่านี้มีอยู่ อันเป็นที่ประชุมลงของสิกขาบททั้งปวงนั้น.

สิกขาสามอย่างนั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือ
อธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล สิกขาสามอย่างอันเป็นที่ประชุมลงแห่งสิกขาบท ทั้งปวงนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำพอประมาณในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อย(1) บ้าง และต้องออกจากอาบัติเล็กน้อย เหล่านั้นบ้าง.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่าไม่มีผู้รู้ใดๆ กล่าวความอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้น เพราะเหตุสักว่าการล่วงสิกขาบทเล็กน้อย และการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้.

ส่วนสิกขาบทเหล่าใดที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์(2) ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.
…………………………………………………………………………………..
1.
สิกขาบทเล็กน้อยคืออภิสมาจาริกาสิกขาเป็นสิกขาบทที่บัญญัติ เพื่อให้เกิด ความเลื่อมใสแก่คนที่ยังไม่เลื่อมใสและเลื่อมใสยิ่งเกิดขึ้นแก่คนที่เลื่อมใสแล้ว.
2. สิกขาบทเหล่าใดที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์คือสิกขาบทปาฏิโมกข์.

…………………………………………………………………………………..

ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม เป็นโสดาบัน เป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำ􀄁เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า


(หน้า 30)
๑๑
พระโสดาบันละสังโยชน์ได้สามข้อมีสามจำพวก


ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม (1) ป็นผู้ สัตตักขัตตุปรมะ ยังต้องท่องเที่ยวไปในภพแห่งเทวดาและมนุษย์อีกเจ็ดครั้ง เป็นอย่างมาก แล้ว ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

(หรือว่า) ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์ สาม เป็นผู้ โกลังโกละ จักต้องท่องเที่ยวไปสู่สกุลอีกสองหรือสามครั้ง แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

(หรือว่า) ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม เป็นผู้เป็น เอกพีชี คือ จักเกิดในภพแห่งมนุษย์อีกหนเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
ติก. อํ. ๒๐/๒๙๙-๓๐๑/๕๒๗.
…………………………………………………………………….
1. สังโยชน์ คือ เครื่องร้อยรัดจิต ๑๐ ประการ; ดูในธรรมะแวดล้อมหัวข้อที่ ๓๐หน้า ๑๒๗.
…………………………………………………………………….


(หน้า 31)
๑๒
ละสังโยชน์สามและกรรมที่พาไปอบาย
คือ โสดาบัน


ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่ละธรรม อย่างแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งทิฏฐิสัมปทา(ความเป็นโสดาบัน).

ไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่าไหนเล่า ?
ไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้ คือ

ไม่ละ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวตน)
ไม่ละ วิจิกิจฉา (ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์)
ไม่ละ สีลัพพตปรามาส (การถือเอาศีลและพรตผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง)
ไม่ละ อปายคมนิยราคะ (ราคะที่ควรแก่การถึง ซึ่ง อบาย)
ไม่ละ อปายคมนิยโทสะ (โทสะที่ควรแก่การถึง ซึ่ง อบาย)
ไม่ละ อปายคมนิยโมหะ (โมหะที่ควรแก่การถึง ซึ่ง อบาย).

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้แล้วเป็นผู้ไม่ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุละธรรม อย่างแล้วเป็นผู้ควรกระทำให้แจ้ง ซึ่งทิฏฐิ สัมปทา.

ละธรรม ๖ อย่าง เหล่าไหนเล่า ?
ละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้ คือ

ละ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวตน)
ละ วิจิกิจฉา (ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์)
ละ สีลัพพตปรามาส (การถือเอาศีลและพรตผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง)
ละ อปายคมนิยราคะ (ราคะที่ควรแก่การถึง ซึ่ง อบาย)
ละ อปายคมนิยโทสะ (โทสะที่ควรแก่การถึงซึ่ง อบาย)
ละ อปายคมนิยโมหะ (โมหะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย).

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุละธรรม ๖ อย่างเหล่านี้แล้วเป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่ง ทิฏฐิสัมปทา ดังนี้แล.


(หน้า 33)
๑๓

พระโสดาบันมีญาณหยั่งรู้เหตุให้เกิดขึ้น
และเหตุให้ดับไป
ของโลก


ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมไม่มีความสงสัยอย่างนี้ ว่า
“เพราะอะไรมี อะไรจึงมีหนอ
เพราะอะไรเกิดขึ้น อะไรจึงเกิดขึ้น
เพราะอะไรมี นามรูปจึงมี
เพราะอะไรมี สฬายตนะจึงมี
เพราะอะไรมี ผัสสะจึงมี
เพราะอะไรมี เวทนาจึงมี
เพราะอะไรมี ตัณหาจึงมี
เพราะอะไรมี อุปาทานจึงมี
เพราะอะไรมี ภพจึงมี
เพราะอะไรมี ชาติจึงมี
เพราะอะไรมี ชรามรณะจึงมี” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ว่า
“เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เพราะวิญญาณมี นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปมี สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะมี ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะมี เวทนาจึงมี
เพราะเวทนามี ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหามี อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานมี ภพจึงมี
เพราะภพมี ชาติจึงมี;
เพราะชาติมี ชรามรณะจึงมี” ดังนี้.

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า “โลกนี้ย่อมเกิดขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมไม่มีความสงสัยอย่างนี้ ว่า

“เพราะอะไรไม่มี อะไรจึงไม่มีหนอ
เพราะอะไรดับ อะไรจึงดับ
เพราะอะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี
เพราะอะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี
เพราะอะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่มี
เพราะอะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี
เพราะอะไรไม่มี ตัณหาจึงไม่มี
เพราะอะไรไม่มี อุปาทานจึงไม่มี
เพราะอะไรไม่มี ภพจึงไม่มี
เพราะอะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี
เพราะอะไรไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ใน เรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ว่า

“เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
เพราะวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี
เพราะนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี
เพราะสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี
เพราะผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี
เพราะเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี
เพราะตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี
เพราะอุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี
เพราะภพไม่มี ชาติจึงไม่มี
เพราะชาติไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี” ดังนี้.
อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ ว่า
โลกนี้ ย่อมดับด้วยอาการอย่างนี้ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก ย่อมมารู้ประจักษ์ถึงเหตุเกิดและความดับแห่งโลก ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ในกาลใด ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้ ว่า

ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิดังนี้บ้าง
ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะดังนี้บ้าง
ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้วดังนี้บ้าง
ผู้ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้ดังนี้บ้าง
ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะดังนี้บ้าง
ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะดังนี้บ้าง
ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้วดังนี้บ้าง
ผู้ประเสริฐมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสดังนี้บ้าง
ยืนอยู่จรดประตูแห่งอมตะดังนี้บ้าง ดังนี้ แล.


(หน้า 39)
๑๔
พระโสดาบัน
คือ ผู้เห็นชัดรายละเอียดแต่ละสาย ของปฏิจจสมุปบาทตลอดทั้งสาย โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ (เห็นตลอดสาย นัยที่หนึ่ง)


ภิกษุทั้งหลาย !
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ความแก่ ความคร่ำคร่ำ ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไปแห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้นๆ ของสัตว์ ทั้งหลายเหล่านั้นๆ : นี้เรียกว่า ชรา.

การจุติ ความเคลื่อนการแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละการแตกแห่ง ขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้ง ร่าง การขาดแห่งอินทรีย์ คือ ชีวิตจาก สัตวนิกายนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ : นี้เรียกว่า มรณะ.

ชรานี้ด้วย มรณะนี้ด้วยย่อมมีอยู่ ดังนี้; ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ชรามรณะ.

ความก่อขึ้น
พร้อมแห่งชรามรณะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติ ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งชาต ;มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบการพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ชาติ เป็นอย่างไรเล่า ?
การเกิด การกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ : ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ชาติ.

ความก่อขึ้น
พร้อมแห่งชาติ ย่อมมีเพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ ความดับไม่เหลือแห่งชาติ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งภพ มรรคอันประกอบด้วย องค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ภพ เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภพทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ภพ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ ย่อมมี เพราะความ ก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทาน ความดับไม่เหลือแห่งภพ ย่อมมี เพราะความดับ ไม่เหลือแห่งอุปาทาน มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็น ปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบการเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! อุปาทานทั้งหลาย ๔ อย่าง
เหล่านี้ คือ ความยึดมั่นในกาม ความยึดมั่นในความเห็นความยึดมั่น ในข้อปฏิบัติ ทางกาย และวาจา (ศีลพรต) ความยึดมั่นในความเป็นตัวตน
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่าอุปาทาน. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทาน ย่อมมีเพราะ ความก่อขึ้นพร้อมแห่งตัณหา ความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทาน ย่อมมี เพราะความ ดับไม่เหลือแห่งตัณหา มรรคอันประกอบด้วย องค์แปดอันประเสริฐ นั่นเอง เป็น ปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบการทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งตัณหาทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ ความอยากในรูป ความอยากในเสียง ...ในกลิ่น...ในรส ...ในสัมผัสทางกาย ความอยากใน ธรรมารมณ์ :ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ตัณหา. ความก่อขึ้น พร้อมแห่งตัณหา ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งเวทนา ความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งเวทนา มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ นั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตัณหาได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบการพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งเวทนาทั้งหลาย ๖ หมู่ เหล่านี้ คือ เวทนาที่เกิดจาก สัมผัสทางตา ...ทางหู...ทางจมูก...ทางลิ้น ...ทางกาย และเวทนาที่เกิดจาก สัมผัสทางใจ
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า เวทนา. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งผัสสะ ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ นั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนาได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบการพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิต ชอบความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งผัสสะทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ สัมผัสทางตา ...ทางหู ...ทางจมูก ...ทางลิ้น...ทางกาย สัมผัสทางใจ : ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ผัสสะ.
ความก่อขึ้นพร้อมแห่งผัสสะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งสฬายตนะ ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบการเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ สฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า ?
จักข๎วายตนะ  โสตายตนะ  ฆานายตนะ  ชิวหายตนะ  กายายตนะ  มนายตนะ
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่าสฬายตนะ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งสฬายตนะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งนามรูป ความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ย่อมมี เพราะ ความดับไม่เหลือแห่งนามรูป มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบการพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ นามรูป เป็นอย่างไรเล่า ?
เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ : นี้เรียกว่านาม. มหาภูตทั้งสี่ด้วย รูปที่ อาศัยมหาภูตทั้งสี่ด้วย :นี้เรียกว่า รูป. นามนี้ด้วย รูปนี้ด้วย ย่อมมีอยู่อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า นามรูป. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งนามรูป ย่อมมี เพราะ ความก่อขึ้นพร้อมแห่งวิญญาณ ความดับไม่เหลือแห่งนามรูปย่อมมี เพราะ ความ ดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐ นั่นเอง เป็น ปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ได้แก่สิ่ง เหล่านี้ คือความเห็น ชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งวิญญาณทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ (ผู้รู้แจ้ง ทางตา) โสตวิญญาณฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ (ผู้รู้แจ้งทางใจ) : ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า วิญญาณ. ความ ก่อขึ้น พร้อมแห่ง วิญญาณ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งสังขาร ความดับไม่เหลือแห่ง วิญญาณ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งสังขาร มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ได้แก่สิ่ง เหล่านี้ คือ ความเห็นชอบความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิติชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้คือ กายสังขาร (ความปรุงแต่ง ทางกาย) วจีสังขาร (ความปรุงแต่งทางวาจา) จิตตสังขาร (ความปรุงแต่งทางใจ) :
ภิกษุทั้งหลาย !เหล่านี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอวิชชา; ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐ นั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขารได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบการพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่งธรรม อันเป็นปัจจัย (เหตุ) ว่าเป็นอย่างนี้ๆ; มารู้ทั่วถึงซึ่งเหตุแห่งธรรม อันเป็นปัจจัยว่าเป็นอย่างนี้ๆ มารู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นปัจจัย ว่าเป็นอย่างนี้ๆ มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นปัจจัย ว่าเป็นอย่างนี้ๆ ดังนี้;

ภิกษุทั้งหลาย !
ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้น ว่า

ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิดังนี้บ้าง
ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะดังนี้บ้าง
ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้วดังนี้บ้าง
ผู้ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้ดังนี้บ้าง
ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะดังนี้บ้าง
ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะดังนี้บ้าง
ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้วดังนี้บ้าง
ผู้ประเสริฐมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสดังนี้บ้าง
ยืนอยู่จรดประตูแห่งอมตะดังนี้บ้าง ดังนี้ แล.


(หน้า 49)
๑๕
พระโสดาบัน
คือ ผู้เห็นชัดรายละเอียด แต่ละสาย
ของปฏิจจสมุปบาท ตลอดทั้งสาย
โดยนัยแห่งอริยสัจสี่
(เห็นตลอดสาย นัยที่สอง)

ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ชรามรณะ รู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ รู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ชาติ รู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับ ไม่เหลือแห่งชาติ รู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่ง ชาติ

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ภพ รู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพ รู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งภพ รู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งอุปปาทาน รู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน รู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งอุปาทาน

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ตัณหา รู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง ตัณหา รู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตัณหารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติ เครื่องทำ สัตว์ ให้ลุความดับไม่เหลือ แห่งตัณหา

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง เวทนา รู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา รู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งเวทนา

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ผัสสะ รู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ รู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่ง ผัสสะ

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง สฬายตนะ รู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับ ไม่เหลือแห่งสฬายตนะรู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง นามรูป รู้ทั่วถึงซึ่งเหตให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป รู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูปรู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งนามรูป

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง วิญญาณ รู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณรู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งวิญญาณ

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง สังขาร รู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งสังขารรู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งสังขาร.

ภิกษุทั้งหลาย ! ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไปๆ แห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ : นี้เรียกว่า ชรา.
การจุติ การเคลื่อนการแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละ การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย คือ ชีวิต จากสัตวนิกายนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ : นี้เรียกว่า มรณะ. ชรานี้ด้วย มรณะนี้ด้วยย่อมมีอยู่ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ชรามรณะ.
    ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชรามรณะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาต
    ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ย่อมมีเพราะ ความ ดับไม่เหลือแห่งชาติ
    มรรค อันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบการเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ชาติ เป็นอย่างไรเล่า ?
การเกิด การกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความ ปรากฏ ของขันธ์ทั้งหลายการที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ชาติ.
   ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ
   ความดับ
ไม่เหลือแห่งชาติ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งภพ
   มรรค
อันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งชาติ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบการทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิต ชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภพ เป็นอย่างไรเล่า?ภิกษุทั้งหลาย ! ภพทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่า นี้ คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ : ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่าภพ.
   ความก่อขึ้นแห่งภพ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทาน
   ความดับไม่เหลือแห่งภพ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน
   มรรค อันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ นั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบการทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิต ชอบ ความพากเพียรชอบความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! อุปาทานทั้งหลาย ๔ อย่างเหล่านี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน : ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า อุปาทาน.
   ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทานย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งตัณหา
   ความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งตัณหา
   มรรค อันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทาน ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบการเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบความ ตั้งใจ มั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งตัณหาทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหาโผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา:ภิกษุทั้งหลาย!นี้เรียกว่า ตัณหา
   ความก่อขึ้นพร้อมแห่งตัณหา ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อม แห่งเวทนา
   ความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งเวทนา
   มรรค
อันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง ตัณหา ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำ การงานชอบการเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งเวทนา ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนาฆาน สัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชา เวทนา : ภิกษุทั้งหลาย !นี้เรียกว่า เวทนา.
   ความก่อขึ้นพร้อมแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งผัสสะ;    ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ;
   มรรค อันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ นั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบการพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิต ชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งผัสสะทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัสกายสัมผัส มโนสัมผัส : ภิกษุทั้งหลาย!นี้เรียกว่า ผัสสะ.
   ความก่อขึ้นพร้อมแห่งผัสสะย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งสฬายตนะ
   ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ
   มรรค อันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึง ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งผัสสะ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบความดำริชอบ การพูดจา ชอบ การทำการงานชอบการเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! จักข๎วายตนะ โสตายตนะฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนายตนะ ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า สฬายตนะ.
   ความก่อขึ้นพร้อมแห่ง สฬายตนะย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่ง นามรูป
   ความดับไม่เหลือแห่ง สฬายตนะ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่ง นามรูป
   มรรค อันประกอบด้วย องค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบการพูดจาชอบ การทำการ งานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่น ชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! นามรูป เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะมนสิการ นี้เรียกว่า นาม มหาภูตทั้งสี่ด้วย รูปที่อาศัยมหาภูตทั้งสี่ด้วย นี้เรียกว่า รูป นามนี้ด้วย รูปนี้ด้วยย่อมมีอยู่ดังนี้; ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า นามรูป.
    ความก่อขึ้นพร้อมแห่งนามรูป ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่ง วิญญาณ
    ความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ
    มรรค อันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งนามรูป ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบความดำริชอบ การพูดจา ชอบ การทำการงานชอบการเลี้ยงชีวิต ชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งวิญญาณทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า วิญญาณ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งสังขาร ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะ ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความ เห็นชอบ ความดำริชอบการพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร : ภิกษุทั้งหลาย !เหล่านี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย.
    ความก่อขึ้นพร้อม แห่งสังขารย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอวิชชา
    ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา
    มรรค อันประกอบด้วยองค์แปดอัน ประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขารได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบการพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิต ชอบความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในการใดแล ภิกษุย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ชรามรณะ มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ มารู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ มารู้ทั่วถึง ซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งชรามรณะ ว่าเป็นอย่าง นี้ๆ

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ชาติ มารู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาต มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับ ไม่เหลือแห่งชาติ มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งชาติ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ภพ มารู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่งภพ มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับ ไม่เหลือแห่งภพ มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งภพ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง อุปาทาน มารู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน มารู้ทั่วถึง ซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน ว่าเป็นอย่างนี้ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ตัณหา มารู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหา มารู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตัณหา มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ว่าเป็นอย่างนี้ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง เวทนา มารู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา มารู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ว่าเป็นอย่างนี้ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ผัสสะ มารู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ มารู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง สฬายตนะ มารู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ มารู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ : ว่าเป็นอย่างนี้ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง นามรูป มารู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป มารู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูป มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งนามรูป : ว่าเป็นอย่างนี้ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง วิญญาณ มารู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ มารู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง สังขาร มารู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้นแห่งสังขาร มารู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ว่าเป็นอย่างนี้ๆ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลนั้น เราเรียกภิกษุนั้น ว่k

ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิดังนี้บ้าง
ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะดังนี้บ้าง
ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้วดังนี้บ้าง
ผู้ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้ดังนี้บ้าง
ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะดังนี้บ้าง
ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะดังนี้บ้าง
ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้วดังนี้บ้าง
ผู้ประเสริฐมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสดังนี้บ้าง
ยืนอยู่จรดประตูแห่งอมตะดังนี้บ้าง ดังนี้ แล.