เว็บไซต์ อนาคามี แหล่งเผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ              

  โสดาบัน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  02 of 3  
  โสดาบัน พุทธวจน   ที่มา : http://watnapp.com/book  
     
        
  ๑๖ ผู้รู้ปฏิจจแต่ละสายโดย อริยสัจสี่ ทั้งปัจจุบัน อดีต อนาคต (ญาณวัตถุ๔๔) 63  
  ๑๗ ผู้รู้ปฏิจจแต่ละสายถึงเหตุเกิด-เหตุดับ ทั้งปัจจุบัน อดีตอนาคต (ญาณวัตถุ ๗๗) 79  
  ๑๘ ผู้มีธัมมญาณและอัน๎วยญาณ(พระโสดาบัน) 91  
  ๑๙ ผู้สิ้นความสงสัย (พระโสดาบัน) ในกรณีของการยึดถือตัวตน 95  
  ๒๐ ผู้สิ้นความสงสัย (พระโสดาบัน) กรณีความเห็นที่เป็นไปในลักษณะขาดสูญ 99  
  ๒๑ ผลแห่งความเป็นโสดาบัน 105  
  ๒๒ ความเป็นโสดาบันประเสริฐกว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 106  
  ๒๓ ความเป็นโสดาบัน ไม่อาจแปรปรวน 108  
  ๒๔ สิ่งที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (โสดาบัน)ทำไม่ได้โดยธรรมชาติ 110  
  ๒๕ ฐานะที่เป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (พระโสดาบัน) นัยที่หนึ่ง 112  
  ๒๖ ฐานะที่เป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (พระโสดาบัน)นัยที่สอง 114  
  ๒๗ ฐานะที่เป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (พระโสดาบัน) นัยที่สาม 116  
  ๒๘ อริยมรรคมีองค์แปด 120  
  ๒๙ คำที่ใช้เรียกแทนความเป็นโสดาบัน 125  
  ๓๐ สังโยชน์สิบ 127  
  ๓๑ อริยญายธรรม คือ การรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท 129  
  ๓๒ ฝุ่นปลายเล็บ (พอรู้อริยสัจ ทุกข์เหลือน้อยขนาดฝุ่นปลายเล็บ เทียบกับปฐพี) 132  
  ๓๓ สามัญญผลในพุทธศาสนา เทียบกันไม่ได้ กับในลัทธิอื่น 135  
  ๓๔ ลักษณะแห่งผู้เจริญอินทรีย์ขั้นอริยะ 137  
  ๓๕ โสดาบันกับพระอรหันต์ต่างกันในการเห็นธรรม 139  
  ๓๖ โสดาบันกับพระอรหันต์ต่างกันในการเห็นธรรม (อีกนัยหนึ่ง) 143  
  ๓๗ ความลดหลั่นแห่ง อริยบุคคลผู้ปฏิบัติอย่างเดียวกัน 145  
       
 

 

   
 
 






(หน้า 63)
๑๖
ผู้รู้ปฏิจจสมุปบาทแต่ละสายโดยนัย
แห่งอริยสัจสี่ ทั้งปัจจุบัน อดีต อนาคต
ชื่อว่าโสดาบัน (ญาณวัตถุ ๔๔)

ภิกษุทั้งหลาย !
เราจักแสดง ซึ่งญาณวัตถุ1 ๔๔ อย่างแก่พวกเธอทั้งหลาย.
พวกเธอทั้งหลาย จงฟังข้อความนั้น จงกระทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้.

ครั้นภิกษุทั้งหลาย
! เหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถ้อยคำเหล่านี้ว่า :-
…………………………………………………………………………

1. ญาณวัตถุ แปลว่า สิ่งซึ่งเป็นที่กำหนดพิจารณาของญาณ ญาณกำหนดพิจารณาสิ่งใด สิ่งนั้นเรียกว่าญาณวัตถุ เฉพาะในกรณีนี้ หมายถึงอาการ๔ อย่างๆ ของปฏิจจสมุปบาทแต่ละอาการ ซึ่งมีอยู่ ๑๑ อาการ;  ดังนั้น จึงเรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔.
…………………………………………………………………………

ภิกษุทั้งหลาย !
ก็ ญาณวัตถุ ๔๔ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

ญาณวัตถุ ๔๔ อย่าง คือ :-
(หมวด ๑)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในชรามรณะ;
๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ
๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ
๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ

(หมวด ๒)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในชาติ
๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ
๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งชาติ
๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ

(หมวด ๓)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในภพ
๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพ
๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งภพ
๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ

(หมวด ๔)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในอุปาทาน
๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน
๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน
๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่ง อุปาทาน

(หมวด ๕)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในตัณหา
๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหา
๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งตัณหา
๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหา

(หมวด ๖)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในเวทนา
๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา
๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งเวทนา
๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา

(หมวด ๗)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในผัสสะ
๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ
๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ
๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ

(หมวด ๘)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในสฬายตนะ
๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ
๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ
๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่ง สฬายตนะ

(หมวด ๙)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในนามรูป
๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป
๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งนามรูป
๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งนามรูป

(หมวด ๑๐)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในวิญญาณ
๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ
๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่ง วิญญาณ

(หมวด ๑๑)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในสังขารทั้งหลาย
๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร
๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งสังขาร
๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร
68
ภิกษุทั้งหลาย !
เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ?ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไปๆ แห่งอายุความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ : นี้เรียกว่า ชรา.

การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตายการทำกาละ การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่างการขาดแห่งอินทรีย์ คือ ชีวิต จากสัตวนิกายนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ : นี้เรียกว่า มรณะ. ชรานี้ด้วยมรณะนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ ดังนี้; ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่าชรามรณะ.

ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชรามรณะ ย่อมมีเพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติ  ความดับไม่เหลือแหง่ชรามรณะ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งชาติ มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบการทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
69
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่งชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ มารู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ มารู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่ง ชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ ในกาลใด; ในกาลนั้นความรู้นี้ของ อริยสาวกนั้นชื่อว่า ญาณในธรรม (ธัมมญาณ).

ด้วยธรรมนี้อันอริยสาวกนั้นเห็นแล้ว รู้แล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงแล้ว และเป็นธรรมอันใช้ได้ไม่จำกัดกาล อริยสาวกนั้น ย่อมนำความรู้นั้นไปสู่นัยยะอันเป็น อดีตและ อนาคต (ต่อไปอีก) ว่า “สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตได้รู้อย่างยิ่งแล้วซึ่งชรามรณะ ได้รู้อย่างยิ่งแล้วซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ ได้รู้อย่างยิ่งแล้วซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ได้รู้อย่างยิ่งแล้วซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ  สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ก็ได้รู้อย่างยิ่งแล้วเหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้.

ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งชรามรณะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ก็ตาม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ก็จักรู้อย่างยิ่ง เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้” ดังนี้. ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้น ชื่อว่า ญาณในการรู้ตาม (อัน๎วยญาณ).

ภิกษุทั้งหลาย ! ญาณทั้งสอง คือ ธัมมญาณ และ อัน๎วยญาณเหล่านี้ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องใส ในกาลใด;

ภิกษุทั้งหลาย !
ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้น ว่า
ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิ” ดังนี้บ้าง
ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ” ดังนี้บ้าง
ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว” ดังนี้บ้าง

ผู้ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้” ดังนี้บ้าง
ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ” ดังนี้บ้าง
ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ” ดังนี้บ้าง
ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว” ดังนี้บ้าง
ผู้ประเสริฐมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลส” ดังนี้บ้าง
ยืนอยู่จรดประตูแห่งอมตะ” ดังนี้บ้าง ดังนี้ แล.
71
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ชาติ เป็นอย่างไรเล่า ?
การเกิด การกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ ทั้งหลายการที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้นๆของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ: ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่าชาติ

ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ ความดับไม่เหลือแห่งชาติ ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งภพ มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบการเลี้ยงชีวิต ชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบความตั้งใจมั่นชอบ.
หน้า72
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ชาติ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ มารู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ มารู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ มารู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ

ในกาลใด; ในกาลนั้นความรู้นี้ของอริยสาวกนั้น ชื่อว่า ญาณในธรรม (ธัมมญาณ).

ด้วยธรรมนี้อันอริยสาวกนั้นเห็นแล้ว รู้แล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงแล้ว และเป็นธรรมอัน ใช้ได้ ไม่จำกัด กาล อริยสาวกนั้นย่อม นำความรู้นั้นไปสู่นัยยะอันเป็นอดีตและ อนาคต (ต่อไปอีก) ว่า “สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนาน ฝ่ายอดีตได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งชาติ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งชาติ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งชาติ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น ทุกท่านก็ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ในบัดนี้.

ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งชาติ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ  จักรู้อย่างยิ่ง
(หน้า73)
ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความ ดับ ไม่เหลือ แห่งชาติ ก็ตาม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ก็จักรู้อย่างยิ่ง เหมือนอย่าง ที่เราเองได้รู้ อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้” ดังนี้.

ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้น ชื่อว่า ญาณในการรู้ตาม(อัน๎วยญาณ).ภิกษุทั้งหลาย ! ญาณทั้งสอง คือ ธัมมญาณและอัน๎วยญาณเหล่านี้ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องใส ในกาลใด

ภิกษุทั้งหลาย !ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้น ว่า
ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิดังนี้บ้าง
ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะดังนี้บ้าง
ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้วดังนี้บ้าง
ผู้ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้ดังนี้บ้าง
ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะดังนี้บ้าง
ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะดังนี้บ้าง
ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้วดังนี้บ้าง
ผู้ประเสริฐมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสดังนี้บ้าง
ยืนอยู่จรดประตูแห่งอมตะดังนี้บ้าง ดังนี้ แล.
74
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ภพ เป็นอย่างไรเล่า ? ...ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ? ...ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ? ...ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ...ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ? ...ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ สฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า ? ..ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ นามรูป เป็นอย่างไรเล่า ? ...ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ? ...ฯลฯ
(ข้อความนี้ที่ละไว้ด้วย ...ฯลฯ... ดังข้างบนนี้ มีข้อความเต็มดังในข้ออันว่าด้วย ชรามรณะ และชาติ ข้างต้นทุกประการ ต่างกันแต่ชื่อหัวข้อธรรม).

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย สามอย่างเหล่านี้
คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย. ความก่อขึ้นพร้อมแห่ง สังขารย่อมมี เพราะความก่อขึ้น พร้อมแห่งอวิชชา;ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความดับ ไม่เหลือแห่งอวิชชา มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบการเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่งสังขารทั้งหลาย ว่าเป็นอย่างนี้ๆ มารู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แหง่ สังขาร ว่าเป็นอย่างนี้ๆ มารู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ว่าเป็นอย่างนี้ๆ มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ว่าเป็นอย่างนี้ๆ ในกาลใด; ในกาลนั้นความรู้นี้ของอริยสาวกนั้นชื่อว่า ญาณในธรรม (ธัมมญาณ).

ด้วยธรรมนี้อันอริยสาวกนั้นเห็นแล้ว รู้แล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงแล้ว และเป็นธรรม อันใช้ได้ ไม่จำกัด กาล สาวกนั้นย่อมนำ ความรู้นั้น ไปสู่นัยยะอันเป็นอดีต และอนาคต (ต่อไปอีก) ว่า “สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาว นานฝ่ายอดีตได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งสังขารทั้งหลาย ได้รู้อย่างยิ่งแล้วซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่งสังขาร ได้รู้อย่างยิ่งแล้วซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งสังขาร ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร สมณะหรือ พราหมณ์ เหล่านั้นทุกท่าน ก็ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้.

ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต จักรู้อย่างยิ่งซึ่งสังขารทั้งหลาย จักรู้อย่างยิ่งซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร จักรู้อย่างยิ่งซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร จักรู้อย่างยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งสังขารก็ตาม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ก็จักรู้อย่างยิ่ง เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ในบัดนี้”ดังนี้.

ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้น ชื่อว่า ญาณในการรู้ตาม(อัน๎วยญาณ).

ภิกษุทั้งหลาย ! ญาณทั้งสอง คือ ธัมมญาณและอัน๎วยญาณ เหล่านี้ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องใส ในกาลใด;
77
ภิกษุทั้งหลาย !
ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้น ว่า

ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิดังนี้บ้าง
ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะดังนี้บ้าง
ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้วดังนี้บ้าง
ผู้ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้ดังนี้บ้าง
ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะดังนี้บ้าง
ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะดังนี้บ้าง
ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้วดังนี้บ้าง
ผู้ประเสริฐมีปัญญาเครื่องชำ􀄁แรกกิเลสดังนี้บ้าง
ยืนอยู่จรดประตูแห่งอมตะดังนี้บ้าง ดังนี้ แล


(หน้า 79)
๑๗
ผู้รู้ปฏิจจสมุปบาทแต่ละสายถึง
“เหตุเกิด”
และ
“ความดับ” ทั้งปัจจุบัน อดีต อนาคต ก็ชื่อว่าโสดาบัน (ญาณวัตถุ ๗๗)


ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง ซึ่งญาณวัตถุ ๗๗ อย่าง แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้. ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัสนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถ้อยคำเหล่านี้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย !
ก็ ญาณวัตถุ ๗๗ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
ญาณวัตถุ ๗๗ อย่างนั้น คือ

(หมวด ๑)
๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ
๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะ ย่อมไม่มี
๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ
๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อชาติไม่มี ชรามรณะย่อมไม่มี
๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ
๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อชาติไม่มี ชรามรณะย่อมไม่มี
๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ(1) ในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา
………………………………………………….………………………………………………….
1. ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ คือ ญาณเป็นไปตามหลักของปฏิจจสมุปบาท เป็นกรณีๆ ไป เช่น ในกรณีแห่งชาติ ดังที่กล่าวนี้เป็นต้น.
………………………………………………….………………………………………………….

(หมวด ๒)
๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติย่อมไม่มี
๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อภพไม่มี ชาติย่อมไม่มี
๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อภพไม่มี ชาติย่อมไม่มี
๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา

(หมวด ๓)
๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ
๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพย่อมไม่มี
๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่ออุปาทานไม่มี ภพย่อมไม่มี
๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่ออุปาทานไม่มี ภพย่อมไม่มี
๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา

(หมวด ๔)
๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานย่อมไม่มี
๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานย่อมไม่มี
๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานย่อมไม่มี
๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา

(หมวด ๕)
๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาย่อมไม่มี
๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาย่อมไม่มี
๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาย่อมไม่มี
๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา

(หมวด ๖)
๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาย่อมไม่มี
๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อผัสสะไม่มี เวทนาย่อมไม่มี
๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อผัสสะไม่มี เวทนาย่อมไม่มี
๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา

(หมวด ๗)
๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ
๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะย่อมไม่มี
๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะย่อมไม่มี
๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะย่อมไม่มี
๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา

(หมวด ๘)
๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ
๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะย่อมไม่มี
๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะย่อมไม่มี
๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะย่อมไม่มี
๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา

(หมวด ๙)
๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย
จึงมีนามรูป
๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปย่อมไม่มี
๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปย่อมไม่มี
๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปย่อมไม่มี
๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา

(หมวด ๑๐)
๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ
๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่อสังขารทั้งหลายไม่มีวิญญาณ ย่อมไม่มี
๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อสังขารทั้งหลายไม่มี วิญญาณย่อมไม่มี
๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อสังขารทั้งหลายไม่มี วิญญาณย่อมไม่มี
๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา

(หมวดที่ ๑๑)
๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย
๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารทั้งหลายย่อมไม่มี
๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่ออวิชชาไม่มี สังขารทั้งหลายย่อมไม่มี
๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่ออวิชชาไม่มี สังขารทั้งหลายย่อมไม่มี
๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้เรียกว่าญาณวัตถุ๗๗อย่างดังนี้แล.


(หน้า 91)
๑๘
ผู้มีธัมมญาณและอัน๎วยญาณ(พระโสดาบัน)


ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ?ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไปๆ แห่งอายุความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ นี้เรียกว่า ชรา.

การจุติความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพการตาย การทำกาละ การแตกแห่ง ขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์ คือ ชีวิต จากสัตวนิกายนั้นๆ ของสัตว์ ทั้งหลายเหล่านั้นๆ นี้เรียกว่า มรณะ. ชรานี้ด้วย มรณะนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย !นี้เรียกว่า ชรามรณะ.ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชรามรณะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติ ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ
92
ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งชาติ มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบการเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก ย่อมมารู้ทั่วถึง ซึ่งชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ มารู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ มารู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ว่าเป็น อย่างนี้ๆ มารู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำให้สัตว์ถึงความดับไม่เหลือแห่ง ชรามรณะว่า เป็นอย่างนี้ๆ

ในกาลใด; ในกาลนั้นความรู้นี้ของอริยสาวกนั้น ชื่อว่า ธัมมญาณ (ญาณในธรรม). ด้วยธรรมนี้ อันอริยสาวกนั้นเห็นแล้ว รู้แล้วบรรลุแล้ว หยั่งลงแล้ว และเป็นธรรมอันใช้ได้ไม่จำกัดกาล

อริยสาวกนั้น ย่อม นำความรู้นั้นไปสู่นัยยะอันเป็นอดีตและอนาคต (ต่อไปอีก) ว่า “สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งชรามรณะ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งข้อปฎิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ก็ได้รู้อย่างยิ่งแล้วเหมือนอย่างที่เราเอง ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ในบัดนี้. ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งชรามรณะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ก็ตาม; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ก็จักรู้อย่างยิ่ง เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ในบัดนี้” ดังนี้. ความรู้นี้ของ

อริยสาวกนั้น ชื่อว่า อัน๎วยญาณ (ญาณในการรู้ตาม).

ภิกษุทั้งหลาย ! ญาณทั้งสอง คือ ธัมมญาณ และ อัน๎วยญาณ เหล่านี้ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผ่องใส ในกาลใด

ภิกษุทั้งหลาย !
ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้น ว่า :-

ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิดังนี้บ้าง
ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะดังนี้บ้าง
ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้วดังนี้บ้าง
ผู้ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้ดังนี้บ้าง
ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะดังนี้บ้าง
ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะดังนี้บ้าง
ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้วดังนี้บ้าง
ผู้ประเสริฐมีปัญญาเครื่องชำ􀄁แรกกิเลสดังนี้บ้าง
ยืนอยู่จรดประตูแห่งอมตะดังนี้บ้าง ดังนี้ แล

(หน้า 95)
๑๙
ผู้สิ้นความสงสัย (พระโสดาบัน) ในกรณีของความเห็นที่เป็นไปในลักษณะยึดถือตัวตน


ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจ เข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นจนถึงกับว่า “ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมี ครรภ์ ก็ไม่คลอด พระจันทร์ และ พระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตก แต่ละอย่างๆ เป็นของ ตั้งอยู่อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด” ดังนี้ ?

ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูลวิงวอนว่า“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมทั้งหลาย ของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูลมีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำมีพระผู้มี พระภาคเป็นที่พึ่ง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เป็นการชอบแล้วหนอขอให้อรรถแห่ง ภาษิตนั้นจงแจ่มแจ้งกะพระผู้มี พระภาคเจ้าเองเถิด. ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจาก พระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้” ดังนี้. พระผู้มี พระภาคเจ้าจึงตรัสเตือน ให้ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นตั้งใจฟังด้วยดี แล้วได้ตรัสข้อความ ดังต่อไปนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อ รูปนั่นแล มีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป เพราะปักใจเข้าไป สู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า “ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และ พระอาทิตย์ ก็ไม่ขึ้นไม่ตก แต่ละอย่างๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด” ดังนี้.

(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร กับในกรณีแห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์แต่ละขันธ์ เท่านั้น).

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร

รูป เที่ยงหรือไม่เที่ยง ?

ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า !”

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?
เป็นทุกข์พระเจ้าข้า !”
แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่น ซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิ อย่างนี้จะเกิดขึ้นได้ไหม ว่า “ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ ก็ไม่ขึ้น ไม่ตก แต่ละอย่างๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด” ดังนี้ ?

ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !”
(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสถาม และภิกษุ เหล่านั้นทูลตอบ อย่างเดียวกันทุกตัวอักษรกับในกรณีแห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อ แห่งขันธ์แต่ละขันธ์ เท่านั้น).

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้สิ่งใดที่บุคคล ได้เห็นแล้วฟังแล้ว รู้สึกแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุ แล้ว แสวงหาแล้ว ครุ่นคิดอยู่ด้วยใจแล้ว เหล่านี้เป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?

“ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า !”


ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?

เป็นทุกข์พระเจ้าข้า !”

แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่น ซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหม ว่า “ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหลสตรีมี ครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และ พระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตก แต่ละอย่างๆ เป็นของ ตั้งอยู่อ ย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด” ดังนี้ ?

ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !”

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใดแล ความสงสัย (กังขา)ในฐานะทั้งหลาย ๖ ประการ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ อริยสาวกละขาดแล้ว ในกาลนั้น ก็เป็นอันว่าความสงสัยแม้ใน ทุกข์ แม้ในเหตุให้เกิดทุกข์ แม้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ แม้ในข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ก็เป็นสิ่งที่อริยสาวก ละขาด แล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นอริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน มีอันไม่ ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ (ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า ดังนี้ แล.
..................................................................................................................................................
1. ฐานะหกประการ คือ ขันธ์ห้าประการ และอาการที่ได้เห็นแล้วเป็นต้น ดังที่กล่าวแล้วข้างบน เจ็ดอย่าง รวมเป็นหนึ่งประการ รวมเป็นหกประการ.
..................................................................................................................................................



(หน้า 99)

๒๐
ผู้สิ้นความสงสัย (พระโสดาบัน) ในกรณีของความเห็นที่เป็นไปในลักษณะขาดสูญ


ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไป สู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า “ไม่มีทานอันบุคคลบริจาคแล้ว ไม่มียัญญะ(การบวงสรวง บูชา) อันบุคคล ประกอบแล้ว ไม่มีโหตระ อันบุคคลบูชาแล้ว ไม่มี ผลวิบาก แห่งกรรม อันบุคคลกระทำดีแล้ว กระทำชั่วแล้ว ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกอื่น ไม่มีมารดา ไม่มีบิดา ไม่มีสัตว์ทั้งหลายอันเป็นโอปปาติกะ ไม่มีสมณะ และ พราหมณ์ผู้ไปแล้วถูกต้อง ผู้ปฏิบัติแล้วถูกต้อง ผู้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ และโลกอื่น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศอยู่ในโลก

คนเรานี้ เป็นแต่การประชุมของมหาภูตทั้งสี่ เมื่อใดทำกาละ เมื่อนั้นดินย่อมเข้าไป สู่หมู่แห่งดิน น้ำย่อมเข้าไปสู่ หมู่แห่งน้ำ ไฟย่อมเข้าไปสู่หมู่แห่งไฟ ลมย่อมเข้าไป สู่หมู่แห่งลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมหายไปในอากาศ

บุรุษทั้งหลายมีเตียงวางศพเป็นที่ครบห้า จะพาเขาผู้ตายแล้วไป; ร่องรอยทั้งหลาย ปรากฏอยู่เพียงแค่ป่าช้า เป็นเพียง กระดูกทั้งหลาย มีสีเพียงดังสีแห่งนกพิราบ

การบูชาเซ่นสรวงมีขี้เถ้าเป็นที่สุด สิ่งที่เรียกว่าทานนั้น
เป็นบทบัญญัติของ คนเขลา คำของพวกที่กล่าว ว่าอะไรๆ มีอยู่นั้น เป็นคำเปล่า (จากความ หมาย) เป็นคำเท็จ เป็นคำเพ้อเจ้อ ทั้งคนพาลและบัณฑิต ครั้นกายแตก ทำลายแล้ว ย่อมขาดสูญพินาศไปมิได้มีอยู่ ภายหลังแต่การตาย” ดังนี้ ?

ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มี พระภาคเป็นมูลมีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำมีพระผู้มี พระภาคเป็นที่พึ่ง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เป็นการชอบแล้วหนอขอให้อรรถแห่ง ภาษิตนั้นจงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเจ้าเองเถิดภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มี พระภาค แล้วจัก ทรงจำไว้ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเตือนให้ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นตั้งใจฟังด้วยดีแล้ว ได้ตรัสข้อความดัง ต่อไปนี้ :-

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อ รูปนั่นแล มีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่ง รูป เพราะปักใจ เข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า “ไม่มีทานอันบุคคลบริจาคแล้ว ไม่มียัญญะ (การบวงสรวง บูชา) อันบุคคลประกอบแล้ว ไม่มี โหตระ อันบุคคล บูชาแล้ว ไม่มีผล วิบาก แห่งกรรม อันบุคคลกระทำดีแล้ว กระทำชั่วแล้ว ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกอื่น ไม่มี มารดา ไม่มีบิดาไม่มีสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นโอปปาติกะ ไม่มีสมณะ และพราหมณ์ ผู้ไป แล้วถูกต้อง ผู้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้ว ประกาศอยู่ในโลก

คนเรานี้ เป็นแต่การประชุมของมหาภูตทั้งสี่ เมื่อใดทำกาละ เมื่อนั้นดินย่อมเข้าไป สู่หมู่แห่งดิน น้ำย่อมเข้าไปสู่ หมู่แห่งน้ำ ไฟย่อมเข้าไปสู่หมู่แห่งไฟ ลมย่อมเข้าไป สู่หมู่แห่งลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมหายไปในอากาศ บุรุษทั้งหลายมีเตียงวางศพ เป็นที่ครบห้า จะพาเขาผู้ตายแล้วไป ร่องรอยทั้งหลายปรากฏอยู่เพียงแค่ป่าช้า เป็นเพียง กระดูกทั้งหลาย มีสีเพียงดังสีแห่งนกพิราบ การบูชาเซ่นสรวง มีขี้เถ้า เป็นที่สุด

สิ่งที่เรียกว่าทานนั้น เป็นบทบัญญัติของคนเขลา คำของพวกที่กล่าวว่าอะไรๆ มีอยู่นั้น เป็นคำเปล่า (จากความหมาย) เป็นคำเท็จ เป็นคำเพ้อเจ้อ ทั้งคนพาล และบัณฑิต ครั้นกายแตกทำลายแล้ว ย่อมขาดสูญ พินาศไป มิได้มีอยู่ภายหลัง แต่การตาย” ดังนี้.
102
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร

รูป เที่ยงหรือไม่เที่ยง ?

ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า !”

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?

เป็นทุกข์พระเจ้าข้า !”

แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้จะเกิดขึ้น ได้ไหมว่า “ไม่มีทานอันบุคคลบริจาคแล้วไม่มียัญญะอันบุคคลประกอบแล้ว ไม่มี โหตระ อันบุคคลบูชาแล้ว ไม่มีผล วิบากแห่งกรรม อันบุคคลกระทำดีแล้วกระทำชั่วแล้ว ...ฯลฯ...ฯลฯ... คำของพวกที่กล่าวว่าอะไรๆ มีอยู่นั้นเป็นคำ เปล่า (จากความหมาย) เป็นคำเท็จเป็นคำเพ้อเจ้อ; ทั้งคนพาลและบัณฑิต ครั้นกายแตกทำลายแล้ว ย่อมขาดสูญ พินาศไป มิได้มีอยู่ภายหลังแต่การตาย” ดังนี้ ?

ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !”.

(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสอย่างเดียวกันทุกตัวอักษรกับในกรณีแห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์แต่ละขันธ์ เท่านั้น)
103
ภิกษุทั้งหลาย ! แม้สิ่งใดที่บุคคลได้เห็นแล้วฟังแล้ว รู้สึกแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว แสวงหาแล้วครุ่นคิด อยู่ด้วยใจ แล้; เหล่านี้เป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?

“ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า !”

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?

“เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า !”

แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้จะเกิดขึ้น ได้ไหมว่า “ไม่มีทานอันบุคคลบริจาคแล้วไม่มียัญญะอันบุคคลประกอบแล้ว ไม่มีโหตระ อันบุคคลบูชาแล้ว ไม่มีผล วิบากแห่งกรรม อันบุคคลกระทำดีแล้วกระทำชั่วแล้ว ...ฯลฯ...ฯลฯ... คำของพวกที่กล่าวว่าอะไรๆ มีอยู่นั้นเป็นคำ เปล่า (จากความหมาย) เป็นคำเท็จเป็นคำพ้อเจ้อ ทั้งคนพาลและบัณฑิต ครั้นกายแตกทำลายแล้ว ย่อมขาดสูญ พินาศไป มิได้มีอยู่ภายหลังแต่การตาย” ดังนี้ ?

“ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !”
104
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใดแล ความสงสัย(กังขา) ในฐานะทั้งหลาย ประการเหล่านี้ เป็นสิ่งที่อริยสาวก ละขาดแล้วในกาลนั้น ก็เป็นอันว่าความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ แม้ในความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ แม้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ก็เป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นละขาดแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าเป็นอริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ (ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้าดังนี้ แล.


(หน้า 105)
๒๑
ผลแห่งความเป็นโสดาบัน

ภิกษุทั้งหลาย ! อานิสงส์แห่งการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.หกอย่างเหล่าไหนเล่า ? หกอย่าง คือ
เป็นบุคคลผู้ เที่ยงแท้ต่อพระสัทธรรม
เป็นบุคคลผู้ มีธรรมอันไม่รู้เสื่อม; ทุกข์ดับไปทุกข์นั้น ตอนแห่งการกระทำที่กระทำแล้ว
เป็นบุคคลผู้ ประกอบด้วย อสาธารณญาณ (ที่ไม่ทั่วไปแก่พวกอื่น)
เป็นบุคคลผู้ เห็นธรรมที่เป็นเหตุ และเห็นธรรมทั้งหลาย ที่เกิดมาแต่เหตุ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล อานิสงส์ ๖ ประการแห่งการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๐/๓๖๘.


(หน้า 106)

๒๒
ความเป็นโสดาบันประเสริฐกว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ


ภิกษุทั้งหลาย ! แม้พระเจ้าจักรพรรดิ ได้ครองความเป็นใหญ่ยิ่งแห่งทวีปทั้งสี่ เบื้องหน้าจากการตายเพราะการแตก ทำลายแห่งกาย อาจได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เป็นสหายอยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ถูกแวดล้อมอยู่ด้วยหมู่ นางอัปษรในสวนนันทวัน ท้าวเธอเป็นผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้า อันเป็นของทิพย์ อย่างนี้ก็ตาม แต่กระนั้นท้าวเธอก็ยัง รอดพ้นไปไม่ได้ จากนรกจากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต และจากอบายทุคติ วินิบาต.

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนอริยสาวกในธรรมวินัยนี้แม้เป็นผู้ยังอัตตภาพให้พอเป็นไปด้วยคำข้าว ที่ได้มาจากบิณฑบาตด้วยปลีแข้งของตนเอง พันกายด้วยการนุ่งห่มผ้าปอนๆ ไม่มีชาย หากแต่ว่าเป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว

ด้วยธรรม ๔ ประการ เธอก็ยังสามารถ รอดพ้นเสียได้จากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรตและจากอบาย ทุคติ วินิบาต.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๔ ประการนั้นเป็นไฉน ?

๔ ประการ คือ :-

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว
...ในองค์พระพุทธเจ้า
...ในองค์พระธรรม
...ในองค์พระสงฆ์
...เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าอริยเจ้า ฯลฯ ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ระหว่างการได้ทวีปทั้งสี่ กับการได้ธรรม ๔ ประการนี้นั้น การได้ทวีปทั้งสี่มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่สิบหก ของการได้ธรรม ๔ ประการนี้ เลย.

(หน้า 108)
๒๓
ความเป็นพระโสดาบัน
ไม่อาจแปรปรวน


ภิกษุทั้งหลาย ! แม้มหาภูตรูปสี่ กล่าวคือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ยังมีความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไปได้. แต่เหล่าอริย สาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในองค์พระพุทธเจ้า... ในองค์พระธรรม... ในองค์พระสงฆ์...ย่อมไม่มีความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเลย.

ข้อที่ว่าผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวในองค์พระพุทธเจ้า เป็นต้นนั้น ยังจะมีการ ปรวนแปรไปเป็นเสียอย่างอื่น จนเข้าถึงนรกก็ดี กำเนิดเดรัจฉานก็ดีวิสัยแห่งเปรตก็ดี ดังนี้นั้น ไม่ใช่เป็นฐานะที่จะมี ได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้มหาภูตรูปสี่ กล่าวคือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ยังมีความแปรปรวนเป็นอื่นไปได้ แต่เหล่าอริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ ผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยศีลทั้งหลาย ชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าอริยเจ้า ย่อมไม่มี ความแปรปรวนเป็น อย่างอื่นได้เลย. ข้อที่ว่าผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าอริยเจ้านั้น ยังจะมีการ ปรวนแปรไปเป็นเสีย อย่างอื่นจนเข้าถึงนรกก็ดี กำเนิดเดรัจฉานก็ดี วิสัยแห่งเปรตก็ดี ดังนี้นั้น ไม่ใช่เป็นฐานะที่จะ มีได้เลย.


(หน้า110)

๒๔
สิ่งที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (พระโสดาบัน)ทำไม่ได้โดยธรรมชาติ


ภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ (โดยธรรมชาติ) ๖ ประการเหล่านี้ มีอยู่.หกประการ เหล่าไหนเล่า ?

หกประการ คือ :-

ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงสังขารไรๆโดยความเป็นของเที่ยง ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงสังขารไรๆโดยความเป็นของสุข
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงธรรมะไรๆโดยความเป็นตัวตน
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจกระทำ อนันตริยกรรม
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจหวังการถึงความบริสุทธิ์โดยโกตุหลมงคล
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจแสวงหา ทักขิเณยยบุคคลภายนอกจากศาสนานี้

ทักขิเณยยบุคคล คือ เสขะ(ผู้กำลังศึกษา หรืออริยะบุคคล) กับ อเสขะ(ผู้ไม่ต้องศึกษาหรืออรหันต์)

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.


(หน้า 112)
๒๕
ฐานะที่เป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
(พระโสดาบัน) นัยที่หนึ่ง


ภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ประการ เหล่านี้ มีอยู่.
หกประการ เหล่าไหนเล่า ?
หกประการ คือ : -
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระศาสดา
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระธรรม
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระสงฆ์
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในสิกขา
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่อนาคมนียวัตถุ (วัตถุที่ไม่ควรเข้าหา)
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจยังภพที่แปดให้เกิดขึ้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.

ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๙/๓๖๓.
(คำว่า “วัตถุที่ไม่ควรเข้าหา” หมายถึงวัตถุสิ่งของ ก็ได้ การกระทำที่มีผล ก็ได้ ทิฏฐิ ก็ได้. คำว่า “ภพที่แปด” หมายความว่าไม่อาจจะมีแก่พระโสดาบัน พระโสดาบันจะมีภพหรือชาติ ต่อไปได้อย่างมากอีกเพียงเจ็ดชาติเท่านั้น)
.


(หน้า 114)
๒๖
ฐานะที่เป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
(พระโสดาบัน)นัยที่สอง


ภิกษุทั้งหลาย !
ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ เหล่านี้ มีอยู่.
หกประการ เหล่าไหนเล่า ?
หกประการ คือ : -
เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึง ปลงชีวิตมารดา
เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึง ปลงชีวิตบิดา
เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึง ปลงชีวิตพระอรหันต์
เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึง คิดประทุษร้ายตถาคตแม้เพียงทำโลหิตให้ห้อ
เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึง ทำให้สงฆ์ให้แตกกัน

เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึง ถือศาสดาอื่น(นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.

(หน้า 116)
๒๗
ฐานะที่เป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
(พระโสดาบัน) นัยที่สาม


ภิกษุทั้งหลาย !
ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ประการเหล่านี้ มีอยู่.
หกประการ เหล่าไหนเล่า ?
หกประการ คือ

ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า สุขและทุกข์ ตนทำเอง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า สุขและทุกข์ ผู้อื่นทำให้
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า สุขและทุกข์ ตนทำเองก็มี ผู้อื่นทำให้ก็มี
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า สุขและทุกข์ไม่ต้องทำเอง เกิดขึ้นได้ตามลำพัง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า สุขและทุกข์ ไม่ต้องใครอื่นทำให้ เกิดขึ้นได้ตามลำพัง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า สุขและทุกข์ไม่ต้องทำ เองและไม่ต้องใครอื่นทำให้เกิดขึ้นได้ตามลำพัง

ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่าเหตุ (แห่งสุขและทุกข์) อันผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เห็นแล้วโดยแท้จริง และธรรมทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่เกิดมาแต่เหตุด้วย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.


(หน้า 120)
๒๘
อริยมรรคมีองค์แปด


ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ อริยสัจ คือ หนทางเป็นเครื่องให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?คือ หนทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง.

องค์แปด คือ :-

ความเห็นชอบ... ความดำริชอบ
วาจาชอบ... การงานชอบ... อาชีวะชอบ
ความเพียรชอบ... ความระลึกชอบ... ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์  ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์อันใด. นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ.
121
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริในการออกจากกามความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน.นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการพูดเท็จ การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ. นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย. นี้เราเรียกว่า การงานชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในกรณีนี้ ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง. นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิตย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้น แห่งอกุศลธรรม ทั้งหลายอันเป็นบาป ที่ยังไม่ได้บังเกิด

ย่อมปลูกความพอใจย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันเป็นบาป ที่บังเกิดขึ้นแล้ว

ย่อมปลูกความพอใจย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด

ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายามย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือนความงอกงามยิ่งขึ้นความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว.

นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ.
123
ภิกษุทั้งหลาย ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ?ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

มีความเพียรเครื่องเผากิเลสมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่

มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่

มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่

มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้.

นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.
124
ภิกษุทั้งหลาย ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่.

เพราะวิตกวิจารรำงับลง เธอเข้าถึงฌานที่สองอันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอัน เอกผุด ขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติ และสุขอันเกิด แต่สมาธิ แล้วแลอยู่.

เพราะปีติจางหายไป เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้ เสวยสุขด้วยกาย ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้า ทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้มีสติ มีความอยู่เป็น ปกติสุข” แล้วแลอยู่.

เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส และโทมนัส ในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.

นี้เราเรียกว่า
ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล เรียกว่า อริยสัจ คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.


(หน้า 125)

๒๙

คำที่ใช้เรียกแทนความเป็นพระโสดาบัน


...ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก ย่อมมารู้ประจักษ์ ถึงเหตุเกิดและความดับแห่งโลก ตามที่เป็นจริงอย่างนี้
ในกาลใด; ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้ ว่า
ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิดังนี้บ้าง
ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะดังนี้บ้าง
ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้วดังนี้บ้าง
ผู้ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้ดังนี้บ้าง
ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะดังนี้บ้าง
ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะดังนี้บ้าง
ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้วดังนี้บ้าง
ผู้ประเสริฐมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสดังนี้บ้าง
ยืนอยู่จรดประตูแห่งอมตะดังนี้บ้าง ดังนี้ แล.


(หน้า 127)
๓๐
สังโยชน์สิบ


ภิกษุทั้งหลาย !
สังโยชน์ ๑๐ ประการเหล่านี้ มีอยู่.
สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการ คือ

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ประการ
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ประการ

โอรัมภาคิยสังโยชน์1 ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?
๕ ประการ คือ
สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส
กามฉันทะ
พยาบาท
:
เหล่านี้ คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.
..............................................................
1. คือ สังโยชน์เบื้องต่ำ หมายถึง เครื่องร้อยรัดจิตอย่างหยาบ ๕ ประการ.
..............................................................
128
อุทธัมภาคิยสังโยชน์
1 ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?

๕ ประการ คือ
รูปราคะ
อรูปราคะ
มานะ
อุทธัจจะ
อวิชชา :
เหล่านี้ คือ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล สังโยชน์ ๑๐ ประการ.
..............................................................
1. คือ สังโยชน์เบื้องสูง หมายถึง เครื่องร้อยรัดจิตอย่างละเอียด ๕ ประการ ที่ อริยบุคลระดับ อรหัตตมรรค จะต้องละวาง.
..............................................................


(หน้า 129)
๓๑
อริยญายธรรม คือ การรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท


คหบดี ! ก็อริยญายธรรม เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดีแทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญาเป็นอย่างไรเล่า ?

คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อม พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ ดังนี้ว่า ด้วยอาการอย่างนี้

เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป :
130
ข้อนี้ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ

เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัยชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรปู จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแลชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

คหบดี ! อริยญายธรรมนี้แล เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา.


(หน้า 132)
๓๒
ฝุ่นปลายเล็บ
(พอรู้อริยสัจ
ทุกข์เหลือน้อยขนาดฝุ่นติดปลายเล็บ เทียบกับปฐพี)


ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราช้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้ กับมหาปฐพีนี้ ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดินที่มากกว่า.ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ทรงช้อนขึ้นด้วยปลาย พระนขานี้เป็นของมีประมาณน้อย.ฝุ่นนั้นเมื่อนำไปเทียบกับมหาปฐพีย่อมไม่ถึงซึ่งการคำนวณได้ เปรียบเทียบได้ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งกะละภาค”.

ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น :
สำหรับอริยสาวกผู้ถึงพร้อมด้วย(สัมมา) ทิฏฐิ รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ความทุกข์ของท่าน ส่วนที่สิ้นไปแล้ว หมดไปแล้วย่อมมีมากกว่า ความทุกข์ที่ยังเหลืออยู่ มีประมาณน้อย :

เมื่อนำเข้าไปเทียบกับกองทุกข์ที่สิ้นไปแล้ว หมดไปแล้วในกาลก่อน ย่อมไม่ถึงซึ่งการคำนวณ ได้เปรียบเทียบได้ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งกะละภาค นั่นคือความทุกข์ของโสดาบัน ผู้สัตตักขัตตุปรมะ(1) ผู้เห็นชัดตามเป็นจริง ว่า “ทุกข์  เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้

เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๗๒/๑๗๔๗.
…………………………………………………………………………………

(1). คือ พระโสดาบัน ที่ต้องมีกำเนิดอีกไม่เกิน ๗ ชาติ อันเป็นพระอริยบุคคลชั้นต้นที่สุดของจำพวกโสดาบัน. แม้กระนั้น ก็ตรัสว่า ทุกข์หมดไปมากกว่า ที่ยังเหลือ.
……………………………………………………………………
134
[สูตรอื่นอุปมาเปรียบด้วย เม็ดกรวดเท่าเม็ดถั่วเขียว ๗ เม็ด กับขุนเขาหิมาลัย (๑๙/๕๖๙/๑๗๔๕-๑๗๔๖).
อีกสูตรหนึ่งเปรียบ น้ำติดปลายใบหญ้าคากับน้ำในสระกว้าง ๕๐ โยชน์(๑๙/๕๗๒/๑๗๔๘).
อีกสูตรหนึ่งเปรียบ น้ำ ๒–๓ หยดกับน้ำในแม่น้ำ ๕ สายรวมกัน(๑๙/๕๗๓/๑๗๔๙-๑๗๕๐).
อีกสูตรหนึ่งเปรียบ เม็ดกระเบา ๗ เม็ดกับมหาปฐพี (๑๙/๕๗๔/๑๗๕๑-๑๗๕๒).
อีกสูตรหนึ่งเปรียบ น้ำ ๒–๓ หยดกับน้ำทั้งมหาสมุทร(๑๙/๕๗๕/๑๗๕๓-๑๗๕๔).
อีกสูตรหนึ่งเปรียบ เม็ดผักกาด ๒–๓ เม็ดกับขุนเขาหิมาลัย(๑๙/๕๗๖/๑๗๕๕-๑๗๕๖)]
และยังมีสูตรอีกกลุ่มหนึ่ง คือ สูตรที่ ๑–๑๐ อภิสมยวรรค อภิสมยสังยุตต์นิทาน. สํ. ๑๖/๑๖๘/๓๓๑ ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่เชตวัน ประกอบด้วยอุปมาหลายอย่างในแต่ละสูตร และมีเนื้อหาข้อความที่อธิบาย เริ่มตั้งแต่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น... ไปจนจบประโยค ว่า ...ผู้เป็นสัตตักขัตตุปรมะ เหมือนกันทุกตัวอักษร มีที่ต่างกันตรงข้อความ ต่อท้าย จากประโยคนี้ (ในที่แสดงไว้ทั้ง ๑๐ สูตร) จะต่อท้ายคำ สัตตักขัตตุปรมะ ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ! การรู้ พร้อมเฉพาะซึ่งธรรมเป็นไปเพื่อประโยชน์อันใหญ่หลวงอย่างนี้ การได้เฉพาะซึ่งธรรมจักษุเป็นไปเพื่อประโยชน์อันใหญ่หลวงอย่างนี้”.



(หน้า 135)
๓๓
สามัญญผลในพุทธศาสนา
เทียบกันไม่ได้ กับในลัทธิอื่น


ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษพึงโยนกรวดหิน มีประมาณเท่าเม็ดถั่วเขียวเจ็ดเม็ด เข้าไปที่เทือก เขาหลวงชื่อสิเนรุ.

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายจะพึงสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร กรวดหินมีประมาณเท่า เม็ดถั่วเขียวเจ็ดเม็ด ที่บุรุษโยนเข้าไป (ที่เทือกเขาหลวงชื่อสิเนรุ)เป็นสิ่งที่มากกว่า หรือว่าเทือกเขา หลวงชื่อสิเนรุเป็นสิ่งที่มากกว่า ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เทือกเขาหลวงชื่อสิเนรุนั้นแหละเป็นสิ่งที่มากกว่า. กรวดหินมีประมาณเท่า เม็ดถั่วเขียวเจ็ดเม็ดที่บุรุษโยนเข้าไป (ที่เทือกเขาหลวงชื่อสิเนรุ) มีประมาณน้อย. กรวดหินนี้เมื่อนำ เข้าไปเทียบกับเทือกเขาหลวง ชื่อสิเนรุ ย่อมไม่เข้าถึงส่วนหนึ่งในร้อย ส่วนหนึ่งในพันส่วนหนึ่งในแสน”.
136
ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น การบรรลุคุณวิเศษ แห่งสมณพราหมณ์ และปริพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่น เมื่อนำเข้าไปเทียบกับการบรรลุคุณวิเศษ ของอริยสาวก ซึ่งเป็นบุคคลผู้ ถึงพร้อมด้วย (สัมมา) ทิฏฐิ ย่อมไม่เข้าถึง ส่วนหนึ่งในร้อย ส่วนหนึ่งในพัน ส่วนหนึ่งในแสน.

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย(สัมมา).ทิฏฐิเป็นผู้มีการบรรลุอันใหญ่หลวงอย่างนี้ เป็นผู้มี ความรู้ยิ่งอันใหญ่หลวงอย่างนี้ ดังนี้ แล.


(หน้า 137)
๓๔
ลักษณะแห่งผู้เจริญอินทรีย์ขั้นอริยะ


อานนท์ ! ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้วในขั้นอริยะเป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ในกรณีนี้ ความพอใจ ความไม่พอใจ ความพอใจและ ไม่พอใจเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะเห็นรูปด้วยตา... ฟังเสียงด้วยหู... ดมกลิ่นด้วย จมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องสัมผัสด้วยผิวกาย... รู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจ.

ภิกษุนั้น ถ้าเธอหวังว่า จะเป็นผู้อยู่อย่างมีความรู้สึกว่า ไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่เป็นปฏิกูล ดังนี้ เธอก็อยู่อย่างผู้มีความรู้สึกว่า ไม่ปฏิกูลในสิ่งที่เป็นปฏิกูลนั้นได้.
ถ้าเธอหวังว่า จะเป็นผู้อยู่อย่างมีความรู้สึกว่า ปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่เป็นปฏิกูล ดังนี้ เธอก็อยู่อย่างผู้มีความรู้สึกว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่เป็นปฏิกูลนั้นได้.

ถ้าเธอหวังว่า จะเป็นผู้อยู่อย่างมีความรู้สึกว่า ไม่ปฏิกูล ทั้งในสิ่งที่เป็นปฏิกูล และไม่เป็นปฏิกูล ดังนี้ เธอก็อยู่อย่างผู้มีความรู้สึกว่า ไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่ง ที่เป็นปฏิกูล และไม่เป็นปฏิกูลนั้นได้.
ถ้าเธอหวังว่า จะเป็นผู้อยู่อย่างมีความรู้สึกว่า ปฏิกูล ทั้งในสิ่งที่ไม่เป็นปฏิกูล และสิ่งที่เป็นปฏิกูล ดังนี้เธอก็อยู่อย่างผู้มีความรู้สึกว่า ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ ไม่เป็นปฏิกูล และสิ่งที่เป็นปฏิกูลนั้นได้.

และถ้าเธอหวังว่า จะเป็นผู้อยู่อย่างเว้นขาด จากความรู้สึกว่าปฏิกูล และไม่
ปฏิกูล ทั้งสองอย่างเสียแล้ว อยู่อย่างผู้อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ ดังนี้ เธอก็อยู่ อย่าง ผู้อุเบกขามีสติสัมปชัญญะ ในสิ่ง เป็นปฏิกูล และไม่เป็นปฏิกูล ทั้งสอง อย่างนั้นได้.

อานนท์ ! อย่างนี้แล ชื่อว่าผู้มีอินทรีย์อันเจริญแล้วในขั้นอริยะ.


(หน้า 139)
๓๕
พระโสดาบันกับพระอรหันต์ต่างกันในการเห็นธรรม


ภิกษุทั้งหลาย ! อุปาทานขันธ์ (ความยึดมั่นในธรรมชาติ) ทั้งหลายเหล่านี้ มีอยู่ห้าอย่าง.ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่าง คือ

รูปูปาทานขันธ์ (ความยึดมั่นในรูปกาย)
เวทนูปาทานขันธ์ [ความยึดมั่นในเวทนา (สุขทุกข์อุเบกขา)]
สัญญูปาทานขันธ์ [ความยึดมั่นในสัญญา (ความจำได้หมายรู้)]
สังขารูปาทานขันธ์ [ความยึดมั่นในสังขาร (ความคิดปรุงแต่ง)]
วิญญาณูปาทานขันธ์ [ความยึดมั่นในวิญญาณ (ผู้รู้แจ้งซึ่งอารมณ์)]
140
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใด อริยสาวก รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่ง ความเกิดขึ้น (สมุทัย) ซึ่ง ความตั้งอยู่ไม่ได้(อัตถังคมะ) ซึ่งรสอร่อย (อัสสาทะ) ซึ่งโทษอันต่ำ ทราม(อาทีนวะ) และซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออก (นิสสรณะ) แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้;

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อ พระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า. ขนฺธ. อํ. ๑๗/๑๙๖/๒๙๖.

ภิกษุทั้งหลาย ! อุปาทานขันธ์เหล่านี้ มีอยู่ห้าอย่าง.
ห้าอย่างอย่างไรเล่า ? ห้าอย่าง คือ
รูปูปาทานขันธ์
เวทนูปาทานขันธ์
สัญญูปาทานขันธ์
สังขารูปาทานขันธ์
วิญญาณูปาทานขันธ์
141
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใด ภิกษุ รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ซึ่งรส อร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้ ดังนี้แล้วเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะไม่มีความยึดมั่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนี้ เราเรียกว่า เป็นพระอรหันต์ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ ควรทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ดังนี้ แล.


(หน้า 143)
๓๖
พระโสดาบันกับพระอรหันต์ต่างกันในการเห็นธรรม (อีกนัยหนึ่ง)


ภิกษุทั้งหลาย ! อินทรีย์หกเหล่านี้ มีอยู่.
หกเหล่าไหนเล่า ? หกเหล่า คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใด อริยสาวก รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์หกเหล่านี้

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน จักตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า
144
ภิกษุทั้งหลาย ! อินทรีย์หกเหล่านี้ มีอยู่.
หกเหล่าไหนเล่า ? หกเหล่า คือ
จักขุนทรีย์  โสตินทรีย์   ฆานินทรีย์  
ชิวหินทรีย์
 กายินทรีย์   มนินทรีย์

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใด ภิกษุ รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์หกเหล่านี้ ดังนี้ และเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะไม่มีความยึดมั่น

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนี้ เราเรียกว่า เป็นพระอรหันต์ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจ ที่ควรทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบ แล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ดังนี้ แล.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๗๒/๙๐๔-๙๐๕.
……………………………………………………………………….

(สูตรข้างบนนี้ทรงแสดงอินทรีย์โดยอายตนะภายในหก; ยังมีสูตรอื่น(๑๙/๒๗๕/๙๑๔-๙๑๘) ทรงแสดงอินทรีย์โดยเวทนาห้า คือ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์  โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์  ดังนี้ก็มี )
……………………………………………………………………


(หน้า 145)
๓๗
ความลดหลั่นแห่งพระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติอย่างเดียวกัน


ภิกษุทั้งหลาย ! สิกขาบทร้อยห้าสิบสิกขาบทนี้ย่อมมาสู่อุทเทส ทุกกึ่งแห่งเดือนตามลำดับ อันกุลบุตรผู้ปรารถนา ประโยชน์ พากันศึกษาอยู่ในสิกขาบทเหล่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! สิกขาสามอย่างเหล่านี้ มีอยู่อันเป็นที่ประชุมลงของสิกขาบททั้งปวงนั้น.

สิกขาสามอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล สิกขาสามอย่างอันเป็นที่ประชุมลงแห่งสิกขาบททั้งปวงนั้น.ภิกษุทั้งหลาย ! ภิก ษุในกรณีนี้เป็น ผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา เธอยังล่วงสิกขาบท เล็กน้อยบ้าง และต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
146
ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใดๆกล่าวความอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้น เพราะเหตุสักว่าการล่วง สิกขาบทเล็กน้อยและการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้.

ส่วนสิกขาบทเหล่าใดที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.

ภิกษุนั้น ได้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลายด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่.

หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมียังไม่ได้แทงตลอดซึ่งอนาสววิมุตติ แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่ง โอรัมภาคิยสังโยชน์เบื้องต่ำห้า จึงเป็น อันตราปรินิพพายีผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง.

หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมียังไม่ได้แทงตลอดซึ่งอนาสววิมุตติ แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่ง โอรัมภาคิยสังโยชน์เบื้องต่ำห้าจึงเป็นอุปหจัจปรินิพ พายี ผู้ปรินิพพานเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด
147
หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมียังไม่ได้แทงตลอดอซึ่งอนาสววิมุตติ แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่ง โอรัมภาคิย สังโยชน์เบื้องต่ำห้า จึงเป็น อสังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง.

หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมียังไม่ได้แทงตลอดซึ่งอนาสววิมุตติ แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่ง โอรัมภาคิยสังโยชน์เบื้องต่ำห้าจึงเป็น สสังขารปรินิพ พายี ผู้ปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง.

หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่ง โอรัมภาคิยสังโยชน์เบื้องต่ำห้า จึงเป็น อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปถึงอกนิฏฐภพ.

หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่ง สังโยชน์สาม และเพราะความที่ ราคะ โทสะ โมหะ ก็เบาบางน้อยลง เป็น สกทาคามี ยังจะมาสู่ เทวโลก นี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
148
หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่ง สังโยชน์สาม เป็นผู้ เอกพีชี คือ จัก เกิดในภพ แห่งมนุษย์อีกหนเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่ง สังโยชน์สาม เป็นผู้ โกลังโกละ จักต้อง ท่องเที่ยวไป สู่สกุลอีกสองหรือสามครั้ง แล้วย่อมกระทำที่สุด แห่งทุกข์ได้.

หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ

แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม เป็นผู้ สัต ตัก ขัตตุ ปรมะ ยัง ต้องท่องเที่ยวไปในภพแห่งเทวดาและมนุษย์อีกเจ็ดครั้ง เป็นอย่างมากแล้ว ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้กระทำได้เพียงบางส่วนย่อมทำให้สำเร็จได้บางส่วน ผู้ทำให้บริบูรณ์ก็ย่อมทำให้สำเร็จได้ บริบูรณ์ ดังนั้น เราจึงกล่าวว่า สิกขาบททั้งหลายย่อมไม่เป็นหมันเลย ดังนี้ แล.

หมายเหตุผู้รวบรวม :
๑. ถ้าพิจารณาจนจบเรื่องจะเห็นประเด็นแง่มุมของผลที่ได้ไม่เท่ากัน เกิดเนื่องจาก ความบกพร่อง ในสิกขาบท เล็กน้อย (อภิสมาจาร) ของเธอซึ่งไม่มีผู้รู้ใดๆ มาบอกเธอ ถึงความอาภัพต่อโลกุตตรธรรมเพราะการกระทำนั้น พวกที่กำลัง (พละ) ยังไม่แก่กล้า จึงไม่สามารถทำให้เกิดมีหรือแทงตลอดซึ่งอนาสววิมุตติได้ จึงมีความลดหลั่น กันออก ไปในระดับความเป็นอริยบุคคล พระองค์จึงสรุปปิดท้ายว่า สิกขาบททั้งหลายที่ทรง บัญญัตินั้น มิได้เปล่า ประโยชน์เลย.๒. แสดงถึงความบริบูรณ์ของสิกขาบท อันเพียงพอ ต่อความเป็นอริยบุคคลที่ทรงหมายถึง ก็คือ ปาฏิโมกข์ (คือสิกขาบทที่บัญญัติเพื่อเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์).