เว็บไซต์ อนาคามี แหล่งเผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  โสดาบัน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  03 of 3    
  โสดาบัน พุทธวจน   ที่มา : http://watnapp.com/book  
     
        
  ๓๘ คนตกน้ำ ๗ จำพวก(ระดับต่างๆ แห่งบุคคลผู้ถอนตัวขึ้นจากทุกข์) 150  
  ๓๙ คนมีกิเลสตกนรกทั้งหมดทุกคนจริงหรือ ? (บุคคลที่มีเชื้อเหลือ ๙ จำพวก) 154  
  ๔๐ ผลแปดประการอันเป็นภาพรวม ของความเป็นพระโสดาบัน 162  
  ๔๑ ระวังตายคาประตูนิพพาน ! 167  
  ๔๒ ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยเจ้า 167  
  ๔๓ ผู้สามารถละอาสวะทั้งหลาย ในส่วนที่ละได้ด้วยการเห็น 177  
  ๔๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ นานาแบบ ก. หมวดเนื่องด้วยกุศล-อกุศล 181  
  ๔๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ นานาแบบ ข. หมวดเนื่องด้วยอาหารสี่ 184  
  ๔๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ นานาแบบ อาหาร ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ? 185  
  ๔๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ นานาแบบ ค. หมวดเนื่องด้วยอริยสัจสี่ 186  
       
  ๔๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๑ เกี่ยวกับชรามรณะ) 190  
  ๔๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๒ เกี่ยวกับชาติ) 192  
  ๔๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ -ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ ( ๓ เกี่ยวกับภพ) 193  
  ๔๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๔ เกี่ยวกับอุปาทาน) 194  
  ๔๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๕ เกี่ยวกับตัณหา) 196  
  ๔๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๖ เกี่ยวกับเวทนา) 198  
  ๔๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๗ เกี่ยวกับผัสสะ) 199  
  ๔๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๘ เกี่ยวกับสฬายตนะ) 201  
  ๔๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๙ เกี่ยวกับนามรูป) 202  
  ๔๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ -ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๑๐ เกี่ยวกับวิญญาณ) 203  
  ๔๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๑๑ เกี่ยวกับสังขาร) 205  
  ๔๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๑๒ เกี่ยวกับ อวิชชา) 207  
  ๔๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ - ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจ (๑๓ เกี่ยวกับ อาสวะ) 208  
       
  ๔๕ คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๑) 214  
  ๔๖ คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๒) 215  
  ๔๗ คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๓) 216  
  ๔๘ คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๔) 222  
  ๔๙ อานิสงส์ของธรรม ๔ ประการ 232  
  ๕๐ ผู้ตั้งอยู่ในเสขภูมิ 236  
  ๕๑ คุณธรรมของผู้ต่ำกว่าโสตาปัตติมรรค เป็นเหตุให้ไม่ไปสู่อบาย 238  
  ๕๒ ธรรม ๗ ประการของผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
240  
  จบคู่มือโสดาบัน    
       
 
 





(หน้า 150)
๓๘
คนตกน้ำ
จำพวก(ระดับต่างๆ แห่งบุคคลผู้ถอนตัวขึ้นจากทุกข์)


ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลเปรียบด้วยบุคคลตกน้ำเจ็ดจำพวก เหล่านี้ มีอยู่หาได้อยู่ในโลก. เจ็ดจำพวกเหล่าไหนเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้

(๑) บุคคลบางคน จมน้ำคราวเดียวแล้วก็จมเลย
(๒) บุคคลบางคน ผุดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วจึงจมเลย
(๓) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ลอยตัวอยู่
(๔) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว เหลียวดูรอบๆ อยู่
(๕) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ว่ายเข้าหาฝั่ง
(๖) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว เดินเข้ามาถึงที่ตื้นแล้ว
(๗) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ถึงฝั่งข้ามขึ้นบกแล้ว เป็นพราหมณ์ยืนอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! (๑) บุคคล จมน้ำคราวเดียวแล้วก็จมเลย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ประกอบด้วยอกุศลธรรมฝ่ายเดียว โดยส่วนเดียว. อย่างนี้แลเรียกว่า จมคราวเดียวแล้วก็จมเลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! (๒) บุคคล ผุดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วจึงจมเลย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้นคือ มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี-มีโอตตัปปะดี- มีวิริยะดี- มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย. แต่ว่าศรัทธา เป็นต้นของเขา ไม่ตั้งอยู่นาน ไม่เจริญ เสื่อมสิ้นไป.อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้น ครั้งหนึ่งแล้วจึงจมเลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! (๓) บุคคล ผุดขึ้นแล้วลอยตัวอยู่ เป็นอย่างไรเล่า ?ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้นคือ มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดีมีโอต ตัปปะดีมีวิริยะดี-มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และศรัทธาเป็นต้นข องเขา ไม่เสื่อม ไม่เจริญ แต่ทรงตัวอยู่. อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้วลอยตัวอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! (๔) บุคคล ผุดขึ้นแล้วเหลียวดูรอบๆ อยู่ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้นคือ มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี-มีโอตตัปปะดี-มีวิริยะดี-มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย. บุคคลนั้นเพราะ ความสิ้นไป แห่งสังโยชน์สาม เป็น โสดาบันมีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้ เที่ยงแท้ต่อพระ นิพพานมีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า. อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้น แล้วเหลียวดูรอบๆ อยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! (๕) บุคคล ผุดขึ้นแล้วว่ายเข้าหาฝั่ง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้นคือ มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี-มีโอตตัปปะดี -มีวิริยะดี-มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย. บุคคลนั้นเพราะ ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม และเพราะความ เบาบางแห่งราคะ โทสะ โมหะ เป็น สกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียง ครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้. อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้ว ว่ายเข้าหาฝั่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ! (๖) บุคคล ผุดขึ้นแล้วเดินเข้ามาถึงที่ตื้นแล้ว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้นคือ มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี-มีโอตตัปปะดี-มีวิริยะดี-มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย. บุคคลนั้นเพราะ ความสิ้นไป แห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า เป็น โอปปาติกะ (อนาคามี) มีการปริ นิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.อย่างนี้ แลเรียกว่า ผุดขึ้น แล้ว เดินเข้ามาถึง ที่ตื้นแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! (๗) บุคคล ผุดขึ้นแล้ว ถึงฝั่งข้ามขึ้นบกแล้ว เป็นพราหมณ์ ยืนอยู่ เป็นอย่างไร เล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้นคือ มีศรัทธาดีในกุศล ธรรมทั้งหลาย มีหิริดี-มีโอตตัปปะดี-มีวิริยะดี-มีปัญญาดีในกุศล ธรรมทั้งหลาย. บุคคลนั้น ได้กระทำ􀄁ให้แจ้งซึ่งเจโต วิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ (พระอรหันต์) เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วย ปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วอยู่. อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้ว ถึงฝั่งข้ามขึ้น บกแล้วเป็นพราหมณ์ยืนอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล บุคคลเปรียบด้วยบุคคลตกน้ำเจ็ดจำพวก ซึ่งมีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก.


(หน้า 154)
๓๙
คนมีกิเลสตกนรกทั้งหมดทุกคนจริงหรือ ?
(บุคคลที่มีเชื้อเหลือ ๙ จำพวก)

เช้าวันหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรครองจีวร ถือบาตร เข้าไปบิณฑบาตในนครสาวัตถี ท่านเห็นว่าเวลายัง เช้าเกินไปสำหรับการบิณฑบาต จึงแวะเข้าไปในอารามของพวก ปริพาชกลัทธิอื่นได้ทักทาย ปราศรัยกันตามธรรมเนียมแล้ว นั่งลง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ก็ในเวลานั้นแล พวกปริพาชกทั้งหลายนั้น กำลังยกข้อความขึ้นกล่าวโต้เถียงกันอยู่ ถึงเรื่องบุคคลใด ใครก็ตาม ที่ยังมีเชื้อเหลือ ถ้าตาย แล้วย่อมไม่พ้นเสียจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต ไปได้เลยสัก คนเดียว ดังนี้.

ท่านพระสารีบุตรไม่แสดงว่าเห็นด้วย และไม่คัดค้าน ข้อความของ ปริพาชกเหล่านั้นลุกจากที่นั่งไป โดยคิดว่าทูลถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักได้ทราบ ความข้อนี้. ครั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังอาหารแล้ว จึงเข้าไปเฝ้า พระผู้มี พระภาคเจ้า กราบทูลถึงเรื่องราว ที่เกิดขึ้นในตอนเช้าทุก ประการ. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-


สารีบุตร ! พวกปริพาชกลัทธิอื่น ยังอ่อนความรู้ไม่ฉลาด จักรู้ได้อย่างไรกันว่า ใครมี เชื้อเหลือ ใครไม่มีเชื้อเหลือ.

สารีบุตร ! บุคคลที่มีเชื้อ (กิเลส) เหลือ ๙ จำพวกดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ แม้ตายไป ก็พ้นแล้ว จากนรกพ้นแล้วจากกำเนิดเดรัจฉาน พ้นแล้วจากวิสัยแห่งเปรต พ้นแล้วจาก อบาย ทุคติ วินิบาต.
บุคคลเก้าจำพวกเหล่านั้น เป็นอย่างไรเล่า ?เก้าจำพวก คือ :-

(๑) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วน สมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างในเบื้องต้น ให้สิ้นไปบุคคลนั้น เป็น อนาคามีผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง.
       สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๑ที่ เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิด เดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๒) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ ในส่วนสมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างใน เบื้องต้นให้สิ้นไป บุคคลนั้น เป็น อนาคามีผู้จะปรินิพพาน เมื่ออายุพ้นกึ่งแล้ว จวนถึง ที่สุด.
       สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๒ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิด เดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๓) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ ในส่วน สมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างในเบื้องต้น ให้สิ้นไป บุคคลนั้น เป็น อนาคามีผู้จะปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง.
       สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๓ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิด เดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๔) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ ในส่วน สมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างในเบื้องต้น ให้สิ้นไป บุคคลนั้น เป็น อนาคามีผู้จะปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง.
       สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๔ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิด เดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๕) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำ􀄁ได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ ในส่วนสมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างใน เบื้องต้นให้สิ้นไป บุคคลนั้นเป็น อนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบนไปถึงอกนิฏฐภพ.
       สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๕ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิด เดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๖) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล แต่ทำได้พอ ประมาณใน ส่วนสมาธิทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป และเพราะมี ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางน้อยลงเป็น สกทาคามี ยังจะมาสู่เทวโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
       สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๖ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิด เดรัจฉาน จากวิสัยแห่ง เปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๗) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล แต่ทำได้พอประมาณ ในส่วนสมาธิทำได้พอประมาณ ในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๓อย่างให้สิ้นไป บุคคลนั้น เป็น โสดาบันผู้มีพืชหนเดียวคือ จักเกิดในภพแห่งมนุษย์อีกหนเดียวเท่านั้น แล้วกระทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้.
       สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๗ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๘) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล แต่ทำได้พอประมาณในส่วน สมาธิทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป บุคคลผู้นั้นเป็น โสดาบันผู้ต้องท่องเที่ยวไปสู่สกุลอีก หรือ ครั้ง แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๘ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๙) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล แต่ทำได้พอประมาณ ในส่วนสมาธิทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป บุคคลนั้น เป็น โสดาบันผู้ต้องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์อีก ครั้งเป็นอย่างมาก แล้วกระทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้.
       สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๙ ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต สารีบุตร ! ปริพาชกลัทธิอื่น ยังอ่อนความรู้ไม่ฉลาด จักรู้ได้อย่างไรกันว่า ใครมีเชื้อเหลือ ใครไม่มีเชื้อเหลือ.
       สารีบุตร ! บุคคลเหล่านี้แล ที่มีเชื้อเหลือ๙ จำพวก เมื่อตายไป ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิด เดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.
       สารีบุตร ! ธรรมปริยายข้อนี้ ยังไม่เคยแสดงให้ปรากฏ แก่หมู่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลายมาแต่กาลก่อน. ข้อนั้นเพราะเหตุไร เล่า ? เพราะเราเห็นว่าถ้าเขา เหล่า นั้น ได้ฟังธรรม ปริยายข้อนี้แล้ว จักพากันเกิดความประมาท อนึ่งเล่า ธรรม ปริยายเช่นนี้ เป็นธรรมปริยายที่เรากล่าว ต่อเมื่อถูกถามเจาะจงเท่านั้น ดังนี้ แล.


(หน้า 162)
๔๐
ผลแปดประการอันเป็นภาพรวม
ของความเป็นพระโสดาบัน


ภิกษุทั้งหลาย ! ถูกแล้ว !เมื่อเป็นอย่างนี้ก็เป็นอันว่า พวกเธอทั้งหลาย ก็กล่าวอย่าง นั้น แม้เรา ตถาคตก็กล่าวอย่างนั้น ว่าเมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ1
…………………………………………………………………………………
1. คำบาลีของประโยคนี้มีว่า “อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ; อิมสฺส นิโรธาอิทํ นิรุชฺฌติ” เป็นการอธิบายลำดับเหตุในการดับไปแห่ง ระบบสมมุติ (คือระบบธรรมชาติที่มีการเกิด แก่ ตาย ทุกสิ่ง ทั้งรูปและนาม).
……………………………………………………………………

กล่าวคือ


เพราะมีความดับแห่งอวิชชา จึงมีความดับแห่งสังขาร
เพราะมีความดับแห่ง สังขาร จึง มี ความดับ แห่ง วิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูปจึง มีความดับแห่ง สฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้”.

(๑) ภิกษุทั้งหลาย ! จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอเมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จึงพึงแล่นไปสู่ ทิฏฐิอันปรารภที่สุดในเบื้องต้น (ความเห็นที่นึก ถึงขันธ์ในอดีต) ว่า “ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต        เราได้มีแล้วหรือหนอ เราไม่ได้มีแล้วหรือหนอ
       เราได้เป็นอะไรแล้วหนอ เราได้เป็นอย่างไรแล้วหนอ
       เราเป็นอะไรแล้ว จึงได้เป็นอะไรอีกแล้วหนอ” ดังนี้ ?
       “
ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !”.

(๒) ภิกษุทั้งหลาย ! หรือว่า จะเป็นไปได้ไหมว่าพวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่ อย่างนี้ จะพึงแล่น ไปสู่ทิฏฐิอันปรารภที่สุดในเบื้องปลาย (ความเห็น ที่นึกถึงขันธ์ ในอนาคต) ว่า “ในกาลยืดยาว นานฝ่ายอนาคต เราจักมีหรือหนอ เราจักไม่มีหรือ หนอ เราจักเป็นอะไรหนอ เราจักเป็นอย่างไร หนอ เราเป็นอะไรแล้ว จักเป็นอะไร ต่อไปหนอ” ดังนี้ ?
       “
ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !”.

(๓) ภิกษุทั้งหลาย ! หรือว่า จะเป็นไปได้ไหมว่าพวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่ อย่างนี้ จะพึงเป็น ผู้ มีความสงสัยเกี่ยวกับตน ปรารภกาลอัน เป็นปัจจุบัน ในกาล นี้ว่า“เรามีอยู่หรือหนอ; เราไม่มี อยู่หรือหนอ; เราเป็นอะไรหนอ;เราเป็นอย่างไรหนอ; สัตว์นี้มาจาก ที่ไหน แล้วจักเป็นผู้ไปสู่ที่ไหน อีกหนอ”; ดังนี้ ?
       “
ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !”.

(๔) ภิกษุทั้งหลาย ! หรือว่า จะเป็นไปได้ไหมว่าพวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่ อย่างนี้ แล้วจะพึง กล่าวว่า “พระศาสดาเป็นครูของพวกเรา ดังนั้น พวกเราต้อง กล่าวอย่างที่ท่านกล่าว เพราะ ความเคารพในพระศาสดานั่นเทียว” ดังนี้ ?
       “ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !”.

(๕) ภิกษุทั้งหลาย ! หรือว่า จะเป็นไปได้ไหมว่าพวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่ อย่างนี้ แล้วจะพึง กล่าวว่า“พระสมณะ (พระพุทธองค์) กล่าวแล้ว อย่างนี้; แต่สมณะทั้งหลาย และพวกเรา จะกล่าว อย่างอื่น” ดังนี้ ?
       ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !”.

(๖) ภิกษุทั้งหลาย ! หรือว่า จะเป็นไปได้ไหมว่าพวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่ อย่างนี้ จะพึง ประกาศการนับถือศาสดาอื่น ?
       “ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !”.


(๗) ภิกษุทั้งหลาย ! หรือว่าจะเป็นไปได้ไหมว่าพวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่ อย่างนี้ จะพึงเวียน กลับไปสู่การประพฤติ ซึ่งวัตตโกตูหลมงคล ทั้งหลาย ตามแบบของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย เหล่าอื่นเป็นอันมากโดยความเป็นสาระ ? “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”.

(๘) ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอ จะกล่าวแต่สิ่งที่พวกเธอรู้เอง เห็นเอง รู้สึกเองแล้ว เท่านั้น มิใช่ หรือ ?

      “
อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”.
       ภิกษุทั้งหลาย ! ถูกแล้ว.
       ภิกษุทั้งหลาย !

พวกเธอทั้งหลาย เป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก)
เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก)
เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก)
ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก)
อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพวิญฺญูหิ).

ภิกษุทั้งหลาย ! คำนี้เรากล่าวแล้ว หมายถึงคำที่เราได้เคยกล่าวไว้แล้วว่า “ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมนี้เป็นธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล เป็นธรรม ที่ควรเรียกกันมาดูควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้ด้วยเฉพาะตน” ดังนี้.

(หน้า 167)
๔๑
ระวังตายคาประตูนิพพาน !


สุนักขัตตะ ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือ จะมีภิกษุบางรูปในกรณีนี้ มีความเข้าใจ ของตน มีความหมาย อันสรุปได้อย่างนี้ เป็นต้นว่า

ตัณหานั้นสมณะกล่าวกันว่า เป็นลูกศร โทษอันมีพิษของอวิชชาย่อมงอก งามเพราะฉันทราคะ และพยาบาท ลูกศรคือตัณหานั้นเราละได้แล้ว โทษอันมีพิษ ของ อวิชชา เราก็นำออกไป หมดแล้วเราเป็นผู้น้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ ดังนี้.

แต่เธอนั้นย่อมตามประกอบซึ่งธรรมทั้งหลาย อันไม่เป็นที่สบาย แก่ผู้น้อมไป แล้วในนิพพาน โดยชอบ
; คือ ตามประกอบซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบาย ในการ เห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่น ด้วยจมูก ลิ้มรส ด้วยลิ้นถูกต้อง โผฏฐัพพะ ด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ อันล้วนไม่เป็น ที่สบาย. เมื่อเธอ ตามประกอบ ซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบายเหล่านี้ อยู่ ราคะย่อมเสียบแทงจิตของ เธอ. เธอมีจิต อันราคะ เสียบแทงแล้ว ย่อมถึงความตายหรือความทุกข์เจียนตาย.
168
สุนักขัตตะ ! เปรียบเหมือนบุรุษถูกยิงด้วยลูกศรอันอาบไว้ด้วยยาพิษอย่างแรงกล้า. มิตรอำมาตย์ ญาติ สาโลหิต ของเขา จัดหาหมอผ่าตัดมารักษา หมอได้ใช้ศัสตรา ชำแหละปากแผลของเขา แล้วใช้เครื่อง ตรวจค้นหาลูกศร พบแล้วถอนลูกศรออก กำจัดโทษอันเป็นพิษที่ยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ จนรู้ว่าไม่มีเชื้อเหลือ ติดอยู่แล้วกล่าวแก่ เขาอย่างนี้ว่า

บุรุษผู้เจริญ ! ลูกศรถูกถอนออกแล้ว โทษอันเป็นพิษเรานำออกจนไม่มีเชื้อเหลืออยู่แล้ว ท่าน ไม่มีอันตรายอีกแล้ว. และท่านจะบริโภคอาหารได้ตามสบายแต่อย่าไปกินอาหารชนิด ที่ไม่ สบาย แก่แผล อันจะทำให้แผลอักเสบและจงล้างแผลตามเวลาทายาที่ปากแผลตามเวลา เมื่อท่านล้างแผลตามเวลาทายาที่ปากแผล ตามเวลาอย่าให้หนอง และเลือด เกรอะกรังปากแผล และท่านอย่าเที่ยวตากลมตากแดด เมื่อเที่ยวตากลม ตากแดด ก็อย่าให้ฝุ่นละออง และ ของ โสโครกเข้าไปในปากแผล. บุรุษผู้เจริญ ! ท่านจง เป็นผู้ระวังรักษาแผลมีเรื่องแผล เป็นเรื่องสำคัญ เถอะนะดังนี้.

บุรุษนั้น มีความคิดว่า “หมอถอนลูกศรให้เราเสร็จแล้วโทษอันเป็นพิษ หมอก็นำออก จนไม่มีเชื้อ เหลือ อยู่แล้ว เราหมดอันตรายเขาจึงบริโภคโภชนะที่แสลง เมื่อบริโภคโภชนะที่แสลง แผลก็กำเริบ และเขาไม่ชะแผลตามเวลา ไม่ทายา ที่ปากแผลตามเวลา เมื่อเขาไม่ชะแผล ตามเวลา ไม่ทายาที่ปากแผล ตามเวลา หนองและเลือดก็เกรอะกรังปากแผล และเขาเที่ยวตากลม ตากแดด ปล่อยให้ฝุ่น ละอองของ โสโครกเข้าไปในปากแผล และเขาไม่ระวังรักษาแผลไม่มี เรื่องแผล เป็นเรื่องสำคัญ.

เขานำโทษพิษอันไม่สะอาดออกไป ด้วยการกระทำอันไม่ถูกต้องเหล่านี้ แผลจึงมี เชื้อเหลืออยู่ แผลก็บวม ขึ้น เพราะเหตุทั้งสองนั้น. บุรุษนั้นมีแผลบวมแล้ว ก็ถึงซึ่ง ความตายบ้าง หรือความ ทุกข์เจียนตายบ้าง นี้ฉันใด

สุนักขัตตะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ ข้อที่ภิกษุบางรูป สำคัญตนว่าน้อมไปแล้ว ในนิพพาน โดยชอบ ...แต่ตามประกอบในธรรมไม่เป็นที่สบาย แก่การน้อมไป ในนิพพานโดยชอบ... ราคะก็เสียบแทง จิตของเธอ.

เธอมีจิตอันราคะเสียบแทงแล้ว ย่อมถึงความตายหรือความทุกข์เจียนตาย. สุนักขัตตะ ! ในอริยวินัย นี้ความตายหมายถึงการบอกคืนสิกขา เวียนไปสู่เพศ ต่ำ; ความทุกข์เจียนตาย หมาย ถึงการต้อง อาบัติ อันเศร้าหมองอย่างใด อย่างหนึ่ง แล.
170
(ภิกษุในกรณีนี้ มีการศึกษาดี ตั้งความปรารถนาดี แต่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตนเอง และธรรมะ; คือ เข้าใจไปว่า ลูกศร คือ ตัณหาเป็นสิ่งที่ละได้โดยไม่ต้องถอน อวิชชา เป็นสิ่งที่เหวี่ยงทิ้งไปได้ โดยไม่ต้อง กำจัดตัดราก; และเข้าใจตัวเองว่า น้อมไปแล้ว สู่นิพพานโดยชอบดังนี้ แต่แล้วก็มา กระทำผิดในสิ่งที่ ไม่เป็นที่สบาย แก่การน้อมไป ในนิพพานนั้น ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จนราคะเกิดขึ้นเสียบแทง ถึงแก่ความ ตายในอริยวินัย จึงเรียกว่า เขาล้มลงตายตรงหน้าประตู แห่งพระนิพพานนั่นเอง).


(หน้า 167)

๔๒
ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยเจ้า


ภิกษุทั้งหลาย ! การอยู่แบบพระอริยเจ้า ซึ่งพระอริยเจ้าทั้งหลาย ได้อยู่มาแล้วก็ดี กำลังอยู่ในบัดนี้ก็ดีจักอยู่ต่อไปก็ดี มีเครื่องอยู่สิบประการเหล่านี้.สิบประการ อะไรบ้างเล่า ? สิบประการ คือ :-

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้

เป็นผู้ละองค์ห้าได้ขาด

เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์หก

เป็นผู้มีอารักขาอย่างเดียว

เป็นผู้มีพนักพิงสี่ด้าน

เป็นผู้ถอนความเห็นว่าจริงดิ่งไปคนละทางขึ้นเสียแล้ว

เป็นผู้ละการแสวงหาสิ้นเชิงแล้ว

เป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว

เป็นผู้มีกายสังขารอันสงบรำงับแล้ว

เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นด้วยดี

เป็นผู้มีปัญญาในความหลุดพ้นด้วยดี.

(๑) ภิกษุเป็นผู้ละองค์ห้าได้ขาดเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละกาม ฉันทะ ละพยาบาท ละถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ และละวิจิกิจฉาได้แล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ละ องค์ห้าได้ขาด.

(๒) ภิกษุเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์หกเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุในกรณีนี้ ได้เห็น รูปด้วยตา ได้ฟังเสียงด้วยหูได้ดมกลิ่นด้วยจมูก ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ได้สัมผัสโผฏ ฐัพพะ ด้วยกาย และได้รู้ ธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ก็เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็น ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์หก.

(๓) ภิกษุเป็นผู้มีอารักขาอย่างเดียวเป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุในกรณีนี้ ประกอบการ รักษาจิต ด้วยสติ. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่ามีอารักขาอย่างเดียว.

(๔) ภิกษุเป็นผู้มีพนักพิงสี่ด้าน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาแล้วเสพ ของสิ่งหนึ่ง พิจารณา แล้วอดกลั้นของสิ่งหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นขาดของสิ่งหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาของสิ่งหนึ่ง. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มี พนักพิง สี่ด้าน. (1)
………………………………………………………………………
(1.) การพิจารณาแล้วเสพ อดกลั้น งดเว้น บรรเทา หาดูรายละเอียดที่ตรัสไว้ ได้ในหนังสืออริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคต้น หน้า ๖๓๐-๖๓๓.
………………………………………………………………………

(๕) ภิกษุเป็นผู้ถอนความเห็นว่าจริงดิ่งไปคนละทางขึ้นเสียแล้ว เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ถอน สละ คาย ปล่อย ละทิ้งเสียแล้ว ซึ่งความเห็นว่าจริง ดิ่งไป คนละทางมาก อย่างของเหล่าสมณพราหมณ์ มากผู้ด้วยกัน ที่มีความเห็นว่า “โลกเที่ยง บ้าง โลกไม่เที่ยง บ้าง โลกมีที่สุด บ้างโลกไม่มีที่สุด บ้าง ชีวะก็ อันนั้น สรีระก็อันนั้น บ้างชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น บ้าง ตถาคตภายหลัง แต่การ ตาย ย่อมมีอีก บ้าง ตถาคตภายหลังแต่การตายย่อมไม่มีอีก บ้าง ตถาคตภายหลัง แต่การตาย ย่อมมีอีก ก็มี ไม่มีอีกก็มี บ้าง ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีก ก็หามิได้ ไม่มีอีกก็หามิได้ บ้าง. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถอนความเห็นว่า จริงดิ่งไปคนละทาง ขึ้นเสียแล้ว.

(๖) ภิกษุเป็นผู้ละการแสวงหาสิ้นเชิงแล้วเป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ ละการแสวง หากามแล้ว เป็นผู้ละการแสวงหาภพแล้ว และการแสวงหา พรหมจรรย์ ของเธอนั้นก็ระงับ ไปแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้ละ การแสวงหาสิ้นเชิงแล้ว.

(๗) ภิกษุเป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัวเป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละความ ดำริใน ทางกาม เสียแล้ว เป็นผู้ละความดำริในทางพยาบาทเสียแล้ว และเป็นผู้ละ ความดำริใน ทาง เบียดเบียนเสียแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย !ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มี ความดำริไม่ขุ่นมัว.

(๘) ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันสงบรำงับแล้วเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุในกรณีนี้ เพราะ ละสุข เสียได้ เพราะละทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส และโทมนัสในกาลก่อน จึงบรรลุฌานที่ ๔ อันไม่มีทุกข์และสุข มีแต่ความที่สติ เป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีกายสังขารอันสงบรำงับแล้ว.

(๙) ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นด้วยดี เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีจิต หลุดพ้นแล้ว จากราคะจากโทสะ จากโมหะ. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็น ผู้มีจิตหลุดพ้นด้วยดี.

(๑๐) ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาในความหลุดพ้นด้วยดี เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดว่า “เราละ ราคะ โทสะ โมหะเสียแล้ว ถอนขึ้นได้กระทั่งราก ทำให้เหมือน ตาลยอดเน่าไม่ให้มี ไม่ให้ เกิดได้อีกต่อไป” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาในความหลุดพ้นด้วยดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลยืดยาวฝ่าย อดีต พระอริยเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้เป็นอยู่ แล้วอย่าง พระอริยเจ้า พระอริยเจ้าทั้งหมดเหล่านั้น ก็ได้เป็นอยู่แล้ว ในการอยู่ อย่างพระอริยเจ้าสิบประการนี้ เหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลยืดยาวฝ่าย อนาคต พระอริยเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง จักเป็น อยู่อย่าง พระอริยเจ้า พระอริยเจ้าทั้งหมดเหล่านั้น ก็จักเป็นอยู่ในการอยู่อย่าง พระอริยเจ้าสิบประการนี้ เหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาล บัดนี้ พระอริยเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำลังเป็นอยู่อย่าง พระอริยเจ้า พระอริยเจ้า ทั้งหมดเหล่านั้น ก็กำลังเป็นอยู่ในการอยู่อย่างพระอริยเจ้า สิบประการนี้เหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย ! การอยู่แบบพระอริยเจ้า ซึ่งพระอริยเจ้าทั้งหลายได้อยู่มาแล้วก็ดี กำลังอยู่ในบัดนี้ ก็ดีจักอยู่ ต่อไปก็ดี มีเครื่องอยู่สิบประการเหล่านี้แล.

(หน้า 177)
๔๓
ผู้สามารถละอาสวะทั้งหลาย ในส่วนที่ละได้ด้วยการเห็น


ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้มีการสดับ ได้เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในธรรม ของ พระอริยเจ้า ได้รับการ แนะนำ ในธรรมของพระอริยเจ้า ได้เห็นสัปบุรุษฉลาดในธรรม ของสัปบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรม ของสัปบุรุษ ย่อมรู้ชัด ซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่ควรกระทำไว้ในใจ และไม่ควรกระทำไว้ในใจ.

อริยสาวกนั้น รู้ชัดอยู่ซึ่งธรรมทั้งหลายที่ควรกระทำไว้ในใจ และไม่ควรกระทำ ไว้ในใจ ท่านย่อม ไม่กระทำไว้ในใจซึ่ง ธรรมทั้งหลายที่ไม่ควรกระทำไว้ในใจ จะกระทำ ไว้ในใจแต่ธรรม ทั้งหลาย ที่ควร กระทำไว้ในใจเท่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมทั้งหลายอันไม่ควรกระทำไว้ในใจ ที่อริยสาวกท่านไม่กระทำไว้ในใจนั้นเป็น อย่างไร เล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลกระทำไว้ในใจ ซึ่งธรรมเหล่าใด อยู่ กามาสวะ ภวาสวะ หรือ อวิชชาสวะ ก็ตาม ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ ยิ่งขึ้น ธรรมเหล่านี้แล เป็นธรรมที่ไม่ควรกระทำไว้ในใจ ซึ่งอริยสาวกท่าน ไม่กระทำไว้ในใจ. ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมทั้งหลาย อันเป็นธรรมที่ควรกระทำไว้ในใจ ที่อริยสาวก ท่านกระทำไว้ในใจนั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! กามาสวะ ภวาสวะ หรืออวิชชาสวะก็ตาม ที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้น แล้ว ย่อมละไป แก่บุคคลผู้กระทำซึ่งธรรมเหล่าใดไว้ในใจ อยู่ ธรรมเหล่านี้แล เป็นธรรมที่ควร กระทำไว้ในใจ ซึ่งอริยสาวกท่านกระทำไว้ในใจ.

เพราะอริยสาวกนั้นไม่กระทำไว้ในใจ ซึ่งธรรมทั้งหลายที่ไม่ควรกระทำไว้ในใจ แต่มากระทำ ไว้ในใจ ซึ่งธรรมทั้งหลายที่ควรกระทำไว้ในใจเท่านั้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด จึงไม่เกิดขึ้น และอาสวะ ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละไป.

อริยสาวกนั้น ย่อมกระทำไว้ในใจโดยแยบคายว่าทุกข์เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างนี้ ความดับไม่ เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์เป็น อย่างนี้” ดังนี้.

เมื่ออริยสาวกนี้ กระทำไว้ในใจโดยแยบคายอยู่อย่างนี้ สังโยชน์สาม คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมละไป.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่าอาสวะทั้งหลายจะพึงละเสียด้วยการเห็น.

(หน้า 181)
๔๔ สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ นานาแบบ (ตามคำพระสารีบุตร)


(หน้า 181)
๔๔ -1
สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ
นานาแบบ
ก. หมวดเนื่องด้วยกุศล-อกุศล


ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอกุศล และอกุศลมูลด้วย รู้ชัดซึ่งกุศล และ กุศลมูลด้วย; แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิ ของเขา ดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

อกุศล
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! สิ่งที่เรียกว่า อกุศล นั้นเป็นอย่างไรเล่า? ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !
การทำสัตว์มีชีวิต ให้ตกล่วง เป็นอกุศล
การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ เป็นอกุศล
การประพฤติผิด ในกาม เป็นอกุศล
การกล่าวเท็จเป็นอกุศล; วาจาส่อเสียด เป็นอกุศล
วาจาหยาบคาย เป็นอกุศล
การกล่าวคำเพ้อเจ้อ เป็นอกุศล
อภิชฌา เป็นอกุศล
พยาบาท เป็นอกุศล
มิจฉาทิฏฐิ เป็นอกุศล
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! เหล่านี้ท่านกล่าวว่าเป็นอกุศล.

อกุศลมูล
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! สิ่งที่เรียกว่า อกุศลมูล นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
โลภะ เป็น อกุศลมูล;
โทสะ เป็น อกุศลมูล;
โมหะ เป็น อกุศลมูล.
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เหล่านี้ ท่านกล่าวว่า เป็นอกุศลมูล.

กุศล
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! สิ่งที่เรียกว่า กุศล นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !
เจตนาเว้นจากปาณาติบาต เป็นกุศล
เจตนาเว้นจากอทินนาทาน เป็นกุศล
เจตนา เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นกุศล
เจตนาเว้นจากมุสาวาท เป็นกุศล
เจตนาเว้นจากปิสุณาวาท เป็นกุศล
เจตนาเว้นจากผรุสวาท เป็นกุศล
เจตนาเว้นจากสัมผัปปลาปวาท เป็นกุศล
อนภิชฌา เป็นกุศล
อัพ๎ยาปาท เป็นกุศล
สัมมาทิฏฐิ เป็นกุศล.
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เหล่านี้ท่านกล่าวว่า เป็นกุศล.

กุศลมูล
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! สิ่งที่เรียกว่า กุศลมูล นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
อโลภะ เป็นกุศลมูล
อโทสะ เป็นกุศลมูล
อโมหะ เป็นกุศลมูล.
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เหล่านี้ท่านกล่าวว่า เป็นกุศลมูล.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอกุศลอย่างนี้ รู้ชัดซึ่ง อกุศลมูลอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งกุศลอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งกุศลมูลอย่างนี้ อริยสาวกนั้น ละราคานุสัยบรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนอนุสัย แห่งทิฏฐิ และมานะว่า เรามีเราเป็น ได้โดยประการ ทั้งปวง ละอวิชชาแล้ว ทำวิชชาให้ เกิดขึ้น เธอกระทำที่สุด แห่งทุกข์ได้ ในทิฏฐธรรม นี้ นั่นเทียว.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! แม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระ สัทธรรมนี้.


(หน้า 184)
๔๔ -2
สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ
นานาแบบ

ข. หมวดเนื่องด้วยอาหารสี่

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่นยังมีหรือที่จะทำให้อริยสาวก เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิของท่าน ดำเนินไปตรงท่านประกอบแล้วด้วยความ เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรมมาสู่พระ สัทธรรมนี้ ?”

มีอยู่ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแลอริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอาหาร ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิด แห่งอาหารซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอาหาร ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือ แห่ง อาหาร.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มี สัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของ เขา ดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! อาหาร เป็นอย่างไรเล่า ?เหตุเป็นแดนเกิดแห่งอาหาร เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับ ไม่เหลือแห่งอาหาร เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอาหาร เป็นอย่างไรเล่า ?

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! อาหาร อย่างเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของภูตสัตว์ทั้งหลาย หรือว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่สัมภเวสีทั้งหลาย.


(หน้า 185)
๔๔ -3
สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ
นานาแบบ

อาหาร อย่าง อย่างไรเล่า ?

สี่อย่าง คือ :-
กพฬีการาหาร (ที่หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง) เป็นที่หนึ่ง
ผัสสาหาร เป็นที่สอง
มโนสัญเจตนาหาร เป็นที่สาม
วิญญาณาหาร เป็นที่สี่.

ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอาหาร ย่อมมีเพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งตัณหา.
ความดับไม่เหลือแห่งอาหาร ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งตัณหา.
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ นั่นเองเป็น ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่ง อาหาร; ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบการพูดจา ชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอาหารอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุ เป็นแดน เกิดแห่ง อาหาร อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอาหาร อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่งอาหาร อย่างนี้.

อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนอนุสัยแห่งทิฏฐิ และมานะว่า เรามี เราเป็น ได้โดยประการทั้งปวง ละอวิชชาแล้ว ทำวิชชาให้เกิดขึ้นเธอกระทำที่สุด แห่งทุกข์ได้ ในทิฏฐธรรมนี้ นั่นเทียว.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุแม้เพียงเท่านี้แลอริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มี สัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขา ดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.


(หน้า 186)
๔๔ -4
สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ
นานาแบบ

ค. หมวดเนื่องด้วยอริยสัจสี่

“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่นยังมีหรือที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มี สัมมาทิฏฐิทิฏฐิของท่าน ดำเนินไปตรงท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในธรรมมาสู่พระ สัทธรรมนี้ ?”
มีอยู่

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งทุกข์ ซึ่งเหตุ เป็นแดนเกิด แห่งทุกข์ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็น ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของ เขา ดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความ เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์ แม้ความ แก่ ก็เป็นทุกข์ แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์ แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์ กาย ความทุกข์ใจ ความคับ แค้นใจ ก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่ง ไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจาก สิ่งเป็น ที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้า เป็นทุกข์. ท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ทุกข์.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์เป็นอย่างไรเล่า ?
ตัณหานี้ใด อันเป็นเครื่องทำให้มีภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจ ความเพลิน เป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
ท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า เหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างไรเล่า ? ความจาง คลายดับ ไม่เหลือ แห่งตัณหา นี้นั่นเองเป็นความสละทิ้ง เป็นความสลัดคืน เป็นความปล่อย เป็นความทำ ไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น อันใด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ข้อปฏิบัติ ให้ถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ
นี้นั่นเอง ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจา ชอบการทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพาก เพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !นี้เรียกว่า ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์.
189
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งทุกข์ อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิด แห่งทุกข์อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ อย่างนี้.

อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัยถอนอนุสัย แห่งทิฏฐิและมานะว่า เรามีราเป็น ได้โดยประการทั้งปวง ละอวิชชาแล้ว ทำวิชชาให้เกิดขึ้น เธอกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในทิฏฐธรรมนี้ นั่นเทียว.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุแห่งเพียงเท่านี้แล อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.


(หน้า 190)
๔๔ (๑)
สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ
นานาแบบ

ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจสมุปปันนธรรม ตามหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท
(ง. ๑ เกี่ยวกับชรามรณะ)

“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่นยังมีหรือที่จะทำให้อริยสาวก เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิของ ท่านดำเนินไปตรงท่านประกอบแล้ว ด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรมมาสู่พระ สัทธรรมนี้ ?”
มีอยู่

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งชรามรณะ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิด แห่งชรามรณะ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือ แห่งชรามรณะ.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิ ของเขาดำเนินไปตรงเขาประกอบแล้ว ด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรา มรณะ เป็นอย่างไรเล่า ?

(ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับชรามรณะโดยนัยแห่งอริยสัจสี่พึงดูได้จากหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า ๔๐–๔๑ ตั้งแต่คำว่า ความแก่ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด...ถึงคำว่า...ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งชรามรณะ อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิด แห่งชรามรณะ อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทา ปฏิฆานุสัย ... (ข้อความต่อไปนี้เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งคำว่า) ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.


(หน้า 192)
๔๔ (๒)
สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ
นานาแบบ

ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจสมุปปันนธรรม ตามหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท
(
ง. ๒ เกี่ยวกับชาติ)

“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่นยังมีหรือ ที่จะทำให้อริยสาวก เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิของท่าน ดำเนินไปตรงท่านประกอบแล้ว ด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในธรรมมาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”


มีอยู่ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแลอริยสาวกมารู้ชัดซึ่งชาติ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิด แห่งชาติซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิ ของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ชาติเป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชาติ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งชาติ เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ เป็นอย่างไรเล่า ?

(ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับชาติ โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ เล่มนี้ ที่หน้า ๔๑ ตั้งแต่คำว่า การเกิด การกำเนิด การก้าวลง...ถึงคำว่า...ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งชาติ อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิด แห่งชาติอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งชาติ อย่างนี้.

อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ...(ข้อความต่อไปเหมือนกับข้อความ ในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งคำว่า) ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.


(หน้า 193)
๔๔ (๓)
สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ
นานาแบบ

ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจสมุปปันนธรรม ตามหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท

(ง. ๓ เกี่ยวกับภพ)

“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่นยังมีหรือที่จะทำให้อริยสาวก เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรมมาสู่ พระสัทธรรมนี้ ?”


มีอยู่ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในการใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งภพ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิด แห่งภพซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพ ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพ.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ภพเป็นอย่างไรเล่า ?เหตุเป็นแดนเกิดแห่งภพ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งภพ เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพ เป็นอย่างไรเล่า ?

(ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับภพ โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า ๔๒ ตั้งแต่คำว่าภพทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ...ถึงคำว่า...ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).
194
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งภพ อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งภพ อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพ อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งภพ อย่างนี้.

อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ...(ข้อความต่อไปนี้เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า)...

ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.


(หน้า 194)
๔๔ (๔)
สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ
นานาแบบ

ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจสมุปปันนธรรม ตามหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท
(ง. ๔
เกี่ยวกับอุปาทาน)

“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีหรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?” มีอยู่

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอุปาทาน ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิด แห่งอุปาทาน ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทาน.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของ เขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
195
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ?เหตุเป็นแดนเกิดแห่งอุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า? ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือ แห่ง อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ? (ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับอุปาทาน โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้ จากหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า ๔๒-๔๓ ตั้งแต่คำว่าอุปาทานทั้งหลาย๔ อย่างเหล่านี้ คือ ...ถึงคำว่า... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอุปาทาน อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิด แห่งอุปาทาน อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอุปาทานอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ...

(ข้อความต่อไปนี้เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่ง

หมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.


(หน้า 196)
๔๔ (๕)
สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ
นานาแบบ

ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจสมุปปันนธรรม ตามหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท

(ง. ๕ เกี่ยวกับตัณหา)

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่นยังมีหรือที่จะทำให้อริยสาวกเป็น ผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรงท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในธรรมมาสู่พระ สัทธรรมนี้ ?” มีอยู่

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแลอริยสาวกมารู้ชัดซึ่งตัณหา ซึ่งเหตุเป็น แดนเกิด แห่งตัณหาซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือ แห่งตัณหา.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมา ทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหว ในธรรม มาสู่พระ สัทธรรมนี้.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ?เหตุเป็นแดนเกิดแห่งตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ?
(ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับตัณหาโดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ เล่มนี้ ที่หน้า ๔๓ ตั้งแต่คำว่าหมู่แห่งตัณหาทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ ...ถึงคำว่า ...ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).
197
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งตัณหา อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุ เป็นแดนเกิดแห่งตัณหาอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตัณหา อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตัณหาอย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ...
(ข้อความต่อไปนี้เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.


(หน้า 198)
๔๔ (๖)
สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ
นานาแบบ

ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจสมุปปันนธรรม ตามหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท

(ง. ๖ เกี่ยวกับเวทนา)

“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่นยังมีหรือที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มี สัมมาทิฏฐิทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรงท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในธรรมมาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”


มีอยู่ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแลอริยสาวกมารู้ชัดซึ่ง เวทนา ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิด แห่ง เวทนาซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ซึ่งข้อ ปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มี สัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
198
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?เหตุเป็นแดนเกิดแห่งเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับ เวทนา โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า ๔๔ ตั้งแต่คำว่า หมู่แห่งเวทนาทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ ... ถึงคำว่า...ความระลึกชอบ ความตั้งใจ มั่นชอบ).

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งเวทนา อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุ เป็นแดนเกิดแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนาอย่างนี้.

อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย... (ข้อความต่อไปนี้เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.


(หน้า 199)
๔๔ (๗)
สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ
นานาแบบ

ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจสมุปปันนธรรม ตามหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท

(ง. ๗ เกี่ยวกับผัสสะ)

“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีหรือ ที่จะทำให้อริยสาวก เป็นผู้มี สัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?” มีอยู่

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแลอริยสาวกมารู้ชัดซึ่งผัสสะ ซึ่งเหตุเป็น แดนเกิดแห่งผัสสะซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมา ทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหว ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ?เหตุเป็นแดนเกิดแห่งผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ?

(ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับผัสสะ โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ เล่มนี้ ที่หน้า ๔๔-๔๕ ตั้ง แต่คำว่าหมู่แห่งผัสสะทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ ...ถึงคำว่า...ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).
200
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งผัสสะ อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุ เป็นแดนเกิดแห่งผัสสะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ อย่างนี้.

อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ...(ข้อความต่อไปนี้เหมือนกับ ข้อความ ในตอนท้าย แห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า)... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.


(หน้า 201)
๔๔ (๘)
สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ
นานาแบบ

ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจสมุปปันนธรรม ตามหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท
(ง. ๘ เกี่ยวกับ สฬายตนะ)

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่นยังมีหรือที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรงท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรมมาสู่พระ สัทธรรมนี้ ?”

มีอยู่ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแลอริยสาวกมารู้ชัดซึ่งสฬายตนะ ซึ่งเหตุเป็น แดนเกิดแห่งสฬายตนะ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้
201
อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความ เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! สฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า ?เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า ?
(ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับสฬายตนะโดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า ๔๕ ตั้งแต่คำว่า จักข๎วายตนะ โสตายตนะ...ถึงคำว่า...ความระลึกชอบ ความตั้งใจ มั่นชอบ).

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งสฬายตนะ อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุเป็น แดนเกิด แห่งสฬายตนะ อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อ ปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทา ปฏิฆานุสัย ... (ข้อความต่อไปนี้เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.


(หน้า 202)
๔๔ (๙)
สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ
นานาแบบ

ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจสมุปปันนธรรม ตามหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท
(ง. ๙
เกี่ยวกับนามรูป)

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่นยังมีหรือที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรงท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรมมาสู่พระ สัทธรรมนี้ ?”มีอยู่

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแลอริยสาวกมารู้ชัดซึ่งนามรูป ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิด แห่งนามรูป ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งนามรูป.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระ สัทธรรมนี้.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! นามรูป เป็นอย่างไรเล่า ?เหตุเป็นแดนเกิดแห่งนามรูป เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งนามรูป เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูป เป็นอย่างไรเล่า ?
(ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับนามรูปโดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า ๔๖ ตั้งแต่คำว่า เวทนา สัญญา เจตนาผัสสะ...ถึงคำว่า...ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งนามรูป อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิด แห่งนามรูป อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูปอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูป อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ...(ข้อความต่อไปนี้เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.


(หน้า 203)
๔๔ (๑๐)
สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ
นานาแบบ

ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจสมุปปันนธรรม ตามหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท
(ง. ๑๐ เกี่ยวกับวิญญาณ)


“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีหรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระ สัทธรรมนี้ ?”
มีอยู่

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแลอริยสาวกมารู้ชัดซึ่งวิญญาณ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิด แห่งวิญญาณ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งวิญญาณ.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มี สัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระ สัทธรรมนี้.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ?เหตุเป็นแดนเกิดแห่งวิญญาณ เป็นอย่างไร เล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งวิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ?
(ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับวิญญาณโดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า ๔๖-๔๗ ตั้งแต่คำว่า หมู่แห่งวิญญาณทั้งหลาย๖ หมู่เหล่านี้ คือ ...ถึงคำว่า...ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งวิญญาณ อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิด แห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ อย่างนี้.

อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ...(ข้อความต่อไปนี้เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.


(หน้า 205)
๔๔ (๑๑)
สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ
นานาแบบ

ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจสมุปปันนธรรม ตามหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท

(ง. ๑๑ เกี่ยวกับสังขาร)

“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีหรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระ สัทธรรมนี้ ?”
มีอยู่

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแลอริยสาวกมารู้ชัดซึ่งสังขาร ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิด แห่งสังขารซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งสังขาร.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระ สัทธรรมนี้.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! สังขาร เป็นอย่างไรเล่า ?เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร เป็นอย่างไรเล่า ?
(ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับสังขารโดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ เล่มนี้ ที่หน้า ๔๗ ตั้งแต่คำว่า สังขารทั้งหลาย ๓ หมู่เหล่านี้คือ ...ถึงคำว่า... ความระลึกชอบ ความตั้งใจ มั่นชอบ).
206
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งสังขาร อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิด แห่ง สังขารอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร อย่างนี้รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึง ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งสังขารอย่างนี้.

อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ... (ข้อความต่อไปนี้เหมือนกับข้อความใน ตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.


(หน้า 207)
๔๔ (๑๒)
สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ
นานาแบบ

ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจสมุปปันนธรรม ตามหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท

(ง. ๑๒ เกี่ยวกับ อวิชชา)

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่นยังมีหรือที่จะทำให้อริยสาวก เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหว ในธรรมมาสู่พระ สัทธรรมนี้ ?”มีอยู่

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแลอริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอวิชชา ซึ่งเหตุเป็นแดน เกิดแห่งอวิชชา ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งอวิชชา.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระ สัทธรรมนี้.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! อวิชชา เป็นอย่างไรเล่า? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งอวิชชา เป็นอย่างไรเล่า? ความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา เป็นอย่างไรเล่า ?

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! อวิชชา คือ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเป็น แดนเกิด แห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความไม่รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !นี้เรียกว่า อวิชชา.
ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะ
ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอาสวะ
.
ความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะ
ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ.

มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งอวิชชา; ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบการพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอวิชชา อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิด แห่งอวิชชา อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอวิชชาอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความ ดับไม่เหลือแห่งอวิชชา อย่างนี้.

อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ...(ข้อความต่อไปนี้เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) ... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

(หน้า 208)
๔๔ (๑๓)
สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ
านาแบบ

ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจสมุปันนธรรม ามหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท

(ง. ๑๓
เกี่ยวกับ อาสวะ)

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีหรือที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในธรรมมาสู่พระสัทธรรมนี้ ?” มีอยู่

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! คือ ในกาลใดแลอริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอาสวะ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิด แห่ง อาสวะ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งอาสวะ.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของ เขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระ สัทธรรมนี้.
209
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! อาสวะ เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งอาสวะ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ เป็นอย่างไรเล่า ?

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! อาสวะ ๓ อย่างนี้ มีอยู่

คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ.
ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอาสวะ
ย่อมมีเพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอวิชชา.
ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา.

มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง อาสวะ; ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอาสวะ อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่ง อาสวะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งอาสวะ อย่างนี้.

อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนอนุสัยแห่งทิฏฐิและมานะว่า เรามีเราเป็น ได้โดย ประการทั้งปวงละอวิชชาแล้ว ทำวิชชาให้เกิดขึ้น เธอกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในทิฏฐิธรรมนี้ นั่นเทียว.

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุแม้เพียงเท่านี้แลอริยสาวกนั้น ชื่อว่าผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของ เขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระ สัทธรรมนี้.


(หน้า 214)
๔๕
คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่
๑)


ครั้งนั้น พระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่าน พระสารีบุตรว่า :

สารีบุตร ! ที่เรียกว่า โสตาปัตติยังคะ โสตาปัตติยังคะ ดังนี้.  โสตาปัตติยังคะ เป็นอย่างไรเล่า ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! โสตาปัตติยังคะ คือ :-
(๑) การคบสัตบุรุษ (สปฺปริสสํ เสว)
(๒) การฟังพระสัทธรรม (สทฺธมฺมสฺสวน)
(๓) การทำไว้ในใจโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ)
(๔) การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ)

ถูกแล้ว ถูกแล้ว สารีบุตร ! โสตาปัตติยังคะ คือการคบสัตบุรุษ การฟังพระสัทธรรม การทำไว้ในใจ โดยแยบคาย การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.


(หน้า 215)
๔๖
คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่
๒)


ช่างไม้ทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

ธรรม ๔ ประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
๔ ประการ คือ :- อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

(๑) ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า
(๒)
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
(๓)
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
(๔) มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน.


ช่างไม้ทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม๔ ประการเหล่านี้ แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความ ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.


(หน้า 216)
๔๗
คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๓)


พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ! เราจักแสดงธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตนแก่ท่านทั้งหลายท่านทั้งหลายจงฟังธรรมปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ! ธรรมปริยายที่ควรน้อมเข้ามาในตน เป็นอย่างไรเล่า ?

(๑) อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าเราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ผู้ใดจะปลงเราผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์เสียจากชีวิต ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงปลงผู้อื่นผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์เสียจากชีวิต ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่นธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นได้อย่างไรอริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนั้นแล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่องดเว้นจากปาณาติบาตด้วย กล่าว สรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นปาณาติบาตด้วยกายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

(๒) พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย! อีกประการหนึ่งอริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึง ถือเอาสิ่งของที่เรามิได้ให้ด้วยอาการขโมย ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบของเรา อนึ่ง เราพึงถือ เอาสิ่งของ ที่ผู้อื่นมิได้ให้ด้วยอาการขโมย ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่นธรรม ข้อใด ไม่เป็นที่รักที่รัก ที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นได้อย่างไร อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้น จากอทินนาทานด้วย ชักชวน ผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจาก อทินนาทานด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการ งดเว้นจาก อทินนาทานด้วย กายสมาจารของ อริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

(๓) พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่งอริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึง ถึงความ ประพฤติ(ผิด)ในภริยาของเรา ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราอนึ่ง เราพึงถึง ความประพฤติ (ผิด) ในภริยาของผู้อื่นข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่น ไว้ด้วยธรรมข้อนั้นได้อย่างไรอริยสาวกนั้น พิจารณาเห็น ดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจาก กาเมสุมิจฉาจาร ด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจาก กาเม สุมิจฉาจารด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจาก กาเมสุมิจฉาจารด้วย กายสมาจาร ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

(๔) พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่งอริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึง ทำลาย ประโยชน์ของเราด้วยการกล่าวเท็จ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึง ทำลาย ประโยชน์ ของผู้อื่นด้วยการกล่าวเท็จ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึง ประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นได้อย่างไร อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้น จาก มุสาวาทด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้น จาก มุสาวาทด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้น จากมุสาวาทด้วย วจีสมาจารของ อริยสาวก นั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

(๕) พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่งอริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึง ยุยงให้เรา แตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราอนึ่ง เราพึงยุยง ผู้อื่นให้แตกจาก มิตร ด้วยคำส่อเสียดข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่น ไว้ด้วยธรรม ข้อนั้นได้อย่างไร อริยสาวกนั้นพิจารณา เห็น ดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากปิสุณาวาจา ด้วยชักชวนผู้อื่นเพื่อให้เว้น จากปิสุณาวาจา ด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการ งดเว้นจากปิสุณา วาจาด้วย วจีสมาจารของ อริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

(๖) พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่งอริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึง พูดกะเรา ด้วยคำหยาบ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงพูดกะผู้อื่น ด้วยคำ หยาบ ข้อนั้นก็ไม่เป็น ที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ แม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึง ประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นได้อย่างไร อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงด เว้นจากผรุสวาจาด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้น จากผรุสวาจาด้วย กล่าวสรรเสริญคุณ แห่งการงดเว้นจากผรุสวาจาด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นได้อย่างไร อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ด้วยชักชวนผู้อื่นเพื่อ ให้งดเว้นจาก สัมผัปปลาปะด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วยวจีสมาจารของอริยสาวก นั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

อริยสาวกนั้นประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์.. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้ารักใคร่แล้ว... เป็นไปเพื่อสมาธิ.

พราหมณ์และคฤหบดทั้งหลาย ! เมื่อใดอริยสาวกประกอบด้วย สัทธธรรม ๗ ประการนี้ เมื่อนั้น อริยสาวก นั้นหวังอยู่ ด้วยฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความหวัง ๔ ประการนี้พึงพยากรณ์ตน ด้วยตนเอง ได้ว่า เรามีนรก กำเนิดดิรัจฉานวิสัยแห่งเปรต อบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบันมีความไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

(๗) พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่งอริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึง พูดกะเรา ด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่งเราพึงพูดกะผู้อื่น ด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็น ที่รัก ที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น


(หน้า 222)
๔๘
คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๔)


(โสตาปัตติยังคะ ๔ จำแนกด้วยอาการ ๑๐) ก็สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า บุรุษผู้เจริญ ! ท่านจงไป เถิด จงเข้าไปหาท่าน พระสารีบุตร ครั้นแล้ว จงไหว้เท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตร ด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบ เท้าทั้งสองของท่าน พระสารีบุตร ด้วยเศียรเกล้าและท่านจงเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัย ความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ ของท่านอนาถบิณฑิก คฤหบดีเถิด

บุรุษนั้นรับคำของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี แล้วเข้าไปหาท่าน พระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้เรียนว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ !ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนักท่านขอกราบเท้า ทั้งสอง ของท่านพระสารรีบุตรด้วยเศียรเกล้า และท่านสั่งมาอย่างนี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ได้โปรดเถิดขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของ ท่านอนาถ บิณฑิกคฤหบดีเถิด.


ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ. ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและ จีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี แล้วนั่งบน อาสนะ ที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ถามท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่าคฤหบดี ! ท่านพออดทนได้หรือ พอยัง อัตตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาคลายลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความ กำเริบไม่ปรากฏแลหรือ ?
224
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! กระผมอดทนไม่ได้ ยังอัตตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผม กำเริบ หนัก ไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบย่อมปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ.

คฤหบดี ! ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานใด เมื่อแตกกาย ตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น ย่อมไม่มี แก่ท่าน ส่วนท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น ...  เป็นผู้จำแนกธรรม ก็เมื่อท่านเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ใน พระพุทธเจ้านั้น อยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

คฤหบดี ! ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานใด เมื่อแตกกายตาย ไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ว่าธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ... อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ก็เมื่อท่านเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

คฤหบดี ! ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์เห็นปานใด เมื่อแตกกายตาย ไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ... เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ก็เมื่อท่านเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ นั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

คฤหบดี ! ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีลเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้า ถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก ความเป็นผู้ทุศีลเห็น ปานนั้นย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีศีล ที่พระ อริยเจ้าใคร่แล้วไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อสมาธิก็เมื่อท่านเห็นศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

คฤหบดี ! ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาทิฏฐิเห็นปานนั้นย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาทิฏฐิ ก็เมื่อท่าน เห็นสัมมาทิฏฐินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

คฤหบดี ! ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสังกัปปะเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้า ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสังกัปปะเห็นปานนั้นย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาสังกัปปะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสังกัปปะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึง สงบระงับ โดยพลัน .

คฤหบดี ! ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวาจาเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวาจาเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาวาจา ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวาจานั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
227
คฤหบดี ! ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉากัมมันตะเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉากัมมันตะเห็นปานนั้นย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมี สัมมากัมมันตะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมากัมมันตะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

คฤหบดี ! ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาอาชีวะเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาอาชีวะเห็นปานนั้นย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาอาชีวะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาอาชีวะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

คฤหบดี ! ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวายามะเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้า ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวายามะเห็นปานนั้นย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาวายามะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวายามะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

คฤหบดี ! ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสติเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง อบายทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสติเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านส่วนท่านมีสัมมาสติ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสตินั้นอยู่ในตนเวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

คฤหบดี ! ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสมาธิเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง อบายทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสมาธิเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านส่วนท่านมีสัมมาสมาธิ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสมาธินั้นอยู่ในตนเวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

คฤหบดี ! ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาญาณะเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้า ถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาญาณะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านส่วนท่านมีสัมมาญาณะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาญาณะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
229
คฤหบดี ! ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวิมุตติเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวิมุตติเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาวิมุตติ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวิมุตตินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

ครั้งนั้น เวทนาของท่านอนาถบิณฑิก คฤหบดีสงบระงับแล้วโดยพลัน ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี อังคาส ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์ ด้วยอาหารที่เขาจัดมาเฉพาะตน

ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เมื่อท่านพระสารีบุตรฉันเสร็จนำมือออกจากบาตรแล้ว จึงถือ เอาอาสนะต่ำอันหนึ่ง นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ท่านพระสารีบุตรอนุโมทนา ด้วยคาถาเหล่านี้ ผู้ใดมีศรัทธา ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ในพระตถาคตมีศีลอันงามที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สรรเสริญแล้ว มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นอันตรง บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้นบุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย พึงประกอบตามซึ่งศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และความเห็นธรรม.

ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร ครั้นอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป.

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่าน พระอานนท์ว่า
231
อานนท์ ! เธอมาจากไหนแต่ยังวัน.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอนอนาถบิณฑิกคฤหบดีด้วยโอวาทข้อนี้ๆ.
อานนท์ !
สารีบุตรเป็นบัณฑิต
สารีบุตรมีปัญญามาก
ได้จำแนกโสตาปัตติยังคะ
ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง.


(หน้า 232)
๔๙
อานิสงส์ของธรรม ประการ


ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๔ ประการนี้อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ธรรม ๔ ประการอย่างไรเล่า ? ๔ ประการคือ :-

การคบสัตบุรุษ ๑
การฟังพระสัทธรรม ๑
การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑
การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑.


ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๔ ประการนี้แลอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
233
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๔ ประการนี้อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล

ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล

ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล

ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา (ปญฺญาปฏิลาภาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา(ปญฺญาวุฑฺฒิยา)

ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา(ปญฺญาเวปุลฺลาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ (มหาปญฺญตาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา (ปุถุปญฺญตาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ (วิปุลปญฺญตาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง (คมฺภีรปญฺญตาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาประมาณมิได้ (อปฺปมตฺตปญฺญตาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญ เพียงดังแผ่นดิน (ภูริปญฺญตาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก (ปญฺญาพาหุลฺลาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว (สีฆปญฺญตาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเบา (ลหุปญฺญตาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง (หาสปญฺญตาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไว (ชวนปญฺญตาย )

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคม (ติกฺขปญฺญตาย)
235
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๔ ประการนี้อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องชำแรกกิเลส (นิพฺเพธิกปญฺญตาย).

ธรรม ประการอย่างไรเล่า ?
๔ ประการ คือ :-
การคบสัตบุรุษ ๑
การฟังพระสัทธรรม ๑
การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑
การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๔ ประการนี้แลอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องชำแรกกิเลส.


(หน้า 236)
๕๐
ผู้ตั้งอยู่ในเสขภูมิ


ภิกษุทั้งหลาย ! ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ ...มีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ เป็นไฉน ?

ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ภิกษุทั้งหลาย ! ปริยายแม้นี้แลที่ภิกษุผู้เป็นเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่าเราเป็นพระเสขะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่งภิกษุผู้เป็นเสขะย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่น ภายนอกจากศาสนานี้ ซึ่งจะแสดงธรรมที่จริงแท้แน่นอนเหมือนพระผู้มีพระภาค มีอยู่หรือ ?
237
พระเสขะนั้นย่อมรู้ชัด อย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่นภายนอกจากศาสนานี้ ซึ่งจะแสดง ธรรมที่จริงแท้แน่นอนเหมือนพระผู้มีพระภาค ไม่มี.

ภิกษุทั้งหลาย ! ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่งภิกษุผู้เป็น เสขะย่อมรู้ชัด ซึ่งอินทรีย์ คือ
สัทธินทรีย์ ๑
วิริยินทรีย์ ๑
สตินทรีย์ ๑
สมาธินทรีย์ ๑
ปัญญินทรีย์ ๑

อินทรีย์ ๕

นั้นมีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด ภิกษุผู้เป็น เสขะ ยังไม่ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย(1) แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา. ภิกษุทั้งหลาย ! ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิย่อมรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๐๓/๑๐๓๒-๑๐๓๕.
……………………………………………………………………………..

1. นามกาย : เป็นสำนวนในบาลีสยามรัฐ ผู้รวบรวมเห็นควรแปลว่า“ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยกาย” ซึ่งบาลีใช้ว่า “กาเยน ผุสิตฺวา”.
……………………………………………………………………………..


(หน้า 238)
๕๑
คุณธรรมของผู้ต่ำกว่าโสตาปัตติมรรค
และเป็นเหตุให้ไม่ไปสู่อบาย ในชาตินั้น

ลักษณะของผู้ไม่ไปสู่อบาย (นัยที่ ๑)
มหาราช ! ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ...ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลมและไม่ประกอบด้วยวิมุตติ แต่ว่า เขามีธรรมเหล่านี้ คือสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ และ ธรรม ทั้งหลาย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว ย่อมทนต่อการเพ่งด้วยปัญญาของเขา (ยิ่ง)กว่า ประมาณบุคคลแม้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิดเดรัจฉาน วิสัย แห่ง เปรตอบาย ทุคติ วินิบาต.

ลักษณะของผู้ไม่ไปสู่อบาย (นัยที่ )
มหาราช ! ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ...ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลมและไม่ประกอบด้วยวิมุตติ แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้ คือสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ และเขามี ศรัทธา มีความรักในพระตถาคตพอประมาณบุคคลแม้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิด เดรัจฉาน วิสัยแห่ง เปรตอบาย ทุคติ วินิบาต.


(หน้า 240)
๕๒
ธรรม
ประการของผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล


ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๖ ประการนี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน ธรรม ๖ ประการนั้นเป็นอย่างไร คือ :-

(1) ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุมี กายกรรมประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน.

(2) ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง ภิกษุมี วจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วม ประพฤติพรหมจรรย์ ทั้ง ในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
241
(3) ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง ภิกษุมี มโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วม ประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันเพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

(4) ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง ภิกษุมี ลาภใดๆ เกิดโดยธรรม ได้แล้วโดยธรรม ที่สุดแม้ เพียงอาหารติดบาตร ก็บริโภคโดยไม่เกียดกันไว้เพื่อตน ย่อมเป็นผู้บริโภคเฉลี่ย ทั่วไปกับเพื่อน ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ผู้มีศีลธรรมแม้นี้เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกันเพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน.

(5) ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็น ผู้มีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกทิฏฐิ ครอบงำ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ และถึงความเป็นผู้มีศีลเสมอกันในศีล เช่นนั้นกับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับธรรมแม้นี้เป็น เหตุให้ ระลึกถึงกันเป็น เหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
242
(6) ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีทิฏฐิอันเป็นอริยะ อันเป็นเครื่องนำออก (นิยฺยานิก)นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม และถึงความเป็นผู้มีทิฏฐิเสมอกัน ในทิฏฐิเช่นนั้นกับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นเหตุ ให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อ ความสงเคราะห์กันเพื่อไม่วิ วาทกันเพื่อ ความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความ เคารพเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ทิฏฐิอันเป็นอริยะ อันเป็นเครื่องนำออก นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ ผู้กระทำตาม เป็นยอดยึดคุมธรรม ๖ ประการเหล่านี้ ที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกันไว้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนยอดเป็นที่สูงสุดเป็นที่ยึดคุมของเรือนยอด ฉันใด ทิฏฐิอันเป็นอริยะ อันเป็นเครื่องนำออก นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นยอด ยึดคุมธรรม๖ ประการเหล่านี้ ที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน.
243
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ทิฏฐิอันเป็นอริยะ อันเป็นเครื่องนำออก นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่ผู้ กระทำตามเป็นอย่างไร?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปแล้วสู่ป่าสู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่างก็ตาม ย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่าเราเป็นผู้มีจิตถูกเครื่องครอบงำใดครอบงำแล้ว (ปริยุฏฺฐาเนนปริยุฏฺฐิตจิตฺโต) ไม่พึงรู้เห็น ตามความเป็นจริง เครื่องครอบงำนั้นที่เรายังละไม่ได้ในภายใน มีอยู่หรือไม่หนอ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุมีจิต อันกามราคะครอบงำหรือมีจิตอันพยาบาทครอบงำ หรือมีจิตอันถีน มิทธะครอบงำ หรือมีจิตอัน อุทธัจจกุกกุจจะ ครอบงำ หรือมีจิตอันวิจิกิจฉาครอบงำ ก็ชื่อว่าเป็นผู้มี จิตถูกเครื่องครอบงำครอบงำแล้ว.

ถ้าภิกษุเป็นผู้ขวนขวายในการคิดเรื่องโลกนี้ หรือเป็นผู้ขวนขวายในการคิดเรื่องโลกอื่น ก็ชื่อว่าเป็น ผู้มีจิตถูกเครื่องครอบงำครอบงำแล้ว.

ถ้าภิกษุเกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตถูกเครื่อง ครอบงำครอบงำแล้ว.

ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีจิตถูกเครื่องครอบงำใดครอบงำแล้ว ไม่พึงรู้เห็นตามความ เป็นจริงเครื่องครอบงำนั้นที่เรายังละไม่ได้ในภายใน มิได้มีเลยจิตของเราตั้งไว้ดีแล้ว เพื่อความ ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย นี้คือญาณที่ ๑ อันเป็นอริยะ เป็นโลกุตระไม่ทั่วไปกับพวก ปุถุชนอันภิกษุ นั้นบรรลุแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเสพให้ทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้ย่อมได้ความสงบเฉพาะตน ย่อมได้ความดับเฉพาะตนหรือหนอ

อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเสพให้ทั่วถึงทำให้เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้ ย่อมได้ความ สงบเฉพาะตนย่อมได้ความดับเฉพาะตน นี้คือญาณที่ ๒ อันเป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับ พวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นนั้นมีอยู่หรือหนอ

อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอก ธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นนั้นมิได้มีนี้คือญาณที่ ๓ อันเป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย !บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิมีธรรมดาดังนี้ คือ ความออกจากอาบัติเช่นใดย่อมปรากฏ อริยสาวกย่อมต้องอาบัติเช่นนั้นบ้างโดยแท้แต่ถึงอย่างนั้น อริยสาวกนั้นจะรีบแสดง เปิดเผย ทำให้ตื้นซึ่งอาบัตินั้น ในสำนักพระศาสดาหรือเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ที่เป็นวิญญูชน ทั้งหลาย

ครั้นแสดง เปิดเผยทำให้ตื้นแล้ว ก็ถึงความสำรวมต่อไป เปรียบเหมือนเด็กอ่อนที่นอนหงาย ถูกถ่านไฟด้วยมือ หรือด้วยเท้าเข้าแล้ว ก็จะชักหนีเร็วพลัน ฉะนั้น อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดา เช่นนั้น นี้คือญาณที่ ๔ อันเป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุ แล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิมีธรรมดาดังนี้ คือ อริยสาวกย่อมถึงความขวนขวาย ในกิจใหญ่น้อยที่ควรทำของเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์โดยแท้ แต่ถึงอย่างนั้น ความปรารถนา อย่างแรงกล้าในอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาของอริยสาวกนั้นก็ยังมีอยู่
เปรียบเหมือนแม่โคลูกอ่อนย่อมเล็มหญ้ากินไปด้วย ชำเลืองดูลูกไปด้วยฉะนั้น อริยสาวกนั้นย่อมรู้ ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็เป็นผู้ประกอบ ด้วยธรรมดาเช่นนั้น นี้คือญาณที่ ๕ อันเป็นอริยะ เป็นโลกุตระไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวก นั้นบรรลุแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็เป็นผู้ประกอบด้วยพละเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย !ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยพละเป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! พละของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นดังนี้ คือ อริยสาวกนั้น เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันบัณฑิตแสดงอยู่ ย่อมทำให้เกิดประโยชน์ย่อมทำไว้ในใจ ย่อมกำหนดด้วยจิตทั้งปวง ย่อมเงี่ย โสตลงฟังธรรม อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยพละ เช่นใด ถึงเราก็เป็นผู้ประกอบด้วยพละเช่นนั้น

นี้คือญาณที่ ๖ อันเป็นอริยะ เป็นโลกุตระไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ เป็นผู้ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็เป็นผู้ประกอบด้วยพละเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยพละเป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! พละของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นดังนี้ คือ อริยสาวกนั้น เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันบัณฑิตแสดงอยู่ ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ เป็นผู้ประกอบด้วยพละเช่นนั้น นี้คือญาณที่ ๗ อันเป็นอริยะเป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมดาอันอริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการอย่างนี้ ตรวจดูดีแล้ว ด้วยการ ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้เพรียบพร้อมด้วยโสดาปัตติผล ดังนี้แล.


จบคู่มือโสดาบัน