เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  อานาปานสติ   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
    01 of 2  
  อานาปานสติ   ที่มา : http://watnapp.com/book  
     
    สารบัญ หน้า  
  คำนำ    
  ๑. อานิสงส์สูงสุดแห่งอานาปานสติ ๒ ประการ 1  
  ๒. อานิสงส์แห่งอานาปานสติ ๗ ประการ 2  
  ๓. อานาปานสติเป็นเหตุให้ สติปัฏฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗ วิชชาและวิมุตติ บริบูรณ์ 11  
       ๓-๑ อานาปานสติบริบูรณ์ ย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์ 12  
       ๓-๒ สติปัฏฐานบริบูรณ์ ย่อมทำโพชฌงค์ให้บริบูรณ์ 18  
       ๓-๓โพชฌงค์บริบูรณ์ ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ 22  
  ๔. อานา-เป็นเหตุให้สติปัฏฐาน ๔ โพฌชงค วิชชาและวิมุตติ บริบูรณ์ (อีกสูตรหนึ่ง) 25  
       ๔-๑ สติปัฏฐานบริบูรณ์ เพราะอานาปานสติบริบูรณ์ 30  
            ๔-๑-๑ [หมวดกายานุปัสสนา]    
            ๔-๑-๒ [หมวดเวทนานุปัสสนา]    
            ๔-๑-๓ [หมวดจิตตานุปัสสนา]    
            ๔-๑-๔ [หมวดธัมมานุปัสสนา]    
       ๔-๒โพชฌงค์บริบูรณ์ เพราะสติปัฏฐานบริบูรณ์ 37  
            ๔-๒-๑ [โพชฌงค์เจ็ด หมวดกายานุปัสสนา]    
            ๔-๒-๒ [โพชฌงค์เจ็ด หมวดเวทนานุปัสสนา]    
            ๔-๒-๓ [โพชฌงค์เจ็ด หมวดจิตตานุปัสสนา]    
            ๔-๒-๔ [โพชฌงค์เจ็ด หมวดธัมมานุปัสสนา]    
       ๔-๓ วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์ เพราะโพชฌงค์บริบูรณ์ 43  
  ๕. การเจริญอานาปานสติ (ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร) 45  
  ๖. เมื่อเจริญอานาปานสติ ก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ 47  
  ๗. อานาปานสติ เป็นเหตุให้ถึงซึ่งนิพพาน 49  
  ๘. อานาปานสติสมาธิ เป็นเหตุให้ละสังโยชน์ได้ 50  
  ๙. อานาปานสติสมาธิ สามารถกำจัดเสียได้ซึ่งอนุสัย 52  
  ๑๐. อานาปานสติสมาธิ เป็นเหตุให้รอบรู้ซึ่งทางไกล (อวิชชา) 54  
  ๑๑. อานาปานสติสมาธิ เป็นเหตุให้สิ้นอาสวะ 56  
  ๑๒. แบบการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก (แบบที่หนึ่ง) 58  
  ๑๓. เจริญอานาปานสติ มีอานิสงส์เป็นเอนกประการ 60  
       ๑๓-๑ จิตหลุดพ้นจากอาสวะ 61  
       ๑๓-๒ ละความดำริอันอาศัยเรือน 62  
       ๑๓-๓ ควบคุมความรู้สึกเกี่ยวความไม่ปฏิกูล 62  
       
 

 

   
 
 





คำนำ

หากมีการจัดอันดับหนังสือที่มีความสำคัญมาก ที่สุดในโลก ฐานะที่จะมีได้คือ หนังสือ อานาปานสติ โดย ตถาคต นี้ คือหนึ่งในหนังสือที่มีความสำคัญอันดับแรก ของโลก

พุทธวจน ที่เกี่ยวข้องกับอานาปานสติภาวนา ทั้งหมด เมื่อพิจารณา ประกอบด้วยหลักปฏิจจสมุปบาท ของจิตโดยละเอียดแล้ว จะพบข้อสังเกตอันน่าอัศจรรย์ว่า; อานาปานสติ คือการลดอัตราความถี่ในการ เกิดของจิต ซึ่งเป็นการสร้างภาวะที่พร้อม ที่สุด สำหรับการบรรลุธรรม

พระพุทธองค์ทรงเผยว่า อานาปานสติ นี้ แท้จริงแล้ว ก็คือเครื่องมือในการทำสติปัฏฐานทั้งสี่ ให้ถึง พร้อมบริบูรณ์ ซึ่งเป็นเหตุส่งต่อให้โพชฌงค์ทั้งเจ็ดเจริญเต็มรอบ และนำไป สู่วิชชา และวิมุตติในที่สุด โดยทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ แม้ใน ลมหายใจเดียว ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า จะต้องเป็นการปฏิบัติ ที่ตรงวิธี ในแบบที่ระบุโดยมัคควิทู (ผู้รู้แจ้งมรรค) คือ จากการ บอกสอนด้วยคำพูดของพระพุทธเจ้าเองโดยตรง เท่านั้น

สำหรับมนุษย์ทุกคนที่อยู่ในข่ายที่สามารถบรรลุธรรมได้นี่คือ หนังสือที่จำเป็นต้องมีไว้ศึกษา เพราะเนื้อหาทั้งหมด ได้บรรจุรายละเอียดในมิติต่างๆ ของอานาปานสติ เฉพาะที่เป็นพุทธวจนล้วนๆ คือตัว สุตตันตะที่เป็นตถาคตภาษิต ไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ทุกแง่มุม เรียกได้ว่าเป็นคู่มือพ้นทุกข์ด้วย มรรควิธี อานาปานสติฉบับแรกของโลก ที่เจาะจงในรายละเอียดของการปฏิบัติ โดยไม่เจือปนด้วยสาวกภาษิต (ซึ่งโดยมากมักจะตัดทอน ต้นฉบับพุทธวจนเดิม หรือไม่ก็เพียงอ้างถึงในลักษณะ สักแต่ว่า แล้วบัญญัติ รายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติมขึ้นใหม่เอง อย่างวิจิตรพิสดาร นอกแนว นำไปสู่ความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนหรือไม่ ก็บิดเบือนคลาดเคลื่อน พลัดออกนอกทางในที่สุด)

การเกิดขึ้นของอานาปานสติ ฉบับพุทธวจน นี้ไม่ใช่ของง่ายที่จะมีขึ้นได้เลย เพราะในเมื่อการเกิดขึ้นของ ตถาคตในสังสารวัฏ เป็นของที่มีได้ยาก การรวบรวมนำ มรรควิธี ที่ตถาคตทรงใช้เป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่ มารวมไว้เป็นหนังสือคู่มือชาวพุทธในเล่มเดียว จึงไม่ใช่ของง่ายที่จะ มีขึ้นได้

การที่หนังสือเล่มนี้จะเป็นที่แพร่หลายในสังคมพุทธ วงกว้าง ก็ไม่ใช่ของง่าย เช่นกัน ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะเหตุว่า พุทธวจนเป็นสิ่งที่หาได้ยาก อ่านยาก หรือทำความเข้าใจได้ยาก และ ไม่ใช่เพราะเหตุคือ เงื่อนไขในด้านบุคลากร ในด้าน การจัดพิมพ์ หรือ ปัญหาเรื่องเงินทุน

แต่เพราะด้วยเหตุว่า พระตถาคต ทรงใช้อานาปานสติเป็นวิหารธรรม เครื่องอยู่ และทรงพร่ำสอนไว้ กำชับ กับภิกษุ และกับบุคคลทั่วไปไว้ บอกรายละเอียดไว้ แจกแจงอานิสงส์ไว้ มากที่สุดในสัดส่วน ที่มากกว่า มาก เมื่อเทียบกับมรรควิธีอื่นๆ

ในหมู่นักปฏิบัติ อานาปานสติ จึงถูกนำมาเผยแพร่ ถูกนำมาบอกสอนกันมาก ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้น การปนเปื้อนด้วยคำของสาวก ในลักษณะตัดต่อเติมแต่งก็ดี หรือเขียนทับก็ดี จึงเกิดขึ้นมาก. ไปจนถึงจุดที่เราแทบจะไม่พบเจอ สำนักปฏิบัติที่ใช้อานาปานสติ ในรูปแบบเดียวกับที่พระพุทธองค์ ทรงใช้ใน ครั้งพุทธกาลได้อีกแล้ว

เมื่อเป็นเช่นนี้ ในขั้นตอนการเรียนรู้ จึงหลีกเลี่ยง ไม่ได้ ที่จะต้องผ่าน กระบวนการนำออก ซึ่งความเข้าใจ ผิดต่างๆ รวมถึง ความเคยชินเดิมๆ ที่มีมาอยู่แล้วก่อนเป็นขั้นแรก

ดังนั้น หากมรรควิธีที่ถูกต้อง ในแบบที่ตรงอรรถ ตรงพยัญชนะ ถูกนำมาเผยแพร่ออกไป ได้มากและเร็วเท่าไหร่; ขั้นตอน หรือ กระบวนการ ศึกษา ตลอดจนผลที่ได้รับก็จะ เป็นไปในลักษณะลัดสั้น ตรงทางสู่ มรรคผล ตามไปด้วย

เพราะสำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาจริงๆ ก็จะได้เรียนรู้ข้อมูล ที่ถูกต้องไปเลยแต่ทีแรก และสำหรับผู้ที่เข้าใจผิด ไปก่อนแล้ว ก็จะได้อาศัยเป็นแผนที่ เพื่อหาทางกลับสู่มรรคที่ถูกได้

คณะผู้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ขอนอบน้อมสักการะ ต่อ ตถาคต ผู้อรหันต สัมมาสัมพุทธะ และ ภิกษุสาวก ในธรรมวินัยนี้ ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล จนถึงยุคปัจจุบัน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสืบทอดพุทธวจน คือ ธรรม และวินัย ที่ทรงประกาศไว้ บริสุทธิ์บริบูรณ์ดีแล้ว

คณะงานธัมมะ วัดนาป่าพง



หน้า 1

อานิสงส์สูงสุดแห่งอานาปานสติ ๒ ประการ
(อรหัตผล และ อนาคามี)

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว อย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า

เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง (สพฺพกายปฏิสำเวที) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยำ กายสงฺขารำ) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ (ปีติปฏิสำเวที) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข (สุขปฏิสำเวที) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร (จิตฺตสงฺขารปฏิสำเวที) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิตตสังขาร ให้รำงับ (ปสฺสมฺภยำ จิตฺตสงฺขารำ) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต (จิตฺตปฏิสำเวที) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง (อภิปฺปโมทยำ จิตฺตำ) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิต ให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น (สมาทหำ จิตฺตำ) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิต ให้ตั้งมั่น หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ (วิโมจยำ จิตฺตำ) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิต ให้ปล่อยอยู่ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ (อนิจฺจานุปสฺสี) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ (วิราคานุปสฺสี) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ (นิโรธานุปสฺสี) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ (ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอนิสงส์ใหญ่

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์อย่างใด อย่างหนึ่ง ในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้

คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี

มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๖-๓๙๗/๑๓๑๑-๑๓๑๓.


หน้า5

อานิสงส์แห่งอานาปานสติ ๗ ประการ


ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว อย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือ โคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า

เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกาย ทั้งปวง หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำ กายสังขารให้รำงับ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ รู้พร้อม เฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปีติ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้ พร้อม เฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งสุข หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้ทำ จิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำ จิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งจิต หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้ทำจิตให้ ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้ทำจิตให้ ตั้งมั่น หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้ทำจิตให้ ปล่อยอยู่ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้เห็นซึ่ง ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่า เราเป็น ผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้เห็นซึ่ง ความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่า เราเป็น ผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นปะจำ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้เห็นซึ่ง ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้
ว่า เราเป็น ผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้เห็นซึ่ง ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่า เราเป็น ผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์ ๗ ประการ ย่อมเป็นสิ่งที่หวังได้

ผลอานิสงส์ ๗ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?

ผลอานิสงส์ ๗ ประการ คือ

๑. การบรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบันนี้

๒. ถ้าไม่เช่นนั้น ย่อมบรรลุอรหัตตผลในกาล แห่งมรณะ

๓. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็นอันตราปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานใน ระหว่างอายุยังไม่ถึงกึ่ง)

๔. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็นอุปหัจจ ปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานเมื่อใกล้ จะสิ้นอายุ)

๕. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานโดย ไม่ต้องใช้ความเพียรมากนัก)

๖. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานโดย ต้องใช้ความเพียรมาก)

๗. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็นอุทธังโสโต อกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ผลอานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ ย่อมหวังได้ ดังนี้



เจริญอานาปานสติ เป็นเหตุให้ สติปัฏฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗ วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์

หน้า5
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันเอกนั้นมีอยู่

         ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์
         ครั้นธรรมทั้ง ๔ นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์
         ครั้นธรรมทั้ง ๗ นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๒ ให้บริบูรณ์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธินี้แล เป็นธรรมอันเอก

         ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์;
         สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์;
         โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้ มากแล้ว ย่อมทำวิชชา และวิมุตติ ให้บริบูรณ์ได้.

3_1
(1) อานาปานสติบริบูรณ์ ย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น


ย่อมทำการฝึกหัดศึกษา
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษา
ว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขาร ให้รำงับ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ โทมนัสในโลก ออกเสียได้. ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและ ลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกาย ในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษา ว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปีติ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษา ว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งสุข หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษา ว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษา ว่า
เราเป็นผู้ทำ จิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำ จิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก


ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็น อย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็น เวทนา อันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนา ในเวทนา ทั้งหลายอยู่ เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ โทมนัสในโลกออกเสียได้

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษา ว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษา ว่า
เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษา ว่า
เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษา ว่า
เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก


ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกออก เสียได้

ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติ อันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิต ในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา และโทมนัส ในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ ย่อมทำการฝึกหัดศึกษา ว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่า เราเป็น ผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษา ว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่า เราเป็น ผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษา ว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่า เราเป็น ผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษา ว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก


ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ โทมนัส ในโลกออกเสียได้

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ เป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอ เห็นการละอภิชฌาและ โทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรม ในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ โทมนัสในโลกออกเสียได้

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้

.............................................................................................................

3_2
(2) สติปัฏฐานบริบูรณ์ ย่อมทำโพชฌงค์ให้บริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคล เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไร เล่า จึงทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ?

ภิกษุทั้งหลาย !
         สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำก็ดี เป็นผู้เห็นเวทนา ในเวทนาทั้ง หลายอยู่ เป็นประจำก็ดี เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำก็ดี เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ ก็ดี มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสตินำอภิชฌาและ โทมนัสในโลกออกเสียได้
         สมัยนั้น สติที่ภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง

ภิกษุทั้งหลาย !
         สมัยใด
สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง
         สมัยนั้น
สติสัม โพชฌงค์ ก็เป็นอันว่า ภิกษุนั้นปรารภแล้ว
         สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์
         สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ
        ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติ เช่นนั้นอยู่ ย่อมทำ การเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการ ใคร่ครวญ ซึ่งธรรม นั้นด้วยปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย !
         สมัยใด
ภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ทำการเลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมนั้น อยู่ด้วยปัญญา
         สมัยนั้น
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
         สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญธัมมวิจย สัมโพชฌงค์
         สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่ง การเจริญ.
        ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรม นั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่หย่อนหย่อน ชื่อว่า เป็นธรรม อันภิกษุนั้นปรารภแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย !
         สมัยใด
ความเพียรไม่ย่อหย่อน อันภิกษุผู้เลือกเฟ้น ใคร่ครวญในธรรมนั้นด้วยปัญญา
         สมัยนั้น
วิริยสัมโพชฌงค์ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
         สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
         สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
        ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียร อัน ปรารภแล้ว ปีติอันเป็นนิรมิส ก็เกิดขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย !
         สมัยใด ปีติอันเป็นนิรามิส เกิดขึ้น แก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว
         สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
         สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อม เจริญปีติสัมโพชฌงค์
         สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
        ภิกษุนั้น เมื่อมีใจ ประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ.

ภิกษุทั้งหลาย !
         สมัยใด ทั้งกาย และ ทั้งจิต ของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ
         สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
         สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
         สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่ง การเจริญ.
        ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่จิตย่อมตั้งมั่น.

ภิกษุทั้งหลาย !
         สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกาย อันรำงับแล้วมีความสุขอยู่ ย่อมตั้งมั่น
         สมัยนั้น สมาธิ-สัมโพชฌงค์ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
         สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
         สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบ แห่งการเจริญ.
        ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้ว อย่างนั้นเป็น อย่างดี

ภิกษุทั้งหลาย !
         สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่ง เฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี
         สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
         สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
         สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่ง การเจริญ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญ แล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้.

...................................................................................................................


3_3

(3) โพชฌงค์บริบูรณ์ ย่อมทำวิชชา และวิมุตติให้บริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงจะทำวิชชา และ วิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
         ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ (ความจางคลาย) อันอาศัยนิโรธ (ความดับ) อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละ ความปล่อย)

         ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไป เพื่อโวสสัคคะ

         ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ

         ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ

         ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ

         ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ

         ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโ วสสัคคะ

ภิกษุทั้งหลาย ! โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำวิชชา และ วิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้

..................................................................................................................



เจริญอานาปานสติ เป็นเหตุให้ สติปัฏฐาน ๔
โพชฌงค์ ๗ วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์ (อีกสูตรหนึ่ง)


ภิกษุทั้งหลาย ! เราเป็นผู้ตั้งมั่นแล้วในข้อปฏิบัตินี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วในข้อปฏิบัตินี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย จงปรารภความเพียรให้ยิ่งกว่าประมาณ เพื่อถึง สิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อทำาให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำาให้แจ้ง.

เราจักรอคอยพวกเธอทั้งหลายอยู่ ณ ที่นครสาวัตถีนี้แล จนกว่าจะถึงวันท้ายแห่งฤดูฝนครบสี่เดือน เป็นฤดูที่บาน แห่งดอกโกมุท (เพ็ญเดือนสิบสอง).

พวกภิกษุเป็นพวกชาวชนบทได้ทราบข่าวนี้ก็พากัน หลั่งไหลไปสู่นครสาวัตถี เพื่อเฝ้าเยี่ยม พระผู้มี พระภาคเจ้า. ฝ่ายพระเถระผู้มีชื่อเสียงคนรู้จักมาก ซึ่งมีท่านพระสารีบุตร

พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระมหากัจจายนะ พระมหาโกฏฐิตะ พระมหากัปปินะ พระมหา จุนทะ พระเรวตะ พระอานนท์ และพระเถระรูปอื่น อีกหลายท่าน แบ่งกันเป็นพวกๆ พากันสั่งสอน พร่ำชี้แจง พวกภิกษุใหม่ๆ อย่างเต็มที่ พวกละสิบรูปบ้าง ยี่สิบรูปบ้าง สามสิบรูปบ้าง สี่สิบรูปบ้าง.

ส่วนภิกษุใหม่ๆ เหล่านั้น เมื่อได้รับคำสั่งสอน ได้รับคำพร่ำชี้แจง ของพระเถระ ผู้มีชื่อเสียงทั้งหลาย อยู่ก็ย่อมรู้คุณวิเศษอันกว้างขวางอย่างอื่นๆ ยิ่งกว่าแต่ก่อน. จนกระทั่งถึงวันเพ็ญเดือนสิบสอง.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายสืบไปว่า
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุบริษัทนี้ ไม่เหลวไหลเลย.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุบริษัทนี้ไม่เหลวแหลกเลย.
ภิกษุ บริษัทนี้ ตั้งอยู่แล้วในธรรมที่เป็นสาระล้วน.
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทเช่นใด มีรูปลักษณะที่น่าบูชา น่าต้อนรับ น่ารับทักษิณา น่าไหว้ เป็นเนื้อนาบุญ ชั้นดีเยี่ยมของโลก หมู่ภิกษุนี้ ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทเช่นใด มีรูปลักษณะที่ทานอันบุคคลให้น้อย แต่กลับมีผลมาก ทานที่ให้มาก ก็มีผลมากทวียิ่งขึ้น หมู่ภิกษุนี้ ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทเช่นใด มีรูปลักษณะยาก ที่ชาวโลกจะได้เห็น หมู่ภิกษุนี้ ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทเช่นใด มีรูปลักษณะที่ควร จะไปดูไปเห็น แม้จะต้องเดินสิ้นหนทางนับด้วยโยชน์ๆ ถึงกับต้องเอาห่อเสบียงไปด้วยก็ตาม หมู่ภิกษุนี้ ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ก็มีรูปลักษณะเช่น นั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งเป็น พระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มี กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว มีภาระปลงลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนเองบรรลุแล้วโดยลำดับ มีสัญโญชน์ ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ทั่วถึงโดยชอบ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ ภิกษุ นี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งสิ้น สัญโญชน์เบื้องต่ำห้า เป็นโอปปาติกะแล้ว จักปริ นิพพาน ในที่นั้น ไม่เวียนกลับมาจากโลกนั้น เป็นธรรมดา พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุ นี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งสิ้น สัญโญชน์สาม และมีความเบาบางไปของราคะ โทสะ โมหะ เป็น สกทาคามี มาสู่ เทวโลก อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจักกระทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้, พวกภิกษุแม้ เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งสิ้น สัญโญชน์สาม เป็น โสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา ผู้เที่ยงแท้ผู้แน่ที่จะตรัสรู้ข้างหน้า พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่ง ประกอบความเพียรเป็นเครื่องต้องทำเนืองๆ ในการอบรม สติปัฏฐานสี่ สัมมัปปธานสี่ อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้า พละห้า โพชฌงค์เจ็ด อริยมรรคมีองค์แปด เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อสุภะ อนิจจสัญญา และอานาปานสติ พวกภิกษุ แม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธินี้แล ซึ่ง เมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน ทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้.
หน้า 30
.................................................................................................................

4-1

(1) สติปัฏฐานบริบูรณ์ เพราะอานาปานสติบริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำ สติปัฏฐานทั้งสี่ ให้บริบูรณ์ได้ ?


4-1-1

[หมวดกายานุปัสสนา] (1)

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น


ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งกายทั้งปวงหายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะ ซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำกายสังขาร ให้รำงับหายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขาร ให้รำงับ หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความ เพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.


4-1-2

[หมวดเวทนานุปัสสนา] (2)

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปีติหายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติหายใจออก

ย่อมทำการฝึกหึดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งสุข หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุขหายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภชิฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย !
เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออกทั้งหลาย ว่าเป็นเวทนาอันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา และโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.


4-1-3
[หมวดจิตตานุปัสสนา] (3)

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่ง จิตหายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ ปราโมทย์ ยิ่งหายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจ ออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ ปล่อยอยู่ หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
เป็น ผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมป ชัญญะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.


4-1-4
[หมวดธัมมานุปัสสนา] (4)

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
เป็น ผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผา กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น
เป็น ผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว
เพราะเธอเห็นการละอภิชฌา และ โทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตนุ นั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็น ประจำมีความ เพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่า ทำสติปัฏฐาน ทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้.

โพชฌงค์บริบูรณ์ เพราะสติปัฏฐานบริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ! สติปัฏฐานทั้งสี่ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ด ให้บริบูรณ์ได้ ?

...................................................................................................................


4-2-1

[โพชฌงค์เจ็ด หมวดกายานุปัสสนา] (1)

ภิกษุทั้งหลาย !
         สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลสมีสัมปัชญญะ มีสตินำอภิชฌาและ โทมนัสในโลกออกเสียได้
         สมัยนั้น สติของ ภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง

ภิกษุทั้งหลาย!
         สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง
         สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
         สมัยนั้น ภิกษุ ชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
         สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ของภิกษุชื่อว่าถึงความ เต็มรอบแห่งการเจริญ.
ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือกย่อมทำการเฟ้นย่อมทำ การใคร่ครวญซึ่งธรรม นั้นด้วยปัญญา.

ภิกษุทั้งหลาย !
         สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ทำการเลือกเฟ้น ใคร่ครวญ ธรรมนั้นอยู่ด้วย ปัญญา
         สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้น ปรารภแล้ว
         สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
         สมัยนั้น ธัมมวิจย สัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึง ความเต็มรอบ แห่งการเจริญ.
ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อ หย่อน ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย !
         สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อนอันภิกษุผู้เลือกเฟ้น ใคร่ครวญในธรรม นั้นด้วยปัญญา
         สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภ แล้ว
         สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
         สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้ว ปีติอันเป็นนิรามิสก็เกิดขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย !
         สมัยใด ปีติอันเป็นนิรามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียร อันปรารภแล้ว,

         สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่า ภิกษุนั้นปรารภแล้ว
         สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปิติสัมโพชฌงค์
         สมัยนั้น ปิติ สัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึง ความเต็มรอบ แห่งการเจริญ.
ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำงับแม้จิตก็รำงับ.

ภิกษุทั้งหลาย !
         สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ
         สมัยนั้น ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
         สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
         สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่ง การเจริญ.
ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำงับแล้วมีความสุขอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น.

ภิกษุทั้งหลาย !
         สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายอันรำงับแล้วมีความสุขอยู่ ย่อม ตั้งมั่น
         สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
         สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
         สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบ แห่งการ เจริญ.
         ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ ซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย !
         สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี
         สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
         สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
         สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่ง การเจริญ.


4-2-2
[โพชฌงค์เจ็ด หมวดเวทนานุปัสสนา] (2)

ภิกษุทั้งหลาย !
         สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกออก เสียได้
         สมัยนั้น สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง.

ภิกษุทั้งหลาย!
         สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง
         สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
         สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อม เจริญสติสัมโพชฌงค์
         สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบ แห่งการเจริญ.
ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือกย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการ ใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญา (ต่อไปนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันกับใน โพชฌงค์เจ็ด หมวดกายานุปัสสนา จนจบหมวด)


4-2-3
[โพชฌงค์เจ็ด หมวดจิตตานุปัสสนา] (3)

ภิกษุทั้งหลาย !
สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้
สมัยนั้น สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติ ไม่ลืมหลง.

ภิกษุทั้งหลาย !
สมัยใด สติของภิกษุผู้ เข้าไปตั้งไว้แล้วเป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ของภิกษุชื่อว่าถึงความ เต็มรอบแห่งการเจริญ
ภิกษุนั้นเมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือกย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการ ใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญา (ต่อไปนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันกับใน โพชฌงค์เจ็ด หมวดกายานุปัสสนา จนจบหมวด).


หน้า42
4-2-4
[โพชฌงค์เจ็ด หมวดธัมมานุปัสสนา] (4)

ภิกษุทั้งหลาย !
สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกออก เสียได้
สมัยนั้น สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง.

ภิกษุทั้งหลาย!
สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อม เจริญสติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบ แห่งการเจริญ.
ภิกษุนั้นเมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือกย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการ ใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้นด้วย ปัญญา
(ต่อไปนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันกับในโพชฌงค์เจ็ด หมวดกายานุปัสสนา จนจบหมวด).

ภิกษุทั้งหลาย ! สติปัฏฐานทั้งสี่ อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าทำ โพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์ได้
หน้า 43
...........................................................................................................

4-3

วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์เพราะโพชฌงค์บริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้ว อย่างไร จึงทำวิชชาและ วิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้

         ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ (ความจางคลาย) อันอาศัยนิโรธ (ความดับ) อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละ ความปล่อย)

         ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

         ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

         ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

         ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

         ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

         ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าทำวิชชา และวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้.

(ข้อสังเกต : ดังที่ตรัสไว้ แสดงว่าสติปัฏฐานทั้งสี่ ในแต่ละหมวดสมบูรณ์ ในตัวเอง คือเข้าถึงโพชฌงค์ ที่บริบูรณ์จนกระทั่งวิมุตติได้ทุกหมวดดังนั้น สติปัฏฐานสี่นั้น ผู้ปฏิบัติจะเจริญหมวดใดหมวดหนึ่ง หรือทั้ง ๔ หมวดก็ได้ เหมือนกัน เพราะสามารถยังวิมุตติให้ปรากฏได้ดุจเดียวกัน : ผู้รวบรวม)
หน้า 45
..................................................................................................



การเจริญอานาปานสติ (ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร)

ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่นั้นเป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม ย่อมนั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ (ขัดสมาธิ) ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอเป็นผู้มีสติ หายใจเข้า มีสติหายใจออก
         (๑) เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออก ยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว หรือว่า
         (๒) เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออก สั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
         (๓) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก
         (๔) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราทำกายสังขารให้รำงับ จักหายใจ เข้า เราทำกายสังขารให้รำงับ จักหายใจออก

เช่นเดียวกับนายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ชำนาญ เมื่อเขาชักเชือก กลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชัก เชือกกลึงยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือก กลึงสั้น ฉันใดก็ฉันนั้น.

ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกาย อันเป็นภายใน อยู่บ้าง ในกายอันเป็น ภายนอกอยู่บ้าง ในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่ บ้าง และเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมอันเป็น เหตุเกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง

เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไปในกายอยู่บ้าง, เห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้นและ เสื่อม ไปในกายอยู่บ้าง ก็แหละ สติ ว่า “กายมีอยู่” ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่เธอ ดำรงไว้เพียงเพื่อ ความรู้ เพียงเพื่ออาศัยระลึก ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหา และทิฏฐิ อาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลกนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วย อาการอย่างนี้.


หน้า 47

เมื่อเจริญอานาปานสติก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ


ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษา
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัด ศึกษา
ว่า เราเป็นผู้ทำ กายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก

เมื่อภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่ ย่อมละความระลึก และ ความดำริอันอาศัยเรือนเสียได้

เพราะละความระลึก และความดำรินั้นได้ จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุด มีขึ้นเป็นสมาธิอยู่ในภายในนั่นเทียว. ภิกษุทั้งหลาย ! แม้อย่างนี้ ภิกษุนั้นก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ

(ข้อสังเกต : ส่วนใหญ่เรามักจะเข้าใจว่า กายคตาสติ คือการพิจารณา อสุภะ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หรือการเจริญมรรคเพื่อการหลุดพ้นจะต้องผ่านการ พิจารณา อสุภะ เสียก่อนเสมอไปเท่านั้น ในพระสูตรนี้ จึงเป็นคำ ตอบให้เห็นว่า อานาปานสติ ก็เป็นกายคตาสติ และสามารถเจริญมรรคนี้ จนถึงวิมุตติหลุดพ้น ได้โดยตรง ดังในพระสูตรอื่นๆ ที่พระองค์ตรัสไว้ในเล่มนี้; นอกจากนั้นกาย คตาสติ ยังมีความหมาย อีกหลายนัยยะ เช่น หมายถึง การเจริญฌานหนึ่ง ถึงฌานสี่อีกด้วย : ผู้รวบรวม)



หน้า 49

อานาปานสติ เป็นเหตุให้ถึงซึ่งนิพพาน


ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอย่างหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น ไปเพื่อความหน่ายโดย ส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความ สงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

ธรรมอย่างหนึ่งคืออะไร ? คือ... อานาปานสติ ...

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอย่างหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความหน่าย โดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.


หน้า 50

อานาปานสติสมาธิ เป็นเหตุให้ละสังโยชน์ได้


ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อการละสัญโญชน์ ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างไรเล่า จึงเป็นไปเพื่อการ ละสัญโญชน์ ทั้งหลาย ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า
เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
(แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนในหน้า ๑–๔ทุกประการ).
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อการ ละสัญโญชน์ทั้งหลาย


หน้า 52


อานาปานสติสมาธิ สามารถกำจัดเสียได้ซึ่งอนุสัย


ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อการกำจัดเสีย ซึ่งอนุสัย. ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างไรเล่า จึงเป็น ไปเพื่อการกำจัดเสีย ซึ่งอนุสัย ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
(แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนในหน้า ๑–๔ทุกประการ).
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อการกำจัดเสียซึ่งอนุสัย


หน้า54

๑๐
อานาปานสติสมาธิ เป็นเหตุให้รอบรู้ซึ่งทางไกล (อวิชชา)


ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความรอบรู้ ซึ่งทางไกล (อวิชชา). ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างไรเล่า จึงเป็นไป เพื่อความรอบรู้ทางไกล ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
(แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนในหน้า ๑–๔ ทุกประการ).
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความรอบรู้ทางไกล.


หน้า 56

๑๑
อานาปานสติสมาธิเป็นเหตุให้สิ้นอาสวะ


ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างไรเล่า จึงเป็นไป เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
(แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนในหน้า ๑–๔ทุกประการ).
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.


หน้า 58

๑๒
แบบการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก

(แบบที่หนึ่ง)


ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันเอก อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล ใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ธรรมอัน เอกนั้น คืออะไรเล่า ? คือ อานาปานสติ. ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า

เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น

(แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนในหน้า ๑–๔ ทุกประการ).

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่


หน้า 60
๑๓
เจริญอานาปานสติ มีอานิสงส์เป็นเอนกประการ


ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมี ผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ก็อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้วอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า

เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น


(แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนในหน้า ๑–๔ ทุกประการ).
หน้า 61
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่


13_1
จิตหลุดพ้นจากอาสวะ

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้เราเอง เมื่อยังไม่ตรัสรู้ ก่อนการตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อมอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ เป็นอันมาก. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม นี้เป็นอันมาก กายก็ไม่ลำบาก ตาก็ไม่ลำบาก และจิตของเรา ก็หลุดพ้นจาก อาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า กายของเราไม่พึงลำบาก ตาของเราไม่พึง ลำบาก และจิตของเราพึงหลุดพ้น จากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ดังนี้แล้วไซร้
อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.


13-2
ละความดำริอันอาศัยเรือน
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า ความระลึกและดำริอันอาศัยเรือนเหล่าใดของเรามีอยู่ ความระลึก และความดำริเหล่านั้นพึงสิ้นไป ดังนี้แล้วไซร้
อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.


13_3
ควบคุมความรู้สึกเกี่ยวความไม่ปฏิกูล
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เราพึงเป็นผู้มีสัญญาว่า ปฏิกูลในสิ่งที่ไม่เป็นปฏิกูลอยู่เถิด ดังนี้แล้วไซร้
อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เราพึงเป็นผู้มีสัญญาว่า ไม่ปฏิกูลในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่เถิด ดังนี้แล้วไซร้
หน้า 63
อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เราพึงเป็นผู้มีสัญญาว่า ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และทั้งในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่เถิด ดังนี้แล้วไซร้
อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เราพึงเป็นผู้มีสัญญาว่า ไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ดังนี้แล้วไซร้
อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เราพึงเป็นผู้เว้นขาดจากความรู้สึก ว่าปฏิกูลและความรู้สึกว่าไม่เป็นปฏิกูลทั้ง ๒ อย่างเสียโดยเด็ดขาดแล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด ดังนี้แล้วไซร้
อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.