เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  อานาปานสติ   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  02 of 2    
  อานาปานสติ   ที่มา : http://watnapp.com/book  
     
    หน้า  
  ๑๓. เจริญอานาปานสติ มีอานิสงส์เป็นเอนกประการ (ต่อ)    
       ๑๓-๑ เป็นเหตุให้ได้สมาธิในระดับรูปสัญญาทั้งสี่ ๔ 64  
       ๑๓-๒ เป็นเหตุให้ได้สมาธิในระดับอรูปสัญญาทั้งสี่ 65  
       ๑๓-๓ เป็นเหตุให้ได้สัญญาเวทยิตนิโรธ 67  
       ๑๓-๔ รู้ต่อเวทนาทุกประการ 67  
  ๑๔. แบบการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก (แบบที่สอง) 71  
  ๑๕. เจริญอานาปานสติมีอานิสงส์เป็นเอนกประการ (อีกสูตรหนึ่ง) 73  
       ๑๕-๑ ได้บรรลุมรรคผลในปัจจุบัน 74  
       ๑๕-๒ เพื่อประโยชน์มาก 75  
       ๑๕-๓ เพื่อความเกษมจากโยคะมาก 76  
       ๑๕-๔ เพื่อความสังเวชมาก 77  
       ๑๕-๕ เพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก 78  
  ๑๖. เจริญอานาปานสติ ชื่อว่าไม่เหินห่างจากฌาน 81  
  ๑๗. อานาปานสติ : เป็นสุขวิหาร ระงับได้ซึ่งอกุศล 83  
  ๑๘. อานาปานสติ : สามารถกำจัดบาปอกุศลได้ทุกทิศทาง 86  
  ๑๙. อานาปานสติ : ละได้เสียซึ่งความฟุ้งซ่าน 93  
  ๒๐. อานาปานสติ : ละเสียได้ซึ่งความคับแค้น 95  
  ๒๑. อานาปานสติ : วิหารธรรมของพระอริยเจ้า 97  
  ๒๒. เจริญอานาปานสติ : 100  
  ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายและจิต ย่อมมีขึ้นไม่ได้    
  ๒๓. เจริญอานาปานสติ เป็นเหตุให้รู้ลมหายใจ อันมีเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนเสียชีวิต 103  
  ๒๔. ธรรมเป็นเครื่องถอนอัส๎มิมานะในปัจจุบัน 105  
  ๒๕. วิธีการบ่มวิมุตติให้ถึงที่สุด 109  
  ๒๖. สัญญา ๑๐ ประการ ในฐานะแห่งการรักษาโรคด้วยอำนาจสมาธิ 112  
  ธรรมะแวดล้อม 123  
  ๒๗. ธรรมเป็นอุปการะเฉพาะแก่อานาปานสติภาวนา    
       ๒๗-๑ (นัยที่หนึ่ง) 124  
       ๒๗-๒ (นัยที่สอง) 126  
       ๒๗-๓ (นัยที่สาม) 128  
  ๒๘. นิวรณ์เป็นเครื่องทำกระแสจิตไม่ให้รวมกำลัง 130  
  ๒๙. นิวรณ์-ข้าศึกแห่งสมาธิ 133  
  ๓๐. ข้อควรระวัง ในการเจริญสติปัฏฐานสี่ 135  
  ๓๑. เหตุปัจจัยที่พระศาสนาจะตั้งอยู่นาน 139  
  ภายหลังพุทธปรินิพพาน    
  ๓๒. อานิสงส์แห่งกายคตาสติ 141  
  จบ    
 

 

   
 
 





หน้า64
๑๓ (ต่อ)
อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ ในใจให้เป็นอย่างดี.


13-1
เป็นเหตุให้ได้สมาธิในระดับ รูปสัญญาทั้งสี่

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เราพึงเป็นผู้สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้แล้วไซร้
อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุ ปรารถนาว่า เพราะวิตกวิจารระงับไป เราพึง เข้าถึงทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใส แห่งจิตใน ภายใน เพราะธรรมอันเอกคือ สมาธิ ผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้แล้วไซร้
อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เราพึงเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยกาย (สุขญฺจ กาเยน) ชนิดที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ มีการอยู่เป็นสุข เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้แล้วไซร้
อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัส และโทมนัสในกาลก่อน เราพึงเข้าถึงจตุตถฌา อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความบริสุทธิ์แห่งสติ เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้แล้วไซร้
อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี


13-2
เป็นเหตุให้ได้สมาธิในระดับ อรูปสัญญาทั้งสี่

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เสียโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญาทั้งหลายเพราะการไม่กระทำในใจ ซึ่งนานัตตสัญญามีประการต่างๆ เราพึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่าอากาศไม่มีที่สุด ดังนี้แล้ว แลอยู่เถิด ดังนี้แล้วไซร้
อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี
หน้า 66
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุ ปรารถนาว่า เราพึงก้าวล่วง อากาสานัญจายตนะดยประการทั้งปวงเสียแล้วพึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้แล้วไซร้
อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เราพึงก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ เสียโดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่าไม่มีอะไร แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้แล้วไซร้ อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เราพึงก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ เสียโดยประการทั้งปวง เข้าถึงเนวสัญญานา สัญญายตนะแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้แล้วไซร้
อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
หน้า 67


13-3
เป็นเหตุให้ได้สัญญาเวทยิตนิโรธ


ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงก้าวล่วงซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะ เสียได้โดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้
อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.


13-4
รู้ต่อเวทนาทุกประการ

         ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุ เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อยู่อย่างนี้ ถ้าภิกษุนั้นเสวยเวทนาอันเป็นสุข เธอย่อมรู้ตัวว่า เวทนานั้น ไม่เที่ยง เธอย่อมรู้ตัว ว่าเวทนานั้นอันเราไม่สยบมัวเมาแล้ว ย่อมรู้ตัวว่า เวทนานั้น อันเราไม่เพลิดเพลิน เฉพาะแล้ว ดังนี้.

         ถ้าภิกษุนั้นเสวย เวทนาอัน เป็นทุกข์ เธอย่อมรู้ตัวว่า เวทนานั้นไม่เที่ยง เธอ ย่อมรู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเราไม่สยบมัวเมาแล้ว ย่อมรู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเราไม่ เพลิด เพลินเฉพาะแล้ว ดังนี้.

         ถ้าภิกษุนั้นเสวย เวทนาอัน ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์เธอย่อมรู้ตัวว่า เวทนานั้น ไม่เที่ยง เธอย่อมรู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเรา ไม่สยบมัวเมาแล้ว ย่อมรู้ตัวว่า เวทนา นั้นอันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว ดังนี้.

         ภิกษุนั้น ถ้าเสวย เวทนาอันเป็นสุข ก็เป็นผู้ไม่ติดใจพัวพันเสวยเวทนานั้น;
ถ้าเสวย เวทนาอันเป็นทุกข์ก็เป็นผู้ไม่ติดใจพัวพันเสวยเวทนานั้น ถ้าเสวยเวทนา อันเป็น อทุก ขมสุข ก็เป็นผู้ไม่ติดใจพัวพันเสวยเวทนานั้น.

         ภิกษุนั้น เมื่อเสวย เวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา อันมี กายเป็น ที่สุดรอบ

         เมื่อเสวย เวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ชัด ว่าเราเสวยเวทนา อันมีชีวิต เป็นที่สุดรอบ เธอย่อม รู้ชัดว่าเวทนาทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของดับเย็น ใน อัตตภาพ นี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึง ที่สุดรอบแห่งชีวิตเพราะ การแตกทำลายแห่ง กาย ดังนี้.
หน้า 69
         ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน ได้อาศัยน้ำมันและไส้แล้ว ก็ลุกโพลง อยู่ได้ เมื่อขาดปัจจัยเครื่องหล่อเลี้ยง เพราะขาดน้ำมันและไส้ นั้นแล้ว ย่อมดับลง นี้ฉันใด

         ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น คือภิกษุเมื่อเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุด รอบ, ก็รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ดังนี้. เมื่อเสวยเวทนา อันมีชีวิต เป็นที่สุดรอบ ก็รู้ชัด ว่าเราเสวยเวทนาอัน มีชีวิตที่สุดรอบดังนี้ (เป็นอันว่า)

         ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของ ดับเย็น ในอัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึง ที่สุด รอบแห่งชีวิต เพราะการแตก ทำลายแห่งกาย ดังนี้.

หน้า 71
๑๔
แบบการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก

(แบบที่สอง)

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์ มาก ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว อย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ
         ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอานาปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ (ความจางคลาย) อาศัยนิโรธ (ความดับ) น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละลง)

         ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอานาปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

         ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ อันประกอบ ด้วยอานาปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

         ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอานาปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

         ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอานาปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ

         ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอานาปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ

         ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอานาปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

หน้า 73
๑๕
เจริญอานาปานสติ มีอานิสงส์เป็นเอนกประการ

(อีกสูตรหนึ่ง)

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว อย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย อานา ปานสติ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ (ความจางคลาย) อาศัยนิโรธ (ความดับ) น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ (ความสละลง) (แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนในหน้า ๗๑–๗๒ ทุกประการ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก
หน้า74
ได้บรรลุมรรคผลในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือ เมื่อยังมีความยึดถือ เหลืออยู่ย่อมเป็น พระอนาคามี

ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อ ยังมีความยึดถือเหลืออยู่ ย่อมเป็นพระอนาคามี ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอานา ปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธน้อมไป ในการ สละ;(แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนในหน้า ๗๑–๗๒ทุกประการ).

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ แล พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตต ผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี ความยึดถือเหลืออยู่ ย่อมเป็นพระอนาคามี.

เพื่อประโยชน์มาก
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์มาก(มหโต อตฺถาย) ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ แล้วอย่างไรกระทำให้มาก แล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอานาปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ (แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนในหน้า ๗๑–๗๒ทุกประการ).

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก.

หน้า 76
เพื่อความเกษมจากโยคะมาก

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ แล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อ ความเกษมจากโยคะมาก (มหโต โยคกฺเขมาย) ก็อานาปานสติ อันบุคคล เจริญแล้ว อย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเกษมจาก โยคะมาก ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย อานา ปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไป ในการสละ (แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนในหน้า ๗๑–๗๒ทุกประการ).

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะมาก.
หน้า77
เพื่อความสังเวชมาก

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อ ความสังเวชมาก (มหโต สํเวคาย) ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำ ให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย อานา ปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป ในการสละ; (แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนในหน้า ๗๑–๗๒ทุกประการ).

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่าง นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก.
หน้า78
เพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่ออยู่ เป็นผาสุกมาก(มหโต ผาสุวิหาราย) ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างไร กระทำ ให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย อานา ปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธน้อมไป ในการ สละ (แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนในหน้า๗๑–๗๒ทุกประการ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่าง นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก.
หน้า79
ภิกษุทั้งหลาย ! แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีนหลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปรา จีน ฉันใด ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ ก็ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่ นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน ก็ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่ง โพชฌงค์ ๗ อย่างไรย่อมเป็นผู้น้อม ไป สู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่ นิพพาน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้

         ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

         ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอันอาศัยวิราคะ อันอาศัย นิโรธ น้อมไปในการสละ

         ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอันอาศัยวิราคะ อันอาศัย นิโรธ น้อมไปในการสละ

         ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

         ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอันอาศัยวิราคะ อันอาศัย นิโรธ น้อมไปในการสละ

         ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอันอาศัยวิราคะ อันอาศัย นิโรธ น้อมไปในการสละ

         ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอันอาศัยวิราคะ อันอาศัย นิโรธ น้อมไปในการสละ

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน


หน้า81
๑๖
เจริญอานาปานสติ ชื่อว่าไม่เหินห่างจากฌาน


ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุ เจริญอานาปานสติ แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ ภิกษุนี้เรา กล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตาม โอวาทไม่ฉัน บิณฑบาต ของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะป่วยกล่าวไปไย ถึงผู้กระทำ ให้มากซึ่งอานาปาน สตินั้นเล่า.


๑๗
อานาปานสติ : เป็นสุขวิหาร ระงับได้ซึ่งอกุศล


(ทรงปรารภเหตุที่ ภิกษุทั้งหลายได้ฆ่าตัวตายบ้างฆ่ากันและกันบ้าง เนื่องจากเกิด ความ อึดอัดระอา เกลียดกายของตน เพราะการปฏิบัติอสุภภาวนา จึงได้ทรงแสดง อานาปานสติ สมาธิแก่ภิกษุเหล่านั้น)

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธินี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นของรำงับเป็นของประณีต เป็นของเย็น เป็นสุขวิหาร และย่อม ยังอกุศล ธรรมอันเป็นบาป อันเกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้วให้อันตรธานไป ให้รำงับไป โดยควรแก่ฐานะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนฝุ่นธุลีฟุ้งขึ้นแห่งเดือนสุดท้ายของฤดูร้อน ฝนหนักที่ผิดฤดูตกลงมาย่อมทำฝุ่นธุลีเหล่านั้นให้อันตรธานไป ให้รำงับ ไปได้โดยควรแก่ฐานะ ข้อนี้ฉันใด
หน้า 84
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ก็เป็นของ ระงับ เป็นของประณีตเป็นของเย็น เป็นสุขวิหาร และย่อมยัง อกุศลธรรมอันเป็น บาป ที่เกิดขึ้นแล้วและเกิดขึ้นแล้ว1 ให้อันตรธานไปให้รำงับไปได้ โดยควรแก่ ฐานะได้ ฉันนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างไร เล่า ? ที่เป็นของรำงับเป็นของประณีต เป็นของเย็น เป็นสุขวิหาร และย่อมยัง อกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้วให้อันตรธานไปให้รำงับ ไปได้ โดยควรแก่ฐานะได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ตามไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตาม ไปแล้วสู่ เรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น ภิกษุนั้นมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
(แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนในหน้า ๑–๔ทุกประการ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ด้วย อาการอย่างนี้ ย่อมเป็นของรำงับ เป็นของประณีต เป็นของเย็น เป็นสุขวิหาร และย่อมยังอกุศลธรรมอันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้วและเกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไป ให้รำงับไปได้โดยควรแก่ฐานะ ดังนี้ แล

หน้า86
๑๘
อานาปานสติ : สามารถกำจัดบาปอกุศลได้ทุกทิศทาง


อานนท์ ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ก็อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้ มากแล้ว อย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?

อานนท์ ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามา โดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
(แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนในหน้า ๑–๔ ทุกประการ).
หน้า 87
อานนท์ ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.

อานนท์ ! สมัยใด ภิกษุ
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้ทำ กายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับหายใจออก

อานนท์ ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ เป็นผู้มีความ เพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

อานนท์ ! เราย่อมกล่าวลมหายใจเข้าและลม หายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกาย ทั้งหลาย.

อานนท์ ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกาย อยู่เป็น ประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลก ออกเสียได้.

อานนท์ ! สมัยใด ภิกษุ ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติหายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุขหายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่ง จิตตสังขาร หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่ง จิตตสังขาร หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำ จิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำ จิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก
หน้า89
อานนท์ ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลสมีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสีย ได้

อานนท์ ! เราย่อมกล่าวว่าการทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจ ออก ว่าเป็น เวทนาอัน หนึ่ง ๆในเวทนาทั้งหลาย.

อานนท์ ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนา ทั้งหลาย อยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ โทมนัสในโลก ออกเสียได้.

อานนท์ ! สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตหายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งหายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิต ให้ตั้ง มั่นหายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้ทำจิตให้ ปล่อยอยู่ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก

อานนท์ ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสตินำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกออก เสียได้

อานนท์ ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ. อานนท์ ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิต ในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลสมีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ โทมนัสในโลกออกเสียได้.

อานนท์ ! สมัยใด ภิกษุ เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความ ไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก

อานนท์ ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็น ประจำ มีความเพียรเผากิเลสมีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ โทมนัส ในโลกออกเสียได้

อานนท์ ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละ อภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา

อานนท์ ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
         เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
         มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
         นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

อานนท์ ! เปรียบเหมือนกองฝุ่นใหญ่มีอยู่ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง
         ถ้าเกวียนหรือรถมาจากทิศตะวันออก ก็บดขยี้กองฝุ่นนั้น
         ถ้าเกวียนหรือรถมาจากทางทิศตะวันตก ก็บดขยี้กองฝุ่นนั้น
         ถ้าเกวียนหรือรถมาจากทางทิศเหนือ ก็บดขยี้กองฝุ่นนั้น
         ถ้าเกวียนหรือรถมาจากทางทิศใต้ ก็บดขยี้กองฝุ่นนั้น นี้ฉันใด

อานนท์ !เมื่อบุคคลมีปกติ เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
         ย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมทั้งหลายโดยแท้

         เมื่อบุคคลมีปกติ เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ
         ย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมทั้งหลายโดยแท้

         เมื่อบุคคลมีปกติ เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
         ย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมทั้งหลายโดยแท้

         เมื่อบุคคลมีปกติ เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
         ย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมทั้งหลายโดยแท้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

หน้า 93
๑๙
อานาปานสติ : ละได้เสียซึ่งความฟุ้งซ่าน


ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๓ ประการนี้ ๓ ประการ อย่างไรเล่า คือ
         ความเป็นผู้ว่ายาก ๑
         ความเป็นผู้มี มิตรชั่ว ๑
         ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ๑.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แลธรรม ๓ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๓ ประการ อันภิกษุพึงทำให้เจริญเพื่อละธรรม ๓ ประการ เหล่านี้ ๓ ประการ อย่างไรเล่า ? คือ
         (๑) ความเป็นผู้ว่าง่าย อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละความเป็นผู้ว่ายาก
         (๒) ความเป็นผู้มีมิตรดี อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละความเป็นผู้มีมิตรชั่ว
         (๓) อานาปานสติ อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละความฟุ้งซ่านแห่งจิต.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แลธรรม ๓ ประการ อันภิกษุพึงทำให้เจริญ เพื่อละธรรม ๓ ประการเหล่านั้น.

หน้า 95
๒๐
อานาปานสติ : ละเสียได้ซึ่งความคับแค้น


ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย
         (๑) จงเป็นผู้พิจารณาเห็นอารมณ์ว่าไม่งามในกายอยู่
         (๒) จงเข้าไปตั้งอานาปานสติไว้เฉพาะหน้าในภายใน
         (๓) จงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่เถิด.
ภิกษุทั้งหลาย !
         (๑) เมื่อเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นอารมณ์ว่า ไม่งามในกายอยู่ ย่อมละราคา นุสัยในเพราะความเป็นธาตุงามได้
         (๒) เมื่อเธอทั้งหลายเข้าไปตั้งอานาปานสติไว้เฉพาะหน้าในภายในธรรม เป็นที่มานอนแห่งวิตกทั้งหลาย (มิจฉาวิตก) ในภายนอก อันเป็นไปในฝักฝ่ายแห่ง ความ คับแค้น ย่อมไม่มี
         (๓) เมื่อเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น

ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอารมณ์ว่าไม่งามในกายมีสติเฉพาะในลมหายใจ มีความเพียร ทุกเมื่อ พิจารณาเห็นซึ่งนิพพาน อันเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง

ภิกษุนั้น แลผู้เห็นโดยชอบ พยายามอยู่ ย่อมน้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่ระงับ แห่งสังขารทั้งปวง ภิกษุนั้นแลผู้อยู่จบอภิญญา สงบระงับล่วงโยคะเสียได้ แล้วชื่อ ว่าเป็นมุนี.

หน้า 97
๒๑
อานาปานสติ : วิหารธรรมของพระอริยเจ้า


ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าพวกปริพาชกเดียรถีย์ลัทธิอื่นจะพึงถามเธอทั้งหลาย อย่างนี้ว่า
ท่านมีผู้มีอายุ ! พระสมณโคดม ทรงอยู่จำพรรษาส่วนมาก ด้วยวิหารธรรมไหนเล่า ? ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบแก่พวกปริพาชกเดียรถีย์ ลัทธิอื่นเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ! พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอยู่ตลอด พรรษากาลเป็นอันมาก ด้วยวิหารธรรม คือ อานาปานสติสมาธิ แล ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ เราเป็นผู้มีสติ หายใจเข้า มีสติหายใจออก
         เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
         เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
         เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
         เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
(แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนในหน้า ๑–๔ ทุกประการ).

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใครผู้ใดจะกล่าวสิ่งใดให้ถูกต้องชอบธรรม ว่าเป็นอริยวิหารก็ดี ว่าเป็นพรหม วิหารก็ดี ว่าเป็นตถาคตวิหารก็ดี เขาพึงกล่าวอานาปานสติสมาธิ นี้แหละ ว่าเป็น อริยวิหาร ว่าเป็น พรหมวิหาร ว่าเป็นตถาคตวิหาร.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเหล่าใดยังเป็นเสขะ ยังไม่ลุถึง ธรรมที่ต้องประสงค์แห่งใจ ปรารถนาอยู่ซึ่ง โยคเขมธรรม อันไม่มีอะไรยิ่งกว่า ภิกษุเหล่านั้น เมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ซึ่งอานาปานสติ สมาธิ ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย.

ส่วนภิกษุทั้งหลายเหล่าใด เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว มีสิ่งที่ต้องทำอัน ตนทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันลุถึงแล้ว มีสัญโญชน์ในภพทั้งหลายสิ้น รอบแล้วเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
หน้า 99
ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อเจริญทำให้มากแล้วซึ่งอานาปานสติสมาธิ ย่อมเป็นสุข วิหารใน ทิฏฐธรรมนี้ด้วย เพื่อความสมบูรณ์แห่งสติสัมปชัญญะด้วย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉะนั้น เมื่อใครจะกล่าวสิ่งใดให้ถูกต้องชอบธรรม ว่าเป็นอริยวิหาร ก็ดี ว่าเป็นพรหม วิหารก็ดี ว่าเป็นตถาคตวิหารก็ดีเขาพึงกล่าว อานาปานสติสมาธิ นี้แหละ ว่าเป็น อริยวิหาร ว่าเป็น พรหมวิหาร ว่าเป็นตถาคตวิหาร ดังนี้.

หน้า 100
๒๒
เจริญอานาปานสติ : ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายและจิตย่อมมีขึ้นไม่ได้


ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทอดพระเนตรเห็นพระมหากัปปินะ ผู้มีกายไม่โยก โคลง แล้วได้ตรัส แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอเห็นความ หวั่นไหว หรือความโยกโคลงแห่งกาย ของมหากัปปินะบ้างหรือไม่ ?

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เวลาใดที่ข้าพระองค์ทั้งหลาย เห็นท่านผู้มีอายุนั่งใน ท่ามกลางสงฆ์ก็ดี นั่งในที่ลับคนเดียวก็ดีในเวลานั้นๆ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่ได้ เห็นความหวั่นไหว หรือความโยก โคลงแห่งกายของท่านผู้มีอายุรูปนั้นเลย พระเจ้าข้า !

ภิกษุทั้งหลาย ! ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลง แห่งจิตก็ตาม มีขึ้นไม่ได้เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิใด ภิกษุมหากัปปินะ นั้นเป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งสมาธินั้น.
หน้า 101
ภิกษุทั้งหลาย ! ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลง แห่งจิตก็ตาม มีขึ้นไม่ได้เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิเหล่าไหนเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลง แห่งจิตก็ตาม ย่อมมีไม่ได้เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันบุคคล เจริญ ทำให้มากแล้ว อย่างไร เล่า ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลง แห่งจิตก็ ตามจึงไม่มี ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า
เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
(แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนในหน้า ๑–๔ทุกประการ).
หน้า 102
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ความหวั่นไหว โยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหว โยก โคลงแห่งจิตก็ตามย่อมมีไม่ได้ ดังนี้.

หน้า 103
๒๓
เจริญอานาปานสติ เป็นเหตุให้รู้ลมหายใจ อันมีเป็นครั้งสุดท้ายก่อนเสียชีวิต


ราหุล ! เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิดเพราะอานาปานสติที่บุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ แล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว อย่างไร จึงมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่ ?

ราหุล ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือ เรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามา โดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า
เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
(แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนในหน้า ๑–๔ทุกประการ).

ราหุล ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผล ใหญ่ มีอานิสงส์ ใหญ่. ราหุล ! เมื่อบุคคลเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอานาปานสติ อย่างนี้แล้ว ลมอัสสาสะ (ลมหายใจ เข้า) ปัสสาสะ (ลมหายใจออก) อันจะมีเป็น ครั้งสุดท้าย เมื่อจะดับจิตนั้นจะเป็นสิ่งที่เขารู้แจ้ง แล้วดับไป หาใช่เป็นสิ่งที่เขาไม่รู้ แจ้งไม่  ดังนี้.


หน้า 105

๒๔
ธรรมเป็นเครื่องถอนอัส๎มิมานะในปัจจุบัน


ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นสิ่งที่หวังได้ สำหรับภิกษุผู้มีมิตรดี (กลฺยาณมิตฺต) มีสหายดี (กลฺยาณสหาย) มีพวกพ้องดี (กลฺยาณสมฺปวงฺก) คือ จักเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วย การสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วย มารยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษ ทั้งหลาย แม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขา บททั้งหลายอยู่;

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นสิ่งที่หวังได้ สำหรับภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี; กล่าวคือ กถาเป็นเครื่องขูดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นธรรมเครื่องสบายแก่การเปิด โล่งแห่งจิต ได้แก่
         อัปปิจฉกถา (เรื่องปรารถนาน้อย)
         สันตุฏฐิกถา (เรื่องสันโดษ)
         ปวิเวกกถา (เรื่องความสงัด)
         อสังสัคคกถา (เรื่องไม่คลุกคลี)
         วิริยารัมภกถา (เรื่องมีความเพียร)
         สีลกถา (เรื่องศีล)
         สมาธิกถา (เรื่องสมาธิ)
         ปัญญากถา (เรื่องปัญญา)
หน้า 106

วิมุตติกถา (เรื่องวิมุตติ)
วิมุตติญาณทัสสนกถา (เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ)

เธอ จักเป็นผู้ได้โดยง่าย ได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก ซึ่งกถาเช่นนี้ ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นสิ่งที่ หวังได้ สำหรับภิกษุ ผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี กล่าวคือ จักเป็นผู้มีความเพียร อันปรารภ แล้ว เพื่อการละซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อการถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย มีกำลัง (จิต) มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นสิ่งที่หวังได้ สำหรับภิกษุ ผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี กล่าวคือ จักเป็น ผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องให้รู้ซึ่ง ความเกิดและ ความดับ (อุทยตฺถคามินี) อันเป็นปัญญา ที่เป็นอริยะเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส ให้ถึงซึ่งความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
หน้า107
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล้ว พึงเจริญธรรม ๔ ประการให้ยิ่งขึ้นไป คือ
         เจริญ อสุภะ เพื่อ ละ ราคะ
         เจริญ เมตตา เพื่อ ละ พยาบาท
         เจริญ อานาปานสติ เพื่อ ตัดเสียซึ่ง วิตก
         เจริญ อนิจจสัญญา เพื่อ ถอน อัส๎มิมานะ

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุมีอนิจจสัญญา อนัตตสัญญา ย่อมตั้งมั่น ผู้มีอนัตตสัญญา ย่อมถึงการ ถอนเสียได้ซึ่งอัส๎มิมานะ คือ นิพพาน ในทิฏฐธรรมเทียว.


หน้า 109
๒๕
วิธีการบ่มวิมุตติให้ถึงที่สุด


เมฆิยะ ! ธรรมทั้งหลาย ๕ ประการ เป็นไปเพื่อความสุกรอบ (ปริปาก) ของเจโต วิมุตติที่ยังไม่สุกรอบ.

๕ ประการอย่างไรเล่า ? ๕ ประการคือ
         ๑. เมฆิยะ ! ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดีมีสหายดี มีเพื่อนดี เมฆิยะ ! นี้เป็นธรรมข้อที่หนึ่งเป็นไปเพื่อความสุกรอบของเจโตวิมุตติที่ยังไม่สุกรอบ.

         ๒. เมฆิยะ ! ข้ออื่นยังมีอีก คือภิกษุเป็นผู้มีศีลสำรวมแล้ว ด้วยการสำรวม ในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้มีประมาณน้อย สมาทานอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เมฆิยะ ! นี้เป็นธรรมข้อ ที่สอง เป็นไปเพื่อความสุกรอบ ของเจโตวิมุตติที่ยังไม่สุกรอบ.

         ๓. เมฆิยะ ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ ภิกษุเป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งธรรมกถาอันเป็นเครื่องขูดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การ เปิดโล่งแห่งจิต ได้แก่
         อัปปิจฉกถา (เรื่องปรารถนาน้อย)
         สันตุฏฐิกถา (เรื่องสันโดษ)
         ปวิเวกกถา (เรื่องความสงัด)
         อสังสัคคกถา (เรื่องไม่คลุกคลี)
         วิริยารัมภกถา (เร่อื งมีความเพียร)
         สีลกถา (เรื่องศีล)
         สมาธิกถา (เรื่องสมาธิ)
         ปัญญากถา (เรื่องปัญญา)
         วิมุตติกถา (เรื่องวิมุตติ)
         วิมุตติญาณทัสสนกถา (เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ)
         เมฆิยะ ! นี้เป็นธรรมข้อที่สามเป็นไปเพื่อความสุกรอบของ เจโตวิมุตติ ที่ยังไม่สุกรอบ.

         ๔. เมฆิยะ ! ข้ออื่นยังมีอีก คือภิกษุเป็นผู้มีความเพียร อันปรารภแล้ว เพื่อละอกุศล ธรรม ทั้งหลายเพื่อยังกุศลธรรมทั้งหลายให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระ ในกุศลธรรมทั้งหลาย
เมฆิยะ ! นี้เป็นธรรม ข้อที่สี่ เป็นไปเพื่อความสุกรอบ ของเจโตวิมุตติ ที่ยังไม่สุกรอบ

         ๕. เมฆิยะ ! ข้ออื่นยังมีอีก คือภิกษุเป็นผู้มี ปัญญา ประกอบด้วยปัญญา เป็นเครื่อง ถึงธรรม สัจจะแห่งการตั้งขึ้นและการตั้งอยู่ไม่ได้ อันเป็นอริยะ เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึง ความสิ้นทุกข์ โดยชอบ
เมฆิยะ! นี้เป็นธรรมข้อที่ห้า เป็นไปเพื่อความสุกรอบแห่ง เจโตวิมุตติ ที่ยังไม่สุกรอบ.
หน้า 111

เมฆิยะ ! เมื่อภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี สหายดี เพื่อนดี ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่เธอพึง หวังได้ คือจักเป็น ผู้มีศีล ฯลฯ จักได้โดยง่ายซึ่งธรรมกถา ฯลฯ จักเป็นผู้ปรารภความ เพียรฯลฯ จักเป็นผู้มี ปัญญา ฯลฯ.
เมฆิยะ ! ภิกษุนั้น ตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล้ว พึงเจริญธรรม ๔ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป คือ
         ๑. เจริญ อสุภะ เพื่อ ละราคะ
         ๒. เจริญ เมตตา เพื่อ ละพยาบาท
         ๓. เจริญ อานาปานสติ เพื่อ ตัดเสียซึ่งวิตก
         ๔. เจริญ อนิจจสัญญา เพื่อ ถอนอัส๎มิมานะ
กล่าวคือ เมื่อเจริญอนิจจสัญญา อนัตตสัญญา ย่อมมั่นคง. ผู้มีอนัตตสัญญา ย่อมถึงซึ่งการ ถอน อัส๎มิมานะ  คือนิพพาน ในทิฏฐธรรม นั่นเทียว.


หน้า 112
๒๖
สัญญา ๑๐ ประการ ในฐานะแห่งการรักษาโรค ด้วยอำนาจสมาธิ


อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์แล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่เธอ แล้ว ข้อนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้คือภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญา สิบประการแล้ว อาพาธ อันเป็นทุกข์หนักของ เธอ ก็จะระงับไปโดยควรแก่ฐานะ

สัญญา ๑๐ ประการ นั้นคือ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา นิโรธสญัญา สัพพโลเกอนภิรตสัญญา สัพพสังขาเรสุ อนิจจสัญญา อานาปานสติ.

อานนท์ ! อนิจจสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่ โดยประจักษ์อย่างนี้ ว่ารูป ไม่เที่ยง เวทนา ไม่เที่ยง สัญญา ไม่เที่ยง สังขาร ไม่เที่ยง วิญญาณ ไม่เที่ยง ดังนี้ เป็นผู้เห็นซึ่งความความไม่มี ในอปุาทานขันธ์ ทั้งห้าเหล่านี้อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า อนิจจสัญญา.
หน้า 113
อานนท์ ! อนัตตสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดย ประจักษ์อย่างนี้ ว่า ตา เป็นอนัตตา รูป เป็นอนัตตา หู เป็นอนัตตา เสียงเป็น อนัตตา จมูก เป็นอนัตตา กลิ่น เป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รส เป็นอนัตตา กาย เป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็น อนัตตา ใจ เป็น อนัตตา ธรรมารมณ์ เป็น อนัตตา ดังนี้ เป็นผู้เห็นซึ่งความเป็นอนัตตา ในอายตนะทั้ง ภายในและภายนอกหก เหล่านี้อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา.

อานนท์ ! อสุภสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้เห็น โดยประจักษ์ซึ่งกาย นี้นี่แหละ แต่พื้นเท้าขึ้น ไปถึงเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาถึงเบื้องล่าง ว่า มีหนังหุ้มอยู่โดย รอบ เต็มไปด้วย ของไม่สะอาดมีประการต่างๆ คือกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ ลำไส้สุด อาหารในกระเพาะ อุจจาระ น้ำดี เสลด หนอง โลหิต เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำเมือก น้ำลื่นหล่อ น้ำมูตร เป็นผู้เห็นความไม่งามในกายนี้อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า อสุภสัญญา
หน้า 114
อานนท์ ! อาทีนวสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดย ประจักษ์อย่างนี้ ว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก คือในกายนี้มีอาพาธต่างๆ เกิดขึ้น กล่าวคือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคที่ศีรษะ โรคที่หู โรคที่ปาก โรคที่ฟัน โรคไอ โรคหืด ไข้หวัดไข้มีพิษร้อน ไข้เซื่องซึม โรคกระเพาะ โรคลมสลบ ลงแดงจุกเสียด เจ็บเสียว โรคเรื้อรัง โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน คุดทะราด โรคละอองโรคโลหิต โรคดีซ่าน เบาหวาน โรคเริม โรคพุพองริดสีดวงทวาร อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมี เสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน ไข้สันนิบาต ไข้เพราะฤดู แปรปรวน ไข้เพราะบรหิ ารกายไม่สม่ำเสมอ ไข้เพราะออกกำลังเกิน ไข้เพราะวิบากกรรม ความไม่สบายเพราะความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย การถ่ายอุจจาระ การถ่ายปัสสาวะ ดังนี้ เป็นผู้เห็นโทษในกายนี้อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า อาทีนวสัญญา
หน้า 115
อานนท์ ! ปหานสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไม่ยอมรับไว้ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป ไม่ยอมรับไว้ซึ่งพย๎าปาท วิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป ไม่ยอมรับไว้ซึ่งวิหิงสาวิตก ที่เกิดขึ้น แล้ว ย่อมละย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง อกุศล ธรรม ทั้งหลายอันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี อีก ต่อไป นี้เรียกว่าปหานสัญญา.

อานนท์ ! วิราคสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดย ประจักษ์ อย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่น ประณีต กล่าวคือ ธรรมชาติ อันเป็นที่ระงับแห่ง สังขารทั้ง ปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวงเป็น ที่สิ้นไปแห่ง ตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เย็น ดังนี้ นี้เรียกว่า วิราคสัญญา
หน้า 116
อานนท์ ! นิโรธสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดย ประจักษ์ อย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่น ประณีต กล่าวคือ ธรรมชาติ อันเป็นที่ระงับแห่ง สังขารทั้ง ปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวงเป็นที่สิ้นไป แห่งตัณหา เป็นความดับ เป็นความดับ เย็น ดังนี้ นี้เรียกว่า นิโรธสัญญา

อานนท์ ! สัพพโลเกอนภิรตสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้อนุสัย (ความเคยชิน) ในการตั้งทับ ในการฝังตัวเข้าไป ยึดมั่นแห่งจิต ด้วยตัณหาอุปาทานใดๆ ในโลก มีอยู่, เธอละอยู่ซึ่งอนุสัยนั้นๆ งดเว้นไม่เข้าไปยึดถืออยู่ นี้เรียกว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญา (ความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าเป็นสิ่งไม่น่ายินดี)

อานนท์ ! สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชัง ต่อสังขารทั้งหลาย ทั้งปวง นี้เรียกว่า สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง)
117
อานนท์ ! อานาปานสติ เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า สู่โคนไม้หรือสู่เรือนว่าง ก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามา โดยรอบ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก. เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเรา หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก
118
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็น ผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รูพร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็น ผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นหายใจออก
119
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก นี้เรียกว่า อานาปานสติ.
120
อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญาสิบประการเหล่านี้ แก่เธอแล้ว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการ แล้วอาพาธ อันเป็นทุกข์หนัก ของเธอก็จะระงับไป โดยควรแก่ฐานะ.

ลำดับนั้นแล ท่านอานนท์จำเอาสัญญาสิบประการเหล่านี้ ในสำนักของพระผู้มี พระภาคเจ้า แล้ว เข้าไปหาท่านคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญาสิบประการแก่ท่าน เมื่อท่านคิริมานนท์ ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธก็ระงับไปโดยฐานะอันควร. ท่านคิริมานนท์หายแล้วจาก อาพาธ และอาพาธก็เป็นเสมือนละไปแล้วด้วย แล.


124
๒๗
ธรรมเป็นอุปการะเฉพาะแก่อานาปานสติภาวนา

(นัยที่หนึ่ง)

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้มุ่งประพฤติ กระทำอานาปานสติซึ่งประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมแทงตลอดอกุปปธรรม (ผู้มีธรรมไม่กำเริบ) ได้ต่อกาลไม่นานเทียว.

๕ ประการอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ๕ ประการคือ ในกรณีนี้ ภิกษุ
         ๑. เป็นผู้มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่ายสันโดษในบริกขาร แห่งชีวิต;
         ๒. เป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบตนอยู่ในความเป็นผู้มีท้องอันพร่อง
         ๓. เป็นผู้ไม่มีความมึนชา ประกอบตนอยู่ในความตื่น
         ๔. เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ คือธรรมเหล่าใดอันงดงาม ในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลางงดงามในที่สุด แสดงอยู่ซึ่งพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง พร้อมทั้ง อรรถะและพยัญชนะ ธรรมมีลักษณะเห็นปานนั้น เป็น ธรรมที่เธอสดับแล้วมาก ทรงจำไว้ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ
         ๕. พิจารณาเห็นเฉพาะอยู่ซึ่งจิต อันหลดุ พ้นแล้ว(ตามลำดับ) อย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้มุ่งประพฤติกระทำ อานาปานสติซึ่งประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แลย่อมแทงตลอดอกุปปธรรม ได้ต่อกาลไม่นานเทียว
126
(นัยที่สอง)

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้เจริญอานาปานสติ ซึ่งประกอบด้วยธรรม๕ ประการ ย่อมแทงตลอดอกุปปธรรม ได้ต่อกาลไม่นานเทียว

๕ ประการอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ๕ ประการ คือ ในกรณีนี้ ภิกษุ
         ๑. เป็นผู้มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่ายสันโดษในบริกขารแห่งชีวิต
         ๒. เป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบตนอยู่ในความเป็นผู้มีท้องอันพร่อง
         ๓. เป็นผู้ไม่มีความมึนชา ประกอบตนอยู่ในความตื่น
         ๔. เป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งกถาอันเป็นไป เพื่อการขูดเกลากิเลส เป็นที่สบายแก่ธรรมเครื่องเปิดโล่งแห่งจิต คือ
         อัปปิจฉกถา (เรื่องปรารถนาน้อย)
         สันตุฏฐิกถา (เรื่องสันโดษ)
         ปวิเวกกถา (เรื่องความสงัด)
         อสังสัคคกถา (เรื่องไม่คลุกคลี)
         วิริยารัมภกถา (เรื่องมีความเพียร)
         สีลกถา (เรื่องศีล)
         สมาธิกถา (เรื่องสมาธิ)
         ปัญญากถา (เรื่องปัญญา)
         วิมุตติกถา (เรื่องวิมุตติ)
         วิมุตติญาณทัสสนกถา (เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ)
๕. พิจารณาเห็นเฉพาะอยู่ซึ่งจิตอันหลุดพ้นแล้ว(ตามลำดับ) อย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้เจริญอานาปานสติ ซึ่ง ประกอบด้วยธรรม๕ ประการ เหล่านี้แล ย่อมแทงตลอด อกุปปธรรม ได้ต่อกาลไม่นานเทียว
128
(นัยที่สาม)

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้กระทำให้มากซึ่ง อานาปานสติซึ่งประกอบด้วย ธรรม ๕ ประการย่อมแทงตลอดอกุปปธรรม ได้ต่อกาลไม่นานเทียว

๕ ประการอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ๕ ประการ คือ ในกรณีนี้ ภิกษุ
๑. เป็นผู้มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่ายสันโดษในบริกขารแห่งชีวิต
๒. เป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบตนอยู่ในความเป็นผู้มีท้องอันพร่อง
๓. เป็นผู้ไม่มีความมึนชา ประกอบตนอยู่ในความตื่น
๔. เป็นผู้อยู่ป่า มีเสนาสนะอันสงัด
๕. พิจารณาเห็นเฉพาะอยู่ซึ่งจิตอันหลุดพ้นแล้ว (ตามลำดับ) อย่างไร
129
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้กระทำให้มากซึ่ง อานาปานสติซึ่งประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมแทงตลอด อกุปปธรรม ได้ต่อกาลไม่นานเทียว


130
๒๘
นิวรณ์เป็นเครื่องทำกระแสจิต ไม่ให้รวมกำลัง

ภิกษุทั้งหลาย ! นิวรณ์เป็นเครื่องกางกั้น ๕ อย่างเหล่านี้ ท่วมทับจิตแล้วทำ ปัญญาให้ถอยกำลัง มีอยู่

๕ อย่าง อย่างไรเล่า ? ๕ อย่าง คือ
๑. นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
๒. นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ พยาบาท ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
๓. นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ ถีนมิทธะ (ความง่วงเหงาซึมเซา) ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
๔. นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและรำคาญ) ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
๕. นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา (ความลังเล สงสัย) ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญา ให้ถอยกำลัง.
132
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต ๕ อย่างเหล่านี้ แล้ว จักรู้ซึ่งประโยชน์ตนหรือประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสอง ฝ่าย หรือจัก กระทำ ให้แจ้งซึ่ง ญาณทัสสนะ อันวิเศษอันควรแก่ความ เป็นอริยะ ยิ่งกว่า ธรรมดาแห่ง มนุษย์ ด้วยปัญญา อันทุพพลภาพ ไร้กำลัง ดังนี้ นั่นไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา ไหลไปสู่ที่ไกล มีกระแส เชี่ยว พัดพาสิ่งต่างๆไปได้ มีบุรุษมาเปิดช่องทั้งหลายที่เขาขุดขึ้น ด้วยเครื่องไถ ทั้งสองฝั่ง แม่น้ำนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสกลางแม่น้ำนั้นก็ซัดส่าย ไหลผิดทาง ไม่ไหลไปสู่ที่ไกล ไม่มีกระแสเชี่ยวไม่พัดสิ่งต่างๆ ไปได้ นี้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ภิกษุที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต ๕ อย่างเหล่านี้แล้วจักรู้ซึ่งประโยชน์ตน หรือประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักกระทำให้แจ้ง ซึ่งญาณ ทัสสนะอันวิเศษ อันควรแก่ความเป็น อริยะ ยิ่งกว่าธรรมดา

แห่งมนษุย์ ด้วยปัญญาอันทุพพลภาพไร้กำลัง ดังนี้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
[ต่อไปนี้ ได้ตรัสโดยปฏิปักขนัย (นัยตรงข้าม) คือภิกษละนิวรณ์แล้ว ทำญาณ วิเศษให้แจ้งได้ด้วยปัญญา อันมีกำลังเหมือนแม่น้ำที่เขาอุดรูรั่วทั้งสองฝั่งเสียแล้ว มีกระแสเชี่ยวแรงมากฉะนั้น]


133
๒๙
นิวรณ์–ข้าศึกแห่งสมาธิ


วาเสฏฐะ ! เปรียบเหมือนแม่น้ำ อจิรวดี นี้ มีน้ำเต็มเปี่ยม กายืนดื่มได้. ครั้งนั้นมี บุรุษคนหนึ่ง มาถึงเข้าเขามีประโยชน์ที่ฝั่งโน้น แสวงหาฝั่งโน้น มีการไปสู่ฝั่งโน้น ประสงค์จะข้ามไปสู่ฝั่งโน้น แต่เขานอนคลุมศีรษะของตนอยู่ที่ริมฝั่งนี้
วาเสฏฐะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะไปจากฝั่งใน สู่ฝั่งนอก แห่งแม่น้ำอจิรวดีได้หรือหนอ ?

ไม่ได้แน่ ท่านพระโคดม !

วาเสฏฐะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน นิวรณ์ ๕ อย่าง เหล่านี้ เรียกกันในอริยวินัย ว่าเครื่องปิด บ้าง ว่า เครื่องกั้น บ้าง ว่า เครื่องคลุม บ้างว่า เครื่องร้อยรัด บ้าง.

134
๕ อย่าง อย่างไรเล่า ? ๕ อย่างคือ

กามฉันทนิวรณ์ พ๎ยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์.

วาเสฏฐะ ! นิวรณ์ ๕ อย่าง เหล่านี้แล ซึ่งเรียกกันในอริยวินัย ว่า เครื่องปิด บ้าง ว่า เครื่องกั้น บ้างว่า เครื่องคลุม บ้าง ว่า เครื่องร้อยรัด บ้าง.

วาเสฏฐะ ! พราหมณ์ไตรเพททั้งหลาย ถูกนิวรณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ ปิดแล้ว กั้นแล้ว คลุมแล้ว ร้อยรัดแล้ว.

วาเสฏฐะ ! พราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ละธรรมะที่ทำความเป็นพราหมณ์เสีย สมาทานธรรมะที่ไม่ทำความเป็นพราหมณ์ ดำรงชีวิตให้เป็นไปอยู่ อันนิวรณ์ทั้ง ๕ อย่างปิดแล้ว กั้นแล้ว คลุมแล้ว ร้อยรัดแล้ว จักเป็นผู้เข้าถึงความเป็นสหาย แห่งพรหม ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ดังนี้นั้น

นั่นไม่เป็นฐานะที่จะเป็นไปได้.


135
๓๐
ข้อควรระวัง ในการเจริญสติปัฏฐานสี่

อัคคิเวสนะ ! ...ครั้นภิกษุประกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะแล้ว ตถาคตย่อม แนะนำเธอ ให้ยิ่งขึ้นไปว่า มาเถิดภิกษุ ! เธอจงเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่า ละเมาะ โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง หรือลอมฟางเถิด ดังนี้.

ภิกษุนั้น ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด, ครั้นก้าวกลับจากบิณฑบาต ในกาล เป็นปัจฉาภัต นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติ เฉพาะ หน้า เธอย่อม
        ละอภิชฌาในโลก
มีจิตปราศจาก อภิชฌา คอยชำระจิตจากอภิชฌาอยู่
        ละพยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณา มีจิตหวังความเกื้อกูล ในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจากพยาบาทอยู่
        ละถีนมิทธะ มีจิต ปราศจากถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีสติ สัมปชัญญะ คอยชำระจิต จากถีนมิทธะ อยู่
        ละอุทธัจจกุกกุจจะ
ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน คอยชำระจิตจาก อุทธัจจกุกกุจจะ อยู่
        ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวถามว่า นี่อะไร นี่อย่างไร” ในกุศลธรรมทั้งหลาย คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉาอยู่.
136
ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต ทำปัญญาให้ถอย กำลัง เหล่านี้ได้แล้ว,
         เธอเป็นผู้มีปกติ เห็นกายในกายอยู่ ...
         มีปกติ เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ...
         มีปกติ เห็นจิตในจิตอยู่ ...
         มีปกติ เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
         มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ
         มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ตถาคต ย่อมแนะนำเธอนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า

มาเถิด ภิกษุ ! เธอจงเป็นผู้มีปกติ เห็นกายในกายอยู่ แต่อย่าตรึกซึ่งวิตก อันเข้าไป ประกอบอยู่กับกายเลย (มา จ กายูปสญหิตํ วิตกฺกํ วิตกฺเกสิ)

มาเถิด ภิกษุ ! เธอจงเป็นผู้มีปกติ เห็นเวทนาในเวทนาทงั้ หลายอยู่ แต่อย่าตรึก ซึ่งวิตก อันเข้าไปประกอบอยู่กับเวทนาเลย

มาเถิด ภิกษุ ! เธอจงเป็นผู้มีปกติ เห็นจิตในจิตทั้งหลายอยู่ แต่อย่าตรึกซึ่งวิตก อันเข้าไป ประกอบอยู่กับจิตเลย

มาเถิด ภิกษุ ! เธอจงเป็นผู้มีปกติ เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ แต่อย่าตรึกซึ่งวิตก อันเข้าไปประกอบอยู่กับธรรมเลย ดังนี้.

ภิกษุนั้น เพราะเข้าไปสงบระงับเสียได้ซึ่งวิตกและวิจาร จึงเข้าถึงทุติยฌาน อันเป็น เครื่อง ผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้สมาธิเป็นธรรมอันเอก ผุดมีขึ้นไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่.
(...แล้วได้ตรัสถึง ตติยฌาน ...จตุตถฌาน...ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ... จุตูปปาตญาณ ...อาสวักขยญาณ จนกระทั่ง วิมุตติญาณ ตามหลักที่มีกล่าว อยู่ใน บาลีทั่วๆ ไปที่กล่าวถึง เรื่องนี้)


139
๓๑
เหตุปัจจัยที่พระศาสนาจะตั้งอยู่นานภายหลังพุทธปรินิพพาน


ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่เมื่อพระตถาคต ปรินิพพานแล้ว พระสัทธรรมจะไม่ตั้งอยู่นาน ? ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรเป็น เหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว พระสัทธรรมจะตั้ง อยู่นาน พระเจ้าข้า !

พราหมณ์ ! เพราะไม่มีการทำให้เจริญ เพราะไม่มีการกระทำให้มาก ซึ่งสติ ปัฏฐาน ทั้งสี่ ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว สัทธรรมย่อมไม่ตั้งอยู่นาน. แต่พราหมณ์เอ๋ย ! เพราะมีการกระทำให้เจริญมีการกระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ทั้งสี่ ในเมื่อตถาคต ปรินิพพานแล้ว สัทธรรมย่อมตั้งอยู่นาน.

สติปัฏฐานสี่ อย่างไรเล่า ?
พราหมณ์ ! ภิกษุในกรณีนี้

เป็นผู้มีปกติเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผา กิเลส มีสัมปชัญญะมีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

พราหมณ์ ! เพราะไม่มีการทำให้เจริญ เพราะไม่มีการกระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ทั้งสี่ เหล่านี้แล ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว สัทธรรมย่อมไม่ตั้งอยู่นาน.

แต่เพราะมีการกระทำให้เจริญ มีการกระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐานทั้งสี่เหล่านี้แล ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้วสัทธรรมย่อมตั้งอยู่นาน ดังนี้.


๓๒
อานิสงส์แห่งกายคตาสติ


ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศล ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นไปในส่วนวิชชา ย่อมหยั่งลงในภายในของ ภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งถูกต้องด้วยใจแล้ว แม่น้ำน้อย สายใด สายหนึ่ง ซึ่งไหลไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภายในของผู้นั้นฉะนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อ ความ สังเวชมาก เป็นไปเพื่อ ประโยชน์มาก เป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะ มากเป็นไปเพื่อ สติและ สัมปชัญญะ เป็น ไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ เป็นไปเพื่อ อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ.

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความ สังเวชมาก ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจาก โยคะมาก ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ ย่อมเป็น ไป เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมุตติ

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิต ก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา แม้ทั้งสิ้นก็ถึง ความเจริญ บริบูรณ์.

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว แม้กาย ก็สงบ แม้จิตก็สงบแม้วิตกวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา แม้ทั้งสิ้นก็ ถึงความเจริญ บริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้วกระทำ ให้มากแล้ว อกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น แล้ว ย่อมละเสียได้.

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.
143
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อกุศล ธรรม ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย ได้

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว กุศล ธรรม ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นและกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความ เจริญไพบูลย์ยิ่ง.

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นและกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเจริญไพบูลย์ยิ่ง

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้วกระทำ ให้มากแล้ว ย่อมละ อวิชชา เสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้นย่อมละอัส๎มิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึงความ เพิกถอน ย่อมละสังโยชน์เสียได้.

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมละ อวิชชาเสียได้วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละอัส๎มิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึง ความเพิก ถอน ย่อมละสังโยชน์เสียได้ ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีการแทง ตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมีความแตกฉาน ในธาตุมากหลาย.

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมี การแทง ตลอดธาตุ มากหลายย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมี ความแตก ฉานในธาตุมาก หลาย

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญ แล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อ ทำสกทาคา มิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำ อรหัตตผล ให้แจ้ง.

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำ โสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้ง

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา (ปญฺญาปฏิลาภาย)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา (ปญฺญาวุฑฺฒิยา)
ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา (ปญฺญาเวปุลฺลาย)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ (มหาปญฺญตาย)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา (ปุถุปญฺญตาย)
ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็น ผู้มีปัญญาไพบูลย์ (วปิ ลุ ปญฺญตาย)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง (คมฺภีรปญฺญตาย)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง (อสมตฺถปญฺญตาย)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน (ภูริปญฺญตาย)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก (ปญฺญาพาหุลฺลาย)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว (สีฆปญฺญตาย)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเบา(ลหุปญฺญตาย)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง(หาสปญฺญตาย)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไว(ชวนปญฺญตาย)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคม (ติกฺขปญฺญตาย)
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส (นิพฺเพธิกปญฺญตาย).

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา ชำแรกกิเลส

ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด ไม่บริโภคกายคตาสติ
ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมไม่บริโภคอมตะ

ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด บริโภคกายคตาสติ
ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมบริโภคอมตะ

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ไม่บริโภคแล้ว
อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่บริโภคแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันชนเหล่าใด บริโภคแล้ว
อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้น บริโภคแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ ของชนเหล่าใด เสื่อมแล้ว
อมตะ ของชนเหล่านั้นชื่อว่า เสื่อมแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ ของชนเหล่าใด ไม่เสื่อมแล้ว
อมตะ ของชนเหล่านั้นชื่อว่า ไม่เสื่อมแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันชนเหล่าใด เบื่อแล้ว
อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้น เบื่อแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ชอบใจแล้ว
อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ชอบใจแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด ประมาทกายคตาสติ
ชนเหล่านั้นชื่อว่า ประมาทอมตะ

ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด ไม่ประมาทกายคตาสติ
ชนเหล่านั้นชื่อว่า ไม่ประมาทอมตะ
........................................................................ .............................
148
ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันชนเหล่าใด หลงลืม
อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้น หลงลืม

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ไม่หลงลืม
อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่หลงลืม

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ไม่ส้องเสพแล้ว
อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่ส้องเสพแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ส้องเสพแล้ว
อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ส้องเสพแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ไม่เจริญแล้ว
อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่เจริญแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันชนเหล่าใด เจริญแล้ว
อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้น เจริญแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ไม่ทำให้มากแล้ว
อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่ทำให้มากแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ทำให้มากแล้ว
อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำ ให้มากแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันชนเหล่าใด รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้น รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ไม่กำหนดรู้แล้ว
อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่กำหนดรู้แล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันชนเหล่าใด กำหนดรู้แล้ว
อมตะ
ชื่อว่าอันชนเหล่านั้น กำหนดรู้แล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ไม่ทำให้แจ้ง แล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่ทำให้แจ้งแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ทำให้แจ้งแล้ว
อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ทำให้แจ้งแล้ว ดังนี้.

จบ อานาปานสติ

บรรณานุกรม
พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ (บาลีสยามรัฐ)
พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง (ไทยสยามรัฐ)
หนังสือธรรมโฆษณ์ ชุดจากพระโอษฐ์ (ผลงานแปลพุทธวจน โดยท่านพุทธทาสภิกขุในนามกองตำราคณะธรรมทาน)