ใจความสําคัญ
เป็นคําชี้ขุมทรัพย์ที่ตรัสเอง ไม่มีคําเรียบเรียงของผู้แต่งคละปน เพราะเป็นที่รวบรวมเฉพาะ พระพุทธวจนะ ที่ตรัสขนาบและ ชี้ชวนไว้ด้วยพระองค์เอง จากพระไตรปืฎกล้วน เลือกเก็บเอามา ร้อยกรองใหม่เป็นหมวดหมู่ ติดต่อกันตามลําดับ เพื่อสะดวกแก่การศึกษาของผู้ขุดคนขุมทรัพย์ เพื่อเป็นกําลังใจของ ผู้เหน็ดเหนื่อยในการขุดค้นขุมทรัพย์ และเพื่อเป็นเครื่องกลับ ตัวของผู้ที่ขุดค้น ขุมทรัพย์อยู่ในวิธีที่นอกทางเป็นส่วนพิเศษ.
ผู้รวบรวม.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
หมวดที่๑
ว่าด้วยการทุศีล๑
หน้า1
ผ้าเปลือกปอ
(ภิกษุทุศิล มีความเป็นอยู่เลวทราม ไม่ต่างกับผ้าคุณภาพต่ำที่ทำจากเปลือกของต้นปอ)
ภิกษุท. ! ผ้าทอด้วยเปลือกปอ ถึงจะยังใหม่อยู่สีก็ไม่งาม นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ ราคาก็ถูก แม้จะกลางใหม่กลางเก่าแล้ว สีก็ยังไม่งาม นุ่งห่มเข้าก็ยังเจ็บเนื้อ ราคาก็ถูกมาก แม้จะเก่าครํ่าแล้ว สีก็ยังไม่งาม นุ่งห่มเข้าก็ยังเจ็บเนื้อ ราคาก็ถูกมากอยู่นั่นเอง. ผ้าเปลือกปอ ที่เก่าครํ่าแล้ว มีแต่จะถูกใช้ เช็ดหม้อข้าว หรือทิ้งอยู่ตามกองขยะมูลฝอย นี้ฉันใด
ภิกษุท. ! ภิกษุที่ทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้เพิ่งบวชใหม่ เราก็กล่าวว่า มีผิวพรรณไม่งาม เหมือนผ้าเปลือกปอ ที่มีสีไม่งาม นั้นนั่นแหละ. เรากล่าวภิกษุนี้ว่า มีผ้าเปลือกปอ เป็นคู่เปรียบ. อนึ่ง ชนเหล่าใด คบหา สมาคม เข้าใกล้ทำตามเยี่ยงอย่าง ของภิกษุนั้น ข้อนั้น จะเป็นทางให้เกิดสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ เป็นทุกข์แก่ชนเหล่านั้นเอง ตลอดกาลนาน
เราจึง กล่าวภิกษุนั้นว่า ใครใกล้ชิดเข้า ก็เจ็บเนื้อ เหมือนผ้าเปลือกปอ นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ ฉะนั้น. เรากล่าว ภิกษุนี้ว่ามีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ. อนึ่ง ภิกษุนั้น รับจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และ คิลาน ปัจจัย เภสัชบริขาร ของชนเหล่าใด ทานนั้นย่อมไม่มีผลใหญ่ไม่มีอานิสงส์ใหญ่แก่ชนเหล่านั้น.
เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีค่าน้อย เหมือนผ้าเปลือกปอ มีราคาถูก ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.
ภิกษุ ท. ! แม้ภิกษุมัชฌิมภูมิ (ยังไม่เป็นเถระ) เมื่อเป็นคนทุศีล มีความ เป็นอยู่เลวทราม ก็เป็นอย่างเดียวกัน เรากล่าวว่า มีผิวพรรณไม่งาม เหมือนผ้า เปลือกปอ ที่มีสีไม่งาม นั้นนั่นแหละ.
เรากล่าวภิกษุนี้ว่า มีผ้าเปลือกปอเป็น คู่เปรียบ. อนึ่ง ชนเหล่าใด คบหา สมาคม เข้าใกล้ ทำตามเยี่ยงอย่าง ของภิกษุนั้น ข้อนั้น จะเป็นทางให้เกิดสิ่ง อันไม่เป็นประโยชน์ เป็นทุกข์แก่ชนเหล่า นั้นเอง ตลอดกาลนาน
เราจึงกล่าวภิกษุนั้นว่า ใครใกล้ชิดเข้าก็เจ็บเนื้อ เหมือน ผ้าเปลือกปอ นุ่งห่มเข้า ก็เจ็บเนื้อ ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนี้ว่ามีผ้าเปลือก ปอเป็นคู่เปรียบ.
อนึ่ง ภิกษุนั้น รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร ของชนเหล่าใด ทานนั้น ย่อมไม่มีผลใหญ่ไม่มีอานิสงส์ใหญ่แก่ชนเหล่านั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีค่าน้อย เหมือนผ้า เปลือกปอ มีราคาถูก ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.
ภิกษุ ท. ! แม้ภิกษุผู้เป็นเถระ๑ เมื่อเป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม ก็เป็นอย่าง เดียวกัน เรากล่าวว่า มีผิวพรรณไม่งาม เหมือนผ้า เปลือกปอ ที่มีสีไม่งาม นั้นนั่นแหละ. เรากล่าวภิกษุนี้ว่า มีผ้า เปลือก ปอเป็นคู่เปรียบ. อนึ่ง ชนเหล่าใด คบหา สมาคม เข้าใกล้ทำตามเยี่ยง อย่างของภิกษุนั้น ข้อนั้น จะเป็นทางให้เกิดสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์เป็น ทุกข์แก่ชนเหล่านั้นเอง ตลอดกาล นาน เราจึง กล่าว ภิกษุ นั้นว่า ใครใกล้ชิดเข้าก็เจ็บเนื้อ เหมือนผ้าเปลือกปอ นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ ฉะนั้น.
เรากล่าว ภิกษุนี้ว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ. อนึ่ง ภิกษุนั้น รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลาน ปัจจัย เภสัชบริกขาร ของชนเหล่าใด ทานนั้น
ย่อมไม่มีผลใหญ่
ไม่มีอานิสงส์ใหญ่แก่ชนเหล่านั้น.
เรากล่าวภิกษุนั้นว่า
มีค่าน้อย
เหมือนผ้าเปลือกปอ
มีราคาถูก
ฉะนั้น.
เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีผ้า เปลือกปอ เป็นคู่เปรียบ.
อนึ่ง ภิกษุเถระชนิดนี้กล่าวอะไรขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ภิกษุทั้งหลาย ก็จะว่าให้ว่า “ประโยชน์ อะไรด้วยคำพูดของท่าน ซึ่งเป็นคนพาล คนเขลา คนอย่างท่านหรือจะรู้จักสิ่งที่ควรพูด” ดังนี้. ภิกษุ เถระนั้น ถูกเขาว่าให้ก็โกรธ แค้นใจ กล่าววาจาหยาบออกมา โดยอาการที่ทำให้ตน ต้องถูกสงฆ์ ลงอุกเขปนียกรรม ในภายหลัง จึงเป็นเหมือนผ้าเปลือกปอเก่าครํ่า ที่เขาทิ้งเสีย ตามกองขยะ มูลฝอย ฉะนั้น แล.
หน้า5
นํ้าติดก้นกะลา
(ภิกษุที่กล่าวเท็จ มีค่าน้อยนิดไม่ต่างกับน้ำที่ติดก้นกะลา)
“ราหุล ! เธอเห็นนํ้าที่เหลืออยู่นิดหนึ่งที่ก้นภาชนะนี้หรือ ?”
“เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !”
“ราหุล ! นักบวชที่ไม่มีความละอายในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ ก็มีความเป็นสมณะ นิดเดียว เหมือนนํ้าที่เหลืออยู่ที่ก้นภาชนะนี้ฉันนั้น”
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสาดนํ้านั้นเทไป (ด้วยอาการที่นํ้าจะเหลือติดอยู่ได้น้อยที่สุดเป็นธรรมดา)
แล้วตรัสว่า :- “ราหุล ! เธอเห็นนํ้าที่ถูกสาดเทไปแล้ว มิใช่หรือ ?”
“เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !”
“ราหุล ! นักบวช ที่ไม่มีความละอาย ในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ ก็มี ความ เป็นสมณะ เหลืออยู่น้อย เหมือนนํ้าที่สักว่า เหลือติดอยู่ตาม ภาชนะ (หลังจากที่สาดเทออกไปแล้ว โดยแรง) นี้ฉันนั้น”.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงควํ่าภาชนะนํ้านั้นแล้ว ตรัสว่า-
“ราหุล ! เธอเห็นภาชนะที่ควํ่าอยู่แล้วนี้มิใช่หรือ ?”
“เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !”
“ราหุล ! นักบวชที่ไม่มีความละอาย ในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่า เป็นเท็จ ก็มีความเป็น สมณะ เท่ากับนํ้าที่เขาควํ่าภาชนะเสียแล้วอย่างนี้ฉันนั้น”
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหงายภาชนะนั้นขึ้นมาดูแล้ว ตรัสว่า
“ราหุล ! เธอเห็นภาชนะอันว่างจากนํ้านี้แล้ว มิใช่หรือ ?”
“เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !”
“ราหุล ! นักบวช ที่ไม่มีความละอายในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ ก็มีความเป็นสมณะ เท่ากับความว่างเปล่าของนํ้าในภาชนะนี้ฉันนั้นเหมือนกัน_ _ _ฯลฯ _ _ _”
“ราหุล ! เรากล่าวว่า กรรมอันลามกหน่อยหนึ่ง ซึ่งนักบวชที่ไม่มีความละอายในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ จะทำไม่ได้หามีไม่. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า ‘เราทั้งหลายจักไม่กล่าวมุสา แม้แต่เพื่อหัวเราะกันเล่น’ ดังนี้.
ราหุล ! เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้”.
“ราหุล ! กระจกเงา๑ มีไว้สำหรับทำอะไร ?”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! กระจกเงามีไว้สำหรับส่องดูพระเจ้าข้า !”
“ราหุล ! กรรมทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่บุคคลควรสอดส่องพิจารณาดูแล้ว ๆ เล่า ๆ เสียก่อน จึงทำลง ไป ทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ ฉันเดียวกับกระจก เงานั้นเหมือนกัน”.
หน้า7
งูเปื้อนคูถ
(ภิกษุ
ที่ทำตัวน่าขยะแขยง ทุศีล ไม่สะอาดกาย เปรียบเหมือนงูที่เปื้อนของเน่าเหม็น)
ภิกษุท. ! นักบวชชนิดไร ที่ทุก ๆ คนควรขยะแขยง ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้?
ภิกษุท. ! นักบวชบางคนในกรณีนี้เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติ ชนิด ที่ตนเองนึกแล้วก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คน ประพฤติพรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติพรหมจรรย์เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติ หมักหมม เหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย.
ภิกษุท. ! นักบวชชนิดนี้แล ที่ทุก ๆ คนควรขยะแขยง ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควร เข้าใกล้. ข้อนั้น เพราะอะไร ? ภิกษุท. ! เพราะเหตุว่า ถึงแม้ผู้ที่เข้าใกล้ชิด จะไม่ถือเอา นักบวชชนิดนี้ เป็นตัวอย่าง ก็ตาม แต่ว่า เสียงลํ่าลืออันเสื่อมเสียจะระบือ ไปว่า “คนคนนี้มีมิตรเลว มีเพื่อนทราม มีเกลอ ลามก” ดังนี้.
ภิกษุท. ! เปรียบเหมือน งูที่ตกลงไปจมอยู่ในหลุมคูถ กัดไม่ได้ก็จริงแล แต่มันอาจทำคน ที่เข้าไปช่วยยกมันขึ้นจากหลุมคูถให้เปื้อนด้วย คูถได้ (ด้วยการดิ้นของมัน) นี้ฉันใด๒
ภิกษุท. ! แม้ผู้ที่เข้าใกล้ชิด
จะไม่ถือเอานักบวชชนิดนี้เป็นตัวอย่างก็จริงแล แต่ว่า เสียงลํ่าลือ อันเสื่อม เสีย จะระบือไปว่า “คนคนนี้มีมิตรเลว มีเพื่อนทราม มีเกลอลามก” ดังนี้ฉันนั้น เหมือนกัน.
เพราะเหตุนั้น นักบวชชนิดนี้จึงเป็นคนที่ทุก ๆ คน ควรขยะแขยง ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้.
หน้า8
ทำตัวเหมือนโจร
(ทรงอุปมาภิกษุ ทำตัวเหมือนโจร 5 ประเภท)
ภิกษุท. ! มหาโจรผู้ประกอบด้วยองค์ห้า ย่อมมีโอกาสตัดช่องก็ได้ย่องเบา ก็ได้ปล้นสดมภ์ ก็ได้ ตีชิงก็ได้. องค์ห้าอย่างไรกันเล่า ? องค์ห้าในกรณีนี้คือ
มหาโจรได้อาศัยที่ซ่องสุม ๑
ได้อาศัยที่กำบัง ๑
ได้อาศัยพึ่งพิงผู้มีอำนาจ ๑
ได้อาศัยการโปรยทรัพย์๑
เที่ยวไปคนเดียว ๑.
มหาโจรได้อาศัยที่ซ่องสุม เป็นอย่างไร ? ภิกษุท. ! ในกรณีนี้คือ มหาโจรได้อาศัยเกาะแก่ง ในแม่นํ้า หรือได้อาศัยหุบเหวตามภูเขา. นี้แล เรียกว่า มหาโจรได้อาศัยที่ซ่องสุม.
มหาโจรได้อาศัยที่กำบัง เป็นอย่างไร ? ภิกษุท. ! ในกรณีนี้คือ มหาโจรได้อาศัยพงหญ้า หรือป่ารก ได้อาศัยเนินดินหรือราวป่าใหญ่เพื่อเป็นที่กำบัง นี้แล เรียกว่า มหาโจรได้อาศัยที่กำบัง.
มหาโจรได้อาศัยพึ่งพิงผู้มีอำนาจ เป็นอย่างไร ? ภิกษุท. ! ในกรณีนี้คือ มหาโจรได้อาศัย พระราชา หรืออำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชา เป็นที่พึ่งว่า “ถ้าใครจักโจทเราด้วยเรื่องอะไร ๆ พระราชา หรืออำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชา
เหล่านี้จักช่วยโต้แทนเรา” ดังนี้.ครั้นใครโจทมหาโจรนั้นด้วยเรื่องอะไร ๆ ขึ้นจริง พระราชาหรืออำมาตย์ ของพระราชาเหล่านั้น ก็ช่วยโต้แทนให้จริง.นี้แล เรียกว่า มหาโจรได้ อาศัยพึ่งพิงผู้มีอำนาจ.
มหาจรได้อาศัยการโปรยทรัพย์ เป็นอย่างไร ? ภิกษุท. ! ใน กรณีนี้คือ มหาโจรเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์สมบัติมาก เขามีแผนการไว้ว่า “ถ้าใครจักโจทเราด้วยเรื่องอะไร ๆ เราจะปิดปากมัน เสียด้วย ทรัพย์สมบัตินี้” ดังนี้. ครั้นใครโจทมหาโจรนั้นด้วยเรื่องอะไร ๆ ขึ้นจริง เขาก็ปิดปากคน เหล่านั้นเสียด้วย ทรัพย์สมบัตินั้น. นี้แล เรียกว่า มหาโจรได้อาศัยการโปรยทรัพย์.
มหาโจรเที่ยวไปคนเดียว เป็นอย่างไร ? ภิกษุท. ! ในกรณีนี้คือ มหาโจรประพฤติตนเป็นคน ไม่มีเหย้าเรือน เที่ยวไปแต่ผู้เดียว. ที่ทำเช่นนี้เพราะ เหตุไร ? เพราะมหาโจรนั้นคิดว่า “มนต์ลับของตน อย่าได้แพร่งพรายไป ภายนอกเลย” ดังนี้. นี้แล เรียกว่า มหาโจรเที่ยวไปคนเดียว.
ภิกษุท. ! มหาโจรผู้ประกอบด้วยองค์ห้าเหล่านี้แล้ว ย่อมมีโอกาส ตัดช่องก็ได้ย่องเบาก็ได้ ปล้นสดมภ์ก็ได้ตีชิงก็ได้. ข้อนี้ฉันใด
. . . . . . . . . . . . . . .
ภิกษุท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : ภิกษุลามก ผู้ประกอบด้วยเหตุห้าอย่าง ย่อมทำตนให้ถูกขุดราก ให้ถูกกำจัดความดีเป็นผู้มีความชั่วติดตัว ผู้รู้พากัน ติเตียน ได้ประสพสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก. เหตุห้าอย่าง อะไรกันเล่า? เหตุห้าอย่างในกรณีนี้คือภิกษุลามก ได้อาศัยที่ซ่องสุม ๑ได้อาศัยที่กำบัง ๑
ภิกษุลามกได้อาศัยที่ซ่องสุม เป็นอย่างไร ? ภิกษุท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุลามกเป็นผู้ประกอบ ด้วยกายกรรมอันคดโกง เป็นผู้ประกอบด้วย วจีกรรมอันคดโกง เป็นผู้ประกอบด้วยมโนกรรมอันคดโกง. นี้แล เรียกว่า ภิกษุลามกได้อาศัยที่ซ่องสุม. (อย่างที่1 - นิสัยคดโกงทั้งกาย วาจา ใจ )
ภิกษุลามกได้อาศัยที่กำบัง เป็นอย่างไร ? ภิกษุท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุลามกเป็นคนมี มิจฉาทิฏฐิประกอบด้วยทิฏฐิอันแล่นดิ่ง ไปจับเอาปลาย สุดโต่ง (แห่งความเห็นทั้งปวง).นี้แล เรียกว่า ภิกษุลามกได้อาศัยที่กำบัง.(อย่างที่2- มากด้วยทิฐิอย่างสุดโต่ง)
ภิกษุลามกได้อาศัยพึ่งพิงผู้มีอำนาจ เป็นอย่างไร ? ภิกษุท. ! ใน กรณีนี้คือ ภิกษุลามก ได้อาศัยพระราชา หรืออำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชาเป็น ที่พึ่งว่า “ถ้าใครจักโจทเราด้วยเรื่องอะไรๆ พระราชาหรืออำมาตย์ผู้ใหญ่ของ พระราชา เหล่านี้จักช่วยโต้แทนเรา” ดังนี้.ครั้นใครโจทภิกษุลามกนั้น ด้วยเรื่อง อะไร ๆ ขึ้นจริง พระราชาหรืออำมาตย์ผู้ใหญ่ของ พระราชา เหล่านั้น ก็ช่วยโต้แทนให้จริง. นี้แลเรียกว่า ภิกษุลามกได้อาศัยพึ่งพิงผู้มีอำนาจ.
(อย่างที่3-หวังพึ่งพระราชา ให้พระราชาช่วยโต้แทน)
ภิกษุลามกได้อาศัยการโปรยทรัพย์เป็นอย่างไร ? ภิกษุท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุลามกเป็นผู้ รํ่ารวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร เธอมีแผนการไว้ว่า “ถ้าใครจักโจท เราด้วยเรื่อง อะไร ๆ เราจักปิดปากเขาเสียด้วยลาภนี้” ดังนี้. ครั้นใครโจทภิกษุลามกนั้น ด้วยเรื่องอะไร ๆ ขึ้นจริง เธอก็ปิดปากคนเหล่านั้นเสียด้วยลาภนั้น. นี้แล เรียกว่า ภิกษุลามกได้อาศัยการโปรยทรัพย์. (อย่างที่4-ถูกใตรตำหนิก็เอาปิดปากด้วยลาภ)
ภิกษุลามกเที่ยวไปคนเดียว เป็นอย่างไร ? ภิกษุท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุลามกเลี่ยงไปอยู่เสีย ตามชนบทปลายแดนแต่ผู้เดียว เธอเข้าไปสู่สกุล ทั้งหลายในชนบท (ที่ไร้การศึกษา)นั้น ๆ ย่อมได้ลาภ. นี้แล เรียกว่า ภิกษุลามกเที่ยวไปคนเดียว.(อย่างที่5-หวังได้ลาภโดยเลี่ยงไปอยู่แต่ผู้เดียวในชนบท)
ภิกษุท. ! ภิกษุลามก ผู้ประกอบด้วยเหตุห้าอย่าง เหล่านี้แล้ว ย่อมทำตนให้ถูกขุดราก ให้ถูกกำจัด ความดีเป็นผู้มีความชั่วติดตัว ผู้รู้พากันติเตียน ได้ประสพสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก อย่างนี้แล.
หน้า11
กอดกองไฟ
(กอดกองไฟให้ไฟเผา ยังดีกว่าต้องไปเกิดในอบาย ทุคติวินิบาต นรก)
ภิกษุ ท.! พวกเธอทั้งหลายเห็นกองไฟใหญ่อันร้อนแรง ลุกโพลง มีแสงโชติช่วง โน้นหรือไม่ ? “เห็น พระเจ้าข้า !”.
ภิกษุท. ! พวกเธอทั้งหลาย จักตัดสินเนื้อความสองข้อนี้ว่าอย่างไหน จะดีกว่ากัน คือ การที่เข้าไป นั่งกอด นอนกอด กองไฟกองใหญ่โน้น อันร้อนแรงลุกโพลงมีแสงโชติช่วง กับ การที่ เข้าไป นั่งกอด นอนกอด นางสาวน้อยแห่งกษัตริย์ หรือนางสาวน้อยแห่งพราหมณ์ หรือนางสาวน้อย แห่งคฤหบดี ผู้ล้วนแต่มี ฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนิ่มนวล ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! การที่เข้าไปนั่งกอด นอนกอด นางสาวน้อยแห่งกษัตริย์ หรือนาง สาวน้อยแห่งพราหมณ์ หรือนางสาวน้อยแห่งคฤหบดีผู้ล้วน แต่มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนิ่มนวล
(๑. บาลีพระพุทธภาษิต สตฺตก. อํ๒๓/๑๒๙/๖๙ ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง ระหว่าง การเดินทาง ถึงกองไฟใหญ่แห่งหนึ่ง ในเขตประเทศโกศล.นั่นแหละดีกว่า เพราะว่า การที่เข้าไปนั่งกอด นอนกอดไฟกองใหญ่โน้น อันร้อนแรงลุกโพลงมีแสงโชติช่วง นั่นเป็นความทุกข์ทนได้ยาก พระเจ้าข้า”.)
ภิกษุท. ! เราจักบอก เราจักอธิบายแก่พวกเธอทั้งหลายให้เข้าใจ การที่เข้าไปนั่งกอด นอนกอดไฟกองใหญ่โน้น อันร้อนแรงลุกโพลงมีแสง โชติช่วง นั่นต่างหาก เป็นการดีสำหรับคนซึ่ง เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดที่ตนเองนึกแล้วก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำ ที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติพรหมจรรย์ ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติพรหมจรรย์เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติหมักหมม เหมือนบ่อที่เทขยะ มูลฝอย. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
ภิกษุท. ! เพราะว่า การที่เขาจะต้องตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เนื่องจากเหตุที่เข้าไป นั่งกอด นอนกอดไฟกองใหญ่อย่างนั้น หาได้เป็น เหตุให้เขาต้องไปเกิดในอบาย ทุคติวินิบาต นรก ภายหลังแต่ความตาย เพราะการทำลายแห่งกายไม่
ส่วนการที่เขาเป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดที่ตนเองนึกแล้ว ก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติ พรหมจรรย์ ก็ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติหมักหมม เหมือนบ่อที่เท ขยะมูลฝอย แล้วยัง (มีความคิดที่จะ) เข้าไป นั่งกอด นอนกอด นางสาวน้อยแห่งกษัตริย์ หรือนางสาวน้อย แห่งพราหมณ์ หรือนางสาวน้อย แห่งคฤหบดี ผู้ล้วนแต่มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนิ่มนวลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความ ทุกข์ไม่เกื้อกูลแก่เขา ตลอดกาลนาน ภายหลังแต่ความตาย เพราะการทำลายแห่งกาย เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก.
ภิกษุท. ! ไหนจะดีกว่ากัน
หน้า13
การ “ตัด” ถึงเยื่อในกระดูก
การรับอภิวาท (รับโทษของกษัตริย์) ด้วยการถูกตัดเนื้อ เจียนตาย
ยังดีกว่าได้รับทุกข์ จากนรกหลังความตาย
ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จักตัดสินเนื้อความสองข้อนี้ว่าอย่าง การที่บุรุษมีกำลังแข็งแรง เอาเชือกทำด้วยขนทรายอันเหนียวพันเข้าที่แข้งทั้งสองข้าง แล้วถูไปถูมา มันตัดผิวหนังแล้วตัดหนัง ตัดหนังแล้วตัดเนื้อ ตัดเนื้อแล้วตัดเอ็น ตัดเอ็นแล้วตัดกระดูก ตัดกระดูก แล้วเข้าจดเยื่อในกระดูก อยู่กับการรับการอภิวาทของพวก กษัตริย์มหาศาล หรือพราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! การรับการอภิวาท(รับโทษ) ของพวกกษัตริย์มหาศาล หรือพราหมณ์ มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นั่นแหละดีกว่า เพราะว่าการที่ถูกบุรุษ มีกำลังแข็งแรง เอาเชือกขนทราย อันเหนียว พันแข้งทั้งสองข้างแล้วถูไปถูมา มันบาดผิวหนัง_ _ ฯลฯ _ _ จนจดเยื่อในกระดูก นั่น เป็นความทุกข์ทนได้ยาก พระเจ้าข้า”.
ภิกษุท. ! เราจักบอก เราจักอธิบายแก่พวกเธอทั้งหลายให้เข้าใจ การที่ถูกบุรุษ มีกำลัง แข็งแรง เอาเชือกขนทรายอันเหนียว พันแข้งทั้งสองข้าง แล้วถูไปถูมา มันบาด ผิวหนัง_ __ฯลฯ_ _จนจดเยื่อ ในกระดูก นั่นต่างหากเป็น การดีสำหรับคนซึ่งเป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามกไม่สะอาด มีความประพฤติ ชนิดที่ตนเองนึกแล้วก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะ ก็ปฏิญญาว่าเป็น สมณะ ไม่ใช่คนประพฤติ พรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติพรหมจรรย์เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติ หมักหมม เหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
ภิกษุท. ! เพราะว่า การที่เขาจะต้องตายหรือได้รับทุกข์เจียนตาย เนื่องจากเหตุที่เขาถูกบุรุษ มีกำลังแข็งแรง เอาเชือกขนทรายอันเหนียว พัน แข้งทั้งสองข้างแล้วถูไปถูมา หาได้เป็นเหตุให้เขา ต้องเกิดในอบาย ทุคติวินิบาต นรก ภายหลังแต่ความตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ไม่
ส่วน การที่เขาเป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติ ชนิดที่ตนเอง นึกแล้วก็กินแหนง ตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะ ก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คน ประพฤติ พรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติพรหมจรรย์เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติหมักหมม เหมือนบ่อที่เท ขยะมูลฝอย แล้วยัง (มีความคิดที่จะ) รับการอภิวาทของพวกกษัตริย์มหาศาล หรือพราหมณ์ มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูลแก่เขา ตลอดกาลนาน ภายหลังแต่ ความตาย เพราะการทำลายแห่งกาย เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก.
หน้า14
การถูกแทงด้วย “หอก”
(ทรงอุปมาเช่นเดียวกับ กอดกองไฟ)
ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จักตัดสินเนื้อความสองข้อนี้ว่าอย่างไหน จะดีกว่ากัน คือ การที่ถูก บุรุษมีกำลังแข็งแรง แทงเอาที่หว่างอกด้วยหอกอัน คมกล้าทานํ้ามันทำให้ลื่น กับ การรับการไหว้ของ พวกกษัตริย์มหาศาล หรือ พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! การรับการไหว้ของพวกกษัตริย์มหาศาล หรือพราหมณ์มหาศาล หรือ คฤหบดีมหาศาล นั่นแหละดีกว่า เพราะว่าการที่ถูกบุรุษมีกำลังแข็งแรง แทงเอาที่หว่างอกด้วย หอก อันคมกล้าทานํ้ามันทำให้ลื่น นั่นเป็นความทุกข์ทนได้ยาก พระเจ้าข้า”.
ภิกษุท. ! เราจักบอก เราจักอธิบายแก่พวกเธอทั้งหลายให้เข้าใจ การที่ถูกบุรุษมีกำลังแข็งแรง แทงเอาที่หว่างอกด้วยหอกอันคมกล้าทานํ้ามัน ทำให้ลื่น นั่นต่างหาก เป็นการดีสำหรับคนซึ่งเป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดที่ตนเอง นึกแล้ว ก็กินแหนงตัวเอง มีการ กระทำ ที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คน ประพฤติพรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติพรหมจรรย์เป็นคนเน่าใน เปียก แฉะ มีสัญชาติ หมักหมม เหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
ภิกษุท. ! เพราะว่า การที่เขาจะต้องตายหรือได้รับทุกข์เจียนตาย เนื่องจากเหตุที่เขาถูกบุรุษ มีกำลังแข็งแรง แทงเอาที่หว่างอกด้วยหอกอัน คมกล้าทานํ้ามันทำให้ลื่น หาได้เป็นเหตุให้เขาต้องเกิดใน อบาย ทุคติวินิบาต นรก ภายหลังแต่ความตาย เพราะการทำลาย แห่งกาย ไม่
ส่วนการที่เขาเป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดที่ตนเอง นึกแล้ว ก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คน ประพฤติ พรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติพรหมจรรย์เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติหมักหมม เหมือนบ่อ ที่เทขยะมูลฝอย แล้วยัง (มีความคิดที่จะ) รับการไหว้ของพวกกษัตริย์มหาศาล หรือ พราหมณ์ มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความทุกข์ไม่เกื้อกูลแก่เขาตลอดกาลนาน ภายหลังแต่ความตาย เพราะการทำลายแห่งกาย เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก.
หน้า16
จีวรที่ลุกเป็นไฟ
(ทรงอุปมาเช่นเดียวกับ กอดกองไฟ)
ภิกษุท. ! พวกเธอทั้งหลาย จักตัดสินเนื้อความสองข้อนี้ว่าอย่างไหน จะดีกว่ากัน คือ การที่ถูกบุรุษ มีกำลังมหาศาลเอาแผ่นเหล็ก อันร้อนเป็นเปลวไฟลุกโพลง มีแสงโชติช่วง มานาบเข้า ที่กาย กับ การ นุ่งห่มจีวร ที่พวกกษัตริย์มหาศาล หรือพราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ถวาย ด้วยศรัทธา ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! การนุ่งห่มจีวร ที่พวกกษัตริย์มหาศาล หรือพราหมณ์มหาศาล หรือ คฤหบดีมหาศาล ถวายด้วยศรัทธา นั่นแหละดีกว่า เพราะว่าการที่ถูกบุรุษมีกำลังแข็งแรง เอาแผ่น เหล็ก อันร้อนเป็นเปลวไฟลุกโพลง มีแสงโชติช่วง มานาบเข้าที่กาย นั่นเป็นความ ทุกข์ทนได้ยาก พระเจ้าข้า”.
ภิกษุท. ! เราจักบอก เราจักอธิบายแก่พวกเธอทั้งหลายให้เข้าใจ การที่ถูกบุรุษ มีกำลัง แข็งแรง เอาแผ่นเหล็ก อันร้อนเป็นเปลวไฟลุกโพลง มีแสงโชติช่วง มานาบเข้าที่กาย นั่นต่างหาก เป็นการดีสำหรับ คนซึ่งเป็น คนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก ไม่สะอาด
มีความประพฤติชนิดที่ตนเองนึก แล้วก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่ สมณะก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คน ประพฤติพรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติพรหมจรรย์เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติหมักหมม เหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย.ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
ภิกษุท. ! เพราะว่า การที่เขาจะต้องตายหรือได้รับทุกข์เจียนตาย เนื่องจากเหตุที่เขาถูกบุรุษ มีกำลังแข็งแรง เอาแผ่นเหล็ก อันร้อนเป็น เปลวไฟลุกโพลงมีแสงโชติช่วง มานาบเข้าที่กาย หาได้เป็น เหตุ ให้เขา ต้องเกิดในอบาย ทุคติวินิบาต นรก ภายหลังแต่ความตาย เพราะ การทำลายแห่งกาย ไม่ ส่วนการที่เขา เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก ไม่สะอาด
มีความประพฤติชนิดที่ตนเองนึกแล้วก็ กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่ สมณะก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติ พรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติหมักหมม เหมือนบ่อที่ เทขยะมูลฝอย แล้วยัง (มีความคิดที่จะ) นุ่งห่ม จีวร ที่พวก กษัตริย์มหาศาล หรือพราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ถวายด้วยศรัทธานั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความ ทุกข์ไม่เกื้อกูลแก่เขา ตลอดกาล นาน ภายหลังแต่ความตาย เพราะการทำลายแห่งกาย เขาย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติวินิบาต นรก.
หน้า17
ก้อนข้าวที่ลุกเป็นไฟ
เป็นคนทุศีล แล้วถูกลงโทษด้วยการกลืนก้อนไฟ ยังดีกว่าการต้องไปเกิดใน อบาย ทุคติวินิบาต นรก เพราะทุกข์ในนรกรุนแรงกว่า การกลืนก้อนไฟ
ชนิดเทียบกันไม่ได้
ภิกษุท. ! พวกเธอทั้งหลาย จักตัดสินเนื้อความสองข้อนี้ว่า อย่างไหน จะดีกว่ากัน คือ การที่ถูก บุรุษมีกำลังแข็งแรง เอาขอเหล็ก อันร้อนเป็นเปลวไฟ ลุกโพลงมีแสงโชติช่วง กระชากปากให้เปิด แล้วโยนก้อนเหล็กแดง อันร้อนแรง ลุกโพลง มีแสงโชติช่วง เข้าไปในปาก มันไหม้ริมฝีปาก ไหม้ปาก ไหม้ลิ้น ไหม้คอ ไหม้ท้อง ไหม้ลำไส้ใหญ่ของเขา พาลำไส้เล็กออกมา โดยทวารเบื้องตํ่า กับ การบริโภค ก้อนข้าว ที่พวกกษัตริย์มหาศาล หรือพราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี มหาศาล ถวายด้วยศรัทธา (โขมย-ทุศีล)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! การบริโภคก้อนข้าว ที่พวกกษัตริย์มหาศาล หรือพราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ถวายด้วยศรัทธา นั่นแหละดีกว่า เพราะว่า การที่ถูกบุรุษมีกำลังแข็งแรง เอาขอเหล็ก อันร้อนเป็นเปลวไฟลุกโพลงมีแสงโชติช่วง กระชากปากให้เปิด แล้วโยนก้อนเหล็ก แดง อันร้อนแรงลุก โพลงมีแสงโชติช่วงเข้าไปในปาก มันไหม้ริมฝีปาก ไหม้ปาก ไหม้ลิ้น ไหม้คอ ไหม้ท้อง ไหม้ลำไส้ใหญ่ ของเขา พาลำไส้เล็กออกมาโดยทวารเบื้องตํ่า นั่นเป็นความทุกข์ทนได้ยาก พระเจ้าข้า”.
ภิกษุท. ! เราจักบอก เราจักอธิบายแก่พวกเธอทั้งหลายให้เข้าใจ การที่ถูกบุรุษมีกำลังแข็งแรง เอาขอเหล็ก อันร้อนเป็นเปลวไฟลุกโพลงมีแสง โชติช่วง กระชากปากให้เปิด แล้วโยนก้อนเหล็กแดง อันร้อนแรงลุกโพลงมีแสงโชติช่วง เข้าไปในปาก มันไหม้ริมฝีปาก ไหม้ปาก ไหม้ลิ้น ไหม้คอ ไหม้ท้อง ไหม้ลำไส้ใหญ่ของเขา พาลำไส้เล็กออกมาโดยทวารเบื้องตํ่า นั่น ต่างหากเป็นการดี
สำหรับคนซึ่งเป็น คนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติ ชนิดที่ตนเอง นึกแล้ว ก็กินแหนงตัวเอง มีการ กระทำที่ต้อง ปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะ ก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่ คน ประพฤติ พรหมจรรย์ ก็ปฏิญญา ว่าประพฤติพรหมจรรย์เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติ หมักหมม เหมือนบ่อที่ เทขยะมูลฝอย. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
ภิกษุท. ! เพราะว่า การที่เขาจะต้องตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เนื่องจากเหตุ ที่เขาถูกบุรุษ มีกำลังแข็งแรงเอาขอเหล็กอันร้อนเป็นเปลวไฟลุกโพลง มีแสงโชติช่วง กระชากปากให้เปิด แล้วโยน ก้อน เหล็กแดง อันร้อนแรง ลุกโพลงมีแสงโชติช่วง เข้าไปในปาก หาได้เป็นเหตุ ให้เขาต้อง เกิดใน อบาย ทุคติวินิบาต นรก ภายหลังแต่ความตาย เพราะการทำลายแห่งกายไม่
ส่วนการที่เขา เป็นคน ทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดที่ตนเอง นึกแล้ว ก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำ ที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คน ประพฤติ พรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติพรหมจรรย์เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติ หมักหมม เหมือนบ่อ ที่เทขยะมูลฝอย แล้วยัง(มีความคิดที่จะ) บริโภคก้อนข้าว ที่พวกกษัตริย์มหาศาล หรือ พราหมณ์ มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ถวายด้วยศรัทธา นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูล แก่เขา ตลอดกาลนาน ภายหลังแต่ความตาย เพราะการทำลายแห่งกาย เขาย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติวินิบาต นรก.
หน้า19
เตียงตั่งที่ลุกเป็นไฟ
(ทรงอุปมาเช่นเดียวกับ กอดกองไฟ)
ภิกษุท. ! พวกเธอทั้งหลาย จักตัดสินเนื้อความสองข้อนี้ว่าอย่างไหน จะดีกว่ากัน คือ การที่ถูก บุรุษมีกำลังแข็งแรง จับเข้าที่ศีรษะหรือที่คอ กดให้นั่ง หรือนอน บนเตียงเหล็กหรือตั่งเหล็ก อันร้อนเป็น เปลวไฟ ลุกโพลงมีแสงโชติช่วง บ การใช้สอยเตียงตั่ง ที่พวกกษัตริย์มหาศาล หรือ พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ถวายด้วยศรัทธา ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! การใช้สอยเตียงตั่ง ที่พวกกษัตริย์มหาศาล หรือพราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ถวายด้วยศรัทธา นั่นแหละดีกว่า เพราะว่า การที่ถูกบุรุษมีกำลังแข็งแรง จับเข้า ที่ศีรษะ หรือคอ กดให้นั่งหรือนอนบนเตียงเหล็กหรือตั่งเหล็ก อันร้อนเป็นเปลวไฟลุกโพลง มีแสงโชติช่วง นั่นเป็นความทุกข์ทนได้ยาก พระเจ้าข้า”.
ภิกษุท. ! เราจักบอก เราจักอธิบายแก่พวกเธอทั้งหลายให้เข้าใจ การที่ถูกบุรุษมีกำลัง แข็งแรง จับเข้าที่ศีรษะหรือที่คอ กดให้นั่งหรือนอนบน เตียงเหล็กหรือตั่งเหล็ก อันร้อนเป็นเปลวไฟ ลุกโพลง มีแสง โชติช่วงนั่น ต่างหากเป็นการดีสำหรับคน ซึ่งเป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติ ชนิดที่ตนเองนึกแล้วก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ต้อง ปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะ ก็ปฏิญญาว่าเป็น สมณะ ไม่ใช่คนประพฤติพรหมจรรย์ ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติพรหมจรรย์เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติ หมักหมม เหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
ภิกษุท. ! เพราะว่า การที่เขาจะต้องตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เนื่องจากเหตุที่เขาถูกบุรุษ มีกำลังแข็งแรง จับเข้าที่ศีรษะหรือที่คอ กดให้นั่งหรือนอน บนเตียงเหล็กหรือตั่งเหล็ก อันร้อนเป็น เปลวไฟ ลุกโพลงมีแสงโชติช่วง หาได้เป็นเหตุให้เขาต้องเกิดใน อบาย ทุคติวินิบาต นรก ภายหลังแต่ความ ตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ไม่
ส่วนการ ที่เขา เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดที่ตนเอง นึกแล้วก็ กินแหนง ตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะ ก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คน ประพฤติพรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติพรหมจรรย์เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติ หมักหมม เหมือนบ่อ ที่เทขยะ มูลฝอย แล้วยัง (มีความคิดที่จะ) ใช้สอยเตียงตั่ง ที่พวกกษัตริย์มหาศาล หรือ พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ถวายด้วยศรัทธานั้น ย่อม เป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูล แก่เขา ตลอดกาลนาน ภายหลังแต่ความตาย เพราะ การทำลายแห่งกาย เขาย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติวินิบาต นรก.
หน้า21
กุฏิวิหารที่ลุกเป็นไฟ
(ทรงอุปมาเช่นเดียวกับ กอดกองไฟ)
ภิกษุท. ! พวกเธอทั้งหลาย จักตัดสินเนื้อความสองข้อนี้ว่าอย่างไหน จะดีกว่ากัน คือ การที่ถูก บุรุษมีกำลังแข็งแรง จับเอาเท้าขึ้นข้างบน ให้ห้อยหัวลงล่าง หย่อนลงในหม้อโลหะ ซึ่งกำลังร้อน ลุกโพลง เป็นเปลว ไฟมีแสงโชติช่วง เขาถูกต้มเดือดเป็นฟอง บางคราว ลอยขึ้นบน บางคราวลอย ลงตํ่า บางคราว ขวางอยู่กับการบริโภค(อาศัย) ในวิหาร ที่พวก กษัตริย์มหาศาล หรือพราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ถวายด้วยศรัทธา ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! การบริโภค (อาศัย) ในวิหาร ที่พวกกษัตริย์มหาศาล หรือ พราหมณ์ มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ถวายด้วยศรัทธา นั่นแหละดีกว่า เพราะว่า การที่ถูก บุรุษมีกำลัง แข็งแรง จับเอาเท้าขึ้นข้างบน ให้ห้อยหัวลงล่าง หย่อนลงในหม้อโลหะ ซึ่งกำลังร้อน ลุกโพลงเป็น เปลวไฟมีแสง โชติช่วง เขาถูกต้มเดือดเป็นฟอง บางคราว ลอยขึ้นบน บางคราว ลอยลงตํ่า บางคราว ขวางอยู่นั่นเป็น ความทุกข์ทนได้ยาก พระเจ้าข้า”.
ภิกษุท. ! เราจักบอก เราจักอธิบายแก่พวกเธอทั้งหลายให้เข้าใจ การที่ถูกบุรุษ มีกำลังแข็งแรง จับเอาเท้าขึ้นข้างบน ให้ห้อยหัวลงล่าง หย่อนลง ในหม้อโลหะ ซึ่งกำลังร้อน ลุกโพลงเป็นเปลวไฟ มีแสง โชติช่วง เขาถูกต้ม เดือดเป็นฟอง บางคราวลอยขึ้นบน บางคราว ลอยลงตํ่า บางคราวขวาง อยู่นั่นต่างหาก เป็นการดีสำหรับคน ซึ่งเป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ ลามก
ไม่สะอาด มีความประพฤติ ชนิดที่ตนเอง นึกแล้วก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำ ที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คน ประพฤติพรหมจรรย์ ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติพรหมจรรย์เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติหมักหมม เหมือนบ่อ ที่เทขยะมูลฝอย. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
ภิกษุท. ! เพราะว่า การที่เขาจะต้องตายหรือได้รับทุกข์เจียนตาย เนื่องจากเหตุที่ เขาถูกบุรุษ มีกำลังแข็งแรง จับเอาเท้าขึ้นข้างบน ให้ห้อย หัวลงล่าง หย่อนลงในหม้อโลหะ ซึ่งกำลังร้อนลุกโพลง เป็นเปลวไฟมีแสง โชติช่วง หาได้เป็นเหตุให้เขาต้องเกิดใน อบาย ทุคติวินิบาต นรก ภาย หลัง แต่ความตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ไม่ ส่วนการที่เขาเป็นคน ทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดที่ตนเองนึกแล้ว ก็กิน แหนงตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะ ก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติ พรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติ หมักหมม เหมือนบ่อที่เท ขยะมูลฝอย แล้วยัง (มีความคิดที่จะ) บริโภค (อาศัย) ในวิหาร ที่พวกกษัตริย์ มหาศาล หรือ พราหมณ์ มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ถวายด้วยศรัทธา นั้น ย่อมเป็นไป เพื่อความทุกข์ไม่เกื้อกูลแก่เขา ตลอดกาลนาน ภายหลังแต่ความตาย เพราะ การทำลายแห่งกาย เขาย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติวินิบาต นรก.
ภิกษุท. ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจ ไว้ว่า “เราทั้งหลาย จะบริโภค จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริกขารของทายกทั้งหลาย โดยประการ ที่จักทำให้ทายก เหล่านั้นได้รับผลมาก มีอานิสงส์มาก ให้จงได้ และการบรรพชา ของเราทั้งหลาย เหล่านี้เล่า ก็จักไม่เป็น หมันเสียเปล่า แต่กลับได้รับผล มีกำไร” ดังนี้. ภิกษุท. ! พวกเธอทั้ง หลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้.
ภิกษุท. ! ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตนก็ตาม ควรแท้ที่จะทำตนให้ถึง พร้อมด้วยความ ไม่ประมาท.
ภิกษุท. ! ผู้เห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่นก็ตาม ก็ควรแท้ที่จะทำตนให้ถึง พร้อมด้วยความ ไม่ประมาท.
ภิกษุท. ! ผู้เห็นแก่ประโยชน์ทั้งสอง (คือทั้งของตนทั้งของผู้อื่น) ก็ตาม ก็ควรแท้ที่จะทำตน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ดังนี้.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า กำลังแสดงเนื้อความ ดังที่กล่าวมานี้ ตั้งแต่เรื่องการ กอด กองไฟ เป็นต้นมา อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีโลหิตอุ่นพุ่งพ้นออกจากปากแล้ว ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้บอกเลิก สิกขาหมุนกลับคืนไปสู่เพศตํ่าแห่งคฤหัสถ์โดยได้สำนึกว่า ‘พรหมจรรย์นี้ประพฤติกระทำ ได้ยาก กระทำ ได้ยากอย่างยิ่ง’ แต่ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป อีกจำนวนหนึ่งนั้น ได้เป็นพระอรหันต์ มีจิต ไม่ถือมั่นด้วย อุปาทาน เพราะหลุดพ้นจาก อาสวกิเลสทั้งหลายแล้วแล.
(อัคคิขันธูปมสูตร P1144)
หน้า23
ผู้หมดหวัง
(ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติพรหมจรรย์ ก็ปฏิญญาว่าประพฤติ พรหมจรรย์ เป็นนักบวชที่ทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม)
ภิกษุท. ! คนชนิดไรชื่อว่า ผู้หมดหวัง ?
ภิกษุท. ! ในโลกนี้คนบางคน จำเพาะมาเกิด ในตระกูล ตํ่า เช่น ตระกูลจัณฑาล ตระกูลจักสาน ตระกูลนายพราน ตระกูลทำหนัง หรือ ตระกูลคนเทขยะมูลฝอย เป็นคนยากจน ไม่ค่อยมีข้าวนํ้าจะบริโภค เป็นอยู่อย่างแร้นแค้น เป็นที่ซึ่งแม้ของกินอันเป็นเดน ก็หากินได้ โดยยาก ซํ้ามีผิวพรรณ ขี้เหร่นุ่งห่มขี้ริ้ว ร่างแคระ อมโรค ตาพิการ มือแป ขาง่อย อ่อนเปลี้ย ไม่มี โอกาส จะได้ข้าว ได้นํ้า ผ้าผ่อน ยวดยาน เครื่องประดับ เครื่องหอม
เครื่องทา เครื่องนั่งนอน และเครื่อง โคมไฟ กะเขาเลย.
คนเข็ญใจผู้นั้น ได้ยินข่าวว่า “พวกกษัตริย์ได้ทำการอภิเษกกษัตริย์องค์หนึ่ง ขึ้นเป็น เจ้าแผ่นดินด้วยพิธีราชาภิเษก” ดังนี้ ก็คิดถึงตัวว่า “สำหรับเราย่อมไม่มีหวังที่กษัตริย์ทั้งหลาย
จักอภิเษก ยกเราขึ้น เป็นเจ้าแผ่นดิน ด้วยพิธีราชาภิเษกอย่างนั้นบ้าง” ดังนี้. ภิกษุท. ! นี้เรียกว่า คนหมดหวัง.
ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น นักบวชบางคน ในกรณีนี้เป็น คนทุศีล มีความเป็นอยู่ เลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดที่ตนเองนึกแล้ว ก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำ ที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญญาว่า เป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติ พรหมจรรย์ ก็ปฏิญญา ว่าประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติหมักหมม เหมือนบ่อ ที่เทขยะมูลฝอย.
นักบวชผู้นั้นได้ยินข่าวว่า “ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อัน ไม่มีอาสวะ เพราะหมด อาสวะ ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในชาติที่ปรากฏอยู่นี้แล้ว จึงเข้าอยู่ใน วิหารธรรมนั้น” ดังนี้ ก็คิดถึงตัวว่า “สำหรับเรา ย่อมไม่มีหวังเลย ที่จะทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะหมดอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในชาติที่ปรากฏอยู่นี้แล้ว จึงเข้าอยู่ในวิหาร ธรรมนั้น” ดังนี้. ภิกษุท. ! นี้เรียกว่า คนหมดหวัง.
หน้า24
เมื่อโจรกำเริบ
(พวกโจรมีกำลัง พระราชาเสื่อมกำลัง มีภิกษุลามกมาก ภิกษุมีศีลก็นั่งนิ่ง)
ภิกษุท. ! คราวใด พวกโจรมีกำลัง พระราชาเสื่อมกำลัง คราวนั้น ทั้งพระราชา เอง ก็หมดความผาสุก ที่จะเข้าในออกนอก หรือจะมีใบบอกไปยัง
ชนบทปลายแดน ถึงแม้พวก พราหมณ์ และคฤหบดีก็หมดความสะดวกที่จะเข้า ใน ออกนอก หรือที่จะอำนวยการงาน นอกเมือง. ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุท. ! คราวใด พวกภิกษุลามกมีกำลัง และหมู่ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก เสื่อมกำลัง คราวนั้น หมู่ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก จำต้องเป็นผู้นิ่ง เงียบเชียบ อยู่ในท่ามกลางสงฆ์ หรือถึงกับ ต้องไปอยู่ตาม ชนบท ชายแดน ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุท. ! เหตุเช่นนี้มีขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์แก่คนจำนวนมากเลย กลับทำให้ มหาชน ขาด ความสะดวกสบาย เป็นความเสียหายแก่มหาชน เป็นอันมาก และทั้งเป็นความทุกข์ ไม่เกื้อกูลแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ทั่วกัน แล.
หมวดที่หนึ่ง จบ.
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
หมวดที่๒
ว่าด้วย การไม่สังวร
หน้า27
ผู้ชี้ขุมทรัพย์ !
(พระศาสดากระทำต่อสาวกอย่างไม่ทะนุถนอม)
อานนท์ ! เราไม่พยายามทำกะพวกเธอ อย่างทะนุถนอม
เหมือนพวกช่างหม้อ ทำแก่หม้อ ที่ยังเปียก ยังดิบอยู่
อานนท์ ! เราจักขนาบแล้ว ขนาบอีก ไม่มีหยุด
อานนท์ ! เราจักชี้โทษแล้ว ชี้โทษอีก ไม่มีหยุด
ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้.
คนเรา ควรมองผู้มีปัญญาใด ๆ ที่คอยชี้โทษ คอยกล่าว
คำขนาบอยู่เสมอไป ว่าคนนั้นแหละ คือผู้ชี้ขุมทรัพย์ละ
ควรคบบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น
เมื่อคบหากับบัณฑิตชนิดนั้น
อยู่ย่อมมีแต่ดีท่าเดียว ไม่มีเลวเลย.
หน้า29
ผู้ถูกฉุดรอบด้าน
(ทรงอุปมาอายะตนะทั้ง6 ไม่ต่างกับจับสัตว์ 6ชนิด มาผูกกับเสาหลัก)
ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ไม่มีสังวรนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้เมื่อเห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรส ด้วยลิ้น สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็สยบอยู่ ใน อารมณ์ที่น่ารัก เคียดแค้นในอารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งไว้ซึ่งกายคตา-สติ มีจิตอยู่ด้วย คุณธรรม ไม่รู้ตามเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับแห่งบาป อกุศลที่เกิด แล้ว แก่เขานั้น โดยสิ้นเชิง.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากินต่างกัน มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง คือเขาจับงูมาผูกด้วย เชือกเหนียวเส้นหนึ่ง จับจระเข้ จับนก จับสุนัข บ้าน จับสุนัขจิ้งจอก จับลิง มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง ๆ แล้วผูกรวมเข้าด้วยกันเป็น ปมเดียว ในท่ามกลาง ปล่อยแล้ว. ภิกษุ ท. ! ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้น ทั้งหกชนิด มีที่อาศัย
และที่เที่ยวต่าง ๆ กัน ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน เพื่อจะไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตน ๆ
งูจะเข้าจอมปลวก จระเข้จะลงนํ้า นกจะบินขึ้นไปในอากาศ สุนัข จะเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอก จะไปป่าช้า ลิงก็จะไปป่า. ครั้นเหนื่อยล้ากัน ทั้งหกสัตว์แล้ว สัตว์ใดมีกำลังกว่า สัตว์นอกนั้นก็ต้อง ถูกลาก ติดตามไปตาม อำนาจของสัตว์นั้น. ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุท. ! ภิกษุใดไม่อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว ตา ก็จะฉุด เอาภิกษุนั้นไปหารูป ที่น่า พอใจ รูปที่ไม่น่าพอใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง หู ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหา เสียง ที่น่าฟัง เสียงที่ไม่น่าฟังก็กลาย เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง จมูก ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไป หากลิ่น ที่น่าสูดดม กลิ่นที่ไม่น่าสูดดมก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัด ขยะแขยง ลิ้น ก็จะฉุดเอา ภิกษุนั้น ไปหารส ที่ชอบใจ รสที่ไม่ชอบใจก็กลาย เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง กาย ก็จะฉุดเอา ภิกษุนั้นไปหาสัมผัส ที่ยั่วยวนใจ สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจ ก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัด ขยะแขยง และ ใจ ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้น ไปหาธรรมารมณ์ ที่ถูกใจ ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจ ก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึก อึดอัด ขยะแขยง ข้อนี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน.
ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ไม่มีสังวรเป็นอย่างนี้แล.
หน้า30
แมวตายเพราะหนู
(ภิกษุที่ไม่รักษากาย วาจา จิต ไม่ตั้งสติไว้ ไม่สำรวม ...จิตย่อมถูกราคะ เสียบแทง ได้รับทุกข์เจียนตาย เหมือนถูกลูกหนูกัดใส้)
ภิกษุท. ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว แมวตัวหนึ่ง ยืนคอยจ้องจับหนูอยู่ ที่ปากช่องที่เท ขยะมูลฝอย ริมฝาเรือน ด้วยหวังว่า “หนูตัวอ่อน จักออกมาเพื่อหาเหยื่อในที่ใด จักจับมันมากินเสียในที่นั้น” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! ครั้งนั้น หนูตัวอ่อนออกไปเพื่อหาเหยื่อแล้ว แมวก็จับมันกลืนกินอย่างรวดเร็ว (ทั้งเป็น ๆ). หนูตัวอ่อน นั้นกัดลำไส้ของแมวนั้นบ้าง กัดลำไส้สุดของแมวนั้น บ้าง แมวนั้น ถึงแก่ความตาย หรือได้รับ ทุกข์เจียนตาย เพราะการที่หนูกัดไส้นั้น ๆ เป็นเหตุ.
ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ในเวลาเช้า ครองจีวรถือบาตร เข้าไปสู่ หมู่บ้าน หรือนิคม เพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต ไม่ตั้งสติไว้ ไม่สำรวม อินทรีย์ทั้งหลาย เธอ เห็นมาตุคามในหมู่บ้านหรือนิคมนั้น ๆ ผู้นุ่งชั่วห่มชั่ว ครั้นได้เห็นมาตุคามผู้นุ่งชั่ว ห่มชั่ว เช่นนั้นเข้าแล้ว ราคะก็เสียบแทงจิตของเธอ ภิกษุนั้นมีจิตถูกราคะ เสียบแทงแล้ว ย่อมถึง ความตาย หรือได้รับทุกข์เจียน ตาย.
ภิกษุ ท. ! ที่เรียกว่า “ตายในอริยวินัย” นั้น ได้แก่ผู้ที่บอก เลิกสิกขาหมุนกลับคืนไปส่เพศตํ่า แห่งคฤหัสถ์. ที่เรียกว่า “ทุกข์เจียนตาย” ได้แก่ผู้ที่ต้องอาบัติอันเศร้าหมองร้ายแรง อันใดอันหนึ่ง ถึงกับต้อง ออกจากอาบัตินั้น ด้วยระเบียบแห่งการอยู่กรรม.
หน้า31
เนื้อนาที่ไม่เกิดบุญ
(ทรงอุปมาเปรียบเหมือนช้างศึกที่ฝึกมาดีแล้ว ย่อมอดทน ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือ องค์5)
ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงประกอบด้วยองค์ห้า เป็นช้างไม่คู่ควรแก่พระราชา ไม่เป็นราชพาหนะ ได้ไม่นับว่าเป็นของคู่บารมีของพระราชา. องค์ห้าอะไรเล่า ? องค์ห้าคือ ช้างหลวงในกรณีนี้ เป็นช้าง ที่ไม่ อดทน ต่อรูปทั้งหลาย ไม่อดทน ต่อเสียงทั้งหลาย ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย ไม่อดทน ต่อรส ทั้งหลาย ไม่อด ทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงที่ไม่อดทนต่อรูปทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ช้าง หลวงเมื่อออกศึก ได้เห็นหมู่พลช้างก็ดี หมู่พลม้าก็ดี หมู่พลรถก็ดี หมู่พลราบก็ดี (ของฝ่ายข้าศึก) แล้ว ก็ระย่อ ห่อหด ถดถอยเสีย ไม่อาจจะเข้าสู่ที่รบ. ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อรูป ทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงที่ไม่อดทนต่อเสียงทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ช้าง หลวงเมื่อออกศึก ได้ยินเสียงหมู่พลช้างก็ดี หมู่พล ม้าก็ดี หมู่พลรถก็ดี หมู่พลราบก็ดี ได้ยินเสียง กึกก้องแห่งกลอง บัณเฑาะว์สังข์และมโหระทึกก็ดี แล้วก็ระย่อ ห่อหด ถดถอยเสีย ไม่อาจ จะเข้าสู่ที่รบ. ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อเสียงทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงที่ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ช้างหลวงเมื่อออกศึก ได้กลิ่นมูตรและกรีส (ปัสสาวะ และอุจจาระ) ของช้างทั้งหลาย ชนิดที่เป็นชั้น จ่าเจนสงครามเข้าแล้ว ก็ระย่อ ห่อหด ถดถอยเสีย ไม่อาจจะเข้าสู่ที่รบ. ภิกษุ ท. ! ช้างหลวง อย่างนี้ ชื่อว่า ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงที่ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ช้างหลวง เมื่อออกศึก เมื่อไม่ได้รับการทอดหญ้า และ นํ้ามื้อหนึ่งหรือสองมื้อ สามมื้อ สี่มื้อ หรือห้ามื้อ แล้วก็ระย่อ ห่อหด ถดถอยเสีย ไม่อาจจะเข้าสู่ที่รบ. ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงที่ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย เป็นอย่างไร
เล่า ?
ภิกษุ ท. ! ในกรณี นี้ช้างหลวงเมื่อออกศึก อย่างเร็วกะทันหันเข้าหนึ่งลูก หรือสองลูก สามลูก สี่ลูก ก็ระย่อ ห่อหด ถดถอย อยู่เสีย ไม่อาจจะเข้าสู่ที่รบ. ภิกษุ ท. ! ชื่อว่า ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย.
ถูกศรที่เขา ยิงมาหรือห้า
ลูกแล้ว ช้างหลวงอย่างนี้
ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุเมื่อประกอบด้วยเหตุห้าอย่างแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ควร
แก่ของบูชา ไม่ควรแก่ของต้อนรับ ไม่ควรแก่ของทำบุญ ไม่ควรทำอัญชลี ไม่เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่าง ดีเยี่ยม. เหตุห้าอย่างอะไรกันเล่า ? เหตุห้าอย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูปทั้งหลาย ไม่อดทน
ต่อเสียงทั้งหลาย ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย
ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย ไม่อดทน ต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรูปทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว ติดใจยินดีในรูปอันเป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัดยินดี ไม่อาจจะตั้งจิตเป็นกลางอยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อรูปทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียงทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ได้ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ติดใจยินดีในเสียงอันเป็น ที่ตั้งแห่งความกำหนัด ยินดีไม่อาจจะตั้งจิต เป็นกลาง อยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อเสียง ทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ติดใจยินดีในกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ยินดีไม่อาจจะตั้งจิตเป็นกลาง อยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ติดใจยินดีในรสอันเป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัดยินดี ไม่อาจจะตั้งจิตเป็นกลางอยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย เป็นอย่างไร เล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุใน กรณีนี้ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ติดใจ ยินดีในโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัดยินดี ไม่อาจจะตั้งจิตเป็นกลาง อยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยเหตุห้าอย่างนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ควร แก่ของบูชา ไม่ควรแก่ของ ต้อนรับ ไม่ควรแก่ของทำบุญ ไม่ควร ทำอัญชลีไม่เป็นเนื้อนาบุญ ของโลกอย่าง ดีเยี่ยมเลย.
หน้า34
เสียขวัญตั้งแต่เห็นผงคลี
(ทรงอุปมาเปรียบเหมือนนักรบ เพียงแค่เห็นผลคลี ก็หวั่นไหว ไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์ได้)
ภิกษุ ท. ! นักรบอาชีพบางประเภท เพียงแต่เห็นผงคลี (ฟุ้งขึ้นใน กองทัพข้าศึก) ก็ขวัญหนี ครั่นคร้าม หวั่นหวาดจนสะกดใจไม่อยู่ไม่อาจจะเข้า ต่อต้านสงคราม. นักรบอาชีพบางประเภทในกรณีนี้ เป็นเช่นนี้เป็นนักรบอาชีพ ประเภทแรก มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก . . .
ภิกษุท. ! นักบวชเปรียบด้วยนักรบอาชีพเช่นนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุหาได้ ในหมู่ภิกษุ เหมือนกัน. ในกรณีนี้คือ ภิกษุเพียงแต่เห็น “ผงคลี” ก็ขวัญหนีครั่นคร้าม หวั่นหวาดจน สะกดใจ ไม่อยู่ไม่อาจจะสืบ พรหมจรรย์ต่อไปได้เปิดเผยถึงความเป็นผู้หมดกำลังใจต่อสิกขา บอกเลิกสิกขา หมุน กลับคืนไปสู่ เพศตํ่า แห่งคฤหัสถ์. ข้อว่า “ผงคลี” สำหรับภิกษุนั้น ได้แก่อะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุได้ฟังข่าวว่า สตรีหรือกุมารีในหมู่บ้านหรือนิคมโน้น รูปสวย
เป็นขวัญตา เป็นขวัญใจ มีผิวพรรณและทรวดทรงงามยิ่งนัก. ภิกษุนั้น เพียงได้ยิน ข่าวลือ เท่านั้น ก็ระย่อท้อถอย ระทมระทด หวั่นหวาดจนสะกดใจไม่อยู่ไม่อาจจะสืบ พรหมจรรย์ต่อไป ได้เปิดเผยถึงความ เป็นผู้หมดกำลังใจต่อสิกขา บอกเลิก สิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศตํ่าแห่งคฤหัสถ์. ความที่ได้ยินข่าว หญิงงามนี้ได้ในข้อว่า “เห็นผงคลี” สำหรับภิกษุนั้น.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนักรบอาชีพ ผู้นั้น เพียงแต่เห็นผงคลี (ฟุ้งขึ้นในกองทัพข้าศึก) ก็ขวัญหนี ครั่นคร้าม หวั่น หวาดจนสะกดใจไม่อยู่ไม่อาจจะเข้า ต่อต้านสงคราม ฉันใด ภิกษุ ท. ! เรา กล่าวนักบวชนี้ ว่า มีนักรบอาชีพชนิดนั้นเป็นคู่เปรียบ ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! นักบวชบางคนในกรณีนี้เป็นเช่นนี้เป็น นักบวช ที่เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ประเภทแรก มีอยู่ในหมู่ภิกษุหาได้ในหมู่ภิกษุ.
หน้า35
เสียขวัญตั้งแต่เห็นยอดธงชัยของข้าศึก
(ทรงอุปมาเปรียบเหมือนนักรบ เพียงแค่เห็นยอดธงของข้าศึกก็หวั่นไหว อ่อนระหวยโรยแรง )
ภิกษุ ท. ! นักรบอาชีพบางประเภททนต่อผงคลีได้ แต่พอสักว่าเห็น ยอดธงชัย ของข้าศึก เข้าแล้ว ก็ขวัญหนีครั่นคร้าม หวั่นหวาดจนสะกด ใจไม่อยู่ไม่อาจจะ เข้าต่อต้าน สงคราม. นักรบอาชีพบาง ประเภทในกรณีนี้เป็นเช่นนี้เป็นนักรบอาชีพประเภทที่สอง มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก
ภิกษุ ท. ! นักบวชเปรียบด้วยนักรบอาชีพเช่นนี้ก็มีอยู่ในหมู่ ภิกษุหาได้ในหมู่ภิกษุเหมือนกัน. ในกรณีนี้คือ ภิกษุทนต่อ “ผงคลี” ได้ แต่พอสักว่าเห็น “ยอดธงชัยของข้าศึก” เข้าแล้ว ก็ระย่อท้อถอย ระทม ระทด หวั่นหวาดจนสะกดใจไม่อยู่ไม่อาจจะสืบพรหมจรรย์ต่อไปได้เปิดเผย ถึงความเป็นผู้หมด กำลังใจต่อสิกขา บอกเลิกสิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศตํ่า แห่งคฤหัสถ์. ข้อว่า “ยอดธงชัยของข้าศึก” สำหรับภิกษุนั้นได้แก่อะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุไม่เพียงแต่ได้ยินข่าวดังกล่าวแล้วแต่ว่าเธอ ได้เห็นเองซึ่งสตรี หรือกุมารีรูปสวย เป็นขวัญตาเป็นขวัญใจ มีผิว พรรณและทรวดทรงงามยิ่งนัก. ภิกษุนั้น ครั้นได้เห็นหญิง งามนั้นแล้ว กระย่อ ท้อถอย ระทมระทด หวั่นหวาดจนสะกดใจไม่อยู่ไม่อาจจะสืบ พรหมจรรย์ต่อไปได้ เปิดเผยถึงความเป็นผู้หมดกำลังใจต่อสิกขา บอกเลิก สิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศตํ่าแห่งคฤหัสถ์. ความที่ได้เห็นหญิงงามนี้ได้ในข้อว่า “เห็นยอดธงชัยของข้าศึก” สำหรับภิกษุนั้น.
ภิกษุ ท ! เปรียบเหมือน นักรบอาชีพประเภทที่ทนต่อผงคลีได้แต่พอสักว่า เห็นยอดธงชัยของ ข้าศึก เข้าแล้วก็ขวัญหนีครั่นคร้าม หวั่นหวาดจนสะกดใจไม่อยู่ไม่อาจจะ เข้าต่อ ต้านสงคราม ฉันใด ภิกษุ ท. ! เรากล่าวนักบวชนี้ว่า มีนักรบอาชีพชนิดนั้น เป็นคู่เปรียบ ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! นักบวชบางคนใน กรณีนี้เป็นเช่นนี้เป็นนักบวชที่เปรียบด้วยนักรบอาชีพประเภทที่สอง มีอยู่ในหมู่ภิกษุหาได้ในหมู่ภิกษุ.
หน้า37
เสียขวัญตั้งแต่ได้ยินเสียงโห่ร้อง
(ทรงอุปมาเปรียบเหมือนนักรบ เพียงแค่เห็นข้าศึกโห่ร้องก็หวั่นไหว ไม่เข้มแข็งที่จะประพฤติ
พรหมจรรย์ต่อไปได้ )
ภิกษุ ท. ! นักรบอาชีพบางประเภททนต่อผงคลีได้ ทนต่อยอดธงชัยได้ แต่พอสักว่าได้ยิน เสียงโห่ร้องของข้าศึกแล้ว ก็ขวัญหนีครั่นคร้าม หวั่นหวาดจนสะกดใจไม่อยู่ ไม่อาจจะเข้าต่อต้าน
สงคราม. นักรบอาชีพบาง ประเภทในกรณีนี้เป็นเช่นนี้เป็นนักรบอาชีพประเภทที่สาม มีอยู่ในโลก หาได้ ในโลก . . .
ภิกษุ ท. ! นักบวชเปรียบด้วยนักรบอาชีพเช่นนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุ หาได้ในหมู่ภิกษุเหมือนกัน. ในกรณีนี้คือ ภิกษุทนต่อ “ผงคลี” ทนต่อ “ยอดธงชัยของข้าศึก” ได้ แต่พอสักว่าได้ยิน “เสียงโห่ร้อง ของข้าศึก” เข้าแล้ว ก็ระย่อท้อถอย ระทมระทด หวั่นหวาดจนสะกดใจไม่อยู่ไม่อาจจะ สืบพรหมจรรย์ ต่อไป ได้เปิดเผยถึงความเป็นผู้หมดกำลังใจต่อสิกขา บอกเลิกสิกขาหมุนกลับคืน ไปสู่เพศตํ่าแห่ง คฤหัสถ์. ข้อว่า “เสียงโห่ร้องของ ข้าศึก” สำหรับภิกษุนั้นได้แก่อะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุอยู่ป่า หรืออยู่โคนไม้หรืออยู่เรือนว่าง มีมาตุคามเข้าไปชวนระริก ซิกซี้สรวลเส หัวเราะเสียงดัง ยั่วเย้า. ภิกษุนั้นถูกมาตุคามชวนระริกซิกซี้สรวลเส หัวเราะ เสียงดังยั่วเย้า เข้าแล้ว ก็ระย่อท้อถอย ระทมระทด หวั่นหวาดจนสะกดใจ ไม่อยู่ไม่อาจจะสืบพรหมจรรย์ต่อไปได้ เปิดเผย ถึงความเป็นผู้หมดกำลังใจ ต่อสิกขา บอกเลิกสิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศตํ่าแห่งคฤหัสถ์. ความที่ถูก มาตุคามยั่วยวนกวนใจนี้ได้ในข้อว่า “เสียงโห่ร้องของข้าศึก” สำหรับภิกษุนั้น.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนักรบอาชีพ ประเภทที่ทนต่อผงคลี ทนต่อยอด
ธงชัยได้ แต่พอสักว่า ได้ยินเสียงโห่ร้องของข้าศึกเข้าแล้ว ก็ขวัญหนีครั่นคร้าม วั่นหวาดจนสะกดใจไม่อยู่ไม่อาจ จะเข้าต่อต้าน สงคราม ฉัน ใด
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวนักบวชนี้ว่า มีนักรบอาชีพชนิดนั้นเป็นคู่เปรียบ ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! นักบวชบาง คนในกรณีนี้เป็นเช่นนี้เป็นนักบวชที่เปรียบด้วย นักรบอาชีพประเภทที่สาม มีอยู่ในหมู่ภิกษุ หาได้ในหมู่ภิกษุ.
หน้า38
เสียขวัญตั้งแต่พอเริ่มการสัมประหารกัน
ภิกษุ ท. ! นักรบอาชีพบางประเภททนต่อผงคลีได้ ทนต่อยอดธงชัย ได้ทนต่อเสียง โห่ร้องได้ แต่ว่า พอเริ่มการสัมประหารกันเท่านั้น ก็ยอมแพ้. นักรบอาชีพบาง ประเภทในกรณี นี้เป็นเช่นนี้ เป็นนักรบอาชีพประเภท ที่สี่มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก . . .
ภิกษุ ท. ! นักบวชเปรียบด้วยนักรบอาชีพเช่นนี้ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุ หาได้ในหมู่ภิกษุ
เหมือนกัน. ในกรณีนี้คือ ภิกษุทนต่อ “ผงคลี” ได้ทนต่อ “ยอดธงชัยของข้าศึก” ได้และทนต่อ “เสียงโห่ร้อง” ได้, แต่ว่า พอเริ่ม การสัมประหาร ก็ยอมแพ้.
ข้อว่า “การสัมประหารกัน” สำหรับภิกษุนั้น ได้แก่อะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุอยู่ป่า หรืออยู่โคน ไม้หรือ อยู่เรือนว่าง มีมาตุคามเข้าไปนั่งเบียดนอนเบียด นั่งทับนอนทับ. เมื่อเธอ ถูกกระทำเช่นนั้น, ไม่ทัน จะได้บอกคืนสิกขา ไม่ทันจะเปิดเผยถึงความ เป็นผู้หมดกำลังใจต่อ สิกขา ได้เสพเมถุนแล้ว. ความที่ถูก กระทำเช่นนี้ได้ในข้อว่า “เริ่มการสัมประหารกัน” สำหรับ ภิกษุนั้น.
ภิกษุ ท. ! เปรียบ
เหมือนนักรบอาชีพประเภท ที่อดทนต่อผงคลี ได้ทนต่อยอดธงชัย ได้และทน ต่อเสียงโห่ร้องได้ แต่ว่าได้ยอมแพ้ในขณะสักว่าพอเริ่มการสัมประหารกัน ฉันใด
ภิกษุท. ! เรากล่าวนักบวชนี้ว่า มีนักรบอาชีพชนิดนั้น เป็นคู่เปรียบ ฉันนั้น. ภิกษุท. ! นักบวช บางคนในกรณีนี้เป็นเช่นนี้เป็นนักบวชที่เปรียบ ด้วยนักรบอาชีพประเภทที่สี่มีอยู่ในหมู่ ภิกษุหาได้ในหมู่ภิกษุแล.
หน้า39
ผู้ตายคาที่
ภิกษุท. ! นักรบอาชีพบางคน ถือดาบและโล่สอดใส่ธนูและแล่ง เข้าสู่สงครามอัน ประชิดแล้ว. เขาอุตสาหะพยายามในการสู้รบนั้น. พวกข้าศึก ฆ่าเขาผู้อุตสาหะพยายามอยู่นั้น ตายไป. ภิกษุท. ! นักรบอาชีพบางคนใน กรณีนี้เป็นเช่นนี้ เป็นนักรบอาชีพประเภทแรก มีอยู่ ในโลก หาได้ในโลก . . .
ภิกษุท. ! นักบวชเปรียบด้วยนักรบอาชีพชนิดนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุ หาได้ในหมู่ภิกษุ เหมือนกัน. ในกรณีนี้คือ ภิกษุเข้าไปอยู่อาศัยหมู่บ้านหรือ นิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่. เวลาเช้า เธอครองจีวร ถือบาตร เข้าไปสู่หมู่บ้าน หรือนิคมนั้น เพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษา วาจา ไม่รักษาจิต ไม่ตั้งสติไว้ ไม่สำรวมอินทรีย์ทั้งหลาย เธอเห็นมาตุคามในหมู่บ้านหรือ นิคมนั้น นุ่งชั่วห่มชั่ว เพราะได้เห็นมาตุคาม นุ่งชั่วห่มชั่วแล้ว ราคะก็เสียบ แทงจิตของเธอ. ภิกษุนั้น มีจิตถูกราคะเสียบแทงแล้ว ไม่ทันบอกเลิก สิกขา
ไม่ทันทำให้แจ้ง ซึ่งความเป็นผู้หมด กำลังใจต่อสิกขา ได้เสพเมถุนแล้ว.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนักรบอาชีพผู้นั้น ถือดาบและโล่สอดใส่ธนูและแล่งเข้าสู่ สงคราม อันประชิดแล้ว เขาอุตสาหะ พยายามในการสู้รบนั้น. พวกข้าศึกฆ่าเขาผู้อุตสาหะ พยายามอยู่นั้นตายไป
ฉันใด ภิกษุ ท. ! เรากล่าว นักบวชนี้ว่า มีนักรบที่ตายในสนามรบ เป็นคู่เปรียบ ฉันนั้น . ภิกษุ ท. ! นักบวช บางคนในกรณีนี้เป็นเช่นนี้เป็นนักบวช ที่เปรียบด้วย นักรบ อาชีพประเภทแรก มีอยู่ในหมู่ภิกษุหาได้ในหมู่ภิกษุ.
หน้า40
ผู้ตายกลางทาง
ภิกษุ ท. ! นักรบอาชีพบางคน ถือดาบและโล่สอดใส่ธนูและแล่ง เข้าสู่สงครามอัน ประชิดแล้ว. เขาอุตสาหะ พยายามในการสู้รบนั้น. พวกข้าศึกได้ฟันแทงเขาผู้อุตสาหะ พยายามอยู่นั้น จนมีแผลเต็มตัว. พวก เดียวกันนำเอาตัวเขาออกไปจากที่รบ เพื่อนำไปส่ง หมู่ญาติ. เขาถูกพวกญาตินำกลับไป ยังไม่ทันถึงสำนักญาติก็ตายเสียกลางทาง.
ภิกษุ ท. ! นักรบ อาชีพบางคนในกรณีนี้เป็นเช่นนี้ เป็นนักรบอาชีพประเภทที่สอง มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก . . .
ภิกษุ ท. ! นักบวชเปรียบด้วยนักรบอาชีพชนิดนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุ หาได้ในหมู่ภิกษุเหมือนกัน. ในกรณีนี้คือ ภิกษุเข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคม แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่. เวลาเช้า เธอครองจีวร ถือบาตร เข้าไป สู่หมู่บ้านหรือนิคมนั้น เพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต ไม่ตั้งสติไว้ ไม่สำรวม อินทรีย์ทั้งหลาย เธอเห็นมาตุคามในหมู่บ้านหรือนิคมนั้น นุ่งชั่ว ห่มชั่ว เพราะได้ เห็นมาตุคาม นุ่งชั่วห่ม ชั่วแล้ว ราคะก็เสียบแทงจิตของเธอ.
ภิกษุนั้น มีจิตถูกราคะเสียบแทงแล้ว เร่าร้อนกาย รุ่มร้อนใจ ได้ความคิดว่า “อย่าเลย เราจักกลับ ไปสู่อาราม จักบอกความนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ตามความ ในใจของเราว่า ท่านผู้มีอายุ ท. ! ข้าพเจ้าถูกราคะ แผดเผาแล้ว ถูกราคะ ครอบงำแล้ว ข้าพเจ้าไม่อาจจะสืบพรหมจรรย์ ต่อไปได้ ข้าพเจ้าต้องเปิดเผย ถึงความเป็นผู้หมดกำลังใจต่อสิกขา จักบอกเลิกสิกขาหมุน กลับคืนไปสู่เพศตํ่าแห่งคฤหัสถ์” ดังนี้.
ภิกษุนั้น ครั้นกลับไปยังไม่ทันถึงอาราม ก็เปิดเผยถึงความเป็นผู้หมดกำลังใจ ต่อสิกขา บอกเลิก สิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศตํ่า แห่งคฤหัสถ์ ณ กลางทางนั่นเอง.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนักรบอาชีพผู้นั้น ถือดาบและโล่ สอดใส่ธนูและแล่งเข้าสู่ สงคราม อันประชิดแล้ว เขาอุตสาหะ พยายามในการสู้รบ นั้น. พวกข้าศึกฟันแทงเขา ผู้อุตสาหะ พยายามอยู่นั้น จนมีแผลเต็มตัว. พวก เดียวกันนำเอาตัวเขาออกไปจากที่รบ เพื่อนำ ไปส่งหมู่ญาติ. เขาถูกพวกญาติ นำกลับไปยังไม่ทันถึงสำนักญาติก็ตายเสีย ณ กลางทางนั่นเอง ฉันใด
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวนักบวชนี้ว่า มีนักรบสิ้นชีพกลางทางเป็นคู่เปรียบ ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! นักบวช บางคนในกรณีนี้เป็นเช่นนี้ เป็นนักบวชที่เปรียบด้วยนักรบ อาชีพประเภทที่สอง มีอยู่ในหมู่ภิกษุ หาได้ในหมู่ ภิกษุ.
หน้า42
ผู้ตายที่บ้าน
ภิกษุ ท. ! นักรบอาชีพบางคน ถือดาบและโล่สอดใส่ธนูและแล่ง เข้าสู่สงครามอันประชิดแล้ว. เขาอุตสาหะ พยายามในการสู้รบนั้น. พวกข้าศึก ฟันแทงเขาผู้อุตสาหะ พยายามอยู่นั้น จนมีแผลเต็มตัว. พวกเดียวกันนำเอาตัว เขาออกไปจากที่รบ เพื่อนำไปส่งหมู่ญาติ. พวกญาติช่วยกันพยาบาลแก้ไขเขา. เมื่อพวกญาติพยาบาลแก้ไขอยู่ก็ยังตายเพราะความเจ็บนั้นจนได้. ภิกษุ ท. ! นักรบอาชีพบางคนในกรณีนี้ เป็นเช่นนี้เป็นนักรบอาชีพประเภทที่สาม มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก
ภิกษุ ท. ! นักบวชเปรียบด้วยนักรบอาชีพ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุหาได้ในหมู่ภิกษุเหมือนกัน. ในกรณีนี้ คือ ภิกษุเข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคม แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่. เวลาเช้า เธอครองจีวร ถือบาตร เข้าไปสู่หมู่บ้าน หรือนิคมนั้น เพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต ไม่ตั้ง สติไว้ ไม่สำรวมอินทรีย์ทั้งหลาย เธอเห็นมาตุคามในหมู่บ้านหรือนิคมนั้น นุ่งชั่วห่มชั่ว เพราะได้เห็นมาตุคามนุ่งชั่วห่มชั่วแล้ว ราคะก็เสียบแทงจิต ของเธอ.
ภิกษุนั้นมีจิตถูกราคะเสียบแทงแล้ว ก็เร่าร้อนกาย รุ่มร้อนใจ ได้ความคิดว่า “อย่าเลย เราจักกลับ ไปสู่อาราม จักบอกความนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ตามความในใจของเราว่า ท่านผู้มีอายุ ท. ! ข้าพเจ้าถูกราคะ แผด เผาแล้วถูกราคะ ครอบงำแล้ว ข้าพเจ้าไม่อาจจะสืบพรหมจรรย์ ต่อไปได้ข้าพเจ้าต้องเปิดเผยถึง ความเป็นผู้หมดกำลังใจต่อสิกขา จักบอกเลิกสิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศตํ่าแห่ง คฤหัสถ์” ดังนี้.
ภิกษุนั้น ไปถึงอารามแล้วบอกความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านผู้มีอายุ ท. ! ข้าพเจ้าถูกราคะ แผดเผาแล้ว ถูกราคะครอบงำแล้ว ข้าพเจ้าไม
อาจจะสืบพรหมจรรย์ต่อไปได้ ข้าพเจ้าต้องเปิดเผยถึงความ เป็นผู้หมดกำลังใจ ต่อสิกขา จักบอกเลิกสิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศตํ่าแห่งคฤหัสถ์” ดังนี้.
เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ตักเตือนให้สติเธอ พรํ่าชี้ช่องให้เธอ กลับใจว่า “ นี่แน่ะท่าน ผู้มีอายุ ! พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสแล้วว่า ‘กาม ทั้งหลายมีรสอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นใจมาก โทษเพราะ กามนี้มีมากเกินประมาณ. กามทั้งหลายเปรียบด้วยท่อนกระดูก เปรียบด้วย ชิ้นเนื้อ เปรียบด้วย คบเพลิงหญ้า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เปรียบด้วยความ ฝัน เปรียบด้วยของที่ยืมเขามา เปรียบด้วยผลไม้ เปรียบด้วยเขียงสับเนื้อ เปรียบด้วยหอกและหลาว เปรียบด้วยหัวงูพิษ เพราะกามทั้งหลาย เหล่านั้น ๆ มีรสอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นใจมาก โทษเพราะกามนี้มีมากเกิน ประมาณ’ ดังนี้.
ขอท่านผู้มีอายุจงยินดีในพรหมจรรย์ ผู้มีอายุอย่าแสดง ความท้อแท้ต่อสิกขา แล้วบอกเลิกสิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศตํ่าแห่งคฤหัสถ์เสียเลย”. ภิกษุนั้น ทั้ง ๆ ที่เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ตักเตือน ให้สติอย่างนี้ชี้ช่องให้มองเห็น แล้วกลับใจเสียอย่างนี้ก็ยังยืนกรานอยู่ว่า “
ท่านผู้มีอายุ ท. ! ถึงแม้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแล้วว่า กามทั้งหลายมีรสอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นใจมาก โทษเพราะกามนี้มีมากเกินประมาณ ก็จริงอยู่แล แต่ถึงกระนั้น ข้าพเจ้าก็ไม่อาจจะสืบ พรหมจรรย์ต่อไปได้ข้าพเจ้าต้อง เปิดเผย ถึงความเป็นผู้หมดกำลังใจต่อสิกขา จักบอกเลิกสิกขา หมุนกลับ คืน ไปสู่เพศตํ่าแห่งคฤหัสถ์ละ” ดังนี้. ภิกษุนั้น ได้เปิดเผยถึงความเป็นผู้หมดกำลัง จต่อสิกขา บอกเลิกสิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศตํ่าแห่งคฤหัสถ์เสียจนได้.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนักรบอาชีพผู้นั้น ถือดาบและโล่สอดใส่ธนู และแล่ง เข้าสู่สงครามอัน ประชิดแล้ว ; เขาอุตสาหะพยายามในการสู้รบนั้น. พวกข้าศึกฟันแทงเขาผู้อุตสาหะพยายามอยู่นั้น จนมีแผลเต็มตัว. พวกเดียวกัน นำเอาตัวเขาออกไปจากที่รบ เพื่อนำไปส่งหมู่ญาติ. พวกญาติช่วยกัน พยาบาล แก้ไขเขา. เขาถูกพวกญาติพยาบาลแก้ไขอยู่ก็ยังตายเพราะความเจ็บนั้นจนได้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวนักบวชนี้ว่า มีนักรบอาชีพชนิดที่สิ้นชีพที่บ้านญาติเป็นคู่เปรียบ ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! นักบวชบางคนในกรณีนี้เป็นเช่นนี้เป็นนักบวช ที่เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ประเภทที่สาม มีอยู่ในหมู่ภิกษุ หาได้ในหมู่ภิกษุ.
หน้า44
ผู้รอดตาย
ภิกษุ ท. ! นักรบอาชีพบางคน ถือดาบและโล่สอดใส่ธนูและแล่ง เข้าสู่สงครามอันประชิดแล้ว. เขาอุตสาหะ พยายามในการสู้รบนั้น. พวกข้าศึก ฟันแทงเขาผู้อุตสาหะ พยายามอยู่นั้น จนมีบาดแผล เต็มตัว. พวกเดียวกันนำเอา ตัวเขาออกไปจากที่รบ เพื่อนำไปส่งหมู่ญาติ. พวกญาติช่วยกันพยาบาลแก้ไข เขา. เขาถูกพวกญาติพยาบาลแก้ไขแล้ว ก็หายจากความเจ็บนั้น. ภิกษุ ท. ! นักรบอาชีพบางคนในกรณีนี้ เป็นเช่นนี้เป็นนักรบอาชีพ ประเภทที่สี่มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก
ภิกษุ ท. ! นักบวชเปรียบด้วยนักรบอาชีพ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุหาได้ใน หมู่ภิกษุเหมือนกัน. ในกรณีนี้คือภิกษุเข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมแห่งใด แห่งหนึ่งอยู่. เวลาเช้า เธอครองจีวร ถือบาตร เข้าไปสู่หมู่บ้านหรือนิคมนั้น เพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต ไม่ตั้งสติไว้ ไม่สำรวม อินทรีย์ทั้งหลาย เธอเห็นมาตุคามในหมู่บ้านหรือนิคมนั้น นุ่งชั่วห่มชั่ว เพราะได้เห็นมาตุคามนุ่งชั่ว ห่มชั่วแล้ว ราคะก็เสียบแทงจิตของเธอ.
ภิกษุนั้นมีจิตถูกราคะเสียบแทงแล้ว ก็เร่าร้อนกาย รุ่มร้อนใจ ได้ความคิดว่า “อย่าเลย เราจัก กลับ ไปสู่อาราม จักบอกความนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ตามความในใจของเราว่า ท่านผู้มีอายุ ท. ! ข้าพเจ้าถูกราคะ แผดเผาแล้ว ถูกราคะครอบงำแล้ว ข้าพเจ้า ไม่อาจจะสืบพรหมจรรย์ต่อไปได้ ข้าพเจ้าต้องเปิดเผย ถึงความเป็นผู้หมด กำลังใจต่อสิกขา จักบอกเลิกสิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศตํ่า แห่งคฤหัสถ์” ดังนี้. ภิกษุนั้น ไปถึงอารามแล้ว บอกความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านผู้มีอายุ ท. ! ข้าพเจ้าถูกราคะแผดเผาแล้ว ถูกราคะครอบงำแล้ว ข้าพเจ้าไม่อาจจะสืบ พรหมจรรย์ต่อไปได้ ข้าพเจ้า ต้องเปิดเผย ถึงความเป็นผู้ หมด กำลังใจต่อสิกขา จักบอกเลิกสิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศตํ่าแห่งคฤหัสถ์” ดังนี้.
เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ตักเตือนให้สติเธอ พรํ่าชี้ช่อง ให้เธอกลับใจว่า “นี่แน่ะ ท่านผู้มีอายุ ! พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสแล้วว่า ‘กาม ทั้งหลาย มีรสอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นใจมาก โทษเพราะกามนี้มีมากเกินประมาณ. กามทั้งหลายเปรียบด้วยท่อนกระดูก เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เปรียบด้วยความฝัน เปรียบด้วยของที่ยืมเขามา เปรียบด้วยผลไม้ เปรียบด้วยเขียงสับเนื้อ เปรียบด้วยหอกและหลาว เปรียบด้วยหัวงูพิษ เพราะกามทั้งหลายเหล่านั้น ๆ มีรสอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นใจมาก โทษเพราะกามนี้มีมาก เกินประมาณ’ ดังนี้.
ขอท่านผู้มีอายุจงยินดีในพรหมจรรย์ ผู้มีอายุอย่าแสดง ความท้อแท้ต่อสิกขาบอกเลิกสิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศตํ่าแห่งคฤหัสถ์เสียเลย”. ภิกษุนั้น อันเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ตักเตือนให้สติอย่างนี้ชี้ช่องให้มองเห็นแล้ว กลับใจเสียอย่างนี้ก็ตัดสินใจให้ความยินยอมว่า “ท่านผู้มีอายุ ท. ! ถ้าอย่างนั้นข้าพเจ้าจักอุตสาหะ จักดำรงพรหมจรรย์ไว้จักยินดีในพรหมจรรย์. ท่านผู้มีอายุ ท. ! บัดนี้ข้าพเจ้าจักไม่แสดงความท้อแท้ต่อสิกขา ไม่บอกเลิกสิกขา ไม่หมุนกลับคืนไป สู่เพศตํ่าแห่ง คฤหัสถ์ละ” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนักรบอาชีพผู้นั้น ถือดาบและโล่สอดใส่ธนูและแล่ง เข้าสู่สงครามอัน ประชิดแล้ว เขาอุตสาหะพยายามในการสู้รบนั้น. พวกข้าศึกฟันแทงเขา ผู้อุตสาหะพยายามอยู่นั้น จนมีบาดแผลเต็มตัว. พวก เดียวกัน นำเอาตัวเขาออกไปจากที่รบ เพื่อนำไปส่งหมู่ญาติ. พวกญาติช่วยกัน พยาบาลแก้ไขเขา.
เขาถูกพวกญาติ พยาบาล แก้ไขแล้ว ก็หายจากความเจ็บ นั้นได้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวนักบวชนี้ว่า มีนักรบอาชีพที่รอดตาย เป็นคู่เปรียบ ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! นักบวช บางคนในกรณีนี้เป็นเช่นนี้เป็นนักบวช ที่เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ประเภทที่สี่มีอยู่ ในหมู่ภิกษุ หาได้ในหมู่ ภิกษุแล.
หน้า46
ผู้นอกรีต –เลยเถิด
ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ทำตนเป็นพระประจำสกุล เมื่อประกอบด้วยการ กระทำห้าอย่าง ย่อมทำให้สกุลทั้งหลายหมดความรัก หมดความพอใจ ไม่เคารพ และไม่ตั้งไว้ในภาวะที่ควร. ห้าอย่าง อะไรกันเล่า ? ห้าอย่างคือ
(๑) วางท่าเป็นกันเอง กับคนที่ยังไม่ถึงขนาดเป็นกันเอง.
(๒) ทำตนเป็นเจ้ากี้เจ้าการ ในสิ่งที่ไม่ได้รับอำนาจมอบหมาย.
(๓) คบคนฝ่ายปฏิปักษ์.
(๔) ชอบพูดกระซิบที่หู.
(๕) ขอมากเกินไป.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ทำตนเป็นพระประจำสกุล เมื่อประกอบด้วยการ กระทำห้าอย่างนี้ย่อมทำให้สกุล ทั้งหลาย หมดความรัก หมดความพอใจ ไม่เคารพ และไม่ตั้งไว้ในภาวะที่ควร แล.
หน้า47
ผู้ชะล่าใจ
ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยเหตุห้าอย่าง ย่อมเป็นผู้ทำให้เกิดการ รังเกียจ กินแหนงแคลงใจ แก่เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน ว่า คงจะเป็น ภิกษุลามก ถึงแม้ว่าผู้นั้น จะเป็นผู้มีธรรมอันไม่กลับ กำเริบ (คือเป็นผู้สิ้น อาสวะแล้ว) ก็ตาม.เหตุห้าอย่าง อะไรกันเล่า ? เหตุห้าอย่างคือ
(๑) ไปมาหาสู่สำนักหญิงแพศยาเนือง ๆ.
(๒) ไปมาหาสู่สำนักหญิงหม้ายเนือง ๆ.
(๓) ไปมาหาสู่สำนักสาวแก่เนือง ๆ.
(๔) ไปมาหาสู่สำนักคนถูกตอนแล้ว๒เนืองๆ.
(๕) ไปมาหาสู่สำนักภิกษุณีเนืองๆ.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยเหตุห้าอย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำให้เกิดการรังเกียจ กินแหนงแคลงใจ แก่เพื่อน ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกันว่า คงจะเป็นภิกษุลามก ถึงแม้ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้มีธรรมอันไม่กลับกำเริบ (คือเป็นผู้สิ้นอาสวะแล้ว) ก็ตาม.
ผู้ชอบเข้าบ้าน
ภิกษุ ท. ! โทษห้าอย่างเหล่านี้เป็นโทษ แห่งภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุลเป็น ปรกติ. ห้าอย่างอะไรเล่า ? ห้าอย่างคือ
(๑) เธอ ย่อมจะต้องอาบัติเพราะเที่ยวไปไม่บอกลา.
(๒) เธอ ย่อมจะต้องอาบัติเพราะนั่งร่วมกับผู้หญิงในที่ลับ.
(๓) เธอ ย่อมจะต้องอาบัติเพราะนั่งร่วมกับผู้หญิงในที่กำบัง.
(๔) เธอ ย่อมจะต้องอาบัติเพราะแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำ.
(๕) เธอ ย่อมจะมากไปด้วยความคิดที่หนักไปในทางกาม.
ภิกษุ ท. ! โทษห้าอย่างเหล่านี้แล เป็นโทษแห่งภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุล เป็นปรกติ.
หน้า49
ผู้ชอบคลุกคลีกับชาวบ้าน
ภิกษุท. ! โทษห้าอย่างเหล่านี้เป็นโทษแห่งภิกษุแล้ว คลุกคลีอยู่ในสกุลจนเกินเวลาอันสมควร. โทษห้าอย่าง ห้าอย่าง คือ
(๑) เธอย่อมได้เห็นมาตุคามเนือง ๆ.
(๒) เมื่อมีการเห็น ความใกล้ชิดทางกายก็มีขึ้น.ผู้เข้าไปสู่สกุล อะไรกันเล่า ?
(๓) เมื่อมีความใกล้ชิดทางกาย ความสนิทสนมเป็นกันเองก็มีขึ้น.
(๔) เมื่อมีความสนิทสนมเป็นกันเองแล้ว โอกาสก็มีขึ้น.
(๕) เมื่อภิกษุมีจิตตกตํ่าแล้ว เป็นอันหวังผลเหล่านี้ได้คือ เธอ
จะต้องทนประพฤติพรหมจรรย์อันเต็มไปด้วยอาบัติที่เศร้าหมอง หรือมิฉะนั้น ก็จักต้องบอกคืนสิกขา (สึก หมุนกลับไปสู่เพศ ตํ่าแห่งคฤหัสถ์เป็นแท้.
ภิกษุท. ! โทษห้าอย่างเหล่านี้แล เป็นโทษแห่งภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุล แล้วคลุกคลีอยู่ในสกุล นเกินเวลาอันสมควร.
หมวดที่สอง จบ.
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
หมวดที่๓
ว่าด้วย เกียรติและลาภสักการะ
หน้า53
ฤทธิเดชของลาภสักการะ
(พิษภัยเรื่องลาภสักการะนัยยะที่1)
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุ พระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรม อื่นยิ่งกว่า.
ภิกษุ ท. ! สมณพราหณ์พวกใด ไม่รู้จักความยวนใจ ไม่รู้จักโทษ อันตํ่าทราม ไม่รู้จักอุบายเป็น ทางพ้น ในกรณีอันเกี่ยวกับลาภสักการะ และเสียงเยินยอ ตรงตามที่เป็นจริง สมณพราหมณ์พวกนั้น จะกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วเข้าถึงความสงบอยู่หาได้ไม่.
ภิกษุ ท. ! สมณพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักมูลฐานเป็นที่ตั้งขึ้น ไม่รู้จักความดับสนิท ไม่รู้จักความ ยวนใจ ไม่รู้จักโทษอันตํ่าทราม ไม่รู้จักอุบายเป็นทางพ้น ในกรณีอันเกี่ยวกับลาภ สักการะและเสียงเยินยอ ตรง ตามที่เป็นจริง สมณพราหมณ์พวกนั้น จะกระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง เอง แล้วเข้าถึงความสงบอยู่หาได้ไม่.
ภิกษุท. ! สมณพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักลาภสักการะและเสียง เยินยอไม่รู้จัก มูลฐานเป็นที่ตั้งขึ้น แห่งลาภสักการะ และเสียงเยินยอไม่รู้จักความดับ สนิทแห่งลาภสักการะ และเสียงเยินยอ ไม่รู้จักหนทาง ให้ถึงความดับสนิทแห่งลาภ สักการะและเสียงเยินยอ สมณพราหมณ์พวกนั้น จะกระทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเอง แล้วเข้าถึงความสงบอยู่หาได้ไม่.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้ลํ่าสัน นำเอาเชือกมีคมอันหยาบมาพัน รอบ ๆ แข้ง แล้วสีไปสีมา. เชือกนั้นย่อมบาดผิวหนัง ครั้นบาดผิวหนังแล้ว ย่อมบาดหนัง ครั้นบาดหนัง แล้ว ย่อมบาดเนื้อ ครั้นบาดเนื้อ แล้ว ย่อม บาดเอ็น ครั้นบาดเอ็นแล้ว ย่อมบาดกระดูก ครั้นบาดกระดูกแล้ว ย่อม เข้าจดอยู่ที่เยื่อกระดูก. ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะ และเสียงเยินยอนี้ก็ฉันนั้น มันย่อมจะบาดผิวหนัง ครั้นบาดผิวหนังแล้ว ย่อมจะบาดหนัง ครั้นบาดหนังแล้ว ย่อมจะบาดเนื้อ ครั้นบาดเนื้อแล้ว ย่อมจะบาดเอ็น ครั้น บาดเอ็นแล้ว ย่อมจะบาดกระดูก ครั้นบาดกระดูกแล้ว ย่อมจะเข้าจดอยู่ที่เยื่อกระดูก.
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุ พระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่น ยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ดังนี้ว่า “เราทั้งหลายจักไม่เยื่อใย ในลาภสักการะ และเสียง เยินยอ ที่เกิดขึ้น. อนึ่ง ลาภสักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องไม่มาห่อหุ้ม อยู่ที่จิตของเรา” ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.
หน้า55
สุนัขขี้เรื้อน
(พิษภัยเรื่องลาภสักการะ นัยยะที่2)
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุ พระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรม อื่นยิ่งกว่า.
ภิกษุ ท. ! พวกเธอเห็นสุนัขจิ้งจอกตัวที่อาศัยอยู่เมื่อตอนยํ่ารุ่ง แห่ง ราตรีนี้ไหม ?
“เห็น พระเจ้าข้า”.
ภิกษุ ท. ! สุนัขจิ้งจอกตัวนั้น เป็นโรคหูชัน (โรคเรื้อนสุนัข)๒ วิ่งไป บนแผ่นดินก็ไม่สบาย ไปอยู่ที่โคนไม้ ก็ไม่สบาย ไปอยู่กลางแจ้งก็ไม่สบาย. มันไปในที่ใด มันยืนในที่ใด มันนั่งในที่ใด มันนอนในที่ใด ล้วนแต่ได้รับ ทุกข์ทรมาน ในที่นั้น ๆ.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ก็เหมือนกัน ครั้นถูกลาภ สักการะและเสียงเยินยอ ครอบงำ เอาแล้ว มีจิตติดแน่นอยู่ในสิ่งนั้น ๆ ไปอยู่สุญญาคารก็ไม่สบาย ไปอยู่โคนไม้ก็ไม่สบาย ไปอยู่กลางแจ้ง ก็ไม่สบาย. เธอไปในที่ใด เธอยืนในที่ใด เธอนั่งในที่ใด เธอนอนในที่ใด ล้วนแต่ได้รับทุกข์ทรมาน ในที่นั้น ๆ.
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุ พระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรม
อื่นยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ดังนี้ว่า “เราทั้งหลายจักไม่เยื่อใย ในลาภสักการะและเสียง เยินยอที่เกิดขึ้น. อนึ่ง ลาภสักการะและเสียงเยินยอ ที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องไม่มา ห่อหุ้มอยู่ที่จิตของเรา”.
ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้อย่าง นี้แล.
หน้า56
เต่าติดชนัก
(พิษภัยเรื่องลาภสักการะ นัยยะที่4)
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุ พระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่น ยิ่งกว่า.
ภิกษุ ท. ! เรื่องเคยมีมาแล้วแต่หนหลัง มีเต่าพันธุ์เดียวกันจำนวนมาก ฝูงหนึ่ง อาศัยอยู่นมนาน ในห้วงนํ้าลึกแห่งหนึ่ง. ครั้งนั้นเต่าตัวหนึ่ง ได้เข้าไปหาเต่าอีกตัวหนึ่งถึงที่อยู่แล้วพูดว่า
“พ่อเต่าเอ๋ย ! เจ้าอย่าได้ไปเที่ยว หากินทางถิ่นโน้นเลย”.
ภิกษุ ท. ! เต่า(ตัวที่สอง)ก็ยังขืนไปทางถิ่นนั้น.
ชาวประมงได้แทงเต่าตัวนั้นด้วยชนัก.
กาลต่อมา เต่า (ตัวที่สอง)ได้เข้าไปหาเต่า(ตัวที่หนึ่ง)ถึงที่อยู่.
แต่ (ตัวที่หนึ่ง) ได้เห็นเต่า(ตัวที่สอง) มาแต่ไกล
ครั้นเห็นจึงกล่าวทักว่า “พ่อเต่า ! เจ้าไม่ได้ไปเที่ยวหากินทางถิ่นโน้นไม่ใช่หรือ ? ”
“พ่อเต่า ! เราได้ไปมาเสียแล้ว”.
“อย่างไร พ่อเต่า ! ก็เจ้าถูกแทงถูกตีมาบ้างไหม ?”
“พ่อเต่าเอ๋ย ! เราถูกแทงถูกตีเสียแล้ว นี่เชือกสายชนัก ยังมีติดหลัง เรามาด้วย”.
“พ่อเต่าเอ๋ย ! สมนํ้าหน้าที่ถูกแทง สมนํ้าหน้าแล้วที่ถูกตี.
พ่อเต่าเอ๋ย ! พ่อของเจ้า ปู่ของเจ้า ได้รับทุกข์ถึงความพินาศด้วยเชือกเส้นนี้เหมือนกัน. เจ้าจงไปเสียเดี๋ยวนี้เถิด. บัดนี้เจ้าไม่ใช่พวกของเราแล้ว”.
ภิกษุ ท. ! คำว่า “ชาวประมง” เป็นคำชื่อแทนคำว่า “มารผู้มีบาป”. คำว่า “ชนัก” เป็นคำชื่อแทนคำว่า “ลาภสักการะและ เสียงเยินยอ”. คำว่า “เชือกด้าย” เป็นคำชื่อแทนคำว่า “นันทิราคะ (ความกำหนัดยินดีเพราะเพลิน)”.
ภิกษุ ท. ! ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ยังรู้สึกอร่อยติดใจในลาภสักการะ และเสียงเยินยอที่เกิดขึ้น หรือดิ้นรนใคร่ที่จะ ได้อยู่ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ภิกษุผู้ได้รับทุกข์ถึงความพินาศด้วยชนัก แล้วแต่มารผู้มีบาป ใคร่จะทำประการใด.
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการ บรรลุพระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่น ยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ดังนี้ว่า “เราทั้งหลาย จักไม่เยื่อใยในลาภสักการะและเสียง เยินยอที่เกิดขึ้น.
อนึ่ง ลาภสักการะและเสียงเยินยอ ที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องไม่มา ห่อหุ้มอยู่ที่จิตของเรา”. ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.
หน้า58
ปลากลืนเบ็ด
(พิษภัยเรื่องลาภสักการะ นัยยะที่ 5)
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุ พระนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรม อื่นยิ่งกว่า.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนพรานเบ็ด ซัดเบ็ดที่มีเหยื่อลงไปในห้วงนํ้าลึก. ปลาที่เห็นแต่จะกินเหยื่อ ตัวหนึ่ง ได้กลืนเบ็ดนั้นเข้าไป. ปลาที่กลืนเบ็ด ตัวนั้น ย่อมได้รับทุกข์ถึงความพินาศ แล้วแต่พรานเบ็ดผู้นั้น ใคร่จะทำ ประการใด.
ภิกษุ ท. ! คำว่า “พรานเบ็ด” เป็นคำชื่อแทนคำว่า “มารผู้มีบาป” คำว่า “เบ็ด” เป็นคำชื่อ แทนคำว่า “ลาภสักการะและเสียง เยินยอ”.
ภิกษุ ท. ! ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ยังรู้สึกอร่อย ยังติดใจในลาภ สักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้น หรือดิ้นรนใคร่จะได้อยู่ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้กลืนเบ็ดของมาร จะได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ แล้วแต่มาร ผู้มีบาป ใคร่จะทำ ประการใด
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุ พระนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่น ยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ดังนี้ว่า “เราทั้งหลาย จักไม่เยื่อใยในลาภสักการะและ เสียงเยินยอที่เกิดขึ้น.
อนึ่ง ลาภสักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องไม่มาห่อหุ้มอยู่ที่จิตของเรา”. ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจ ไว้อย่างนี้แล.
หน้า59
ผู้กินคูถ
(พิษภัยเรื่องลาภสักการะ นัยยะที่ 6)
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุ พระนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่น ยิ่งกว่า.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนตัวกังสฬกะ๒ ซึ่งกินคูถเป็นอาหาร อิ่มแล้ว ด้วยคูถ ท้องป่องด้วยคูถ อนึ่ง กองคูถใหญ่ก็มีอยู่ตรงหน้าของมัน เพราะเหตุนั้นมันจึงนึก ดูหมิ่นกังสฬกะตัวอื่นว่า “เราผู้มีคูถเป็นภักษา อิ่มแล้ว ด้วยคูถ ท้องป่องด้วยคูถ. อนึ่ง กองคูถใหญ่ตรงหน้าของเราก็ยังมี. กังสฬกะตัวอื่น มีบุญน้อย มีเกียรติน้อย ไม่รวยลาภด้วยคูถ” ดังนี้.
ภิกษุ ท. !ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ก็เหมือนกัน เป็นผู้ถูกลาภสักการะ และเสียงเยินยอครอบงำ เอาแล้ว มีจิตติดแน่นอยู่ในสิ่งนั้น ๆ ในเวลาเช้า ครองจีวร ถือบาตร เข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน หรือในเมือง เธอได้ฉัน ตามพอใจจนอิ่มแล้วในที่นั้นด้วย ทั้งเขาก็นิมนต์เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ด้วย. ของบิณฑบาตก็เต็มบาตรกลับมาด้วย.
ภิกษุนี้ครั้นกลับมาถึงวัดแล้ว ก็พูด พล่าม (เหมือนตัวกังสฬกะ) ในท่ามกลางหมู่เพื่อนภิกษุว่า “เราได้ฉันตาม พอใจจนอิ่มแล้ว ทั้งเขายังนิมนต์ เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้อีก ของบิณฑบาตของเรา นี้ก็เต็มบาตร กลับมา เรารวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน ปัจจัยเภสัชบริกขาร. ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ มีบุญน้อย มีอภินิหารน้อยจึงไม่รวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร”ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นถูกลาภสักการะ และเสียงเยินยอครอบงำเอาแล้ว มีจิต ติดแน่นอยู่ในสิ่งนั้น ๆ ย่อมนึกดูหมิ่นภิกษุเหล่าอื่น ผู้มีศีลเป็นที่รัก ภิกษุ ท. ! การได้ลาภของ โมฆบุรุษ ชนิดนั้น ย่อมเป็นไป เพื่อทุกข์ ไร้ประโยชน์เกื้อกูล สิ้นกาลนาน.
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุ พระนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่น ยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึง สำเหนียกใจไว้ดังนี้ว่า “เราทั้งหลาย จักไม่เยื่อใย ในลาภสักการะและเสียงเยินยอ ที่เกิดขึ้น. อนึ่ง ลาภสักการะและเสียงเยินยอ ที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องไม่มาห่อหุ้ม อยู่ที่จิตของเรา” ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.
หน้า60
ผู้ติดเซิงหนาม
(พิษภัยเรื่องลาภสักการะ นัยยะที่ 7)
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุ พระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่น ยิ่งกว่า.
ภิกษุ ท. ! แกะชนิดมีขนยาว เข้าไปสู่เซิงหนาม มันข้องอยู่ในที่นั้น ๆ ติดอยู่ในที่นั้น ๆ พัวพัน อยู่ในที่นั้น ๆ ได้รับทุกข์พินาศอยู่ในที่นั้น ๆ ฉันใด
ภิกษุ ท. ! ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ก็ฉันนั้น เธอเป็นผู้ถูกลาภสักการะ และเสียงเยินยอครอบงำ เอาแล้ว มีจิตติดแน่นอยู่ในสิ่งนั้น ๆ ในเวลาเช้า ครองจีวร ถือบาตรเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน หรือในเมือง เธอข้องอยู่ใน ที่นั้น ๆ ติดอยู่ในที่นั้น ๆ พัวพันอยู่ในที่นั้น ๆ ได้รับทุกข์พินาศอยู่ในที่นั้น ๆ.
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุ พระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอ ทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ดังนี้ว่า “เราทั้งหลายจักไม่เยื่อใยในลาภสักการะ และเสียงเยินยอ ที่เกิดขึ้น. อนึ่ง ลาภสักการะ และเสียงเยินยอที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องไม่มาห่อหุ้มอยู่ที่จิตของเรา”. ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจ ไว้อย่างนี้แล.
หน้า61
ผู้ถูกหลาวอาบยาพิษ
(พิษภัยเรื่องลาภสักการะ นัยยะที่ 8)
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุ พระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรม อื่นยิ่งกว่า.
ภิกษุ ท. ! หลาวที่อาบยาพิษ จะเสียบใครกันนะ ? ลาภสักการะ และเสียงเยินยอ จะติดตามภิกษุ ผู้ยังต้องศึกษา ยังไม่ลุถึงขั้นสุดแห่งสิ่งที่ตน จำนงหวัง.
ภิกษุท. ! คำว่า “หลาว” เป็นคำชื่อแทนคำว่า “ลาภสักการะ และเสียงเยินยอ”.
ภิกษุท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุพระ นิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ดังนี้ว่า “เราทั้งหลาย จักไม่เยื่อใยใน ลาภสักการะ และเสียงเยินยอที่เกิดขึ้น. อนึ่ง ลาภสักการะและเสียงเยินยอ ที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องไม่มาห่อหุ้ม อยู่ที่จิตของเรา”.
ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียก ใจไว้อย่างนี้แล.
หน้า62
จักรแห่งอสนีบาต
(พิษภัยเรื่องลาภสักการะ นัยยะที่ 9)
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรล ุพระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.
ภิกษุ ท. ! จักรแห่งอสนีบาตอันลุกโพลง ตกลงถูกกระหม่อมของใคร กันนะ ? ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ จะตามติดภิกษุผู้ยังต้อง ศึกษา ยังไม่ลุถึงขั้นสุดแห่งสิ่งที่ตนจำนงหวัง. ภิกษุ ท. ! คำว่า “จักรแห่งอสนีบาตอันลุกโพลง” เป็นคำชื่อ แทนคำว่า “ลาภสักการะและเสียงเยินยอ”.
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุ พระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่น ยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึง สำเหนียกใจไว้ดังนี้ว่า “เราทั้งหลาย จักไม่เยื่อใยในลาภสักการะและ เสียงเยินยอ ที่เกิดขึ้น.
อนึ่ง ลาภสักการะและเสียงเยินยอ ที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องไม่มาห่อหุ้ม อยู่ที่จิตของเรา”.
ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.
หน้า63
ลมเวรัมภา
(พิษภัยเรื่องลาภสักการะ นัยยะที่ 10)
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุ พระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่น ยิ่งกว่า.
ภิกษุ ท. ! ลมชื่อว่า เวรัมภา๒ พัดอยู่แต่ในอากาศเบื้องบน. นกตัว ใดบินเหินลมขึ้นไปถึงที่นั้น ลมเวรัมภา ก็ซัดเอานกตัวนั้นให้ลอยปลิวไป. เมื่อนกถูก ลมเวรัมภา ชัดเอาแล้ว เท้าของมันขาดไปทางหนึ่ง ปีกของมันขาดไป ทางหนึ่ง ศีรษะของมันขาดไปทางหนึ่ง ตัวของมันขาดไปทางหนึ่ง.
(ลมเวรัมภา น่าจะได้แก่ลม ที่เรียกกันตามภาษาชาวบ้านว่า ลมกรดนั่นเอง. ตามอรรถกถากล่าวว่า ถ้ามีคนขึ้นไปบนท้องฟ้า ขนาดที่สูงพอมองเห็นทวีปทั้งสี่เล็ก ประมาณเท่าใบบัว ระยะสูงประมาณนี้แหละ เป็นระยะที่ลมเวรัมภาพัด. ยังมีนกชนิดหนึ่ง ที่บินไปถึงระยะสูงขนาดนั้น เรียกชื่อว่า “ วาตสกุณ-นกชอบ บินเหินลม” และชอบเที่ยวร้องในเวลาฝนตกแล้วใหม่ๆ แล้วบินไปในท้องฟ้าสูง ขนาดมีลมเวรัมภาพัด จึงถูกซัดเอาเท้า ปีก ศีรษะ และตัว ขาดไปคนละทิศละทาง.)
ภิกษุท. ! ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ก็เหมือนกัน เธอถูกลาภสักการะ และเสียงเยินยอครอบงำ เอาแล้ว มีจิตติดแน่นอยู่ในสิ่งนั้น ๆ ในเวลาเช้า ครองจีวร ถือบาตรเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน หรือในเมือง ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต ไม่กำหนดสติ ไม่สำรวมอินทรีย์ทั้งหลาย ภิกษุนั้น เห็นมาตุคาม ในที่นั้น ๆ ที่นุ่งชั่วห่มชั่ว ครั้นเห็นมาตุคามผู้นุ่งชั่ว ห่มชั่วแล้ว ความกำหนัดก็เสียบแทงจิตของเธอ. เธอนั้น ครั้นจิตถูกความ กำหนัดเสียบแทงแล้ว ก็บอกคืนสิกขา(สึก) กลับคืนไปสู่เพศตํ่าแห่งคฤหัสถ์.
ภิกษุพวกหนึ่ง เอาจีวรของเธอไป ภิกษุพวกหนึ่ง เอาบาตรของเธอไปภิกษุพวกหนึ่ง เอาผ้า นิสีทนะ ของเธอไป ภิกษุพวกหนึ่ง เอากล่องเข็มของเธอไป เช่นเดียวกับอวัยวะของนก ซึ่งถูกลมเวรัมภา ซัดเสียกระจัด กระจายแล้ว ฉะนั้น.
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรล ุพระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่น ยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอ ทั้งหลายพึง สำเหนียกใจไว้ดังนี้ว่า “เราทั้งหลายจักไม่เยื่อใยในลาภสักการะและเสียงเยินยอ ที่เกิดขึ้น.
อนึ่ง ลาภสักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องไม่มาห่อหุ้ม อยู่ที่จิตของเรา”.
ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.
หน้า64
ลูกสุนัขดุถูกขยี้ด้วยดีสัตว์
(พิษภัยเรื่องลาภสักการะ นัยยะที่ 10)
ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย อย่านึกกระหยิ่มต่อลาภสักการะและเสียง เยินยอ ที่เกิดแก่ พระเทวทัตเลย. ตลอดเวลา ที่พระเจ้าอชาตสัตตุกุมาร ยังไปบำรุงพระเทวทัตด้วยรถ ๕๐๐ คัน ทั้งเช้า ทั้งเย็น และอาหารที่นำไปมีจำนวนถึง ๕๐๐ สำรับ๑ อยู่เพียงใด ตลอดเวลาเพียงนั้น พระเทวทัตหวังได้แต่ความ เสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย อย่างเดียว หวังความเจริญไม่ได้.
ภิกษุ ท. ! ใครขยี้ดีสัตว์เข้าที่จมูกของลูกสุนัขตัวดุร้าย ลูกสุนัข ตัวนั้นก็จะกลับดุยิ่งกว่าเดิม ด้วยการกระทำอย่างนี้. ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! ตลอดเวลาที่ พระเจ้าอชาต สัตตุ กุมารยังไปบำรุง พระเทวทัต ด้วยรถ ๕๐๐ คัน ทั้งเช้าทั้งเย็น และอาหารที่นำไปมีจำนวนถึง ๕๐๐ สำรับ อยู่เพียงใด ตลอด เวลาเพียงนั้น พระเทวทัต หวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย อย่างเดียว หวังความเจริญไม่ได้ ฉันนั้น.
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุ พระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอ ทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ดังนี้ว่า “เราทั้งหลาย จักไม่เยื่อใยในลาภสักการะ และเสียงเยินยอ ที่เกิดขึ้น.
อนึ่ง ลาภสักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้นแล้ว ต้อง ไม่มาห่อหุ้มอยู่ที่จิตของเรา”.
ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.
หน้า66
ความฉิบหายของผู้หลงสักการะ
(พิษภัยเรื่องลาภสักการะ นัยยะที่ 11)
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุ พระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรม อื่นยิ่งกว่า.
ภิกษุ ท. ! พระเทวทัต ถูกลาภสักการะและเสียงเยินยอครอบงำเอาแล้ว มีจิตติดแน่นอยู่ในสิ่งนั้น ๆ จึงทำลายสงฆ์.
ภิกษุ ท. ! เมื่อ พระเทวทัต ถูกลาภสักการะและเสียงเยินยอครอบงำเอา แล้ว มีจิตติดแน่นอยู่ใน สิ่งนั้น ๆ รากเหง้าแห่งธรรมอันเป็นกุศลของเธอจึง ถึงความขาดสูญ.
ภิกษุ ท. ! เมื่อ พระเทวทัต ถูกลาภสักการะและเสียงเยินยอครอบงำเอา แล้ว มีจิตติดแน่น อยู่ในสิ่งนั้น ๆ ธรรมอันเป็นตัวกุศลของเธอ จึงถึงความ ขาดสูญ.
ภิกษุ ท. ! เมื่อ พระเทวทัตถูกลาภสักการะและเสียงเยินยอครอบงำเอา แล้ว มีจิตติดแน่นอยู่ใน สิ่งนั้น ๆ ธรรมอันขาวสะอาดของเธอ จึงถึงความขาด สูญ.
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุ พระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรม อื่นยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึง สำเหนียกใจไว้ดังนี้ว่า “เราทั้งหลาย จักไม่เยื่อใยในลาภสักการะและเสียงเยินยอ ที่เกิดขึ้น.
อนึ่ง ลาภสักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องไม่มาห่อหุ้มอยู่ที่จิตของเรา”.
ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.
หน้า 67
การออกผลเพื่อฆ่าตนเอง
(พิษภัยเรื่องลาภสักการะ นัยยะที่ 12)
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เกิดขึ้นแล้วแก่ พระเทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความ ฉิบหาย ของ ตนเอง.
ภิกษุ ท. ! กล้วยเมื่อจะออกผล ก็ออกผลเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อ ความฉิบหายของมันเอง ข้อนี้ฉันใด ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เกิดขึ้นแล้วแก่ พระเทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความฉิบหายของ ตนเอง ข้อนี้ก็ฉันนั้น.
ภิกษุ ท. ! ไผ่เมื่อจะออกผล ก็ออกผลเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความ ฉิบหายของมันเอง ข้อนี้ฉันใด ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เกิดขึ้นแล้วแก่ พระเทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความฉิบหายของ ตนเอง ข้อนี้ก็ฉันนั้น.
ภิกษุ ท. ! ไม้อ้อเมื่อจะออกผล ก็ออกผลเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อ ความฉิบหายของมันเอง ข้อนี้ฉันใด ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เกิดขึ้นแล้วแก่ พระเทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความฉิบหายของ ตนเอง ข้อนี้ก็ฉันนั้น.
ภิกษุ ท. ! นางม้าอัสดร ย่อมตั้งครรภ์เพื่อความตายของตนเอง เพื่อความฉิบหายของตนเอง ข้อนี้ฉันใด ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียง เยินยอ เกิดขึ้นแล้วแก่ พระเทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความ ฉิบหาย ของตนเอง ข้อนี้ก็ฉันนั้น.
ภิกษุ ท. ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ด หยาบคาย ต่อการบรรลุ พระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มี
ธรรมอื่นยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอ ทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ ดังนี้ว่า “เราทั้งหลาย จักไม่เยื่อใยในลาภสักการะ และเสียงเยินยอที่เกิดขึ้น. อนึ่ง ลาภสักการะและ เสียงเยินยอที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องไม่มาห่อหุ้มอยู่ที่จิตของเรา”.
ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจ ไว้อย่างนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสความข้อนั้นแล้ว พระองค์ผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสนิคมวจนะนี้อีกว่า
“สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่ว เหมือนผลกล้วยฆ่า ต้นกล้วย ผลไผ่ฆ่า ต้นไผ่ขุยอ้อ ฆ่าต้นอ้อ และสัตว์ที่เกิด ในครรภ์ฆ่านางม้าอัสดร ฉะนั้น” ดังนี้แล.
หมวดที่สาม จบ.
|
|
|
|