เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ            

หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
  ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  06 of 7  
Book106 หมวดที่ ๑๓   Book106 หมวดที่ ๑๕ หน้า
  ว่าด้วย การไม่ทำไปตามอำนาจกิเลส หน้า   ว่าด้วย การไม่หละหลวมในธรรม  
  ผู้ชี้ชวนวิงวอน ! 311 1 ผู้ไม่ใช่นกแก้วนกขุนทอง 347
  ท่อนไม้ที่ลอยออกไปได้ถึงทะเล 313 2 ถุงธรรม 347-1
  ผู้เลือกเอาข้างอยู่ป่า 315 3 ปริยัติที่ไม่เป็นงูพิษ 349
  ผู้ชนะภัย ๕ อย่าง 317 4 ผู้สนทนาถูกเรื่องที่ควรสนทนา 351
  ผู้อยู่ป่าชนะภัย ๕ อย่าง 320 5 เนื้อแท้ที่ไม่อันตรธาน 352
  ผู้หมดราคี 322 6 ยอดแห่งความเพียร 352-1
  คนในบัญชี 327 7 ผู้ไม่มีอหังการ์ 353
  คนไม่แหวกแนว 328 9 ผู้ไม่ทำศาสนาเสื่อม 355
  คนไม่ทิ้งธรรม 329 10 ผู้สามารถทำพระศาสดาให้เป็นมิตร 356
  คืนวันที่มีแต่ “ความสว่าง” 330 11 คนควรเลี้ยงโค 357
  ผู้ไม่ถูกตรึง 331 12 พวกรู้จักรูป 358
  ผู้รอดจากการสึก 332 13 พวกฉลาดในลักษณะ 359
  ผู้เปรียบด้วยการไม่ถูก “แมลงวันตอม” 333 14 พวกคอยเขี่ยไข่ขาง
359-1
  หมวดที่ ๑๔   15 พวกปิดแผล 359-2
  ว่าด้วย การไม่เป็นทาสตัณหา   16 พวกสุมควัน 360
1 ผู้เห็นแก่ธรรม 337 17 พวกที่รู้จักนํ้าที่ควรดื่ม 360-2
2 ข้าวของชาวเมืองไม่เสียเปล่า 338 18 พวกรู้จักทางที่ควรเดิน 361
3 คุ้มค่าข้าวสุก 338-1 19 พวกฉลาดในที่ที่ควรไป 361-1
4 เนื้อ ที่ไม่ติดบ่วงนายพราน 339 20 พวก รีด “นมโค” ให้มีส่วนเหลือ 361-2
5 ผู้ไม่ถูกล่าม 341 21 พวกบูชาผู้เฒ่า 361-3
6 มิตตภิกขุ 342 22 ลูกในคอก 362
7 ไม่เป็นโรคชอบเที่ยวเรื่อยเปื่อย 343 23 ทางเจริญของ “ลูกในคอก” 363
      24 ผู้ไม่โลเล 367
      25 ผู้ไม่ร้องเพลง 367-1
      26 ผู้ไม่ประมาท 368
      27 ผู้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม 369
      28 ผู้ตายไม่เสียที 369-1
      29 ผู้ไม่หล่นจากศาสนา 370
           




 


ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์


หมวดที่ ๑๓

ว่าด้วย การไม่ทำไปตามอำนาจกิเลส



311
ผู้ชี้ชวนวิงวอน !


           ภิกษุท. ! กิจอันใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำ แก่สาวก ทั้งหลายกิจอันนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย.

           ภิกษุท. ! นั่น โคนไม้ทั้งหลาย นั่น เรือนว่างทั้งหลาย.

           ภิกษุท. ! พวกเธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท.

           พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.

           นี่แล เป็นวาจาเครื่อง พรํ่าสอนพวกเธอทั้งหลายของเรา.

ยภิกฺขเว สตฺถารา กรณียสาวกานหิเตสินา อนุกมฺปเกน อนุกมฺปอุปาทาย กตโว ตมยา
เอตานิภิกฺขเว รุกฺขมูลานิเอตานิสุญฺญาคารานิ
ฌายถ ภิกฺขเว มา ปมาทตฺถ
มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ
อยโว อมฺหากอนุสาสนี


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


313
ท่อนไม้ที่ลอยออกไปได้ถึงทะเล

           ภิกษุท ! พวกเธอได้เห็นท่อนไม้ใหญ่โน้น ซึ่งลอยมาโดยกระแสแม่นํ้าคงคาหรือไม่?“ ได้เห็นแล้ว พระเจ้าข้า” ภิกษุทั้งหลายกราบทูล.

            ภิกษุท. ! ถ้าท่อนไม้นั้น จะไม่เข้าไปติดเสียที่ฝั่งใน หรือฝั่งนอก ไม่จมเสียใน กลางนํ้า ไม่ขึ้นไป ติดแห้งอยู่บนบก ไม่ถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูก อมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวนํ้าวน วนไว้ ไม่ผุเสียเองในภายในไซร้ ท่อนไม้เช่นที่กล่าวนี้จักลอยไหลพุ่งไปสู่ทะเล เพราะเหตุว่า ลำแม่นํ้าคงคาโน้มน้อม ลุ่มลาด เอียงเทไปสู่ ทะเล. ข้อนี้ฉันใด

           
ภิกษุท. ! แม้พวกเธอทั้งหลายก็ฉันนั้น ถ้าพวกเธอไม่เข้าไปติดเสียที่ฝั่งใน ไม่เข้าไป ติดเสีย ที่ฝั่งนอก ไม่จมเสียในท่ามกลาง ไม่ติดแห้งอยู่บนบก ไม่ถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูก อมนุษย์ จับไว้ ไม่ถูกเกลียวนํ้า วนวนไว้ ไม่เน่าเสียเอง ในภายใน ไซร้ พวกเธอก็จะเลื่อนไหล ไปสู่ นิพพาน เพราะเหตุว่า สัมมาทิฏฐิ มีธรรมดา ที่โน้มน้อม ลุ่มลาด เอียงเทไปสู่นิพพาน.

           
ครั้นสิ้นกระแสพระดำรัสแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรเล่า เป็นฝั่งใน หรือฝั่งนอก ? อะไรชื่อว่าจมในท่ามกลาง ? อะไรชื่อว่าขึ้นไป ติดแห้งอยู่บนบก ? อะไร ที่ถูกมนุษย์จับไว้ ? อะไรที่ถูกอมนุษย์จับไว้ ? อะไรชื่อว่าถูกเกลียวนํ้าวนวนไว้ ? อะไรชื่อว่าเน่าเสียเองในภายใน ?”

           
ภิกษุท. ! คำว่า “ฝั่งใน” เป็นชื่อของ อายตนะภายใน ๖. คำว่า“ฝั่งนอก” เป็นชื่อของ อายตนะ ภายนอก ๖. คำว่า “จมเสียในท่ามกลาง” เป็นชื่อของ นันทิราคะ. คำว่า “ขึ้นไปติด แห้งอยู่บนบก” เป็นชื่อของ อัสมิมานะ (ความ สำคัญว่าเรามีเราเป็น). คำว่า “ถูกมนุษย์จับไว” ได้แก่ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ระคน ด้วยพวกคฤหัสถ์เพลิดเพลินด้วยกัน โศกเศร้าด้วยกัน มีสุข เมื่อคฤหัสถ์เหล่า นั้นมีสุข เป็นทุกข์เมื่อคฤหัสถ์เหล่านั้นเป็นทุกข์ ประกอบการงานในกิจการ ที่บังเกิดขึ้นแก่คฤหัสถ์เหล่านั้นด้วยตน.

           
ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้ถูกมนุษย์จับไว้. คำว่า “ถูกอมนุษย์จับไว ” ได้แก่ภิกษุบางรูป ในกรณีนี้ ประพฤติพรหมจรรย์โดยตั้งความปรารถนาเทพนิกายชั้นใดชั้นหนึ่ง ว่า “ด้วยศีลนี้หรือ ด้วยวัตรนี้หรือว่า ด้วยตบะนี้เราจักได้เป็นเทวดาผู้มีศักดาใหญ่หรือเป็นเทวดาผู้มีศักดาน้อย อย่างใดอย่างหนึ่ง” ดังนี้.

           
ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้ถูกอมนุษย์จับไว้. คำว่า “ถูกเกลียวนํ้าวนวนไว ” เป็นชื่อของ กามคุณ ๕. ภิกษุเป็นผู้เน่าเสียเองใน ภายใน คืออย่างไรเล่า ? คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เป็นคนทุศีล มีความเป็น อยู่ลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดที่ตนเอง นึกแล้วก็กินแหนง ตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติ พรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่า เป็นคนประพฤติ พรหมจรรย์เป็น คนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติ หมักหมม เหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย. ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้เน่าเสียเองในภายใน แล.


315
ผู้เลือกเอาข้างอยู่ป่า

           นาคิตะ ! เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน นั่ง เข้าสมาธิแล้ว. เราได้เกิดความ คิดขึ้นว่า “บัดนี้เลกวัด (คนเฝ้าอาราม) อาจ รบกวนภิกษุรูปนั้น หรือสามเณร จักทำเธอให้เคลื่อน จาก สมาธิก็ได้” ดังนี้ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่พอใจการอยู่ในเสนาสนะ ใกล้บ้านของภิกษุรูปนั้นเลย.

           
นาคิตะ ! เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร แม้นั่งโงกง่วงอยู่ในป่า. เราได้เกิด ความคิดขึ้นว่า “เธอผู้นี้อาจบรรเทาความ กระวนกระวายเพราะง่วงนอนเสีย แล้วจึง ทำไว้ในใจซึ่ง อรัญญสัญญา (ความ กำหนดหมายว่าป่า) นั้นแล ให้เป็นอารมณ์อันหนึ่ง ในบัดนี้” ดังนี้ เพราะ เหตุนั้น เราจึงพอใจด้วยการอยู่ป่าของภิกษุรูปนั้น.
           
            นาคิตะ ! เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร แม้นั่ง เข้าสมาธิอยู่ในป่า แต่จิตยังไม่เป็นสมาธิ. เราได้เกิดความคิดขึ้นว่า “เธอผู้นี้อาจ ตั้งจิตที่ยังไม่เป็นสมาธิ ในเวลานี้ ให้เป็นสมาธิได้ หรือว่าจัก ตามรักษา จิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้วไว้” ดังนี้ เพราะเหตุนั้น เราจึง พอใจด้วยการอยู่ป่า ของภิกษุรูปนั้น.

            นาคิตะ ! เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร นั่งเข้า สมาธิอยู่ในป่า. เราได้เกิด ความคิดขึ้นว่า “เธอผู้นี้อาจเปลื้องจิตที่ยังไม่หลุดพ้น ในเวลานี้ให้หลุดพ้นได้ หรือว่า จักตามรักษาจิต ที่หลุดพ้นแล้ว” ดังนี้ เพราะเหตุนั้น เราจึงพอใจด้วยการอยู่ป่าของ ภิกษุรูปนั้น.

           
นาคิตะ ! เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ในเสนานะใกล้บ้านได้ปัจจัย คือจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร ภิกษุนั้นยังมุ่ง หวังลาภสักการะ มุ่งหวัง ชื่อเสียง ถึงกับยอมสละสถานที่ ที่หลีกเร้น ยอมสละเสนาสนะป่าอันเงียบสงัด เข้าไปอยู่ใน หมู่บ้าน นิคม และเมืองหลวง แล้วสำเร็จการอยู่ใน ที่นั้น ๆ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่พอใจ การอยู่ใน เสนาสนะใกล้บ้านของภิกษุรูปนั้นเลย.

           
นาคิตะ ! เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ได้ปัจจัย คือจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร ภิกษุนั้น ไม่นิยมชมชอบในลาภสักการะ และชื่อเสียง เธอไม่ยอมสละสถานที่ ที่หลีกเร้น ไม่ยอมสละเสนาสนะป่าอันเงียบสงัด เพราะเหตุนั้น เราจึงพอใจด้วยการ อยู่ป่าของภิกษุรูปนั้นแท้.

           
นาคิตะ ! แม้เราเอง ในเวลาใด เดินทางไกล เมื่อไม่เห็นใคร ๆ ข้างหน้า หรือ ข้างหลัง ในเวลานั้น เราสบายใจ โดยที่สุดแต่จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ แล.


317
ผู้ชนะภัย ๕ อย่าง

           ภิกษุท. ! ภัยในอนาคตเหล่านี้มีอยู่๕ ประการ ซึ่งภิกษุผู้มองเห็นอยู่ควรแท้ที่จะเป็นผู้ ไม่ประมาท มีเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำ เช่นนั้นอยู่ตลอดไป เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว. ภัยในอนาคต ๕ ประการนั้น คืออะไร บ้างเล่า ? ห้าประการคือ

           (๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้เรายังหนุ่ม ยังเยาว์วัย ยังรุ่น คะนอง มีผมยังดำสนิท ตั้งอยู่ในวัยกำลังเจริญ คือปฐมวัย แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ความแก่ จะมาถึง ร่างกายนี้ ก็คนแก่ถูกความชรา ครอบงำแล้ว จะมนสิการถึงคำสอนของท่านผู้รู้ ทั้งหลาย นั้น ไม่ทำได้สะดวก เลย และจะเสพเสนาสนะ อันเงียบสงัด ซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย. ก่อนที่สิ่งอันไม่ต้องการ ไม่น่าใคร่ไม่น่าชอบใจ (คือความแก่) นั้นจะมา ถึงเรา เราจะรีบทำ ความเพียร เพื่อถึง สิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อ ทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เสีย โดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ ผู้ถึงแล้ว แม้จะแก่เฒ่า ก็จักอยู่เป็นผาสุก” ดังนี้.
            ภิกษุท. ! นี้เป็นอนาคตภัยข้อแรก อันภิกษุผู้มองเห็นควร แท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผากิเลส มีตนส่งไป แล้วใน การทำเช่นนั้นอยู่ตลอดไป เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว.

           (๒) อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้เรามีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีไฟธาตุ ให้ความอบอุ่น สมํ่าเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก พอปานกลาง ควรแก่การทำ ความเพียร แต่จะมี สักคราวหนึ่งที่ความเจ็บไข้ จะมาถึงร่างกายนี้ ก็คนที่เจ็บไข้ถูกพยาธิ ครอบงำแล้ว จะมนสิการ ถึงคำสอน ของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย และจะเสพ เสนาสนะอัน เงียบสงัด ซึ่งเป็นป่าชัฏก็ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย. ก่อนที่สิ่งอันไม่ต้องการ ไม่น่า ใคร่ไม่น่าชอบใจ (คือความเจ็บไข้) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำ ความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำ ให้ผู้ถึงแล้ว แม้จะเจ็บไข้ก็จักอยู่เป็นผาสุก” ดังนี้.
           ภิกษุท. ! นี้เป็นอนาคตภัยข้อที่สอง อันภิกษุผู้มองเห็น ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร เผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่ตลอดไป เพื่อถึงสิ่งที่ ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยัง ไม่บรรลุเพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว.

           (๓) อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ข้าวกล้างามดีบิณฑะ (ก้อนข้าว) ได้ง่าย เป็นการสะดวกที่จะยังชีวิตให้เป็นไปด้วยความ พยายามแสวงหาบิณฑบาต แต่จะมี สักคราว หนึ่ง ที่ภิกษาหายาก ข้าวกล้า เสียหาย บิณฑะได้ยาก ไม่เป็นการสะดวกที่จะยังชีวิต ให้เป็นไป ด้วยความ พยายามแสวงหาบิณฑบาต เมื่อภิกษาหายาก ที่ใดภิกษาหาง่าย คนทั้งหลาย ก็อพยพกันไป ที่นั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ความอยู่คลุกคลี ปะปนกันในหมู่คนก็จะ มีขึ้น เมื่อมีการ คลุกคลี ปะปนกันในหมู่คน จะมนสิการถึงคำสอนของท่านผู้รู้ ทั้งหลาย นั้น ไม่ทำได้ สะดวกเลย และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัดซึ่งเป็นป่า ชัฏก็ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย. ก่อนที่สิ่ง อันไม่ต้องการ ไม่น่าใคร่ไม่น่าชอบใจ (คือภิกษาหายาก) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำ ความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ ทำให้ผู้ถึงแล้ว จักอยู่เป็นผาสุก แม้ในคราวที่เกิดทุพภิกขภัย” ดังนี้.
           ภิกษุท. ! นี้เป็นอนาคตภัยข้อที่สาม อันภิกษุผู้มองเห็น ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผา กิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้น อยู่ตลอดไป เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว.

           (๔) อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้คนทั้งหลาย สมัครสมานชื่นบาน ต่อกัน ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้ดุจดั่งนมผสมกับนํ้า มองแลกัน ด้วยสายตาแห่งคนที่รักใคร่กัน เป็นอยู่ แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ภัย คือโจรป่า กำเริบ ชาวชนบทผู้ขึ้นอยู่ในอาณาจักรแตก กระจัด กระจายแยกย้ายกันไป เมื่อ มีภัยเช่นนี้ที่ใด ปลอดภัย คนทั้งหลายก็อพยพกันไป ที่นั้น เมื่อเป็น เช่นนั้น ความอยู่คลุกคลีปะปนกันในหมู่คนก็จะมีขึ้น เมื่อมีการอยู่คลุกคลีปะปนกันใน หมู่คน จะมนสิการถึงคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย และจะเสพเสนาสนะ อันเงียบสงัด ซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย. ก่อนที่สิ่งอันไม่ต้องการ ไม่น่าใคร่ไม่น่า ชอบใจ (คือโจรภัย) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบ ทำความเพียร เพื่อถึง สิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำ ให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ ผู้ถึงแล้ว จักอยู่เป็นผาสุก แม้ในคราวที่เกิดโจรภัย” ดังนี้.
           ภิกษุท. ! นี้เป็นอนาคตภัยข้อที่สี่อันภิกษุผู้มองเห็น ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผา กิเลส มีตนส่งไป แล้วในการ ทำเช่นนั้นอยู่ตลอดไป เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยัง ไม่ทำ ให้แจ้งเสียโดยเร็ว.

           (๕) อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้สงฆ์สามัคคีปรองดองกัน ไม่วิวาท กัน มีอุเทสเดียวกัน อยู่เป็นผาสุก แต่จะมีสักคราว หนึ่งที่สงฆ์แตกกัน เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว จะมนสิการ ถึงคำสอนของท่านผู้รู้ ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย และจะเสพเสนาสนะ อันเงียบสงัดซึ่งเป็น ป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่าย ๆ เลย. ก่อนที่สิ่งอันไม่ต้องการ ไม่น่าใคร่ไม่น่า ชอบใจ (คือสงฆ์แตกกัน) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่ง เป็นสิ่งที่ทำ ให้ผู้ถึง แล้ว จักอยู่ เป็นผาสุก แม้ในคราวเมื่อสงฆ์แตกกัน” ดังนี้.
          ภิกษุท. ! นี้เป็นอนาคตภัย ข้อที่ห้า อันภิกษุผู้มองเห็น ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว ในการทำ เช่นนั้น อยู่ตลอดไป เพื่อถึงสิ่ง ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำ ให้แจ้งเสียโดยเร็ว.
           ภิกษุท. ! ภัยในอนาคต ๕ ประการเหล่านี้แล ซึ่งภิกษุผู้มองเห็นอยู่ควรแท้ที่จะเป็นผู้ ไม่ประมาท มีเพียรเผา กิเลส มีตนส่งไปแล้วในการ ทำเช่นนั้นอยู่ตลอดไป เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อ ทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว.


320
ผู้อยู่ป่าชนะภัย ๕ อย่าง

           ภิกษุท. ! ภัยในอนาคตเหล่านี้มีอยู่๕ ประการ ซึ่งภิกษุผู้อยู่ป่า มองเห็นอยู่ ควรแท้ ที่จะเป็นผู้ไม่ ประมาท มีเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วใน การทำเช่นนั้นอยู่ตลอดไป เพื่อถึงสิ่ง ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว. ภัยในอนาคต ๕ ประการนั้น คืออะไรบ้างเล่า ? ห้าประการคือ

           (๑) ภิกษุผู้อยู่ป่าในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้เรา อยู่ผู้เดียวในป่า งูพิษ หรือ แมลงป่อง หรือ ตะขาบ จะพึงขบกัดเราผู้อยู่ผู้เดียวในป่า กาลกิริยาของเราจะพึงมีได้ เพราะเหตุนั้น อันตรายอันนั้นจะ พึงมีแก่เรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยัง ไม่บรรลุเพื่อทำให้แจ้งสิ่ง ที่ยัง ไม่ทำ ให้แจ้งเสีย” ดังนี้.

            ภิกษุท. ! นี้เป็นภัย ในอนาคตข้อแรก อันภิกษุผู้อยู่ป่ามองเห็น ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ ประมาท มีเพียร เผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว ในการทำเช่นนั้นอยู่ตลอดไป เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำ ให้แจ้ง เสียโดยเร็ว.

           (๒) อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ป่า พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้เราอยู่ผู้เดียวในป่า ก็เมื่อเราอยู่ ผู้เดียวในป่า เราจะพึงพลาดตกหกล้มบ้าง อาหาร ที่เราบริโภคแล้ว จะพึงเกิด เป็นพิษบ้าง นํ้าดีของเรากำเริบบ้าง เสมหะ ของเรากำเริบบ้าง ลมมีพิษดั่งศัสตราของเรา กำเริบบ้าง กาลกิริยาของเรา จะพึงมีได้เพราะเหตุนั้น อันตราย อันนั้นจะพึงมีแก่เรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่ง ที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสีย” ดังนี้.

           ภิกษุท. ! นี้เป็นภัยในอนาคตข้อที่สอง อันภิกษุผู้อยู่ป่ามองเห็น ควรแท้ที่จะเป็นผู้ ไม่ประมาท มีเพียรเผา กิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้น อยู่ตลอดไป เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อ ทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว.

           (๓) อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ป่า พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้เราอยู่ผู้เดียวในป่า ก็เมื่อเราอยู่ ผู้เดียวในป่า จะพึง มาร่วมทางกันด้วยสัตว์ทั้งหลาย มีสิงห์เสือโคร่ง เสือเหลือง หมีหรือ เสือดาว สัตว์ร้ายเหล่านั้น จะพึงปลิดชีพเรา เสีย กาลกิริยาของเราจะพึงมีได้ เพราะเหตุนั้น อันตรายอันนั้นจะพึงมีแก่เรา เราจะรีบ ทำ ความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ บรรลุเพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสีย” ดังนี้.

           ภิกษุท. ! นี้เป็นภัยในอนาคตข้อ ที่สาม อันภิกษุผู้อยู่ป่ามองเห็น ควรแท้ที่จะเป็นผู้ ไม่ประมาท มีเพียรเผา กิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่ตลอดไป เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อทำ ให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว.

           (๔) อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ป่า พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้เราอยู่ผู้เดียว ในป่า ก็เมื่อเราอยู่ ผู้เดียวในป่า จะพึง มาร่วมทางกันด้วยพวกคนร้าย ซึ่ง ทำโจรกรรมมาแล้ว หรือยังไม่ได้ทำ (แต่เตรียมการจะไปทำ) ก็ตาม พวกคนร้าย เหล่านั้นจะพึงปลิดชีพเราเสีย กาลกิริยาของเรา จะพึงมีได้เพราะเหตุนั้น อันตราย อันนั้นจะพึงมี แก่เรา เราจะรีบทำ ความเพียร เพื่อถึงสิ่ง ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่ง ที่ยังไม่บรรลุเพื่อทำให้แจ้งสิ่ง ที่ยังไม่ทำให้ แจ้งเสีย” ดังนี้.

           ภิกษุท. ! นี้เป็นภัย ในอนาคตข้อที่สี่อันภิกษุผู้อยู่ป่ามองเห็น ควรแท้ที่จะเป็นผู้ ไม่ประมาท มีเพียร เผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่ตลอดไป เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว.

           (๕) อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ป่า พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้เราอยู่ผู้เดียว ในป่า พวกอมนุษย์ ดุร้ายก็มี อยู่ในป่า พวกมันจะพึงปลิดชีพเราเสีย กาลกิริยา ของเราจะพึงมีได้ เพราะเหตุนั้น อันตรายอันนั้นจะพึงมี แก่เรา เราจะรีบทำความ เพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำ ให้แจ้ง เสีย” ดังนี้.

           ภิกษุท. ! นี้เป็นภัยในอนาคตข้อที่ห้า อันภิกษุผู้อยู่ป่ามองเห็น ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ ประมาท มีเพียรเผา กิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่ตลอดไป เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อ ทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว.

           ภิกษุท. ! ภัยในอนาคต ๕ ประการเหล่านี้แล ซึ่งภิกษุผู้อยู่ป่ามองเห็นอยู่ควรแท้ ที่จะเป็นผู้ไม่ ประมาท มีเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่ตลอดไป เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยัง ไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว.

322
ผู้หมดราคี

           ภิกษุท. ! เครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง เป็นอย่างไรเล่า ?

           ภิกษุท. ! โลภะอันไม่สมํ่าเสมอคือ
อภิชฌา.. เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้า-หมอง
พยาบาท.. เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง
ความโกรธ.. เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง
ความผูกโกรธ.. เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง
ความลบหลู่คุณท่าน.. เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง
ความตีตนเสมอท่าน.. เป็นเครื่อง ทำจิตให้เศร้าหมอง
ความริษยา.. เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง
ความตระหนี่...เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง
ความมายา.. เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง
ความอวดตน.. เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง
ความหัวดื้อ.. เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง
ความบิดพลิ้ว.. เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง
ความมานะ.. เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง
ความดูหมิ่นท่าน.. เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง
ความมัวเมา.. เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง
ความประมาท...เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง.

           ภิกษุท. ! ภิกษุรู้ชัดว่า “โลภะอันไม่สมํ่าเสมอคือ อภิชฌา เป็นเครื่อง ทำจิตให้ เศร้าหมอง” ดังนี้แล้ว เธอก็ละโลภะอันไม่สมํ่าเสมอคืออภิชฌา ที่เป็น เครื่องทำจิตให้ เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า “พยาบาท เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง” ดังนี้แล้ว
ก็ละพยาบาท ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า “ความโกรธ เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง” ดังนี้แล้ว
ก็ละความโกรธ ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า “ความผูกโกรธ เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง” ดังนี้แล้ว
ก็ละความผูกโกรธ ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า “ความลบหลู่คุณท่าน เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง” ดังนี้แล้ว
ก็ละความลบหลู่คุณท่าน ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า “ความตีตนเสมอท่าน เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง” ดังนี้แล้ว
ก็ละความตีตนเสมอท่าน ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า “ความริษยา เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง” ดังนี้แล้ว
ก็ละความริษยา ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า “ความตระหนี่ เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง” ดังนี้แล้ว
ก็ละความตระหนี่ ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า “ความมายา เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง” ดังนี้แล้ว
ก็ละความมายา ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า “ความอวดตน เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง” ดังนี้แล้ว
ก็ละความอวดตน ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า “ความหัวดื้อ เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง” ดังนี้แล้ว
ก็ละความหัวดื้อ ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า “ความบิดพลิ้ว เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง” ดังนี้แล้ว
ก็ละความบิดพลิ้ว ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า “ความมานะ เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง” ดังนี้แล้ว
ก็ละความมานะ ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า “ความดูหมิ่นท่าน เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง” ดังนี้แล้ว
ก็ละความดูหมิ่นท่าน ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า “ความมัวเมา เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง” ดังนี้แล้ว
ก็ละความมัวเมา ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

เธอรู้ชัดว่า “ความประมาท เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง” ดังนี้แล้ว
ก็ละความประมาท ที่เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมองเสีย.

           ภิกษุ ท . ! ในกาลใด เมื่อภิกษุรู้ชัดว่า “โลภะอันไม่สม่ำเสมอคือ อภิชฌา เป็นเครื่อง ทำจิตให้ เศร้าหมอง” ดังนี้แล้ว โลภะอันไม่สม่ำเสมอคือ อภิชฌา ที่เป็นเครื่องทำจิตให้ เศร้าหมอง ก็เป็นสิ่งที่เธอละได้แล้ว

         อนึ่งเมื่อเธอรู้ชัด (แต่ละอย่าง ๆ) ว่า “พยาบาท ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ คุณท่าน ความตีตนเสมอท่าน ความริษยา ความตระหนี่ ความมายา ความอวดตน ความหัวดื้อ ความบิดพลิ้ว ความมานะ ความดูหมิ่นท่าน ความมัวเมา ความประมาท (แต่ละอย่าง ๆ) เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง” ดังนี้แล้ว พยาบาท ฯลฯ ความประมาท ที่เป็นเครื่องทำจิตให้ เศร้าหมอง ก็เป็นสิ่งที่เธอละได้แล้ว

         ในกาลนั้น ภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสที่หยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ ตรัสรู้ชอบเอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย วิชชาและข้อปฏิบัติให้ได้วิชชา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้ โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควร ฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์” ดังนี้.

         เธอเป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสที่หยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ในพระธรรม ว่า “ธรรม เป็นสิ่งที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษา และปฏิบัติ พึงได้เห็น ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และ ให้ผล ได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าว กะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่ง ที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน” ดังนี้.

         เธอเป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสที่หยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ว่า “สงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว สงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็น เครื่องออก จากทุกข์แล้ว สงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ซึ่งได้แก่คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ.

         นั่นแหละคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำ มาบูชา เป็นสงฆ์ควร แก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่ บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า” ดังนี้.


         ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุที่ ภิกษุนั้นสละกิเลสได้แล้ว คายเสียแล้ว พ้นไปแล้ว ละได้แล้ว สลัดทิ้ง เสียแล้ว เธอจึงได้ความรู้แจ้งอรรถ ได้ความรู้แจ้งธรรม ว่า “เรา เป็นผู้ประกอบ พร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสที่หยั่ง ลงมั่นไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ” ดังนี้ แต่นั้นเธอย่อมได้ความปราโมทย์ ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อเธอมีความปราโมทย์ แล้ว ปีติก็บังเกิดขึ้น เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติ กาย ก็สงบระงับ ภิกษุผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมได้เสวยความสุข เมื่อเธอมีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น.

         ภิกษุ ท. ! ก็เพราะเหตุที่ ภิกษุได้ความรู้แจ้งอรรถ ได้ความรู้แจ้งธรรมว่า “กิเลสอันเรา สละ ได้แล้ว คายเสีย แล้ว พ้นไปแล้ว ละได้แล้ว สลัดทิ้งเสียแล้ว” ดังนี้ เธอย่อมได้ความ ปราโมทย์ ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อเธอ มีความปราโมทย์แล้ว ปีติ ก็บังเกิดขึ้น เมื่อเธอมีใจ ประกอบ ด้วยปีติ กายก็สงบระงับ ภิกษุผู้มีกาย สงบ ระงับแล้ว ย่อมได้เสวยความสุข เมื่อเธอมี ความสุข จิต ย่อมตั้งมั่น.

         ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น มีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ แม้หากว่าจะบริโภค บิณฑบาตแห่ง ข้าวสาลี อันขาวสะอาดปราศจากเม็ดที่มีสีดำมีแกงและกับมากอย่างไซร้ การบริโภคนั้น ก็ไม่เป็นอันตราย แก่เธอ (ไม่ทำเธอให้เศร้าหมอง).

         ภิกษุ ท. ! ผ้าอันเศร้าหมองต้องมลทินแล้ว มาถึงน้ำอันใส สะอาด ย่อมเป็นผ้าบริสุทธิ์ ขาวสะอาด หรือ ทองที่มาถึงปากเบ้า ก็เป็นทองบริสุทธิ์ผ่องใส. ข้อนี้ฉันใด

         ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ แม้หากว่าจะบริโภค บิณฑบาต แห่งข้าวสาลี อันขาวสะอาดปราศจากเม็ดมีสีดำ มีแกงและกับมากอย่างไซร้ การบริโภคนั้น ก็ไม่เป็นอันตรายแก่เธอ (ไม่ทำเธอให้เศร้าหมอง) ฉันนั้นเหมือนกัน.

         ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น มีจิตอันประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไปยังทิศ ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ และทิศเบื้องบน เบื้องต่ำและด้านขวาง และแผ่ไปยังโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง ด้วยจิตที่ประกอบพร้อม ด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ชนิดที่ไพบูลย์ ถึงความเป็นจิตใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท เป็นอยู่. เธอย่อมรู้ชัดว่า “สิ่งนี้ มีอยู่ สิ่งที่เลว มีอยู่ สิ่งที่ประณีต มีอยู่ สิ่งที่เป็นอุบาย เครื่องออกไปพ้นแห่งสัญญานี้ ที่ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่” ดังนี้.
๑. หมายถึง อริยสัจจ์สี่ : สิ่งนี้ = ทุกข์, สิ่งที่เลว = สมุทัย, สิ่งที่ประณีต = นิโรธ, อุบายเครื่องออก = มรรค

         เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้อยู่ จิต ก็ย่อมหลุดพ้นไปจากอาสวะ คือ กาม ภพ และ อวิชชา เมื่อจิต หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายแล้ว ก็มี ญาณ ว่า “หลุดพ้นได้แล้ว” ดังนี้ เธอก็ย่อม รู้ชัดว่า “ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็น อย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

         ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เราเรียกว่า “ผู้อาบแล้ว สนานแล้ว ด้วยเครื่องอาบเครื่องสนาน อันมีในภายใน” ดังนี้แล.




327
คนในบัญชี

         ภิกษุท. ! ก็ภิกษุเหล่าใด เป็นคนไม่หลอกลวง ไม่พูดพล่าม ฉลาด ไม่เป็นคนกระด้าง มีใจเป็นสมาธิดี

         ภิกษุท. ! ภิกษุเหล่านั้น เป็นคนของเรา.

         ภิกษุท. ! ก็ภิกษุเหล่านั้น ไม่ได้ออกไปนอกธรรมวินัยนี้และ พวกเธอ จักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้แล.


328
คนไม่แหวกแนว

         ภิกษุท. ! ภิกษุผู้เป็นที่เชื่อถือของมหาชนทั่วไป เมื่อมีการกระทำ สามอย่างนี้เข้าแล้ว จะชื่อว่า เป็นผู้ทำ มหาชน ให้ได้รับประโยชน์ทำมหาชน ให้ได้รับความสุข ทำไปเพื่อความเจริญแก่ มหาชน เป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เกื้อกูล เป็นไปเพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

การกระทำสามอย่าง อะไรบ้างเล่า ? สามอย่าง คือ
         (๑) ทำการชักชวนมหาชนในการกระทำทางกาย อันเข้ารูปกับหลักเกณฑ์แห่งการทำ ที่สุดทุกข์ ในพระศาสนา.

         (๒) ทำการชักชวนมหาชนในการกระทำทางวาจา อันเข้ารูปกับหลักเกณฑ์แห่งการทำ ที่สุด ทุกข์ ในพระศาสนา.

         (๓) ทำการชักชวนมหาชนในการบำเพ็ญทางจิต อันเข้ารูปกับหลักเกณฑ์แห่งการทำ ที่สุดทุกข์ ในพระศาสนา.

         ภิกษุท. ! ภิกษุผู้เป็นที่เชื่อถือของมหาชนทั่วไป เมื่อมีการกระทำ สามอย่างนี้เข้าแล้ว ได้ชื่อว่า เป็นผู้ทำ มหาชนให้ได้รับประโยชน์ทำมหาชน ให้ได้รับความสุข ทำไปเพื่อความ เจริญ แก่ มหาชน เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เป็นไปเพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลายแล.


329
คนไม่ทิ้งธรรม

         ภิกษุท. ! ในทิศใด พวกภิกษุมีความพร้อมเพรียงกัน มีความบันเทิง ต่อกันและกัน ไม่ทะเลาะ วิวาทกัน เข้ากันและกันได้สนิทเหมือนนํ้านมกับนํ้า มองดูกันและกันด้วยสายตา แห่งความรักอยู่

         ภิกษุท. ! ทิศนั้น เป็นที่ผาสุก แก่เรา แม้ต้องเดินไป. (อย่างเหน็ดเหนื่อย) จะป่วยกล่าว ไปไย ถึงการที่เพียงแต่นึกถึง. ในกรณีนี้เราเชื่อแน่แก่ใจว่า เป็นเพราะภิกษุเหล่านั้น ได้ละทิ้ง ธรรม สามอย่างเสียแล้ว และพากันมาถือกระทำให้มากในธรรมสามอย่าง.

         ธรรมสามอย่างอะไรบ้างเล่าที่เธอละทิ้งเสียแล้ว ?

         สามอย่างคือ
(๑) ความตรึกในทางกาม
(๒) ความตรึกในทางมุ่งร้าย
(๓) ความตรึกที่ก่อให้เกิดความลำบากแก่ผู้อื่น.

         ธรรมสามอย่างเหล่านี้แล ที่พวกภิกษุเหล่านั้น ละทิ้งเสียแล้ว. ก็ธรรมอีกสามอย่าง อะไรบ้างเล่า ที่พวกภิกษุเหล่านั้นพากันมาถือกระทำ เพิ่มพูนให้มาก ?

         สามอย่างคือ :-
(๑) ความตรึกในการหลีกออกจากความพัวพันในกาม
(๒) ความตรึกในการทำความไม่มุ่งร้าย
(๓) ความตรึกในการไม่ทำคนอื่นให้ลำบาก.

         ธรรมสามอย่างเหล่านี้แล ที่พวกภิกษุเหล่านั้นพากันมาถือ กระทำเพิ่มพูนให้มาก.

         ภิกษุท. ! ในทิศใด พวกภิกษุมีความพร้อมเพรียงกัน มีความบันเทิง ต่อกันและกัน ไม่ทะเลาะวิวาทกัน เข้ากันและกันได้สนิทเหมือนนํ้านมกับนํ้า มองดูกันและกันด้วยสายตาแห่ง ความรักอยู่

         ภิกษุท. ! ทิศนั้น เป็นที่ผาสุกแก่เรา แม้ต้องเดินไป (อย่างเหน็ดเหนื่อย) จะป่วยกล่าว ไปไย ถึงการที่เพียงแต่นึกถึง. ในกรณีนี้เราเชื่อแน่แก่ใจว่า เป็นเพราะพวก ภิกษุเหล่านั้น ได้ละทิ้งธรรมสามอย่างเหล่าโน้นเสียแล้ว และพากันมาถือ กระทำให้มาก ในธรรมสามอย่าง เหล่านี้แทน.


330
คืนวันที่มีแต่ “ความสว่าง”

         ภิกษุท. ! คืนวันของภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ประกอบหกอย่างแล้ว ย่อมผ่านไปโดย หวังได้ แต่ ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว หาความ เสื่อมมิได้. หกอย่างอะไรบ้าง เล่า ?

         หกอย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้
(๑) ไม่มีความต้องการมาก จึงไม่เป็นทุกข์เพราะรู้จักพอในเรื่องจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร.
(๒) เป็นคนมีศรัทธา.
(๓) เป็นคนมีศีล.
(๔) เป็นคนปรารภความเพียร.
(๕) เป็นคนมีสติ.
(๖) เป็นคนมีปัญญา.

         ภิกษุท. ! คืนวันของภิกษุที่ประกอบด้วย องค์ประกอบหกอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมผ่านไป โดยหวังได้แต่ความ เจริญ ในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้เลย.


331
ผู้ไม่ถูกตรึง

         ภิกษุท. ! ตะปูตรึงใจ ๕ ตัว เป็นสิ่งที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละได้แล้ว ภิกษุรูปนั้น จักถึง ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้. ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

         ภิกษุท. ! ตะปูตรึงใจ ๕ ตัว เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมมิได้สงสัย เคลือบแคลง ย่อมปลงใจเชื่อ ย่อมเลื่อมใส ในพระศาสดา.

         ภิกษุใดเป็นดังกล่าวนี้จิตของภิกษุนั้น ย่อมน้อมไป เพื่อความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส เพื่อความเพียร ทำให้เนือง ๆ เพื่อความเพียรอันติดต่อเนื่องกัน และเพื่อความเพียร อันเป็นหลัก มั่นคง.

         จิตของผู้ใด ย่อมน้อมไป ในความเพียร ดังกล่าวนี้ นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัว แรก ที่เธอนั้น ละได้แล้ว ด้วยอาการ อย่างนี้.

         ภิกษุท. ! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมมิได้สงสัย เคลือบแคลง ย่อมปลงใจเชื่อ ย่อมเลื่อมใส ในธรรม. _ _ฯลฯ _ _ นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่สอง ที่เธอนั้นละได้แล้ว ด้วยอาการ อย่างนี้.

         ภิกษุท. ! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมมิได้สงสัย เคลือบแคลง ย่อมปลงใจเชื่อ ย่อมเลื่อมใส ในพระสงฆ์. _ _ฯลฯ _ _ นั่นแหละ เป็นตะปูตรึง ใจตัวที่สาม ที่เธอนั้นละได้แล้ว ด้วยอาการ อย่างนี้.

         ภิกษุท. ! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมมิได้สงสัย เคลือบแคลง ย่อมปลงใจเชื่อ ย่อมเลื่อมใส ในไตรสิกขา. _ _ฯลฯ _ _ นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่สี่ที่เธอนั้นละได้แล้วด้วยอาการ อย่างนี้.

         ภิกษุท. ! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุไม่ครุ่นโกรธในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยกัน ทั้งหลาย ไม่ทำความไม่ ชอบใจ มิได้มีจิตถูกโทสะ กระทบกระทั่ง มิได้เกิดเป็นตะปูตรึงใจ.

         ภิกษุใดเป็นดังกล่าวนี้จิตของ ภิกษุนั้น ย่อมน้อมไป เพื่อความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส เพื่อความเพียร ทำให้เนือง ๆ เพื่อความเพียรอันติดต่อเนื่องกัน และเพื่อความเพียรอันเป็น หลักมั่นคง.

         จิตของผู้ใด ย่อมน้อมไปในความเพียร ดังกล่าวนี้ นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่ห้า ที่เธอนั้นละ ได้แล้ว ด้วยอาการอย่างนี้.

         ภิกษุท. ! ตะปูตรึงใจ ๕ ตัว เป็นสิ่งที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละได้แล้ว ภิกษุรูปนั้น จักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้. ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้แล.


332
ผู้รอดจากการสึก

         ภิกษุท. ! เป็นอย่างนั้นแหละ ข้อที่ร่างกายเกิดหนักตัวขึ้น ทิศ ทั้งหลายไม่กระจ่าง ธรรมทั้งหลาย ไม่แจ่มแจ้ง ถีนมิทธะเข้าจับจิต ฝืนใจ ประพฤติพรหมจรรย์ มีความสงสัยในธรรม ทั้งหลาย อาการเหล่านี้ย่อมมีแก่ ภิกษุ ผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่ประมาณ ในการ บริโภค ไม่ประกอบชาคริยธรรมเนือง ๆ ไม่เห็นแจ้ง ในธรรม ทั้งหลายที่เป็นกุศล ไม่ขวนขวายบำเพ็ญโพธิปักขิยธรรมภาวนา ตลอดราตรีเป็นเบื้องต้น และราตรี เป็นเบื้องปลาย.

         ภิกษุท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้เธอ พึงสำเหนียกใจไว้ว่า “เราจัก เป็นผู้คุ้มครองทวาร ใน อินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค จัก ประกอบชาคริยธรรมเนือง ๆ เป็นผู้เห็น แจ้ง ในธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล จัก เป็นผู้ขวนขวายบำเพ็ญ โพธิปักขิยธรรม ภาวนา ตลอดราตรี เป็นเบื้องต้น และราตรีเป็นเบื้องปลาย” ดังนี้.

         ภิกษุ ! เธอพึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้.

         ภิกษุรูปนั้น น้อมรับเอาโอวาทอันนี้หลีกออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว ไม่ประมาท เพียรเผา กิเลส มีตนส่งไปแล้ว ในการทำเช่นนั้น. ในที่สุด ก็ถึงความเป็นพระอรหันต์แล้ว.


333
ผู้เปรียบด้วยการไม่ถูก “แมลงวันตอม”

         ภิกษุท. ! เมื่อภิกษุเดินอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม นอนตื่นอยู่ก็ตาม ถ้าเธอ เกิดครุ่นคิด อยู่ด้วย ความครุ่นคิดในทางกาม ก็ดีเกิดความครุ่นคิด อยู่ด้วยความครุ่นคิด ในทางเดือดแค้น ก็ดีเกิดความครุ่นคิด อยู่ด้วยความครุ่นคิด ในทางทำให้ผู้อื่นให้ลำบาก ก็ดีขึ้น

         ภิกษุนั้น ไม่รับเอา ความครุ่นคิดเช่น นั้น ๆ ไว้ละทิ้ง เสีย ถ่ายถอนออกเสีย ทำให้สิ้นสุด เสีย ถึงความ ไม่มี อะไรเหลืออยู่ ภิกษุผู้เป็นเช่นนี้แม้เดินอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม นอนตื่นอยู่ ก็ตาม เราเรียกว่าผู้ทำความเพียรเผากิเลส ผู้กลัวต่อความเป็น ทาสของกิเลส เป็นผู้ปรารภ ความเพียร ติดต่อสมํ่าเสมอ และเป็นผู้มีตนส่ง ไปแล้วในการกระทำเช่นนั้น.

(อีกสูตรหนึ่ง)

         ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ละองค์ห้าได้แล้ว และผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์ห้า เราเรียกว่า “ผู้ประกอบด้วย คุณธรรม ทั้งหมด ทั้งสิ้น๒ ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นยอดบุรุษ” ในธรรมวินัยนี้.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้ละองค์ห้าได้แล้ว เป็นอย่างไรเล่า ? (นิวรณ์๕)

         ภิกษุท. ! กามฉันทะ เป็นสิ่งที่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละได้แล้ว พยาบาท ก็เป็นสิ่งที่เธอ ละได้แล้ว ถีนมิทธะ ก็เป็นสิ่งที่เธอละ ได้แล้ว อุทธัจจกุกกุจจะ ก็เป็นสิ่ง ที่เธอละได้แล้ว วิจิกิจฉา ก็เป็นสิ่งที่เธอละได้แล้ว (นิวรณ์๕)

         ภิกษุท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้ละองค์ห้าได้แล้ว.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์ห้า เป็นอย่างไรเล่า ?
         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วย กองศีล อันเป็นอเสขะ
เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วย กองสมาธิ อันเป็นอเสขะ
เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วย กองปัญญา อันเป็นอเสขะ
เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วย กองวิมุตติ อันเป็นอเสขะ
เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วย กองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นอเสขะ.

         ภิกษุท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์ห้า.

         ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ละองค์ห้าได้แล้ว และผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์ห้า เราเรียกว่า “ผู้ประกอบด้วยคุณธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นยอดบุรุษ” ในธรรมวินัยนี้ ฉะนี้แล
๒. ผู้มีคุณธรรมข้อนี้ เข้าใจว่า เรียกกันโดยศัพท์เดิม คือ เกวลี หรือเกพลี โดยไม่ต้องแปลออกมา ทำนองเดียวกับคำพิเศษอื่น ๆ เช่นคำว่า ภควา อรหันต์ ฯลฯ.

หมวดที่สิบสาม จบ.




หมวดที่ ๑๔

ว่าด้วย การไม่เป็นทาสตัณหา



337
ผู้เห็นแก่ธรรม

         ภิกษุท. ! ภิกษุบริษัทมีสองชนิด. สองชนิดอะไรบ้างเล่า ? สองชนิด คือ ภิกษุบริษัท หนักในอามิส ไม่หนักในพระสัทธรรม. หนึ่ง ภิกษุบริษัทที่ หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักใน อามิส หนึ่ง _  _ฯลฯ _ _

         ภิกษุท. ! ภิกษุบริษัทที่หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในอามิส เป็น อย่างไรเล่า ?

         ภิกษุท. ! ในกรณีนี้ภิกษุ เหล่าใด ไม่กล่าวยกยอกันเองต่อหน้า คฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ว่า “ภิกษุรูปโน้นเป็น อริยบุคคลชนิด อุภโตภาควิมุตต์ รูปโน้นเป็น อริยบุคคลชนิดปัญญาวิมุตต์ รูปโน้นเป็น อริยบุคคล ชนิดกายสักขี รูปโน้นเป็น อริยบุคคลชนิดทิฏฐิปปัตตะ รูปโน้นเป็น อริยบุคคลชนิด สัทธา วิมุตต์ รูปโน้นเป็น อริยบุคคลชนิดธัมมานุสารี รูปโน้นเป็น อริยบุคคล ชนิดสัทธานุสารี รูปโน้น มีศีลมีการเป็นอยู่งดงาม และรูปโน้น ทุศีลมีการเป็น อยู่ เลวทราม” ดังนี้เป็นต้น.

         ภิกษุเหล่านั้นย่อมได้ลาภ เพราะการไม่กล่าวยก ยอกันนั้นเป็นเหตุ. ครั้นได้ลาภแล้ว ภิกษุพวกนั้น ก็ไม่ติดอก ติดใจในรสแห่งลาภ ไม่สยบ ไม่เมาหมก มองเห็นส่วนที่เป็นโทษ เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบายเป็น เครื่องออกไป จากทุกข์บริโภคลาภนั้นอยู่.

         ภิกษุท. ! ภิกษุบริษัทอย่างนี้แล เราเรียกว่า บริษัทที่หนักในพระ สัทธรรม ไม่หนักใน อามิส


338
ข้าวของชาวเมืองไม่เสียเปล่า

         ภิกษุท. ! ถ้าหากภิกษุกระทำในใจซึ่ง เมตตาจิต (เป็นต้น) แม้สัก ว่าชั่วลัดนิ้วมือเดียว ภิกษุท. ! ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้เป็นอยู่ไม่ห่างจากฌาน (การเผากิเลส) เป็นผู้ทำตามคำสั่งสอน ของ พระศาสดา เป็นผู้ทำการสนอง โอวาท ย่อมฉันข้าวของชาวเมือง ไม่เสียเปล่า จะกล่าวทำไม เล่า ถึงผู้ที่กระทำในใจซึ่ง เมตตาจิตนั้นได้มาก.


338-1
คุ้มค่าข้าวสุก

         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมแห่งใด แห่งหนึ่งอยู่. คฤหบดี หรือ บุตร คฤหบดี ก็ตาม เข้าไปหาภิกษุนั้นแล้ว นิมนต์ ฉันอาหารในวันรุ่งขึ้น.

         ภิกษุท. ! ภิกษุนี้มีความหวังในอาหารนั้นก็รับนิมนต์. ครั้นราตรีล่วงไป ถึงเวลาเช้าเธอ ครองจีวร ถือบาตร เข้าไปสู่เรือนแห่งคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นิมนต์ ถึงแล้ว ก็นั่งบนอาสนะ ที่เขาจัดไว้. คฤหบดีหรือ บุตรคฤหบดีได้เลี้ยงดูเธอนั้น ด้วยของเคี้ยวของฉัน อันประณีต ด้วยตนเอง ให้อิ่มหนำจนเธอ บอกห้าม.

         เธอไม่นึกชมในใจทำนองนี้ว่า “วิเศษจริง คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนี้เลี้ยงเรา ด้วยของ เคี้ยวของฉัน อันประณีต ด้วยตนเอง ให้อิ่ม หนำจนเราต้องบอกห้าม” ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้นก็ไม่นึก หวัง ต่อไป อีกว่า “โอหนอ แม้วันต่อ ๆ ไป คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีพึงเลี้ยงเรา ด้วยของเคี้ยว ของฉัน อันประณีต ด้วยตนเอง ให้อิ่มหนำ จนต้องบอกห้าม อย่างนี้อีกเถิด” ดังนี้.

         เธอนั้นไม่ติดอกติดใจในรสอาหาร ไม่สยบ ไม่เมาหมก มองเห็นส่วนที่เป็น โทษเป็นผู้รู้ แจ่มแจ้ง ในอุบาย เป็นเครื่องออกไปจากทุกข์บริโภคอาหารนั้นอยู่.

         เธอนั้นย่อมครุ่นคิดอยู่ด้วยความครุ่นคิดในทางออกจากกามบ้าง ครุ่นคิดอยู่ด้วย ความ ครุ่นคิด ในทางไม่ เคียดแค้น บ้าง ครุ่นคิดอยู่ด้วยความครุ่นคิดในทางไม่ทำ ให้ผู้อื่นลำบาก โดยไม่รู้สึกตัวบ้าง ณ ที่นั่งฉัน นั้นเอง.

         ภิกษุท. ! เรากล่าวว่า “ทานที่ถวายแก่ภิกษุเช่นนี้มีผลใหญ่”. เพราะ เหตุไร ? เพราะเหตุว่า ภิกษุนี้เป็นผู้ ไม่มัวเมา แล.


339
เนื้อ ที่ไม่ติดบ่วงนายพราน

         ภิกษุท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ไม่ติดใจ ไม่สยบอยู่ไม่เมาหมกอยู่ใน กามคุณ ๕ เหล่านี้แล้ว มองเห็นส่วนที่เป็นโทษอยู่ เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบายเป็นเครื่องออกไป จากทุกข์บริโภคกามคุณทั้ง ๕ นั้นอยู่

         สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อันคนทั้งหลาย พึงเข้าใจได้อย่างนี้ว่า เป็นผู้ไม่ถึงความ พินาศ ย่อยยับ ไม่ต้องทำตามประสงค์ของมารผู้ใจบาป แต่อย่างใด ดังนี้.

         ภิกษุท. ! เปรียบเหมือนเนื้อป่าตัวที่ไม่ติดบ่วง แม้นอนจมอยู่ใน กองบ่วง ในลักษณะ ที่ใคร ๆ พึงเข้าใจได้ว่า เป็นผู้ไม่ถึงความพินาศย่อยยับ ไม่ต้องทำตามประสงค์ของพราน แต่อย่างใด เมื่อนายพรานมาถึงเข้า มัน จะหลีกหนีไปได้ตามที่ต้องการ ดังนี้.

         ข้อนี้ฉันใด ภิกษุท. ! สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : เมื่อไม่ติดใจ ไม่สยบอยู่ ไม่เมาหมก อยู่ในกามคุณ ๕ เหล่านี้แล้ว มองเห็นส่วนที่เป็นโทษ เป็นผู้รู้แจ่ม แจ้งในอุบายเป็นเครื่องออกไป จากทุกข์ บริโภคกามคุณทั้ง ๕ อยู่ ก็เป็น ผู้ที่คนทั้งหลาย พึงเข้าใจได้อย่างนี้ว่า เป็นผู้ไม่ถึงความพินาศย่อยยับ ไม่ต้องทำตามประสงค์ของมารผู้ใจบาป แต่อย่างใด ดังนี้.

         ภิกษุท. ! กามคุณเหล่านี้มีห้าอย่าง. ห้าอย่างอะไรบ้างเล่า ? ห้า อย่างคือ รูป ที่ได้เห็น ด้วยตา เสียง ที่ได้ยินด้วยหู กลิ่น ที่ได้ดมด้วย จมูก รส ที่ได้ลิ้มด้วยลิ้น และโผฏฐัพพะ ที่ได้ สัมผัส ด้วยกาย อันเป็น สิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าชอบใจ ยวนตาให้รัก เป็นที่เข้าไป ตั้งไว้ซึ่ง ความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ.

         ภิกษุท. ! กามคุณมีห้า อย่างเหล่านี้แล.


341
ผู้ไม่ถูกล่าม

         ภิกษุท. ! บรรพชิตรูปใด จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ตัดเครื่องล่าม ทางใจห้าอย่าง ให้ ขาดออก ด้วยดีแล้ว คืนวันของบรรพชิตรูปนั้น ย่อมผ่าน ไป โดยหวังได้แต่ความเจริญใน กุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้. เครื่องล่ามทางใจห้าอย่าง ที่บรรพชิตรูปนั้น ตัดให้ขาดออกด้วยดีแล้ว เป็นอย่างไรเล่า ?

         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ในกาม ทั้งหลาย ปราศจาก ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความเร่าร้อน และความทะยานอยากในกามทั้งหลาย.

         ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของ ภิกษุนั้น ย่อมน้อมไป เพื่อความเพียรเป็นเครื่องเผา กิเลส เพื่อความเพียร ทำให้เนือง ๆ เพื่อความเพียรอันติดต่อเนื่องกัน และเพื่อความเพียร อันเป็น หลักมั่นคง.

         จิตของผู้ใด ย่อมน้อมไป ในความเพียรดังกล่าวนี้ นั่นแหละ เป็นเครื่องล่ามทางใจอย่าง ที่หนึ่ง ซึ่งเธอตัด ให้ขาดออกด้วยดีแล้ว.

         ภิกษุท. ! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ในกาย _ _ฯลฯ _ _ นั่นแหละ เป็นเครื่องล่าม ทางใจอย่างที่สอง ซึ่งเธอตัดให้ขาด ออกด้วยดีแล้ว.

         ภิกษุท. ! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ในรูป _ _ฯลฯ _ _ นั่นแหละ เป็นเครื่องล่าม ทางใจอย่างที่สาม ซึ่งเธอตัดให้ขาด ออกด้วยดีแล้ว.

         ภิกษุท. ! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุได้ฉันอาหารเต็มท้องตามประสงค์แล้ว กไม่มัวหาความสุข ในการหลับ ไม่หา ความสุขในการเอนกายเล่น ไม่หาความสุข ในการนอนซบเซาไม่อยากลุก เป็นอยู่.  _ฯลฯ __นั่นแหละ เป็นเครื่อง ล่ามทางใจอย่างที่สี่ ซึ่งเธอตัดให้ขาดออกด้วยดีแล้ว.

         ภิกษุท. ! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุไม่ประพฤติพรหมจรรย์โดย ตั้งความ ปรารถนาเพื่อเป็น เทวดา พวกใดพวกหนึ่ง ว่า “เราจักเป็นเทวดาผู้มีศักดาใหญ่ หรือเป็นเทวดาผู้มีศักดาน้อย ชนิดใด ชนิดหนึ่งด้วยศีลนี้ ด้วยวัตรนี้ ด้วย ตบะนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ ” ดังนี้.

         ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้นย่อมน้อมไป เพื่อความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส เพื่อความเพียร ทำให้เนือง ๆ เพื่อความเพียรอันติดต่อเนื่องกัน และเพื่อความเพียรอันเป็นหลัก มั่นคง. จิต ของผู้ใด ย่อมน้อมไป ในความเพียรดังกล่าวนี้ นั่นแหละ เป็นเครื่องล่ามทาง ใจอย่างที่ห้า ซึ่งเธอตัดให้ขาด ออก ด้วยดีแล้ว.

         ภิกษุท. ! บรรพชิตรูปใด จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ตัดเครื่อง ล่ามทางใจห้าอย่าง เหล่านี้ ให้ขาดออก ด้วยดีแล้ว คืนวันของบรรพชิตรูปนั้นย่อมผ่านไป โดยหวังได้แต่ความเจริญ ใน กุศลธรรม ทั้งหลายอย่างเดียว หาความ เสื่อมมิได้ เช่นเดียวกับคืนวันแห่งดวงจันทร์ เวลา ข้างขึ้น ดวงจันทร์นั้น โดยสีก็แจ่มกระจ่าง โดยวงกลดก็ใหญ่กว้างออก โดยรัศมีก็เจริญขึ้น โดย ขนาดก็ขยายใหญ่ขึ้น ฉันใดก็ฉันนั้น แล.


342
มิตตภิกขุ

         ภิกษุท. ! มิตรที่เป็นภิกษุที่ประกอบด้วยลักษณะห้าอย่างเหล่านี้เป็น คนที่ใคร ๆ ควรคบ. ห้าอย่างอะไรบ้างเล่า ? ห้าอย่าง คือ :-
(๑) ภิกษุนั้น ไม่ใช้ผู้อื่นให้ทำงาน.
(๒) ภิกษุนั้น ไม่ชอบก่ออธิกรณ์.
(๓) ภิกษุนั้น ไม่ทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อเหล่าพระเถระชั้นครูบาอาจารย์.
(๔) ภิกษุนั้น ไม่ชอบเที่ยวไกล ๆ และไม่มีจุดหมาย.
(๕) ภิกษุนั้น มีความสามารถในการแสดง ในการชี้ชวน ในการปลุกปลอบ ในการเร้าให้เกิด ความบันเทิง ด้วยธรรมมีกถาตามเวลาอันสมควร.

         ภิกษุท. ! มิตรที่เป็นภิกษุที่ประกอบด้วยลักษณะห้าอย่างเหล่านี้แล เป็นคนที่ใคร ๆ ควรคบแท้.


343
ไม่เป็นโรคชอบเที่ยวเรื่อยเปื่อย

         ภิกษุท. ! อานิสงส์ในการอยู่เป็นที่เหล่านี้มีอยู่ห้าอย่าง. ห้าอย่างอะไรบ้างเล่า ? ห้าอย่าง คือ :-
(๑) เธอ ย่อมได้บรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ.
(๒) เธอ ย่อมไม่เสื่อมจากสิ่งที่บรรลุแล้ว.
(๓) เป็นผู้แตกฉานชํ่าชองในบางสิ่งบางอย่าง แม้ที่บรรลุแล้ว.
(๔) ไม่เป็นโรคที่ทำชีวิตให้ลำบาก.
(๕) และเป็นคนมีมิตร.

         ภิกษุท. ! อานิสงส์ในการอยู่เป็นที่มีอยู่ห้าอย่างเหล่านี้แล.

หมวดที่สิบสี่จบ.



ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์

หมวดที่๑๕

ว่าด้วย การไม่หละหลวมในธรรม



347
ผู้ไม่ใช่นกแก้วนกขุนทอง

         ภิกษุ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด) คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะเวทัลละ และเธอย่อมรู้ทั่วถึง ความหมาย อันยิ่งแห่ง ธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา. ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่า ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).

         ภิกษุ ! ภิกษุผู้มากด้วยปริยัติเราก็แสดงแล้ว ผู้มากด้วยการบัญญัติเราก็แสดงแล้ว ผู้มากด้วย การสาธยาย เราก็แสดงแล้ว ผู้มากด้วยการคิดเรา ก็แสดงแล้ว และธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม) เราก็แสดงแล้ว ด้วย ประการฉะนี้.

         ภิกษุ ! กิจอันใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดูแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัย ความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำ แก่สาวก ทั้งหลาย กิจอันนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวก เธอทั้งหลาย.

         ภิกษุ ! นั่น โคนไม้ทั้งหลาย. นั่น เรือนว่างทั้งหลาย. ภิกษุ! เธอ ทั้งหลาย จงเพียรเผา กิเลส อย่าได้เป็นผู้ ประมาท เธอทั้งหลายอย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย. นี่แล เป็นวาจา เครื่องพรํ่าสอนเธอทั้งหลาย ของเรา.


347-1
ถุงธรรม

         ภิกษุ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด) คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ แต่เธอไม่ใช้วันทั้งวัน ให้เปลืองไป ด้วย การเรียนธรรมนั้น ๆ ไม่เริดร้างจากการหลีกเร้น ประกอบตามซึ่งธรรม เป็นเครื่อง สงบใจ ในภายในเนือง ๆ. ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่า ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)

         ภิกษุ ! ภิกษุผู้มากด้วยปริยัติเราก็แสดงแล้ว ผู้มากด้วยบัญญัติเรากแสดงแล้ว ผู้มาก ด้วยการ สาธยายเรา ก็แสดงแล้ว ผู้มากด้วยการคิดเราก็แสดง แล้ว และธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม) เราก็แสดงแล้ว ด้วยประการ ฉะนี้.

         ภิกษุ ! กิจอันใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดูแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัย ความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่ สาวก ทั้งหลาย กิจอันนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย. ภิกษุ ! นั่น โคนไม้ ทั้งหลาย. นั่น เรือนว่างทั้งหลาย

         ภิกษุ ! เธอทั้งหลาย จงเพียรเผากิเลส อย่าได้เป็นผู้ประมาท เธอทั้งหลายอย่า เป็นผู้ที่ต้อง ร้อนใจ ในภายหลังเลย. นี่แล เป็นวาจาเครื่องพรํ่าสอนเธอทั้งหลาย ของเรา.


349
ปริยัติที่ไม่เป็นงูพิษ
๑. บาลี พระพุทธภาษิต อลคัททูปมสูตร มู. ม. ๑๒/๒๖๘/๒๗๙.

         ภิกษุท. ! ก็กุลบุตรบางพวกในกรณีนี้เล่าเรียนปริยัติธรรม (นานา ชนิด) คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ กุลบุตรเหล่านั้น ครั้น เล่าเรียนธรรมนั้น ๆ แล้ว ก็สอดส่อง ใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา เมื่อสอดส่องใคร่ครวญเนื้อความด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมทนต่อการเพ่งพิสูจน์ ของกุลบุตร เหล่านั้น. กุลบุตรเหล่านั้น เล่าเรียนธรรม ด้วยการมิได้เพ่งหา ข้อบกพร่อง (ของ ธรรม หรือของลัทธิใดลัทธิหนึ่ง) และมิได้มีความคิดที่จะใช้เป็นเครื่องทำลายลัทธิใด ลัทธิหนึ่งเป็นอานิสงส์.

         ผู้รู้ทั้งหลายเล่าเรียนปริยัติธรรมเพื่อคุณประโยชน์อันใด กุลบุตรเหล่านั้นก็ได้รับ คุณประโยชน์ อันนั้น แห่งธรรม ธรรมเหล่านั้น ก็กลาย เป็นธรรมที่กุลบุตรเหล่านั้น ถือเอาด้วยดี เป็นไปเพื่อ ความเป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข แก่กุลบุตรเหล่านั้นเอง ตลอดกาลนาน. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะ ความที่ธรรมทั้งหลายอันกุลบุตร เหล่านั้นถือเอาด้วยดีเป็นเหตุ.

         ภิกษุท. ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการใคร่จะได้งูเที่ยวเสาะ แสวงหาอยู่. บุรุษนั้น ครั้น เห็นงู ตัวใหญ่จึงเอาท่อนไม้มีง่ามดังเท้าแพะ กดงูนั้น ให้เป็นการถูกกดไว้อย่างดี ครั้นแล้ว จึงจับงูนั้นที่คออย่างมั่นคง. แม้งูตัวนั้น จะพึงรัด เอามือ แขน หรืออวัยวะแห่งใด แห่งหนึ่งของบุรุษนั้นด้วยลำ ตัวของมัน ก็ตามที แต่บุรุษนั้น ไม่ตาย หรือไม่ต้องได้รับทุกข์ เจียนตาย เพราะ การรัดเอาของงูนั้นเป็นเหตุ. ข้อนั้นเพราะ เหตุไร ? เพราะงูตัวนั้นถูกจับไว้ อย่างมั่นคง ดีแล้วเป็นเหตุ

         ภิกษุท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น กุลบุตรบางพวกในกรณีนี้เล่าเรียน ปริยัติธรรม (นานาชนิด) _ กุลบุตร เหล่านั้น ครั้นเล่าเรียนธรรมนั้น ๆ แล้ว ก็สอดส่องใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา. เมื่อสอดส่อง ใคร่ครวญเนื้อความด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมทนต่อการเพ่ง พิสูจน์ของกุลบุตรเหล่านั้น.

         กุลบุตรเหล่านั้นเล่าเรียนธรรม ด้วยการมิได้เพ่งหาข้อบกพร่อง (ของธรรมหรือของ ลัทธิใด ลัทธิหนึ่ง) และ มิได้มีความคิดที่จะใช้เป็นเครื่องทำลายลัทธิใดลัทธิหนึ่งเป็นอานิสงส์.

         ผู้รู้ทั้งหลาย เล่าเรียน ปริยัติธรรมเพื่อคุณประโยชน์อันใด กุลบุตรเหล่านั้น ก็ได้รับ คุณประโยชน์ อันนั้น แห่งธรรม ธรรมเหล่านั้น ก็กลายเป็นธรรมที่กุลบุตรเหล่านั้นถือเอา ด้วยดีเป็นไปเพื่อ ความ เป็นประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อสุขแก่กุลบุตรเหล่านั้น เองตลอดกาลนาน. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะความที่ธรรมทั้งหลายอัน กุลบุตรเหล่านั้นถือเอาด้วยดีเป็นเหตุ.

         ภิกษุท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงทราบ ถึงความหมายแห่งคำพูด อันใด ของเรา พึงจดจำข้อนั้น โดยประการนั้น ถ้าพวกเธอยังไม่เข้าใจ เราจะทบทวนในข้อนั้น แก่เธอ ทั้งหลาย หรือพวกเธอ เอาไปสอบถามพวกภิกษุผู้ฉลาดดูก็ได้แล.


351
ผู้สนทนาถูกเรื่องที่ควรสนทนา

         ภิกษุท. ! พวกเธอทั้งหลาย อย่ากล่าวถ้อยคำที่ยึดถือเอาแตกต่างกันว่า “ท่านไม่รู้ ทั่วถึง ธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัย นี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติ ผิด ข้าพเจ้าซิปฏิบัติชอบ.

         คำควรกล่าวก่อน ท่านกล่าว ทีหลัง คำควรกล่าวทีหลัง ท่านมากล่าวก่อน คำพูดของ ท่าน จึงไม่เป็น ประโยชน์คำพูดของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์. ข้อที่ท่านเคยถนัด มาแปรปรวน ไปเสียแล้ว.

         ข้าพเจ้าสลัดคำพูดของท่านได้แล้ว ท่านถูกข้าพเจ้าข่มแล้ว เพื่อ ให้ถอนคำพูดผิด ๆ นั้นเสีย หรือถ้าท่านสามารถก็จงค้านมาเถิด” ดังนี้.

         พวก เธอทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวถ้อยคำเห็นปานนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุว่า การกล่าว นั้น ๆ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่เป็นเงื่อนต้น ของพรหมจรรย์ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อ ความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความ รู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.

         ภิกษุท. ! เมื่อพวกเธอทั้งหลายจะกล่าว จงกล่าวว่า “ความทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ เหตุให้เกิด ทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ ความดับสนิทแห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ และ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับสนิทแห่ง ทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ” ดังนี้.

         ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุว่า การกล่าวนั้น ๆ เป็นการกล่าวประกอบด้วย ประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นของ พรหมจรรย์เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย ความคลาย กำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.

         ภิกษุท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์” ดังนี้แล.


352
เนื้อแท้ที่ไม่อันตรธาน

         ภิกษุท. ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้ สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้น ใหม่เป็นคำ ร้อยกรอง ประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอัน วิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าว ของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่า นั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิต เพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่ง ที่ตนควร ศึกษาเล่าเรียน.

         ภิกษุท. ! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อ ความลึก มีความหมาย ซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้น มากล่าวอยู่ เธอย่อมฟัง ด้วยดีย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิต เพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่ง ที่ตนควร ศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้ เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ?” ดังนี้.

         ด้วยการทำดังนี้เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้ ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ ปรากฏได้ ความสงสัยใน ธรรมหลาย ประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้.

         ภิกษุท. ! ภิกษุบริษัทเหล่านี้เราเรียกว่า บริษัทที่มีการลุล่วงไปได้ด้วยการสอบถาม แก่กัน และกันเอาเอง หาใช่ด้วยการชี้แจงโดยกระจ่างของ บุคคลภายนอกเหล่าอื่นไม่ จัดเป็น บริษัท ที่เลิศแล.


352-1
ยอดแห่งความเพียร

         ภิกษุท. ! ความเพียรที่เป็นหลักเป็นประธาน สองประการเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ในโลก สองประการอะไรบ้างเล่า? สองประการ คือ ฝ่ายคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ต้องใช้ความเพียร เพื่อให้ได้เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และยาแก้ไข้ นี่อย่างหนึ่ง ฝ่ายบรรพชิต ผู้ออกบวช จากเรือนไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน ต้องใช้ความเพียร เพื่อละอุปธิ เสียทั้งหมด นี่อย่างหนึ่ง.

         ภิกษุท. ! ความเพียรที่เป็นหลักเป็นประธาน สองประการเหล่านี้แหละ เป็นสิ่งที่ทำได้ ยาก ในโลก.

         ภิกษุท. ! บรรดาความเพียรที่เป็นหลักเป็นประธานสองประการเหล่านี้ความเพียร เพื่อละ อุปธิ เสียทั้งหมด จัดเป็น ยอดแห่งความเพียร.

         ภิกษุท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า “เราทั้งหลาย จักตั้ง ความเพียร ที่เป็นหลักเป็นประธาน เพื่อละอุปธิ เสียทั้งหมด” ดังนี้.

         ภิกษุท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่าง นี้แล.


353
ผู้ไม่มีอหังการ์

         สารีบุตร ! แม้เราจะพึงแสดงธรรมโดยย่อก็ตาม โดยพิสดารก็ตาม ทั้งโดยย่อ และ พิสดาร ก็ตาม ผู้รู้ธรรม ก็ยังมีได้โดยยากอยู่นั่นเอง.

         “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงเวลาแล้ว ข้าแต่พระสุคตเจ้า ! ถึงเวลาสมควรแล้ว ที่พระ ผู้มีพระภาคเจ้า จะพึงแสดงธรรมโดยย่อก็ตาม โดยพิสดารก็ตามทั้งโดยย่อและพิสดารก็ตาม ผู้รู้ธรรม จักมีเป็นแน่ ” ท่านพระสารีบุตร กราบทูลขอร้อง.

         สารีบุตร ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า “อหังการ (ความถือว่าเรา) มมังการ (ความถือว่าของเรา) อันเป็นมานานุสัย (กิเลสที่สะสมอยู่ในสันดาน คือมานะ) จักต้อง ไม่เกิดขึ้น เพราะเหตุ แห่งกาย อันมีวิญญาณนี้ และจักต้องไม่เกิดขึ้น เพราะเหตุแห่งสิ่งอื่น ที่เห็นอยู่ในภายนอกทั้งสิ้น ก็เมื่อภิกษุ เข้าถึงเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันใดอยู่อหังการ มมังการ อันเป็นมานานุสัย จักไม่มี เราทั้งหลาย จักเข้าถึงเจโตวิมุตติปัญญา-วิมุตติอันนั้นแล้ว แลอยู่” ดังนี้. สารีบุตร ! เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ อย่างนี้เถิด.

         สารีบุตร ! เมื่อใดแล ภิกษุไม่มีอหังการ มมังการ อันเป็นมานานุสัย อันเกิดขึ้นเพราะเหตุ แห่งกาย อันมี วิญญาณนี้ และ ไม่มีอหังการ มมังการ อันเป็น มานานุสัย อันเกิดขึ้นเพราะเหตุ แห่งสิ่งอื่นที่เห็นอยู่ ใน ภายนอกทั้งสิ้น และเมื่อเธอ เข้าถึง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันใดอยู่ อหังการ มมังการ อันเป็นมานานุสัย จักไม่มี เธอ เข้าถึง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันนั้นแล้ว แลอยู่ สารีบุตร ! เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ตัดตัณหาได้แล้ว รื้อสัญโญชน์เสียแล้ว ทำที่สุด แห่งทุกข์ได้เพราะรู้จักหน้าตาของมานะอย่างถูกต้องแล้ว.


355
ผู้ไม่ทำศาสนาเสื่อม

         ภิกษุท. ! มูลเหตุสี่ประการเหล่านี้ย่อมทำให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป. สี่ประการอะไรบ้างเล่า ? สี่ประการ คือ

         (๑) ภิกษุท. ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก ด้วยบทพยัญชนะ ที่ใช้กันถูก ความหมาย แห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก ย่อมมีนัย อันถูกต้องเช่นนั้น. ภิกษุท. ! นี่เป็น มูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้ พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.

         (๒) ภิกษุท. ! อีกอย่างหนึ่ง พวกภิกษุเป็นคนว่าง่าย ประกอบ ด้วยเหตุที่ทำให้เป็นคน ว่าง่าย อดทน ยอมรับ คำสั่งสอนโดยความเคารพหนัก แน่น. ภิกษุท. ! นี่เป็น มูลกรณีที่สอง ซึ่งทำให้ พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้ไม่ เลอะ เลือนจนเสื่อมสูญไป.

         (๓) ภิกษุท. ! อีกอย่างหนึ่ง พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่ว ในหลัก พระพุทธวจนะ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) พวก ภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่บอกสอน เนื้อความแห่ง สูตรทั้งหลายแก่คนอื่น ๆ เมื่อ ท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สูตรทั้งหลาย (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป. ภิกษุท. ! นี่เป็น มูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะ เลือน จนเสื่อมสูญไป.

         (๔) ภิกษุท. ! อีกอย่างหนึ่ง พวกภิกษุผู้เถระ ไม่ทำการสะสม บริกขาร ไม่ประพฤติ ย่อหย่อน ในไตรสิกขา ไม่เป็นผู้นำในทางทราม มุ่งหน้า ไปในกิจแห่งวิเวกธรรม ย่อมปรารภ ความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง. พวกภิกษุ ที่บวช ในภายหลัง ได้เห็นพระเถระ เหล่านั้นทำแบบฉบับเช่นนั้นไว้ก็ถือเอาเป็น ตัวอย่าง พวกภิกษุรุ่นหลัง จึงเป็นพระที่ไม่ทำการสะสมบริกขาร ไม่ประพฤติย่อหย่อนใน ไตรสิกขา ไม่เป็นผู้นำในทางทราม มุ่งหน้าไปในกิจแห่งวิเวก ธรรม ย่อมปรารภ ความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง. ภิกษุท. ! นี่เป็น มูลกรณี ที่สี่ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.

         ภิกษุท. ! มูลเหตุสี่ประการเหล่านี้แล ย่อมทำให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจน เสื่อมสูญไปเลย.


356
ผู้สามารถทำพระศาสดาให้เป็นมิตร
๑. บาลี พระพุทธภาษิต มหาสุญญตสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๔/๓๕๕-๓๕๖, ตรัสแก่ท่านพระอานนท์.

         อานนท์ ! สาวกทั้งหลาย เรียกร้องหาศาสดา เพื่อความเป็นศัตรูไม่เรียกร้องเพื่อความ เป็นมิตร เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ในกรณีนี้ศาสดา ผู้เอ็นดูแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความ เอ็นดูแล้ว จึงแสดงธรรมแก่สาวก ทั้งหลายว่า “สิ่งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่พวกเธอ ทั้งหลาย และสิ่งนี้ก็เป็นไป เพื่อความสุขแก่พวกเธอทั้งหลาย” ดังนี้เป็นต้น สาวกเหล่านั้น ของศาสดา ไม่ฟังด้วยดีไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิต กำหนดเพื่อรู้ทั่วถึง แต่แกล้ง ทำให้ผิดจาก คำสั่งสอนของศาสดาไปเสีย.

         อานนท์ ! สาวกทั้งหลายอย่างนี้แล ชื่อว่า ผู้เรียกร้องหาศาสดา เพื่อความเป็นศัตรู ไม่เรียกร้องเพื่อความ เป็นมิตร.

         อานนท์ ! สาวกทั้งหลาย เรียกร้องหาศาสดา เพื่อความเป็นมิตร ไม่เรียกร้องเพื่อความ เป็นศัตรู เป็น อย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ในกรณีนี้ศาสดา ผู้เอ็นดูแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความ เอ็นดูแล้ว จึงแสดงธรรม แก่สาวกทั้งหลายว่า “สิ่งนี้เป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่ พวกเธอทั้งหลายและสิ่งนี้ ก็เป็นไปเพื่อความสุขแก่พวกเธอทั้งหลาย” ดังนี้เป็นต้น สาวกเหล่านั้นของ ศาสดา ย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ย หูฟัง ย่อมตั้งจิตกำหนด เพื่อรู้ทั่วถึง และ ไม่แกล้งทำให้ผิดจาก คำสั่งสอนของศาสดา.

         อานนท์ ! สาวก ทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า ผู้เรียกร้องหาศาสดา เพื่อความเป็นมิตร ไม่เรียก ร้อง เพื่อความ เป็นศัตรู.

         อานนท์ ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย จงเรียกร้อง หาตถาคต เพื่อความ เป็น มิตร เถิด อย่า เรียกร้อง เพื่อความเป็นศัตรูเลย. ข้อนั้น จักเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่พวกเธอทั้งหลาย เอง ตลอดกาลนาน.

         อานนท์ ! เราไม่พยายามทำกะพวกเธอ อย่างทะนุถนอม เหมือน พวกช่างหม้อทำแก่ หม้อ ที่ยังเปียก ยังดิบอยู่. อานนท์ ! เราจักขนาบแล้ว ขนาบอีก ไม่มีหยุด.

         อานนท์ ! เราจักชี้โทษแล้ว ชี้โทษอีก ไม่มีหยุด. ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้น จักทน อยู่ได้เอง แล.


357
คนควรเลี้ยงโค

         ภิกษุท. ! คนเลี้ยงโค ที่ประกอบด้วยองคคุณ ๑๑ อย่างแล้ว ย่อมเหมาะสมที่จะเลี้ยงโค ทำให้เพิ่มกำไรได้. องคคุณ ๑๑ อย่างอะไรบ้างเล่า ? สิบเอ็ดอย่างคือ คนเลี้ยงโคในกรณีนี้ เป็นผู้รู้จักเรื่องร่างกายของโค เป็นผู้ฉลาดในลักษณะของโค เป็นผู้เขี่ยไข่ขาง เป็นผู้ปิดแผล เป็นผู้สุมควัน เป็นผู้รู้จักท่าที่ควรนำโคไป เป็นผู้รู้จักนํ้าที่โคควรดื่ม เป็นผู้รู้จักทางที่โคควร เดิน เป็นผู้ฉลาดในที่ที่โคควรไป เป็นผู้รู้จักรีดนมโค ให้มีเหลือไว้บ้าง เป็นผู้ให้เกียรติแก่โคอุสภ อันเป็นโคพ่อฝูง เป็นโคนำฝูง ด้วยการเอาใจใส่เป็นพิเศษ.

         ภิกษุท. ! คนเลี้ยงโคที่ประกอบ ด้วย องคคุณ ๑๑ อย่างนี้แล้ว ย่อมเหมาะ สมที่จะ เลี้ยงโค ทำให้เพิ่มกำไรได้. ข้อนี้ฉันใด

         ภิกษุท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยองคคุณ ๑๑ ประการแล้ว ย่อม เหมาะสมที่จะถึงความ เจริญ งอกงามไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ได้ฉันนั้น. องคคุณ ๑๑ ประการอย่างไรบ้างเล่า ?

         สิบเอ็ดประการคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ รู้จักรูป เป็นผู้ฉลาดในลักษณะ เป็นผู้เขี่ย ไข่ขาง เป็นผู้ปิดแผล เป็นผู้สุมควัน เป็นผู้รู้จักท่าที่ควรไป เป็นผู้ รู้จัก นํ้าที่ควรดื่ม เป็นผู้รู้จัก ทางที่ควรเดิน เป็นผู้ฉลาดในที่ที่ควรไป เป็นผู้รู้จักรีด “นมโค” ให้มีส่วนเหลือ ไว้บ้าง เป็นผู้ บูชา อย่างยิ่งในภิกษุทั้งหลาย ผู้เถระ มีพรรษายุกาล บวชนาน เป็นบิดาสงฆ์เป็นผู้นำสงฆ์ ด้วยการ บูชาเป็นพิเศษ.


358
พวกรู้จักรูป

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้รู้จักรูป เป็นอย่างไรเล่า ?

         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ชัดตาม ที่ เป็นจริงว่า “รูปชนิดใดก็ตาม ทั้งหมดนั้น ชื่อว่ารูป คือ มหาภูตรูปมี๔ และอุปาทายรูป คือรูปที่อาศัยมหาภูตรูปทั้ง ๔” ดังนี้.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้รู้จักรูป เป็นอย่างนี้แล.


359
พวกฉลาดในลักษณะ

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในลักษณะ เป็นอย่างไรเล่า ?

         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ชัด ตาม ที่เป็นจริงว่า “คนพาล มีกรรม (การกระทำ) เป็นเครื่องหมาย บัณฑิต ก็มีกรรม (การกระทำ) เป็นเครื่องหมาย” ดังนี้เป็นต้น.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในลักษณะ เป็นอย่างนี้แล.


359_1
พวกคอยเขี่ยไข่ขาง

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้คอยเขี่ยไข่ขาง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อดกลั้นได้ ละบรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้หมดสิ้น ซึ่ง ความตรึกเกี่ยวด้วยกาม ความตรึก เกี่ยวด้วยความมุ่งร้าย ความตรึกเกี่ยว ด้วยการทำความลำบากให้แก่คนอื่น ที่เกิดขึ้นแล้ว และอดกลั้นได้ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้หมดสิ้น ซึ่งสิ่งอันเป็นอกุศลลามกทั้งหลาย ที่เกิด ขึ้นแล้ว.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้คอยเขี่ยไข่ขาง เป็นอย่างนี้แล.


359-2
พวกปิดแผล

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้ปิดแผล เป็นอย่างไรเล่า ?

         ภิกษุท. ! ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วย ลิ้น สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ แล้วก็ไม่มีจิตยึดถือเอาทั้งโดย ลักษณะ ที่เป็นการรวบถือทั้งหมด และการถือเอาโดยการแยก เป็นส่วน ๆ.

         สิ่งที่เป็นอกุศลลามกคืออภิชฌา และโทมนัส จะพึงไหลไปตามผู้ที่ไม่สำรวม ตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์ใดเป็นเหตุ เธอ ก็ปฏิบัติเพื่อปิดกั้นอินทรีย์ นั้นไว้ เธอรักษาและถึงการสำรวม ตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้ปิดแผล เป็นอย่างนี้แล.


360
พวกสุมควัน

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้สุมควัน เป็นอย่างไรเล่า ?

         ภิกษุท. ! ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้เป็นผู้แสดงธรรม ตามที่ได้ฟัง ได้เล่าเรียนมาแล้ว แก่ผู้อื่น โดยพิสดาร.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้สุมควัน เป็นอย่างนี้แล.


360-1
พวกรู้จักท่าที่ควรไป

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้รู้จักท่าที่ควรไป เป็นอย่างไรเล่า ?

         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อเข้าไปหาพวกภิกษุ ผู้เป็นพหุสูต คล่องแคล่วในหลัก พระพุทธวจนะ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) ก็ไต่ถาม ไล่เลียงโดย ทำนองนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! พระพุทธวจนะนี้เป็นอย่างไร ? ความหมายแห่ง พระพุทธวจนะ นี้มีอย่างไร ?” ดังนี้เป็นต้น ตามเวลาอัน สมควร ท่านพหุสูตเหล่านั้น จึงทำข้อความ ที่ยังลี้ลับ ให้เปิดเผย ทำข้อความ อันลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทา ถ่ายถอน ความสงสัยในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยนานาประการให้แก่ภิกษุนั้นได้.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้รู้จัก ท่าที่ ควรไป เป็นอย่างนี้แล.


360-2
พวกที่รู้จักนํ้าที่ควรดื่ม

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้รู้จักนํ้าที่ควรดื่ม เป็นอย่างไรเล่า ?

         ภิกษุท. ! ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้เมื่อ ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้แล้ว อันผู้ใดผู้หนึ่ง แสดงอยู่ เธอก็ได้ความรู้อรรถ ได้ความรู้ธรรม และได้ความปราโมทย์อันอาศัยธรรม.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้ รู้จักนํ้า ที่ควรดื่ม เป็นอย่างนี้แล.


361
พวกรู้จักทางที่ควรเดิน

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้รู้จักทางที่ควรเดิน เป็นอย่างไรเล่า ?

         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดแจ้ง ตามที่เป็นจริง ซึ่งอริยมรรคมีองค์๘.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้รู้จักทางที่ควรเดิน เป็นอย่างนี้แล.


361-1
พวกฉลาดในที่ที่ควรไป

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในที่ที่ควรไป เป็นอย่างไรเล่า ?

         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดแจ้งตาม ที่เป็นจริง ซึ่งสติปัฏฐาน ๔.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในที่ที่ควรไป เป็นอย่างนี้แล.


361-2
พวก รีด “นมโค” ให้มีส่วนเหลือ

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้รู้จัก รีด “นมโค” ให้มีส่วนเหลือไว้บ้าง เป็น อย่างไรเล่า ?

         ภิกษุท. ! พวกคฤหัสถ์ ผู้มีศรัทธา ย่อมปวารณาไม่มีขีดขั้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัช บริกขาร. ในการที่เขาปวารณาเช่นนั้น ภิกษุเป็นผู้รู้จัก ประมาณ ในการรับ ปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น เหล่านั้น.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้รู้จักรีด “นมโค” ให้มีส่วนเหลือไว้บ้าง เป็นอย่างนี้แล.


361-3
พวกบูชาผู้เฒ่า

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้บูชาอย่างยิ่ง ในภิกษุทั้งหลายผู้เถระ ฯลฯ ด้วย การบูชาเป็นพิเศษ เป็นอย่างไรเล่า ?

         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปตั้งไว้ซึ่งการกระทำทางกาย การกระทำทางวาจา และการ กระทำทางใจ อัน ประกอบด้วยเมตตา ในภิกษุทั้งหลายผู้เถระ มีพรรษายุกาล บวชนาน เป็น บิดาสงฆ์เป็นผู้นำสงฆ์ทั้งใน ที่แจ้งและทั้งในที่ลับ.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้บูชาอย่างยิ่งในภิกษุทั้งหลายผู้เถระ ฯลฯ ด้วยการบูชาเป็นพิเศษ เป็นอย่างนี้แล. . . . . . . . . . .

         ภิกษุท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยองคคุณ ๑๑ ประการเหล่านี้แล้ว ย่อม เหมาะสม ที่จะถึง ความ เจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ได้แท้.


362
ลูกในคอก

         ภิกษุท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเที่ยวไปในที่ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็น วิสัยของบิดาตน เถิด. เมื่อพวกเธอเที่ยว ไป ในที่ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็นวิสัยของ บิดาตน มารก็ไม่ได้ช่องทาง และไม่ได้โอกาสที่จะทำตามอำเภอใจ ของมัน. ที่ที่ควรเที่ยวไปเช่นนั้น คือที่ไหนเล่า ? ที่ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็นวิสัยของบิดา ตนนั้น ได้แก่สติ ปัฏฐาน ๔.

สติปัฏฐาน ๔ อะไรบ้างเล่า ? สี่คือ :-

         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ เป็นอยู่มีความเพียร เผากิเลส มีความรู้สึกตัว ทั่วพร้อม มีสติพึงกำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้.

         เธอ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเนือง ๆ เป็นอยู่มีความเพียร เผากิเลส มีความ รู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติพึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน โลกเสียได้.

         เธอ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ เป็นอยู่มีความเพียรเผากิเลส มีความ รู้สึกตัว ทั่วพร้อม มีสติพึงกำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

         เธอ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเนือง ๆ เป็นอยู่มีความเพียรเผา กิเลส มีความรู้สึกตัว ทั่วพร้อม มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

         ภิกษุท. ! นี่แล ที่ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็นวิสัยของบิดาตน ของภิกษุ.

363
ทางเจริญของ “ลูกในคอก”
๑. บาลีพระพุทธภาษิต คณกโมคคัลลานสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๘๒/๙๔ ตรัสแก่คณกโมค-คัลลานพราหมณ์ ซึ่งเข้าไปเฝ้าทูลถึงเรื่องการศึกษาไปตามลำดับ การกระทำไปตามลำดับ และการปฏิบัติไป ตามลำดับ เช่น ในการเล่าเรียนของพวกพราหมณ์ในกระบวนฝึกอาวุธ ของบุคคลผู้ยิงศร และในการนับของ ตนเอง ซึ่งเลี้ยงชีวิตด้วยวิชาการบัญชีนี้ ในที่สุดได้ทูลขึ้นว่า แม้ในธรรมวินัยนี้พระองค์อาจบัญญัติ เช่นที่กล่าวอ้างนั้น ได้หรือไม่. ทรงให้คำตอบแก่พราหมณ์ ดังเรื่องนี้ณ ที่บุพพาราม.

         พราหมณ์ ! ในธรรมวินัยนี้เรา สามารถบัญญัติกฎเกณฑ์แห่งการศึกษาไปตามลำดับ การกระทำไปตามลำดับ และการปฏิบัติไปตามลำดับ ได้เหมือน กัน (กับที่ท่านมีวิธีฝึก สอนศิษย์ของท่าน ให้นับไปตามลำดับฉะนั้น).

         พราหมณ์ ! เปรียบเหมือน ผู้ชำนาญในการฝึกม้า ได้ม้าชนิดที่อาจฝึกได้มาแล้ว ในขั้นแรก ย่อมฝึกให้รู้จัก การรับสวมบังเหียนก่อน แล้วจึงฝึกอย่าง อื่นๆ ให้ยิ่งขึ้นไป ฉันใด พราหมณ์เอย ! ฉันนั้นเหมือนกัน ตถาคตครั้น ได้บุรุษที่พอฝึกได้มาแล้ว ในขั้นแรก ย่อมแนะนำอย่างนี้ก่อน ว่า

         “มาเถิด ภิกษุ ! ท่านจง เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยดีในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย มรรยาท และโคจร เป็นอยู่ มีปรกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้ที่ถือกันว่าเป็นโทษเล็กน้อย จงสมาทานศึกษาในสิกขาบท ทั้งหลายเถิด” ดังนี้.

         พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้มีศีล (เช่นกล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ ยิ่งขึ้นไป ว่า :-

         “มาเถิด ภิกษุ ! ท่านจง เป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ได้เห็น รูปด้วยตา ได้ฟังเสียง ด้วยหู ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ได้ถูก ต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ได้รู้ธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว จักไม่ถือเอาทั้งโดย ลักษณะที่เป็นการรวบถือทั้งหมด และการถือเอาโดยการ แยกเป็นส่วน ๆ

         สิ่งอันเป็นอกุศลลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหลไปตามผู้ที่ไม่สำรวม ตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์ใดเป็นเหตุ เธอจัก ปฏิบัติเพื่อปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้ เธอจักรักษาและถึงการสำรวม ตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ” ดังนี้.

         พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้สำรวมอินทรีย(เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคต ย่อม แนะนำ ให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า :-

         “มาเถิด ภิกษุ ! ท่านจง เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอยู่เสมอ จงพิจารณาโดย แยบคาย แล้วจึงฉัน ไม่ใช่ฉัน เพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อประดับ เพื่อตกแต่ง แต่ฉันเพียง เพื่อให้กายนี้ ตั้งอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อป้องกันความลำบาก เพื่อนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยการทำ อย่างนี้เราจัก กำจัดเวทนาเก่า (คือหิว) เสีย แล้วไม่ทำเวทนาใหม่ (คืออิ่มจนอึดอัด) ให้เกิดขึ้น ความที่อายุ ดำเนินไป ได้ ความไม่มีโทษเพราะอาหาร และความอยู่ผาสุกสำราญจักมีแก่เรา” ดังนี้.

         พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคต ย่อมแนะนำ ให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า

         “มาเถิด ภิกษุ ! ท่านจง ประกอบความเพียรในธรรมเป็นเครื่องตื่น (ไม่หลับ ไม่ง่วง ไม่มึนชา) จงชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากเครื่องกีดกั้นทั้ง หลายด้วยการเดิน การนั่ง ตลอดวันยังคํ่า ไปจน สิ้นยามแรกแห่งราตรี ครั้น ยามกลางแห่งราตรีสำเร็จการนอน อย่างราชสีห์ (คือ) ตะแคงข้างขวา เท้า เหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น ครั้นถึง ยามท้ายแห่งราตรีลุก ขึ้นแล้ว ชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิง จากเครื่องกีดกั้นทั้งหลาย ด้วยการเดิน การ นั่ง ต่อไปอีก” ดังนี้.

         พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบความเพียรในธรรม เครื่องตื่น (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า

         “มาเถิด ภิกษุ ! ท่านจง เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ รู้ตัวรอบคอบในการ ก้าวไป ข้างหน้า การถอยหลัง การแลดูการเหลียวดู การคู้การเหยียด การทรงสังฆาฏิบาตร จีวร การกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การไป การหยุด การนั่ง การนอน การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง” ดังนี้.

         พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วย สติสัมปชัญญะ (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า

         “มาเถิด ภิกษุ ! ท่านจง เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่า โคนไม้ภูเขา ลำธาร ท้องถํ้า ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง กองฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง). ในเวลา ภายหลังอาหาร เธอกลับจาก บิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ (ขัดสมาธิ) ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า. เธอละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจาก อภิชฌา คอย ชำระจิตจากอภิชฌา ละพยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณามีจิต หวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจาก พยาบาท ละถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่าง ในใจ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว คอยชำระจิตจาก ถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภาย ใน คอยชำระจิต จาก อุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ไม่ต้องกล่าวว่า ‘นี่อะไร นี่อย่างไร’ ในกุศลธรรม ทั้งหลาย (เพราะความ สงสัย) คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉา” ดังนี้.

         ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ห้าประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต ทำปัญญาให้ถอยกำลัง เหล่านี้ ได้แล้ว เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศล ธรรมทั้งหลาย จึง บรรลุฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้จึง บรรลุฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใส ในภายใน เป็นที่เกิดสมาธิแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่ สมาธิแล้วแลอยู่.

         เพราะความจางแห่งปีติย่อมอยู่อุเบกขา มีสติสัปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย จึง บรรลุฌาน ที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า “ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่ เป็นสุข” ดังนี้แล้วแลอยู่. และเพราะละ สุขและละทุกข์เสียได้เพราะความดับ หายไปแห่ง โสมนัส และโทมนัสในกาล ก่อน จึงได้บรรลุฌานที่สี่อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติ เป็นธรรมชาติ บริสุทธ์ิ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.

         พราหมณ์เอย ! ภิกษุเหล่าใด ที่ยัง เป็นเสขะ (คือยังต้องทำต่อไป) ยังไม่บรรลุ อรหัตตมรรค ยังปรารถนา นิพพานอันเป็นที่เกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งไป กว่าอยู่ คำสอน ที่กล่าวมานี้แหละ เป็นคำสอนสำหรับ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น.

         พราหมณ์เอย ! ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็นอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ต้อง ทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงได้แล้ว มีประโยชน์ตนอันบรรลุถึงแล้ว มีสัญโญชน์ ในภพสิ้นไป รอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดย ชอบแล้ว ธรรมทั้งหลาย (ในคำสอน) เหล่านี้เป็นไป เพื่อความอยู่เป็นสุข ในทิฏฐธรรม และเพื่อสติสัมปชัญญะ แก่ภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้น แล


367
ผู้ไม่โลเล

         ภิกษุท. ! มูลเหตุแปดอย่างเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม สำหรับภิกษุผู้ยังไม่ จบกิจ แห่งการปฏิบัติ เพื่อบรรลุถึงนิพพาน. มูลเหตุแปดอย่าง อะไรบ้างเล่า ? แปดอย่างคือ
(๑) ความเป็นผู้ไม่พอใจในการทำงานก่อสร้าง
(๒) ความเป็นผู้ไม่พอใจในการคุย
(๓) ความเป็นผู้ไม่พอใจในการนอน
(๔) ความเป็นผู้ไม่พอใจในการจับกลุ่มคลุกคลีกัน
(๕) ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
(๖) ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค
(๗) ความเป็นผู้ไม่พอใจในการกระทำเพื่อเกิดสัมผัสสนุกสบายทางกาย
(๘) ความเป็นผู้ไม่พอใจในการขยายกิจให้โยกโย้โอ้เอ้เนิ่นช้า.

         ภิกษุท. ! มูลเหตุแปดอย่างเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมสำหรับ ภิกษุ ผู้ยังไม่จบกิจ แห่งการปฏิบัติเพื่อลุถึงนิพพาน.


367-1
ผู้ไม่ร้องเพลง

         ภิกษุท. ! ในอริยวินัยนี้ถือว่า การขับเพลง คือ การร้องไห้ การ ฟ้อนรำ คือ อาการของ คนบ้า การหัวเราะ ถึงกับแสยะฟัน คืออาการของเด็ก

         ภิกษุท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงกำจัด ตัดราก การขับเพลง การฟ้อนรำ เสีย ควรยิ้มแย้ม พอประมาณ ต่อสัตบุรุษผู้บันเทิงในธรรมทั้งหลาย เท่านั้น.


368
ผู้ไม่ประมาท

         ภิกษุท. ! พวกเธอทั้งหลาย ได้ยินเสียงสุนัขจิ้งจอกแก่ตัวที่ร้องอยู่ในตอนยํ่ารุ่ง แห่งราตรีนี้ไหม ?“ ได้ยินแล้ว พระเจ้าข้า”.

         ภิกษุท. ! สุนัขจิ้งจอกแก่ตัวนั้น มันเกิดเป็นโรคเรื้อนอุกกัณณกะ มันเที่ยววิ่งไปตามที่ ที่มันอยาก จะวิ่งไป มันเที่ยวยืนตามที่ที่มันอยากจะยืน มันเที่ยวนั่งตามที่ที่มันอยากจะนั่ง มันเที่ยวนอน ตามที่ที่มันอยากจะนอน (ก็หาความสบายมิได้เพราะอำนาจแห่งโรคนั้น) แม้ลมหนาวก็พัดโกรก ตัวมันอยู่.

         ภิกษุท. ! ข้อนั้นเป็นการดีสำหรับภิกษุคือข้อที่ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ปฏิญญาว่าเป็นสมณ สากยปุตติยะ แล้วก็รู้สึกตัวว่า ตัวเป็นอย่างนั้น ได้จริง ๆ.

         ภิกษุท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจ ไว้ว่า “เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ประมาท เป็นอยู่” ดังนี้.

         ภิกษุท. ! พวก เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.


369
ผู้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
๑. บาลี พระพุทธภาษิต มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐/๑๖๐/๑๒๙, ตรัสแก่ท่านอานนท์.

         อานนท์ ! ภิกษุภิกษุณีอุบาสก อุบาสิกา ใด ประพฤติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้น ชื่อว่า ย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ตถาคต ด้วยการบูชา อันสูงสุด.

         อานนท์ ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจ ไว้ว่า “เราทั้งหลาย จักประพฤติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่” ดังนี้.

         อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.


369_1
ผู้ตายไม่เสียที
๒. บาลี พระพุทธภาษิต ทันตภูมิสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๗๑-๒/๔๐๓-๔, ตรัสแก่อัคคิเวสสนพราหมณ์ ณ ที่เวฬุวัน

         อัคคิเวสสนะ ! ถ้าภิกษุเถระ หรือภิกษุปูนกลาง หรือภิกษุใหม่ก็ตาม ที่ยังไม่เป็นขีณาสพ (พระอรหันต์) แล้ว ทำกาละลงไป ก็ย่อมถึงซึ่งการ นับว่า ตายแล้ว ทำกาละแล้ว ทั้งที่ยังฝึก ไม่เสร็จ ดุจดั่งช้างแก่หรือช้าง ปูนกลาง หรือช้างหนุ่ม ของพระราชาที่ยังฝึกไม่ได้ตายลง ก็ย่อมถึง ซึ่งการนับว่าตายแล้ว ทำกาละแล้ว ทั้งที่ยังฝึกไม่เสร็จ ฉันใดก็ฉันนั้น.

         อัคคิเวสสนะ ! ถ้าภิกษุเถระ หรือภิกษุปูนกลาง หรือภิกษุใหม่ก็ตาม เป็นขีณาสพ (พระอรหันต์) แล้ว ทำกาละลงไป ก็ย่อมถึงซึ่งการนับว่า ตายแล้ว ทำกาละแล้ว อย่างเสร็จ การฝึกแล้ว ดุจดั่งช้างแก่หรือช้าง ปูนกลาง หรือช้างหนุ่ม ของพระราชา ที่เขาฝึกดีแล้ว ตายลง ก็ถึงซึ่งการนับว่า ตายแล้ว ทำกาละแล้ว อย่างเสร็จการ ฝึกแล้ว ฉันใดก็ฉันนั้นแล.


370
ผู้ไม่หล่นจากศาสนา

         ภิกษุท. ! ผู้ที่ประกอบด้วยเหตุสี่ประการเหล่านี้แล้ว ย่อมเรียกได้ว่า “เป็นผู้ไม่หล่น จากธรรมวินัยนี้” ดังนี้.

เหตุสี่ประการอะไรบ้างเล่า สี่ประการ คือ
(๑) ผู้ประกอบด้วยศีล อันเป็นเครื่องไปจากข้าศึก (อริยศีล)
(๒) ผู้ประกอบด้วยสมาธิอันเป็นเครื่องไปจากข้าศึก (อริยสมาธิ)
(๓) ผู้ประกอบด้วยปัญญา อันเป็นเครื่องไปจากข้าศึก

(อริยปัญญา)
(๔) ผู้ประกอบด้วยวิมุตติ อันเป็นเครื่องไปจากข้าศึก

(
อริยวิมุตติ).
ภิกษุท. ! ผู้ประกอบด้วยเหตุสี่ประการเหล่านี้แล้วย่อมเรียกได้ว่า
“เป็นผู้ไม่หล่นจากธรรมวินัยนี้”ได้เลย.


หมวดที่สิบห้า จบ