เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
  ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  07 of 7    
Book107 หมวดที่ ๑๗   Book107

หมวดที่ ๑๙

 
  ว่าด้วย การหมดพิษสงทางใจ หน้า   ว่าด้วย เนื้อนาบุญของโลก หน้า
1 สระนํ้าที่มีอยู่ภายใต้จีวร 405 1 เนื้อนาบุญ เกิดจากองค์สาม มีศีลเป็นต้น 441
2 ผู้เว้นยาพิษในโลก 407 2 เนื้อนาบุญ เกิดจากการมีสังวร 443
3 ผู้ไม่ตกเหว 408 3 เนื้อนาบุญ เกิดจากการเป็นอยู่ชอบ 444
4 ผู้ไม่ต้องทะเลาะวิวาทกัน 409 4 เนื้อนาบุญ เกิดจากการไม่ทำไปตามอำนาจกิเลส 447
5 ผู้ไม่ควรอยู่ในคอก 410 5 เนื้อนาบุญ เกิดจากการไม่เป็นทาสตัณหา 452
6 ผู้มีเพียรตลอดเวลา 411 6 เนื้อนาบุญ เกิดจากการพิจารณาเห็นธรรม 453
7 ผู้ไม่ต้องกลายเป็น “ลิงติดตัง” 413 7 เนื้อนาบุญ เกิดจากการไม่ลืมคำปฏิญาณ 459
8 ผู้อยู่เหนือการสึก 414 8 เนื้อนาบุญ เกิดจากการหมดพิษสงทางใจ 461
9 คุณธรรมของพระโสดาบัน 415 9 เนื้อนาบุญ เกิดเพราะได้รับการฝึกตามลำดับ 462
10 คุณธรรมของพระสกทาคามี 417 10 พินัยกรรม ของ “พระสังฆบิดา” (ตอนจบ) 465
11 คุณธรรมของพระอนาคามี 417-1      
12 คุณธรรมของพระอรหันต์ 419      
  หมวดที่ ๑๘        
  ว่าด้วย การไม่เสียความเป็นผู้หลักผู้ใหญ่        
1 รอดได้เพราะผู้นำ 423      
2 อุปัชฌายะที่ถูกต้องตามธรรม 426      
3 อาจารย์ถูกที่ต้องตามธรรม 427      
4 ผู้ควรมีศิษย์อุปัฏฐาก 427-1      
5 เถระดี 428      
6 เถระที่ไม่ต้องระวัง 429      
7 เถระบัณฑิต 430      
8 เถระไม่วิปริต 430-1      
9 เถระไม่โลเล (หลายแบบ) 432      
10 พ่อไม่ฆ่าลูก 433      
11 สมภารถูกหลัก 434      
12 สมภารไม่ติดถิ่น 435      
13 สมภารไม่ติดที่อยู่
435-2      
14 สวรรค์ของสมภารเจ้าวัด 436      
           
 



ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์

หมวดที่๑๖


ว่าด้วย การไม่ลืมคำปฏิญาณ



373
สมณสากยปุตติยะที่แท้

         วาเสฏฐะ ท. ! พวกเธอแล มีชาติต่างกัน มีนามต่างกัน มีโคตร ต่างกัน มีสกุลต่างกัน ออกบวช จากเรือนเป็นผู้ไม่หวังเกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว เมื่อถูกเขาถามว่า “พวกท่าน เป็นใคร ?” ดังนี้ พวกเธอ ก็ปฏิญาณ ว่า “เราทั้งหลาย เป็นสมณสากยปุตติยะ” ดังนี้.

         วาเสฏฐะ ท. ! อนึ่ง ศรัทธา ของผู้ใดแลตั้งมั่น ในตถาคต ฝังลง รากแล้ว ดำรงอยู่ได้ มั่นคง อันสมณะหรือพราหมณ์เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกก็ตาม ไม่ชักนำไปทางอื่น ได้ ผู้นั้นควรที่จะ กล่าว อย่างนี้ว่า “เราเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากพระโอษฐ์ของพระผู้มี พระภาคเจ้า เกิดโดยธรรม เนรมิตโดยธรรม เป็นทายาทโดยธรรม” ดังนี้.

         ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะคำว่า “ธรรมกาย” บ้าง “พรหมกาย” บ้าง “ธรรมภูต” บ้าง “พรหมภูต” บ้าง นี้เป็นคำสำหรับ ใช้เรียกแทนชื่อ ตถาคต แล.



374
สมภาพแห่งสมณสากยปุตติยะ

         ภิกษุท. ! เปรียบเหมือนแม่นํ้าใหญ่ๆ เช่นแม่นํ้าคงคา ยมุนา อจิรวดีสรภูมหีก็ตาม ครั้นไหลไปถึง มหาสมุทรแล้ว ย่อมทิ้งชื่อเดิมของตน ย่อมถึงการเรียกชื่อใหม่ว่า “มหาสมุทร” เหมือนกันหมด. ข้อนี้ฉันใด

         ภิกษุท. ! วรรณะทั้งสี่นี้ก็อย่างเดียวกันฉันนั้น : จะเป็นกษัตริย์หรือพราหมณ์ เวสส์ หรือ ศูทร ก็ตาม เมื่อคนเหล่านั้น ออกบวชใน ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละทิ้งชื่อ และ ชื่อสกุลแต่เดิมของตนเสีย ย่อมถึงการเรียกชื่อใหม่ว่า “พวกสมณสากยปุตติยะ” ดังนี้เหมือน กันหมด โดยแท้.

         ภิกษุท. ! ข้อที่วรรณะทั้งสี่ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ หรือพราหมณ์เวสส์ หรือศูทร ครั้นออกบวชใน ธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละทิ้งชื่อ และชื่อสกุลแต่เดิมของตน เสีย ถึงการเรียกชื่อใหม่ว่า “พวกสมณสากย ปุตติยะ” ดังนี้เหมือนกันหมด นี้แล เป็นสิ่งที่ น่าอัศจรรย์ไม่น่าจะเป็นได้ _ _ ในธรรมวินัยนี้ ซึ่งเมื่อภิกษุ ทั้งหลาย เห็นแล้ว ๆ ซึ่งข้อนี้ ย่อมเกิดความ พอใจอย่างยิ่งในธรรมวินัยนี้แล.


375
สมณพราหมณ์ที่แท้

         ภิกษุท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริง ซึ่ง รสอร่อยของโลก โดยความเป็นรส อร่อยของโลก โทษของโลกโดย ความเป็นโทษของโลก อุบายเครื่องออก ไปพ้นจากโลกโดยความเป็น อุบายเครื่องออกไปพ้นจากโลก

         ภิกษุท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ถูกสมมติว่าเป็นสมณะใน บรรดาสมณะทั้งหลาย ก็ตาม ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายก็ตาม ก็เป็นสมณะหรือเป็น พราหมณ์ ได้แท้ และ ได้ทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ แห่ง ความเป็นพราหมณ์ด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลเป็นอยู่.


375-1
สมณะบัวขาว

         ภิกษุท. ! สมณะบัวขาว เป็นอย่างไรเล่า ?
         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความมุ่งหมาย ถูกต้อง มีการ พูดจาถูกต้อง มีการทำงานถูกต้อง มีการเลี้ยงชีวิตถูกต้อง มีความพากเพียรถูกต้อง มีความ ระลึกถูกต้อง มีความตั้งใจ มั่นคงถูกต้อง มีญาณถูกต้อง มีวิมุตติถูกต้อง แต่ไม่ถูกต้อง วิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย.
         ภิกษุท. ! บุคคลอย่างนี้แล เรียกว่า เป็นสมณะบัวขาว.


376
สมณะบัวหลวง

         ภิกษุท. ! สมณะบัวหลวง เป็นอย่างไรเล่า ?
         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความ มุ่งหมายถูกต้อง มีการพูดจาถูกต้อง มีการทำงานถูกต้อง มีการเลี้ยงชีวิต ถูกต้อง มีความพากเพียรถูกต้อง มีความระลึกถูกต้อง มีความตั้งใจมั่น คงถูกต้อง มีญาณถูกต้อง มีวิมุตติถูกต้อง และเป็นผู้ถูก ต้อง๒ วิโมกข์๘ ด้วยนามกายด้วย.
         ภิกษุท. ! บุคคลอย่างนี้แล เรียกว่า เป็นสมณะบัวหลวง.



376-1
สมณะยุพราช

         ภิกษุท. ! สมณะยุพราช เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นเสขะ (คือยังต้องทำ กิจต่อไป) เป็นผู้ปฏิบัติอยู่ยังปรารถนานิพพานอันเป็นที่เกษมจากโยคะ ไม่มีอื่น ยิ่งกว่าเป็นอยู่. เปรียบเหมือนโอรสองค์ใหญ่ ของพระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก เป็นผู้ควร แก่การอภิเษก แต่ยังมิได้รับ การอภิเษก ดำรงอยู่ในตำแหน่ง ยุพราช ฉันใด ภิกษุท. !         
         ภิกษุเป็นเสขะ เป็นผู้ปฏิบัติอยู่ยังปรารถนา นิพพานอันเป็นที่เกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า เป็นอยู่ฉันนั้น.
         ภิกษุท. ! บุคคลอย่างนี้แล เรียกว่า สมณะยุพราช.


377
สมณะยุพราช (อีกนัยหนึ่ง)

         ภิกษุท. ! สมณะยุพราช เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มี ความเห็นถูกต้อง มีความ มุ่งหมายถูกต้อง มีการพูดจาถูกต้อง มีการทำงานถูกต้อง มีการ เลี้ยงชีวิต ถูกต้อง มีความพากเพียรถูกต้อง มีความระลึกถูกต้อง มีความตั้งใจ มั่นคงถูกต้อง.
         ภิกษุท. ! บุคคลอย่างนี้แล เรียกว่า เป็นสมณะยุพราช.


377_1
สมณะในธรรมวินัยนี้

         ภิกษุท. ! สมณะ (ที่หนึ่ง) มีในธรรมวินัยนี้เอง สมณะที่สองก็มีใน ธรรมวินัยนี้ สมณะ ที่สามก็มีในธรรมวินัยนี้ สมณะที่สี่ก็มีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นก็ว่างจากสมณะของลัทธิอื่น. ภิกษุท. ! เธอทั้งหลาย จงบันลือ-สีหนาท โดยชอบอย่างนี้เถิด.

         ภิกษุท. ! สมณะ (ที่หนึ่ง) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้เพราะสิ้น รอบแห่งสัญโญชน์สาม เป็นผู้แรกถึงกระแสนิพพาน มีอันไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา ผู้เที่ยงแท้ผู้แน่ ที่จะตรัสรู้ข้างหน้า ภิกษุท. ! นี้แล เป็นสมณะ (ที่หนึ่ง).

         ภิกษุท. ! สมณะที่สอง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้เพราะ สิ้นรอบแห่งสัญโญชน์สาม และเพราะความมีราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง เป็นผู้มาอีกครั้งเดียว มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น ก็ทำที่สุด แห่งทุกข์ได้. ภิกษุท. ! นี้แล เป็นสมณะที่สอง.

         ภิกษุท. ! สมณะที่สาม เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้เพราะสิ้นรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่าห้าอย่าง เป็นผู้ลอยเกิด (ในชั้นสุทธาวาส) ย่อมมีการปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับมาจากโลกนั้น เป็นธรรมดา. ภิกษุท. ! นี้แล เป็นสมณะที่สาม.

         ภิกษุท. ! สมณะที่สี่เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ได้กระทำให้แจ้ง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุท. ! นี้แล เป็นสมณะที่สี่.

         ภิกษุท. ! สมณะ (ที่หนึ่ง) มีในธรรมวินัยนี้เอง สมณะที่สองก็มีในธรรมวินัยนี้ สมณะ ที่สามก็มีในธรรมวินัยนี้ สมณะที่สี่ก็มีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นก็ว่างจากสมณะของลัทธิอื่น. ภิกษุท. ! เธอทั้งหลาย จงบันลือ-สีหนาท โดยชอบอย่างนี้แล.


379
ผู้ทำสมคำปฏิญาณว่า “สมณะ”

        ภิกษุท. ! มหาชนเขารู้จักเธอทั้งหลายว่า “สมณะ สมณะ” ดังนี้ ถึงเธอทั้งหลายเล่า เมื่อถูกเขาถามว่า ท่านทั้งหลาย เป็นอะไร ? พวกเธอ ทั้งหลายก็ปฏิญาณตัวเองว่า “เราเป็นสมณะ” ดังนี้ ภิกษุท. ! เมื่อเธอทั้งหลาย มีชื่อว่า สมณะ และปฏิญาณตัวเองว่า เป็นสมณะ อยู่อย่างนี้แล้ว พวกเธอทั้งหลาย จะต้องสำเหนียกใจว่า “ธรรม เหล่าใด อันจะทำเราให้เป็นสมณะ และเป็นพราหมณ์ (คือเป็นอรหันต์ผู้ลอย บุญบาป เสียแล้ว) เราจะประพฤติถือเอาด้วยดีซึ่งธรรมเหล่านั้น.

         ด้วยอาการปฏิบัติของ เราอย่างนี้สมัญญาว่าสมณะของพวกเราก็จักเป็นจริง และคำ ปฏิญาณว่าสมณะ ของพวกเราก็จักสมจริง อนึ่งเล่า เราบริโภคใช้สอย จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร ของทายกเหล่าใด การบำพ็ญทานของทายก เหล่านั้น ก็จักมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่ และการบรรพชา ของเราเอง ก็จักไม่เป็นหมัน เปล่าแต่จักมีผลมีกำไรแก่เราโดยแท้ ” ดังนี้.

          ภิกษุท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.


379_1
ผู้ถึงพร้อมด้วยหิริโอตตัปปะ

         ภิกษุท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่จะทำพวกเราให้เป็นสมณะ ที่จะทำ พวกเราให้เป็นพราหมณ์ ?
         ภิกษุท. ! พวกเธอต้องสำเหนียกตนให้ได้อย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ถึง พร้อมด้วยหิริ และ โอตตัปปะ          ภิกษุท. ! พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
         ภิกษุท. ! เรื่องนี้คงเกิดมีแก่พวกเธอ คือจะ พากันถึงความนอนใจเสียเพียง เท่านั้นว่า “พวกเราถึง พร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ. พอแล้วด้วยคุณ เพียงเท่านี้ พวกเราได้ตามถึง ผล แห่งสมณปฏิบัติแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกมิได้มี”
         ภิกษุท. ! เราจักบอกแก่พวกเธอ เราจักเตือนพวกเธอให้รู้ เมื่อ พวกเธอต้องการความ เป็นสมณะ ก็อย่า ทำผลของความเป็นสมณะให้เสื่อมไป เพราะว่ากิจที่พวกเธอจะต้องทำให้ ยิ่งขึ้นไปอีกยังมีอยู่.



380
ผู้มีกายสมาจารบริสุทธ์ิ

         ภิกษุท. ! กิจที่พวกเธอต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกเป็นลำดับนั้น คืออะไร ? คือการ สำเหนียกตนเอง ให้ได้ว่า กายสมาจาร (การประพฤติชอบสมํ่าเสมอด้วย กาย) ของเรา บริสุทธ์ิแล้ว หงายได้แล้ว เปิดเผย ได้แล้ว หาช่องทะลุมิได้เป็นอันสำรวมดีแล้ว อนึ่ง เราจัก ไม่ยกตนข่มท่านด้วยคุณข้อนี้เป็นอันขาด ภิกษุท. ! พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.

         ภิกษุท. ! เรื่องนี้คงเกิดมีแก่พวกเธอ คือจะพากันถึงความนอนใจเสียเพียงเท่านั้นว่า “พวกเราถึง พร้อม ด้วยหิริและโอตตัปปะ กายสมาจารของพวกเราบริสุทธ์ิ. พอแล้วด้วยคุณ เพียงเท่านี้พวกเราได้ตาม ถึงผล แห่งสมณปฏิบัติแล้ว กิจอื่นที่จะต้อง ทำให้ยิ่งขึ้น ไปอีกมิได้มี”.

         ภิกษุท. ! เราจักบอกแก่พวกเธอ เราจักเตือน

         พวกเธอให้รู้ : เมื่อพวกเธอต้องการความเป็นสมณะ ก็อย่าทำผลของความเป็นสมณะ ให้เสื่อมไป เพราะว่ากิจที่พวกเธอจะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกยังมีอยู่.


381
ผู้มีวจีสมาจารบริสุทธ์ิ

         ภิกษุท. ! กิจที่พวกเธอต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกเป็นลำดับนั้น คืออะไร ? คือการ สำเหนียกตนเองให้ได้ว่า วจีสมาจาร (การประพฤติชอบสมํ่าเสมอด้วยวาจา) ของเราบริสุทธ์ิแล้ว หงายได้แล้ว เปิดเผยได้แล้ว หาช่องทะลุมิได้เป็นอันสำรวม ดีแล้ว อนึ่ง เราจักไม่ยกตนข่มท่านด้วยคุณ ข้อนี้เป็นอันขาด ภิกษุท. ! พวก เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.

         ภิกษุท. ! เรื่องนี้คงเกิดมีแก่พวกเธอ คือ จะพา กันถึงความนอนใจเสียเพียงเท่านั้นว่า “พวกเราถึง พร้อมด้วยหิริโอตตัปปะ กายสมาจารของพวกเราบริสุทธ์ิ วจีสมาจารบริสุทธ์ิ. พอแล้วด้วยคุณเพียง เท่านี้ พวกเราได้ตามถึงผลแห่งสมณะปฏิบัติแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำให้ ยิ่งขึ้น ไปอีกมิได้มี”

         ภิกษุท. ! เราจักบอกแก่พวกเธอ เราจักเตือนพวกเธอให้รู้ เมื่อพวกเธอต้องการความ เป็นสมณะ ก็อย่าทำผลของความเป็นสมณะให้เสื่อมไป เพราะว่ากิจที่พวกเธอจะต้องทำให้ยิ่ง ขึ้นไปอีกยังมีอยู่.


382
ผู้มีมโนสมาจารบริสุทธ์ิ

         ภิกษุท. ! กิจที่พวกเธอต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกเป็นลำดับนั้น คืออะไร ? คือการ สำเหนียกตนเอง ให้ได้ว่ามโนสมาจาร (การประพฤติชอบสมํ่าเสมอด้วยใจ) ของเรา บริสุทธ์ิแล้ว หงายได้แล้ว เปิดเผยได้แล้ว หาช่องทะลุมิได้เป็นอัน สำรวมดีแล้ว อนึ่ง เราจักไม่ยกตนข่มท่านด้วยคุณข้อนี้เป็นอันขาด ภิกษุท. ! พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.

         ภิกษุท. ! เรื่องนี้คงเกิดมีแก่พวกเธอ คือ จะพากันถึงความนอนใจเสียเพียงเท่านั้นว่า “พวกเราถึง พร้อมด้วยหิริและ โอตตัปปะ กายสมาจารของพวกเราบริสุทธ์ิ วจีสมาจารบริสุทธ์ิ มโนสมาจาร บริสุทธ์ิ. พอแล้ว ด้วยคุณเพียงเท่านี้พวกเราได้ตามถึงผลแห่งสมณะปฏิบัติแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้น ไปอีกมิได้มี”.

         ภิกษุท. ! เราจักบอกแก่พวก เธอ เราจักเตือนพวกเธอให้รู้ เมื่อพวกเธอต้องการความ เป็นสมณะ ก็อย่า ทำผลของความเป็นสมณะให้เสื่อมไป เพราะว่ากิจที่พวกเธอจะต้องทำให้ยิ่ง ขึ้นไปอีกยังมีอยู่.


382-1
ผู้มีอาชีวะบริสุทธ์ิ

         ภิกษุท. ! กิจที่พวกเธอต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกเป็นลำดับนั้น คืออะไร ? คือการสำเหนียก ตนเอง ให้ได้ว่า อาชีวะของเรา บริสุทธ์ิแล้ว หงายได้แล้ว เปิดเผยได้แล้ว หาช่องทะลุมิได้เป็นอันสำรวมดีแล้ว อนึ่ง เราจักไม่ยกตนข่ม ท่านด้วยคุณข้อนี้เป็นอันขาด ภิกษุท. ! พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.

         ภิกษุท. ! เรื่องนี้คงเกิดมีแก่พวกเธอ คือจะพากันถึงความนอนใจเสียเพียง เท่านั้นว่า “พวกเราถึง พร้อม ด้วยหิริและโอตตัปปะ กายสมาจารของพวกเรา บริสุทธ์ิ วจีสมาจารบริสุทธ์ิ มโนสมาจารบริสุทธ์ิ อาชีวะบริสุทธ์ิ. พอแล้ว ด้วยคุณเพียงเท่านี้พวกเราได้ตามถึงผลแห่ง สมณะปฏิบัติแล้ว กิจอื่นที่จะต้อง ทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกมิได้มี”.

         ภิกษุท. ! เราจักบอกแก่พวกเธอ เราจักเตือนพวก เธอให้รู้ เมื่อพวกเธอต้องการความ เป็นสมณะ ก็อย่าทำผลของความเป็น สมณะให้เสื่อมไปเพราะว่า กิจที่พวกเธอจะต้องทำให้ยิ่ง ขึ้นไปอีกยังมีอยู่.


383
ผู้ปิดกั้นอภิชฌาโทมนัสให้หยุดไหล

         ภิกษุท. ! กิจที่พวกเธอต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกเป็นลำดับนั้น คืออะไร ? คือการ สำเหนียกตนเอง ให้ได้ว่า เราจักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว จักไม่ถือเอาทั้งโดยลักษณะ ที่เป็นการรวบถือทั้งหมด และการถือเอาโดยการแยกเป็นส่วน ๆ.

         สิ่งอันเป็นอกุศลลามกคืออภิชฌาและ โทมนัส จะพึงไหลไปตามผู้ที่ไม่สำรวมอินทรีย์ คือตาใด เป็นเหตุ เราจัก ปฏิบัติเพื่อปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้จักเป็นผู้รักษา ถึงการสำรวมอินทรีย์ คือตา ได้ฟังเสียงด้วยหู ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ได้สัมผัส โผฏฐัพพะด้วยกาย ได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว จักไม่ถือเอา ทั้งโดยลักษณะที่เป็นการรวบถือทั้งหมด และการถือ เอาโดยการแยกเป็นส่วน ๆ.

        สิ่งอันเป็น อกุศลลามก คืออภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหลไปตามผู้ที่ไม่สำรวม อินทรีย์ใด เป็นเหตุ เราจักปฏิบัติเพื่อปิดกั้นอินทรีย์ เหล่านั้นไว้จักเป็นผู้รักษา ถึงการ สำรวม อินทรีย์ทั้งหลาย

         ภิกษุท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล _ _ฯลฯ _ _
         (มีตรัสมิให้นอนใจด้วยคุณเพียงเท่านั้น และตรัสเตือนว่ายังมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่ง ขึ้นไปอีก ในตอนท้ายนี้ทุกครั้ง).


384
ผู้รู้ประมาณการบริโภค

         ภิกษุท. ! กิจที่พวกเธอต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกเป็นลำดับนั้น คืออะไร ? คือการ สำเหนียกตนเอง ให้ได้ว่า เราจักเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอยู่เสมอ จักพิจารณาโดยแยบคาย แล้วจึงฉัน ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อมัวเมา ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง แต่ฉันเพื่อ เพียงให้กายนี้ตั้งอยู่ได้เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อป้องกันความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยการทำอย่างนี้เราจักขจัดเวทนาเก่า (คือหิว) เสีย แล้วไม่ทำเวทนาใหม่ (คืออิ่มจนอึดอัด) ให้เกิดขึ้น ความที่อายุดำเนินไปได้ ความไม่มีโทษ เพราะอาหาร และความอยู่ผาสุกสำราญ จักมีแก่เรา ดังนี้

         ภิกษุท. ! พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล._ _ฯลฯ_ _       

            (มีตรัสมิให้นอนใจด้วยคุณเพียงเท่านั้นและตรัสเตือนว่า ยังมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้น ไปอีก ในตอนท้ายนี้ ทุกครั้ง).



385
ผู้ตื่นจนกิเลสทำอะไรไม่ได้

         ภิกษุท. ! กิจที่พวกเธอต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกเป็นลำดับนั้น คืออะไร ? คือการ สำเหนียกตนเอง ให้ได้ว่า เราจักตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องตื่น เราจักชำระจิตให้หมดจด สิ้นเชิงจากอาวรณียธรรม (คือกิเลสที่กั้นจิต) ด้วยการ เดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวันยังคํ่า ไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี ครั้น ยามกลางแห่งราตรีเราจักนอนอย่างราชสีห์ (คือ) ตะแคง ข้างขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ในการลุกขึ้น ครั้นยามสุดท้ายแห่งราตรี เราลุกขึ้น แล้ว จักชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรม และด้วย การนั่งอีก

         ภิกษุท. ! พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล. _ _ฯลฯ _ _

         (มีตรัสมิให้นอนใจด้วยคุณเพียงเท่านั้น และตรัสเตือนว่ายังมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่ง ขึ้นไปอีก ในตอนท้ายนี้ทุกครั้ง).


385-1
ผู้มีสติสัมปชัญญะ

        ภิกษุท. ! กิจที่พวกเธอต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกเป็นลำดับนั้น คืออะไร ? คือการสำเหนียก ตนเอง ให้ได้ว่า เราจักเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ : รู้ตัวรอบคอบในการก้าวไป ข้างหน้า การถอยหลัง การแลดูการเหลียวดู การคู้การเหยียด การทรงสังฆาฏิบาตร จีวร การกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การไป การหยุด การนั่ง การนอน การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง

         ภิกษุท. ! พวกเธอ พึงสำเหนียกอย่างนี้แล. _ _ฯลฯ _ _

         (ตรัสมิให้นอนใจด้วยคุณเพียงเท่านั้น และตรัสเตือน ว่า ยังมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้น ไปอีก ในตอนท้ายนี้ทุกครั้ง).


386
ผู้ออกหา วิเวกธรรม

         ภิกษุท. ! กิจที่พวกเธอต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกเป็นลำดับนั้น คืออะไร ?
         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้มาเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่า โคนไม้ภูเขา ลำธาร ท้องถํ้า ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง กองฟาง (อย่างใด อย่างหนึ่ง). ในเวลาภายหลังอาหาร เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ (ขัดสมาธิ) ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า.

         เธอ ละอภิชฌา ในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิตจากอภิชฌา ละพยาบาท มีจิตปราศ จากพยาบาท เป็นผู้กรุณามีจิตหวังความเกื้อกูล ในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจาก พยาบาท ละถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิต ปราศจากถีนมิทธะ มีสติสัมปชัญญะ รู้สึกตัว คอยชำระจิตจากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน คอยชำระจิตจาก อุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ไม่ต้องกล่าวว่า “นี่อะไร นี่อย่างไร” ในกุศลธรรมทั้งหลาย (เพราะความสงสัย) คอยชำระ จิตจากวิจิกิจฉา.

         ภิกษุท. ! เปรียบเหมือนชายผู้หนึ่ง กู้หนี้เขา ไปทำการงานสำเร็จผล ใช้หนี้ต้นทุนเดิม หมดแล้ว กำไรยังเหลือพอเลี้ยงภรรยาได้ถมไป เขาคงคะนึง ถึงโชคลาภว่า “เมื่อก่อนเรากู้หนี้ เขาไป ทำการงาน สำเร็จผล ใช้หนี้ต้นทุนเดิม หมดแล้ว กำไรยังเหลือพอเลี้ยงภรรยา ได้ถมไป” ดังนี้ เขาย่อมปราโมทย์ บันเทิงใจ โสมนัส เพราะข้อนั้นเป็นเหตุฉันใด (นี้อย่างหนึ่ง)

         ภิกษุท. ! เปรียบเหมือนชายอีกผู้หนึ่ง ป่วยไข้หนัก ทนทุกข์อาหาร ไม่ตก กำลังน้อย. ครั้นเวลาอื่นเขาหายจากไข้นั้น อาหารก็ตั้ง กำลังก็มี เขาต้องนึกถึงกาลเก่าว่า “เมื่อก่อน เราป่วยไข้หนัก ทนทุกข์อาหารก็ไม่ตก กำลังน้อยลง บัดนี้เราหายจากไข้นั้น อาหารก็ตั้ง กำลังก็มีมา” ดังนี้ เขาย่อม ปราโมทย์บันเทิงใจ โสมนัสเพราะข้อนั้นเป็นเหตุฉันใด (นี้อีกอย่างหนึ่ง)

         ภิกษุท. ! เปรียบเหมือนชายอีกผู้หนึ่ง ติดเรือนจำ ครั้นเวลาอื่นเขา หลุดจากเรือนจำ โดยสะดวก ไม่มีภัย ไม่เสียทรัพย์ เขาต้องนึกถึงกาลเก่า อย่างนี้ว่า “เมื่อก่อน เราติดเรือนจำ บัดนี้เราหลุดมาได้โดย สะดวก ไม่มีภัย ไม่เสียทรัพย์” ดังนี้ เขาย่อมปราโมทย์บันเทิงใจ โสมนัสเพราะข้อนั้นเป็นเหตุฉันใด (นี้อีกอย่างหนึ่ง)

         ภิกษุท. ! เปรียบเหมือนชายอีกผู้หนึ่ง เป็นทาสเขา พึ่งตัวเองไม่ได้ต้องพึ่งผู้อื่น เที่ยวตามอำเภอใจไม่ได้. ครั้นถึงสมัยอื่น เขาพ้นจากการเป็นทาส พึ่งตัวเองได้ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เที่ยวตามอำเภอใจได้ เขาต้องนึกถึงกาลเก่า อย่างนี้ว่า “เมื่อก่อนเราเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น เที่ยวตาม อำเภอใจไม่ได้ครั้นถึงสมัยอื่น เราพ้นจากการเป็นทาส พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เที่ยวตามอำเภอใจได้” ดังนี้ เขาย่อมปราโมทย์บันเทิงใจ โสมนัสเพราะข้อนั้น เป็นเหตุฉันใด (นี้อีกอย่างหนึ่ง)

         ภิกษุท. ! เปรียบเหมือนชายอีกผู้หนึ่ง นำทรัพย์เดินทางไกล อัน กันดาร ครั้นพ้นทาง กันดาร ได้โดยสะดวก ไม่มีภัย ไม่ต้องเสียโภคทรัพย์ เขา ต้องนึกถึงกาลเก่าอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อน เรานำทรัพย์ เดินทางไกลอันกันดาร ครั้นพ้นทางกันดาร ไม่มีภัย ไม่ต้องเสียโภค ทรัพย์” ดังนี้ เขาย่อมปราโมทย์ บันเทิงใจ โสมนัสเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ (เหล่านี้) เป็นฉันใด

         ภิกษุท. ! ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์๕ ประการ ที่ตนยังละไม่ได้ว่า เป็นเช่นกับการกู้หนี้ เช่นกับการ เป็นโรค เช่นกับการติดเรือนจำ เช่นกับการเป็น ทาส และการนำทรัพย์ข้ามทาง กันดาร และเธอพิจารณาเห็น นิวรณ์๕ ประการ ที่ละเสียได้แล้วในตนเอง เป็นเช่นกับการหมด หนี้ การหมดโรค การหลุดจาก เรือนจำ การพ้นจากทาส การบรรลุถึงที่พ้นภัย (เธอย่อม ปราโมทย์บันเทิงใจ โสมนัสเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ) ฉันนั้นเหมือนกัน แล.

388
ผู้ได้บรรลุฌานที่หนึ่ง

         ภิกษุท. ! ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์๕ ประการ อันเป็นเครื่องเศร้า หมองใจและทำปัญญา ให้ถอยกำลัง เหล่านี้ได้แล้ว เพราะสงัดจากกามและ สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จึง บรรลุ ฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและ สุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็ม รอบ ด้วยปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกนั้น ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอ ทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกนั้น ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

         ภิกษุท. ! เปรียบเหมือนนายช่างอาบก็ดีหรือลูกมือของเขาก็ดีเป็น คนฉลาด โรยผง ที่ใช้สำหรับ ถูตัวในเวลาอาบนํ้าลงในขันสำริด แล้วพรมนํ้า หมักไว้ ครั้นเวลาเย็น ก้อนผง ออกยางเข้ากัน ซึมทั่วกันแล้ว จับกันทั้ง ภายในภายนอก ไม่ไหลหยด ฉันใด ภิกษุท. ! ภิกษุประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ส่วนใด ส่วนหนึ่ง ของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกนั้น ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี ฉันนั้นเหมือนกัน.


389
ผู้ได้บรรลุฌานที่สอง

         ภิกษุท. ! อีกประการหนึ่ง เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ภิกษุจึง บรรลุฌานที่สอง อันเป็น เครื่อง ผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติ และ สุข อันเกิดแต่ สมาธิแล้วแลอยู่. เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติ และสุขอันเกิดแต่ สมาธิ ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอ ทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิด แต่สมาธิ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

         ภิกษุท. !เปรียบเหมือนห้วงนํ้าอันลึกมีนํ้าอันป่วนไม่มีปากนํ้า ทางทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือแต่ฝนตก เพิ่มนํ้าให้แก่ห้วงนํ้านั้น ตลอดกาลโดยกาล ท่อนํ้าเย็นพลุ่ง ขึ้น จากห้วงนํ้า ประพรม ทำให้ชุ่มถูกต้องห้วงนํ้านั้นเอง ส่วนไหน ๆ ของห้วงนํ้านั้นที่นํ้าเย็น ไม่ถูกต้อง แล้วมิได้มี. ข้อนี้ฉันใด ภิกษุท. ! ภิกษุประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ ส่วนใดส่วนหนึ่ง ในกายเธอ ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี ฉันนั้นเหมือนกัน.


390
ผู้ได้บรรลุฌานที่สาม๑

         ภิกษุท. ! อีกประการหนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติภิกษุเป็น ผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย จึงบรรลุฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข” ดังนี้แล้วแลอยู่. เธอ ประพรมกายนี้ทำ ให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบเต็มรอบ ด้วยลำพัง สุขหาปีติมิได้ ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขหาปีติมิได้ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

         ภิกษุท. ! เปรียบเหมือนในหนองบัวอุบล หนองบัวปทุม หนองบัว บุณฑริก มีดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางเหล่าที่เกิดอยู่ในนํ้า เจริญอยู่ในนํ้า ยังขึ้นไม่พ้นนํ้า จมอยู่ภายใต้ อันนํ้าเลี้ยงไว้ ดอกบัว เหล่านั้น ถูกนํ้าเย็นแช่ชุ่ม ถูกต้องตั้งแต่ยอดตลอดราก ส่วนไหน ๆ ของดอกบัวเหล่านั้น ทั่วทั้งดอก ที่นํ้าเย็นไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี. ข้อนี้เป็นฉันใด

         ภิกษุท. ! ภิกษุประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยลำพังสุขหาปีติมิได้ ส่วนใดส่วนหนึ่ง ในกายเธอ ที่ลำพังสุขหาปีติมิได้ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี ฉันนั้นเหมือนกัน


391
ผู้ได้บรรลุฌานที่สี่

         ภิกษุท. ! อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและละทุกข์เสียได้ เพราะ ความดับหายไปแห่ง โสมนัส และโทมนัสในกาลก่อน ภิกษุจึง บรรลุฌานที่สี่อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็น ธรรมชาติ บริสุทธ์ิเพราะอุเบกขา แล้ว แลอยู่. เธอนั้น นั่งแผ่ไปตลอดกายนี้ด้วยใจอัน บริสุทธ์ิ ผ่องใส ส่วนใด ส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธ์ิผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

         ภิกษุท. ! เปรียบเหมือนชายคนหนึ่ง นั่งคลุมตัวด้วยผ้าขาวตลอดศีรษะ ส่วนไหน ๆ ในกาย เธอทั่วทั้งตัว ที่ผ้าขาวไม่ถูกต้องแล้ว (คือไม่คลุมแล้ว) มิได้มี. ข้อนี้เป็นฉันใด ภิกษุท. ! ภิกษุนั่งแผ่ ใจอันบริสุทธ์ิผ่องใสไป ตลอดกายนี้ ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธ์ิผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี ฉันนั้นเหมือนกัน.


391-1
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

         ภิกษุท. ! ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธ์ิผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็น ธรรมชาติ อ่อนโยนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว เธอ ก็น้อมจิตไป เฉพาะ ต่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ. เธอระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อน ได้หลาย ประการ คือ เธอระลึกได

         ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติสามชาติสี่ชาติห้าชาติบ้าง สิบชาติยี่สิบชาติสามสิบชาติ สี่สิบชาติ ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติบ้าง ตลอดหลายสังวัฏฏกัปป์ หลาย วิวัฏฏกัปป์ หลายสังวัฏฏกัปป์ และวิวัฏฏกัปป์บ้าง ว่า เมื่อเราอยู่ในภพโน้น มีชื่ออย่างนั้น มีโคตร มีวรรณะ มีอาหาร อย่างนั้น ๆ เสวยสุขและทุกข์เช่นนั้น ๆ มีอายุสุดลงเท่านั้น ครั้นจุติ จากภพ นั้นแล้ว ได้เกิดในภพโน้น มีชื่อ โคตร วรรณะ อาหาร อย่างนั้น ๆ ได้เสวยสุข และ ทุกข์เช่นนั้น ๆ มีอายุสุดลงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น ๆ ๆ ๆ แล้วมาเกิด ในภพนี้. เธอระลึกถึง ขันธ์ที่เคยอยู่อาศัย ในภพก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้ง อาการและลักษณะ ดังนี้.

         ภิกษุท. ! เปรียบเหมือนชายผู้หนึ่ง ออกจากบ้านตนเองไปบ้านคนอื่น แล้วออกจาก บ้าน นั้นไปสู่บ้านอื่นอีก แล้วออกจากบ้านนั้น ๆ กลับมาสู่บ้าน ของตนเอง เขาจะระลึกได้ อย่างนี้ว่า เราออกจากบ้านตนเองไปสู่บ้านโน้น ที่บ้านโน้นนั้น เราได้ยืน ได้นั่ง ได้พูด ได้นิ่ง อย่างนั้น ๆ ครั้นออกจากบ้านนั้น แล้ว ได้ไปสู่บ้านโน้นอีก แม้ที่บ้านโน้นนั้น เราได้ยืน ได้นั่ง ได้พูด ได้นิ่ง อย่างนั้น ๆ เราออกจากบ้านนั้นแล้ว กลับมาสู่บ้านของตนเอง. ข้อนี้เป็น ฉันใด ภิกษุท. ! ภิกษุระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อนได้หลาย ประการ _ _ฯลฯ _ _ พร้อมทั้งอาการและลักษณะเช่นนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.


392
จุตูปปาตญาณ

         ภิกษุท. ! ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธ์ิผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็น ธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว เธอ ก็น้อมจิตไป เฉพาะต่อ จุตูปปาตญาณ. เธอ มีจักษุเป็นทิพย์บริสุทธ์ิกว่าจักษุของสามัญมนุษย์ ย่อม แลเห็นสัตว์ทั้งหลาย จุติอยู่บังเกิดอยู่ เลวทราม ประณีต มีวรรณะดีมีวรรณะเลว มีทุกข์มีสุข. เธอรู้แจ้งชัดหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า
       
          “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! สัตว์เหล่านี้หนอ ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต พูดติเตียน พระอริยเจ้า ทั้งหลาย เป็นมิจฉาทิฏฐิประกอบการงานด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
เบื้องหน้า แต่กายแตกตายไป ล้วนพากันเข้าสู่อบายทุคติวินิบาตนรก. ท่านผู้เจริญทั้ง หลายเอย ! ส่วนสัตว์เหล่านี้หนอ ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยเจ้า ทั้งหลาย เป็นสัมมาทิฏฐิประกอบการงานด้วยอำนาจ สัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้า แต่กายแตกตายไป ล้วนพากันเข้าสู่สุคติโลกสวรรค์”.

         เธอมีจักษุทิพย์บริสุทธ์ิกว่าจักษุของสามัญมนุษย์เห็นเหล่าสัตว์ผู้จุติอยู่บังเกิดอยู่เลว ประณีต มีวรรณะดีมีวรรณะเลว มีทุกข์มีสุข รู้ชัด หมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมได้ดังนี้.

         ภิกษุท. ! เปรียบเหมือนเรือนสองหลัง มีประตูตรงกัน ณ ที่นั้น ชายมีจักษุดียืนอยู่หว่าง กลาง เขาอาจเห็นหมู่มนุษย์ที่เข้าไปในเรือนบ้าง ออกมาบ้าง เดินไปมาบ้าง เดินตรงบ้าง เลี้ยวบ้าง. ข้อนี้เป็นฉันใด

         ภิกษุท. ! ภิกษุมีจักษุเป็นทิพย์บริสุทธ์ิกว่าจักษุของสามัญมนุษย์ย่อมแลเห็นเหล่า สัตว์ผู้จุติ อยู่บังเกิดอยู่ เลวทราม ประณีต มีวรรณะดีวรรณะเลว มีทุกข์มีสุข. _ _ฯลฯ _ _ เธอรู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เข้าถึง ตามกรรมได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.


394
อาสวักขยญาณทำให้เป็นสมณะจริง

         ภิกษุท. ! ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธ์ิผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลส เป็น ธรรมชาติ อ่อนโยนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว เธอ ก็น้อมจิตไป เฉพาะต่อ อาสวักขยญาณ. เธอ ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “ทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ เหตุให้เกิด ทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ ข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ และว่า เหล่านี้เป็นอาสวะทั้งหลาย นี้เหตุแห่งอาสวะทั้งหลาย นี้ความดับไม่เหลือ แห่งอาสวะทั้งหลาย นี้ข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งอาสวะ ทั้งหลาย”.

         เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้เห็น อยู่อย่างนี้จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ. ครั้นจิต หลุด พ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “จิตพ้นแล้ว”. เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ แล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำ สำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความ (หลุด พ้น) เป็นอย่างนี้มิได้ มีอีก” ดังนี้.

         ภิกษุท. ! เปรียบเหมือนห้วงนํ้าใสที่ไหล่เขา ไม่ขุ่นมัว คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งในที่นั้น เขาจะ เห็นหอยต่าง ๆ บ้าง กรวดและหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงนํ้านั้น เขาจะ สำเหนียกใจ อย่างนี้ว่า “ห้วงนํ้านี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลาย เหล่านี้ หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วง นํ้านั้น”. ข้อนี้เป็นฉันใด

         ภิกษุท. ! ภิกษุย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “ทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ เหตุให้เกิดทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ ความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์เป็นเช่น นี้ๆ ข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็น เช่นนี้ๆ และว่า เหล่านี้ เป็นอาสวะทั้งหลาย นี้เหตุแห่งอาสวะทั้งหลาย นี้ความดับไม่เหลือ แห่ง อาสวะทั้งหลาย นี้ข้อปฏิบัติเครื่อง ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะทั้งหลาย”.

         เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้จิตก็หลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ. ครั้นจิต หลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “จิตพ้นแล้ว”. เธอรู้ชัดว่า“ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความ (หลุดพ้น) เป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ฉันนั้นเหมือนกัน.

         ภิกษุท. ! ภิกษุผู้เสร็จกิจแล้ว เช่นดังกล่าวนี้เราเรียกว่า เป็นสมณะ บ้าง เป็นพราหมณ์ บ้าง เป็น นหาตกะ บ้าง เป็นเวทคูบ้าง เป็น โสตติยะ บ้าง เป็นอริยะ บ้าง เป็นอรหันต์บ้าง.

        (ทรงให้คำอธิบายว่า เป็นสมณะ เพราะสงบจากสิ่งที่เป็นอกุศลลามก ที่เป็นไปข้าง ฝ่าย เศร้าหมอง ที่เอียงไปข้างความต้องเกิดอีก เป็นไปกับด้วยความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นผล เป็นที่ตั้ง ของความเกิด ความแก่ความตาย ต่อ ๆ ไป _ _ เป็นพราหมณ์เพราะลอยสิ่งที่เป็น อกุศลลามกเสีย แล้ว _ _ เป็นนหาตกะ เพราะล้างสิ่งที่เป็นอกุศลลามกแล้ว_ _เป็นเวทคู เพราะรู้จบสิ้น สิ่งที่เป็นอกุศลลามกแล้ว _ _ เป็นโสตติยะ เพราะ ไม่สดับสิ่งที่เป็นอกุศลลามก แล้ว _ _ เป็นอริยะ เพราะไปจากสิ่ง ที่เป็นอกุศลลามกแล้ว _ _ เป็นอรหันต์เพราะไกล จากสิ่งที่เป็นอกุศลลามกแล้ว _ _ ).


395
ยอมเสียชีวิตไม่ยอมล่วงสิกขาบท

         ภิกษุท. ! เช่นเดียวกับที่มหาสมุทร ย่อมมีนํ้าหยุดอยู่ที่ระดับใดระดับ หนึ่งเป็นธรรมดา หาล้นฝั่ง ไปไม่. ข้อนี้ฉันใด ภิกษุท. ! เราบัญญัติสิกขา บทใด ๆ แก่สาวกทั้งหลายของเรา แล้ว สาวกทั้งหลายของเรา ย่อมไม่ก้าว ล่วงสิกขาบทนั้น ๆ แม้จะต้องเสียชีวิต ก็ฉันนั้น เหมือนกัน.

         ภิกษุท. ! ข้อที่เราบัญญัติสิกขาบทใด ๆ แก่สาวกทั้งหลายของเราแล้ว สาวกทั้งหลาย ของเรา ย่อมไม่ก้าวล่วงสิกขาบทนั้น ๆ แม้จะต้องเสียชีวิต นั้นแล เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่น่า จะมีได้ _ _ ในธรรมวินัยนี้ ซึ่งเมื่อภิกษุทั้งหลายได้เห็นแล้ว ๆ ซึ่งข้อนี้ย่อมเกิดความพอใจ อย่างยิ่ง ในธรรมวินัย นี้แล.


396
ผู้ไม่หลงเอาสิ่งอื่นมาเป็นแก่น

         ภิกษุท. ! ในกรณีนี้คือ กุลบุตรบางคน มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยเรือน เพราะคิดเห็นว่า “เราถูกความเกิด ความแก่ความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ครอบงำเอาแล้ว เป็นคนตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์ อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะปรากฏมีได้” ดังนี้.

         ครั้นบวชแล้ว เธอสามารถทำลาภสักการะและเสียงเยินยอให้เกิดขึ้นได้
        
         เธอไม่มีใจยินดีในลาภ สักการะและเสียงเยินยออันนั้น ไม่มีความดำริเต็มรอบแล้ว ในลาภ สักการะ และเสียงเยินยออันนั้น เธอไม่ทะนงตัวเพราะลาภสักการะและเสียงเยินยอ อันนั้น เธอไม่เมา ไม่มัวเมาในลาภ สักการะและเสียงเยินยออันนั้น ไม่ถึงความประมาทในลาภ สักการะ และ เสียงเยินยอ อันนั้น เมื่อไม่ประมาท แล้ว

         เธอให้ความถึงพร้อมด้วยศีลเกิดขึ้นได้ เธอมีใจยินดีในความถึงพร้อมด้วยศีลอัน นั้น แต่ ไม่มีความดำริเต็มรอบแล้ว ในความถึงพร้อมด้วยศีลอันนั้น เธอไม่ทะนงตัวเพราะความถึง พร้อมด้วยศีล อันนั้น เธอไม่เมา ไม่มัวเมาในความถึง พร้อมด้วยศีลอันนั้น ไม่ถึงความประมาท ในความถึงพร้อมด้วย ศีลอันนั้นเมื่อไม่ประมาทแล้ว

         เธอให้ความถึงพร้อมด้วยสมาธิเกิดขึ้นได้ เธอมีใจยินดีใน ความถึงพร้อมด้วย สมาธิ อันนั้น แต่ไม่มี ความดำริเต็มรอบแล้วในความถึงพร้อม ด้วยสมาธิอันนั้น เธอไม่ทะนงตัว เพราะความถึงพร้อม ด้วยสมาธิ อันนั้น เธอไม่เมาไม่มัวเมาในความถึงพร้อมด้วยสมาธิอันนั้น ไม่ถึงความประมาทใน ความถึง พร้อมด้วยสมาธิ อันนั้น เมื่อไม่ประมาทแล้ว

         เธอให้ญาณทัสสนะ (ปัญญาเครื่องรู้เห็น) เกิดขึ้นได้อีก เธอมีใจยินดีในญาณทัสสนะ อันนั้น แต่ไม่มีความดำริเต็มรอบแล้วในญาณทัสสนะอันนั้น เธอไม่ทะนงตัวเพราะญาณ-ทัสสนะ อันนั้น เธอไม่เมา ไม่มัวเมา ในญาณทัสสนะอันนั้น ไม่ถึงความ ประมาทในญาณ ทัสสนะ อันนั้น เมื่อไม่ประมาทแล้ว

         เธอให้สมยวิโมกข (ความพ้นพิเศษโดยสมัย) เกิดขึ้นได้อีก.

         ภิกษุท. ! ข้อนี้ย่อมเป็นไปได้คือข้อที่ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมคลายจาก สมยวิมุตติอันนั้น ก็ได้. .....
         ภิกษุท. ! ปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการด้วยแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้เที่ยวค้นหาแก่นไม้ จนถึง ต้นไม้ใหญ่ มีแก่นแล้ว ตัดเอาแก่นถือไปด้วยมั่นใจว่า ‘นี่เป็นแก่นแท้’ ดังนี้.

         บุรุษมีตาดีเห็นคนนั้นเข้าแล้ว ก็กล่าวว่า “ผู้เจริญ คนนี้ช่างรู้จักแก่น รู้จักกระพี้ รู้จัก เปลือกสด รู้จักสะเก็ดแห้งตามผิวเปลือก รู้จักใบอ่อนที่ปลายกิ่ง. จริงดังว่า ผู้เจริญคนนี้ ต้องการแก่นไม้เสาะหา แก่นไม้เที่ยวค้นหาแก่นไม้จนถึงต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว ก็ตัดเอา แก่นแท้ ถือไปด้วยมั่นใจว่า ‘นี่เป็นแก่นแท้’ ดังนี้.

         สิ่งที่เขาจะต้องทำด้วยแก่นไม้จัก สำเร็จประโยชน์เป็นแท้” ดังนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น. (ที่กุลบุตร บางคนออกบวชด้วยศรัทธา ปฏิบัติไม่หลงผิด จนกระทั่ง บรรลุอสมยวิโมกข์).

         ภิกษุท. ! ข้อนี้ย่อมเป็นไปไม่ได้ไม่ใช่โอกาสที่จะเป็นได้คือข้อที่ภิกษุนั้น จะพึงเสื่อม คลายจาก อสมยวิมุตติ (ความหลุดพ้นที่ไม่มีสมัย) อันนั้นเลย.

         ภิกษุท. ! พรหมจรรย์นี้มิใช่มีลาภสักการะและเสียงเยินยอเป็น อานิสงส์ พรหมจรรย์นี้ มิใช่ มีความถึง พร้อมด้วยศีลเป็นอานิสงส์ พรหมจรรย์นี้มิใช่มีความถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็น อานิสงส์ พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อมด้วยญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์.

         ภิกษุท. ! ก็เจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบอันใด มีอยู่ พรหมจรรย์นี้มีสิ่งนั้นนั่นแหละ เป็น ประโยชน์ที่ มุ่งหมาย มีสิ่งนั้นนั่นแหละเป็น แก่นสาร มีสิ่งนั้นนั่นแหละ เป็นผลสุดท้ายของ พรหมจรรย์แล.


398
รู้“ความลับ” ของขันธ์ห้า

         โสณะ ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ย่อม รู้จักลักษณะ รู้จักเหตุเกิดขึ้น รู้จักความดับสนิท รู้จักข้อ ปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิท แห่ง รูป _ _ เวทนา _ สัญญา _ _สังขาร ย่อมรู้จักลักษณะ รู้จักเหตุเกิดขึ้น รู้จักความดับสนิท รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่ง วิญญาณ

         โสณะ ! สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ถูกสมมติว่าเป็นสมณะในบรรดา สมณะทั้งหลาย ก็ตาม ถูกสมมติว่า เป็นพราหมณ์ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย ก็ตาม ก็เป็นสมณะหรือเป็น พราหมณ์ได้แท้แล ได้ทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความ เป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลเป็นอยู่.


398-1
รู้“ความลับ” ของอุปาทานขันธ์

         ภิกษุท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ย่อม รู้จักรสอร่อย รู้จักโทษ และรู้จัก อุบาย เครื่องสลัด ออกไปพ้น ในอุปาทานขันธ์๕ เหล่านี้๓ ตามทีเป็นจริง

         ภิกษุท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ถูกสมมติว่าเป็นสมณะใน บรรดาสมณะทั้งหลาย ก็ตาม ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายก็ตาม ก็เป็นสมณะหรือเป็น พราหมณ์ ได้แท้ แลได้ทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความ เป็นพราหมณ์ด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลเป็นอยู่.


399
รู้“ความลับ” ของธาตุสี่

         ภิกษุท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ย่อม รู้จักรสอร่อย รู้จักโทษ และรู้จักอุบาย เครื่องสลัด ออกไปพ้น ในธาตุ๔ เหล่านี้๒ ตามที่เป็นจริง

         ภิกษุท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ถูกสมมติว่าเป็นสมณะในบรรดา สมณะ ทั้งหลายก็ตาม ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย ก็ตาม ก็เป็นสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ ได้แท้ แลได้ทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือ ประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่ง เอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลเป็นอยู่.


399-2
รู้“ความลับ” ของอินทรีย์หก

         ภิกษุท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ย่อม รู้จักความเกิดขึ้น รู้จักความดับไป รู้จักรสอร่อย รู้จักโทษ และรู้จักอุบายเครื่องสลัดออก ไปพ้น ในอินทรีย์ทั้ง ๖ เหล่านี้๑ ตามที่เป็นจริง

         ภิกษุท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ถูกสมมติว่าเป็นสมณะใน บรรดาสมณะ ทั้งหลายก็ตาม ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายก็ตาม ก็เป็นสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ ได้แท้แล ได้ทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วย ปัญญา อันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลเป็นอยู่.


401
รู้“ความลับ” ของอินทรีย์ห้า

         ภิกษุท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ย่อม รู้จักความเกิดขึ้น รู้จัก ความดับไป รู้จักรสอร่อย รู้จักโทษ (เมื่อยึดถือ) และรู้จักอุบายเครื่องสลัด ออกไปพ้น ในอินทรีย์๕ เหล่านี้๓ ตามที่เป็นจริง

         ภิกษุท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ถูกสมมติว่าเป็นสมณะในบรรดา สมณะ ทั้งหลายก็ตาม ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย ก็ตาม ก็เป็นสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ได้แท้แล ได้ทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่ง เอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลเป็นอยู่.


401-1
รู้ปฏิจจสมุปบาทจึงเป็นสมณะได้

         ภิกษุท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด
         ย่อม รู้จักชรามรณะ รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งชรามรณะ รู้จักความดับสนิทแห่งชรามรณะ รู้จักข้อ ปฏิบัติ เครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งชรามรณะ

         ย่อม รู้จักชาติ รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งชาติ รู้จักความดับสนิทแห่ง ชาติ รู้จักข้อปฏิบัติ เครื่องให้ถึง ความดับสนิทแห่งชาติ

         ย่อม รู้จักภพ รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งภพ รู้จักความดับสนิทแห่ง ภพ รู้จักข้อปฏิบัติ เครื่อง ให้ถึง ความดับสนิทแห่งภพ

         ย่อม รู้จักอุปาทาน รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งอุปาทาน รู้จักความดับสนิทแห่ง อุปาทาน รู้จักข้อ ปฏิบัติ เครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งอุปาทาน

         ย่อม รู้จักตัณหา รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งตัณหา รู้จักความดับสนิทแห่ง ตัณหา รู้จักข้อ ปฏิบัติเครื่อง ให้ถึงความดับสนิทแห่งตัณหา

         ย่อม รู้จักเวทนา รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งเวทนา รู้จักความดับสนิทแห่ง เวทนา รู้จักข้อ ปฏิบัติ เครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งเวทนา

         ย่อม รู้จักผัสสะ รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งผัสสะ รู้จักความดับสนิทแห่ง ผัสสะ รู้จักข้อ ปฏิบัติเครื่อง ให้ถึงความดับสนิทแห่งผัสสะ

         ย่อม รู้จักอายตนะ ๖ รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งอายตนะ ๖ รู้จักความดับสนิท แห่งอายตนะ ๖ รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งอายตนะ ๖

         ย่อม รู้จักนามรูป รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งนามรูป รู้จักความดับสนิทแห่ง นามรูป รู้จักข้อ ปฏิบัติ เครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งนามรูป

         ย่อม รู้จักวิญญาณ รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ รู้จักความดับสนิท แห่งวิญญาณ รู้จักข้อ ปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งวิญญาณ

         ย่อม รู้จักสังขาร รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งสังขาร รู้จักความดับสนิทแห่ง สังขาร รู้จักข้อ ปฏิบัติ เครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งสังขาร

          ภิกษุท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ถูกสมมติว่าเป็นสมณะในบรรดา สมณะ ทั้งหลายก็ตาม ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย ก็ตาม ก็เป็นสมณะหรือ เป็นพราหมณ์ ได้แท้แล ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่ง ความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอัน ยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลเป็นอยู่.


402
รู้อริยสัจจ์จึงเป็นสมณะได้

        ภิกษุท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ย่อมรู้จักตามที่เป็นจริงว่า ทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ รู้จักตามที่ เป็นจริงว่า เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ รู้จัก ตามที่เป็นจริงว่า ความดับสนิท แห่งทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ รู้จักตามที่เป็นจริงว่า ข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิท แห่งทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ

         ภิกษุท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ถูกสมมติว่าเป็นสมณะใน บรรดาสมณะ ทั้งหลายก็ตาม ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายก็ตาม ก็เป็นสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ ได้แท้ และได้ทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วย ปัญญา อันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลเป็นอยู่.

หมวดที่สิบหก จบ.



ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์

หมวดที่ ๑๗

ว่าด้วย การหมดพิษสงทางใจ


405
สระนํ้าที่มีอยู่ภายใต้จีวร

        ภิกษุท. !ภิกษุ เป็นผู้ปฏิบัติในข้อปฏิบัติสมควรแก่สมณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! เมื่อภิกษุรูปใด รูปหนึ่ง มีอภิชฌามาก ละอภิชฌาได้ มีจิตพยาบาท ละพยาบาทได้ เป็นผู้มัก โกรธ ละความมักโกรธได้ เป็นผู้มักถือความโกรธ ละความถือโกรธได้ เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ละความ ลบหลู่คุณท่านได้ เป็นผู้ยกตน เทียมท่าน ละความยกตนเทียมท่านได้ เป็นคน ริษยา ละความริษยา ได้ เป็นคนตระหนี่ละความตระหนี่ได้ เป็นคนโอ้อวด ละความโอ้อวดได้ เป็นคนมี มายา ละความมายา ได้ เป็นคนมีความปรารถนา ลามก ละความปรารถนาลามกได้ เป็นคนมีความเห็นผิด ละความเห็นผิดได

         ภิกษุท. ! เพราะละกิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น ซึ่งเป็นเครื่องมัวหมองของ สมณะ เป็นโทษ ของสมณะ เป็นนํ้าฝาดของสมณะ เป็นเหตุให้สัตว์เกิดใอ บายและมีวิบากอันสัตว์ทั้งหลาย จะต้องเสวย ในทุคติเหล่านี้ ได้แล้ว เราก็กล่าวภิกษุนั้นว่า “เป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติสมควรแก่ สมณะ” ดังนี้. ผู้ปฏิบัติ ชอบนั้นย่อมพิจารณา เห็นตนเป็นคนบริสุทธ์ิและพ้นจากสิ่งที่เป็นอกุศล ลามกทั้งหลายเหล่านี้ ทั้งสิ้นแล้ว.

         เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนเป็นเช่นนั้นอยู่ ความปราโมทย์ก็เกิดขึ้น เมื่อเธอปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิดขึ้น เมื่อเธอมีใจปีติแล้ว นามกาย ก็สงบ เธอมีนามกายสงบ ก็ได้เสวยสุข เมื่อเธอมีสุข จิตก็ตั้งมั่น.

         ผู้ปฏิบัติชอบนั้น แผ่จิตไปสู่ทิศที่๑ ที่๒ ที่๓ ที่๔ ทั้ง เบื้องบนเบื้องตํ่า ด้านขวาง ทั่วทุกทางโดยรอบ ตลอดโลกทั้งปวง ด้วยจิต อันประกอบด้วยเมตตา_ _ฯลฯ_ _กรุณา_ _ฯลฯ_ _มุทิตา_ _ฯลฯ_ _อุเบกขา อันไพบูลย์ประกอบด้วยคุณอันใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท เป็นอยู่.

         ภิกษุท. ! เปรียบเหมือน สระโบกขรณีมีนํ้าไม่ขุ่นมัว น่าดื่ม เย็นสนิท ใสสะอาด มีท่า ขึ้นลงโดยง่าย น่าเพลินใจ. ถ้าแม้มีบุรุษผู้หนึ่ง ซึ่งกำลังร้อนจัด มีความร้อนระอุไปทั้งตัว เหน็ดเหนื่อย คอแห้งระหาย๑นํ้า มา จากทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้ ไซร้ บุรุษนั้นมาถึง สระโบกขรณีนั้นแล้ว จักทำความคอแห้ง กระหายนํ้า และความร้อน กระวน กระวายให้เสื่อมสูญได้. ข้อนี้ฉันใด

         ภิกษุท. ! ถ้าแม้นกุลบุตร ออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่หวังประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยเรือน จากสกุล กษัตริย์ก็ตาม จากสกุลพราหมณ์ก็ตาม จากสกุลเวสส์ก็ตาม จากสกุลศูทรก็ตาม แล เขาได้อาศัยธรรม และวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อย่างนี้ๆ ย่อมได้ความสงบในภายใน เราก็เรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติสมควร แก่ สมณะ” ดังนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

         ถ้าแม้นกุลบุตรออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่หวังประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยเรือน จาก สกุลกษัตริย์ก็ตาม จากสกุลพราหมณ์ก็ตาม จากสกุลเวสส์ก็ตาม จากสกุลศูทร ก็ตาม และ เขาได้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้เพราะความสิ้นไป แห่งอาสวะ ทั้งหลายด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึง แล้วแลอยู่เรา ก็เรียกว่า “เป็นสมณะ” เพราะความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ฉันนั้น เหมือนกันแล.



407
ผู้เว้นยาพิษในโลก

        ภิกษุท. ! เปรียบเหมือนถ้วยดื่มสำริดมีเครื่องดื่มใส่อยู่แล้วชนิดหนึ่ง๒ สมบูรณ์ด้วย สีกลิ่น และรส แต่ว่ามียาพิษปนติดอยู่. ครั้งนั้น มีบุรุษ ผู้หนึ่ง ซึ่งกำลังร้อนจัด มีความร้อนระอุ ไปทั้งตัว เหน็ดเหนื่อย คอแห้ง ระหายนํ้า มาถึงเข้า. คนทั้งหลาย บอกแก่บุรุษนั้นว่า “นี่แน่ ท่านผู้เจริญ ถ้วยดื่ม สำริดใบนี้มี เครื่องดื่มสมบูรณ์ด้วยสีกลิ่น และรส เปิดโอกาสสำหรับท่าน แต่ว่ามันมียาพิษปนติดอยู่. ถ้าหากท่านต้องการ ดื่มก็ดื่มได้ เมื่อท่านกำลังดื่ม จักติดใจมัน ด้วยสีของมันบ้าง ด้วยกลิ่นของมันบ้าง ด้วยรสของมันบ้าง แต่ว่า ครั้นดื่มแล้ว ท่านจักถึง ความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะเหตุนั้น” ดังนี้.

         ภิกษุท. ! ทีนั้น ความคิดก็จะพึงเกิดขึ้นแก่บุรุษนั้นว่าอย่างนี้ว่า “ความกระหายใน เครื่องดื่ม เลิศรส ปนพิษ ของเรานี้อาจจะดับเสียได้ด้วยนํ้าเย็น หรือด้วยหางนมเปรี้ยว หรือ ด้วยเครื่องดื่มชื่อ มัฏฐโลณิกะ๓ หรือด้วยเครื่องดื่ม ชื่อโลณโสจิรกะ๔ เราไม่บังควรที่จะดื่ม นํ้านั้น อันเป็นไปเพื่อทุกข์ไม่เป็นประโยชน์

         เกื้อกูลแก่เรา ตลอดกาลนาน” ดังนี้. บุรุษนั้น ได้พิจารณาถ้วยดื่มสำริดนั้นแล้ว ก็ไม่ดื่ม และวางเสีย บุรุษนั้น จึงไม่ถึงความตาย หรือได้รับทุกข์เจียน ตาย เพราะเหตุนั้น ฉันใด

         ภิกษุท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ในกาลอดีตก็ตาม ในกาล อนาคตก็ตาม ในกาล บัดนี้ ก็ตาม ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ได้เห็นสิ่งอันเป็นที่รัก ที่สนิทใจในโลก โดยความเป็น ของ ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์โดยความเป็น อนัตตา โดยความเป็นของ เสียบแทง โดยความ เป็นของน่ากลัว สมณะหรือ พราหมณ์พวกนั้น ได้ละตัณหาเสียแล้ว. พวกใดได้ละตัณหา เสียแล้ว พวกนั้น ได้ละอุปธิแล้ว.

         พวกใดได้ละอุปธิแล้ว พวกนั้น ได้ละทุกข์แล้ว. พวกใดได้ละทุกข์แล้ว พวกนั้น ได้หลุดพ้นแล้วจากความเกิด ความแก่ความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เราตถาคต ย่อม กล่าวว่า “พวกเหล่านั้น ได้หลุดพ้นแล้วจากทุกข์” ดังนี้แล.


408
ผู้ไม่ตกเหว

        ภิกษุท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใดก็ตาม ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า ทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ เหตุให้เกิด ทุกข์ เป็น เช่นนี้ๆ ความดับสนิทแห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ ข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความ ดับสนิท แห่งทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ สมณะ หรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมไม่ยินดีอย่างยิ่งในเหตุ ปัจจัยเครื่องปรุงแต่ง ชนิดที่เป็นไปเพื่อ ความเกิด ความแก่ความตาย ความโศก ความรํ่าไร รำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เขาผู้ไม่ยินดีในเหตุปัจจัย เครื่องปรุงแต่ง ชนิดนั้น ๆ แล้ว ย่อมไม่ก่อสร้างเหตุปัจจัยเครื่องปรุงแต่ง ชนิดที่เป็นไปเพื่อความเกิด เป็นต้น นั้น ๆ อีก.

         ครั้นเขา ไม่ก่อสร้างเหตุปัจจัยนั้น ๆ แล้ว เขาก็ไม่ตกลงไปในเหวแห่งความเกิดบ้าง ในเหวแห่ง ความแก่บ้าง ในเหวแห่ง ความตายบ้าง ในเหวแห่งความโศกบ้าง ในเหวแห่ง ความ รํ่าไรรำพันบ้าง ในเหว แห่ง ความทุกข์กายบ้าง ในเหวแห่งความทุกข์ใจบ้าง ในเหว แห่งความคับแค้นใจ บ้าง เป็นแน่แท้.

         สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมหลุดพ้นจากความเกิด ความแก่ความตาย ความโศก ความรํ่าไร รำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความ คับแค้นใจ เราตถาคต ย่อมกล่าวว่า “พวกเหล่านั้น ย่อมหลุดพ้น จากทุกข์ได้” ดังนี้.

         ภิกษุท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ว่า “ทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ เหตุให้เกิด ทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ ความดับสนิท แห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ ข้อปฏิบัติ เครื่องให้ถึงความดับสนิท แห่งทุกข์เป็น เช่นนี้ๆ”. ดังนี้แล.


409
ผู้ไม่ต้องทะเลาะวิวาทกัน

         ภิกษุท. ! พวกเธอ อย่ากล่าวถ้อยคำที่เป็นเหตุให้ยึดถือ แตกต่างกันว่า “ท่านไม่รู้ทั่ว ถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ท่านรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก คำควรกล่าว ก่อน ท่าน กล่าวทีหลัง คำควรกล่าวทีหลัง ท่านมากล่าวก่อน คำพูดของท่านจึงไม่เป็น ประโยชน์คำพูด ของข้าพเจ้า เป็นประโยชน์ ข้อที่ท่านเคยถนัด มาแปรปรวน ไปเสียแล้ว ข้าพเจ้าแย้งคำพูดของท่านแหลก หมดแล้ว ท่านถูกข้าพเจ้าข่มแล้ว เพื่อให้ถอนคำพูดผิด ๆ นั้นเสีย หรือท่านสามารถก็จงค้านมาเถิด” ดังนี้.

         พวกเธอ ไม่พึงกล่าวถ้อยคำเช่นนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุว่าการกล่าวนั้น ๆ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อ ความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.

         ภิกษุท. ! เมื่อพวกเธอจะกล่าว จงกล่าวแต่เรื่องที่ว่า “ความทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ เหตุให้ เกิดทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ ความดับสนิทแห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับ สนิท แห่งทุกข์เป็น เช่นนี้ๆ” ดังนี้. เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุว่า การกล่าวนั้นเป็นการ กล่าวที่ประกอบด้วยประโยชน์เป็นเงื่อนต้น ของพรหมจรรย์ เป็นไปพร้อม เพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน แล.


410
ผู้ไม่ควรอยู่ในคอก

         ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยเหตุห้าอย่าง เป็นผู้ที่ควรได้รับการปล่อยออก จากหมู่ ไปอยู่ผู้เดียวได้. เหตุห้าอย่างอะไรบ้างเล่า ? ห้าอย่างคือ
(๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้รู้จักพอ ด้วย จีวรตามมีตามได้.
(๒) เธอ เป็นผู้รู้จักพอ ด้วย อาหารบิณฑบาตตามมีตามได้.
(๓) เธอ เป็นผู้รักจักพอ ด้วย เสนาสนะตามมีตามได้.
(๔) เธอ เป็นผู้รู้จักพอ ด้วย คิลานปัจจัยเภสัชบริกขารตามมีตามได้.
(๕) เธอ มีความคิดหนักไปในทางหลีกออกจากกามอยู่มาก.
         ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยเหตุห้าอย่างเหล่านี้แล เป็นผู้ที่ควรได้รับ การปล่อยออก จากหมู่ ไปอยู่ผู้เดียวได้.


411
ผู้มีเพียรตลอดเวลา

         ภิกษุท. ! เมื่อภิกษุกำลังเดินอยู่ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดใน กาม หรือครุ่นคิด ด้วยความ ครุ่นคิด ในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความ ครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบาก เปล่า ๆ ขึ้นมา และภิกษ ุก็ไม่รับเอาความ ครุ่นคิดนั้นไว้สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้ สิ้นสุด ลงไปจนไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็น เช่นนี้แม้กำลังเดินอยู่ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียร เผากิเลส รู้สึกกลัวต่อ สิ่งลามก เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลส อยู่เนืองนิจ.

         ภิกษุท. ! เมื่อภิกษุกำลังยืน อยู่ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิด ในกาม หรือครุ่นคิด ด้วยความ ครุ่นคิด ในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความ ครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ ลำบากเปล่า ๆ ขึ้นมา และภิกษ ุก็ไม่รับเอาความ ครุ่นคิดนั้นไว้สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังยืนอยู่ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียร เผากิเลส รู้สึกกลัวต่อ สิ่งลามก เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

         ภิกษุท. ! เมื่อภิกษุกำลังนั่ง อยู่ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิด ด้วยความครุ่นคิด ในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิด ในทางทำผู้อื่นให้ลำบาก เปล่า ๆ ขึ้นมา และภิกษุก็ไม่รับเอา ความครุ่นคิดนั้นไว้สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุด ลงไปจนไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็นเช่นนี้แม้กำลังนั่ง อยู่ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งลามก เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผา กิเลส อยู่เนืองนิจ.

         ภิกษุท. ! เมื่อภิกษุกำลังนอนตื่น อยู่ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดใน กาม หรือ ครุ่นคิดด้วยความ ครุ่นคิด ในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่น คิดในทางทำผู้อื่น ให้ลำบากเปล่า ๆ ขึ้นมา และภิกษุ ก็ไม่รับเอาความครุ่นคิด นั้นไว้สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็น เช่นนี้ แม้กำลังนอนตื่นอยู่ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำ ความเพียร เผากิเลส รู้สึกกลัวต่อ สิ่งลามก เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลส อยู่เนืองนิจแล.


413
ผู้ไม่ต้องกลายเป็น “ลิงติดตัง”

         ภิกษุท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเที่ยวไปในที่ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็น วิสัยของบิดา ตนเถิด. เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในที่ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็น วิสัยของบิดาตนอยู่มารจักไม่ได้ ช่องทาง มารจัก ไม่ได้โอกาสทำตาม อำเภอใจของมันได้เลย.

         ภิกษุท. ! ก็ที่ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็นวิสัยของบิดาตนสำหรับภิกษุนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ที่เป็นวิสัยเช่นนั้นได้แก่สติปัฏฐาน ๔. สติปัฏฐานสี่อะไรบ้างเล่า ? สี่คือ

         (๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อม พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผา กิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติพึงกำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้.

         (๒) เธอ ย่อม พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผา กิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติพึงกำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้.

         (๓) เธอ ย่อม พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึก ตัว ทั่วพร้อม มีสติพึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสียได้.

         (๔) เธอ ย่อม พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติพึงกำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้.

         ภิกษุท. ! สติปัฏฐานสี่เหล่านี้แล เป็นที่ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็นวิสัยของ บิดาตนสำหรับ ภิกษุดังนี้แล.


414
ผู้อยู่เหนือการสึก

         ภิกษุท. ! ลำแม่นํ้าคงคา มีธรรมดาลุ่มลาดเอียงเทไปยังทิศตะวันออก. ครั้งนั้นหมู่คน เป็นอันมาก พาเอาจอบและกะทอสำหรับขนดินมา ด้วยความ ตั้งใจว่า “พวกเราทั้งหลาย จักทำการทดแม่นํ้าคงคานี้ให้ไหลกลับหลัง” ดังนี้.

         ภิกษุท. ! พวกเธอจะเข้าใจความหมายข้อนี้ว่าอย่างไร จะทำได้สำเร็จละหรือ ตามที่ หมู่คน เป็นอันมากต้องการทดแม่นํ้าคงคาให้ไหลกลับหลัง ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ไม่สำเร็จดอก พระเจ้าข้า”.

         ภิกษุท. ! ข้อที่ทำไม่สำเร็จนั้น เป็นเพราะเหตุไรเล่า ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่า ลำแม่นํ้าคงคา มีธรรมดาลุ่มลาดเอียงเทไปยังทิศตะวัน ออก มันไม่เป็นการง่ายเลย ที่จะทดแม่นํ้าคงคาให้ไหลย้อนกลับหลัง มีแต่จะให้หมู่คน เป็นอันมาก นั้น ได้รับส่วนแห่ง ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า และมีความเดือดร้อน อย่างเดียวตลอดเวลาที่ทำการนั้น พระเจ้าข้า”.

         ภิกษุท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่พระราชา หรืออำมาตย์ผู้ใหญ่ของ พระราชา มิตรสหาย หรือญาติสาโลหิต จะพึงปวารณาด้วยโภคสมบัติที่อนุญาตให้ใช้ตามพอใจ แก่ภิกษุผู้กำลัง อบรมอริยมรรคมีองค์ ๘ กระทำ อริยมรรคมีองค์๘ ให้มากว่า “มาเถิด พ่อคนเจริญ การนุ่งห่ม ผ้าย้อมด้วย นํ้าฝาดเหล่านี้จะมีประโยชน์ อะไรสำหรับท่านนัก จะเป็นคนหัวโล้น ถือกระเบื้อง ขอทานกินไปทำไมกัน เชิญท่านสึกออกมา บริโภคสมบัติและทำบุญเอาเถิด”

         ดังนี้. ภิกษุท. ! ข้อที่ภิกษุนั้น ซึ่งกำลังอบรมอริยมรรคมีองค์๘ อยู่กระทำ อริยมรรค มีองค์ ๘ ให้มากอยู่จักบอกเลิกสิกขา หมุน กลับคืนไปสู่เพศตํ่าแห่งคฤหัสถ์นั้น เป็นฐานะ ที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้. ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุท. ! เพราะเหตุว่า การที่จิตของภิกษุนั้น น้อม ไปในวิเวก ลุ่มลาดไปในวิเวก เอียงเทไปในวิเวก ตลอดกาลนาน จักหมุนกลับคืน ไปสู่เพศตํ่า นั้น เป็นฐานะที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้.

         ภิกษุท. ! ภิกษุย่อมอบรมอริยมรรคมีองค์๘ กระทำอริยมรรค มีองค์๘ ให้มาก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมอบรม สัมมาทิฏฐิ ย่อมอบรม สัมมาสังกัปปะ ย่อมอบรม สัมมาวาจา ย่อมอบรม สัมมากัมมันตะ ย่อมอบรม สัมมาอาชีวะ ย่อมอบรม สัมมาวายามะ ย่อมอบรม สัมมาสติ ย่อมอบรม สัมมาสมาธิ อัน(แต่ละอย่าง) ย่อม อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ และน้อมไป เพื่อความปล่อย. ภิกษุท. ! ภิกษุย่อมอบรม อริยมรรคมีองค์๘ กระทำ อริยมรรคมีองค์๘ ให้มาก ด้วยอาการอย่างนี้แล.


415
คุณธรรมของพระโสดาบัน

         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำพอ ประมาณในสมาธิ ทำพอประมาณ ในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง และต้องออกจากอาบัติเล็กน้อย เหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวความอาภัพ ต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จัก เกิดขึ้นเพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อย และการต้อง ออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้.

         อนึ่ง สิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบ แห่ง สัญโญชน์๓๑ เป็นโสดาบัน (ผู้ถึงกระแสแห่งนิพพาน) เป็นผู้มีอันไม่ตกตํ่า เป็นธรรมดา ผู้เที่ยงแท้ ต่อการ ตรัสรู้ข้างหน้า.

         ภิกษุท. ! ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์๓ เป็น ผู้ยังต้องท่องเที่ยวไป ในภพแห่ง เทวดา แลมนุษย์อีก ๗ ครั้ง เป็นอย่าง มาก แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

         ภิกษุท. ! ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์๓ จัก ต้องท่องเที่ยวไปสู่ สกุล๒ ๒ หรือ ๓ ครั้ง แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

         ภิกษุท. ! ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์๓ เป็นผู้มีพืชหนเดียว คือจัก เกิดในภพแห่ง มนุษย์ หนเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำที่สุด แห่งทุกข์ได้.


417
คุณธรรมของพระสกทาคามี

         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำพอประมาณในสมาธิ ทำพอประมาณ ในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบท เล็กน้อยบ้าง และต้องออกจากอาบัติเล็กน้อย เหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะ เหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวความอาภัพ ต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้น เพราะเหตุสักว่าการล่วงสิกขาบทเล็กน้อยและ การต้อง ออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้.

         อนึ่ง สิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบ แห่งสัญโญชน์๓ และเพราะความที่ราคะ โทสะ โมหะ ก็เบาบาง น้อยลง เป็นสกทาคามียังจะมาสู่โลกนี้อีก ครั้งเดียวเท่านั้น แล้วย่อม กระทำที่สุด แห่งทุกข์ได้.


417-1
คุณธรรมของพระอนาคามี

         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิทำ พอประมาณในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบท เล็กน้อยบ้าง และต้องออกจาก อาบัติเล็กน้อย เหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวความอาภัพ ต่อการ บรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้นเพราะเหตุสักว่าการล่วงสิกขาบทเล็กน้อย และการ ต้องออกจาก อาบัติเล็กน้อยเหล่านี้.

         อนึ่ง สิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่น คงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบ แห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า๕ เป็นอนาคามีผู้อุบัติขึ้นในทันทีมีการ ปรินิพพานในภพนั้น ๆ ไม่เวียนกลับจากโลกนั้น ๆ เป็นธรรมดา.

         (อีกนัยหนึ่งจำแนกพระอนาคามีเป็น ๕ จำพวก) คือ ๒
         ภิกษุท. ! ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็นผู้มีกระแส ในเบื้องบนไปถึง อกนิฏฐภพ.
         ภิกษุท. ! ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็นผู้ปรินิพพาน ด้วยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง.
         ภิกษุท. ! ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็นผู้ปรินิพพาน ด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง.
         ภิกษุท. ! ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็นผู้ปรินิพพาน เมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด.
         ภิกษุท. ! ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็นผู้ปรินิพพาน ในระหว่าง อายุยังไม่ทันถึงกึ่ง.

419
คุณธรรมของพระอรหันต์

         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิทำให้ บริบูรณ์ในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง และ ต้องออกจากอาบัติเล็กน้อย เหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะ เหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวความอาภัพ ต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้น เพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อย และการต้อง ออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้.

         อนึ่ง สิกขาบทเหล่าใดที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบท เหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย. ภิกษุนั้น ได้กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้ว แลอยู่.


419-1
หมดพิษสงทางใจจึงประกาศพระศาสนา

         ภิกษุท. ! ตถาคต เป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์และเป็นของมนุษย์ แม้พวกเธอทั้งหลาย พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์และเป็นของมนุษย์.

         ภิกษุท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์สุข แก่คนจำนวนมาก เพื่อความเอ็นดูแก่โลก เพื่อประโยชน์เพื่อความ เกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย. อย่าไป ทางเดียวกันถึงสองรูป.

         ภิกษุท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงแสดงธรรม ให้งดงามในเบื้องต้น ให้งดงามใน ท่ามกลาง ให้งดงามใน เบื้องปลาย จงประกาศแบบแห่งการ ปฏิบัติอันประเสริฐ ให้เป็นไป พร้อมทั้งอรรถะทั้งพยัญชนะ ให้บริสุทธ์ิ บริบูรณ์สิ้นเชิง. สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นพวกมีธุลี ในดวงตา แต่เล็กน้อย ก็มีอยู่ สัตว์พวกนี้ย่อมเสื่อมจาก คุณที่ควรได้เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมีเป็นแน่.

         ภิกษุท. ! แม้เราเอง ก็จักไปสู่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดง ธรรม.

หมวดที่สิบเจ็ด จบ.


ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์

หมวดที่ ๑๘

ว่าด้วย การไม่เสียความเป็นผู้หลักผู้ใหญ่


423
รอดได้เพราะผู้นำ

         ภิกษุท. ! เรื่องเคยมีมาแล้ว โคบาลชาวมคธ เป็นคนมีปัญญา โดย กำเนิด ได้คำนึงถึง ฤดูสารท ในเดือน ท้ายฤดูฝน ตรวจตราดูฝั่งแม่นํ้าคงคาทาง ฟากนี้แล้วได้ต้อนฝูงโค ให้ข้าม ไปฝั่งเหนือ แห่งวิเทหรัฐ ฟากโน้น ตรงที่ที่ เป็นท่าสำหรับโคข้ามทีเดียว.

         โคบาลผู้นั้น ได้ต้อนเหล่าโคอุสภ อันเป็นโค พ่อฝูง เป็นโคนำฝูง ให้ข้ามไปเป็น พวกแรก มันได้ว่าย ตัด ตรงกระแส แม่นํ้าคงคา ถึงฝั่งฟากโน้นโดยสวัสดี. ต่อจากพวกแรกนั้น จึงได้ต้อนโค เหล่าอื่นอีก ซึ่งเป็นพวก โคใช้งานมีกำลัง และเป็นพวกโคที่เพิ่งฝึกใช้งาน มันก็ได้ว่ายตัดตรงกระแสแม่นํ้าคงคา ถึงฝั่ง ฟากโน้นโดยสวัสดี.

         ต่อจากพวก ที่สองนั้น จึงได้ต้อนโคเหล่าอื่นอีก ซึ่งเป็นพวกโคหนุ่มและโคสาวที่รุ่น ๆ มันก็ได้ว่าย ตัด ตรง กระแส แม่นํ้าคงคา ถึงฝั่งฟากโน้นโดยสวัสดี. ต่อจาก พวกที่สามนั้น จึงได้ต้อนโคเหล่าอื่นอีก ซึ่งเป็นพวกลูกโค และโคที่ซูบผอมมันก็ได้ว่ายตัดตรงกระแส แม่นํ้าคงคา ถึงฝั่งฟากโน้นโดยสวัสดีเช่นกัน.

         ภิกษุท. ! เรื่องเคยมีมาแล้ว : ลูกโคอ่อนที่เกิดในวันนั้น ว่ายไป ตามเสียงร้องของแม่ มันก็ได้ว่าย ตัดตรง กระแสแม่นํ้าคงคา ถึงฝั่งฟากโน้น โดยสวัสดีเช่นเดียวกัน อีก. ข้อนั้น เพราะเหตุไร ? ข้อนั้นเป็น เพราะ โคบาลผู้นั้น เป็นบัณฑิต. จริงอย่างนั้น โคบาลชาวมคธ เป็นคนมีปัญญา โดยกำเนิด ได้คำนึงถึง ฤดูสารทในเดือนท้ายฤดูฝน ตรวจตราฝั่งแม่นํ้าคงคา ทาง ฟากนี้แล้วจึงต้อนฝูงโคให้ข้ามไปฝั่งเหนือ แห่งวิเทหรัฐฟากโน้น ตรงที่ที่เป็น ท่าสำหรับ โคข้ามทีเดียว.

         ภิกษุท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง เป็นผู้ฉลาดเรื่อง โลกนี้ฉลาดเรื่อง โลกอื่น เป็นผู้ฉลาดเรื่อง วัฏฏะ อันเป็นที่อยู่ของมาร ฉลาดเรื่อง วิวัฏฏะ อันไม่เป็นที่อยู่ของมาร เป็นผู้ฉลาดเรื่อง วัฏฏะ อันเป็นที่อยู่ของมฤตยูฉลาดเรื่อง วิวัฏฏะ อันไม่เป็นที่อยู่ของมฤตยู ชนเหล่าใด สำคัญว่าถ้อยคำของสมณะ หรือ พราหมณ์เหล่านั้น ควรฟังควรเชื่อ ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อความสุข เป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่ชนเหล่านั้น สิ้นกาลนาน.

         ภิกษุท. ! บรรดา เหล่าโคอุสภ อันเป็นโคพ่อฝูง เป็นโคนำฝูง ได้ว่ายตัดตรงกระแส แม่นํ้าคงคา ถึงฝั่งฟากโน้น โดยสวัสดี ภิกษุท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น เหล่าภิกษุผู้เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะ จบพรหมจรรย์ หมดกิจควรทำ ปลงภาระ ลงได้ผู้มีประโยชน์ของตัวเอง อันตาม บรรลุได้แล้ว มีสัญโญชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ทั่วถึงโดยชอบ แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็ได้ตัดฝ่ากระแสแห่งมาร ถึงฝั่งโน้นแห่งนิพพาน โดย สวัสดีอย่างเดียวกัน.

         ภิกษุท. ! เหล่าโคพวกที่ใช้งานมีกำลัง และพวกที่เพิ่งฝึกใช้งาน ได้ว่ายตัดตรงกระแส แม่นํ้าคงคา ถึงฝั่ง ฟากโน้นโดยสวัสดี ภิกษุท. ! ฉันใด ก็ฉันนั้น เหล่าภิกษุอนาคามี ผู้เกิด ผุดขึ้น และปรินิพพานในชั้น (สุทธาวาส) นั้น ไม่จำต้องวกกลับมาจากโลกนั้น เป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปรอบแห่ง สัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็ได้ตัดฝ่ากระแสแห่งมาร ตรงไป ฝั่งโน้นแห่งนิพพานโดยสวัสดี (ไม่มีถอยกลับ) อย่างเดียวกัน.

         ภิกษุท. ! เหล่าโคหนุ่มและโคสาวที่รุ่น ๆ ก็ได้ว่ายตัดตรงกระแส แม่นํ้าคงคา ถึงฝั่ง ฟากโน้นโดย สวัสดี ภิกษุท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น เหล่า ภิกษุผู้เป็นสกทาคามีเพราะความสิ้นไป รอบแห่งสัญโญชน์๓ และ เพราะทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบาง จักมาสู่โลกนี้อีกคราว เดียวเท่านั้น แล้วก็จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็ได้ตัดฝ่ากระแสแห่ง มาร ตรงไปฝั่งโน้นแห่งนิพพานโดยสวัสดีอย่างเดียวกัน.

         ภิกษุท. ! เหล่าลูกโคและโคที่ซูบผอม ก็ได้ว่ายตัดกระแสแม่นํ้า คงคา ถึงฝั่งฟากโน้น โดยสวัสดี ภิกษุท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น เหล่าภิกษุผู้เป็นโสดาบัน เพราะความสิ้นไปรอบ แห่ง สัญโญชน์๓ มีอันไม่ตกตํ่า เป็นธรรมดา ผู้เที่ยงแท้ต่อการตรัสรู้ข้างหน้า แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็ได้ตัด ฝ่ากระแสแห่งมาร ตรงไปฝั่งโน้น แห่งนิพพานโดยสวัสดี (ได้ในภายหลัง) อย่างเดียวกัน.

         ภิกษุท. ! ลูกโคอ่อนที่เกิดในวันนั้น ว่ายไปตามเสียงร้องของแม่ก็ได้ว่ายตัดตรงกระแส แม่นํ้าคงคา ถึงฝั่งฟาก โน้นโดยสวัสดี ภิกษุท. !ฉันใดก็ฉันนั้น เหล่าภิกษุผู้แล่นไปตาม กระแสแห่งธรรม๑ ผู้แล่นไป ตามกระแส แห่งสัทธา๒ แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็ได้ตัดฝ่ากระแส แห่งมาร ตรงไป ยังฝั่งโน้นแห่งนิพพาน โดยสวัสดี (ได้ในภายหลังสุด) อย่างเดียวกัน แล.


426
อุปัชฌายะที่ถูกต้องตามธรรม

         ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง พึงเป็นอุปัชฌายะ ให้อุปสมบทได้. ธรรมห้าอย่างอะไรบ้างเล่า ? ห้าอย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้
(๑) เป็นผู้ประกอบด้วย กองศีล อันเป็น อเสขะ.
(๒) เป็นผู้ประกอบด้วย กองสมาธิ อันเป็น อเสขะ.
(๓) เป็นผู้ประกอบด้วย กองปัญญาอั นเป็น อเสขะ.
(๔) เป็นผู้ประกอบด้วย กองวิมุตติ อันเป็น อเสขะ.
(๕) เป็นผู้ประกอบด้วย กองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็น อเสขะ.

         ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แล พึงเป็น อุปัชฌายะ ให้อุปสมบทได้.
-------------------------------------------------
๑. ผู้แล่นไปตามกระแสแห่งธรรม ได้แก่ผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ด้วยอำนาจพิจารณาธรรม ๖ ประการคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ. ซึ่งทนต่อการเพ่งโดยประมาณอันยิ่ง แห่งปัญญาของ บุคคลนั้น.
๒. ผู้แล่นไปตามกระแสแห่งสัทธา ได้แก่ผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ด้วยอำนาจพิจารณา เห็นอนิจจัง ในสังขารทั้งหลาย.
๓ . บาลีพระพุทธภาษิต ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๐๑/๒๕๑ ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.

-------------------------------------------------



427
อาจารย์ถูกที่ต้องตามธรรม

         ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง พึงเป็นอาจารย์ให้นิสสัยแก่กุลบุตรได้. ธรรมห้าอย่างอะไรบ้างเล่า ? ห้าอย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้
(๑) เป็นผู้ประกอบด้วย กองศีลอันเป็นอเสขะ.
(๒) เป็นผู้ประกอบด้วย กองสมาธิอันเป็นอเสขะ.
(๓) เป็นผู้ประกอบด้วย กองปัญญาอันเป็นอเสขะ.
(๔) เป็นผู้ประกอบด้วย กองวิมุตติอันเป็นอเสขะ.
(๕) เป็นผู้ประกอบด้วย กองวิมุตติญาณทัสสนะอันเป็นอเสขะ.

         ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แล พึงเป็น อาจารย์ให้นิสสัย แก่กุลบุตรได้.


427-1
ผู้ควรมีศิษย์อุปัฏฐาก

         ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง พึงให้สามเณร อุปัฏฐากได้. ธรรมห้าอย่าง อะไรบ้างเล่า ? ห้าอย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้
(๑) เป็นผู้ประกอบด้วย กองศีลอันเป็นอเสขะ.
(๒) เป็นผู้ประกอบด้วย กองสมาธิอันเป็นอเสขะ.
(๓) เป็นผู้ประกอบด้วย กองปัญญาอันเป็นอเสขะ.
(๔) เป็นผู้ประกอบด้วย กองวิมุตติอันเป็นอเสขะ.
(๕) เป็นผู้ประกอบด้วย กองวิมุตติญาณทัสสนะอันเป็นอเสขะ.

         ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แล พึงให้สามเณรอุปัฏฐากได้.


428
เถระดี

         ภิกษุท. ! ภิกษุชั้นเถระ ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๕ อย่างแล้ว ย่อม เป็นที่รัก ที่ไว้วางใจ ที่เคารพ ที่ยกย่องสรรเสริญ ของพวกเพื่อนพรหมจรรย์ด้วยกัน. องค์ประกอบห้า อย่างอะไรบ้างเล่า ? ห้าอย่างคือ

         (๑) เธอ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วย มรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นเป็นภัย ในโทษทั้งหลาย แม้ที่ถือกันว่าเป็น โทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย.

         (๒) เธอ เป็นพหุสูต ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว สั่งสมธรรมที่ฟังแล้ว ธรรมเหล่าใด มีความงามใน เบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด แสดงพรหมจรรย์พร้อม ทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธ์ิ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเหล่านั้นอันเธอได้ฟังมามากแล้ว จำได้ว่าได้คล่องแคล่วด้วย วาจา มองเห็นตามด้วยใจ เจาะแทงทะลุอย่างดีด้วยความเห็น.

         (๓) เธอ เป็นผู้มีถ้อยคำงดงาม มีวิธีพูดได้เพราะ มีถ้อยคำถูกต้องตามความนิยมแห่ง ชาวเมือง สละสลวยไม่ตะกุกตะกัก ทำให้เข้าใจความหมายได้ง่าย.

         (๔) เธอ เป็นผู้ได้ตามต้องการ ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบากซึ่งฌานทั้ง ๔ อันเนื่องในจิต อันยิ่ง เป็นทิฏฐธรรม สุขวิหาร.

         (๕) เธอ เป็นผู้กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหา อาสวะมิได้เพราะ ความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลอยู่ .

         ภิกษุท. ! ภิกษุชั้นเถระ ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๕ อย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นที่รัก ที่ไว้วางใจ ที่เคารพ ที่ยกย่องสรรเสริญ ของพวกเพื่อน พรหมจรรย์ด้วยกันแล.


429
เถระที่ไม่ต้องระวัง


         กัสสปะ ! ภิกษุแม้เป็นเถระแล้ว แต่เป็นผู้ใคร่ต่อไตรสิกขาด้วย ตนเอง สรรเสริญ ผู้ปฏิบัติในไตรสิกขา ชักจูงผู้ไม่รักในไตรสิกขา กล่าวยกย่องผู้รักการปฏิบัติในไตรสิกขา ตามเวลาที่ควรแก่การยกย่อง ตามที่เป็นจริง กัสสปะ ! เราตถาคตสรรเสริญภิกษุเถระชนิดนี้.

         ข้อนั้นเพราะอะไร ? เพราะเหตุว่า ภิกษุเหล่าอื่น รู้ว่า “พระศาสดา สรรเสริญ ภิกษุชนิดนี้ ” ก็จะคบหา แต่ภิกษุชนิดนั้น. ภิกษุเหล่าใดคบหา ภิกษุเถระชนิดนั้นเข้า ก็จะถือเอาภิกษุเถระชนิดนั้น เป็นตัวอย่างสืบไป การ ถือเอาภิกษุเถระชนิดนั้น เป็นตัวอย่าง ย่อมเป็นทางให้เกิดสิ่งอันเป็น ประโยชน์และเป็นความสุข แก่ภิกษุเหล่านั้นเองสิ้นกาลนาน

         กัสสปะ ! เพราะเหตุนั้น เราจึงสรรเสริญภิกษุเถระชนิดนี้แล.


430
เถระบัณฑิต

         ภิกษุท. ! คนเราแม้ยังเป็นเด็กหนุ่มรุ่นคะนอง ผมดำสนิท ตั้งอยู่ในวัยเจริญ คือปฐมวัย แต่เขามีคำพูดเหมาะแก่กาล พูดจริง พูดได้ประโยชน์ พูดเป็นธรรม พูดเป็นวินัย กล่าววาจา มีที่ตั้ง มีที่อ้างอิง มีที่สิ้นสุด ประกอบด้วยประโยชน์ คนผู้นั้น ย่อมถึงการถูกนับว่า เป็น “เถระบัณฑิต” โดยแท้.


430-1
เถระไม่วิปริต

         ภิกษุท. ! ภิกษุเถระที่ประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลแก่ มหาชน ทำมหาชนให้มีความสุข ทำไปเพื่อความเป็นประโยชน์ แก่คนเป็น อันมาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ห้าอย่างอะไรบ้างเล่า ? ห้าอย่างคือ
         (๑) ภิกษุเป็นเถระ บวชมานาน มีพรรษายุกาลมาก.
         (๒) เป็นที่รู้จักกันมาก มีเกียรติยศ มีบริวาร ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต.
         (๓) เป็นผู้รํ่ารวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน ปัจจัยเภสัชบริกขาร.
         (๔) เป็นพหุสูต ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว สั่งสมธรรมที่ฟังแล้วมาก _ _ฯลฯ _ _
         (๕) และ เป็นสัมมาทิฏฐิมีทัศนะอันถูกต้อง.

         ภิกษุท. ! ภิกษุนี้ทำคนเป็นอันมาก ให้เลิกละจากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในพระสัทธรรม. ประชาชนทั้งหลาย ย่อมถือเอาแบบอย่างของภิกษุนั้นไป เพราะคิดว่า เธอเป็นภิกษุเถระ บวชมานาน มีพรรษายุกาลมากบ้าง เพราะคิดว่า เธอเป็นภิกษุเถระ ที่มหาชนเชื่อถือ รู้จักกัน มาก มีเกียรติยศ มีบริวารมาก ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตบ้าง เพราะคิดว่า เธอเป็นภิกษุเถระ ที่รํ่ารวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริกขารบ้าง เพราะคิดว่า เธอเป็นภิกษุเถระ ที่เป็นพหุสูต ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว สั่งสม ธรรมที่ฟังแล้วได้บ้าง ดังนี้.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเถระ ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูล แก่มหาชน ทำมหาชนให้มีความสุข ทำไปเพื่อ ความเป็นประโยชน์แก่คนเป็น อันมาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย แล.


432
เถระไม่โลเล (หลายแบบ)

         ภิกษุท. ! ภิกษุเถระที่ประกอบด้วยเหตุห้าอย่าง (ห้าหมวด) เหล่านี้แล้ว ย่อม เป็นที่รัก ที่ไว้วางใจ ที่เคารพ ที่ยกย่องสรรเสริญ ของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน. ห้าอย่าง อะไรบ้างเล่า ? ห้าอย่างคือ

         (๑) ภิกษุชั้นเถระนั้น ไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองใน อารมณ์เป็นที่ตั้ง แห่ง ความขัดเคือง ไม่หลงใหลในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง ความหลงใหล ไม่ตื่นเต้นในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง ความตื่นเต้น ไม่มัวเมาใน อารมณ์ที่เป็นที่ตั้งแห่งความ มัวเมา.

         (๒) ภิกษุชั้นเถระนั้น เป็นผู้ปราศจากราคะ เป็นผู้ปราศจากโทสะ เป็น ผู้ปราศจากโมหะ เป็นผู้ไม่ ลบหลู่ คุณท่าน เป็นผู้ไม่ตีตนเสมอท่าน.

         (๓) ภิกษุชั้นเถระนั้น ไม่เป็นคนหลอกลวงเก่งด้วย ไม่เป็นคนพูดพิรี้พิไร เก่งด้วย ไม่เป็นคนพูดหว่าน ล้อมเก่งด้วย ไม่เป็นคนปลูกคำท้าทายให้เกิดมานะ เจ็บใจเก่งด้วย ไม่เป็นคนหากำไรทำนองเอาลาภ ต่อลาภเก่งด้วย.

         (๔) ภิกษุชั้นเถระนั้น เป็นคนมีศรัทธา มีความละอายบาป มีความ กรงกลัวบาป เป็นคนปรารภ ความเพียร เป็นคนมีปัญญา.

         (๕) ภิกษุชั้นเถระนั้น เป็นคนอดใจได้ในรูปทั้งหลาย อดใจได้ในเสียง ทั้งหลาย อดใจได้ในกลิ่น ทั้งหลาย อดใจได้ในรสทั้งหลาย อดใจได้ในสัมผัส ทางกายทั้งหลาย.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเถระที่ประกอบด้วยเหตุห้าอย่าง (ห้าหมวด) เหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นที่รัก ที่ไว้วางใจ ที่เคารพ ที่ยกย่องสรรเสริญ ของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกันแล.


433
พ่อไม่ฆ่าลูก

         กัสสปะ ! เธอ จงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย จงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายบ้าง. กัสสปะ ! เรา หรือเธอ พึงช่วยกันกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย พึงช่วยกันแสดงธรรมมีกถา แก่ภิกษุทั้งหลาย.
        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ในเวลานี้ภิกษุช่างเป็นคนว่ายากนัก ประกอบด้วยเหตุ ที่ทำให้ เป็นคนว่า ยากด้วย ไม่อดทน ไม่ยอมรับคำตักเตือนโดยเคารพ” ท่านพระมหากัสสปะ กราบทูล.

         กัสสปะ ! จริงอย่างเธอกล่าวนั้นแหละ ในครั้งก่อน พวกภิกษุชั้น เถระ สมาทานการ อยู่ป่าเป็นวัตร และทั้งกล่าวสรรเสริญการกระทำเช่นนั้น สมาทานการบิณฑบาตเป็นวัตร และ ทั้งกล่าวสรรเสริญการกระทำเช่นนั้น สมาทานการใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และทั้งกล่าวสรรเสริญ การกระทำเช่น นั้น สมาทานการใช้จีวรเพียงสามผืนเป็นวัตร และทั้งกล่าวสรรเสริญการ กระทำเช่นนั้น เป็นผู้จำกัดความต้องการให้มีแต่น้อย และทั้งกล่าวสรรเสริญการ กระทำเช่นนั้น เป็นผู้สันโดษ และทั้งกล่าวสรรเสริญการกระทำเช่นนั้น เป็นผู้อยู่สงบ และทั้งกล่าวสรรเสริญ การกระทำเช่นนั้น เป็นผู้อยู่อย่างไม่คลุก คลีกัน และทั้งกล่าวสรรเสริญการกระทำเช่นนั้น เป็นผู้ปรารภความเพียร และทั้งกล่าวสรรเสริญการกระทำเช่นนั้น.

         บรรดาภิกษุชั้นเถระเหล่านั้น ภิกษุรูปใด สมาทานการอยู่ป่าเป็นวัตร_ _ฯลฯ_ _ เป็นผู้ปรารภความเพียร และ ทั้งกล่าวสรรเสริญการกระทำเช่นนั้น ภิกษุชั้นเถระทั้งหลาย ก็อาราธนา ให้นั่งเฉพาะภิกษุเถระรูปนั้น ด้วยคำเป็นต้นว่า “มาเถิด ภิกษุ ! ภิกษุรูปนี้ชื่อ อะไร ? ภิกษุนี้ช่างมีวาสนาจริง ! ทั้งเป็นผู้ใคร่ต่อการปฏิบัติจริงด้วย ! มาเถิด ภิกษุ ! นิมนต์ท่านจง นั่งอาสนะนี้” ดังนี้.

         กัสสปะ ! ครั้นภิกษุชั้นเถระประพฤติกันอยู่อย่างนี้ ความคิดก็เกิดขึ้น แก่พวกภิกษุใหม่ ว่า ได้ยินว่า ภิกษุรูปใด สมาทานการอยู่ป่าเป็นวัตร-_ _ ฯลฯ _ _ เป็นผู้ปรารภความเพียร และทั้งกล่าวสรรเสริญ การกระทำเช่นนั้น ด้วย พระเถระทั้งหลาย ย่อมนิมนต์เธอนั้นด้วย อาสนะ ด้วยคำเป็นต้นว่า “มาเถิด ภิกษุ ! ภิกษุรูปนี้ชื่ออะไร ? ภิกษุนี้ช่างมีวาสนาจริง ! ทั้งเป็นผู้ใคร่ต่อการปฏิบัติจริงด้วย ! มาเถิด ภิกษุ ! นิมนต์ท่าน จงนั่งอาสนะนี้” ดังนี้. พวกภิกษุผู้บวชใหม่เหล่านั้น ก็พากันประพฤติเพื่อให้เป็นเช่นนั้น และข้อนั้น ย่อม เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกภิกษุเหล่านั้นเอง สิ้นกาลนาน.


434
สมภารถูกหลัก

         ภิกษุท. !ภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่างเหล่านี้แล้วควรได้รับการ ยกย่อง ให้เป็นเจ้าอาวาส.
         ห้าอย่างอะไรบ้างเล่า ? ห้าอย่างคือ
         (๑) เจ้าอาวาส สมบูรณ์ด้วยมรรยาท สมบูรณ์ด้วยวัตร.
         (๒) เจ้าอาวาส นพหุสูต เป็นเจ้าตำรับ.
         (๓) เจ้าอาวาส เป็นผู้ปฏิบัติขัดเกลากิเลส ยินดีในการหลีกเร้น ยินดีในกัลยาณธรรม. สมบูรณ์ด้วยมรรยาท สมบูรณ์ด้วยวัตร. เป็นพหุสูต เป็นเจ้าตำรับ. เป็นผู้ปฏิบัติขัดเกลากิเลส ยินดีในการหลีกเร้น ยินดี
         (๔) เจ้าอาวาส มีวาจาอ่อนหวาน พูดเพราะหู.
         (๕) เจ้าอาวาส มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เงอะงะ.
         ภิกษุท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่างเหล่านี้แล้ว ควรได้รับการยกย่อง ให้เป็นเจ้าอาวาสแล.


435
สมภารไม่ติดถิ่น

         ภิกษุท. ! อานิสงส์ในการอยู่อย่างมีจุดหมาย ห้าอย่างเหล่านี้มีอยู่. ห้าอย่าง อะไรบ้าง เล่า ? ห้าอย่างคือ

         (๑) เธอ ย่อมไม่มีความตระหนี่ที่อยู่ (คือไม่หวงเสนาสนะที่สบาย ๆ เมื่อมีผู้อื่นมา อยู่ด้วย ก็แบ่งให้อยู่อาศัย ด้วยความเต็มใจ).

         (๒) เธอ ย่อมไม่มีความตระหนี่สกุลอุปัฏฐาก (คือยินดีให้ภิกษุอื่นรู้จักมักคุ้น ด้วยสกุลอุปัฏฐากของตน).

         (๓) เธอ ย่อมไม่มีการหวงลาภ (คือการอยู่อย่างมีจุดหมาย ไม่คิดสะสมสิ่งของ จึงไม่มีการหวงสิ่งของต่าง ๆ ไว้เพื่อการสะสม ยินดีแจกจ่ายลาภที่เกิดขึ้นเสมอ).

         (๔) เธอ ย่อมไม่มีการหวงชื่อเสียง เกียรติยศ (คือมีมุทิตาจิตกับผู้ที่ได้รับชื่อเสียง ในถิ่นนั้น).

         (๕) เธอ ย่อมไม่มีการหวงคุณธรรม (คือมีใจหวังอนุเคราะห์ให้ผู้อื่นเจริญ ด้วยปริยัติ ธรรม ปฏิปัตติธรรม และปฏิเวธธรรม ไม่คิดว่าจะเป็นคู่แข่งที่ครอบงำตน).

         ภิกษุท. ! อานิสงส์ในการอยู่อย่างมีจุดหมาย มีห้าอย่างเหล่านี้แล.


435-2
สมภารไม่ติดที่อยู่

         ภิกษุท. ! อานิสงส์ในการอยู่อย่างมีจุดหมาย ห้าอย่างเหล่านี้มีอยู่. ห้าอย่างอะไรบ้างเล่า ? ห้าอย่างคือ
         (๑) ภิกษุอยู่อย่างมีจุดหมาย ย่อมไม่มีภัณฑะสิ่งของมาก ไม่เป็น ผู้ชอบสะสมสิ่งของ ไว้มาก.
         (๒) ภิกษุอยู่อย่างมีจุดหมาย ย่อมไม่มีเภสัชมาก ไม่เป็นผู้ชอบ สะสมเภสัชไว้มาก.
         (๓) ภิกษุอยู่อย่างมีจุดหมาย ย่อมไม่มีกิจมาก ไม่มีการงานที่ต้อง จัดต้องทำมาก จึงเอาดีในหน้าที่ของสมณะโดยตรงได้.
         (๔) ภิกษุอยู่อย่างมีจุดหมาย ย่อมไม่มีการคลุกคลีกับคฤหัสถ์และ บรรพชิต ด้วยการ คลุกคลี กันอย่างแบบคฤหัสถ์อันเป็นสิ่งไม่สมควรแก่สมณะ.
         (๕) ภิกษุอยู่อย่างมีจุดหมาย จะจากถิ่นที่อยู่นั้นไป เธอ ย่อมจากไปด้วยจิตที่ไม่ ห่วงใย.
         ภิกษุท. ! อานิสงส์ในการอยู่อย่างมีจุดหมาย มีห้าอย่างเหล่านี้แล.


436
สวรรค์ของสมภารเจ้าวัด

         ภิกษุท. ! ภิกษุเจ้าอาวาส ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่างแล้ว ย่อมบันเทิงใจ เหมือนถูกพาตัวไปเก็บไว้ในสวรรค์ฉะนั้น. องค์ประกอบห้า อย่างอะไรบ้างเล่า ? ห้าอย่างคือ
         (๑) ภิกษุเจ้าอาวาส ย่อมใคร่ครวญ ไต่สวนให้รอบคอบเสียก่อน กล่าวตำหนิคน ที่ควรตำหนิ.
         (๒) ภิกษุเจ้าอาวาส ย่อมใคร่ครวญ ไต่สวนให้รอบคอบเสียก่อนกล่าว ยกย่องคนที่ควร ยกย่อง.
         (๓) ภิกษุเจ้าอาวาส ย่อมใคร่ครวญ ไต่สวนให้รอบคอบเสียก่อนแสดง ความไม่เลื่อม ใสให้ปรากฏ ในฐานะอันไม่เป็นที่ตั้ง แห่งความเลื่อมใส.
         (๔) ภิกษุเจ้าอาวาส ย่อมใคร่ครวญ ไต่สวนให้รอบคอบเสียก่อนแสดง ความเลื่อมใส ให้ปรากฏ ในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส.
         (๕) ภิกษุเจ้าอาวาส ไม่ทำไทยทานที่ทายกถวายด้วยศรัทธาให้ตกเสียไป.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเจ้าอาวาส ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมบันเทิงใจเหมือนถูกพาตัวไปเก็บไว้ในสวรรค์ฉะนั้นแล.

หมวดที่สิบแปด จบ.



ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์

หมวดที่ ๑๙


ว่าด้วย เนื้อนาบุญของโลก


441
เนื้อนาบุญ เกิดจากองค์สาม มีศีลเป็นต้น

         ภิกษุท. ! ม้าอาชาไนยพันธ์ดีของพระราชา ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบ สามอย่างแล้ว ย่อมเป็นม้าที่คู่ควรแก่พระราชา เป็นราชพาหนะได้และนับว่า เป็นของคู่บารมีของพระราชา ด้วย. องค์ประกอบสามอย่างอะไรบ้างเล่า ? สาม อย่างคือ ม้าอาชาไนยพันธ์ดีของพระราชา ในกรณีนี้ เป็นม้าสมบูรณ์ด้วยสี๑ สมบูรณ์ด้วยกำลัง ๑ สมบูรณ์ด้วยความไว ๑.

         ภิกษุท. ! ม้าอาชาไนย พันธ์ดีของพระราชา ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบสามอย่าง เหล่านี้แล้ว ย่อม เป็นม้าที่คู่ควรแก่พระราชา เป็นราชพาหนะได้และนับว่าเป็นของคู่บารมี ของพระราชาด้วย

         ภิกษุท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุเมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบ สามอย่างแล้ว ย่อม เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของ ทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

         องค์ประกอบสามอย่างอะไรบ้างเล่า ? สามอย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย สี๑ สมบูรณ์ด้วยกำลัง ๑ สมบูรณ์ด้วยความไวแห่งปัญญา ๑.

        
ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสีเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วย มรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นเป็นภัยในโทษ ทั้งหลาย แม้ที่ถือกันว่าเป็น โทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุท. ! ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสี.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภ ความเพียร เพื่อละสิ่งอันเป็นอกุศลทั้งหลาย เพื่อยังสิ่งอันเป็นกุศล ทั้งหลาย ให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลังแข็งขัน ทำความเพียร ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. ภิกษุท. ! ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่า เป็นผู้สมบูรณ์ ด้วยกำลัง.

         ภิกษุท.! ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความไวแห่งปัญญา เป็น อย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “ทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ” ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “เหตุให้เกิดทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ” ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็น เช่นนี้ๆ” ย่อมรู้ชัด ตามที่เป็นจริงว่า “ข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ” ดังนี้. ภิกษุท. ! ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความไวแห่งปัญญา.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบสามอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ควรแก่ ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควร ทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.


443
เนื้อนาบุญ เกิดจากการมีสังวร

         ภิกษุท. ! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบหกอย่างแล้ว ย่อมเป็น ผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อ นาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า. องค์ประกอบหกอย่างอะไรบ้างเล่า ? หกอย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้

         (๑) ได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่เกิดความยินดียินร้าย มีจิตมัธยัสถ์เป็นกลาง มีความระลึก ได้ และรู้สึกตัวอยู่เป็นประจำ.
         (๒) ได้ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ไม่เกิดความยินดียินร้าย มีจิตมัธยัสถ์เป็นกลาง มีความระลึก ได้ และรู้สึกตัวอยู่เป็นประจำ.
         (๓) ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ไม่เกิดความยินดียินร้าย มีจิตมัธยัสถ์เป็นกลาง มีความระลึก ได้ และรู้สึกตัวอยู่เป็นประจำ.
         (๔) ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ไม่เกิดความยินดียินร้าย มีจิตมัธยัสถ์เป็นกลาง มีความระลึก ได้ และรู้สึกตัวอยู่เป็นประจำ.
         (๕) ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่เกิดความยินดียินร้าย มีจิต มัธยัสถ์เป็นกลาง มีความระลึก ได้ และรู้สึกตัวอยู่เป็นประจำ.
         (๖) ได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่เกิดความยินดียินร้าย มีจิต มัธยัสถ์เป็นกลาง มีความระลึก ได้ และรู้สึกตัวอยู่เป็นประจำ.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบหกอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ควรแก่ ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควร ทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มี นาบุญอื่นยิ่งกว่า.


444
เนื้อนาบุญ เกิดจากการเป็นอยู่ชอบ

ภิกษุท. ! ภิกษุบริษัทนี้ไม่เหลวไหลเลย.
ภิกษุท. ! ภิกษุบริษัทนี้ไม่เหลวแหลกเลย.
ภิกษุท. !ภิกษุบริษัทนี้ ตั้งอยู่แล้วในธรรมที่เป็นสาระล้วน.
ภิกษุท. ! ภิกษุสงฆ์ประเภทเดียวนี้เท่านั้น ภิกษุบริษัทประเภทเดียวนี้เท่านั้น เป็นบริษัทที่หาดูได้ยากในโลก.

         ภิกษุท. ! ภิกษุสงฆ์ประเภทเดียวนี้เท่านั้น ภิกษุบริษัทประเภทเดียวนี้เท่านั้น เป็นบริษัทที่ควรแก่ ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็น เนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

         ภิกษุท. ! ภิกษุสงฆ์ประเภทเดียวนี้เท่านั้น ภิกษุบริษัทประเภทเดียวนี้เท่านั้น เป็นบริษัท ที่ทายกถวายทานด้วยสิ่งของเล็กน้อย แต่กลับมีผลมาก ทายกถวายทาน เป็นอันมาก ผลก็ยิ่งเพิ่มขึ้นตามส่วน.

         ภิกษุท. ! ภิกษุสงฆ์ประเภทเดียวนี้เท่านั้น ภิกษุบริษัทประเภทเดียวนี้เท่านั้น เป็นบริษัทที่ ควรจะไปดูไปเห็น แม้จะต้องเดินสิ้นหนทางนับด้วย โยชน์ๆ หรือถึงกับ ต้องพาเอาห่อเสบียงไปด้วยก็ควร.

         ภิกษุท. ! ภิกษุสงฆ์ประเภทเดียวนี้เท่านั้น ซึ่ง พวกภิกษุผู้ถึงความ เป็นเทพ ก็มีอยู่ในภิกษุสงฆ์นี้ พวกภิกษุผู้ถึงความเป็นพรหม ก็มีอยู่ใน ภิกษุสงฆ์นี้ พวกภิกษุผู้ถึง อาเนญชา ก็มีอยู่ในภิกษุสงฆ์นี้ พวกภิกษุผู้ถึง ความเป็นอริยะ ก็มีอยู่ในภิกษุสงฆ์นี้.

         ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ถึงความเป็นเทพ เป็นอย่างไรเล่า ?
         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสงัดจากกามและสงัดจากสิ่งอันเป็นอกุศลทั้งหลาย จึงบรรลุฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่ เพราะสงบวิตกวิจาร เสียได้จึงบรรลุฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจ ในภายใน ทำให้เกิดสมาธิ มีอารมณ์ อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอัน เกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่ เพราะความจางไปแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย จึงบรรลุฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระ อริยะเจ้ากล่าวว่า “

         ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข” ดังนี้แล้ว แลอยู่ เพราะละสุข และ ละทุกข์เสียได้ และเพราะ ความดับหายไปแห่ง โสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงบรรลุ ฌานที่สี่ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความ ที่สติเป็น ธรรมชาติ บริสุทธ์ิเพราะอุเบกขา แล้ว แลอยู่. ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ถึงความเป็นเทพ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.

         ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ถึงความเป็นพรหม เป็นอย่างไรเล่า ?
         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้แผ่จิตอันประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา สู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ที่สาม และที่สี่โดยลักษณะอย่างเดียวกันตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องตํ่า และด้านขวาง ด้วยจิตอันประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อันไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท เป็นจิตกว้างขวางประกอบ ด้วยคุณอันใหญ่หลวง หาประมาณ มิได้แล้วแลอยู่. ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ถึงความเป็นพรหม ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.

         ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ถึง อาเนญชา เป็นอย่างไรเล่า ?
         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะผ่านพ้นการกำหนดหมายในรูปเสียได้ เพราะ ความดับ แห่งการกำหนดหมายในอารมณ์ที่ขัดใจ

และเพราะการไม่ทำในใจ ซึ่งการ กำหนดหมายในภาวะต่าง ๆ เสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่

เพราะผ่านพ้น อากาสานัญจายตนะ เสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” ดังนี้ แล้วแล อยู่

เพราะผ่านพ้น วิญญาณัญจายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไร ๆ ไม่มี” ดังนี้ แล้วแลอยู่

เพราะผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะ เสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง เนวสัญญานา สัญญายตนะ แล้วแลอยู่. ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ถึง อาเนญชา ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.

         ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ถึงความเป็นอริยะ เป็นอย่างไรเล่า ?

         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “ทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ”
         ย่อมรู้ชัด ตามเป็นจริงว่า “เหตุให้เกิดทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ”
         ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ”
         ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “ข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ” ดังนี้.
          ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ถึงความเป็นอริยะ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.


447
เนื้อนาบุญ เกิดจากการไม่ทำไปตามอำนาจกิเลส

         ภิกษุท. ! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบหกอย่างแล้ว ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า. องค์ประกอบหกอย่าง อะไรบ้างเล่า ? หกอย่างคือ
         ภิกษุท. ! ในกรณีนี้กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วย การสังวร

ภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วย การสังวร ๑
         กิเลส เป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วยการเสพ
ภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลส เหล่านั้นได้แล้วด้วย การเสพ ๑
         กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึง ละได้ด้วยการอดกลั้น
ภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วย การอดกลั้น ๑
         กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วยการงดเว้น
ภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วย การงดเว้น ๑
         กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่า ใด จะพึงละได้ด้วยการบรรเทา
ภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วย การ บรรเทา ๑
         กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วยภาวนา
ภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วย ภาวนา ๑.

         ภิกษุท. ! กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วยการสังวร ภิกษุก็เป็น ผู้ละกิเลส เหล่านั้น ได้แล้วด้วย การสังวร เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณา โดยแยบคาย แล้วเป็นผู้สำรวม ด้วยการสังวรใน อินทรีย์คือ ตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ อันเป็นอินทรีย์ที่เมื่อ ภิกษุ ไม่สำรวมแล้ว กิเลสเป็นเครื่อง เศร้าหมอง จิตทั้งหลาย อันเป็น เครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น และเมื่อภิกษุสำรวมแล้วเป็นอยู่ กิเลส เป็นเครื่อง เศร้าหมองจิตทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึง บังเกิดขึ้น แก่ภิกษุนั้น.

         ภิกษุท. ! ข้อนี้เป็นเพราะเมื่อภิกษุไม่สำรวม ด้วยอาการ อย่างนี้ กิเลสเป็นเครื่อง เศร้าหมองจิต ทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและ เร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น และเมื่อภิกษุ สำรวมแล้วเป็นอยู่กิเลสเป็นเครื่อง เศร้าหมองจิต ทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้น แก่ภิกษุนั้น. ภิกษุท. ! กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมอง จิตเหล่านี้แล ที่เรา เรียกว่า กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต อันจะพึงละได้ ด้วยการสังวร ซึ่งภิกษุนั้นละได้แล้ว ด้วยการสังวร.

         ภิกษุท. ! กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วย การเสพ ซึ่งภิกษุ ก็เป็นผู้ละ กิเลสเหล่านั้น ได้แล้วด้วย การเสพ เป็นอย่างไร เล่า ?

         ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงนุ่งห่มจีวร เพียงเพื่อบำบัด ความหนาว เพื่อบำบัด ความร้อน เพื่อบำบัดสัมผัสเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เสือกคลาน ทั้งหลาย เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ ที่ให้ความอาย กำเริบ เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงบริโภค บิณฑบาต ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ได้เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อป้องกันความ ลำบาก เพื่ออนุเคราะห์ พรหมจรรย์ ด้วยคิด ว่า เราจักกำจัดเวทนาเก่า (คือหิว) เสีย แล้วไม่ทำเวทนาใหม่ (คืออิ่มจนอึดอัด) ให้เกิดขึ้น.

         ความที่อายุดำเนินไปได้ ความไม่มีโทษเพราะอาหาร และความอยู่ผาสุกสำราญ จักมีแก่เรา เธอพิจารณา โดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยเสนาสนะ เพียงเพื่อบำบัดความหนาว เพื่อบำบัดความร้อน เพื่อบำบัดสัมผัสเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย เพียงเพื่อ บรรเทาอันตรายแต่ฤดู และเพื่อความเป็นผู้ยินดีในการหลีกเร้นอยู่ เธอพิจารณาโดยแยบคาย แล้ว จึงบริโภค หยูกยา ซึ่งเป็นปัจจัย เกื้อกูล แก่คนไข้เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนา อันเกิดจาก อาพาธ ต่าง ๆ และเพียงเพื่อความ เป็นผู้ไม่ต้องทนทุกข์เป็นอย่างยิ่ง.

         ภิกษุท. ! ข้อนี้เป็น เพราะ เมื่อภิกษุไม่พิจารณาแล้วเสพ ด้วยอาการอย่างนี้ กิเลสเป็น เครื่องเศร้า หมอง จิตทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น และเมื่อ ภิกษุพิจารณาแล้ว จึงเสพอยู่กิเลส เป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งหลาย อันเป็นเครื่อง คับแค้น และเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้น แก่ภิกษุนั้น.

         ภิกษุท. ! กิเลสเป็นเครื่อง เศร้าหมองจิตเหล่านี้แล ที่เราเรียกว่า กิเลสเป็นเครื่องเศร้า หมอง จิต อันจะพึงละ ได้ด้วยการเสพ ซึ่งภิกษุนั้นละได้แล้วด้วยการเสพ.

         ภิกษุท. ! กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วย การอดกลั้น ซึ่งภิกษุ ก็เป็นผู้ละ กิเลส เหล่านั้น ได้แล้วด้วย การอดกลั้น เป็น อย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อดทนต่อ ความหนาว ต่อ ความร้อน เป็นผู้อดทนต่อความหิว ต่อความกระหาย เป็นผู้อดทนต่อสัมผัสอันเกิด จาก เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือก คลานทั้งหลาย เป็นผู้มีชาติแห่งบุคคลผู้อดกลั้นต่อคลอง แห่งถ้อยคำ อันหยาบคาย อันว่าร้าย และเป็นผู้อดกลั้นต่อ ทุกขเวทนาในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้ว อย่างกล้าแข็ง แสบเผ็ด ขมขื่น ไม่เป็นที่สบายใจ หรือจวนจะถึงแก่ชีวิตได้.

         ภิกษุท.! ข้อนี้เป็นเพราะเมื่อภิกษุไม่อดกลั้นอดทนด้วย อาการอย่างนี้ กิเลสเป็นเครื่อง เศร้าหมองจิต ทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและ เร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น และเมื่อภิกษุ อดกลั้น อดทน อยู่กิเลส เป็นเครื่องเศร้าหมอง จิตทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น.

         ภิกษุท. ! กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่านี้แล ที่เราเรียกว่า กิเลสเป็นเครื่อง เศร้าหมองจิต อันจะพึง ละได้ด้วยการอดกลั้น ซึ่งภิกษุนั้นละได้แล้วด้วยการอดกลั้น.

         ภิกษุท. ! กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วย การงดเว้น ซึ่งภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลส เหล่านั้น ได้แล้วด้วย การงดเว้น เป็นอย่างไร เล่า ? ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมงดเว้น จากช้างดุ ม้าดุ โคดุ สุนัขดุ ; งูหลักตอ ขวากหนาม ห้วยเหว บ่อของ โสโครก หลุมอุจจาระ๑ และงดเว้นที่ที่ ไม่ควรนั่ง ที่ไม่ควรไป และการ คบพวกเพื่อนที่ลามก อันวิญญูชนเพื่อนพรหมจรรย์ด้วยกัน ทั้งหลาย จัดไว้ใน ฐานะ ที่ตํ่าทราม ภิกษุนั้นพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมงดเว้นที่ที่ไม่ควรนั่ง ที่ไม่ควร ไป นั้น ๆ เสีย และย่อมงดเว้นพวกเพื่อนที่ลามกเหล่านั้นเสียโดยสิ้นเชิง.

         ภิกษุท. ! ข้อนี้เป็นเพราะเมื่อภิกษุไม่งดเว้น ด้วยอาการอย่างนี้ กิเลสเป็นเครื่อง เศร้าหมองจิต ทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น และเมื่อภิกษุ งดเว้นอยู่กิเลสเป็นเครื่อ งเศร้าหมอง จิตทั้งหลาย อันเป็นเครื่อง คับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุท. ! กิเลสเป็น เครื่องเศร้าหมองจิตเหล่านี้แล ที่เราเรียกว่า กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต อันจะพึงละ ได้ด้วยการงดเว้น ซึ่งภิกษุนั้นละได้แล้วด้วยการงดเว้น.

         ภิกษุท. ! กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วย การบรรเทา ซึ่งภิกษุก็เป็นผู้ละ กิเลสเหล่านั้น ได้แล้วด้วย การบรรเทา เป็นอย่างไร เล่า ? ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณา โดยแยบคายแล้ว ย่อมไม่รับเอา ไว้ในใจ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นสุด ย่อมทำให้ถึงความ มีไม่ได้ซึ่งกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก อันบังเกิดขึ้นแล้ว และย่อมไม่รับเอาไว้ในใจ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นสุด ย่อมทำให้ถึงความมีไม่ได้ ซึ่งสิ่งอันเป็นอกุศลลามกทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว.

         ภิกษุท. ! ข้อนี้เป็นเพราะ เมื่อภิกษุไม่บรรเทา ด้วยอาการอย่างนี้ กิเลสเป็นเครื่อง เศร้าหมองจิต ทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น และ เมื่อภิกษุ บรรเทา อยู่กิเลสเป็นเครื่อง เศร้าหมองจิตทั้งหลาย อันเป็นเครื่อง คับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น.

         ภิกษุท. ! กิเลสเป็น เครื่องเศร้าหมองจิตเหล่านี้แล ที่เราเรียกว่า กิเลสเป็นเครื่อง เศร้าหมองจิต อันจะพึงละได้ด้วยการบรรเทา ซึ่งภิกษุนั้นละได้แล้วด้วยการบรรเทา.

         ภิกษุท. ! กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วย ภาวนา ซึ่งภิกษุ ก็เป็นผู้ละ กิเลสเหล่านั้น ได้แล้วด้วย ภาวนา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณา โดยแยบคายแล้ว ย่อมอบรม สติสัมโพชฌงค์ ย่อมอบรมธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมอบรมวิริยสัมโพชฌงค์ ย่อม อบรมปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมอบรมปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อม อบรมสมาธิสัม โพชฌงค์ ย่อมอบรม อุเปกขาสัมโพชฌงค์อัน (แต่ละอย่าง ๆ) ย่อมอาศัย วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ และน้อมไป เพื่อความปล่อย.

         ภิกษุท. ! ข้อนี้เป็นเพราะ เมื่อภิกษุไม่ภาวนา ด้วยอาการอย่างนี้ กิเลสเป็นเครื่องเศร้า หมองจิตทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น และ เมื่อภิกษุภาวนา อยู่กิเลส เป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับ แค้นและเร่าร้อน จะไม่พึง บังเกิดขึ้น แก่ภิกษุนั้น.

         ภิกษุท. ! กิเลสเป็น เครื่องเศร้าหมองจิตเหล่านี้แล ที่เราเรียกว่า กิเลสเป็นเครื่อง เศร้าหมอง จิตอันจะพึงละได้ด้วยภาวนา ซึ่งภิกษุนั้นละได้แล้วด้วยภาวนา.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบหกอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ควรแก่ ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควร ทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.


452
เนื้อนาบุญ เกิดจากการไม่เป็นทาสตัณหา

         ภิกษุท. ! ม้าอาชาไนยพันธ์ดีของพระราชา ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบ หกอย่างแล้ว ย่อมเป็นม้าที่คู่ควรแก่พระราชา เป็นราชพาหนะได้และนับว่า เป็นของคู่บารมีของพระราชา ด้วย. องค์ประกอบหกอย่างอะไรบ้างเล่า ? หกอย่างคือ ม้าอาชาไนยพันธ์ดีของพระราชา ในกรณีนี้
(๑) เป็นม้าอดทนต่อรูปทั้งหลาย.
(๒) เป็นม้าอดทนต่อเสียงทั้งหลาย.
(๓) เป็นม้าอดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย.
(๔) เป็นม้าอดทนต่อรสทั้งหลาย.
(๕) เป็นม้าอดทนต่อสัมผัสทางกายทั้งหลาย.
(๖) เป็นม้าสมบูรณ์ด้วยกำลัง.

         ภิกษุท. ! ม้าอาชาไนยพันธ์ดีของพระราชา ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบหกอย่าง เหล่านี้ แล้ว ย่อมเป็นม้าที่คู่ควรแก่พระราชา เป็นราชพาหนะ ได้และนับว่าเป็นของ คู่บารมีของพระราชาด้วย

         ภิกษุท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุเมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบหกอย่าง แล้ว ย่อม เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. องค์ประกอบ หกอย่างอะไรบ้างเล่า ? หกอย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้ :
(๑) เป็นผู้อดได้เฉยได้ต่อความยั่วใจของ รูปทั้งหลาย.
(๒) เป็นผู้อดได้เฉยได้ต่อความยั่วใจของ เสียงทั้งหลาย.
(๓)เป็นผู้อดได้เฉยได้ต่อความยั่วใจของกลิ่นทั้งหลาย.
(๔)เป็นผู้อดได้เฉยได้ต่อความยั่วใจของรสทั้งหลาย.
(๕)เป็นผู้อดได้เฉยได้ต่อความยั่วใจของสัมผัสทางกายทั้งหลาย.
(๖)เป็นผู้อดได้เฉยได้ต่อความยั่วใจของธรรมารมณ์ทั้งหลาย.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบหกอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อม เป็นผู้ควรแก่ ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.



453
เนื้อนาบุญ เกิดจากการพิจารณาเห็นธรรม

         ภิกษุท. ! บุคคล เจ็ด จำพวกเหล่านี้เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. เจ็ด จำพวกอะไร บ้างเล่า ? เจ็ด จำพวกคือ

         ภิกษุท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้มีปรกติพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ในสังขาร ทั้งหลายทั้งปวง เป็นอยู่มีความกำหนดหมายในความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ กำหนดรู้พร้อม เฉพาะในความไม่เที่ยง เป็นผู้ฝังใจอย่างติดต่อสมํ่าเสมอ ไม่ขาดตกบกพร่อง ในความไม่เที่ยง ถือเอารอบอยู่ (ซึ่งธรรมนั้น) ด้วยปัญญา บุคคลนั้น ได้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโต วิมุตติปัญญา วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไป แห่ง อาสวะทั้งหลายด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลอยู่.

         ภิกษุท. ! นี่แล เป็นบุคคลแรก ซึ่ง เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

         ภิกษุท. ! ข้อต่อไปอีกคือ บุคคลบางคนในกรณีนี้มีปรกติพิจารณา เห็นความไม่เที่ยง ในสังขาร ทั้งหลาย ทั้งปวงเป็นอยู่มีความกำหนดหมายใน ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ กำหนดรู้พร้อมเฉพาะ ในความไม่เที่ยง เป็นผู้ฝังใจ อย่างติดต่อสมํ่าเสมอไม่ขาดตก บกพร่อง ในความไม่เที่ยง ถือเอารอบอยู่ (ซึ่ง ธรรมนั้น) ด้วยปัญญา อนึ่ง ความสิ้นอาสวะ และความ สิ้นชีวิต ของ บุคคลนั้น มีขึ้นไม่ก่อนไม่หลังกว่ากัน (คือมรณภาพพร้อมกับความสิ้น อาสวะ).

         ภิกษุท. ! นี่แล เป็นบุคคลที่สอง ซึ่ง เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของ ต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญ อื่นยิ่งกว่า.

         ภิกษุท. ! ข้อต่อไปอีกคือ บุคคลบางคนในกรณีนี้มีปรกติพิจารณา เห็นความไม่เที่ยง ในสังขาร ทั้งหลายทั้งปวงเป็นอยู่มีความกำหนดหมายใน ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ กำหนด รู้พร้อมเฉพาะ ในความ ไม่เที่ยง เป็นผู้ฝังใจ อย่างติดต่อสมํ่าเสมอ ไม่ขาดตกบกพร่อง ในความไม่เที่ยง ถือเอารอบอยู่(ซึ่งธรรมนั้น) ด้วยปัญญา บุคคลนั้น เพราะความสิ้นไปรอบ แห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็น อันตราปรินิพพายีบุคคล. ๑ ภิกษุท. ! นี่แลเป็นบุคคลที่สาม ซึ่ง เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

         ภิกษุท. ! ข้อต่อไปอีกคือ บุคคลบางคนในกรณีนี้มีปรกติพิจารณา เห็นความไม่เที่ยง ในสังขาร ทั้งหลาย ทั้งปวงเป็นอยู่มีความกำหนดหมายใน ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ กำหนด รู้พร้อมเฉพาะในความ ไม่เที่ยง เป็นผู้ฝังใจอย่างติดต่อสมํ่าเสมอ ไม่ขาดตกบกพร่อง ในความไม่เที่ยง ถือเอารอบอยู่(ซึ่งธรรมนั้น) ด้วยปัญญา บุคคลนั้น เพราะความสิ้นไปรอบ แห่ง สัญโญชน์เบื้อง ตํ่า ๕ เป็น อุปหัจจปรินิพพายีบุคคล๑ . ภิกษุท. ! นี่แล เป็นบุคคลที่สี่ซึ่ง เป็น ผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อ นาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

         ภิกษุท. ! ข้อต่อไปอีกคือ บุคคลบางคนในกรณีนี้มีปรกติพิจารณา เห็นความไม่เที่ยง ในสังขาร ทั้งหลาย ทั้งปวงเป็นอยู่มีความกำหนดหมายใน ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ กำหนดรู้พร้อมเฉพาะในความ ไม่เที่ยง เป็นผู้ฝัง ใจอย่างติดต่อสมํ่าเสมอไม่ขาดตกบกพร่อง ในความไม่เที่ยง ถือเอารอบอยู่(ซึ่งธรรมนั้น) ด้วยปัญญา บุคคลนั้น เพราะความสิ้นไปรอบ แห่ง สัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็น อสังขารปรินิพพายีบุคคล๒ . ภิกษุท. ! นี่แล เป็นบุคคลที่ห้า ซึ่งเป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำ อัญชลี เป็นเนื้อนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

         ภิกษุท. ! ข้อต่อไปอีกคือ บุคคลบางคนในกรณีนี้มีปรกติพิจารณา เห็นความไม่เที่ยง ในสังขาร ทั้งหลาย ทั้งปวงเป็นอยู่มีความกำหนดหมายใน ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ กำหนดรู้พร้อมเฉพาะ ในความ ไม่เที่ยง เป็นผู้ฝังใจ อย่างติดต่อสมํ่าเสมอ ไม่ขาดตกบกพร่อง ในความไม่เที่ยง ถือเอารอบอยู่ (ซึ่ง ธรรมนั้น) ด้วยปัญญา บุคคลนั้น เพราะความสิ้นไปรอบ แห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็น สสังขารปรินิพพายีบุคคล . ภิกษุท. ! นี่แล เป็นบุคคลที่หก ซึ่งเป็น ผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อ นาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

         ภิกษุท. ! ข้อต่อไปอีกคือ บุคคลบางคนในกรณีนี้มีปรกติพิจารณา เห็นความไม่เที่ยง ในสังขาร ทั้งหลายทั้งปวงเป็นอยู่มีความกำหนดหมายใน ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ กำหนด รู้พร้อมเฉพาะใน ความไม่เที่ยง เป็นผู้ฝัง ใจอย่างติดต่อสมํ่าเสมอไม่ขาดตกบกพร่อง ในความไม่เที่ยง ถือเอารอบอยู่ (ซึ่งธรรมนั้น) ด้วยปัญญา บุคคลนั้น เพราะความสิ้นไปรอบ แห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็น ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ . ภิกษุท. ! นี่แล เป็น บุคคลที่เจ็ด ซึ่ง เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควร ทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.
----------------------------------------------------
๑. บุคคลผู้ปรินิพพาน โดยต้องทำความเพียรมาก.
๒. บุคคลผู้ละสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ อย่างได้แล้ว จักเกิดโดยวิธีแห่งโอปปาติกะกำเนิด ในชั้น สุทธาวาสขึ้นไปจนถึงชั้นอกนิฏฐภพ แล้วละสัญโญชน์เบื้องบนเพิ่มขึ้นอีก ๕ อย่าง ก็บรรลุ อรหัตตผล แล้วก็ปรินิพพานในที่นั้น.

----------------------------------------------------


(อีกสูตรหนึ่ง)1
ภิกษุท. ! บุคคล เจ็ดจำพวกเหล่านี้เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของ ต้อนรับ ควรแก่ของ ทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. เจ็ด จำพวกอะไรบ้างเล่า ? เจ็ด จำพวก คือ :-

ภิกษุท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้มีปรกติพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ในสังขารทั้งหลายทั้งปวง เป็นอยู่. _ _ _ฯลฯ_ _ _ (ข้อความต่อไปของสูตรนี้เป็นไปทำนอง เดียวกันกับสูตรก่อน ผิดกันแต่สูตรนี้กล่าวถึงความเป็น ทุกข์แทนที่จะกล่าวถึงความไม่เที่ยง ผู้อ่านอาจ เติมข้อความให้เต็มได้ด้วยตนเอง โดยใส่คำว่า “ความเป็นทุกข์ ” แทนคำว่า “ความไม่เที่ยง” เท่านั้น จึงไม่เรียงไว้ตลอดทั้งสูตร ในที่นี้).

(อีกสูตรหนึ่ง)๒
ภิกษุท. ! บุคคล เจ็ด จำพวกเหล่านี้เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของ ทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. เจ็ด จำพวกอะไรบ้างเล่า ? เจ็ด จำพวกคือ

ภิกษุท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้มีปรกติพิจารณาเห็นความเป็น อนัตตาในธรรมทั้งหลาย ทั้งปวง เป็นอยู่._ _ฯลฯ_ _ (ข้อความต่อไปของสูตรนี้ก็เป็น ไปทำนองเดียวกับสูตรแรก ผิดกันแต่สูตรนี้กล่าว ถึงความเป็น อนัตตา แทนที่จะกล่าวถึงความไม่เที่ยง และ ความเป็นทุกข์ ผู้อ่านอาจเติมข้อความ ให้เต็มได้ด้วยตนเอง จึงไม่เรียงไว้ตลอดทั้งสูตร).

(อีกสูตรหนึ่ง)๓

ภิกษุท. ! บุคคล เจ็ด จำพวกเหล่านี้เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของ ทำบุญ ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. เจ็ด จำพวกอะไรบ้าง เล่า ? เจ็ด จำพวกคือ

ภิกษุท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้มีปรกติพิจารณาเห็นความเป็นสุข ในนิพพานเป็นอยู่ มีความกำหนด หมาย ในความเป็นสุขอยู่เป็นประจำ กำหนด รู้พร้อมเฉพาะในความเป็นสุข เป็นผู้ฝังใจอย่างติดต่อ สมํ่าเสมอ ไม่ขาดตกบกพร่อง ในความเป็นสุข ถือเอารอบอยู่ (ซึ่งธรรมนั้น) ด้วยปัญญา บุคคลนั้น ได้กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้น ไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแล อยู่. ภิกษุท. ! นี่แล เป็น บุคคลแรก ซึ่งเป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของ ต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

ภิกษุท. ! ข้อต่อไปอีกคือ บุคคลบางคนในกรณีนี้มีปรกติพิจารณาเห็น ความเป็นสุข ในนิพพานเป็นอยู่ มีความกำหนดหมายในความเป็นสุขอยู่เป็น ประจำ กำหนดรู้พร้อมเฉพาะ ในความเป็นสุข เป็นผู้ฝังใจ อย่าง ติดต่อสมํ่าเสมอ ไม่ขาดตกบกพร่องในความเป็นสุข ถือเอารอบอยู่ (ซึ่งธรรมนั้น) ด้วยปัญญา อนึ่ง ความสิ้น อาสวะ และความสิ้นชีวิต ของบุคคลนั้น มีขึ้นไม่ก่อนไม่หลัง กว่ากัน (คือมรณภาพพร้อมกับความสิ้น อาสวะ).

ภิกษุท. ! นี่แล เป็น บุคคลที่สอง ซึ่งเป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของ ทำบุญ ควร ทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

ภิกษุท. ! ข้อต่อไปอีกคือ บุคคลบางคนในกรณีนี้มีปรกติพิจารณา เห็นความเป็นสุข ในนิพพาน เป็นอยู่มี ความกำหนดหมายในความเป็นสุข อยู่เป็นประจำ กำหนดรู้พร้อมเฉพาะ ในความเป็นสุข เป็นผู้ฝังใจอย่าง ติดต่อ สมํ่าเสมอ ไม่ขาดตกบกพร่องในความเป็นสุข ถือเอารอบอยู่ (ซึ่งธรรมนั้น) ด้วยปัญญา

บุคคลนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็นอันตราปรินิพพายีบุคคล. _
ที่สาม ซึ่งเป็นผู้ควรแก่ของบูชา_เป็น เนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

บุคคลนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็นอุปหัจจปรินิพพายีบุคคล_ _
ที่สี่ ซึ่งเป็นผู้ควร แก่ของบูชา_ _เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

บุคคลนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็นอสังขารปรินิพพายีบุคคล _ _
ที่ห้า ซึ่งเป็นผู้ควรแก่ของบูชา_ _เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า

บุคคลนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็น สสังขารปรินิพพายีบุคคล_ _
ที่หก ซึ่งเป็นผู้ควรแก่ของบูชา_ _เป็นเนื้อนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

บุคคลนั้นเพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องตํ่า ๕ เป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่ อกนิฏฐภพ.

ภิกษุท. ! นี่แล เป็น บุคคลที่เจ็ด ซึ่งเป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของ ทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า๑

ภิกษุท. ! บุคคล เจ็ด จำพวกเหล่านี้แล เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควร แก่ของต้อนรับ ควรแก่ ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.


459
เนื้อนาบุญ เกิดจากการไม่ลืมคำปฏิญาณ

         ภิกษุท. ! บุคคล แปด จำพวกเหล่านี้เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑. ข้อความแห่งสูตรนี้แปลกจากที่เราเคยทราบกันว่า ความเป็นอาหุเนยยบุคคลนั้นครอบคลุม ลงมา ถึง พระสกทาคามีและพระโสดาบันด้วย จะยุติเป็นอย่างไร ขอฝากท่านผู้รู้ทั้งหลาย ช่วยวินิจฉัยต่อไป.
๒. บาลีพระพุทธภาษิต อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๐๑/๑๔๙ ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แปดจำพวกอะไรบ้างเล่า ? แปด จำพวกคือ
(๑) พระโสดาบัน
(๒) พระผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
(๓) พระสกทาคามี
(๔) พระผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
(๕) พระอนาคามี
(๖) พระผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
(๗) พระอรหันต์
(๘) พระผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์.

         ภิกษุท. ! บุคคล แปด จำพวกเหล่านี้แล เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของ โลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

“ผู้ปฏิบัติแล้ว ๔ จำพวก และผู้ตั้งอยู่ในผลแล้ว ๔ จำพวก นี่แหละ สงฆ์ที่เป็นคนตรง เป็นผู้ ตั้งมั่น แล้วใน ปัญญา และศีล ย่อมกระทำให้เกิดบุญอื้นเนื่องด้วยอุปธิ แก่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้มีความต้องการด้วยบุญ กระทำการ บูชาอยู่ ทานที่ให้แล้วในสงฆ์จึงมีผลมาก”.




461
เนื้อนาบุญ เกิดจากการหมดพิษสงทางใจ

         ภิกษุท. ! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่างแล้ว ย่อม เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำ อัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า. องค์ประกอบห้าอย่าง อะไรบ้างเล่า ? ห้าอย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้ :
(๑) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย ศีล.
(๒) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย สมาธิ.
(๓) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย ปัญญา.
(๔) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย วิมุตติ.
(๕) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย วิมุตติญาณทัสสนะ.

(อีกสูตรหนี่ง)๒
(๑) เป็นผู้ประกอบด้วย สีลขันธ์ อันเป็น อเสขะ.
(๒) เป็นผู้ประกอบด้วย สมาธิขันธ์ อันเป็น อเสขะ.
(๓) เป็นผู้ประกอบด้วย ปัญญาขันธ์ อันเป็น อเสขะ.
(๔) เป็นผู้ประกอบด้วย วิมุตติขันธ์ อันเป็น อเสขะ.
(๕) เป็นผู้ประกอบด้วย วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ อันเป็น อเสขะ.
ภิกษุท. ! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่างเหล่านี้แล้ว

         ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควร ทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.


462
เนื้อนาบุญ เกิดเพราะได้รับการฝึกตามลำดับ๑

         ภัททาลิ ! พวกเธอ ยังมีอะไร ๆ น้อยนัก ครั้งเมื่อเราได้แสดงธรรม--ปริยายเปรียบ ด้วยม้า อาชาไนยหนุ่ม ให้แก่พวกเธอทั้งหลาย โดยสมัยนั้น. เธอ ยังระลึกอุปมาเรื่องนั้น ได้อยู่หรือ ?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็อุปมาเรื่องนั้น ข้าพระองค์ระลึกไม่ได้แล้ว พระเจ้าข้า”.

         ภัททาลิ ! ในข้อที่ระลึกไม่ได้นั้น เธออาศัยอะไรเป็นเหตุเล่า ?
“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่า ข้าพระองค์นั้น มิได้ทำให้สมบูรณ์ด้วยสิกขาใน คำสั่งสอนของ พระศาสดามาสิ้นเวลานานนักหนาแล้ว พระเจ้าข้า”.

         ภัททาลิ ! นั่น มิใช่เหตุ นั่น มิใช่ปัจจัยดอก. ที่แท้นั้นเราคอย จับดูใจของเธอด้วยใจ ของเรามานานช้า จนทราบว่า “โมฆบุรุษผู้นี้เมื่อเรา กำลังแสดงธรรมอยู่ก็หาได้ทำตน ให้เป็นคนมีความต้องการด้วยธรรมไม่กลับไม่สนใจ ไม่ประมวลเอาเข้ามาด้วยใจทั้งหมด ไม่เงี่ยโสตลงฟังธรรม” ดังนี้.

         ภัททาลิ ! ก็แต่ว่า เราจักแสดงธรรมปริยายเปรียบด้วยม้าอาชาไนยหนุ่ม ให้แก่เธอซํ้าอีก เธอจงฟังธรรมปริยายนั้น ทำในใจให้สำเร็จประโยชน์เถิด เราจักกล่าวบัดนี้.
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑. บาลีพระพุทธภาษิต ภัททาลิสูตร ม. ม. ๑๓/๑๗๕/๑๗๓ ตรัสแก่พระภัททาลิผู้หัวดื้อ ถือรั้น ไม่ยอมทำตามคำวิงวอนของพระพุทธองค์ที่ทรงชี้ชวนว่า “มาเถิด แม้พวกเธอทั้งหลาย ก็จง ฉันโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียว. พวกเธอทั้งหลาย เมื่อฉันอยู่ซึ่งโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียว จักรู้สึก ความที่เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย มีความเบากายกระปรี้กระเปร่า มีกำลังและมี ความ ผาสุก” ดังนี้. แต่เมื่อท่านภัททาลิได้ฟังธรรมเรื่อง “อุปมาด้วยม้าอาชาไนยหนุ่ม” ซํ้าเป็นครั้งที่สองก็กลับใจได้และ เข้าใจซาบซึ้งในพระพุทธดำรัสนั้น มีใจสูงขึ้นด้วยปีติแล้ว.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


เมื่อท่านภัททาลิทูลสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ดำรัสพระพุทธวจนะ นี้ต่อไปว่า :-

         ภัททาลิ ! เปรียบเหมือนคนฝึกม้าผู้สามารถ ได้ม้าอาชาไนยพันธ์ดีมาแล้ว ในชั้นแรก ย่อมฝึกให้รู้จัก การรับสวมบังเหียนก่อน. เมื่อม้านั้นถูกฝึกให้รู้จักการรับสวมบังเหียนอยู่ พยศ ต่าง ๆ ที่ม้าประพฤติเป็นข้าศึกเป็นหลักตอเสพ ผิดดิ้นรน เหมือนลักษณะของม้าที่ยังไม่เคย ถูกฝึก นั้นก็ยังมีอยู่บ้าง. ม้านั้นเพราะ ถูกฝึกเนือง ๆ และถูกฝึกซํ้า ๆ ซาก ๆ เข้าก็หมดพยศ ในข้อที่ไม่รับสวม บังเหียนนั้น.

         ภัททาลิ ! เมื่อใด ม้าอาชาไนยพันธ์ดีตัวนั้น ถูกฝึกเนือง ๆ และถูกฝึก ซํ้า ๆ ซาก ๆ เข้า จนหมด พยศในข้อนั้นแล้ว เมื่อนั้น คนฝึกม้า จึงทำการฝึก ม้าตัวนั้น ให้ยิ่งขึ้นไป ใน การเทียมแอก. เมื่อม้านั้นถูกฝึก ให้รู้จักการเทียม แอกอยู่ พยศต่าง ๆ ที่ม้าประพฤติเป็นข้าศึก เป็นหลักตอเสพผิดดิ้นรน เหมือน ลักษณะ ของม้า ที่ยังไม่เคยถูกฝึกนั้นก็ยังมีอยู่บ้าง. ม้านั้น เพราะถูกฝึกเนือง ๆ และถูกฝึกซํ้า ๆ ซาก ๆ เข้า ก็หมดพยศ ในข้อที่ไม่รับแอกนั้น.

         ภัททาลิ ! เมื่อใด ม้าอาชาไนยพันธ์ดีตัวนั้น ถูกฝึกเนือง ๆ และถูกฝึก ซํ้า ๆ ซาก ๆ เข้า จนหมดพยศ ในข้อที่ไม่รับแอกนั้นแล้ว เมื่อนั้น คนฝึกม้า จึงทำการฝึกม้าตัวนั้น ให้ยิ่งขึ้นไป
(๑) ในการแยกขากระโดดแผล็วขึ้นพร้อมกันทั้งสี่ขา
(๒) ในการเอี้ยวตะแคงตัวเป็นวงกลมจนผู้ขี่หยิบอาวุธที่ตกดินได้
(๓) ในการสามารถวิ่งจดแต่ปลายกีบจนไม่เกิดเสียง
(๔) ในความเร็วทั้งทีหนีทีไล่
(๕) ในการไม่กลัวเสียงอึกทึกทุกชนิด
(๖) ในการรู้คุณค่าของพระราชา
(๗) ในการทำตัวให้สมกับเป็นวงศ์พระยาม้า
(๘) ในความเร็วเลิศ
(๙) ในความเป็นยอดม้า
(๑๐) ในความควรแก่การฟังแต่คำที่นิ่มนวล.

         ภัททาลิ ! ม้านั้น เพราะถูกฝึกเนือง ๆ และถูกฝึกซํ้าๆ ซากๆ เข้าก็หมดพยศต่าง ๆ ในสิบข้อเหล่านั้น.

         ภัททาลิ ! เมื่อใด ม้าอาชาไนยพันธ์ดีตัวนั้น ถูกฝึกเนือง ๆ และถูกฝึก ซํ้าๆ ซากๆ เข้า จนกระทั่งหมด พยศทุกอย่างแล้ว เมื่อนั้น คนฝึกม้าก็ย่อมฝึก ม้าตัวนั้นเพิ่มเติมให้ยิ่งขึ้นไป โดยทั้งคุณภาพและกำลัง.

         ภัททาลิ ! ม้าอาชาไนยพันธ์ดีที่ประกอบด้วยองค์คุณสิบอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นม้า ที่คู่ควรแก่ พระราชา เป็นราชพาหนะได้และนับว่าเป็นของคู่บารมีของพระราชาด้วย

         ภัททาลิ ! ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุเมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบ สิบอย่างแล้ว ย่อม เป็นผู้ควร แก่ของ บูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

องค์ประกอบสิบอย่างอะไรบ้างเล่า ? สิบอย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้
(๑) เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิอัน เป็น อเสขะ.
(๒) เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมาสังกัปปะอัน เป็น อเสขะ.
(๓) เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมาวาจาอันเป็น อเสขะ.
(๔) เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมากัมมันตะอันเป็น อเสขะ.
(๕)เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะอันเป็น อเสขะ.
(๖)เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวายามะอันเป็น อเสขะ.
(๗)เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสติอันเป็น อเสขะ.
(๘)เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสมาธิอันเป็น อเสขะ.
(๙)เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาญาณอันเป็น อเสขะ.
(๑๐)เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวิมุตติอันเป็น อเสขะ.

         ภิกษุท. ! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบสิบอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ควรแก่ ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควร ทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.


465
พินัยกรรม ของ “พระสังฆบิดา”

ภิกษุท. ! บัดนี้ตถาคต ขอเตือนพวกเธอทั้งหลายไว้ว่า “สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไป เป็นธรรมดา. พวกเธอทั้งหลาย จงทำ ความไม่ประมาท ให้ถึงพร้อม เถิด” ดังนี้. นี่แล เป็นพระวาจาที่ตรัสครั้งสุดท้ายของพระตถาคตเจ้า.

หมวดที่สิบเก้า จบ.

จบขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์