ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
หมวดที่ ๗
ว่าด้วย การลืมคำปฏิญาณ
125
“กูเป็นโค !”
(ลาที่เดินตามฝูงโค แล้วร้องว่า “กูก็เป็นโค" ก็ไม่ต่างกับภิกษุ ที่ไม่ประพฤติสีลสิกขา แต่ก็ป่าวประกาศว่า ข้าเป็นภิกษุ )
ภิกษุ ท. ! ลาที่เดินตามฝูงโคไปข้างหลัง ๆ แม้จะร้องอยู่ว่า “กูก็เป็น โค กูก็เป็นโค” ดังนี้ก็ตามที แต่สีของมันก็หาเป็นโคไปได้ไม่ เสียงของ มันก็หาเป็นโคไปได้ไม่ เท้าของมันก็หาเป็นโคไปได้ไม่ มันก็ได้แต่เดินตามฝูงโคไปข้างหลัง ๆ ร้องเอาเองว่า “ กูก็เป็นโค กูก็เป็นโค” ดังนี้เท่า นั้น. ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! ภิกษุบางรูปในกรณีเช่นนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือแม้จะ เดินตามหมู่ภิกษุไปข้างหลัง ๆ ร้องประกาศอยู่ว่า “ข้า ก็เป็นภิกษุ ข้า ก็เป็น ภิกษุ” ดังนี้ก็ตามที แต่ความใคร่ในการประพฤติสีลสิกขาของเธอ ไม่เหมือนของภิกษุทั้งหลาย ความใคร่ในการประพฤติจิตตสิกขาของเธอ ไม่เหมือนของภิกษุทั้งหลาย ความใคร่ในการประพฤติปัญญาสิกขาของเธอ ไม่เหมือนของภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้น ได้แต่เดินตามหมู่ภิกษุไปข้างหลัง ๆ ร้องประกาศเอาเองว่า “ข้า ก็เป็นภิกษุ ข้า ก็เป็นภิกษุ” ดังนี้เท่านั้น.
ภิกษุท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจ ไว้ว่า “ความใคร่ในการประพฤติสีลสิกขาของเรา ต้องเข้มงวดเสมอ ความ ใคร่ในการประพฤติจิตตสิกขาของเรา ต้องเข้มงวดเสมอ ความใคร่ในการ ประพฤติปัญญาสิกขาของเรา ต้องเข้มงวดเสมอ” ดังนี้. ภิกษุ ท.! พวกเธอ ทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.
126
สมณะแกลบ
(พระชั่ว ต้องขับออก เนรเทศออก อย่าให้มาทำลายพระดีๆทั้งหลาย)
ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงขับบุคคลนี้ออกไปเสีย. ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงขับบุคคลนี้ออกไปเสีย. จงนำบุคคลนี้ไปให้พ้น. ลูกนอกคอก ช่างทำให้ลำบากใจกระไร.
ภิกษุ ท. ! พวกนักบวชบางคน มีการเดิน การถอยกลับ การแลดูการ เหลียวดูการคู้แขน คู้ขา การเหยียดมือเหยียดเท้า การทรงสังฆาฏิถือบาตร ครองจีวร เหมือน ๆ พวกภิกษุที่ดีรูปอื่น ๆ ทั้งหลาย ชั่วเวลาที่ภิกษุทั้งหลาย ยังไม่เห็นอาบัติของเธอ.
เมื่อใดภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเธอเข้า เมื่อนั้น เขาทั้งหลายก็รู้จักเธอได้ว่า“นี่เป็นสมณะ อันตราย
เป็นสมณะแกลบเป็นสมณะขยะมูลฝอย” ดังนี้. ครั้นคนทั้งหลายรู้จักเธอว่าเป็นเช่นนั้น แล้วเขาก็เนรเทศเธอออกไปนอกหมู่.ข้อนั้นเพราะอะไร ? เพราะคนทั้งหลายมีความประสงค์ว่า “อย่าให้คนชั่วทำลายพวกภิกษุที่ดีอื่น ๆ ทั้งหลายเลย” ดังนี้
ภิกษุ ท. !เปรียบเหมือน ต้นข้าวผี ซึ่งออกรวงมีแต่แกลบ ไม่มีเนื้อในที่บริโภคได้ เกิดขึ้นในนาข้าว เต็มไปหมดในฤดูทำนา. รากของมัน
ลำต้นของมัน ใบของมัน ก็ดูเหมือน ๆ ต้นข้าว ทั้งหลาย ชั่วเวลา ที่รวงยังไม่ออก เมื่อใด มันออกรวง เมื่อนั้น จึงทราบได้ว่า “นี่เป็นต้นข้าวผี ซึ่งมีแต่แกลบ ไม่มีเนื้อในที่บริโภคได้” ดังนี้.
ครั้นคนทั้งหลายทราบเช่นนี้แล้ว เขาก็ช่วยกันทึ้งถอน พร้อมทั้งรากทิ้งไปให้พ้นนาข้าว. ข้อนั้นเพราะอะไร ? เพราะคนทั้งหลาย มีความประสงค์ว่า “อย่าให้ต้นข้าวผีทำลายต้นข้าว ที่ดีอื่น ๆ ทั้งหลายเลย” ดังนี้ ;
ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น นักบวชบางคนในกรณีนี้มีการเดิน การถอยกลับ การแลดูการ เหลียวดูการคู้แขนคู้ขา การเหยียดมือเหยียดเท้า การทรงสังฆาฏิถือบาตร ครองจีวร เหมือน ๆ พวกภิกษุที่ดีรูปอื่น ๆ ทั้งหลาย ชั่วเวลาที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติของเธอ. เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเธอเข้า เมื่อนั้น เขาทั้งหลายก็รู้จักเธอได้ว่า “นี่เป็นสมณะอันตราย เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะขยะมูลฝอย” ดังนี้.
ครั้นคนทั้งหลายรู้จักเธอว่า เป็นเช่นนั้นแล้ว เขาก็เนรเทศเธอออกไปนอกหมู่. ข้อนั้นเพราะ อะไร ? เพราะคนทั้งหลาย มีความประสงค์ว่า “อย่าให้คนชั่วทำลายพวกภิกษุที่ดีอื่น ๆ ทั้งหลายเลย” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน กองข้าวเปลือก กองใหญ่ที่คนทั้งหลาย กำลังโรยกันอยู่กลางลม ในข้าวเปลือกเหล่านั้น ข้าวที่เป็นเมล็ดแท้แข็งแกร่ง ก็ตกไปรวมกันอยู่กองหนึ่ง ส่วนข้าวลีบ ที่เป็นแกลบ ลมก็พัดปลิวพาไป
รวมเข้าเป็นอีกกองหนึ่ง เจ้าของจึงเอาไม้กวาดกวาดข้าว ที่ลีบนั้น ไปทิ้งเสีย.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะเจ้าของมีความประสงค์ว่า “อย่าให้ข้าวลีบที่เป็น แกลบมาปน กับ ข้าว ที่ดีอื่น ๆ ทั้งหลายเลย” ดังนี้
ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : นักบวชบางคนในกรณีนี้มีการเดิน การถอยกลับ การแลดูการ เหลียวดูการคู้แขนคู้ขา การเหยียดมือเหยียดเท้า การทรงสังฆาฏิถือบาตร ครองจีวร เหมือน ๆ พวกภิกษุที่ดีรูปอื่น ๆ ทั้งหลาย ชั่วเวลาที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติของเธอ. เมื่อใด ภิกษุ ทั้งหลายเห็นอาบัติของเธอเข้า เมื่อนั้น เขาทั้งหลายก็รู้จักเธอได้ว่า “นี่เป็นสมณะอันตราย เป็น สมณะแกลบ เป็นสมณะขยะมูลฝอย” ดังนี้.
ครั้นคนทั้งหลายรู้จักเธอว่า เป็นเช่นนั้นแล้ว เขาก็ เนรเทศเธอออกไปนอกหมู่. ข้อนั้นเพราะอะไร ? เพราะ คนทั้งหลาย มีความประสงค์ว่า “อย่าให้คนชั่วทำลายพวกภิกษุที่ดีอื่น ๆ ทั้งหลายเลย” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! อนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษที่ต้องการ ถังไม้สำหรับใส่นํ้า ถือขวานที่คมเข้าไปในป่า. เขาเคาะต้นไม้ต่าง ๆ ด้วยขวาน. บรรดาต้นไม้ต่าง ๆ เหล่านั้น ต้นไหนเป็นไม้เนื้อแข็ง มีแก่นตัน ถูกเคาะด้วยขวาน ย่อม ส่งเสียงหนัก ๆ ส่วนต้นไม้ที่ผุใน นํ้าซึมเข้าไปแช่อยู่ได้จนเกิดเปื่อยผุขึ้น ในตัวเอง ถูกเคาะด้วยขวานเข้า ก็ส่งเสียงดังก้อง บุรุษผู้นั้น จึงตัด ต้นไม้เนื้อผุในชนิดนั้นที่โคน แล้วตัดปลายออก คว้านในทำให้เกลี้ยงเกลา อย่างดีครั้นแล้วก็ใช้เป็นถังสำหรับใส่นํ้าได้สำเร็จ
ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : นักบวชบางคนในกรณีนี้มีการเดิน การถอยกลับ การแลดูการ เหลียวดูการคู้แขนคู้ขา การเหยียดมือเหยียดเท้า การทรงสังฆาฏิถือบาตร ครองจีวร เหมือน ๆ พวกภิกษุที่ดีรูปอื่น ๆ ทั้งหลาย ชั่วเวลาที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติของเธอ.
เมื่อใด ภิกษุ ทั้งหลาย เห็นอาบัติของเธอเข้า เมื่อนั้น เขาทั้งหลายก็รู้จักเธอได้ว่า “นี่เป็น สมณะอันตราย เป็น สมณะแกลบ เป็นสมณะขยะมูลฝอย” ดังนี้ครั้นคนทั้งหลายรู้จักเธอ ว่าเป็น เช่นนั้น แล้ว เขาก็เนรเทศ เธอออกไปนอกหมู่.
ข้อนั้นเพราะอะไร ? เพราะคน ทั้งหลายมีความประสงค์ ว่า “อย่าให้คนชั่วทำลายพวกภิกษุ ที่ดีอื่น ๆ ทั้งหลาย เลย” ดังนี้.
“เพราะอยู่ร่วมกัน จึงรู้จักกันได้ว่า คนนี้มีความปรารถนา ลามก มักโกรธ มักลบหลู่คุณท่าน หัวดื้อ ตีตนเสมอท่าน มีความ ริษยา มีความตระหนี่และโอ้อวด. ในท่ามกลางชน เขาเป็นคนมีวาจา หวาน ปานสมณะที่ดีพูด ; แต่ในที่ลับคน ย่อมทำสิ่งที่คนชั่ว ซึ่งมีความเห็นตํ่าทราม ไม่เอื้อเฟื้อ ระเบียบ พูดจาปลิ้นปล้อน โป้ปด เขาทำกัน ทุกอย่าง.
ทุกคน พึงร่วมมือกันกำจัดเขา ออกไปเสีย ทุกคนพึงช่วย กันทึ้งถอนบุคคลที่เป็นดุจ ต้นข้าว ผีนั้นทิ้ง พึงช่วยกันขับคนกลวง เป็นโพรงไปให้พ้น พึงช่วยกันคัดเอาคนที่มิใช่สมณะ แต่ยังอวด อ้างตนว่าเป็นสมณะ ออกทิ้งเสีย ดุจชาวนาโรยข้าว เปลือกกลาง ลม เพื่อคัดเอาข้าวลีบ ออกทิ้งเสีย ฉะนั้น.
อนึ่ง คนเรา เมื่อมีการอยู่ร่วมกันกับคนที่สะอาด หรือ คนที่ไม่สะอาดก็ตาม ต้องมีสติกำกับ อยู่ด้วยเสมอ แต่นั้นพึง สามัคคีต่อกัน มีปัญญาทำที่สุดทุกข์แห่งตนเถิด”.
129
ชอบให้หญิงประคบประหงม
พราหมณ์ ! มีสมณะหรือพราหมณ์บางคน ในโลกนี้ปฏิญาณตัวว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ เขาไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคามก็จริงแล แต่ว่า เขายัง ยินดีกับการลูบทา การขัดสีการอาบ การนวดฟั้น ที่ทำให้โดยมาตุคาม เขาปลาบปลื้มยินดีด้วยการทำเช่นนั้นจากมาตุคาม.
พราหมณ์ ! นี่แล คือความขาด ความทะลุความด่าง ความพร้อยของ พรหมจรรย์.
พราหมณ์ ! เรากล่าวว่า ผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ยังประกอบ ด้วยการเกี่ยวพันด้วย เมถุน ย่อมไม่พ้นจากความเกิด ความแก่และความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ ชื่อว่ายังไม่พ้นจากความทุกข์ได้.
130
ชอบสัพยอกกับหญิง
พราหมณ์ ! อีกอย่างหนึ่ง มีสมณะหรือพราหมณ์บางคน ในโลกนี้ปฏิญาณตัวว่า เป็นพรหมจารี โดยชอบ เขาไม่เสพเมถุนกับด้วยมาตุคาม และไม่ยินดีการลูบทา การขัดสีการอาบ การนวดฟั้น ที่ได้รับจากมาตุคามก็จริงแล แต่ว่า เขายังพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับด้วยมาตุคาม เขาปลาบปลื้ม ยินดีด้วยการทำเช่นนั้นจากมาตุคาม.
----------------------------------------------------------------------------------
๑. อุปมาที่๓ นี้หมายเอาแต่เพียงลักษณะของต้นไม้ที่แน่นตัน และต้นไม้ที่กลวงเป็นโพรง ดูภายนอก คล้ายกันเท่านั้น ไม่ได้เทียบคู่โดยตรง เหมือนอุปมาที่๑-๒.
๒. บาลีพระพุทธภาษิต สตฺตก. อํ. ๒๓/๕๖/๔๗ ตรัสแก่พราหมณ์ชานุสโสณีผู้ทูลถามถึงข้อที่พระองค์ยังปฏิญาณตน เป็นพรหมจารีอยู่หรือหาไม่ ได้รับคำตอบว่า “ถ้ามีใครกล่าวอย่างนั้น ควรกล่าวเจาะจง ตัวเรา เพราะเรานี่แล ประพฤติพรหมจรรย์ได้บริสุทธ์ิบริบูรณ ์ไม่ขาด ไม่ทะลุไม่ด่าง ไม่พร้อย” พราหมณ์จึงทูลถามถึงความขาด ความทะลุความด่าง ความพร้อยของพรหมจรรย์ว่าเป็นอย่างไร ต่อพระองค์ซึ่งได้รับตอบดังเรื่องเหล่านี้.
๓. อุจฺฉาทน -ปริมทฺทน -นฺหาปน -สมฺพาหน เป็นคำชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นชื่อของวิธีการอาบนํ้า ซึ่งประกอบ ด้วยการทาสิ่งที่ชำระของโสโครกที่ร่างกาย การถูเหงื่อไคล การนวดฟั้น ให้เกิดกำลังกล้ามเนื้อ ซึ่งแพร่หลายใน อินเดีย.
๔. บาลีพระพุทธภาษิต สตฺตก. อํ. ๒๓/๕๖/๔๗.
----------------------------------------------------------------------------------------
พราหมณ์ ! นี่แล คือความขาด ความทะลุความด่าง ความพร้อยของ พรหมจรรย์.
พราหมณ์ ! เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธ์ิยังประกอบ ด้วยการเกี่ยวพันด้วย เมถุน ย่อมไม่พ้นจากความเกิด ความแก่และความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ ชื่อว่ายังไม่พ้นจากความทุกข์ได้.
131
ชอบสบตาหญิง
พราหมณ์ ! อีกอย่างหนึ่ง มีสมณะหรือพราหมณ์บางคน ในโลกนี้ปฏิญาณตัวว่า เป็นพรหมจารีโดยชอบ เขาไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคาม ไม่ยินดีการลูบทา การขัดสีการอาบ การนวดฟั้น ที่ได้รับจากมาตุคาม ทั้งไม่ยินดีในการพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับด้วยมาตุคาม ก็จริงแล แต่ว่า เขายังชอบสบตาด้วยตากับมาตุคาม เขาปลาบปลื้มยินดีด้วยการทำเช่นนั้นจาก มาตุคาม.
พราหมณ์ ! นี่แล คือความขาด ความทะลุความด่าง ความพร้อยของ พรหมจรรย์.
พราหมณ์ ! เรากล่าวว่า ผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ยังประกอบ ด้วยการเกี่ยวพัน ด้วยเมถุน ย่อมไม่พ้นจากความเกิด ความแก่และความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์ กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ ชื่อว่ายังไม่พ้นจากทุกข์ได้.
132
ชอบฟังเสียงหญิง
พราหมณ์ ! อีกอย่างหนึ่ง มีสมณะหรือพราหมณ์บางคน ในโลกนี้ปฏิญาณตัวว่า เป็นพรหมจารี โดยชอบ เขาไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคาม ไม่ยินดีการลูบทา การขัดสีการอาบ การนวดฟั้น ที่ได้รับจากมาตุคาม ไม่ยินดีในการพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับด้วยมาตุคาม ทั้งไม่ยินดีในการสบตา ด้วยตากับมาตุคาม ก็จริงแล แต่ว่า เขายังชอบฟังเสียงของมาตุคาม ที่หัวเราะอยู่ก็ดีพูดจาก็ดีขับร้องอยู่ก็ดีร้องไห้อยู่ก็ดีข้างนอกฝาก็ตาม นอก กำแพงก็ตาม เขาปลาบปลื้มยินดีด้วยการทำเช่นนั้นจากมาตุคาม.
พราหมณ์ ! นี่แล คือความขาด ความทะลุความด่าง ความพร้อย ของพรหมจรรย์.
พราหมณ์ ! เรากล่าวว่า ผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธ์ิยังประกอบ ด้วยการเกี่ยวพัน ด้วยเมถุน ย่อมไม่พ้นจากความเกิด ความแก่และความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ ชื่อว่ายังไม่พ้นจากทุกข์ได้.
132-1
ชอบระลึกถึงความหลังเกี่ยวกับหญิง
พราหมณ์ ! อีกอย่างหนึ่ง มีสมณะหรือพราหมณ์บางคน ในโลกนี้ปฏิญาณตัวว่า เป็นพรหมจารีโดยชอบ เขาไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคาม
ไม่ยินดีการลูบทา การขัดสีการอาบ การนวดฟั้น ที่ได้รับจากมาตุคาม ไม่ยินดีในการพูดจา ซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับด้วยมาตุคาม ไม่ยินดีในการสบตา ด้วยตากับมาตุคาม ทั้งไม่ยินดีในการ ฟังเสียง ของมาตุคาม ก็จริงแล แต่ว่า เขาชอบตามระลึกถึงเรื่องเก่า ที่เคยหัวเราะ เล้าโลม เล่นหัว กับด้วยมาตุคาม เขา ปลาบปลื้มยินดีด้วยการทำเช่นนั้นจากมาตุคาม.
พราหมณ์ ! นี่แล คือความขาด ความทะลุความด่าง ความพร้อย ของพรหมจรรย์.
พราหมณ์ ! เรากล่าวว่า ผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธ์ิยังประกอบ ด้วยการเกี่ยวพัน ด้วยเมถุน ย่อมไม่พ้นจากความเกิด ความแก่และความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ ชื่อว่ายังไม่พ้นจากทุกข์ได้.
133
ชอบดูผู้อื่นบริโภคกาม
พราหมณ์ ! อีกอย่างหนึ่ง มีสมณะหรือพราหมณ์บางคน ในโลกนี้ปฏิญาณตัวว่าเป็น พรหมจารี โดยชอบ เขาไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคาม ไม่ยินดีการลูบทา การขัดสีการอาบ การนวดฟั้น ที่ได้รับจากมาตุคามไม่ยินดีในการพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับด้วยมาตุคาม ไม่ยินดี ในการสบตา ด้วยตากับมาตุคาม ไม่ยินดีในการฟังเสียงของมาตุคาม ทั้งไม่ชอบตามระลึก ถึงเรื่องเก่าที่เคยหัวเราะเล้าโลมเล่นหัวกับด้วยมาตุคาม ก็จริงแล แต่ว่า เขา เพียงแต่เห็นคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดีผู้อิ่มเอิบ เพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้า ได้รับการบำเรออยู่ด้วยกามคุณ เขาก็ปลาบปลื้มยินดีด้วยการได้เห็นการกระทำ เช่นนั้น.
พราหมณ์ ! นี่แล คือความขาด ความทะลุความด่าง ความพร้อยของ พรหมจรรย์.
พราหมณ์ ! เรากล่าวว่า ผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธ์ิยัง ประกอบด้วยการเกี่ยวพัน ด้วยเมถุน ย่อมไม่พ้นจากความเกิด ความแก่และ ความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และ ความคับแค้นใจ ชื่อว่ายังไม่พ้นจากทุกข์ได้.
134
ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อเป็นเทพยดา
พราหมณ์ ! อีกอย่างหนึ่ง มีสมณะหรือพราหมณ์บางคน ในโลกนี้ปฏิญาณตัวว่าเป็น พรหมจารีโดยชอบ เขาไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคาม ไม่ยินดีการลูบทา การขัดสีการอาบ การนวดฟั้น ที่ได้รับจากมาตุคาม ไม่ยินดีในการพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับด้วยมาตุคาม ไม่ยินดี ในการสบตา ด้วยตา กับมาตุคาม ไม่ยินดีในการฟังเสียงของมาตุคาม ไม่ชอบตามระลึกถึง เรื่องเก่า ที่เคยหัวเราะเล้าโลมเล่นหัวกับด้วยมาตุคาม และทั้งไม่ยินดีที่จะเห็น
พวกคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี ผู้อิ่มเอิบเพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้า แล้ว ตน พลอยนึก ปลื้มใจก็จริงแล แต่ว่า เขาประพฤติพ รหมจรรย์โดยตั้งความ ปรารถนา เพื่อไปเป็นเทพยดาพวกใด พวกหนึ่ง.
พราหมณ์ ! นี่แล คือความขาด ความทะลุความด่าง ความพร้อย ของพรหมจรรย์
พราหมณ์ ! เรากล่าวว่า ผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธ์ิยังประกอบ ด้วยการเกี่ยวพัน ด้วยเมถุน ย่อมไม่พ้นจากความเกิด ความแก่และความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้น ใจ ชื่อว่ายังไม่พ้นจากทุกข์ได้.
135
ฉิบหายเพราะคลื่น
ภิกษุท. ! ภัย อันเกิดแต่คลื่น เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุท. ! ในกรณีนี้คือ คนบางคนมีศรัทธา ออกบวชจากเรือนไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน เพราะคิดเห็นว่า “เราถูกความเกิด ความแก่ความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ครอบงำเอาแล้ว เป็นคนตกอยู่ในกองทุกข์มีทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะปรากฏมีได้ ” ดังนี้.
ครั้น บวชแล้ว เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ย่อมว่ากล่าวตักเตือนเธอว่า “ท่าน ! เป็นพระแล้ว ต้องก้าวเดินด้วยท่าทางอย่างนี้ๆ ต้องถอยกลับด้วยท่า ทางอย่างนี้ๆ ต้องแลดู ด้วย ท่าทางอย่างนี้ๆ ต้องเหลียวด้วยท่าทางอย่างนี้ๆ ต้องคู้แขนคู้ขาด้วยท่าทางอย่างนี้ๆ ต้องเหยียดมือ เหยียดเท้าด้วยท่าทางอย่างนี้ๆ ต้องนุ่งห่มจับถือซึ่งสังฆาฏิบาตร จีวร ด้วยท่าทางอย่างนี้ๆ” ดังนี้.
เธอ นั้นหวนระลึกไปว่า “เมื่อก่อน เราอยู่ครองเรือน ย่อมว่ากล่าวสั่งสอน ผู้อื่น บัดนี้พวก ภิกษุ คราวลูกคราวหลานของเรา กลับมาคอยหาโอกาสว่า กล่าวตักเตือนเรา” ดังนี้ เธอก็โกรธ แค้นใจ บอกเลิกสิกขา หมุนกลับคืนไป สู่เพศตํ่าแห่งคฤหัสถ์.
ภิกษุท. ! ภิกษุชนิดนี้เรียกว่า ผู้กลัวภัยอันเกิดแต่คลื่น แล้วจึงบอก เลิกสิกขา หมุนกลับคืน ไปสู่เพศตํ่าแห่งคฤหัสถ์.
ภิกษุท. ! คำว่า ภัย อันเกิดแต่คลื่นนี้เป็นคำแทนชื่อสำหรับเรียก ความโกรธคับแค้นใจ.
ภิกษุท. ! นี้เรียกว่า ภัย อันเกิดแต่คลื่น แล.
136
ฉิบหายเพราะจระเข้
ภิกษุท. ! ภัย อันเกิดแต่จระเข้เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุท. ! ในกรณีนี้คือ คนบางคนมีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน เพราะคิดเห็นว่า “เราถูกความเกิด ความแก่และความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ครอบงำเอาแล้ว เป็นคนตกอยู่ในกองทุกข์มีทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำ ไฉนการทำ ที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะปรากฏมีได้” ดังนี้.
ครั้นบวช แล้วเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ย่อมว่ากล่าวสั่งสอนเธอว่า “สิ่งนี้ท่าน ควรเคี้ยว สิ่งนี้ไม่ควรเคี้ยว สิ่งนี้ท่านควรบริโภค สิ่งนี้ไม่ควรบริโภค ท่านควรเคี้ยว กิน ลิ้ม ดื่ม แต่ของที่ควร ไม่ควรเคี้ยว กิน ลิ้ม ดื่ม ของที่ไม่ควร ท่านควรเคี้ยว กิน ลิ้ม ดื่ม แต่ในกาลที่ควร ไม่ควรเคี้ยว กิน ลิ้ม ดื่ม นอกกาล” ดังนี้.
เธอนั้น หวนระลึกไปว่า “เมื่อก่อน เราอยู่ครองเรือน ปรารถนาสิ่งใด ก็เคี้ยว กิน ลิ้ม ดื่ม สิ่งนั้น เคี้ยว กิน ลิ้ม ดื่มได้ (ทุกอย่างทั้งที่ภิกษุนี้ว่า) ควรและไม่ควร ได้ทั้งในกาลที่ควร และ นอกกาล ชะรอย ท่านจะห้ามปากของเรา ในของเคี้ยวของฉันอันประณีต ที่คฤหบดีผู้มีศรัทธา นำมาถวายนอกกาลในเวลากลางวัน” ดังนี้ เธอก็โกรธ แค้นใจ บอกเลิก สิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศ ตํ่าแห่งคฤหัสถ์.
ภิกษุท. ! ภิกษุชนิดนี้เรียกว่า ผู้กลัวภัย อันเกิดแต่จระเข้แล้วจึง บอกเลิกสิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศตํ่าแห่งคฤหัสถ์.
ภิกษุท. ! คำว่า ภัย อันเกิดแต่จระเข้นี้เป็นคำแทนชื่อสำหรับเรียก ความเป็นคนเห็นแก่ท้อง.
ภิกษุท. ! นี้เรียกว่า ภัย อันเกิดแต่จระเข้แล.
137
ฉิบหายเพราะวังวน
ภิกษุท. ! ภัย อันเกิดแต่วังวน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุท. ! ในกรณีนี้คือ คนบางคนมีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน เพราะคิดเห็นว่า “เราถูกความเกิด ความแก่ความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ครอบงำเอาแล้ว เป็นคนตกอยู่ในกองทุกข์มีทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะปรากฏมีได้” ดังนี้.
ครั้นบวชแล้ว เวลาเช้า เธอครองจีวร ถือบาตร เข้าไปบิณฑบาตในย่านหมู่บ้านหรือนิคม ไม่รักษากายไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต ไม่กำหนดสติไม่สำรวมอินทรีย์. ในที่นั้น ๆ เธอได้เห็นคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดีผู้อิ่มเอิบ เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ทั้งห้า ให้เขาบำเรออยู่.
เธอนั้น กลับหวนระลึกไปว่า “เมื่อก่อน เราเป็น คฤหัสถ์ครองเรือน ก็เป็นผู้อิ่มเอิบ เพียบ พร้อม ด้วย กามคุณทั้งห้า ให้เขาบำเรอ อยู่.
ทรัพย์สมบัติในสกุลของเราก็มีอยู่และเราก็อาจบริโภคทรัพย์สมบัติพลาง ทำบุญพลาง อย่ากระนั้นเลย เราบอกเลิกสิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศตํ่า แห่งคฤหัสถ์บริโภคทรัพย์สมบัติ พลางทำบุญพลางเถิด” ดังนี้ เธอก็บอกเลิก สิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศตํ่าแห่งคฤหัสถ์.
ภิกษุ ท. ! คำว่า ภัย อันเกิดแต่วังวนนี้ เป็นคำแทนชื่อ สำหรับเรียก กามคุณทั้งห้า.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ภัย อันเกิดแต่วังวน แล
138
ฉิบหายเพราะปลาร้าย
ภิกษุ ท. ! ภัย อันเกิดแต่ปลาร้าย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ คนบางคนมีศรัทธา ออกบวชจากเรือน เพราะคิดเห็นว่า “เราถูกความเกิด ความแก่ไม่ความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ครอบงำเอาแล้ว เป็นคนตกอยู่ในกองทุกข์มีทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะปรากฏมีได้” ดังนี้.
ครั้นบวชแล้ว เวลา เช้าเธอครองจีวร ถือบาตร เข้าไปบิณฑบาต ในย่านหมู่บ้านหรือนิคม ไม่รักษากายไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต ไม่กำหนดสติไม่สำรวมอินทรีย์.
ในที่นั้น ๆ เธอได้เห็นมาตุคาม (หญิงชาวบ้าน) ที่ห่มชั่วนุ่งชั่ว เมื่อเธอเห็น มาตุคามที่ห่มชั่ว นุ่งชั่ว ราคะก็เสียบแทงจิตของเธอ เธอมีจิตถูกราคะเสียบ แทงแล้ว ก็บอกเลิกสิกขา หมุนกลับคืน ไปสู่เพศตํ่าแห่งคฤหัสถ์.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุชนิดนี้เรียกว่า ผู้กลัวภัย อันเกิดแต่ปลาร้าย แล้วจึง บอกเลิกสิกขา หมุนกลับคืน ไปสู่เพศตํ่าแห่งคฤหัสถ์.
ภิกษุ ท. ! คำว่า ภัย อันเกิดแต่ปลาร้ายนี้เป็นคำแทนชื่อสำหรับเรียกมาตุคาม (หญิงชาวบ้าน).
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ภัย อันเกิดแต่ปลาร้าย แล.
139
เห็นยอดอ่อน ๆ ว่าเป็นแก่น
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ กุลบุตรบางคนมีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน เพราะคิดเห็นว่า “เราถูกความเกิด ความแก่ความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ครอบงำเอาแล้ว เป็นคนตกอยู่ในกองทุกข์มีทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะปรากฏมีได้” ดังนี้. ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว กุลบุตรนั้น จึงออกจากเรือนด้วยศรัทธา
ครั้นบวชแล้ว สามารถทำลาภสักการะและเสียงเยินยอ ให้เกิดขึ้นได้. เธอมีใจยินดีแล้ว มีความดำริเต็ม รอบแล้ว ในลาภสักการะและเสียงเยินยอนั้น. เธอทะนงตัวเพราะลาภ สักการะ และเสียงเยินยอนั้นว่า “เราเป็นผู้มีลาภสักการะและเสียงเยินยอ ส่วน ภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ตํ่าต้อย น้อยศักด์ิ” ดังนี้.
เธอนั้น เมาอยู่มัวเมาอยู่ถึง ความประมาทอยู่เพราะลาภสักการะและเสียง เยินยอ นั้น. เมื่อประมาทแล้ว เธอก็อยู่ด้วยความเป็นอยู่ที่ดูแล้วน่าชัง.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้ต้องการด้วยแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้เที่ยวค้นหาแก่นไม้ อยู่จนถึงต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว มองข้ามพ้นแก่น มอง ข้ามพ้นกระพี้ มองข้ามพ้นเปลือกสด มองข้ามพ้นสะเก็ดแห้งตามผิวเปลือก เด็ดเอาใบอ่อนที่ปลายกิ่งถือไป ด้วยเข้าใจว่า นี่แก่นไม้.
บุรุษมีตาดีเห็น คนนั้นเข้าแล้ว ก็กล่าวว่า “ผู้เจริญคนนี้ช่างไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือกสด ไม่รู้จักสะเก็ดแห้งตามผิวเปลือก ไม่รู้จักใบอ่อนที่ปลายกิ่ง.
จริงดังว่า ผู้เจริญคนนี้ต้องการแก่นไม้เสาะหาแก่นไม้เที่ยวค้นหา แก่นไม้จนถึงต้นไม้ ใหญ่มีแก่นแล้ว ก็มองข้ามพ้นแก่น ข้ามพ้นกระพี้ ข้ามพ้น เปลือกสด ข้ามพ้นสะเก็ด แห้งตาม ผิวเปลือก ไปเด็ดเอาใบอ่อนที่ปลายกิ่ง ถือไป ด้วยเข้าใจว่า นี่แก่นไม้ สิ่งที่เขาจะ ต้องทำด้วยแก่นไม้ จักไม่สำเร็จ ประโยชน์เลย” ดังนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น.
ภิกษุ ท. ! เราเรียกคนบวชชนิดนี้ว่า ได้ถือเอาพรหมจรรย์ตรงใบอ่อนที่ปลายกิ่งของมัน และเขาถึงที่สุด ของพรหมจรรย์ด้วยการกระทำเพียงให้ลาภสักการะและเสียงเยินยอเกิดขึ้น เท่านั้นเอง.
141
หลงสะเก็ดแห้ง ว่าเป็นแก่น
ภิกษุท. !ในกรณีนี้คือกุลบุตรบางคนมีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน เพราะคิดเห็นว่า “เราถูกความเกิด ความแก่ความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ครอบงำเอาแล้ว เป็นคนตกอยู่ในกองทุกข์มีทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะปรากฏมีได้” ดังนี้.
ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว กุลบุตรนั้น จึงออกบวชจากเรือนด้วยศรัทธา ครั้นบวชแล้วสามารถ ทำลาภสักการะ และเสียงเยินยอให้เกิดขึ้นได้ เธอไม่มีใจยินดีแล้ว ไม่มีความดำริเต็มรอบ แล้ว ในลาภสักการะและเสียงเยินยอนั้น เธอไม่ทะนงตัว เพราะลาภสักการะ และเสียงเยินยอนั้น เธอไม่เมาอยู่ไม่มัวเมาอยู่ไม่ถึงความประมาทอยู่เพราะ ลาภสักการะและเสียงเยินยอนั้น เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ความถึงพร้อม ด้วย ศีล เกิดขึ้นได้.
เธอมีใจยินดีแล้ว มีความดำริเต็มรอบแล้ว ในความถึง พร้อมด้วยศีลนั้น. เธอทะนงตัว เพราะความถึงพร้อมด้วยศีลนั้น ว่า “เราเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม” ดังนี้. เธอนั้น เมาอยู่มัวเมาอยู่ถึงความประมาทอยู่เพราะความถึงพร้อม ด้วยศีลนั้น เมื่อประมาทแล้ว เธอก็อยู่ด้วยความเป็นอยู่ที่ดูแล้วน่าชัง.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้ต้องการด้วยแก่นไม้เสาะหาแก่นไม้เที่ยวค้นหาแก่นไม้อยู่ จนถึงต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว มองข้ามพ้นแก่น มองข้ามพ้นกระพี้ มองข้ามพ้นเปลือกสด ถากเอาสะเก็ด เปลือกตามผิวเปลือกถือไป ด้วยเข้าใจว่า นี่แก่นไม้. บุรุษมีตาดีเห็นคนนั้นเข้าแล้ว ก็กล่าวว่า “ผู้เจริญ คนนี้ช่างไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือกสด ไม่รู้จักสะเก็ดแห้ง ตามผิวเปลือก ไม่รู้จักใบอ่อน ที่ปลายกิ่ง.
จริงดังว่า ผู้เจริญคนนี้ต้องการ แก่นไม้เสาะหาแก่นไม้เที่ยวค้นหาแก่นไม้ จนถึงต้นไม้ใหญ่ มีแก่นแล้ว ก็มอง ข้ามพ้นแก่น ข้ามพ้นกระพี้ ข้ามพ้นเปลือกสด ถากเอาสะเก็ดแห้งตามผิว เปลือก ถือไป ด้วยเข้าใจว่า นี่แก่นไม้ สิ่งที่เขาจะต้องทำด้วยแก่นไม้จัก ไม่สำเร็จประโยชน์เลย” ดังนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น.
ภิกษุ ท. ! เราเรียกคนบวช ชนิดนี้ว่า ได้ถือเอาพรหมจรรย์ ตรงสะเก็ดแห้งตามผิว เปลือก ของมัน และเขา ถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์ด้วยการกระทำเพียงให้ความถึงพร้อมด้วยศีลเกิดขึ้น เท่านั้นเอง.
142
หลงเปลือกสด ๆ ว่าเป็นแก่น
ภิกษุ ท . ! ในกรณีนี้คือ กุลบุตรบางคนมีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน เพราะคิดเห็นว่า “เราถูกความเกิด ความแก่ความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ครอบงำเอาแล้ว เป็นคนตกอยู่ในกองทุกข์มีทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะปรากฏมีได้” ดังนี้.
ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว กุลบุตรนั้นจึงออกบวชจากเรือนด้วยศรัทธา. ครั้นบวชแล้ว สามารถ ทำลาภ สักการะและเสียงเยินยอให้เกิดขึ้นได้ เธอไม่มีใจยินดีไม่มีความดำริเต็ม รอบแล้ว ในลาภสักการะและเสียงเยินยอนั้น เธอไม่ทะนงตัว เพราะลาภสักการะและเสียงเยินยอนั้น เธอไม่เมาอยู่ไม่มัวเมาอยู่ไม่ถึงความประมาทอยู่เพราะลาภสักการะและเสียงเยินยอนั้น
เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ความถึง พร้อมด้วยศีลเกิดขึ้นได้ เธอมีความยินดีแล้ว ในความ ถึงพร้อม ด้วยศีลนั้น แต่ว่า หามีความดำริเต็มรอบเพียงความถึงพร้อมด้วยศีลนั้นไม่ เธอไม่ทะนง ตัวเพราะ ความถึงพร้อมด้วยศีลนั้น เธอไม่เมาอยู่ไม่มัวเมาอยู่ไม่ถึงความ ประมาทอยู่เพราะความถึง พร้อม ด้วยศีลนั้น เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ความถึงพร้อมด้วย สมาธิเกิดขึ้นได้.
เธอมีใจยินดีแล้ว มีความดำริเต็มรอบ แล้ว ในความถึงพร้อมด้วยสมาธินั้น. เธอทะนงตัว เพราะความถึงพร้อมด้วย สมาธินั้นว่า “เราเป็นผู้มีจิตถึงความเป็นหนึ่ง ตั้งมั่นแล้ว ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่นแล้ว” ดังนี้.
เธอนั้นเมาอยู่มัวเมาอยู่ถึงความ ประมาทอยู่เพราะความ ถึงพร้อมด้วยสมาธินั้น เมื่อประมาท แล้ว เธอก็อยู่ด้วยความเป็นอยู่ที่ดูแล้วน่าชัง.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้ต้องการด้วยแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้เที่ยวค้นหาแก่นไม้ อยู่ไป จนถึงต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว มองข้ามพ้นแก่น มองข้ามพ้นกระพี้ ถากเอาแต่เปลือกสด ๆ ถือไป ด้วยเข้าใจว่า นี่แก่นไม้.
บุรุษมีตาดีเห็นคนนั้นเข้าแล้วก็กล่าวว่า “ผู้เจริญคนนี้ช่างไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จัก กระพี้ ไม่รู้จัก เปลือกสด ไม่รู้จักสะเก็ดแห้งตามผิวเปลือก ไม่รู้จักใบอ่อนที่ปลายกิ่ง.
จริงดังว่า ผู้เจริญคนนี้ต้องการแก่นไม้เสาะหาแก่นไม้เที่ยวค้น หาแก่นไม้จนถึงต้นไม้ใหญ่ มีแก่นแล้ว ก็มองข้ามพ้นแก่น ข้ามพ้นกระพี้ ถากเอาเปลือกสด ๆ ถือไป ด้วยเข้าใจว่า นี่แก่นไม้ สิ่งที่เขาจะต้องทำด้วย แก่นไม้จักไม่สำเร็จประโยชน์เลย” ดังนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น.
ภิกษุ ท ! เราเรียก คนบวชชนิดนี้ว่า ได้ถือเอาพรหมจรรย์ตรงเปลือกสดของมัน และเขา ถึงที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ด้วยการ กระทำเพียงให้ความถึงพร้อมด้วยสมาธิเกิดขึ้นเท่านั้นเอง.
144
หลงกระพี้ไม้ว่าเป็นแก่น
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ กุลบุตรบางคนมีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน เพราะคิดเห็นว่า “เราถูกความเกิด ความแก่ความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ครอบงำเอาแล้ว เป็นคนตกอยู่ในกองทุกข์มีทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะปรากฏมีได้” ดังนี้.
ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว กุลบุตรจึงออกบวชจากเรือนด้วยศรัทธา. ครั้นบวชแล้วสามารถทำลาภ สักการะ และ เสียงเยินยอให้เกิดขึ้นได้ เธอไม่มีใจยินดีไม่มีความดำริเต็มรอบแล้ว ในลาภสักการะ และเสียงเยินยอนั้น เธอไม่ทะนงตัว เพราะลาภสักการะและ เสียงเยินยอนั้น เธอไม่เมาอยู่ไม่มัวเมา อยู่ไม่ถึงความประมาทอยู่เพราะ ลาภสักการะและเสียงเยินยอนั้น เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ความถึง พร้อม ด้วยศีลเกิดขึ้นได้ เธอมีใจยินดีแล้ว ในความถึงพร้อมด้วยศีลนั้น
แต่ว่า หามีความดำริเต็มรอบเพียงความถึงพร้อมด้วยศีลนั้นไม่ เธอไม่ทะนงตัว เพราะ ความถึงพร้อมด้วยศีลนั้น เธอไม่เมาอยู่ไม่มัวเมาอยู่ไม่ถึงความประมาท อยู่เพราะความถึง พร้อมด้วย ศีลนั้น เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ความถึง พร้อมด้วยสมาธิเกิดขึ้นได้ เธอมีใจยินดีแล้วในความถึง พร้อมด้วยสมาธินั้น
แต่ว่า หามีความดำริเต็มรอบเพียงความถึงพร้อมด้วยสมาธินั้นไม่ เธอไม่ทะนงตัว เพราะ ความถึงพร้อมด้วยสมาธินั้น เธอไม่เมาอยู่ไม่มัวเมาอยู่ไม่ถึงความประมาทอยู่ พราะความ ถึงพร้อม ด้วยสมาธินั้น เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอก็ทำให้ญาณทัสสนะ (ความรู้เห็นธรรม) เกิดขึ้นได้. เธอมีใจ ยินดีแล้ว มีความดำริเต็มรอบแล้ว ในญาณทัสสนะนั้น. เธอทะนงตัวเพราะญาณทัสสนะนั้นว่า “เราเป็นผู้รู้ผู้เห็นอยู่ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ไม่รู้ไม่เห็น” ดังนี้.
เธอนั้น เมาอยู่มัวเมาอยู่ถึงความประมาทอยู่เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อประมาทแล้ว เธอก็อยู่ด้วยความเป็นอยู่ที่ดูแล้วน่าชัง.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้ต้องการด้วยแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้เที่ยวค้นหาแก่นไม้ อยู่จนถึงต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว มองข้ามพ้นแก่นเสีย ถากเอากระพี้ถือไป ด้วยเข้าใจว่า นี่แก่นไม้. บุรุษมีตาดีเห็นคนนั้นเข้าแล้ว ก็กล่าวว่า “ผู้เจริญคนนี้ช่างไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือกสด ไม่รู้จักสะเก็ดแห้งตามผิวเปลือก ไม่รู้จักใบอ่อนที่ปลายกิ่ง.
จริงดังว่า ผู้เจริญ คนนี้ต้องการแก่นไม้เสาะหาแก่นไม้ เที่ยวค้นหาแก่นไม้จนถึงต้นไม้ใหญ่ มีแก่นแล้ว ก็มองข้ามพ้นแก่นเสีย ถากเอากระพี้ถือไป ด้วยเข้าใจว่า นี่แก่นไม้ สิ่งที่เขาจะ ต้องทำด้วยแก่นไม้จักไม่สำเร็จประโยชน์เลย” ดังนี้; ฉันใดก็ฉันนั้น.
ภิกษุ ท. ! เราเรียกคนบวชชนิดนี้ว่า ได้ถือเอาพรหมจรรย์ตรงกระพี้ของมัน และเขาถึงที่สุด แห่งพรหมจรรย์ด้วยการกระทำเพียงทำให้ญาณทัสสนะเกิดขึ้นเท่านั้นเอง.
145
ไม่รู้ “ความลับ” ของขันธ์ห้า
(ไม่รู้ขันธ์5 ไม่รู้ความดับสนิทแห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่)
โสณะ ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ย่อมไม่รู้จักลักษณะ ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้น ไม่รู้จักความ ดับสนิท ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความ ดับสนิท แห่ง รูป _ _ _เวทนา;_ _ _สัญญา _ _ _สังขาร ย่อมไม่รู้จักลักษณะ
ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้น ไม่รู้จักความดับสนิท ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความ ดับสนิท แห่ง วิญญาณ
โสณะ ! สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นสมณะในบรรดาสมณะทั้งหลาย ก็ตาม ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายก็ตาม ก็หาเป็นสมณะ หรือ พราหมณ์ ไปได้ไม่หาได้ ทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่ง ความเป็นพราหมณ์ด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลอยู่ไม่.
146
ไม่รู้“ความลับ” ของอุปาทานขันธ์
(ไม่รู้จักรสอร่อย ไม่รู้จักโทษอุปาทานขันธ์5 ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่)
ภิกษุท ! อุปทานขันธ์๕ เหล่านี้คือ อุปทานขันธ์คือรูป อุปทานขันธ์คือเวทนา อุปทานขันธ์คือสัญญา อุปทานขันธ์คือสังขาร อุปทานขันธ์คือวิญญาณ.
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักรสอร่อย ไม่รู้จักโทษ และไม่รู้จักอุบาย เป็นเครื่องออกไปพ้น ในอุปทานขันธ์๕ เหล่านี้ตามที่เป็นจริง ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็น สมณะในบรรดาสมณะทั้งหลายก็ตาม ทั้งที่ถูกสมมติว่า เป็นพราหมณ์ ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายก็ตาม ก็หาเป็นสมณะหรือพราหมณ์ไปได้ไม่ หาได้ทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลอยู่ไม่.
147
ไม่รู้“ความลับ” ของธาตุสี่
(ไม่รู้จักธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่รู้จักอุบายเครื่องออกไปพ้น ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่)
ภิกษุ ท. ! ธาตุ๔ เหล่านี้คือ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ ธาตุลม. ภิกษุ ท. ! สมณะหรือ พราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักรสอร่อย ไม่รู้จักโทษ และไม่รู้จักอุบายเครื่องออกไปพ้น ในธาตุ๔ เหล่านี้ตามที่เป็นจริง
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นสมณะใน บรรดาสมณะ ทั้งหลายก็ตาม ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายก็ตาม ก็หาเป็นสมณะ หรือพราหมณ์ไปได้ไม่ หาได้ทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่ง ความเป็นพราหมณ์ด้วย ปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลอยู่ไม่.
147-1
ไม่รู้“ความลับ” ของอินทรีย์หก
(ไม่รู้อินทรีย์ 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ การเกิดขึ้น และการดับไปของอินทรีย์ 6
ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่)
ภิกษุ ท. ! อินทรีย์๖ เหล่านี้คือ อินทรีย์คือตา อินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย อินทรีย์คือใจ.
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักความเกิดขึ้น ไม่รู้จัก ความดับไป ไม่รู้จักรสอร่อย ไม่รู้จักโทษ และไม่รู้จักอุบายเป็นเครื่อง ออกไปพ้น ในอินทรีย์๖ เหล่านี้ตามที่เป็นจริง
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือ พราหมณ์พวกนั้น ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นสมณะในบรรดาสมณะทั้งหลายก็ตาม ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายก็ตาม ก็หาเป็น
สมณะหรือพราหมณ์ไปได้ไม่.
หาได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลอยู่ไม่.
148
ไม่รู้“ความลับ” ของอินทรีย์ห้า
(ไม่รู้อินทรีย์ 5 ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา และไม่รู้ความเกิด ความดับของอินทรีย์ 5
ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่)
ภิกษุ ท. ! อินทรีย์๕ เหล่านี้คือ อินทรีย์คือ ศรัทธา อินทรีย์คือ วิริยะ อินทรีย์คือ สติ อินทรีย์คือ สมาธิ อินทรีย์คือ ปัญญา.
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักความเกิดขึ้น ไม่รู้จัก ความดับไป ไม่รู้จักรสอร่อย ไม่รู้จักโทษ (เมื่อยึดถือ) และไม่รู้จักอุบายเป็น เครื่องออกไปพ้น ในอินทรีย์๕ เหล่านี้ตามที่เป็นจริง
ภิกษุ ท. ! สมณะ หรือพราหมณ์พวกนั้น ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นสมณะในบรรดาสมณะ ทั้งหลาย ก็ตาม ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายก็ตาม ก็หา เป็นสมณะ หรือพราหมณ์ไปได้ไม่ หาได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็น สมณะ หรือประโยชน์แห่งความ เป็น พราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน ทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลอยู่ไม่.
148-1
ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ไม่ได้เป็นสมณะ
(ไม่รู้ปฎิจจสมุปปบาท ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่)
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักชรามรณะ ไม่รู้จัก เหตุเกิดขึ้นแห่งชรามรณะ ไม่รู้จักความดับสนิทแห่งชรามรณะ ไม่รู้จักข้อ ปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งชรามรณะ
ไม่รู้จักชาติ ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งชาติ ไม่รู้จักความดับสนิทแห่ง ชาติ ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งชาติ
ไม่รู้จักภพ ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งภพ ไม่รู้จักความดับสนิทแห่ง ภพ ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งภพ
ไม่รู้จักอุปาทาน ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งอุปาทาน ไม่รู้จักความดับสนิทแห่ง อุปาทาน ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งอุปาทาน
ไม่รู้จักตัณหา ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งตัณหา ไม่รู้จักความดับสนิทแห่ง ตัณหา ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งตัณหา
ไม่รู้จักเวทนา ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งเวทนา ไม่รู้จักความดับสนิทแห่ง เวทนา ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งเวทนา
ไม่รู้จักผัสสะ ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ไม่รู้จักความดับสนิทแห่ง ผัสสะ ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งผัสสะ
ไม่รู้จักอายตนะหก ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งอายตนะหก ไม่รู้จักความดับสนิท แห่งอายตนะหก ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งอายตนะหก
ไม่รู้จักนามรูป ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งนามรูป ไม่รู้จักความดับสนิทแห่ง นามรูป ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งนามรูป
ไม่รู้จักวิญญาณ ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ไม่รู้จักความดับสนิทแห่ง วิญญาณ ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งวิญญาณ
ไม่รู้จักสังขาร ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งสังขาร ไม่รู้จักความดับสนิทแห่ง สังขาร ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งสังขาร
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นสมณะใน บรรดาสมณะทั้งหลายก็ตาม ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายก็ตาม ก็หาเป็นสมณะหรือพราหมณ์ ไปได้ไม่ หาได้ทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความ เป็นพราหมณ์ด้วย
150
ไม่รู้อริยสัจจ์ไม่ได้เป็นสมณะ
(ไม่รู้อริยสัจจ์ ก็หาได้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ไม่)
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักตามที่เป็นจริงว่า ทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ ไม่รู้จักตามที่เป็นจริงว่า เหตุให้เกิดทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ ไม่รู้จัก ตามที่เป็นจริงว่า ความดับสนิท แห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ ไม่รู้จักตามที่เป็นจริงว่า ข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นสมณะ ในบรรดาสมณะ ทั้งหลายก็ตาม ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในบรรดา พราหมณ์ทั้งหลายก็ตาม ก็หาเป็นสมณะ หรือพราหมณ์ไปได้ไม่ หาได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความ เป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลอยู่ไม่.
หมวดที่เจ็ด จบ.
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
หมวดที่๘
ว่าด้วย พิษสงทางใจ
153
ดาบที่หมกอยู่ในจีวร
ภิกษุ ท. ! มหาชนเขารู้จักเธอทั้งหลายว่า “สมณะ สมณะ” ดังนี้ ถึงเธอทั้งหลายเล่า เมื่อถูกเขาถามว่า ท่านทั้งหลาย เป็นอะไร ? พวกเธอ ทั้งหลายก็ปฏิญาณตัวเองว่า “เราเป็นสมณะ” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เมื่อเธอทั้งหลาย มีชื่อว่า สมณะ และปฏิญาณตัวเองว่า เป็นสมณะ อยู่อย่างนี้แล้ว พวกเธอทั้งหลาย จะต้องสำเหนียกใจว่า “ข้อ ปฏิบัติอันใด เป็นข้อปฏิบัติสมควรแก่สมณะ เราจัก ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันนั้น. ด้วยการปฏิบัติของเราอย่างนี้สมัญญาว่าสมณะของตนก็จักเป็นจริง และ คำปฏิญาณว่าสมณะของเราก็จักสมจริง อนึ่งเล่า เราบริโภคใช้สอย บาตร จีวร อาหารบิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัย เภสัช บริกขาร ของทายกเหล่าใด
การบำเพ็ญทานของทายกเหล่านั้น ก็จักมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่ ; และการ บรรพชา ของเราเอง ก็จักไม่เป็นหมันเปล่า แต่จักมีผลมีกำไรแก่เรา” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึง สำเหนียกใจไว้อย่างนี้เถิด.
ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง มีอภิชฌามาก ยังละอภิชฌาไม่ได้ มีจิตพยาบาท ยังละ พยาบาทไม่ได้ เป็นผู้มักโกรธ ยังละความมักโกรธ ไม่ได้ เป็นผู้มักถือความโกรธ ยังละความถือ โกรธไม่ได้ เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ยังละความลบหลู่คุณท่านไม่ได้ เป็นผู้ยกตนเทียมท่าน ยังละความ ยกตนเทียมท่านไม่ได้ เป็นผู้ริษยา ยังละความริษยาไม่ได้ เป็นคนตระหนี่ยังละความตระหนี่ไม่ได้ เป็นคนโอ้อวด ยังละความโอ้อวดไม่ได้ เป็นคนมีมายา ยังละความมายาไม่ได้ เป็นคนมีความ ปรารถนาลามก ยังละความ ปรารถนาลามกไม่ได้ เป็นคนมีความเห็นผิด ยังละความเห็นผิดไม่ได้;
ภิกษุ ท. ! เพราะละกิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น ซึ่งเป็นเครื่องมัวหมองของ สมณะ เป็นโทษ ของสมณะ เป็นนํ้าฝาดของสมณะ เป็นเหตุให้สัตว์เกิดในอบาย และมีวิบากอันสัตว์ทั้งหลายจะต้อง เสวยในทุคติเหล่านี้ยังละไม่ได้ เราก็ไม่กล่าวภิกษุนั้นว่า “เป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติสมควรแก่สมณะ” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน อาวุธอันคมกล้า๑ มีคมสองข้าง ที่เขาลับ ไว้อย่างดีแล้ว หุ้มห่อไว้ ด้วยผ้าสังฆาฏิของภิกษุนั้นเอง ฉันใด ภิกษุ ท. ! เรากล่าวการบรรพชาของภิกษุนี้ว่า เปรียบกัน ได้กับอาวุธมีคมสองข้างนั้น ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! เราไม่กล่าวความเป็นสมณะว่า เป็นสิ่งที่มีได้ เพราะเหตุสักว่าการทรงสังฆาฏิของผู้ที่ทรงสังฆาฏิฯลฯ เป็นต้นเลย.
155
ยาพิษในโลก
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน ถ้วยดื่มสำริดมีเครื่องดื่มใส่อยู่แล้วชนิดหนึ่ง สมบูรณ์ด้วยสีกลิ่น และรส แต่ว่า มียาพิษปนติดอยู่. ครั้งนั้น มีบุรุษผู้หนึ่ง ซึ่งกำลังร้อนจัด มีความร้อนระอุไปทั้งตัว เหน็ดเหนื่อย คอแห้งกระหายนํ้า มาถึงเข้า.
คนทั้งหลาย บอกแก่บุรุษนั้นว่า “นี่แน่ะท่านผู้เจริญ ถ้วยดื่ม สำริดใบนี้มีเครื่องดื่ม สมบูรณ์ ด้วยสีกลิ่น และรส สำหรับท่าน แต่ว่ามียาพิษปนติดอยู่. ถ้าหากท่านต้องการ ดื่มก็ดื่มได้ เมื่อท่าน กำลังดื่มจักติด
ใจมันด้วยสีของมันบ้าง ด้วยกลิ่นของมันบ้าง ด้วยรสของมันบ้าง
แต่ว่า ครั้นดื่ม เข้าไปแล้ว ท่านจักถึงความตาย หรือรับทุกข์เจียนตายเพราะเหตุนั้น” ดังนี้.
บุรุษนั้นไม่ทันจะพิจารณาถ้วยดื่มสำริดอันนั้น (ว่าจะควรดื่ม หรือไม่ควรดื่มอย่างไรเป็นต้น) รีบดื่มเอา ๆไม่ยอมวาง. บุรุษนั้นก็ถึงความตาย หรือรับทุกข์เจียนตาย เพราะเหตุนั้น ฉันใด
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ในกาลอดีตก็ตาม ในกาลอนาคตก็ตาม ในกาลบัดนี้ ก็ตาม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสิ่งอันเป็น ที่รักที่สนิทใจในโลก โดยความเป็นของ เที่ยงโดย ความเป็นสุขโดยความเป็นตัวตน โดยความเป็นของไม่เสียบแทง โดยความเป็นของเกษม สมณะ หรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมทำตัณหาให้เจริญ. เมื่อทำตัณหาให้เจริญอยู่ก็ทำอุปธิให้เจริญ.
เมื่อทำอุปธิให้เจริญอยู่ก็ทำทุกข์ให้เจริญ. เมื่อทำทุกข์ให้เจริญอยู่สมณะ หรือพราหมณ์ พวกนั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจากความเกิด ความแก่ความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย
ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เราตถาคตย่อมกล่าวว่า “พวกเหล่านั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจาก ทุกข์” ดังนี้แล.
156
ผู้ตกเหว
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใดก็ตาม ยังไม่รู้ตามที่เป็นจริงว่า ทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ เหตุให้เกิดทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ ความดับสนิทแห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมยินดีอย่างยิ่งในเหตุปัจจัยเครื่องปรุงแต่งชนิด ที่เป็นไปเพื่อความเกิด ความแก่ความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เขาผู้ยินดีในเหตุปัจจัย เครื่องปรุงแต่งชนิดนั้น ๆ แล้ว ย่อมก่อสร้างเหตุปัจจัย เครื่องปรุงแต่ง ชนิดที่เป็นไปเพื่อความเกิดเป็นต้นนั้น ๆ.
ครั้นเขาก่อสร้างเหตุปัจจัยนั้น ๆ แล้ว เขาก็ตกลงไปในเหวแห่งความเกิดบ้าง ในเหวแห่ง ความแก่บ้าง ในเหวแห่ง ความตายบ้าง ในเหวแห่งความโศกบ้าง ในเหวแห่งความรํ่าไรรำพันบ้าง ในเหวแห่งความทุกข์กายบ้าง ในเหวแห่งความทุกข์ใจบ้าง ในเหวแห่งความ คับแค้นใจบ้าง อยู่นั้นเอง.
สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจาก ความเกิด ความแก่ความตาย ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เราตถาคตย่อมกล่าวว่า “พวกเหล่า นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์” ดังนี้แล.
157
ผู้เห็นแต่จะทะเลาะวิวาท
ภิกษุ ท. ! พอที ! พวกเธอทั้งหลาย อย่าหมายมั่นกันเลย อย่า ทะเลาะกันเลย อย่าโต้เถียงกันเลย อย่าวิวาทกันเลย (ดังนี้ถึง ๒-๓ ครั้ง). เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว มีภิกษุบางรูป ูลขึ้นว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นธรรมสามี ! ขอพระองค์จงหยุดไว้ก่อนเถิด พระเจ้าข้า ! ขอจงทรงขวนขวายน้อยเถิด พระเจ้าข้า !
ข้าแต่พระ ผู้มีพระภาคเจ้า ! ขอจงทรงประกอบในสุขวิหารในทิฏฐธรรม อยู่เถิด พระเจ้าข้า ! พวก ข้าพระองค์ทั้งหลายจักทำให้เห็นดำเห็นแดงกัน ด้วยการหมายมั่นกัน ด้วยการทะเลาะกัน ด้วย การโต้เถียงกันด้วยการวิวาทกัน อันนี้เอง” ดังนี้.
กาลนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงครองจีวร ถือบาตร เสด็จเข้าไปสู่เมือง โกสัมพีเพื่อบิณฑบาต. ครั้นทรงเที่ยวบิณฑบาตในเมืองโกสัมพีแล้ว ภายหลังภัตตกาล กลับจาก บิณฑบาตแล้ว ทรงเก็บบริกขารขึ้นมาถือไว้แล้วประทับยืน ตรัสคาถานี้ว่า
“คนไพร่ๆ ด้วยกัน ส่งเสียงเอ็ดตะโร แต่หามีคนไหนสำคัญ ตัวว่า เป็นพาลไม่. เมื่อหมู่แตกกัน ก็หาได้มีใครรู้สึกเป็นอย่างอื่น ให้ดีขึ้นไปกว่านั้นได้ไม่.
พวกบัณฑิตลืมตัว สมัครที่จะพูดตามทางที่ตนปรารถนาจะพูด อย่างไร ก็พูดพล่ามไป อย่างนั้น หาได้นำพาถึงกิเลสที่เป็นเหตุแห่งการ ทะเลาะกันไม่.” พวกใด ยังผูกใจเจ็บอยู่ว่า ‘ผู้นั้นได้ด่าเรา ได้ทำร้ายเรา ได้เอา ชนะเรา ได้ลักทรัพย์ของเรา’ เวรของพวกนั้น ย่อมระงับไม่ลง.
พวกใด ไม่ผูกใจเจ็บ ‘ผู้นั้นได้ด่าเรา ได้ทำร้ายเรา ได้เอาชนะ เรา ได้ลักทรัพย์ของเรา’ เวรของพวกนั้น ย่อมระงับได้.
ในยุคไหนก็ตาม เวรทั้งหลาย ไม่เคยระงับได้ด้วยการผูกเวร เลย แต่ระงับได้ด้วยไม่มีการ ผูกเวร. ธรรมนี้เป็นของเก่าที่ใช้ได้ตลอดกาล. คนพวกอื่น ไม่รู้สึกว่า ‘พวกเราจะแหลกลาญ ก็เพราะเหตุนี้’ พวกใด สำนึกตัวได้ในเหตุที่มีนั้น ความมุ่งร้ายกันย่อมระงับได้เพราะความรู้สึกนั้น.
ความกลมเกลียวเป็นนํ้าหนึ่งใจเดียวกัน (ในการทำตามกิเลส) ยัง มีได้แม้แก่พวกคนกักขฬะ เหล่านั้น ที่ปล้นเมืองหักแข้งขาชาวบ้าน ฆ่าฟันผู้คน แล้วต้อนม้า โค และขนเอาทรัพย์ไป แล้วทำไม จะ มีแก่พวกเธอไม่ได้เล่า ?
ถ้าหากไม่ได้สหายที่พาตัวรอด เป็นปราชญ์ที่มีความเป็นอยู่ดีเป็นเพื่อนร่วมทางแล้วไซร้ ก็จงทำตัวให้เหมือนพระราชา ที่ละ แคว้นซึ่งพิชิตได้แล้วไปเสีย แล้วเที่ยวไปคนเดียว ดุจช้างมา ตังคะ เที่ยวไปในป่าตัวเดียว ฉะนั้น.การเที่ยวไปคนเดียว ดีกว่า เพราะไม่มีความเป็น สหายกันได้กับ
คนพาล.
พึงเที่ยวไปคนเดียว และไม่ทำบาป เป็นคนมักน้อย
ดุจช้างมาตังคะ เป็นสัตว์มักน้อย เที่ยวไปในป่า ฉะนั้น”.
159
ม้าพยศแปดจำพวก
ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงม้าพยศแปดจำพวก และโทษแห่งม้าพยศแปดจำพวกจำพวกนั้นด้วย เราจักแสดงบุรุษพยศแปดจำพวก และโทษแห่งบุรุษพยศแปดจำพวกนั้นด้วย ; พวกเธอทั้งหลาย จงฟังในข้อนั้น :-
159-1
1.ม้าทิ้งรถ
ภิกษุ ท. ! ม้าพยศบางตัวในกรณีนี้ถูกนายสารถีเตือนด้วยการลงปฏัก เพื่อให้รู้ว่า “จงไป” ดังนี้แล้ว กลับถอยหลังสลัดรถ ให้หลุดจากตน. ม้า พยศบางตัว เป็นได้ถึงเพียงนี้ นี่เป็นโทษแห่ง ม้าพยศข้อแรก.
ภิกษุ ท. ! ในอุปมานี้พวกภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุรูปหนึ่ง ด้วยอาบัติภิกษุรูปนั้นถูก ภิกษุทั้งหลายโจท ด้วยอาบัติอยู่ย่อม อำพรางอาบัติไว้ว่า “ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้ ยังระลึกไม่ได้” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เปรียบได้กับม้าพยศ ตัวนั้น ถูกนายสารถีเตือนด้วยปฏักว่า “จงไป” ดังนี้แล้ว กลับถอยหลัง สลัด รถให้หลุดจากตน.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวนักบวชนี้ว่า มีม้าพยศเป็นคู่เปรียบ ฉะนั้น.
ภิกษุ ท. ! นักบวชบางคน เป็นได้ถึงเพียงนี้ นี่เป็นโทษแห่งบุรุษ พยศข้อแรก.
159-2
2.ม้าหักไม้รถ
ภิกษุ ท. ! ม้าพยศบางตัวในกรณีนี้ถูกนายสารถีเตือนด้วยการลงปฏัก เพื่อให้รู้ว่า “จงไป” ดังนี้แล้ว ย่อม หกหลัง กระแทกธูป หักไม้ตรีทัณฑ์. ม้าพยศบางตัว เป็นได้ถึงเพียงนี้ นี่เป็นโทษแห่ง ม้าพยศข้อที่สอง.
ภิกษุ ท. ! พวกภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุรูปหนึ่งด้วยอาบัติภิกษุรูปนั้น ถูกภิกษุทั้งหลาย โจทด้วยอาบัติอยู่กลับโต้แย้ง ว่า “ประโยชน์อะไรด้วยคำพูด ของท่าน ซึ่งเป็นคนพาลคนเขลา คนอย่างท่านหรือรู้จักสิ่งที่ควรพูด” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เปรียบได้กับม้าพยศตัวนั้นถูกนายสารถีเตือนด้วยปฏักว่า “จงไป” ดังนี้แล้ว ย่อมหกหลัง กระแทกธูป หักไม้ตรีทัณฑ์.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวนักบวช นี้ว่า มีม้าพยศเป็นคู่เปรียบ ฉะนั้น.
ภิกษุ ท. ! นักบวชบางคน เป็นได้ถึง เพียงนี้ นี่เป็นโทษแห่งบุรุษพยศข้อที่สอง.
160
3.ม้าเตะงอนรถ
ภิกษุ ท. ! ม้าพยศบางตัวในกรณีนี้ถูกนายสารถีเตือนด้วยการลงปฏัก เพื่อให้รู้ว่า “จงไป” ดังนี้แล้ว ย่อม ยกขาดีดขึ้นไป ทางงอนรถ แล้วเตะ แล้วถีบ งอนรถ. ม้าพยศบางตัว เป็นได้ถึงเพียงนี้ นี่เป็นโทษแห่งม้าพยศข้อที่สาม.
ภิกษุ ท. ! พวกภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุรูปหนึ่งด้วยอาบัติภิกษุรูปนั้น ถูกภิกษุทั้งหลาย โจทด้วยอาบัติอยู่กลับ ยกเอาอาบัติให้แก่ผู้โจท เสียเองว่า “ท่านน่ะสิต้องอาบัติชื่อนี้ ท่านจงทำคืน เป็นคนแรกเสียก่อนเถิด” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เปรียบได้กับม้าพยศตัวนั้นถูกนายสารถีเตือนด้วยปฏักว่า “จงไป” ดังนี้แล้ว ย่อมยกขาดีดขึ้นไปทางงอนรถ แล้วเตะ แล้วถีบงอนรถ.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวนักบวชนี้ว่า มีม้าพยศเป็นคู่เปรียบ ฉะนั้น.
ภิกษุ ท. ! นักบวชบาง คน เป็นได้ถึงเพียงนี้ นี่เป็นโทษแห่งบุรุษพยศข้อที่สาม.
160-1
4.ม้าหงายรถ
ภิกษุ ท. ! ม้าพยศบางตัวในกรณีนี้ถูกนายสารถีเตือนด้วยการลงปฏัก เพื่อให้รู้ว่า “จงไป” ดังนี้แล้ว ย่อม แกล้งเดินให้ผิดทาง ทำให้รถตะแคงหงาย. ม้าพยศบางตัว เป็นได้ถึงเพียงนี้ นี่เป็นโทษแห่งม้าพยศข้อที่สี่.
ภิกษุ ท. ! พวกภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุรูปหนึ่งด้วยอาบัติภิกษุรูปนั้น ถูกภิกษุทั้งหลายโจท ด้วยอาบัติอยู่กลับเอาเรื่องอื่นมา พูดกลบเกลื่อนเสีย นำเอาเรื่องนอกเรื่องมาพูดแทน แสดงท่าโกรธ ประทุษร้าย อาการน้อยใจให้ปรากฏ.
ภิกษุ ท. ! เปรียบได้กับม้าพยศตัวนั้น ถูกนายสารถีเตือนด้วยปฏักว่า “จงไป” ดังนี้แล้ว ย่อมแกล้งเดินให้ผิดทาง ทำให้รถตะแคงหงาย
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวนักบวชนี้ว่า มีม้าพยศเป็นคู่เปรียบ ฉะนั้น.
ภิกษุ ท. ! นักบวชบางคน เป็นได้ถึงเพียงนี้ นี่เป็นโทษแห่งบุรุษพยศข้อที่สี่.
161
5.ม้าทำลายรถ
ภิกษุ ท. ! ม้าพยศบางตัวในกรณีนี้ถูกนายสารถีเตือนด้วยการลงปฏัก เพื่อให้รู้ว่า “จงไป” ดังนี้แล้ว ย่อม กระโดดจนสุดตัวสุดเท้า. ม้าพยศบางตัว เป็นได้ถึงเพียงนี้ นี่เป็นโทษแห่งม้าพยศ ข้อที่ห้า.
ภิกษุ ท. ! พวกภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุรูปหนึ่งด้วยอาบัติภิกษุรูปนั้น ถูกภิกษุทั้งหลายโจท ด้วยอาบัติอยู่กลับโคลงกาย ไกวแขน พูดในท่ามกลาง สงฆ์.
ภิกษุ ท. ! เปรียบได้กับม้าพยศตัวนั้น ถูกนายสารถีเตือนด้วยปฏักว่า “จงไป” ดังนี้แล้ว ย่อมกระโดดจนสุดตัวสุดเท้า.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวนักบวช นี้ว่า มีม้าพยศเป็นคู่เปรียบ ฉะนั้น.
ภิกษุ ท. ! นักบวชบางคน เป็นได้ถึง เพียงนี้ นี่เป็นโทษแห่งบุรุษพยศข้อที่ห้า.
161-1
6.ม้ากัดสายบังเหียน
ภิกษุ ท. ! ม้าพยศบางตัวในกรณีนี้ถูกนายสารถีเตือนด้วยการลงปฏัก เพื่อให้รู้ว่า “จงไป” ดังนี้แล้ว ก็ไม่แยแสต่อปฏัก กลับกัดสายบังเหียน วิ่งเตลิด ไปตามปรารถนาของมัน. ม้าพยศบางตัว เป็นได้ถึงเพียงนี้ นี่เป็นโทษแห่ง ม้าพยศข้อที่หก.
ภิกษุ ท. ! พวกภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุรูปหนึ่งด้วยอาบัติภิกษุรูปนั้น ถูกภิกษุทั้งหลายโจท ด้วยอาบัติอยู่ก็ไม่ใยดีต่อสงฆ์ไม่เอื้อเฟื้อต่อโจทก์หลีก ไปทั้ง ๆ ที่ตนยังมีอาบัติติดตัวอยู่.
ภิกษุ ท. ! เปรียบได้กับม้าพยศตัวนั้น ถูกนายสารถีเตือนด้วยปฏักว่า “จงไป” ดังนี้แล้ว ก็ไม่แยแสต่อปฏัก กลับกัด สายบังเหียน วิ่งเตลิดไปตามปรารถนาของมัน.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวนักบวชนี้ว่า มีม้าพยศเป็นคู่เปรียบ ฉะนั้น
ภิกษุ ท. ! นักบวชบางคน เป็นได้ถึงเพียงนี้ นี่เป็นโทษแห่งบุรุษพยศข้อที่หก.
162
7.ม้ายืนนิ่ง
ภิกษุ ท. ! ม้าพยศบางตัวในกรณีนี้ถูกนายสารถีเตือนด้วยการลงปฏัก เพื่อให้รู้ว่า “จงไป” ดังนี้แล้ว ก็ไม่ยอมก้าวเดินหน้า ไม่ยอมถอยกลับหลัง ยืนนิ่งอยู่ราวกับหลักที่ปักไว้ในที่นั้น ฉะนั้น. ม้าพยศบางตัว เป็นได้ถึงเพียงนี้ นี่เป็นโทษแห่งม้าพยศข้อที่เจ็ด.
ภิกษุ ท. ! พวกภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุรูปหนึ่งด้วยอาบัติภิกษุรูปนั้น ถูกภิกษุทั้งหลายโจท ด้วยอาบัติอยู่ก็ไม่ยอมกล่าว ว่าตนต้องอาบัติหรือไม่ต้อง อาบัติ. ภิกษุรูปนั้น ย่อมทำให้สงฆ์ลำบาก ด้วย ความเป็นผู้นิ่งไม่ยอมพูดของเธอ.
ภิกษุ ท. ! เปรียบได้กับม้าพยศตัวนั้น ถูกนายสารถีเตือนด้วยปฏักว่า “จงไป” ดังนี้แล้ว ก็ไม่ยอมก้าวเดินหน้า ไม่ยอมถอยกลับหลัง ยืนนิ่งอยู่ราวกับหลักที่ปักไว้ในที่นั้น.
ฉะนั้น ภิกษุ ท . ! เรากล่าวนักบวชนี้ว่า มีม้าพยศเป็นคู่เปรียบ ฉะนั้น.
ภิกษุ ท. ! นักบวชบางคน เป็นได้ถึงเพียงนี้ นี่เป็นโทษแห่งบุรุษ พยศข้อที่เจ็ด.
163
8.ม้าหมอบ
ภิกษุ ท. ! ม้าพยศบางตัวในกรณีนี้ถูกนายสารถีเตือนด้วยการลงปฏัก เพื่อให้รู้ว่า “จงไป” ดังนี้แล้ว มันกลับคุกเท้าหน้า คุกเท้าหลัง หมอบทับ
เท้าทั้งสี่ในที่นั้นเอง. ม้าพยศบางตัว เป็นได้ถึง เพียงนี้ นี่เป็นโทษแห่งม้า พยศข้อที่แปด.
ภิกษุ ท. ! พวกภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุรูปหนึ่งด้วยอาบัติภิกษุรูปนั้น ถูกภิกษุทั้งหลาย โจทด้วยอาบัติอยู่กลับกล่าวเสียอย่างนี้ว่า “ทำไมหนอ พวก ผู้มีอายุทั้งหลาย ชอบพาลหาเหตุ ใส่ตัวเราหนักไปนัก บัดนี้เราขอเวลา พอ เราได้บอกเลิกสิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศตํ่าแห่ง คฤหัสถ์เสีย ก่อนเท่านั้น” ดังนี้แล้ว ต่อมา ภิกษุนั้นกบอกเลิกสิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศตํ่าแห่ง คฤหัสถ์แล้วยังแถมเยาะเย้ยให้ว่า “ทีนี้พวกท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงพอใจ กันเถิด” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เปรียบได้กับม้าพยศตัวนั้น ถูกนายสารถีเตือนด้วย ปฏักว่า “จงไป” ดังนี้แล้ว มันกลับคุกเท้าหน้า คุกเท้าหลัง หมอบทับเท้าทั้งสี่ในที่นั้นเอง.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวนักบวชนี้ว่า มีม้าพยศเป็นคู่เปรียบ ฉะนั้น.
ภิกษุ ท. ! นักบวชบางคน เป็นได้ถึงเพียงนี้ นี่เป็นโทษแห่งบุรุษพยศ ข้อที่แปด แล.
163-1
เหตุให้อยากทำลายสงฆ์
อานนท์ ! ภิกษุลามกเห็นอำนาจประโยชน์สี่อย่างเหล่านี้อยู่ จึงยินดีในการทำลายสงฆ์ ให้แตกกัน. สี่อย่างอะไรกันเล่า ? สี่อย่างคือ
(๑) ภิกษุลามกในกรณีนี้เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดที่ ตนเองนึกแล้วก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิด ซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญญาว่า เป็น สมณะ ไม่ใช่คนประพฤติพรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติพรหมจรรย์เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติหมักหมม
เหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย. ภิกษุลามกนั้นหวั่นวิตกไปว่า “ถ้าหากภิกษุทั้งหลาย จะรู้จัก เราว่า เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก ฯลฯ เปียกแฉะ มีสัญชาติหมักหมมเหมือนบ่อ ที่เทขยะ มูลฝอยไซร้ เมื่อภิกษุพร้อมเพรียงกันดีอยู่ก็จะ ทำเราให้ขาดสิทธิ์ในความเป็นภิกษุได้ แต่เมื่อแตก กันเสีย ก็จักไม่อาจทำเรา ให้ฉิบหาย” ดังนี้. ภิกษุลามกมองเห็นอำนาจประโยชน์อันนี้เป็นข้อแรก จึง ยินดีในการทำลายสงฆ์.
(๒) อีกข้อหนึ่ง ภิกษุลามก เป็นคน มิจฉาทิฏฐิ ประกอบด้วย ความเห็นที่แล่นดิ่งไปยึดถือ เอาที่สุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง. ภิกษุลามกนั้นหวั่นวิตก ไปว่า “ถ้าหากภิกษุทั้งหลายจะรู้จักเราว่า เป็นคน มิจฉาทิฏฐิ ประกอบด้วย ความเห็นที่แล่นดิ่งไปยึดถือเอาที่สุดโต่งข้างใดข้างหนึ่งไซร้ เมื่อภิกษุพร้อม เพรียงกันดีอยู่ก็จักทำเราให้ฉิบหายได้ แต่เมื่อแตกกันเสีย ก็จักไม่ทำเรา ให้ฉิบหาย” ดังนี้. ภิกษุลามกมองเห็นอำนาจประโยชน์อันนี้เป็นข้อที่สอง จึง ยินดีในการทำลายสงฆ์.
(๓) อีกข้อหนึ่ง ภิกษุลามก เป็นคนเลี้ยงชีวิตผิดทาง เป็นมิจฉา อาชีพ. ภิกษุลามกนั้น หวั่นวิตกไปว่า “ถ้าหากภิกษุทั้งหลาย จะรู้จักเราว่า เรา เลี้ยงชีวิตผิดทางเป็นมิจฉาอาชีพไซร้ เมื่อภิกษุพร้อมเพรียงกันดีอยู่ก็จักทำเรา ให้ฉิบหายได้ แต่เมื่อแตกกันเสีย ก็จักไม่ทำเราให้ฉิบหาย” ดังนี้. ภิกษุลามก มองเห็นอำนาจประโยชน์อันนี้เป็นข้อที่สาม จึงยินดีในการทำลายสงฆ์.
(๔) อีกข้อหนึ่ง ภิกษุลามก เป็นคนปรารถนาลาภ ปรารถนาสักการะ ปรารถนาเสียงเยินยอ. ภิกษุลามกนั้นหวั่นวิตกไปว่า “ถ้าหากภิกษุทั้งหลาย จะรู้จักเราว่า เป็นคนปรารถนาลาภ ปรารถนา สักการะ ปรารถนาเสียงเยินยอ ไซร้ เมื่อภิกษุพร้อมเพียงกันดีอยู่ก็จักไม่สักการะเคารพ นับถือ บูชาเรา แต่เมื่อแตกกันเสีย ก็จักสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา” ดังนี้. ภิกษุลามกมองเห็นอำนาจประโยชน์ อันนี้เป็นข้อที่สี่จึงยินดีในการทำลายสงฆ์.
อานนท์ ! ภิกษุลามกเห็นอำนาจประโยชน์สี่อย่างเหล่านี้แล จึงยินดีในการทำลายสงฆ์ ให้แตกกัน.
165
ผู้จมมิดในหลุมคูถ
(ทรงพยากรณ์พระเทวทัต ว่าไม่เห็นธรรมขาวแม้ปลายขน)
อานนท์ ! ภิกษุรูปนั้นชะรอยจักเป็นพระใหม่บวชยังไม่นาน หรือว่า เป็นพระเถระผู้พาลผู้เขลา. ข้อที่เราพยากรณ์โดยส่วนเดียวแล้ว จักกลับกลาย ไปเป็นสองส่วนได้อย่างไร. อานนท์ ! เรายังมอง ไม่เห็นคนอื่นแม้สักคนหนึ่ง ซึ่งเราได้วินิจฉัยประมวลเหตุการณ์ทั้งปวงแล้ว จึงพยากรณ์ไว้อย่างนั้น เหมือนอย่างเทวทัต.
อานนท์ ! ตราบใด เรายังมองเห็นธรรมขาวของเทวทัต แม้เพียง เท่าปลายแหลมสุดแห่ง เส้นขน ตราบนั้นเราก็ไม่พยากรณ์เทวทัตว่า เทวทัต ต้องไปเกิดในอบาย เป็นสัตว์นรก ตั้งอยู่ชั่วกัลป์ หนึ่ง ช่วยเหลืออะไรไม่ได้ก่อน.
อานนท์ ! เมื่อใดแล เรามองไม่เห็นธรรมขาวของเทวทัต แม้เพียงเท่าปลายแหลมสุด แห่งเส้นขน เมื่อนั้น เราจึงพยากรณ์เทวทัตว่า เทวทัต ต้องไปเกิดในอบาย เป็นสัตว์นรก ตั้งอยู่ชั่ว กัลป์หนึ่ง ช่วยเหลืออะไรไม่ได้.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑. บาลีพระพุทธภาษิต ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๐/๓๓๓ ตรัสแก่ท่านพระอานนท์โดยที่มีภิกษุรูปหนึ่งถาม ท่านว่า “ท่านอานนท์ผู้มีอายุ ! พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวินิจฉัยประมวลเหตุการณ์ทั้งปวง ครบถ้วนดี แล้วหรือ จึงทรง พยากรณ์ว่าพระเทวทัต ต้องเกิดในอบาย เป็นสัตว์นรก ตั้งอยู่ชั่วกัลป์หนึ่ง ช่วยเหลืออะไรไม่ได้ หรือว่าทรงพยากรณ์โดยปริยายบางอย่างเท่านั้น” ดังนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ จึงให้คำตอบว่า “ผู้มีอายุ ! คำพยากรณ์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพยากรณ์แล้ว ย่อมเป็นความจริง เช่นนั้นเสมอ” ดังนี้แล้ว ; พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเรื่องนี้จึงได้ตรัส พระพุทธวจนะนี้.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อานนท์ ! เปรียบเหมือน หลุมคูถลึกชั่วบุรุษ เต็มไปด้วยคูถจนปริ่ม ขอบหลุม บุรุษคนหนึ่ง พึงตกลงไปในหลุมคูถนั้นจนมิดทั้งตัว. ยังมีบุรุษบาง คนหวังประโยชน์เกื้อหนุน หวังความเกษม สำราญจากสภาพเช่นนั้น หวังจะช่วย ยกเขาขึ้นจากหลุมคูถนั้น บุรุษนี้จึงเข้าไปใกล้เดินเวียนดูรอบ ๆ หลุมคูถนั้น มองไม่เห็นอวัยวะของคนในหลุมนั้น แม้เพียงเท่าปลายแหลมสุดแห่งเส้นขน ที่ยังที่ยัง ไม่ได้เปื้อนคูถ ซึ่งตนพอจะจับยกขึ้นมาได้. ข้อนี้ฉันใด
อานนท์ ! เมื่อใด เรามองไม่เห็นธรรมขาวของเทวทัต แม้เพียงเท่า ปลายแหลมสุดแห่ง เส้นขน เมื่อนั้น เราจึงกล้าพยากรณ์เทวทัตว่า เทวทัตต้อง ไปเกิดในอบาย เป็นสัตว์นรก ตั้งอยู่ชั่ว กัลป์หนึ่ง ช่วยเหลืออะไรไม่ได้ฉันนั้นแล.
166
สันดานกา
ภิกษุ ท. ! กา เป็นสัตว์ที่ประกอบด้วยความเลวสิบประการ. สิบ ประการอะไรกันเล่า ? สิบประการคือ :-
(๑) กา เป็นสัตว์ทำลายความดี.
(๒) กา เป็นสัตว์คะนอง.
(๓) กา เป็นสัตว์ทะเยอทะยาน.
(๔) กา เป็นสัตว์กินจุ.
(๕) กา เป็นสัตว์หยาบคาย.
(๖) กา เป็นสัตว์ไม่กรุณาปราณี.
(๗) กา เป็นสัตว์ทุรพล.
(๘) กา เป็นสัตว์ร้องเสียงอึง.
(๙)กา เป็นสัตว์ปล่อยสติ.
(๑๐) กา เป็นสัตว์สะสมของกิน.
ภิกษุ ท. ! กา เป็นสัตว์ที่ประกอบด้วยความเลวสิบประการ เหล่านี้.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุลามก ก็เช่นเดียวกับกานั้นแหละ เป็นคนประกอบด้วย อสัทธรรมสิบประการ. สิบประการอะไรกันเล่า ? สิบประการคือ :-
(๑) ภิกษุลามก เป็นคนทำลายความดี.
(๒) ภิกษุลามก เป็นคนคะนอง.
(๓) ภิกษุลามก เป็นคนทะเยอทะยาน.
(๔) ภิกษุลามก เป็นคนกินจุ.
(๕) ภิกษุลามก เป็นคนหยาบคาย.
(๖) ภิกษุลามก เป็นคนไม่กรุณาปราณี.
(๗) ภิกษุลามก เป็นคนทุรพล.
(๘) ภิกษุลามก เป็นคนพูดเสียงอึง.
(๙) ภิกษุลามก เป็นคนปล่อยสติ.
(๑๐) ภิกษุลามก เป็นคนสะสมของกิน.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุลามก เป็นคนประกอบด้วยอสัทธรรมสิบประการ เหล่านี้แล.
168
พระรังโรค
ภิกษุ ท. ! โรคสองอย่างเหล่านี้มีอยู่. สองอย่างอะไรกันเล่า ? สอง อย่างคือ โรคทางกาย กับ โรคทางใจ
ภิกษุ ท. ! ย่อมเห็นกันอยู่แล้วว่า สัตว์ทั้งหลาย ที่ยืนยันถึงความไม่มีโรคทางกายตลอด ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง ๓ ปีบ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง และที่ยืนยันถึงความไม่มีโรคทางกายยิ่งกว่า ๑๐๐ ปีบ้าง ก็พอจะหาได้.
ภิกษุ ท. ! แต่หมู่สัตว์ที่จะกล้ายืนยันถึงความไม่มีโรคทางใจแม้ชั่ว เวลาเพียงครู่เดียว (มุหุตฺต) เว้นแต่พระขีณาสพแล้ว นับว่า หาได้แสนยากในโลก.
ภิกษุ ท. ! โรคของบรรพชิตสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างอะไรกันเล่า ? สี่อย่างคือ
(๑) ภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจเพราะความมักมาก อยู่เสมอ ไม่รู้จักพอด้วยผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และหยูกยาแก้ไข้ตามมีตามได้.
(๒) ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจเพราะความมักมากอยู่เสมอ ไม่รู้จักพอด้วย ผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และหยูกยาแก้ไข้ตามมีตามได้แล้ว ย่อมตั้งความปรารถนาลามก เพื่อจะได้รับการคอยเอาอกเอาใจ จากคนอื่น และเพื่อจะได้ลาภสักการะและเสียงเยินยอ.
(๓) ภิกษุนั้น ย่อมวิ่งเต้น ขวนขวาย พยายาม เพื่อจะได้รับการ เอาอกเอาใจจากคนอื่น และเพื่อจะได้ลาภสักการะและเสียงเยินยอ.
(๔) ภิกษุนั้น ย่อมคิดวางแผนการเข้าสู่สกุล ย่อมคิดวางแผนการ นั่งในสกุล ย่อมคิด วางแผนการกล่าวธรรมในสกุล ย่อมคิดวางแผนการทนกลั้น อุจจาระปัสสาวะ คลุกคลีอยู่ในสกุล ภิกษุ ท. ! โรคของบรรพชิตสี่อย่างเหล่านี้แล.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจ ว่า “เราทั้งหลาย จักไม่เป็นผู้มักมาก จักไม่เป็นผู้ร้อนใจเพราะความมักมาก แต่เป็นผู้รู้จักพอด้วยผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และหยูกยาแก้ไข้ตามมีตามได้ จักไม่ตั้งความปรารถนาลามก เพื่อให้ได้รับการคอย เอาอก เอาใจจาก คนอื่น และเพื่อให้ได้ลาภสักการะและเสียงเยินยอ จักไม่วิ่งเต้น ขวนขวาย พยายาม เพื่อให้ได้รับการคอยเอาอกเอาใจจากคนอื่น
และเพื่อให้ได้ลาภสักการะ และเสียงเยินยอ จักเป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย ต่อสัมผัสแห่ง เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลานทั้งหลาย ต่อถ้อยคำหยาบคาย ร้ายแรงต่างๆ เป็นผู้อดทนต่อเวทนาที่เกิดในกาย อันเป็นทุกข์กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ขมขื่นไม่เจริญใจ ถึงขนาดจะคร่า เอาชีวิตเสียได้” ดังนี้.
ภิกษุ ท ! พวกเธอ ทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.
169
ผู้ควรอยู่ในคอกไปก่อน
ภิกษุ ท. ! ผู้ประกอบด้วยเหตุห้าอย่าง เป็นผู้ที่ยังไม่ควรได้รับการ ปล่อยออกจากหมู่ไปอยู่ผู้เดียวก่อน. เหตุห้าอย่างอะไรกันเล่า ? ห้าอย่างคือ
(๑) เธอ ยังไม่รู้จักพอ ด้วย จีวร ตามมีตามได้.
(๒) เธอ ยังไม่รู้จักพอ ด้วย อาหารบิณฑบาต ตามมีตามได้.
(๓) เธอ ยังไม่รู้จักพอ ด้วย เสนาสนะ ตามมีตามได้.
(๔) เธอ ยังไม่รู้จักพอ ด้วย คิลาน ปัจจัย เภสัชบริกขาร ตามมีตามได้.
(๕) เธอ ยังมีความคิดหนักไปในทางกามอยู่มาก.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยเหตุห้าอย่างเหล่านี้แล เป็นผู้ที่ยังไม่ควร ได้รับการปล่อยออกจากหมู่ไปอยู่ผู้เดียวก่อน.
170
ผู้เกียจคร้านตลอดเวลา
ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุกำลัง เดิน อยู่ ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางกาม หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วย ความครุ่นคิดในทาง ทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่า ๆ ขึ้นมา และภิกษุก็รับเอาความ ครุ่นคิดนั้นไว้ไม่สละทิ้ง ไม่ถ่ายถอนออก ไม่ทำให้สุดสิ้นไป จนไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็นเช่นนี้แม้กำลังเดินอยู่ก็เรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำความเพียรเผากิเลส ไม่รู้สึกกลัวต่อสิ่งลามก เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรอันย่อหย่อน อยู่เนืองนิจ.
เมื่อภิกษุกำลัง ยืน อยู่ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางกาม หรือ ครุ่นคิดด้วยความ ครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทาง ทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่า ๆ ขึ้นมา และภิกษุก็รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ไม่สละทิ้ง ไม่ถ่ายถอนออก ไม่ทำให้สิ้นสุดลงไป จนไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็น เช่นนี้แม้กำลังยืนอยู่ก็เรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำความเพียรเผากิเลส ไม่รู้สึกกลัว
เมื่อภิกษุกำลัง นั่ง อยู่ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางกาม หรือ ครุ่นคิดด้วยความ ครุ่นคิด ในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทาง ทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่า ๆ ขึ้นมา และภิกษุก็รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ไม่สละทิ้ง ไม่ถ่ายถอนออก ไม่ทำให้สิ้นสุดลงไป จนไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็น เช่นนี้แม้กำลังนั่งอยู่ก็เรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำความเพียรเผากิเลส ไม่รู้สึกกลัว ต่อสิ่งลามก เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรอันย่อหย่อน อยู่เนืองนิจ.
เมื่อภิกษุกำลัง นอน อยู่ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางกาม หรือ ครุ่นคิดด้วยความ ครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทาง ทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่า ๆ ขึ้นมา และภิกษุก็รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ไม่สละทิ้ง ไม่ถ่ายถอนออก ไม่ทำให้สิ้นสุดลงไป จนไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็น เช่นนี้แม้กำลังนอนอยู่ก็เรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำความเพียรเผากิเลส ไม่รู้สึกกลัว ต่อสิ่งลามก เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรอันย่อหย่อน อยู่เนืองนิจ.
171
ลิงติดตัง
(ทรงอุปมา ภิกษุที่ยังติดอยู่ในกามคุณ 5 รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย)
ภิกษุ ท. ! ประเทศแห่งขุนเขาหิมพานต์อันเป็นประเทศที่ขรุขระ ไม่สมํ่าเสมอ ไปลำบาก ไม่เป็นที่เที่ยวไปทั้งของฝูงลิงและของหมู่มนุษย์ก็มีอยู่ ที่เป็นที่เที่ยวไปของฝูงลิง แต่ไม่เป็นที่ เที่ยวไป ของหมู่มนุษย์ก็มีอยู่ และ ภูมิภาคแห่งขุนเขาหิมพานต์ซึ่งราบเรียบ เป็นที่น่ารื่นรมย์ ซึ่งเป็นที่เที่ยวไปได้ทั้งของฝูงลิงและของหมู่มนุษย์ก็มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! ในที่นั้นแหละ พวกพรานวางตังเหนียวไว้ในกลางทางเดิน ของลิง เพื่อดักลิง. บรรดาลิงฝูงนั้น ลิงตัวใด ไม่เป็นชาติลิงโง่ไม่เป็นชาติลิงโลเล ลิงนั้นเห็นตังเหนียวนั้นแล้ว ย่อมเว้น ออกไกลทีเดียว. ส่วนลิงตัวใด เป็นชาติลิงโง่เป็นชาติลิงโลเล ลิงนั้นเข้าไปใกล้ตัง เหนียวนั้นแล้ว ก็เอามือ จับดูมือนั้นก็ติดตัง มันจึงเอามือข้างที่สองจับด้วยตั้งใจว่า จักเปลื้องมือข้าง ที่ติดตังออก มือข้างที่สองนั้นก็เลยติดตังเข้าด้วย.
มันจึงเอาเท้าข้างหนึ่งผลัก ด้วยตั้งใจว่า จักช่วยเปลื้องมือ ทั้งสองที่ติดตังออก เท้านั้นก็เลย ติดตังด้วย มันจึงเอาเท้าที่เหลืออีก ข้างหนึ่งผลัก ด้วยตั้งใจว่า จักช่วยเปลื้องมือ ทั้งสองกับเท้า ข้างหนึ่งออก เท้าข้างที่สองนั้น ก็เลยติด ตังเข้าอีก ; มันจึงเอา ปากกัดด้วยคิด ตามประสาของมันว่า จักช่วยเปลื้องมือทั้งสองและเท้าทั้งสองที่กำลังติดตังอยู่ออก ปากนั้นก็เลยติดตังเข้าอีกด้วย.
ภิกษุ ท. ! ลิงตัวนั้นถูกตังเหนียวตรึง ๕ ประการ ด้วยอาการอย่างนี้ นอนถอนใจใหญ่ อยู่ถึงความพินาศย่อยยับแล้ว ตามแต่นายพรานจะทำประการใด. ภิกษุ ท. ! นายพรานแทงลิงตัวนั้น แล้ว ยกขึ้นจากตังไม่ยอมทิ้งที่ไหน หลีกไปสู่ที่ตามต้องการ. ภิกษุ ท. ! เพราะข้อที่ลิงเที่ยวไปในถิ่น อื่น ซึ่งเป็นที่ไม่ควรเที่ยวไป จึงเป็นได้ถึงอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เที่ยวไป ในวิสัยอื่นซึ่งมิใช่ วิสัยควรเที่ยวไป เมื่อเที่ยวไปในวิสัยอื่นซึ่งมิใช่วิสัย ควรเที่ยวไป มารจักได้ช่องทาง มารจักได้โอกาส ทำตามอำเภอใจของมัน.
ภิกษุ ท. ! ก็วิสัยอื่นซึ่งมิใช่วิสัยควรเที่ยวไปของภิกษุเป็นอย่างไรเล่า ? วิสัยอื่นนั้นได้แก่ กามคุณ ๕.
กามคุณ ๕ อย่างไรกันเล่า ?
ห้าอย่างคือ
รูป ที่จะพึงเห็นด้วยตา
เสียง ที่จะพึงฟังด้วยหู
กลิ่น ที่จะพึงรู้สึกด้วยจมูก
รส ที่จะพึงรู้สึกด้วยลิ้น
โผฏฐัพพะ ที่จะพึงรู้สึกด้วยกาย (ทั้ง ๕ อย่างนี้) อัน เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ เป็นสิ่งที่ยั่วยวนชวนให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอยู่แห่งความใคร่เป็นที่ตั้งแห่ง ความ กำหนัดย้อมใจ.
ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นวิสัยอื่น ซึ่งมิใช่วิสัยควรเที่ยวไปของภิกษุเลย.
173
ลาสึกเพราะติดเมา
ภิกษุ ท. ! ความเมาสามอย่างนี้มีอยู่. สามอย่างอะไรกันเล่า ? สาม อย่าง คือ ความเมาว่า ยังหนุ่มอยู่ความเมาว่ายังไม่มีโรคเบียดเบียน ความเมา ว่ายังมีชีวิตอยู่.
ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้มิได้สดับธรรม มัวเมาด้วยความเมาว่ายังหนุ่มอยู่ย่อมประพฤติ ทุจริต ทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ ครั้นเขาประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว ภายหลังแต่ตายเพราะ การแตกทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก.
ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้มิได้สดับธรรม มัวเมาด้วยความเมาว่ายังไม่มีโรค เบียดเบียน ย่อม ประพฤติ ทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ. ครั้นเขาประพฤติ ทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว ภายหลัง แต่ตายเพราะการแตกทำลายแห่งกาย ย่อมเข้า ถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก.
ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้มิได้สดับธรรม มัวเมาด้วยความเมาว่ายังมีชีวิตอยู่ย่อมประพฤติ ทุจริต ทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ. ครั้นเขาประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว ภายหลังแต่ตายเพราะการแตกทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มัวเมาด้วยความเมาว่ายังหนุ่มอยู่มัวเมาด้วยความ เมา ว่ายังไม่มีโรคเบียด เบียน มัวเมาด้วยความเมาว่ายังมีชีวิตอยู่ย่อมบอกเลิก สิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศตํ่าแห่ง คฤหัสถ์ ตามเดิมแล.
หมวดที่แปด จบ.
|
|
|
|