เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ            

หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
  ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  02 of 7  
Book102 หมวดที่ ๔   Book102 หมวดที่ ๖  
  ว่าด้วย การทำไปตามอำนาจกิเลส หน้า   ว่าด้วยการหละหลวมในธรรม ๑๔ เรื่อง หน้า1
1 ผู้ไม่หนุนหมอนไม้ 71 1 นกแก้ว นกขุนทอง 103
2 ผู้เห็นแก่นอน 72 2 ถุงลม 104
3 ผู้ต้องการนุ่งงามห่มงาม 74 3 ปริยัติที่เป็นงูพิษ 105
4 ผู้ต้องการ กิน ดี 75 4 ผู้ที่ไม่ควรพูดอภิธรรม 106
5 ผู้ต้องการ อยู่ ดี 75-1 5 เนื้อแท้อันตรธาน 107
6 ภัยมีเพราะการระคนใกล้ชิดสตรี 76 6 ผู้ทำศาสนาเสื่อม 108
7 ภัยมีเพราะการระคนใกล้ชิดสตรี 77 7          คนไม่ควรเลี้ยงโค 109
8 ราคีของนักบวช 77-1            พวกไม่รู้จักรูป 110
9 เมื่อโจรปล้นชาวเมือง 78          พวกไม่ฉลาดในลักษณะ 111
10 คนนอกบัญชี 81          พวกไม่เขี่ยไข่ขาง 111-0
11 คนแหวกแนว 81-1          พวกไม่ปิดแผล 111-1
12 คนทิ้งธรรม 82          พวกไม่สุมควัน 111-2
13 คืนวันที่มีแต่ “ความมืด” 83          พวกไม่รู้จักท่าที่ควรไป 112
14 ผู้ถูกตรึง 84          พวกไม่รู้จักน้ำที่ควรดื่ม 112-1
15 ผู้ถูกแมลงวันตอม 85          พวกไม่รู้จักทางที่ควรเดิน 112-2
16 ป่าช้าผีดิบ 86          พวกไม่ฉลาดในที่ที่ควรไป 113
Book102 หมวดที่ ๕            พวกรีด “นมโค” เสียหมดไม่มีส่วนเหลือ 113-1
  ว่าด้วยการเป็นทาสตัณหา ๘ เรื่อง            พวกไม่บูชาผู้เฒ่า 113-2
1 ผู้เห็นแก่อามิส 91 8 ลูกนอกคอก 114
2 ไม่คุ้มค่าข้าวสุก 92 9 ผู้โลเล 115
3 ขี้ตามช้าง 93 10 ภิกษุร้องเพลง 116
4 ติดบ่วงนายพราน 95 11 ผู้มัวแต่อวดฉลาด 117
5 ผู้ถูกล่าม 96 12 พระหลวงตา 118
6 หมองูตายเพราะงู 98 13 พระถูกฆ่า 119
7 อมิตตภิกขุ 99 14 ผู้หล่นจากศาสนา 120
8 เป็นโรคชอบเที่ยวเรื่อยเปื่อย 99-1      
           




 

ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์

หมวดที่ ๔

ว่าด้วย การทำไปตามอำนาจกิเลส

71
ผู้ไม่หนุนหมอนไม้


            
ภิกษุ ท. ! ในบัดนี้เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย มีท่อนไม้เป็นหมอนหนุน เป็นอยู่อย่างไม่ ประมาท มีความเพียรเข้มแข็ง ในการฝึกวิชาใช้ศร. พระราชาแห่งมคธ นามว่า อชาตสัตตุ ผู้เวเทหิบุตร ย่อมหาช่องทางทำลายล้างมิได้หาโอกาสทำตามอำเภอพระทัย แก่เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น มิได้.

           ภิกษุ ท. ! แต่ในกาลฝ่ายอนาคต เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย จักทำตนเป็น สุขุมาลชาติ จนมี ฝ่ามือ และ ฝ่าเท้าอ่อนนิ่ม. เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น จักสำเร็จ การนอนบนที่นอนอันอ่อนนุ่ม มีหมอนใหญ่ๆ หนุน ประทม จนกระทั่ง พระอาทิตย์ขึ้น คราวนั้น พระราชาแห่งมคธนามว่า อชาตสัตตุผู้เวเทหิบุตร จักได้ช่องทาง ทำลายล้าง จักได้โอกาสทำตามอำเภอพระทัยแก่เจ้าลิจฉวี เหล่านั้น.

             ภิกษุ ท. ! ในบัดนี้ภิกษุทั้งหลาย ก็มีท่อนไม้เป็นหมอนหนุน เป็นอยู่อย่างไม่ประมาท มีความเพียร เผากิเลส ในชั้นความเพียรที่เป็นหลักเป็นประธาน. มารผู้ใจบาป จึงหาช่องทาง ทำลายล้างมิได้หา โอกาส ที่จะทำตามอำเภอใจแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมิได้

             ภิกษุ ท. ! ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย ที่ทำตนเป็น สุขุมาลชาติ จนมีฝ่ามือ และฝ่าเท้าอ่อนนิ่ม. ภิกษุเหล่านั้น จักสำเร็จการนอน บนที่นอนอันอ่อนนุ่ม มีหมอน ใหญ่ๆ หนุน นอนจนกระทั่งพระอาทิตย์ขึ้น. คราวนั้นเอง มารผู้ใจบาป ก็จักได้ช่องทางทำลายล้าง จักได้โอกาสที่จะทำ ตามอำเภอใจ แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น.

             ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียก ใจไว้ว่า “เราทั้งหลาย จักใช้ท่อนไม้เป็นหมอนหนุน เป็นอยู่อย่างไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส ในชั้นความเพียร ที่เป็นหลัก เป็นประธาน” ดังนี้.

             ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.


72
ผู้เห็นแก่นอน

            
ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จะเข้าใจเรื่องนี้กันอย่างไร ? พวก เธอเคยได้เห็น ได้ฟัง มาบ้างหรือ ว่า พระราชา ผู้เป็นกษัตริย์ได้รับมุรธาภิเษก แล้ว ทรงประกอบความสุขในการประทม หาความสุขในการเอน พระวรกาย หาความสุขในการประทมหลับ ตามแต่พระประสงค์อยู่เนืองนิจ ยังคงทรงปกครองราชสมบัติ ให้เป็นที่รักใคร่ถูกใจของพลเมือง จนตลอดพระชนม์ชีพ ได้อยู่หรือ?
            “อย่างนี้ไม่เคยได้เห็นได้ฟังเลย พระเจ้าข้า”.

            ดีแล้ว ภิกษุ ท. ! ข้อที่กล่าวนี้แม้เราเอง ก็ไม่เคยได้เห็นได้ฟัง อย่างนั้นเหมือนกัน.
             ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จะเข้าใจเรื่องนี้กันอย่างไร ? พวกเธอ เคยได้เห็น ได้ฟังมาบ้างหรือ ว่า ผู้ครองรัฐ ก็ดีทายาทผู้สืบมรดก ก็ดีเสนาบดีก็ดีนายบ้าน ก็ดีและ หัวหน้า หมู่บ้าน ก็ดีประกอบความสุข ในการนอน หาความสุขในการเอนกาย หาความสุขในการหลับ ตามสบายใจอยู่เนืองนิจ ยังคงดำรงตำแหน่ง นั้นๆ ให้เป็นที่รักใคร่ถูกใจของ (ประชาชนทุกเหล่า) กระทั่งลูกหมู่จนตลอดชีวิตได้อยู่หรือ?
            “อย่างนี้ไม่เคยได้เห็นได้ฟังเลย พระเจ้าข้า”.

             ดีแล้ว ภิกษุ ท. ! ข้อที่กล่าวนี้แม้เราเอง ก็ไม่เคยได้เห็นได้ฟัง อย่างนั้นเหมือนกัน.
             ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จะเข้าใจเรื่องนี้กันอย่างไร ? พวกเธอเคย ได้เห็นได้ฟังมา บ้างหรือ ว่าสมณะหรือพราหมณ์ ที่เอาแต่ประกอบความสุข ในการนอน หาความสุขในการเอนกาย หาความสุขในการ หลับ ตามสบายใจ อยู่เสมอ ๆ ทั้งเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในการบริโภค ไม่ตามประกอบธรรมเป็นเครื่องตื่น ไม่เห็นแจ่มแจ้งซึ่งกุศลธรรม ทั้งหลาย ไม่ตามประกอบการทำเนือง ๆ ในโพธิปักขิยธรรม ทั้งในยามต้นและยามปลายแล้ว ยังจะ กระทำให้แจ้งได้ ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่ง เองในทิฏฐธรรมเทียว เข้าถึงแล้วแลอยู่หรือ ?
             “ข้อนั้น ก็ยังไม่เคยได้เห็นได้ฟังเลย พระเจ้าข้า”.

             ดีแล้ว ภิกษุ ท. ! ข้อที่กล่าวถึงนี้แม้เราเอง ก็ไม่เคยได้เห็นได้ฟัง อย่างนั้นเหมือนกัน.
             ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียก ใจไว้ว่า “เราทั้งหลาย จักคุ้ม ครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค ตาม ประกอบธรรมเป็น เครื่องตื่น เป็นผู้เห็น แจ่มแจ้งซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย และจักตาม ประกอบอนุโยคภาวนาใน โพธิปักขิยธรรม ทั้งในยามต้น และยามปลายอยู่เสมอ ๆ” ดังนี้.

             ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจ อย่างนี้แล.


74
ผู้ต้องการนุ่งงามห่มงาม

             ภิกษุ ท. ! ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย ผู้ต้องการ ความสวยงาม ในเครื่องนุ่งห่ม (จีวร) เธอทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนั้นอยู่จักเริดร้างจากการใช้ผ้าบังสุกุล จักเหินห่าง ที่นอน ที่นั่ง อันเป็นป่า และป่าชัฏ เงียบสงัด จักมั่วสุมชุมนุมกันอยู่แต่ในย่านหมู่บ้าน นิคม และ เมืองหลวง และจักถึง อเนสนกรรม คือการแสวงหาอันไม่สมควรหลายแบบหลายวิธี พราะความ ต้องการความสวยงาม ในเครื่องนุ่งห่มนั้น เป็นเหตุ.

             ภิกษุท. ! นี้เป็น อนาคตภัยข้อที่หนึ่ง ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้แต่จัก เกิดขึ้นในเวลาต่อไป. พวกเธอทั้งหลายพึงสำนึกไว้ครั้นได้สำนึกแล้ว ก็พึง พยายามเพื่อกำจัดภัยนั้นเสีย.


75
ผู้ต้องการกินดี

             ภิกษุ ท. ! ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย ผู้ต้องการ ความเอร็ดอร่อย ในอาหาร เธอทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนั้นอยู่จักเริดร้าง จากการเที่ยวบิณฑบาต จักเหินห่างที่นอน ที่นั่งอันเป็นป่า และป่าชัฏเงียบ สงัด จักมั่วสุมชุมนุมกันอยู่แต่ในย่านหมู่บ้าน นิคม และเมืองหลวง และจัก ถึงอเนสนกรรม คือการแสวงหาอันไม่สมควรหลายแบบหลายวิธีเพราะ ความต้องการความ เอร็ดอร่อยในอาหารนั้นเป็นเหตุ.

             ภิกษุ ท. ! นี้เป็น อนาคตภัยข้อที่สอง ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้แต่จัก เกิดขึ้นในเวลาต่อไป. พวกเธอทั้งหลายพึงสำนึกไว้ครั้นได้สำนึกแล้ว ก็พึง พยายามเพื่อกำจัดภัยนั้นเสีย.


75-1
ผู้ต้องการอยู่ดี

             ภิกษุ ท. ! ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย ผู้ต้อง การนอนสบาย นั่งสบาย เธอทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนั้นอยู่จักเริดร้างจากการอยู่ป่า (หรือจากการอยู่โคนไม้) จักเหินห่างที่นอนที่นั่ง อันเป็นป่า และป่าชัฏเงียบสงัด จักมั่วสุมชุมนุมกันอยู่แต่ในย่านหมู่บ้าน นิคม และเมืองหลวง และจักถึง อเนสนกรรม คือการแสวงหาอันไม่สมควรหลายแบบ หลายวิธี เพราะความต้องการนอนสบายนั่งสบาย นั้นเป็นเหตุ.

             ภิกษุ ท. ! นี้เป็น อนาคตภัยข้อที่สาม ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้แต่จัก เกิดขึ้นในเวลาต่อไป. พวกเธอทั้งหลายพึงสำนึกไว้ครั้นได้สำนึกแล้ว ก็พึง พยายามเพื่อกำจัดภัยนั้นเสีย.


76
ภัยมีเพราะการระคนใกล้ชิดสตรี

             ภิกษุ ท. ! ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย ที่มีการ อยู่ระคนใกล้ชิด กับพวก ภิกษุณีสิกขมานา๒ และ สมณุทเทส๓ เมื่อ มีการระคนใกล้ชิดกันเช่นนั้น ก็เป็นอันหวังผล เหล่านี้ได้คือ เธอทั้งหลาย จักต้องทนประพฤติพรหมจรรย์อันเต็มไปด้วยอาบัติที่เศร้าหมอง หรือมิฉะนั้น ก็จักต้องบอก เลิกสิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศตํ่าแห่งคฤหัสถ์.

             ภิกษุท. ! นี้เป็น อนาคตภัยข้อที่สี่ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้แต่จักเกิด ขึ้นในเวลาต่อไป. พวกเธอทั้งหลายพึงสำนึกไว้ ครั้นได้สำนึกแล้ว ก็พึงพยายาม เพื่อกำจัดภัยนั้นเสีย.


77
ภัยเกิดเพราะกลัวอด

             ภิกษุ ท. ! ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย ที่มีการ อยู่คลุกคลี กับ พวกคน ทำการวัด และสมณุทเทส (สามเณร) เมื่อมีการ อยู่คลุกคลีกันเช่นนั้น ก็เป็นอันหวังผล เหล่านี้ได้คือ เธอทั้งหลายจักขวนขวาย ทำการสะสมของกินไว้บริโภค หลายอย่างหลายประการ และจักทำนิมิตอัน หยาบ ในการใช้เขาขุดดินบ้าง ในการใช้เขาพรากของสดเขียวบ้าง .

             ภิกษุ ท. ! นี้เป็น อนาคตภัยข้อที่ห้า ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้แต่จัก เกิดขึ้นในเวลาต่อไป. พวกเธอทั้งหลายพึงสำนึกไว้ครั้นได้สำนึกแล้วก็พึง พยายามเพื่อกำจัดภัยนั้นเสีย.


77_1
ราคีของนักบวช

             ภิกษุ ท. ! เครื่องเศร้าหมองของพระจันทร์และพระอาทิตย์มีอยู่สี่อย่าง อันเป็นเหตุ ให้พระจันทร์ และพระอาทิตย์ไม่สุกใส ไม่สว่างไสวรุ่งเรือง. สี่อย่าง

             อะไรบ้าง ? สี่อย่างคือ เมฆ หมอก ผงคลี และอสุรินทราหู. ภิกษุ ท. ! เครื่องเศร้าหมอง ของ พระจันทร์และพระอาทิตย์อันเป็นเหตุให้พระจันทร์และ พระอาทิตย์ไม่สุกใส ไม่สว่างไสว รุ่งเรือง มีอยู่สี่ อย่างนี้

             ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น เครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ก็มีอยู่สี่อย่าง อันเป็น เหตุให้ สมณพราหมณ์ไม่ผ่องใส ไม่งามสง่ารุ่งเรือง. สี่อย่าง อะไรบ้าง ?
             สี่อย่างคือ
(๑) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ดื่มสุราเมรัย ไม่งดเว้นจากการดื่มสุรา เมรัย.
(๒) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังมีการกระทำ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) อย่างที่คนคู่เขาทำต่อกัน๑ ไม่งดเว้นจาก การกระทำเช่นนั้น.
(๓) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง รับทองและเงิน ไม่งดเว้นจากการรับทอง และเงิน.
(๔) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง สำเร็จการเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ผิดวิสัย ของสมณะ ไม่งดเว้นจากการ เลี้ยงชีวิตที่ผิดวิสัย.

             ภิกษุ ท. ! เครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์มีอยู่สี่อย่างนี้อันเป็น เหตุให้ สมณพราหมณ์ ไม่ผ่องใส ไม่งามสง่ารุ่งเรือง แล.


78
เมื่อโจรปล้นชาวเมือง

             ภิกษุ ท. ! มหาโจรห้าพวกเหล่านี้มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก. ห้าพวก คืออะไรบ้าง ? ห้าพวกคือ

             (๑) ภิกษุ ท. ! ความคิดของมหาโจรบางพวกในกรณีนี้มีว่า “เมื่อไรหนอ เราจักเป็นผู้มี บริวาร ร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมเรา เที่ยวไปในย่านหมู่บ้าน นิคม และเมืองหลวง จักได้ ฆ่าเอง หรือใช้ให้ บริวารฆ่า จักได้ตัดเอง หรือ ใช้ให้บริวารตัด จักได้เผาเอง หรือใช้ให้บริวารเผา” ดังนี้.

             ครั้นกาลต่อมา มหาโจรนั้นมีบริวารร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว เที่ยวไปในย่าน หมู่บ้าน นิคม และเมืองหลวง ทำการฆ่าเอง และให้บริวารฆ่า ทำการตัดเอง และให้บริวารตัด ทำการเผาเอง และให้บริวารเผา. ข้อนี้ฉันใด ภิกษุ ท. ! ความคิดของภิกษุลามกบางรูป ในกรณีนี้ มีว่า “เมื่อไรหนอ เราจักเป็นผู้มีบริวารร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมเรา เที่ยวจาริกไปในย่าน หมู่บ้าน นิคม และเมืองหลวง เป็นที่สักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ของพวก คฤหัสถ์ และบรรพชิต เป็นผู้รํ่ารวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร” ดังนี้.

             ครั้นกาลต่อมา ภิกษุลามกนั้นได้มีบริวาร ร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว เที่ยวจาริกไปในย่าน หมู่บ้าน นิคม และเมืองหลวง เป็นที่สักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ของพวกคฤหัสถ์และบรรพชิต เป็นผู้รํ่ารวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-เภสัชบริกขาร ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ. ! ภิกษุลามกนี้จัดเป็น มหาโจร พวกแรก ซึ่งมีอยู่ในโลก หาได้ในโลก.

             (๒) ภิกษุ ท. ! พวกอื่นอีก ภิกษุลามกบางรูปในกรณีนี้ย่อมเล่าเรียน ธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศ แล้ว ยกตนว่ารู้เอง (หรือนำไปหาลาภผลเพื่อตน). ภิกษุ ท. ! ภิกษุลามกนี้ จัดเป็น มหาโจรพวกที่สอง ซึ่งมีอยู่ในโลก หาได้ในโลก.

            
(๓) ภิกษุ ท. ! พวกอื่นอีก ภิกษุลามกบางรูปในกรณีนี้ย่อมตาม กำจัดพรหมจารี ผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ได้บริสุทธ์ิด้วยสิ่งอันไม่ใช่เรื่องของพรหมจรรย์ อันปราศจากมูลความจริง. ภิกษุ ท. ! ภิกษุลามกนี้ จัดเป็น มหา โจรพวกที่สาม ซึ่งมีอยู่ในโลก หาได้ในโลก.

            
(๔) ภิกษุ ท. ! พวกอื่นอีก, ภิกษุลามกบางรูปในกรณีนี้ย่อมสงเคราะห์และพูดจา และเกลี้ยกล่อม พวกคฤหัสถ์ด้วยครุภัณฑ์ และครุบริกขารอันเป็นของ สงฆ์คือของปลูกสร้าง ในอาราม พื้นที่อาราม วิหาร พื้นที่วิหาร เตียง ตั่ง ฟูก หมอน หม้อโลหะ อ่างโลหะ กะถางโลหะ กะทะโลหะ พร้า ขวาน ผึ่ง จอบ สว่าน เชือก ไม้ไผ่หญ้าสำหรับมุง หญ้าปล้อง หญ้า ดินเหนียว สิ่งของที่ทำด้วยไม้และสิ่งของที่ทำด้วยดิน เหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! ภิกษุลามกนี้จัดเป็น มหาโจรพวกที่สี่ซึ่งมีอยู่ในโลก หาได้ในโลก.

            
(๕) ภิกษุ ท. ! ภิกษุพวกสุดท้าย จัดเป็น มหาโจรชั้นเลิศ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์คือ ภิกษุลามก กล่าวอวด อุตตร ิมนุสสธรรม อัน ไม่มีจริง ไม่เป็นจริง. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ภิกษุ ท. ! เพราะว่า เธอ บริโภคก้อนข้าว ของชาวเมือง ด้วยอาการอันเป็นขโมย.

            “ภิกษุใด แสดงตัวเองซึ่งความจริงเป็นอย่างหนึ่ง ให้คนอื่นเข้าใจเป็นอย่างอื่นไป การบริโภคปัจจัย ด้วยอาการแห่งขโมยของเธอนั้น เป็นเช่นเดียวกับ นายพราน ผู้ล่อลวงดักสัตว์กิน ฉะนั้น.

คน เป็นอันมาก ที่มีผ้ากาสาวพัสตร์คลุมคอ แต่มีความ เป็นอยู่ลามก ขาดการสำรวม พวกคนลามก เหล่านั้น ต้องไปเกิดในนรก เพราะการกระทำกรรม อันหยาบช้า. มันกินก้อนเหล็ก ซึ่งเปรียบด้วย เปลวไฟอันร้อนจัด ยังจะดีกว่า คนทุศีล ไม่มีการสำรวม บริโภคก้อนข้าว ของชาวเมือง เป็นการ ไม่เหมาะสมเลย”.


81
คนนอกบัญชี

             ภิกษุ ท. ! ภิกษุเหล่าใด เป็นคนหลอกลวง กระด้าง พูดพล่าม ยกตัว จองหอง ใจฟุ้งเฟ้อ ภิกษุ ท . ! ภิกษุเหล่านั้น ไม่ใช่ “คนของเรา”.

             ภิกษุ ท. ! ภิกษุเหล่านั้น ได้ออกไปนอกธรรมวินัยนี้เสียแล้ว; และพวกภิกษุเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ใน ธรรมวินัยนี้ได้เลย.


81-1
คนแหวกแนว

             ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้เป็นที่เชื่อถือของมหาชนทั่วไป เมื่อมีการกระทำ สามอย่างนี้แล้ว จะได้ชื่อว่า เป็น ผู้ทำมหาชนให้เสื่อมเสีย ทำมหาชน ให้หมดสุข ทำไปเพื่อความฉิบหาย แก่ มหาชน ไม่เป็นประโยชน์ เกื้อกูลแต่เป็นไปเพื่อความทุกข์ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. การกระทำสามอย่างอะไรบ้างเล่า ? สามอย่าง คือ
             (๑) ทำการชักชวนมหาชนในกายกรรม๑ อันผิดแนวแห่งการทำ ที่สุดทุกข์ในพระศาสนา.
             (๒) ทำการชักชวนมหาชนในวจีกรรม๒ อันผิดแนวแห่งการทำ ที่สุดทุกข์ในพระศาสนา.
             (๓) ทำการชักชวนมหาชนในการบำเพ็ญทางจิต๓ อันผิดแนว แห่งการทำที่สุดทุกข์ ในพระศาสนา.

             ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้เป็นที่เชื่อถือของมหาชนทั่วไป เมื่อมีการกระทำ สามอย่างเหล่านี้ เข้าแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำมหาชนให้เสื่อมเสีย ทำมหาชนให้หมดสุข ทำไปเพื่อความฉิบหาย แก่มหาชน ไม่เป็น ประโยชน์เกื้อกูล แต่เป็น ไปเพื่อความทุกข์ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แล.


82
คนทิ้งธรรม

             ภิกษุ ท. ! ในทิศใด พวกภิกษุเกิดแก่งแย่ง ทะเลาะวิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอก ปากอยู่ ภิกษุ ท. ! ทิศนั้น แม้แต่เพียง นึกถึงก็ไม่เป็นที่ผาสุกแก่เราเสียแล้ว ไม่ต้องกล่าวถึงการ ไปในที่นั้น. ในกรณีนี้เราเชื่อแน่แก่ใจว่า เป็นเพราะภิกษุเหล่านั้น ได้ละทิ้งธรรมสามอย่าง เสีย แล้วพากันมาถือ ทำให้มากในธรรมสามอย่าง.

ธรรมสามอย่างอะไรบ้างเล่าที่เธอละทิ้งเสีย ?
สามอย่าง คือ
             (๑) ความตรึกในการหลีกออกจากความพัวพันในกาม
             (๒) ความตรึกในการทำความไม่มุ่งร้าย
             (๓) ความตรึกในการไม่ทำคนอื่นให้ลำบาก.
             ธรรมสามอย่างเหล่านี้แล ที่พวกภิกษุเหล่านั้น ละทิ้งเสียแล้ว.

ก็ธรรมอีกสามอย่างอะไรบ้างเล่า ที่พวกภิกษุเหล่านั้นพากันถือกระทำเพิ่มพูนให้มาก ?
สามอย่าง คือ
             (๑) ความตรึกในทางกาม
             (๒) ความตรึกในทางมุ่งร้าย
             (๓) ความตรึกที่ก่อให้เกิดความลำบากแก่ผู้อื่น.
             ธรรมสามอย่างเหล่านี้แล ที่พวกภิกษุเหล่านั้นพากันถือ กระทำเพิ่มพูนให้มาก.

             ภิกษุ ท. ! ในทิศใด พวกภิกษุเกิดแก่งแย่ง ทะเลาะวิวาท ทิ่มแทง กันและกันด้วยหอก ปากอยู่ ภิกษุ ท. ! ทิศนั้น แม้แต่เพียงนึกถึงก็ไม่เป็น ที่ผาสุกแก่เราเสียแล้ว ไม่ต้องกล่าวถึง การไปในที่นั้น. ในกรณีนี้เราเชื่อแน่แก่ใจว่า เป็นเพราะพวกภิกษุเหล่านั้น ละทิ้งธรรมสามอย่าง เหล่าโน้นเสีย แล้ว และพากันมาถือ กระทำให้มากในธรรมสามอย่างเหล่านี้แทน.


83
คืนวันที่มีแต่ “ความมืด”

             ภิกษุ ท. ! คืนวันของภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ประกอบหกอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมผ่านไป โดยหวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว หาความเจริญมิได้. หกอย่างอะไรบ้างเล่า ? หกอย่าง คือ ภิกษุในกรณีนี้
             (๑) มีความต้องการมากจนเป็นทุกข์เพราะไม่รู้จักพอในเรื่องจีวรบิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัย เภสัชบริกขาร.
             (๒) เป็นคนไม่มีศรัทธา.
             (๓) เป็นคนทุศีล.
             (๔) เป็นคนเกียจคร้าน.
             (๕) เป็นคนมีสติฟั่นเฟือน.
             (๖) เป็นคนมีปัญญาทึบ.

             ภิกษุ ท. ! คืนวันของภิกษุที่ประกอบด้วย องค์ประกอบหกอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมผ่านไป โดยหวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว หาความเจริญมิได้.


84
ผู้ถูกตรึง
(ภิกษุที่เคลือบแคลงสงสัยในธรรม)

             ภิกษุ ท. ! บรรพชิตรูปใด จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังละ ตะปูตรึงใจห้าตัว ไม่ได้ คืนวันของบรรพชิตรูปนั้น ย่อมผ่านไป โดยหวังได้แต่ความ เสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว หาความเจริญมิได้. ตะปูตรึงใจห้าตัว ที่บรรพชิตรูปนั้นยังละไม่ได้เป็นอย่างไรเล่า ?

             ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ยังสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเผากิเลส เพียรประกอบเนือง ๆ เพียรตั้งหลัก ติดต่อเนื่องกัน. จิตของผู้ใด ไม่น้อมไปตามนัยที่กล่าวนี้ นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่หนึ่ง ที่เธอนั้นยังละไม่ได้.

             ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุยังสงสัย ฯลฯ ในธรรม _ _ _ฯลฯ _ _ _
นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่สอง ที่เธอนั้นยังละไม่ได้.

            ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุยังสงสัย ฯลฯ ในพระสงฆ์ _ _ _ฯลฯ _ _ _
นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่สาม ที่เธอนั้นยังละไม่ได้.

            ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุยังสงสัย ฯลฯ ในไตรสิกขา _ _ _ฯลฯ _ _ _
นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจตัวที่สี่ที่เธอนั้นยังละไม่ได้.

             ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ครุ่นโกรธในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ไม่ชอบใจ มีจิตอันโทสะกระทบกระทั่งแล้ว จนเกิดเป็นเครื่องตรึงใจ.

             ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเผากิเลส เพียรประกอบ เนือง ๆ เพียรตั้งหลักติดต่อเนื่องกัน. จิตของผู้ใด ไม่น้อมไปตามนัยที่กล่าวนี้ นั่นแหละ เป็นตะปูตรึงใจ ตัวที่ห้า ที่เธอนั้นยังละไม่ได้.

             ภิกษุ ท. ! บรรพชิตรูปใด จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังละตะปูตรึงใจห้าตัวไม่ได้ คืนวันของ บรรพชิตรูปนั้นย่อมผ่านไปโดยหวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว หาความเจริญมิได้แล.


85
ผู้ถูกแมลงวันตอม

             ภิกษุ ท. ! เมื่อเช้านี้เราครองจีวร ถือบาตร ไปบิณฑบาตในเมืองพาราณสีเรา ได้เห็น ภิกษุรูปหนึ่ง เที่ยวบิณฑบาตอยู่ตามแหล่งที่ซื้อขายโค ของพวกมิลักขะ เป็นภิกษุมีท่าทาง กระหายกาม คิดสึก ปล่อยสติปราศจากสัมปชัญญะ จิตฟุ้ง

             ใจเขว ผิวพรรณแห้งเกรียม. ครั้นเห็นแล้ว เราได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ! เธออย่าทำตัว ให้เน่าพอง. ตัวที่เน่าพองส่งกลิ่นเหม็นคาวคลุ้ง แล้ว แมลงวันจักไม่ตอมไม่ดูดนั้น เป็นไปไม่ได้นะภิกษุ !” ดังนี้. ภิกษุนั้น ถูกเราทักอย่างนี้ก็เกิดความสลดขึ้นในใจ.

            ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสดังนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามขึ้นว่า “อะไรเล่า พระเจ้าข้าชื่อว่า ของ เน่าพอง ? อะไรเล่า ชื่อว่า กลิ่นเหม็นคาว ? อะไรเล่า ชื่อว่า แมลงวัน ?”

            “อภิชฌา นี่แหละภิกษุ ! ชื่อว่า ของเน่าพอง พยาบาท ชื่อว่า กลิ่นเหม็นคาว ความคิด ที่เป็น อกุศลลามก ชื่อว่า แมลงวัน. ตัวที่เน่าพองส่งกลิ่น เหม็นคาว คลุ้งแล้ว แมลงวันจักไม่ตอม ไม่ดูดนั้น เป็นไปไม่ได้นะภิกษุ !”ดังนี้แล.


86
ป่าช้าผีดิบ

             ภิกษุ ท. ! โทษห้าอย่างเหล่านี้เป็นโทษในป่าช้าผีดิบ. ห้าอย่าง อะไรบ้าง ? ห้าอย่าง คือ ป่าช้าผีดิบเป็นที่ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น มีภัย เฉพาะหน้า เป็นที่พักอาศัยของพวก อมนุษย์ ที่ดุร้าย และเป็นที่ที่ร้องไห้พิไรรํ่าของคนเป็นจำนวนมาก. โทษห้าอย่างเหล่านี้ เป็นโทษในป่าช้าผีดิบ.

             ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น โทษห้าอย่างเหล่านี้เป็นโทษใน นักบวชที่เปรียบด้วยป่าช้า ผีดิบ.
             ห้าอย่างอะไรบ้าง ? ห้าอย่างคือ :

             (๑) นักบวชบางคนในกรณีนี้เป็นผู้ประกอบด้วยการกระทำ ทางกายอันไม่สะอาด ประกอบด้วย การกระทำทางวาจาอันไม่สะอาด ประกอบด้วยการกระทำทางใจ อันไม่ สะอาด. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวการทำ เช่นนี้ของผู้นั้นว่า เป็นความไม่สะอาด ดุจดั่งป่าช้าผีดิบ ซึ่งเป็นที่ไม่สะอาด. เรากล่าว นักบวชชนิดนี้ว่า เทียบกันได้กับที่ที่ไม่สะอาด ฉะนั้น.

             (๒) เมื่อนักบวช ประกอบกรรมไม่สะอาดเช่นนั้นอยู่ เสียงเล่าลืออันชั่วช้า ก็ระบือไป. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวเสียงเล่าลืออันชั่วช้านี้ของผู้นั้น ว่า เป็นกลิ่น เหม็น ดุจดั่งป่าช้าผีดิบ ซึ่งเป็น ที่มีกลิ่นเหม็น. เรากล่าวนักบวชชนิดนี้ว่าเทียบ กันได้กับที่ที่มีกลิ่นเหม็น ฉะนั้น.

             (๓) ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน ซึ่งมีศีลเป็นที่รัก ย่อมเว้น ห่างไกลจากคนที่มีกลิ่น เหม็นเช่น กล่าวนั้นเสีย. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวการ ที่เพื่อน ๆ เว้นห่างไกลนี้ของผู้นั้น ว่า เป็นภัย เฉพาะหน้า ดุจดั่งป่าช้า ผีดิบ ซึ่งเป็นที่มีภัยเฉพาะหน้า. เรากล่าวนักบวชชนิดนี้ว่าเทียบกันได้ กับที่ที่มีภัย เฉพาะหน้า ฉะนั้น.

             (๔) คนชั่วช้านั้น ผู้ประกอบกรรมอันไม่สะอาดทั้งทางกาย วาจา และใจ ก็อยู่ร่วมกันได้ แต่พวกที่มี การกระทำเหมือน ๆ กัน. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวการที่อยู่ร่วมกันได้ของผู้นั้น ว่า เป็นที่พัก อาศัยสำหรับพวก เหล่าร้าย นี้ดุจดั่งป่าช้าผีดิบ ซึ่งเป็นที่พักอาศัยของพวกอมนุษย์ที่ดุร้าย. เรากล่าว นักบวชชนิดนี้ว่าเทียบ กันได้ กับที่พักอาศัยสำหรับคนดุร้าย ฉะนั้น.

             (๕) ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน ซึ่งมีศีลเป็นที่รัก ได้เห็น นักบวชชนิดนั้นเข้าแล้ว ก็นึกตำหนิ ได้ว่า “พุทโธ่เอ๋ย ! ความทุกข์ของพวก เรา มีอยู่ตรงที่พวกเราจำต้องอยู่ร่วมกับนักบวช ชนิดนั้นด้วย”ดังนี้.

             ภิกษุ ท. ! เรากล่าวการอยู่ร่วมที่ทำให้เกิดทุกข์ขึ้นนี้ของผู้นั้น ว่าเป็นความร้องไห้พิไรรํ่า ดุจดั่ง ป่าช้าผีดิบ ซึ่งเป็นที่ที่ร้องไห้พิไรรํ่าของคนเป็น จำนวนมาก. เรากล่าวนักบวชชนิดนี้ว่า เทียบกันได้กับ ที่สำหรับเป็นที่ร้องไห้พิไรรํ่าของคนเป็นจำนวนมาก ฉะนั้น.

             ภิกษุ ท. ! โทษห้าอย่างเหล่านี้เป็นโทษในนักบวช ที่เปรียบด้วย ป่าช้าผีดิบ แล.

หมวดที่สี่จบ.


ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์

หมวดที่๕

ว่าด้วย การเป็นทาสตัณหา



91
ผู้เห็นแก่อามิส

            ภิกษุ ท. ! ภิกษุบริษัทมีสองชนิด. สองชนิดอะไรกันเล่า ? สองชนิด คือ ภิกษุบริษัท ที่หนัก ในอามิส แต่ไม่หนักในพระสัทธรรม หนึ่ง ภิกษุบริษัทที่หนักในพระสัทธรรม แต่ไม่หนักใน อามิส หนึ่ง.

             ภิกษุ ท. ! ภิกษุบริษัทที่หนักในอามิส แต่ไม่หนักในพระสัทธรรมนั้น เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ภิกษุเหล่าใดกล่าวยกยอกันเองต่อหน้า คฤหัสถ์ ผู้ครองเรือนว่า “ภิกษุรูปโน้น เป็นอริยบุคคล ชนิด อุภโตภาควิมุตต์ รูปโน้น เป็นอริยบุคคลชนิด ปัญญาวิมุตต์๓ รูปโน้น เป็นอริยบุคคลชนิด กายสักขี รูปโน้น เป็นอริยบุคคลชนิด ทิฏฐิปปัตตะ รูปโน้น เป็น อริยบุคคลชนิด สัทธาวิมุตต์ รูปโน้น เป็นอริยบุคคล ชนิด ธัมมานุสารี รูปโน้น เป็นอริยบุคคลชนิด สัทธานุสารี รูปโน้น มีศีลมีการเป็นอยู่งดงาม และรูปโน้น ทุศีลมีการเป็นอยู่ เลวทราม” ดังนี้เป็นต้น.

             ภิกษุเหล่านั้น ย่อม ได้ลาภ เพราะการกล่าวยกยอกันนั้นเป็นเหตุ. ครั้นได้ลาภแล้ว ภิกษุพวกนั้น ก็พากันติดอกติดใจในรสแห่งลาภ สยบอยู่เมาหมกอยู่ ไม่มองเห็น ส่วนที่เป็นโทษ ไม่เป็นผู้รู้แจ่มแจ้ง ในอุบายเป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ทำการบริโภคลาภนั้นอยู่.

             ภิกษุ ท. ! ภิกษุบริษัทอย่างนี้แล เราเรียกว่า บริษัทที่หนักในอามิส แต่ไม่หนักในพระสัทธรรม.


92
ไม่คุ้มค่าข้าวสุก

            ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง อยู่. คฤหบดีหรือ บุตร คฤหบดีก็ตาม เข้าไปหาภิกษุนั้นแล้ว นิมนต์ฉันอาหาร ในวันรุ่งขึ้น. ภิกษุนั้นมีความหวัง ใน อาหาร นี้ก็รับ นิมนต์. ครั้นราตรีล่วงไปถึง เวลาเช้า เธอครองจีวร ถือบาตร เข้าไปสู่เรือนคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดีผู้นิมนต์ ถึงแล้วก็นั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้.

            คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีได้เลี้ยงเธอด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยตนเอง ให้อิ่มหนำ สำราญ จนเธอบอกห้าม. ความคิดได้เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นในขณะนั้นว่า “วิเศษจริง ! คฤหบดีหรือบุตร คฤหบดีนี้เลี้ยงเราด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยตนเอง จนอิ่มหนำสำราญ ถึงกับเรา ต้องบอกห้าม” ดังนี้แล้ว

             ภิกษุนั้นยังหวังต่อไปอีกว่า “โอหนอ ! แม้วันต่อๆไป ก็ขอให้คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี นี้เลี้ยงดูเรา ด้วย ของเคี้ยวของฉันอันประณีต ฯลฯ อย่างนี้อีกเถิด” ดังนี้. เธอนั้น ได้ติดในรส อาหาร หลงในรสอาหาร สยบอยู่ด้วยความยินดีในรสอาหาร ไม่มองเห็นส่วนที่เป็นโทษ ไม่เป็นผู้ รู้แจ่มแจ้งในอุบายเป็นเครื่องออก ไปจากทุกข์ฉันอาหารนั้น.

             ภิกษุนั้น ย่อมครุ่นคิดอยู่ด้วยความครุ่นคิดในกามบ้าง ครุ่นคิดอยู่ด้วย ความครุ่นคิด ในทาง เคียดแค้นบ้าง ครุ่นคิดอยู่ด้วยความครุ่นคิดในทาง ทำผู้อื่นให้ลำบากโดยไม่รู้สึกตัวบ้าง ตรงที่เธอนั่ง ฉันนั้นเอง.

             ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า “ทาน ที่ถวายแก่ภิกษุผู้เช่นนี้หามีผลมากไม่”. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มัวเมา แล. คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีได้เลี้ยงเธอด้วย ของเคี้ยว ของฉันอันประณีต ด้วยตนเอง ให้อิ่มหนำสำราญ จนเธอบอกห้าม. ความคิดได้เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ในขณะนั้นว่า “วิเศษจริง ! คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนี้เลี้ยงเราด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยตนเอง จนอิ่มหนำสำราญ ถึงกับเราต้องบอกห้าม” ดังนี้แล้ว

             ภิกษุนั้นยังหวังต่อไปอีกว่า “โอหนอ ! แม้วันต่อๆไป ก็ขอให้คฤหบดีหรือ บุตรคฤหบดีนี้ เลี้ยงดูเรา ด้วย ของเคี้ยวของฉันอันประณีต ฯลฯ อย่างนี้อีกเถิด” ดังนี้. เธอนั้น ได้ติดในรส อาหาร หลงในรสอาหาร สยบอยู่ด้วยความยินดีในรสอาหาร ไม่มองเห็นส่วนที่เป็นโทษ ไม่เป็น ผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบายเป็น เครื่องออกไปจากทุกข์ฉันอาหารนั้น.

             ภิกษุนั้น ย่อมครุ่นคิดอยู่ด้วยความครุ่นคิดในกามบ้าง ครุ่นคิดอยู่ด้วย ความครุ่นคิด ในทาง เคียดแค้น บ้าง ครุ่นคิดอยู่ด้วยความครุ่นคิดในทาง ทำผู้อื่นให้ลำบากโดยไม่รู้สึกตัวบ้าง ตรงที่เธอ นั่งฉันนั้นเอง.

             ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า “ทาน ที่ถวายแก่ภิกษุผู้เช่นนี้หามีผลมากไม่”. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มัวเมา แล.

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑. บาลีพระพุทธภาษิต ทุก. อํ. ๒๐/๙๓/๒๙๓.
๒. อุภโตภาควิมุตต์ผู้หลุดพ้นโดยส่วนสอง คือผู้ได้วิโมกข์ทั้งแปดด้วย และได้โลกุตตรผลในชั้น สิ้นอาสวะด้วย.
๓. ปัญญาวิมุตต์ผู้สิ้นอาสวะด้วยอำนาจปัญญาเห็นอนัตตาโดยตรง.
๔. กายสักขีผู้มีกายเสวยสุขด้วยนามกายมาแล้ว เป็นเครื่องประจักษ์คือเสขบุคคล ๗ ผู้ชิมฌาน สุขมาแล้ว จึงเห็นทุกข์และบรรลุมรรคผลในขั้นของตน ๆ.
๕. ทิฏฐิปปัตตะ ผู้บรรลุมรรคผลด้วยอำนาจพิจารณา เห็นอนัตตาในสังขารทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ อริยบุคคล นับตั้งแต่ผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลไปจนถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค แต่พอได้บรรลุ อรหัตตผล ก็เป็นปัญญาวิมุตต์ไป.
[ตั้งแต่๒-๕ และเชิงอรรถหน้า ๙๒ (ในข้อ ๑, ๒, ๓) ดูรายละเอียดโดยพุทธวจนะ ใน อริยสัจจาก พระโอษฐ์ภาคต้น หน้า ๖๕๘]
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑. สัทธาวิมุตต์ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธาหรือมีศรัทธาออกหน้า ซึ่งได้แก่ผู้บรรลุมรรคผลขั้นสุดท้าย ด้วยอาศัยกำลังของศรัทธาที่เกิดขึ้น มากกว่ากำลังด้านสมาธิ ปัญญา หรือกำลังด้านอื่น ๆ ( ดูการอธิบาย โดย-พุทธ วจนะ ใน พุทธประวัติจากพระโอษฐ์หน้า ๓๓๖ ).
๒. ธัมมานุสารีผู้แล่นไปตามกระแสแห่งธรรม ซึ่งได้แก่ผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ด้วยอำนาจ พิจารณา เห็นอนิจจังใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.
๓. สัทธานุสารีผู้แล่นไปตามกระแสแห่งศรัทธา ซึ่งได้แก่ผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค โดยมีความเชื่อ และมีจิตน้อมไป เห็นอนิจจังใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ( ดูการอธิบายโดยพุทธวจนะ ใน อริยสัจจากพระ-โอษฐ์ภาคต้น หน้า ๕๙๒ ).
๔. บาลีพระพุทธภาษิต ติก. อํ. ๒๐/๓๕๓/๕๖๓ ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่พลิหรณะไพรสณฑ์ เมืองกุสินารา
.
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


93
ขี้ตามช้าง
(ภิกษุที่ติดอกติดในในลาภ ไม่เห็นโทษของลาภ)


            ภิกษุ ท. ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : มีสระใหญ่ในที่ใกล้ป่าแห่งหนึ่ง. ช้างทั้งหลายได้อาศัย หากินในสระใหญ่แห่งนั้น. มันลงสู่สระแล้ว ใช้งวง ถอนหัวบัวและรากบัวขึ้นมา แล้วแกว่งไปแกว่ง มาในนํ้า ทำให้หมดเปือกตม แล้วใส่ปากเคี้ยวให้ดีเสียก่อน จึงกลืนลงไป. การกินอย่างนี้ของช้าง เหล่านั้นย่อมทำให้เนื้อตัวเปล่งปลั่ง มีพละกำลัง และไม่ถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อที่ช้างนั้นรู้จักกินนั้นเองเป็นเหตุ.

             ภิกษุ ท. ! ส่วนพวกลูกช้าง เล็ก ๆ อยากจะเอาอย่างช้างใหญ่ๆ บ้าง มันจึงลงสู่สระบัว นั้น ใช้งวงถอน หัวบัวและรากบัวขึ้นมาได้ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้แกว่งไปแกว่งมาในนํ้า มีเปือกตมติด อยู่ก็เอา เข้าใส่ปาก ไม่ได้เคี้ยวให้ดีเสียก่อน กลืนลงไปแล้ว. การกินอย่างนี้ของพวกลูกช้างเล็ก ๆ นั้น ย่อมไม่ทำให้เนื้อตัวเปล่งปลั่งมีพละกำลัง แล้วยัง จะถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อที่ลูกช้างเหล่านั้น ไม่รู้จักกินนั้นเองเป็นเหตุ

             ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ในกรณีนี้เวลาเช้า ครองจีวร ถือบาตร เข้าไปสู่ย่านหมู่บ้านหรือนิคม เพื่อบิณฑบาต พวกภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ย่อมกล่าวธรรมอยู่ในที่นั้น ๆ พวกคฤหัสถ์ผู้เลื่อมใสต่อภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ย่อมทำอาการแห่งผู้เลื่อมใส. อนึ่ง พวกภิกษุผู้เถระ นั้นเล่า ก็ไม่ติดอกติดใจ ไม่สยบ ไม่เมาหมก ในลาภนั้น ๆ เป็นผู้มองเห็น ส่วนที่เป็นโทษ เป็นผู้รู้ แจ่มแจ้งในอุบาย เป็นเครื่องออกไปจากทุกข์แล้วจึง ทำการบริโภคลาภนั้น.

             การบริโภคอย่างนี้ของภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ย่อมทำให้มีร่างกายสุกใส มีพละกำลัง และไม่ถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อที่ท่านเหล่านั้นรู้จักการทำการฉัน นั้นเองเป็นเหตุ.

             ภิกษุ ท. ! ส่วนพวกภิกษุผู้หย่อนวัย อยากจะเอาอย่างพวกภิกษุผู้เถระ เหล่านั้นบ้าง เวลาเช้า ก็ครองจีวร ถือบาตร เข้าไปสู่ย่านหมู่บ้านหรือนิคม เพื่อบิณฑบาต. พวกเธอก็กล่าว ธรรมอยู่ในที่นั้น ๆ พวกคฤหัสถ์ผู้เลื่อมใส ต่อภิกษุผู้หย่อนวัยเหล่านั้น ย่อมทำอาการแห่ง ผู้เลื่อมใส.

             อนึ่ง พวกภิกษุผู้หย่อนวัยนั้นเล่า ก็ติดอกติดใจ สยบอยู่เมาหมกอยู่ในลาภนั้น ๆ เป็นผู้ไม่ มองเห็นส่วนที่เป็นโทษ ไม่เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบายเป็นเครื่องออกไป จากทุกข์ ทำการบริโภคลาภ นั้น. การบริโภคอย่างนี้ของภิกษุผู้เด็ก ๆ เหล่านั้น ย่อมไม่ทำให้มีร่างกาย สุกใส มีพละกำลัง (ชนิดเดียวกับผู้ที่บริโภค เพียงเพื่อเป็นการอนุเคราะห์แก่การ ประพฤติ พรหมจรรย์)

             แต่ได้กลับถึงซึ่งความ ตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย ; เพราะข้อที่ภิกษุเด็ก ๆ เหล่านั้น ไม่รู้จักการ ทำการฉัน นั้นเองเป็นเหตุ. ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า

            “เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ติดอกติดใจ ไม่สยบ ไม่เมาหมก ในปัจจัยลาภ มีปรกติ มองเห็น ส่วนที่เป็นโทษ เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบาย เป็นเครื่องออกไปจาก ทุกข์ทำการ บริโภค ปัจจัยลาภนั้น ๆ” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึง สำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.


95
ติดบ่วงนายพราน

            ภิกษุท. ! กามคุณเหล่านี้มีห้าอย่าง. ห้าอย่างอะไรกันเล่า ? ห้าอย่าง คือ รูปที่เห็น ด้วยตา เสียงที่ ฟังด้วยหู กลิ่นที่ดมด้วยจมูก รสที่ลิ้มด้วยลิ้น และโผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยกาย อันเป็นสิ่งที่น่า ปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งไว้ซึ่งความใคร่  เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ.

ภิกษุ ท. !กามคุณมีห้าอย่างเหล่านี้แล.

            ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ติดอกติดใจ สยบอยู่เมาหมกอยู่ใน กามคุณ ห้าอย่างเหล่านี้แล้ว ก็ไม่มองเห็นส่วนที่เป็นโทษ ไม่เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบายเป็น เครื่อง ออกไปจากทุกข์ ทำการบริโภคกามคุณทั้งห้านั้นอยู่ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อันคนทั้งหลาย พึงเข้าใจเถิดว่า เป็น ผู้ถึงความพินาศย่อยยับ แล้วแต่มารผู้ใจบาปต้องการจะทำตามอำเภอใจ อย่าง ใด ดังนี้.


96
ผู้ถูกล่าม

            ภิกษุ ท. ! บรรพชิตรูปใด จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังตัดเครื่อง ล่ามทางใจห้าอย่าง ให้ขาด ออกไปไม่ได้แล้ว คืนวันของบรรพชิตรูปนั้น ย่อมผ่านไปโดยหวังได้แต่ความเสื่อมใน กุศลธรรม ทั้งหลาย อย่างเดียว หาความ เจริญมิได้. เครื่องล่ามทางใจห้าอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

             ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ยังเป็นผู้มีความกำหนัด ในกามทั้งหลาย ยังมีความพอใจ มีความรัก มีความกระหาย มีความเร่าร้อน มีความทะยานอยาก ในกามทั้งหลาย. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส เพื่อความเพียร ทำให้เนือง ๆ เพื่อ ความเพียรอันติดต่อกัน และเพื่อความเพียรอันเป็นหลักมั่นคง. จิตของผู้ใด ไม่น้อมไปในความเพียร ดังกล่าวนี้ นั่นแหละเป็นเครื่องล่ามทางใจอย่างที่หนึ่ง ซึ่งเธอยังตัด ให้ขาดออกไม่ได้.

             ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุยังเป็นผู้มีความกำหนัด ในกาย _ _ ฯลฯ _ _ นั่นแหละ เป็นเครื่อง ล่ามทางใจอย่างที่สอง ซึ่งเธอยังตัดให้ขาดออกไม่ได้. ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุยังเป็นผู้มีความ กำหนัด ในรูป _ _ ฯลฯ _ _ นั่นแหละเป็นเครื่องล่ามทางใจอย่างที่สาม ซึ่งเธอยังตัดให้ขาดออกไม่ได้.

             ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุได้ฉันอาหารเต็มท้องตามประสงค์แล้ว ก็มัวหาความสุข ในการหลับ หาความสุขในการเอนกายเล่น หาความสุข ในการนอนซบเซาไม่อยากลุกขึ้น _ _ ฯลฯ _ _ นั่นแหละเป็น เครื่องล่ามทางใจ อย่างที่สี่ซึ่งเธอยังตัดให้ขาดออกไม่ได้.

             ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์โดย ตั้งความ ปรารถนาเพื่อเป็น เทวดา พวกใดพวกหนึ่ง ว่า “เราจักเป็นเทวดาผู้มีศักดาใหญ่ หรือเป็นเทวดาผู้มีศักดาน้อยชนิดใด ชนิดหนึ่ง ด้วยศีลนี้ ด้วยวัตรนี้ ด้วยตบะนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้” ดังนี้.

             ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียรเป็นเครื่องเผา กิเลส เพื่อความเพียรทำให้เนือง ๆ เพื่อความเพียรอันติดต่อกัน และเพื่อความเพียรอันเป็นหลัก มั่นคง. จิตของผู้ใด ไม่น้อมไป ในความเพียร ดังกล่าวนี้ นั่นแหละเป็นเครื่องล่ามทางใจอย่างที่ห้า ซึ่งเธอยังตัดให้ขาดออก ไม่ได้.

             ภิกษุท. ! บรรพชิตรูปใด จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังตัดเครื่อง ล่ามทางใจห้าอย่าง เหล่านี้ ให้ขาด ออกไม่ได้แล้ว คืนวันของบรรพชิตรูปนั้น ย่อมผ่านไป โดยหวังได้แต่ความเสื่อม ในกุศลธรรม ทั้งหลายอย่างเดียว หาความ เจริญมิได้ เช่นเดียวกับคืนวันแห่งดวงจันทร์เวลา ข้างแรม ดวงจันทร์นั้น โดยสีก็ไม่แจ่มกระจ่าง โดยวงกลดก็เล็กแคบเข้า โดยรัศมีก็เสื่อมลง โดย ขนาดก็หดเล็กลง ฉันใดก็ฉันนั้นแล.


98
หมองู ตายเพราะงู

            ภิกษุ ท. ! ไม้พันธ์ใหญ่ๆ ซึ่งมีเม็ดเล็ก ๆ แต่อาจเติบโตมีลำต้นสูงใหญ่มีธรรมดา ชอบงอก ขึ้นคลุมต้นไม้ ทั้งหลายนั้น มีอยู่. บรรดาต้นไม้ที่ถูกมันงอก ขึ้นคลุมแล้ว ย่อมหักเล็ก หักใหญ่ย่อมผุพังไป กระทั่งสูญสิ้นไปเลย. ต้นไม้เช่นว่านี้คือต้นอะไรบ้างเล่า ?

             ภิกษุ ท. ! ต้นไม้เช่นว่านี้คือ ต้นโพธิ ต้นไทร ต้นมิลักขุ ต้นอุทุมพร ต้นกัจฉกะ และ ต้นกปิตถนะ นี้แล คือไม้พันธ์ใหญ่ซึ่งมีเม็ดเล็ก ๆ แต่อาจเติบโตมีลำต้นสูงใหญ่ มีธรรมดา ชอบงอกขึ้นคลุม ต้นไม้ทั้งหลาย ทำบรรดาต้นไม้ที่ถูกมันงอกขึ้นคลุมแล้ว ให้หักเล็กหักใหญ่ ให้ผุพัง กระทั่งสูญสิ้นไปเลย

             ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่กุลบุตรบางคนในโลกนี้ละกามทั้งหลาย อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้ว ออกจากเรือน บวชเป็นคนไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนนักบวชผู้นั้น กลับเป็นคนที่ต้องเสียหาย ย่อยยับ หล่นจากพรหมจรรย์ ด้วยกามทั้งหลายชนิดเดิมอีกนั่นเอง หรือด้วยกามที่เลวร้าย ยิ่งไปกว่าเดิม (ที่ตนกลับสะสมมันขึ้น เพราะความไม่รู้เท่าถึงกามของตน).


99
อมิตตภิกขุ

            ภิกษุ ท. ! มิตรที่เป็นภิกษุที่ประกอบด้วยลักษณะห้าอย่างเหล่านี้เป็นคนที่ใคร ๆ ไม่ควรคบ. ห้าอย่างอะไรกันเล่า ? ห้าอย่างคือ
            (๑) ภิกษุนั้น ชอบใช้ให้ผู้อื่นทำงาน.
            (๒) ภิกษุนั้น ชอบก่ออธิกรณ์.
            (๓) ภิกษุนั้น ทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อเหล่าพระเถระชั้นครูบาอาจารย์.
            (๔) ภิกษุนั้น ชอบเที่ยวไกล ๆ และไม่มีจุดหมาย.
            (๕) ภิกษุนั้น ไม่มีความสามารถในการแสดง ในการชี้ชวน ในการ ปลุกปลอบ ในการเร้าให้เกิดความบันเทิง ด้วยธรรมีกถา ตามเวลาอันสมควร.

             ภิกษุ ท. ! มิตรที่เป็นภิกษุที่ประกอบด้วยลักษณะห้าอย่างเหล่านี้แล เป็นคนที่ใคร ๆ ไม่ควรคบ.


99-1
เป็นโรคชอบเที่ยวเรื่อยเปื่อย

            ภิกษุ ท. ! โทษห้าอย่างเหล่านี้เป็นโทษสำหรับคนชอบเที่ยวไกล ๆ และ ไม่มีจุดหมาย. ห้าอย่างอะไรกันเล่า ? ห้าอย่างคือ
            (๑) เธอ ย่อมไม่บรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ.
            (๒) เธอ ย่อมเสื่อมถอยจากสิ่งที่บรรลุแล้ว.
            (๓) ไม่เป็นผู้แตกฉานชํ่าชองในบางสิ่งบางอย่างแม้ที่บรรลุแล้ว.
            (๔) เป็นแต่โรคที่ทำให้ชีวิตลำบาก.
            (๕) และเป็นคนไร้มิตร.

            ภิกษุ ท. ! โทษห้าอย่างเหล่านี้แล เป็นโทษสำหรับคนชอบเที่ยวไกล ๆ และไม่มี จุดหมาย.

หมวดที่ห้า จบ.


ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์

หมวดที่๖


ว่าด้วย การหละหลวมในธรรม


ผู้ชี้ขุมทรัพย์ !

อานนท์ ! เราไม่พยายามทำกะพวกเธอ อย่างทะนุถนอม
เหมือนพวกช่างหม้อ ทำแก่หม้อ ที่ยังเปียก ยังดิบอยู่
อานนท์ ! เราจักขนาบแล้ว ขนาบอีก ไม่มีหยุด
อานนท์ ! เราจักชี้โทษแล้ว ชี้โทษอีก ไม่มีหยุด

ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้.
คนเรา ควรมองผู้มีปัญญาใด ๆ ที่คอยชี้โทษ คอยกล่าว
คำขนาบอยู่เสมอไป ว่าคนนั้นแหละ คือผู้ชี้ขุมทรัพย์ละ
ควรคบบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น
เมื่อคบหากับบัณฑิตชนิดนั้นอยู่ย่อมมีแต่ดีท่าเดียว ไม่มีเลวเลย.


---------------------------------------------------------------------
-----------------------------------------------------------------------------------------


103
นกแก้ว นกขุนทอง

            ภิกษุ ! ภิกษุในกรณีนี้ย่อมเล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด) คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมาย อันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้มากด้วยปริยัติ (นักเรียน) ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).

             อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมา แก่คนอื่นโดยพิสดาร แต่เธอ ไม่รู้ทั่วถึง ความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการบัญญัติ (นักแต่ง) ยังมิใช่ธรรมวิหารี(ผู้อยู่ด้วยธรรม).

             อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมา โดยพิสดาร แต่เธอ ไม่รู้ความ หมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการสวด (นักสวด) ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).

             อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุคิดพล่านไปในธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมา แต่เธอไม่รู้ทั่วถึง ความหมาย อันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้เรา เรียกว่า ผู้มากด้วยการคิด (นักคิด) ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).


104
ถุงลม

            ภิกษุ ! ภิกษุในกรณีนี้ย่อมเล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด) คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ เธอใช้เวลาทั้งวันให้เปลืองไป ด้วยการเรียนธรรมนั้น ต้องเริดร้าง จากการหลีกเร้น ไม่ประกอบซึ่งธรรมเป็นเครื่องสงบใจ ในภายใน. ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้มากด้วยปริยัติ (นักเรียน) ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).

             อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมา แก่คนอื่น โดยพิสดาร เธอใช้เวลา ทั้งวัน ให้เปลืองไปด้วยการบัญญัติธรรมนั้น ต้อง เริดร้างจากการหลีกเร้น ไม่ประกอบซึ่งธรรมเป็น เครื่องสงบใจ ในภายใน. ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการบัญญัติ (นักแต่ง) ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).

             อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมา โดยพิสดาร เธอใช้ เวลาทั้งวัน ให้เปลืองไปด้วยการสาธยายนั้น ต้องเริดร้าง จากการหลีกเร้น ไม่ประกอบซึ่ง ธรรมเป็นเครื่องสงบใจ ในภายใน. ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้มากด้วยการสวด (นักสวด) ยังมิใช่ธรรม วิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).

             อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุคิดพล่านไปในธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมา เธอใช้เวลาทั้งวันให้ เปลืองไป ด้วยการคิดพล่านในธรรมนั้น ต้องเริดร้าง จากการหลีกเร้น ไม่ประกอบซึ่งธรรมเป็น เครื่องสงบใจในภายใน. ภิกษุนี้เรา เรียกว่า ผู้มากด้วยการคิด (นักคิด) ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).


105
ปริยัติที่เป็นงูพิษ
(ทรงอุปมาภิกษุที่เล่าเรียนธรรม แต่ไม่ใคร่ครวญเนื้อธรรมด้วยปัญญา ว่าเป็นโมษะบุรุษ
เปรียบเหมือน อสรพิษ ที่ฉกอวัยวะของภิกษุนั้นได้)


            ภิกษุ ท. ! โมฆบุรุษบางพวกในกรณีนี้เล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด) คือ สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ พวกโมฆบุรุษเหล่านั้น ครั้นเล่าเรียนธรรมนั้น ๆ แล้ว ไม่สอดส่อง ใคร่ครวญเนื้อความ แห่งธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญา เมื่อไม่สอดส่องใคร่ครวญเนื้อความด้วยปัญญา ธรรมทั้งหลาย
เหล่านั้น ย่อมไม่ทน ต่อการเพ่ง พิสูจน์ ของโมฆบุรุษเหล่านั้น.


             พวกโมฆบุรุษเหล่านั้น เล่าเรียน ธรรมด้วยการเพ่งหาข้อบกพร่อง (ของธรรมหรือ ของลัทธิใด ลัทธิหนึ่ง) และมีความคิดที่จะใช้ เป็นเครื่องทำลายลัทธิใดลัทธิหนึ่ง เป็นอานิสงส์.

             ผู้รู้ทั้งหลาย เล่าเรียนพระปริยัติธรรม เพื่อคุณประโยชน์อันใด พวกโมฆบุรุษ เหล่านั้น หาได้รับ คุณประโยชน์อันนั้นแห่งธรรมไม่ ; ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ก็เลยเป็นธรรมที่โมฆบุรุษ เหล่านั้น ถือเอาไม่ดี เป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เขาเหล่านั้น ตลอดกาลนาน.

             ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะ ความที่ธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษ เหล่านั้นถือเอาไม่ดี เป็นเหตุ.

             ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการใคร่จะได้งูเที่ยวเสาะ แสวงหางูอยู่. บุรุษนั้น ครั้น เห็นงูตัวใหญ่ก็เข้าจับงูนั้นที่ตัวหรือที่หาง อสรพิษ ตัวนั้น ก็จะพึงกลับฉกเอามือ หรือแขน หรืออวัยวะแห่งใด แห่งหนึ่งของบุรุษนั้น

             บุรุษนั้น ก็จะตายหรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะการฉกเอาของอสรพิษนั้น เป็นเหตุ.
             ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะความที่บุรุษนั้นจับงูไม่ดี (คือไม่ถูกวิธี) เป็นเหตุ. ข้อนี้ฉันใด

             ภิกษุ ท. ! โมฆบุรุษบางพวกในกรณีนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เขา เล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด) คือ สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ พวกโมฆบุรุษ เหล่านั้น ครั้นเล่าเรียนธรรมนั้น ๆ แล้ว ไม่สอดส่องใคร่ครวญ เนื้อความ แห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา เมื่อไม่สอดส่องใคร่ครวญเนื้อความ ด้วยปัญญา ธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น ย่อมไม่ทนต่อการเพ่งพิสูจน์ ของโมฆบุรุษเหล่านั้น โมฆบุรุษเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมด้วยการ เพ่งหาข้อบกพร่อง (ของธรรมหรือ ของลัทธิใดลัทธิหนึ่ง) และมีความคิดที่จะใช้เป็นเครื่องทำลายลัทธิใด ลัทธิหนึ่ง เป็นอานิสงส์.

             ผู้รู้ทั้งหลาย เล่าเรียนปริยัติธรรม เพื่อคุณประโยชน์อันใด โมฆบุรุษเหล่านั้น หาได้รับคุณ ประโยชน์อันนั้นแห่งธรรมไม่; ธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น ก็เลยเป็นธรรมที่โมฆบุรุษ เหล่านั้น ถือเอาไม่ดี เป็นไปเพื่อความไม่เป็น ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เขาเหล่านั้นตลอด กาลนาน. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะความที่ธรรมทั้งหลาย อันโมฆบุรุษเหล่านั้นถือเอาไม่ดี เป็นเหตุแล.


106
ผู้ที่ไม่ควรพูดอภิธรรม

            ภิกษุ ท. ! ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย ซึ่งมิได้อบรมกาย มิได้รับอบรม ศีล มิได้อบรมจิต และมิได้รับอบรมปัญญา เธอทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนั้น พูดกันถึงเรื่องอภิธรรม หรือเรื่อง เวทัลละ (ชื่อพระสูตรแบบถาม-ตอบ) อยู่จักพลัดออก ไปสู่แนวของมิจฉาทิฏฐิ โดยไม่รู้สึกตัว.

             ภิกษุ ท. ! ด้วยอาการอย่างนี้เอง วินัยมีมลทิน เพราะธรรมมีมลทิน ; ธรรมมีมลทิน เพราะวินัยมี มลทิน. นี้เป็นอนาคตภัย ที่ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้แต่จักเกิดขึ้นในเวลาต่อไป. พวกเธอทั้ง หลายพึงสำนึกไว้ ครั้นได้สำนึกแล้ว ก็พึงพยายามเพื่อกำจัดภัยนั้นเสีย.


107
เนื้อแท้อันตรธาน

            ภิกษุ ท. ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่. เมื่อกลองอานกะนี้มีแผลแตก หรือลิ พวก กษัตริย์ทสารหะ ได้หาเนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลง ในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป).

            ภิกษุท. ! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้นนานเข้า ก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่ง เนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น

             ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น: ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย สุตตันตะ (ตัวสูตรส่วน ที่ลึกซึ้ง)เหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้น โลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วย เรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำ สุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิต เพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

             ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์ กลอน มีอักษร สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็น คำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสูตร ที่นักกวีแต่งขึ้น ใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักฟังด้วยดีจักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตน ควรศึกษาเล่าเรียน.

             ภิกษุ ท. ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.


108
ผู้ทำศาสนาเสื่อม
ผู้ทำศาสนาเสื่อม 4 อย่าง (เล่าเรียนมาผิด-เป็นคนว่ายาก-คล่องแคล่วแต่ไม่บอกสอน
-สะสมบริกขาร ไม่เหลียวแลวิเวกธรรม)


            ภิกษุ ท. ! มูลเหตุสี่ประการเหล่านี้ที่ทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป. สี่อย่างอะไรกันเล่า ? สี่อย่างคือ

             ภิกษุ ท. ! พวกภิกษุเล่าเรียนสูตรอันถือกันมาผิด ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันผิด เมื่อบทและ พยัญชนะใช้กันผิดแล้ว แม้ความหมายก็มีนัยอัน คลาดเคลื่อน. ภิกษุ ท. ! นี้มูลกรณี ที่หนึ่ง ซึ่งทำให้ พระสัทธรรมเลอะ เลือนจนเสื่อมสูญไป.

             ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง พวกภิกษุเป็นคนว่ายาก ประกอบด้วยเหตุที่ทำให้เป็นคน ว่ายาก ไม่อดทน ไม่ยอมรับคำตักเตือนโดยความเคารพหนักแน่น. ภิกษุ ท. ! นี้มูลกรณีที่สอง ซึ่งทำให้ พระสัทธรรมเลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป.

             ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่วใน หลัก พระพุทธวจนะ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เอาใจใส่ บอกสอนใจ ความแห่งสูตรทั้งหลาย แก่คนอื่น ๆ เมื่อท่าน เหล่านั้นล่วงลับดับไป สูตรทั้งหลาย ก็เลยขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) ไม่มีที่อาศัย สืบไป.

             ภิกษุ ท. ! นี้มูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป.

             ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง พวกภิกษุชั้นเถระ ทำการสะสมบริกขาร ประพฤติ ย่อหย่อนใน ไตรสิกขา เป็นผู้นำในทางทราม ไม่เหลียวแลในกิจแห่งวิเวกธรรม ไม่ปรารภ ความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อทำให้แจ้งในสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง.

             ผู้บวชในภายหลังได้เห็นพวก เถระเหล่านั้นทำแบบแผนเช่นนั้นไว้ก็ถือเอา ไปเป็น แบบอย่าง จึงทำให้เป็นผู้ทำการสะสมบริกขารบ้าง ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา มีจิตตํ่าด้วย อำนาจ แห่งนิวรณ์ ไม่เหลียวแลในกิจแห่งวิเวกธรรม ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งในสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ตามกันสืบไป.

             ภิกษุ ท. ! นี้มูลกรณีที่สี่ซึ่งทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.

             ภิกษุ ท. ! มูลเหตุสี่ประการเหล่านี้แล ที่ทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือน มูลเหตุสี่ประการ เหล่านี้ แล ที่ทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือน


109
คนไม่ควรเลี้ยงโค

            ภิกษุ ท. ! คนเลี้ยงโคที่ประกอบด้วยความบกพร่อง ๑๑ อย่างแล้ว ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงโค และทำฝูงโคให้เจริญได้.

             ความบกพร่อง ๑๑ อย่าง อะไรกันเล่า ? ๑๑ อย่างคือ คนเลี้ยงโคในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่รู้ เรื่องร่างกาย ของโค เป็นผู้ไม่ฉลาดในลักษณะของโค เป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง เป็นผู้ไม่ปิดแผล เป็นผู้ไม่สุมควัน เป็นผู้ ไม่รู้จักท่าที่ควรนำโคไป เป็นผู้ไม่รู้จักนํ้าที่โค ควรดื่ม เป็นผู้ไม่รู้จักทาง ที่โคควรเดิน เป็นผู้ไม่ฉลาดในที่ ที่โคควรไป เป็นผู้รีดนมโคเสียหมด ไม่มีส่วนเหลือ เป็นผู้ไม่ให้เกียรติแก่โคอุสภอัน เป็นโคพ่อฝูง เป็นโค นำฝูง ด้วยการเอาใจใส่เป็นพิเศษ.

             ภิกษุ ท. ! คน เลี้ยงโคที่ประกอบด้วยความบกพร่อง ๑๑ อย่างเหล่านี้แล ไม่เหมาะที่จะ เลี้ยงโค และทำฝูงโคให้เจริญได้

             ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๑ ประการ แล้ว ไม่ควรที่จะ ถึงความ เจริญ งอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.

             องค์คุณ ๑๑ ประการอะไรกันเล่า ? ๑๑ ประการคือ ภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้ไม่รู้จักรูป เป็นผู้ไม่ฉลาด ในลักษณะ เป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง เป็นผู้ไม่ปิดแผล เป็นผู้ไม่สุมควัน เป็นผู้ไม่รู้จักท่า ที่ควรไป เป็นผู้ไม่รู้จักนํ้า ที่ควรดื่ม เป็นผู้ไม่รู้จักทางที่ควรเดิน เป็นผู้ไม่ฉลาดในที่ที่ควรไป เป็นผู้รีด “ นมโค ” เสียหมด ไม่มี ส่วนเหลือ เป็นผู้ไม่บูชาอย่างยิ่งในภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระ มีพรรษายุกาล บวชนาน เป็นบิดาสงฆ์เป็นผู้นำ สงฆ์ด้วยการ บูชาชั้นพิเศษ.


110
พวกไม่รู้จักรูป

            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้จักรูป เป็นอย่างไรเล่า ?
            ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ย่อมไม่รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “รูปชนิดใด ก็ตาม ทั้งหมดนั้น ชื่อว่ารูป คือ มหาภูตรูปมี๔ และอุปาทายรูป คือรูปที่อาศัย มหาภูตรูปทั้ง ๔” ดังนี้.
            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้จักรูป เป็นอย่างนี้แล.


111
พวกไม่ฉลาดในลักษณะ

            ภิกษุเป็นผู้ไม่ฉลาดในลักษณะ เป็นอย่างไรเลา ? ภิกษุในกรณีนี้ย่อมไม่รู้ตามที่เป็น จริงว่า “ คนพาล มีกรรมเป็นเครื่องหมาย บัณฑิต ก็มีกรรมเป็นเครื่องหมาย ” ดังนี้เป็นต้น.

             ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่ฉลาดในลักษณะ เป็นอย่างนี้แล.


111_0
พวกไม่เขี่ยไข่ขาง (ไข่แมลงวัน)

            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง เป็นอย่างไรเล่า ?
            ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ไม่อดกลั้น ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นสุด ไม่ทำให้หมดสิ้น ซึ่งความตรึก เกี่ยวด้วยกาม ความตรึกเกี่ยวด้วยความ พยาบาท ความตรึกเกี่ยวด้วยการเบียดเบียน ที่เกิดขึ้นแล้ว และไม่อด กลั้น ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นสุด ไม่ทำให้หมดสิ้น ซึ่งสิ่งอันเป็น อกุศล ลามกทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นแล้ว.
             ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง เป็นอย่างนี้แล.


111_1
พวกไม่ปิดแผล

            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่ปิดแผล เป็นอย่างไรเล่า ?
            ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้เห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วย จมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ แล้วก็มีจิตยึดถือเอา ทั้งโดยลักษณะที่เป็นการ รวบถือ ทั้งหมด และการถือเอาโดยการ แยกเป็นส่วน ๆ. สิ่งอันเป็นอกุศลลามกคืออภิชฌา และ โทมนัส จะพึงไหลไป ตามผู้ที่ไม่สำรวม ตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์ใด เป็นเหตุ, เธอไม่ปฏิบัติเพื่อปิดกั้น อินทรีย์นั้นไว้ เธอไม่รักษาและไม่สำรวม ตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่ปิดแผล เป็นอย่างนี้แล.


111_2
พวกไม่สุมควัน

            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่สุมควัน เป็นอย่างไรเล่า ?
            ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ไม่แสดงธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแล้ว แก่คนอื่น โดยพิสดาร.
            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่สุมควัน เป็นอย่างนี้แล.


112
พวกไม่รู้จักท่าที่ควรไป


            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้จักท่าที่ควรไป เป็นอย่างไรเล่า ?
            ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้เมื่อเข้าไปหาพวกภิกษุซึ่งเป็นพหุสูต คล่องแคล่วในหลัก พระพุทธวจนะ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ก็ไม่ไต่ถาม ไม่ไล่เลียงโดยทำนองนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ท. ! พระพุทธวจนะนี้ เป็นอย่างไร ? ความหมายแห่งพระพุทธวจนะนี้มีอย่างไร ?” ดังนี้เป็นต้น ตามเวลาอัน สมควร ท่านพหุสูต เหล่านั้น จึงไม่ทำข้อความที่ยังลี้ลับให้เปิดเผย ไม่ทำข้อความอันลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัย ในธรรมทั้งหลาย อัน เป็นที่ตั้งแห่งความ สงสัย นานาประการให้แก่ภิกษุนั้นได้.
             ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็น ผู้ไม่รู้จักท่าที่ควรไป เป็นอย่างนี้แล.


112_1
พวกไม่รู้จักนํ้าที่ควรดื่ม

            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้จักนํ้าที่ควรดื่ม เป็นอย่างไรเล่า ?
            ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้แล้ว อันผู้ใดผู้หนึ่งแสดงอยู่ เธอ ก็ไม่ได้ความรู้ธรรม ไม่ได้ความรู้อรรถ และไม่ได้ความปราโมทย์อันอาศัยธรรม.                         ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้จักนํ้าที่ควรดื่ม เป็น อย่างนี้แล.


112_2
พวกไม่รู้จักทางที่ควรเดิน

            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้จักทางที่ควรเดิน เป็นอย่างไรเล่า ?
            ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ย่อมไม่รู้ชัดแจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งอริยมรรคมีองค์แปด.
            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้จักทางที่ควรเดิน เป็นอย่างนี้แล.


113
พวกไม่ฉลาดในที่ที่ควรไป

            ภิกษุเป็นผู้ไม่ฉลาดในที่ที่ควรไป เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุในกรณีนี้ย่อมไม่รู้ชัดแจ้ง ตามที่เป็นจริงซึ่งสติปัฏฐานสี่.
            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่ฉลาดในที่ที่ควรไป เป็นอย่างนี้แล.


113_1
พวก รีด “นมโค” เสียหมด ไม่มีส่วนเหลือ


            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้รีด “นมโค” เสียหมด ไม่มีส่วนเหลือ เป็น อย่างไรเล่า ?
            ภิกษุ ท. ! พวกคฤหบดีผู้มีศรัทธา ย่อมปวารณาไม่มีขีดขั้น แก่ภิกษุในพระศาสนานี้ด้วย จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร. ในการที่เขาปวารณาเช่นนั้น ภิกษุเป็นผู้ ไม่รู้จัก ประมาณในการรับปัจจัยสี่มีจีวรเป็นต้นเหล่านั้น.
            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้รีด “นมโค” เสียหมด ไม่มีส่วนเหลือ เป็นอย่างนี้แล.


113-2
พวกไม่บูชาผู้เฒ่า

            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่บูชาอย่างยิ่งในภิกษุทั้งหลายชั้นที่เป็นเถระ ฯลฯ ด้วยการบูชา ชั้นพิเศษ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ไม่เข้าไปตั้งไว้ซึ่งกายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม อันประกอบ ด้วยเมตตา ในภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระ มีพรรษายุกาล บวชนาน เป็นบิดา สงฆ์ ทั้งในที่แจ้ง และที่ลับ.

             ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่บูชาอย่างยิ่งในภิกษุทั้งหลาย ชั้นที่เป็นเถระ ฯลฯ ด้วยการ บูชาชั้นพิเศษ เป็นอย่างนี้แล.  ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๑ ประการเหล่านี้แล ไม่ควรที่จะถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้เลย.


114
ลูกนอกคอก

            ภิกษุ ท. ! เหยี่ยวตัวหนึ่ง ได้โฉบลง จับนกมูลไถตัวหนึ่งไปได้โดย รวดเร็ว. นกมูลไถ กำลังถูก เหยี่ยวนำไป ได้พรํ่ารำพันอย่างนี้ว่า เราน่ะไม่เข้า ลักษณะของผู้มีบุญ เรามีบุญน้อย เราจึงเที่ยวไปใน วิสัยอื่นซึ่งมิใช่วิสัยควรเที่ยว ไป. ถ้าในวันนี้เราเที่ยวไปในวิสัยอันเป็นของแห่ง บิดาของตน เหยี่ยวตัวนี้ หาสู้เรา ได้ไม่” ดังนี้ เหยี่ยวจึงถามว่า “นี่แน่ะนกมูลไถ ! ที่ไหนของเจ้า เล่า ซึ่งเป็นวิสัยอันเป็นของแห่ง บิดาของตนเที่ยวไป”.

             นกมูลไถตอบว่า “ที่ที่มีก้อนดิน ซึ่ง คนทำการไถทิ้งไว้นั่นแหละ คือวิสัยเป็นที่เที่ยว ของบิดาเรา”. ครั้งนั้นเหยี่ยวผู้แสดงความหยิ่งเพราะกำลังของตนผู้อวดอ้างเพราะกำลังของตน ได้ปล่อย นก มูลไถไปด้วย คำพูดว่า “ไปเถอะนกมูลไถ ! ถึงเจ้าไปในที่เช่นนั้นก็ไม่พ้น มือเราแน่” ดังนี้.
             ครั้งนั้นนกมูลไถไปยังที่ที่มีก้อนดินซึ่งคนทำการไถทิ้งไว้แล้วจึงขึ้นยืนบนก้อนดินใหญ่ท้าเหยี่ยวว่า “ทีนี้มาซิ ท่านเหยี่ยวของเรา. ทีนี้มาซิท่านเหยี่ยวของเรา” ดังนี้. ครั้งนั้น เหยี่ยวผู้แสดงความ หยิ่งเพราะกำลัง ของตน ผู้อวดอ้างเพราะกำลังของตน ได้ห่อปีกทั้งสองข้าง แล้วโฉบลงไป ที่นกมูลไถโดยรวดเร็ว.

             ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล นกมูลไถรู้ตัวเสียก่อนว่า “เหยี่ยวใหญ่ตัวนี้มาจับเราแล้ว” ในกาลนั้น นกมูลไถตัวนั้น ก็หลบเข้า ซอกดินเสียก่อน. ภิกษุ ท. ! ครั้งนั้นแล เหยี่ยวตัวนั้น เอาอกกระแทกดินตาย เพราะความเร็ว ณ ตรงที่นั้นเอง. ภิกษุ ท. ! ผู้ที่เที่ยวไปในวิสัยอื่น ซึ่งมิใช่วิสัยควรเที่ยวไปแห่งตน ย่อมมีอันเป็นไป ด้วยประการฉะนี้.

             ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เที่ยว ไปในวิสัยอื่นซึ่งมิใช่ วิสัยควร เที่ยวไป. เมื่อพวกเธอเที่ยวไปในวิสัยอื่นซึ่งมิใช่วิสัยควรเที่ยวไป มารจักได้ช่องทาง ทำลายล้าง มารจักได้โอกาสที่จะทำตาม อำเภอใจ แก่พวกเธอ.

             วิสัยอื่นซึ่งมิใช่วิสัยควรเที่ยวไปของภิกษุคืออะไรเล่า ? คือ กามคุณ ๕. ห้าอะไรกันเล่า ? ห้าคือ รูปที่เห็นด้วยตา เสียงที่ได้ยินด้วย หู กลิ่นที่รู้สึกด้วยจมูก รสที่รู้สึกด้วยลิ้น และ โผฏฐัพพะ ที่รู้สึกด้วยการ สัมผัสทางกาย ซึ่งเป็นที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าชอบใจ ที่ ยวนตา
ยวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย แห่งความใคร่ ที่เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อม ใจ ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นวิสัยอื่นซึ่งมิใช่วิสัยควรเที่ยวไป ของภิกษุ.



115
ผู้โลเล

            ภิกษุ ท. ! มูลเหตุแปดอย่างนี้เล่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมเสียสำหรับ ภิกษุผู้ยังไม่จบ กิจแห่งการปฏิบัติเพื่อลุถึงนิพพาน. มูลเหตุแปดอย่างอะไร กันเล่า ? แปดอย่างคือ
            (๑) ความเป็นผู้พอใจในการทำงานก่อสร้าง.
            (๒) ความเป็นผู้พอใจในการคุย.
            (๓) ความเป็นผู้พอใจในการนอน.
            (๔) ความเป็นผู้พอใจในการจับกลุ่มคลุกคลีกัน.
            (๕) ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.
            (๖) ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภค.
            (๗) ความเป็นผู้พอใจในการกระทำ เพื่อเกิดสัมผัสสนุกสบายทางกาย
            (๘) ความเป็นผู้พอในในการขยายกิจให้โยกโย้โอ้เอ้เนิ่นช้า.
            ภิกษุ ท. ! มูลเหตุแปดอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมเสียสำหรับภิกษุผู้ยังไม่ จบกิจแห่งการปฏิบัติ เพื่อลุถึงนิพพาน.


116
ภิกษุร้องเพลง

            ภิกษุ ท. !โทษของภิกษุผู้กล่าวธรรมด้วยเสียงขับ อันยาวมีห้าอย่างเหล่านี้. ห้าอย่างอะไรกันเล่า? ห้าอย่างคือ
            (๑) แม้ตนเอง ก็กำหนัดยินดีในเสียงนั้น.
            (๒) แม้คนอื่น ก็พลอยกำหนัดยินดีในเสียงนั้น.
            (๓)แม้พวกคฤหบดีก็พากันยกโทษติเตียนได้ว่า “พวกสมณะ สากยบุตร เหล่านี้ ก็ขับเพลงเหมือนพวกเราขับเพลงทีเดียวนะ” ดังนี้.
            (๔) เมื่อภิกษุนั้นยังรู้สึกลุ่มหลงในกระแสเสียงนั้นอยู่สมาธิก็พังทลาย
            (๕) อนุชนรุ่นหลัง จะถือเอาเป็นแบบอย่าง.
             ภิกษุ ท . ! โทษของภิกษุผู้กล่าวธรรมด้วยเสียงขับอันยาว มีห้าอย่างเหล่านี้แล.


117
ผู้มัวแต่อวดฉลาด


            กัสสปะ ! เธอ จงว่ากล่าวสั่งสอนภิกษุ จงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุ. กัสสปะ ! เราหรือเธอ จะต้องว่ากล่าวสั่งสอนภิกษุ เราหรือเธอ จะต้องแสดง ธรรมีกถาแก่ภิกษุ.

            “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ! ในเวลานี้ภิกษุทั้งหลายเป็นคนว่ายาก และ ประกอบด้วย เหตุที่ ทำให้ว่ายาก ด้วย ไม่มีความอดทน ไม่ยอมรับคำตักเตือนโดยเคารพ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ยัง ได้เห็นภิกษุชื่อภัณฑะซึ่งเป็น สัทธิวิหาริกของ พระอานนท์องค์หนึ่ง และภิกษุชื่อ อาภิชชิกะ ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของ พระอนุรุทธองค์หนึ่ง กล่าวท้าทายกันด้วยเรื่องวิชาความรู้ว่า ‘มาซิภิกษุ ! จะได้เห็นกันว่า ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักพูดได้เพราะกว่ากัน ใครจักพูดได้นานกว่าใคร’ ดังนี้”.

            พระมหากัสสปะกล่าวทูลขึ้น.พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงรับสั่งให้ตามตัวภิกษุทั้งสองนั้น มาเฝ้า แล้วได้ทรงซักถามภิกษุทั้งสองนั้น ภิกษุทั้งสองนั้นได้ทูลรับว่า ได้ทำการท้าทายกัน เช่นนั้นจริง จึงตรัสว่า

            ภิกษุ ท. ! เธอทั้งสองย่อมเข้าใจธรรมที่เราแสดงแล้ว ว่าเราได้แสดง ว่า “ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย จงพูดท้าทายกันด้วยเรื่องวิชาความรู้อย่างนี้ว่า ‘มาซิภิกษุ ! จะได้รู้ว่า ใครจะพูดได้มากกว่ากัน ใครจะพูดได้เพราะกว่ากัน ใครจะพูดได้นานกว่าใคร’ ดังนี้” ดังนั้นหรือ ? ภิกษุทั้งสองรูปนั้นทูลว่า “หาเป็นเช่นนั้นไม่พระเจ้าข้า”.

             ภิกษุ ท. ! ก็เมื่อเธอทั้งสองเข้าใจธรรมที่เราแสดงแล้วว่าหาเป็นอย่างนี้ไม่ ก็เรื่องอะไร เล่า โมฆบุรุษทั้งสอง รู้อย่างไร เห็นอย่างไร ทั้งที่บวชอยู่ในธรรม วินัยที่เรากล่าวดีแล้วนี้จึงกล้าพูด ท้าทายกัน และกันด้วยเรื่องวิชาความรู้ว่า “มาซิภิกษุ ! จะได้รู้ว่า ใครจะพูดได้มากกว่ากัน ใครจะพูดได้เพราะกว่ากัน ใคร จะพูดได้นานกว่าใคร” ดังนี้เล่า.

            ภิกษุทั้งสองได้สำนึกตัว จึงหมอบลงที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกล่าวคำขอ ขมาโทษ ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ความล่วงเกินของข้าพระองค์ได้ล่วงเกินแล้ว เพราะทำ ตามประสาพาล ประสา เขลา ประสาไม่ฉลาด คือข้อที่ข้าพระองค์ทั้งสองได้บวช อยู่ในธรรมวินัย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวไว้ดี แล้วอย่าง นี้กลับมาพูดท้าทายกันเสียด้วยเรื่องวิชาความรู้ว่า ‘มาซิภิกษุ ! จะได้รู้ว่าใครจะพูดได้มากกว่ากัน ใครจะพูดได้เพราะกว่ากัน ใครจะพูดได้นาน กว่าใคร’ ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงงด โทษโดยเป็นโทษ ล่วงเกิน ของข้าพระองค์ทั้งสอง เพื่อสังวรต่อไปพระเจ้าข้า” ดังนี้.

            ภิกษุ ท. ! แน่แล้ว เธอทั้งหลาย ได้ถึงความมีโทษ เพราะทำตาม ประสาพาล ประสาเขลา ประสา ไม่ฉลาด คือข้อที่เธอทั้งหลาย ทั้ง ๆ ที่ได้มา บวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวไว้ ดีแล้ว อย่างนี้กลับมามัว พูดท้า ทายกันด้วยเรื่อง วิชาความรู้ว่า “มาซิภิกษุ ! จะได้รู้ว่า ใครจะพูดได้มากกว่ากัน ใครจะพูด ได้เพราะกว่ากัน ใครจะพูดได้นานกว่าใคร” ดังนี้.

             ภิกษุท. ! แต่เมื่อเธอ ทั้งหลายเห็นโทษ โดยความเป็นโทษแล้วทำคืนเสีย อย่าง ถูกระเบียบ เช่นนี้ เราก็จะงดโทษของพวกเธอทั้งหลายให้.

             ภิกษุท. ! ผู้ที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนเสียอย่างถูกระเบียบ แล้วทำการ สังวรระวัง ต่อไป อันนั้นย่อมเป็นความเจริญในวินัยของพระอริยเจ้า ดังนี้.


118
พระหลวงตา
(พระหลวงตาที่หายาก)

            ภิกษุท.! พระหลวงตา๒ ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่าง หาได้ยาก.
ห้าอย่างอะไรกันเล่า ? ห้าอย่างคือ
            ภิกษุท. !
            1) พระหลวงตาที่มีปัญญาละเอียดอ่อน(ในการรู้อริยสัจสี่) หาได้ยาก
            2) พระหลวงตาที่เป็นคนมีท่าทางเรียบร้อย หาได้ยาก.
            3) พระหลวงตาที่เป็นคนสดับรับฟังแล้วจำได้มาก หาได้ยาก.
            4) พระหลวงตาที่เป็นธรรมกถึก หาได้ยาก. (แสดงธรรมเพื่อความหน่าย คลายกำหนัด ดับไม่เหลือ)
            5) พระหลวงตาที่เป็นคนปฏิบัติเคร่งตามวินัย หาได้ยาก.

            (อีกสูตรหนึ่ง)
            ภิกษุท. !
            1) พระหลวงตาที่เป็นคนว่าง่ายสอนง่าย หาได้ยาก.
            2) พระหลวงตาที่รับคำแนะนำไปปฏิบัติให้เป็นอย่างดี หาได้ยาก.
            3) พระหลวงตาที่ยอมรับคำตักเตือนโดยเคารพเอื้อเฟื้อ หาได้ยาก.
            4) พระหลวงตาที่เป็นธรรมกถึก หาได้ยาก.
            5) พระหลวงตาที่ปฏิบัติเคร่งตามวินัย หาได้ยาก.

            ภิกษุท. ! พระหลวงตาที่ประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่าง(แต่ละหมวด) เหล่านี้แลหาได้ยาก.


119
พระถูกฆ่า


            เกสี !เราก็ฝึกด้วยวิธีละมุนละม่อมบ้าง ด้วยวิธีรุนแรงบ้าง ด้วยทั้งสองวิธีประกอบกัน บ้าง เช่นเดียวกับท่านฝึกม้าเหมือนกัน. _ _ _ฯลฯ _ _ _
            “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ถ้าคนผู้นั้นไม่รับการฝึกทั้ง ๓ วิธีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงทำแก่เขา อย่างไร ?” นายเกสีนักฝึกม้ามีชื่อเสียงทูลถาม.

             เกสี ! ถ้าคนผู้นั้น ไม่รับการฝึกด้วยวิธีละมุนละม่อม ไม่รับการฝึก ด้วยวิธีรุนแรง และไม่รับการฝึก ด้วยวิธีทั้งสองบวกกัน เราก็ฆ่าเขาเสีย เช่น เดียวกับท่านเหมือนกัน.
            “การฆ่า ไม่ควรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิใช่หรือพระเจ้าข้า ! ไฉนจึงรับสั่งว่า ‘เราก็ฆ่าเขาเสีย’ กระนี้เล่า ?”

            
จริง เกสี ! การฆ่าไม่ควรแก่ตถาคต, แต่ว่าคนผู้ใดไม่รับการฝึก ด้วยวิธีละมุนละม่อม ไม่รับการ ฝึกด้วยวิธีรุนแรง และไม่รับการฝึกด้วยทั้งสอง วิธีบวกกัน ตถาคตก็ไม่นับคนผู้นั้น ว่าเป็นคน ที่จะพึงว่า กล่าวสั่งสอนต่อไป ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ไม่นับคนผู้นั้น ว่าเป็นคนที่จะพึงว่ากล่าวสั่งสอน ด้วย.

             นี่แน่ะเกสี ! ข้อที่ตถาคตไม่นับคนผู้นั้น ว่าเป็นคนที่จะพึงว่ากล่าวสั่งสอน, ทั้งเพื่อน พรหมจารีผู้รู้ ทั้งหลายก็ไม่นับคนผู้นั้น ว่าเป็นคนที่จะพึงว่ากล่าวสั่งสอนด้วยนั้น นั่นชื่อว่าเป็นการ ฆ่าเสียอย่างสนิท ทีเดียวในวินัย ของพระอริยเจ้า.
            “นั่น ชื่อว่าเป็นการฆ่าเสียอย่างสนิทแน่พระเจ้าข้า ! . . .” นายเกสีทูล.


120
ผู้หล่นจากศาสนา

            ภิกษุ ท. ! นักบวช ที่ไม่ประกอบด้วยเหตุสี่ประการแล้ว ย่อมกล่าวได้ว่า เป็นผู้หล่นจาก ธรรมวินัยนี้.
เหตุสี่ประการอะไรกันเล่า ? เหตุสี่ประการคือ
            (๑) ผู้ที่ไม่ประกอบด้วยศีล อันเป็นเครื่องไปจากข้าศึก๒ เรียกได้ว่า คนหล่นจากธรรม วินัยนี้.
            (๒) ผู้ที่ไม่ประกอบด้วยสมาธิ อันเป็นเครื่องไปจากข้าศึก เรียกได้ว่า คนหล่นจากธรรม วินัยนี้.
            (๓) ผู้ที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา อันเป็นเครื่องไปจากข้าศึก เรียกได้ว่า คนหล่นจากธรรม วินัยนี้.
            (๔) ผู้ที่ไม่ประกอบด้วยวิมุตติ อันเป็นเครื่องไปจากข้าศึก เรียกได้ว่า คนหล่นจากธรรม วินัยนี้.
            ภิกษุ ท. ! นักบวชที่ไม่ประกอบด้วยเหตุสี่ประการเหล่านี้แล เรียกได้ว่า เป็นผู้หล่นจากธรรม วินัยนี้.


            หมวดที่หก จบ.