A1
คำอนุโมทนา
ขออนุโมทนากับคณะงานธัมมะ ผู้จัดทำหนังสือ
พุทธวจน ฉบับ จิต มโน วิญญาณ ที่มีความตั้งใจและ
มีเจตนาอันเป็นกุศล ในการเผยแผ่คำสอนของ ตถาคตอรหันต
สัมมาสัมพุทธะ ที่ออกจากพระโอษฐ์ของพระองค์เอง ในการ
รวบรวมคำสอนของตถาคต อันเกี่ยวข้องกับเรื่องของจิต มโน
วิญญาณ ว่ามีความเหมือนและความต่างกันอย่างไร
ตามที่ตถาคตได้ทรงบัญญัติ.
ด้วยเหตุอันดีที่ได้กระทำมาแล้วนี้ ขอจงเป็นเหตุ
ปัจจัยให้ผู้มีส่วนร่วมในการทำหนังสือ และผู้ที่ได้อ่าน
ได้ศึกษา ได้นำไปปฏิบัติ พึงสำเร็จสมหวัง พบความเจริญ
รุ่งเรืองของชีวิตได้จริงในทางโลก และได้ดวงตาเห็นธรรม
สำเร็จผลยังนิพพาน สมดังความปรารถนา ตามเหตุปัจจัย
ที่ได้สร้างมาอย่างดีแล้วด้วยเทอญ.
ขออนุโมทนา
ภิกขุคึกฤทธิ์โสตฺถิผโล
A2
คำนำ
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนวานร เมื่อเที่ยวไปใน
ป่าใหญ่ ย่อมจับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่จับเดิม
เหนี่ยวกิ่งอื่นอีก เช่นนี้เรื่อยๆ ไป ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น
เหมือนกัน สิ่งที่เรียกกันว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน.
พุทธวจน ฉบับ จิต มโน วิญญาณ จึงเป็นการ
รวบรวมระเบียบวินัยของพระสุคต อันยังคงมีอยู่ในโลก
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ที่ได้เข้ามาศึกษา จะได้ทราบถึง
สัจจะความจริง ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะได้บอก
แสดง บัญญัติ เปิดเผย จำแนกแจกแจง กระทำให้เข้าใจ
ได้ง่ายซึ่ง จิต มโน วิญญาณ.
ชนเหล่าใดถือว่าเรื่องนี้ควรฟังควรเชื่อ ย่อมจะทราบ
จิตนั้นตามความเป็นจริงว่า จิตนี้ผุดผ่อง (ปภสฺสรมิทํ) แต่ว่า
จิตนั้นแหละ เศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลส ที่จรมา และจิต
เป็นของเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว (ลหุปริวตฺตํ) อันจะเป็นเหตุ
ให้เบื่อหน่าย คลายกำหนัดและปล่อยวางซึ่งสิ่ง ที่เรียกกันว่า
จิต มโน วิญญาณ.
วิญญาณเป็นปฏิจจสมุปปันนธรรม (สิ่งที่อาศัยปัจจัยแล้ว
เกิดขึ้น) ถ้าเว้นจากปัจจัยแล้วความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณย่อม
ไม่มีดังนี้ วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับ
ด้วยปัจจัยนั้นๆ วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าจักษุวิญญาณ วิญญาณอาศัยโสตะและ
เสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าโสตวิญญาณ วิญญาณ
อาศัยฆานะ และกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า
ฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น
ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกายและ
โผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ
วิญญาณอาศัยมโนและธรรมทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า
มโนวิญญาณ.
เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ ต่อไป (ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ) ย่อมมี.
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปมีอยู่ ชาติ ชรามรณะ
โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น
ครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง dองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี
ด้วยอาการอย่างนี้.
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลก จึงเกิดบ้าง จึงแก่บ้าง
จึงตายบ้าง จึงจุติบ้าง จึงอุบัติบ้าง ความเวียนว่ายในวัฏฏะ
ก็มีเพียงเท่านี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย
ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย และย่อมไม่มีจิตฝังลงไปในสิ่งใดด้วย
ในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งนั้นย่อมไม่เป็น อารมณ์เพื่อการตั้งอยู่
แห่งวิญญาณได้เลย เมื่ออารมณ์ไม่มี ความตั้งขึ้น เฉพาะแห่ง
วิญญาณย่อมไม่มี.
เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว
เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ ย่อมไม่มี เมื่อเครื่องนำไปสู่ภพใหม่
ไม่มี การมาการไปย่อมไม่มี เมื่อการมา การไป ไม่มี การเคลื่อน
และการบังเกิดย่อมไม่มี.
เมื่อการเคลื่อนและการบังเกิดไม่มี ชาติ ชรามรณะ
โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะทั้งหลายต่อไปจึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้
ดังนี้แล.
คณะงานธัมมะวัดนาป่าพง
A3
อักษรย่อ
เพื่อความสะดวกแก่ผู้ที่ยังไม่เข้าใจเรื่องอักษรย่อ
ที่ใช้หมายแทนชื่อคัมภีร์ ซึ่งมีอยู่โดยมาก
มหาวิ. วิ. มหาวิภังค์ วินัยปิฎก.
ภิกฺขุนี. วิ. ภิกขุนีวิภังค์ วินัยปิฎก.
มหา. วิ. มหาวรรค วินัยปิฎก.
จุลฺล. วิ. จุลวรรค วินัยปิฎก.
ปริวาร. วิ. ปริวารวรรค วินัยปิฎก.
สี. ที. สีลขันธวรรค ทีฆนิกาย.
มหา. ที. มหาวรรค ทีฆนิกาย.
ปา. ที. ปาฏิกวรรค ทีฆนิกาย.
มู. ม. มูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย.
ม. ม. มัชฌิมปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย.
อุปริ. ม. อุปริปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย.
สคาถ. สํ. สคาถวรรค สังยุตตนิกาย.
นิทาน. สํ. นิทานวรรค สังยุตตนิกาย.
ขนฺธ. สํ. ขันธวารวรรค สังยุตตนิกาย.
สฬา. สํ. สฬายตนวรรค สังยุตตนิกาย.
มหาวาร. สํ. มหาวารวรรค สังยุตตนิกาย.
เอก. อํ. เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ทุก. อํ. ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ติก. อํ. ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
จตุกฺก. อํ. จตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ปญฺจก. อํ. ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ฉกฺก. อํ. ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
สตฺตก. อํ. สัตตกนิบาต อังคุตตรนิกาย
อฏฺฐก. อํ. อัฏฐกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
นวก. อํ. นวกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ทสก. อํ. ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
เอกาทสก. อํ. เอกาทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ขุ. ขุ. ขุททกปาฐะ ขุททกนิกาย.
ธ. ขุ. ธรรมบท ขุททกนิกาย.
อุ. ขุ. อุทาน ขุททกนิกาย.
อิติวุ. ขุ. อิติวุตตกะ ขุททกนิกาย.
สุตฺต. ขุ. สุตตนิบาต ขุททกนิกาย.
วิมาน. ขุ. วิมานวัตถุ ขุททกนิกาย.
เปต. ขุ. เปตวัตถุ ขุททกนิกาย.
เถร. ขุ. เถรคาถา ขุททกนิกาย.
เถรี. ขุ. เถรีคาถา ขุททกนิกาย.
ชา. ขุ. ชาดก ขุททกนิกาย.
มหานิ. ขุ. มหานิทเทส ขุททกนิกาย.
จูฬนิ. ขุ. จูฬนิทเทส ขุททกนิกาย.
ปฏิสมฺ. ขุ. ปฏิสัมภิทามรรค ขุททกนิกาย.
อปท. ขุ. อปทาน ขุททกนิกาย.
พุทฺธว. ขุ. พุทธวงส์ ขุททกนิกาย.
จริยา. ขุ. จริยาปิฎก ขุททกนิกาย
ตัวอย่าง : ๑๔/๑๗๑/๒๔๕ ให้อ่านว่า
ไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เล่ม๑๔ หน้า๑๗๑ ข้อที่๒๔๕
หน้า 1
01 จิต มโน วิญญาณ
(พระสูตรที่ควรทราบ)
จิต มโน วิญญาณ ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป
-บาลีนิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๔/๒๓๐.
... ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่าย
ได้บ้าง คลายกำหนัดได้บ้าง หลุดพ้นได้บ้าง ในร่างกายอัน
เป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี
การเกิดก็ดี การตาย ก็ดีของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่ง
มหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ
จึงเบื่อหน่ายได้บ้าง คลายกำหนัดได้บ้าง หลุดพ้นได้บ้าง
ในร่างกายนั้น.
(ผู้มิได้สดับ ย่อมเบื่อหน่ายในรูป เพราะความเสื่อมของรูป)
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง1 ปุถุชนผู้ มิได้สดับ ไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะ
คลายกำหนัด ไม่อาจจะหลุดพ้น จาก สิ่งนั้นได้เลย ข้อนั้น
เพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่า สิ่งที่เรียกกันว่า จิตเป็นต้นนี้
อันปุถุชน
ผู้มิได้สดับ ได้รวบรัดถือไว้ ด้วยตัณหา ได้ยึดถือ
ด้วยทิฏฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
ดังนี้มาตลอดกาลช้านาน เพราะเหตุนั้นปุถุชนผู้มิได้สดับ
(ผู้มิได้สดับ ย่อมไม่เบื่อหน่ายในจิต เพราะยึดถิอจิตด้วยตัณหา)
1. พระไตรปฎิกฉบับหลวงได้แปลบทนี้ว่า
แต่ตถาคตเรียกร่างกาย อันเป็นที่ ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง๔ นี้
ว่าจิตบ้างมโนบ้างวิญญาณบ้าง.
-ผู้รวบรวม
จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะ
หลุดพ้นในสิ่งที่เรียก กันว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้างนั้น
ได้เลย.
ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือ
เอาร่างกาย
อันเป็นที่ประชุม แห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นตัวตน
ยังดีกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิต โดยความเป็นตัวตน ไม่ดีเลย ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่า ร่างกายอัน
เป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่ง บ้าง
สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง
ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง
สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง
ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง เกินกว่า
ร้อยปีบ้าง ก็ยังมีปรากฏ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้างนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวันตลอดคืน.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนวานร เมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่
ย่อมจับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่จับเดิม
เหนี่ยวกิ่งอื่นอีก เช่นนี้เรื่อยๆ ไป ภิกษุทั้งหลาย
ฉันใด
ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน สิ่งที่เรียกกันว่าจิตบ้าง มโนบ้าง
วิญญาณบ้าง
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป
ตลอดวัน
ตลอดคืน.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมกระทำไว้
ในใจโดยแยบคาย เป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว
ดังนี้ว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้
สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะความดับไป
แห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชา
เป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย
จึงมีวิญญาณ เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะ
เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็น
ปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย
จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้น พร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้
เพราะความจางคลายดับไปโดย
ไม่เหลือแห่งอวิชชานั้น นั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมี
ความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมี
ความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมี
ความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมี
ความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับ
แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ
โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส
อุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น แล้ว
ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
ที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.
อีกสูตรหนึ่ง -บาลีนิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๖/๒๓๕. ได้ตรัสช่วงต้นโดยมีข้อความ เหมือนกันกับสูตรข้างบนนี้แต่ต่างกันที่อุปมา
ซึ่งภายหลังจากตรัสว่าภิกษุ ทั้งหลายส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า
จิตบ้างมโนบ้างวิญญาณบ้าง ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป
ตลอดวันตลอดคืนได้ตรัสอุปมาต่างไปดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมกระทำไว้
ในใจโดยแยบคาย เป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว
ดังนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะ ความเกิดขึ้นแห่ง
สิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะความดับ ไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป
เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง สุขเวทนา จึงเกิด สุขเวทนาขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา นั้นแหละ เวทนาใด
ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา
สุขเวทนานั้น ย่อมดับ ย่อมสงบไป
เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง ทุกขเวทนา จึงเกิด ทุกขเวทนา ขึ้น เพราะความดับ
แห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง ทุกขเวทนา นั้นแหละ เวทนาใด
ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา
ทุกขเวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป
เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง อทุกขมสุขเวทนา จึงเกิด อทุกขมสุขเวทนา ขึ้น
เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้ง แห่งอทุกขมสุขเวทนา
นั้นแหละ เวทนาใดที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนานั้นย่อมดับ
ย่อมสงบไป.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเพราะไม้สองอัน
เสียดสีกันจึงเกิดไออุ่น เกิดความร้อน แต่ถ้าแยกไม้
ทั้งสองอันนั้นแหละออกเสียจากกัน ไออุ่นซึ่งเกิด จากการ
เสียดสีกันนั้น ย่อมดับ ย่อมสงบไป แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย
ข้อนี้ก็ฉันนั้น เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา
จึงเกิดสุขเวทนาขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้ง
แห่งสุขเวทนา นั้นแหละ เวทนาใด ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนานั้นย่อมดับ
ย่อมสงบไป
เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา
จึงเกิดทุกขเวทนาขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะ อันเป็นที่ตั้ง
แห่งทุกขเวทนานั้นแหละ เวทนาใด ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนานั้นย่อมดับ
ย่อมสงบไป
เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา จึงเกิดอทุกขม สุขเวทนา ขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุข เวทนานั้น แหละ เวทนาใด
ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา
อทุกขมสุขเวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน สังขารทั้งหลาย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ดังนี้.
หน้า 9
02 ทิฏฐิว่า จิต มโน วิญญาณ เป็นของเที่ยง
-บาลีสี. ที. ๙/๒๘/๓๔.
… อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่าง
ไม่เที่ยง แล้วบัญญัติอัตตาและโลกว่าบางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง.
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้
เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด กล่าวแสดงปฏิภาณของตน
ตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้อย่างนี้ว่า สิ่งที่เรียกกัน ว่าตาก็ดี
หูก็ดี จมูกก็ดี ลิ้นก็ดี กายก็ดี นี้ได้ชื่อว่าอัตตา เป็นของ
ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่าจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง นี้ชื่อว่า อัตตา เป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรปรวน เป็นธรรมดา จะตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว.
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์
พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตา และโลกว่า บางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง.
หน้า10
03 จิตดวงแรกเกิดขึ้น วิญญาณดวงแรกปรากฏ
-บาลีมหา. วิ. ๔/๑๘๗/๑๔๑.
... ภิกษุทั้งหลาย จิต ดวงแรกใดเกิด แล้วในครรภ์ แห่งมารดา วิญญาณ ดวงแรกปรากฏแล้ว อาศัยจิตดวงแรก
วิญญาณดวงแรกนั้นนั่นแหละ เป็นความเกิดของสัตว์นั้น.
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทกุลบุตร
มีอายุครบ ๒๐ ปี ทั้งอยู่ในครรภ์.
บทนี้มีบาลีอย่างนี้
ยํ ภิกฺขเว มาตุ กุจฺฉิสฺมึ ปฐมํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ ปฐมํวิญฺญาณํ ปาตุภูตํ ตทุปาทาย สาวสฺส ชาติ อนุชานามิ ภิกฺขเว
คพฺภวีสํ อุปสมฺปาเทตุนฺติ.
หน้า 11
04 ความเกิดแห่งจิตย่อมมี
เพราะความเกิดแห่งนามรูป
-บาลีมหาวาร. สํ. ๑๙/๒๔๖/๘๑๙.
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับ
แห่งสติปัฏฐาน ๔ เธอทั้งหลายจงฟัง.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดแห่งกายเป็นอย่างไร
ความเกิดแห่งกายย่อมมี เพราะ ความเกิดแห่งอาหาร
ความดับแห่งกายย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร
ความเกิดแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดแห่ง
ผัสสะ ความดับแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ
ความเกิดแห่งจิตย่อมมี เพราะความเกิด แห่งนามรูป ความดับแห่งจิตย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป
(นามรูปสมุทยา จิตฺตสฺส สมุทโย นามรูปนิโรธา จิตฺตสฺส อตฺถงฺคโม)
ความเกิดแห่งธรรมย่อมมี เพราะความเกิดแห่ง มนสิการ ความดับแห่ง ธรรมย่อมมี เพราะความดับแห่ง
มนสิการ (มนสิการสมุทยา ธมฺมานํ สมุทโย มนสิการนิโรธา ธมฺมานํ
อตฺถงฺคโม).
หน้า 12
05 ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณย่อมมี
เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๕/๑๑๗.
ภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย
หมู่แห่ง วิญญาณ ๖ เหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ
ความเกิดขึ้น แห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความดับแห่งวิญญาณย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป
อริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และ
สัมมา สมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย สุขโสมนัสใดๆ อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ (อัสสาทะ) วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษ แห่งวิญญาณ (อาทีนวะ) การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณ1 นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ (นิสสรณะ).
1. ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับฉันทราคะได้ที่หน้า 221 และ 228. -ผู้รวบรวม
ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง รู้ชัดแล้วซึ่งวิญญาณ อย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความ
เกิดขึ้นแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่ง
วิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่ง
วิญญาณอย่างนี้ แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่ง วิญญาณ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใดปฏิบัติ ดีแล้ว
ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง รู้ชัดแล้วซึ่งวิญญาณ อย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความ
เกิดขึ้นแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่ง
วิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่ง
วิญญาณอย่างนี้ แล้วเป็นผู้หลุดพ้น เพราะเบื่อหน่าย เพราะ
คลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะ ไม่ถือมั่นในวิญญาณ
สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะ หรือพราหมณ์
เหล่านั้นเป็นเกพลี สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเป็นเกพลี
วัฏฏะย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
หน้า 14
06 เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป (วิญญาณก้าวลงสู่ครรภ์)
-บาลีมหา. ที. ๑๐/๗๔/๖๐.
… อานนท์ ก็คำนี้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
จึงมีนามรูปดังนี้ เป็นคำที่เรา กล่าวแล้ว.
อานนท์ เธอต้องทราบความข้อนี้ โดยปริยาย
ดังต่อไปนี้ เหมือนที่เรากล่าวไว้ แล้วว่า เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป.
อานนท์ ถ้าหากว่าวิญญาณไม่ก้าวลงในท้องแห่ง
มารดา นามรูปจะก่อตัวขึ้นมา ในท้องแห่งมารดาได้ไหม.
ไม่ได้เลยพระเจ้าข้า.
อานนท์ ถ้าหากว่าวิญญาณก้าวลงในท้องแห่ง
มารดาแล้ว สลายลงเสีย นามรูป จะ บังเกิดขึ้นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้ได้ไหม.
ไม่ได้เลยพระเจ้าข้า.
อานนท์ ถ้าหากว่าวิญญาณของเด็กอ่อนที่เป็น
ชายหรือเป็นหญิงก็ตาม ขาดความสืบต่อ นามรูปจะถึงซึ่ง
ความเจริญ ความงอกงาม ความไพบูลย์ ได้ไหม.
ไม่ได้เลยพระเจ้าข้า.
อานนท์ เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ
นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย
ของนามรูป นั้นคือวิญญาณ.
อานนท์ ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี
วิญญาณ ดังนี้ เป็นคำที่เรา กล่าวแล้ว
--------------------------------------------------------------------------------------------
อานนท์ เธอต้องทราบความข้อนี้ โดยปริยาย
ดังต่อไปนี้ เหมือนที่เรากล่าว ไว้แล้วว่า เพราะนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ.
อานนท์ ถ้าหากว่าวิญญาณ ไม่ได้มีที่ตั้งอาศัยใน
นามรูปแล้ว ความเกิดขึ้น พร้อมแห่งทุกข์ คือ ชาติ ชรา มรณะ
ต่อไป จะปรากฏได้ไหม.
ไม่ได้เลยพระเจ้าข้า.
อานนท์ เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ นั่นแหละคือเหตุ
นั่นแหละคือนิทาน นั่นแหละคือสมุทัย นั่นแหละคือปัจจัย
ของวิญญาณ นั้นคือนามรูป.
อานนท์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลกจึงเกิดบ้าง
จึงแก่บ้าง จึงตายบ้าง จึงจุติ บ้าง จึงอุบัติบ้าง ทางแห่ง
การเรียก (อธิวจน) ก็มีเพียงเท่านี้ ทางแห่งการพูดจา (นิรุตฺติ)
ก็มีเพียงเท่านี้ ทางแห่งการบัญญัติ (ปญฺญตฺติ) ก็มีเพียงเท่านี้
เรื่องที่จะต้องรู้ ด้วย ปัญญา (ปญฺญาวจร) ก็มีเพียงเท่านี้ ความ
เวียนว่ายในวัฏฏะก็มีเพียงเท่านี้ นามรูปพร้อมทั้งวิญญาณ
ตั้งอยู่ เพื่อการบัญญัติซึ่งความเป็นอย่างนี้.
(ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดของนามรูปและที่ตั้งของวิญญาณได้ที่หน้า 36 และ 49. -ผู้รวบรวม)
หน้า 16
07 เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
-บาลีนิทาน. สํ. ๑๖/๑๒๖/๒๕๐.
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายัง
ไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
สัตว์โลกนี้ถึงความลำบากหนอ ย่อมเกิด ย่อมแก่ ย่อมตาย
ย่อมจุติ และย่อมอุบัติ ก็เมื่อสัตว์โลกไม่รู้จักอุบายเครื่อง
ออกไปพ้นจาก ทุกข์คือชราและมรณะแล้ว การออกจากทุกข์
คือชราและมรณะนี้ จะปรากฏขึ้น ได้อย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อ
อะไรหนอมีอยู่ ชราและมรณะ จึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
จึงมีชราและมรณะ เพราะการทำในใจโดยแยบคาย ของเรานั้น
จึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า เมื่อชาตินั่นแหละมีอยู่ ชราและ
มรณะจึงมี เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ.
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อ
อะไรหนอมีอยู่ ชาติจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะการทำในใจโดยแยบคายของเรานั้น จึงได้รู้แจ้งด้วย
ปัญญาว่า
เมื่อภพนั่นแหละมีอยู่ ชาติจึงมี
เพราะมี
ภพเป็น
ปัจจัย จึงมีชาติ.
… เมื่ออุปาทานนั่นแหละมีอยู่ ภพจึงมี
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ.
… เมื่อตัณหานั่นแหละมีอยู่ อุปาทานจึงมี
เพราะมี
ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน.
… เมื่อเวทนานั่นแหละมีอยู่ ตัณหาจึงมี
เพราะมี
เวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา.
… เมื่อผัสสะนั่นแหละมีอยู่ เวทนาจึงมี
เพราะมี
ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา.
… เมื่อสฬายตนะนั่นแหละมีอยู่ ผัสสะจึงมี
เพราะมี
สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ.
… เมื่อนามรูปนั่นแหละมีอยู่ สฬายตนะจึงมี
เพราะมี
นามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ.
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
เมื่ออะไรหนอมีอยู่ นามรูปจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
จึงมีนามรูป เพราะการทำในใจโดยแยบคายของเรานั้น
จึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า เมื่อวิญญาณนั่นแหละมีอยู่ นามรูปจึงมี เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป.
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
เมื่ออะไรหนอมีอยู่ วิญญาณจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
จึงมีวิญญาณ เพราะการทำในใจโดยแยบคายของเรานั้น
จึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า เมื่อนามรูปนั่นแหละมีอยู่ วิญญาณจึงมี เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า วิญญาณนี้ ย่อมเวียนกลับมา ไม่ไปพ้นจากนามรูปได้เลย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลกจึงเกิดบ้าง จึงแก่บ้าง จึงตายบ้าง
จึงจุติบ้าง จึงอุบัติบ้าง
กล่าวคือ เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะ
เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็น
ปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย
จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง
ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟัง
มาก่อนว่า ความเกิดขึ้นพร้อม (สมุทโย) ความเกิดขึ้นพร้อม
(สมุทโย) ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อ
อะไรหนอไม่มีอยู่ ชราและ มรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ
ชราและมรณะจึงดับ เพราะการทำในใจโดย แยบคาย
ของเรานั้น จึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า เมื่อชาตินั่นแหละไม่มี
ชราและ มรณะจึงไม่มี เพราะความดับแห่งชาติ จึงมี
ความดับแห่งชราและมรณะ.
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อ
อะไรหนอไม่มีอยู่ ชาติจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชาติจึงดับ
เพราะการทำในใจโดยแยบคายของเรานั้น จึงได้รู้แจ้ง ด้วยปัญญาว่า เมื่อภพนั่นแหละไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะมี
ความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ.
… เมื่ออุปาทานนั่นแหละไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะมี
ความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ.
… เมื่อตัณหานั่นแหละไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะมี
ความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับอุปาทาน.
… เมื่อเวทนานั่นแหละไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะมี
ความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา.
… เมื่อผัสสะนั่นแหละไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะมี
ความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา.
… เมื่อสฬายตนะนั่นแหละไม่มี ผัสสะจึงไม่มี
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ.
… เมื่อนามรูปนั่นแหละไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ.
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อ
อะไรหนอไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ
เพราะการทำในใจโดยแยบคายของเรานั้น จึงได้รู้แจ้งด้วย
ปัญญาว่า เมื่อวิญญาณนั่นแหละไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป.
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อ
อะไรหนอไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะอะไรดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะการทำในใจโดยแยบคายของเรานั้น จึงได้รู้แจ้งด้วย
ปัญญาว่า เมื่อนามรูปนั่นแหละไม่มี วิญญาณจึงไม่มี
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
หนทางเพื่อการตรัสรู้นี้เราได้บรรลุแล้ว ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมี
ความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่ง
ชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะ
ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี
ได้ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง
ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟัง
มาก่อนว่า ความดับ (นิโรธ) ความดับ (นิโรธ) ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเมื่อเที่ยวไปใน
ป่าทึบ ได้พบรอยทางซึ่งเป็น หนทางเก่าที่มนุษย์ในกาลก่อน
เคยใช้เดินทางแล้ว เขาจึงเดินตามทางนั้นไป เมื่อเดินไปตาม
ทางนั้นอยู่ ได้พบซากนครอันเป็นราชธานีโบราณซึ่งมนุษย์
ทั้งหลาย ในกาลก่อนเคยอยู่อาศัยมา เป็นที่สมบูรณ์ด้วย
สวน ป่าไม้ สระโบก ขรณี ซากกำแพงล้อม ล้วนน่ารื่นรมย์
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น บุรุษคนนั้นจึง เข้าไปกราบทูลแก่
พระราชา หรือแก่มหาอำมาตย์ของพระราชาว่า ขอเดชะ
ขอพระองค์จงทรง ทราบเถิด ข้าพระพุทธเจ้าเมื่อเที่ยวไปใน
ป่าทึบ ได้พบรอยทางซึ่งเป็นหนทาง เก่าที่มนุษย์ในกาลก่อน
เคยใช้เดินทางแล้ว เขาจึงเดินตามทางนั้นไป เมื่อเดินไปตาม
ทางนั้นอยู่ ได้พบซากนครอันเป็นราชธานีโบราณซึ่งมนุษย์
ทั้งหลายในกาลก่อนเคยอยู่อาศัยมา เป็นที่สมบูรณ์ด้วย
สวน ป่าไม้ สระโบกขรณี ซากกำแพงล้อม ล้วนน่ารื่นรมย์
ขอพระองค์โปรดทรงปรับปรุงที่นั้น ให้เป็นพระนครเถิด.
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พระราชาหรือมหาอำมาตย์
ของพระราชา จึงปรับปรุง สถานที่นั้นขึ้นเป็นนคร สมัยต่อมา
นครนั้นได้กลายเป็นนครที่มั่งคั่งและรุ่งเรือง มีประชาชน
เป็นอันมาก เกลื่อนกล่นด้วยมนุษย์ และเป็นนครที่ถึงแล้ว
ซึ่งความ เจริญไพบูลย์ นี้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น
เราได้พบรอยทางซึ่งเป็น หนทางเก่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว
ภิกษุทั้งหลายก็รอยทางซึ่งเป็นหนทางเก่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลายใน กาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้วนั้นเป็นอย่างไร คือหนทาง
อันประกอบด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐนี้นั่นเอง กล่าวคือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้แหละ
รอยทางซึ่งเป็น หนทางเก่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
ในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว เรานั้นก็ได้ดำเนินแล้วไป
ตามหนทางนั้น.
เมื่อดำเนินไปตามหนทางนั้นอยู่ เราได้รู้ชัดซึ่งชรา และมรณะ เหตุเกิดขึ้น แห่งชราและมรณะ ความดับแห่ง
ชราและมรณะ และได้รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติอัน ให้ถึง ความดับ
แห่งชราและมรณะ.
เมื่อดำเนินไปตามหนทางนั้นอยู่ เราได้รู้ชัดซึ่งชาติ
เหตุเกิดขึ้นแห่งชาติ ความดับแห่งชาติ และได้รู้ชัดข้อปฏิบัติ
อันให้ถึงความดับแห่งชาติ.
… เราได้รู้ชัดซึ่งภพ …
... เราได้รู้ชัดซึ่งอุปาทาน …
... เราได้รู้ชัดซึ่งตัณหา …
... เราได้รู้ชัดซึ่งเวทนา …
... เราได้รู้ชัดซึ่งผัสสะ …
... เราได้รู้ชัดซึ่งสฬายตนะ …
... เราได้รู้ชัดซึ่งนามรูป …
... เราได้รู้ชัดซึ่งวิญญาณ …
เมื่อดำเนินไปตามหนทางนั้นอยู่ เราได้รู้ชัดซึ่ง สังขารทั้งหลาย เหตุเกิดขึ้น แห่งสังขาร ความดับแห่งสังขาร
และได้รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึง ความดับแห่ง สังขาร.
ภิกษุทั้งหลาย ครั้นได้รู้ชัดซึ่งหนทางนั้นแล้ว เราจึง
ได้บอกแก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์ของเราจึงได้ตั้งมั่น และรุ่งเรือง
แผ่ไพศาล เป็นที่รู้ของ ชนอันมาก เป็นปึกแผ่น
แน่นหนา
จนกระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก็ประกาศได้
เป็นอย่างดี ดังนี้.
หน้า 26
08 เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
-บาลีทสก. อํ. ๒๔/๑๙๗/๙๒.
...ก็อริยญายธรรม อันอริยสาวกนั้นเห็นแจ้ง
แทงตลอดด้วยปัญญาเป็นอย่างไร.
คหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น
อย่างนี้ว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้
สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะความดับ
แห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความ
เกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะความจางคลายดับ ไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้น
นั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลายจึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์
ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.
นี้แลอริยญายธรรม อันอริยสาวกนั้นเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา.
หน้า 28
09 นามรูป ปัจจัยแห่งการบัญญัติ วิญญาณขันธ์
-บาลีอุปริ. ม. ๑๔/๑๐๒/๑๒๓.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขันธ์ทั้งหลายมีชื่อเรียกว่าขันธ์ได้ด้วย
เหตุเท่าไร.
ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายใน หรือภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล หรือในที่ใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า รูปขันธ์.
ภิกษุ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ใน
ที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์.
ภิกษุ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ใน
ที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์.
ภิกษุ สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ใน
ที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า สังขารขันธ์.
ภิกษุ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ใน
ที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์.
ภิกษุ ขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีชื่อเรียกว่าขันธ์ ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญอะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการ บัญญัติรูปขันธ์
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการ บัญญัติเวทนาขันธ์
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการ บัญญัติสัญญาขันธ์
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการ บัญญัติสังขารขันธ์
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการ บัญญัติวิญญาณขันธ์.
ภิกษุ มหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการ
บัญญัติรูปขันธ์
ผัสสะ 1เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติ
เวทนาขันธ์
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติ
สัญญาขันธ์
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติ
สังขารขันธ์
นามรูป เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติ
วิญญาณขันธ์
1. ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับผัสสะได้ที่หน้า 178 และ 187 และ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของขันธ์ทั้ง๕ได้ที่หน้า 255 . –ผู้รวบรวม
หน้า30
10 วิญญาณ ตั้งอยู่ได้ในที่ใด การก้าวลง
แห่งนามรูป ก็มีอยู่ในที่นั้น
(อุปมาด้วยแสงกับฉาก)
-บาลีนิทาน. สํ. ๑๖/๑๒๒/๒๔๕.
ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของสัตว์ ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่
เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
อาหาร ๔ อย่าง นั้นมีอะไรบ้าง
คือ
๑) อาหารคือคำข้าว ที่หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง คือ กวฬีการาหาร
๒) อาหารที่สองคือ ผัสสะ
๓) อาหารที่สามคือ มโนสัญเจตนา
๔) อาหารที่สี่คือ วิญญาณ
อาหารสี่ ของสัมภเวสีสัตว์ และภูตสัตว์ อาหารสี่อย่างนั้น คือ
๑ กวฬีการาหาร หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง อาหารคือคำข้าว ที่เข้าปาก กลืน กิน เคี้ยว
๒ ผัสสาหาร ผัสสะ คืออาหารของอายตนะ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๓ มโนสัญ เจตนาหาร อาหารของจิต ที่คิดในเรื่องอดีต ที่เป็นสัญญาเก่า
๔ วิญญาณาหาร อาหารของวิญญาณที่เข้าไปตั้งใน ๔ ธาตุคือ รูป เวทนาสัญญา สังขาร
อัตถิราคสูตร (P693)
โมลิยผัคคุนสูตร (P480) |
|
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลอาหาร
๔ อย่าง เป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ ของสัตว์ ผู้เกิดแล้ว
หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด.
ภิกษุทั้งหลาย
ถ้ามี ราคะ มีนันทิ มีตัณหา ในอาหาร คือคำข้าวแล้ว
วิญญาณก็ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ในอาหาร คือคำข้าวนั้น
วิญญาณตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ ในที่ใด
การก้าวลงแห่งนามรูป (นามรูปสฺส อวกฺกนฺติ) ก็มีในที่นั้น
การก้าวลงแห่งนามรูปมีในที่ใด
ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ก็มีในที่นั้น
ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมีในที่ใด
การเกิดในภพใหม่ต่อไป ก็มีในที่นั้น
การเกิดในภพใหม่ต่อไป
มีในที่ใด
ชาติ ชราและมรณะต่อไป ก็มีในที่นั้น
ชาติ ชราและ
มรณะต่อไปมีในที่ใด
เราเรียกที่นั้นว่า เป็นที่มีความโศกมีธุลี และมีความคับแค้น.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ามี ราคะ มีนันทิ มีตัณหา ในอาหารคือ
ผัสสะ แล้ว
วิญญาณก็ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ ในอาหาร
คือ ผัสสะ นั้น
วิญญาณตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ในที่ใด
การก้าวลงแห่ง นามรูป ก็มีในที่นั้น …
เราเรียกที่นั้นว่า เป็นที่มีความโศก มีธุลี และมีความคับแค้น.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ามีราคะ มีนันทิ มีตัณหา ในอาหารคือ มโนสัญเจตนาแล้ว วิญญาณก็ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้
ในอาหารคือมโนสัญเจตนานั้น วิญญาณตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ในที่ใด การก้าวลงแห่งนามรูปก็มีในที่นั้น …
เราเรียกที่นั้นว่า เป็นที่มีความโศก มีธุลี และมีความคับแค้น.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ามีราคะ มีนันทิ มีตัณหา ในอาหาร
คือวิญญาณแล้ว วิญญาณ ก็ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้
ในอาหารคือวิญญาณนั้น วิญญาณตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงาม
อยู่ได้ในที่ใด การก้าวลงแห่งนามรูปก็มีในที่นั้น การก้าวลง
แห่งนามรูปมีในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายก็มีใน
ที่นั้น ความเจริญ แห่งสังขารทั้งหลายมีในที่ใด การเกิดใน
ภพใหม่ต่อไปก็มีในที่นั้น การเกิด ในภพใหม่ต่อไปมีในที่ใด
ชาติ ชราและมรณะต่อไปก็มีในที่นั้น ชาติ ชราและ มรณะ
ต่อไปมีในที่ใด เราเรียกที่นั้นว่า เป็นที่มีความโศก มีธุลี และ
มีความคับแค้น.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อมีน้ำย้อม คือ ครั่ง
ขมิ้น สีเขียว หรือสีบานเย็น ช่างย้อมหรือช่างเขียนก็สามารถ
เขียนรูปสตรีหรือรูปบุรุษ ลงที่แผ่นกระดาน หรือฝาผนัง
หรือที่ผืนผ้าซึ่งเกลี้ยงเกลาได้ครบทุกส่วน แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น ถ้ามีราคะ มีนันทิ มีตัณหา
ในอาหารคือคำข้าวแล้ว วิญญาณก็ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้
ในอาหารคือคำข้าวนั้น วิญญาณตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้
ในที่ใด การก้าวลงแห่งนามรูปก็มีในที่นั้น … เราเรียกที่นั้นว่า
เป็นที่มีความโศก มีธุลี และมีความคับแค้น.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ามีราคะ มีนันทิ มีตัณหา ในอาหารคือ
ผัสสะแล้ว วิญญาณก็ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ ในอาหาร
คือผัสสะนั้น …
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ามีราคะ มีนันทิ มีตัณหา ในอาหารคือ
มโนสัญเจตนา แล้ว วิญญาณก็ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้
ในอาหารคือมโนสัญเจตนานั้น …
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ามีราคะ มีนันทิ มีตัณหา ในอาหาร
คือวิญญาณแล้ว วิญญาณก็ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้
ในอาหารคือวิญญาณนั้น …
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือนยอดหรือศาลา
เรือนยอด มีหน้าต่างทาง ทิศตะวันออกอันเปิดไปทาง
ทิศเหนือ หรือทิศใต้ก็ตาม เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นมา แสงสว่าง
(รสฺมิ) แห่งดวงอาทิตย์ส่องเข้าไปทางหน้าต่างแล้ว จะปรากฏ
อยู่ที่ส่วนไหนแห่งเรือนนั้น.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญจะปรากฏที่ฝาเรือนด้านทิศตะวันตกพระเจ้าข้า.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าฝาเรือนด้านทิศตะวันตกไม่มี
แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จะปรากฏที่ไหน.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญจะปรากฏที่พื้นดินพระเจ้าข้า.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพื้นดินไม่มี แสงสว่างแห่ง
ดวงอาทิตย์นั้น จะปรากฏที่ไหน.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะปรากฏในน้ำ พระเจ้าข้า.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าน้ำไม่มี แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น
จะปรากฏที่ไหน. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แสงสว่างแห่ง
ดวงอาทิตย์นั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏแล้ว พระเจ้าข้า.
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น ถ้าไม่มีราคะ ไม่มี นันทิ ไม่มีตัณหา ในอาหาร คือคำข้าวแล้ว วิญญาณก็ตั้งอยู่
ไม่ได้ เจริญงอกงามไม่ได้ในอาหารคือ คำข้าว นั้น วิญญาณ ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามไม่ได้ในที่ใด การก้าวลงแห่ง นามรูปก็ไม่มีในที่นั้น การก้าวลงแห่งนามรูปไม่มีในที่ใด
ความเจริญแห่ง สังขารทั้งหลายก็ไม่มีในที่นั้น ความเจริญ
แห่งสังขารทั้งหลายไม่มีในที่ใด การเกิดในภพใหม่ต่อไปก็
ไม่มีในที่นั้น การเกิดในภพใหม่ต่อไปไม่มีในที่ใด ชาติ ชรา
และมรณะต่อไปก็ไม่มีในที่นั้น ชาติ ชราและมรณะต่อไปไม่มี
ในที่ใด เราเรียกที่นั้นว่า เป็นที่ไม่มีความโศก ไม่มีธุลี และ ไม่มีความคับแค้น.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา
ในอาหารคือผัสสะแล้ววิญญาณก็ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงาม
ไม่ได้ในอาหารคือผัสสะนั้น วิญญาณตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงาม
ไม่ได้ในที่ใด การก้าวลงแห่งนามรูป ก็ไม่มีในที่นั้น …
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา
ในอาหาร คือ มโนสัญเจตนาแล้ว วิญญาณก็ตั้งอยู่ไม่ได้
เจริญงอกงามไม่ได้ในอาหารคือ มโนสัญเจตนานั้น วิญญาณ
ตั้ง อยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามไม่ได้ ในที่ใด การก้าวลงแห่งนามรูป
ก็ไม่มีในที่นั้น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา
ในอาหารคือวิญญาณแล้ว วิญญาณก็ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญ
งอกงามไม่ได้ในอาหารคือวิญญาณนั้น วิญญาณ ตั้งอยู่ไม่ได้
เจริญงอกงามไม่ได้ในที่ใด การก้าวลงแห่งนามรูปก็ไม่มีใน
ที่นั้น การก้าวลงแห่งนามรูปไม่มีในที่ใด ความเจริญแห่ง
สังขารทั้งหลายก็ไม่มีในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย
ไม่มีในที่ใด การเกิดในภพใหม่ต่อไปก็ไม่มี ในที่นั้น การเกิด
ในภพใหม่ต่อไปไม่มีในที่ใด ชาติ ชราและมรณะต่อไปก็ไม่มี
ในที่นั้น ชาติ ชราและมรณะต่อไปไม่มีในที่ใด เราเรียกที่นั้น
ว่า เป็นที่ไม่มี ความโศก ไม่มีธุลี และไม่มีความคับแค้น.
11 รายละเอียดของนามรูป
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๕๑/๘๙.
ภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูปเป็นอย่างไร เวทนา สัญญา
เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม มหาภูตทั้งสี่ด้วย
รูป ที่อาศัยมหาภูต ทั้งสี่ด้วยนี้ เรียกว่ารูปนามนี้ด้วย รูปนี้ด้วย
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า นามรูป.
ความเกิดขึ้นแห่งนามรูปย่อมมี เพราะความเกิดขึ้น
แห่งวิญญาณ ความดับแห่ง นามรูปย่อมมี เพราะความดับ
แห่งวิญญาณ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง
เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งนามรูป คือ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
หน้า37
12 รายละเอียดของสังขาร (นัยที่ ๑)
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๕๑/๘๙.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กายสังขาร (ความปรุงแต่งทางกาย) วจีสังขาร (ความปรุงแต่ง
ทางวาจา) จิตตสังขาร (ความปรุงแต่งทางจิต) ภิกษุทั้งหลาย
เหล่านี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย.
ความเกิดขึ้นแห่งสังขารย่อมมี เพราะความเกิดขึ้น
แห่งอวิชชา ความดับแห่ง สังขารย่อมมี เพราะความดับ
แห่งอวิชชา อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง
เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร คือ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
หน้า 38
13 รายละเอียดของสังขาร (นัยที่ ๒)
-บาลี มู. ม. ๑๒/๕๕๐/๕๐๙.
ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร.
อาวุโสวิสาขะ สังขารทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือ
กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร.
ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็กายสังขารเป็นอย่างไร วจีสังขารเป็น
อย่างไร จิตตสังขารเป็นอย่างไร.
อาวุโสวิสาขะ
ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
เป็น กายสังขาร
วิตกและวิจาร เป็น วจีสังขาร
สัญญา
และเวทนา เป็น จิตตสังขาร
ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เพราะเหตุอะไร ลมหายใจเข้า และ
ลมหายใจออก
จึงเป็นกายสังขาร เพราะเหตุอะไรวิตก
และวิจาร จึงเป็น วจีสังขาร เพราะเหตุอะไร สัญญา
และเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร.
อาวุโสวิสาขะ ลมหายใจเข้า และลมหายใจออกเหล่านี้
เป็นธรรมมีในกาย เนื่องด้วยกาย ดังนั้นลมหายใจเข้า และ
ลมหายใจออกจึงเป็น กายสังขาร
บุคคลย่อมคิด ย่อมพิจารณา
ก่อนแล้วจึงเปล่งวาจา
ดังนั้นวิตก และวิจารจึงเป็น วจีสังขาร
สัญญาและเวทนา เป็นธรรมมีในจิต เนื่องด้วยจิต ดังนั้น
สัญญาและเวทนา จึงเป็น จิตตสังขาร. …
(อีกสูตรหนึ่ง -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๖๐/๕๖๐. ก็มีการอธิบาย
โดยนัยเดียวกัน แต่เป็นการสนทนากันของสาวก. -ผู้รวบรวม)
หน้า 39
14 รายละเอียดของสังขาร (นัยที่ ๓)
-บาลีติก. อํ. ๒๐/๑๕๓/๔๖๒.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๓ จำพวกเป็นอย่างไร.
(1) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม ปรุงแต่งกายสังขาร ที่มีความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่ง วจีสังขารที่มีความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารที่มี ความเบียดเบียน ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง อย่างนี้แล้ว ย่อม
เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่มีความเบียดเบียน
ย่อมถูกต้องเขา ซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนนั้น
เขาอันผัสสะที่มี ความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวย เวทนาอันมีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว ดังเช่น พวกสัตว์นรก.
(2) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม ปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มี ความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่ง วจีสังขารที่ไมมี ความเบียดเบียน ย่อม ปรุงแต่งมโนสังขารที่ ไม่มีความเบียดเบียน ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง อย่างนี้แล้ว
ย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่ไม่มีความ
เบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขา ซึ่งเป็น ผู้เข้าถึงโลกที่ไม่มีความ
เบียดเบียนนั้น เขาอันผัสสะ ที่ไม่มีความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันไม่มีความ เบียดเบียน เป็นสุข โดยส่วนเดียว ดังเช่น พวกเทวดา สุภกิณหะ.
(3) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความ เบียดเบียนบ้าง ไม่มี ความเบียดเบียนบ้าง ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความ เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมปรุงแต่ง มโนสังขารที่มี ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง อย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะที่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องเขา
ซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ
เบียดเบียนบ้าง เขาอันผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันมี ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง อันเป็นสุข และทุกข์เจือปนกัน ดังเช่น มนุษย์ทั้งหลาย เทวดาบางพวก
และสัตว์พวกวินิบาตบางพวก.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.
หน้า 41
15 รายละเอียดของสังขาร (นัยที่ ๔)
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๔/๑๑๖.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย หมู่แห่งเจตนา ๖ เหล่านี้ คือ สัญเจตนาในรูป สัญเจตนาในเสียง สัญเจตนาในกลิ่น สัญเจตนาในรส สัญเจตนาในโผฏฐัพพะ สัญเจตนาในธรรม ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสังขารทั้งหลาย.
ความเกิดขึ้นแห่งสังขารย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขารย่อมมี เพราะความดับ แห่งผัสสะ อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร คือ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ชัดแล้วซึ่งสังขาร อย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
อย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่ง สังขารอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ แล้วปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่ง
สังขาร สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ชัดแล้วซึ่งสังขาร อย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้น
แห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่ง สังขารอย่างนี้
รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ แล้วเป็น
ผู้หลุดพ้น เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัดเพราะความดับ
เพราะไม่ถือมั่น ในสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
หลุดพ้นดีแล้ว สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็น เกพลี สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดเป็น เกพลี วัฏฏะย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้น.
(สามารถศึกษาเนื้อความเต็มของสูตรนี้ได้ที่หน้า 10 4. -ผู้รวบรวม)
หน้า 43
16 รายละเอียดของสังขาร (นัยที่ ๕)
-บาลีนิทาน. สํ. ๑๖/๔๖/๘๒.
… สาธุ สาธุ อานนท์ ตามที่สารีบุตรตอบปัญหา
ในลักษณะนั้น ชื่อว่าได้ตอบโดยชอบ อานนท์ เรากล่าวว่า
สุขและทุกข์เป็นของอาศัยปัจจัย เกิดขึ้น (ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนํ)
สุขและทุกข์นั้นอาศัยปัจจัยอะไรเกิดขึ้น สุขและทุกข์ อาศัยปัจจัยคือผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็น
อันกล่าว ตามที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง เป็นผู้
พยากรณ์ธรรมสมควร แก่ธรรม และสหธรรมมิกบางคน
ที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ควรถูกติ ไปด้วย
อานนท์ ในบรรดาสมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม
ทั้ง ๔ พวกนั้น สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด
ที่บัญญัติสุขและทุกข์ว่าตนเองทำ สุขและทุกข์นั้นก็ย่อมเกิดขึ้น
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอน เรื่อง
กรรมพวกใดที่บัญญัติสุขและทุกข์ว่าผู้อื่นทำให้ สุขและทุกข์
นั้นก็ย่อมเกิดขึ้น เพราะผัสสะเป็นปัจจัย สมณพราหมณ์
ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม พวกใดที่บัญญัติสุขและทุกข์ว่า
ตนเองทำด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย สุขและทุกข์นั้น ก็ย่อมเกิดขึ้น
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่อง
กรรมพวกใด ที่บัญญัติสุขและทุกข์ว่าไม่ใช่ตนเองทำด้วย
ไม่ใช่ผู้อื่นทำให้ด้วย สุขและทุกข์นั้นก็ย่อมเกิดขึ้นเพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย.
อานนท์ ในบรรดาสมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่อง
กรรมทั้ง ๔ พวกนั้น สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม
พวกใดที่บัญญัติสุขและทุกข์ว่าตนเองทำ สมณพราหมณ์
พวกนั้น ถ้าเว้นจากผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกถึงสุขและทุกข์นั้น
ย่อมไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม พวกใดที่บัญญัติ สุขและทุกข์ว่าผู้อื่นทำให้ ถ้าเว้นจาก
ผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกถึงสุขและทุกข์นั้น ย่อมไม่ใช่ฐานะ
ที่จะมีได้ สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด
ที่บัญญัติสุขและทุกข์ว่าตนเองทำด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ถ้าเว้นจาก
ผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกถึงสุขและทุกข์นั้น ย่อมไม่ใช่ฐานะ
ที่จะมีได้ สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอน เรื่องกรรมพวกใดที่
บัญญัติสุข และทุกข์ว่าไม่ใช่ตนเองทำด้วย ไม่ใช่ผู้อื่นทำให้ ด้วย
ถ้าเว้นจากผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกถึงสุขและทุกข์นั้น ย่อมไม่ใช่
ฐานะที่จะมีได้
อานนท์ เมื่อกายมีอยู่ สุข และทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางกาย (กายสญฺเจตนา)
เป็นเหตุ อานนท์ เมื่อวาจามีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางวาจา (วจีสญฺเจตนา)
เป็นเหตุ อานนท์ เมื่อมโนมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน
ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางมโน (มโนสญฺเจตนา)
เป็นเหตุ.
อานนท์ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแหละ บุคคล
ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อัน
เป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง ย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร
ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นโดยผู้อื่นบ้าง
ย่อมปรุงแต่งกายสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อัน
เป็น ภายในเกิดขึ้น โดยรู้สึกตัว บ้าง ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร
ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้นโดยไม่ รู้สึกตัวบ้าง.
อานนท์ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแหละ บุคคล
ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อัน
เป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง ย่อมปรุงแต่ง วจีสังขาร
ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นโดยผู้อื่นบ้าง
ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อัน
เป็นภายในเกิดขึ้น โดยรู้สึกตัวบ้าง ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร
ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้นโดยไม่ รู้สึกตัวบ้าง.
อานนท์ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแหละ บุคคล
ย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อัน
เป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง ย่อมปรุงแต่ง มโนสังขาร
ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นโดยผู้อื่นบ้าง
ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็น
ภายในเกิดขึ้น โดยรู้สึกตัวบ้าง ย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร
ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้นโดยไม่ รู้สึกตัวบ้าง.
อานนท์ อวิชชาแทรกอยู่แล้วในธรรมเหล่านี้.
อานนท์ เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ
แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว กายซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์
อันเป็นภายในเกิดขึ้นจึงไม่มี วาจาซึ่งเป็นปัจจัย ให้สุขและ
ทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นจึงไม่มี มโนซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข
และทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้นจึงไม่มี เขต (ผืนนาสำหรับงอก)
ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้นจึงไม่มี
วัตถุ (พืชเพื่อการงอก) ซึ่งเป็นปัจจัย ให้สุข และทุกข์อันเป็น
ภายในเกิดขึ้นจึงไม่มี อายตนะ (การสัมพันธ์เพื่อให้เกิด การงอก)
ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นจึงไม่มี
หรืออธิกรณ์ (เครื่องกระทำให้เกิดการงอก) ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข
และทุกข์อันเป็นภายใน เกิดขึ้นจึงไม่มี.
อีกสูตรหนึ่ง -บาลีจตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๑๓/๑๗๑. ได้ตรัสกับ
ภิกษุทั้งหลายโดยมีข้อความช่วงท้ายต่างออกไปดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ ประการนี้ ๔
ประการเป็นอย่างไร คือ ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตน
เป็นไปไม่ใช่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไปก็มี ความได้อัตภาพ
ที่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไป ไม่ใช่สัญเจตนาของตนเป็นไปก็มี
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนด้วย สัญเจตนาของผู้อื่น
ด้วยเป็นไปก็มี ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนก็ไม่ใช่
สัญเจตนาของผู้อื่นก็ไม่ใช่เป็นไปก็มี ภิกษุทั้งหลาย ความได้
อัตภาพ ๔ ประการนี้แล.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้ข้าพระองค์ทราบชัด เนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้ว่า บรรดาความ
ได้อัตภาพ๔ประการนั้นความได้อัตภาพ ที่สัญเจตนาของตนเป็นไป
ไม่ใช่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไปนี้คือการจุติจากกายนั้นของสัตว์
เหล่านั้นย่อมมี เพราะสัญเจตนาของตนเป็นเหตุความได้อัตภาพ
ที่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไปไม่ใช่สัญเจตนาของตนเป็นไปนี้คือ
การจุติจากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้นย่อมมี เพราะสัญเจตนาของ
ผู้อื่นเป็นเหตุความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนด้วยสัญเจตนา
ของผู้อื่นด้วยเป็นไปนี้คือการจุติจากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้นย่อมมี
เพราะสัญเจตนาของตน และ สัญเจตนา ของผู้อื่นเป็นเหตุ
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนเป็นไปก็ไม่ใช่สัญเจตนา
ของผู้อื่นเป็นไปก็ไม่ใช่นี้จะพึงเห็นเทวดาทั้งหลายด้วยอัตภาพนั้น
เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า.
สารีบุตร พึงเห็นเทวดาทั้งหลายผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ด้วยอัตภาพนั้น.
หน้า 49
17 วิญญาณฐิติ (ที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ)
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๗/๑๐๖.
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ใช้เป็นพืชมี ๕ อย่างเหล่านี้
๕ อย่างอะไรบ้าง คือ พืชจากเหง้าหรือราก (มูลพีช) พืชจากต้น (ขนฺธพีช) พืชจากตาหรือผล (ผลพีช) พืชจากยอด (อคฺคพีช) พืชจากเมล็ด (พีชพีช).
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่างเหล่านี้
ที่ไม่ถูกทำลาย ยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด
ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันบุคคลเก็บไว้ด้วยดี แต่ดิน
และน้ำไม่มี ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่างเหล่านั้น
จะพึงเจริญงอกงามไพบูลย์ได้ไหม.
ไม่ได้พระเจ้าข้า.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่างเหล่านี้
ที่ไม่ถูกทำลาย ยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด
ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันบุคคลเก็บไว้ด้วยดี ทั้งดิน
และน้ำก็มีด้วย ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่างเหล่านั้น
จะพึงเจริญงอกงามไพบูลย์ได้ไหม.
ได้พระเจ้าข้า.
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง (รูป เวทนา
สัญญา สังขาร) พึงเห็นว่า เหมือนกับดิน.
ภิกษุทั้งหลาย นันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจแห่ง
ความเพลิน) พึงเห็นว่า เหมือนกับนํ้า.
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย พึงเห็นว่าเหมือนกับ พืชสดทั้ง ๕ นั้น.
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูป ตั้งอยู่
ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณ ที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย
มีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนา ตั้งอยู่
ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณ ที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนา
เป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์
มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึง ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่
ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณ ที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขาร
เป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิ เป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติซึ่งการมา การไป การจุติ (การตาย) การอุบัติ (การเกิด) ความเจริญ ความงอกงาม และ ความไพบูลย์ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจาก สังขาร ดังนี้นั้น นี่ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้เลย.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ
ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละ
ได้แล้ว (ราโค ปหีโน) เพราะละราคะนั้นได้ อารมณ์สำหรับ วิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี วิญญาณอัน
ไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไป เพราะไม่ถูกปรุงแต่ง เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น (ฐิตํ) เพราะตั้งมั่น ก็ยินดี ในตนเอง (สนฺตุสิตํ) เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว (น ปริตสฺสติ) เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตนนั่นเทียว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่
ควรทำได้เสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็น อย่างนี้
ไม่ได้มีอีก.
หน้า42
18 อารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ (นัยที่ ๑)
-บาลีนิทาน. สํ. ๑๖/๘๐/๑๔๙.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อมคิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่
ย่อมดำริ (ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่ และย่อมมีจิตฝังลงไป (อนุเสติ)
ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่ออารมณ์มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น
ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ (นติ) ย่อมมี
เมื่อเครื่องนำไปสู่ภพใหม่มี การมาการไป (อาคติคติ) ย่อมมี
เมื่อการมาการไปมี การเคลื่อนและการบังเกิดย่อมมี เมื่อการเคลื่อน
และการบังเกิด มี ชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส
อุปายาสะทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป ความเกิดขึ้นพร้อม
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่
ดำริถึงสิ่งใด แต่เขายังมีจิต ฝังลงไปในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อม
เป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อ อารมณ์มีอยู่
ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น
ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ย่อมมี
เมื่อเครื่องนำไปสู่ภพใหม่มี การมาการไปย่อมมี เมื่อการมาการไปมี การเคลื่อนและการบังเกิดย่อมมี เมื่อการเคลื่อน
และการบังเกิดมี ชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส
อุปายาสะทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป ความเกิดขึ้นพร้อม
แห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย
ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย และย่อมไม่มีจิตฝังลงไปในสิ่งใดด้วย
ในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งนั้นย่อมไม่เป็น อารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่
แห่งวิญญาณได้เลย เมื่ออารมณ์ไม่มี ความตั้งขึ้นเฉพาะ แห่งวิญญาณย่อมไม่มีเมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญ
งอกงามแล้ว เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ย่อมไม่มี เมื่อเครื่องนำไปสู่
ภพใหม่ไม่มี การมาการไป ย่อมไม่มี เมื่อการมาการไปไม่มี
การเคลื่อนและการบังเกิดย่อมไม่มี เมื่อการเคลื่อน และการบังเกิดไม่มี ชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส
อุปายาสะทั้งหลายต่อไปจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์
ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล.
หน้า54
19 อารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ (นัยที่ ๒)
-บาลีนิทาน. สํ. ๑๖/๗๙/๑๔๗.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อมคิดถึงสิ่งใดอยู่ ย่อม ดำริถึงสิ่งใดอยู่ และย่อม มีจิตฝังลงไป ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้น
ย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่ง วิญญาณ เมื่ออารมณ์มีอยู่
ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น
ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว การก้าวลงแห่งนามรูป (นามรูปสฺส อวกฺกนฺติ) ย่อมมี เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย
จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย
จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมี
อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ
โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึน ครบถ้วน ความเกิดขึ้น
พร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่
ดำริถึงสิ่งใด แต่เขายังมีจิต ฝังลงไปในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อม
เป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่ออารมณ์มีอยู่
ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น
ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว การก้าวลงแห่งนามรูปย่อมมี
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ … ความเกิดขึ้นพร้อม
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย
ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย และย่อมไม่มีจิตฝังลงไปในสิ่งใดด้วย
ในกาลใด ในกาลนั้น สิงนั้นย่อมไม่เป็น อารมณ์เพื่อ การตั้งอยู่
แห่งวิญญาณได้เลย เมื่ออารมณ์ไม่มี ความตั้งขึ้นเฉพาะ แห่ง
วิญญาณย่อมไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญ
งอกงามแล้ว การก้าวลงแห่งนามรูปย่อมไม่มี เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับ แห่ง สฬายตนะ เพราะมีความดับ
แห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ เพราะมีความดับ
แห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา เพราะมีความดับแห่ง
เวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา เพราะมีความดับแห่งตัณหา
จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน
จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับ แห่งภพ จึงมีความดับ
แห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลง
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล.
หน้า46
20 อารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ (นัยที่ ๓)
-บาลีนิทาน. สํ. ๑๖/๗๘/๑๔๕.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อมคิดถึงสิ่งใดอยู่ ย่อม
ดำริถึงสิ่งใดอยู่ และย่อม มีจิตฝังลงไปในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้น
ย่อมเป็นอารมณ์เพื่อ การตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่ออารมณ์มีอยู่
ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น
ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว การเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ ต่อไป (ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ) ย่อมมี เมื่อ การเกิดขึ้นแห่งภพใหม่
ต่อไปมีอยู่ ชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะ
ทั้งหลายจึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ต่อไป ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง
กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใด ย่อม
ไม่ดำริถึง สิ่งใด แต่เขา ยังมีจิต ฝังลงไปในสิ่ง ใดอยู่ สิ่งนั้น
ย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่ง วิญญาณ เมื่ออารมณ์มีอยู่
ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น
ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว การเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ ต่อไปย่อมมี เมื่อการเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปมีอยู่ ชาติ ชรา
มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลายจึงเกิดขึ้น
ครบถ้วนต่อไป ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย
ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย และย่อมไม่มีจิตฝังลงไปในสิ่งใดด้วย
ในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งนั้นย่อมไม่เป็น อารมณ์เพื่อการตั้งอยู่
แห่งวิญญาณ เมื่ออารมณ์ไม่มี ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่ง
วิญญาณย่อมไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญ
งอกงามแล้ว การเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปย่อมไม่มี เมื่อการเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ ต่อไป ไม่มี ชาติ ชรามรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลายต่อไป จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
ดังนี้แล
|