เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  จิต มโน วิญญาณ   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  02 of 5  
  จิต มโน วิญญาณ    ที่มา : http://watnapp.com/book  
     
    สารบัญ หน้า  
  21 . การตั้งอยู่ของวิญญาณ คือ การบังเกิดในภพใหม่ 58  
  22 . การตั้งอยู่ของความเจตนา หรือความปรารถนา คือ การบังเกิดในภพใหม่ 60  
  23 . ภพ ๓ 62  
  24 . เครื่องนำไปสู่ภพ 63  
  25 . เหตุที่เรียกว่า “สัตว์” 64  
  26 . ผลที่ไม่น่าปรารถนา หรือน่าปรารถนา 67  
  “จิต” 69 69  
  27 . จิต เปลี่ยนแปลงได้เร็ว 70  
  28 . จิต เป็นธรรมชาติกลับกลอก 71  
  29 . จิต อบรมได้ 73  
  30 . จิต ฝึกได้ 76  
  31 . จิตผ่องใส 79  
  32 . จิตประภัสสร 81  
  33 . จิตผ่องแผ้ว 82  
  34 . ผลของการไม่รักษา หรือรักษาจิต 84  
  35 . ผลเมื่อจิตถึงความพินาศ 86  
  36 . จิตตมโน จิตตสังกัปโป 88  
  37 . อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นเครื่องรองรับจิต 89  
  38 . เห็นจิตในจิต (นัยสติปัฏฐานสูตร) 90  
  39 . เห็นจิตในจิต (นัยอานาปานสติสูตร) 92  
  40 . จิตหลุดพ้น (นัยที่ ๑) 93  
  41 . จิตหลุดพ้น (นัยที่ ๒) 95  
  42 . จิตหลุดพ้น (นัยที่ ๓) 97  
  43 . จิตที่หลุดพ้นดีแล้ว 99  
  44 . ผู้มีจิตอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี 103  
  45 . การเข้าไปหา เป็นความไม่หลุดพ้น การไม่เข้าไปหา เป็นความหลุดพ้น 104  
  46 . การน้อมใจเพื่อตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ 106  
  47 . เหตุให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์ 111  
  48 . ความแตกต่างระหว่าง อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุปัญญาวิมุตติ 115  
       
 
 






หน้า 58
21 การตั้งอยู่ของวิญญาณ
คือ การบังเกิดในภพใหม่
-บาลีติก. อํ. ๒๐/๒๘๗/๕๑๖.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพระองค์ตรัสว่าภพภพดังนี้ภพ
ย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไรพระเจ้าข้า.

อานนท์ ถ้ากรรมมีกามธาตุ1 เป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้ว
กามภพ จะพึงปรากฏได้หรือ.

ไม่พึงปรากฏเลยพระเจ้าข้า.

อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นผืนนา(กมฺมํเขตฺตํ)
วิญญาณเป็นพืช
(วิญฺญาณํ พีชํ) ตัณหาเป็นยางของพืช
(ตณฺหา สิเนโห) วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็น
เครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นทราม
การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้
(อวิชฺชานีวรณานํ สตฺตานํ ตณฺหาสญฺโญชนานํ หีนาย ธาตุยา
วิญฺญาณํ ปติฏฺฐิตํ เอวํ อายตึ ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ โหติ).

อานนท์ ถ้ากรรมมีรูปธาตุ2 เป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้ว

รูปภพ
จะพึงปรากฏได้หรือ. ไม่พึงปรากฏเลยพระเจ้าข้า.
1. กามธาตุ = ธาตุดินธาตุน้ำ ธาตุไฟและธาตุลม.-ผู้รวบรวม
2. รูปธาตุ = สิ่งที่เป็นรูปในส่วนละเอียด. -ผู้รวบรวม


อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นผืนนา
วิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็นยางของพืช วิญญาณของ
สัตว์ทั้งหลายที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง (มชฺฌิมาย ธาตุยา) การบังเกิดขึ้น
ในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ถ้ากรรมมีอรูปธาตุ1 เป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้ว
อรูปภพ จะพึงปรากฏได้หรือ.

ไม่พึงปรากฏเลยพระเจ้าข้า.

อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นผืนนา
วิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็นยางของพืช วิญญาณของ
สัตว์ทั้งหลายที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นประณีต (ปณีตาย ธาตุยา) การบังเกิดขึ้น
ในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ภพ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
1. อรูปธาตุ = สิ่งที่ไม่ใช่รูป เป็นนามธรรม เช่น เวทนา สัญญา
สังขาร (ผู้ได้สมาธิระดับอากาสานัญจายตนะขึ้นไป). –ผู้รวบรวม



หน้า 60
22 การตั้งอยู่ของความเจตนาหรือความปรารถนา

คือ การบังเกิดในภพใหม่

-บาลีติก. อํ. ๒๐/๒๘๘/๕๑๗.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพระองค์ตรัสว่าภพภพดังนี้ภพย่อมมีได้
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรพระเจ้าข้า.

อานนท์ ถ้ากรรมมีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้ว
กามภพ
จะพึงปรากฏได้หรือ.

ไม่พึงปรากฏเลยพระเจ้าข้า.

อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นผืนนา(กมฺมํ เขตฺตํ)
วิญญาณเป็นพืช (วิญฺญาณํ พีชํ) ตัณหาเป็นยางของพืช
(ตณหฺ า สิเนโห) ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี ของสัตว์
ทั้งหลายที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้นมีตัณหาเป็นเครื่องผูก
ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นทราม การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป
ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ (อวิชฺชานีวรณานํ สตฺตานํ ตณฺหา-
สญฺโญชนานํ หีนาย ธาตุยา เจตนา ปติฏฺฐิตา ปตฺถนา ปติฏฺฐิตา
เอวํ อายตึ ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ โหติ).

อานนท์ ถ้ากรรมมีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้ว
รูปภพ
จะพึงปรากฏได้หรือ.

ไม่พึงปรากฏเลยพระเจ้าข้า.

อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นผืนนา วิญญาณ เป็นพืช ตัณหาเป็นยางของพืช ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี
ของสัตว์ทั้งหลายที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหา
เป็นเครื่องผูก
ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง(มชฺฌิมาย ธาตุยา)
การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป
ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ถ้ากรรมมีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้ว อรูปภพ
จะพึงปรากฏได้หรือ.

ไม่พึงปรากฏเลยพระเจ้าข้า.

อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นผืนนา วิญญาณเป็นพืช
ตัณหาเป็นยางของพืช ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี
ของสัตว์ทั้งหลายที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นประณีต
(ปณีตาย ธาตุยา)
การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ภพ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ภพ1 เป็นอย่างไรเล่า.
ภิกษุทั้งหลาย ภพทั้งหลาย ๓ อย่าง เหล่านี้คือ
กามภพ รูปภพ อรูปภพ.2

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภพ.
ความเกิดขึ้นแห่งภพย่อมมี เพราะความเกิดขึ้น
แห่งอุปาทาน ความดับแห่งภพย่อมมี เพราะความดับ
แห่งอุปาทาน อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง
เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งภพ คือ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ.

1. ภพ= สถานที่อันวิญญาณใช้ตั้งอาศัยเพื่อเกิดขึ้นหรือเจริญ
งอกงามต่อไป.(ดูเพิ่มเติมที่ตั้งอาศัยของวิญญาณหน้า 49
ตรัสภพเปรียบกับดินวิญญาณเปรียบกับส่วนของพืชเช่นเมล็ด
ที่สามารถเจริญงอกงามต่อไปได้) -ผู้รวบรวม

2. กามภพ = สถานที่เกิดอันอาศัยดินน้ำไฟลมรูปภพ =
สถานที่เกิดอันอาศัยสิ่งที่เป็นรูปในส่วนละเอียดอรูปภพ =
สถานที่เกิดอันอาศัยสิ่งที่ไม่ใช่รูป. -ผู้รวบรวม



หน้า 63
24 เครื่องนำไปสู่ภพ
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๓/๓๖๘.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพระองค์ตรัสว่าเครื่องนำไปสู่ภพ เครื่องนำไป
สู่ภพ
ดังนี้ก็เครื่องนำไปสู่ภพเป็นอย่างไรและความดับไม่เหลือ
ของเครื่องนำไปสู่ภพเป็นอย่างไร
พระเจ้าข้า.

ราธะ ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ
(ความเพลิน) ตัณหา (ความอยาก) อุปายะ (ความเข้าถึง)
และอุปาทาน (ความถือมั่น) อันเป็นเครื่องตั้งทับเครื่อง
เข้าไปอาศัยและเครื่องนอนเนื่องแห่งจิตในรูป(เจตโส
อธิฏฐฺานาภินิเวสานุสยา) สิ่งเหล่านี้เราเรียกว่าเครื่องนำไปสู่ภพ
ความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพมีได้ เพราะความดับ
ไม่เหลือของฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา อุปายะ และอุปาทาน
เหล่านั้นนั่นเอง.

ราธะ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา อุปายะ และอุปาทาน
อันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไปอาศัย และ เครื่องนอนเนื่อง
แห่งจิตในเวทนา … ในสัญญา … ในสังขารทั้งหลาย …
ในวิญญาณ สิ่งเหล่านี้เราเรียกว่าเครื่องนำไปสู่ภพ
ความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพมีได้ เพราะความดับ
ไม่เหลือของฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา อุปายะ และอุปาทาน
เหล่านั้นนั่นเอง


หน้า64
25 เหตุที่เรียกว่า “สัตว์”
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๒/๓๖๗.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกกันว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ อันว่าสัตว์
มีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า.

ราธะ ฉันทะ(ความพอใจ) ราคะ(ความกำหนัด) นันทิ(ความเพลิน)
ตัณหา (ความอยาก) ใดๆ มีอยู่ในรูป เพราะการติดแล้ว
ข้องแล้วในรูปนั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์
(ผู้ข้องติดในขันธ์ทั้ง ๕) ดังนี้.

ราธะ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหาใดๆ มีอยู่ในเวทนา 
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในเวทนานั้น
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้.

ราธะ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหาใดๆ มีอยู่ในสัญญา 
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสัญญานั้น
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้.

ราธะ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหาใดๆ มีอยู่ในสังขารทั้งหลาย
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสังขารทั้งหลายนั้น
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้.

ราธะ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหาใดๆ มีอยู่ในวิญญาณ
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในวิญญาณนั้น
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้แล.

ราธะ เปรียบเหมือนพวกกุมารน้อยๆ หรือกุมารีน้อยๆ
เล่นเรือนน้อยๆ ที่ทำด้วยดินอยู่ ตราบใดเขายังมีราคะ
มีฉันทะ มีความรัก มีความกระหาย มีความเร่าร้อน
และมีตัณหาในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้นตราบนั้น
พวกเด็กน้อยๆนั้น ย่อมอาลัยเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น
ย่อมอยากเล่น ย่อมอยากมีเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น
ย่อมยึดถือเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้นว่าเป็นของเรา ดังนี้.

ราธะ แต่เมื่อใดแล พวกกุมารน้อยๆ หรือกุมารีน้อยๆเหล่านั้น
ปราศจากราคะแล้ว ปราศจากฉันทะแล้ว ปราศจากความรักแล้ว
ปราศจากความกระหายแล้ว ปราศจากความเร่าร้อนแล้ว
ปราศจากตัณหาแล้ว ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น
ในกาลนั้น พวกเขาย่อมทำเรือนน้อยๆ ที่ทำด้วยดิน

เหล่านั้นให้กระจัดกระจาย เรี่ยราย เกลื่อนกล่นไป
กระทำ ให้จบการเล่นเสียด้วยมือและเท้าทั้งหลาย
อุปมานี้ฉันใด.

ราธะ อุปไมยก็ฉันนั้น คือ แม้พวกเธอทั้งหลาย จงเรี่ยราย
กระจายออกซึ่งรูป จงขจัดเสีย จงทำให้แหลกลาญ
จงทำให้จบการเล่นอย่างถูกวิธี จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไป
แห่งตัณหาเถิด จงเรี่ยรายกระจายออกซึ่งเวทนา

จงขจัดเสีย จงทำให้แหลกลาญ จงทำให้จบการเล่นอย่างถูกวิธี
จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด จงเรี่ยรายกระจายออก
ซึ่งสัญญา จงขจัดเสีย จงทำให้แหลกลาญ จงทำให้จบ
การเล่นอย่างถูกวิธี จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด
จงเรี่ยรายกระจายออกซึ่งสังขารทั้งหลาย จงขจัดเสีย
จงทำให้แหลกลาญ จงทำให้จบการเล่นอย่างถูกวิธี
จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด จงเรี่ยราย
กระจายออกซึ่งวิญญาณ จงขจัดเสีย จงทำให้แหลกลาญ
จงทำให้จบการเล่นอย่างถูกวิธี จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไป
แห่งตัณหาเถิด.

ราธะ เพราะว่า ความสิ้นไปแห่งตัณหานั้น คือ นิพพาน ดังนี้แล.


หน้า 67
26 ผลที่ไม่น่าปรารถนา หรือน่าปรารถนา
-บาลี เอก. อํ. ๒๐/๔๒/๑๘๙.

ภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตาม
ทิฏฐิ วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ มโนกรรม
ที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ความเจตนา ความปรารถนา
ความตั้งใจ (ปณิธิ) สังขาร ของบุคคลผู้มีมิจฉาทิฏฐิ
ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่า
รักใคร่ ไม่น่าชอบใจ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เป็นไปเพื่อ
ความทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่าทิฏฐิเลวทราม

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดาก็ดี เมล็ดบวบขม
ก็ดี เมล็ดน้ำเต้าขมก็ดี อันบุคคลเพาะไว้ในดินที่ชุ่มชื้น
รสของดิน รสของน้ำ ที่มันดูดซึมไว้ทั้งหมด ย่อมเป็นไป
เพื่อความเป็นของขม เพื่อความเผ็ดร้อน เพื่อความไม่น่ายินดี
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่าพันธุ์พืชเหล่านั้นเลว.

ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน กายกรรมที่
สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ วจีกรรม ที่สมาทานให้บริบูรณ์
ตามทิฏฐิ มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ความ
เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ สังขาร ของบุคคล
ผู้มี มิจฉาทฏิฐิ ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่า
ปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าชอบใจ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล
เป็นไปเพื่อความทุกข์ ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า
ทิฏฐิเลวทราม.

ภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตาม
ทิฏฐิ วจีกรรมท่สี มาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ มโนกรรม
ที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ความเจตนา ความปรารถนา
ความตั้งใจ สังขาร ของบุคคลผู้มีสัมมาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าชอบใจ เป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่าทิฏฐิดีงาม ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพันธุ์
อ้อยก็ดี พันธุ์ข้าวสาลีก็ดี พันธุ์ผลจันทน์ก็ดี อันบุคคลเพาะ
ไว้ในดินที่ชุ่มชื้น รสของดิน รสของน้ำ ที่มันดูดซึมไว้ทั้งหมด
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของหวาน เพื่อความน่ายินดี เพื่อ
ความน่าชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่าพันธุ์พืช
เหล่านั้นดี.

ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกันกายกรรม
ที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์
ตามทิฏฐิ มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ความเจตนา
ความปรารถนา ความตั้งใจ สังขาร ของบุคคลผู้มีสัมมาทิฏฐิ
ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่
น่าชอบใจ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ข้อนั้น
เพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่าทิฏฐิดีงาม.



“จิต”

หน้า 70
27 จิต เปลี่ยนแปลงได้เร็ว
-บาลีเอก. อํ. ๒๐/๑๑/๔๙.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว
เหมือนจิต ภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยน
แปลงได้เร็ว
(ลหุปริวตฺตํ)1 เท่าใดนั้น แม้จะอุปมาก็กระทำ
ได้ไม่ใช่ง่าย
.
1. ลหุปริวตฺตํบาลีคำนี้มีสำนวนแปลอย่างอื่นอีกเช่นกลับกลอกเร็ว.
-ผู้รวบรวม



หน้า 71
28 จิต
เป็นธรรมชาติกลับกลอก
-บาลีมหา. วิ. /๒๙๔/๒๑๖.

ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว
มีสตรีนิมนต์ว่า ขอท่านจงมาเถิดเจ้าข้า ดิฉันจะถวายเงิน
ทอง นา สวน พ่อโค แม่โค ทาสชาย ทาสหญิง แก่ท่าน
จะยกลูกสาวให้เป็นภรรยาของท่าน ดิฉันจะยอมเป็นภรรยา
ของท่าน หรือว่าจะนำหญิงอื่นมาให้เป็นภรรยาของท่าน
ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
จิตเป็นธรรมชาติกลับกลอกเร็วนัก (ลหุปริวตฺตํ) สักหน่อย
จะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้ พึงหลีกไปเสีย
ไม่ต้องอาบัติ แต่ขาดพรรษา.

ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว
มีหญิงแพศยานิมนต์ ... มีหญิงสาวเทื้อ (สาวแก่) นิมนต์ …
มีบัณเฑาะก์นิมนต์ … มีพวกญาตินิมนต์ ... มีพระราชา
ทั้งหลายนิมนต์ ... มีพวกโจรนิมนต์ ... มีพวกนักเลง
นิมนต์ว่า ขอท่านมาเถิด ขอรับ พวกข้าพเจ้าจะถวายเงิน ทอง
นา สวน พ่อโค แม่โค ทาสชาย ทาสหญิง แก่ท่าน จะยกลูกสาว
ให้เป็นภรรยาของท่าน หรือจะนำหญิงอื่นมาให้เป็นภรรยา
ของท่าน ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า จิตเป็นธรรมชาติกลับกลอกเร็วนัก สักหน่อยจะเป็น
อันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้อง
อาบัติ แต่ขาดพรรษา.

ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว
พบทรัพย์ไม่มีเจ้าของ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จิตเป็นธรรมชาติกลับกลอกเร็วนัก
สักหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้ พึงหลีก
ไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่ขาดพรรษา


หน้า 73
29 จิต อบรมได้
-บาลีเอก. อํ. ๒๐//๒๒.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงานเหมือนจิต ภิกษุทั้งหลาย
จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงานเหมือนจิต ภิกษุทั้งหลาย
จิตที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ใช่ประโยชน์อย่างใหญ่
เหมือนจิต ภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อไม่ใช่ประโยชน์อย่างใหญ่

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่เหมือนจิต
ภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
อย่างใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ใช่ประโยชน์
อย่างใหญ่เหมือนจิต ภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว
ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่
เหมือนจิต ภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ใช่
ประโยชน์อย่างใหญ่เหมือนจิต ภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่
อบรมแล้ว ไม่กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ใช่
ประโยชน์อย่างใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
อย่างใหญ่เหมือนจิต ภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่กระทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้
เหมือนจิต ภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้เหมือนจิต
ภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมนำ
สุขมาให้

ภิกษุทั้งหลาย ต้นจันทน์ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่า
รุกขชาติทุกชนิด เพราะเป็นของอ่อนและควรแก่การงาน
ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและ
ควรแก่การงานเหมือนจิต ภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่
การงาน ฉันนั้นเหมือนกัน.


หน้า 76
30 จิต ฝึกได้
-บาลีเอก. อํ. ๒๐//๓๒.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ใช่ประโยชน์อย่างใหญ่เหมือนจิต
ภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ใช่ประโยชน์
อย่างใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่เหมือนจิต
ภิกษุทั้งหลาย จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
อย่างใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ใช่ประโยชน์อย่างใหญ่
เหมือนจิตภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่คุ้ม ครองแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อไม่ใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่เหมือนจิต
ภิกษุทั้งหลาย จิตที่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
อย่างใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ใช่ประโยชน์อย่างใหญ่
เหมือนจิต ภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อไม่ใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่เหมือนจิต
ภิกษุทั้งหลาย จิตที่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
อย่างใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ใช่ประโยชน์อย่างใหญ่
เหมือนจิต ภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อไม่ใช่ประโยชน์อย่างใหญ

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่เหมือนจิต
ภิกษุทั้งหลาย จิตที่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
อย่างใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่ฝึกแล้ว ไม่คุ้มครองแล้ว ไม่รักษาแล้ว ไม่สังวรแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ใช่ประโยชน์อย่างใหญ่เหมือนจิต ภิกษุ
ทั้งหลาย จิตที่ไม่ฝึกแล้ว ไม่คุ้มครองแล้ว ไม่รักษาแล้ว
ไม่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว สังวรแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์อย่างใหญ่เหมือนจิต ภิกษุทั้งหลาย จิตที่ฝึกแล้ว
คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
อย่างใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลีหรือ
เดือยข้าวเหนียวที่บุคคลตั้งไว้ผิด มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว
จะทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจะทำให้ห้อเลือด ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะ
ที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่าเดือยอันบุคคล
ตั้งไว้ผิด ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุนั้นจะทำลาย
อวิชชา จะยังวิชชาให้เกิด จะทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยจิต
ที่ตั้งไว้ผิด ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่าจิตตั้งไว้ผิด.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลีหรือ
เดือยข้าวเหนียวที่บุคคลตั้งไว้ถูก มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว
จะทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจะทำให้ห้อเลือด ข้อนี้เป็นฐานะ
ที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร  เพราะเหตุว่าเดือยอันบุคคล
ตั้งไว้ถูก

ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุนั้นจะทำลายอวิชชา
จะยังวิชชาให้เกิด
จะทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยจิต
ที่ตั้งไว้ถูก ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่าจิตตั้งไว้ถูก.


หน้า 79
31
จิตผ่องใส
-บาลีติก. อํ. ๒๐/๑๐/๔๔.

ภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้ใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว
ย่อมรู้ชัดบุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตอันโทษประทุษร้าย
(ปทุฏฺฐจิตฺตํ) ว่า ถ้าบุคคลนี้ทำกาละในตอนนี้ พึงตั้งอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำตัวมาฝังไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะว่าจิต
ของเขาถูกโทษประทุษร้ายแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุ
ที่จิตถูกประทุษร้าย สัตว์บางพวกในโลกนี้ ภายหลังจาก
การตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก.

ภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้ใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว
ย่อมรู้ชัดบุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตผ่องใส (ปสนฺนจิตฺตํ) ว่า
ถ้าบุคคลนี้ทำกาละในตอนนี้ พึงตั้งอยู่ในสวรรค์เหมือน
ถูกนำตัวไปเก็บไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะว่าจิต
ของเขาผ่องใส ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่จิตผ่องใส
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ภายหลังจากการตาย เพราะกาย
แตกทำลาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำที่ขุ่นมัวเป็นตม
บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง ไม่อาจเห็นหอยต่างๆ บ้าง ไม่อาจ
เห็นก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง ไม่อาจเห็นฝูงปลา ซึ่งว่าย
ไปมา หรือหยุดอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่าน้ำนั้นขุ่นภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น เหมือนกัน

ภิกษุนั้นจะรู้ประโยชน์ตน หรือจะรู้ประโยชน์ผู้อื่น หรือจะรู้
ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจะกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ คือ
อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่าง
สามารถ ได้ด้วยจิตที่ขุ่นมัว (อาวิเลน จิตฺเตน) ดังนี้นั้น นั่นไม่ใช่
ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่าจิตขุ่นมัว.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสสะอาด
ไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง สามารถเห็นหอยต่างๆ บ้าง
สามารถเห็นก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง สามารถเห็นฝูงปลา

ซึ่งว่ายไปมา หรือหยุดอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะ
เหตุอะไร เพราะเหตุว่าน้ำไม่ขุ่น ภิกษุทั้งหลาย ฉันใด ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ภิกษุนั้นจะรู้ประโยชน์ตน หรือจะรู้ประโยชน์
ผู้อื่น หรือจะรู้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจะกระทำ􀄁ให้แจ้ง
ซึ่งคุณวิเศษ คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็น
อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ด้วยจิตที่ไม่ขุ่นมัว (อนาวิเลน
จิตฺเตน) ดังนี้นั้น นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร

เพราะเหตุว่าจิตไม่ขุ่นมัว.

หน้า 81
32 จิตประภัสสร
-บาลีเอก. อํ. ๒๐/๑๑/๕๒.

ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง (ปภสฺสรมิทํ) แต่ว่าจิต
นั้นแหละเศร้าหมองแล้ว ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมจะไม่ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง
ดังนั้น เราจึงกล่าวว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมไม่มี
การอบรมจิต.

ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแหละ
พ้นไปแล้ว (วิปฺปมุตฺตํ) จากอุปกิเลสที่จรมา อริยสาวกผู้ได้
สดับแล้ว ย่อมทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง ดังนั้น เราจึง
กล่าวว่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมมีการอบรมจิต.


หน้า82
33 จิตผ่องแผ้ว

-บาลีสี. ที. /๑๑๐/๑๓๘.

… ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว(ปริโยทาเต)1
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน
ตั้งมั่นถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ
อาสวักขยญาณ เธอย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้
อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ
หลุดพ้นจากภวาสวะ หลุดพ้นจากอวิชชาสวะ เมื่อจิต
หลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่ได้มีอีก.

มหาราช เปรียบเหมือนสระน้ำบนยอดเขาใสสะอาด
ไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนขอบสระนั้น สามารถเห็น
หอยต่างๆ บ้าง สามารถเห็นก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง
สามารถเห็นฝูงปลาซึ่งว่ายไปมา หรือหยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น
บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า สระน้ำนี้ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว

1. บาลีคำนี้มีแปลสำนวนอื่นอีกเช่นผุดผ่อง, ผุดผ่องแผ้วเป็นต้น
นอกจากนี้ ยังพบการใช้คำนี้ในบริบทที่กล่าวถึงผิวพรรณ
ว่าผิวพรรณผุดผ่อง (ฉววิณโฺณปริโยทาโต). -ผู้รวบรวม


มีหอยต่างๆ มีก้อนกรวดและก้อนหิน มีฝูงปลาซึ่งว่ายไปมา
หรือหยุดอยู่ ในสระน้ำนั้น นี้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ที่เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก
อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว
อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัด
ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย
นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้
เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ หลุดพ้นจาก
ภวาสวะ หลุดพ้นจากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณ
หยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้ไม่ได้มีอีก.

มหาราช นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า
ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ
มหาราช ก็สามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้ออื่น ทั้งดียิ่งกว่า
ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อนี้ ย่อมไม่มี.
(ผู้อ่านสามารถศึกษาเนื้อความเต็มของพระสูตรนี้ได้จาก
สามัญญผลสูตร -บาลีสี. ที. ๙/๖๑/๙๑. -ผู้รวบรวม).



หน้า 84
34 ผลของการไม่รักษา หรือรักษาจิต
-บาลีติก.อํ. ๒๐/๓๓๕/๕๔๙.

คหบดี เมื่อจิตไม่ได้รับการรักษา (จิตฺเต อรกฺขิเต)
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็เป็นอันว่าไม่ได้รับการ
รักษา เมื่อกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมไม่ได้รับการรักษา
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็มีสภาพเปียกแฉะ เมื่อ
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมเปียกแฉะ กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม ก็มีสภาพบูดเน่า เมื่อกายกรรม วจีกรรม
มโนกรรมบูดเน่า ก็มีการตายที่ไม่งดงาม มีการทำกาละ
ที่ไม่งดงาม.

เปรียบเหมือน เมื่อเรือนมุงไว้ไม่ดี ยอดหลังคาก็เป็น
อันไม่ได้รับการรักษา กลอนหลังคาก็เป็นอันไม่ได้รับการ
รักษา ฝาเรือนก็เป็นอันไม่ได้รับการรักษา อกไก่ก็เปียกชื้น
กลอนหลังคาก็เปียกชื้น ฝาเรือนก็เปียกชื้น อกไก่ก็ผุเปื่อย
กลอนหลังคาก็ผุเปื่อย ฝาเรือนก็ผุเปื่อย คหบดี ฉันใดก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อจิตไม่ได้รับการรักษา กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม ก็เป็นอันไม่ได้รับการรักษา … ก็มีการตายที่ไม่
งดงาม มีการทำกาละที่ไม่งดงาม.

คหบดี เมื่อจิตได้รับการรักษา (จิตฺเต รกฺขิเต)
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็เป็นอันว่าได้รับการ
รักษา เมื่อกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมได้รับการรักษา
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็มีสภาพไม่เปียกแฉะ เมื่อ
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมไม่เปียกแฉะ กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม ก็มีสภาพไม่บูดเน่า เมื่อกายกรรม วจีกรรม
มโนกรรมไม่บูดเน่า ก็มีการตายที่งดงาม มีการทำกาละ
ที่งดงาม.

เปรียบเหมือน เมื่อเรือนมุงไว้อย่างดี ยอดหลังคา
ก็เป็นอันได้รับการรักษา กลอนหลังคาก็เป็นอันได้รับการ
รักษา ฝาเรือนก็เป็นอันได้รับการรักษา อกไก่ก็ไม่เปียกชื้น
กลอนหลังคาก็ไม่เปียกชื้น ฝาเรือนก็ไม่เปียกชื้น อกไก่ก็
ไม่ผุเปื่อย กลอนหลังคาก็ไม่ผุเปื่อย ฝาเรือนก็ไม่ผุเปื่อย
คหบดี ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อจิตได้รับการรักษา
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็เป็นอันได้รับการรักษา …
ก็มีการตายที่งดงาม มีการทำกาละที่งดงาม.


หน้า 86
35 ผลเมื่อจิตถึงความพินาศ
-บาลีติก.อํ. ๒๐/๓๓๗/๕๕๐.

คหบดี เมื่อจิตถึงความพินาศ (จิตฺเต พฺยาปนฺเน)1
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็เป็นอันว่าถึงความพินาศ
เมื่อกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมถึงความพินาศ กายกรรม
วจีกรรม มโนกรรม ก็มีสภาพเปียกแฉะ เมื่อกายกรรม
วจีกรรม มโนกรรมเปียกแฉะ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ก็มีสภาพบูดเน่า เมื่อกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมบูดเน่า
ก็มีการตายที่ไม่งดงาม มีการทำกาละที่ไม่งดงาม.
เปรียบเหมือน เมื่อเรือนมุงไว้ไม่ดี ยอดหลังคา
ก็เป็นอันถึงความพินาศ กลอนหลังคาก็เป็นอันถึงความ
พินาศ ฝาเรือนก็เป็นอันถึงความพินาศ อกไก่ก็เปียกชื้น
กลอนหลังคาก็เปียกชื้น ฝาเรือนก็เปียกชื้น อกไก่ก็ผุเปื่อย
กลอนหลังคาก็ผุเปื่อย ฝาเรือนก็ผุเปื่อย คหบดี ฉันใด
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อจิตถึงความพินาศ กายกรรม
วจีกรรม มโนกรรม ก็เป็นอันถึงความพินาศ … ก็มีการตาย
ที่ไม่งดงาม มีการทำกาละที่ไม่งดงาม.
1. จิตฺเตพฺยาปนฺเนบาลีคำนี้มีสำนวนแปลอย่างอื่นอีก
เช่นจิตถึงความผิดปกติ, จิตวิบัติเป็นต้น. -ผู้รวบรวม


คหบดี เมื่อจิตไม่ถึงความพินาศ (จิตฺเต อพฺยาปนฺเน)1
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็เป็นอันว่าไม่ถึงความ
พินาศ
เมื่อกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมไม่ถึงความพินาศ
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็มีสภาพไม่เปียกแฉะ
เมื่อกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมไม่เปียกแฉะ กายกรรม
วจีกรรม มโนกรรม ก็มีสภาพไม่บูดเน่า เมื่อกายกรรม
วจีกรรม มโนกรรมไม่บูดเน่า ก็มีการตายที่งดงาม
มีการทำ
กาละที่งดงาม.

เปรียบเหมือน เมื่อเรือนมุงไว้อย่างดี ยอดหลังคา
ก็เป็นอันไม่ถึงความพินาศ กลอนหลังคาก็เป็นอันไม่ถึง
ความพินาศ ฝาเรือนก็เป็นอันไม่ถึงความพินาศ อกไก่
ก็ไม่เปียกชื้น กลอนหลังคาก็ไม่เปียกชื้น ฝาเรือนก็ไม่เปียกชื้น
อกไก่ก็ไม่ผุเปื่อย กลอนหลังคาก็ไม่ผุเปื่อย ฝาเรือนก็ไม่ผุเปื่อย
คหบดี ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อจิตไม่ถึงความพินาศ
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็เป็นอันไม่ถึงความพินาศ
… ก็มีการตายที่งดงาม มีการทำกาละที่งดงาม.
1. จิตฺเตอพฺยาปนฺเนบาลีคำนี้มีสำนวนแปลอย่างอื่นอีก
เช่นจิตไม่ถึงความผิดปกติ,จิตไม่วิบัติเป็นต้น. –ผู้รวบรวม



หน้า 88
36 จิตตมโน จิตตสังกัปโป
-บาลีมหาวิ. วิ. /๑๓๗/๑๘๐.

อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือ
แสวงหาศัสตราอันจะปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์นั้น หรือ
พรรณนาคุณแห่งความตาย หรือชักชวนเพื่อให้ตายด้วย
คำว่า ท่านผู้เจริญ จะมีประโยชน์อะไรแก่ท่าน ด้วยชีวิตอัน
แสนลำบากยากแค้นนี้ ท่านตายเสียดีกว่ามีชีวิตอยู่ดังนี้
เธอมี
จิตใจอย่างนี้ มีความดำริใจอย่างนี้ พรรณนาคุณแห่ง
ความตายก็ดี ชักชวนเพื่อให้ตายก็ดี โดยหลายนัย แม้ภิกษุนี้
ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.

ในบทนี้มีบาลีอย่างนี้
โย ปน ภิกฺขุ สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคหํ ชีวิตา โวโรเปยฺย
สตฺถหารกํ วาสฺส ปริเยเสยฺย มรณวณฺณํ วา สํวณฺเณยฺย มรณาย
วา สมาทเปยฺย อมฺโภ ปุริส กึ ตุยฺหิมินา ปาปเกน ทุชฺชีวิเตน
มตนฺเต ชีวิตา เสยฺโยติ อิติจิตฺตมโน จิตฺตสงฺกปฺโป อเนก-
ปริยาเยน มรณวณฺณํ วา สํวณฺเณยฺย มรณาย วา สมาทเปยฺย
อยมฺปิ ปาราชิโก โหติ อสํวาโส.


หน้า 89
37 อริยมรรคมีองค์ เป็นเครื่องรองรับจิต
-บาลีมหาวาร. สํ. ๑๙/๒๕/๗๘.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่ไม่มีเครื่อง
รองรับ ย่อมหมุนกลิ้งไปได้ง่าย ส่วนหม้อที่มีเครื่องรองรับ
ย่อมหมุนกลิ้งไปได้ยาก ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น
เหมือนกัน จิตที่ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมหมุนไปได้ง่าย
ส่วนจิตที่มีเครื่องรองรับ ย่อมหมุนไปได้ยาก.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเครื่องรองรับจิต อริยมรรค
อันประกอบด้วยองค์ นี้นั่นเอง เป็นเครื่องรองรับจิต
คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.


หน้า 90
38 เห็นจิตในจิต (นัยสติปัฏฐานสูตร)
-บาลีมู. . ๑๒/๑๑๐/๑๔๐.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้

จิตมีราคะก็รู้ชัด
ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจาก
ราคะก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากราคะ

จิตมีโทสะก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจาก
โทสะก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะ

จิตมีโมหะก็รู้ชัด
ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจาก
โมหะก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโมหะ

จิตหดหู่ก็รู้ชัด
ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้ง ซ่านก็รู้ชัดว่า
จิตฟุ้งซ่าน

จิตถึงความเป็นจิตใหญ่ (มหรคต) ก็รู้ชัดว่าจิตถึง
ความเป็นจิตใหญ่ หรือจิต ไม่ถึงความเป็น จิตใหญ่
ก็รู้ชัด
ว่า จิตไม่ถึงความเป็นจิตใหญ่

จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่าจิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า
หรือจิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
จิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ชัด
ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุด พ้นก็รู้ชัดว่าจิตหลุดพ้น
หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตยังไม่หลุดพ้น.

ด้วยอาการอย่างนี้ ที่ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต
ภายในอยู่บ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกอยู่บ้าง
พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายใน และภายนอกอยู่บ้าง
พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในจิตอยู่บ้าง พิจารณา
เห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตอยู่บ้าง  พิจารณาเห็นธรรม
คือ ทั้งความเกิดขึ้น และความเสื่อมในจิตอยู่บ้าง อนึ่ง
สติว่าจิต มีอยู่ ก็เป็นสติที่ดำรงไว้เพียงสักว่าความรู้
เพียงสักว่า
อาศัยระลึกเท่านั้น เป็นผู้อันตัณหา และทิฏฐิ
ไม่อาศัยอยู่ และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก.

ภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่.


หน้า 92
39 เห็นจิตในจิต (นัยอานาปานสติสูตร)
-บาลีมหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๔/๑๔๐๓

… ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

เรา เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า ว่าเราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิต หายใจออก ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า ว่าเราเป็นผู้ทำจิต
ให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

เรา เป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า ว่าเราเป็นผู้ทำจิต
ให้ตั้งมั่น หายใจออก ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า ว่าเราเป็นผู้ทำจิต
ให้ปล่อยอยู่ หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น ภิกษุนั้น
ชื่อว่า เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็น
สิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.


หน้า 93
40 จิตหลุดพ้น (นัยที่ ๑)
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๓/๑๐๓.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปอันไม่เที่ยงนั่นแหละว่าไม่เที่ยง
ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็น อยู่โดยถูกต้อง
ย่อมเบื่อหน่าย
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไป
แห่งราคะ เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ

กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นเวทนาอันไม่เที่ยงนั่นแหละว่าไม่เที่ยง
… ภิกษุเห็นสัญญาอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง
… ภิกษุเห็นสังขารอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นวิญญาณอันไม่เที่ยงนั่นแหละ
ว่าไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นอยู่
โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ
จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ  เพราะความสิ้นไปแห่ง ราคะ จึงมี
ความสิ้นไปแห่งนันทิ เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ และราคะ
กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่งรูป
โดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
แห่งรูป ตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งรูป
โดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูป
ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในรูป เพราะความสิ้นไป
แห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ เพราะความสิ้นไป
แห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ เพราะความสิ้นไป
แห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่ง
เวทนาโดยอุบายอันแยบคาย … เธอทั้งหลายจงกระทำ
ไว้ในใจซึ่งสัญญาโดยอุบายอันแยบคาย … เธอทั้งหลาย
จงกระทำไว้ในใจซึ่งสังขารโดยอุบายอันแยบคาย …

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่ง
วิญญาณโดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยงแห่งวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุกระทำ

ไว้ในใจซึ่งวิญญาณโดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็น
ความไม่เที่ยงแห่งวิญญาณตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย
ในวิญญาณ เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไป
แห่งราคะ เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไป
แห่งนันทิ เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า
จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี.


หน้า 95
41 จิตหลุดพ้น (นัยที่ ๒)
-บาลีสฬา. สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๕,๒๔๗.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแหละ
ว่าไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นอยู่
โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ
จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมี
ความสิ้นไปแห่งนันทิ เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและ
ราคะ กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นโสตะอันไม่เที่ยงนั่นแหละ
ว่าไม่เที่ยง … ภิกษุเห็นฆานะอันไม่เที่ยงนั่นแหละว่า
ไม่เที่ยง … ภิกษุเห็นชิวหาอันไม่เที่ยงนั่นแหละว่าไม่เที่ยง …
ภิกษุเห็นกายอันไม่เที่ยงนั่นแหละว่าไม่เที่ยง

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นมนะอันไม่เที่ยงนั่นแหละ
ว่าไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นอยู่
โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ
จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมี
ความสิ้นไปแห่งนันทิ เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ
กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่งจักษุ
โดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
แห่งจักษุตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งจักษุ
โดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่ง
จักษุตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในจักษุ เพราะความ
สิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ เพราะความสิ้นไป
แห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ เพราะความสิ้นไป
แห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่งโสตะ
โดยอุบายอันแยบคาย … เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจ
ซึ่งฆานะ โดยอุบายอันแยบคาย … เธอทั้งหลายจงกระทำ
ไว้ในใจซึ่งชิวหาโดยอุบายอันแยบคาย … เธอทั้งหลาย
จงกระทำไว้ในใจซึ่งกายะโดยอุบายอันแยบคาย …

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่ง มนะ
โดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่ง
มนะ ตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งมนะโดย
อุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งมนะ
ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในมนะ เพราะความสิ้นไป
แห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ เพราะความสิ้นไปแห่ง
ราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ เพราะความสิ้นไปแห่ง
นันทิและราคะ กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี.

หน้า 97
42 จิตหลุดพ้น (นัยที่ ๓)
-บาลีสฬา. สํ. ๑๘/๑๗๙,๑๘๐/๒๔๖,๒๔๘.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปอันไม่เที่ยงนั่นแหละว่า
ไม่เที่ยง
ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นอยู่
โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ
จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมี
ความสิ้นไปแห่งนันทิ เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ
กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นเสียงอันไม่เที่ยงนั่นแหละ
ว่าไม่เที่ยง … ภิกษุเห็นกลิ่นอันไม่เที่ยงนั่นแหละว่า
ไม่เที่ยง … ภิกษุเห็นรสอันไม่เที่ยงนั่นแหละว่าไม่เที่ยง …
ภิกษุเห็นโผฏฐัพพะอันไม่เที่ยงนั่นแหละว่าไม่เที่ย
ง …

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นธรรมอันไม่เที่ยงนั่นแหละ
ว่าไม่เที่ยง
ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นอยู่
โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ
จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมี
ความสิ้นไปแห่งนันทิ เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ
กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่งรูป
โดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
แห่งรูปตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งรูป
โดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูป
ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในรูป เพราะความสิ้นไป
แห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ เพราะความสิ้นไป
แห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ เพราะความสิ้นไป
แห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่ง
เสียงโดยอุบายอันแยบคาย … เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ใน
ใจซึ่งกลิ่นโดยอุบายอันแยบคาย … เธอทั้งหลายจงกระทำไว้
ในใจซึ่งรสโดยอุบายอันแยบคาย … เธอทั้งหลายจงกระทำ
ไว้ในใจซึ่งโผฏฐัพพะโดยอุบายอันแยบคาย …

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่งธรรม
โดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
แห่งธรรมตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่ง
ธรรมโดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
แห่งธรรมตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในธรรม เพราะ
ความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ เพราะความ
สิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ เพราะความสิ้นไป
แห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี.


หน้า 99
43 จิตที่หลุดพ้นดีแล้ว
-บาลีปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๗๒/๒๐๐.

ภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่พึงพรากได้ (นิสฺสารณิยธาตุ)
๕ ประการนี้ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการถึง
กามทั้งหลาย
จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส
ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย แต่เมื่อ
เธอมนสิการถึงเนกขัมมะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อม
เลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในเนกขัมมะ จิตของเธอนั้น
ชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้น
ดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากกามทั้งหลาย อาสวะ ทุกข์ และความ
เร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะกามเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวย
เวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออก
แห่งกามทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุ มนสิการ
ถึงพยาบาท
จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส
ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อเธอ
มนสิการถึงความไม่พยาบาท จิตของเธอย่อมแล่นไป
ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในความไม่พยาบาท
จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว
ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากพยาบาท
อาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะ
พยาบาทเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์
และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิด
เพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็น การพรากออกแหง่ พยาบาท.

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุ มนสิการถึง
วิหิงสา
(เบียดเบียน)จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส
ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการ
ถึง อวิหิงสา จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่
ย่อมน้อมไปใน อวิหิงสา จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนิน
ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออก
ดีแล้วจาก วิหิงสา อาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด
ย่อมเกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ
ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนา
ที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออก
แห่งวิหิงสา.

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุ มนสิการ
ถึงรูปทั้งหลาย
จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส
ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอ
มนสิการถึงอรูป จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส
ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในอรูป จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็น
จิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว
พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย อาสวะ ทุกข์ และความ
เร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะรูปเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวย
เวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออก
แห่งรูปทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการ
ถึงสักกายะ
จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส
ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อเธอ
มนสิการถึงความดับแห่งสักกายะ จิตของเธอย่อมแล่นไป
ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในความดับแห่งสักกายะ
จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว
ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากสักกายะ
อาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะสักกายะ
เป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์ และความ
เร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น
นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออกแห่งสักกายะ.

ภิกษุทั้งหลาย ความเพลินในกามก็ดี ความเพลินใน
พยาบาทก็ดี ความเพลินในวิหิงสาก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี
ความเพลินในสักกายะก็ดี ย่อมไม่บังเกิดขึ้นแก่เธอ เพราะ
ความเพลินในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลิน
ในวิหิงสาก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี ความเพลินในสักกายะก็ดี
ไม่บังเกิดขึ้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่าเป็นผู้ไม่มีอาลัย ตัดตัณหา
ได้แล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะ
ละมานะได้โดยชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่พึงพรากได้ ประการนี้แล.

หน้า 103
44 ผู้มีจิตอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี
-บาลีทสก. อํ. ๒๔/๓๓/๒๐.

… ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันสงบ
ระงับแล้วเป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละสุข
และทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัส
ก่อนๆ ย่อมบรรลุ จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่สติ
อันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เป็นผู้มีกายสังขารอันสงบระงับแล้ว เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีจิตอันหลุดพ้นแล้ว
ด้วยดีเป็นอย่างไร จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น
ธรรมชาติหลุดพ้นแล้วจากราคะ หลุดพ้นแล้วจากโทสะ
หลุดพ้นแล้วจากโมหะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีจิต
อันหลุดพ้นแล้วด้วยดี เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาอันหลุดพ้นแล้ว
ด้วยดีเป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดว่า ราคะเรา
ละได้แล้ว ตัดรากได้ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มี และมีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ย่อมรู้ชัด
ว่าโทสะเราละได้แล้ว … ย่อมรู้ชัดว่าโมหะเราละได้แล้ว
ตัดรากได้ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี
และมีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี เป็นอย่างนี้แล. …


หน้า 104
45 การเข้าไปหา เป็นความไม่หลุดพ้น
การไม่เข้าไปหา เป็นความหลุดพ้น

-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๖/๑๐๕.

ภิกษุทั้งหลาย การเข้าไปหา เป็นความไม่หลุดพ้น
การไม่เข้าไปหา เป็นความหลุดพ้น.
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูป
ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็น
ที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ
งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนา
ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์
มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึง
ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญา
ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์
มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึง
ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขาร
ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์
มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึง
ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจัก
บัญญัติ การมา การไป การจุติ การอุปบัติ หรือความเจริญ
ความงอกงาม ความไพบูลย์แห่งวิญญาณ โดยเว้นจากรูป
จากเวทนา จากสัญญา จากสังขารดังนี้ ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะ
มีได้.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ
ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุ
ทั้งหลายละได้แล้ว (ราโค ปหีโน) เพราะละราคะนั้นได้ อารมณ์
สำหรับวิญญาณย่อมขาดลง ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี
วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไปเพราะ
ไม่ถูกปรุงแต่ง เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น (ฐิตํ) เพราะตั้งมั่น
ก็ยินดีในตนเอง (สนฺตุสิตํ) เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว
(น ปริตสฺสติ) เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพาน เฉพาะตนนั่นเทียว
เธอย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ ไม่ได้มีอีก.

หน้า106
46 การน้อมใจเพื่อตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๘/๑๐๘.

เมื่อภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี ของเรา
ก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่มี ของเราก็จักไม่มี (โน จสฺส โน จ เม สิยา
น ภวิสฺสติ น เม ภวิสฺสติ) ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่าถ้าเราไม่พึงมี
ของเราก็ไม่พึงมีถ้าเราจักไม่มีของเราก็จักไม่มีดังนี้พึงตัด
โอรัมภาคิยสังโยชน์ได้อย่างไร
พระเจ้าข้า.

ภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำ
ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
ของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ
ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีรูป
ย่อมเห็นรูปในตน ย่อมเห็นตนในรูป
ย่อมตามเห็นเวทนา โดยความเป็นตน
ย่อมตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน
ย่อมตามเห็นสังขาร โดยความเป็นตน

ย่อมตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ
ย่อมเห็นวิญญาณในตน ย่อมเห็นตนในวิญญาณ

เขาย่อมไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง

ไม่ทราบชัดซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันเป็นทุกข์ ตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์

ไม่ทราบชัดซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่า เป็นอนัตตา

ไม่ทราบชัด ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง

ไม่ทราบชัด ตามความเป็นจริงว่า แม้รูป แม้เวทนา
แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักไม่มี.

ภิกษุ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะ
ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำดีในธรรม
ของพระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ได้รับการแนะนำดีในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่พิจารณาเห็น
รูปโดยความเป็นตน

ย่อมไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นตน
ย่อมไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นตน
ย่อมไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นตน
ย่อมไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน

เธอย่อม ทราบชัดซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ
อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง
ย่อมทราบชัดซึ่งรูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ
อันเป็นทุกข์ ตามความเป็นจริง ว่าเป็นทุกข์

ย่อมทราบชัดซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่าเป็น อนัตตา

ย่อมทราบชัดซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง
ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงว่า แม้รูป แม้เวทนา
แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ ก็ไม่มี

ย่อมทราบชัด ตามความเป็นจริงเช่นนั้น เพราะเห็นความ
เป็นต่างๆ แห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.

ภิกษุ เมื่อภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี
ของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่มี ของเราก็จักไม่มีดังนี้
ภิกษุนั้น พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญภิกษุน้อมใจไปอยู่อย่างนี้พึงตัดโอรัม-
ภาคิยสังโยชน์เสียได้ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเมื่อภิกษุรู้อยู่
อย่างไร
เห็นอยู่อย่างไรอาสวะทั้งหลายจึงจะสิ้นไปโดยลำดับ.

ภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็น
พระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการ
แนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของ
สัปบุรุษ ย่อมถึงความสะดุ้ง ในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง ภิกษุ
ก็ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมมีความสะดุ้งดังนี้ว่า ถ้าเรา
ไม่พึงมี ของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่มี ของเราก็จักไม่มี
ดังนี้ ภิกษุ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะ
ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำดีในธรรมของ
พระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ได้รับ
การแนะนำดีในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่ถึงความสะดุ้ง
ในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง ภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ไม่มีความสะดุ้งดังนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี ของเราก็ไม่พึงมี
ถ้าเราจักไม่มี ของเราก็จักไม่มี ดังนี้.

ภิกษุ วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้
เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิ
เป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.
ภิกษุ วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้
เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มี
นันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.
ภิกษุ วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้
เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย
มีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุ วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้
เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มี
นันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.
ภิกษุ ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติ การมา
การไป การจุติ การอุปบัติ หรือความเจริญ ความงอกงาม
ความไพบูลย์แห่งวิญญาณ โดยเว้นจากรูป จากเวทนา
จากสัญญา จากสังขารดังนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ภิกษุ ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ
ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว (ราโค ปหีโน)
เพราะละราคะนั้นได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้ง
แห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม
หลุดพ้นไป เพราะไม่ถูกปรุงแต่ง เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น
เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่
หวั่นไหว เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตนนั่นเทียว
เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้
ไม่ได้มีอีก.

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล
อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.

หน้า 111
47 เหตุให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
-บาลีมหาวาร. สํ. ๑๙/๑๐๕/๓๙๔.

กุณฑลิยปริพพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่ท่าน
พระโคดมผู้เจริญ
ข้าพเจ้าเที่ยวไปในอารามเข้าไปสู่บริษัท
เมื่อข้าพเจ้าบริโภคอาหารเช้าแล้ว ในเวลาปัจฉาภัตข้าพเจ้า
เดินไปเนืองๆ
เที่ยวไปเนืองๆ สู่อารามจากอาราม สู่อุทยาน
จากอุทยาน
ที่นั้นข้าพเจ้าเห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็น
ผู้มีการ เปลื้องวาทะแก่กันและกัน
ว่าอย่างนี้ๆเป็นเครื่องสนุกสนาน
ชอบใจ
(อานิสํ) ก็มีมีการติเตียนกันเมื่อกล่าวกถานั้นๆอยู่
เป็นเครื่องสนุกสนานชอบใจก็มีส่วนท่าน พระโคดมผู้เจริญเล่า
เป็นผู้อยู่ด้วยการ มีอะไรเป็นเครื่องสนุกสนานชอบใจ
.

กุณฑลิยะ ตถาคตอยู่ด้วยการมีวิชชาและวิมุตติเป็นเครื่อง
สนุกสนานชอบใจ (ผลานิสํ). ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ
ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว
ย่อมทำ
วิชชา และวิมุตติให้บริบูรณ์.

กุณฑลิยะ โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.
ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้วย่อมทำโพชฌงค์ทั้งให้บริบูรณ์.

กุณฑลิยะ สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์.
ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้วย่อมทำสติปัฏฐานทั้งให้บริบูรณ์.

กุณฑลิยะ สุจริตทั้ง ๓ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์.
ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้วย่อมทำสุจริตทั้งให้บริบูรณ์.

กุณฑลิยะ อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมทำสุจริตทั้ง ๓ ให้บริบูรณ์ อินทรีย์สังวรอัน
บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมทำสุจริต
ทั้ง ๓ ให้บริบูรณ์ กุณฑลิยะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปที่น่า
พอใจด้วยตาแล้ว ย่อมไม่ยินดี ไม่หวังจะเอามาทะนุถนอม
ไม่ยังความกำหนัดให้เกิด และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่
ตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้วในภายใน

อนึ่ง เธอเห็นรูป ที่ไม่น่าพอใจด้วยตาแล้ว ก็ไม่เสียใจ
ไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยโทสะ (อปฺปติฏฺฐิตจิตฺโต)
มีใจไม่หดหู่ (อาทีนมานโส) มีจิตไม่พยาบาท
(อพฺยาปนฺนเจตโส) และกายของเธอก็คงที่
จิตก็คงที่ ตั้งมั่น ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้วในภายใน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงที่น่าพอใจด้วยหูแล้ว
… ดมกลิ่นที่น่าพอใจด้วยจมูกแล้ว … ลิ้มรสที่น่าพอใจด้วย
ลิ้นแล้ว … ถูกต้องโผฏฐัพพะที่น่าพอใจด้วยกายแล้ว …
รู้ธรรมที่น่าพอใจด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ยินดี ไม่หวังจะเอามา
ทะนุถนอม ไม่ยังความกำหนัดให้เกิด และกายของเธอก็คงที่
จิตก็คงที่ ตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้วในภายใน อนึ่ง เธอ
รู้ธรรมที่ไม่น่าพอใจด้วยใจแล้ว ก็ไม่เสียใจ ไม่มีจิตตั้งอยู่

ด้วยโทสะ มีใจไม่หดหู่ มีจิตไม่พยาบาท และกายของเธอ
ก็คงที่ จิตก็คงที่ ตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้วในภายใน.

กุณฑลิยะ เพราะเหตุที่ภิกษุเห็นรูปด้วยตาแล้ว
ก็เป็นผู้คงที่ มีใจไม่หดหู่ มีจิตไม่พยาบาท ในรูปทั้งหลาย
ทั้งที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ กายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่
เป็นจิตตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้วในภายใน ภิกษุฟังเสียง
ด้วยหูแล้ว … ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว … ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว …
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว … รู้ธรรมด้วยใจแล้ว ก็เป็น
ผู้คงที่ มีใจไม่หดหู่ มีจิตไม่พยาบาท ในธรรมทั้งหลาย ทั้งที่
น่าพอใจและไม่น่าพอใจ กายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่
เป็นจิตตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้วในภายใน กุณฑลิยะ
อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล
ย่อมทำสุจริตทั้ง ๓ ให้บริบูรณ์.

กุณฑลิยะ ก็สุจริตทั้ง ๓ ประการนั้น อันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมทำสติปัฏฐาน
ทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ กุณฑลิยะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ
กายสุจริตเพื่อละกายทุจริต ย่อมเจริญวจีสุจริตเพื่อละวจีทุจริต
ย่อมเจริญมโนสุจริตเพื่อละมโนทุจริต กุณฑลิยะ สุจริต
ทั้ง ๓ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมทำ
สติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์.

กุณฑลิยะ สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์
กุณฑลิยะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย
เนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกออกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาใน
เวทนาทั้งหลายเนืองๆ อยู่ …

ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต เนืองๆ อยู่ …
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเนืองๆ อยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกออกเสียได้ กุณฑลิยะ สติปัฏฐานทั้ง ๔
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมทำ
โพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์.

กุณฑลิยะ โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
กุณฑลิยะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ …
ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ …
ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
กุณฑลิยะ โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้.

หน้า115
48 ความแตกต่างระหว่าง อรหันตสัมมา
สัมพุทธะ
กับภิกษุปัญญาวิมุตติ
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๑/๑๒๕.

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ
ไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นในรูป จึงได้นามว่า สัมมาสัมพุทธะ
ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา (ปญฺญาวิมุตฺโต)
ก็หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ
ไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นในรูป จึงได้นามว่า ปัญญาวิมุตติ.

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ
ไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นในเวทนา ... เพราะไม่ยึดมั่นในสัญญา
... เพราะไม่ยึดมั่นในสังขาร จึงได้นามว่า สัมมาสัมพุทธะ
ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา ก็หลุดพ้นแล้ว
เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับไม่เหลือ
เพราะไม่ยึดมั่นในสังขาร จึงได้นามว่า ปัญญาวิมุตติ.

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ
ไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นในวิญญาณ จึงได้นามว่า สัมมาสัมพุทธะ
ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา ก็หลุดพ้นแล้ว
เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับไม่เหลือ
เพราะไม่ยึดมั่นในวิญญาณ จึงได้นามว่า ปัญญาวิมุตติ.

ภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นจะมีอะไรเป็นความผิดแผก
แตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเหตุที่
แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะกับภิกษุ
ปัญญาวิมุตติ. …

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้
ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรคที่กล่าว
กันแล้ว ตถาคตเป็นผู้รู้มรรค (มคฺคญฺญู) เป็นผู้รู้แจ้งมรรค
(มคฺควิทู) เป็นผู้ฉลาดในมรรค (มคฺคโกวิโท)

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสาวกทั้งหลายในบัดนี้ เป็นผู้เดิน
ตามมรรค (มคฺคานุคา) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง
ภิกษุทั้งหลาย นี้แหละเป็นความ ผิดแผกแตกต่างกัน
เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็น เหตุที่แตกต่างกัน
ระหว่างตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุปัญญาวิมุตติ.