เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  จิต มโน วิญญาณ   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  04 of 5  
  จิต มโน วิญญาณ    ที่มา : http://watnapp.com/book  
     
    สารบัญ หน้า  
  วิญญาณ” 169  
  72 . วิญญาณ ไม่ใช่สิ่งที่ท่องเที่ยว 170  
  73 . วิญญาณ ไม่เที่ยง 178  
  74 . วิญญาณ เป็นสิ่งที่เกิดดับ 184  
  75 . วิญญาณเป็นอนัตตา 186  
  76 . ผลของผัสสะ 187  
  77 . วิญญาณาหาร (อาหารของวิญญาณ) 193  
  “สังขตะ-อสังขตะ” 195  
  78 . ลักษณะของสังขตะ-อสังขตะ 196  
  79 . สังขตธาตุ-อสังขตธาตุ 198  
  80 . ธรรมชาติที่ไม่ถูกอะไรทำ ไม่ถูกอะไรปรุง 201  
  81 . ที่ซึ่ง นามรูป ดับสนิทไม่มีเหลือ 203  
  82 . สิ่งนั้นมีอยู่ 206  
  83 . ชื่อว่านิพพาน อันบุคคลเห็นได้ยาก 207  
  84 . นิพพานของคนตาบอด 208  
  85 . ยืนคนละที่ เห็นคนละแบบ (นัยที่ ๑) 213  
  86 . ยืนคนละที่ เห็นคนละแบบ (นัยที่ ๒) 218  
  87 . อุปาทานและที่ตั้งแห่งอุปาทาน 221  
  88 . ขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ 223  
  89 . มูลรากของอุปาทานขันธ์ 226  
  90 . อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ไม่ใช่อย่างเดียวกัน 227  
  91 . สัญโญชน์และที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ 228  
       
 
 






วิญญาณ”

หน้า 170
72 วิญญาณ ไม่ใช่สิ่งที่ท่องเที่ยว
-บาลีมู. . ๑๒/๔๗๕/๔๔๒.

สาติ ได้ยินว่าเธอมีทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า
วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป หาใช่
สิ่งอื่นไม่ดังนี้ จริงหรือ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่าวิญญาณนี้แหละย่อมแล่นไปย่อม
ท่องเที่ยวไปหาใช่สิ่งอื่นไม่ดังนี้จริง.

สาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญสภาวะที่พูดได้รับรู้ได้ย่อมเสวยวิบาก
ของกรรมทั้งหลายทั้งส่วนดีทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆนั่นเป็นวิญญาณ.
โมฆบุรุษ เธอรู้ทั่วถึงธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแล้ว
แก่ใครเล่า โมฆบุรุษ วิญญาณเป็น ปฏิจจสมุปปันนธรรม
(สิ่งที่อาศัยปัจจัยแล้วเกิดขึ้น) เราได้กล่าวแล้วโดยอเนกปริยาย
ถ้าเว้นจากปัจจัยแล้ว ความเกิดขี้นแห่งวิญญาณย่อมไม่มี
ดังนี้ไม่ใช่หรือ โมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่
เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสบสิ่งไม่ใช่บุญเป็นอันมากด้วย
เพราะ ทิฏฐิ ที่ตนถือชั่วแล้ว โมฆบุรุษ ก็ความเห็นนั้นของเธอ
จักเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูลแก่เธอตลอดกาลนาน.

ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นว่า
อย่างไร ภิกษุสาติเกวัฏฏบุตรนี้ จะเป็นผู้ทำความเจริญใน
ธรรมวินัยนี้ได้บ้างหรือไม่.

ข้อนี้จะมีได้อย่างไรข้อนี้มีไม่ได้เลยพระเจ้าข้า.

เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้วภิกษุสาติเกวัฏฏบุตรนั่งนิ่ง
เก้อเขินคอตกก้มหน้าซบเซาไม่มีปฏิภาณพระผู้มีพระภาคทอด
พระเนตรเห็นดังนั้นแล้วได้ตรัสว่า

โมฆบุรุษ เธอจะปรากฏด้วยทิฏฐิอันชั่วนั้นของตนเอง
เราจักสอบถามภิกษุทั้งหลายในที่นี้.

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่เรา
แสดงแล้วเหมือนสาติภิกษุ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย
จะประสบสิ่งไม่ใช่บุญเป็นอันมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่ว
แล้วดังนี้ใช่ไหม.

ข้อนี้ไม่มีเลย พระเจ้าข้า เพราะวิญญาณอาศัยปัจจัยแล้วเกิดขึ้น
พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแก่พวกข้าพระองค์ โดยอเนกปริยาย ถ้าเว้นจากปัจจัยแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณย่อมไม่มี.

ภิกษุทั้งหลาย ดีละ พวกเธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดง
อย่างนี้ถูกแล้ว ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยแล้วเกิดขึ้น
เราได้กล่าวแล้วโดยอเนกปริยาย ถ้าเว้นจากปัจจัยแล้ว ความ
เกิดขึ้นแห่งวิญญาณไม่ได้มี  ก็แต่ภิกษุสาติเกวัฏฏบุตรนี้
กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสบสิ่งไม่ใช่บุญเป็น
อันมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ความเห็นนั้นของ
โมฆบุรุษนั้น จักเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูลแก่เธอ
ตลอดกาลนาน.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น
ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ วิญญาณอาศัยจักษุและรูป
ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าจักษุวิญญาณ วิญญาณอาศัย
โสตะ และ เสียงทั้งหลายเกิดขึ้นก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ
วิญญาณ อาศัยฆานะ และกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า
ฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น
ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกาย และ
โผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ
วิญญาณอาศัยมโนและธรรมทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับ
ว่า มโนวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น
ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ ไฟอาศัยไม้ติดขึ้น ก็ถึงความนับ
ว่าไฟไม้ ไฟอาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟป่า ไฟอาศัย
หญ้าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟหญ้า ไฟอาศัยโคมัยติดขึ้น
ก็ถึงความนับว่าไฟโคมัย ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น ก็ถึงความนับ
ว่าไฟแกลบ ไฟอาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟ
หยากเยื่อ ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นก็เหมือนกัน วิญญาณอาศัย
ปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ วิญญาณ
อาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุ-
วิญญาณ วิญญาณอาศัย โสตะ และเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น
ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ วิญญาณอาศัย ฆานะ และกลิ่น
ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัย
ชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ชิวหาวิญญาณ
วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความ
นับว่า กายวิญญาณ วิญญาณอาศัยมโนและธรรมทั้งหลาย
เกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อมเห็นความเกิดขึ้น
ของสิ่งนี้ (ภูตมิทํ)1 หรือไม่.

เห็น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้น
เพราะอาหาร อย่างนั้นใช่ไหม.

เห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า สิ่งนั้น
มีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหาร อย่างนั้น
ใช่ไหม.
1. บาลีคำนี้มีสำนวนแปลอย่างอื่นอีกเช่นขันธปัญจกะ,
ขันธ์๕เป็นต้น. -ผู้รวบรวม


เห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย ความสงสัยและความเคลือบแคลง
ย่อมเกิดขึ้นว่า สิ่งนี้มีอยู่หรือไม่มี อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย ความสงสัยและความเคลือบแคลง
ย่อมเกิดขึ้นว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้นเพราะอาหาร อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย ความสงสัยและความเคลือบแคลง
ย่อมเกิดขึ้นว่า สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับ
แห่งอาหาร อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้น
เสียได้ อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้นเพราะอาหาร ย่อมละความ
สงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้ อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงว่า สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะ
ความดับแห่งอาหาร ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้
อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้ง หลายหมดความสงสัยในข้อ
ที่ว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วเพราะเหตุอย่างนี้ๆ ใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อ
ที่ว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้นเพราะอาหาร อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อ
ที่ว่า สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหาร
อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้ว อย่างนั้นใช่ไหม.
เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้นเพราะอาหาร อย่างนั้น
ใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงว่า สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะ
ความดับแห่งอาหาร อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย หากว่าเธอทั้งหลาย พึงติดอยู่
(อลฺลีเยถ) เพลิดเพลินอยู่ (เกฬาเยถ) ปรารถนาอยู่ (ธเนยฺยาถ)
ยึดถือว่าเป็นของเราอยู่ (มมาเยถ) ซึ่งทิฏฐิอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง
อย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงรู้ทั่วถึงธรรมที่เปรียบได้กับพ่วงแพ
อันเราแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในการสลัดออก ไม่ใช่แสดงแล้ว
เพื่อให้ยึดถือไว้ อย่างนั้นใช่ไหม.

ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย หากว่าเธอทั้งหลาย ไม่ติดอยู่
(น อลฺลีเยถ) ไม่เพลิดเพลินอยู่ (น เกฬาเยถ) ไม่ปรารถนาอยู่
(น ธเนยฺยาถ) ไม่ยึดถือว่าเป็นของเราอยู่ (น มมาเยถ) ซึ่งทิฏฐิอัน
บริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงรู้ทั่วถึงธรรมที่เปรียบ
ได้กับพ่วงแพอันเราแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในการสลัดออก
ไม่ใช่แสดงแล้ว เพื่อให้ยึดถือไว้ อย่างนั้นใช่ไหม.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

(จากนั้นทรงแสดงเรื่องอาหาร ๔, ปฏิจจสมุปบาท และธรรมอื่น
อีกหลายประการ ผู้อ่านสามารถศึกษาได้จากเนื้อความเต็มของ
พระสูตรนี้. -ผู้รวบรวม)

หน้า 178
73 วิญญาณ ไม่เที่ยง
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๘๕/๑๒๔.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยส่วนสอง
วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยส่วนสองเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย จักษุวิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัย
จักษุและรูป จักษุไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยน
เป็นอย่างอื่น รูปทั้งหลายไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ
เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้ หวั่นไหวและอาพาธ
ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น
จักษุวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็น
อย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณ
ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ก็จักษุวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัย
ปัจจัยอันไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความ
พร้อมกันแห่งธรรมทั้ง ๓ ประการนี้แล เรียกว่าจักษุสัมผัส
ถึงจักษุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยน
เป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุสัมผัส
ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ก็จักษุสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัย
ปัจจัยอันไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลอันผัสสะ1กระทบแล้วย่อม
รู้สึก (เวเทติ) อันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด (เจเตติ) อันผัสสะ
กระทบแล้วย่อมจำได้หมายรู้ (สัญชานาติ) แม้ธรรมเหล่านี้
ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยน
เป็นอย่างอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย โสตวิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัย
โสตะ และเสียง โสตะไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ
เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เสียงทั้งหลายไม่เที่ยง มีความแปรปรวน
มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น … ก็โสตวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว
เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความ
พร้อมกันแห่งธรรมทั้ง ๓ ประการนี้แล เรียกว่าโสตสัมผัส
ถึงโสตสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยน
เป็นอย่างอื่น

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลอันผัสสะกระทบแล้วย่อม
รู้สึก อันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด อันผัสสะกระทบแล้วย่อม
จำได้หมายรู้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น.
1. ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับผัสสะได้ที่หน้า 28 และ 187. –ผู้รวบรวม

ภิกษุทั้งหลาย ฆานวิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัย
ฆานะ และกลิ่น ฆานะไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ
เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น กลิ่นทั้งหลายไม่เที่ยง มีความแปรปรวน
มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น … ก็ฆานวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว
เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความ
พร้อมกันแห่งธรรมทั้ง ๓ ประการนี้แล เรียกว่าฆานสัมผัส
ถึงฆานสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยน
เป็นอย่างอื่น

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลอันผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก
อันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด อันผัสสะกระทบแล้วย่อม
จำได้หมายรู้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหว และอาพาธ ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัย
ชิวหาและรส ชิวหาไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ
เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น รสทั้งหลายไม่เที่ยง มีความแปรปรวน
มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น … ก็ชิวหาวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว
เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมกัน
แห่งธรรมทั้ง ๓ ประการนี้แล เรียกว่าชิวหาสัมผัส
ถึงชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ
เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลอันผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก
อันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด อันผัสสะกระทบแล้วย่อม
จำได้หมายรู้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย กายวิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัย
กายและโผฏฐัพพะ กายไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ
เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น โผฏฐัพพะทั้งหลายไม่เที่ยง มีความ
แปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น … ก็กายวิญญาณ
ที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยง
ได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความ
พร้อมกันแห่งธรรมทั้ง ๓ ประการนี้แล เรียกว่ากายสัมผัส
ถึงกายสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยน
เป็นอย่างอื่น

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลอันผัสสะกระทบแล้วย่อม
รู้สึก อันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด อันผัสสะกระทบแล้วย่อม
จำได้หมายรู้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย มโนวิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัย
ใจและธรรม ใจไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยน
เป็นอย่างอื่น ธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง มีความแปรปรวน
มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้ หวั่นไหว
และอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็น
อย่างอื่น มโนวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ
เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
มโนวิญญาณ ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยน
เป็นอย่างอื่น ภิกษุทั้งหลาย ก็มโนวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว
เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความ
พร้อมกันแห่งธรรม ๓ ประการนี้แล เรียกว่ามโนสัมผัส
ถึงมโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็น
อย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัส
ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ก็มโนสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัย
ปัจจัยอันไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลอันผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก
อันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด อันผัสสะกระทบแล้วย่อม
จำได้หมายรู้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหว และอาพาธ ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น.


74 วิญญาณ เป็นสิ่งที่เกิดดับ
-บาลีนิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๖/๒๓๕.

ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จะพึงเบื่อหน่าย
ได้บ้าง คลายกำหนัดได้บ้าง หลุดพ้นได้บ้าง ในร่างกายอัน
เป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อม
ก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุม
แห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ เพราะเหตุนั้น ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับ จึงเบื่อหน่ายได้บ้าง จึงคลายกำหนัดได้บ้าง
จึงหลุดพ้นได้บ้าง ในร่างกายนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า จิตบ้าง มโนบ้าง
วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจ
จะคลายกำหนัด ไม่อาจจะหลุดพ้นจากสิ่งนั้นได้เลย ข้อนั้น
เพราะเหตุอะไร ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุว่า สิ่งที่
เรียกกันว่า จิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ได้รวบรัดถือ
ไว้ด้วยตัณหา ได้ยึดถือแล้วด้วยทิฏฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา
นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ มาตลอดกาลช้านาน เพราะเหตุนั้น
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลาย
กำหนัด ไม่อาจจะหลุดพ้น ซึ่งสิ่งที่เรียกกันว่า จิตบ้าง
มโนบ้าง
วิญญาณบ้างนั้นได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือ
เอาร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ โดยความ
เป็นตัวตนยังดีกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิต โดยความเป็น
ตัวตนไม่ดีเลย ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้น
เพราะเหตุว่า ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง
สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง
ร้อยปีบ้าง เกินกว่าร้อยปีบ้าง ก็ยังมีปรากฏอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้างนั้น ดวงหนึ่ง
เกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวันตลอดคืน. …
(เนื้อความเต็มของสูตรนี้ผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
หน้า 2. -ผู้รวบรวม)



หน้า 186
75 วิญญาณเป็นอนัตตา
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๓/๑๒๘.

… ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นอนัตตา ก็หากว่า
วิญญาณนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ วิญญาณก็คงไม่เป็นไปเพื่อ
อาพาธ ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความปรารถนาในวิญญาณว่า
ขอวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
แต่เพราะเหตุที่วิญญาณเป็นอนัตตา ดังนั้น วิญญาณจึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์ย่อมไม่ได้ตามความปรารถนา
ในวิญญาณว่า ขอวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้
เป็นอย่างนั้นเลย. …
(ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเป็นอนัตตาของขันธ์๕ได้ที่หน้า 244.
-ผู้รวบรวม



หน้า 187
76 ผลของผัสสะ
-บาลีมู. . ๑๒/๒๒๖/๒๔๘.

(พระผู้มีพระภาคได้แสดงธรรมโดยย่อภิกษุทั้งหลายไม่เข้าใจ
เนื้อความจึงได้ไปขอร้องท่านมหากัจจายนะให้อธิบายธรรมนั้น
ซึ่งภายหลังพระผู้มีพระภาคทรงรับรองคำตอบของท่านมหา
กัจจายนะ
)ผู้มีอายุทั้งหลายผมรู้ถึงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มี
พระภาค
ทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดย
พิสดารนี้ให้พิสดาร
ได้อย่างนี้.

ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัยตาและรูป จึงเกิด
จักขุวิญญาณ ความประกอบพร้อมแห่งธรรม ประการ
จึงเกิดผัสสะ1 เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา บุคคล
เสวยเวทนาอันใด ก็ย่อมจำ (สญฺชานาติ) เวทนาอันนั้น บุคคล
จำเวทนาอันใด ก็ตรึกถึง (วิตกฺเกติ) เวทนาอันนั้น บุคคล
ตรึกถึงเวทนาอันใด ก็เนิ่นช้า (ปปญฺเจติ) อยู่กับเวทนาอันนั้น
บุคคลเนิ่นช้าอยู่กับเวทนาอันใด สัญญาชนิดต่างๆ อันทำ
ความเนิ่นช้า (ปปญฺจสญฺญาสงฺขา) ก็ครอบงำบุคคลนั้น
โดยมีเวทนานั้นเป็นเหตุ ในรูปทั้งหลายอันจะรู้แจ้งด้วยตา
ทั้งที่เป็นอดีตก็ตาม เป็นอนาคตก็ตาม หรือเป็นปัจจุบันก็ตาม.

ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัยหูและเสียง จึงเกิด
โสตวิญญาณ ความประกอบพร้อมแห่งธรรม ประการ
จึงเกิดผัสสะ ...
1. ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับผัสสะได้ที่หน้า 28 และ 17 8. -ผู้รวบรวม

ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น จึงเกิด
ฆานวิญญาณ ความประกอบพร้อมแห่งธรรม ประการ
จึงเกิดผัสสะ ...

ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัยลิ้นและรส จึงเกิด
ชิวหาวิญญาณ ความประกอบพร้อมแห่งธรรม ประการ
จึงเกิดผัสสะ ...

ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ
จึงเกิดกายวิญญาณ ความประกอบพร้อมแห่งธรรม
ประการ จึงเกิดผัสสะ ...

ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิด
มโนวิญญาณ ความประกอบพร้อมแห่งธรรม ประการ
จึงเกิดผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา บุคคล
เสวยเวทนาอันใด ก็ย่อมจำเวทนาอันนั้น บุคคลจำเวทนา
อันใด ก็ตรึกถึงเวทนาอันนั้น บุคคลตรึกถึงเวทนาอันใด
ก็เนิ่นช้าอยู่กับเวทนาอันนั้น บุคคลเนิ่นช้าอยู่กับเวทนาอันใด
สัญญาชนิดต่างๆ อันทำความเนิ่นช้าก็ครอบงำบุคคลนั้น
โดยมีเวทนานั้นเป็นเหตุ ในธรรมทั้งหลายอันจะรู้แจ้ง ได้ด้วยใจ
ทั้งที่เป็นอดีตก็ตาม เป็นอนาคตก็ตาม หรือเป็นปัจจุบันก็ตาม.

ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อตามี รูปมี และจักขุวิญญาณมี
เขาจะบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการ
บัญญัติผัสสะมี เขาจะบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะ
มีได้ เมื่อการบัญญัติเวทนามี เขาจะบัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้
เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติสัญญามี เขาจะบัญญัติ
ว่าวิตก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติวิตกมี เขาจะ
บัญญัติว่าการครอบงำโดยสัญญาชนิดต่างๆ อันทำความ
เนิ่นช้า ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อหูมี เสียงมี และโสตวิญญาณมี
เขาจะบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ...
ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อจมูกมี กลิ่นมี และฆานวิญญาณมี
เขาจะบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ...
ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อลิ้นมี รสมี และชิวหาวิญญาณมี
เขาจะบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ...
ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกายมี โผฏฐัพพะมี และ
กายวิญญาณมี เขาจะบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้เป็นฐานะ
ที่จะมีได้ ...

ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใจมี ธรรมมี และมโน-
วิญญาณมี เขาจะบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
เมื่อการบัญญัติผัสสะมี เขาจะบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้เป็น

ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติเวทนามี เขาจะบัญญัติว่า
สัญญา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติสัญญามี
เขาจะบัญญัติว่าวิตก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติ
วิตกมี เขาจะบัญญัติว่าการครอบงำโดยสัญญาชนิดต่างๆ
อันทำความเนิ่นช้า ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อตาไม่มี รูปไม่มี และ
จักขุวิญญาณไม่มี เขาจะบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะ
ที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะไม่มี เขาจะบัญญัติว่าเวทนา
ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติเวทนาไม่มี เขาจะ
บัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติ
สัญญาไม่มี เขาจะบัญญัติว่าวิตก ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
เมื่อการบัญญัติวิตกไม่มี เขาจะบัญญัติว่าการครอบงำ􀄁โดย
สัญญาชนิดต่างๆ อันทำ􀄁ความเนิ่นช้า ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะ
ที่จะมีได้.

ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อหูไม่มี เสียงไม่มี และ
โสตวิญญาณไม่มี ...

ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อจมูกไม่มี กลิ่นไม่มี และ
ฆานวิญญาณไม่มี ...

ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อลิ้นไม่มี รสไม่มี และชิวหา
วิญญาณไม่มี ...
191
ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกายไม่มี โผฏฐัพพะไม่มี
และกายวิญญาณไม่มี ...

ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใจไม่มี ธรรมไม่มี และ
มโนวิญญาณไม่มี เขาจะบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะ
ที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะไม่มี เขาจะบัญญัติว่าเวทนา
ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติเวทนาไม่มี เขาจะ
บัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติ
สัญญาไม่มี เขาจะบัญญัติว่าวิตก ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
เมื่อการบัญญัติวิตกไม่มี เขาจะบัญญัติว่าการครอบงำโดย
สัญญาชนิดต่างๆ อันทำ􀄁ความเนิ่นช้า ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะ
ที่จะมีได้.

ผู้มีอายุทั้งหลายพระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้ไว้โดยย่อว่า
ภิกษุ สัญญาชนิดต่างๆ อันทำความเนิ่นช้า ย่อม
ครอบงำบุรษุ เพราะเหตุใด ถ้าสิ่งที่บุคคลจะเพลิด เพลิน พร่ำถึง
สยบมัวเมา ไม่มีในเหตุนั้น นั่นแหละ เป็นที่สุดแห่ง ราคานุสัย
เป็นที่สุดแห่ง ปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่ง ทิฏฐานุสัย เป็นที่สุด
แห่ง วิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่ง มานานุสัย เป็นที่สุดแห่ง
ภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่ง อวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับ

ท่อนไม้ การจับศาสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
การด่าว่ากัน การยุยงให้แตกกัน และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรม
อันเป็นบาปเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่มีเหลือเพราะเหตุนั้น
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดารเสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่
ประทับเสีย
ผู้มีอายุทั้งหลายผมรู้ถึงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงแสดง
ไว้โดยย่อนี้ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้
โดยพิสดาร
ให้พิสดารได้อย่างนี้ก็แลเมื่อท่านทั้งหลาย
ปรารถนา
ก็พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อ
ความนั้น
พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ประการใดท่าน
ทั้งหลายพึง
ทรงจำข้อนั้นไว้โดยประการนั้นเถิด.


หน้า 193
77 วิญญาณาหาร (อาหารของวิญญาณ)
-บาลีนิทาน. สํ. ๑๖/๑๒๑/๒๔๔.

ภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณาหารจะพึงเห็นได้อย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน พวกเจ้าหน้าที่จับโจรผู้กระทำผิด
ได้แล้ว แสดงแก่พระราชาว่า ขอเดชะ ด้วยโจรผู้นี้กระทำผิด
ขอพระองค์โปรดให้ลงโทษโจรผู้นี้ ตามที่ทรงเห็นสมควรเถิด
พระเจ้าข้าพระราชาจึงมีรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงไปประหารบุรุษนั้น ด้วยหอก ๑๐๐ เล่ม
ในเวลาเช้านี้ พวกเจ้าหน้าที่เหล่านั้น จึงช่วยกันประหารนักโทษ
คนนั้น ด้วยหอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเช้า.

ต่อมาเป็นเวลาเที่ยงวัน พระราชาได้ซักถามพวก
เจ้าหน้าที่เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย นักโทษคนนั้น
เป็นอย่างไรบ้าง พวกเขาพากันกราบทูลว่า ขอเดชะ เขายังมี
ชีวิตอยู่ พระเจ้าข้า พระราชาจึงมีรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงไปประหารบุรุษนั้น ด้วยหอก
๑๐๐ เล่มในเวลาเที่ยงวัน พวกเจ้าหน้าที่เหล่านั้น จึงช่วยกัน
ประหารนักโทษคนนั้น ด้วยหอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเที่ยงวัน.

ต่อมาเป็นเวลาเย็น พระราชาได้ซักถามพวก
เจ้าหน้าที่เหล่านั้นอีกว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย นักโทษคนนั้น
เป็นอย่างไรบ้าง พวกเขาพากันกราบทูลว่า ขอเดชะ เขายังมี
ชีวิตอยู่ พระเจ้าข้า พระราชาจึงมีรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงไปประหารบุรุษนั้น ด้วยหอก
๑๐๐ เล่มในเวลาเย็น พวกเจ้าหน้าที่เหล่านั้น จึงช่วยกัน
ประหารนักโทษคนนั้น ด้วยหอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเย็น.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่า
อย่างไร การที่บุรุษนักโทษคนนั้น เมื่อถูกเจ้าหน้าที่ประหาร
อยู่ด้วยหอก ๓๐๐ เล่มตลอดทั้งวันนั้น เขาจะพึงได้รับแต่
ทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ไม่ใช่หรือ.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาถูกประหารอยู่แม้ด้วยหอก
เพียงเล่มเดียว ก็พึงได้รับทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ
จะป่วยการกล่าวไปไยถึงการที่เขาถูกประหารอยู่ด้วยหอก
๓๐๐ เล่มเล่า ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า
พึงเห็นวิญญาณาหาร ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้วิญญาณาหาร
ได้แล้ว นามรูปก็เป็นสิ่งที่กำหนดรู้ได้แล้ว เมื่ออริยสาวก
กำหนดรู้นามรูปได้แล้ว เรากล่าวว่า ไม่มีสิ่งใดที่อริยสาวกนั้น
จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้.
(ผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมเรื่องอาหาร๔ได้ที่เนื้อความเต็ม
ของสูตรนี้และที่หน้า 30 . -ผู้รวบรวม)




หน้า 195
“สังขตะ-อสังขตะ”

78 ลักษณะของสังขตะ-อสังขตะ
-บาลีติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖.

ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตะ ๓ ประการ
เหล่านี้ ๓ ประการอะไรบ้าง คือ
มีความเกิดขึ้นปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ)
มีความเสื่อมปรากฏ (วโย ปญฺญายติ)
เมื่อตั้งอยู่มีความแปรปรวนปรากฏ (ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ
ปญฺญายติ)ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล สังขตลักษณะของสังขตะ
๓ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตะ
๓ ประการเหล่านี้ ๓ ประการอะไรบ้าง คือ
ไม่ปรากฏความเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ)
ไม่ปรากฏความเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ)
เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน (น ฐิตสฺส
อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ)

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อสังขตลักษณะของอสังขตะ
๓ ประการ.

พระสูตรนี้มีบาลีอย่างนี้
ตีณีมานิ ภิกฺขเว สงฺขตสฺส สงฺขตลกฺขณานิ กตมานิ
ตีณิ อุปฺปาโท ปญฺญายติ วโย ปญฺญายติ ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ
ปญฺญายติ อิมานิ โข ภิกฺขเว ตีณิ สงฺขตสฺส สงฺขตลกฺขณานีติ.
ตีณีมานิ ภิกฺขเว อสงฺขตสฺส อสงฺขตลกฺขณานิ กตมานิ
ตีณิ น อุปฺปาโท ปญฺญายติ น วโย ปญฺญายติ น ฐิตสฺส
อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ อิมานิ โข ภิกฺขเว ตีณิ อสงฺขตสฺส
อสงฺขตลกฺขณานีติ.


หน้า 198
79 สังขตธาตุ-อสังขตธาตุ
-บาลีอุปริ. . ๑๔/๑๖๗/๒๓๗.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญก็ปริยายอื่นที่ควรเรียกว่าภิกษุเป็น
ผู้ฉลาดในธาตุจะพึงมีอีกไหมพระเจ้าข้า.

อานนท์ ธาตุ อย่างนี้มีอยู่ คือ สังขตธาตุ และ
อสังขตธาตุ อานนท์ เหล่านี้แลธาตุ ๒ อย่าง อานนท์
ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เราจึงเรียกว่า
ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในธาตุ.
(ในพระสูตรนี้ได้ตรัสเกี่ยวกับเรื่องธาตุไว้หลายนัยดังนี้)
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญก็จะควรเรียกว่าภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรพระเจ้าข้า.


อานนท์ ธาตุ ๑๘ อย่างเหล่านี้มีอยู่ คือ ธาตุคือจักษุ
ธาตุคือรูป ธาตุคือจักษุวิญญาณ ธาตุคือโสตะ ธาตุคือเสียง
ธาตุคือโสตวิญญาณ ธาตุคือฆานะ ธาตุคือกลิ่น ธาตุคือ
ฆานวิญญาณ ธาตุคือชิวหา ธาตุคือรส ธาตุคือชิวหาวิญญาณ
ธาตุคือ กาย ธาตุคือโผฏฐัพพะ ธาตุคือกายวิญญาณ ธาตุคือ
มโน ธาตุคือธรรม ธาตุคือมโนวิญญาณ อานนท์ เหล่านี้แล
ธาตุ ๑๘ อย่าง

อานนท์ ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่
อย่างนี้ เราจึงเรียกว่า ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในธาตุ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญก็ปริยายอื่นที่ควรเรียกว่าภิกษุเป็น
ผู้ฉลาดในธาตุจะพึงมีอีกไหมพระเจ้าข้า.

อานนท์ ธาตุ ๖ อย่างเหล่านี้มีอยู่ คือ ธาตุคือดิน
ธาตุคือน้ำ ธาตุคือไฟ ธาตุคือลม ธาตุคืออากาศ ธาตุคือ
วิญญาณ อานนท์ เหล่านี้แลธาตุ ๖ อย่าง อานนท์ ด้วยเหตุ
ที่ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เราจึงเรียกว่า ภิกษุเป็น
ผู้ฉลาดในธาตุ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญก็ปริยายอื่นที่ควรเรียกว่าภิกษุเป็น
ผู้ฉลาดในธาตุจะพึงมีอีกไหมพระเจ้าข้า.

อานนท์ ธาตุ ๖ อย่างเหล่านี้มีอยู่ คือ ธาตุคือสุข
ธาตุคือทุกข์ ธาตุคือโสมนัส ธาตุคือโทมนัส ธาตุคืออุเบกขา
ธาตุคืออวิชชา อานนท์ เหล่านี้แลธาตุ ๖ อย่าง อานนท์
ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เราจึงเรียกว่า
ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในธาตุ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญก็ปริยายอื่นที่ควรเรียกว่าภิกษุเป็น
ผู้ฉลาดในธาตุจะพึงมีอีกไหมพระเจ้าข้า.

อานนท์ ธาตุ ๖ อย่างเหล่านี้มีอยู่ คือ ธาตุคือกาม
ธาตุคือเนกขัมมะ ธาตุคือพยาบาท ธาตุคืออัพยาบาท
(ความไม่พยาบาท) ธาตุคือวิหิงสา (ความเบียดเบียน) ธาตุคือ
อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน) อานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๖ อย่าง
อานนท์ ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เราจึง
เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในธาตุ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญก็ปริยายอื่นที่ควรเรียกว่าภิกษุเป็น
ผู้ฉลาดในธาตุจะพึงมีอีกไหมพระเจ้าข้า.

อานนท์ ธาตุ ๓ อย่างเหล่านี้มีอยู่ คือ ธาตุคือกาม
ธาตุคือรูป ธาตุคืออรูป อานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๓ อย่าง
อานนท์ ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เราจึง

เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในธาตุ


หน้า 201
80 ธรรมชาติที่ไม่ถูกอะไรทำ ไม่ถูกอะไรปรุง
-บาลีอุ. ขุ. ๒๕/๒๐๗/๑๖๐.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว
อันปัจจัยกระทำ ไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้วมีอยู่ ภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัย
กระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัด
ออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว
ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว
ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว
มีอยู่ ดังนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว
อันปัจจัยกระทำ􀄁แล้ว ปรุงแต่งแล้วจึงปรากฏ.

พระสูตรนี้มีบาลีอย่างนี้
อตฺถิ ภิกฺขเว อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ โน เจ ตํ
ภิกฺขเว อภวิสฺส อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ นยิธ ชาตสฺส ภูตสฺส
กตสฺส สงฺขตสฺส นิสฺสรณํ ปญฺญาเยถ.
ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว อตฺถิ อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ
ตสฺมา ชาตสฺส ภูตสฺส กตสฺส สงฺขตสฺส นิสฺสรณํ ปญฺญายตีติ.
อีกสูตรหนึ่ง -บาลีอิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๕๘/๒๒๑. ตรัสเหมือนกัน
กับสูตรข้างบนนี้แต่ได้ตรัสช่วงท้ายต่างไปดังนี้.


ใครๆ ไม่ควรเพลิดเพลิน ต่อสิ่งที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว
เกิดขึ้นพร้อมแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว ไม่ยั่งยืน
ปรุงแต่งเพื่อชราและมรณะ เป็นรังแห่งโรค เป็นของผุพัง
มีอาหารและตัณหา เป็นแดนเกิด.

การสลัดออกซึ่งธรรมชาตินั้น เป็นบทอันระงับ
จะคาดคะเนเอาไม่ได้ เป็นของยั่งยืน ไม่เกิด ไม่เกิดขึ้นพร้อม
ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี เป็นความดับแห่งสิ่งที่มีความทุกข์
เป็นธรรมดา เป็นความเข้าไปสงบรำงับแห่งสังขาร เป็นสุข.


หน้า 203
81 ที่ซึ่ง นามรูป ดับสนิทไม่มีเหลือ
-บาลีสี. ที. /๒๗๗/๓๔๓.

เกวัฏฏะ เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ในหมู่
ภิกษุนี้เอง เกิดความสงสัยขึ้นในใจว่า มหาภูต ๔ คือ ธาตุ
ดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เหล่านี้ ย่อมดับสนิทไม่มีเหลือ
ในที่ไหนหนอ ดังนี้.

(พระผู้พระภาคได้ตรัสต่อไปว่า ภิกษุรูปนั้นได้เข้าสมาธิ
อันนำไปสู่เทวโลก แล้วได้นำเอาปัญหาที่ตนสงสัยนั้น
ไปถามพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา พวกเทวดาชั้นจาตุ
มหาราชิกาไม่ทราบ ได้ให้ไปถามท้าวมหาราชทั้ง ๔
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ไม่ทราบ ได้ให้ไปถามพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์

พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ไม่ทราบ ได้ให้ไปถามท้าวสักกะ
ท้าวสักกะไม่ทราบ ได้ให้ไปถามพวกเทวดาชั้นยามา
พวกเทวดาชั้นยามาไม่ทราบ ได้ให้ไปถามท้าวสุยามะ
ท้าวสุยามะไม่ทราบ ได้ให้ไปถามพวกเทวดาชั้นดุสิต
พวกเทวดาชั้นดุสิตไม่ทราบ ได้ให้ไปถามท้าวสันตุสิตะ

ท้าวสันตุสิตะไม่ทราบ ได้ให้ไปถามพวกเทวดาชั้นนิมมานรดี
พวกเทวดา ชั้นนิมมานรดีไม่ทราบ ได้ให้ไปถามท้าวสุนิมมิตะ
ท้าวสุนิมมิตะไม่ทราบ ได้ให้ไปถามพวกเทวดาชั้นปรินิมมิตวสวัตตี
พวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตีไม่ทราบ ได้ให้ไปถามท้าวปรนิมมิตวสวัตตี
ท้าวปรนิมมิตวสวัตตี ไม่ทราบ ได้ให้ไปถามพวกเทวดาพรหมกายิกา

พวกเทวดาพรหมกายิกา ไม่ทราบ ได้ให้ไปถามท้าวมหาพรหม
เมื่อไปถามท้าวมหาพรหม ท้าวมหาพรหมพยายามหลีกเลี่ยง
บ่ายเบี่ยงที่จะไม่ตอบอยู่พักหนึ่ง แล้ว ในที่สุดก็ได้สารภาพว่า
พวกเทวดาทั้งหลายพากันคิดว่า ท้าวมหาพรหมเอง

เป็นผู้รู้เห็นไปทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ที่จริงก็ไม่รู้ในปัญหาที่ว่า
มหาภูต ๔ จักดับไปในที่ไหนนั้นเลย มันเป็นความผิดพลาด
ของภิกษุนั้นเอง ที่ไม่ไป ทูลถามพระผู้มีพระภาค).

เกวัฏฏะ ลำดับนั้น ภิกษุนั้นได้หายตัวจากพรหมโลก
มาปรากฏข้างหน้าเรา เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียด
แขนที่งออยู่ออกไป หรืองอแขนที่เหยียดไว้เข้ามา จากนั้น
เธอไหว้เราแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วถามเราว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาภูต ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ
ธาตุลม เหล่านี้ ย่อมดับสนิทไม่มีเหลือในที่ไหน ดังนี้.

เกวัฏฏะ เมื่อเธอถามอย่างนี้ เราได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า
แน่ะภิกษุ เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกค้าทางทะเล ได้พานก
สำหรับค้นหาฝั่ง (นกตีรทัสสี) ไปกับเรือด้วย เมื่อมองไม่เห็นฝั่ง
พวกเขาปล่อยนกสำหรับค้นหาฝั่งนั้นไป นกนั้นบินไปทาง
ทิศตะวันออกบ้าง ทิศใต้บ้าง ทิศตะวันตกบ้าง ทิศเหนือบ้าง
ทิศเบื้องบนบ้าง ทิศน้อยๆ บ้าง

เมื่อมันเห็นฝั่งทางทิศใด แล้วมันก็จะบินตรงไปยังทิศนั้น
แต่ถ้ามันไม่เห็นฝั่ง ก็จะบิน กลับมาสู่เรือตามเดิม
ภิกษุ เช่นเดียวกับเธอนั้นแหละ ได้เที่ยว แสวงหา
คำตอบของปัญหานี้ มาจนกระทั่งถึงพรหมโลกแล้ว
ก็ไม่ได้คำตอบ ในที่สุดก็ยังต้องย้อนมาหาเราอีก.

ภิกษุ ในปัญหาของเธอนั้น เธอไม่ควรตั้งคำถาม
อย่างนั้นว่า มหาภูต ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
เหล่านี้ ย่อมดับสนิทไม่มีเหลือในที่ไหน อันที่จริง เธอควร
จะตั้งคำถามขึ้นอย่างนี้ว่า
ดิน น้ำ ไฟ ลม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน ความยาว
ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ย่อม
ตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน นามและรูป ย่อมดับสนิทไม่มีเหลือใน
ที่ไหน ดังนี้ ต่างหาก.

ภิกษุ ในปัญหานั้น คำตอบมีดังนี้
สิ่งอันพึงรู้แจ้ง ไม่มีปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด แต่มี
ทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบ นั้นมีอยู่ ในสิ่งนั้นแหละ ดิน
น้ำ ไฟ ลม ตั้งอยู่ไม่ได้ ในสิ่งนั้นแหละ ความยาว ความสั้น
ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ตั้งอยู่ไม่ได้
ในสิ่งนั้นแหละ นามและรูปย่อมดับสนิทไม่มีเหลือ นามรูป
ดับสนิทในสิ่งนี้ เพราะการดับสนิทของวิญญาณ ดังนี้.

เนื้อความในย่อหน้าสุดท้ายมีบาลีอย่างนี้
วิญฺญาณํ อนิทสฺสนํ อนนฺตํ สพฺพโต ปภํ เอตฺถ อาโป
จ ปฐวี จ เตโช วาโย น คาธติ เอตฺถ ทีฆญฺจ รสฺสญฺจ อนน ถูลํ
สุภาสุภํ เอตฺถ นามญฺจ รูปญฺจ อเสสํ อุปรุชฺฌติ วิญฺญาณสฺส
นิโรเธน เอตฺเถตํ อุปรุชฺฌตีติ.


หน้า 206
82 สิ่งนั้นมีอยู่
-บาลีอุ. ขุ. ๒๕/๒๐๖/๑๕๘.

ภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่1 เป็นสิ่งซึ่งไม่มี
ดิน ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ ไม่มีลม ไม่ใช่อากาสานัญจายตนะ
ไม่ใช่วิญญาณัญจายตนะ ไม่ใช่อากิญจัญญายตนะ ไม่ใช่
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่โลกอื่น ไม่ใช่
ดวงจันทร์ หรือดวงอาทิตย์ทั้งสองอย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ในสิ่งนั้น เราไม่กล่าวว่ามีการมา
ไม่กล่าวว่ามีการไป ไม่กล่าวว่ามีการตั้งอยู่ ไม่กล่าวว่ามีการจุติ
ไม่กล่าวว่ามีการอุปบัติ สิ่งนั้นไม่ได้ตั้งอยู่ สิ่งนั้นไม่ได้เป็นไป
และสิ่งนั้นไม่ใช่อารมณ์ นั่นแหละ คือ ที่สุดแห่งทุกข์.

พระสูตรนี้มีบาลีอย่างนี้
อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ ยตฺถ เนว ปฐวี น อาโป
น เตโช น วาโย น อากาสานญฺจายตนํ น วิญฺญาณญฺจายตนํ
น อากิญฺจญฺญายตนํ น เนวสญฺญานาสญฺญายตนํ นายํ โลโก
น ปรโลโก น อุโภ จนฺทิมสุริยา.
ตมหํ ภิกฺขเว เนว อาคตึ วทามิ น คตึ น ฐิตึ น จุตึ
น อุปปตฺตึ อปฺปติฏฺฐํ อปฺปวตฺตํ อนารมฺมณเมว ตํ เอเสวนฺโต
ทุกฺขสฺสาติ.
1. คำนี้มีสำนวนแปลอย่างอื่นอีกเช่นสิ่งๆนั้นมีอยู่เป็นต้น. -ผู้รวบรวม


หน้า 207
83 ชื่อว่านิพพาน อันบุคคลเห็นได้ยาก
-บาลีอุปริ. . ๑๔/๔๗๘/๗๕๑.,
-
บาลีอุ. ขุ. ๒๕/๒๐๗,๒๐๘/๑๕๙,๑๖๑.

ชื่อว่านิพพานอันบุคคลเห็นได้ยาก ไม่มีความน้อมไป
เพราะว่านิพพานนั้น เป็นธรรมชาติจริงแท้ อันบุคคลเห็น
ไม่ได้ง่ายเลย ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว เพราะรู้อยู่
เห็นอยู่ จึงไม่มีกิเลสเครื่องกังวล.

ความหวั่นไหวย่อมมีแก่บุคคลผู้อันตัณหา และทิฏฐิ
อาศัยแล้ว ความหวั่นไหวย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้อันตัณหา
และทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ปัสสัทธิย่อมมี
เมื่อปัสสัทธิมี ความน้อมไปย่อมไม่มี เมื่อความน้อมไป
ไม่มี การมาและการไปย่อมไม่มี เมื่อการมาและการไปไม่มี
การจุติและอุปบัติย่อมไม่มี เมื่อการจุติและอุปบัติไม่มี
อะไรๆ ก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่ง
โลกทั้งสอง นั่นแหละ คือ ที่สุดแห่งทุกข์.

ใน ๓ พระสูตรนี้ มีบาลีอย่างนี้
ทุทฺทสํ อนตํ นาม น หิ สจฺจํ สุทสฺสนํ ปฏิวิทฺธา ตณฺหา
ชานโต ปสฺสโต นตฺถิ กิญฺจนนฺติ.
นิสฺสิตสฺส จลิตํ อนิสฺสิตสฺส จลิตํ นตฺถิ จลิเต อสติ
ปสฺสทฺธิ ปสฺสทฺธิยา สติ นติ น โหติ นติยา อสติ อาคติคติ น
โหติ อาคติคติยา อสติ จุตูปปาโต น โหติ จุตูปปาเต อสติ
เนวิธ น หุรํ น อุภยมนฺตเร เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺสาติ.


หน้า 208
84 นิพพานของคนตาบอด
-บาลี ม. ม. ๑๓/๒๘๑/๒๘๗.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแต่ก่อน
คือข้อที่พระสมณโคดมได้กล่าวคำ นี้ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอ
ย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ข้าพเจ้าก็ได้เคย ฟังคำ กล่าวนี้ ของปริพพาชกผู้เป็นอาจารย์
แห่งอาจารย์กล่าวอยู่ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้ ด้วยเหมือนกัน
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้อนี้ช่างตรงกันนัก.

มาคัณฑิยะ ข้อนี้ท่านฟังมาแต่ปริพพาชกผู้เป็น
อาจารย์แห่งอาจารย์ ที่กล่าวอยู่ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภ
อย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้นั้น ความไม่มีโรคนั้น
เป็นอย่างไร นิพพานนั้นเป็นอย่างไร.

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพพาชก ได้ลูบ
ร่างกายของตนด้วยฝ่ามือ แล้วร้องขึ้นว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
นี่ยังไงล่ะความไม่มีโรค นี่ยังไงล่ะนิพพาน พระโคดมผู้เจริญ
เวลานี้ ข้าพเจ้าเป็นสุขไม่มีโรค ไม่มีอาพาธอะไรๆ.

มาคัณฑิยะ ข้อนี้เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่ กำเนิด
เขาไม่อาจเห็นรูปสีดำ หรือสีขาว ไม่อาจเห็นรูปสีเขียว
ไม่อาจเห็นรูปสีเหลือง ไม่อาจเห็นรูปสีแดง ไม่อาจเห็นรูป
สีชมพู ไม่อาจเห็นพื้นที่อันสม่ำเสมอหรือขรุขระ ไม่อาจ
เห็นดวงดาว ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์
เขาได้ยินคนตาดี กล่าวอยู่ว่า

ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวเนื้อดี สะอาด ไม่มีมลทิน
งดงามนักหนอ บุรุษตาบอดนั้นก็เที่ยวแสวงหาผ้าขาว บุรุษ
คนหนึ่งลวงเขาด้วยผ้าเก่าเปื้อนเขม่าว่า บุรุษผู้เจริญ นี้ผ้าขาว
เนื้อดี สะอาด ไม่มีมลทิน งดงามนัก สำหรับท่าน บุรุษ
ตาบอดนั้น รับผ้านั้นมาห่ม แล้วพูดออกมาด้วยความดีใจว่า
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย นี้ผ้าขาวเนื้อดี สะอาด ไม่มีมลทิน
งดงามนักหนอ ดังนี้.

มาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร
บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้นเป็นผู้รู้อยู่เห็นอยู่ แล้วรับเอาผ้าเก่า
เปื้อนเขม่านั้นมาห่ม และพูดออกมาด้วยความดีใจว่า
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย นี้ผ้าขาวเนื้อดี สะอาด ไม่มีมลทิน
งดงามนักหนอ ดังนี้ หรือว่าเขาพูดอย่างนั้น
เพราะเชื่อคนตาดี ที่ลวงเขา.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้นเป็นผู้ไม่รู้
ไม่เห็น แล้วก็รับเอาผ้าเก่าเปื้อนเขม่านั้นมาห่ม และพูดออกมา
ด้วยความดีใจว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย นี้ผ้าขาวเนื้อดี สะอาด
ไม่มีมลทิน งดงามนักหนอ ดังนี้ ที่เขาพูดเช่นนั้น
เพราะเชื่อคนตาดีที่ลวงเขาเท่านั้น.

มาคัณฑิยะ ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ปริพพาชก
เดียรถีย์เหล่าอื่นเป็นคนบอดไม่มีจักษุ ไม่รู้จักความไม่มีโรค
ไม่เห็นนิพพาน เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ยังมากล่าวคาถานี้ว่า ความ
ไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้.

มาคัณฑิยะ คาถานี้ เป็นคาถาที่พระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อน กล่าวกันแล้วว่า
ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุข
อย่างยิ่งทางมีองค์ เป็นทางอันเกษมกว่าทางทั้งหลาย
ซึ่งเป็นเครื่องให้ถึงอมตะ ดังนี้นั้น บัดนี้ ได้มากลายเป็น
คาถาของปุถุชนกล่าวไปเสียแล้ว.

มาคัณฑิยะ กายนี้แหละเป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี
เป็นดังลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ ท่านก็มา
กล่าวซึ่งกายนี้ที่เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร
เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ ว่าเป็นความไม่มีโรค
เป็นนิพพาน มาคัณฑิยะ อริยจักษุสำหรับจะรู้จักความ
ไม่มีโรค จะเห็นนิพพานของท่านไม่มี …

ข้าพระองค์เลื่อมใสต่อท่านพระโคดมผู้เจริญอย่างนี้แล้ว
ขอท่านพระโคดมผู้เจริญ โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์
โดยประการที่ข้าพระองค์จะรู้จักความไม่มีโรคและเห็นนิพพานได้.

มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด
เขาไม่อาจเห็นรูปสีดำหรือสีขาว ไม่อาจเห็นรูปสีเขียว ไม่อาจ
เห็นรูปสีเหลือง ไม่อาจเห็นรูปสีแดง ไม่อาจเห็นรูปสีชมพู
ไม่อาจเห็นพื้นที่อันสม่ำเสมอหรือขรุขระ ไม่อาจเห็นดวงดาว
ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ เขาได้ยินคนตาดีกล่าวอยู่ว่า
ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวเนื้อดี สะอาด ไม่มีมลทิน งดงามนักหนอ
บุรุษตาบอดนั้นก็เที่ยวแสวงหาผ้าขาว บุรุษคนหนึ่งลวงเขา
ด้วยผ้าเก่าเปื้อนเขม่าว่า บุรุษผู้เจริญ นี้ผ้าขาวเนื้อดี สะอาด
ไม่มีมลทิน งดงามนัก สำหรับท่าน บุรุษตาบอดนั้น รับผ้านั้น
มาห่มแล้ว.

ในกาลต่อมา มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขา
เชิญแพทย์ผ่าตัดผู้ชำนาญมารักษา แพทย์นั้นทำยาอันถ่าย
โทษในเบื้องบน ถ่ายโทษในเบื้องล่าง ยาหยอด ยากัดและ
ยานัตถุ์ เขาอาศัยยานั้นแล้วจึงมองเห็นได้ ชำระตาให้ใสได้
พร้อมกับการที่มีตาดีขึ้นนั้น เขาย่อมละความรักใคร่พอใจ
ในผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่าเสียได้ เขาจะพึงเบียดเบียนบุรุษ

ที่ลวงเขานั้น โดยความเป็นศัตรู โดยความเป็นข้าศึก และจะ
สำคัญว่าควรปลงชีวิตบุรุษนั้นด้วยความแค้น โดยกล่าวว่า
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เราถูกบุรุษนี้คดโกง หลอกลวง
ปลิ้นปลอกด้วยผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่า มานานหนักหนอ โดย
หลอกเราว่า บุรุษผู้เจริญ นี้แหละเป็นผ้าขาวเนื้อดี เป็นของ
งดงาม ปราศจากมลทิน เป็นผ้าสะอาดสำหรับท่าน ดังนี้.

มาคัณฑิยะ ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าเรา
แสดงธรรมแก่ท่านว่า อย่างนี้เป็นความไม่มีโรค อย่างนี้
เป็นนิพพาน ดังนี้ ท่านจะรู้จักความไม่มีโรค จะพึงเห็น
นิพพานได้ ก็ต่อเมื่อท่านละความกำหนัดด้วยอำนาจความ
พอใจ (ฉนฺทราโค) ในอุปาทานขันธ์ทั้ง เสียได้ พร้อมกับการ
เกิดขึ้นแห่งจักษุของท่าน อนึ่ง ความรู้สึกจะพึงเกิดขึ้น
แก่ท่านว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราถูกจิตนี้คดโกง
หลอกลวง ปลิ้นปลอก มานานนักหนอ จึงเราเมื่อยึดมั่น
ก็ยึดมั่นเอาแล้ว ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร
และซึ่งวิญญาณ นั่นเทียว.

เพราะความยึดมั่น (อุปาทาน) ของเรานั้นเป็นปัจจัย
จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็น
ปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะ
ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์
ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.


หน้า 213
85 ยืนคนละที่ เห็นคนละแบบ (นัยที่ ๑)
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๖๒/๓๙๒.

… อัคคิเวสสนะ ราชกุมารนั้นจะพึงได้ประโยชน์จาก
ความที่เธอกล่าวแล้วแต่ที่ไหน ความข้อนั้น อันบุคคลจะพึงรู้
พึงเห็น พึงบรรลุ พึงกระทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ
แต่เพราะชยเสนราชกุมารยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม
ยังถูกกามวิตกเคี้ยวกิน ยังถูกความเร่าร้อนเพราะกาม
แผดเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากามอยู่ แล้วจะรู้ จะเห็น
หรือจะกระทำให้แจ้งซึ่งความข้อนั้น นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้.

อัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนคู่แห่งช้างที่ควรฝึก
หรือคู่แห่งม้าที่ควรฝึก หรือคู่แห่งโคที่ควรฝึก คู่หนึ่งที่ถูก
ฝึกดี ถูกแนะนำดีแล้ว ส่วนอีกคู่หนึ่งไม่ได้ถูกฝึก ไม่ได้ถูก
แนะนำ อัคคิเวสสนะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร
คู่แห่งช้างที่ควรฝึก หรือคู่แห่งม้าที่ควรฝึก หรือคู่แห่งโค
ที่ควรฝึก ที่ถูกฝึกดีแล้ว ถูกแนะนำดีแล้วนั้น จะพึงถึงเหตุ
แห่งสัตว์ที่ฝึกแล้ว1 พึงบรรลุภูมิแห่งสัตว์ที่ฝึกแล้วใช่ไหม
ใช่ พระเจ้าข้า.

1. ประโยคนี้มาจากคำบาลีที่ว่าทนฺตาวทนฺตการณํคจฺเฉยฺยุํ
ซึ่งมีสำนวนแปลอย่างอื่นอีกเช่นจึงเลียนเหตุการณ์ที่ฝึกแล้ว,
จะเรียนรู้เหตุการณ์ที่ผู้ฝึกฝึกแล้ว เป็นต้น. -ผู้รวบรวม


ส่วนคู่แห่งช้างที่ควรฝึก หรือคู่แห่งม้าที่ควรฝึก หรือ
คู่แห่งโคที่ควรฝึก ที่ไม่ได้รับการฝึก ไม่ได้รับการแนะนำนั้น
จะพึงถึงเหตุแห่งสัตว์ที่ฝึกแล้ว พึงบรรลุภูมิแห่งสัตว์ที่ฝึกแล้ว
เหมือนอย่างคู่ที่ฝึกดีแล้วแนะนำดีแล้วนั้นได้ไหม.
ไม่ได้เลยพระเจ้าข้า.

อัคคิเวสสนะ ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ความข้อนั้น
อันบุคคลจะพึงรู้ พึงเห็น พึงบรรลุ พึงกระทำให้แจ้งกันได้
ด้วยเนกขัมมะ แต่เพราะชยเสนราชกุมารยังอยู่ท่ามกลางกาม
ยังบริโภคกาม ยังถูกกามวิตกเคี้ยวกิน ยังถูกความเร่าร้อน
เพราะกามแผดเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากามอยู่
แล้วจะรู้ จะเห็น หรือจะกระทำให้แจ้งซึ่งความข้อนั้น
นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้.

อัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนมีภูเขาใหญ่ อยู่ไม่ห่าง
ไกลจากหมู่บ้านหรือนิคม มีสหาย ๒ คนออกจากหมู่บ้าน
หรือนิคมเพื่อไปยังภูเขาลูกนั้น แล้วก็จูงมือกันเข้าไปยัง
ที่ภูเขานั้นตั้งอยู่ ครั้นแล้ว สหายคนหนึ่ง ยืนอยู่ที่เชิงภูเขา
ด้านล่าง สหายอีกคนหนึ่งขึ้นไปยังข้างบนภูเขา สหายคนที่ยืน
อยู่ที่เชิงภูเขาด้านล่าง เอ่ยถามสหายผู้ยืนอยู่ข้างบนภูเขานั้น
อย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน เท่าที่เพื่อนยืนอยู่ข้างบนภูเขานั้น
เพื่อนเห็นอะไรบ้าง สหายคนนั้นตอบอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย
เรายืนอยู่ข้างบนภูเขาแล้ว มองเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ มองเห็น
ป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ มองเห็นภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ และมองเห็น
สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์.

สหายผู้ที่อยู่ด้านล่างกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน
นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสเลย ที่เพื่อนเมื่อยืนอยู่ข้างบน
ภูเขาแล้ว จะมองเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ จะมองเห็นป่าไม้
อันน่ารื่นรมย์ จะมองเห็นภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หรือจะมองเห็น
สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์.

สหายผู้ที่ยืนอยู่ข้างบนภูเขา จึงลงมายังเชิงเขาด้านล่าง
แล้วจูงแขนสหายคนนั้น ให้ขึ้นไปข้างบนภูเขาลูกนั้น พักให้
หายเหนื่อยกันครู่หนึ่งแล้ว ได้เอ่ยถามสหายคนนั้นว่า
แน่ะเพื่อน เท่าที่เพื่อนยืนอยู่ข้างบนภูเขาแล้ว เพื่อนเห็น
อะไร สหายคนนั้นตอบอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย เรายืนอยู่ข้างบน
ภูเขาแล้ว มองเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ มองเห็นป่าไม้อัน
น่ารื่นรมย์ มองเห็นภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ และมองเห็น
สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์.

สหายผู้ที่ขึ้นไปก่อนกล่าวว่า แน่ะเพื่อน เราพึ่ง
เข้าใจคำที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย นั่นไม่ใช่ฐานะ
ไม่ใช่โอกาสเลย ที่เพื่อนเมื่อยืนอยู่ข้างบนภูเขาแล้ว จะมองเห็น
สวนอันน่ารื่นรมย์ จะมองเห็นป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ จะมองเห็น
ภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หรือจะมองเห็นสระโบกขรณีอัน
น่ารื่นรมย์เดี๋ยวนี้เอง.

และสหายผู้ที่ขึ้นไปทีหลังนั้นกล่าวว่า แน่ะเพื่อน
เราก็เพิ่งเข้าใจคำที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย เรายืน
อยู่ข้างบนภูเขาแล้ว มองเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ มองเห็น
ป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ มองเห็นภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ และมองเห็น
สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์เดี๋ยวนี้เหมือนกัน.

สหายผู้ที่ขึ้นไปก่อนกล่าวอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย
แท้จริงแล้ว เราถูกภูเขาลูกใหญ่นี้กั้นไว้ จึงมองไม่เห็นสิ่งที่
ควรเห็น.

อัคคิเวสสนะ ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชยเสน
ราชกุมาร ถูกกองอวิชชาที่ใหญ่ยิ่งกว่าภูเขาลูกนั้นกั้นไว้
ปิดบังไว้ รึงรัดไว้ ห่อหุ้มไว้แล้ว ชยเสนราชกุมารนั้น
อยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ยังถูกกามวิตกเคี้ยวกิน
ยังถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา ยังขวนขวายในการ
แสวงหากามอยู่ แล้วจะรู้ จะเห็น หรือจะกระทำให้แจ้งซึ่ง
ความข้อนั้น อันบุคคลจะพึงรู้ พึงเห็น พึงบรรลุ พึงกระทำ
ให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้.

อัคคิเวสสนะ ถ้าอุปมา ๒ ข้อที่น่าอัศจรรย์นี้ เธอพึง
ทำให้แจ่มแจ้งแก่ชยเสนราชกุมารได้ ชยเสนราชกุมารก็จะ
เลื่อมใสเธอ และเมื่อเลื่อมใสแล้ว ก็จะทำอาการของบุคคล
ผู้เลื่อมใสต่อเธอ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์จะอธิบายอุปมาข้อที่
น่าอัศจรรย์ที่ข้าพระองค์ยังไม่เคยได้ฟังมาก่อนให้แจ่มแจ้งแก่
ชยเสนราชกุมารเหมือนพระผู้มีพระภาคได้อย่างไรเล่าพระเจ้าข้า. ...
ในย่อหน้าสุดท้ายมีบาลีอย่างนี้

สเจ โข ตํ อคฺคิเวสฺสน ชยเสนสฺส ราชกุมารสฺส อิมา
เทฺว อุปมา ปฏิภาเสยฺยุํ อนจฺฉริยนฺเต1 ชยเสโน ราชกุมาโร
ปสีเทยฺย ปสนฺโน จ เต ปสนฺนาการํ กเรยฺยาติ.
กุโต ปน มํ ภนฺเต ชยเสนสฺส ราชกุมารสฺส อิมา
เทฺว อุปมา ปฏิภาสิสฺสนฺติ อนจฺฉริยา ปุพฺเพ อสฺสุตปุพฺพา
เสยฺยถาปิ ภควนฺตนฺติ.

1. บาลีคำนี้นิยมแปลกันว่าน่าอัศจรรย์โดยแปลตามนัยฎีกา
สารตถทีปนีภาค๑หน้า๕๓๐ซึ่งแก้ไว้ว่าอนุอจฺฉริยาติ. -ผู้รวบรวม



หน้า 218
86 ยืนคนละที่ เห็นคนละแบบ (นัยที่ ๒)
-บาลีมหาวาร. สํ. ๑๙/๒๙๐/๙๗๖.

ภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้วเป็น
พละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้วเป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่ ปริยายที่
อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้วเป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้วเป็น
อินทรีย์ ๕ เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็น
สัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใด
เป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ
สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ
สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์ สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์
สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็น
สมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ
สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำซึ่งไหลไปทางทิศ
ตะวันออก หลั่งไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทางทิศตะวันออก
ที่ตรงกลางแม่น้ำนั้นมีเกาะ ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น
อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวมีอยู่ อนึ่ง
ปริยายที่กระแสแห่ง แม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า
สองกระแสมีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น
อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวเป็นอย่างไร
คือน้ำในที่สุดด้านตะวันออก และในที่สุดด้านตะวันตกแห่ง
เกาะนั้น ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึง
ซึ่งความนับว่ากระแสเดียว.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น
อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสเป็นอย่างไร
คือน้ำในที่สุดด้านเหนือ และในที่สุดด้านใต้แห่งเกาะนั้น
ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึง
ซึ่งความนับว่าสองกระแส.

ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดฉันนั้นก็เหมือนกัน
สิ่งใด เป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้น เป็นสัทธาพละ
สิ่งใด เป็นสัทธาพละ สิ่งนั้น เป็นสัทธินทรีย์
สิ่งใด เป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้น เป็น วิริยพละ
สิ่งใด เป็นวิริยพละ สิ่งนั้น เป็นวิริยินทรีย์
สิ่งใด เป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้น เป็นสติพละ
สิ่งใด เป็นสติพละ สิ่งนั้น เป็นสตินทรีย์
สิ่งใด เป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ
สิ่งใด เป็น สมาธิพละ สิ่งนั้น เป็น สมาธินทรีย์
สิ่งใด เป็น ปัญญินทรีย์ สิ่งนั้น เป็นปัญญาพละ
สิ่งใด เป็นปัญญาพละ สิ่งนั้น เป็น ปัญญินทรีย์.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ อันตนเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุจึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะไม่ได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.


หน้า 221
87 อุปาทานและที่ตั้งแห่งอุปาทาน
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๒/๓๐๙.

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง
อุปาทานและอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานเป็น
อย่างไร และอุปาทานเป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย รูป เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป ชื่อว่าอุปาทาน.

ภิกษุทั้งหลาย เวทนา เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง
อุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในเวทนา
ชื่อว่าอุปาทาน.

ภิกษุทั้งหลาย สัญญา เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง
อุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัญญา
ชื่อว่าอุปาทาน.

ภิกษุทั้งหลาย สังขาร เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง
อุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสังขาร
ชื่อว่าอุปาทาน.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง
อุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในวิญญาณ
ชื่อว่าอุปาทาน.

ภิกษุทั้งหลาย ขันธ์เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้ง
แห่งอุปาทาน ฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ)
นี้เรียกว่าอุปาทาน.
(ในสูตรอื่นทรงแสดงอุปาทานิยธรรมด้วยอายตนะภายในหก
-บาลีสฬา. สํ. ๑๘/๑๑๐/๑๖๐. และอายตนะภายนอกหก
-บาลีสฬา. สํ.๑๘/๑๓๖/๑๙๐. -ผู้รวบรวม)



หน้า 223
88 ขันธ์ และอุปาทานขันธ์
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๘/๙๕.

ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕
เธอทั้งหลายจงฟัง.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ขันธ์ ๕ เป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่
ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า รูปขันธ์.

ภิกษุทั้งหลาย เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็น
อดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก
ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ใน
ที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์.

ภิกษุทั้งหลาย สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็น
อดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก
ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ใน
ที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์.

ภิกษุทั้งหลาย สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็น
อดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก
ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ใน
ที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า สังขารขันธ์.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็น
อดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก
ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ใน
ที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ .

ภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่
ไกลหรือใกล้ก็ตาม อันเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัย
แก่อุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือรูป.

ภิกษุทั้งหลาย เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็น
อดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก
ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม
อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม อันเป็นไปกับด้วยอาสวะ
เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือเวทนา.

เปิดธรรมที่ถูกปิด : จิต มโน วิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็น
อดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก
ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม
อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม อันเป็นไปกับด้วยอาสวะ
เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือสัญญา.

ภิกษุทั้งหลาย สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็น
อดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก
ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม
อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม อันเป็นไปกับด้วยอาสวะ
เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือสังขาร.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็น
อดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก
ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม
อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม อันเป็นไปกับด้วยอาสวะ
เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ .


หน้า 226
89 มูลรากของอุปาทานขันธ์
-บาลีอุปริ. . ๑๔/๑๐๑/๑๒๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อุปาทานขันธ์มีอยู่ประการนี้เท่านั้น
ใช่ไหมคืออุปาทานขันธ์คือรูปอุปาทานขันธ์คือเวทนาอุปาทานขันธ์
คือสัญญาอุปาทานขันธ์คือสังขารอุปาทานขันธ์คือวิญญาณพระเจ้าข้า.
ภิกษุ อุปาทานขันธ์ มีอยู่ ๕ ประการนี้เท่านั้น คือ
อุปาทานขันธ์คือรูป
อุปาทานขันธ์คือเวทนา

อุปาทานขันธ์คือสัญญา
อุปาทานขันธ์คือสังขาร

อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญก็อุปาทานขันธ์ เหล่านี้มีอะไรเป็น
มูลรากพระเจ้าข้า.

ภิกษุ อุปาทานขันธ์ เหล่านี้ มีฉันทะ (ความพอใจ)
เป็นมูลราก (ฉนฺทมูลกา).1
1. ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่มีฉันทะเป็นมูลได้ที่หน้า 292. -ผู้รวบรวม.


หน้า 227
90 อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ไม่ใช่อย่างเดียวกัน
-บาลีอุปริ. . ๑๔/๑๐๑/๑๒๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญอุปาทานกับอุปาทานขันธ์นั้น
เป็นอย่างเดียวกันหรือว่าอุปาทานเป็นอย่างอื่นไม่ใช่อุปาทานขันธ์
พระเจ้าข้า.

ภิกษุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ นั้น ไม่ใช่
อย่างเดียวกัน แต่อุปาทานนั้นก็ไม่ได้มีอยู่ในที่อื่น นอกไป
เสียจากอุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุ ความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความพอใจ (ฉันทราคะ) ในอุปาทานขันธ์ นั่นแหละ นี้เป็น
ตัวอุปาทาน.

หน้า 228
91 สัญโญชน์และที่ตั้งแห่งสัญโญชน์
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๒/๓๐๘.

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง
สัญโญชน์และสัญโญชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์เป็น
อย่างไร และสัญโญชน์เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย รูป เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป ชื่อว่าสัญโญชน์.
ภิกษุทั้งหลาย เวทนา เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง
สัญโญชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในเวทนา
ชื่อว่าสัญโญชน์.

ภิกษุทั้งหลาย สัญญา เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง
สัญโญชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัญญา
ชื่อว่าสัญโญชน์.

ภิกษุทั้งหลาย สังขาร เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง
สัญโญชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสังขาร
ชื่อว่าสัญโญชน์.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง
สัญโญชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน
วิญญาณ ชื่อว่าสัญโญชน์.

ภิกษุทั้งหลาย ขันธ์เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้ง
แห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ)
นี้เรียกว่าสัญโญชน์.
(ในสูตรอื่นทรงแสดงสัญโญชนิยธรรมด้วยอายตนะภายในหก
-บาลีสฬา. สํ. ๑๘/๑๑๐/๑๕๙. และอายตนะภายนอกหก
-บาลีสฬา. สํ.๑๘/๑๓๕/๑๘๙. -ผู้รวบรวม)