เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ                   

  จิต มโน วิญญาณ   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  03 of 5  
  จิต มโน วิญญาณ    ที่มา : http://watnapp.com/book  
     
    สารบัญ หน้า  
  มโน 117  
  49 . มโน คือ ส่วนแห่งอายตนะภายใน 118  
  50 . อกุศลธรรม-กุศลธรรม มีมโนเป็นหัวหน้า 120  
  51 . ธรรมทั้งหลาย มีมโนเป็นหัวหน้า 121  
  52 . มโนสังขาร (นัยที่ ๑) 123  
  53 . มโนสังขาร (นัยที่ ๒) 125  
  54 . มโนวิตก 127  
  55 . กรรม ๔ แบบ (นัยที่ ๑) 129  
  56 . กรรม ๔ แบบ (นัยที่ ๒) 132  
  57 . กรรม ๔ แบบ (นัยที่ ๓) 134  
  58 . กรรม ๔ แบบ (นัยที่ ๔) 136  
  59 . กรรม ๔ แบบ (นัยที่ ๕) 138  
  60 . การได้อัตภาพ 140  
  61 . เหตุให้เจริญไม่เสื่อม (อปริหานิยธรรม) 145  
  62 . เหตุให้ระลึกถึง รัก เคารพ ไม่วิวาท และพร้อมเพรียงกัน (สาราณียธรรม) 147  
  63 . เหตุแห่งความแตกแยก 149  
  64 . ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจย่อมมี 151  
  65 . คนพาล-บัณฑิต (นัยที่ ๑) 153  
  66 . คนพาล-บัณฑิต (นัยที่ ๒) 155  
  67 . คนพาล-บัณฑิต (นัยที่ ๓) 157  
  68 . คนพาล-บัณฑิต (นัยที่ ๔) 158  
  69 . ผลของกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ-สม่ำเสมอ 159  
  70 . ผลของกรรมที่ไม่สะอาด-สะอาด 160  
  71 . ความไม่สะอาด-ความสะอาดทางกาย วาจา และใจ 161  
       
 
 





“มโน”

หน้า 118
49 มโน คือ ส่วนแห่งอายตนะภายใน
-บาลีอุปริ. . ๑๔/๑๖๘,๔๐๐/๒๔๓,๖๑๙.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญก็จะควรเรียกว่าภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ
ด้วยเหตุเท่าไร.
… อานนท์ อายตนะภายในและอายตนะภายนอกนี้
มีอย่างละ คือ จักษุและรูป โสตะและเสียง ฆานะและ
กลิ่น ชิวหาและรส กายและโผฏฐัพพะ มโนและธรรม
อานนท์ เหล่านี้แล อายตนะภายในและอายตนะภายนอก
อย่างละ ๖ และด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้
จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ. …

… ภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวแล้วดังนี้ว่า พึงทราบ
อายตนะภายใน นั้น เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่า ภิกษุ
ทั้งหลาย ข้อนั้นเรากล่าวหมายถึง อายตนะคือจักษ
อายตนะคือโสตะ อายตนะคือฆานะ อายตนะคือชิวหา
อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวแล้วดังนี้ว่า พึงทราบ
อายตนะภายนอก นั้น เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่าภิกษุ
ทั้งหลาย ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง อายตนะคือรูป อายตนะคือ
เสียง อายตนะคือกลิ่น อายตนะคือรส อายตนะคือ
โผฏฐัพพะ อายตนะคือธรรม ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ
อายตนะภายนอก ๖ นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว. …

หน้า 120
50 อกุศลธรรม-กุศลธรรม มีมโนเป็นหัวหน้า
-บาลีเอก. อํ. ๒๐/๑๒/๕๗.

ภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมทั้งหลาย ที่เป็นไปใน
ส่วนอกุศล ที่เป็นไปในฝักฝ่ายอกุศล ทั้งหมดนั้น มีมโนเป็น
หัวหน้า (มโนปุพฺพงฺคมา) มโนเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรม
ทั้งหลายเกิดทีหลัง.

ภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมทั้งหลาย ที่เป็นไปในส่วน
กุศล ที่เป็นไปในฝักฝ่ายกุศล ทั้งหมดนั้น มีมโนเป็นหัวหน้า
มโนเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมทั้งหลายเกิดทีหลัง.

ในพระสูตรนี้
มีบาลีอย่างนี้
เยเกจิ ภิกฺขเว ธมฺมา อกุสลา อกุสลภาคิยา อกุสลปกฺขิกา
สพฺเพ เต มโนปุพฺพงฺคมา มโน เตสํ ธมฺมานํ ปฐมํ อุปฺปชฺชติ
อนฺวเทว อกุสลา ธมฺมาติ.
เยเกจิ ภิกฺขเว ธมฺมา กุสลา กุสลภาคิยา กุสลปกฺขิกา
สพฺเพ เต มโนปุพฺพงฺคมา มโน เตสํ ธมฺมานํ ปฐมํ อุปฺปชฺชติ
อนฺวเทว กุสลา ธมฺมาติ.


หน้า 121
51 ธรรมทั้งหลาย มีมโนเป็นหัวหน้า
-บาลีขุ. ขุ. ๒๕/๑๕/๑๑.

ธรรมทั้งหลายมีมโนเป็นหัวหน้า มีมโนประเสริฐที่สุด
สำเร็จแล้วแต่มโน ถ้าบุคคลมีมโนอันโทษประทุษร้ายแล้ว
กล่าวอยู่ก็ตาม กระทำอยู่ก็ตาม ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น
เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไป ฉะนั้น.

ธรรมทั้งหลายมีมโนเป็นหัวหน้า มีมโนประเสริฐที่สุด
สำเร็จแล้วแต่มโน ถ้าบุคคลมีมโนผ่องใส กล่าวอยู่ก็ตาม
กระทำอยู่ก็ตาม สุขย่อมไปตามบุคคลนั้น เหมือนเงาติดตาม
ตัวไป ฉะนั้น.

ก็ชนเหล่าใด ยังผูกใจเจ็บอยู่ว่า ผู้นั้นได้ด่าเรา ได้
ทำร้ายเรา ได้เอาชนะเรา ได้ลักทรัพย์ของเรา เวรของชน
เหล่านั้น ย่อมระงับไม่ลง ส่วนชนเหล่าใด ไม่ผูกใจเจ็บว่า
ผู้นั้นได้ด่าเรา ได้ทำร้ายเรา ได้เอาชนะเรา ได้ลักทรัพย์
ของเรา เวรของชนเหล่านั้น ย่อมระงับได้ ในยุคไหนก็ตาม
เวรทั้งหลาย ไม่เคยระงับได้ด้วยการจองเวรเลย แต่ระงับได้
ด้วยการไม่จองเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า ที่ใช้ได้ตลอดกาล.

ในพระสูตรนี้มีบาลีอย่างนี้
มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา มนสา
เจ ปทุฏฺเฐน ภาสติ วา กโรติ วา ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํว
วหโต ปทํ.
มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา มนสา
เจ ปสนฺเนน ภาสติ วา กโรติ วา ตโต นํ สุขมเนฺวติ ฉายาว
อนุปายินี.
อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ อชินิ มํ อหาสิ เม เย จ ตํ
อุปนยฺหนฺติ เวรํ เตสํ น สมฺมติ อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ อชินิ
มํ อหาสิ เม เย จ ตํ นูปนยฺหนฺติ เวรํ เตสูปสมฺมติ
น หิ เวเรน เวรานิ สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ อเวเรน จ สมฺมนฺติ
เอส ธมฺโม สนนฺตโน.


หน้า 123
52 มโนสังขาร (นัยที่ ๑)
-บาลีติก. อํ. ๒๐/๒๑๘/๕๐๐.

พราหมณ์ ก็อาเทสนาปาฏิหาริย์เป็นอย่างไร.
พราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมทายใจได้
โดยอาศัยนิมิตว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ (อวมิปเต มโน)
ใจของท่านมีอาการอย่างนี้ (อิตฺถมฺปิ เต มโน) จิตของท่านเป็น
ดังนี้(อิติปิ เต จิติ ตฺนติ ) เขาทายมากเท่าไหร่ก็ถูกหมดไม่ผิดเลย.

พราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ทายใจไม่ได้
โดยอาศัยนิมิต แต่เมื่อได้ฟังเสียงของมนุษย์ หรือของ
อมนุษย์ หรือของเทวดาทั้งหลายแล้ว จึงทายใจได้ว่า
ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านมีอาการอย่างนี้ จิตของ
ท่านเป็นดังนี้ เขาทายมากเท่าไหร่ก็ถูกหมด ไม่ผิดเลย.

พราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ทายใจไม่ได้
โดยอาศัยนิมิต แม้ฟังเสียงของมนุษย์ หรือของอมนุษย์ หรือ
ของเทวดาทั้งหลายแล้ว ก็ทายใจไม่ได้ แต่เมื่อได้ฟังเสียง
วิตกวิจารของบุคคลที่กำลังวิตกวิจารอยู่ (วิตกฺกยโต วิจารยโต
วิตกฺกวิจารสทฺทํ1 สุตฺวา) จึงทายใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้
ใจของท่านมีอาการอย่างนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ เขาทายมาก
เท่าไหร่ก็ถูกหมด ไม่ผิดเลย.

1. วิตกวิจ ารสททฺํ คำนี้ บาลีฉบับมหาจฬุาฯ และฉบับอักษรโรมัน
ใช้ว่า วิตกกฺวปิ ผฺารสทฺทํส่วนฉบับสยามรัฐใช้เหมือนกับฉบับเฉลิม
พระเกียรติพ.ศ. ๒๕๔๙. -ผู้รวบรวม


พราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ทายใจไม่ได้
โดยอาศัยนิมิต แม้ได้ฟังเสียงของมนุษย์ หรือของอมนุษย์
หรือของเทวดาทั้งหลายแล้ว ก็ทายใจไม่ได้ และแม้ได้
ฟังเสียงวิตกวิจารของบุคคลที่กำลังวิตกวิจารอยู่ ก็ทายใจไม่ได้
แต่เขากำหนดรู้ใจของผู้ที่ได้สมาธิอันไม่มีวิตกวิจารด้วยใจ
ของตนแล้วว่า มโนสังขารของท่านผู้นี้ตั้งไว้ด้วยประการใด
เขาจะต้องตรึกถึงวิตกชื่อนี้ ในลำดับจิตนี้ด้วยประการนั้น
เขาทายมากเท่าไหร่ก็ถูกหมด ไม่ผิดเลย.

พราหมณ์ นี้แล เรียกว่าอาเทสนาปาฏิหาริย์.

หน้า 125
53 มโนสังขาร
(นัยที่ ๒)
-บาลีปา. ที. ๑๑/๑๑๒/๗๘.

... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็น
ธรรมที่เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในวิธีแห่ง
การทายใจ วิธีแห่งการทายใจ ๔ อย่างเหล่านี้ คือ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนบางคนในโลกนี้ ย่อม
ทายใจได้โดยอาศัยนิมิตว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ (อวมฺปิ
เต มโน) ใจของท่านมีอาการอย่างนี้ (อิตฺถมฺปิ เต มโน) จิตของ
ท่านเป็นดังนี้ (อิติปิ เต จิตฺตนฺติ) เขาทายมากเท่าไหร่ก็ถูกหมด
ไม่ผิดเลย นี้เป็นวิธีแห่งการทายใจข้อที่ .

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้ออื่นยังมีอีก คนบางคน
ในโลกนี้ ทายใจไม่ได้โดยอาศัยนิมิต แต่เมื่อได้ฟังเสียงของ
มนุษย์ หรือของอมนุษย์ หรือของเทวดาทั้งหลายแล้ว
จึงทายใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านมีอาการ
อย่างนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ เขาทายมากเท่าไหร่ก็ถูกหมด
ไม่ผิดเลย นี้เป็นวิธีแห่งการทายใจข้อที่ .

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้ออื่นยังมีอีก คนบางคน
ในโลกนี้ ทายใจไม่ได้โดยอาศัยนิมิต แม้ได้ฟังเสียงของมนุษย์
หรือของอมนุษย์ หรือของเทวดาทั้งหลายแล้ว ก็ทายใจไม่ได้
แต่เมื่อได้ฟังเสียงละเมอของผู้วิตกวิจาร (วิตกฺกยโต วิจารยโต
วิตกฺกวิปฺผารสทฺทํ สุตฺวา) จึงทายใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้
ใจของท่านมีอาการอย่างนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ เขาทาย
มากเท่าไหร่ก็ถูกหมด ไม่ผิดเลย นี้เป็นวิธีแห่งการทายใจข้อที่ .

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้ออื่นยังมีอีก คนบางคน
ในโลกนี้ ทายใจไม่ได้โดยอาศัยนิมิต แม้ได้ฟังเสียงของมนุษย์
หรือของอมนุษย์ หรือของเทวดาทั้งหลายแล้ว ก็ทายใจไม่ได้
และแม้ได้ฟังเสียงละเมอของผู้วิตกวิจาร ก็ทายใจไม่ได้ แต่เขา
กำหนดรู้ใจของผู้ที่ได้สมาธิอันไม่มีวิตกวิจารด้วยใจ
ของตนแล้วว่า มโนสังขารของท่านผู้นี้ตั้งไว้ด้วยประการใด
เขาจะต้องตรึกถึงวิตกชื่อนี้ ในลำดับจิตนี้ด้วยประการนั้น
เขาทายมากเท่าไหร่ก็ถูกหมด ไม่ผิดเลย นี้เป็นวิธีแห่ง
การทายใจข้อที่ .

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้ก็เป็นข้อธรรมที่เยี่ยม ในวิธีแห่งการทายใจ. ...
(เป็นคำกล่าวของท่านสารีบุตรซึ่งเมื่อพระผู้มีพระภาคได้ฟังแล้ว
ตรัสให้กล่าวธรรมปริยายนี้เนืองๆ. -ผู้รวบรวม)


หน้า 127
54 มโนวิตก
-บาลีสฬา. สํ. ๑๘/๒๒๒/๓๒๐.

ภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว เต่าตัวหนึ่งเที่ยว
หากินตามริมลำธารในตอนเย็น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง ก็เที่ยว
หากินตามริมลำธารในตอนเย็นเช่นเดียวกัน เต่าตัวนี้ได้เห็น
สุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากินมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงหดอวัยวะ
ทั้งหลาย มีศีรษะเป็นที่ ๕ เข้าในกระดองของตนเสีย เป็นผู้
ขวนขวายน้อยนิ่งอยู่ แม้สุนัขจิ้งจอกก็ได้เห็นเต่าตัวที่เที่ยว
หากินนั้นมาแต่ไกลเหมือนกัน ครั้นแล้ว จึงเดินตรงเข้าไป
ที่เต่า คอยช่องอยู่ว่า เมื่อไรหนอเต่าจะโผล่อวัยวะส่วนใด
ส่วนหนึ่งออกในบรรดาอวัยวะทั้งหลาย มีศีรษะเป็นที่ ๕
แล้วจะกัดอวัยวะส่วนนั้น คร่าเอาออกมากินเสีย ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ตลอดเวลาที่เต่าไม่โผล่อวัยวะออกมา
สุนัขจิ้งจอกก็ไม่ได้โอกาสต้องหลีกไปเอง.

ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น มารผู้มีบาปก็คอยช่อง
ต่อพวกเธอทั้งหลายติดต่อไม่ขาดระยะอยู่เหมือนกันว่า
ถ้าอย่างไรเราคงได้ช่อง ไม่ทางตา ก็ทางหู หรือทางจมูก
หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอ
ทั้งหลาย จงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่เถิด
ได้เห็นรูปด้วยตา ได้ฟังเสียงด้วยหู ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก
ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย หรือได้รู้ธรรม
ด้วยใจแล้ว จงอย่าได้ถือเอาโดยลักษณะที่เป็นการรวบถือ
ทั้งหมด และอย่าได้ถือเอาโดยลักษณะที่เป็นการแยกถือ
เป็นส่วนๆ เลย สิ่งที่เป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัส
จะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์ใดเป็นเหตุ พวกเธอทั้งหลาย
จงปฏิบัติเพื่อการปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้  พวกเธอทั้ง หลาย จงรักษา
และถึงความสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เถิด.

ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด พวกเธอทั้งหลาย จักเป็น
ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ ในกาลนั้น มารผู้มีบาป
จะไม่ได้ช่องจากพวกเธอทั้งหลาย และต้องหลีกไปเอง
เหมือนสุนัขจิ้งจอกไม่ได้ช่องจากเต่าก็หลีกไปเอง ฉะนั้น.
เต่าหดอวัยวะไว้ในกระดอง ฉันใด ภิกษุพึงตั้งมโนวิตก
(ความตริตรึกทางใจ) ไว้ในกระดอง ฉันนั้น เป็นผู้ที่ตัณหาและ
ทิฏฐิไม่อิงอาศัยได้ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่กล่าวร้ายต่อใคร
ทั้งหมด เป็นผู้ดับสนิทแล้ว ดังนี้แล.


หน้า 129
55 กรรม แบบ (นัยที่ ๑)
-บาลีจตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๒๐/๒๓๗.

ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ทราบ ๔ ประการ
อะไรบ้าง คือ กรรมดำมีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี
กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำ
ไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี.
ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร
ที่มีความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความ
เบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารที่มีความเบียดเบียน
ครั้นเขาทำความปรุงแต่งอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่มี
ความเบียดเบียน ผัสสะที่มีความเบียดเบียนย่อมถูกต้องเขา
ซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนนั้น เขาอันผัสสะที่มี
ความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันมีความ
เบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว ดังเช่น พวกสัตว์นรก
นี้เราเรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร
ที่ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารที่ไม่มีความ
เบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน
ครั้นเขาทำความปรุงแต่งอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มี
ความเบียดเบียน ผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขา
ซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียนนั้น เขาอันผัสสะที่
ไม่มีความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันไม่มี
ความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว ดังเช่น พวกเทวดา
สุภกิณหะ นี้เราเรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว.

ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำ
ทั้งขาวเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมปรุงแต่ง
มโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง
ครั้นเขาทำความปรุงแต่งอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะที่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องเขา
ซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ
เบียดเบียนบ้างนั้น เขาอันผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง

ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอัน
มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง อันเป็นสุข
และทุกข์เจือปนกัน ดังเช่น มนุษย์ทั้งหลาย เทวดาบางพวก
และสัตว์พวกวินิบาตบางพวก นี้เราเรียกว่า กรรมทั้งดำ
ทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว.

ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำ
ไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นอย่างไร คือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้เรา
เรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป
เพื่อความสิ้นกรรม.

ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เรากระทำ
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ทราบ.


หน้า 132
56 กรรม แบบ (นัยที่ ๒)
-บาลีจตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๒๑/๒๓๘.

ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ทราบ ๔ ประการ
อะไรบ้าง คือ กรรมดำมีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี
กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำ
ไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี.
ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นอย่างไร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร
วจีสังขาร มโนสังขารที่มีความเบียดเบียน ครั้นเขา
ทำความปรุงแต่งอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่มีความ
เบียดเบียน … ย่อมได้เสวยเวทนาอันมีความเบียดเบียน
เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว ดังเช่น พวกสัตว์นรก นี้เราเรียกว่า
กรรมดำมีวิบากดำ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่ง
กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขารที่ไม่มีความ
เบียดเบียน ครั้นเขาทำความปรุงแต่งอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึง
โลกที่ไม่มีความเบียดเบียน … ย่อมได้เสวยเวทนาอันไม่มี
ความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว ดังเช่น พวกเทวดา
สุภกิณหะ นี้เราเรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว.

ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำ
ทั้งขาวเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขารที่มีความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ครั้นเขาทำความ
ปรุงแต่งอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง
ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง … ย่อมได้เสวยเวทนาอันมีความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง อันเป็นสุขและ
ทุกข์เจือปนกัน ดังเช่น มนุษย์ทั้งหลาย เทวดาบางพวก
และสัตว์พวกวินิบาตบางพวก นี้เราเรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว
มีวิบากทั้งดำทั้งขาว.

ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำ
ไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นอย่างไร คือ
สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ นี้เราเรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบาก
ไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.

ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เรากระทำ
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ทราบ.


หน้า 134
57 กรรม แบบ (นัยที่ ๓)
-บาลีจตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๑๓/๒๓๒.

ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้
แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ทราบ ๔ ประการ
อะไรบ้าง คือ กรรมดำมีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี
กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำ
ไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี.
ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นอย่างไร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร
วจีสังขาร มโนสังขารที่มีความเบียดเบียน ครั้นเขา
ทำความปรุงแต่งอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่มีความ
เบียดเบียน … ย่อมได้เสวยเวทนาอันมีความเบียดเบียน
เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว ดังเช่น พวกสัตว์นรก นี้เราเรียกว่า
กรรมดำมีวิบากดำ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่ง
กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขารที่ไม่มีความ
เบียดเบียน ครั้นเขาทำความปรุงแต่งอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึง
โลกที่ไม่มีความเบียดเบียน … ย่อมได้เสวยเวทนาอันไม่มี
ความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว ดังเช่น พวกเทวดา
สุภกิณหะ นี้เราเรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว.

ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำ
ทั้งขาวเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขารที่มีความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ครั้นเขาทำความ
ปรุง แต่งอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง
ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง … ย่อมได้เสวยเวทนาอันมีความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง อันเป็นสุขและ
ทุกข์เจือปนกัน ดังเช่น มนุษย์ทั้งหลาย เทวดาบางพวก
และสัตว์พวกวินิบาตบางพวก นี้เราเรียกว่า กรรมทั้งดำ
ทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว.

ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำ
ไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นอย่างไร ภิกษุ
ทั้งหลาย ในบรรดากรรมเหล่านั้นเจตนาใดเพื่อละกรรมดำ
อันมีวิบากดำก็ดี เจตนาใดเพื่อละกรรมขาวอันมีวิบากขาวก็ดี
เจตนาใดเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาวอันมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็ดี
นี้เราเรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป
เพื่อความสิ้นกรรม.

ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เรากระทำ
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ทราบ.
(อีกสูตรหนึ่ง -บาลี. . ๑๓/๘๒/๘๘. ก็ได้ตรัสไว้ด้วย
ถ้อยคำอย่างเดียวกันนี้. -ผู้รวบรวม)


หน้า 136
54 กรรม แบบ (นัยที่ ๔)
-บาลีจตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๑๘/๒๓๕
.

ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้
แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ทราบ ๔ ประการ
อะไรบ้าง คือ กรรมดำมีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี
กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำ
ไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี.
ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นอย่างไร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ เป็น
ผู้ลักทรัพย์ เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม เป็นผู้พูดโกหก เป็น
ผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
นี้เราเรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการ
ฆ่าสัตว์ เป็นผู้งดเว้นจากการลักทรัพย์ เป็นผู้งดเว้นจากการ
ประพฤติผิดในกาม เป็นผู้งดเว้นจากการพูดโกหก เป็น
ผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำ􀄁เมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้ง
แห่งความประมาท นี้เราเรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว.

ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำ
ทั้งขาวเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมปรุงแต่ง
มโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง
นี้เราเรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว.

ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำ
ไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นอย่างไร ภิกษุ
ทั้งหลาย ในบรรดากรรมเหล่านั้น เจตนาใดเพื่อละกรรมดำ
อันมีวิบากดำก็ดี เจตนาใดเพื่อละกรรมขาวอันมีวิบากขาวก็ดี
เจตนาใดเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาวอันมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็ดี
นี้เราเรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป
เพื่อความสิ้นกรรม.

ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เรากระทำ
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ทราบ.


หน้า 138
59 กรรม แบบ (นัยที่ ๕)
-บาลีจตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๑๙/๒๓๖.

ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ทราบ ๔ ประการ
อะไรบ้าง คือ กรรมดำมีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี
กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำ
ไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี.

ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่ามารดา เป็น
ผู้ฆ่าบิดา เป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ เป็นผู้มีจิตประทุษร้ายต่อ
พระตถาคตจนทำให้พระโลหิตห้อขึ้น เป็นผู้ทำ􀄁ลายสงฆ์
ให้แตกกัน นี้เราเรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจาก
การฆ่าสัตว์ เป็นผู้งดเว้นจากการลักทรัพย์ เป็นผู้งดเว้น
จากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้งดเว้นจากการพูดโกหก
เป็นผู้งดเว้นจากการพูดยุยงให้แตกกัน เป็นผู้งดเว้นจาก
การพูดคำหยาบ เป็นผู้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้
ไม่เพ่งเล็งทรัพย์ของผู้อื่น เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท เป็นผู้
มีสัมมาทิฏฐิ นี้เราเรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว.

ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำ
ทั้งขาวเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมปรุงแต่ง
มโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง
นี้เราเรียกว่า กรรมทั้งดำ ทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว.

ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำ
ไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นอย่างไร ภิกษุ
ทั้งหลาย ในบรรดากรรมเหล่านั้น เจตนาใดเพื่อละกรรมดำ􀄁
อันมีวิบากดำก็ดี เจตนาใดเพื่อละกรรมขาวอันมีวิบากขาวก็ดี

เจตนาใดเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาวอันมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็ดี
นี้เราเรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป
เพื่อความสิ้นกรรม.

ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เรากระทำ
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ทราบ.


หน้า 140
60 การได้อัตภาพ
-บาลีสี. ที. /๔๓/๔๙.

ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะว่า
ขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดอีก
ของสัตว์ที่มีอยู่ด้วยเหตุ ๗ ประการ ก็สมณพราหมณ์
ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าขาดสูญ
ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดอีกของสัตว์
ที่มีอยู่ด้วยเหตุ ๗ ประการ.

(1) ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคน
ในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ เพราะ
อัตตานี้มีรูป สำเร็จด้วยมหาภูตรูปทั้ง ๔ มีมารดาบิดาเป็น
แดนเกิด ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย
ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด สมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดอีก
ของสัตว์ที่มีอยู่อย่างนี้.

(2) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือ
พราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น
มีอยู่จริง ข้าพเจ้าไม่ได้กล่าวว่าไม่มี แต่ว่าอัตตานี้ใช่ว่าจะขาดสูญ
อย่างเด็ดขาดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็หาไม่ ท่านผู้เจริญ ยังมี
อัตตาอย่างอื่นที่เป็นทิพย์ เป็นอัตตามีรูป เป็นพวกกามาพจร
บริโภคอาหารคือคำข้าว อัตตานั้นท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็น
แต่ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็น ท่านผู้เจริญ ภายหลังแต่การตาย
เพราะการทำลายแห่งกาย อัตตานั้นแหละย่อมขาดสูญ ย่อม
พินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อัตตานี้จึงเป็น
อันขาดสูญอย่างเด็ดขาด สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อม
บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดอีกของสัตว์
ที่มีอยู่อย่างนี้.

(3) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะ
หรือพราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่าน
กล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง ข้าพเจ้าไม่ได้กล่าวว่าไม่มี แต่ว่าอัตตานี้
ใช่ว่าจะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็หาไม่
ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่น ที่เป็นทิพย์ เป็นอัตตามีรูป
สำเร็จด้วยใจ (มโนมโย) มีอวัยวะใหญ่น้อยครบถ้วน มีอินทรีย์
ไม่บกพร่อง อัตตานั้นท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็น แต่ข้าพเจ้ารู้
ข้าพเจ้าเห็น ท่านผู้เจริญ ภายหลังแต่การตาย เพราะการ
ทำลายแห่งกาย อัตตานั้นแหละย่อมขาดสูญ …

(4) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะ
หรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่าน
กล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง ข้าพเจ้าไม่ได้กล่าวว่าไม่มี แต่ว่าอัตตานี้
ใช่ว่าจะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็หาไม่
ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึง อากาสานัญจายตนะ
อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สิ้นสุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา
เสียได้ เพราะความดับแห่ง ปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจใน
สัญญาต่างๆ (นานตฺตสญฺญา) โดยประการทั้งปวง อัตตานั้นท่าน
ยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็น แต่ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็น ท่านผู้เจริญ
ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย อัตตานั้นแหละ
ย่อมขาดสูญ …

(5) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือ
พราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น
มีอยู่จริง ข้าพเจ้าไม่ได้กล่าวว่าไม่มี แต่ว่าอัตตานี้ใช่ว่าจะขาดสูญ
อย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็หาไม่ ท่านผู้เจริญยังมีอัตตา
อย่าง อนึ่งที่เข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า
วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด เพราะก้าวล่วง อากาสานัญจายตนะ เสียได้
โดยประการทั้งปวง อัตตานั้นท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็น
แต่ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นท่านผู้เจริญ ภายหลัง แต่การตาย
เพราะการทำลายแห่งกาย อัตตานั้นแหละย่อมขาดสูญ …

(6) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะ
หรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่าน
กล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง ข้าพเจ้าไม่ได้กล่าวว่าไม่มี แต่ว่าอัตตานี้
ใช่ว่าจะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็หาไม่
ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึง อากิญจัญญายตนะอันมี
การทำในใจว่า อะไรๆ ไม่มี เพราะก้าวล่วง วิญญาณัญจายตนะ
เสียได้โดยประการทั้งปวง อัตตานั้นท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็น
แต่ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็น ท่านผู้เจริญ ภายหลังแต่การตาย
เพราะการทำลายแห่งกาย อัตตานั้นแหละย่อมขาดสูญ …

(7) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะ
หรือพราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่าน
กล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง ข้าพเจ้าไม่ได้กล่าวว่าไม่มี แต่ว่าอัตตานี้
ใช่ว่าจะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็หาไม่ ท่าน
ผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ
เพราะก้าวล่วง อากิญจัญญายตนะ เสียได้โดยประการทั้งปวง
อัตตานั้นท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็น แต่ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็น
ท่านผู้เจริญ ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย
อัตตานั้นแหละย่อมขาดสูญ …

ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีวาทะว่า
ขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดอีก
ของสัตว์ที่มีอยู่ด้วยเหตุ ๗ ประการเหล่านี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ที่มีวาทะ
ว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิด
อีกของสัตว์ที่มีอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๗ ประการเหล่านี้เท่านั้น จะบัญญัติด้วย
เหตุอื่นนอกจากนี้ไม่มี.

… ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลอันลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
รู้ตามได้ยาก สงบระงับ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้
เป็นของละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย ซึ่งตถาคตทำให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ซึ่งเป็นเหตุให้
คนเมื่อกล่าวชมตถาคต พึงกล่าวได้ถูกต้องตามความเป็นจริง.


หน้า145
61 เหตุให้เจริญไม่เสื่อม (อปริหานิยธรรม)
-บาลีมหา. ที. ๑๐/๙๔/๗๕.

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม
ประการ อีกหมวดหนึ่งแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจะกล่าว.

(1) ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุมีกายกรรมประกอบ
ด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์
ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ อยู่เพียงใด ความเจริญก็เป็นสิ่งที่
ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

(2) ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุมีวจีกรรมประกอบ
ด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์
ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ อยู่เพียงใด ความเจริญก็เป็นสิ่งที่
ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

(3) ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุมีมโนกรรมประกอบ
ด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์
ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ อยู่เพียงใด ความเจริญก็เป็นสิ่งที่
ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

(4) ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุมีลาภใดๆ เกิด
โดยธรรม ได้แล้วโดยธรรม ที่สุดแม้เพียงอาหารติดบาตร
ก็บริโภคโดยไม่เกียดกันไว้เพื่อตน ย่อมเป็นผู้บริโภคเฉลี่ย

ทั่วไปกับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้มีศีล อยู่เพียงใด
ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย
อยู่เพียงนั้น.

(5) ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุเป็นผู้มีศีลที่ไม่ขาด
ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูก
ทิฏฐิครอบงำ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ และถึงความเป็นผู้มี
ศีลเสมอกันในศีลเช่นนั้น กับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์
ทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ อยู่เพียงใด ความเจริญก็
เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

(6) ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุเป็นผู้มีทิฏฐิอันเป็น
อริยะ อันเป็นเครื่องนำออก นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดย
ชอบแก่ผู้กระทำตาม และถึงความเป็นผู้มีทิฏฐิเสมอกันใน
ทิฏฐิเช่นนั้น กับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง
ทั้งในที่ลับ อยู่เพียงใด ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลาย
หวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ทั้ง ๖ ประการเหล่านี้
ยังคงดำรงอยู่ได้ในหมู่ภิกษุทั้งหลาย และพวกเธอเหล่านั้น
ก็ยังเห็นพ้องต้องกันในธรรมทั้ง ๖ ประการเหล่านี้ อยู่เพียงใด
ความเจริญก็เป็น สิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย
อยู่เพียงนั้น.


หน้า 147
62 เหตุให้ระลึกถึง รัก เคารพ ไม่วิวาท และ
พร้อมเพรียงกัน (สาราณียธรรม)

-บาลีฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๒๓/๒๘๓.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการเหล่านี้ เป็นเหตุให้ระลึก
ถึงกัน
เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความ
สงเคราะห์กัน
เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน
เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ๖ ประการอะไรบ้าง คือ

(1) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีกายกรรมประกอบด้วย
เมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งใน
ที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุ
ก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน
เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกัน.

(2) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีวจีกรรม
ประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติ
พรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ ...

(3) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีมโนกรรม
ประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์
ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ ...

(4) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีลาภใดๆ
เกิดโดยธรรม ได้แล้วโดยธรรม ที่สุดแม้เพียงอาหารติดบาตร
ก็บริโภคโดยไม่เกียดกันไว้เพื่อตน ย่อมเป็นผู้บริโภคเฉลี่ย
ทั่วไปกับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้มีศีล ...

(5) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็น
ผู้มีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันผู้รู้
สรรเสริญ ไม่ถูก ทิฏฐิ ครอบงำ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ และ
ถึงความเป็นผู้มีศีลเสมอกันในศีลเช่นนั้น กับเพื่อนร่วม
ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ ...

(6) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มี
ทิฏฐิอันเป็นอริยะ อันเป็นเครื่องนำออก นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์
โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม และถึงความเป็นผู้มีทิฏฐิเสมอกัน
ในทิฏฐิเช่นนั้น กับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง
ทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อ
ความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน
เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกัน.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล เป็นเหตุให้
ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อ
ความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน
เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.


หน้า 149
63 เหตุแห่งความแตกแยก
-บาลีมู. . ๑๒/๕๘๒/๕๔๑.

ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า พวกเธอเกิดขัดใจ ทะเลาะ
วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่ยังกันและกัน
ให้เข้าใจ ไม่ปรารถนาความเข้าใจกัน ไม่ยังกันและกันให้
ปรองดอง ไม่ปรารถนาความปรองดองกันจริงหรือ.
เป็นอย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นอย่างไร สมัยใด พวกเธอ เกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทง
กันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ สมัยนั้น พวกเธอเข้าไปตั้ง
เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม และเมตตามโนกรรม
ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง บ้างหรือ.
ข้อนั้นไม่มีเลยพระพุทธเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เช่นนี้ก็เป็นอันว่า สมัยใด พวกเธอ
เกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอก
คือปากอยู่ สมัยนั้นพวกเธอไม่ได้เข้าไปตั้ง เมตตากายกรรม
เมตตาวจีกรรม และเมตตามโนกรรม ในเพื่อนสพรหมจารี
ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง โมฆบุรุษทั้งหลาย
เมื่อเป็นดังนั้น พวกเธอรู้อะไร เห็นอะไร จึงเกิดขัดใจ ทะเลาะ
วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่ยังกันและกัน
ให้เข้าใจ ไม่ปรารถนาความเข้าใจกัน ไม่ยังกันและกันให้
ปรองดอง ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน.

โมฆบุรุษทั้งหลาย ข้อนั้นนั่นแหละ จักไม่เป็นไป
เพื่อประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์ แก่พวกเธอทั้งหลาย
ตลอดกาลนาน.


หน้า 161
64 ความพลัดพราก จากของรักของชอบใจย่อมมี
-บาลีมหา. ที. ๑๐/๑๖๗/๑๓๕.

อานนท์ เธออย่าได้เศร้าโศกเสียใจไปเลย เราได้บอก
ไว้ก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่า ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก
ความเป็นอย่างอื่น จากของรักของชอบใจทั้งสิ้นย่อมม
อานนท์ ข้อนั้นจะได้มาแต่ที่ไหนเล่า สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว
อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความแตกทำลายไปเป็นธรรมดา
ว่าสิ่งนี้อย่าแตกทำลายไปเลยดังนี้ ย่อมไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้.
อานนท์ เธอได้อุปัฏฐากตถาคต ด้วยกายกรรม
ที่ประกอบด้วยเมตตา อันเกื้อกูล เป็นความสุข อย่าง
สม่ำเสมอ หาประมาณไม่ได้มาช้านาน เธอได้อุปัฏฐากตถาคต
ด้ว ยวจีกรรมที่ประกอบดว้ ยเมตตา อนั เกือ้ กลู เปน็ ความสขุ
อย่างสม่ำเสมอ หาประมาณไม่ได้มาช้านาน เธอได้อุปัฏฐาก
ตถาคต ด้วยมโนกรรมที่ประกอบด้วยเมตตา อันเกื้อกูล
เป็นความสุข อย่างสม่ำเสมอ หาประมาณไม่ได้มาช้านาน.

อานนท์ เธอได้กระทำบุญไว้แล้ว เธอจงประกอบ
ความเพียรเถิด แล้วจะเป็นผู้ไม่มีอาสวะโดยพลัน.

ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
เหล่าใด ที่ได้มีแล้วในกาลก่อน ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากอันเลิศ
ของพระผู้มีพระภาคเหล่านั้นก็เลิศเสมอกันกับอานนท์ของ
เรานี้

ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
เหล่าใด ที่จะมีในอนาคต ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากอันเลิศของ
พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น ก็เลิศเสมอกันกับอานนท์ของเรานี้.
ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต ย่อมรู้เวลาที่
เหมาะสมเพื่อจะเข้าเฝ้าตถาคตว่า นี้เป็นเวลาของภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เป็นเวลาของภิกษุณีทั้งหลาย นี้เป็นเวลาของ
อุบาสกทั้งหลาย นี้เป็นเวลาของอุบาสิกาทั้งหลาย นี้เป็นเวลา
ของเหล่าพระราชา นี้เป็นเวลาของเหล่ามหาอำมาตย์ของ
พระราชา นี้เป็นเวลาของเดียรถีย์ทั้งหลาย นี้เป็นเวลาของ
สาวกเดียรถีย์ทั้งหลาย. …


หน้า 153
65 คนพาล-บัณฑิต (นัยที่ ๑)
-บาลีติก. อํ. ๒๐/๑๓๐,๓๗๖/๔๔๕,๕๘๖.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ประการ
ให้ทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการอะไรบ้าง คือ
กายกรรมที่เป็นอกุศล วจีกรรมที่เป็นอกุศล มโนกรรม
ที่เป็นอกุศล ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓
ประการเหล่านี้แล ให้ทราบว่าเป็นคนพาล.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ประการ
ให้ทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการอะไรบ้าง คือ
กายกรรมที่เป็นกุศล วจีกรรมที่เป็นกุศล มโนกรรม
ที่เป็นกุศล ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓
ประการเหล่านี้แล ให้ทราบว่าเป็นบัณฑิต.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ประการ
ย่อมตกนรก เหมือนกับถูกนำตัวไปฝังไว้ ธรรม ๓ ประการ
อะไรบ้าง คือกายกรรมที่เป็น อกุศล วจีกรรมที่เป็น อกศุล
มโนกรรมที่เป็นอกุศล ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย
ธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ย่อมตกนรกเหมือนกับถูกนำตัว
ไปฝังไว้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ประการ
ย่อมไปสวรรค์ เหมือนกับถูกนำตัวไปเก็บไว้ ธรรม ๓ ประการ
อะไรบ้าง คือ กายกรรมที่เป็นกุศล วจีกรรมที่เป็นกุศล

มโนกรรมที่เป็น กุศล ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้ว ย
ธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ย่อมไปสวรรค์เหมือนกับถูกนำตัว
ไปเก็บไว้.


หน้า 155
66 คนพาล-บัณฑิต (นัยที่ ๒)
-บาลีติก. อํ. ๒๐/๑๓๑,๓๗๗/๔๔๖,๕๘๗.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ประการ
ให้ทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการอะไรบ้าง คือ
กายกรรมที่มีโทษ วจีกรรมที่มีโทษ มโนกรรมที่มีโทษ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล
ให้ทราบว่าเป็นคนพาล.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ประการ
ให้ทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการอะไรบ้าง คือ
กายกรรมที่ไม่มีโทษ วจีกรรมที่ไม่มีโทษ มโนกรรมที่
ไม่มีโทษ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
เหล่านี้แล ให้ทราบว่าเป็นบัณฑิต.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ประการ
ย่อมตกนรก เหมือนกับถูกนำตัวไปฝังไว้ ธรรม ๓ ประการ
อะไรบ้าง คือ กายกรรมที่มีโทษ วจีกรรมที่มีโทษ มโนกรรม
ที่มีโทษ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓
ประการเหล่านี้แล ย่อมตกนรกเหมือนกับถูกนำตัวไปฝังไว้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ประการ
ย่อมไปสวรรค์ เหมือนกับถูกนำตัวไปเก็บไว้ ธรรม ๓ ประการ
อะไรบ้าง คือ กายกรรมที่ไม่มีโทษ วจีกรรมที่ไม่มีโทษ
มโนกรรมที่ไม่มีโทษ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย
ธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ย่อมไปสวรรค์เหมือนกับถูกนำตัว
ไปเก็บไว้.


หน้า 157
67 คนพาล-บัณฑิต (นัยที่ ๓)
-บาลีติก. อํ. ๒๐/๑๓๑/๔๔๗.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ประการ
ให้ทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการอะไรบ้าง คือ
กายกรรมที่เป็นการเบียดเบียน วจีกรรมที่เป็นการ
เบียดเบียน มโนกรรมที่เป็นการเบียดเบียน ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ให้ทราบว่า
เป็นคนพาล.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ประการ
ให้ทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการอะไรบ้าง คือ
กายกรรมที่ไม่เป็นการเบียดเบียน วจีกรรมที่ไม่เป็น
การเบียดเบียน มโนกรรมที่ไม่เป็นการเบียดเบียน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
เหล่านี้แล ให้ทราบว่าเป็นบัณฑิต.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง
ศึกษาอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ประการเหล่าใด
ที่ทำให้ทราบว่าเป็นคนพาล เราจะไม่ประพฤติธรรมเหล่านั้น
ส่วนบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ประการเหล่าใด ที่ทำให้
ทราบว่าเป็นบัณฑิต เราจะสมาทานประพฤติธรรมเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

หน้า 158
68 คนพาล-บัณฑิต (นัยที่ ๔)
-บาลีติก. อํ. ๒๐/๑๓๒/๔๔๘.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ประการ
ย่อมเป็นคนพาล เป็นคนไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ ย่อมทำตน
ให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสบสิ่งไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๓ ประการ
อะไรบ้าง คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผ้ปู ระกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็น
คนพาล เป็นคนไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ ย่อมทำตนให้ถูกกำจัด
ให้ถูกทำลาย เป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน และประสบ
สิ่งไม่ใช่บุญเป็นอันมาก.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ประการ
ย่อมเป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นสัปบุรุษ ย่อมทำตนไม่ให้
ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีโทษ ผู้รู้ไม่ติเตียน และประสบบุญ
เป็นอันมาก ธรรม ๓ ประการอะไรบ้าง คือ กายสุจริต
วจีสุจริต มโนสุจริต ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย
ธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด
เป็นสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย
ไม่มีโทษ ผู้รู้ไม่ติเตียน และประสบบุญเป็นอันมาก.


หน้า 159
69 ผลของกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ-สม่ำเสมอ
-บาลีติก. อํ. ๒๐/๓๗๗/๕๘๘.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ประการ
ย่อมตกนรก เหมือนกับถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๓ ประการ
อะไรบ้าง คือ กายกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ (กายกมฺเมน วิสเมน)
วจีกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ (วจีกมฺเมน วิสเมน) มโนกรรม
ที่ไม่สม่ำเสมอ (มโนกมฺเมน วิสเมน) ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ย่อมตกนรก
เหมือนกับถูกนำตัวไปฝังไว้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ประการ
ย่อมไปสวรรค์ เหมือนกับถูกนำตัวไปเก็บไว้ ธรรม ๓ ประการ
อะไรบ้าง คือ กายกรรมที่สม่ำเสมอ (กายกมฺเมน สเมน)
วจีกรรมที่สม่ำเสมอ (วจีกมฺเมน สเมน) มโนกรรม
ที่สม่ำ􀄁เสมอ (มโนกมฺเมน สเมน) ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ย่อมไปสวรรค์
เหมือนกับถูกนำตัวไปเก็บไว้.


หน้า 160
70 ผลของกรรมที่ไม่สะอาด-สะอาด
-บาลีติก. อํ. ๒๐/๓๗๗/๕๘๙.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ประการ
ย่อมตกนรก เหมือนกับถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๓ ประการ
อะไรบ้าง คือ กายกรรมที่ไม่สะอาด (กายกมฺเมน อสุจินา)
วจีกรรมที่ไม่สะอาด (วจีกมฺเมน อสุจินา) มโนกรรม
ที่ไม่สะอาด (มโนกมฺเมน อสุจินา) ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ย่อมตกนรก
เหมือนกับถูกนำตัวไปฝังไว้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ประการ
ย่อมไปสวรรค์ เหมือนกับถูกนำตัวไปเก็บไว้ ธรรม ๓ ประการ
อะไรบ้าง คือ
กายกรรม ที่สะอาด
(กายกมฺเมน สุจินา)
วจีกรรม
ที่สะอาด (วจกี มเฺ มน สจุ นิ า)
มโนกรรมที่สะอาด
(มโนกมเฺ มน สุจินา)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
เหล่านี้แล ย่อมไปสวรรค์เหมือนกับถูกนำตัวไปเก็บไว้.


หน้า161
71 ความไม่สะอาด
-ความสะอาด ทางกาย
วาจา และใจ

-บาลีทสก. อํ. ๒๔/๒๘๕,๓๐๖/๑๖๕,๑๘๙.

จุนทะ ความไม่สะอาดทางกายมี อย่าง
(ติวิธํ โข จุนฺท กาเยน อโสเจยฺยํ)

ความไม่สะอาดทางวาจามี อย่าง
(จตุพฺพิธํ วาจา อโสเจยฺยํ)

ความไม่สะอาดทางใจมี อย่าง.
(ติวิธํ มนสา อโสเจยฺยํ)

จุนทะ ความไม่สะอาดทางกายมี อย่าง อะไรบ้าง
คือ จุนทะ คนบางคนในกรณีนี้

(1) เป็นผู้มีปกติฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อน
ด้วยโลหิต มีแต่การฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์
มีชีวิต

(2) เป็นผู้มีปกติถือเอาสิ่งของที่มีเจ้าของไม่ได้ให้
คือ วัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของบุคคลอื่น ที่อยู่ในบ้านหรือ
ในป่าก็ตาม เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ด้วยอาการ
แห่งขโมย

(3) เป็นผู้มีปกติประพฤติผิดในกาม ในหญิง
ซึ่งมารดารักษา บิดารักษา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง หรือญาติ
รักษา อันธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม
โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ ด้วยการคล้องพวงมาลัย
เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น
จุนทะ อย่างนี้แล ความไม่สะอาดทางกาย ๓ อย่าง.
จุนทะ ความไม่สะอาดทางวาจามี อย่าง อะไรบ้าง
คือ จุนทะ คนบางคนในกรณีนี้

(1) เป็นผู้มีปกติกล่าวเท็จ (มุสาวาท) ไปสู่สภาก็ดี
ไปสู่บริษัทก็ดี ไปสู่ท่ามกลางหมู่ญูาติก็ดี  ไปสู่ท่ามกลางศาลา
ประชาคมก็ดี ไปสู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขานำไปเป็นพยาน
ถามว่า บุรุษผู้เจริญท่านรู้ อย่างไร ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น
ดังนี้ บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้
เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เพราะเหตุ
ตนเอง เพราะเหตุผู้อื่น หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสอะไรๆ
ก็เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่

(2) เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด (ปิสุณวาจา) คือฟังจาก
ฝ่ายนี้แล้วไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังจากฝ่ายโน้น
แล้วมาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้นเป็นผู้ทำคนที่สามัคคีกัน
ให้แตกกัน หรือทำคนที่แตกกันแล้วให้แตกกันยิ่งขึ้น พอใจ ยินดี
เพลิดเพลินในการแตกกันเป็นพวก เป็นผู้กล่าววาจาที่กระทำ
ให้แตกกันเป็นพวก

(3) เป็นผู้มีวาจาหยาบ (ผรุสวาจา) อันเป็นวาจา
หยาบคาย กล้าแข็ง แสบเผ็ดต่อผู้อื่น กระทบกระเทียบผู้อื่น
แวดล้อมอยู่ด้วยความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เขาเป็น
ผู้กล่าววาจามีรูปลักษณะเช่นนั้น

(4) เป็น ผู้มีวาจาเพ้อเจ้อ (สมผฺ ปปฺ ลาป) คือเป็นผู้กล่าว
ไม่ถูกกาล ไม่กล่าวตามจริง กล่าวไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม
ไม่อิงวินัย เป็นผู้กล่าววาจาไม่มีที่ตั้งอาศัย ไม่ถูกกาลเทศะ
ไม่มีจุดจบ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
จุนทะ อย่างนี้แล ความไม่สะอาดทางวาจา ๔ อย่าง.
จุนทะ ความไม่สะอาดทางใจมี อย่าง อะไรบ้าง
คือ จุนทะ คนบางคนในกรณีนี้

(1) เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา (ความโลภเพ่งเล็ง) เป็น
ผู้โลภเพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่นว่า สิ่งใดเป็น
ของผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็นของเรา ดังนี้

(2) เป็นผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริในใจเป็นไปใน
ทางประทุษร้ายว่า สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ จงเดือดร้อน จงแตก
ทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศ อย่าได้มีอยู่เลย ดังนี้

(3) เป็นผู้มีความเห็นผิด มีทัสสนะวิปริตว่า ทาน
ที่ให้แล้วไม่มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้วไม่มี (ผล) การบูชาที่บูชา
แล้วไม่มี (ผล) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้
ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี โอปปาติกะสัตว์ไม่มี
สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบถึงกับ
กระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง
แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ก็ไม่มี ดังนี้

จุนทะ อย่างนี้แล ความไม่สะอาดทางใจ ๓ อย่าง.
จุนทะ เหล่านี้แล เรียกว่า อกุศลกรรมบถสิบ.

จุนทะ อนึ่ง เพราะมีการประกอบด้วยอกุศลกรรมบถทั้งสิบประการ
เหล่านี้ เป็นเหตุนรก ย่อมปรากฏ กำเนิดเดรัจฉานย่อมปรากฏ
เปรตวิสัยย่อมปรากฏ หรือว่าทุคติใดๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี.

… ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้แล
ย่อมเป็นเหมือนบุคคลผู้ถูกนำ ตัว ไปฝังไว้ในนรก.

จุนทะ ความสะอาดทางกายมี อย่าง
(ติวิธํ โข จุนฺท กาเยน โสเจยฺยํ)
ความสะอาดทางวาจามี อย่าง
(จตุพฺพิธํ วาจา โสเจยฺยํ)
ความสะอาดทางใจมี อย่าง.
(ติวิธํ มนสา โสเจยฺยํ)
จุนทะ ความสะอาดทางกายมี อย่าง อะไรบ้าง
คือ จุนทะ บุคคลบางคนในกรณีนี้

(1) ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางท่อนไม้ วางศัสตรา
มีความละอายถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายอยู่

(2) ละการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ เว้นขาดจากการถือเอา
สิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่ถือเอาทรัพย์ และอุปกรณ์แห่งทรัพย์
ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ในบ้านก็ดี ในป่าก็ดี ด้วยอาการแห่งขโมย

(3) ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม ในหญิงซึ่งมารดารักษา บิดารักษา พี่น้องชาย
พี่น้องหญิงหรือญาติรักษา อันธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี
หญิง อยู่ในสินไหม โดยที่สุดแม้หญิง อันเขาหมั้นไว้ ด้วยการ
คล้องพวงมาลัย ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น
จุนทะ อย่างนี้แล ความสะอาดทางกาย ๓ อย่าง.
จุนทะ ความสะอาดทางวาจามี อย่าง อะไรบ้าง
คือ จุนทะ บุคคลบางคนในกรณีนี้

(1) ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ไปสู่
สภาก็ดี ไปสู่บริษัทก็ดี ไปสู่ท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี ไปสู่
ท่ามกลางศาลาประชาคมก็ดี ไปสู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี
อันเขานำไปเป็นพยาน ถามว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านรู้อย่างไร
ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้นดังนี้ บุรุษนั้นเมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่าไม่รู้
เมื่อรู้ก็กล่าวว่ารู้  เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เมื่อเห็นก็กล่าว
ว่าเห็น เพราะเหตุตนเอง เพราะเหตุผู้อื่น หรือเพราะเหตุ
เห็นแก่อามิสอะไรๆ ก็ไม่เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่

(2) ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ได้ฟัง
จากฝ่ายนี้แล้วไม่เก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อแตกจากฝ่ายนี้
หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้วไม่เก็บมาบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อแตกจาก
ฝ่ายโน้น แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้ว ให้กลับพร้อมเพรียงกัน
อุดหนุนคนที่พร้อมเพรียงกันอยู่ ให้พร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น
เป็นคนชอบในความพร้อมเพรียง เป็นคนยินดีในความ
พร้อมเพรียง เป็นคนพอใจในความพร้อมเพรียง กล่าวแต่
วาจาที่ทำให้พร้อมเพรียงกัน

(3) ละการกล่าวคำหยาบ เว้นขาดจากการกล่าว
คำหยาบ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต ให้เกิดความรัก
เป็นคำฟูใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน เป็นที่ใคร่ที่
พอใจของมหาชน กล่าวแต่วาจาเช่นนั้นอยู่

(4) ละคำพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำพูดเพ้อเจ้อ
กล่าวแต่ในเวลาอันสมควร กล่าวแต่คำจริง เป็นประโยชน์
เป็นธรรม เป็นวินัย กล่าวแต่วาจามีที่ตั้ง มีหลักฐานที่อ้างอิง
มีเวลาจบ ประกอบด้วยประโยชน์ สมควรแก่เวลา
จุนทะ อย่างนี้แล ความสะอาดทางวาจา ๔ อย่าง.
จุนทะ ความสะอาดทางใจมี อย่าง อะไรบ้าง
คือ จุนทะ บุคคลบางคนในกรณีนี้

(1) เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา คือ เป็นผู้ไม่โลภ
ไม่เพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่นว่าสิ่งใดเป็นของ
ผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็นของเรา ดังนี้

(2) เป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจอัน
ไม่ประทุษร้ายว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีสุข บริหารตนอยู่เถิด ดังนี้

(3) เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีทัสสนะไม่วิปริตว่า
ทานที่ให้แล้วมี (ผล) ยัญที่บูชาแล้วมี (ผล) การบูชาที่บูชา
แล้วมี (ผล) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี โลกนี้มี
โลกอื่นมี มารดามี บิดามี โอปปาติกะสัตว์มี สมณพราหมณ์
ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้ง
โลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้
ผู้อื่นรู้ก็มี ดังนี้

จุนทะ อย่างนี้แล ความสะอาดทางใจ ๓ อย่าง.
จุนทะ เหล่านี้แล เรียกว่า กุศลกรรมบถสิบ.

จุนทะ อนึ่ง เพราะมีการประกอบด้วยกุศลกรรมบถทั้งสิบประการ
เหล่านี้เป็นเหตุ พวกเทวดาจึงปรากฏพวกมนุษย์จึงปรากฏ
หรือว่าสุคติใดๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี.

… ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้แล
ย่อมเป็นเหมือนบุคคลผู้ถูกนำ ตัวไปเก็บไว้ในสวรรค์.

(ในสูตรอื่น -บาลีทสก. อํ. ๒๔/๓๒๕–๓๓๒/๑๙๘-๒๐๑.
แทนที่จะนับจำนวนกรรมบถมี๑๐ได้ทรงขยายออกไปเป็น๒๐คือ
ทำเองสิบชักชวนผู้อื่นให้ทำอีกสิบและทรงขยายออกไปเป็น๓๐
คือ
ทำเองสิบชักชวนผู้อื่นให้ทำสิบยินดีเมื่อเขาทำสิบ
และทรงขยายออกไปเป็น๔๐คือทำเอง สิบชักชวนผู้อื่น
ให้ทำสิบยินดีเมื่อเขาทำสิบ
สรรเสริญผู้กระทำสิบ
จึงมีกรรมบถสิบยี่สิบสามสิบสี่สิบ.


ในสูตรอื่น -บาลีทสก. อํ. ๒๔/๓๓๒-๓๓๓/๒๐๒–๒๐๓.
แสดงผลแห่งการกระทำแปลกออกไปจากคำว่าเหมือนถูก
นำตัวไปฝัง
ไว้ในนรกนั้นทรงแสดงด้วยคำว่าเป็นผู้ขุดราก
ตนเอง
ก็มี,ตายแล้วไปทุคติก็มี, เป็นพาลก็มีและจากคำว่า
เหมือนถูกนำตัวไป
เก็บไว้ในสวรรค์นั้นทรงแสดงด้วย
คำว่า
เป็นผู้ไม่ขุดรากตนเองก็มีตายแล้วไปสุคติก็มี
เป็นบัณฑิต
ก็มี.)