เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  จิต มโน วิญญาณ   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  05 of 5    
  จิต มโน วิญญาณ    ที่มา : http://watnapp.com/book  
     
    สารบัญ หน้า  
  92 . ความผูกติดกับอารมณ์ 230  
  93 . กายก็ออก จิตก็ออก 237  
  94 . อะไรคือกรรมเก่าและกรรมใหม่ 239  
  95 . กายนี้ เป็น “กรรมเก่า” 242  
  96 . ลักษณะความเป็นอนัตตา 244  
  97 . ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา 246  
  98 . เจริญสมาธิแล้ว จะรู้ได้ตามความเป็นจริงของขันธ์ ๕ 250  
  99 . รู้ชัดอุปาทานขันธ์โดยปริวัฏฏ์ ๔ 255  
  100 . ผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ 263  
  101 . สัพเพ ธัมมา อนัตตา (นัยที่ ๑) 272  
  102 . สัพเพ ธัมมา อนัตตา (นัยที่ ๒) 277  
  103 . ธรรมทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น 279  
  104 . อัตตามี หรือ อัตตาไม่มี 281  
  105 . อัตถิตาและนัตถิตา 282  
  106 . เหตุให้ไม่ปรินิพพานในทิฏฐธรรม 285  
  107 . พรหมจรรย์ มีนิพพานเป็นที่สุด 290  
  108 . ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีนิพพานเป็นที่สุด 292  
  จิต มโน วิญญาณ จบ    
       
 
 






หน้า 230
92 ความผูกติดกับอารมณ์
-บาลีสฬา. สํ. ๑๘/๔๓/๖๖.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอภิกษุจึงชื่อว่า
เป็นผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสองพระเจ้าข้า.

มิคชาละ รูป ทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยตา อันน่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
อยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่.
ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมาซึ่งรูปนั้น
เมื่อภิกษุเพลิดเพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมาซึ่งรูปนั้นอยู่
นันทิ (ความเพลิดเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น.

เมื่อนันทิ มีอยู่ สาราคะ (ความพอใจอย่างยิ่ง) ย่อมมี
เมื่อสาราคะ มีอยู่ สัญโญคะ (ความผูกติดกับอารมณ์) ย่อมมี.

มิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติด กับอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน (นนฺทิสญฺโญชนสํยุตฺโต) นั่นแหละ
เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง.

มิคชาละ เสียง ทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยหู อันน่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก … ถ้าหากว่า
ภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมาซึ่งเสียงนั้น …

นันทิ ย่อมเกิดขึ้น (อุปฺปชฺชติ นนฺทิ) เมื่อนันทิ มีอยู่ (นนฺทิยา สติ)
สาราคะ ย่อมมี (สาราโค โหติ) เมื่อสาราคะ มีอยู่ (สาราเค สติ)
สัญโญคะ ย่อมมี (สญฺโญโค โหติ).

มิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติดกับอารมณ์
ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ
เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง
.

มิคชาละ กลิ่น ทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยจมูก อันน่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก …ถ้าหากว่า
ภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมาซึ่งกลิ่นนั้น … นันทิ
ย่อมเกิดขึ้น เมื่อนันทิ มีอยู่ สาราคะ ย่อมมี เมื่อสาราคะ มีอยู่
สัญโญคะ ย่อมมี.

มิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติด
กับอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ
เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง.


มิคชาละ รส ทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยลิ้น อันน่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ
มีลักษณะน่ารัก … ถ้าหากว่า
ภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมาซึ่งรสนั้น … นันทิ
ย่อมเกิดขึ้น เมื่อนันทิ มีอยู่ สาราคะ ย่อมมี เมื่อสาราคะ มีอยู่
สัญโญคะ ย่อมมี.

มิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติด
กับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ
เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง.


มิคชาละ โผฏฐัพพะ ทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยกาย
อันน่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก …
ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมาซึ่ง
โผฏฐัพพะนั้น … นันทิ ย่อมเกิดขึ้น เมื่อนันทิ มีอยู่ สาราคะ
ย่อมมี เมื่อสาราคะ มีอยู่ สัญโญคะ ย่อมมี.

มิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติด
กับอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ
เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง.

มิคชาละ ธรรม ทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วย มโน อันน่า
ปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ
มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไป
ตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่
ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิด เพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมาซึ่งธรรมนั้น
เมื่อภิกษุเพลิดเพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมา ซึ่งธรรมนั้นอยู่
นันทิ ย่อมเกิดขึ้น เมื่อนันทิ มีอยู่ สาราคะ ย่อมมี เมื่อสาราคะ
มีอยู่ สัญโญคะ ย่อมมี.

มิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติด
กับอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ
เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง.


มิคชาละ ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้
ถึงจะเสพเสนาสนะ อันเป็นป่าและป่าทึบ ซึ่งเงียบสงัด
มีเสียงรบกวนน้อย
ไร้ซึ่งลมจากกายคน ควรเป็นที่ทำการ
อันสงบของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้นเช่นนี้แล้วก็ตาม
ถึงอย่างนั้น ภิกษุนั้น เราก็ยังคงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมี
เพื่อนสอง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะว่าตัณหานั่นแหละ
เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น เขายังละตัณหานั้นไม่ได้
ดังนั้น ภิกษุนั้น เราจึงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่า
เป็นผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว พระเจ้าข้า.

มิคชาละ รูปทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยตา อันน่า
ปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไป
ตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่
ถ้าหากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมาซึ่งรูปนั้น
เมื่อภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้น
นั่นแหละ นันทิ ย่อมดับ (นนฺทิ นิรุชฺฌติ) เมื่อนันทิ ไม่มีอยู่
(นนฺทิยา อสติ) สาราคะ ย่อมไม่มี (สาราโค น โหติ) เมื่อสาราคะ
ไม่มีอยู่ (สาราเค อสติ) สัญโญคะ ย่อมไม่มี (สญฺโญโค น โหติ).

มิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติดกับอารมณ์
ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน(นนฺทิสญฺโญชนวิสํยุตฺโต) นั่นแหละ
เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว.


มิคชาละ เสียงทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยหู อันน่า
ปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก …
ถ้าหากว่า ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมาซึ่งเสียงนั้น …
นันทิ ย่อมดับ เมื่อนันทิ ไม่มีอยู่ สาราคะ ย่อมไม่มี เมื่อ
สาราคะ ไม่มีอยู่ สัญโญคะ ย่อมไม่มี.
มิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการ
ผูกติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ
เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว.

มิคชาละ กลิ่นทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยจมูก อันน่า
ปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก …
ถ้าหากว่า ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมาซึ่งกลิ่นนั้น …
นันทิ ย่อมดับ เมื่อนันทิ ไม่มีอยู่ สาราคะ ย่อมไม่มี เมื่อ
สาราคะ ไม่มีอยู่ สัญโญคะ ย่อมไม่มี.

มิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการ
ผูกติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ
เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว.

มิคชาละ รสทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยลิ้น อันน่า
ปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก …
ถ้าหากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมาซึ่งรสนั้น …
นันทิ ย่อมดับ เมื่อนันทิ ไม่มีอยู่ สาราคะ ย่อมไม่มี เมื่อ
สาราคะ ไม่มีอยู่ สัญโญคะ ย่อมไม่มี.

มิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการ
ผูกติดกับอารมณ์ด้วยอำ􀄁นาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ
เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว.

มิคชาละ โผฏฐัพพะทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยกาย
อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก …
ถ้าหากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำ ถึงไม่สยบมัวเมาซึ่ง
โผฏฐัพพะนั้น … นันทิ ย่อมดับ เมื่อนันทิ ไม่มีอยู่ สาราคะ
ย่อมไม่มี เมื่อสาราคะ ไม่มีอยู่ สัญโญคะ ย่อมไม่มี.
มิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการ
ผูกติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ
เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว.

มิคชาละ ธรรมทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยมโน อันน่า
ปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไป
ตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่
ถ้าหากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมาซึ่ง
ธรรมนั้น เมื่อภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมา
ซึ่งธรรมนั้น นั่นแหละ นันทิ ย่อมดับ เมื่อนันทิ ไม่มีอยู่
สาราคะ ย่อมไม่มี เมื่อสาราคะ ไม่มีอยู่ สัญโญคะ ย่อมไม่มี.

มิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติด
กับอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแหละ
เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว.

มิคชาละ ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้จะอยู่
ในหมู่บ้าน อันระคนไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของ
เดียรถีย์ทั้งหลายก็ตาม ถึงอย่างนั้น ภิกษุนั้น เราก็ยังคง
เรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะว่า ตัณหานั่นแหละเป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น
ตัณหานั้น เธอละได้แล้ว ดังนั้น ภิกษุนั้น
เราจึงเรียกว่า ผู้มีการอยู่ อย่างอยู่ผู้เดียว


หน้า 237
93 กายก็ออก
จิตก็ออก
-บาลีจตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๘๕/๑๓๘.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่
ในโลก ๔ จำพวกอะไรบ้าง คือ
(1) กายออก แต่จิตไม่ออก (นิกฺกฏฺฐกาโย อนิกฺกฏฺฐจิตฺโต)
(2) กายไม่ออก แต่จิตออก (อนิกฺกฏฺฐกาโย นิกฺกฏฺฐจิตฺโต)
(3) กายก็ไม่ออก จิตก็ไม่ออก (อนิกฺกฏฺฐกาโย จ อนิกฺกฏฺฐจิตฺโต จ)
(4) กายก็ออก จิตก็ออก (นิกฺกฏฺฐกาโย จ นิกฺกฏฺฐจิตฺโต จ)

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ชื่อว่า กายออก แต่จิตไม่ออกเป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เสพเสนาสนะอันสงัด
คือป่าและป่าทึบ ในที่นั้นๆ เขาตรึกถึง กามวิตก บ้าง
ตรึกถึง พยาบาทวิตก บ้าง
ตรึกถึง วิหิงสา-วิตก บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล บุคคลที่ชื่อว่า กายออก แต่จิตไม่ออก.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ชื่อว่า กายไม่ออก แต่จิตออกเป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้เสพเสนาสนะอันสงัด
คือป่าและป่าทึบ
ในที่นั้นๆ เขาตรึกถึงเนกขัมมวิตกบ้าง
ตรึกถึง อัพยาบาทวิตก บ้าง
ตรึกถึง อวิหิงสาวิตกบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล บุคคล ที่ชื่อว่า กายไม่ออก แต่จิตออก.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ชื่อว่ากายก็ไม่ออก จิตก็ไม่ออกเป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้เสพเสนาสนะอันสงัด
คือป่าและป่าทึบ
ในที่นั้นๆ เขาตรึกถึงกามวิตกบ้าง
ตรึกถึงพยาบาทวิตกบ้าง ตรึกถึง วิหิงสาวิตกบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล บุคคลที่ชื่อว่า กายก็ไม่ออก จิตก็ไม่ออก.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ชื่อว่า กายก็ออก จิตก็ออก เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เสพเสนาสนะอันสงัด
คือป่าและป่าทึบ
ในที่นั้นๆ เขาตรึกถึงเนกขัมมวิตกบ้าง
ตรึกถึงอัพยาบาทวิตกบ้าง ตรึกถึง อวิหิงสาวิตกบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล บุคคลที่ชื่อว่า กายก็ออก จิตก็ออก.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้แล มีปรากฏ
อยู่ในโลก.


หน้า 239
94 อะไรคือกรรมเก่าและกรรมใหม่

-บาลีสฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖/๒๒๗.

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงซึ่งกรรมทั้งหลาย ทั้งใหม่
และเก่า (นวปุราณ) ความดับแห่งกรรม และข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดบั แหง่ กรรม พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าว.
ภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่าเป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย
ตา
อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็น กรรมเก่า
อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น (อภิสงฺขตํ) สำเร็จด้วยเจตนา
(อภิสญฺเจตยิตํ) เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา (เวทนิยํ ทฏฺฐพฺพํ)
หู อันเธอ ทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ...
จมูก
อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ...
ลิ้น
อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่า เป็นกรรมเก่า ...
กาย
อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ...
มโน
อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า
อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า กรรมเก่า.

ภิกษุทั้งหลาย กรรมใหม่ เป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลกระทำกรรม ด้วยกาย
ด้วยวาจา ด้วยใจ ในกาลบัดนี้
อันนี้เรียกว่า กรรมใหม่.

ภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งกรรม เป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลถูกต้องวิมุตติ เพราะ
ความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
อันนี้เรียกว่า ความดับแห่งกรรม.
ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม
เป็นอย่างไร.

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ นี้นั่นเอง เป็นข้อ
ปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม
คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม.

ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล กรรมเก่าเราก็ได้
แสดงแล้ว กรรมใหม่เราก็ได้แสดงแล้ว ความดับแห่งกรรม
เราก็ได้แสดงแล้ว ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรมเราก็ได้
แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย กิจใดที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหา
ประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวก
ทั้งหลาย กิจนั้นเราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.

ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง พวกเธอ
จงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ
ในภายหลังเลย นี่แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา
แก่เธอทั้งหลาย.


หน้า 242
95 กายนี้ เป็น “กรรมเก่า”
-บาลีนิทาน. สํ. ๑๖/๗๗/๑๔๓.

ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และ
ทั้งไม่ใช่ของบุคคลเหล่าอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่า (กาย) นี้ อันเธอทั้งหลายพึงเห็นว่า
เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
(อภิสงฺขต) สำเร็จด้วยเจตนา
(อภิสญฺเจตยิต) เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา (เวทนิยํ ทฏฺฐพฺพํ).

ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีของกายนั้น อริยสาวกผู้ได้
สดับแล้ว ย่อมกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี
ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า

เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี (อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ)
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
(อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ)

เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี (อิมสฺมึ สติ อิทํ น โหติ)
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป
(อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ)

ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ

เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะมีวิญญาณ
เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย
จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็น
ปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย
จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้ง หลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความ
เกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้น
นั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดับ
แห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ เพราะมีความดับ
แห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป เพราะมีความดับ
แห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ เพราะมีความดับ
แห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ เพราะมีความดับ
แห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา เพราะมีความดับ
แห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา เพราะมีความดับ
แห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับ
แห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับ
แห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่ง
ชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะ
ทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล.

หน้า 244
96 ลักษณะความเป็นอนัตตา
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๒/๑๒๗.

ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ก็หากว่ารูปนี้
จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ รูปก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ(เสื่อมไป)
ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความปรารถนาในรูปว่า ขอรูป
ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะ
เหตุที่รูปเป็นอนัตตา ดังนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และสัตว์ย่อมไม่ได้ตามความปรารถนาในรูปว่า ขอรูป
ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป็นอนัตตา ก็หากว่าเวทนานี้
จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนาก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ
ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความปรารถนาในเวทนาว่า ขอเวทนา
ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะ
เหตุที่เวทนาเป็นอนัตตา ดังนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และสัตว์ย่อมไม่ได้ตามความปรารถนาในเวทนาว่า ขอเวทนา
ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย สัญญาเป็นอนัตตา ก็หากว่าสัญญานี้
จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สัญญาก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ
ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความปรารถนาในสัญญาว่า ขอสัญญา
ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะ
เหตุที่สัญญา เป็น อนัตตา ดังนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และสัตว์ย่อมไม่ได้ตามความปรารถนาในสัญญาว่า ขอสัญญา
ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย สังขารเป็นอนัตตา ก็หากว่าสังขารนี้
จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สังขารก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ
ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความปรารถนาในสังขารว่า ขอสังขาร
ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะ
เหตุที่สังขารเป็น อนัตตา ดังนั้น สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และสัตว์ย่อมไม่ได้ตามความปรารถนาในสังขารว่า ขอสังขาร
ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นอนัตตา ก็หากว่าวิญญาณนี้
จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ วิญญาณก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ
ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความปรารถนาในวิญญาณว่า ขอวิญญาณ
ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะ
เหตุที่วิญญาณเป็นอนัตตา ดังนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และสัตว์ย่อมไม่ได้ตามความปรารถนาในวิญญาณว่า ขอวิญญาณ
ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้ เป็นอย่างนั้นเลย.


หน้า 246
97 ขันธ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๙/๔๕.

ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูป เกิดขึ้น
ก็ไม่เที่ยง รูปที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยง
ได้อย่างไร.

เวทนาไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้เวทนาเกิดขึ้น
ก็ไม่เที่ยง เวทนาที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยง
ได้อย่างไร.

สัญญาไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้สัญญาเกิดขึ้น
ก็ไม่เที่ยง สัญญาที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยง
ได้อย่างไร.

สังขารไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้สังขารเกิดขึ้น
ก็ไม่เที่ยง สังขารที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยง
ได้อย่างไร.

วิญญาณไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น
ก็ไม่เที่ยง วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยง
ได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้
รูปเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ รูปที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุข
ได้อย่างไร.

เวทนาเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้เวทนาเกิดขึ้นก็เป็นทุกข์
เวทนาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.

สัญญาเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้สัญญาเกิดขึ้นก็เป็นทุกข์
สัญญาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.

สังขารเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้สังขารเกิดขึ้นก็เป็นทุกข์
สังขารที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.

วิญญาณเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้นก็เป็นทุกข์
วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น
ก็เป็นอนัตตา รูปที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา
จะเป็นอัตตาได้อย่างไร.

เวทนาเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้เวทนาเกิดขึ้น
ก็เป็นอนัตตา เวทนาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา จะเป็นอัตตา
ได้อย่างไร.

สัญญาเป็นอนัตตา
แม้เหตุปัจจัยที่ให้สัญญาเกิดขึ้น
ก็เป็นอนัตตา สัญญาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา จะเป็นอัตตา
ได้อย่างไร.

สังขารเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้สังขารเกิดขึ้น
ก็เป็นอนัตตา สังขารที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา จะเป็นอัตตา
ได้อย่างไร.

วิญญาณเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น
ก็เป็นอนัตตา วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา
จะเป็นอัตตาได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นเป็นอนัตตาสิ่งใดเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา
(เนตํ มม) ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ)
ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา)ข้อนี้อริยสาวกพึงเห็น
ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้.

เวทนาไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใด
เป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่
ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวก
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้.

สัญญาไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใด
เป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่
ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวก
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้.

สังขารไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใด
เป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่
ของเราไม่ใช่เป็นเราไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวก
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้.

วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใด
เป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่
ของเราไม่ใช่เป็นเราไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวก
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้.

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ใน
วิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็น
อย่างนี้ ไม่ได้มีอีก.


หน้า 250
98 เจริญสมาธิแล้วจะรู้ได้ตาม
ความเป็นจริงของขันธ์

-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘/๒๗.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด
ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ก็ภิกษุ
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งอะไร คือ ย่อมรู้ชัดตามความ
เป็นจริง ซึ่ง ความเกิด และความดับ แห่ง รูป ย่อมรู้ชัดตาม
ความเป็นจริง ซึ่งความเกิดและความดับแห่งเวทนา ย่อมรู้ชัด
ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดและความดับแห่งสัญญา ย่อม
รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด และความดับแห่ง สังขาร
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดและความดับ
แห่งวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป อะไร
เป็นความเกิดแห่งเวทนา อะไรเป็นความเกิดแห่งสัญญา
อะไรเป็นความเกิดแห่งสังขาร อะไรเป็นความเกิดแห่ง
วิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำถึง ย่อมสยบมัวเมาอยู่ ก็บุคคลย่อม เพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำถึง ย่อมสยบมัวเมาอยู่ซึ่งอะไร ย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำถึง ย่อมสยบมัวเมาอยู่ซึ่งรูป เมื่อเขาเพลิดเพลิน
พรำถึง
สยบมัวเมาอยู่ซึ่งรูป ความเพลินก็เกิดขึ้น

ความเพลินใดในรูป ความเพลิน นั้นเป็น อุปาทาน เพราะ
อุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย
จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ-
โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ความเกิดขึ้น
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำถึง ย่อมสยบมัวเมาอยู่… ซึ่ง เวทนา เมื่อเขา
เพลิดเพลิน พรำถึง สยบมัวเมาอยู่ซึ่ง เวทนา ความเพลิน
ก็เกิดขึ้น ความเพลินใดในเวทนา ความเพลินนั้นเป็นอุปาทาน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน
ยอมพร่ำถึง ย่อมสยบมัวเมาอยู่… ซึ่งสัญญา เมื่อเขา
เพลิด เพลิน พร่ำถึงสยบมัวเมาอยู่ซึ่งสัญญา ความเพลิน
ก็เกิดขึ้น ความเพลินใดในสัญญา ความเพลินนั้นเป็นอุปาทาน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำถึงย่อมสยบมัวเมาอยู่… ซึ่งสังขาร เมื่อเขาเพลิดเพลิน
พร่ำถึง
สยบมัวเมาอยู่ซึ่งสังขาร ความเพลิน ก็เกิดขึ้น
ความเพลินใดในสังขาร
ความเพลินนั้นเป็นอุปาทาน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำถึงย่อมสยบมัวเมาอยู่ … ซึ่งวิญญาณ เมื่อเขาเพลิดเพลิน
พร่ำถึง สยบมัวเมาอยู่ซึ่ง วิญญาณ ความเพลิน ก็เกิดขึ้น
ความเพลินใดในวิญญาณ ความเพลินนั้นเป็นอุปาทาน


เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย
จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี
ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความเกิดแห่งรูป ความเกิด
แห่งเวทนา ความเกิดแห่งสัญญา ความเกิดแห่งสังขาร
และความเกิดแห่งวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความดับแห่งรูป อะไร
เป็นความดับแห่งเวทนา อะไรเป็นความดับแห่งสัญญา
อะไรเป็นความดับแห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่ง
วิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมไม่
เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่สยบมัวเมาอยู่ ก็บุคคล
ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่สยบมัวเมาอยู่
ซึ่งอะไร ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่สยบ
มัวเมาอยู่ซึ่งรูป เมื่อเขาไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบ
มัวเมาอยู่ซึ่งรูป ความเพลินในรูปย่อมดับ เพราะมีความดับ
แห่งความเพลิน จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความ
ดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับ
แห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาติ
นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะ
ทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี
ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมไม่
เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่สยบมัวเมาอยู่ … ซึ่ง
เวทนา เมื่อเขาไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมาอยู่
ซึ่งเวทนา ความเพลินในเวทนาย่อมดับ เพราะมีความดับ
แห่งความเพลิน จึงมีความดับแห่งอุปาทาน … ความดับลง
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมไม่
เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่สยบมัวเมาอยู่ … ซึ่ง
สัญญา เมื่อเขาไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมาอยู่
ซึ่งสัญญา ความเพลินในสัญญาย่อมดับ เพราะมีความดับ
แห่งความเพลิน จึงมีความดับแห่งอุปาทาน … ความดับลง
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมไม่
เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่สยบมัวเมาอยู่ … ซึ่ง
สังขาร เมื่อเขาไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมาอยู่
ซึ่งสังขาร ความเพลินในสังขารย่อมดับ เพราะมีความดับ
แห่งความเพลิน จึงมีความดับแห่งอุปาทาน … ความดับลง
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน
ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่สยบมัวเมาอยู่ ก็บุคคล ย่อมไม่
เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่สยบมัวเมาอยู่ ซึ่งอะไร
ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่สยบ มัวเมาอยู่
ซึ่งวิญญาณ เมื่อเขาไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึงไม่สยบมัวเมา
อยู่ซึ่งวิญญาณ
ความเพลินในวิญญาณย่อมดับ
เพราะมี ความดับแห่งความเพลิน จึงมีความดับแห่ง
อุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับ
แห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่ง
กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความดับแห่งรูป ความดับแห่งเวทนา
ความดับแห่งสัญญาความดับแห่งสังขาร และ
ความดับแห่งวิญญาณ
.


หน้า 255
99 รู้ชัดอุปาทานขันธ์โดยปริวัฏฏ์
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๒/๑๑๒.

ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ประการนี้ ๕ ประการ
อะไรบ้าง คือ อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา
อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์
คือวิญญาณ ภิกษุทั้งหลาย ตลอดกาลเพียงใด ที่เรายังไม่รู้ชัด
(อพฺภญฺญาสึ) ซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ โดยปริวัฏฏ์ ๔ ตาม
ความเป็นจริง ตลอดกาลเพียงนั้น เราก็จะยังไม่ปฏิญาณว่า
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เรารู้ชัดซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕
เหล่านี้ โดยปริวัฏฏ์ ๔ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึง
ปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.

ภิกษุทั้งหลาย ปริวัฏฏ์ ๔ เป็นอย่างไร คือ
เราได้รู้ชัดซึ่งรูป
ได้รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งรูป
ได้รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป
ได้รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งรูป

เราได้รู้ชัดซึ่ง เวทนา
ได้รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งเวทนา
ได้รู้ชัดซึ่งความดับแห่งเวทนา
ได้รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนา

เราได้ รู้ชัดซึ่งสัญญา
ได้รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งสัญญา
ได้รู้ชัดซึ่งความดับแห่งสัญญา
ได้รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสัญญา

เราได้รู้ชัดซึ่งสังขาร
ได้รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งสังขาร
ได้รู้ชัดซึ่งความดับแห่งสังขาร
ได้รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร

เราได้รู้ชัดซึ่งวิญญาณ
ได้รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งวิญญาณ
ได้รู้ชัดซึ่งความดับแห่งวิญญาณ
ได้รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็รูปเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย
มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป
ความเกิดขึ้นแหง่ รูป ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร
ความดับแห่งรูปย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ นี้นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติ
ให้ถึงความดับแห่งรูป คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง รู้ชัดแล้วซึ่งรูปอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่ง
รูปอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่งรูปอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่ง
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ แล้วปฏิบัติเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งรูป
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด
ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งรู้ชัดแล้วซึ่งรูปอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่ง
รูปอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่งรูปอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งข้อ
ปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ แล้วเป็นผู้หลุดพ้น เพราะ
เบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่น
ในรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นเป็นเกพลี สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เป็นเกพลี วัฏฏะย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย
หมู่แห่งเวทนา ๖ เหล่านี้ คือ เวทนาอันเกิดจากจักขุสัมผัส
เวทนาอันเกิดจากโสตสัมผัส เวทนาอันเกิดจากฆานสัมผัส
เวทนาอันเกิดจากชิวหาสัมผัส เวทนาอันเกิดจากกายสัมผัส
เวทนาอันเกิดจากมโนสัมผัส ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
เวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดขึ้น
แห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความดับแห่ง
ผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ นี้นั่นเอง เป็น
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนา

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งรู้ชัดแล้วซึ่งเวทนาอย่างนี้ … แล้วปฏิบัติเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งเวทนา
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด
ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง รู้ชัดแล้วซึ่งเวทนาอย่างนี้ … แล้วเป็นผู้หลุดพ้น
เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่
ถือมั่นในเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้น
ดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว … วัฏฏะ
ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญาเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย
หมู่แห่งสัญญา ๖ เหล่านี้ คือ สัญญาในรูป สัญญาในเสียง
สัญญาในกลิ่น สัญญาในรส สัญญาในโผฏฐัพพะ สัญญา
ในธรรม ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสัญญา ความเกิดขึ้นแห่ง
สัญญาย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสัญญา
ย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ นี้นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่ง
สัญญา

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งรู้ชัดแล้วซึ่งสัญญาอย่างนี้ … แล้วปฏิบัติเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งสัญญา
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด
ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง รู้ชัดแล้วซึ่งสัญญาอย่างนี้ … แล้วเป็นผู้หลุดพ้น
เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่
ถือมั่นในสัญญา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้น
ดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว … วัฏฏะ
ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร ภิกษุ
ทั้งหลาย หมู่แห่งเจตนา ๖ เหล่านี้ คือ สัญเจตนาในรูป
สัญเจตนาในเสียง สัญเจตนาในกลิ่น สัญเจตนาในรส
สัญเจตนาในโผฏฐัพพะ สัญเจตนาในธรรม

ภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่าสังขารทั้งหลาย ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขารย่อมมี
เพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์
นี้นั่นเอง
เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งรู้ชัดแล้วซึ่งสังขารอย่างนี้ … แล้วปฏิบัติ เพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งสังขาร
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด
ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง รู้ชัดแล้วซึ่งสังขารอย่างนี้ … แล้วเป็นผู้หลุดพ้น
เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่
ถือมั่นในสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้น
ดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว … วัฏฏะ
ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย
หมู่แห่งวิญญาณ ๖ เหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความดับแห่ง
วิญญาณย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป อริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์๘ นี้นั่น เอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความ
ดับแห่งวิญญาณ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และ
สัมมาสมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง รู้ชัดแล้วซึ่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้น
แห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้
รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้
แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อ
ความดับแห่งวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า
ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อม
หยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง รู้ชัดแล้วซึ่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้น
แห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้

รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ แล้ว
เป็นผู้หลุดพ้น เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะ
ความดับ เพราะไม่ถือมั่น ในวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นเกพลี สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นเกพลี วัฏฏะย่อมไม่มีแก่สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้น__


หน้า 263
100 ผู้ฉลาดในฐานะ ประการ
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๖/๑๑๘.

... ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ประการ
(สตฺตฏฺฐานกุสโล) ผู้พิจารณาใคร่ครวญโดยวิธี ประการ
(ติวิธูปปริกฺขี) เราเรียกว่าเกพลี อยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์
เป็นอุดมบุรษในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ
เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
รู้ชัดซึ่งรูป (1)
รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งรูป (2)
รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป (3)
รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งรูป (4)
รู้ชัดซึ่งคุณ (อสฺสาท) แห่งรูป (5)
รู้ชัดซึ่งโทษ (อาทีนว) แห่งรูป (6)
รู้ชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดออก(นิสฺสรณ) แห่งรูป (7)

รู้ชัดซึ่งเวทนา
รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งเวทนา
รู้ชัดซึ่งความดับแห่งเวทนา
รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนา
รู้ชัดซึ่งคุณแห่งเวทนา
รู้ชัดซึ่งโทษแห่งเวทนา
รู้ชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา

รู้ชัดซึ่งสัญญา
รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งสัญญา
รู้ชัดซึ่งความดับแห่งสัญญา
รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสัญญา
รู้ชัดซึ่งคุณแห่งสัญญา
รู้ชัดซึ่งโทษแห่งสัญญา
รู้ชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดออกแห่งสัญญา

รู้ชัดซึ่งสังขา
รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งสังขาร
รู้ชัดซึ่งความดับแห่งสังขาร
รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร
รู้ชัดซึ่งคุณแห่งสังขาร
รู้ชัดซึ่งโทษแห่งสังขา
รู้ชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดออกแห่งสังขาร

รู้ชัดซึ่งวิญญาณ
รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งวิญญาณ
รู้ชัดซึ่งความดับแห่งวิญญาณ
รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
รู้ชัดซึ่งคุณแห่งวิญญาณ
รู้ชัดซึ่งโทษแห่งวิญญาณ
รู้ชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย
(1)
ก็รูปเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย มหาภูตรูป ๔ และรูป
ที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป
(2) ความเกิดขึ้นแห่งรูปย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร
(3) ความดับแห่งรูปย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร
(4) อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความ ดับแห่งรูป คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมา สังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
(5)
สุขโสมนัสใดอาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งรูป
(6)
รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
นี้เป็นโทษแห่งรูป

(7)
การกำจัดฉันทราคะ
(ฉนฺทราควินโย) การละฉันทราคะ
(ฉนฺทราคปฺปหานํ) ในรูปเสียได้ นี้เป็นอุบายเครื่องสลัด
ออกแห่งรูป.


            ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งรู้ชัดแล้วซึ่งรูปอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่ง
รูปอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่งรูปอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่ง
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งคุณแห่ง
รูปอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งโทษแห่งรูปอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งอุบาย
เครื่องสลัดออกแห่งรูปอย่างนี้ แล้วปฏิบัติเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งรูป
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด
ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้

            ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งรู้ชัดแล้ว ซึ่งรูปอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่ง
รูปอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่งรูปอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่ง
ข้อ ปฏิบัติให้ถึงความดับแห่ง รูปอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งคุณแห่ง
รูปอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งโทษแห่งรูปอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งอุบาย
เครื่องสลัดออกแห่งรูปอย่างนี้ แล้วเป็นผู้หลุดพ้น เพราะเบื่อหน่าย
เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นในรูป
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นเป็นเกพลี สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็น เกพลี*
วัฏฏะย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.


(* เกพลี หมายถึงผู้ฉลาดในธรรม7ประการ
และผู้ใคร่ครวญธรรม3ประการ-ด้านล่าง)

...............................................................................

            ภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย
หมู่แห่งเวทนา ๖ เหล่านี้ คือ เวทนาอันเกิดจากจักขุสัมผัส
เวทนาอันเกิดจากโสตสัมผัส เวทนาอันเกิดจากฆานสัมผัส
เวทนาอันเกิดจากชิวหาสัมผัส เวทนาอันเกิดจากกายสัมผัส
เวทนาอันเกิดจากมโนสัมผัส ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
เวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดขึ้น
แห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความดับแห่ง
ผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็น
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนา … สุขโสมนัสใดอาศัย
เวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งเวทนา เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งเวทนา
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในเวทนาเสียได้
นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา


            ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งรู้ชัดแล้ว ซึ่งเวทนาอย่างนี้ … แล้ว ปฏิบัติเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งเวทนา
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด
ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

            ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง รู้ชัดแล้วซึ่งเวทนาอย่างนี้ … แล้วเป็นผู้หลุดพ้น
เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่
ถือมั่นในเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้น
ดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว … วัฏฏะ
ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
...............................................................................

            ภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญาเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย
หมู่แห่งสัญญา ๖ เหล่านี้ คือ สัญญาในรูป สัญญาในเสียง
สัญญาในกลิ่น สัญญาในรส สัญญาในโผฏฐัพพะ สัญญา
ในธรรม ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสัญญา ความเกิดขึ้นแห่ง
สัญญาย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสัญญา
ย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ

            อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง
เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสัญญา … สุขโสมนัสใดอาศัย
สัญญาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งสัญญา สัญญาไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งสัญญา
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในสัญญาเสียได้
นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งสัญญา


            ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งรู้ชัดแล้วซึ่งสัญญาอย่างนี้ … แล้วปฏิบัติเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งสัญญา
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด
ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

            ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง รู้ชัดแล้วซึ่งสัญญาอย่างนี้ … แล้วเป็นผู้หลุดพ้น
เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่
ถือมั่นในสัญญา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้น
ดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว … วัฏฏะ
ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
...............................................................................

            ภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร ภิกษุ
ทั้งหลาย หมู่แห่งเจตนา ๖ เหล่านี้ คือ สัญเจตนาในรูป
สัญเจตนาในเสียง สัญเจตนาในกลิ่น สัญเจตนาในรส
สัญเจตนาในโผฏฐัพพะ สัญเจตนาในธรรม ภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่าสังขารทั้งหลาย ความเกิดขึ้นแห่งสังขารย่อมมี
เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขารย่อมมี
เพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วย
องค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร …
สุขโสมนัสใดอาศัยสังขารเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งสังขาร
สังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
นี้เป็นโทษแห่งสังขาร การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ
ในสังขารเสียได้ นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งสังขาร.


            ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งรู้ชัดแล้ว ซึงสังขารอย่างนี้ … แล้วปฏิบัติเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งสังขาร
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด
ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

            ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งรู้ชัดแล้วซึ่งสังขารอย่างนี้ … แล้วเป็นผู้หลุดพ้น
เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่
ถือมั่นในสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้น
ดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว … วัฏฏะ
ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
...............................................................................

            ภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย
หมู่แห่งวิญญาณ ๖ เหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความดับแห่ง
วิญญาณย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป อริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความ
ดับแห่งวิญญาณ … สุขโสมนัสใดอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น
นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ
แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ การกำจัด
ฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณเสียได้
นี้เป็นอุบาย
เครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ


            ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งรู้ชัดแล้ว ซึ่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้น
แห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้
รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัด
แล้วซึ่งคุณแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งโทษแห่งวิญญาณ
อย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ
อย่างนี้ แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด
เพื่อความดับแห่งวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้น
ชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้

            ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งรู้ชัดแล้วซึ่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้น
แห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้
รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัด
แล้วซึ่งคุณแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งโทษแห่งวิญญาณ
อย่างนี้ รู้ชัดแล้วซึ่งอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ
อย่างนี้ แล้วเป็นผู้หลุดพ้น เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด
เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นในวิญญาณ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นเกพลี
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นเกพลี วัฏฏะย่อมไม่มีแก่
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
...............................................................................

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญ
โดยวิธี ประการ เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
.. ย่อมพิจารณาใคร่ครวญโดยความเป็นธาตุ
.. ย่อมพิจารณา ใคร่ครวญโดยความเป็นอายตนะ
.. ย่อมพิจารณาใคร่ครวญ โดยความเป็นปฏิจจสมุปบาท

ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
ภิกษุย่อมเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญโดยวิธี ๓ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ
ผู้พิจารณาใคร่ครวญโดยวิธี ๓ ประการ เราเรียกว่าเกพลี
อยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรษในธรรมวินัยนี้ ดังนี้.
(ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพิจารณาโดยความเป็นอายตนะและ
การพิจารณาโดยความเป็นธาตุได้ที่หน้า 118 และ 198.
-ผู้รวบรวม)



หน้า 272
101 สัพเพ ธัมมา อนัตตา (นัยที่ ๑)
-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๒๖/๓๙๖.

… ท่านพระโคดมผู้เจริญ ทรงแนะนำ สาวกทั้งหลายอย่างไร
และคำสั่งสอนของท่านพระโคดมผู้เจริญ ที่เป็นไปในสาวกทั้งหลายโดยส่วนมากเป็นอย่างไร.

อัคคิเวสสนะ เราแนะนำสาวกทั้งหลายอย่างนี้ และ
คำสั่งสอนของเราที่เป็นไปในสาวกทั้งหลายโดยส่วนมากเป็น
อย่างนี้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขาร
ทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา เวทนา
เป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา
วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง (สพฺเพ
สงฺขารา อนิจจา)1 ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา (สพฺเพ
ธมฺมา อนตฺตา) ดังนี้ อัคคิเวสสนะ เราแนะนำสาวกทั้งหลาย
อย่างนี้ และคำสั่งสอนของเราที่เป็นไปในสาวกทั้งหลายโดย
ส่วนมากเป็นอย่างนี้.

ท่านพระโคดมผู้เจริญ ขออุปมาจงแจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า.
อัคคิเวสสนะ อุปมานั้นจงแจ่มแจ้งแก่ท่านเถิด.

ท่านพระโคดมผู้เจริญ เหมือนพืชพันธุ์ไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ที่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ พืชพันธุ์เหล่านั้นทั้งหมด
ต้องอาศัย แผ่นดิน ตั้งอยู่ในแผ่นดิน จึงจะถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ได้ หรือ
1. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐใช้ว่าสพฺเพสงฺขาราอนตฺตา.
-ผู้รวบรวม


เหมือนการงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้องทำด้วยกำลัง
อันบุคคลกระทำอยู่ การงานเหล่านั้นทั้งหมด บุคคลต้อง
อาศัยแผ่นดิน ต้องตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงจะกระทำกันได้
ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ที่บุรุษบุคคลนี้ มีรูปเป็นอัตตา ต้องดำรงอยู่ในรูป
จึงจะประสบผลบุญหรือบาปได้

บุรุษบุคคลนี้ มีเวทนาเป็นอัตตา ต้องดำรงอยู่ในเวทนา
จึงจะประสบผลบุญหรือบาปได้

บุรุษบุคคลนี้ มีสัญญาเป็นอัตตา ต้องดำรงอยู่ในสัญญา
จึงจะประสบผลบุญ หรือบาปได้

บุรุษบุคคลนี้ มีสังขารเป็นอัตตา ต้องดำรงอยู่ในสังขาร
จึงจะประสบผลบุญหรือบาปได้

บุรุษบุคคลนี้ มีวิญญาณเป็นอัตตา ต้องดำรงอยู่ในวิญญาณ
จึงจะประสบผลบุญหรือบาปได้.

อัคคิเวสสนะ ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า รูปเป็นอัตตา ของเรา
เวทนาเป็นอัตตาของเรา สัญญาเป็นอัตตาของเรา
สังขารทั้งหลายเป็นอัตตาของเรา วิญญาณเป็นอัตตา
ของเรา ใช่ไหม.


ท่านพระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้ากล่าวอย่างนั้นจริง และหมู่ชน
เป็นอันมากก็กล่าวอย่างนั้นว่า รูปเป็นอัตตาของเรา เวทนาเป็น
อัตตา ของเรา สัญญาเป็นอัตตาของเรา สังขารทั้งหลายเป็น
อัตตาของเรา วิญญาณเป็นอัตตาของเรา.

อัคคิเวสสนะ หมู่ชนเป็นอันมากนั้นจะช่วยอะไรท่านได้
อัคคิเวสสนะ เชิญท่านยืนยันถ้อยคำของท่านเถิด.
ท่านพระโคดมผู้เจริญ เป็นความจริง ข้าพเจ้ากล่าวอย่างนี้ว่า
รูปเป็นอัตตาของเรา เวทนาเป็นอัตตาของเรา สัญญาเป็นอัตตา
ของเราสังขารทั้งหลายเป็นอัตตาของเรา
วิญญาณเป็นอัตตาของเรา ดังนี้.

อัคคิเวสสนะ ถ้าอย่างนั้น เราจักสอบถามท่านในข้อนี้
แหละ ท่านเห็นควรอย่างไร ท่านจงตอบอย่างนั้น อัคคิเวสสนะ
ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร อำนาจของพระราชา
มหากษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล
หรือพระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิบุตรแห่งมคธ มีอำนาจที่จะ
ฆ่าคนที่ควรฆ่า ริบทรัพย์คนที่ควรริบทรัพย์ เนรเทศคนที่
ควรเนรเทศ ซึ่งสามารถกระทำได้ในพระราชอาณาเขตของ
พระองค์ใช่ไหม.

ท่านพระโคดมผู้เจริญ อำนาจของพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้
มุรธาภิเษกแล้ว เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล หรือพระเจ้าอชาตศัตรู
เวเทหิบุตร แห่งมคธ มีอำนาจที่จะฆ่าคนที่ควรฆ่า ริบทรัพย์คน
ที่ควรริบทรัพย์ เนรเทศคนที่ควรเนรเทศ ซึ่งสามารถกระทำ
ได้ในพระราชอาณาเขต ของพระองค์ แม้แต่อำนาจของหมู่คณะ
ผู้ปกครองเหล่านี้ คือ เจ้าวัชชี เจ้ามัลละ ก็มีอำนาจที่จะฆ่าคน
ที่ควรฆ่า ริบทรัพย์คนที่ควรริบทรัพย์ เนรเทศคนที่ควรเนรเทศ
ซึ่งสามารถกระทำได้ในแว่นแคว้นของตนๆ ทำไมพระราชา
มหากษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล
หรือพระเจ้า อชาตศัตรูเวเทหิบุตรแห่งมคธ จะไม่มีอำนาจเล่า
อำนาจเช่นนั้น ของพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้วนั้น
ต้องเป็นไปได้ด้วยและควรจะเป็นไปได้ด้วย.

อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร
ข้อที่ท่านกล่าวว่า รูปเป็นอัตตาของเรา อำนาจของท่าน
เป็นไปในรูปนั้นว่า ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้
เป็นอย่างนั้นเลย อย่างนี้หรือ.

ข้อนี้เป็นไปไม่ได้เลย ท่านพระโคดมผู้เจริญ.
อัคคิเวสสนะ ท่านจงทำไว้ในใจเถิด ครั้นทำไว้ใน
ใจแล้ว จึงค่อยตอบ เพราะคำหลังกับคำก่อน หรือคำก่อน
กับคำหลังของท่านไม่ตรงกัน อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญ
ความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาเป็นอัตตา
ของเรา … สัญญาเป็นอัตตาของเรา … สังขารทั้งหลายเป็น
อัตตาของเรา … วิญญาณเป็นอัตตาของเรา อำนาจของท่าน
เป็นไปในวิญญาณนั้นว่า ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย อย่างนี้หรือ.

ข้อนี้เป็นไปไม่ได้เลย ท่านพระโคดมผู้เจริญ.
อัคคิเวสสนะ ท่านจงทำไว้ในใจเถิด ครั้นทำไว้ใน
ใจแล้ว จึงค่อยตอบ เพราะคำหลังกับคำก่อน หรือคำก่อน
กับคำหลังของท่านไม่ตรงกัน อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญ
ความข้อนั้นว่าอย่างไร รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย
และวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง ท่านพระโคดมผู้เจริญ.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ท่านพระโคดมผู้เจริญ.
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น
ธรรมดา ควรแล้วหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา (เอตํ มม)
นั่นเป็นเรา (เอโสหมสฺมิ) นั่นเป็นตัวตนของเรา (เอโส เม อตฺตา).
ข้อนั้นไม่ควรเลย ท่านพระโคดมผู้เจริญ.

อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร
ผู้ใดติดทุกข์ เข้าถึงทุกข์ กล้ำกลืนทุกข์อยู่แล้ว แต่ก็ยังตาม
เห็นทุกข์ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
ดังนี้ ผู้นั้นจะกำหนดรู้ทุกข์ได้เอง หรือจะทำทุกข์ให้สิ้นไปได้

มีอยู่บ้างไหม.

จะพึงมีได้อย่างไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย ท่านพระโคดมผู้เจริญ.
อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร
เมื่อเป็นเช่นนี้ ตัวท่านเองก็ติดทุกข์ เข้าถึงทุกข์ กล้ำกลืน
ทุกข์อยู่แล้ว แต่ก็ยังตามเห็นทุกข์ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา
นั่นเป็นตัวตนของเรา เป็นอย่างนี้ใช่ไหม.

จะไม่เป็นอย่างนั้นได้อย่างไร ข้อนี้ย่อมเป็นอย่างนั้น
ท่านพระโคดม ผู้เจริญ. …


หน้า 277
102 สัพเพ ธัมมา อนัตตา (นัยที่ ๒)
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๖๘/๕๗๖.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ตถาคตจะบังเกิดขึ้นก็ตาม
จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือ
ความตั้งอยู่ตามธรรมดา (ธมฺมฏฺฐิตตา) ความเป็นกฎตายตัว
ตามธรรมดา (ธมฺมนิยามตา) ความที่สังขารทั้งหลายทั้งปวง
ไม่เที่ยง (สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา) ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ
ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว
ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ
ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้
เข้าใจได้ง่ายว่า1 สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ตถาคตจะบังเกิดขึ้น
ก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว
คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นกฎตายตัวตาม
ธรรมดา ความที่สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ (สพฺเพ
สงฺขารา ทุกฺขา) ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ
ซึ่งธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว
ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย
ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เข้าใจได้ง่ายว่าสังขารทั้งหลาย
ทั้งปวงเป็นทุกข์.

1. ประโยคนี้มาจากคำบาลีที่ว่าอุตฺตานีกโรติซึ่งมีสำนวนแปล
อย่างอื่นอีกเช่นทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ . -ผู้รวบรวม


ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ตถาคตจะบังเกิดขึ้น
ก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว
คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นกฎตายตัวตาม
ธรรมดา ความที่ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา (สพเฺ พ
ธมฺมา อนตฺตา) ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ
ซึ่งธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก
ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อม
จำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เข้าใจได้ง่ายว่า ธรรมทั้งหลาย
ทั้งปวงเป็นอนัตตา.

(อีกสูตรหนึ่ง -บาลีนิทาน. สํ. ๑๖/๓๐/๖๑. ได้ตรัสว่าเพราะเหตุ
ที่ตถาคตจะบังเกิดขึ้นก็ตามจะไม่บังเกิดขึ้นก็ตามธาตุนั้นย่อมตั้ง
อยู่แล้วนั่นเทียว
คือความตั้งอยู่ตามธรรมดา (ธมฺมฏฺฐิตตา) ความเป็นกฎ
ตายตัวตามธรรมดา (ธมฺมนิยามตา) ความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย
สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทปฺปจฺจยตา) ซึ่งธรรมะในพระสูตรนี้พระองค์
ตรัสหมายถึงปฏิจจสมุปบาทและมีการลงรายละเอียดในแต่ละคู่อาการ
โดยเริ่มจากเพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะไปจนถึงเพราะมี
อวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย ผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติม
ได้ที่เนื้อความเต็มของพระสูตร
หรือหนังสือพุทธวจน-หมวดธรรม
ฉบับที่
๑๔ ตถาคตหน้า๒๐. -ผู้รวบรวม)


หน้า 279
103 ธรรมทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆ
ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๖๒/๙๖.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว
ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่หรือไม่หนอ พระเจ้าข้า.
ภิกษุ ธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ
อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้นมีอยู่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว
ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้นเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า.
ภิกษุ ธรรมอย่างหนึ่ง คือ อวิชชาแล ซึ่งเมื่อภิกษุ
ละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร
จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุ ภิกษุในกรณีนี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งหลาย
ทั้งปวงอันใครๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น (สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย)
ครั้นเธอได้สดับว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงอันใครๆ ไม่ควร
ยึดมั่นถือมั่นอย่างนี้แล้ว เธอนั้นย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง
ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมรอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง
ครั้นรอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมเห็นนิมิตของสิ่งทั้งปวง
โดยประการอื่น คือ ย่อมเห็นจักษุโดยประการอื่น ย่อมเห็น
รูปโดยประการอื่น ย่อมเห็นจักษุวิญญาณโดยประการอื่น

ย่อมเห็นจักษุสัมผัสโดยประการอื่น ย่อมเห็นสุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส
เป็นปัจจัย โดยประการอื่น.

ย่อมเห็นโสตะ … เสียง … โสตวิญญาณ … โสตสัมผัส
… สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น.

ย่อมเห็นฆานะ … กลิ่น … ฆานวิญญาณ … ฆานสัมผัส
… สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น.

ย่อมเห็นชิวหา … รส … ชิวหาวิญญาณ … ชิวหาสัมผัส
… สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น.

ย่อมเห็นกาย … โผฏฐัพพะ … กายวิญญาณ … กายสัมผัส
… สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น.

ย่อมเห็นมโนโดยประการอื่น ย่อมเห็นธรรมโดย
ประการอื่น ย่อมเห็นมโนวิญญาณโดยประการอื่นย่อมเห็น
มโนสัมผัสโดยประการอื่น ย่อมเห็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
โดยประการอื่น.

ภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงละ
อวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น.


หน้า 281
104 อัตตามี หรือ อัตตาไม่มี
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๔๘๖/๘๐๑.

ปริพพาชกวัจฉโคตรเข้าไปทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
อัตตามีหรือ ทรงนิ่งเสีย ทูลถามว่า อัตตาไม่มีหรือ
ก็ทรงนิ่งเสีย ปริพพาชกนั้นได้ ลุกหลีกไป
ท่านอานนท์กราบทูลถามถึงเหตุที่ทรงนิ่งเสีย
พระองค์ได้ ตรัสตอบดังนี้ว่า.

อานนท์ เมื่อเราถูกวัจฉโคตรปริพพาชกถามว่า
อัตตามีหรือ (อตฺถตฺตาติ) ถ้าตอบว่า อัตตามี ก็จะไปตรงกันกับ
ความเชื่อของสมณพราหมณ์บางพวกที่เป็นสัสสตทิฏฐิ เมื่อ
ถูกถามว่า อัตตาไม่มีหรือ (นตฺถตฺตาติ) ถ้าตอบว่า อัตตาไม่มี
ก็จะไปตรงกันกับความเชื่อของสมณพราหมณ์บางพวก
ที่เป็นอุจเฉททิฏฐิเข้าอีก.

อานนท์ ถ้าตอบว่า อัตตามี มันจะเป็นการอนุโลม
เพื่อให้เกิดญาณว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
(สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา) ดังนี้บ้างไหม.
ข้อนั้นหาไม่ได้ พระเจ้าข้า.

อานนท์ ถ้าตอบว่า อัตตาไม่มี ก็จะทำให้วัจฉโคตร
ปริพพาชกผู้หลงใหลอยู่แล้วถึงความงงงวยหนักยิ่งขึ้นไปอีกว่า
เมื่อก่อนอตั ตาของเราได้มีแล้วแน่นอน แต่ตอนนี้กลายเป็นว่า
อัตตานั้นไม่มี ดังนี้__


หน้า 282
105 อัตถิตาและนัตถิตา
-บาลีนิทาน. สํ. ๑๖/๒๑/๔๓.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญที่กล่าวกันว่าสัมมาทิฏฐิสัมมาทิฏฐิดังนี้
อันว่าสัมมาทิฏฐิย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไรพระเจ้าข้า.

กัจจานะ สัตว์โลกนี้ อาศัยแล้วซึ่งส่วนสุดทั้งสอง
โดยมาก คือส่วนสุดว่า อัตถิตา(ความมี)
และส่วนสุดว่า นัตถิตา (ความไม่มี).

กัจจานะ ส่วนสุดว่า นัตถิตา ย่อมไม่มีแก่บุคคล
ผู้เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง ซึ่งธรรมคือ
เหตุให้เกิดขึ้นแห่งโลก.

กัจจานะ ส่วนสุดว่า อัตถิตา ย่อมไม่มีแก่บุคคล
ผู้เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง ซึ่งธรรมคือ
ความดับไม่เหลือแห่งโลก.

กัจจานะ สัตว์โลกนี้โดยมาก ถูกผูกพันแล้วด้วยตัณหา
ด้วยอุปาทาน ด้วยทิฏฐิ (อุปายุปาทานาภินิเวสวินิพนฺโธ)
แต่อริยสาวกนี้ ไม่เข้าถึง ไม่ถือเอา ไม่ถึงทับ ซึ่งตัณหาและ
อุปาทาน อันเป็นเครื่องถึงทับแห่งใจ อันเป็นอนุสัยแห่งทิฏฐิ
ว่า อัตตาของเราดังนี้ ย่อมไม่สงสัย ย่อมไม่ลังเลในข้อที่ว่า
เมื่อจะเกิด ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิดขึ้น เมื่อจะดับ ทุกข์เท่านั้น
ย่อมดับดังนี้ ญาณในข้อนี้ ย่อมมีแก่อริยสาวกนั้น โดยไม่
ต้องเชื่อตามผู้อื่น กัจจานะ สัมมาทิฏฐิ ย่อมมีได้ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้แล.

กัจจานะ คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า สิ่งทั้งปวง
มีอยู่ (สพฺพมตฺถีติ) ดังนี้ นี้เป็นส่วนสุดที่หนึ่ง คำกล่าวที่ยืนยัน
ลงไปด้วยทิฏฐิว่า สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่ (สพฺพํ นตฺถีติ) ดังนี้
นี้เป็นส่วนสุดที่สอง.

กัจจานะ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง
ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคตย่อมแสดงดังนี้
ว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมี
สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย
จึงมีนามรูป เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็น
ปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทาน
เป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะ
มีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส
อุปายาสะทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อม
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชา
นั้น นั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดับ
แห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ เพราะมีความดับ
แห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป เพราะมีความดับ
แห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ เพราะมีความ
ดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ เพราะมีความ
ดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา เพราะมีความดับ
แห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา เพราะมีความดับแห่ง
ตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่ง
อุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ
จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล
ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย
จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วย
อาการอย่างนี้ ดังนี้แล.


หน้า 285
106 เหตุให้ไม่ปรินิพพานในทิฏฐธรรม
-บาลีสฬา. สํ. ๑๘/๑๒๘/๑๗๘.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้สัตว์

บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในทิฏฐธรรมและอะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัย
ที่ทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในทิฏฐธรรม.

จอมเทพ รูปทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยตา อันน่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไป
ตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่
ถ้าหากว่า ภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมาซึ่งรูปนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมาซึ่งรูปนั้นอยู่
วิญญาณอันอาศัยรูปนั้น ยึดมั่นรูปนั้นย่อมมี (ตํ อภินนฺทโต
อภิวทโต อชฺโฌสาย ติฏฺฐโต ตํ นิสฺสิตํ วิญฺญาณํ โหติ ตทุปาทานํ)

จอมเทพ ภิกษุผู้มีอุปาทาน (ความยึดมั่น) ย่อมไม่ปรินิพพาน.
จอมเทพ เสียงทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยหู อันน่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก … เมื่อภิกษุนั้น
เพลิดเพลิน พร่ำ􀄁ถึง สยบมัวเมาซึ่งเสียงนั้นอยู่ วิญญาณ
อันอาศัยเสียงนั้น ยึดมั่นเสียงนั้นย่อมมี จอมเทพ ภิกษุ
ผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน.

จอมเทพ กลิ่นทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยจมูก อันน่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก … เมื่อภิกษุนั้น
เพลิดเพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมาซึ่งกลิ่นนั้นอยู่ วิญญาณ
อันอาศัยกลิ่นนั้น ยึดมั่นกลิ่นนั้นย่อมมี จอมเทพ ภิกษุ
ผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน.

จอมเทพ รสทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยลิ้น อันน่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก … เมื่อภิกษุนั้น
เพลิดเพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมาซึ่งรสนั้นอยู่ วิญญาณ
อันอาศัยรสนั้น ยึดมั่นรสนั้นย่อมมี จอมเทพ ภิกษุ
ผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน.

จอมเทพ โผฏฐัพพะทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยกายอันน่า
ปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก … เมื่อภิกษุนั้น
เพลิดเพลิน
พร่ำถึง สยบมัวเมาซึ่งโผฏฐัพพะนั้นอยู่
วิญญาณอันอาศัยโผฏฐัพพะนั้น ยึดมั่นโผฏฐัพพะนั้น
ย่อมมี
จอมเทพ ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน.

จอมเทพ ธรรมทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก … เมื่อภิกษุนั้น
เพลิดเพลิน พร่ำถึง สยบมัวเมาซึ่งธรรมนั้นอยู่ วิญญาณ
อันอาศัยธรรมนั้น ยึดมั่นธรรมนั้นย่อมมี จอมเทพ ภิกษุ
ผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน.

จอมเทพ นี้เป็นเหตุ นี้เป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์
บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในทิฏฐธรรม.

จอมเทพ รูปทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยตา อันน่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่ ถ้าหากว่า
ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลินไม่พร่ำถึงไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้น
เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน
ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมา
ซึ่งรูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยรูปนั้น ยึดมั่นรูปนั้น
ย่อมไม่มี
(ตํ อนภินนฺทโต อนภิวทโต อนชฺโฌสาย ติฏฺฐโต
น ตํ นิสฺสิตํ วิญฺญาณํ โหติน ตทุปาทานํ)
จอมเทพ ภิกษุ
ผู้ไม่มีอุปาทาน
(ความยึดมั่น) ย่อมปรินิพพาน.

จอมเทพ เสียงทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยหู อันน่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก … เมื่อภิกษุนั้น
ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมาซึ่งเสียงนั้นอยู่
วิญญาณอันอาศัยเสียงนั้น ยึดมั่นเสียงนั้นย่อมไม่มี
จอมเทพ ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน.

จอมเทพ กลิ่นทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยจมูก อันน่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก … เมื่อภิกษุนั้น
ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมาซึ่งกลิ่นนั้นอยู่
วิญญาณอันอาศัยกลิ่นนั้น ยึดมั่นกลิ่นนั้นย่อมไม่มี
จอมเทพ ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน.

จอมเทพ รสทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยลิ้น อันน่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก … เมื่อภิกษุนั้น
ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมาซึ่งรสนั้นอยู่
วิญญาณอันอาศัยรสนั้น ยึดมั่นรสนั้นย่อมไม่มี จอมเทพ
ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน.

จอมเทพ โผฏฐัพพะทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยกาย
อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก …
เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมาซึ่ง
โผฏฐัพพะนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยโผฏฐัพพะนั้น ยึดมั่น
โผฏฐัพพะนั้นย่อมไม่มี จอมเทพ ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน
ย่อมปรินิพพาน.

จอมเทพ ธรรมทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่ ถ้าหากว่า
ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบมัวเมา
ซึ่งธรรมนั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่สยบ
มัวเมาซึ่งธรรมนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยธรรมนั้น ยึดมั่น
ธรรมนั้นย่อมไม่มี จอมเทพ ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน
ย่อมปรินิพพาน.

จอมเทพ นี้เป็นเหตุ นี้เป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์
บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในทิฏฐธรรม.


หน้า290
107 พรหมจรรย์ มีนิพพานเป็นที่สุด
-บาลีมหาวาร. สํ. ๑๙/๒๘๘/๙๖๘.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อินทรีย์
อย่างเหล่านี้มีวิสัยต่างกันมีโคจร
ต่างกัน
ไม่เสวยโคจรและวิสัยของกันและกันอินทรีย์อย่างคือ
อินทรีย์คือตาอินทรีย์คือหูอินทรีย์คือจมูกอินทรีย์คือลิ้นอินทรีย์
คือกาย
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญอะไรเป็นปฏิสรณะ (ที่ยึดเหนี่ยว,
ที่แล่นไปสู่) ของอินทรีย์เหล่านั้นอะไรย่อมเสวยซึ่งโคจรและ
วิสัย
ของอินทรีย์เหล่านั้น.

พราหมณ์ อินทรีย์ ๕ อย่างเหล่านี้มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน
ไม่เสวยโคจรและวิสัยของกันและกัน อินทรีย์ ๕ อย่าง คือ
อินทรีย์คือตา อินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น
อินทรีย์คือกาย พราหมณ์ เหล่านี้แลอินทรีย์ ๕ อย่าง อันมี
วิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยโคจร และ วิสัยของกัน
และกัน มโน เป็นปฏิสรณะ (ที่ยึดเหนี่ยว, ที่แล่นไปสู่)
ของอินทรีย์เหล่านั้น มโน ย่อมเสวยซึ่งโคจรและวิสัยของ
อินทรีย์เหล่านั้น.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญอะไรเป็นปฏิสรณะของมโน.
พราหมณ์ สติ เป็นปฏิสรณะของมโน.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญอะไรเป็นปฏิสรณะของสติ.
พราหมณ์ วิมุตติ เป็นปฏิสรณะของสติ.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญอะไรเป็นปฏิสรณะของวิมุตติ.
พราหมณ์ นิพพาน เป็นปฏิสรณะของวิมุตติ.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญอะไรเป็นปฏิสรณะของนิพพาน.

พราหมณ์ ท่านได้ล่วงเลยปัญหาไปเสียแล้ว ท่าน
ไม่อาจถือเอาที่สุดแห่งปัญหาได้ เพราะว่าพรหมจรรย์
อันบุคคลประพฤติกันอยู่นั้น มีนิพพานเป็นที่หยั่งลง
มีนิพพาน เป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด.


หน้า 292
108 ธรรมหลายทั้งปวง
มีนิพพานเป็นที่สุด
-บาลีทสก. อํ. ๒๔/๑๑๓/๕๘.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าปริพพาชกเดียรถีย์เหล่าอื่น จะถาม
อย่างนี้ว่า อาวุโส
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง (สพฺเพ ธมฺมา) มีอะไรเป็นมูล (มูลก)
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีอะไรเป็นแดนเกิด (สมฺภว)
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีอะไรเป็นเหตุเกิด (สมุทย)
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีอะไรเป็นที่ประชุมลง (สโมสรณ)
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีอะไรเป็นประมุข (ปมุข)
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีอะไรเป็นอธิบดี (อธิปเตยฺย)
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีอะไรเป็นอันดับสูงสุด (อุตฺตร)
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีอะไรเป็นแก่น (สาร)
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีอะไรเป็นที่หยั่งลง (โอคธ)
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีอะไรเป็นที่สุด (ปริโยสาน) ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบแก่
ปริพพาชกเดียรถีย์อื่นเหล่านั้นอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีฉันทะ เป็นมูล (ฉนทฺ มลู กา)1.
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีมนสิการ เป็นแดนเกิด.
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีผัสสะ เป็นเหตุเกิด.
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีเวทนา เป็นที่ประชุมลง.
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีสมาธิ เป็นประมุข.
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีสติ เป็นอธิบดี.
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีปัญญา เป็นอันดับสูงสุด.
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีวิมุตติ เป็นแก่น.
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีอมตะ เป็นที่หยั่งลง.
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีนิพพาน เป็นที่สุด.

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบ
แก่ปริพพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น อย่างนี้แล.

1. ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่มีฉันทะเป็นมูลได้ที่หน้า 226.
-ผู้รวบรวม
.

จิต มโน วิญญาณ จบ