เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่ทรงแสดง เพื่อไม่ให้รู้สึกว่ามีสัตว์บุคคลตัวตน 480
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป
ปฏิจจ-เป็นธรรมทรงแสดงเพื่อไม่ให้รู้สึกว่ามีบุคคลตัวตนเรา-เขา ไม่มีบุคคล ที่กลืนกินวิญญาณาหาร ไม่มีบุคคลที่เป็น เจ้าของอายตนะ ไม่มีบุคคลที่กระทำผัสสะ ไม่มีบุคคลที่เสวยเวทนา มีแต่ธรรมชาติที่เป็นปฏิจจ-สมุปปันนธรรม

อ้างอิงจากพระไตรปิฎก เรื่องอาหารสี่
๑. อาหารสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๑๐
๒. ผัคคุนสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๑๑
 
 
 


(ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์หน้า 65
)

ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่ทรงแสดง เพื่อไม่ให้รู้สึกว่ามีสัตว์บุคคลตัวตน เรา-เขา
ตรัสกับ ภิกษุโมลิยผัคคุนะ



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ ของ ภูตสัตว์ทั้งหลาย, หรือว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่สัมภเวสีสัตว์ทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเป็นอย่างไรเล่า?

สี่อย่างคือ 

(๑) กพฬีการาหาร ที่หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง (อาหารคือคำข้าว)
(๒) ผัสสะ
(๓) มโนสัญเจตนา 
(๔) วิญญาณ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ ของภูตสัตว์ทั้งหลาย หรือว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่สัมภเวสีสัตว์ทั้งหลาย

ภิกษุโมลิยผัคคุนะ ได้ทูลถามขึ้นว่า 

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่าย่อมกลืนกิน ซึ่งวิญญาณาหารพระเจ้าข้า?"
 


พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสตอบว่า "นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย เราย่อมไม่ กล่าวว่า บุคคลย่อมกลืนกิน ดังนี้ ถ้าเราได้กล่าวว่า 'บุคคลย่อมกลืนกิน' ดังนี้นั่นแหละ จึงจะเป็นปัญหา ในข้อนี้ที่ควรถามขึ้นว่า 'ก็ใครเล่าย่อมกลืนกิน (ซึ่งวิญญาณาหาร)พระเจ้าข้า? ดังนี้ 

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอยางนั้นเช่นนี้ว่า 'ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ! วิญญาณาหารย่อมมีเพื่ออะไรเล่าหนอ' ดังนี้แล้ว นั่นแหละ จึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ ความเป็นปัญหา คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า วิญญาณาหาร ย่อมมีเพื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป เมื่อ ภูตะ(ความเป็นภพ) นั้นมีอยู่ สฬายตนะย่อมมี เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ดังนี้

"
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่าย่อมสัมผัสพระเจ้าข้า?"

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลยเราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมสัมผัส" ดังนี้ ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคลย่อมสัมผัส" ดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่าย่อมสัมผัสพระเจ้าข้า?" ดังน้. 

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น, ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้นเช่นนี้ว่า  "ผัสสะมีเพราะมีอะไร เป็นปัจจัยพระเจ้าข้า?"  ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหา ที่ควรแก่ความเป็นปัญหา คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า "เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา" ดังนี้

"
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่าย่อมรู้สึกต่ออารมณ์พระเจ้าข้า?"

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมรู้สึกต่ออารมณ์" ดังนี้ ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคลย่อมรู้สึกต่ออารมณ์" ดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่าย่อมรู้สึกต่ออารมณ์ พระเจ้าข้า?" ดังนี้

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า"เพราะมีอะไร เป็นปัจจัยจึงมีเวทนาพระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหา ที่ควรแก่ความ เป็นปัญหา คำเฉลยที่ควร เฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า "เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา" ดังนี้ 

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่าย่อมอยากพระเจ้าข้า?"

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย ย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมอยาก" ดังนี้ 
ถ้าเราได้ กล่าวว่า "บุคลลย่อมอยาก" ดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่าย่อมอยากพระเจ้าข้า?" ดังนี้ 

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ถ้าผุ้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า "เพราะมีอะไร เป็นปัจจัย จึงมีตัณหาพระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหา ที่ควรแก่ความเป็น ปัญหา คำเฉลยที่ควร เฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า "เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน " ดังนี้

"
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่าย่อมยึดมั่นพระเจ้าข้า?"

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมยึดมั่น" ดังนี้ ถ้าเรา ได้กล่าวว่า "บุคคลย่อมยึดมั่น" ดังนี้นั่นแหละ จึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น พระเจ้าข้า?" ดังนี้. 

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ถ้าผู้ใดจะพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า 
"
เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทานพระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้วนั่นแหละ จึงจะเป็นปัญหา ที่ควร แก่ความเป็นปัญหา คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า "เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็น ปัจจัยจึงมีภพ" ดังนี้ เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขุโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้

ดูก่อนผัคคุนา! เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งผัสสายตนะ (แดนเกิดแห่งสัมผัส)ทั้ง ๖ นั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งผัสสะ เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความ ดับแห่งเวทนา เพราะมี ความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา เพราะมีความดับแห่ง ตัณหา จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความ ดับแห่งชาติ เพระมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-อุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้ แล

มายเหตุผู้รวบรวม  สูตร นี้ทั้งสูตร แสดงว่า ไม่มีบุคคล ที่กลืนกินวิญญาณาหาร ไม่มีบุคคลที่เป็นเจ้าของอายตนะ ไม่มีบุคคลที่กระทำผัสสะ ไม่มีบุคคลที่เสวยเวทนา ไม่มีบุคคลที่ อยากด้วยตัณหา ไม่มีบุคคลที่ยึดมั่นถือมั่น, มีแต่ธรรมชาติที่เป็นปฏิจจ-สมุปปันนธรรมอย่างหนึ่ง ๆ เป็นปัจจัย สืบต่อแก่กันและกันเป็นสายไป เท่านั้น.


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์