เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ            

หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
  ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  04 of 7  
Book104 หมวดที่ 9   Book104

หมวดที่ ๑ (ต่อ)

 
  ว่าด้วย การเสียความเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ หน้า   ว่าด้วย การมีศีล หน้า
1 วอดวายเพราะผู้นำ 177 16 ผู้มีศีลไม่กล่าวคำแก่งแย่งกัน 205
2 อุปัชฌายะเสีย 178 17 ผู้มีศีลไม่เป็นทูตนำข่าว 206
3 อาจารย์เสีย 179 18 ผู้มีศีลไม่ล่อลวงชาวบ้าน 206-1
4 เถระเสีย 180 19 ผู้มีศีลไม่เป็นหมอทายโชคลาง 207
5 เถระที่ต้องระวัง 180-1 20 ผู้มีศีลไม่เป็นหมอทายลักษณะสิ่งของ 208
6 เถระพาล 181 21 ผู้มีศีลไม่เป็นหมอทำนายการรบพุ่ง 208-1
7 เถระวิปริต 182 22 ผู้มีศีลไม่เป็นหมอโหราศาสตร์ 209
8 เถระโลเล (หลายแบบ) 183 23 ผู้มีศีลไม่เป็นหมอทำนายดินฟ้าอากาศ 210
9 พ่อฆ่าลูก 184 24 ผู้มีศีลไม่เป็นหมอผีและหมอยา 211
10 สมภารผิดหลัก 186 25 อธิศีลสิกขา 212
11 สมภารติดถิ่น 186-1 26 สมณกิจ 212-1
12 สมภารติดที่อยู่ 187 27 กิจของชาวนา 213
13 นรกของสมภารเจ้าวัด 188 28 ตั้งหน้าทำก็แล้วกัน 214
14 ผู้ชี้ชวนวิงวอน ! 189 29 เครื่องมือละกิเลส 215
Book104 หมวดที่๑๐   30 เมื่อมีศีลควรส่งตนไปในแนวเผากิเลส 216
  ว่าด้วย การมีศีล   31 อริยกันตศีล 216-2
1 ผ้ากาสี 192 32 ศีลอยู่เคียงคู่กับปัญญาเสมอ 217
2 รักษาพรหมจรรย์ไว้ด้วยนํ้าตา 193 33 ชำระศีลและทิฏฐิให้บริสุทธิ์ก่อน 218
3 ผู้ที่ควรเข้าใกล้ 194 34 ศีลเป็นฐานรองรับสติปัฏฐานสี่ 221
4 ละได้จักอยู่เป็น “พระ” 195 35 ศีลเป็นฐานรองรับสติปัฏฐานสี่(อีกนัยหนึ่ง) 221-1
5 สมณพราหมณ์ที่น่านับถือ 196 36 ศีลเป็นฐานรองรับโพชฌงค์เจ็ด 222
6 ผล และ ประโยชน์ของความเป็นสมณะ 197 37

ศีลเป็นฐานรองรับอริยมรรคมีองค์แปด

223
7 ผู้ละความทุศีลเสียได้ 198 38 ศีลสมบัติเป็นรุ่งอรุณแห่งอริยมรรค 224
8 ภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว 199 39 ศีลสมบัติเป็นธรรมมีอุปการะมากชั้นเอก 224-1
9 ผู้มีศีลไม่ทำลายพืชคามและภูตคาม 201 40 ศีลสมบัติช่วยทำให้อริยมรรคเจริญเต็มที่ 225
10 ผู้มีศีลไม่ทำการบริโภคสะสม 201-1 41 ผู้มีศีลจักถึงแก่นธรรม 226
11 ผู้มีศีลไม่ดูการเล่น 202 42 อำนาจศีลที่เป็นตัวกุศล 227
12 ผู้มีศีลไม่เล่นการพนัน 202-1 43 อานิสงส์สำหรับผู้ทำศีลให้สมบูรณ์ 229
13 ผู้มีศีลไม่นอนบนที่นอนสูงใหญ่ 203 44 ผู้อยู่เหนือความหวัง 232
14

ผู้มีศีลไม่ประดับตกแต่งร่างกาย

204 45 เมื่อราชามีกำลัง 232-1
15 ผู้มีศีลไม่พูดคุยเดรัจฉานกถา 204-1 46

ประสพบุญใหญ่

233
           




 

ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์

หมวดที่ ๙

ว่าด้วย การเสียความเป็นผู้หลักผู้ใหญ่


177
วอดวายเพราะผู้นำ

            ภิกษุ ท. ! เรื่องเคยมีมาแล้ว โคบาลชาวมคธ เป็นคนปัญญาทึบ โดยกำเนิด ไม่คำนึงถึง ฤดูสารทในเดือนท้ายฤดูฝน ไม่ตรวจตราดูฝั่งแม่นํ้าคงคา ทางฟากนี้ได้ต้อนฝูงโคให้ข้ามไปฝั่งเหนือ แห่งวิเทหรัฐฟากโน้น ตรงที่ที่มิใช่ท่าสำหรับโคข้ามเลย.


            ภิกษุ ท. ! ครั้งนั้นแล ฝูงโคได้ว่ายวกไปเวียนมา ใน ท่ามกลางกระแสแม่นํ้าคงคา (เพราะไม่อาจ ขึ้นฝั่งข้างใดได้) ก็พากันถึงความ พินาศวอดวายเสีย ณ กลางกระแสนํ้านั่นเอง. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ? เพราะ เหตุที่โคบาลชาวมคธ เป็นคนปัญญาทึบ โดยกำเนิด ไม่คำนึงถึงฤดูสารท ในเดือนท้ายฤดูฝน ไม่ตรวจตราดูฝั่งแม่นํ้าคงคาทางฟากนี้ ได้ต้อนฝูงโค ให้ข้าม ไปฝั่งเหนือแห่งวิเทหรัฐฟากโน้น ตรงที่ ที่มิใช่ท่าสำหรับโคข้ามเลย นั่นเอง

             ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง เป็นผู้ไม่ฉลาดเรื่อง โลกนี้ ไม่ฉลาดเรื่อง โลกอื่น เป็นผู้ไม่ฉลาดเรื่อง วัฏฏะ อันเป็นที่อยู่ของมาร ไม่ฉลาดเรื่อง วิวัฏฏะ อันไม่เป็น ที่อยู่ของมาร เป็นผู้ไม่ฉลาดเรื่อง วัฏฏะ อันเป็นที่อยู่ของมฤตยูไม่ฉลาดเรื่อง วิวัฏฏะ อันไม่เป็น ที่อยู่ของ มฤตย ชนเหล่าใดเกิดไปสำคัญว่า ถ้อยคำของสมณะ หรือ พราหมณ์เหล่านั้นควรฟังควรเชื่อ ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อความทุกข์ไม่เป็น ประโยชน์เกื้อกูล แก่ชนเหล่านั้นสิ้นกาลนาน.


178
อุปัชฌายะเสีย

            ภิกษุ ท. ! ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย ซึ่งมิได้อบรมกาย มิได้อบรมศีล มิได้อบรมจิต และมิได้อบรมปัญญา เธอทั้งหลาย ทั้งที่เป็นเช่นนั้นอยู่จัก เป็นอุปัชฌายะให้อุปสมบทคนอื่น ๆ แล้ว จักไม่อาจ แนะนำ ฝึกสอนคนเหล่านั้น ในศีลอันยิ่ง ในสมาธิอันยิ่ง และในปัญญา อันยิ่ง แม้คน บวชแล้วเหล่านั้น ก็จักเป็นผู้มิได้อบรมกาย มิได้อบรมศีล มิได้อบรมจิต และ มิได้อบรมปัญญา เธอทั้งหลาย ทั้งที่เป็นเช่นนั้นอยู่จัก เป็นอุปัชฌายะให้อุปสมบท (ต่อจากอุปัชฌายะแรก) สืบไป ๆ จักไม่อาจ แนะนำฝึกสอนผู้บวชแล้วทั้งหลาย ในศีลอันยิ่ง ในสมาธิอันยิ่ง และในปัญญา อันยิ่งได้ คนที่บวชแล้วเหล่านั้น ก็จักเป็นผู้มิได้อบรมกาย มิได้อบรมศีล มิได้อบรมจิต และมิได้อบรมปัญญา อย่างเดียวกัน.

            ภิกษุ ท. ! ด้วยอาการอย่างนี้เอง วินัยมีมลทิน เพราะธรรมมีมลทิน ; ธรรมมีมลทิน เพราะวินัย มีมลทิน. นี้เป็นอนาคตภัยที่ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้แต่จักเกิดขึ้นในเวลาต่อไป. พวกเธอ ทั้งหลายพึงสำนึกไว้ครั้นได้สำนึกแล้ว ก็พึงพยายามเพื่อกำจัดภัยนั้นเสีย.


179
อาจารย์เสีย

            ภิกษุ ท. ! ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย ซึ่งมิได้อบรม กาย มิได้อบรมศีล มิได้อบรมจิต และมิได้ อบรมปัญญา เธอทั้งหลาย ทั้งที่เป็นเช่นนั้นอยู่จัก เป็นอาจารย์ให้นิสสัยคนอื่น ๆ แล้วจักไม่อาจแนะนำฝึกสอน คนเหล่านั้น ในศีลอันยิ่ง ในสมาธิอันยิ่ง และในปัญญาอันยิ่ง.

แม้คนบวชแล้ว เหล่านั้น ก็จักเป็นผู้มิได้อบรมกาย มิได้อบรมศีล มิได้อบรมจิต และมิได้อบรมปัญญา เธอทั้งหลาย ทั้งที่เป็นเช่นนั้นอยู่จัก เป็นอาจารย์ให้นิสสัย คนอื่น ๆ สืบไป ๆ จักไม่อาจแนะนำฝึกสอน คนทั้งหลาย ในศีลอันยิ่ง ใน สมาธิอันยิ่ง และในปัญญาอันยิ่งได้ คนบวชทั้งหลายเหล่านั้น ก็จักเป็นผู้ มิได้อบรมกาย มิได้อบรมศีล มิได้อบรมจิต และมิได้อบรมปัญญา อย่าง เดียวกัน.

             ภิกษุ ท. ! ด้วยอาการอย่างนี้เอง วินัยมีมลทิน เพราะธรรมมีมลทิน; ธรรมมีมลทิน เพราะวินัย มีมลทิน. นี้เป็นอนาคตภัยที่ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้แต่จักเกิดขึ้นในเวลาต่อไป. พวกเธอทั้งหลาย พึงสำนึก ไว้ครั้นได้สำนึกแล้ว ก็พึงพยายามเพื่อกำจัดภัยนั้นเสีย.


180
เถระเสีย

            ภิกษุท. ! ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย ซึ่งมิได ้อบรมกาย มิได้อบรมศีล มิได้อบรมจิต และมิได้อบรมปัญญา เธอทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนั้นอยู่ทั้งที่เป็นภิกษุชั้นเถระแล้ว จักเป็น ผู้ชอบทำการสะสม บริกขาร ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา มีจิตตํ่าด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์ ไม่เหลียวแล ในกิจแห่งวิเวกธรรม ไม่ปรารภความพียรเพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อทำให้แจ้ง ในสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง.

             ผู้บวชในภายหลัง ได้เห็นเถระเหล่านั้นทำเป็นแบบแผนเช่นนั้นไว้ก็ถือเอาไปเป็นแบบอย่าง จึง ทำให้เป็นผู้ชอบทำการสะสมบริกขารบ้าง ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา มีจิตตํ่าด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์ ไม่เหลียวแลในกิจแห่งวิเวกธรรม ไม่ปรารภความ เพียรเพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งในสิ่งที่ยัง ไม่ทำให้แจ้ง ตาม ๆ กันสืบไป.

             ภิกษุ ท. ! ด้วยอาการอย่างนี้เอง วินัยมีมลทิน เพราะธรรมมีมลทิน ธรรมมีมลทิน เพราะวินัย มีมลทิน. นี้เป็นอนาคตภัยที่ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้แต่จักเกิดขึ้นในเวลาต่อไป. พวกเธอ ทั้งหลายพึงสำนึกไว้ ครั้นได้สำนึกแล้ว ก็พึงพยายามเพื่อกำจัดภัยนั้นเสีย.


180_1
เถระที่ต้องระวัง

            กัสสะปะ ! ภิกษุแม้เป็นเถระแล้ว แต่ไม่เป็นผู้ใคร่ต่อไตรสิกขาด้วยตนเอง ไม่สรรเสริญผู้ปฏิบัติ ในไตรสิกขา ไม่ชักจูงผู้ไม่รักไตรสิกขา ไม่กล่าวยกย่องผู้รักการปฏิบัติในไตรสิกขา ตามเวลาที่ควร แก่การยกย่องตามที่เป็นจริง กัสสปะ ! เราตถาคต ไม่สรรเสริญภิกษุเถระชนิดนี้.

            ข้อนั้นเพราะอะไร ? เพราะเหตุว่า ภิกษุทั้งหลายจะไปหลงคบภิกษุเถระชนิดนั้นเข้า ด้วยคิดว่า “พระศาสดา สรรเสริญภิกษุชนิดนี้ ดังนี้. ภิกษุเหล่าใดไปคบหาภิกษุเถระชนิดนั้นเข้า ก็จะถือเอา ภิกษุ เถระชนิดนั้น เป็น ตัวอย่างสืบไป การถือเอาภิกษุเถระชนิดนั้น เป็นตัวอย่าง ย่อมเป็นทาง ให้เกิด สิ่งอัน ไม่เป็นประโยชน์และเป็นทุกข์แก่ภิกษุเหล่านั้นเอง สิ้นกาลนาน.

            กัสสปะ ! เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่สรรเสริญภิกษุเถระชนิดนี้.


181
เถระพาล

            ภิกษุ ท. ! คนเราแม้เป็นผู้เฒ่า มีอายุ๘๐ ๙๐ ๑๐๐ ปีโดยกำเนิด ก็ดี แต่เขามีคำพูด ไม่เหมาะแก่กาล พูดไม่จริง พูดไม่มีประโยชน์พูด ไม่เป็นธรรม พูดไม่เป็นวินัย กล่าววาจาไม่มีที่ตั้ง ไม่มีที่อิง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ คนผู้นั้นย่อมถึงการถูกนับว่าเป็น “เถระ ผู้พาล” โดยแท้.


182
เถระวิปริต

            ภิกษุท. ! ภิกษุเถระที่ประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ ทำมหาชนให้เสื่อมเสีย ทำมหาชนให้หมดความสุข ทำไป เพื่อความฉิบหายแก่คนเป็นอันมาก ไม่เป็น ประโยชน์เกื้อกูล เป็นไปเพื่อความ ทุกข์ ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ห้าอย่างอะไรกันเล่า ? ห้าอย่างคือ :-
            (๑) ภิกษุเป็นเถระ บวชมานาน มีพรรษายุกาลมาก.
            (๒) เป็นที่รู้จักกันมาก มีเกียรติยศ มีบริวาร ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต.
            (๓) เป็นผู้รํ่ารวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน--ปัจจัยเภสัชบริกขาร.
            (๔) เป็นพหูสูต ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว สั่งสมธรรมที่ฟังแล้วมาก ฯลฯ.
            (๕) (แต่) เป็นมิจฉาทิฏฐิมีทัศนะวิปริต.

            ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ทำคนเป็นอันมากให้เลิกละจากพระสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม. ประชาชนทั้งหลาย ย่อมถือเอาแบบอย่างของภิกษุนั้นไป เพราะคิดว่า เธอเป็นภิกษุเถระ บวชมานาน มีพรรษายุกาลมากบ้าง เพราะ คิดว่า เธอเป็น ภิกษุเถระ ที่มหาชนเชื่อถือรู้จักกันมาก มีเกียรติยศ มีบริวาร มาก ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตบ้าง เพราะคิดว่า เธอเป็นภิกษุเถระ ที่รํ่ารวย ลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริกขารบ้าง เพราะคิดว่า เธอเป็นภิกษุเถระ ที่เป็นพหูสูต ทรงจำธรรม ที่ฟังแล้ว สั่งสมธรรมที่ฟังแล้วได้บ้าง ดังนี้.

             ภิกษุท. ! ภิกษุเถระ ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อทำ มหาชนให้เสื่อมเสีย ทำมหาชนให้หมดความสุข ทำไป เพื่อความฉิบหายแก่คนเป็นอันมาก ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เป็นไปเพื่อความ ทุกข์ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แล.


183
เถระโลเล (หลายแบบ)

            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเถระ ที่ประกอบด้วยเหตุห้าอย่าง (ห้าหมวด) เหล่านี้แล้ว ย่อม ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ไว้วางใจ ไม่น่าเคารพ ไม่น่ายกย่อง สรรเสริญของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน. ห้าอย่าง อะไรกันเล่า ? ห้าอย่างคือ

            (๑) ภิกษุชั้นเถระนั้น ยังกำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ยังขัดเคืองในอารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ยังหลงใหลในอารมณ์เป็นที่ตั้ง แห่งความหลงใหล ยังตื่นเต้นในอารมณ์เป็น ที่ตั้งแห่งความตื่นเต้น ยังมัวเมา ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา.

            
(๒) ภิกษุชั้นเถระนั้น ยังเป็นผู้ไม่ปราศจากราคะ ยังเป็นผู้ไม่ปราศจาก โทสะ ยังเป็นผู้ไม่ปราศ จาก โมหะ ยังลบหลู่คุณท่าน ยังตีตนเสมอท่าน.

            
(๓) ภิกษุชั้นเถระนั้น เป็นคนหลอกลวงเก่งด้วย เป็นคนพูด พิรี้พิไรเก่งด้วย เป็นคนพูดหว่าน ล้อมเก่งด้วย เป็นคนปลูกคำท้าทายให้เกิด มานะเจ็บใจเก่งด้วย เป็นคนหากำไรทำนองเอาลาภ ต่อลาภเก่งด้วย.

            
(๔) ภิกษุชั้นเถระนั้น เป็นคนไม่มีศรัทธา ไม่มีความละอายบาป ไม่มีความเกรงกลัวบาป เป็นคนเกียจคร้าน เป็นคนมีปัญญาทราม.

            
(๕) ภิกษุชั้นเถระนั้น เป็นคนไม่อดใจในรูปทั้งหลาย ไม่อดใจในเสียง ทั้งหลาย ไม่อดใจใน กลิ่น ทั้งหลาย ไม่อดใจในรสทั้งหลาย ไม่อดใจในสัมผัส ทางกายทั้งหลาย.

            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเถระ ที่ประกอบด้วยเหตุห้าอย่าง (ห้าหมวด) เหล่านี้แล้ว ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ไว้วางใจ ไม่น่าเคารพ ไม่น่ายกย่องสรรเสริญ ของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกันเลย.


184
พ่อฆ่าลูก

            กัสสปะ ! ก็ในเวลานี้พวกภิกษุชั้นเถระ ไม่สมาทานการอยู่ป่า เป็นวัตร และทั้งไม่กล่าวสรรเสริญการกระทำเช่นนั้น ไม่สมาทานการบิณฑบาต เป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญการกระทำเช่นนั้น ไม่สมาทานการใช้ผ้า บังสุกุลเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญการกระทำเช่นนั้น ไม่สมาทานการ ใช้จีวรเพียงสามผืนเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญการกระทำเช่นนั้นไม่จำกัดความต้องการให้มีแต่น้อย และไม่กล่าวสรรเสริญการกระทำเช่นนั้น ไม่สันโดษ และไม่กล่าวสรรเสริญการกระทำเช่นนั้น ไม่อยู่สงบ และไม่กล่าวสรรเสริญการกระทำเช่นนั้น ไม่เป็นผู้อยู่อย่างไม่คลุกคลีกัน และไม่กล่าว สรรเสริญการกระทำเช่นนั้น ไม่ปรารภความเพียร และไม่กล่าวสรรเสริญ การกระทำเช่นนั้น. บรรดาภิกษุชั้นเถระเหล่านั้น

             ภิกษุรูปใด เป็นคน มีชื่อเสียง คนรู้จักมาก มีเกียรติยศ มีลาภด้วยบริกขารคือ จีวรบิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน ปัจจัยเภสัช พวกภิกษุชั้นเถระด้วยกันก็เชื้อเชิญให้นั่ง เฉพาะภิกษุรูปนั้น ด้วยคำเป็น ต้นว่า “มาเถิดภิกษุ ! ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ? ภิกษุนี้ช่างมีวาสนาจริง ! ภิกษุรูปนี้เป็นที่รักของผู้ประพฤต ิพรหมจรรย์ ร่วมกัน. มา เถิดภิกษุ ! นิมนต์ท่านจงนั่งอาสนะนี้” ดังนี้.

             กัสสปะ ! ครั้นภิกษุชั้นเถระประพฤติกันอยู่ดังนี้ ความคิดก็เกิด ขึ้นแก่พวกภิกษุผู้บวชใหม่ว่า ได้ยินว่า ภิกษุรูปใด มีชื่อเสียงคนรู้จักมาก มีเกียรติยศ มีลาภด้วยบริกขารคือจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน ปัจจัยเภสัช พระเถระทั้งหลาย ย่อมนิมนต์เธอนั้นด้วยอาสนะ ด้วยคำ เป็นต้นว่า “

             มาเถิดภิกษุ ! ภิกษุนี้ชื่อไร ? ภิกษุนี้ช่างมีวาสนาจริง ! ภิกษุนี้เป็นที่รักของผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ ด้วยกัน. มาเถิดภิกษุ ! นิมนต์ท่านจงนั่ง อาสนะนี้” ดังนี้. พวกภิกษุผู้บวชใหม่เหล่านั้น ก็พากันประพฤติเพื่อให้เป็น เช่นนั้น และข้อนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความทุกข์ไม่เป็นประโยช์เกื้อกูล แก่พวกภิกษุเหล่านั้นเองสิ้นกาลนาน.

            กัสสปะ ! จริงทีเดียว เมื่อใดใครจะกล่าวคำนี้ให้ถูกต้องแก่กาละ – เทสะและบุคคล ว่า “พรหมจารีถูกยํ่ายีเสียแล้ว ด้วยอันตรายอย่าง ของพรหมจารี พรหมจารีถูกร้อยรัดเสียแล้ว ด้วยเครื่อง ร้อยรัด อันยิ่งใหญ่อย่างของพรหมจารี” ดังนี้แล้ว เขาพึงกล่าวข้อความนั้นในกาล บัดนี้แล.


186
สมภารผิดหลัก

            ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่างเหล่านี้แล้ว ไม่ควร ได้รับการยกย่อง ให้เป็นเจ้าอาวาส. ห้าอย่างอะไรกันเล่า ? ห้าอย่างคือ:
            (๑) เจ้าอาวาส ไม่สมบูรณ์ด้วยมารยาท ไม่สมบูรณ์ด้วยวัตร.
            (๒) เจ้าอาวาส ไม่เป็นพหูสูต ไม่เป็นเจ้าตำรับ.
            (๓) เจ้าอาวาส ไม่ปฏิบัติขัดเกลากิเลส ไม่ยินดีในการหลีกเร้น ไม่ยินดีในกัลยาณธรรม๒
            (๔) เจ้าอาวาส มีวาจาไม่อ่อนหวาน ไม่เพราะหู
            (๕) เจ้าอาวาส มีปัญญาน้อย โง่เขลา เงอะงะ.
            ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่างเหล่านี้แล ไม่ควร ได้รับการยกย่อง ให้เป็นเจ้าอาวาส.


186-1
สมภารติดถิ่น

            ภิกษุ ท. ! โทษในการติดถิ่น ห้าอย่างเหล่านี้มีอยู่. ห้าอย่างอะไรกัน เล่า ? ห้าอย่างคือ :-
            (๑) เธอ ย่อมมีความตระหนี่ที่อยู่(คือหวงเสนาสนะที่สบาย ๆ เมื่อมีผู้อื่นมาอยู่ด้วยก็ต้องแบ่งกัน หรือถึงกับสูญเสียเสนาสนะเช่นนั้น ถ้าหากว่าตนด้อยกว่าด้วย).
             (๒) เธอ ย่อมมีความตระหนี่สกุลอุปัฏฐาก (คือกันท่า ไม่ให้ภิกษุอื่นรู้จักมักคุ้น ด้วยอุปัฏฐาก ของตน โดยกลัวว่าจะถูกแบ่งลาภ หรือถึงกับสูญเสียอุปัฏฐากไป).
            (๓) เธอ ย่อมมีการหวงลาภ (คือการอยู่ติดถิ่น ทำให้เกิดความคิดสะสมสิ่งของจึงหวง สิ่งของ ต่าง ๆ เพื่อการสะสม).
            (๔) เธอ ย่อมมีการหวงชื่อเสียง เกียรติยศ (คือไม่ต้องการ ให้ใครมีชื่อเท่าตนใน ถิ่นนั้น).
            (๕) เธอ ย่อมมีการหวงคุณธรรม (คือการกันท่า ไม่ให้ผู้อื่นเจริญด้วยปริยัติธรรม ปฏิบัติธรรม และปฏิเวธธรรม เพราะจะเป็นคู่แข่งที่ครอบงำตน).
            ภิกษุ ท. ! โทษในการติดถิ่น มีห้าอย่างเหล่านี้แล.


187
สมภารติดที่อยู่

            ภิกษุ ท. ! โทษในการติดที่อยู่ห้าอย่างเหล่านี้มีอยู่. ห้าอย่างอะไร กันเล่า ? ห้าอย่างคือ :-
            (๑) ภิกษุติดที่อยู่ย่อมมีภัณฑะสิ่งของมาก เป็นผู้ชอบสะสมสิ่งของไว้มาก.
            (๒) ภิกษุติดที่อยู่ย่อมมีเภสัชมาก เป็นผู้ชอบสะสมเภสัชไว้มาก.
            (๓) ภิกษุติดที่อยู่ย่อมมีกิจมาก มีการงานที่ต้องจัดต้องทำมาก เลยเอาดีใน หน้าที่ของสมณะ โดยตรงไม่ได้.
            (๔) ภิกษุติดที่อยู่ย่อมจะคลุกคลีกับคฤหัสถ์และบรรพชิต ด้วยการคลุกคลีกันอย่างแบบคฤหัสถ์ อันเป็นสิ่งไม่สมควรแก่สมณะ.
            (๕) ภิกษุติดที่อยู่จะจากถิ่นที่อยู่นั้นไป เธอ ย่อมจากไปด้วยจิตที่ห่วงใย
            ภิกษุ ท. ! โทษในการติดที่อยู่มีห้าอย่างเหล่านี้แล.


188
นรกของสมภารเจ้าวัด

            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเจ้าอาวาสที่ประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่าง ย่อม จะเดือดร้อนเหมือน ถูกลากตัวไป เก็บไว้ในนรกในปัจจุบันนี้ (ตกนรกทั้งเป็น) ฉะนั้น. ห้าอย่างอะไรกันเล่า ? ห้าอย่างคือ
             (๑) ภิกษุเจ้าอาวาส ไม่ใคร่ครวญ ไม่ไต่สวนให้รอบคอบเสียก่อน กล่าวยกย่อง คนที่ควรตำหนิ.
             (๒) ภิกษุเจ้าอาวาส ไม่ใคร่ครวญ ไม่ไต่สวนให้รอบคอบเสียก่อน กล่าวตำหนิคนที่ควรยกย่อง.
             (๓) ภิกษุเจ้าอาวาส ไม่ใคร่ครวญ ไม่ไต่สวนให้รอบคอบเสียก่อน แสดงความเลื่อมใสให้ปรากฏ ในฐานะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส.
             (๔) ภิกษุเจ้าอาวาส ไม่ใคร่ครวญ ไม่ไต่สวนให้รอบคอบเสียก่อน แสดงความไม่เลื่อมใส ให้ปรากฏ ในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส.
             (๕) ภิกษุเจ้าอาวาส ทำไทยทานที่ทายกถวายด้วยศรัทธาให้ตกเสียไป.
            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเจ้าอาวาสที่ประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่างเหล่านี้แล ย่อมจะเดือดร้อน เหมือน ถูกลากตัวไปเก็บไว้ในนรก ในปัจจุบันนี้ฉะนั้น.

หมวดที่เก้า จบ.



ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์

หมวดที่ ๑๐


ว่าด้วย การมีศีล

189
ผู้ชี้ชวนวิงวอน !

             ภิกษุ ท. ! กิจอันใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดูแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำ แก่สาวกทั้งหลาย กิจอันนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย.
             ภิกษุ ท. ! นั่น โคนไม้ทั้งหลาย นั่น เรือนว่างทั้งหลาย.
             ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท.
             พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.
             นี่แล เป็นวาจาเครื่องพรํ่าสอนพวกเธอทั้งหลายของเรา.




192
ผ้ากาสี

            ผ้ากาสี๑ ภิกษุ ท. ! ผ้ากาสีแม้ยังใหม่อยู่สีก็งาม นุ่มห่มเข้าก็สบายเนื้อ ราคา ก็แพง แม้จะ
กลางใหม่กลางเก่าแล้ว สีก็ยังงาม นุ่งห่มเข้าก็ยังสบายเนื้อ ราคาก็แพง แม้จะเก่าครํ่าแล้ว สีก็ยังงาม นุ่งห่มเข้าก็ยังสบายเนื้อ ราคาก็แพงอยู่นั่นเอง. ผ้ากาสีแม้ที่เก่าครํ่าแล้ว คนทั้งหลายก็ยังใช้ เป็นผ้าห่อ รัตนะ หรือเก็บไว้ในหีบอบ.

             ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ภิกษุแม้เพิ่งบวชใหม่ถ้าเป็นผู้มีศีล มีความเป็นอยู่งดงาม เราก็กล่าวว่า มีผิวพรรณงาม เหมือนผ้ากาสีที่แม้ยังใหม่อยู่ก็ดูสีงามฉะนั้น.

             เรากล่าวภิกษุนี้ว่า มีผ้ากาสีเป็นคู่เปรียบ. อนึ่ง ชนเหล่าใด คบหา สมาคม เข้าใกล้ทำตาม เยี่ยงอย่างของภิกษุนั้น ข้อนั้น จะเป็นทางให้เกิดสิ่งอันเป็นประโยชน์สิ่งอันเป็นความสุข แก่ชนเหล่านั้น เอง ตลอดกาลนาน เราจึงกล่าวภิกษุนั้นว่า ใครใกล้ชิดเข้าก็สบายตัว เหมือน ผ้ากาสีนุ่งห่มเข้าก็สบายเนื้อ ฉะนั้น.

             เรากล่าวภิกษุนี้ว่า มีผ้ากาสีเป็น คู่เปรียบ. อนึ่งภิกษุนั้น รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน ปัจจัย เภสัชบริกขาร ของชนเหล่าใด ทานนั้น ย่อมมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่แก่ชน เหล่านั้น. เราจึงกล่าว ภิกษุนั้นว่า มีค่ามาก เหมือนผ้ากาสีมีราคาแพง ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีผ้ากาสีเป็นคู่เปรียบ.

             ภิกษุ ท. ! แม้ภิกษุมัชฌิมภูมิ๑ ถ้าเป็นผู้มีศีล มีความเป็นอยู่งดงาม เราก็กล่าวว่า มีผิวพรรณงาม เหมือนผ้ากาสีมีสีงาม นั้นนั่นแหละ. เรากล่าวภิกษุนี้ว่า มีผ้ากาสีเป็นคู่เปรียบ. อนึ่ง ชนเหล่าใดคบหา สมาคม เข้าใกล้ทำตามเยี่ยงอย่างของภิกษุนั้น ข้อนั้น จะเป็นทางให้เกิดสิ่งอัน เป็นประโยชน์สิ่งอันเป็น ความสุขแก่ชนเหล่านั้นเอง ตลอดกาลนาน เราจึงกล่าวภิกษุนั้นว่า ใครใกล้ชิดเข้าก็สบายตัว เหมือนผ้า กาสีนุ่งห่ม เข้าก็สบายเนื้อ ฉะนั้น.

             เรากล่าวภิกษุนี้ว่า มีผ้ากาสีเป็นคู่เปรียบ. อนึ่ง ภิกษุนั้น รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริกขารของชน เหล่าใด ทานนั้น ย่อมมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่แก่ชนเหล่านั้น. เราจึงกล่าว ภิกษุนั้นว่า มีค่ามาก เหมือนผ้ากาสีมีราคาแพง ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีผ้ากาสี เป็นคู่เปรียบ.

             ภิกษุ ท. ! ภิกษุแม้ผู้เป็นเถระ๒ ถ้าเป็นผู้มีศีล มีความเป็นอยู่งดงาม เราก็กล่าวว่า มีผิวพรรณงาม เหมือนผ้ากาสีมีสีงาม นั้นนั่นแหละ. เรากล่าวภิกษุนี้ว่า มีผ้ากาสีเป็นคู่เปรียบ. อนึ่ง ชนเหล่าใด คบหา สมาคม เข้าใกล้ทำตามเยี่ยงอย่างของภิกษุนั้น ข้อนั้น จะเป็นทางให้เกิดสิ่งอันเป็น ประโยชน์สิ่งอันเป็นความสุขแก่ชนเหล่านั้นเอง ตลอดกาลนาน เราจึงกล่าว ภิกษุนั้นว่า ใครใกล้ชิด เข้าก็สบายตัว เหมือนผ้ากาสีนุ่งห่มเข้าก็สบายเนื้อ ฉะนั้น.

             เรากล่าวภิกษุนี้ว่า มีผ้ากาสีเป็นคู่เปรียบ. อนึ่ง ภิกษุนั้น รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริกขารของชนเหล่าใด ทานนั้น ย่อมมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่แก่ชนเหล่านั้น. เราจึงกล่าวภิกษุนั้นว่า มีค่ามากเหมือนผ้ากาสีมีราคาแพง ฉะนั้น . เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีผ้ากาสีเป็น คู่เปรียบ.

             อนึ่ง ภิกษุผู้เถระเช่นนี้กล่าวอะไรขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ภิกษุทั้งหลาย ก็ช่วยกันบอกกล่าวว่า “ขอท่านทั้งหลาย จงเงียบเสียงเถิด ภิกษุผู้เฒ่าจะกล่าว ธรรมและวินัย บัดนี้” ดังนี้.

             ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจ ไว้ว่า “เราทั้งหลาย จักเป็นให้เหมือนอย่างผ้ากาสีไม่เป็นอย่างผ้าเปลือก ปอละ” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.


193
รักษาพรหมจรรย์ไว้ด้วยนํ้าตา

            ภิกษุ ท. ! บรรพชิตรูปใด จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม แม้จะทุกข์กายทุกข์ใจ ถึงนํ้าตานองหน้า ร้องไห้อยู่ก็ยังสู้ ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธ์ิบริบูรณ์อยู่ได้ก็มีข้อที่น่าสรรเสริญ เธอให้เหมาะสมแก่ธรรม ที่เธอ มีในบัดนี้มีอยู่ห้าอย่าง. ห้าอย่างอะไรบ้างเล่า ? ห้าอย่างคือ
             (๑) ธรรมที่ชื่อว่า ศรัทธา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้มีแล้วแก่เธอ.
            (๒) ธรรมที่ชื่อว่า หิริในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้มีแล้วแก่เธอ.
            (๓) ธรรมที่ชื่อว่า โอตตัปปะ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้มีแล้วแก่เธอ.
            (๔) ธรรมที่ชื่อว่า วิริยะ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้มีแล้วแก่เธอ.
            (๕) ธรรมที่ชื่อว่า ปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้มีแล้วแก่เธอ.
             ภิกษุ ท. ! บรรพชิตรูปใด จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม แม้จะทุกข์กาย ทุกข์ใจ ถึงนํ้าตา นองหน้า ร้องไห้อยู่ก็ยังสู้ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่ได้ก็มี. ข้อที่น่าสรรเสริญเธอ ให้เหมาะสม แก่ธรรม ที่เธอมีในบัดนี้ห้าอย่างเหล่านี้แล.


194
ผู้ที่ควรเข้าใกล้

ภิกษุ ท. !  ก็บุคคลเช่นไรเล่า ที่คนทุก ๆ คนควรคบหา สมาคม  วรเข้าใกล้ ?
ภิกษุ ท. !  บุคคลบางคนในกรณีนี้  เป็นผู้มีศีล  สมาธิ และปัญญาพอเสมอกัน บุคคล ดังกล่าวนี้  เป็นผู้ที่น่าคบหาสมาคม น่าเข้าใกล้. 

ข้อนั้นเพราะอะไร ? เพราะเมื่อเราเป็นผู้มีศีล สมาธิ และปัญญาเสมอกันแล้ว การพูดกันถึงเรื่อง ศีล  สมาธิ และปัญญาของเรา นั้น ก็จักมีได้ด้วย การพูดกันของเรานั้นจักไปกันได้ด้วย  และการพูดกัน ของเรานั้นจักเป็นความ สบายอก สบายใจด้วย เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้ จึงเป็น  ผู้ที่ทุกคนควรคบหา สมาคม ควรเข้าใกล้.

ภิกษุ ท. ! ก็บุคคลเช่นไรเล่า ที่ต้องสักการะเคารพเสียก่อน แล้วจึงคบหาสมาคม เข้าใกล้ ?
ภิกษุ ท.   บุคคลบางคนในกรณีนี้  เป็นผู้มีศีล สมาธิ  และปัญญายิ่งกว่าเรา บุคคล ดังกล่าวนี้  เป็นผู้ที่ต้องสักการะเคารพเสียก่อน แล้วจึงคบหา สมาคม เข้าใกล้. 

ข้อนั้นเพราะอะไร ?  เพราะเราจักได้ทำกองศีลกองสมาธิ และกองปัญญาของเรา  ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้ บริบูรณ์ บ้าง  เราจักได้ประคับประคองกองศีล กองสมาธิ และกองปัญญา ที่บริบูรณ์แล้วไว้ได้




195
ละได้จักอยู่เป็น “พระ”

            ภิกษุ ท. ! ความคดทางกาย ทางวาจา ทางใจ โทษทางกาย ทาง วาจา ทางใจ กิเลสเพียงดังนํ้าฝาดทางกาย ทางวาจา ทางใจ ของ บรรพชิตพวกใด จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้แล้ว บรรพชิต พวกนั้น ก็ต้องหล่นไปเองจากธรรมวินัยนี้เหมือนล้อรถข้างที่ทำแล้วใน ๖ วัน๒ ตั้งตรงไม่ได้ต้องตะแคงล้มไป ฉะนั้น.

             ภิกษุ ท. ! ความคดทางกาย ทางวาจา ทางใจ โทษทางกาย ทาง วาจา ทางใจ กิเลสเพียงดังนํ้าฝาดทางกาย ทางวาจา ทางใจ ของบรรพชิต พวกใด จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม อันเธอละได้แล้ว บรรพชิตพวกนั้น ก็ตั้งมั่นอยู่ได้เองในธรรมวินัยนี้เหมือนล้อรถข้างที่ทำแล้วนานถึง ๖ เดือน หย่อน ๖ วัน กลิ้งไปตั้งตรงอยู่ได้ไม่ล้ม ฉะนั้น.

             ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียก ใจไว้ว่า “เราทั้งหลาย จักละความคดทางกาย โทษทางกาย กิเลส เพียงดังนํ้าฝาดทางกาย จักละความคดทางวาจา โทษทางวาจา กิเลสเพียงดังนํ้าฝาดทางวาจา จักละความคดทางใจ โทษทางใจ กิเลสเพียงดังนํ้าฝาด ทางใจ”ดังนี้. ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจ ไว้อย่างนี้แล.


196
สมณพราหมณ์ที่น่านับถือ

            ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีท. ! ถ้าพวกปริพพาชกผู้ถือลัทธิอื่นจะพึง ถามท่านทั้งหลายว่า “สมณะหรือพราหมณ์ชนิดไหนเล่า ที่พวกท่านพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา” ดังนี้ไซร้ เมื่อพวกท่าน ถูกเขาถามเช่นนี้แล้ว พึงตอบ แก้แก่เขาว่า

             สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้ปราศจากราคะ -โทสะ -โมหะ ในรูป ที่เห็นด้วยตา เสียงที่ ได้ยินด้วยหู กลิ่นที่รู้สึกด้วยจมูก รสที่รู้สึกด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยกาย ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ด้วยใจ แล้ว มีจิตสงบ ณ ภายใน ประพฤติมรรยาทเรียบร้อยทั้งทางกาย วาจา และใจ สมณะหรือ พราหมณ์ เหล่านั้น ประเภทเดียวที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา.

             ข้อนั้น เพราะอะไร ? เพราะว่า แม้พวกเราทั้งหลาย ยังไม่ปราศจากราคะ -โทสะ โมหะ ในรูป ที่เห็นด้วยตา ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจแล้ว มีจิต ยังไม่สงบได้ ณ ภายใน ยังประพฤติเรียบร้อยบ้าง ไม่เรียบร้อยบ้าง ทั้ง ทางกาย วาจา และใจ ก็จริงแล แต่ความประพฤติเรียบร้อย เด่นชัดของ สมณพราหมณ์เหล่านั้น จักเป็นของเราผู้เห็นอยู่ซึ่งตัวอย่างอันยิ่ง.

เพราะฉะนั้น สมณพราหมณ์พวกนั้น จึงเป็นผู้ที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา สำหรับเรา ทั้งหลาย โดยแท้.


197
ผล และ ประโยชน์ของความเป็นสมณะ

            ภิกษุ ท. ! ผลของความเป็นสมณะ เป็นอย่างไรเล่า ? โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล เหล่าใดแล ภิกษุ ท. ! ผล เหล่านี้เราเรียกว่า ผลของความเป็นสมณะ.

            ภิกษุ ท. ! ประโยชน์ของความเป็นสมณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ อันใดแล ภิกษุ ท. ! อันนี้เราเรียกว่า ประโยชน์ของความเป็นสมณะ.

           
ภิกษุ ท. ! ความเป็นสมณะ เป็นอย่างไรเล่า ? อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้อย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งได้แก่ ความเข้าใจอันถูกต้อง ความดำริอันถูกต้อง การพูดจาอันถูกต้อง การทำการงานอันถูกต้อง การเลี้ยงชีวิต อันถูกต้อง ความพยายามอันถูกต้อง ความมีสติครองตนอันถูกต้อง ความตั้งใจมั่น อันถูกต้อง

           
ภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรคอันนี้เราเรียกว่า ความเป็น สมณะ.


198
ผู้ละความทุศีลเสียได้

            ภิกษุ ท. ! ความสงัด (คือห่างไกลจากบาปธรรม) อันยิ่งสำหรับภิกษุในธรรมวินัยนี้มีสามอย่างเหล่านี้เท่านั้น. สามอย่างอะไรบ้างเล่า ? สามอย่าง คือ :-
            (๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล ละความทุศีลเสียได้และสงัด จากความทุศีลนั้นด้วย.
            (๒) เป็นผู้มีความเห็นชอบ ละความเห็นผิดเสียได้และสงัดจากความ เห็นผิดนั้นด้วย
            (๓) เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ละอาสวะทั้งหลายเสียได้และเป็นผู้สงัด จากอาสวะทั้งหลายนั้นด้วย.

             ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล ภิกษุมีคุณธรรมสามอย่างดังกล่าวนี้แล้ว เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็น ผู้ถึงยอด ถึงแก่น บริสุทธ์ิตั้งอยู่ในสาระแล้ว.

             ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนาข้าวสาลีของคฤหบดีชาวนา มีผลได้ที่แล้ว คฤหบดีชาวนาก็รีบ ๆ ให้เกี่ยวข้าวนั้น ครั้นแล้วก็รีบ ๆ ให้เก็บขน ครั้นแล้วก็รีบ ๆ ให้นำขึ้นไปไว้ในลาน ครั้นแล้วก็รีบ ๆ ให้ทำเป็นกอง ครั้นแล้ว ก็รีบ ๆ ให้นวด ครั้นแล้วก็รีบ ๆ ให้สงฟาง ครั้นแล้วก็รีบ ๆ ให้สาด ครั้นแล้วก็รีบ ๆ ให้สี ครั้นแล้วก็รีบ ๆ ให้ซ้อม ครั้นแล้วก็รีบ ๆ ให้ฝัดแกลบ เมื่อเป็นเช่นนี้ข้าวเปลือกของคฤหบดี ชาวนานั้นก็เป็นอันถึงที่สุด ถึงแก่น สะอาด ตั้งอยู่ในความเป็นข้าวสารได้ฉันใดก็ดี

             ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีศีล ละความทุศีลเสียได้ และสงัดจากความทุศีลนั้นด้วย เป็นผู้มีความ เห็นชอบ ละความเห็นผิดเสียได้ และสงัดจากความเห็นผิดนั้นด้วย เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ละอาสวะ ทั้งหลาย เสียได้และ เป็นผู้สงัดจากอาสวะทั้งหลาย นั้นด้วย ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็น ผู้ถึงยอด ถึงแก่น บริสุทธิ์ตั้งอยู่ในสาระแล้ว ฉันนั้น เหมือนกันแล.


199
ภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว

มหาราชะ ! ภิกษุเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว เป็นอย่างไรเล่า ?

            ผู้มีศีลถึงพร้อมด้วยอาทิพรหมจริยศีล

            มหาราชะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละปาณาติบาต เว้นขาดจาก ปาณาติบาต วางท่อนไม้และ ศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่ แม้นี้ก็เป็นศีล ของเธอประการหนึ่ง.

             เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้แล้ว หวังอยู่แต่ของ ที่เขาให้เป็นคนสะอาด ไม่เป็น ขโมยอยู่ แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

             เป็นผู้ละกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ประพฤติพรหมจรรย์โดยปกติประพฤติห่างไกล เว้นขาดจาก การเสพเมถุน อันเป็นของชาวบ้าน แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

             เป็นผู้ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่ความจริง รักษาความสัตย์มั่นคงในคำพูด ควรเชื่อถือได้ไม่แกล้งกล่าวให้ผิดต่อโลก แม้นี้ก็เป็นศีล ของเธอประการหนึ่ง.

             เป็นผู้ละคำส่อเสียด เว้นขาดจาดคำส่อเสียด ได้ฟัง จากฝ่ายนี้แล้ว ไม่เก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อให้ฝ่ายนี้แตกร้าวกัน หรือได้ฟัง จากฝ่ายโน้นแล้วไม่นำมาบอกแก่ฝ่ายนี้เพื่อให้ฝ่ายโน้นแตกร้าวกัน แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้ว ให้กลับพร้อมเพรียงกัน อุดหนุนคนที่พร้อมเพรียง กันอยู่ให้พร้อมเพรียง กัน ยิ่งขึ้น เป็นคนชอบในการพร้อมเพรียง เป็นคน ยินดีในการพร้อมเพรียง เป็นคนพอใจในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำให้พร้อมเพรียงกัน แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

             เป็นผู้ละการ กล่าวคำหยาบเสีย เว้นขาดจากการกล่าวคำหยาบ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต ให้เกิดความรัก เป็นคำฟูใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน เป็นที่ใคร่ที่พอใจของมหาชน แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

             เป็นผู้ละคำพูดที่โปรยประโยชน์ทิ้งเสีย เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ กล่าวแต่ในเวลา อันสมควร กล่าวแต่คำจริง เป็นประโยชน์เป็นธรรม เป็นวินัย กล่าวแต่วาจามีที่ตั้ง มีหลักฐานที่อ้างอิง มีเวลาจบประกอบด้วยประโยชน์สมควรแก่เวลา แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง ๆ.

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้เว้นขาดจากการล้างผลาญพืชคามและภูตคาม.
เป็นผู้ฉันอาหารวันหนึ่งเพียงหนเดียว
เว้นจากการฉันในราตรีและวิกาล.
เป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรำ การขับร้อง การประโคม และการดูการเล่นชนิด เป็นข้าศึกแก่กุศล.
เป็นผู้เว้นขาดจากการประดับประดา คือทัดทรงตกแต่ง ด้วยมาลาและของหอมและเครื่องลูบทา.
เป็นผู้เว้นขาดจากการนอนบนที่นอน สูงใหญ่.
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับเงินและทอง.
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับ ข้าวเปลือก.
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับหญิง และเด็กหญิง.
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย.
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับแพะ แกะ ไก่สุกร ช้าง โค ม้า ทั้งผู้และเมีย.
เป็นผู้เว้นขาดจาก การรับที่นาและที่สวน.
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับใช้เป็นทูต ไปในที่ต่างๆ (ให้คฤหัสถ์).
เป็นผู้เว้นขาดจากการซื้อและการขาย.
เป็นผู้เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การลวงด้วยของปลอมและการฉ้อด้วยเครื่องนับ (เครื่องตวงและ เครื่องวัด)
เป็นผู้เว้นขาดจากการโกง ด้วยการรับสินบนและล่อลวง.
เป็นผู้เว้นขาดจาก การตัด การฆ่า การจำจอง การซุ่มทำร้าย การปล้น และการโชก.

แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง ๆ.



201
ผู้มีศีลไม่ทำลายพืชคามและภูตคาม


            อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายก ถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังทำพืชคามและภูตคามให้กำเริบ

             คือ อะไรบ้าง ? คือพืชที่เกิดแต่ราก พืชที่เกิดแต่ต้น พืชที่เกิดแต่ผล พืชที่เกิด แต่ยอด และพืชที่เกิดแต่เมล็ดเป็นที่ห้า.

             ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอเว้นขาด จากการทำพืชคามและภูตคาม เห็นปานนั้น ให้กำเริบแล้ว. แม้นี้ก็เป็นศีล ของเธอประการหนึ่ง.


201-1
ผู้มีศีลไม่ทำการบริโภคสะสม

            อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายก ถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้ทำการบริโภคสะสมอยู่เนือง ๆ

             คือ อะไรบ้าง ? คือสะสมข้าวบ้าง สะสมนํ้าดื่มบ้าง สะสมผ้าบ้าง สะสม ยานพาหนะบ้าง สะสมเครื่องนอนบ้าง สะสมของหอมบ้าง สะสมอามิสบ้าง.

             ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอเว้นขาดจากการบริโภคสะสมเห็นปานนั้น เสียแล้ว.
แม้นี้ก็เป็นศีล ของเธอ ประการหนึ่ง.



202
ผู้มีศีลไม่ดูการเล่น

            อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายก ถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้ดูการเล่นอยู่เนือง ๆ

             คืออะไร บ้าง ? คือดูฟ้อน ฟังขับ ฟังประโคม ดูไม้ลอย ฟังนิยาย ฟังเพลงปรบมือ ฟัง ตีฆ้อง ฟังตีระนาด ดูหุ่นยนต์ฟังเพลงขอทาน ฟังแคน ดูเล่นหน้าศพ ดูชน ช้าง แข่งม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ชนนกกระทา ดูรำไม้รำมือ ชกมวย ดูเขารบกัน ดูเขาตรวจพล ดูเขาตั้งกระบวนทัพ ดูกองทัพที่จัดไว้.

             ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอเว้นขาดจากการดูการเล่นเห็นปานนั้น เสีย แล้ว. แม้นี้ก็เป็นศีล ของเธอ ประการหนึ่ง.


202-1
ผู้มีศีลไม่เล่นการพนัน

            อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายก ถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังเป็นผู้เล่นการพนันหรือการเล่นอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทกันอยู่เนือง ๆ

             คืออะไรบ้าง ? คือเล่นหมากรุกชนิด แถวละ ๘ ตาบ้าง ๑๐ ตาบ้าง เล่นหมากเก็บ เล่นชิงนาง หมากไหว โยนห่วง ไม้หึ่ง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่าง ๆ ทอดลูกบาตร เป่าใบไม้เล่นไถน้อย ๆ เล่นหก คะเมน เล่นไม้กังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถน้อย ธนูน้อย เล่นเขียนทายกัน เล่นทายใจ เล่นล้อคนพิการบ้าง.

             ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอเว้นขาดจากการเล่นพนันหรือการเล่น อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เห็นปานนั้นเสียแล้ว. แม้นี้ก็เป็นศีล ของเธอ ประการหนึ่ง.


203
ผู้มีศีลไม่นอนบนที่นอนสูงใหญ่

            อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางคน ฉันโภชนะที่ทายก ถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้ทำการนอนบนที่นอนสูงใหญ่กันอยู่เนือง ๆ

             คืออะไรบ้าง ? คือนอนบนเตียงมีเท้า สูงเกินประมาณ บนเตียงมีเท้า ทำเป็นรูปสัตว์ร้าย บนผ้าโกเชาขนยาว บนเครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยลาย เย็บ เครื่องลาดขนแกะสีขาว เครื่องลาดขนแกะ มีสัณฐาน ดังพวงดอกไม้เครื่อง ลาดมีนุ่นภายใน เครื่องลาด วิจิตร ด้วยรูปสัตว์ร้าย เครื่องลาดมีขนขึ้น ข้างบน เครื่องลาดมีชายครุย เครื่องลาด ทอด้วยทองเงิน แกมไหม เครื่องลาดทอด้วย ไหมขลิบทองเงิน เครื่องลาดขนแกะใหญ่พอนางฟ้อนได้๑๖ คน เครื่องลาด บนหลังช้าง เครื่องลาดบนหลังม้า เครื่องลาด บนรถ เครื่องลาดที่ทำด้วย หนังอชินะ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดานแดง มีหมอน ข้างแดง.

             ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอเว้นขาดจากการนอนบนที่นอนสูงใหญ่เห็นปานนั้นเสียแล้ว. แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง.


204
ผู้มีศีลไม่ประดับตกแต่งร่างกาย

            อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายก ถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังเป็นผู้ประกอบการประดับประดาตกแต่ง ร่างกาย เห็นปานนี้กันอยู่เนือง ๆ

             คืออะไรบ้าง ? คือการอบตัว การเคล้นตัว การอาบสำอาง การนวดเนื้อ การส่องดูเงา การหยอดตาให้มีแววคมขำ การ ใช้ดอกไม้การทาของหอม การผัดหน้า การทาปาก การผูกเครื่องประดับ ที่มือ การผูกเครื่องประดับ ที่กลางกระหม่อม การถือไม้ถือ การห้อยแขวนกล่องกลัก อันวิจิตร การคาดดาบ การคาดพระขรรค์การ ใช้ร่มและรองเท้าอันวิจิตร การใส่กรอบหน้า การปักปิ่น การใช้พัดสวยงาม การใช้ผ้าชายเฟื้อยและอื่น ๆ.

             ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอเว้นขาดจากการประดับตกแต่งร่างกายเห็น ปานนั้นเสียแล้ว. แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอ อีกประการหนึ่ง.


204-1
ผู้มีศีลไม่พูดคุยเดรัจฉานกถา

            อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายก ถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังเป็นผู้ประกอบการคุยด้วยเดรัจฉานกถากันอยู่เนือง ๆ

             คืออะไรบ้าง ? คือคุยกันถึงเรื่อง เจ้านายบ้าง เรื่องโจรบ้าง เรื่อง มหาอมาตย์เรื่องกองทัพ เรื่องของน่ากลัว เรื่องการรบพุ่ง เรื่องข้าว เรื่องนํ้า เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยานพาหนะ เรื่องบ้าน เรื่องจังหวัด เรื่องเมืองหลวง เรื่องบ้านนอก เรื่องหญิง เรื่องชาย เรื่องคนกล้า เรื่องตรอก เรื่องท่านํ้า เรื่องคนที่ตายไป แล้ว เรื่องความแปลก ประหลาดต่าง ๆ เรื่องโลก เรื่องสมุทร เรื่องความฉิบหาย และเจริญบ้าง.

             ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอเว้นขาดจากการคุยด้วยเดรัจฉายกถา เห็นปานนั้นเสียแล้ว. แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง


205
ผู้มีศีลไม่กล่าวคำแก่งแย่งกัน

            อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายก ถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังเป็นผู้กล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกันเนือง ๆ

            คืออะไรบ้าง ? คือแก่งแย่งกันว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึง ธรรมวินัยนี้ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ธรรมวินัยนี้ ท่านจะรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้อย่างไรได้ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้า ปฏิบัติถูก ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ถ้อยคำ ของท่านไม่เป็นประโยชน์คำควรพูดก่อน ท่านมาพูด ทีหลัง คำควรพูดทีหลัง ท่านมาพูดก่อน ข้อที่ท่าน เคย เชี่ยวชาญ เปลี่ยนแปลงไปเสียแล้ว ข้าพเจ้า ยกคำพูด แก่ท่านได้แล้ว ท่านถูกข้าพเจ้า ข่มแล้ว ท่านจงถอนคำพูดของท่านเสีย หรือท่านสามารถก็จง ค้านมาเถิด.

             ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอเว้นขาดจากการกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งเห็น ปานนั้นเสียแล้ว. แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


206
ผู้มีศีลไม่เป็นทูตนำข่าว

            อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายก ถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังเป็นผู้ประกอบการรับเป็นทูต รับใช้ไป ในที่นั้น ๆ กันอยู่เนือง ๆ

            คืออะไรบ้าง ? คือรับใช้พระราชาบ้าง รับใช้อมาตย์ของพระราชาบ้าง รับใช้กษัตริย์รับใช้พราหมณ์ รับใช้คฤหบดี และรับใช้เด็ก ๆ บ้าง ที่ใช้ว่า “ท่านจงไปที่นี่ ท่านจงไปที่โน่น ท่าน จงนำสิ่งนี้ไป ท่านจงนำสิ่งนี้ ในที่โน้นมา” ดังนี้.

            ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอเว้นขาดจากการรับใช้เป็นทูต รับใช้ไปใน ที่ต่าง ๆ เห็นปานนั้น เสียแล้ว. แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


206-1
ผู้มีศีลไม่ล่อลวงชาวบ้าน

            อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวาย ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังเป็นผู้แสวงหาลาภด้วยการกล่าวคำล่อหลอกการกล่าวคำพิรี้พิไร การพูดแวดล้อมด้วยเลศ การพูดให้ทายก เกิดมานะมุทะลุ ในการให้ และการใช้ของมีค่าน้อยต่อเอาของมีค่ามาก.

             ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอเว้นขาดจากการแสวงหาลาภโดยอุบาย หลอกลวงเช่นนั้นเสียแล้ว. แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


207
ผู้มีศีลไม่เป็นหมอทายโชคลาง

            อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายก ถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังสำเร็จการเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้อยู่

             คืออะไรบ้าง ? คือทายลักษณะในร่างกาย บ้าง ทายนิมิตลางดีลางร้ายบ้าง ทายอุปปาตะ คือของตกบ้าง ทำนายฝัน ทาย ชะตา ทายผ้าหนูกัด ทำพิธีโหมเพลิง ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธี ซัดโปรย แกลบ ทำพิธีซัด โปรยรำ ทำพิธีซัดโปรยข้าวสาร ทำพิธีจองเปรียง ทำพิธีจุดไฟ บูชา ทำพิธีเสก เป่า ทำพิธีพลีด้วยโลหิต บ้าง เป็นหมอดูอวัยวะร่างกาย หมอ ดูภูมิที่ตั้งบ้านเรือน ดูลักษณะไร่นา เป็นหมอ ปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอ ทำยันต์กันบ้านเรือน หมองูหมอดับพิษ หมอแมลงป่อง หมอหนูกัด หมอ ทายเสียงนกเสียงกา หมอทายอายุหมอกันลูกศร (กันปืน) หมอดูรอยสัตว์.

             ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอเว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำ เดรัจฉานวิชาเห็นปานนั้น เสียแล้ว. แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


208
ผู้มีศีลไม่เป็นหมอทายลักษณะสิ่งของ

            อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายก ถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังสำเร็จการเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้อยู่

             คืออะไรบ้าง ? คือ ทายลักษณะแก้วมณี (เช่นหมอดูเพชร) ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะ ไม้เท้า ลักษณะศัสตรา ลักษณะ ดาบ ลักษณะลูกศร ลักษณะธนูลักษณะอาวุธ ทายลักษณะหญิง ลักษณะ ชาย ลักษณะเด็กชาย ลักษณะเด็กหญิง ลักษณะทาส ลักษณะทาสีทายลักษณะช้าง ลักษณะม้า ลักษณะ กระบือ ลักษณะโคอุสภ ลักษณะโค ลักษณะแพะ ลักษณะ แกะ ลักษณะไก่ลักษณะนกกระทา ลักษณะ เหี้ย ลักษณะสัตว์ชื่อกัณณิกา ลักษณะเต่า ลักษณะเนื้อบ้าง.

             ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอเว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำ เดรัจฉานวิชาเห็นปานนั้น เสียแล้ว. แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


208-1
ผู้มีศีลไม่เป็นหมอทำนายการรบพุ่ง

            อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวาย ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังสำเร็จการเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตผิดเพราะ ทำเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้อยู่

             คืออะไรบ้าง ? คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพให้แก พระราชาว่า วันนั้นควรยก วันนั้นไม่ควรยก พระราชาภายในจักรุก พระ ราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักรุก พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายในจักชนะ พระราชาภายนอกจักแพ้ พระราชาภายนอก จักชนะ พระราชาภายในจักแพ้ องค์นี้จักแพ้องค์นี้จักชนะบ้าง.

            ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอเว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำ เดรัจฉานวิชาเห็นปานนั้น เสียแล้ว. แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


209
ผู้มีศีลไม่เป็นหมอโหราศาสตร์

            อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายก ถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังสำเร็จการเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้อยู่

             คืออะไรบ้าง ? คือ ทำนายจันทรคาธ สุริยคาธ นักษัตรคาธ ทำนายดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ดาวพระเคราะห์ว่าจักเดิน ในทางบ้าง นอกทางบ้าง ทำนายว่า จักมีอุกกาบาต ฮูมเพลิง แผ่นดินไหว ฟ้าร้องบ้าง ทำนายการขึ้น การตก การหมอง การแผ้วของดวงจันทร์ดวง อาทิตย์และดาว จะมีผลเป็น อย่างนั้น ๆ ดังนี้บ้าง.
             ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอเว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำ เดรัจฉานวิชาเห็นปานนั้น เสียแล้ว. แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


210
ผู้มีศีลไม่เป็นหมอทำนายดินฟ้าอากาศ

            อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายก ถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังสำเร็จการเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้อยู่

             คืออะไรบ้าง ? คือ ทำนายว่าจักมีฝนดีบ้าง จักมีฝนแล้งบ้าง อาหารหาง่าย อาหารหายาก จักมีความสบาย จักมีความทุกข์จักมีโรค จักไม่มีโรคบ้าง ทำนายการนับคะแนน คิดเลข ประมวล แต่ง กาพย์กลอน สอนตำราว่าด้วยทางโลก ดังนี้บ้าง.

             ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอเว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำ เดรัจฉานวิชาเห็นปานนั้น เสียแล้ว. แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


210-1
ผู้มีศีลไม่เป็นหมอดูฤกษ์ยาม

            อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวาย ด้วยศรัทธาแล้ว ยังสำเร็จการเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉาน วิชาเห็นปานนี้อยู่

             คืออะไรบ้าง ? คือ ดูฤกษ์อาวาหะ ดูฤกษ์วิวาหะ ดูฤกษ์ทำการผูกมิตร ดูฤกษ์ทำการ แตกร้าว ดูฤกษ์ทำการเก็บทรัพย์ ดูฤกษ์ทำการ จ่ายทรัพย์ (ลงทุน) ดูโชคดีโชคร้ายบ้าง ให้ยาบำรุงครรภ์ บ้าง ร่ายมนต์ผูกยึด ปิดอุดบ้าง ร่ายมนต์สลัด ร่ายมนต์กั้นเสียง เป็นหมอเชิญผีถามบ้าง เชิญเจ้าเข้าหญิง ถามบ้าง ถามเทวดาบ้าง ทำพิธีบวงสรวงพระอาทิตย์บวงสรวง มหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ร่ายมนต์เรียกขวัญให้บ้าง.

             ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอเว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำ เดรัจฉานวิชาเห็นปานนั้น เสียแล้ว. แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


211
ผู้มีศีลไม่เป็นหมอผีและหมอยา

            อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายก ถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังสำเร็จการเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้อยู่

             คืออะไรบ้าง ? คือบนขอลาภผลต่อเทวดา ทำการบวงสรวงแก้บน สอนมนต์กันผีกัน บ้านเรือน ทำกะเทยให้เป็นชาย ทำ ชายให้เป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำการบวงสรวงในที่ปลูกเรือน พ่นนํ้ามนต์ บูชาเพลิงให้บ้าง ประกอบยาสำรอกให้บ้าง ประกอบยาประจุประกอบยา ถ่ายโทษข้างบน ประกอบยาแก้ปวดศีรษะ หุงนํ้ามันหยอดหูทำยาหยอดตา ประกอบยานัตถ์ ประกอบยาทำให้กัด ประกอบยา ทำให้สมาน เป็นหมอป้าย ยาตา เป็นหมอผ่าบาดแผล เป็นหมอกุมาร หมอพอกยาแก้ยา ให้บ้าง.
             ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอเว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตผิด เพราะทำ เดรัจฉานวิชาเห็นปานนั้น เสียแล้ว. แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง

            มหาราชะ ! ภิกษุนั้นแล ผู้มีศีลสมบูรณ์แล้วอย่างนี้ย่อมไม่แลเห็นภัย แต่ที่ไหน ๆ ที่จะเกิด เพราะเหตุศีลสังวร เหมือนกษัตริย์ผู้ได้ มุรธาภิเษกแล้ว มีปัจจามิตรอันกำจัดเสียได้แล้ว ย่อมไม่เห็นภัย แต่ที่ไหน ๆ เพราะเหตุข้าศึก ฉะนั้น. เธอประกอบด้วยกองศีลอันเป็น อริยคุณ นี้แล้ว ย่อมได้เสวยสุขอัน หาโทษมิได้ ณ ภายใน
            มหาราชะ ! ภิกษุเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว ด้วยอาการอย่างนี้แล.


212
อธิศีลสิกขา

            ภิกษุ ท. ! อธิศีลสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ?
            ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็น โทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.
            ภิกษุ ท. ! การปฏิบัติอย่างนี้เราเรียกว่า อธิศีลสิกขา.


212-1
สมณกิจ

            ภิกษุ ท. ! กิจของสมณะที่สมณะต้องทำมีสามอย่างเหล่านี้. สามอย่าง อะไรบ้างเล่า ? สามอย่างคือ
            (๑) การสมาทานการปฏิบัติในศีลอันยิ่ง.
            (๒) การสมาทานการปฏิบัติในจิตอันยิ่ง.
            (๓) การสมาทานการปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง.
            ภิกษุ ท. ! กิจของสมณะที่สมณะต้องทำมีสามอย่างเหล่านี้แล.
            ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเนียกใจ ไว้ว่า “ความพอใจของเราจักต้องเข้มงวดพอ ในการสมาทานการปฏิบัติใน ศีลอันยิ่ง ในการสมาทานการปฏิบัติในจิตอันยิ่ง และในการสมาทานการ ปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง” ดังนี้.
            ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจ ไว้อย่างนี้แล.


213
กิจของชาวนา

            ภิกษุ ท. ! กิจของคฤหบดีชาวนาที่เขาจะต้องทำก่อน (แห่งการได้มา ซึ่งข้าวเปลือก) มีสามอย่าง เหล่านี้. สามอย่างอะไรบ้างเล่า ? สามอย่างคือ คฤหบดีชาวนาในโลกนี้ไถ คราด พื้นที่นา ให้ดีเสียก่อน ครั้นแล้วปลูกพืชลง ในเวลาอันควร ครั้นแล้ว ไขนํ้าเข้าบ้าง ไขนํ้าออกบ้าง ตามคราว ที่สมควร.

             ภิกษุ ท. ! กิจของคฤหบดีชาวนาที่เขาจะต้องทำก่อน (แห่งการได้มาซึ่งข้าวเปลือก) มีสามอย่าง เหล่านี้แล

             ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : กิจที่ภิกษุจะต้องทำก่อน (แห่งการได้มาซึ่ง มรรคผล) มีสามอย่าง เหล่านี้. สามอย่างอะไรกันเล่า ? สามอย่างคือการสมาทาน การปฏิบัติในศีลอันยิ่ง การสมาทานการปฏิบัติ ในจิตอันยิ่ง และการสมาทาน การปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง.

             ภิกษุ ท. ! กิจที่ภิกษุจะต้องทำก่อน (แห่งการได้มา ซึ่งมรรคผล) มีสามอย่างเหล่านี้แล.

             ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจ ไว้ว่า “ความพอใจของเรา จักต้องเข้มงวดพอ ในการ สมาทานการปฏิบัติในศีลอันยิ่ง ในการสมาทาน การปฏิบัติในจิตอันยิ่ง และในการ สมาทานการปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง” ดังนี้
            ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจ ไว้อย่างนี้แล.


214
ตั้งหน้าทำก็แล้วกัน

            ภิกษุ ท. ! กิจของคฤหบดีชาวนาที่เขาจะต้องรีบทำมีสามอย่างเหล่านี้. สามอย่างอะไรบ้างเล่า ? สามอย่างคือ คฤหบดีชาวนารีบ ๆ ไถ คราด พื้นที่นา ให้ดีเสียก่อน ครั้นแล้ว ก็รีบ ๆ ปลูกพืช ครั้นแล้ว ก็รีบ ๆ ไขนํ้าเข้าบ้าง ไขนํ้าออกบ้าง.

             ภิกษุ ท. ! กิจของคฤหบดีชาวนาที่เขาจะต้องรีบทำมีสามอย่าง เหล่านี้แล แต่ว่าคฤหบดี ชาวนานั้น ไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า “ข้าวของเราจงงอกในวันนี้ ตั้งท้องพรุ่งนี้ สุกมะรืนนี้” ดังนี้ได้เลย ที่ถูก ย่อมมีเวลาที่ข้าวนั้น เปลี่ยนแปรสภาพไปตามฤดูกาล ย่อมจะงอกบ้าง ตั้งท้อง บ้าง สุกบ้าง

             ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น กิจของภิกษุที่เธอจะต้องรีบทำมีสามอย่าง เหล่านี้. สามอย่าง อะไรบ้างเล่า ? สามอย่างคือ การสมาทานการปฏิบัติในศีล อันยิ่ง การสมาทานการปฏิบัติ ในจิตอันยิ่ง และการสมาทานการปฏิบัติใน ปัญญาอันยิ่ง ภิกษุ ท. ! กิจของภิกษุที่เธอจะต้องรีบทำมีสามอย่าง เหล่านี้ แล แต่ว่า ภิกษุนั้น ก็ไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า “จิตของเราจงหลุดพ้น จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีอุปาทานในวันนี้หรือพรุ่งนี้หรือมะรืนนี้” ดังนี้ได้เลย ที่ถูก ย่อมมีเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเมื่อภิกษุนั้น ปฏิบัติไปแม้ใน ศีลอันยิ่ง ปฏิบัติไปแม้ในจิตอันยิ่ง และปฏิบัติไปแม้ในปัญญาอันยิ่ง จิตก็จะหลุดพ้นจาก อาสวะทั้งหลายเพราะไม่มีอุปาทาน ได้เอง.

             ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจ ไว้ว่า “ความพอใจของเรา จักต้องเข้มงวดพอ ในการสมาทานการปฏิบัติในศีล อันยิ่ง ในการสมาทานการปฏิบัติในจิตอันยิ่ง และในการ สมาทานการปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง” ดังนี้.
             ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ไว้อย่างนี้แล.


215
เครื่องมือละกิเลส

            ภิกษุ ! ก็เธอสามารถหรือ ที่จะศึกษา๒ ในสิกขาทั้งสาม คือใน อธิศีลสิกขา ในอธิจิตสิกขา และในอธิปัญญาสิกขา ?

            “ข้าพระองค์สามารถที่จะศึกษาในสิกขาทั้ง ๓ นั้น_ _ _ _พระเจ้าข้า”.


            ภิกษุ ! ถ้าอย่างนั้น เธอจงศึกษาในสิกขาทั้ง ๓ คือในอธิศีลสิกขา ในอธิจิตสิกขา และใน อธิปัญญาสิกขาเถิด.

            ภิกษุ ! เมื่อใดแล เธอจักศึกษาทั้งศีลอันยิ่งบ้าง ทั้งจิตอันยิ่งบ้างทั้ง ปัญญาอันยิ่งบ้าง เมื่อนั้น เธอผู้กำลังศึกษาในศีลอันยิ่ง จิตอันยิ่ง และปัญญาอัน ยิ่งอยู่จักละราคะ ละโทสะ และละโมหะได้ เพราะการละ ราคะ-โทสะ-โมหะได้นั้นเอง เธอจักไม่กระทำสิ่งอันเป็นอกุศล และจักไม่เสพสิ่งที่เป็น บาปโดยแท้.


216
เมื่อมีศีลควรส่งตนไปในแนวเผากิเลส

            ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์มีปาติโมกข์สมบูรณ์อยู่เถิด จงเป็นผู้สำรวมใน ปาติโมกขสังวร มีมรรยาทและโคจร สมบูรณ์อยู่เถิด จงมีปรกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายซึ่งมีประมาณ เล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.

            
ภิกษุ ท. ! เมื่อพวกเธอทั้งหลาย สมบูรณ์ด้วยศีลเช่นนั้นแล้ว อะไรเล่า เป็นกิจที่พวกเธอ จะต้องทำให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ?

            
ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุเดินอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม นอน ตื่นอยู่ก็ตาม อภิชฌาและ พยาบาทของภิกษุนั้นก็ปราศจากไปแล้ว ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉาของเธอก็ละได้แล้ว ความเพียรก็ปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน สติก็ตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายก็รำงับไม่กระสับกระส่าย จิตก็ตั้งมั่น เป็นหนึ่งแน่

             ภิกษุ ท . ! ภิกษุที่เป็นได้เช่นนี้แม้จะเดินอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม นอนตื่นอยู่ก็ตาม เราเรียกว่า “ผู้มีความเพียรเผากิเลส มีความ กลัวต่อโทษแห่งวัฏฏะ เป็นผู้ปรารถความเพียรติดต่อ สมํ่าเสมอเป็นนิจ เป็น ผู้มีตนส่งไปในแนวแห่งความหลุดพ้นตลอดเวลา” ดังนี้.


216-2
อริยกันตศีล

            ภิกษุ ท. ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วย ศีลทั้งหลายอันเป็นศีลที่พระ อริยเจ้าพอใจ คือ ไม่ขาด ไม่ทะลุไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกลูบคลำด้วยตัณหาทิฏฐิ และ เป็นไป พร้อม เพื่อสมาธิ.


217
ศีลอยู่เคียงคู่กับปัญญาเสมอ

            พราหมณ์ ! องค์สองประการนี้จะยกเสียอีกประการหนึ่ง บัญญัติคน ผู้ประกอบด้วยองค์เพียง ประการเดียว ว่าเป็นพราหมณ์ และคนผู้ประกอบด้วย องค์เพียงประการเดียว เมื่อกล่าวว่า ตนเป็น พราหมณ์ได้ชื่อว่า กล่าวชอบ ไม่ต้องกล่าวเท็จ จะได้หรือไม่ ?

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑. ศีลไม่ขาด หมายถึง ไม่ล่วงสิกขาบทข้อต้นหรือข้อปลายข้อใดข้อหนึ่ง ศีลไม่ทะลุหมายถึง ไม่ล่วง สิกขาบทข้อกลาง ๆ ศีลไม่ด่าง เพราะไม่ขาดเป็นหมู่ๆ หมู่ละหลายสิกขาบทและหลายหมู่ ศีลไม่พร้อย เพราะไม่ขาดแห่งละสิกขาบทหลาย ๆ แห่ง ศีลเป็นไท คือ ไม่เป็นทาสตัณหา ไม่รักษาศีลแบบการค้า มุ่งเอาเครื่องตอบแทน ศีลที่ผู้รู้สรรเสริญ เป็นศีลที่ใช้ได้เพราะผู้รู้ท่านใคร่ครวญเสียก่อนจึงสรรเสริญ ว่าดีว่า ชอบ ศีลที่ไม่ถูกลูบคลำด้วย ตัณหาทิฏฐิหมายถึงศีลที่ตัณหาไม่แตะต้อง ทิฏฐิมานะไม่แตะต้อง คือไม่ถือศีลเพราะยากจนเป็นเหตุให้กระด้าง กระเดื่อง หรือเป็นเครื่องยกตนข่มท่านไป เป็นต้น และศีล ที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธินั้น เป็นศีลที่ผู้รักษาเอาใจใส่พิจารณาตรวจสอบอยู่เสมอ ดังท่านเปรียบว่า เหมือน โคแม่ลูกอ่อนใส่ใจดูลูกไม่ห่างตา แม้บดเอื้อง ตาก็คอยชำเลือง ดูลูก กิริยาที่พิจารณาศีล นับเข้าในสีลานุสสติกรรมฐาน และจิตของผู้มีศีลอย่างนี้ใกล้สมาธิ และศีลเช่นนี้เป็นฐานรองรับสมาธิไ ด้ดีทีเดียว.

๒. บาลีพระพุทธภาษิต โสณทัณฑสูตร สี. ที. ๙/๑๕๘/๑๙๓ ตรัสแก่โสณทัณฑพราหมณ์ซึ่งทูลถึง เรื่องพวกพราหมณ์บัญญัติคนผู้ประกอบด้วยองค์ห้าว่าเป็นพราหมณ์โดยชอบ แต่อาจจะยก สามองค์แรก ออกเสียได้คงไว้แต่เพียงสององค ์คือเป็นผู้มีศีล มีศีลอันเจริญ ประกอบด้วยศีลอันเจริญ และเป็นบัณฑิต มีปัญญา แต่ถูก พระพุทธองค์ทรงแสร้งท้วงดูดังที่กล่าวแล้วข้างบน ก่อนทรงรับรอง.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

            “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! องค์สองประการนี้จะยกเสียอีกประการหนึ่งหาได้ไม่เพราะว่า ศีล ย่อม ชำระปัญญาให้บริสุทธิ์และปัญญาเล่าก็ชำระศีลให้บริสุทธิ์เหมือนกัน ศีลอยู่ที่ใด ปัญญาอยู่ที่นั้น ปัญญาอยู่ ที่ใด ศีลอยู่ที่นั้น ผู้มีศีลก็มีปัญญา ผู้มีปัญญาก็มีศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวถึงศีล และปัญญาว่า เป็นของเลิศในโลก.

             ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! เปรียบเหมือนคนล้างมือด้วยมือ หรือล้างเท้า ด้วยเท้า ฉันใด ศีลย่อม ชำระปัญญา ให้บริสุทธิ์และปัญญาเล่าก็ชำระศีลให้บริสุทธิ์เหมือนกัน ศีลอยู่ที่ใด ปัญญาอยู่ที่นั้น ปัญญา อยู่ที่ใด ศีลอยู่ที่นั้น ผู้มีศีลก็มีปัญญา ผู้มีปัญญาก็มีศีล บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมกล่าวถึงศีลและปัญญา ว่าเป็นของเลิศในโลก ฉันนั้น เหมือนกัน”.

             พราหมณ์ ! ข้อนั้น เป็นอย่างนั้น ๆ แหละพราหมณ์. ศีล ย่อมชำระ ปัญญาให้บริสุทธิ์ และปัญญาเล่า ก็ชำระศีลให้บริสุทธิ์เหมือนกัน ศีล อยู่ที่ใด ปัญญาอยู่ที่นั้น ปัญญาอยู่ที่ใด ศีลอยู่ที่นั้น ผู้มีศีลก็มีปัญญา ผู้มีปัญญา ก็มีศีล บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมกล่าวถึงศีลและปัญญา ว่าเป็นของเลิศ ในโลก.

             พราหมณ์ ! เปรียบเหมือนคนล้างมือด้วยมือ หรือล้างเท้าด้วยเท้า ฉันใด ศีล ย่อมชำระปัญญา ให้บริสุทธิ์และปัญญาเล่าก็ชำระศีลให้บริสุทธิ์เหมือนกัน ศีลอยู่ที่ใด ปัญญาอยู่ที่นั้น ปัญญาอยู่ที่ใด ศีลอยู่ ที่นั้น ผู้มีศีลก็มีปัญญา ผู้มีปัญญาก็มีศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวถึงศีลและปัญญา ว่าเป็นของเลิศ ในโลก ฉันนั้นเหมือนกัน.


218
ชำระศีลและทิฏฐิให้บริสุทธิ์ก่อน

            พาหิยะ ! ถ้าอย่างนั้น ในเรื่องนี้เธอ จงชำระสิ่งอันเป็นเบื้องต้นในกุศลทั้งหลายให้บริสุทธิ์ ก่อนเถิด. ก็อะไรเป็นสิ่ง เบื้องต้นของสิ่งอันเป็นกุศล ทั้งหลายเล่า ? สิ่งเบื้องต้นนั้นก็ได้แก่ศีล อันบริสุทธิ์ หมดจดด้วยดีและ ทิฏฐิ (ความเห็น) ที่ถูกตรง.

            พาหิยะ ! โดยกาลใดแล ศีลของเธอเป็นศีลอันบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีและทิฏฐิ ก็จักเป็นความ เห็นที่ถูกตรง โดยกาลนั้น เธอพึงอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล แล้ว พึงอบรมสติปัฏฐานสี่เถิด. สติปัฏฐานสี่ อะไรบ้าง ? สติปัฏฐานสี่คือ

           
พาหิยะ ! ในกรณีนี้เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนือง ๆ จง พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนา ทั้งหลายอยู่เนือง ๆ จงพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เนือง ๆ จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เนือง ๆ มีความเพียรเผา กิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติพึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.

           
พาหิยะ ! โดยกาลใดแล เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จักอบรมสติปัฏฐานสี่เหล่านี้อย่างนี้ โดยกาลนั้น วันหรือคืนของเธอจักผ่านไปโดยหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

            (กาลต่อมา พระพาหิยะนั้นออกไปทำความเพียร จนได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง).


221
ศีลเป็นฐานรองรับสติปัฏฐานสี่

            ภิกษุ ท. ! ถ้าอย่างนั้น ในเรื่องนี้เธอจงชำระสิ่งอันเป็นเบื้องต้นในกุศล ทั้งหลายให้บริสุทธิ์ ก่อนเถิด. อะไรก็เป็นสิ่งเบื้องต้นของสิ่งอันเป็นกุศล ทั้งหลายเล่า ? สิ่งเบื้องต้นนั้นก็ได้แก่ศีล อันบริสุทธิ์ หมดจดด้วยดี และ ทิฏฐิ (ความเห็น) ที่ถูกตรง.

             ภิกษุ ! โดยกาลใดแล ศีลของเธอเป็นศีลที่บริสุทธิ์หมดจดด้วยดีและ ทิฏฐิ ก็จักเป็น ความเห็น ที่ถูกตรงด้วย โดยกาลนั้น เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้วพึงอบรมสติปัฏฐานสี่โดยวิธีทั้งสาม๑เถิด.

             สติปัฏฐานสี่อะไรบ้างเล่า ? สติปัฏฐานสี่คือ ภิกษุ ! เธอจงพิจารณาเห็นกายในกาย ณ ภายใน อยู่เนือง ๆ ก็ดี จงพิจารณาเห็นกายในกาย ณ ภายนอก อยู่เนือง ๆ ก็ดี จงพิจารณาเห็นกาย ในกาย ทั้งภายในและภายนอก อยู่เนือง ๆ ก็ดี เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติพึงกำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.

(ในเวทนา จิต และธรรม ก็ตรัสทำนองเดียวกับในกาย).

            ภิกษุ ! แต่กาลใดแล เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จักอบรม สติปัฏฐานสี่เหล่านี้โดยวิธีสาม ด้วยอาการอย่างนี้ แต่กาลนั้น คืนหรือวัน ของเธอจักผ่านไป โดยหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรม ทั้งหลายอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑. บาลีพระพุทธภาษิต มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๔๙/๘๒๘ ตรัสแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ที่เชตวัน ซึ่งท่านผู้นี้ต้องการ จะออกไปทำความเพียร เผากิเลส ทูลขอให้พระองค์แสดงธรรมย่อ ๆ พอที่จะส่งจิตใจไปตามธรรมนั้นได้.
ครั้งนั้น ภิกษุรูปนั้น ซาบซึ้งพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งนัก ลุกจากอาสนะถวายอภิวาท ทำ ประทักษิณแล้วหลีกไป. ต่อมา เธอปลีกตัวออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว ไม่ประมาท เพียรเผากิเลส ส่งตนไป ในแนวธรรม จนสามารถทำให้แจ้งถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันเป็นประโยชน์ชั้นยอดได้ไม่นาน ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ทันตาเห็น ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งแล.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


221-1
ศีลเป็นฐานรองรับสติปัฏฐานสี่
(อีกนัยหนึ่ง)

            ภิกษุ ! ถ้าอย่างนั้น ในเรื่องนี้เธอจงชำระสิ่งอันเป็นเบื้องต้นใน กุศลทั้งหลายให้บริสุทธิ์เสียก่อน เถิด. ก็อะไรเป็นสิ่งเบื้องต้นของสิ่งอันเป็นกุศล ทั้งหลายเล่า ? ภิกษุ ! ในกรณีนี้เธอจงเป็นผู้สำรวมด้วย ปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด จงมีปรกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้มี ประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.

             ภิกษุ ! โดยกาลใดแล เธอจักสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อม ด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย โดยกาลนั้น เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล แล้ว พึงอบรมสติปัฏฐานสี่เถิด.

             สติปัฏฐานสี่อะไรบ้างเล่า ? สติปัฏฐานสี่คือ

             ภิกษุ ! ในกรณีนี้เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนือง ๆ จง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งหลายอยู่เนือง ๆ จงพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เนือง ๆ จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เนือง ๆ เป็นผู้มีความเพียร เผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติพึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.

             ภิกษุ ! แต่กาลใด เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จักอบรมสติปัฏฐาน สี่เหล่านี้ด้วยอาการ อย่างนี้ ต่กาลนั้น คืนหรือวันของเธอจักผ่านไปโดย หวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรม ทั้งหลาย อย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

             ๑. บาลีพระพุทธภาษิต มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๔๙/๘๒๘ ตรัสแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ที่เชตวัน ซึ่งท่านผู้นี้ ต้องการจะออกไปทำความเพียร เผากิเลส ทูลขอให้พระองค์แสดงธรรมย่อ ๆ พอที่จะส่งจิตใจไปตามธรรม นั้นได้.


222
ศีลเป็นฐานรองรับโพชฌงค์เจ็ด

            ภิกษุ ท. ! เปรียบเสมือนสัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง สำเร็จอิริยาบทสี่คือ เดินในบางคราว ยืนในบางคราว นั่งในบางคราว นอนในบางคราว สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่เหนือแผ่นดิน จึงสำเร็จอิริยาบถสี่นั้นได้ฉันใด ภิกษุ ท. ! ฉันนั้นเหมือนกัน : ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมอบรมโพชฌงค์๗ ให้เกิดขึ้นได้ย่อมทำโพชฌงค์๗ ให้มีมากขึ้นได้.

             ภิกษุ ท. ! ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมอบรมโพชฌงค์ ๗ ให้เกิดขึ้นได้ย่อมทำ โพชฌงค์๗ ให้มีมากขึ้นได้เป็นอย่างไรเล่า ?
            ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
            ย่อมอบรมสติสัมโพชฌงค์
            ย่อมอบรมธัมมวิจย-สัมโพชฌงค์
            ย่อมอบรมวิริยสัมโพชฌงค์
            ย่อมอบรมปีติสัมโพชฌงค์
            ย่อมอบรมปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
            ย่อมอบรมสมาธิสัมโพชฌงค์ และ
            ย่อมอบรม อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ชนิดที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป เพื่อความปล่อยวาง.

             ภิกษุ ท. ! ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้วย่อมอบรมโพชฌงค์๗ ให้เกิดขึ้นได้ย่อมทำโพชฌงค์๗ให้มีมากขึ้นได้.

223
ศีลเป็นฐานรองรับอริยมรรคมีองค์แปด

            ภิกษุ ท. ! การงานประเภทใดประเภทหนึ่งที่ต้องทำด้วยกำลัง อันบุคคล กระทำอยู่การงาน เหล่านั้นทั้งหมด ต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน บุคคลจึงทำการงานที่ต้องทำด้วยกำลังเหล่านั้น ได้ด้วยอาการอย่างนี้ฉันใด ภิกษุ ท. ! ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมอบรมอริยมรรคมีองค์๘ ให้เกิดขึ้นได้ย่อมทำอริยมรรคมีองค์๘ ให้มากขึ้นได้ฉันนั้นเหมือนกัน.

             ภิกษุ ท. ! ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมอบรมอริยมรรคมีองค์๘ ให้เกิดขึ้นได้ย่อมทำ อริยมรรคมีองค์๘ ให้มากขึ้นได้เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมอบรมสัมมาทิฏฐิ ย่อมอบรมสัมมาสังกัปปะ ย่อมอบรมสัมมาวาจา ย่อมอบรมสัมมากัมมันตะ ย่อมอบรมสัมมาอาชีวะ ย่อมอบรมสัมมาวายามะ ย่อมอบรมสัมมาสติและย่อมอบรมสัมมาสมาธิ ชนิด ที่โอนไปสู่นิพพาน เอนไปสู่นิพพาน เอียงไปสู่นิพพาน.

             ภิกษุ ท. ! ด้วยอาการ อย่างนี้แล ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมทำอริยมรรคมีองค์๘ ให้เกิดขึ้นได้ย่อมทำอริยมรรคมีองค์๘ ให้มากขึ้นได้.


224
ศีลสมบัติเป็นรุ่งอรุณแห่งอริยมรรค

            ภิกษุ ท. ! เมื่ออาทิตย์อุทัยขึ้น การขึ้นมาแห่งอรุณ (แสงเงินแสงทอง) ย่อมเป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตที่แลเห็นก่อน ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์๘ ของภิกษุ ศีลสมบัติ (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ย่อมเป็นหลักเบื้องต้น เป็นนิมิตเบื้องต้น.

             ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุสมบูรณ์ด้วย ศีลแล้ว เธอต้องหวังข้อนี้ได้คือว่า เธอจักอบรมอริยอัฏฐัง คิกมรรคให้เกิดขึ้นได้จักทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้มากขึ้นได้.

             ภิกษุท. ! ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลแล้ว ย่อมอบรมอริยอัฐฐังคิกมรรคให้เกิดขึ้นได้ ย่อมทำ อริยอัฏฐังคิกมรรคให้มากขึ้นได้เป็นอย่างไรเล่า ?

            
ภิกษุท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมอบรมสัมมาทิฏฐิย่อมอบรมสัมมาสังกัปปะ ย่อมอบรม สัมมา วาจา ย่อมอบรมสัมมากัมมันตะ ย่อมอบรมสัมมาอาชีวะ ย่อมอบรม สัมมาวายามะ ย่อมอบรมสัมมาสติและ ย่อมอบรมสัมมาสมาธิ ชนิดที่มีการ นำออกซึ่ง ราคะ -โทสะ -โมหะ เสียได้เป็นผลสุดท้าย.

            
ภิกษุท. ! ด้วย อาการอย่างนี้แล ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลแล้ว ย่อมอบรมอริยอัฏฐังคิกมรรค ให้เกิดขึ้นได้ย่อมทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้มากขึ้นได้.


224-1
ศีลสมบัติเป็นธรรมมีอุปการะมากชั้นเอก

            ภิกษุ ท. ! ธรรมชั้นเอก เป็นธรรมที่มีอุปการะมาก เพื่อความบังเกิดขึ้น แห่งอริยอัฏฐังคิกมรรค มีอยู่. ธรรมชั้นเอกนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ธรรม ชั้นเอกนั้น ได้แก่ศีลสมบัติ (ความถึงพร้อมด้วยศีล).

             ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลแล้ว เธอต้องหวังข้อนี้ได้คือว่า เธอจักอบรมอริยอัฏฐัง คิกมรรค ให้เกิดขึ้นได้จักทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้มากขึ้นได้.

            
ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลแล้ว ย่อมอบรมอริยอัฏฐังคิกมรรคให้เกิดขึ้นได้ ย่อมทำอริย อัฏฐังคิกมรรคให้มากขึ้นได้เป็นอย่างไรเล่า ?

            
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมอบรมสัมมาทิฏฐิย่อมอบรมสัมมาสังกัปปะ ย่อม อบรมสัมมา วาจา ย่อมอบรมสัมมากัมมันตะ ย่อมอบรมสัมมาอาชีวะ ย่อม อบรมสัมมาวายามะ ย่อมอบรมสัมมาสติ และย่อมอบรมสัมมาสมาธิ ชนิดที่มีการนำออกซึ่ง ราคะ -โทสะ -โมหะ เสียได้เป็นผลสุดท้าย.

            
ภิกษุ ท. ! ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลแล้ว ย่อมอบรมอริยอัฏฐังคิกมรรค ให้เกิดขึ้นได้ย่อมทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้มากขึ้นได้.


225
ศีลสมบัติช่วยทำให้อริยมรรคเจริญเต็มที่

            ภิกษุ ท. ! เรายังมองไม่เห็นธรรมชนิดอื่นแม้แต่สักอย่างหนึ่ง ที่จะทำ อริยอัฏฐังคิกมรรค อันยังไม่เกิด ให้บังเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ถึงความ เจริญเต็มที่ เหมือนอย่าง ศีลสมบัติ (ความถึงพร้อมด้วยศีล) นี้เลย. ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลแล้ว เธอต้องหวังข้อนี้ได้คือว่า เธอจักอบรม อริยอัฏฐังคิกมรรค ให้เกิดขึ้นได้จักทำ อริยอัฏฐังคิกมรรค ให้มากขึ้นได้.

             ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลแล้ว ย่อมอบรม อริยอัฏฐังคิกมรรค ให้เกิดขึ้นได้ย่อมทำ อริยอัฏฐังคิกมรรคให้มากขึ้นได้เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมอบรมสัมมาธทิฏฐิ ย่อมอบรมสัมมาสังกัปปะ ย่อม อบรมสัมมาวาจา ย่อมอบรมสัมมากัมมันตะ ย่อมอบรมสัมมาอาชีวะ ย่อม อบรมสัมมาวายามะ ย่อมอบรมสัมมาสติและย่อมอบรมสัมมาสมาธิ ชนิดที่มีการนำออกซึ่ง ราคะ-โทสะ-โมหะ เสียได้เป็นผลสุดท้าย.

            
ภิกษุ ท. ! ด้วย อาการอย่างนี้แล ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลแล้ว ย่อมอบรม อริยอัฏฐังคิกมรรค ให้เกิดขึ้นได้ย่อมทำอริยอัฏฐังคิกมรรค ให้มากขึ้นได้.


226
ผู้มีศีลจักถึงแก่นธรรม

            ภิกษุ ท. ! เมื่อ ศีล มีอยู่อวิปฏิสารของผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ก็ถึงพร้อมด้วย ที่ตั้งอาศัย
เมื่อ อวิปฏิสาร มีอยู่ความปราโมทย์ของผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปฏิสาร ก็ถึงพร้อมด้วยที่ตั้งอาศัย
เมื่อ ความปราโมทย์มีอยู่ปีติของผู้สมบูรณ์ด้วย ความปราโมทย์ก็ถึงพร้อมด้วยที่ตั้งอาศัย
เมื่อ ปีติมีอยู่ปัสสัทธิของผู้สมบูรณ์ด้วยปีติก็ถึงพร้อมด้วยที่ตั้งอาศัย
เมื่อ ปัสสิทธิมีอยู่สุขของผู้สมบูรณ์ด้วยปัส สัทธิก็ถึงพร้อมด้วยที่ตั้งอาศัย
เมื่อ สุข มีอยู่สัมมาสมาธิของผู้สมบูรณ์ด้วย สุข ก็ถึงพร้อมด้วยที่ตั้งอาศัย
เมื่อ สัมมาสมาธิมีอยู่ยถาภูตญาณทัสสนะ ของผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิก็ถึงพร้อมด้วยที่ตั้งอาศัย
เมื่อ ยถาภูตญาณ ทัสสนะ มีอยู่ นิพพิทาวิราคะของผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ก็ถึงพร้อม ด้วยที่ตั้งอาศัย
เมื่อ นิพพิทาวิราคะ มีอยู่วิมุตติญาณทัสสนะ ของผู้ที่สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ก็ถึงพร้อมด้วยที่ตั้งอาศัย.

             ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนต้นไม้ซึ่งสมบูรณ์ด้วยกิ่งและใบแล้ว สะเก็ด เปลือกนอกของมัน ก็บริบูรณ์เปลือกชั้นใน ก็บริบูรณ์กระพี้ก็บริบูรณ์แก่น ก็บริบูรณ์ด้วย นี้ฉันใด ภิกษุ ท. ! เมื่อศีลมีอยู่อวิปฏิสาร ของผู้สมบูรณ์ด้วย ศีล ก็ถึงพร้อมด้วย ที่ตั้งอาศัย_ _ฯลฯ_ _ เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่วิมุตติญาณ ทัสสนะของผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ก็ถึงพร้อมด้วยที่ตั้งอาศัย ฉันนั้น เหมือนกันแล.


227
อำนาจศีลที่เป็นตัวกุศล

            “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ศีลอันเป็นกุศลทั้งหลาย มีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีอะไรเป็นอานิสงส์ ?”ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า.
             อานนท์ ! กุศลศีลทั้งหลาย มีอวิปฏิสาร (ความไม่ร้อนใจ) เป็น ประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีอวิปฏิสาร เป็นอานิสงส์.

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็อวิปฏิสาร มีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีอะไรเป็นอานิสงส์ ?”
อานนท์ ! อวิปฏิสาร มีความปราโมทย์เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ความปราโมทย์มีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีอะไรเป็นอานิสงส์ ?”

อานนท์ ! ความปราโมทย์มีปีติเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีปีติเป็น อานิสงส์.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ปีติมีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีอะไรเป็นอานิสงส์ ?”
อานนท์ ! ปีติมีปัสสัทธิ เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มี ปัสสัทธิ เป็น อานิสงส์.

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ปัสสัทธิมีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีอะไรเป็นอานิสงส์ ?”
อานนท์ ! ปัสสัทธิ มีสุข เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีสุข เป็นอานิสงส์.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็สุข มีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีอะไรเป็นอานิสงส์ ?”
อานนท์ ! สุข มีสมาธิเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีสมาธิเป็นอานิสงส์.

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็สมาธิมีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีอะไรเป็นอานิสงส์ ?”
อานนท์ ! สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะ เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มียถาภูตญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์.

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ยถาภูตญาณทัสสนะ มีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีอะไรเป็นอานิสงส์ ?”
อานนท์ ! ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะ เป็นประโยชน์ที่มุ่ง หมาย มีนิพพิทาวิราคะ เป็นอานิสงส์.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็นิพพิทาวิราคะ มีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีอะไรเป็นอานิสงส์ ?”
อานนท์ ! นิพพิทาวิราคะ มีวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์.

            อานนท์ ! ด้วยอาการอย่างนี้แล
กุศลศีลทั้งหลาย มีอวิปฏิสารเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีอวิปฏิสารเป็นอานิสงส์
อวิปฏิสาร มีความปราโมทย์เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีความปราโมทย์ เป็นอานิสงส์
ความปราโมทย์ มีปีติเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีปีติเป็นอานิสงส์
ปีติ มีปัสสิทธิ เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์
ปัสสัทธิ มีสุข เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีสุขเป็นอานิสงส์
สุข มีสมาธิ เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีสมาธิเป็นอานิสงส์
สมาธิ มียถาภูตญาณทัสสนะ เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะเป็น ประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์ นิพพิทาวิราคะ มีวิมุตติ-ญาณทัสสนะเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์.

อานนท์ ! กุศลศีลทั้งหลาย ย่อมยังความเป็นอรหันต์ให้เต็มได้โดยลำดับด้วยอาการอย่างนี้แล.


229
อานิสงส์สำหรับผู้ทำศีลให้สมบูรณ์

            ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย จงมีศีลสมบูรณ์มีปาติโมกข์สมบูรณ์อยู่เถิด. พวกเธอทั้งหลาย จงสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยมรรยาทและ โคจรอยู่เถิด จงเป็นผู้เห็นเป็นภัย ในโทษ ทั้งหลาย ที่มีประมาณน้อย สมาทาน ศึกษา ในสิกขาบท ทั้งหลายเถิด.

            
ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “เราพึงเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ที่เคารพ ที่ยกย่อง ของเพื่อน ผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ ด้วยกันทั้งหลาย” ดังนี้แล้ว เธอพึง ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย พึงตามประกอบ ในธรรมเป็นเครื่องสงบแห่ง จิตในภายใน เป็นผู้ไม่เหินห่างในฌาน เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยวิปัสสนา และให้สุญญาคารวัตต์ เจริญงอกงามเถิด.

             ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “เราพึงเป็นผู้มีลาภด้วยบริกขารคือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริกขารทั้งหลาย” ดังนี้ก็ดี _ _ฯลฯ_ _

             ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช บริกขาร ของ ทายกเหล่าใด การกระทำเหล่านั้น พึงมีผลมาก มีอานิสงส์มากแก่ทายกเหล่านั้น”ดังนี้ก็ดี _ _ฯลฯ_ _

             ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “ญาติสายโลหิตทั้งหลายซึ่งตายจากกัน ไปแล้ว มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงเราอยู่ ข้อนั้นจะพึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก แก่เขาเหล่านั้น” ดังนี้ก็ดี _ _ฯลฯ_ _

             ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “เราพึงอดทนได้ซึ่งความไม่ยินดีและ ความยินดี อนึ่ง ความไม่ ยินดีอย่าเบียดเบียนเรา เราพึงครอบงำยํ่ายีความไม่ยินดีซึ่งบังเกิดขึ้นแล้วอยู่เถิด” ดังนี้ก็ดี _ _ฯลฯ_ _

             ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “เราพึงอดทนความขลาดกลัวได้ อนึ่ง ความขลาดกลัวอย่า เบียดเบียนเรา เราพึงครอบงำยํ่ายีความขลาดกลัว ที่บังเกิดขึ้นแล้วอยู่เถิด” ดังนี้ก็ดี _ _ฯลฯ_ _

             ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “เราพึงได้ตามต้องการ ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้งสี่ อันเป็นไปในจิตอันยิ่ง เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร” ดังนี้ก็ดี _ _ฯลฯ_ _

             ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “วิโมกข์เหล่าใด ก้าวล่วงรูปเสียแล้ว เป็นธรรมไม่มีรูป เป็นของ สงบ เราพึงถูกต้องวิโมกข์เหล่านั้นด้วยนามกายอยู่เถิด” ดังนี้ก็ดี_ _ฯลฯ_ __

             ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “เราพึงเป็นโสดาบัน เพราะความ สิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม เป็นผู้มีอันไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา ผู้เที่ยงต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้อยู่ข้างหน้า” ดังนี้ก็ดี _ _ฯลฯ_ _

             ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “เราพึงเป็นสกทาคามีเพราะความ สิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม และ เพราะความเบาบาง แห่งราคะโทสะและโมหะพึงมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วพึงทำที่สุด แห่งทุกข์ได้” ดังนี้ก็ดี _ _ฯลฯ_ _ _

             ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “เราพึงป็นโอปปาติกะ เพราะ ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ เบื้องตํ่าห้า พึงปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับจากโลก นั้นเป็นธรรมดา” ดังนี้ก็ดี _ _ฯลฯ__ _

             ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “เราพึงแสดงอิทธิวิธีอย่างต่าง ๆ ได้ _ _” ดังนี้ก็ดี _ _ฯลฯ_

             ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “เราพึงมีทิพยโสต_ _”ดังนี้ก็ดี _ _ฯลฯ_ __

             ภิกษุ ท.! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “เราใคร่ครวญแล้ว พึงรู้จิตของ สัตว์เหล่าอื่น ของบุคคล เหล่าอื่น ด้วยจิตของตน _ _” ดังนี้ก็ดี _ _ฯลฯ_ _

             ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “เราพึงตามระลึกถึงภพที่เคยอยู่ใน กาลก่อนได้หลาย ๆ อย่าง _” ดังนี้ก็ดี _ _ฯลฯ_ _

             ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า “เราพึงเห็นสัตว์ทั้งหลายด้วยจักษุทิพย์อันหมดจด เกินจักษุ สามัญ ของมนุษย์_ _” ดังนี้ก็ดี _ _ _ฯลฯ_ _

             ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุหากจำนง ว่า เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมเทียว เข้าถึงแล้วแลอยู่” ดังนี้ก็ดี

เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย พึงตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องสงบแห่งจิตใน ภายใน เป็นผู้ไม่ เหินห่างในฌาน ประกอบพร้อมแล้วด้วยวิปัสสนา และให้วัตร แห่งผู้อยู่สุญญาคารทั้งหลายเจริญ งอกงามเถิด.

             คำใดที่เราผู้ตถาคตกล่าวแล้วว่า “ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย จงมีศีลสมบูรณ์มีปาติโมกข์ สมบูรณ์อยู่เถิด. เธอทั้งหลาย จงสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด จงเป็นผู้เห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายที่มีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด” ดังนี้ คำนั้นอัน เราตถาคตอาศัยเหตุผลดังกล่าวนี้แล จึงได้กล่าวแล้ว.


232
ผู้อยู่เหนือความหวัง

            ภิกษุ ท. ! ก็บุคคลเช่นไรเล่า ชื่อว่าผู้อยู่เหนือความหวังเสียแล้ว ?
            ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ. เธอนั้น ได้ยินว่า “ภิกษุชื่อนี้ได้กระทำ ให้แจ้ง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะ มิได้เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่” ดังนี้.

             เธอไม่อาจมีความคิดว่า “เมื่อไรเล่า แม้เรา จัก กระทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหา อาสวะมิได้เพราะความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่ บ้าง” ดังนี้. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ความหวังในวิมุตติของเธอ เมื่อก่อนหน้าที่เธอยังไม่ล ุถึง วิมุตตินั้น ได้รำงับไปเสียแล้ว.
            ภิกษุ ท. ! นี้แล เราเรียกว่า คนอยู่เหนือความหวัง.


232-1
เมื่อราชามีกำลัง

            ภิกษุ ท. ! คราวใด พระราชามีกำลัง และพวกโจรเสื่อมกำลัง คราวนั้น ทั้งพระราชาเอง ก็มีความผาสุก ที่จะเข้าในออกนอก หรือที่จะมีใบบอกไปยังชนบทปลายแดน แม้พวกพราหมณ์และ คฤหบดีก็มีความ สะดวกที่จะเข้าในออกนอก หรือที่จะอำนวยการงานนอกเมือง ข้อนี้ฉันใด

             ภิกษุ ท. ! คราวใด ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก มีกำลัง พวกภิกษุลามก เสื่อมกำลังลง คราวนั้น พวกภิกษุลามก จำต้องเป็นผู้นิ่ง เงียบเชียบอยู่ใน ท่ามกลางสงฆ์โดยเหตุที่ต้องเป็นพวกหล่นไปเอง ฉันนั้นเหมือนกัน.

           
ภิกษุ ท. ! เหตุเช่นนี้มีขึ้น เพื่อ เป็นประโยชน์แก่มหาชน ทำให้มหาชน มีความสุข เป็นความ เจริญ แก่มหาชนเป็นอันมาก และเพื่อความเกื้อกูล เป็น ความสุข ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายทั่วกัน แล.


233
ประสพบุญใหญ่

            ภิกษุ ท. ! นักบวชผู้มีศีล เข้าไปสู่สกุลใด มนุษย์ทั้งหลายในสกุลนั้น ย่อมประสพบุญเป็นอันมาก ด้วยฐานะห้าอย่าง. ฐานะห้าอย่างอะไรบ้างเล่า ? ห้าอย่าง คือ

            (๑) ในสมัยใด จิตของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเลื่อมใส เพราะได้เห็น นักบวชผู้มีศีลซึ่งเข้าไปสู่ สกุล ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อสวรรค์.

            
(๒) ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลาย พากันตอบรับ กราบไหว้ให้อาสนะ แก่นักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่ สกุล ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการเกิดในสกุลสูง.

            
(๓) ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลาย กำจัดมลทินคือความตระหนี่เสียได้ในนักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่ สกุล ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการได้เกียรติศักดิ์อันใหญ่.

            
(๔) ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมแจกจ่ายทาน ตามสติตามกำลัง ในนักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่ สกุล ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการได้โภคะใหญ่.

            
(๕) ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไต่ถาม สอบสวน ย่อมฟังธรรม ในนักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการได้ปัญญาใหญ่.

            
ภิกษุ ท. ! นักบวชผู้มีศีล เข้าไปสู่สกุลใด มนุษย์ทั้งหลายในสกุลนั้น ย่อมประสพบุญเป็นอันมาก ด้วยฐานะห้าอย่างเหล่านี้แล.


หมวดที่สิบ จบ.