เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  สกทาคามี-พุทธวจน ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  3 of 4  
 
  สกทาคามี พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
       
  31 . คุณของกามและโทษของกาม 81  
  32 . สุขที่ควรกลัวและไม่ควรกลัว 88  
  33 . ตั้งอยู่ในภูมิคนแก่ เพราะละกามได้ 90  
  34 . ไม่เวียนกลับไปสู่กามทั้งหลายอีก เพราะบรรลุสุขอื่นที่สงบกว่า 92  
  35 . เหตุเกิดของอกุศลวิตก 93  
  36 . ข้อปฏิบัติเพื่อดับอกุศลสังกัปปะ (ความดำริอันเป็นอกุศล) 98  
  37 . เหตุเกิดของกามฉันทะ 101  
  38 . อาหารของกามฉันทะ 102  
  39 . เมื่อตั้งใจฟังธรรม กามฉันทะ ย่อมไม่มี 104  
       
  ราคะ โทสะ โมหะ 105  
  40 . ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว บรรเทาได้ยาก 106  
  41 . ไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ 107  
  42 . เหตุให้เป็นคนดุร้าย หรือคนสงบเสงี่ยม 110  
  43 . อาชีพที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ราคะ โทสะ โมหะ 112  
  44 . ความแตกต่างของ ราคะ โทสะ โมหะและวิธีละราคะ โทสะ โมหะ 114  
  45 . เจริญอสุภะเพื่อละราคะ เจริญเมตตาเพื่อละโทสะเจริญปัญญาเพื่อละโมหะ 117  
  46 . เจริญอนุสสติ เพื่อละราคะ โทสะ โมหะ 118  
  47 . ศึกษาในสิกขา ๓ เพื่อละราคะ โทสะ โมหะ 125  
       
 
 





81

31

คุณของกามและโทษของกาม
-บาลี มู. ม. ๑๒/๑๗๙/๒๐๙.

เจ้าศากยะพระนามว่ามหานาม ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน เข้าใจข้อธรรม ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงมานานแล้วอย่างนี้ว่า โลภะ โทสะ โมหะ ต่างเป็น อุปกิเลสแห่งจิต ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุใด โลภธรรมก็ดี โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิต ของหม่อมฉันไว้ได้ เป็นบางครั้ง บางคราว หม่อมฉันเกิดความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมชื่อ อะไรเล่า ที่หม่อมฉัน ยังละไม่ได้ เด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุให้โลภธรรมก็ดี โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของหม่อมฉันไว้ได้เป็นบางครั้งบางคราว.

มหานาม ธรรมนั้นนั่นแหละ (โลภะ โทสะ โมหะ) ที่ท่านยังละไม่ได้เด็ดขาด ในภายใน อันเป็นเหตุให้ โลภธรรมก็ดี โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิต ของท่านไว้ได้เป็นบางครั้ง บางคราว.

มหานาม ถ้าธรรมนั้นเป็นอันท่านละได้เด็ดขาดในภายในแล้ว ท่านก็จะไม่อยู่ ครองเรือน ไม่บริโภคกามแต่เพราะท่านละธรรมเช่นนั้นยังไม่ได้เด็ดขาด ในภายใน ฉะนั้นท่านจึงยังอยู่ ครองเรือน จึงยังบริโภคกาม.

มหานาม ถ้าแม้ว่าอริยสาวกเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้น ยิ่งนัก ดังนี้ถึงแม้อริยสาวกนั้น เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม แต่ยังไม่บรรลุปีติ และสุข หรือกุศลธรรม อนึ่งที่สงบกว่านั้น เธอก็จะยังเป็นผู้เวียนกลับ มาในกามได้

แต่เมื่อใด อริยสาวกได้เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก ดังนี้ และเธอก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่น ที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่ เวียนกลับมา ในกามได้เป็นแท้.

มหานาม แม้เราเมื่อยังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ก่อนการตรัสรู้ ก็เล็งเห็นด้วย ปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมากโทษ ในกามนั้นยิ่งนัก ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจาก อกุศลธรรม แต่ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เราจึงปฏิญาณ ไม่ได้ว่า เราเป็นผู้ไม่เวียนกลับมาในกาม

แต่เมื่อใด เราเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มากมีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศล ธรรม บรรลุปีติและสุข และกุศลธรรมอื่น ที่สงบกว่านั้น เมื่อน้้นเราจึงปฏิญาณได้ว่า เราเป็นผู้ไม่เวียนกลับมาในกาม.

มหานาม ก็อะไรเล่าเป็นคุณของกามทั้งหลาย มหานาม กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ รูปที่รู้ได้ด้วยตา อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่ตั้งอาศัยแห่ง ความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดเสียง ที่รู้ได้ด้วยหู … กลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูก … รสที่รู้ได้ด้วยลิ้น …โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจมีลักษณะน่ารัก เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มหานาม เหล่านี้แลกามคุณ ๕ ประการความสุข ความโสมนัสใด อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้นนี้เป็น คุณของกามทั้งหลาย.

มหานาม ก็อะไรเล่าเป็น โทษของกามทั้งหลาย กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยงชีวิต ด้วยความขยันในการ ประกอบศิลปะ คือ ด้วยการนับคะแนนก็ดี ด้วยการคำนวณก็ดี ด้วยการนับจำนวนก็ดี ด้วยการไถ ก็ดี ด้วยการค้าขายก็ดี ด้วยการเลี้ยงโคก็ดี ด้วยการยิงธนูก็ดี ด้วยการเป็นราชบุรุษก็ดี ด้วยศิลปะ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ต้องตรากตรำกับความหนาว ต้องตรากตรำกับความร้อน ต้องลำบากอยู่ ด้วยสัมผัส อันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน หรือต้องตายเพราะความหิว ความกระหาย มหานาม แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ ที่เห็น ได้เองว่า มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่ ง กามทั้งหลาย ทั้งนั้น.

มหานาม ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้น ขยัน สืบต่อ พยายามอยู่อย่างนั้น โภคะ(ทรัพย์) เหล่านั้น ก็ไม่สำเร็จผล เขาย่อมเศร้าโศกลำบาก ร่ำไรรำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเลือน ว่า ความขยันของเรา เป็นโมฆะหนอ ความพยายามของเรา ไม่มีผลหนอ มหานาม แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็น ได้เองว่า มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุ แห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

มหานาม ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้น ขยัน สืบต่อ พยายามอยู่อย่างนั้น โภคะเหล่านั้น ก็สำเร็จผล เขาก็ยังเสวยทุกขะโทมนัส เพราะการคอยรักษาโภคะเหล่านั้น เป็นตัวบังคับว่าทำอย่างไร พระราชาทั้งหลายไม่พึงริบโภคะเหล่านั้นไปได้ พวกโจรไม่พึงปล้นไปได้ ไฟไม่พึงไหม้ไปได้ น้ำไม่พึงพัดไปได้ ทายาทอันไม่เป็น ที่รัก ไม่พึงนำไปได้ เมื่อกุลบุตรนั้นคอยรักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ พระราชาทั้งหลาย ริบโภคะเหล่านั้น ไปก็ดี โจรปล้นเอาไปก็ดี ไฟไหม้ก็ดี น้ำพัดไปก็ดีทายาท อันไม่เป็น ที่รักนำไปก็ดี เขาย่อมเศร้าโศก ลำบากร่ำไรรำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเลือนว่า สิ่งใดเคยเป็นของเรา แม้สิ่งนั้นก็ไม่เป็นของเรา มหานาม แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เองว่า มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับเกิด เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลาย ทั้งนั้น.

มหานาม โทษอื่นยังมีอีก ที่มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุ แห่งกามทั้งหลายนั่นเอง คือ ข้อที่พวกพระราชา ก็วิวาทกัน กับ พวกพระราชา พวกกษัตริย์ ก็วิวาทกันกับพวกกษัตริย์ พวกคหบดีก็วิวาทกัน กับพวกคหบดีมารดา ก็วิวาทกันกับบุตร บุตรก็วิวาทกันกับมารดา บิดาก็วิวาทกัน กับบุตร บุตรก็วิวาทกันกับบิดา พี่ชายน้องชายก็วิวาทกันกับพี่ชายน้องชาย พี่ชายน้องชาย ก็วิวาทกันกับพี่สาวน้องสาว พี่สาวน้องสาวก็วิวาทกันกับพี่ชาย น้องชาย สหายก็วิวาทกัน กับสหาย เขาเหล่านั้นต่างถึงการทะเลาะ แก่งแย่ง วิวาทกัน ทำร้ายซึ่งกันและกันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศาสตราบ้าง ถึงความตายไปบ้างได้รับทุกข์ปางตายบ้าง อยู่ในที่นั้นๆ มหานาม แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เองว่า มีกาม เป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุ แห่งกามทั้งหลาย ทั้งนั้น.

มหานาม โทษอื่นยังมีอีก ที่มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุ แห่งกามทั้งหลายนั่นเอง คือ คนทั้งหลายต่างถือดาบและโล่ สอดแล่งธนูวิ่งเข้าสู่สงคราม ปะทะกันทั้ง ๒ ฝ่าย เมื่อลูกศรทั้งหลายถูกยิงไปบ้าง
เมื่อหอกทั้งหลายถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบทั้งหลายถูกกวัดแกว่งอยู่บ้าง คนเหล่านั้น ต่างก็ถูกลูกศร แทงบ้าง ถูกหอกแทงบ้าง ถูกดาบตัดศีรษะบ้าง ถึงความตายไปบ้าง ได้รับทุกข์ปางตายบ้าง อยู่ในที่นั้นๆ มหานาม แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เองว่า มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

มหานาม โทษอื่นยังมีอีก ที่มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุ แห่งกามทั้งหลายนั่นเอง คือ คนทั้งหลายต่างถือดาบและโล่ สอดแล่งธนูกรูกันเข้าไปสู่เชิง กำแพงที่ฉาบด้วยเปือกตมร้อน เมื่อลูกศรทั้งหลาย ถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกทั้งหลายถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบทั้งหลายถูกกวัดแกว่ง อยู่บ้าง คนเหล่านั้นต่างก็ถูกลูกศรแทงบ้าง ถูกหอกแทงบ้าง ถูกราดด้วยโคมัย ร้อนๆ บ้าง ถูกสับด้วยคราดบ้าง ถูกดาบตัดศีรษะบ้าง ถึงความตายไปบ้าง ได้รับทุกข์ปางตายบ้าง อยู่ในที่นั้นๆ มหานาม แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ ที่เห็นได้เองว่า มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกาม ทั้งหลายทั้งนั้น.

มหานาม โทษอื่นยังมีอีก ที่มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุ แห่งกามทั้งหลายนั่นเอง คือ คนทั้งหลายตัดช่องย่องเบาบ้าง ปล้นอย่างกวาดล้างบ้าง ปล้นใน เรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในทางเปลี่ยวบ้าง สมสู่ภรรยาคนอื่นบ้าง พระราชาทั้งหลาย จับคนๆ นั้นได้แล้ว ให้ทำการลงโทษ แบบต่างๆ คือ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ทุบด้วย ท่อนไม้บ้าง ตัดมือบ้างตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือ และเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมกู บ้าง ตัดทั้งหูและ จมูกบ้าง ลงโทษด้วยวิธีหม้อเคี่ยวน้ำส้มบ้าง ด้วยวิธีขอดสังข์บ้าง ด้วยวิธีปากราหูบ้าง ด้วยวิธีพุ่มเพลิงบ้าง ด้วยวิธีมือไฟบ้าง ด้วยวิธีนุ่งหนังช้างบ้าง ด้วยวิธีนุ่งเปลือกไม้บ้าง ด้วยวิธียืนกวางบ้าง ด้วยวิธีกระชากเนื้อด้วยเบ็ดบ้าง ด้วยวิธีควักเนื้อทีละกหาปณะบ้าง ด้วยวิธีแปรงแสบบ้าง ด้วยวิธีกางเวียนบ้าง ด้วยวิธีตั่งฟางบ้าง ราดด้วยน้ำมันร้อนๆ บ้างให้สุนัขกัดกินบ้าง เสียบด้วยหลาว ทั้งเป็นๆ บ้าง ใช้ดาบตัดศีรษะบ้าง1 คนเหล่านั้น ถึงความตายไปบ้าง ได้รับทุกข์ ปางตายบ้างอยู่ในที่นั้นๆ มหานาม แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เองว่า มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น ต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่ง กามทั้งหลาย ทั้งนั้น.

  1. รายละเอียดวิธีการลงโทษนั้น สามารถดูเพิ่มเติมได้จากกฎหมายตรา ๓ ดวง หมวดพระไอยการกระบดศึก. –ผู้รวบรวม 


88


32
สุขที่ควรกลัวและไม่ควรกลัว
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๔๒๗/๖๕๙.

... ก็ข้อนั้น อันเรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัยในความสุข เมื่อรู้จักการ วินิจฉัย ความสุขแล้วควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายใน ข้อนั้นเรากล่าว เพราะอาศัยเหตุผลอะไร.

ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ รูปที่รู้ได้ด้วยตา อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่ง ความใคร่เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด เสียงที่รู้ได้ด้วยหู … กลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูก … รสที่รู้ได้ด้วยลิ้น … และโผฏฐัพพะ ที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารักเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

ภิกษุทั้งหลาย สุข โสมนัสอันใดอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้นสุข โสมนัสนั้น เราเรียกว่า กามสุข อันเป็นสุขของปุถุชนเป็นสุขทางเมถุน ไม่ใช่สุขอันประเสริฐ เรากล่าวว่า สุขนั้นบุคคล ไม่ควรเสพ ไม่ควรเจริญ ไม่ควรทำให้มาก ควรกลัว.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าถึงซึ่งปฐมฌาน ... ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ...แล้วแลอยู่ นี้เราเรียกว่า สุขอาศัยเนกขัมมะ เป็นสุขเกิดจากความ สงัดเงียบ สุขเกิดจากความ เข้าไปสงบรำงับ สุขเกิดจากความรู้พร้อม เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลควรเสพให้ทั่วถึง ควรทำให้เจริญ ควรทำให้มาก ไม่ควรกลัว.

คำใดที่เรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัยในความสุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัย ความสุขแล้ว ควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายในนั้น คำนั้น เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยเหตุผลนี้.

90


33

ตั้งอยู่ในภูมิคนแก่ เพราะละกามได้
-บาลี ทุก อํ. ๒๐/๘๖/๒๘๓.

ท่านกัจจานะ ข้าพเจ้าได้ฟังมาดังนี้ว่า ท่านสมณะกัจจานะ หาได้อภิวาท ลุกขึ้น ต้อนรับ พวกพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย หรือไม่เชื้อเชิญ ด้วยอาสนะ ท่านกัจจานะ ข่าวที่ได้ฟังมานั้นจริงแท้เพราะท่าน กัจจานะ หาได้อภิวาท หรือลุกขึ้นต้อนรับพวกพราหมณ์ ผู้แก่ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ท่านกัจจานะการกระทำ เช่นนี้นั้น เป็นการไม่สมควรแท้.

พราหมณ์ ภูมิคนแก่และภูมิเด็ก ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ผู้ทรงรู้ ทรงเห็นพระองค์ นั้น ตรัสไว้มีอยู่ พราหมณ์ ถึงแม้จะเป็นคนแก่มีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปีหรือ ๑๐๐ ปี โดยกำเนิดก็ดี แต่เขายังบริโภคกาม อยู่ในท่ามกลางกาม ถูกความเร่าร้อน เพราะกามแผดเผา ถูกกามวิตกเคี้ยว กินอยู่ ยังเป็นผู้ขวนขวาย เพื่อแสวงหากาม เขาก็ย่อมถึงการนับว่าเป็นพาล ไม่ใช่เถระโดยแท้

พราหมณ์ถึงแม้ว่าจะเป็นเด็ก ยังเป็นหนุ่ม มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็น หนุ่มอันเจริญ ยังตั้งอยู่ในปฐมวัย แต่เขาไม่บริโภคกามไม่อยู่ในท่ามกลางกาม ไม่ถูกความเร่าร้อนเพราะกาม แผดเผาไม่ถูกกามวิตกเคี้ยวกิน ไม่ขวนขวายเพื่อ แสวงหากาม เขาก็ย่อมถึงการนับว่าเป็นบัณฑิต เป็นเถระแน่แท้ทีเดียว.

เมื่อท่านมหากัจจานะกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์กัณฑรายนะได้ลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าของภิกษุหนุ่ม ๑๐๐ รูป1 ด้วยเศียรเกล้ากล่าวว่า ‘พระคุณเจ้าทั้งหลายเป็น ผู้ใหญ่ ตั้งอยู่ในภูมิของคนแก่ แต่ข้าพเจ้าเป็นเด็ก ตั้งอยู่ในภูมิของเด็ก’.

1. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ฉบับหลวง และฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. ๒๕๔๙ ไม่มีระบุจำนวน ๑๐๐ รูป แต่ในพระไตรปิฎกฉบับมอญ และ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีระบุจำนวนว่า ๑๐๐ รูป. -ผู้รวบรวม

92

34

ไม่เวียนกลับไปสู่กามทั้งหลายอีกเพราะบรรลุสุขอื่นที่สงบกว่า
-บาลี มู. ม. ๑๒/๑๘๐/๒๑๑.

มหานาม ถ้าแม้ว่าอริยสาวกเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้น ยิ่งนัก ดังนี้ ถึงแม้อริยสาวกนั้น เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม แต่ยังไม่บรรลุปีติ และสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เธอก็จะยังเป็นผู้เ วียนกลับมาในกามได้.

มหานาม แต่เมื่อใด อริยสาวกได้เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อยมีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้น ยิ่งนัก ดังนี้และเธอก็เว้น จากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือ กุศลธรรมอื่น ที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เธอย่อม เป็นผู้ไม่เวียนกลับมา ในกามได้ เป็นแท้.

มหานาม อีกประการหนึ่ง พระองค์พึงระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว … เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า มหานาม สมัยใด อริยสาวกระลึก ถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะ กลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมดำเนินไปตรง

มหานาม อริยสาวก ผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระสงฆ์ ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม … มหานาม อริยสาวกนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้ถึงความ สงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มี ความพยาบาท อยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย กระแส แห่งธรรม เจริญสังฆานุสสติ.

มหานาม อีกประการหนึ่ง พระองค์พึงระลึกถึงศีลของตนว่า เราเป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย …เป็นไปเพื่อสมาธิ มหานาม สมัยใด อริยสาวก ระลึกถึ งศีลสมัยนั้น จิตของ อริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมดำเนิน ไปตรง

มหานาม อริยสาวก ผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภศีล ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ ความรู้ธรรมย่อมได้ ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม … มหานาม อริยสาวกนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแส แห่งธรรม เจริญสีลานุสสติ.

มหานาม อีกประการหนึ่ง พระองค์พึงระลึกถึงจาคะของตนว่าเป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้ว หนอ แม้หมู่สัตว์เป็นผู้ถูกมลทิน คือ ความตระหนี่ครอบงำ แต่เรา เป็นผู้มีจิตปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีการบริจาค อันปล่อย อยู่เป็นประจำ มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีแล้วในการ สละเป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการ ให้และการแบ่งปัน

มหานาม สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูก ราคะ กลุ้มรุมไม่ถูก โทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมดำเนินไปตรงมหานาม อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรง เพราะปรารภจาคะย่อม ได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม …

มหานาม อริยสาวกนี้เรากล่าวว่าเป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มี ความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย กระแสแห่งธรรม เจริญจาคานุสสติ.

มหานาม อีกประการหนึ่ง พระองค์พึงระลึกถึงเทวดาทั้งหลายว่า เทวดาชั้น จาตุมหาราชิกามีอยู่ เทวดาชั้นดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาชั้นยามามีอยู่ เทวดาชั้นดุสิตมี อยู่ เทวดาชั้นนิมมานรดีมีอยู่ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตีมีอยู่ เทวดาชั้นพรหมกายิกามีอยู่ เทวดาชั้นที่สูงขึ้นไปกว่านั้นก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ

ถึงเราก็เป็นผู้มีศรัทธาเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากโลก นี้แล้ว ไปบังเกิด ในเทวโลกชั้นนั้นๆ ถึงเราก็เป็นผู้มีศีลเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจาก โลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลก ชั้นนั้นๆ

ถึงเราก็เป็นผู้มีสุตะเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลก นี้แล้ว ไปบังเกิด ในเทวโลกชั้นนั้นๆ ถึงเราก็เป็นผู้มีจาคะเช่นนั้นเทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ ถึงเราก็เป็นผู้มีปัญญาเช่นนั้น

มหานาม สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะและปัญญาของตน และ ของ เทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูก โทสะ กลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมดำเนินไปตรง

มหานาม อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภเทวดาทั้งหลาย ย่อมได้ความรู้ อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์ อันประกอบด้วยธรรม ปีติ ย่อมเกิดแก่ อริยสาวกผู้มี ความปราโมทย์ กายของผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่นมหานาม

อริยสาวกนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ ไม่มีความ พยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแส แห่งธรรมเจริญเทวตานุสสติ.

(ในสูตรอื่น -บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๔๘/๒๙๖. ตรัสว่า การระลึกถงึ ตถาคต ระลึกถึง พระธรรม ระลึกถึงพระสงฆ์ ระลึกถึงศีล ระลึกถึงจาคะ ระลึกถึงธรรมอันทำให้ เป็นเทวดา (อนุสสติทั้ง ๖ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง) ทำให้จิตไม่ถูกกลุ้มรุมด้วย ราคะ โทสะ และโมหะเป็นจิตดำเนินไป ตรง ก้าวออก หลุดพ้นไปจากความอยาก (เคธ)ซึ่งความอยากหรือเคธนี้ เป็นชื่อแทนกามคุณ ๕.

ในสูตรอื่น - บาลี เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๖๑/๒๑๙. ตรัสว่าอนุสสติทั้ง ๖ ประการนี้ สามารถทำได้ แม้เมื่อเดินอยู่ หรือเมื่อยืนอยู่หรือเมื่อนั่งอยู่ หรือเมื่อนอนอยู่ หรือเมื่อกำลังทำงานอยู่ หรือเมื่อ นอนเบียดบุตรอยู่บนที่นอน).

.............................................................................................

93

35
เหตุเกิดของอกุศลวิตก

-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๘๑/๓๕๕.

ภิกษุทั้งหลาย กามวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุ ไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ พยาบาทวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุ ไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ วิหิงสาวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุ ไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็กามวิตกย่อมเกิดอย่างมีเหตุ ไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ พยาบาทวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุ ไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ วิหิงสาวิตกย่อมเกิดอย่างมีเหตุ ไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย
เพราะอาศัยกามธาตุ จึงเกิดความหมายรู้ในกาม (กามธาตุํ ภิกฺขเว ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ กามสญฺญา)1

เพราะอาศัยความหมายรู้ในกาม จึงเกิดความดำริในกาม (กามสญฺญํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ กามสงฺกปฺโป)

เพราะอาศัยความดำริในกาม จึงเกิดความพอใจในกาม (กามสงฺกปฺปํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ กามจฺฉนฺโท)

เพราะอาศัยความพอใจในกาม จึงเกิดความเร่าร้อนเพราะกาม (กามจฺฉนฺทํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ กามปริฬาโห)

เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะกาม จึงเกิดการแสวงหากาม (กามปริฬาหํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ กามปริเยสนา).

1. ได้ปรับสำนวนแปลให้เป็นแบบปฏิจจฯ ซึ่งป็นลักษณะพิเศษของคำ พระศาสดา อันเป็นสุคตวินโย. –ผู้รวบรวม

ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหากามย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ.

ภิกษุทั้งหลาย
เพราะอาศัยพยาบาทธาตุ จึงเกิดความหมายรู้ในพยาบาท
เพราะอาศัยความหมายรู้ในพยาบาท จึงเกิดความดำริในพยาบาท
เพราะอาศัยความดำริในพยาบาท จึงเกิดความพอใจในพยาบาท
เพราะอาศัยความพอใจในพยาบาท จึงเกิดความเร่าร้อนเพราะพยาบาท
เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะพยาบาท จึงเกิดการแสวงหาพยาบาท

ภิกษุท้้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาพยาบาท ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ ทางกาย ทางวาจาและทางใจ.

ภิกษุทั้งหลาย
เพราะอาศัยวิหิงสาธาตุ จึงเกิดความหมายรู้ในวิหิงสา
เพราะอาศัยความหมายรู้ในวิหิงสา จึงเกิดความดำริในวิหิงสา
เพราะอาศัยความดำริในวิหิงสา จึงเกิดความพอใจในวิหิงสา
เพราะอาศัยความพอใจในวิหิงสา จึงเกิดความเร่าร้อนเพราะวิหิงสา
เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะวิหิงสา จึงเกิดการแสวงหาวิหิงสา

ภิกษุทั้งหลายปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาวิหิงสา ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ.

ภิกษุทั้งหลาย บุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง ถ้าหากเขาไม่รีบดับ ด้วยมือ และเท้าแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น บรรดาสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย ที่อาศัยหญ้าและ ไม้อยู่ก็จะถึงความพินาศย่อยยับ

ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้นสมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเมื่อไม่รีบละ ไม่รีบบรรเทา ไม่รีบทำให้สิ้นสุด ไม่รีบทำให้ไม่มีเหลือ ซึ่งอกุศลญญาที่เกิดขึ้น ก่อกวนแล้ว เขาย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความอึดอัดมีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ในปัจจุบัน เบื้องหน้าจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ทุคติเป็นอันหวังได้.

ภิกษุทั้งหลาย
เนกขัมมวิตกย่อมเกิดอย่างมีเหตุ ไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ
อัพยาบาทวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ
อวิหิงสาวิตกย่อมเกิด อย่างมีเหตุไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ.

ภิกษุทั้งหลาย
ก็เนกขัมมวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุ ไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ
อัพยาบาท วิตกย่อมเกิดอย่างมีเหตุ ไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ
อวิหิงสาวิตกย่อมเกิดอย่างมีเหตุ ไม่เกิดอย่างไม่มีเหตุ เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย
เพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ จึงเกิดความหมายรู้ในเนกขัมมะ
เพราะอาศัยความหมายรู้ในเนกขัมมะ จึงเกิดความดำริในเนกขัมมะ
เพราะอาศัยความดำริในเนกขัมมะ จึงเกิดความพอใจในเนกขัม
เพราะอาศัยความพอใจในเนกขัมมะ จึงเกิดความเร่าร้อน เพราะเนกขัมมะ
เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะเนกขัมมะ จึงเกิดการแสวงหาเนกขัมมะ

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาเนกขัมมะ ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ ทางกายทางวาจา และทางใจ.

ภิกษุทั้งหลาย
เพราะอาศัยอัพยาบาทธาตุ จึงเกิดความหมายรู้ในความไม่พยาบาท
เพราะอาศัยความหมายรู้ในความไม่พยาบาทจึงเกิดความดำริในความไม่พยาบาท
เพราะอาศัยความดำริในความไม่พยาบาท จึงเกิดความพอใจในความไม่พยาบาท
เพราะอาศัยความพอใจในความไม่พยาบาท จึงเกิดความเร่าร้อนเพราะความไม่พยาบาท
เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะความไม่พยาบาท จึงเกิดการแสวงหาความไม่ พยาบาท

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาความไม่พยาบาท ย่อมปฏิบัติชอบ โดยฐานะ ๓ คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ.

ภิกษุทั้งหลาย
เพราะอาศัยอวิหิงสาธาตุ จึงเกิดความหมายรู้ในอวิหิงสา
เพราะอาศัย ความหมายรู้ในอวิหิงสา จึงเกิดความดำริในอวิหิงสา
เพราะอาศัยความดำริในอวิหิงสา จึงเกิดความพอใจในอวิหิงสา
เพราะอาศัยความพอใจในอวิหิงสา จึงเกิดความเร่าร้อนเพราะอวิหิงสา
เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะอวิหิงสา จึงเกิดการแสวงหาอวิหิงสา

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอวิหิงสา ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ.

ภิกษุทั้งหลาย บุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง ถ้าหากเขารีบดับด้วย มือและเท้าแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น บรรดาสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย ที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่ ก็จะไม่ถึงความพินาศย่อยยับ

ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เมื่อรีบละ รีบบรรเทารีบทำให้สิ้นสุด รีบทำให้ไม่มีเหลือ ซึ่งอกุศลสัญญาที่เกิดขึ้นก่อกวนแล้ว เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความอึดอัด ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อนในปัจจุบัน เบื้องหน้าจากการตายเพราะกายแตกทำลาย สุคติเป็นอันหวังได้.

98


36
ข้อปฏิบัติเพื่อดับอกุศลสังกัปปะ
(ความดำริอันเป็นอกุศล)

-บาลี ม. ม. ๑๓/๓๔๙/๓๖๔.

ช่างไม้ ก็ความดำริอันเป็น อกุศล (อกุศลสังกัปปะ) เป็นอย่างไร ช่างไม้
ความดำริใน กาม
ความดำริใน พยาบาท
ความดำริใน วิหิงสา (ความเบียดเบียน)
เหล่านี้เรา กล่าวว่าความดำริอันเป็นอกุศล.

ช่างไม้ ก็ความดำริอันเป็นอกุศลนี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด แม้เหตุให้เกิดแห่งความ ดำริอันเป็นอกุศลนั้น เรากล่าวแล้วว่า มีสัญญาเป็นเหตุให้เกิด

ก็สัญญาเป็นอย่างไร แม้สัญญาก็มีมาก หลายอย่าง นานาประการ สัญญาใด
เป็นสัญญาใน กาม
เป็นสัญญาใน พยาบาท
เป็นสัญญาใน วิหิงสา

ความดำริอันเป็น อกุศลนี้ มีสัญญาเป็น เหตุให้เกิด.

ช่างไม้ ก็ความดำริอันเป็น อกุศล เหล่านี้ ดับไม่เหลือในที่ไหน แม้ความดับแห่ง ความดำริอันเป็นอกุศลนั้น เราก็กล่าวไว้แล้ว ช่างไม้ ในกรณีนี้ ภิกษุเพราะสงัด จากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ ความดำริอันเป็นอกุศลเหล่านี้ ย่อมดับไม่เหลือใน ปฐมฌานนั้น.1

1.(ข้อสังเกตแม้ในปฐมฌานก็สามารถละ อกุศลสังกัปปะ ทั้ง ๓ อย่างได้–ผู้รวบรวม)

ช่างไม้ ก็ผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริ อันเป็น อกุศล ช่างไม้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภ ความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้
เพื่อความไม่บังเกิดแห่ง อกุศลธรรม อันเป็นบาปทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิดขึ้น.. เพื่อละอกุศลธรรม อันเป็นบาปทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว …
เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่ง กุศลธรรม ทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด …
เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้นความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ บังเกิดขึ้นแล้ว

ช่างไม้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล(ปฐมฌาน) ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริ อันเป็นอกุศล.
------------------------------------------------

ช่างไม้ ก็ความดำริอันเป็น กุศล เป็นอย่างไร ช่างไม้
ความดำริใน เนกขัมมะ
ความดำริใน ความไม่พยาบาท
ความดำริใน อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน)
เหล่านี้เรา กล่าวว่า ความดำริอันเป็นกุศล.

ช่างไม้ ก็ความดำริอันเป็นกุศลนี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิดแม้เหตุให้เกิด แห่งความดำริ อันเป็น กุศลนั้นเรากล่าวแล้วว่ามีสัญญาเป็นเหตุให้เกิด ก็สัญญาเป็นอย่างไร แม้ สัญญาก็มีมากหลายอย่าง นานาประการ สัญญาใด
เป็นสัญญาใน เนกขัมมะ
เป็นสัญญาใน ความไม่พยาบาท
เป็นสัญญาใน อวิหิงสา

ความดำริอันเป็นกุศลนี้ มีสัญญาเป็นเหตุให้เกิด.

ช่างไม้ ก็ความดำริอันเป็น กุศล เหล่านี้ ดับไม่เหลือในที่ไหน แม้ความดับ แห่งความดำริ อันเป็นกุศลนั้น เราก็กล่าวไว้แล้ว ช่างไม้ ในกรณีนี้ ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดอันจากสมาธิแล้วแลอยู่ ความดำริอันเป็นกุศลเหล่านี้ ย่อมดับไม่เหลือในทุติยฌานนั้น

ช่างไม้ ก็ผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริ อันเป็นกุศล ช่างไม้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภ ความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้
เพื่อความไม่บังเกิดแห่ง อกุศลธรรม อันเป็นบาปทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิดขึ้น..
เพื่อละอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว …
เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่ง กุศลธรรม ทั้งหลายที่ ยังไม่ได้บังเกิด …
เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มเปี่ยมแห่ง กุศลธรรม ทั้งหลายที่บังเกิดขึ้น แล้ว

ช่างไม้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล (ทุติยฌาน) ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริ อันเป็นกุศล.

101

37
เหตุเกิดของกามฉันทะ (นิวรณ์๕)
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๒๐/๔๓๘.

ภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเพราะกระทำในใจมากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง กามราคะ.

ภิกษุทั้งหลาย พยาบาท ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเพราะกระทำในใจมาก ถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง พยาบาท.

ภิกษุทั้งหลาย ถีนมิทธะ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเพราะกระทำในใจมาก ถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งถีนมิทธะ.

ภิกษุทั้งหลาย อุทธัจจกุกกุจจะ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น เพราะกระทำในใจมาก ถึงธรรม อันเป็นที่ตั้ง แห่งอุทธัจจกุกกุจจะ.

ภิกษุทั้งหลาย วิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเพราะกระทำในใจมาก ถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา.

(ในสูตรอื่นตรัสว่าเพราะกระทำในใจโดยไม่แยบคาย จึงเป็นเหตุให้นิวรณ์ทั้ง ๕ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยื่งขึ้น -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๓๒/๔๘๒. -ผู้รวบรวม)

102


38
อาหารของกามฉันทะ
(อาหารของนิวรณ์)
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๙๔/๓๕๗.

ภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหาร ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใดนิวรณ์ ๕ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้กามฉันทะ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้น แล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลาย สุภนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง อโยนิโส- มนสิการในสุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้กามฉันทะที่ ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้พยาบาท ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้น แล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลาย ปฏิฆนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง อโยนิโส -มนสิการในปฏิฆนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ถีนมิทธะ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้น แล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลาย ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความบิ ขี้เกียจความเมาอาหาร ความที่ใจหดหู่มีอยู่ การกระทำให้มาก ซึ่งอโยนิโสมนสิการ ในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้ เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้อุทธัจจ-กุกกุจจะ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่ เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สงบใจมีอยู่ การกระทำ ให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในความไม่สงบใจนั้น นี้เป็นอาหารให้อุทธัจจ กุกกุจจะ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้วิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้น แล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้ง แห่งวิจิกิจฉา มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้นนี้ เป็นอาหารให้วิจิ กิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหาร ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้ เพราะอาศัยอาหารไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

104

39
เมื่อตั้งใจฟังธรรม กามฉันทะ ย่อมไม่มี

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๓๔/๔๙๒.

ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจ รวมเข้าไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสต ลงฟังธรรม สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญ บริบูรณ์.

ในสมัยนั้น นิวรณ์ ๕ อะไรบ้างย่อมไม่มีแก่เธอคือ
กามฉันทนิวรณ์ ย่อมไม่มี
พยาบาทนิวรณ์ ย่อมไม่มี
ถีนมิทธนิวรณ์ ย่อมไม่มี
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ย่อมไม่มี
วิจิกิจฉานิวรณ์ ย่อมไม่มี

ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ย่อมไม่มีแก่เธอ.

ในสมัยนั้น โพชฌงค์ ๗ อะไรบ้างย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ คือ สติสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ บริบูรณ์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ สมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจรวมเข้าไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลง ฟังธรรม สมัยนั้นนิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ และโพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญ บริบูรณ์.


 

ราคะ โทสะ โมหะ

106

40
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว บรรเทาได้ยาก

-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๐๖/๑๖๐.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก ๕ ประการอะไรบ้าง คือ
(1) ราคะ เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก
(2) โทสะ เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก
(3) โมหะ เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก
(4) ปฏิภาณ เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก
(5) จิตคิดจะไป (คมิกจิตฺตํ) เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก.

107

41
ไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ

-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๔๒/๔๓.

ภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๗ อย่างเหล่านี้มีอยู่ ๗ อย่างอะไรบ้าง คือ
๑) ไฟคือ ราคะ (ไฟที่ควรเว้น)
๒) ไฟคือ โทสะ (ไฟที่ควรเว้น)
๓) ไฟคือ โมหะ (ไฟที่ควรเว้น)
๔) ไฟคือ อาหุไนยะ (ไฟที่ควรสักการะ )
๕) ไฟคือ คหบดี (ไฟที่ควรสักการะ)
๖) ไฟคือ ทักขิไณยะ (ไฟที่ควรสักการะ)
๗) และ ไฟที่เกิด จากไม้ (ไฟที่ต้องดูตามกาล)

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลไฟ ๗ อย่าง.

… พราหมณ์ ไฟ ๓ อย่างเหล่านี้ ท่านควรละ ควรเว้นไม่ควรเสพ ๓ อย่างอะไรบ้าง คือ ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ.

พราหมณ์ ก็เพราะเหตุอะไร จึงควรละ ควรเว้นไม่ควรเสพไฟคือราคะนี้ เพราะบุคคล ผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติกายทุจริตวจีทุจริต และมโนทุจริตได้ ครั้นประพฤติกายทุจริตวจีทุจริต และมโนทุจริตแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก

ดังนั้น ไฟคือราคะนี้ จึงควรละ ควรเว้นไม่ควรเสพ พราหมณ์ ก็เพราะเหตุอะไร จึงควรละ ควรเว้นไม่ควรเสพไฟคือโทสะนี้ เพราะบุคคลผู้มีโทสะ ถูกโทสะครอบงำ มีจิตถูกโทสะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติกายทุจริตวจีทุจริต และมโนทุจริตได้

ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริตและมโนทุจริตแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก ดังนั้น ไฟคือโทสะนี้ จึงควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพพราหมณ์ ก็เพราะเหตุอะไร จึงควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพไฟคือโมหะนี้ เพราะบุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตได้

ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก ดังนั้น ไฟคือโมหะนี้ จึงควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ.

พราหมณ์ ไฟ ๓ อย่างเหล่านี้แล ท่านควรละ ควรเว้นไม่ควรเสพ.

พราหมณ์ ไฟ ๓ อย่างเหล่านี้ ท่านควรสักการะเคารพ นับถือ บูชา บริหารให้อยู่ เป็นสุขโดยถูกต้อง ๓ อย่างอะไรบ้าง คือ ไฟคืออาหุไนยะ ไฟคือคหบดี ไฟคือ ทักขิไณยะ.

พราหมณ์ ก็ไฟคืออาหุไนยะเป็นอย่างไร พราหมณ์บุคคลบางคนในกรณีนี้ คือ มารดาก็ดี บิดาก็ดี เหล่านี้เรียกว่าไฟคืออาหุไนยะ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า บุคคลย่อมเกิดมาจากมารดาและบิดา

ดังนั้น ไฟคืออาหุไนยะนี้ จึงควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้อยู่เป็นสุข โดยถูกต้องพราหมณ์ ก็ไฟคือคหบดีเป็นอย่างไร พราหมณ์ บุคคลบางคนในกรณีนี้ คือ บุตรก็ดี ภรรยาก็ดี ทาสก็ดี คนทำงานก็ดีเหล่านี้เรียกว่า ไฟคือคหบดี ดังนั้น ไฟคือคหบดีนี้ จึงควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง พราหมณ์ ก็ไฟคือทักขิไณยะเป็นอย่างไร

พราหมณ์สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากความประมาทมัวเมา ผู้ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ ผู้ฝึกฝน ทำความสงบทำความดับเย็นแก่ตนเอง เหล่านี้เรียกว่าไฟคือทักขิไณยะดังนั้น ไฟคือทักขิไณยะนี้ จึงควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชาบริหารให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง.

พราหมณ์ ไฟ ๓ อย่างเหล่านี้แล ท่านควรสักการะเคารพ นับถือ บูชา บริหารให้ เป็นสุขโดยถูกต้อง.

พราหมณ์ ส่วนไฟที่เกิดจากไม้ ต้องก่อให้ลุกโพลงขึ้นตามกาลอันควร ต้องคอยดู ตามกาลอันควร ต้องคอยดับตามกาลอันควร ต้องคอยเก็บตามกาล อันควร.

110

42
เหตุให้เป็นคนดุร้ายหรือคนสงบเสงี่ยม

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๗๖/๕๘๖.

 

คามณิ บุคคลบางคนในโลกนี้ยังละราคะไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละราคะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่ว ให้โกรธได้ เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ ด้วยเหตุนั้นผู้นั้น จึงถึงความนับว่า เป็นคนดุร้าย.

คามณิ บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังละโทสะไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละโทสะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธได้ เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ ด้วยเหตุนั้นผู้นั้น จึงถึงความนับว่า เป็นคนดุร้าย.

คามณิ บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังละโมหะไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละโมหะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธได้ เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ ด้วยเหตุนั้นผู้นั้น จึงถึงความนับว่า เป็นคนดุร้าย.

คามณิ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคนในโลกนี้ จึงถึงความนับว่า เป็นคน ดุร้าย.

คามณิ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ละราคะได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละราคะได้ คนอื่น จึงยั่วให้โกรธไม่ได้ เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ก็ไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ด้วยเหตุนั้นผู้นั้นจึงถึงความนับว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม.

คามณิ บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโทสะได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละโทสะได้ คนอื่น จึงยั่วให้โกรธไม่ได้ เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ก็ไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นจึงถึงความนับว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม.

คามณิ บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโมหะได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละโมหะได้ คนอื่นจึงยั่ว ให้โกรธไม่ได้ เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ก็ไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นจึงถึงความนับว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม.

คามณิ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคนในโลกนี้จึงถึงความนับว่า เป็นคน สงบเสงี่ยม.

112

43
อาชีพที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ
ราคะ โทสะ โมหะ
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๗๗/๕๘๙.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของนักเต้นรำผู้เป็นอาจารย์ และ ปาจารย์ก่อนๆ กล่าวว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะรื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อกายแตก ทำลายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาสะ ในข้อนี้พระผู้มี พระภาคตรัสว่าอย่างไร.

อย่าเลยคามณิ ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้กะเราเลย.

แม้ครั้งที่ ๒ คามณิ ได้ทูลถามอีก พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามแม้ครั้งที่ ๓ คามณิ ได้ทูลถามอีก พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

คามณิ เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลาย ยังไม่ปราศจากราคะ ถูกเครื่องผูกคือราคะผูกไว้ นักเต้นรำย่อมรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งราคะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น.

คามณิ เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลาย ยังไม่ปราศจากโทสะ ถูกเครื่องผูกคือโทสะผูกไว้ นักเต้นรำย่อมรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ในท่ามกลางสถาน เต้นรำในท่ามกลางสถานมหรสพแก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น.

คามิณิ เมื่อก่อนสัตว์ท้ังหลาย ยังไม่ปราศจากโมหะ ถูกเครื่องผูกคือโมหะผูกไว้ นักเต้นรำย่อมรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ในท่ามกลางสถาน เต้นรำในท่ามกลางสถานมหรสพแก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น.

คามณิ นักเต้นรำนั้น ตนเองก็มัวเมาประมาท ตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อกายแตก ทำลายไป ย่อมบังเกิดในนรกชื่อปหาสะ

อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริงด้วยคำจริง บ้าง คำเท็จบ้างในท่ามกลาง สถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อกายแตก ทำลายไป ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหายแห่งเทวดา ชื่อปหาสะ ดังนี้ไซร้ ความเห็นของเขานั้นเป็นความ เห็นผิด.

คามณิ ก็เราย่อมกล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคลผู้มีความเห็นผิด คือ นรกหรือกำเนิดเดรัจฉาน.

114

44
ความแตกต่างของ ราคะ โทสะ โมหะ

และวิธีละราคะ โทสะ โมหะ

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๕๖/๕๐๘.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพพาชกอัญญเดียรถีย์ จะพึงถามอย่างนี้ว่า อาวุโส ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้มีอยู่ คือราคะ โทสะ และโมหะ อาวุโส อะไรเป็นความผิดแปลกอะไร เป็นความแตกต่าง อะไรเป็นเครื่องแสดงความต่างระหว่างธรรม ๓ อย่างเหล่านั้น ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่เขาว่า อาวุโส ราคะมีโทษน้อย คลายช้าโทสะมีโทษมาก คลายเร็ว โมหะมีโทษมาก คลายช้า.

ถ้าเขาถามอีกว่า อาวุโส อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคะ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือราคะที่เกิดอยู่แล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ ดังนี้ คำตอบพึงมีว่า สุภนิมิต (สิ่งที่ทำให้รู้สึกว่างาม) คือ เมื่อเขาทำในใจ ซึ่งสุภนิมิต โดยไม่แยบคาย ราคะที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และราคะที่เกิดอยู่แล้ว ก็เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์อาวุโส นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย.

ถ้าเขาถามอีกว่า อาวุโส อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้โทสะ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือโทสะที่เกิดอยู่แล้วเป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ ดังนี้ คำตอบพึงมีว่า ปฏิฆนิมิต (สิ่งที่ทำให้รู้สึกกระทบกระทั่ง) คือ เมื่อเขาทำในใจ ซึ่งปฏิฆนิมิตโดยไม่แยบคาย โทสะที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และโทสะที่เกิดอยู่แล้ว ก็เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ อาวุโส นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย.

ถ้าเขาถามอีกว่า อาวุโส อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้โมห ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือโมหะที่เกิดอยู่แล้วเป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ ดังนี้ คำตอบพึงมีว่า อโยนิโสมนสิการ (การทำในใจโดยไม่แยบคาย) คือ เมื่อเขาทำในใจโดยไม่แยบคาย โมหะที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และโมหะที่เกิดอยู่แล้ว ก็เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์อาวุโส นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย.

ถ้าเขาถามอีกว่า อาวุโส อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคะ ที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือราคะที่เกิดอยู่แล้วละไป ดังนี้ คำตอบพึงมีว่า อสุภนิมิต (สิ่งที่ทำให้รู้สึกว่าไม่งาม) คือ เมื่อเขาทำในใจซึ่งอสุภนิมิตโดยแยบคาย ราคะ ที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น และราคะที่เกิดอยู่แล้วก็ละไป อาวุโสนี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย.

ถ้าเขาถามอีกว่า อาวุโส อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้โทสะ ที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือโทสะที่เกิดอยู่แล้วละไป ดังนี้ คำตอบพึงมีว่า เมตตาเจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิตอันประกอบอยู่ด้วยเมตตา) คือ เมื่อเขาทำในใจซึ่งมตตา-เจโตวิมุตติโดยแยบคาย โทสะที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น และโทสะที่เกิดอยู่แล้ว ก็ละไป อาวุโส นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย.

ถ้าเขาถามอีกว่า อาวุโส อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้โมหะ ที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือโมหะที่เกิดอยู่แล้วละไป ดังนี้ คำตอบพึงมีว่า โยนิโสมนสิการ (การทำในใจโดยแยบคาย) คือ เมื่อเขาทำในใจโดยแยบคาย โมหะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น และโมหะที่เกิดอยู่แล้วก็ละไป อาวุโส นี้คือเหตุนี้คือปัจจัย.

117

45
เจริญอสุภะเพื่อละราคะ เจริญเมตตา
เพื่อละโทสะ เจริญปัญญา เพื่อละโมหะ
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๖/๓๗๘.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้มีอยู่ ๓ อย่างอะไรบ้าง คือ ราคะ โทสะ และโมหะ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลธรรม ๓ อย่างนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย เพื่อละเสียซึ่งธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ควรเจริญซึ่งธรรม ๓ อย่าง ธรรม ๓ อย่างอะไรบ้าง คือ
เจริญอสุภะ เพื่อละเสียซึ่ง ราคะ
เจริญเมตตา เพื่อละเสียซึ่ง โทสะ
เจริญปัญญา เพื่อละเสียซึ่ง โมหะ

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ อันบุคคลควรเจริญเพื่อละเสียซึ่งธรรม ๓ อย่างเหล่าโน้นแล.

118

46
เจริญอนุสสติ เพื่อละราคะ โทสะ โมหะ

-บาลี เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๕๕/๒๑๘.

เจ้าศากยะพระนามว่ามหานาม ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน ทราบข่าวดังนี้ว่า ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรม เพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้วจะเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน ผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ จะพึงอยู่ด้วยธรรม เครื่องอยู่อะไร.

สาธุ สาธุ มหานาม การที่พระองค์ เสด็จเข้ามาหาตถาคตแล้ว ตรัสถามว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ จะพึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ อะไรดังนี้ เป็นการสมควรแก่พระองค์ผู้เป็นกุลบุตร.

มหานาม กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีศรัทธาย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ปรารภความเพียรย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้เกียจคร้านย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติตั้งมั่น ย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติหลงลืมย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นย่ อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาทราม ย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ มหานาม เมื่อพระองค์ตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล้ว พึงเจริญธรรม ๖ ประการเหล่านี้ให้ยิ่งขึ้นไป.

มหานาม ในธรรม ๖ ประการนั้น พระองค์ พึงระลึกถึงตถาคต(1) ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ … เป็นผู้จำแนกธรรม มหานาม สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมดำเนิน ไปตรง มหานามอริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภตถาคต ย่อมได้ความรู้ อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อม เกิดแก่อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น มหานามอริยสาวกนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาท อยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสแห่งธรรมเจริญ พุทธานุสสติ.

มหานาม อีกประการหนึ่ง พระองค์ พึงระลึกถึงพระธรรม(2) ว่า พระธรรมอัน พระผู้มี พระภาคตรัสดีแล้ว อนั บุคคลพึงเห็นเอง … อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน มหานาม สมัยใดอริยสาวกระลึกถึงพระธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูก ราคะ กลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของ อริยสาวกนั้น ย่อมดำเนินไปตรงมหานาม อริยสาวกผู้มีจิตดำเนิน ไปตรงเพราะ ปรารภ พระธรรม ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความ ปราโมทย์ อันประกอบด้วย ธรรม … มหานามอริยสาวกนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ใน หมู่สัตว์ ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแส แห่งธรรมเจริญธรรมานุสสติ.

มหานาม อีกประการหนึ่ง พระองค์ พึงระลึกถึงพระสงฆ์ (3)ว่า พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มี พระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว … เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า มหานามสมัยใด อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูก ราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมดำเนินไปตรงมหานาม อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระสงฆ์ ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบ ด้วยธรรม … มหานาม อริยสาวกนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแส แห่งธรรมเจริญสังฆานุสสติ.

มหานาม อีกประการหนึ่ง พระองค์ พึงระลึกถึงศีลของตน(4) ว่า เราเป็น ผู้มีศีล ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย …เป็นไปเพื่อสมาธิ มหานาม สมัยใด อริยสาวก ระลึกถึงศีลสมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูก ราคะ กลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะ กลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมดำเนินไปตรง มหานาม อริยสาวกผู้มีจิตดำเนิน ไปตรงเพราะปรารภศีล ย่อมได้ ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความ ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม … มหานาม อริยสาวกนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแส แห่งธรรมเจริญสีลานุสสติ.

มหานาม อีกประการหนึ่ง พระองค์ พึงระลึกถึงจาคะ(5)ของตนว่าเป็นลาภของเรา หนอ เราได้ดี แล้วหนอ แม้หมู่สัตว์เป็นผู้ถูกมลทิน คือ ความตระหนี่ครอบงำ แต่เรา เป็นผู้ มีจิตปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีการบริจาค อันปล่อยอยู่เป็น ประจำ มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีแล้วในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการให้และ การแบ่งปัน มหานาม สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะ กลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมดำเนินไปตรงมหานาม อริยสาวกผู้มีจิต ดำเนินไปตรง เพราะปรารภจาคะย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม … มหานาม อริยสาวกนี้เรากล่าวว่าเป็นผู้ถึง ความสงบ อยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย กระแสแห่งธรรมเจริญจาคานุสสติ.

มหานาม อีกประการหนึ่ง พระองค์ พึงระลึกถึงเทวดาทั้งหลาย(6) ว่า เทวดา ชั้นจาตุมหาราชิกามีอยู่ เทวดาชั้นดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาชั้นยามามีอยู่ เทวดาชั้น ดุสิตมีอยู่ เทวดาชั้นนิมมานรดีมีอยู่ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตีมีอยู่ เทวดาชั้นพรหม กายิกา มีอยู่ เทวดาชั้นที่สูงขึ้นไปกว่านั้นก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธา เช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ ถึงเราก็เป็นผู้มีศรัทธาเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว ไปบังเกิดในเทวโลก ชั้นนั้นๆ ถึงเราก็เป็นผู้มีศีลเช่นนั้น เทวดา เหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ ถึงเราก็เป็นผู้มีสุตะเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลกนี้ แล้วไปบังเกิดในเทวโลก ชั้นนั้นๆ ถึงเราก็เป็นผู้มีจาคะเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ

ถึงเราก็เป็นผู้มีปัญญาเช่นนั้นมหานาม สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะและปัญญาของตนและของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของ อริยสาวก นั้น ย่อมดำเนินไปตรง มหานาม อริยสาวกผู้มีจิตดำเนิน ไปตรง เพราะปรารภเทวดาทั้งหลาย ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความ ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่อริยสาวก ผู้มีความ ปราโมทย์ กายของผู้มี ใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น

มหานาม อริยสาวกนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแส แห่งธรรมเจริญเทวตานุสสติ.

 (ในสูตรอื่น -บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๔๘/๒๙๖. ตรัสว่า การระลึกถึง ตถาคต ระลึกถึง พระธรรม ระลึกถึงพระสงฆ์ ระลึกถึงศีล ระลึกถึงจาคะ ระลึกถึงธรรมอัน ทำให้เป็นเทวดา (อนุสสติทั้ง ๖ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง) ทำให้จิตไม่ถูกกลุ้ม รุมด้วยราคะ โทสะ และโมหะเป็นจิตดำเนินไปตรง ก้าวออก หลุดพ้นไปจากความ อยาก (เคธ)ซึ่งความอยาก หรือเคธนี้ เป็นชื่อแทนกามคุณ ๕.

ในสูตรอื่น - บาลี เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๖๑/๒๑๙. ตรัสว่าอนุสสติทั้ง ๖ ประการนี้ สามารถทำได้แม้เมื่อเดินอยู่ หรือเมื่อยืนอยู่หรือเมื่อนั่งอยู่ หรือเมื่อนอนอยู่ หรือเมื่อ กำลังทำงานอยู่ หรือเมื่อนอนเบียดบุตรอยู่บนที่นอน).

..........................................................................................................

125


47
ศึกษาในสิกขา ๓ เพื่อละ ราคะ โทสะ โมหะ
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๙๖/๕๒๔.

ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่ง ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือนข้าพระองค์ไม่สามารถ ที่จะศึกษาใน สิกขาบทเหล่านี้ พระเจ้าข้า.

ภิกษุ ก็เธอสามารถหรือ ที่จะศึกษาในสิกขาทั้ง ๓ คือ ใน อธิศีลสิกขา ในอธิจิตตสิกขา และในอธิปัญญาสิกขา

ข้าพระองค์สามารถที่จะศึกษาในสิกขาทั้ง ๓ คือ ในอธิศีลสิกขาในอธิจิตตสิกขา และใน อธิปัญญาสิกขานั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจงศึกษาในสิกขาทั้ง ๓ คือในอธิศีลสิกขา ในอธิจิตตสิกขา และใน อธิปัญญาสิกขาเถิด.

ภิกษุ เมื่อใด เธอศึกษาในอธิศีลสิกขาบ้าง ศึกษาในอธิจิตตสิกขาบ้าง และศึกษา ใน อธิปัญญาสิกขาบ้าง เมื่อนั้นเธอผู้กำลังศึกษาในศีลอันยิ่ง ศึกษาในจิตอันยิ่ง และศึกษาใน ปัญญาอันยิ่งอยู่ จะละราคะ โทสะ และโมหะเสียได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะได้นั้นเอง เธอจะไม่กระทำสิ่งอันเป็นอกุศล และจะไม่เสพสิ่งที่เป็น บาปโดยแท้.